Halal Life Magazine #34

Page 1

ฟรี!

ปีที่ 5 ฉบับที่ 34 กันยายน - ตุลาคม 2558

ยกระดับความคิด เพื่อชีวิตฮาลาล



หนทางแห่งความส�ำเร็จนัน้ ยาวนาน เกินกว่าชี วิตของมนุษย์จะปรารถนา ดังนัน้ มนุษย์จะต้องอดทน จากนัน้ ก็อดทน จากนัน้ ก็อดทน ชั ยคฺ ซั ลมาน อัลเอาดะฮ์


Editor’s note เคยได้ยินทฤษฎี Butterfly Effect กันไหมครับ “Butterfly Effect” หรือ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” คือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ หมายถึง ผลกระทบใหญ่ ๆ ที่เกิดจากการกระท�ำเล็ก ๆ เปรียบเสมือนการกระพือปีกของผีเสื้อ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกได้เลยทีเดียว ขออนุญาตคัดข้อความบางส่วนจาก Facebook Fanpage “สนทนาไซ-ไฟ” ที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับทฤษฎี Butterfly Effect มาประกอบนะครับ “ทีม่ าทฤษฎีสงั เขปก็คอื ...นานมาแล้ว ปี 1961 นักอุตนุ ยิ มวิทยา นาม “เอ็ดเวิรด์ ลอเรนซ์” ค�ำนวณสมการ(ใช้คอมช่วยด้วย) เกีย่ วกับตัวแปรของ ภูมอิ ากาศ ด้วยหลายสมการ(แต่ละสมการ เป็นตัวแปรของปัจจัยต่างๆ) โดยสมการหนึ่งส่งผลต่อสมการหนึ่ง โดยปกติเขาจะค�ำนวณแบบ ละเอียดคือมีค่าตัวเลขทศนิยม 6 ต�ำแหน่ง ... ก็ได้ผลออกมาตามนั้นเป็นเคสๆ ไป ... ต่อมาเขา คิดว่า เพื่อประหยัดเวลาในการค�ำนวณเขาจึงตัดการค�ำนวณระดับทศนิยม 6 ต�ำแหน่ง เป็น 3 ต�ำแหน่งพอ เพราะไม่น่าจะให้ผลต่างกันมาก ... ผลคือ ทศนิยม 6 ต�ำแหน่ง กับ 3 ต�ำแหน่ง กลับให้ผลพยากรณ์ตา่ งกันมาก ถึงขัน้ ค่าหนึง่ คืออากาศปลอดโปร่ง แต่อกี ค่าคือ ก่อเกิดการก่อ ตัวของพายุใหญ่... นั่นคือสิ่งสะท้อนว่า ตัวแปรเล็กๆ (ของทศนิยมที่ต่างกัน) กลับให้ผลต่างกัน อย่างคนละเรื่องเดียวกันก็ได้ และนักวิทยาศาสตร์รนุ่ ต่อมา ก็ให้ความส�ำคัญของตัวแปรเล็กๆ (จนถึงระดับอะตอมหรือ เล็กกว่า) ... ท�ำนอง การที่ผีเสื้อตัวหนึ่งขยับปีกบิน ก็ก่อให้เกิดมวลอากาศเคลื่อนที่นับพันครั้ง ไม่กวี่ นั ต่อมาก็อาจส่งผลมหาพายุใหญ่ได้ หรือถ้าผีเสือ้ หลับ ณ ตอนนัน้ มันก็อาจจะไม่เกิดเรือ่ ง....” ทฤษฎี “Butterfly Effect” หรือ “ผีเสื้อกระพือปีก” ช่วยตอกย�้ำค�ำสอนอิสลาม ที่ส่ง เสริมให้ผู้ศรัทธาท�ำความดีแม้เพียงสิ่งเล็กน้อยก็ตาม ดังที่อัลลอฮฺ(มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์) ได้กล่าวไว้ในคัมภีรอ์ ลั กุรอานว่า “ดังนัน้ ผูใ้ ดกระท�ำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน” (อัลกุรอาน 99:7) และอัลลอฮฺ(มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์) ได้กล่าวอีกว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอธรรม แม้เพียงน�ำ้ หนักเท่าผงธุลี และถ้ามันเป็นสิง่ ทีด่ อี ย่างหนึง่ อย่างใด พระองค์กจ็ ะทรงเพิม่ พูนความ ดีนั้นเป็นทวีคูณ และทรงประทานให้จากที่พระองค์ ซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง” (อัลกุรอาน 4:40) และยังมีแบบอย่างจากท่านนบีมฮุ มั มัด(ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮฺและความสันติจง มีแด่ท่าน) เช่นกัน “ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า ท่านนบีถูกถามว่า “การงานชนิดไหน? ที่อัลลอฮฺ รักมากที่สุด” ท่านนบีตอบว่า “งานที่ต่อเนื่อง แม้จะน้อยก็ตาม” (บันทึกโดยมุสลิม) แค่ผีเสื้อตัวเดียวขยับปีกยังอาจเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกจนก่อให้เกิดพายุใหญ่ ได้ คนเราหากลงมือท�ำบางอย่างเพื่อคนอื่นหรือเพื่อสังคมแม้เพียงเล็กน้อยก็ย่อมสร้างความ เปลี่ยนแปลงให้กับโลกเช่นกัน วิทยากร อิสมาแอล บรรณาธิการบริหาร halallife.tv@gmail.com 4

Halal Life Magazine ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด กฤษดา เรสลี บรรณาธิการบริหาร วิทยากร อิสมาแอล บรรณาธิการต่างประเทศ กอมารียะห์ สุเรรัตน์ บรรณาธิการผู้จัดการ วิลาสินี กันซัน ฝ่ายการตลาด อนุชา ทรงวงษ์ สิทธิศักดิ์ วงค์เกษร ฝ่ายสร้างสรรค์ กวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์ เอกมล บุญชม ศิลปกรรม เชาวลิต วงษ์มะเซาะห์ ติดต่อโฆษณา 086-890-6055 Website www.halallife.tv Email halallife.tv@gmail.com Facebook fb.com/halal.life.magazine ผลิตโดย บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด เลขที่ 336/18 ซ.ราษฎร์อุทิศ 52 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510

2555 edcrub huajuckTH


หยิบ

แบบฟอร์มสมัครสมาชิก นิตยสารฮาลาลไลฟ์

หมดปัญหา หยิบไม่ทัน หาไม่เจอ

สมั ค รสมาชิ ก แน่นอนกว่า

ข้าพเจ้า นาย นาง นางสาว...................................................................................... อายุ .................. ปี ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... รหัสไปรษณีย์ ........................ โทรศัพท์ ................................. อีเมล์ ................................................... การศึกษา อาชีพ

มัธยมศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป อื่นๆ พนักงานบริษัท รับราชการ,รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจส่วนตัว นักเรียน, นักศึกษา อื่นๆ

มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกนิตยสารฮาลาลไลฟ์ สมาชิก 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ สมาชิกอุปถัมภ์ 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ ให้กับห้องสมุด/มัสยิด............................................................................................................................. ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... ................................................................................................. รหัสไปรษณีย์ ...................................... วิธีช�ำระค่าสมาชิก โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด

ธนาคารไทยพานิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัส ทาวน์อินทาวน์ เลขที่บัญชี 404-051345-7

(ถ่ายเอกสารได้) 5

ได้ที่นี่

ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ห้องอาหารโซเฟีย (คลองตัน) ร้านอาหารฟาฮาน่า (พระรามเก้า) สวนอาหารจันทร์เสี้ยว (มอเตอร์เวย์) ภัตตาคารสินธรสเต็กเฮ้าส์ (รามค�ำแหง) โคบัง (รามค�ำแหง-สุขาฯ 3) ร้านอาหารอีสานฝั่งธน (อรุณอัมรินทร์) ห้องอาหารนางพญา (พญาไท) เมี่ยงปลาเผาหลังราม สาขาพระรามเก้า ร้านฮาลาลโฮม ซ.เทคโนบางกะปิ (บางกะปิ) ร้านฟารีดาโภชนา (เหม่งจ๋าย) อะลาดิน ซูชิ (เหม่งจ๋าย) I COFFEE / I YAKI (รามค�ำแหง 53) MUMKIN KAFE’ (ศูนย์การค้าเซเลเบรท) บัยตฺชา & สเต๊กครัวจูซุน (คู้ขวา มีนบุรี) เมี่ยงปลาเผาหลังราม สาขา คู้ขวา มีนบุรี Little Kitchen (ร่มเกล้า) Finn Corner (รามค�ำแหง ซ. 53) ร้านหนังสือ ศูนย์หนังสืออิสลาม (ศูนย์กลางอิสลาม คลองตัน) ศูนย์หนังสือมานพวงศ์เสงี่ยม (พระรามเก้า) ร้านหนังสือส.วงศ์เสงี่ยม (มหานาค) Halal Express (หนองจอก) ร้านอารีฟ เซ็นเตอร์ (มัสยิดสวนพลู) โรงพยาบาล รพ.ปิยเวช, รพ.กรุงเทพ, รพ.เสรีรักษ์, รพ.นวมินทร์, รพ.เวชธานี, รพ.บ�ำรุงราษฎร์ ธุรกิจบริการและโรงแรม รีสอร์ท บางพลัด โรงแรมนิวเวิลด์ (บางล�ำพู) โรงแรมรีเจ้นท์ (รามค�ำแหง) โรงแรมชาลีนา (รามค�ำแหง) โรงแรมนูโว ซิตี้ (บางล�ำพู) มุสลิมโฮม 2 (รามค�ำแหง) ธนาคารและสหกรณ์ เคาท์เตอร์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา สหกรณ์อิสลามสันติชน เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้ ต่างจังหวัด ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (เชียงใหม่) ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (แม่สาย) ร้านฟาด้า สเต๊กแอนด์คอฟฟี่ (อยุธยา) ร้านอาหารอิสลามดาวุดชา (กาญจนบุรี) ร้านมุนาซีร กาแฟสด&เค้ก พัทยา (ชลบุรี) ร้านอาหารชุกรี่ ปั๊ม PC (สุราษฎร์ธานี) ห้องอาหารคุณสาหร่าย (ชุมพร) ร้านอาหารคุ้มราชา ควนโดน (สตูล) SAMI KITCHEN หาดใหญ่ (สงขลา) ร้านบากุส (ปัตตานี) ร้านอาหารอาบูคอลี (ยะลา) ร้านกีตาบบุ๊กเฮาส์ (ยะลา) Halal Minimart (สตูล) ร้านบังฝรั่ง (สงขลา) โรงแรมปายอินทาวน์ (แม่ฮ่องสอน) ร้านสเต๊กครูตา (อยุธยา)


