Halal Life Magazine #33

Page 1

ฟรี!

ปีที่ 5 ฉบับที่ 33 กรกฎาคม - สิงหาคม 2558

Life in 1910

ยกระดับความคิด เพื่อชีวิตฮาลาล




Editor’s note ชีวิตคือการต่อรองระหว่างความฝันและความเป็นจริง มากบ้างน้อยบ้าง เราล้วนต่างมีความฝันเป็นของตัวเอง (ความฝันในที่นี้หมายถึงความใฝ่ฝัน คนละความหมายกับความฝันขณะนอนหลับ) ไม่ว่าจะเป็นความฝันที่ดูเหมือนจะไร้สาระในวัยเด็ก หรือจะเป็นความฝันในการได้ท�ำสิ่งแปลกใหม่ในช่วงชีวิตวัยรุ่น หรือความฝันในการอยากได้ อยาก มี หรืออยากจะเป็น ในสิ่งที่ห่างไกลจากชีวิตจริง ในวัยเด็ก ความฝันของเราอาจไม่ชัดเจนและมักถูกชี้น�ำหรือยัดเยียดจากผู้คนรอบข้าง เช่น คุณครูสมัยอนุบาลที่มักถามเราว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร ?” ครู ต�ำรวจ ทหาร หมอ ค�ำตอบของเด็ก รุน่ ผมวนเวียนอยูแ่ ค่นนั้ ไม่ใช่จะบอกว่าสีอ่ าชีพนัน้ มันไม่ดี ไม่ควรเป็นความฝันหรืออนาคตของเด็กๆ แต่แค่สงสัยว่า เด็กคิดแบบนั้นกันจริงๆ หรือเป็นเพียงค�ำตอบจากการชี้น�ำของเพื่อนร่วมห้องหรือ การยัดเยียดจากผู้หลักผู้ใหญ่กันแน่ แต่เอาเถอะ เรื่องแบบนี้มันอาจไม่ส�ำคัญอะไร –ก็ดีกว่าเป็นเด็ก ไม่มีความฝันแหละน่า- มิตรสหายบางท่านเคยให้ทัศนะไว้แบบนี้ ในความทรงจ�ำสีจางของวัยเด็ก น่าแปลกที่ผมกลายเป็นพวก “เด็กไม่มีความฝัน” ในทัศนะ ของมิตรสหายท่านนั้น ผมยืนบื้อเป็นตอไม้ทุกครั้งที่เจอค�ำถามแบบนี้ “โตขึ้นอยากเป็นอะไร ?” นั่น สิ โตขึ้นเราอยากเป็นอะไร ผมทวนค�ำถามของคุณครูในหัวตัวเองซ�้ำไปซ�้ำมา จนเหงื่อแตกพลั่กแต่ มันก็ไม่ได้ชว่ ยอะไร สุดท้ายผมก็ออกจากสถานการณ์นา่ กระอักอ่วนใจนัน้ ไปได้ดว้ ยการท�ำตาละห้อย และยิ้มแสยะใส่คุณครูอนุบาลของผมไปหนึ่งที

ชีวิตคือการต่อรองระหว่างความฝันและความเป็นจริง เอาเข้าจริง หลายคนคงเจอสถานการณ์ไม่ต่างกับผม ขึ้นอยู่กับว่า เราจะออกจากสถานการณ์ นั้นไปด้วยวิธีการอะไร บางคนอาจเลือกตอบตามเพื่อนที่ก่อนหน้า หรือบางคนอาจนึกถึงพระเอก ละครทีวีหลังข่าวที่นั่งดูกับแม่เมื่อคืนก่อน ส่วนผมเลือกท่าไม้ตายด้วยการท�ำตาละห้อย ทีบ่ อกว่าน่าแปลก เพราะโตขึน้ มาหน่อย ผมกลายเป็นพวกช่างฝัน ค่อนๆ ไปทางเพ้อฝันมากๆ ในช่วงวัยรุ่นผมท�ำอะไรไร้แก่นสารหาสาระไม่ได้ในมาตรฐานของคนรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อนไป โรงเรียนผมดันออกเดินทางไปยังสถานที่ไม่คุ้นเคย(ที่จริงก็เที่ยวเตร่ตามประสาวัยรุ่นนั้นแหละ :D ) เพื่อนศึกษาหาความรู้ผมกลับท�ำงานหารายได้(เที่ยวบ่อยก็ต้องหาสตางค์ไว้ใช้เอง) เที่ยว ช้อปปิ้ง ท�ำงาน เที่ยว ช้อปปิ้ง ท�ำงาน เวลาส่วนใหญ่ในช่วงชีวิตวัยรุ่นของผมจึงหมดไปกับเรื่องพวกนี้ มา รูต้ วั อีกทีเพือ่ นวัยเดียวกันก็จบปริญญาในขณะทีผ่ มต้องมาไล่เรียนการศึกษานอกโรงเรียนตลอดช่วง มัธยม

Halal Life Magazine ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด กฤษดา เรสลี บรรณาธิการบริหาร วิทยากร อิสมาแอล บรรณาธิการต่างประเทศ กอมารียะห์ สุเรรัตน์ บรรณาธิการผู้จัดการ วิลาสินี กันซัน ฝ่ายการตลาด อนุชา ทรงวงษ์ สิทธิศักดิ์ วงค์เกษร ฝ่ายสร้างสรรค์ กวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์ เอกมล บุญชม ศิลปกรรม เชาวลิต วงษ์มะเซาะห์ ติดต่อโฆษณา 086-890-6055 Website www.halallife.tv Email halallife.tv@gmail.com Facebook fb.com/halal.life.magazine เจ้าของ บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด เลขที่ 336/18 ซ.ราษฎร์อุทิศ 52 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510

ชีวิตคือการต่อรองระหว่างความฝันและความเป็นจริง มาถึงวันนี้ วันที่จัดประเภทตัวเองอยู่ในหมวด “ผู้ใหญ่” ได้แบบไม่เคอะเขิน ผมยังคงเป็นคน ช่างฝัน ค่อนๆ ไปทางเพ้อฝัน ไม่ต่างจากช่วงวัยรุ่น แต่จากประสบการณ์ไร้ความฝันในช่วงอนุบาล และติดหล่มความฝันในช่วงวัยรุ่น ท�ำให้ผมตระหนักรู้ได้ว่า ชีวิตคือการต่อรองระหว่างความฝันและ ความเป็นจริง ขึ้นอยู่กับว่า ในแต่ละช่วงจังหวะชีวิต เราจะต่อรองด้วยวิธีการอะไร และต่อรองกัน มากน้อยแค่ไหน ของแบบนี้ไม่สูตรส�ำเร็จ คุณคนเดียวเท่านั้นที่รู้

วิทยากร อิสมาแอล บรรณาธิการบริหาร halallife.tv@gmail.com

4

2555 edcrub huajuckTH


หยิบ

แบบฟอร์มสมัครสมาชิก นิตยสารฮาลาลไลฟ์

หมดปัญหา หยิบไม่ทัน หาไม่เจอ

สมั ค รสมาชิ ก แน่นอนกว่า

ข้าพเจ้า นาย นาง นางสาว...................................................................................... อายุ .................. ปี ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... รหัสไปรษณีย์ ........................ โทรศัพท์ ................................. อีเมล์ ................................................... การศึกษา อาชีพ

มัธยมศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป อื่นๆ พนักงานบริษัท รับราชการ,รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจส่วนตัว นักเรียน, นักศึกษา อื่นๆ

มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกนิตยสารฮาลาลไลฟ์ สมาชิก 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ สมาชิกอุปถัมภ์ 1 ปี 12 ฉบับ 300 บาท เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................ ให้กับห้องสมุด/มัสยิด............................................................................................................................. ที่อยู่ ....................................................................................................................................................... ................................................................................................. รหัสไปรษณีย์ ...................................... วิธีช�ำระค่าสมาชิก โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท ปลูกฝัน จ�ำกัด

ธนาคารไทยพานิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัส ทาวน์อินทาวน์ เลขที่บัญชี 404-051345-7

