BMWCar Magazine Thailand Issue 28 April 2017

Page 1

PLUS Bimmermeet | A Highland Fling | Tech Focus: Superchargers

the ultimate BMW magazine

BMW คันประวัติศาสตรในรัชสมัยรัชกาลที่ 9

Vol.3 Issue 28 | April 2017 | www.bmwcarmag.com

The ultimate BMW magazine Vol.3 Issue 28 April 2017

รวมภาพบรรยากาศ บันทึกความทรงจ�ำครั้งส�ำคัญ ของชาว Bimmer ในประเทศไทย กับครัง้ แรกของ #BIMMERMEET จัดโดย นิตยสาร BMWCar

www.bmwcarmag.com 100 Baht

1FC-APR._BMWCar 2017.indd 1

Alpina B7s two classic turbocharged Alpina

CLS Batmobile a restored 1970s race car 3/24/2560 BE 15:07


2-3 AD BMW_TH_APR/Edit_1.indd 2

3/22/2560 BE 10:00


2-3 AD BMW_TH_APR/Edit_1.indd 3

3/22/2560 BE 10:02


CONTENTS

บรรณาธิการผูพ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ ผูอ้ ำ� นวยการ ธนันต์ ซึ่งเจริญยิ่ง ผูจ้ ดั การทัว่ ไป วนาพร เอกวัฒนกิจ บรรณาธิการบริหาร ต่อพันธุ์ คงพันธ์ุ บรรณาธิการ วิธวินท์ สนธิรักษ์ กองบรรณาธิการ ธนา เศรษฐพานิช กองบรรณาธิการ ชญานิน โชติชมภูพงษ์ ประสานงานกองฯ ชยุตม์ ธีระพงษ์รามกุล พิสจู น์อกั ษร เรวดี บุณยดิษฐ์ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ วัชราพร ผลดี กราฟิกดีไซเนอร์ ธนพล ทิพยสิทธิ์ ฝ่ายภาพ นินาท เทียบเทียม ฝ่ายโฆษณาและบริหารงานลูกค้า จิรัฐติกุล อัครศิริภาวงศ์ โทร. 08-0447-8899 jiruthikul.ak@gmail.com ลภัสรดา กิมจีน โทร. 08-8893-9632 hameba_29@hotmail.com ฝ่ายการตลาดดิจติ อล กรกรณัฐ วิรัชศิลป์ โทร. 09-4480-4932 พิชชากร พุ่มพยุง โทร. 08-9215-8485 ฝ่ายสือ่ สารการตลาดและกิจกรรม วรธรรม ลิมประพฤทธิ์กุล โทร. 09-4480-4723 worratum.lim@2000pm.com ฝ่ายสมาชิก กรกรณัฐ วิรัชศิลป์ โทร. 09-4480-4932 Subscription@2000pm.com พิมพ์ที่ บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 0-2966-1600-6 จัดจ�ำหน่าย บริษทั นานาสาส์น จัดจ�ำหน่าย จ�ำกัด โทร. 0-2459-5240-3 เจ้าของ

บริษัท 2000 พับลิชชิ่ง แอนด์ มีเดีย จ�ำกัด 59 ซอยปรียานุช ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 0-2318-5159

ต่อพันธุ์ คงพันธุ์ บรรณาธิการบริหาร E-mail: torpan_k@yahoo.com

มเชื่อในวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าคุณจะเดินไปข้างหน้า หรือยืนอยู่กับที่ สิง่ ทีค่ ณ ุ จะได้เห็นอยูร่ อบข้างในวันพรุง่ นีม้ นั จะไม่มวี นั เหมือนเดิม และผม ‘เชือ่ ว่า’ มีเฟืองส�ำคัญ ตัวหนึ่งในวัฏจักรกระบวนการวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั่นในโลกรถยนต์ กระบวนการที่ผมเชื่อก็คือ เมื่อคุณชอบรถอะไรขึ้นมาสักคันหนึ่งคุณก็จะเริ่มค้นคว้า อ่าน อ่าน และอ่านมันอย่างมากมาย บางทีอะไรที่คุณรู้เรื่องราวมันมาแล้วก่อนหน้านี้ร้อยครั้ง คุณก็ยังอยาก อ่านมันซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าอย่างไม่มีวันเบื่อ จนมาวันหนึ่งเมื่อโอกาสมาถึง คุณก็จะเริ่มซื้อ ซื้อ และซื้อ (และซื้อ) รถที่คุณสนใจอยู่นั้นมาไว้ในครอบครอง เช็ดถู ลูบคล�ำ ตกแต่ง หรือบางทีอาจจะเลยเถิด ถึงขนาดรื้อมันออกมาเป็นชิ้น ๆ และประกอบมันขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มันเป็นแบบที่คุณคิดว่า มันเพอร์เฟ็กต์อีกสักร้อยครั้ง (เชื่อผมเถอะว่ามีคนแบบนี้อยู่จริง ๆ) ถ้าผมจบเพียงเท่านี้ มันก็คงไม่ดูเหมือนเป็นกระบวนการอะไรเลย และก็ไม่ได้เป็นเรื่อง ควรค่าแก่การเอามาเขียนให้มันเปลืองต้นไม้ของโลกที่จะต้องตัดเอามาท�ำกระดาษ เพราะใคร ๆ ก็รู้ เรื่องพื้น ๆ แบบนี้ สิง่ หนึง่ ทีผ่ มเชือ่ ว่ามันเป็นเฟืองตัวสุดท้าย และท�ำให้กระบวนการนีก้ ลายเป็นวัฏจักรขึน้ มาก็คอื วันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาตอนเช้ามายืนอยู่ตรงหน้ารถที่คุณเคยอ่านเรื่องราวของมันมาแล้วร้อยครั้ง ที่เพิ่งรื้อประกอบด้วยมือของคุณเองครั้งที่ร้อยเสร็จเมื่อคืน จากนั้นคุณก็มีความสงสัยขึ้นมาว่า ไอ้เรื่องราวที่คุณเคยอ่านเหล่านั้นมันมาจากไหน แล้วจู่ ๆ ก็มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะเขียน เรื่องราวของมันขึ้นมา ‘ในแบบของคุณเอง’ สักร้อยเรื่องก่อนตาย และนั่นคือเหตุผลที่ผมชอบเขียนอะไรสารพัดสารพัน และเป็นเหตุผลที่ผมมายืนอยู่ที่นี่ ในงาน BimmerMeet ที่ผ่านมา ในขณะที่นั่งอยู่ในมุมสลัว ๆ มุมหนึ่งของงาน ผม ‘เห็น’ รถประมาณสิบรุ่น แต่หูของผม ‘ได้ยิน’ เรื่องราวของรถหลายร้อยคัน และจินตนาการถึงตัวอักษร ยาวเป็นพรืดเรียงรายหลายพันหน้า และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ เลยก็คอื ผมเห็น BMWCar เฟืองตัวทีส่ ามก�ำลังหมุนสร้างความเปลีย่ นแปลง อยู่ในวัฏจักรที่ว่านั่น l