Global

กอมารียะห์ อิสมาแอล - haboohoohoo@gmail.com

ชาวมุสลิมในเมืองแฮลิแฟกซ์ เมืองหลวงของรัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา ช่วยกันรวบรวม เสื้อกันหนาวเพื่อไปบริจาคให้กับผู้ยากไร้ที่ต้องเผชิญกับภัยหนาว โดยพวกเขาใช้รถออกเดินสาย ขอรับบริจาคในช่วงบ่ายถึงเย็นของทุกวัน ซึ่งทางกลุ่มได้ส่งต่อเสื้อกันหนาวไปแล้ว กว่า 700 ตัว และยั ง คงเดิ น สายขอรั บ บริ จ าคอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนกว่ า จะถึ ง สิ้ น เดื อ น โดยขอรั บ บริ จ าคตาม มหาวิทยาลัย โบสถ์ มัสยิด และสถานที่ละหมาดทั่วประเทศ ที่มา : Muslimvillage.com

แคนาดา

สหรัฐอเมริกา

อะฮ์มัด มูฮัมมัด เด็กหนุ่มมุสลิมวัย 14 ปีจากรัฐเทกซัสที่กลายเป็นที่รู้จักเพียงชั่วข้ามคืนจากกรณีถูกต�ำรวจรัฐเทกซัสจับกุม เพียงเพราะประดิษฐ์นาฬิกาไปอวดครูที่โรงเรียนจนเกิดเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์โดยมีการขึ้นแฮชแท็ก #StandWithAhmed เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการจับกุมดังกล่าวและเป็นก�ำลังใจให้อะฮ์มัด ล่าสุดอะฮ์มัดได้ตัดสินใจย้ายไปกาตาร์พร้อม ครอบครัวหลังได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิกาตาร์เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาชุมชน ที่มา : i-newsmedia.net

6


เกิดความผิดพลาดในการส่งอาหารให้กับพลเรือนชาวซีเรีย หลังหน่วยบรรเทาทุกข์ขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แถลงว่า ได้ท�ำการ ส่งขนมปังกรอบหมดอายุหลายร้อยลัง ด้วยขบวนรถขนสิ่งของบรรเทาทุกข์ ไปให้พลเรือนชาวซีเรียที่ตกอยู่ในวงล้อมการสู้รบ ในเขตยึดครอง ของฝ่ายต่อต้าน แถบชานกรุงดามัสกัส นายยะกู๊บ อัล ฮิลโล ผู้ประสานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในซีเรีย กล่าวยืนยันว่า เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากความผิดพลาดระหว่างกระบวนการขนล�ำเลียงขึ้นรถบรรทุก โดยขนมปังกรอบ ที่ให้พลังงานสูง 320 ลัง จากทั้งหมด 650 ลัง ที่ส่งไปเป็นขนมปังที่หมดอายุแล้ว 1 เดือนก่อนหน้า ที่มา : Muslimthaipost.com

ซี เรีย

ปาเลสไตน์ ธงชาติปาเลสไตน์ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสา ณ ส�ำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่นครนิวยอร์ค เป็นครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งผู้น�ำปาเลสไตน์ระบุว่า นี่เป็นวันที่ชาวปาเลสไตน์มีความตื้นตันใจและภาคภูมิใจมากที่สุดวันหนึ่ง ธงชาติ ปาเลสไตน์ มีโอกาสโบกสะบัดอยู่ด้านหน้าอาคารสหประชาชาติเป็นครั้งแรก ในฐานะประเทศสังเกตการณ์ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก แม้จะถูกอิสราเอล สหรัฐฯ และอีก 6 ประเทศลงคะแนนคัดค้านก็ตาม

7


#HalalLife

กองบรรณาธิการ

#HalalLife

Instagram : mudmar

ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก สิ่งหนึ่งที่มุสลิมทุกคนมีเหมือนกันคือการใช้ชีวิตแบบฮาลาล หรือ Halal Life เป็นวิถีชีวิตที่วางอยู่บนเงื่อนไขการอนุมัติจากพระผู้เป็นเจ้า และเป็นวิถีชีวิตที่มุสลิมต่างเชื่อว่าเป็นค�ำตอบของความ สับสนบนโลกยุ่งเหยิงใบนี้ Halal Life จึงอยากชวนมาร่วมกันน�ำเสนอการใช้ชีวิตแบบฮาลาลๆ ในแบบของคุณ ให้โลกได้รับรู้กันผ่าน คอลัมน์ #HalalLife ////

8


gohalal

1

yogotti25__

2

deaniemania

3

themshalliday

4

wilasinee_ma

5

mudmar

6

gloria_shop_

7

ampannee

8

noodibrand

9

99


Halal Tasty กองบรรณาธิการ

Finn Conner โฉบไปโฉบมาหลายครา ยังไม่มีโอกาสได้แนะน�ำร้านนี้สักที ร้านนี้ตั้งอยู่ที่ ประมาณกลางซอยรามค�ำแหง 53 มองแวบแรก ร้านน่ารักจัง แถมชื่อนี่เข้ากับศัพท์ วัยรุ่นมาก Fin คือ ค�ำที่แสดงถึงความ สุดยอด ยอดเยี่ยม มาจากค�ำว่า Finale ใน ภาษาฝรั่งเศส จะว่าไปแล้วศัพท์วัยรุ่นนี่ก็น่าสนุกดีนะคะ ร้าน Finn Conner บรรยากาศดูอบอุน่ ด้วยโทนสีสบายตา เพราะความทีเ่ จ้าของ ร้านชอบแต่งบ้าน ชอบท�ำอาหาร ร้านนี้ จึงอบอวลเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และความสุข เพราะการได้ท�ำในสิ่งที่รักแน่นอน ย่อมท�ำให้อะไรๆออกมาดี ^^ เมนูอาหารที่ Finn Conner ก็มใี ห้เลือกหลากหลายเมนู ทัง้ ของทานเล่น ออเดิฟ สุดฮิต ของร้านที่อยากจะขอแนะน�ำ เฟรนฟรายเขย่า หรือจะเป็นอาหารจานหลัก อย่าง สเต็กเนื้อจิ้มแจ่ว ที่รสชาติจัดจ้านถึงใจ ผสมผสานอาหารสองสัญชาติกันอย่าง ลงตัว หรือถ้าอยากทานประเภทอาหารไทยตามสั่งจานเดียวที่นี่ก็มี เมนูแนะน�ำอย่าง กระเพรา ไข่ลาวา แหม แค่ชื่อก็น่าตื่นเต้นแล้วคะ นอกจากอาหารแล้วยังมีเครื่องดื่ม และของทานเล่นอีกหลากหลายเมนูให้เลือกทาน ได้มาลองแล้วจะติดใจ ผ่านไปผ่านมาแถวรามค�ำแหง 53 ครัง้ ใด แวะมาลองลิม้ ชิมรสกันได้นะคะ รับรอง Finn สมชื่อ Finn Conner เลยค่ะ 10

ชื่อร้าน สถานที่ตั้ง

Finn Conner ซ.รามค�ำแหง 53 (กันซันแมนชั่น)

เจ้าของกิจการ สุรอยยา กันซัน เวลาเปิด-ปิด 11.30-22.00 น. หยุดวันพุธ เมนูแนะน�ำ สเต็ก เนื้อจิ้มแจ่ว กระเพราไข่ลาวา เฟรนฟรายเขย่า 094-1802719 ติดต่อ fb : finnconner.ram53 ////


กระชับมิตร

กองบรรณาธิการ

SO HOPE ชีวิตยังคงด�ำเนินอยู่ท่ามกลางความหวัง จากวิถีชีวิตของคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่เรื่องเล่าที่เป็นดั่งบันทึกประสบการณ์และเหตุการณ์ในพื้นที่ สถานการณ์ความสูญเสีย

ความทรงจ�ำแสนเจ็บปวด ที่เราทุกคนต่างรอคอยค�ำว่าสงบ และสันติ เป็นที่มาของการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน ศิลปะสื่อผสม ในชุดผลงานจากความหวัง (so hope) โดยคีต์ตา อิสรั่น เพื่อน�ำเสนอและเผยแพร่ผลงาน สร้างสรรค์ศิลปะจากวิถีชีวิตไทยมุสลิม บันทึกความทรงจ�ำของ halal life ในโอกาสเยี่ยมชมผลงานของศิลปินมุสลิมแม่ลูกหนึ่ง ตามค�ำชวนของเธอ งานของ เธอจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ////

11


NORA

Design for Life กองบรรณาธิการ

หนึ่งในปัญหากวนใจของใครหลายคน และเป็นเรื่องกวนใจทั้งกับตัวเองและเพื่อน ร่วมห้องนัน่ คือ การนอนกรน ซึง่ นอกจากจะรบกวนการนอนหลับของเพือ่ นร่วมห้องแล้ว การ นอนกรนยังส่งผลต่อสุขภาพของเจ้าของเสียงกรนอีกด้วย ทีมนักออกแบบจากสหรัฐอเมริกา จึงได้คิดค้นอุปกรณ์เพื่อหวังจะช่วยลดอาการนอนกรนลงได้ โดยพวกเขาตั้งชื่อมันว่า Nora Nora คืออุปกรณ์ที่จะมาช่วยลดอาการนอนกรนของคุณลงได้ เพียงแค่สอดไว้ใต้ หมอน เจ้า Nora มาพร้อมอุปกรณ์ทั้งหมด 3 ชิ้นที่จะท�ำงานร่วมกันคือ แผ่นส�ำหรับสอดใต้ หมอน, Nora bedside (อุปกรณ์ตรวจจับเสียงกรน) และปั้มลม หลักการท�ำงานคือ สอดแผ่น ไว้ใต้หมอน วาง Nora bedsider ไว้ที่หัวนอน มันตรวจจับเสียงกรนได้ มันจะส่งสัญญาณให้ ปั้มลมท�ำการปั้มลมเข้าสู่แผ่นที่รองอยู่ใต้หมอนให้พองขึ้นเพื่อปรับระดับศีรษะของคุณ ซึ่งจะ ส่งผลให้สามารถเปิดทางเดินอากาศให้คณ ุ หายใจได้อย่างปรกติ ลดอาการนอนกรน และเสียง กรนได้ โดยไม่รบกวนคนที่นอนอยู่ข้างๆ Nora สามารถช่วยลดอาการกรนได้ ไม่ว่าคุณจะนอนท่าไหน และสามารถใช้กับ หมอนได้ทุกแบบ ไม่เท่านั้น Nora ยังสามารถท�ำงานเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน เพือ่ บันทึกเสียงกรน, จ�ำนวนรอบของการกรนในแต่ละคืน เพือ่ เอามาประมวลผลด้านสุขภาพ ได้อีกด้วย Nora เปิดให้สงั่ จองได้แล้วที่ Kickstarter.com ในราคา $199 หรือประมาณ 7,200 บาท และสามารถจัดส่งได้ในเดือนพฤษภาคมปี 2016 ที่มา : digilife.tv