(ถ่ายเอกสารได้) 5

ได้ที่นี่

ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ห้องอาหารโซเฟีย (คลองตัน) ร้านอาหารฟาฮาน่า (พระรามเก้า) สวนอาหารจันทร์เสี้ยว (มอเตอร์เวย์) ภัตตาคารสินธรสเต็กเฮ้าส์ (รามค�ำแหง) โคบัง (รามค�ำแหง-สุขาฯ 3) ร้านอาหารอีสานฝั่งธน (อรุณอัมรินทร์) ห้องอาหารนางพญา (พญาไท) เมี่ยงปลาเผาหลังราม สาขาพระรามเก้า ร้านฮาลาลโฮม ซ.เทคโนบางกะปิ (บางกะปิ) ร้านฟารีดาโภชนา (เหม่งจ๋าย) อะลาดิน ซูชิ (เหม่งจ๋าย) I COFFEE / I YAKI (รามค�ำแหง 53) MUMKIN KAFE’ (ศูนย์การค้าเซเลเบรท) บัยตฺชา & สเต๊กครัวจูซุน (คู้ขวา มีนบุรี) เมี่ยงปลาเผาหลังราม สาขา คู้ขวา มีนบุรี Cafe at Five (รามค�ำแหง ซ. 5) Finn Corner (รามค�ำแหง ซ. 53) ร้านหนังสือ ศูนย์หนังสืออิสลาม (ศูนย์กลางอิสลาม คลองตัน) ศูนย์หนังสือมานพวงศ์เสงี่ยม (พระรามเก้า) ร้านหนังสือส.วงศ์เสงี่ยม (มหานาค) Halal Express (หนองจอก) ร้านอารีฟ เซ็นเตอร์ (มัสยิดสวนพลู) โรงพยาบาล รพ.ปิยเวช, รพ.กรุงเทพ, รพ.เสรีรักษ์, รพ.นวมินทร์, รพ.เวชธานี, รพ.บ�ำรุงราษฎร์ ธุรกิจบริการและโรงแรม รีสอร์ท บางพลัด โรงแรมนิวเวิลด์ (บางล�ำพู) โรงแรมรีเจ้นท์ (รามค�ำแหง) โรงแรมชาลีนา (รามค�ำแหง) โรงแรมนูโว ซิตี้ (บางล�ำพู) มุสลิมโฮม 2 (รามค�ำแหง) ธนาคารและสหกรณ์ เคาท์เตอร์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา สหกรณ์อิสลามสันติชน เครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้ ต่างจังหวัด ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (เชียงใหม่) ร้านอาหารบิสมิลลาฮ์ (แม่สาย) ร้านฟาด้า สเต๊กแอนด์คอฟฟี่ (อยุธยา) ร้านอาหารอิสลามดาวุดชา (กาญจนบุรี) ร้านมุนาซีร กาแฟสด&เค้ก พัทยา (ชลบุรี) ร้านอาหารชุกรี่ ปั๊ม PT (สุราษฎร์ธานี) ห้องอาหารคุณสาหร่าย (ชุมพร) ร้านอาหารคุ้มราชา ควนโดน (สตูล) SAMI KITCHEN หาดใหญ่ (สงขลา) ร้านบากุส (ปัตตานี) ร้านอาหารอาบูคอลี (ยะลา) ร้านกีตาบบุ๊กเฮาส์ (ยะลา) Halal Minimart (สตูล) ร้านบังฝรั่ง (สงขลา) โรงแรมปายอินทาวน์ (แม่ฮ่องสอน) ร้านสเต๊กครูตา (อยุธยา)


Global

กอมารียะห์ อิสมาแอล - haboohoohoo@gmail.com

ซาอุ ดิ อ าระเบี ย ได้ จั ด เทศกาล อินทผลัม ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เมือง บูไร ดะห์ เป็นเวลา 40 วัน โดยงานนี้เป็นการ รวบรวมพันธุ์อินทผลัมทั้งหมดทั้งที่มีอยู่ใน ประเทศซาอุดิอาระเบียเอง ประเทศแถบ 6


อ่าวเปอร์เซีย และประเทศอื่นๆ มาจัดแสดง เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจได้มา เจรจาซือ้ ขายกันโดยตรงอย่างโปร่งใส และเพือ่ รองรับรถบรรทุกและรถพ่วงห้อง เย็นกว่า 1 พันคัน ทีบ่ รรทุกอินทผลัมพันธุต์ า่ งๆ จ�ำนวนมากจากหลายแหล่ง ทาง ผู้จัดจึงต้องเตรียมสถานที่ขนาดใหญ่ถึง 300,000 ตารางเมตร จนกินเนสบุ๊ค ได้บันทึกว่าเป็น ตลาดอินทผลัมที่ใหญ่ที่สุดในโลก 7


FlashBack

กองบรรณาธิการ

ภาพอดีตหาดูยาก ของชาวมุสลิมเอเชียกลางช่วงปี 1910 ภาพถ่ายหาดูยากของชาวมุสลิมเอเชียกลางในยุคอดีต ดินแดนเหล่านี้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อิสลาม และเป็นบ้าน เกิดของนักวิชาการอิสลามที่ส�ำคัญอย่าง อิหม่ามบุคอรี และ ติรมีซี ในระหว่างปี 1909 และ 1912 ช่างภาพ Sergei Prokudin-Gorskii ได้เดินทางไปทั่วจักรวรรดิรัสเซียเพื่อท�ำการถ่าย ภาพส�ำรวจ ภายใต้การสนับสนุนของ ซาร์ นิโคลัส ที่ 2 เขาใช้เทคนิคพิเศษในการถ่ายภาพ โดยใช้ทั้งภาพสีและ ภาพขาว ด�ำเพื่อให้ภาพที่ออกมาเหมือนสีจริงให้มากที่สุด มาร่วมย้อนอดีตไปดูวิถีชีวิตมุสลิมยุคนั้นผ่านภาพถ่ายอันทรงคุณค่าเหล่านี้ ภาพชุดนี้ จัดแสดงโดย ห้องสมุด คองเกรซ ซึ่งได้ท�ำการซื้อแม่พิมพ์ต้นฉบับของภาพถ่ายเหล่านี้กลับมา ในปี 1948 ////

คนขายผ้าใน Samarkand (ป จั จุบนั คือ อุซเบกิสถาน) นัง่ อยู่ในแผงขายผ้าของตัวเอง ที่มา : ilmfeed.com

8


กลุม่ ผูห้ ญิงแต่งกายด้วยเสือ้ ผ้าท้องถิน่ จาก Dagestan

ท่าทางเคร่งขรึมของ Alim Khan (1880-1944) ประมุขแห่ง บุคอรอ ภาพนีถ้ า่ ยเมือ่ 1911

ข้าราชการในเมืองบุคอรอ

ภาพคูข่ องชายและหญิงจาก Dagestan โดยฝา่ ยชายถือดาบอยู่ในมือด้วย

คนขายผลไม้ นัง่ อยู่ในแผงขายของตัวเอง

ชายสองคนนัง่ อยู่ในมัสยิดใน Samarkand (ป จั จุบนั คือ อุซเบกิสถาน)

นักเรียน ก�ำลังศึกษาอยูก่ บั ครูของพวกเขาใน Samarkand (ป จั จุบนั คือ อุซเบกิสถาน)

นักเรียนนัง่ อยูน่ อก Madrassah (โรงเรียนสอนศาสนา) ใน Samarkand (ป จั จุบนั คือ อุซเบกิสถาน)

บ้าน kebeb ใน Samarkand (ป จั จุบนั คือ อุซเบกิสถาน)

ครูสอนศาสนา กับลูกสาวทัง้ สอง

บรรดาผูศรั ้ ทธากับภาพหน้ามัสยิดใน Samarkand (ป จั จุบนั คือ อุซเบกิสถาน)

99

เด็กชายนั่งอยู่ในศาล ของมัสยิด Tillia-Kari ใน Samarkand (ปัจจุบันคือ อุซเบกิสถาน)


Halal Tasty

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รีสอร์ทบางพลัด เสน่ห์ไทย ‘ฮาลาล’ ใจกลางกรุง ร้านอาหารมุสลิมมักจะไม่ให้ความส�ำคัญกับการขอรับรองเครื่องหมายฮาลาล เพราะมองว่าอาหารในร้านของตนนั้นฮาลาลอยู่แล้ว เนื่องจากเจ้าของร้านเป็นมุสลิม แม้ความจริงจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม แต่หากเรามองดูดีๆ การขอรับรองเครื่องหมาย ฮาลาลกลับจะเป็นโอกาสส�ำหรับร้านอาหารมุสลิมร้านนั้น รีสอร์ทบางพลัดคือหนึ่งใน ผู้ประกอบการมุสลิมที่ใส่ใจและมองเห็นโอกาสในเรื่องนี้ “ที่นี่พื้นที่เดิมเป็นสวนทุเรียนขนาดเกือบ 2 ไร่ ย้อนไปเมื่อ 30 - 40 ปีที่แล้ว คุณย่า(ฮัจยะห์บี๋ มุขตารี) ได้ปรับพืน้ ทีส่ วนทุเรียนมาเป็นบ้านไม้เช่า ทีเ่ ห็นอยูใ่ นปัจจุบนั ก็เป็นโครงสร้างดั้งเดิม เมื่อ 5 - 6 ปีที่แล้วก็มีการรีโนเวทครั้งใหญ่ ช่วงนั้นผมเรียนจบ พอดี ได้มีโอกาสเข้ามาดูแลเรื่องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ก็มีการแต่งเติม ใส่ เฟอร์นิเจอร์และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่เป็นปัจจุบันเข้าไป เพิ่มระบบน�้ำ ระบบไฟ ท�ำให้บา้ นเช่าเมือ่ 30 ปีทแี่ ล้ว ปรับมาเป็นบ้านเช่าทีด่ ทู นั สมัยมากขึน้ แต่กม็ เี สน่หแ์ ละ กลิน่ อายของบ้านเก่าหรือบ้านโบราณอยู่ หลังจากทีม่ กี ารปรับปรุงแล้ว ก็ได้เปลีย่ นชือ่ มาเป็นรีสอร์ทบางพลัด” คุณวศีม มุขตารี ผู้บริหารคนหนุ่มแห่งรีสอร์ทบางพลัดบอก กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของรีสอร์ทสไตล์ไทยใจกลางกรุง 10

ชื่อร้าน สถานที่ตั้ง

รีสอร์ทบางพลัด ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 77/1 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด เจ้าของกิจการ คุณวศีม มุขตารี เวลาเปิด-ปิด ทุกวัน 12.00-20.00 น. เมนูแนะน�ำ แกงกุรุหม่า แกงเขียวหวาน โรตี ทองม้วนสวัสดี 02-8855737 ติดต่อ fb: รีสอร์ทบางพลัดและครัวสวัสดี