Website: www.bmwcarmag.com Facebook: @bmwcarthailand Instagram: @bmwcarthailand Line@: @bmwcarthailand Youtube: bmwcarthailand Application: bmwcarthailand BMWCar magazine and BMWCar logo are registered trademarks of Unity Media PLC, United Kingdom. Under the license by Unity Media, BMWCar Thailand edition is published by 2000 Publishing & Media Co., Ltd. The entire contents are copyrighted with ALL RIGHTS RESERVED, unless permission is granted in writing.

@bmwcarthailand www.bmwcarmag.com SUBSCRIBE

(page 109)

4 BMWcar

4,6,8 Contents_Apr.indd 4

3/22/2560 BE 15:58


CONTENTS VOL.3 ISSUE 28 APRIL 2017 T H E U LT I M AT E B M W M A G A Z I N E

@bmwcarthailand www.bmwcarmag.com SUBSCRIBE

010 News ข่าวควา มเคลือ่ นไหว

เกีย่ วกับยนตรกรรม BMW

014 New Products อัพเกรดความเท่

ด้วยชุดตกแต่งใหม่ ๆ มากมาย

060 Talk About เปิดมุมมอง

บรรณาธิการบริหาร คนล่าสุด

(page 109)

072 The Magnificent sevens Alpina B7 Turbo & B7 Turbo Coupe´ 080 Grosser Beer CSL ตัวแข่ง Group 2 Schnitzer 3.0 CSi 086 Tech Focus หลากหลาย

เรือ่ งราวของมรดกทางยนตรกรรม

064 7 Series Drive A Highland Fling

ผ่านเวลาหาความทรงจ�ำทีส่ กอตแลนด์

ในหลากหลายไลฟ์สไตล์

และเอกลักษณ์เฉพาะตัว

102 Eatery

ร้านอาหารสุดฮิพพร้อมเมนูซกิ เนเจอร์ รวมกิจกรรรมเด่นและข่าว ความเคลื่อนไหวในแวดวงสังคม

110 BMW Art Cars

Cooper / Cooper S / JCW

098 InStyle อัพเดทแกดเกทใหม่ล่าสุด

104 Events & Social News

ระบบการท�ำงาน Superchargers

062 Behind the Scene Father to Son 092 Mini Drive ความแตกต่างของ

100 Luxite ที่พักหรูหรามีระดับ

บีเอ็มดับเบิลยู อาร์ตคาร์ การสร้างสรรค์ศิลปะบนรถยนต์

6 BMWcar

4,6,8 Contents_Apr.indd 6

3/22/2560 BE 15:58


CONTENTS VOL.3 ISSUE 28 APRIL 2017 T H E U LT I M AT E B M W M A G A Z I N E

#BIMMERMEET EP.1 GIVE YOU WINGS - EXHIBITION ZONE - VINTAGE ZONE - BMW CLASSIC THAILAND - SHARK SQUAD - M POWER THAILAND - ALPINA THAILAND - GDM - DAVIE JONE - E30 OLD SCHOOL - E36 THAILAND - E34 THAILAND - BMW CAR CLUB THONBURI - SIAM BIMMER

@bmwcarthailand www.bmwcarmag.com SUBSCRIBE

(page 109)

8 BMWcar

4,6,8 Contents_Apr.indd 8

3/22/2560 BE 15:58


5 AD Omazz.indd 5

3/22/2560 BE 09:30


7 Ad Seasons.indd 7

3/21/2560 BE 15:46


CONTENTS VOL.3 ISSUE 28 APRIL 2017 T H E U LT I M AT E B M W M A G A Z I N E

#BIMMERMEET EP.1 GIVE YOU WINGS - EXHIBITION ZONE - VINTAGE ZONE - BMW CLASSIC THAILAND - SHARK SQUAD - M POWER THAILAND - ALPINA THAILAND - GDM - DAVIE JONES - E30 OLD SCHOOL - E36 THAILAND - E34 THAILAND - BMW CAR CLUB THONBURI - SIAM BIMMER (PAGE 18)

@bmwcarthailand www.bmwcarmag.com SUBSCRIBE

(page 109)

8 BMWcar

4,6,8 Contents_Apr.indd 8

3/24/2560 BE 14:13


9 Ad Dunlopillo.indd 9

3/21/2560 BE 15:48


NEWS • อีกหนึ่งไฮไลท์ส�ำคัญกับการ ให้ผู้ร่วมงาน M-POWER FESTIVAL ได้น�ำเอารถ BMW มาวาดลวดลาย บนสนามอันเป็นต�ำนานแห่งนี้ด้วย