HUDWAY GLASS

LUMEN HUDWAY Glass กระจกวิเศษ ช่วยให้การใช้ GPS ขณะขับรถเป็นเรื่องง่าย

Lumen ไฟฉายที่สว่างได้โดยไม่ต้องใส่ถ่าน

Lumen ไฟฉาย LED ขนาดเล็กเท่านิ้วมือ ซึ่งสามารถให้แสง สว่างได้โดยไม่ตอ้ งใส่ถา่ นแม้แต่กอ้ นเดียว เพราะ Lumen จะใช้เปลีย่ น พลังงานความร้อนจากนิ้วของผู้ใช้งานมาเป็นพลังงานไฟฟ้าในการให้ แสงสว่าง ซึ่งอุณหภูมิของร่างกายที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ได้จะอยูท่ ี่ 98 องศาฟาเรนไฮต์และอุณหภูมขิ องสภาพแวดล้อมอยูท่ ี่ 82 องศาฟาเรนไฮต์ เพียงแค่แตะนิว้ ไปที่ Lumen เท่านัน้ มันจะให้แสงสว่าง ออกมาทันที หากใครสนใจ Lumen เปิดให้สงั่ จองได้ผา่ น Kickstarter.com ในราคา $30 หรือประมาณ 1,100 บาท ที่มา : digilife.tv

HUDWAY Glass อุปกรณ์ช่วยดู GPS ในสมาร์ทโฟนขณะขับ รถ ประกอบไปด้วยฐานวางสมาร์ทโฟนและกระจกใส หลักการท�ำงาน ของมันคือจะสะท้อนภาพที่แสดงในสมาร์ทโฟนลงบนกระจกใส ภาพที่ ได้จะมีขนาดใหญ่กว่าในสมาร์ทโฟน 20% ท�ำให้ผใู้ ช้งานสามารถมองGPS และถนนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องหันไปมองที่อื่น อีกทั้งกระจกใส ของ HUDWAY Glass ยังไม่บดบังถนนในเวลาขับรถอีกด้วย HUDWAY Glass มีราคาขายเริม่ ต้นที่ $49 หรือประมาณ 1,800 บาท ที่มา : digilife.tv //// 12


Flashback

กองบรรณาธิการ

กองทหารสุดท้ายของมุ สลิมที่ปกป้อง “มัสยิดอัล-อักซอ” ปาเลสไตน์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน(อุษมานียะฮ์)เป็นเวลาสี่ศตวรรษก่อนจะเสียดิน แดนให้กบั อังกฤษในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ในครัง้ นัน้ ทหารของออตโตมันได้ตอ่ สูอ้ ย่างสุดก�ำลังเพือ่ ปกป้อง เยรูซาเล็มจากการโจมตีของกองทัพอังกฤษ ก่อนจะไร้ทางเลือกจนต้องประกาศยอมแพ้ และได้พลีชพี ทหาร ออตโตมันไปในการสู้รบครั้งนี้กว่า 25,000 นาย และนี่คือนี่ภาพถ่ายของพวกเขา กองทหารสุดท้ายของมุสลิมที่ปกป้อง “มัสยิดอัล-อักซอ” ที่มา : ilmfeed.com ////

13


MAIN HALAL กองบรรณาธิการ

ใครเป็ น ใคร ในสงครามซีเรีย SYRIA ISIS

ASSAD

REBELS

KURDS

จากจุดเริ่มต้นเพียงการชุมนุมประท้วงของประชาชนชาวซีเรียที่ไม่พอใจรัฐบาลของพวกเขา และเรียกร้องให้ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ลงจากต�ำแหน่ง แต่เหตุการณ์กลับลุกลามบานปลาย หลังรัฐบาลตัดสินใจใช้ก�ำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม จน กลายเป็นสงครามกลางเมืองที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และอนาคตของชาวซีเรียไปอย่างประเมินค่าแทบไม่ได้ ผ่านไป 4 ปีสงครามกลางเมืองซีเรียแบ่งคู่ขัดแย้งหลักๆ ออกเป็น 4 ฝ่าย แต่ละฝ่ายก็ต่างมีเป้าหมาย ศัตรู รวมไปถึงการ สนับสนุนจากต่างประเทศร่วมกัน สงครามซีเรียจึงเต็มไปด้วยความซับซ้อนและแปรผันตลอดเวลา อันเนือ่ งมาจากอิทธิพลของชาติ มหาอ�ำนาจและพันธมิตร ที่คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายต่างก็ต้องการแรงสนับสนุนเพื่อบรรลุชัยชนะของฝ่ายตนเอง จากความสลับซับซ้อนและยุ่งเหยิงดังที่กล่าว Main Halal ฉบับนี้จึงอยากจะขออาสาจัดระเบียบความยุ่งเหยิงและพยายาม น�ำเสนอความสลับซับซ้อนนี้ให้ง่ายต่อการท�ำความใจมากที่สุด โดยหวังเพียงเล็กน้อยว่า เราจะยังคงไม่ลืมเรื่องราวของชาวซีเรีย เพื่อนมนุษย์ที่ต้องอยู่ท่ามกลางความรุนแรงตลอด 4 ปีที่ผ่านมา 14


Syrian Arab Republic ประวัตศิ าสตร์ขนาดย่นย่อของแผ่นดินซีเรีย ในยุคอดีต ซีเรีย คือดินแดน “ชาม” ที่ครอบคลุม พื้นที่ตั้งแต่ ซีเรีย จอร์แดน ปาเลสไตน์ในปัจจุบัน เป็น เมื อ งโบราณที่ มี อ ดี ต อั น ยาวนานถึ ง 8,000 ปี ก ่ อ น คริสตกาล นักโบราณคดีประเมินกันว่าทัว่ ประเทศซีเรียมี โบราณสถานที่มีคุณค่าในยุคต่างๆ มากกว่า 4,500 แห่ง ในยุคจักรวรรดิไบแซนไทน์ซีเรียเคยอยู่ใต้การปกครอง ของโรมนานถึง 700 ปี ในขณะที่กรีกเคยปกครองซีเรีย ซีเรียเคยอยู่ภายใต้ปกครองของฝรั่งเศส และได้รับ นาน 369 ปี นอกจากนี้ ซีเรียยังเป็นถิน่ เกิดของบรรดานบี(ศาสน เอกราชเมื่อ ค.ศ.1946 ต่อมาในปีค.ศ.1970 พันเอกฮา ฟิส อัล-อัสซาด รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมในขณะ ทูตจากพระเจ้า) เป็นดินแดนที่อัลลอฮฺประทานความบะ นั้น ได้ก่อรัฐประหารยึดอ�ำนาจปกครองประเทศ และใน เราะกะฮฺ(ความดีงาม) ชาวมุสลิมเชื่อว่า ก่อนวันกิยามะฮฺ ปี 1971 ได้ด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่งเสีย (วันสิ้นโลก) มนุษย์จะถูกรวมพล ณ ดินแดนแห่งนี้ และ ชีวติ ในปี 2000 ต่อมา บุตรชายของเขา ดร.บาชาร์ อัล-อัส นบีอซี าจะลงจากฟากฟ้าเพือ่ ฆ่าดัจญาล(อสูรร้าย) ณ แผ่น ดินซีเรียเช่นกัน เราสามารถสัมผัสความประเสริฐของซีเรีย ซาด ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้น�ำคนใหม่จนกระทั่งปัจจุบัน ซีเรียมีประชากรทั้งสิ้น 23,695,000 คน ประมาณ ได้ในทุกครั้งที่อ่านอัลกุรอานและอัลฮะดีษ(ค�ำสอนและ 84% เป็นมุสลิมสายสุหนี่ 6% นับถือชีอะฮฺนุศ็อยรีย์อะ แบบอย่างจากท่านศาสดา)ที่พูดถึงดินแดนแห่งนี้ ซีเรียหรือสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้หรือ ตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศจอร์แดนทาง ตอนใต้ อิรกั ทางตะวันออก ตุรกีทางตอนเหนือ เลบานอน ทางตะวันตกและรัฐอิสราเอลทางตะวันตกเฉียงใต้ตรง ที่ราบสูงโกลานซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของซีเรียแต่เสียดิน แดนให้กบั อิสราเอลในสมัยสงคราม 6 วันเมือ่ ปีค.ศ.1967

ละวี ย ์ ซึ่ ง เป็ น ลัท ธิของตระกูลอัล-อัสซาดและชนชั้ น ปกครอง ส่วนอีก10% เป็นคริสเตียน

15


ไทม์ไลน์ความขัดแย้ง

2011-2015 .. . ......... . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ....... 2011

2012

2013

• กุมภาพันธ์ : ประชาชนชาวซีเรียเริ่ม ชุมนุมประท้วงอย่างสงบ เช่น การประท้วงใหญ่ ในวันที่ 4-5 ก.พ. โดยผู้ประท้วงเรียกร้องให้มี การปฏิรปู รัฐบาล และเรียกร้องให้ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ลงจากต�ำแหน่ง มีผู้ประท้วง ถูกจับหลายคน หลังจากนัน้ ก็มกี ารประท้วงอย่าง ต่อเนื่องและมีการสลายการชุมนุมเช่น ในวันที่ 17 ก.พ. มีการประท้วงที่ตำ� รวจทุบตีเจ้าของร้าน ค้าในพื้นที่กรุงดามัสกัส มีผู้ชุมนุมราว 1,500 คน