ครัวสวัสดี

นอกจากจะมี บ ริ ก ารห้ อ งพั ก แล้ ว รีสอร์ทบางพลัดยังมีบริการในส่วนของห้อง อาหารฮาลาลด้วย โดยตั้งชื่อให้มีความเป็น ไทยสอดรับกับสไตล์ของรีสอร์ทว่า ‘ครัว สวัสดี’ “ส่วนของห้องอาหารเริม่ มีตงั้ แต่ทเี่ รา คิดจะมีรีสอร์ทบางพลัด เพราะว่าคนที่เข้า พั ก ต้ อ งมารั บ ประทานอาหาร เราต้ อ งมี อาหารเช้าไว้ให้บริการส�ำหรับลูกค้า ห้อง อาหารฮาลาลก็เกิดขึ้นมาพร้อมกับรีสอร์ท เมนูอาหารของเราก็จะเป็นอาหารไทยและ มีอาหารใต้บางอย่าง ไม่วา่ จะเป็น แกงกุรหุ ม่า แกงเขียวหวาน โรตี” การมีบริการอาหารฮาลาลนี้เองที่ท�ำ ให้ คุ ณ วศี ม มองเห็ น ความส� ำ คั ญ ของการ ขอรับรองฮาลาล แม้ว่ารีสอร์ทบางพลัดจะ ขึน้ ชือ่ ว่าฮาลาลอยูแ่ ล้ว เพราะมีเจ้าของและ ผู้บริหารเป็นมุสลิมก็ตาม

“รีสอร์ทบางพลัดได้รับการรับรองฮาลาลทั้งจากทางคณะกรรมการกลาง อิสลาม และฮาลาลเพื่อการท่องเที่ยว จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การขอ รับรองฮาลาลเป็นการขอเพื่อการันตีว่าอาหารฮาลาล โดยจะมีกิจกรรม มีการเชิญ ให้ไปออกบูธน�ำเสนอสินค้าหรือบริการที่ฮาลาล อันนี้ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ในการที่ จะขอ คือการขอมีแต่ประโยชน์ ไม่ได้มีโทษอะไร เพราะยิ่งเปิดโอกาสทางการขาย ให้เรา รับประกันให้เราว่าคนที่เข้ามารับประทานได้อาหารที่ฮาลาลแน่นอน” คุณวศีมเล่ารายละเอียดให้ฟังว่าการขอรับรองฮาลาลของรีสอร์ทบางพลัดที่ ด�ำเนินการไปแล้วให้ฟังว่ามีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ขั้นุตอนแรกคือการเตรียมการ ซึ่ง ต้องเริ่มจากการจัดเตรียมห้องอาหารก่อน ด้วยการจัดวางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย จัดอบรมบุคลากรและผู้บริหารทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมให้มีความรู้ ความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับฮาลาล ขั้นตอนต่อมาก็คือการยื่นค�ำขอและการ พิจารณาค�ำขอ ซึง่ จะต้องใช้เอกสารการค้า รวมทัง้ หนังสือแสดงขัน้ ตอนการท�ำอาหาร และเครื่องปรุงวัตถุดิบทั้งหมด ขั้นตอนที่ 3 ก็คือขั้นตอนการตรวจสอบ ทางคณะ ผู ้ ต รวจสอบอั น ประกอบไปด้ ว ยผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ท างศาสนา ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ท าง วิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารจะมาตรวจสอบที่ร้าน ซึ่งใช้เวลาตรวจ สอบประมาณ 30 นาที ขั้นตอนที่ 4 คือการประชุมและลงคะแนน จากนั้นจึงส่งผล การตรวจสอบฮาลาลมาทางจดหมาย โดยร้านอาหารที่ผ่านการตรวจสอบฮาลาลก็ จะมีการแนบข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ส่วนร้านอาหารที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ ทางคณะผูต้ รวจสอบก็จะแจ้งเหตุผลทีไ่ ม่ผา่ นการรับรองมาด้วย ขัน้ ตอนสุดท้ายก็จะ เป็นการติดตามและประเมินผล ซึ่งจะมีการแวะเวียนมาตรวจสอบเป็นประจ�ำ “ประโยชน์ของการขอรับรองฮาลาลมีมากมาย เป็นการการันตีว่าสินค้าและ บริการของเราฮาลาล เพื่อที่จะเข้าสู่ ACE ในปลายปีนี้ อีกอย่างก็เป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของผู้ที่ให้การรับรองฮาลาล และที่ส�ำคัญที่สุดการขอรับรอง ฮาลาลไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ได้มีผลเสียอะไร” คุณวศีมกล่าวยืนยันถึงความส�ำคัญ ของการขอรับรองฮาลาลส�ำหรับร้านอาหาร เพือ่ เตรียมตัวส�ำหรับการเปิดประชาคม อาเซียนที่จะมาถึงในปลายปีนี้ รีสอร์ทบางพลัดประกอบด้วยบ้านพักที่เรียงรายกัน 18 หลัง แบ่งเป็นห้องพัก 22 ห้อง โดยแต่ละห้องก็จะมีการตกแต่งภายในที่แตกต่างกันไปในแต่ละห้อง แต่ยัง คงเอกลักษณ์ของบ้านเรือนไทยและเฟอร์นิเจอร์ที่มีความเป็นไทย นอกจากนั้นทาง รีสอร์ทบางพลัดยังมีพื้นที่รองรับการสัมมนากลุ่มย่อยและเวิร์คช็อปกลุ่มเล็กๆ ด้วย ในส่วนของครัวสวัสดีนั้นคุณวศีมแนะน�ำเมนูแกงเขียวหวานทั้งเนื้อและไก่ ที่ รับประทานคูก่ บั โรตี ซึง่ รสชาติจะมีความเข้มข้นของน�ำ้ แกง และอีกเมนูแนะน�ำก็คอื ทองม้วนสวัสดี ซึง่ เป็นออร์เดิฟของทางรีสอร์ท ทองม้วนสวัสดีจะมีลกั ษณะภายนอก คล้ายปอเปี๊ยะ แต่ภายในจะมีไก่เชียงและกุ้งห่อลงไปบนแป้งแล้วน�ำไปทอด เพื่อน�ำ มารับประทานคูก่ บั อาจาด “ส�ำหรับท่านทีส่ นใจทีพ่ กั ใจกลางเมืองย่านบางพลัด และ ห้องอาหารสวัสดี หรือในส่วนของจัดเลีย้ ง สามารถติดต่อเข้ามาได้ทรี่ สี อร์ทบางพลัด เบอร์โทรศัพท์ 02-8855737 หรือเข้ามาที่ Facebook รีสอร์ทบางพลัดและครัว สวัสดี เราตั้งอยู่ที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 77/1 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด ยินดี ต้อนรับครับ” คุณวศีมกล่าวเชิญชวนทิ้งท้าย //// 11


MAIN HALAL

กองบรรณาธิการ

ว่าด้วยกฎหมายอิสลาม ค�ำฟัตวา

และนักวิชาการมุสลิมในยุคปัจจุบนั โดย ศ.ดร.ญาซิร เอาดะฮ์ แปลและเรียบเรียงโดย มุสลิม วงศาวิศษิ ฐ์กลุ ปาตานีฟอรัม่

12


จากปัญหาความขัดแย้งของนักวิชาการอิสลาม และความแตกต่างทางทัศนะและค�ำชีข้ าดในข้อ ปฏิบตั ติ า่ งๆ ทางศาสนา ทีม่ กั ส่งผลให้ผคู้ นในสังคมในฐานะผูต้ ามเกิดความสับสนจนบางครัง้ เกิดความ แตกแยกขึน้ ระหว่างกัน Halal Life ตระหนักถึงปัญหานีแ้ ละเข้าใจดีวา่ เป็นเรือ่ งทีม่ รี ายละเอียดและมีความ ซับซ้อน เป็นปัญหาทีต่ อ้ งใช้เวลาและการท�ำความเข้าใจ และคงเป็นไปไม่ได้ทจ่ี ะอธิบายทุกอย่างได้ภายใน ไม่กหี่ น้ากระดาษ แต่กระนัน้ ก็ตาม เราก็อยากชวนผูอ้ า่ นมาลองเริม่ ต้นท�ำความเข้าใจพืน้ ฐานของค�ำ ว่ากฎหมายอิสลามและค�ำฟัตวา จากทัศนะของ ศ.ดร.ญาซิร เอาดะฮ์ ทีไ่ ด้ตอบค�ำถามเอาไว้ใน เว็บไซต์ onislam.net ซึง่ เผยแพร่เป็นภาษาไทยอยูใ่ นเว็บไซต์ของ ปาตานีฟอรัม่