GO TO GREEN HELL ‘M-POWER FESTIVAL 2017’

ปาร์ตี้ติดขอบสนาม Nürburgring ท่ามกลางการประลองความเร็วตลอด 24H. เสียงเครือ่ งยนต์คำ� ราม กับแฟน ๆ ผูห้ ลงใหล และสนามทีโ่ หดทีส่ ดุ ทัง้ หมดนีค้ อื การกลับมาอีก ครัง้ กับช่วงเวลาทีน่ า่ ตืน่ เต้นและประทับใจในงาน ปาร์ตี้สุดสัปดาห์ ‘M-POWER FESTIVAL 2017’

ที่จัดให้คอ BMW ผู้ชื่นชอบมอเตอร์สปอร์ต ได้ชมการแข่งขัน ADAC Zurich 24-Hour Race ท่ามกลางบรรยากาศของเพื่อน ๆ ‘คอเดียวกัน’ พร้อมจัดเต็มความบันเทิงด้วยการแสดงสดและ

• กิจกรรม BMW Driving Experience กับบททดสอบที่หลากหลาย ให้ได้ร่วมทดสอบเขี้ยวเล็บของ เหล่า M-Power ในรุ่นต่าง ๆ

การจัดเลี้ยงแบบพิเศษตลอดงานทั้ง 3 วัน แบบ ใกล้ชิดติดขอบสนาม Nürburgring สนามที่ ขึ้นชื่อว่าขับยากและท้าทายที่สุด หลังพวงมาลัย นั ก แข่ ง ทุ ก คนต้ อ งเผชิ ญ กั บ บททดสอบทั้ ง ความเร็วสูง โค้งแคบ โค้งหักศอก โค้งกะทันหัน ทางขึ้น-ลงเขา และจุดบอดที่พร้อมจะท�ำให้ นักขับมือใหม่เข้าสู่สถานการณ์วิกฤตได้ทุกเวลา จนได้รับสมญานามว่า Green Hell M-POWER FESTIVAL 2017 จะจัดขึน้ ในวันที่ 26-28 พฤษภาคมนี้ ที่สนาม Nürburgring ประเทศเยอรมนี โดยทั้งหมดนี้คิดเป็นแพ็คเกจ ด้วยการซื้อบัตรเข้างานราคา 476 EUR หรือ ตีเป็นเงินไทยประมาณ 18,000 บาท ส�ำหรับ ใครทีส่ นใจอยากไปร่วมสุดสัปดาห์อนั น่าจดจ�ำนี้ ก็สามารถลงทะเบียนกันได้ที่ tickets.bmwmotorsport.com l • ในช่วงสุดสัปดาห์ที่แสนพิเศษนี้ นอกจากจะเพลิดเพลินกับการแข่งขัน ที่น่าตื่นเต้นตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว ยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ‘คนคอเดียวกัน’ โดยได้รับความสะดวกสบาย จาก BMW HOSPITALITY ที่มาพร้อมกับ การจัดเลี้ยงแบบพิเศษตลอดทั้ง 3 วัน 10 BMWcar

10-12_News_Apr.indd 10

3/24/2560 BE 14:16


11 Ad Olympus.indd 11

3/21/2560 BE 15:43


NEWS ABCD 2017

การค้นหา BMW ที่เร็วที่สุด ในระยะทาง Quarter Mile ของเมืองไทย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาหลายปี ที่เหล่า BMW ต่างรวมตัวกันมาระเบิดพลัง กันสุดบล็อกเพื่อการเฟ้นหารถ BMW ที่เร็ว ที่สุดในประเทศไทย กับการแข่งขันรถยนต์ ทางตรง 402 m. ในรูปแบบควอเตอร์ไมล์ ที่จ�ำกัดเฉพาะชาว BMW เท่านั้น อย่างงาน ‘All BMW Clubs Drag’ หรือมีชื่อเท่ ๆ ว่า ABCD โดยในปีนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2560 ตัง้ แต่เวลา 09.00-21.00 น. ณ สนาม Bangkok Drag Avenue รังสิต คลอง 5 ส�ำหรับรุ่นการแข่งขันก็แบ่งออก เป็นรุ่นหลัก ๆ คือ 1. รุ่นประเภทเครื่องยนต์ BMW ที่จะมี การแบ่งรุน่ ย่อยกันไปตามความจุกระบอกสูบ (cc) ถึง 11 รุ่น 2. รุ ่ น ประเภทเครื่ อ งยนต์ JAPAN โดยจะมีการแบ่งรุ่นย่อยกันไปตามความจุ กระบอกสูบ (cc) อีก 8 รุ่น 3. รุน่ BRACKET 18 sec. และ 22 sec. ที่ไม่เน้นความแรง แต่จะวัดกันที่ความ ‘แม่น’ ของเวลา 4. รุ่น OPEN LADY ส�ำหรับสาว ๆ เท้าหนักทีห่ ลงใหลในความแรงของใบพัดสีฟา้ 5. BMW Drag Record 2017 รุ่นนี้ถือ เป็นรุ่นไฮไลท์ของงานเลยก็ว่าได้ โดยเปิด ให้รถ BMW ที่สมัครลงแข่งขันรุ่นใดรุ่นหนึ่ง

ในงาน ABCD 2017 ได้น�ำรถมาลงรุ่นนี้ได้โดย ไม่จ�ำกัดเครื่องยนต์และยาง เพื่อจัดอันดับรถ BMW ที่เร็วและแรงที่สุดของปี 2017 ส�ำหรับผู้ที่สนใจสมัครแข่งขัน หรือร่วม

สนับสนุนกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ ก็สามารถติดต่อ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ WEBMASTER ของ ทุกเว็บไซต์ที่ร่วมกิจกรรม ABCD 2017 หรือ โทร. 086-622-5157, Line : Annbms l