• มกราคม : รัฐบาลอัสซาดเริม่ ใช้ปนื ใหญ่ ในปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มกบฏ ท�ำให้บ้านเรือน ของประชาชนเสี ย หายจ� ำ นวนมากเนื่ อ งจาก เป็ น การโจมตี อ ย่ า งไม่ เ ลื อ กเป้ า หมาย การ ประท้วงเริ่มหายไปกลายเป็นการต่อสู้กันด้วย อาวุธ

• มกราคม : รัสเซียประกาศส่งเรือรบไป ปิดล้อมรอบชายฝั่งซีเรีย ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติ การทางเรือทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ นับตัง้ แต่การล่มสลายของ สหภาพโซเวียตในปี 1991

• มีนาคม : เริม่ มีการประท้วงจริงจังมาก ขึ้นตามเมืองต่างๆ โดยวันที่ส�ำคัญที่สุดคือ 18 มี.ค. เมือ่ เสียงปืนนัดแรกของฝ่ายรัฐบาลดังขึน้ ใน ระหว่างสลายการชุมนุม หลังจากนั้นก็เริ่มเกิด การปราบปรามผู้ชุมนุมโดยมีผู้บาดเจ็บและเสีย ชีวติ เพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ในวันที่ 25 มี.ค. มีผชู้ มุ นุมมาก ถึง 100,000 คนในเมืองดาราอาฮ์ มีผู้ประท้วง ถูกยิงสังหารทั้งในดาราอาฮ์และเมืองอื่นๆ โดย ฝ่ายรัฐบาลอ้างว่าเป็นฝีมือของ “กลุ่มอันธพาล” และ “กลุ่มติดอาวุธ” • กรกฎาคม : ประกาศจัดตัง้ “กองก�ำลัง ปลดปล่อยชาวซีเรีย” หรือ Free Syrian Army เพื่ อ ต่ อ สู ้ กั บ การใช้ อ าวุ ธ เข้ า ปราบปรามของ รัฐบาลซีเรีย โดยอดีตกองก�ำลังทหารของรัฐบาล บางส่วนที่แปรพักตร์มาร่วมกับประชาชนชาว ซีเรียที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

• กุมภาพันธ์ : บัน คี มูน เลขาธิการ สหประชาชาติประกาศว่าความรุนแรงในซีเรียถือ เป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crimes against humanity) โดยบอกว่ามีการยิงถล่ม บ้านเรือน ใช้สถานพยาบาลเป็นที่ทรมาน และมี เด็กถูกสังหาร • กรกฎาคม : เกิดเหตุการณ์ ‘สังหาร หมู’่ ทีห่ มูบ่ า้ นเทรมเซห์ ซึง่ ในเวลาต่อมาผูต้ รวจ การยูเอ็น ได้ลงพื้นที่ส�ำรวจพบว่ามีผู้ถูกสังหาร ราว 200 คน แต่กองทัพซีเรียกลับระบุวา่ เป็นการ โจมตีเป้าหมายที่เป็นฝ่ายต่อต้าน • พฤศจิกายน : กลุม่ ต่อต้านรัฐบาลรวม ตัวกันเป็น “กลุม่ แนวร่วมกองก�ำลังปฏิวตั แิ ละต่อ ต้านรัฐบาลแห่งชาติซีเรีย” เพื่อต้องการให้ฝ่าย ต่อต้านร่วมเป็นหนึ่งเดียว

16

• เมษายน กลุ่ม “รัฐอิสลามแห่งอิรัก” (Islamic State of Iraq- ISI) ขยายปฏิบัติการ มายังประเทศซีเรียเพื่อสถาปนารัฐอิสลาม และ เปลี่ยนกลุ่มชื่อเป็น “รัฐอิสลามแห่งอิรัก ซีเรีย Islamic State of Iraq and Syria โดยใช้ชื่อย่อ ว่ า ISIS นิ ย มเรี ย กชื่ อ ย่ อ ในภาษาอาหรั บ ว่ า “ดาอิซ” (Daesh) • พฤษภาคม : อิ ส ราเอลปรามไม่ ใ ห้ รั ส เซี ย ส่ ง อาวุ ธ ต่ อ ต้ า นอากาศยานไปให้ ฝ ่ า ย รั ฐ บาลซี เรี ย เหตุ ก ารณ์ เริ่ ม ส่ อ เค้ า การเป็ น สงครามตัวแทน (proxy war) มากกว่าการสู้รบ ระหว่างฝ่ายต่อต้านกับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว • สิงหาคม : กองทัพซีเรียระดมยิงจรวด บรรจุแก๊สท�ำลายประสาทใส่หลายพืน้ ทีใ่ นเขตโก ตา ชานกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของประเทศ ซีเรีย เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,300 ราย ในจ� ำ นวนนี้ มี ทั้ ง เด็ ก สตรี และผู ้ สู ง อายุ เ ป็ น จ�ำนวนมาก


WAR IN SYRIA AR 2014 2015

.. .... ...... . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ....... • มกราคม : ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่มจับ มือกันตอบโต้กองก�ำลังของไอซิส หลังถูกไอซิสโจมตี และท�ำร้ายประชาชนฝ่ายต่อต้าน การสูร้ บครัง้ นีม้ ผี เู้ สีย ชีวติ หลายหมืน่ คน ส่งผลให้ฝา่ ยรัฐบาลซีเรียสามารถยึด คืนดินแดนภาคใต้และภาคกลางของซีเรียไว้ได้

• มกราคม : กองก�ำลังชาวเคิรด์ ขับไล่ไอซิสพร้อม ยึดคืนเมืองโคบานีได้ส�ำเร็จ • กุมภาพันธ์ : องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน เรียกร้อง ทุกฝ่ายอ�ำนวยความสะดวกให้กับการขนย้ายผู้ได้รับบาด เจ็บจากการปะทะกันออกจากพืน้ ทีส่ รู้ บ ส่งผลให้เกิดคลืน่ ลูกใหม่ของผูล้ ภี้ ยั ทีพ่ ยายามจะเข้าถึงชายแดนตุรกีเพือ่ หา ที่หลบภัย ขณะที่สหรัฐและตุรกีบรรลุข้อตกลงร่วมกันใน การฝึกฝ่ายต่อต้านซีเรียเพื่อต่อสู้กับกลุ่มไอซิส

• มิถุนายน : ไอซิสประกาศจัดตั้งรัฐอิสลามใน พื้นที่ทั้งหมดที่ตนเองยึดครอง ตั้งแต่กรุงอะเล็ปโปทาง ตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียไปจนถึงกรุงดิยาลาทาง ตะวันออกของอิรัก โดยสถาปนา อบูบักร อัล-บัคดาดี ขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์หรือประมุขแห่งรัฐ • สิงหาคม : ไอซิสเผยแพร่คลิปวิดโี อแสดงภาพ การประหารชีวิตนายเจมส์ โฟลี่ นักข่าวชาวอเมริกันที่ ถูกลักพาตัวทางตอนเหนือของซีเรีย

• เมษายน : กองก�ำลังของไอซิสบุกยึดและเข้า ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของค่ายยัรมูกในกรุงดามัสกัสซึ่ง เป็ น เมื อ งหลวงซี เรี ย ค่ า ยยั ร มู ก เป็ น ที่ พั ก ส� ำ หรั บ ชาว ปาเลสไตน์ที่ลี้ภัยการสู้รบในสงครามอาหรับ-อิสราเอล เมื่อปี 2491

• กั น ยายน : กองก� ำ ลั ง จากสหรั ฐ อเมริ ก า ซาอุดิอาระเบีย และกลุ่มประเทศอาหรับ เปิดฉากการ โจมตีทางอากาศใส่กลุ่มไอซิสในซีเรีย

• สิงหาคม : กองทัพซีเรียทิ้งระเบิดใส่เมืองดูมา ชานกรุงดามัสกัสเมืองหลวงของซีเรีย ส่งผลให้มผี เู้ สียชีวติ อย่างน้อย 50 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก • กันยายน : มีการปล่อยคลิปวิดโี อทีอ่ า้ งว่า ทหาร ของกองก�ำลังปลดปล่อยชาวซีเรีย (FSA) ได้ประดิษฐ์ระบบ ป้องกันขีปนาวุธทางอากาศขึ้นมาใช้เองได้แล้ว ขณะที่ ฝรัง่ เศสเปิดฉากโจมตีทางอากาศในซีเรียเป็นครัง้ แรก โดย ระบุเป้าหมายไปทีค่ า่ ยฝึกอบรมของกลุม่ ไอซิส ด้านรัสเซีย ก็เริ่มเปิดฉากปฏิบัติการทางทหารในซีเรียเช่นกัน โดยได้ ส่งเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดใส่ฝา่ ยต่อต้านรัฐบาลและกลุม่ ไอซิส

17


ใครคือรัฐบาลซี เรีย คูข่ ดั แย้ง : ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและผูส้ นับสนุน, กองก�ำลังชาวเคิรด์ , ไอซิส

รัฐบาลซีเรียปัจจุบันปกครองโดยพรรคบาธ (Ba’ath Party) เป็น พรรคที่มีอุดมการณ์แบบเซคคิวลาร์ไม่เอาศาสนา ขึ้นสู่อ�ำนาจด้วยการ ปฏิวัติในปี 1966 และเกิดการปฏิวัติโค่นล้มผู้น�ำอีกครั้งในปี 1970 โดย ฮาฟิส อัล-อัสซาด (พ่อของบาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีซีเรียคน ปัจจุบัน) เขาเป็นนายพลที่มาจากครอบครัวที่มีความเชื่อตามลัทธิอะละ วีย์ (หรือชีอะฮ์นุศ็อยรียะฮฺ) ผู้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมใน สมัยนั้น

ฝ่ายสนับสนุน : 1. รัฐบาลอิหร่าน : อิหร่านให้การสนับสนุนทั้งด้านก�ำลังพล ทั้ง อาวุธยุทโธปกรณ์ รวมไปถึงในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ แก่รัฐบาล ซีเรียในการปราบปรามประชาชนฝ่ายต่อต้านมาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง ปัจจุบัน 2. กองก�ำลังฮิซบุลเลาะฮ์ : ฮิซบุลเลาะฮ์เป็นองค์กรทางการเมือง ของประเทศเลบานที่มีกองก�ำลังทหารเป็นของตนเอง ฮิซบุลเลาะฮ์เข้า ร่วมกับรัฐบาลซีเรียในการปราบปรามประชาชนฝ่ายต่อต้านมาตั้งแต่เริ่ม ต้นจนกระทั่งปัจจุบัน