จากค�ำถามที่ว่า ‘ท�ำไมนักวิชาการอิสลามมักยกประเด็นการ ถกเถียงใหม่ๆ ทีอ่ อ่ นไหวง่ายซึง่ สร้างความสับสนในสังคม และท�ำไม พวกเราก�ำลังท�ำลายอิสลามด้วยการยกประเด็นเหล่านัน้ เพือ่ น�ำเสนอ ว่ า เราเป็ น คนสายกลาง และเราก� ำ ลั ง มุ ่ ง สู ่ ค วามเป็ น สมั ย ใหม่ เป็นต้น?’ เป็นความจริงที่ว่า ‘นักวิชาการ’ อิสลามบางท่านมักจะยก ประเด็นใหม่ๆ มาถกเถียงและให้ทัศนะทางศาสนา (ออกค�ำฟัตวา) ทีไ่ ม่คอ่ ยคุน้ หูเรากันมากนัก ด้วยการนับถือและให้เกียรตินกั วิชาการ นักพูดและผูน้ ำ� ศาสนาทุกท่าน แต่ผมคิดว่าเหตุผลทีว่ า่ ท�ำไมค�ำฟัตวา หรือทัศนะทางศาสนาที่ไม่สมเหตุสมผลมักจะออกมาจากท่านเหล่า นั้น ก็เพราะว่ากระบวนการทางความคิดของนักวิชาการเหล่านั้นมี จุดบกพร่องเกี่ยวกับการเข้าใจหลักการสากลนั่นเอง ส�ำหรับกฎหมายอิสลาม มีสิ่งที่เรียกว่า ‘หลักการที่ชัดเจน’ ซึ่ง มีความเป็นสากลและครอบคลุมข้อรายละเอียด เช่นว่า กฎรายละเอียด เรื่องต่างๆ จะต้องไม่ขัดแย้งกับเรื่องหลักการที่ชัดเจน หากขัดแย้งก็ ท�ำให้กฎรายละเอียดนั้นตกไป

ลักษณะของกฎหมายอิสลาม ผมเจอการใช้ค�ำเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามของนักวิชาการท่าน หนึ่งที่น่าสนใจนามว่า ‘อิบนูก็อยยิม’ เป็นการใช้ค�ำได้อย่างกระชับ ในการอธิบายหลักการและบทบาทที่ส�ำคัญในการท�ำความเข้าใจ กฎหมายหรือ “ฮุก่ม” ต่างๆ ในอิสลาม “ชะรีอะฮ์นั้นตั้งอยู่บนหลักวิทยปัญญาและการเข้าถึงความ อยู่ดีมีสุขของผู้คนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ชะรีอะฮ์มีมาเพื่อความ

ยุติธรรม ความเมตตา วิทยปัญญาและความดีงามที่สมบูรณ์ ดังนั้น กฎใดๆ ทีเ่ ข้ามาปรับเปลีย่ นความยุตธิ รรมด้วยกับความอธรรม ความ เมตตาด้วยกับสิง่ ทีต่ รงกับข้าม สิง่ ทีเ่ ป็นความดีดว้ ยสิง่ ทีเ่ ป็นความเลว หรือหลักวิทยาปัญญาด้วยความไร้เหตุผล คือกฎ (ฮูก่ม) ที่ไม่ได้มา จากชะรีอะฮ์ ถึงแม้ว่าจะถูกอ้างว่ามาจากอิสลามหรือการเข้าใจโดย กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ตาม” (Shamsuddin Ibn al-Qayyim, I`lam Al-Muwaqi`een, ed. Taha Abdul Rauf Saad (Beirut: Dar AlJeel, 1973) vol.1, p. 333:) นี่คือสิ่งที่เรียกว่า ‘กฎหมายอิสลาม’ ไม่ว่ากฎหรือค�ำสอนใดที่ เข้ามาเปลี่ยนหลักวิทยปัญญาด้วยกับการไร้เหตุผล หรือเปลี่ยนจาก ความยุติธรรมด้วยกับความไม่เป็นธรรม (เช่น กฎ/ค�ำฟัตวาหรือฮุก่ม ต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมที่เราได้ยินในยุคนี้) สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่กฎหมาย อิสลามและไม่ได้เป็นตัวแทนของอิสลาม หากแต่เป็นทัศนะส่วนตัว ของเขาเท่านั้น ประเด็นที่ส�ำคัญ ความจริงแล้ว นักวิชาการเหล่านี้น่าจะน�ำพา พวกเราไปสู่การเผชิญหน้ากับปัญหาแห่งยุคสมัยของเราในด้านการ พัฒนาและสิทธิมนุษยชนมากกว่า แทนทีจ่ ะสาละวนอยูก่ บั สิง่ ทีไ่ ม่ได้ เป็นข้อบังคับอะไรในอิสลาม อิสลามคือศาสนาของคนหนึ่งในสี่ของโลก (โดยประมาณ) อย่างไรก็ตาม รายงานประจ�ำปีของ United Nation Development Programme (UNDP) ได้เปิดเผยว่า Human Development Index (HDI) ว่าประเทศมุสลิมโดยส่วนใหญ่ยังเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา (United Nation Development Programme UNDP, Annual Report)

13


ชารีอะห์ + ฟิกฮ์ + ฟัตวา HDI คือเครื่องมือในการค�ำนวณค่าการพัฒนาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับการอ่านออกเขียนได้ การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการ เมือง การส่งเสริมสตรี ค่าครองชีพและอื่นๆ ประเทศอาหรับรวยน�ำ้ มันบางประเทศ มีรายได้คา่ เฉลีย่ ต่อหัว (income per capita) สูงมาก แต่กลับมีอันดับที่ต�่ำในแง่ของการ เข้าถึงความยุติธรรม การส่งเสริมสตรี การมีส่วนร่วมทางการเมือง และโอกาสที่เท่าเทียมกัน รายงานของ UN ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ ชีใ้ ห้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบางรูปแบบและการคอรัปชัน่ ในประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ รวมถึงปัญหาการอยู่ร่วมกันและความ เป็นพลเมืองของประเทศมุสลิมในสังคมของพวกเขาอีกด้วย โดยสรุป มุสลิมไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนก�ำลังเผชิญกับปัญหาด้าน การพัฒนา ซึ่งความจริงแล้วท�ำให้เกิดปัญหาอื่นอีกมากมาย

1. ชะรีอะฮ์ คือ บทบัญญัติที่มูฮัมหมัด ได้รับมาจาก เบื้องบนและน�ำมาปฎิบัติในชีวิตจริง ซึ่งเป็นค�ำสอนและพันธกิจใน ช่วงชีวิตของเขา นั่นคือ คัมภีร์อัลกุรอานและแบบฉบับของท่าน ศาสดา 2. ฟิกฮ์ คือ ชุดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านนิติศาสตร์ อิสลามที่นักนิติศาสตร์อิสลามจากส�ำนักต่างๆ ได้มีทัศนะให้ไว้เกี่ยว กับการประยุกต์ใช้ ‘ชะรีอะฮ์’ ในสถานการณ์จริงที่แตกต่างกัน หรือ ในเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ต่างกรรมต่างวาระตลอด 14 ศตวรรษทีผ่ า่ นมา 3. ค�ำฟัตวา คือ การประยุกต์ใช้ “ชะรีอะฮ์” หรือ “ฟิกฮ์” ที่ ให้ทัศนะโดยผู้รู้/ผู้มีอ�ำนาจ เพื่อให้ค�ำตอบกับมุสลิมในการใช้ชีวิตใน สถานการณ์จริงในยุคสมัยปัจจุบัน

ตกลงแล้ว “กฎหมายอิสลาม” มีปัญหาหรือ? กฎหมายอิสลาม คือพลังที่ขับเคลื่อนพวกเราไปสู่สังคมที่เป็น ธรรม มีศกั ยภาพ มุง่ สูก่ ารพัฒนา มีมนุษยธรรม มีศลี ธรรม ตรวจสอบ ได้ มีความเป็นระเบียบ เป็นมิตรกับมนุษย์และเปิดรับความหลาย หลาย อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าเศร้าว่าเรามีหลักฐานน้อยมากที่จะ อ้างว่าสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือค่านิยมของสังคมมุสลิมไม่ว่าที่ไหน ก็ตาม ดังนั้นค�ำถามที่ส�ำคัญคือ ตกลงแล้วมันมีปัญหาที่ “กฎหมาย อิสลาม” หรือ? ค�ำตอบขึน้ อยูก่ บั ว่าคุณเข้าใจ ‘กฎหมายอิสลาม’ อย่างไร อย่าง แรก เราควรแยกแยะให้ออกระหว่างความหมายต่างๆ ของกฎหมาย อิสลามที่ถูกใช้โดยทั่วไป เพื่อสามารถตอบค�ำถามข้างต้น ได้อย่าง ถูกต้อง

14


เราเข้าใจ “กฏหมายอิสลาม” กันอย่างไร

ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจว่ากฎหมายอิสลามคือ “ชะรีอะฮ์” ซึ่งหมายถึงบทบัญญัติที่ถูกประทานมาให้กับมูฮัมหมัด จากนั้นเขาน�ำ มาประยุกต์ปฏิบัติใช้ในชีวิตประจ�ำวันของเขาและผ่านกระบวนการถ่ายทอด การท�ำความเข้าใจให้กับบรรดาสาวกและมวลมนุษยชาติของ ท่าน ถ้าอย่างนั้น ค�ำตอบคือ ‘ไม่ใช่’ มันไม่มีปัญหากับ ‘กฎหมายอิสลาม’ เพราะมันคือวิถีชีวิตที่เกี่ยวกับความยุติธรรม ความเมตตา หลัก วิทยปัญญา ความดีงามที่สมบูรณ์อย่างที่อิบนูก็อยยิมได้กล่าวไว้ข้างต้น