รายละเอียดการสมัคร

- สามารถสมัครล่วงหน้าได้จากเว็บไซต์ที่ร่วมกิจกรรม ABCD 2017 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2560 ค่าสมัครรุ่นละ 400 บาท (พร้อมรุ่น BMW Record) - การสมัครหน้างาน ค่าสมัครรุ่นละ 500 บาท (พร้อมรุ่น BMW Record) - จองเต็นท์จอดรถในร่มทั้งวันราคาคันละ 500 บาท (แจ้งความจ�ำนงก่อนวันที่ 30 มีนาคม 2560) - ค่าเข้าสนามคนละ 80 บาท

12 BMWcar

10-12_News_Apr.indd 12

3/20/2560 BE 14:12


13 AD Purra.indd 13

3/22/2560 BE 11:26


NEW PRODUCTS

ECS TUNING BRAKE UPGRADE

ECS TUNING จัดเซตอัพเกรดระบบเบรกส�ำหรับ BMW 3-SERIES (E9x) ด้วยการยกเอาคาลิเปอร์หน้า BREMBO ทีป่ ระจ�ำการอยูใ่ น M5 (F10) แบบ 6 POT มาท�ำสีฟา้ สดใสพร้อมประทับโลโก้ M จับคู่กับจานเบรก 2 ชิ้น ขนาด 382 mm. ด้านหน้า และ 350 mm. ด้านหลัง ที่มีร่องระบาย ความร้อนขนาดใหญ่ โดยจะเพิ่ม ประสิทธิภาพในการระบายความ ร้อนได้ดีกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และให้ความรู้สึกที่มั่นใจทุกครั้งที่ กดแป้นเบรกลงไป ติดต่อ : www.ecstuning.com

SERIES 4 Liberty Walk

INFINITE MOTORSPORT ตัวแทนจ�ำหน่ายชุดแต่ง Liberty Walk เจ้าเดียวในประเทศไทย เตรียมเผยโฉม BMW 4 series บน ถนนเมืองไทยคันแรก ด้วยชุดโป่งเย็บสไตล์ดิบ ๆ แต่มีดีไซน์ลงตัว พร้อมด้วยกฎเหล็กของทางส�ำนักทีร่ ถทุกคันต้องใช้งานได้จริง พร้อม สะกดทุกสายตาบนท้องถนนอย่างแน่นอน ติดต่อ : www.facebook.com/infinitemotorsport

X5M 3D DESIGN

ส�ำนัก 3D DESIGN เปิดตัวผลงานชิ้นใหม่ กับการแต่งตัวให้กับ Cross Over มาดหรูอย่าง BMW X5 M ด้วยชุดสเกิร์ตรอบคัน เพิ่มลุคที่ แตกต่างด้วยชายล่างทีผ่ ลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ พร้อมการออกแบบ ด้านท้ายให้เป็นดิฟฟิวเซอร์ในตัว ช่วยเปลีย่ นลุคบึกบึนให้ดสู ปอร์ตขึน้ มาทันที ติดต่อ : http://www.3ddesign.jp 14 BMWcar

14,16_New Procucts_Apr.indd 14

3/20/2560 BE 14:20


NEW PRODUCTS

BILSTEIN B16

ส�ำหรับผู้ใช้งาน BMW 3 SERIES ที่ชื่นชอบความเร็วและปรารถนาฟิลลิ่ง สไตล์สปอร์ตในแบบตัวคุณ BILSTEIN ได้จดั ชุดโช้กอัพพร้อมสปริง B16PSS10 ที่ จะเรียกสมรรถนะอันแท้จริงออกมาให้ได้สัมผัส โดยตัวโช้กอัพเป็นแบบ MONO-TUBE สร้างจากอะลูมิเนียมเกรดสูงปรับความสูง-ต�่ำได้จากเกลียวที่ ตัวกระบอก และสามารถปรับความแข็ง-อ่อนของโช้กอัพได้ถึง 10 ระดับ เพื่อให้ เหมาะสมกับการใช้งาน ติดต่อ: www.bilsteinthailandshop.com

E9x CARBON AIR DUCT

ZERO PAINT M-POWER COLOR

ส�ำหรับสายโมเดลการลงลึกถึงรายละเอียดต่าง ๆ ให้สมจริงเป็น เรือ่ งทีส่ ำ� คัญ ZERO PAINT ผูผ้ ลิตสีสำ� หรับโมเดลจึงได้ออกสีพเิ ศษ ZP 1247 ส�ำหรับแอร์บรัชลงบนชิ้นงานในแบบ M-POWER ด้วย สีฟ้า น�้ำเงิน แดง ขาว เพื่อเพิ่มความสมจริงให้กับโมเดล BMW หรือ ใครจะเอาไว้ใช้ส�ำหรับพ่นลงบนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถ เพื่อเพิ่ม ความสปอร์ตในรูปแบบของ M-POWER ก็ไม่ผิด ติดต่อ : www.zero-paints.com

ไอเทมนี้เป็นอุปกรณ์เสริมช่วยรับอากาศเย็น ๆ ให้กับเครื่องยนต์ เพื่อการจุดระเบิดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุด AIR DUCT นี้จะช่วย ดักลมตั้งแต่กระจังหน้า ซึ่งเป็นอากาศที่ยังไม่ผ่านเข้าไปในห้องเครื่อง จึงมีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก ก่อนล�ำเลียงไปสู่ชุดกรองอากาศ นอกจากนี้ ยังเพิ่มความสวยงามให้กับห้องเครื่องจากตัววัสดุที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ โดยสามารถติดตั้งในรหัส E9x ทุกรุ่น ติดต่อ : www.bmoption.in.net

16 BMWcar

14,16_New Procucts_Apr.indd 16

3/20/2560 BE 14:20


EARTH’S FINEST WATER.