หลังการปฏิวตั เิ ขาได้สถาปนาตนเองขึน้ เป็นประธานาธิบดีแห่งซีเรีย และด�ำรงต�ำแหน่งนี้จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2000 โดยมีบาชาร์ อัล-อัส ซาดผูเ้ ป็นลูกชายได้สบื ทอดต�ำแหน่งประธานาธิบดีปกครองซีเรียมาจนถึง ปัจจุบัน ในตลอดยุคสมัยของฮาฟิส อัล-อัสซาด ได้มีการกดขี่ข่มเหง และ เข่นฆ่าบรรดาผู้รู้ศาสนาและนักเคลื่อนไหวเป็นจ�ำนวนมาก อีกทั้งยังก่อ เหตุสงั หารหมูป่ ระชาชนหลายต่อหลายครัง้ เช่นเหตุการณ์สงั หารหมูท่ หี่ ะ มาฮฺในเดือนกุมภาพันธ์ 1982 โดยฮาฟิส อัล-อัสซาด ได้สั่งการให้ท�ำการ ปิดล้อมเมืองนีก้ อ่ นทีจ่ ะให้บรรดาทหารเข้าไปท�ำการสังหารเข่นฆ่าสังหาร หมู่ผู้คนอย่างโหดเหี้ยมโดยใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต มากกว่า 40,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ การสังหารหมู่ใน ครั้งนี้นั้นได้รับการขนานนามว่าเป็นการปฏิบัติการที่โหดเหี้ยมที่สุดที่รัฐ บาลๆ หนึง่ กระท�ำต่อประชาชนของตนเองในยุคใหม่ของตะวันออกกลาง ซีเรียตลอดยุคฮาฟิส อัล-อัสซาด ได้ใช้วีธีการปราบปรามฝ่ายต่อต้านด้วย ความรุนแรงและโหดเหี้ยมเช่นนี้ตลอดมาและได้รับการสืบทอดต่อโดย ลูกชายของเขาที่ชื่อบาชาร์ อัล-อัสซาด

3. รัฐบาลรัสเซีย : เดิมทีรัสเซียให้การสนับสนุนทางทหารในการ ท�ำสงครามกับฝ่ายต่อต้านแบบลับๆ กระทั่งเดือนกันยายน 2015 ภาย หลังเดินทางกลับจากการประชุมสหประชาชาติ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำ� รัฐบาลซีเรียก็ประกาศเข้าร่วมสงครามกลางเมืองซีเรียแบบเปิดเผยโดยให้ เหตุผลแก่สาธารณะว่า เพื่อหยุดยั้งความเลวร้ายของกลุ่มไอซิส แต่จาก รายงานของส�ำนักข่าวต่างประเทศกลับระบุว่า กองทัพรัสเซียพุ่งเป้าการ โจมตีไปที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมากกว่า

ก�ำลังพล : กองทหารซี เรี ย : 250,000 นาย , กองก� ำ ลั ง รั ก ษาความ ปลอดภัย: 8,000 นาย , กองก�ำลังป้องกันประเทศ: 80,000 นาย , กอง ก�ำลังฮิซบุลเลาะฮ์ จากเลบานอน: 8,000-10,000 นาย , กองก�ำลัง พรรคบาธ: 7,000 นาย , กองพลอัลอับบาส: 10,000 นาย , กองก�ำลัง อิหร่าน: 500-1,000 นาย 18


ใครคือฝ่ ายต่อต้านรัฐบาล กระแสการตื่นตัวของประชาชนชาวอาหรับเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน คู่ขัดแย้ง : รัฐบาลซีเรียและผู้สนับสนุน, ไอซิส ธันวาคม 2010 ในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่ประเทศตูนีเซีย ฝ่ายสนับสนุน : ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอาหรับ น�ำมาซึ่งการโค่นล้มรัฐบาล 1. ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย และประเทศกลุ่มอ่าว : ให้การสนับสนุน เผด็จการในหลายประเทศเช่นตูนีเซีย โมร็อคโค อียิปต์ และลิเบีย เป็นที่ รู้จักกันในชื่อปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ซึ่งรวมถึงซีเรีย ด้านการเงินและการทหารรวมไปถึงความช่วยเหลือด้านมุนษยธรรม 2. สหรัฐอเมริกา : สหรัฐให้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทั้ง ด้วยเช่นกัน การประท้วงของชาวซีเรียเริม่ ปะทุขนึ้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เมือ่ การสนับสนุนทางอากาศเครื่องกระสุนและการฝึกกองก�ำลังเพื่อต่อต้าน ประชาชนได้เริ่มออกมาประท้วงโดยสงบ โดยต้องการเพียงให้รัฐบาล กลุ่มไอซิส 3. กลุม่ มุญาฮิดนี ต่างชาติ : กลุม่ นักรบมุญาฮิดนี หลายกลุม่ เข้าร่วม ท�ำการปฏิรปู ทางการเมือง แต่รฐั บาลของบาชาร์ อัล-อัสซาด กลับใช้ความ รุนแรงปราบปรามผูช้ มุ นุมและผูเ้ คลือ่ นไหวต่อต้านรัฐบาลอย่างโหดเหีย้ ม ในสมรภูมซิ เี รีย ว่ากันว่ามีชาวมุสลิมจากหลายพืน้ ทีท่ วั่ โลกเดินทางเข้าไป มาโดยตลอด การปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหีย้ มและรุนแรงในครัง้ ร่วมกับกลุม่ มุญาฮิดีนเหล่านี้ นีแ้ ทนทีจ่ ะท�ำให้ประชาชนชาวซีเรียหวาดกลัวและไม่กล้าออกมาต่อต้าน รัฐบาลกลับให้ผลตรงกันข้าม ประชาชนชาวซีเรียตามเมืองต่างๆ ทั่ว ประเทศต่างออกมาประท้วงกันมากขึ้น รัฐบาลก็เพิ่มระดับความรุนแรง ในการปราบปรามผู้ชุมนุม จนกระทั่งเริ่มมีทหารของรัฐบาลที่รับไม่ได้กับ การสัง่ ฆ่าประชาชนเริม่ แปรพักตร์มาช่วยปกป้องประชาชน และได้กอ่ ตัว ขึ้นเป็นกองก�ำลังซีเรียเสรี (Free Syrian Army) ในภายหลัง ปัจจุบันฝ่ายต่อต้านรัฐบาลแบ่งออกเป็นหลายฝ่ายหลายกองก�ำลัง แต่ทงั้ หมดมีเป้าหมายร่วมกันคือหยุดยัง้ ความเลวร้ายของกองก�ำลังรัฐบาล ซีเรียที่น�ำโดยประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ก�ำลังพล : Free Syrian Army: 40,000–50,000 นาย , Islamic Front: 40,000–70,000 นาย, Authenticity and Development Front: 13,000 นาย , นักรบมุญาฮีดีน: 5,000–12,000 นาย , al-Nusra Front: 5,000–6,000 (50 Khorasan)

19


ใครคือไอซิ ส ISIS ในเดือนเมษายน 2013 ภายใต้การน�ำของบักดาดี ISI ได้ขยาย แนวรบเข้าไปในซีเรียจึงเปลีย่ นชือ่ ใหม่อกี ครัง้ และเป็นชือ่ ทีใ่ ช้กนั มาจนถึง ปัจจุบัน คือ “Islamic State in Iraq and Syria” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 กลุ่ม อัลกออิดะห์ ได้ตัดขาดความสัมพันธ์กับไอซิส เนื่องมาจาก ความพยายามของไอซิสที่ควบรวมกลุ่ม อัน นุสรอ ฟรอนท์ (Al Nusra Front) ซึง่ เป็นองค์กรสาขาของอัลกออิดะห์ในซีเรียเข้ากับกลุม่ ของตนเอง

ไอซิส ISIS คือชื่อย่อของ กลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย หรือ Islamic State of Iraq and Syria มีชื่อเรียกที่หลากหลาย เช่น “กลุ่ม รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนท์” (ISIL) “รัฐอิสลามแห่งอิรักและมหา ซีเรีย” หรือ “รัฐอิสลามแห่งอิรักและอัล-ชาม” หรือ “รัฐอิสลามแห่งอิรัก และตะวันออก” โดยมีเป้าหมายคือตัง้ รัฐอิสลามทีป่ กครองด้วยกฎหมาย อิสลามในอิรัก ซีเรีย และดินแดนที่เรียกว่าเลแวนท์ ซึ่งครอบคลุมถึง เลบานอน อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน ไซปรัสและทางใต้ของตุรกี

ก�ำลังพล : รายงานของ CIA ระบุวา่ เหล่านักรบไอซิสมีจำ� นวนราว 31,500 นาย ด้านกองก�ำลังชาวเคิรด์ บอกว่าเหล่านักรบไอซิสในซีเรียอาจมีไม่นอ้ ย กว่า 100,000 นาย

นักวิเคราะห์มองว่า ไอซิส ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2004 โดยใช้ชื่อว่า Jama’at al-Tawhid wal-Jihad หรือ องค์กรศรัทธาเอกานุภาพและ การญิฮาด ภายใต้การน�ำของอบู มุซอับ อัล ซอร์กาวี ชาวจอร์แดน ซึ่งมี บทบาทส�ำคัญในการต่อต้านการยึดครองอิรกั ของสหรัฐฯ ในปลายปี 2004 ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของกลุม่ อัลกออิดะห์ เปลีย่ นชือ่ องค์กรเป็น “Tanzim Qaidat al-Jihad fi Bilad al-Rafidayn, (The Organization of Jihad’s Base in the Country of the Two Rivers: TQJBR) หรือ องค์ กรญิฮาดในประเทศแห่งสองแม่น�้ำ และกลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ AlQaeda in Iraq หรือ อัลกออิดะฮ์สาขาอิรัก

คู่ขัดแย้ง : รัฐบาลซีเรียและผู้สนับสนุน, ฝ่ายต่อต้านและผู้สนับสนุน, ชาวเคิร์ด ฝ่ายสนับสนุน : ไม่มี