ท�ำความเข้าใจ “ฟิกฮ์” ถ้าคุณเข้าใจกฎหมายอิสลามว่าคือ “ฟิกฮ์” หรือชุดองค์ความรู้ด้าน นิตศิ าสตร์อสิ ลามจากส�ำนักคิดต่างๆ ทีเ่ ต็มไปด้วยมรดกทางปัญญา ดังนัน้ ค�ำตอบก็ยังคง ‘ไม่ใช่’ มันไม่มีปัญหาอะไรกับทัศนะหรือเหตุผลทาง กฎหมายที่นักวิชาการในยุคก่อนใด้มีทัศนะให้ไว้กับสังคมและในช่วงเวลา ของเขา เป็นความจริงทีว่ า่ นักวิชาการบางท่านมีทศั นะทางกฎหมายทีผ่ ดิ หรือ มีจุดยืนที่แตกต่างอย่างพิลึกในประเด็นต่างๆ อย่างไรก็ตามประเด็นเหล่า นี้คือธรรมชาติของการท�ำศึกษาและวิจัยด้านนิติศาสตร์อิสลามอยู่แล้ว ต้องไม่ลมื ว่าบทบาทของนักวิชาการในทุกยุคทุกสมัยคือ การตักเตือน และแก้ไขซึ่งกันและกัน และที่ส�ำคัญคือนักวิชาการต้องมีส่วนร่วมในการ ถกเถียงประเด็นที่ก�ำลังเกิดขึ้นในสังคมและยุคสมัยของตัวเอง

15


ศ.ดร.ญาซิร เอาดะฮ์

ท�ำความเข้าใจ “ค�ำฟัตวา” ท�ำความเข้าใจ ‘ค�ำฟัตวา’ (ทัศนะหรือค�ำชี้ขาดด้านศาสนา) อย่างไรก็ตาม หากคุณเข้าใจกฎหมายอิสลามว่าเป็น ‘ค�ำฟัตวา’ ค�ำตอบคือ “ใช่” แต่ขนึ้ อยูก่ บั ว่าค�ำฟัตวา (ค�ำชีข้ าดด้านศาสนา) นัน้ มีทมี่ าทีไ่ ปอย่างไร ข้อชีข้ าดด้านศาสนา (ค�ำฟัตวา) บางข้อเป็นแก่นสารที่มาจากอิสลามและหลักศีลธรรมอันดี แต่บางข้อชี้ขาด อาจมีข้อผิดพลาดและไม่ได้มีความเป็นอิสลามเลย ถ้าหากค�ำฟัตวานัน้ ยืมค�ำพูดมาจากหนังสือยุคเก่าทีเ่ กีย่ วกับกฎหมายอิสลาม ดังนัน้ ก็มคี วามเป็นไปได้มากทีจ่ ะเกิดความผิดพลาดในการตามและการให้ทศั นะ เพราะมันก�ำลัง พูดถึงอีกโลกหนึ่งด้วยกับเหตุการณ์และปัจจัยที่แตกต่างกัน และถ้าหากค�ำ ‘ฟัตวา’ นั้น ตัง้ อยูบ่ นการอรรถาธิบายตัวบททีพ่ ลิกแพลงเพือ่ รับใช้ผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุม่ อิทธิพลบางกลุ่ม ดังนั้นมันจึงเต็มไปด้วยความผิดเพี้ยนและไม่เกี่ยวข้องกับความเป็น อิสลามเลย ถ้าหาก ‘ฟัตวา’ นัน้ อนุญาตให้ผคู้ นกระท�ำการอันน�ำไปสูค่ วามอยุตธิ รรม การเหยียด หยามกีดกัน้ การท�ำร้ายชีวติ และทรัพย์สนิ หรือการท�ำลายหลักจริยธรรม แม้ขอ้ ขีข้ าดนัน้ จากตัง้ อยูบ่ นการอธิบายอิสลามของบางกลุม่ มันก็ผดิ เพีย้ นและไม่เกีย่ วกับอิสลามเช่นกัน แต่ถ้าหากว่า ‘ค�ำฟัตวา’ นั้นตั้งอยู่บนแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ประกอบ กับการมุ่งรักษา ‘ผลประโยชน์สาธารณะ’ ค่านิยมที่ส�ำคัญและหลักเจตนารมณ์แห่ง กฎหมายอิสลามแล้ว ดังนั้นค�ำฟัตวานั้นถือว่าถูกต้องและน่าเชื่อถือในอิสลาม

16


เกี่ยวกับ ศ.ดร.ญาซิร เอาดะฮ์ (Prof.Dr. Jasser Auda)

ศาสตราจารย์ ดร.ญาซิร เอาดะฮ์ ปัจจุบนั เป็นผูอ้ ำ� นวยการบริหารสถาบันมะกอศิด (Maqasid Institute) ซึง่ เป็นองค์กร คลังสมองนานาชาติตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะมหาวิทยาลัยคาร์ลตันในประเทศแคนาดา, เป็นสมาชิกของสภาเพือ่ การวิจยั และฟัตวาแห่ง ยุโรป, เป็นกรรมการก่อตั้งและประธานกรรมการฝ่ายการดะวะฮ์ขององค์กรสหภาพนักวิชาการมุสลิมระหว่างประเทศ และ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญพิเศษของศูนย์การเรียนรูฟ้ กิ ฮ์อสิ ลามของประเทศอินเดีย ศาสตราจารย์ญาซิรจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านปรัชญากฎหมายอิสลามจากมหาวิทยาลัยเวลส์ สหราชอาณาจักร และปริญญาเอกอีกสาขาด้านการวิเคราะห์ระบบจาก มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศแคนาดา นอกจากนั้น ศ.ญาซิรได้ร�่ำเรียนวิชาอิสลามศึกษาและท่องจ�ำคัมภีร์อัลกรุอานจากมัสยิดอัลอัซฮัรในกรุงไคโร ประเทศ อียิปต์ ท�ำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมอิหม่ามและสอนเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม หลักเจตนารมณ์แห่งกฎหมายอิสลามในหลาย มหาวิทยาลัยทั่วโลก เขาเขียนบทความและหนังสือหลายเล่มทั้งภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษและบางเล่มได้รับการแปลถึง 20 ภาษารวมถึง หนังสือ “มะกอศิด อัชชะรีอะฮ์” หลักเจตนารมณ์แห่งกฎหมายอิสลาม ฉบับภาษาไทยด้วย เว็บไซต์ http://www.jasserauda.net

เกี่ยวกับปาตานีฟอรั่ม

ปาตานีฟอรั่ม: คือองค์กรเอกชน ก่อตั้งโดยคนที่ท�ำงานด้านพัฒนาสังคม นักวิชาการ และนักเขียน ซึ่งท�ำงานด้านการ บริการทางวิชาการ เป็นการท�ำงานทีเ่ อือ้ อ�ำนวยต่อการแลกเปลีย่ น ถกเถียง อย่างลึกซึง้ เกีย่ วกับปัญหาความขัดแย้งในจังหวัด ภาคใต้ของไทย และสรรค์สร้างเสนอวิธกี ารทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ////

17


18


19


20


21


Halal Trip

ZenMare - a.sumarmarm@yahoo.com

“Turkey”

เปิดบันทึก ดินแดน 2 ทวีป “เฮ้ยแก Ukraine Airline มีโปรวันนี้วันสุดท้าย” ทริปนี้เริ่มจากตั๋วเครื่องบินราคาถูก! เป็นเหตุให้เราต้องเชคเส้นทางที่ได้ราคาโปรโมชั่น ทันที ซึ่งมีหลายเมืองในยุโรปเลย ตั้งแต่ Moscow, Paris, Frankfurt, Rome, Athens, Istanbul ฯลฯ ซึ่ง ตัดสินใจไม่ยากเลยว่าจะไปที่ไหน เพราะอิสตันบูล เป็น จุดหมายอันดับแรกๆในโลกนี้ที่เราอยากจะไปเยือนอยู่ แล้ว และแน่นอนที่ส�ำคัญ ตุรกีเป็นประเทศมุสลิม อาหารการกินฮาลาลไว้ก่อน เป็นอันสบายใจ สุดท้าย ก็ตดั สินใจจองตัว๋ เครือ่ งบิน BAMGKOK-ISTANBUL ทันที ในราคาไป-กลับต่อคนที่สบายกระเป๋ามาก ก่อนเดินทาง หวั่นใจเล็กน้อยว่าจะสามารถเที่ยวเองได้โดย สวัสดิภาพและปลอดภัยหรือเปล่า แต่การท่องเทีย่ วของเราคือการที่ เราอยากจะไปพบเจอผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย และธรรมชาติ อันสวยงามของโลกใบนี้ ที่พระองค์อัลลอฮ์ได้สร้างขึ้นมา เพื่อให้เรา ได้นึกถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์นั่นเอง หน้าที่ของเราคือขอให้ พระองค์ทรงคุม้ ครองเราตลอดการเดินทาง นอกจากนัน้ เราหาข้อมูล ก่อนการเดินทางตาม Review ต่างๆ สรุปออกมาคร่าวๆ ว่า Trip นี้เราจะใช้เวลา 9 วัน 7 คืน กับ 3 เมืองหลัก คือ Istanbul, Pamukkale, Goreme