From the islands of FIJI, Direct to your door. Tel: (662)725-4999 Line@: @fijiwaterth Website: www.SinghaOnlineShop.com FB: Facebook/FIJIWaterThailand IG: Fijiwaterth

15 Ad Fiji.indd 15

3/22/2560 BE 11:23


17 Ad Soda.indd 17

3/22/2560 BE 11:25


18 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 18

3/24/2560 BE 16:29


BIMMERMEET

APRIL 2017 19

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 19

3/24/2560 BE 16:30


• i8 นวัตกรรมล่าสุด มาต้อนรับทุกท่าน ที่บริเวณทางเข้างาน ที่รับแรงบันดาลใจจาก สุดยอดยนตรกรรม BMW M1

20 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 20

3/23/2560 BE 19:17


BIMMERMEET • 2002 ในรูปแบบของรถแข่ง สร้างขึ้นได้ตามแบบฉบับ ของเมื่อ 50 ปีที่แล้ว

Exhibition • ขุนศึกรุ่นต่าง ๆ จาก Three Crowns Racing Project สร้างสีสันให้งานครั้งนี้ ใน Zone Exhibition

APRIL 2017 21

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 21

3/24/2560 BE 15:14


• BMW M1 ตัวแข่งสุดฮอตในอดีต ที่สร้างขึ้นโดยทีมงาน 3 มงกุฎเรซซิ่ง ใช้เครื่องยนต์ Schnitzer ลงแข่งใน รายการ South East Asian Supercar Championship ก็มาจอดโชว์ตัว ให้แฟน ๆ หายคิดถึง

22 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 22

3/23/2560 BE 19:18


BIMMERMEET

• คันนี้เรียกว่า Full Restore ใหม่ทั้งคันยันพรม

• E36 และ E46 ที่ทีม 3 มงกุฎ ใช้แข่งขันจนได้รับการยอมรับว่า เป็นทีมแข่งที่สมบูรณ์แบบมากทีมหนึ่งของประเทศไทย และภาคพื้น South East Asian กวาดแชมป์มาเพียบ APRIL 2017 23

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 23

3/23/2560 BE 19:18


• เทียบกันชัด ๆ กับความเนียน แบบกินกันไม่ลง ของ E30 M3 ที่จอดประชันความงามกับหลานในไส้ อย่าง E92 M3 GTS และ E46 M3 CLS ที่หายากสุด ๆ

24 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 24

3/24/2560 BE 09:04


25 Ad Lotus.indd 25

3/24/2560 BE 10:30


• E21 ในคราบรถแข่ง ดุดันด้วยองค์ประกอบ ชุดพาร์ทและล้อตรงยุค

26 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 26

3/24/2560 BE 15:18


BIMMERMEET

• E30 ยังคงได้รับความนิยม ในการน�ำมาโมดิฟาย เพื่อใช้ในการแข่งขัน รายการต่าง ๆ • บรรดารถแข่งที่ออกจากสนาม มาโชว์ตัวให้กับผู้ที่ชื่นชอบ กีฬามอเตอร์สปอร์ต ได้ชื่นชมกันอย่างใกล้ชิด

APRIL 2017 27

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 27

3/24/2560 BE 15:19


• รถแข่ง BMW E90 Touring Car จากทีม ปตท. ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณภาพ ระดับสากล ทั้งผลิตภัณฑ์และทีมงานของไทย ด้วยการคว้าแชมป์ TCSA อยู่หลายสนาม

28 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 28

3/24/2560 BE 15:20


29 Ad Pirelli.indd 29

3/21/2560 BE 16:22


Vintage • รถยนต์ BMW 3.0s คันประวัติศาสตร์ ที่เคยได้ถวายงานใกล้ชิด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งเสด็จทรงงานในภาคอีสาน เมื่อปี พ.ศ. 2512

• จักรยานยนต์ BMW K100 LT ที่ในคู่มือจดทะเบียน มีพระนามของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

30 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 30

3/24/2560 BE 15:21


BIMMERMEET • BMW 503 ‘หนึ่งเดียวในเอเชีย’ จากยอดผลิตทั้งหมด 412 คันทั่วโลก ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้เห็นสักครั้งหนึ่ง ที่ส�ำคัญยังรักษาสภาพไว้ได้อย่างครบถ้วน

APRIL 2017 31

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 31

3/24/2560 BE 15:24


• 2000 CS ใช้ไฟหน้าโคมแก้วทรงเหลี่ยม แต่ยังคง ‘กระจังไตคู่’ อันเป็นเอกลักษณ์ ของ BMW ในยุคนั้น

32 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 32

3/24/2560 BE 15:24


BIMMERMEET

• BMW Isetta ไมโครคาร์ ที่มีความน่ารักเฉพาะตัว ได้รับความสนใจอย่างมาก จากผู้ร่วมงาน

APRIL 2017 33

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 33

3/24/2560 BE 15:25


• E9 สภาพเนี้ยบ ที่สาวกคลาสสิกคาร์ ต้องตะลึง

• E9 3.0 CSL สวมชุด Aero Kit เต็มระบบในแบบ ‘Batmobile’

34 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 34

3/24/2560 BE 15:25


BIMMERMEET

• E9 ทั้ง 3.0 cs และ 3.0 csi ทรงเดิม ๆ เพิ่มเติมคือล้อชุดเดียว ที่ไม่ว่าจะเป็น Alpina หรือ BBS ก็ช่วยเปลี่ยนบุคลิก ให้ดูร่วมสมัยได้ไม่ยาก