หลังจากซอร์กาวีเสีย ชีวิตในปลายปี 2006 จากการโจมตีทาง อากาศของสหรัฐ ถือเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญ โดยมีอบู อัยยูบ อัล มัสรี ผู้ เชี่ยวชาญด้านระเบิดชาวอียิปต์ขึ้นมาเป็นผู้น�ำกลุ่ม มัสรี สามารถดึงกลุ่ม ติดอาวุธอีกหลายกลุม่ เข้าร่วม จนกระทัง่ ได้ประกาศการรวมตัวกันภายใต้ ชื่อใหม่ว่ากลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรัก ( Islamic State of Iraq - ISI) ต่อสู้ใน อิรักมาต่อเนื่อง จนประทั่งในเดือนเมษายน 2010 มัสรี ก็ถูกสังหารใน ปฏิบตั กิ ารทางทหารของสหรัฐฯและอิรกั จากนัน้ อบูบกั ร อัล บักดาดี ได้ ขึ้นมาเป็นผู้น�ำรุ่นที่ 3 จนถึงปัจจุบัน

20


ใครคือชาวเคิร์ด ชาวเคิรด์ ในซีเรียอาศัยอยูใ่ นเคอร์ดสิ ถานซีเรีย (Syrian Kurdistan) หรือเคอร์ดิสถานตะวันตก ( Western Kurdistan) เป็นดินแดนปกครอง ตนเองโดยพฤตินยั ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซีเรีย ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา เคอร์ดิสถานซีเรียส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดย กองก�ำลังชาวเคิร์ดในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองซีเรีย และในเดือน พฤศจิกายน 2013 พวกเขาประกาศตั้งรัฐบาลโดยพฤตินัยในบริเวณนี้

ชาวเคิรด์ เป็นชนชาติทอี่ าศัยอยูท่ างทีร่ าบสูงในเอเซียตะวันตกหรือ ตะวันออกกลาง อาณาบริเวณที่ชาวเคิร์ดอาศัยอยู่เรียกว่า เคอร์ดิสถาน (ดินแดนแห่งชาวเคิร์ด) กินพื้นที่นับแต่ตุรกี, อิรัก, อิหร่าน อาร์เมเนีย ระหว่างเทือกเขาเตารูซ, ซักกอรูส และเทือกเขาอารารัต และที่ราบลุ่ม ระหว่างแม่นำ�้ ไทกริสและยูเฟรติส ปัจจุบนั มีจำ� นวนประชากรราว 15 ล้าน คน กระจัดกระจายในอาณาเขตของหลายประเทศ คือราว 8 ล้านคนใน ตุรกี ราว 5 ล้านคนในอิหร่าน และมีมากกว่า 2 ล้านคนในอิรัก และเป็น ชนกลุ่มน้อยในซีเรียอีกราว 5 แสนคน

ก�ำลังพล : People Protection Units (YPG): 10,000–35,000 นาย , ชาวเคิรด์ ส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาอิสลาม และสังกัดมัซฮับอัชชาฟีอยี ์ Jabhat al-Akrad: 7,000 นาย แต่กย็ งั มีชาวเคิรด์ อีกเป็นจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีน่ บั ถือในลัทธิอลั ยะซีดยี ะห์ (ยา ซีดี) ซึ่งเป็นลัทธิที่ผสมผสานความเชื่อและพิธีกรรมจากศาสนาที่บูชารูป คู่ขัดแย้ง : รัฐบาลซีเรีย, ไอซิส เคารพ, ศาสนาโซโรอัสเตอร์, ยูดาย, คริสต์ และอิสลาม ชาวเคิร์ดที่ถือใน ฝ่ายสนับสนุน : ซาอุดิอาระเบีย และประเทศกลุ่มอ่าว , สหรัฐอเมริกา ลัทธินี้จะไม่กินหัวผักกาดและเนื้อกวาง ท�ำพิธีละหมาดด้วยใจและอนุมัติ ให้ผู้เชื่อในลัทธิดื่มสุราได้ และเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดตลอดจนการ อวตาร ////

21


ประมวลภาพบรรยากาศวันอีดิ้ลอัฏฮา ปี ฮ.ศ.1436 ณ ลานเอนกประสงค์ บ้านหทัยรัก มัสยิดดารุ้ลอิหฺซาน (สุเหร่าขาว)

กุรบานศรัทธาชน ฮ.ศ.1436

อัลฮัมดุลิ้ลละฮฺ ผ่านไปด้วยดี กับโครงการกุรบานเพื่อเด็กก�ำพร้า กุรบานศรัทธาชน ฮ.ศ.1436 ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้มีจิตศรัทธาเช่นเคย วัว 141 ตัว และแพะ 105 ตัว คือ จ�ำนวนที่พี่น้องผู้ศรัทธาร่วมท�ำกุรบานกับมูลนิธิศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและเด็กก�ำพร้า และ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมยาตีมทีวี โดยในปีนี้ ครอบครัวเด็กก�ำพร้าและยากจนกว่า 5,000 ครอบครัว ทัว่ ประเทศไม่วา่ จะเป็นภาคไหน พีน่ อ้ งในประเทศลาว และพีน่ อ้ งผูล้ ภี้ ยั ก็ได้รบั เนือ้ กุรบานด้วยเช่นกัน ญะซากุมุ้ลลอฮุคอยรอน

22


23


ประมวลภาพโครงการมอบเนื้อกุรบานแด่น้องก�ำพร้า ประจ�ำปี ฮ. ศ. 1436

ฝ่ายสงเคราะห์ เด็กก�ำพร้ามูลนิธิสภายุวมุสลิมโลก ส�ำนักงานประเทศไทย ได้ จัดโครงการค่ายเด็กก�ำพร้าดี ด้วยวิถีอิสลาม เพื่อให้เยาวชนก�ำพร้าระดับประถม ศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้มาเรียนรู้การใช้ชีวิตการอยู่ร่วมกัน ฝึกการ ปฏิบัติศาสนกิจในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างถูกต้อง และฝึกฝนการท�ำงานเป็นหมู่คณะ

เมื่อวันที่ 2 – 4 ตุลาคม 2558 ณ ส�ำนักงานมูลนิธิฯ และวันที่ 9 – 11 ตุลาคม 2558 ณ โรงเรียนศานติวิทยา โกตาบารู จังหวัดยะลา และโรงเรียนธรรมศาสน์ วิทยา จังหวัดสตูล

24


25


Halal Trip

ZenMare - a.sumarmarm@yahoo.com

When East meet West in Istanbul

หลายๆคนอาจจะเข้าใจผิด คิดว่า อิสตันบูลเป็นเหมืองหลวงของประเทศตุรกี แต่จริงๆแล้วเมืองหลวงของประเทศ ตุรกี คือ กรุงอังการา ส่วนอิสตันบูลเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในตุรกี และที่พิเศษมากไปกว่านั้นคือ อิสตัน บูลเป็นเมืองเดียวในโลกที่ตั้งอยู่ทั้ง 2 ทวีป เอเชีย และ ยุโรป โดยถูกแบ่งพื้นที่ออกจากกันด้วยช่องแคบบอสฟอรัส ทะเล ที่คั่นระหว่าง 2 ทวีป คือ ทะเลมาร์มาร่า ถ้าย้อนกลับไปในอดีตกาล อิสตันบูลถือว่าเป็นเมืองทีม่ ปี ระวัตศิ าสตร์เก่าแก่และยาวนาน และถูกเปลีย่ นชือ่ เมืองมา ถึง 3 ชื่อ คือเริ่มด้วย Byzantium เปลี่ยนมาเป็น Constantinople (หรือ New Rome) และชื่อสุดท้าย Islambul และ ถูกผันเสียงมาจนเป็นชื่อ Istanbul จนถึงปัจจุบันนี้ ศูนย์กลางของนครอิสตันบูลจะอยู่ในบริเวณ สุลต่านอะห์เม็ต (Sultanahmet) ซึ่งเป็นเมืองเก่า (Old City) เป็นที่ ตั้งของพระราชวัง โบสถ์คริสต์ มัสยิดอิสลาม โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ อาคารแบบออตโตมันและแบบยุโรป ยังคงไว้ซึ่ง บรรยากาศของวัฒนธรรมที่หลากหลายของอารยธรรมไบแซนไทน์ และออตโตมัน 26