22


ประเทศตุรกี มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี ดินแดน แห่งอารยธรรมสองทวีป เป็นการผสมผสานกันระหว่างเอเชียเเละยุโรป ได้แก่ ทวีปยุโรปทางตอนใต้ ที่เรียกว่า เทรซ (Thrace) และ ทวีปเอเชีย ทางฝัง่ ตะวันตก ทีเ่ รียกว่า อนาโตเลีย (Anatolia) โดยส่วนทีแ่ ยกอนาโตเลีย และเทรซ ออกจากกันคือ ทะเลมาร์มารา ช่องแคบบอสฟอรัส และ ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ มีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศ จอร์เจีย อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน ส่วนพรมแดนทางด้านทิศ ใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติด กับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลด�ำ ตุรกีถือเป็น ประเทศที่มีท�ำเลที่ตั้งดีมากๆ เพราะ มีทะเลล้อมรอบ ถึง 3 ด้าน เมือง หลวง คือ กรุงอังการา (แต่เมืองที่มีประชากรมากที่สุด คือ อิสตันบูล) คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเติร์ก 85% ชาวเคิร์ด 10% และที่เหลือ คือ ชนกลุ่ม น้อยเชือ้ สายต่างๆ ภาษาราชการได้แก่ ภาษาเตอร์กชิ และมีศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจ�ำชาติ ส่วนเรือ่ งเวลา เวลาของ ตุรกี เร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนชิ 2 ชัว่ โมง และ ช้ากว่าเมืองไทย 5 ชั่วโมง ในฤดูหนาว (เริ่มประมาณเดือนตุลาคม) แต่ฤดูร้อน (เริ่มประมาณ มีนาคม) จะช้ากว่าเมืองไทย เพียง 4 ชั่วโมง และแล้วก็ถงึ วันเดินทาง เราเดินทางจากสุวรรณภูมไิ ปรอต่อเครือ่ ง ทีเ่ มืองเคียฟ ประเทศยูเครน และนัง่ เครือ่ งอีกต่อมาลงทีอ่ สิ ตันบูล อากาศ ในช่วงเดือนมิถุนายน ถือว่าเป็นหน้าร้อนของตุรกี อุณหภูมิประมาณ 15-18 องศา กลางวันยาวนาน กว่าฟ้าจะมืดประมาณ 3 ทุ่ม ท�ำให้เรา สามารถเดินเที่ยวได้สบายๆเลยค่ะ เราถึงอิสตันบูลกันประมาณเทีย่ งคืน พักทีอ่ สิ ตันบูลก่อน 1 คืน เดิน ทางจากสนามบินมาที่พักย่าน Taksim โดยรถประจ�ำทาง HAVATAS ฝน ตกปรอยๆ ตลอดทางต้อนรับเราเป็นด่านแรก เนื่องจากภารกิจวันถัดไป ต้องรีบตืน่ เพือ่ ไปรอขึน้ เครือ่ งบินไปยังเมือง Izmir ท�ำให้เราต้องเรียก Taxi จากจุดลงรถประจ�ำทางไปยังทีพ่ กั แบบเลีย่ งไม่ได้จริงๆ เพราะเราไม่รทู้ าง กันเลย ค่า Taxi ที่ตุรกีแพงมาก ส�ำหรับคืนนั้น เราโดนกันไป 50 ลีร่าตุรกี หรือประมาณ 750 บาท ในระยะทางไม่ถึง 500 เมตร ถ้าใครจะไป ไม่ จ�ำเป็นห้ามเรียก Taxi เด็ดขาดนะจ๊ะ

วันถัดไปเมื่อลงเครื่องที่เมือง Izmir แล้ว เรานั่งรถประจ�ำทางต่อไป ยังจุดหมายปลายทางของเราคือเมืองริมทะเลอีเจียน ที่ชื่อว่า เซลจุก (Selcuck) เพือ่ ไปชมเมืองโบราณเอฟิซสุ (Ephesus) เป็นเมืองทีม่ มี าก่อน ยุคคริสตกาล ผ่านยุคกรีก และรุ่งเรืองที่สุดในยุคโรมัน ซึ่งในปัจจุบัน เอฟิซสุ ถือเป็นเมืองโบราณทีส่ วยและสมบูรณ์ทสี่ ดุ แห่งหนึง่ ของตุรกี และ ของโลก สถานที่ที่พลาดไม่ได้เมื่อมาถึงคือ The Library of Celsus หอ สมุดประจ�ำเมือง เป็นอาคารหอสมุดทีด่ า้ นหน้าของอาคารท�ำด้วยหินอ่อน ที่ยังคงดูสมบูรณ์ และสวยงามมาก ส่วนภายในถูกท�ำลายไปหมดแล้ว และ โรงละครเอฟิซุส เป็นโรงมหรสพโบราณ จุคนได้ 30,000 คน ถือว่าเป็นโรงละครกลางแจ้งที่ใหญ่มากๆ และใหญ่เป็นอันดับสามของ โรงละครโบราณทั้งหมดในตุรกี มีลานแสดงตรงกลางเวทีตรงกลาง (และ ที่น่าสนใจคือ ถ้าคุณ ไปยืนอยู่ตรงกลาง แล้วร้องเพลง เสียงมันจะก้อง กังวาลไปทั่ว เหมือนมีระบบสเตอริโอ อยู่เต็มโรงละครเลยทีเดียว) ซึ่ง ปัจจุบนั ยังสามารถใช้งานได้ดอี ยูแ่ ละมีการจัดการแสดงแสงสีเสียงบ้างเป็น บางครั้งคราว

23


กลับมายังตัวเมืองเซลจุกอีกครั้งเพื่อรอรถไปยังปามุคคาเล่ (Pamukkale) ระหว่างทางขาไปและขากลับเกิดผิดพลาดเรือ่ งเทีย่ ว รถและท่ารถเล็กน้อย ท�ำให้เราต้องนัง่ รถไปยังอีกท่ารถนึง ซึง่ สุดท้าย กลายเป็นโชคดีทที่ ำ� ให้เราได้มโี อกาสนัง่ รถชมบรรยากาศรอบๆเมือง เซลจุกแบบทั่วถึง อัลฮัมดุลิลลาฮ์ เมืองเซลจุกเป็นเมืองริมทะเล อีเจียนที่มีทิวทรรศน์สวยงามมากด้วยภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาริม ฝั่งทะเล เมืองตรงข้ามอีกฝั่งหนึ่งของทะเลอีเจียนคือกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในตัวเมืองเซลจุกเป็นลักษณะเมืองท่องเที่ยวเล็กๆ ริม ฝัง่ ทะเลคล้ายกับพัทยา ทีท่ า่ รถมีตลาดอยูด่ า้ นหลัง เราไปเดินเล่นกัน ฆ่าเวลารอขึ้นรถ ผู้คนสื่อสารภาษาอังกฤษได้ และอัธยาศัยดีมากๆ แค่เมืองแรกเราก็หลงรักตุรกีไปเรียบร้อยแล้ว

บริเวณนี้ ตามเเหล่งหินเเละนครใต้ดิน เมือง Goreme เป็นเมืองเล็ก ทีเ่ ราสามารถเดินรอบเมืองได้ภายในเวลาไม่กชี่ วั่ โมง แต่เต็มไปด้วยนัก ท่องเที่ยว เราถึงแต่เช้ารีบเข้าที่พัก ที่พักใน Goreme เกือบทุกที่จะ เป็นลักษณะ Cave Hotel คือนอนในถ�้ำ เจ้าของโรงแรมที่เมืองนี้เป็น มิตรมากๆ หลังจากนั้นเราก็เริ่มส�ำรวจเมืองนี้ทันที เราเดินเล่นไป เรื่อยๆ ในเมือง มีทั้งร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านพรมสวยๆ มากมาย สัญลักษณ์ที่มีให้เห็นกันทั่วไปที่นี่คือ Evil Eye หรือดวงตา กันชัยฏอน คนในเมืองนี้จะมีใช้กันทุกบ้าน เป็นการประดับตกแต่ง บ้านไปในตัว ส�ำหรับนักท่องเที่ยวก็สามารถซื้อไปเป็นของฝากได้