APRIL 2017 35

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 35

3/24/2560 BE 15:25


36 BMWcar

36-38 Shark Squad.indd 36

3/24/2560 BE 16:10


BIMMERMEET

Shark Squad • คาร์คลับรุ่นเก๋าที่ก่อตั้งมากว่า 10 ปี จากการรวมตัวของผู้ชื่นชอบ ‘หน้าฉลาม’ รวบรวมผู้ที่พิสมัยเรื่องราวของ BMW ระดับหัวแถว ของประเทศไว้อย่างคับคั่ง มีทั้ง E21, E24, E30, E31

APRIL 2017 37

36-38 Shark Squad.indd 37

3/24/2560 BE 16:10


• คุณอู๋ นภัส พูดคุยกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม Shark Squad ที่ขนรถสวยสุด ๆ กว่า 20 คัน มาร่วมงาน ส่งทีเด็ดมาหลายคัน โดยเฉพาะ 6 Series E24 ซึ่งเป็นกลุ่ม E24 ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเลยทีเดียว

38 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 38

3/23/2560 BE 19:20


39 Ad MMS.indd 39

3/21/2560 BE 15:38


BMW Classic Thailand • กับอีกกลุ่มที่เป็นไฮไลท์ของงานในครั้งนี้ มีรถในสังกัดเข้าร่วมกว่า 30 คัน มาอวดโฉมให้แฟน ๆ BMW ได้เห็นถึงความสวยงาม อมตะ ที่กาลเวลาไม่ท�ำให้รถโมเดลเหล่านี้ จืดจางไปเลย

40 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 40

3/24/2560 BE 16:45


BIMMERMEET

• ตัวแทนจากกลุ่ม BMW Classic Thailand E21, 2002, E21, E12 • 2002 Touring

• 6 Series E24

• E21 • 02 Series สวยงามคลาสสิกมาก ๆ

APRIL 2017 41

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 41

3/24/2560 BE 15:29


• บั้นท้ายงาม ๆ ของ E21 กับล้อ Hartge

• 3 หนุ่ม 3 สไตล์ บ้าน, เรซซิ่ง, รถแข่ง • หลากหลายบอดี้ กับแนวทาง การแต่งอันแตกต่างที่รวมกันไว้ ใน BMW Classic Thailand

• อีกหนึ่ง Icon กับสัญลักษณ์ Kidney Grille

42 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 42

3/24/2560 BE 15:29


BIMMERMEET

• ความสวยงามของรถคลาสสิกคาร์ แต่ละคัน ท�ำให้ต้องหยุดมองราวกับ ต้องมนต์สะกด รถทุกคันล้วนมีเสน่ห์ ที่คนเล่นต้อง ‘ใจรัก’ อย่างแท้จริง

• แสงอ่อน ๆ ยามอาทิตย์ตก ตัดกับสีสด ๆ ของรถ สร้างบรรยากาศให้เป็น ช่วงเย็นที่มหัศจรรย์

APRIL 2017 43

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 43

3/24/2560 BE 15:29


M Thailand Power • กลุ่มที่รักในสมรรถนะและความพิเศษ ของค�ำจ�ำกัดความ ‘M Power’

44 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 44

3/24/2560 BE 15:29


for Luxury Sedan

“กับพละก�ำลังเครือ่ งยนต์เกือบ 400 แรงม้าทีส่ ง่ ถ่ายลงมาทีล่ อ้ ทัง้ 4 เส้น SP SPORT MAXX 050+ ให้ความรูส้ กึ เยีย่ มในการยึดเกาะ ทัง้ บนถนนแห้งและถนนเปียก แต่อกี เหตุผลทีต่ ดั สินใจเลือกดันลอป คือความเงียบและความสะดวกสบายในห้องโดยสาร” สัมผัสประสบการณ์การขับขีเ่ หนือระดับกับยางสมรรถนะสูง จากประเทศญีป่ นุ่ SP Sport Maxx 050+ for Luxury Sedan ทีอ่ อกแบบมาส�ำหรับรถซีดานสุดหรูโดยเฉพาะ เพือ่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนในเมืองเช่นคุณ • สามารถควบคุมและรักษาหน้าสัมผัสได้ดีแม้วิ่งบนความเร็วสูง • ควบคุมทิศทางและการเบรกบนถนนแห้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ • High silica compound ส่วนผสมเนื้อยางแบบใหม่ที่เพิ่มการยึดเกาะบนถนนเปียก

ประสบการณ์เหนือระดับ กับยางคุณภาพ มัน่ ใจทุกสถานการณ์ กับสุดยอดยางรถซีดานสุดหรู

“คิดจะเปลี่ยนยางคิดถึงดันลอป” SP SPORT MAXX 050+ for Luxury Sedan มีให้เลือกทั้งสิ้น 40 ขนาด ตัง้ แต่ขอบ 16 นิว้ จนถึงขอบ 22 นิว้ ในซีรสี ์ 30-55 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ดันลอป ไทร์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด โทร. 0-2744-0199 www.dunloptire.co.th  : Dunlop Tire Thailand 45 Adver Dunlop.indd 45

3/23/2560 BE 15:04


Alpina Thailand

• แฟนพันธุ์แท้ของส�ำนักแต่งคู่บุญกับ BMW ก็ไม่ท�ำให้แฟน Alpina ทั่วโลกผิดหวัง ตบเท้าน�ำรถเข้ามาร่วมงานเพียบ

46 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 46

3/23/2560 BE 19:28


BIMMERMEET

GDM &

Davie Jones

• กลุ่มน้องใหม่ที่มาแรงมากในชั่วโมงนี้ ทั้ง Davie Jones ซึ่งขนรถยอดนิยมอย่าง E30 Version ต่าง ๆ และ E39 Alpina และกลุ่ม German Domestic Market หรือ GDM ที่เรียกได้ว่ากลุ่มที่ ชอบ Restore เก็บรายละเอียด ให้รถคู่ใจอยู่ในสภาพเป๊ะ !!