“ในปี 2557 รายงาน TripAdvisor’s Travelers’ Choice Destinations 2014 จัดให้นครอิสตันบูลเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลกแทนที่ กรุงปารีส ปรับขึ้นจากอันดับที่ 12 ในปี 2556” ความมีเสน่หแ์ ละไม่เหมือนใครของเมืองนี้ น่าจะเป็นความผสม ผสานกันที่ลงตัวสุดๆของหลายๆอย่าง เป็นเมืองที่ “East meets West” ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นเมืองที่ ผสมผสานความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม (กรีก โรมัน ออตโตมัน) ศาสนา (คริสต์และอิสลาม)และเป็นเมืองทีผ่ สมผสานอย่างกลมกลืน ระหว่าง ความเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์และความทันสมัย รวมถึง อาหารทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ และผูค้ นทีอ่ ธั ยาศัยดี ยิม้ แย้ม พร้อมต้อนรับ นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกอย่างแท้จริง เมื่อเราเดินทางมาถึงอิสตันบูลกัน ก็ไม่รอช้า พร้อมวางแผน ตะลุยจุดส�ำคัญต่างๆในเมืองนีท้ นั ที โดยเราจะเริม่ ต้นการส�ำรวจเมือง นี้จาก Taksim square ใจกลางจัตรุ สั แห่งนีม้ อี นุสาวรียแ์ ห่งการประกาศอิสรภาพและ การรวมชาติของอตาเติรก์ ผลงานของศิลปินชาวอิตาเลียน ปิแอโตร คาโนนิคา บริเวณรอบจัตรุ สั เป็นแหล่งช็อปปิง้ ทีค่ กึ คักเต็มไปด้วยร้าน ค้ามากมาย ทั้ง shop brand name ร้านอาหาร cafe ร้านขนม ร้านของฝาก เป็นที่นิยมของคนตุรกีและชาวต่างชาติมีรถรางแล่น เป็นแนวขนานกับรถตลอดสาย (Tram) โชคดีที่เราจองที่พักในย่าน หอคอยนี้เป็นที่คุมขังนักโทษ ด้วยความสูงถึง 62 เมตร หอคอยนี้จึง นี้พอดี ท�ำให้ 3 วันในตุรกีของเราต้องมาจบลงที่นี่ทุกวัน เหมาะกับการที่ชมวิวรอบเมืองอย่างยิ่ง ปัจจุบันหอคอยนี้ท�ำเป็น ภัตตาคารและไนท์คลับยามราตรีทมี่ กี ารแสดงระบ�ำหน้าท้อง ใคร่จะ นอกจากนี้ยังมีศูนย์วัฒนธรรมจัดแสดงคอนเสิร์ตต่างๆโดย ชมทัศนียภาพของอิสตันบูลจากมุมสูง หรือใคร่จะนั่งทานอาหารไป เฉพาะในหน้าร้อน รวมทัง้ สถานบันเทิงยามค�ำ่ คืนก็อยูท่ นี่ เี่ ช่นกัน ใคร ชมวิวไป ก็น่าประทับใจไม่ใช่น้อยหน้ากัน ที่อยากเห็นว่าคนที่นี่เค้า hang out กันประมาณไหน ก็สามารถมา เดินมาเรือ่ ยๆ เลยหอคอยกาลาตาไปอีกนิด ด้านหน้าเราจะพบ ส�ำรวจที่นี่ได้ Kalata Bridge เป็นย่านที่มีผู้คนและนักท่องเที่ยวมากมาย เพราะ เมื่อเดินต่อไปเรื่อยๆจะถึงย่าน Karakoy เราขอเรียกของเรา จะเป็นท่าเรือที่ให้บริการเรือแล่นผ่านช่องแคบบอสฟอรัส เองว่าเป็น Art Street โดยส่วนตัว ชอบถนนเส้นนี้มาก เป็นย่านที่ กิจกรรมทีเ่ ราเห็นกันจนชินตาระหว่างเดินข้ามสะพานกาลาตา วุ่นวายน้อยกว่าTaksim และร้านค้าข้างทางมี Design ส่วนใหญ่จะ เป็น shop ที่ขายเครื่องดนตรี แผ่นเสียง และมี shop ของฝากแนว คือ ผูค้ นมานัง่ ตกปลามากมาย มากจนสงสัยว่า มีปลาเยอะขนาดนัน้ art&design มากมาย ซึง่ ในบริเวณนีจ้ ะเป็นทีต่ งั้ ของหอคอยกาลาตา จริงๆเหรอ แต่เมื่อข้ามสะพานมา เราถึงกับหายสงสัย เพราะข้างๆ (Kalata Tower) ว่ากันว่าหอคอยแห่งนี้สร้างมาตั้งแค่ปี ค.ศ. 500 ฝัง่ ทะเลสาบ จะมีแพทีเ่ ป็นครัวส�ำหรับประกอบอาหารทีท่ ำ� จากปลา เพื่อใช้เป็นประภาคาร แต่ถูกไฟไหม้หลายครั้ง สุลต่านเซลิมที่ 2 ทรง ที่ตกได้จากทะเลสาบมามาร่าเต็มไปหมด แน่นอน เรามาถึงที่แล้ว ก็ ได้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ และในปี ค.ศ. 1348 สมัยสุลต่านสุไลมาน ได้ใช้ ไม่พลาดที่จะลิ้มรสแซนวิชปลาแสนอร่อย 27


นอกเหนือจากนีส้ ถานทีท่ ไี่ ม่ควรพลาดในการมาเยือนอิสตันบูล ขอสรุปสถานที่ส�ำคัญๆให้ ดังนี้ค่ะ เยือนย่านสุลต่านอะห์เม็ต (ย่านเมืองเก่า) ซึ่งมีโบราณสถาน พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ โบสถ์ มัสยิด ฯลฯ เดินเล่นชมเมืองตาม อัธยาศัย รับรองว่าเพลิดเพลินเป็นที่สุด 1. วิหารฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia Church and Museum) หรือวิหารเซนต์โซเฟีย ถือว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคกลาง เป็นโบสถ์คาทอลิก มีหลังคาเป็นยอดกลม เสาในโบสถ์เป็น หินอ่อน ภายในติดกระจกสี เมื่อเติร์กเข้าครองเมืองได้เปลี่ยนโบสถ์ นี่ให้เป็นสุเหร่าในปี ค.ศ. 1453 ภายหลังทางการได้ตกลงให้วิหาร เซนต์โซเฟียหรือสุเหร่าฮาเกียเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยทุกวันนี้ยังคง บรรยากาศของความเก่าขลังอยูเ่ ต็มเปีย่ ม โดยเฉพาะโดมทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ เป็นอันดับ 4 ของโลก และมีพนื้ ทีโ่ ล่งภายในใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก ก่อสร้าง ด้วยการใช้ผนังเป็นตัวรับน�้ำหนักของอาคารลงสู่พื้นแทนการใช้เสา ค�ำ้ ยันทัว่ ไป นับเป็นเทคนิคการก่อสร้าง ทีถ่ อื ว่าล�ำ้ หน้ามากในยุคนัน้ (ถือเป็นหนึง่ ในเหตุผลส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ฮาเกียโซเฟียได้รบั การยกย่องให้ เป็น 1 ใน 7 สิง่ มหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง) ยิง่ ทราบถึงความสุดยอด เหล่านี้แล้ว ใครที่ได้มาอิสตันบูลคงไม่อยากพลาดการมาเยือนที่นี่ แน่นอน 2. มัสยิดสีฟา้ (Sultanahmet Mosque หรือ Blue Mosque) มั ส ยิ ด สุ ล ต่ า นอาห์ เ มตหรื อ สุ เ หร่ า สี น�้ ำ เงิ น เป็ น หนึ่ ง ใน สัญลักษณ์ของเมืองอิสตันบูล สร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1609 – 1616 มีแรงบันดาลใจการสร้างมาจากการต้องการเอาชนะหรือสร้างมัสยิด ทีม่ ขี นาดใหญ่กว่าวิหารเซนต์โซเฟียของคริสต์ ท�ำให้สลุ ต่านแห่งออต โตมันหลายพระองค์ต้องการสร้างมัสยิดขนาดใหญ่ให้เทียบเท่าหรือ ใหญ่กว่าวิหารเซนต์โซเฟียมาแทบทุกยุคทุกสมัย แต่ไม่เคยมีใคร ประสบความส�ำเร็จ จนมาถึงในสมัยสุลต่านอาห์เมตที่ 1 เมห์เมต อา อา (Mehmet ) สถาปนิกผู้สร้างสรรค์มัสยิดแห่งนี้ ต้องการแสดงให้ โลกรู้ว่าเขามีความสามารถเหนืออาจารย์และสถาปนิกที่ออกแบบ วิหารเซนต์โซเฟีย จึงบรรจงออกแบบจนอลังการ เหตุที่ผู้คนเรียก มัสยิดสุลต่านอาห์เมตที่ 1 (Sultan Ahmet I) ว่า Blue Mosque จนกลายเป็นชื่อจริงไปแล้วนั้น เนื่องมาจากสีของกระเบื้องอิซนิค บนก�ำแพงชั้นในที่มีสีฟ้าสดใส ลายดอกไม้ต่างๆ เช่น กุหลาบ ทิวลิป คาร์เนชั่น ฯลฯ นั่นเอง โดยให้ตัวมัสยิดหันหน้าเข้าหาวิหารเซนต์ โซเฟีย เป็นการประชันความงามกันอยู่คนละฟากฝั่งของจัตุรัส สุลต่านอาห์เมต ที่ซึ่งในฤดูร้อนจะมีงานแสดงแสงสีที่งดงามยาม ค�่ำคืน

3. พระราชวังทอปคาปี (Topkapi Palace) พระราชวังทอปคาปี ในอดีตเป็นที่ประทับของสุลต่าน แห่งราชวงศ์ออตโตมันหลายพระองค์ ปัจจุบันพระราชวัง ทอปกาปี กลายเป็นพิพธิ ภัณฑ์สถานแห่งชาติเมือ่ ปี ค.ศ. 1924 เปิดท�ำการทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น. ยกเว้นวังอังคาร รอบๆพระราชวังจะมีสวนขนาดใหญ่ เปิดให้คนทั่วไปเข้าไป เดินเล่น ปิคนิค หรือจะนั่งร้านอาหาร ทานอาหาร จิบชา ชม วิวทะเลสาบจากมุมสูงให้เพลินตาสบายใจ 4. ตลาดแกรนด์บาซาร์ (Grand Bazaar) เป็นแหล่ง Shopping ในบรรยากาศและสไตล์เตอร์กิช อันยอดนิยมที่โด่งดังที่สุดในตุรกี เป็นตลาดเก่าแก่กว่า 1,500 ปี มีร้านค้ากว่า 4,000 ร้าน และมีสินค้าหลากชนิด หลาย คุณภาพ จึงมีข้อแนะน�ำส�ำหรับผู้ที่จะมาจับจ่ายที่นี่ว่า ต้องอยู่ ในอารมณ์ที่ดี เพราะต้องเผชิญกับพ่อค้าที่จะขยันเข้ามาเชิญ ชวนจนอาจท�ำให้รำ� คาญ และต้องมีเวลามากพอเผือ่ เดินส�ำรวจ เพื่อเปรียบเทียบราคา ต่อรองราคาให้มากเข้าไว้ และต้องรู้ว่า กระเป๋าเดินทางของคุณมีท่ีว่างมากน้อยแค่ไหน และน�้ำหนัก จะเกินหรือไม่ เพราะเมื่อเข้ามาที่นี่แล้วยากที่จะกลับออกไป มือเปล่า หากซือ้ ของทีต่ ลาดนี้ เวลาต่อราคา ต้องต่ออย่างน้อย 50-70% เพราะพวกเค้าจะตั้งราคาไว้แพงมาก