การเดินทางเซลจุกมาถึง Pamukkale ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. ถึง Pamukkale ก็ได้เวลานอนพักผ่อนพอดี และโชคดีที่เราสามารถได้ที่พัก ที่อยู่ใกล้ปราสาทปุยฝ้ายมากที่สุดในย่านนั้นเลย เราตื่นเต้นที่จะได้เห็น ปราสาทปุยฝ้ายด้วยสองตาของตัวเองมากๆ ซึง่ ภาพทีเ่ ห็นต่อหน้าในยาม เช้าของวันถัดไปนั้น ก็คุ้มกับการมาเยือนจริงๆ เป็นสถานที่ท่ีแปลกตา มากๆ หินปูนสีขาว เมื่อกระทบกับแสงแดดและตัดกับท้องฟ้าสีฟ้า ยิ่ง ท�ำให้ดูขาวเหมือนปุยฝ้าย สวยงามมาก แทบไม่อยากจะเชื่อว่าตัวเองจะ ได้มายืน ณ สถานทีน่ จี้ ริงๆ วันนีท้ งั้ วันเราใช้เวลาอยูท่ ปี่ ราสาทปุยฝ้ายแบบ เต็มอิ่ม ปามุกคาเล่ (Pamukkale) เป็นภาษาเติรก์ แปลว่าปราสาทปุยฝ้าย เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ทีเ่ กิดจากน�ำ้ แร่ทมี่ ี carbonate ไหลทับถมมา เป็นเวลานาน เฮียราโพลิส (Hierapolis) แปลว่านครศักดิส์ ทิ ธิ์ สร้างขึน้ ตัง้ แต่สมัย กรีกโบราณ ต่อมาตกเป็นของพวกโรมัน ที่นี่มีน�้ำแร่ช่วยบ�ำบัดโรค ผู้คน เลยมาตั้งเมืองบนนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารเทพอพอลโล เเละมีโรงละคร โรมัน ยิ่งใหญ่อลังการไม่เเพ้ที่เอฟิซุส ทั้งเฮียราโพลิสและปามุกคาเล่ ถือ เป็นมรดกโลกร่วมทั้งด้านธรรมชาติและด้านวัฒนธรรม โดยองค์การ UNESCO และแล้วเราก็ต้องโบกมืออ�ำลา Pamukkale เพื่อเดินทางไปยัง Highlight ของทริปนี้ คือเมือง Goreme ซึ่งเป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง บนพืน้ ทีภ่ มู ปิ ระเทศอันกว้างใหญ่ของแคว้น คัปปาโดเคีย (Cappadoccia) การเดินทางระหว่าง Pamukkale ไปยัง Goreme เราใช้รถบัส และใช้ เวลา 1 คืนเต็ม พื้นที่ของ Cappadoccia มีภูมิประเทศแปลกตาอย่างกับอยู่โลก อื่น หินเหล่านี้ถูกท�ำเป็นที่อยู่อาศัยเเละโบสถ์ บริเวณนี้มีเนื้อหินที่อ่อน มากๆ ท�ำให้เจาะเป็นโพรงได้ง่าย สามารถท�ำเป็นที่อยู่อาศัยหลบภัย ส�ำหรับชาวคริสต์ในยุคแรกๆ พวกเค้าต้องหลบภัยจากพวกโรมัน และแอบ สร้างโบสถ์ตามหินพวกนี้ ภายในโบสถ์มรี ปู วาดเกีย่ วกับศาสนาคริสต์ดว้ ย โรมันพยายามก�ำจัดชาวคริสต์ พวกเค้าเลยต้องมาแอบซ่อนตัวอยู่ใน

24


เมือ่ เดินในเมืองเสร็จเราเริม่ ดูแผนทีเ่ พือ่ ทีจ่ ะเดินไปยังสถานทีร่ อบๆ จุดหมายของเราคือดูพระอาทิตย์ตกที่ Pigeon Valley ซึ่งเราจะต้องผ่าน เมือง Uchisar หรือเรียกว่าปราสาท Uchisar เราไม่ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับ เมืองนี้มาเลย แต่เมื่อเดินไปถึงช่วงเย็นเพื่อรอชมวิวพระอาทิตย์ตกที่นั่น บรรยากาศในเมืองเงียบสงบมาก มากจนท�ำให้รู้สึกประหลาดใจ เหมือน เราหลุดเข้าไปอีกทีด่ นิ แดนหนึง่ ผูค้ นในเมืองทีไ่ ม่ใช่นกั ท่องเทีย่ วจะเป็นผู้ สูงอายุเสียส่วนใหญ่ ที่พัก สวยงาม ดูหรูหรา เสมือนเมืองตากอากาศ ส�ำหรับเศรษฐี ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวเป็นพิเศษ ตัวเมืองอยู่สูงกว่า เมืองอืน่ ๆ ในบริเวณนี้ ท�ำให้สามารถชมวิวของ Cappadocia ได้กว้างสุด ลูกหูลูกตา โดยรวมเราประทับใจเมืองนี้มากที่สุด และแล้วเราก็เดินเลย เมืองนีไ้ ปถึง Pegion Valley เป็น Valley ทีม่ นี กพิราบอาศัยอยูเ่ ยอะแยะ เต็มไปหมด ได้เวลาพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าพอดี วันรุ่งขึ้นคือที่สุดของที่สุด เพราะเราก�ำลังจะไปขึ้นบอลลูนกันแล้ว! ต้องตืน่ ตัง้ แต่ตี 4 เพือ่ ไปขึน้ บอลลูน เป็นอีกประสบการณ์ในชีวติ ทีไ่ ม่มวี นั ลืมแน่นอน ในบอลลูน Flight หนึ่งจะรับผู้โดยสารได้ประมาณ 20 คน เราจะพบเพือ่ นใหม่จากทัว่ ทุกมุมโลกในการขึน้ บอลลูน มีกปั ตันคอยบังคับ บอลลูนอีก 2 คน ความประทับใจในการขึ้นบอลลูนที่ Cappadocia นี้ อยูท่ ที่ วิ ทรรศน์มมุ สูงทีเ่ รามองลงมาเจอนัน่ เอง ขอยืนยันว่า Cappadocia สวยมากๆ เกินค�ำบรรยายจริงๆ เมือ่ กัปตันพาลูกเรือทุกคนลงสูพ่ นื้ ดินโดย สวัสดิภาพ ตามธรรมเนียมโบราณจะมีการฉลองด้วยแชมเปญ ซึ่งในการ ขึ้นบอลลูนครั้งนี้เราก็ได้มีโอกาสลงมา Celebrate with Champagne กับเพื่อนๆร่วมไฟลท์ ซึ่งแน่นนอน ทุกอย่างฮาลาล! ใครมีโอกาสไปห้าม พลาดบอลลูน Flight เด็ดขาดค่ะ ช่วงสาย เราซื้อ 1 Day Tour เพื่อที่จะเที่ยวรอบ Cappadoccia ให้ครบ ซึ่งแต่ละที่ที่ไปแปลกตา และสวยงามทุกที่ ตั้งแต่ Selime Rock Monastery ลักษณะเหมือนจอมปลวกขนาดใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของ นักบวชชาวคริสต์ในสมัย ศตวรรษที่ 13, Ihara Canyon เป็นหุบเขาที่ ยาวถึง 14 กิโลเมตร มีจุดโค้ง 26 จุด

มีความเชื่อว่ามีอยู่ช่วงนึงที่ผู้คนอาศัยอยู่ในหุบเขาเเห่งนี้กว่า 8 หมื่นคน มีบ้านมากกว่า 4,000 หลังเเละมีโบสถ์มากกว่า 100 โบสถ์ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนอาศัยอยู่ หากเดินเท้า ใช้เวลา 1 วันเต็มๆ จากนั้น เราจบ 1 Day Tour ที่เมืองใต้ดิน Derinkuyu underground city ที่คัปปาโดเกียมีเมืองใต้ดิน 36 ที่ด้วยกัน เราเดินตั้ง เเต่ชั้นเเรกจนถึงชั้น 8 ชั้นสุดท้าย ส�ำหรับวันนี้ถือว่าเป็นวันที่น่าประทับใจอีก 1 วันของทริปนี้ และก็เป็นวันสุดท้ายที่ Goreme ด้วย ทุกสถานทีท่ ไี่ ปนัน้ สร้างความ ประทับใจให้เราแตกต่างกันไป ผู้คน อาหาร อากาศ บรรยากาศ ภูมิประเทศที่มีเอกลักษณ์ ความประทับใจที่ได้พบเจอนั้นมากพอที่ จะท�ำให้เราหลงรักตุรกีไปโดยไม่รู้ตัว นี่เป็นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของทั้งทริปที่เราไปเยือน รุ่งเช้าวันถัด ไป เราจะเดินทางกลับไปยังดินแดน 2 ทวีป Istanbul (ติดตาม เรื่องราวของ Istanbul เท่านั้น ได้ใน Halal Life เล่มหน้า)

เก็บตก เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ตุรกีเป็นกระเทศทีม่ อี ารยธรรม และประวัตศิ าสตร์ทยี่ าวนาน การเดินทางไปด้วยตัวเอง แนะน�ำให้ศึกษาประวัติของแต่ละสถาน ที่ไว้บ้าง เพราะการไปเที่ยวโดยไม่ทราบที่มาที่ไปของแต่ละสถานที่ เลยนั้น เราอาจจะรู้สึกแค่ว่า นี่เรามาเที่ยวดูซากปรักหักพังเฉยๆ รึ เปล่า คนตุรกีอัธยาศัยดีมากจริงๆ ทุกคนเป็นมิตร และส่วนใหญ่ที่ พบเจอนั้น ไว้ใจ้ได้ เป็นมุสลิมที่ดีมีอะมานะห์(ความรับผิดชอบ) อิสลามเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนที่นี่อย่างแยกไม่ออก ที่เห็นได้ ชัดคือ คนส่วนใหญ่จะถือตัสเบียะห์(คล้ายๆ ลูกประค�ำ)ติดตัวตลอด เวลา เราเป็นมุสลิมไปเที่ยวเห็นแล้วยิ้มเลย ค่าที่พักที่ตุรกี ไม่ค่อยแพงถ้าเทียบกับคุณภาพ แต่ค่าอาหาร ค่อนข้างแพง ราคาต่อคนต่อมื้ออยู่ที่ประมาณ 400-700 บาท //// 25