APRIL 2017 47

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 47

3/24/2560 BE 15:34


E30 Old School

48 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 48

3/24/2560 BE 15:34


BIMMERMEET

• ชื่อที่คงไม่ต้องบรรยายอะไรไปมาก ส่งรถทีเด็ดตัวเจ็บ ๆ มาอวดกัน ซึ่งเป็นฝูง BMW 3 Series ในรหัสตัวถัง E30 ทั้งรุ่นปกติและ M3 รวมถึง 2002 ที่ใช้เครื่องยนต์รหัส S14 ของ M3 E30 ซึ่งเป็น Item ที่แปลกตาเลยทีเดียว

APRIL 2017 49

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 49

3/24/2560 BE 15:34


E36

• ขวัญใจของยุค 90’s รถในฝันของหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ มาในครั้งนี้พกความวาไรตี้เต็มรูปแบบ ทั้ง M3, Cabriolet, Touring, Coupe และ Sedan

50 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 50

3/24/2560 BE 15:34


BIMMERMEET

APRIL 2017 51

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 51

3/24/2560 BE 15:36


BMW Car Club Thonburi & Siam Bimmer • กลุ่มแฟนคลับ BMW ย่านฝั่งธนฯ จับมือกับ Siam Bimmer มาแสดงพลังกันในหลากหลายโมเดล ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่กับแนวการตกแต่งที่ลงตัว

52 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 52

3/24/2560 BE 15:36


BIMMERMEET

APRIL 2017 53

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 53

3/24/2560 BE 15:36


54 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 54

3/24/2560 BE 15:37


BIMMERMEET

E34

• อีกหนึ่งโมเดลที่เรียกได้ว่าเป็นรุ่นมหาชน ด้วยรูปลักษณ์ที่หรูหรา แต่แฝงไว้ด้วยความสปอร์ต โดยสมาชิกกลุ่ม E34 Thailand ก็ได้ร่วมเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของงาน BIMMERMEET ในครั้งนี้ ผู้จัดงานขอขอบคุณจากใจครับ

APRIL 2017 55

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 55

3/24/2560 BE 15:39


Special

Thanks

• ช่วงเวลาอันน่าประทับใจนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าขาดผู้สนับสนุนที่มาร่วมจัดกิจกรรม สร้างสีสันและเป็นส่วนช่วยผลักดันให้งาน BIMMERMEET ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทางทีมงานผู้จัดและผู้ร่วมงาน ขอกราบขอบพระคุณจากใจจริง

56 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 56

3/24/2560 BE 15:39


BIMMERMEET

ขอขอบคุณผู้ร่วมสนับสนุน

APRIL 2017 57

PANTONE

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 57

C 80

M 95

Y0

K 35

C0

M 68

Y 100 K 0

3/24/2560 BE 15:39


• รวมภาพบรรยากาศอันแสนอบอุ่น ของมิตรภาพระหว่างบุคคลผู้มีชื่อเสียง ระดับต�ำนาน และคนในแวดวง BMW ที่มาร่วมพบปะ พูดคุย ท่ามกลางความเป็นกันเอง ตามแบบฉบับของ BIMMER MEET

58 BMWcar

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 58

3/24/2560 BE 15:40


BIMMERMEET

APRIL 2017 59

18-61_Bimmermeet_Ok.indd 59

3/24/2560 BE 15:40


Ultimate Bimmer ต่อพันธุ์ คงพันธุ์

“ผ

มเป็นคนหลงใหลเทคโนโลยีในแบบ เยอรมัน ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป เครื่องบิน รถยนต์ คือผมว่าคนประเทศนีเ้ จ๋งมาก ๆ อย่าง BMW หากพวกเขาสามารถท�ำให้เหล็กขึ้น ไปลอยบนฟ้าได้ ถ้าเป็นรถแล้วมันคงจะต้องเจ๋ง มากเลย” คุณต่อ-ต่อพันธุ์ คงพันธุ์ เจ้าของ นามปากกา ‘The Flying Dutchman’ ผูค้ ร�ำ่ หวอด กับงานแปลและบทความเกี่ยวกับยานยนต์และ แมคคานิกต่าง ๆ บอกกับเราเมื่อถูกถามว่าท�ำไม ถึงคลั่งไคล้แบรนด์รถยนต์อย่าง BMW “บีเอ็มดับเบิลยูคันแรกในชีวิตของผมคือ Series 3 (E30) หลังจากนั้นก็เปลี่ยนไปอีก หลายรุ่น แต่ก็ E30 นี่แหละที่มีเยอะที่สุด แต่ ส�ำหรับคนรัก BMW ทุกรุ่นต่างก็มีสตอรี่ของ ตัวเองทัง้ หมด อยูท่ วี่ า่ ใครโตอยูใ่ นยุคไหน คนชอบ BMW มีโลกส่วนตัวของเขาและมีความส�ำคัญ เท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะ E ไหน เจเนอเรชั่นไหน คุณ อาจจะเคยเห็นบางคนบอกว่าฉันคือมิสเตอร์ 2002…ฉันเป็นมนุษย์ E30 หรือฉันคือนักรบ M Power อะไรท�ำนองนั้น ซึ่งมันไม่เหมือนรถ ยี่ห้ออื่นที่ demographic ของผู้ที่ชื่นชอบไม่ได้