28


เรือ่ งสุดท้าย ทีเด็ด ทีไ่ ม่ลองอาจเรียกว่ามาไม่ถงึ ตุรกี นัน่ คือชาตุรกี และ ขนมหวานทีท่ านคูก่ นั ทีเ่ รียกว่า Turkish delight คงไม่มขี นมหวานชนิดไหน เลื่องชื่อเท่าขนมชนิดนี้ของตุรกีอีกแล้ว รู้จัก ไปทั่วโลก Turkish Delight หรือที่เรียกภาษาตุรกีว่า “โลคุม” ซึ่งมีรูปร่างคล้าย ลูกเต๋าคลุกอยู่ในแป้งสีขาว เนื้อของขนมลักษณะเหนียวใส มีรสหวานจัด มัก นิยมรับประทานกับชาหรือกาแฟ ส่วนชาอันดับหนึ่งที่คนตุรกีนิยมดื่มกันคือ ชาตุรกีหรือชาด�ำที่น�้ำชามีสี ออกแดงเข้ม กลิ่นหอม รสชาติออกแนวชาจีนแต่เข้มกว่า รสจะขมตอนแรก แต่หวานติดปลายลิน้ ตอนหลัง ส่วนชาอันดับสองคือชาแอ๊บเปิล้ รสกลมกล่อม ชาพืน้ เมือง ซึง่ เวลาชงชาชาวเตอร์กชิ จะชงใส่แก้วทรงดอกทิวลิปใบเล็ก และ ยังมีศลิ ปะการชงชาทีเ่ ป็นเอกลักษณ์อกี ด้วย โดยจะชงชาด้วยอุปกรณ์ทเี่ รียก ว่า “ซาโมวาร์” (Samovar) เป็นกาชงชาพิเศษทรงสวย ด้านบนเป็นที่ใส่น�้ำ ชาและใบชา ด้านล่างเป็นที่ใส่ถ่านท�ำความร้อน เต็มอิ่มกับทุกซอกทุกมุมในอิสตันบูลและตุรกี ถือว่าเป็นทริปที่เรา ประทับใจกันมาก และแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องอ�ำลาประเทศนี้ เดินทางกลับสู่ กรุงเทพฯ แต่เรามั่นใจว่าทุกๆความประทับใจในทริปนี้จะยังคงอยู่ในความ ทรงจ�ำของเรา หากใครมาถามว่าประเทศนีน้ า่ มาเทีย่ วมัย้ ค�ำตอบทีค่ ณ ุ จะได้ กลับไปคือ จองตั๋วเลยค่ะ…. ////

หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia

29


The Circle อัลอัค

ทฤษฎี “เอามันให้ตาย” พีน่ อ้ งเพือ่ นฝูงทีไ่ ปมีภรรยามากกว่า 1 คน เคยเล่าให้ผมฟังด้วยความไม่เข้าใจในสังคมว่า ตั้งแต่ไปมีภรรยาเพิ่ม เขาโดนพวกผู้หญิงที่เคย รูจ้ กั มักคุน้ ร่วมกันต่อต้าน ปฏิกริ ยิ าทีก่ ระท�ำนัน้ รุนแรงมาก บ้างไม่ให้เข้าบ้าน บ้างไม่คบหา สมาคมด้วย ญาติผหู้ ญิงทางฝัง่ ภรรยาหมายเลข หนึง่ บางคนถึงกับประกาศว่า “เอามันให้ตาย!!!” เพื่อนฝูงที่(พลาดแบบตั้งใจ)ไปมีภรรยา เพิ่มเหล่านี้ ต่างบ่นน้อยใจคล้าย ๆ กันว่า ท�ำไม สังคมเราเป็นเช่นนี้ ทีญาติพี่น้องไปท�ำซีนา ไม่ เห็นถึงกับคว�่ำบาตรกันเลย แค่เราไปมีเพิ่ม ถูก ต้ อ งตามหลั ก การทุ ก อย่ า ง ถึ ง กั บ ตั ด ขาดไม่ คบค้า ถึงกับ “เอามันให้ตาย” ไปเลยหรือเนี่ย เพื่อนฝูงบางคนให้ข้อสังเกตว่า มัซฮับต่อ ต้านเมียสองเนี่ย มันน่ากลัวมาก ผู้หญิงจะสาย เก่าสายใหม่ สายอ่อนหรือสายแข็ง ไม่ว่าเปิด หน้ า หรื อ ปิ ด หน้ า ก็ ร วมกั น ได้ อ ย่ า งมิ ค าดคิ ด พร้อมหน้าพร้อมตากันเพื่อปฏิบัติการสั่งสอน “เอามันให้ตาย” ปกติแล้วผมค่อนข้างหมัน่ ไส้คนพวกมีเมีย มากกว่าหนึ่งอยู่เหมือนกัน เพราะชอบมาเล่า เรื่องราวชีวิตที่ไม่เหมือนลูกผู้ชายคนอื่นให้เรา ฟัง คล้าย ๆ มายุให้เอาตาม ... แต่ฟังดูเรื่องนี้ แล้วน่าจะมาชวนเราให้ไปร่วมเป็นเหยื่อของ ทฤษฎี “เอามันให้ตาย” ซะมากกว่า แต่ ก รณี แ บบนี้ น ่ า เห็ น ใจมาก เพราะ โปรแกรม “เอามันให้ตาย” มีตั้งแต่แบบง่าย ๆ อย่างคอยด่าอยู่หน้าประตูบ้าน ไปจนถึงระดับ เศรษฐกิจ อย่างบอยคอตสินค้า ... น่ากลัวจนถึง

น่าขนลุกเลยทีเดียว โดยคนทีท่ ำ� เช่นนัน้ ลืมไปว่า นั่นเป็นสิ่งที่อิสลามเปิดให้ ขณะที่สิ่งที่อิสลาม ปิดตายเช่น “ซินา”(ผิดประเวณี) เรากลับเฉย ๆ ทั้งที่บ้านเราอาจรายล้อมไปด้วยคนท�ำซีนาไป แล้วก็ตาม ว่าไปแล้วเรื่องแบบนี้ เป็นเรื่องของคนที่ ตกอยูห่ ว้ งอารมณ์มากกว่าหลักการ ดัง่ ผูช้ ายบาง คนคว�่ำจานอาหารเพราะกับข้าวไม่อร่อย แต่ ภรรยาไม่สวมหิญาบนัน้ ไม่วา่ อะไร ดัง่ ผูป้ กครอง บางคนทีเ่ ฆีย่ นลูกเนือ่ งจากขาดเรียน แต่ลกู ขาด ละหมาดศุบฮฺกลับเฉย ๆ … การใช้อารมณ์และ ความรุนแรงจึงเกิดขึ้นกับสิ่งที่ตนเองไม่พอใจ อย่างยิ่ง โดยไม่หวนไปตรวจสอบจากหลักการ ว่ามันแค่ไหน? ยิ่ ง กว่ า นั้ น ทฤษฎี นี้ จ ะรุ น แรงขึ้ น ไปอี ก เพราะถูกน�ำไปใช้เสมอโดยกลุม่ คนทีไ่ ม่เพียงตก อยูใ่ นห้วงอารมณ์ แต่ยงั ติดกับ “ความเป็นพวก” จนเป็นเหตุให้สูญเสียความยุติธรรมไปอย่าง เหลือเชื่อ ... เหมือนกับบนเวทีปราศรัยระหว่าง สองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ถ้าอีกฝ่ายพูดค�ำหยาบ ก็ จะกล่ า วว่ า อี ก ฝ่ า ยขาดวุ ฒิ ภ าวะ แต่ ถ ้ า ค� ำ เดี ย วกั น นั้ น ฝ่ า ยตนกล่ า วบ้ า ง ก็ บ อกว่ า สถานการณ์มันพาไป หรือบางทีต้องใช้อารมณ์ เสริมบ้าง ... ต่างฝ่ายต่างเป็นกันอย่างนี้เอง ให้ เหตุผลกันแบบนีเ้ อง จึงมีแต่จะ “เอามันให้ตาย” ... ตายกันไปข้างหนึ่ง ทฤษฎี “เอามันให้ตาย” มักถูกใช้บ่อย ๆ โดยคนเคร่งครัดทั้งหลายที่ฝังหัวอยู่กับทัศนะ ของตนเอง โดยไม่เหลียวแลให้ดีว่า มันอาจมี

30

ความแตกต่างกันระหว่างปราชญ์ชั้นน�ำอยู่ก็ได้ หรือไม่ได้สนใจที่จะจัดให้มีการแลกเปลี่ยนทาง วิชาการ ผ่านวิธีการที่ถูกเลือกแล้วว่า สามารถ รั ก ษาความเป็ น พี่ น ้ อ งเอาไว้ ไ ด้ ห รื อ ป้ อ งกั น ฟิตนะฮฺไม่ให้ลุกลาม คราใดที่ เ กิ ด ข้ อ ขั ด แย้ ง รุ น แรงขึ้ น บรรยากาศก็ถกู ครอบง�ำไปด้วยเสียง “เอามันให้ ตาย” ดังกระหึ่มขึ้น สื่อต่าง ๆ ก็ถูกน�ำมารับใช้ แนวทางนี้ ไม่วา่ ใบปลิว วิทยุ อินเตอร์เน็ต ... จน ลืมไปว่า คราใดทีเ่ กิดข้อขัดแย้งอันใด มาตรฐาน ของพวกเราคือ “... ให้พวกเจ้าอ้างมันไปยัง อัลลอฮฺและเราะซูล” ทั้งในเนื้อหาและวิธีการ ทั้งในท่าทีและมารยาท สังคมเรามักรุนแรงเพียงแค่เรื่องนั้นเป็น เรื่องที่ตัวเองไม่ชอบ หรือเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ ความเป็นตัวตนของกลุ่มที่ตนเองสังกัดอยู่ โดย ไม่พิจารณาหลักการว่า มันเป็นเรื่องระดับไหน เป็นเรื่องที่ต้องถึงขนาด “เอามันให้ตาย” หรือ ไม่ !!! ทฤษฎี “เอามันให้ตาย” สะท้อนให้เห็น ถึงสังคมที่ไม่รู้จักแยกแยะ ไม่รู้จักตรวจสอบ “ระดับต่างๆ” ของปัญหา และมันก็ได้กลายเป็น ปัญหาใหญ่ของสังคมไป ดังนักท�ำงานอิสลาม บางท่านได้กล่าวว่า การไม่รู้จักล�ำดับสภาพ ต่าง ๆ ของสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี น�ำไปสู่ฟิตนะฮฺ (ความวุ่นวาย) ที่ไม่สิ้นสุด ... หมายเหตุ : เขียนเมื่อปี 2007 ////


31


32


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.