The Circle อัลอัค

อิสลามในทุ่งข้าวและชายทะเล เมือ่ บางคนได้ตงั้ ค�ำถามกับผมว่า อะไรคือ ปัญหาของการด�ำรงอยู่ของอิสลามในภูมิภาค บ้านเรา เป็นค�ำถามทีก่ อ่ ขึน้ ท่ามกลางบรรยากาศ ของกระแสอาเซียน หรือภูมิภาคแบบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ... ผมบอกว่า ในเมื่ออิสลาม เป็นสัจจะสากลที่อธิบายการด�ำรงอยู่ของฟาก ฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ดังค�ำสนทนาระหว่าง มู ซ าและฟาโรห์ ผมก็ ม องเห็ น ความสากลนี้ สามารถปรากฏขึ้นในทั่วทุกภูมิภาคได้ ทั้งใน เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา โดยไม่เพียงด�ำรงแก่น แท้มันไว้ได้ แต่ยังสามารถตอบสนองได้อย่าง กลมกลืนกับธรรมชาติของแต่ละท้องที่ที่แตก ต่างกันออกไป ผมคิ ด ว่ า จิ น ตนาการของผู ้ ค นที่ มี ต ่ อ อิสลาม แม้แต่มุสลิมกันเอง คือการมองเห็น อิสลามเป็นทะเลทราย เห็นโดมมัสญิดทีป่ รากฏ ขึน้ ตรงใกล้ๆ โอเอซีซ และดาบโค้งงอของนักรบ มุสลิมทีเ่ ก็บไว้ในฝักและพร้อมทีจ่ ะชักชูขนึ้ เหนือ หัว เพือ่ สังหารฝ่ายตรงข้าม ... ผมคิดว่าภาพพวก นีบ้ างส่วนมันเกินจริงอย่างดาบทีก่ ลายเป็นภาพ แห่งการหลั่งเลือด แต่หลายๆภาพ ก็ไม่ใช่เรื่อง แปลก อิสลามที่ปรากฏขึ้นในท้องทะเลทรายก็ ย่อมมีอูฐ มีเด็กๆ ที่อาจสนุกกับการขอให้พ่อได้ นัง่ บนหลังอูฐ ท่ามกลางบรรยากาศร้อนระอุของ ท้องทะเลทราย จินตนาการนี้มักเป็นจินตนาการเดียวใน การปรากฏตัวของอิสลามต่อคนจ�ำนวนมาก ทัง้ ที่คนอาหรับเองก็ไม่ได้อยู่ในโลกที่เป็นแบบนี้ ทั้งหมด แม้แต่ในอดีตกาล ... ศูนย์กลางอ�ำนาจ ของอับบาสียะฮฺที่แบกแดดก็เป็นอารยธรรม ลุ่มน�้ำ ด�ำรงอยู่ในอีกแบบหนึ่ง แตกต่างจาก อุมาวียะฮฺแห่งดามัสกัส หรือสังคมมักกะฮฺใน เวลานั้น เมือ่ อิสลามเดินเข้าไปสูท่ ตี่ า่ งๆ ก็พยายาม ทักถอรูปแบบใหม่ๆ ของการด�ำรงอยูข่ องตัวเอง ขึ้นในบรรยากาศแบบใหม่ ... ปัญหาอย่างหนึ่ง ของความพยายามนีใ้ นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คืออารยธรรมเดิมในแบบคติวฒ ั นธรรมแบบท้อง ถิ่นที่ถือผี กับคติวัฒนธรรมแบบศาสนาจาก อินเดียที่ฝังรากอยู่แล้ว กลายเป็นส่วนผสมที่ไม่ ค่อยลงตัวกับอิสลาม ได้กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ ในการสกัดการประสานแก่นแท้ของอิสลามเข้า กับบรรยากาศแห่งภูมิภาค นั่นด้านหนึ่ง ... อีก ด้านหนึ่ง ผมว่าคือการใช้โลกจินตนาการเดิมๆ ของอิสลามที่ปรากฏตัวในท้องทะเลทรายมาใช้ ในบรรยากาศท้องทุง่ ข้าวและชายทะเล ทีผ่ มว่า มันไม่ลงตัวอยู่เสมอ เราจึงเห็นชาวนาชาวประมงมุสลิมจ�ำนวน ไม่น้อยยังมีคติแบบถือ “ผี” เชื่อในเจ้าเล็กเจ้า น้อยที่ไปไม่ได้กับหลักการความเชื่อความเป็น หนึ่ ง เดี ย วของผู ้ เ ป็ น เจ้ า ในอิ ส ลาม หรื อ ไม่ ก็ ดัดแปลงพิธกี รรมจ�ำนวนมากจากคติศาสนาจาก อินเดียที่กลายเป็นค�ำอ่านด้วยภาษาอาหรับ ต่างๆ แทน ... ขณะเดียวกันเมื่อเกิดการความ พยายามถอดถอนสิ่ ง เหล่ า นี้ อ อกไปจากผู ้ รู ้ อิสลามที่ได้รับการศึกษาใหม่ๆ จากตะวันออก กลาง เราก็อาจรับเอาจินตนาการการด�ำรงอยู่ ของชุมชนอิสลามในท้องทะเลทรายเข้ามาไม่ ยากนัก ไม่ว่าที่เห็นง่ายๆ อย่างรูปทรงมัสญิดใน รุ่นหลังๆ ที่ถอดแบบมา ไปถึงท่องท�ำนองการ ถ่ายทอดเรื่องศาสนาในท่วงท่าของชาวอาหรับ ซึ่งไม่มีภาพของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่ง ร่ ว มอยู ่ ด ้ ว ย ซึ่ ง ไม่ ส ามารถสื่ อ สารกั บ คนใน ภูมิภาคนี้ที่มีคติเรื่องความเชื่อ มีอารมณ์ความ รู้สึกบางอย่างแตกต่างจากคนในตะวันออกลาง และยุโรป พูดง่ายๆว่าคนที่นี่ไม่มีอารมณ์ความ รูส้ กึ แบบครูเสด มีประสบการณ์เชิงประวัตศิ าสตร์ กับมุสลิมแตกต่างออกไป ผมก� ำ ลั ง คิ ด ถึ ง อิ ส ลามในทุ ่ ง ข้ า วและ ชายทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจริงๆ แล้วผมใช้สำ� นวนเชิงสัญลักษณ์เท่านัน้ เพราะใน หลายท้องที่ก็เปลี่ยนเป็นเมืองไปแล้ว แต่ผม หมายถึงการด�ำรงอยู่ของอิสลามในภูมิภาคนี้ ... อิสลามที่ตัวมันเองยังบริสุทธ์จากลัทธิถือผีแบบ 26

ชาวเล อิสลามเป็นสัจจะอย่างเดียวกับในวันที่ ชายที่ชื่อมุฮัมมัดได้รับมันมาในถ�้ำฮิรออ์ เป็นค�ำ อธิบายการด�ำรงอยู่ของฟากฟ้า แผ่นดิน และ ชีวติ มนุษย์ และสามารถเข้าไปสร้างรูปแบบชีวติ แห่งการยอมจ�ำนนให้กับผู้คนที่ด�ำรงชีวิตใน สถานที่และเวลาที่แตกต่างกันได้ นี่ไม่ใช่การสร้างอิสลามใหม่ แต่เป็นการ น� ำ อิ ส ลามที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ดั้ ง เดิ ม มาสร้ า งวิ ถี ชี วิ ต อิสลามในภูมิภาคใหม่ ผู้คนที่พูดภาษาต่างๆ ใน ตระกูลภาษาที่ห่างจากเซเมติกหรืออินโดยูโร เปี่ยน ผู้คนที่อยู่สิ่งแวดล้อมและวิถีการหาเลี้ยง ชีพอีกแบบหนึ่ง ... และก็มิใช่การท�ำให้อิสลาม กลายเป็นท้องถิ่นหรือเผ่าพันธุ์ใด เพราะการ สร้างนีอ้ ยูท่ กี่ ารแสดงออกในวิถชี วี ติ ท้องถิน่ บาง อย่าง แต่ขอบเขตความถูกผิด(ฮะลาล-ฮะรอม) จิตวิญญาณ และสารัตถะของมันยังด�ำรงอยู่ อย่างเต็มเปี่ยม ส�ำหรับผมคิดว่า ผู้รู้และนักท�ำงานเพื่อ อิสลามในอดีตได้ทำ� เช่นนีไ้ ปหลายเรือ่ ง ตัวอย่าง หนึ่งคือการหาความลงตัวของอักษรญาวีกับ ภาษาสื่อสารหลักของหมู่เกาะอินโดนีเซีย และ การก�ำเนิดชุมชนมุสลิมแบบเกษตรกรรมทีเ่ รียก ว่ากัมปง ... แต่วนั นีผ้ มว่าโลกเคลือ่ นไปข้างหน้า อย่างรวดเร็วและน่าหวั่นไหว สิ่งที่ต้องท�ำมัน ต้องก้าวไปไกลและสอดคล้องกับความจ�ำเป็น ของการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานี้ วันนีผ้ มจึงคิดว่าเป็นช่วงเวลาส�ำคัญของผู้ รู ้ และนั ก ท� ำ งานจ� ำ นวนมากที่ ต ้ อ งหาวิถีการ ด�ำรงอยูข่ องอิสลามกับสภาวะของภูมภิ าคทีแ่ ตก ต่างไปจากเดิม ที่ยังมีองค์ประกอบห้อมล้อมไป ด้วยผู้มีคติความเชื่อแบบอื่นปะปนอยู่จ�ำนวน มาก อย่างชาวพุทธ ชาวคริสต์ และคนไม่มี ศาสนา ... เป็นการแสดงถึงวิถีแห่งการยอมตน ต่ อ ผู ้ ส ร้ า งในบรรยากาศแห่ ง ทุ ่ ง ข้ า วและ ชายทะเล ////


27


28


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.