แตกต่างกันชัดเจนถึงขนาดนั้น นี่ผมพูดในแง่ บวกนะ เพราะมันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการ บริหารจัดการแบรนด์อันสุดยอดของ BMW ที่ สามารถใส่ผลิตภัณฑ์ลงไปครบทุกเซกเมนต์ได้ อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ อย่างในงาน มีทติ้งที่ผ่านมาเราพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะให้ ความส�ำคัญกับทุกกลุ่มในระดับเท่า ๆ กัน” เพราะท�ำงานเบือ้ งหลังเกีย่ วกับการแปลและ เขียนบทความให้กับนิตยสารรถยนต์ต่าง ๆ มา เกือบสิบปีแล้ว และเมื่อ BMW Car ส่งเทียบเชิญ ให้คณ ุ ต่อมาร่วมงานกับเราในฐานะบรรณาธิการ บริหาร ไม่เพียงแต่กูรูบีเอ็มดับเบิลยูท่านนี้ จะตกปากรับค�ำเท่านั้น แต่ต้องมารับหน้าที่หลัง ประเดิมงานแรกในฐานะหัวเรี่ยวหัวแรงในการ จัดงาน BIMMERMEET Give You Wings งาน รวมพลครั้ ง ยิ่ ง ใหญ่ ข องชาวบี เ อ็ ม ดั บ เบิ ล ยู ที่ BMW Car Magazine จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคมอีกด้วย “ตอนแรกผมยังไม่ตื่นเต้นมากอาจเพราะว่า เราเคยไปร่วมงานมีทติ้งรถยนต์มาเยอะ แต่พอ ถึงเช้าวันงาน ผมมาดูพื้นที่หน้างานตั้งแต่เช้า

พอเห็นรถแข่ง BMW แท้ ๆ จ�ำนวนหนึ่งก�ำลัง ทยอยลงมาจากรถเทรลเลอร์ ก็รู้สึกขนลุก มี ความรู้สึกว่างานมีทติ้งมันต้องแบบนี้สิ ผมเคย คุยกับทีมจัดงานตัง้ แต่ตน้ แล้วว่างานมีทติง้ รถยนต์ ไม่ใช่แค่การไปเช่าพื้นที่ว่าง ๆ แล้วป่าวประกาศ ให้รถมารวมกันเยอะ ๆ มันต้องมี Concept เหมือนงานปาร์ตที้ เี่ ราเตรียมอาหารไว้ให้สว่ นหนึง่ แต่แขกที่มางานเขาก็คงอยากจะถืออะไรที่เขา ชอบมาด้วยเช่นกัน เราถึงแยกโซน Exhibition ส�ำหรับพื้นที่ของเราเอง และที่เหลือเปิดเป็น โซนส�ำหรับ Car Club ต่าง ๆ ให้พวกเขาจัดแสดง กันอย่างเต็มที่ และได้เดินพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน อย่างเป็นกันเอง ผมเองยังเดินคุยกับเจ้าของรถ ไม่ครบทุกคันเลยครับ “BIMMERMEET เป็นงานมีทติ้งรถยนต์ ที่ผมว่ามีคุณภาพที่สุดที่ผมเคยเห็นมา ถ้าไม่นับ งานในต่างประเทศ ถ้าถามว่าผมวัดจากอะไร ผมก็ต้องตอบว่าผมวัดจากค�ำพูดของคนที่เดิน ในงาน จากความรู้สึก มันไม่ใช่แค่มีทติ้งเฉย ๆ วันนัน้ เราพบแฟน BMW อันเหนียวแน่นเหมือนที่ พีเ่ ปาะ-กีรเกียรติ เย็นมะโนช เรียกว่า ‘สมาชิกถาวร ของ BMW’ เดินกันอยู่เต็มงานครบทุกยุค” เราถามคุณต่อว่า หลังจากเข้ามาดูแล BMW Car Magazine ในฐานะบรรณาธิการบริหาร คนอ่านจะได้พบกับโฉมหน้าใหม่ ๆ ของ BMW Car Thailand อย่างไรบ้าง เขายิ้มน้อย ๆ ก่อน ตอบนุ่ม ๆ ตามสไตล์ “หนังสือรถยนต์เปรียบเสมือนฟันเฟือง ตัวหนึ่งในวิวัฒนาการของโลกรถยนต์ เรื่องของ BMW ถ้าจะหาข้อมูลของรถยนต์ ผมว่าวันนี้ ใคร ๆ ก็หาได้ มันมีในอินเทอร์เน็ตเต็มไปหมด แต่ถ้าคุณอยากรู้ว่า BMW คันนั้นผูกพันกับ เจ้าของอย่างไร และเขา ‘รู้สึก’ อะไรกับรถคันนั้น บ้าง คุณหาอ่านได้เฉพาะที่ BMW Car Magazine เท่านั้น และนี่คือโฉมหน้าใหม่ที่ผมอยากเห็น ผมไม่เคยคิดว่าผมมีอะไรที่พิเศษแตกต่างไป จากคนเหล่านั้น ผมก็มีความหลงใหลพอ ๆ กับ พวกเขานั่นแหละ เพียงแต่ผมถ่ายทอดมัน ออกมาเป็นตัวอักษรเท่านั้นเอง ผมอยากให้ พวกเขาดึงเอาสิ่งเหล่านั้นออกมาบ้าง และนั่น คืองานของผม” l

60 BMWcar

60 ������.indd 60

3/24/2560 BE 15:05


61 Ad Impact.indd 61

3/21/2560 BE 15:32


Father to Son

ยิ่งค้นหายิ่งพบเจอความผูกพัน กับโปรเจ็กต์ BMW Story ที่นิตยสาร BMWCar และ บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ชวนคนรักบีเอ็มดับเบิลยูในประเทศไทยมาร่วมสนุกด้วยการส่งคลิป สั้น ๆ เกี่ยวกับความผูกพันของตัวเองกับรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู

นครั้งนี้เราเดินทางไปกับคุณจอร์จ ธนิษฐ์ เรืองสวัสดิพงศ์ ชายหนุ่มที่มี บีเอ็มดับเบิลยูเป็นตัวแทนความผูกพันของ เขากับคุณพ่อ จากบีเอ็มดับเบิลยู 320 (E21) สีฟ้า คันจริงของคุณพ่อที่ใช้วิ่งส่งเขาไป โรงเรียน ก่อนจะจอดจนวิง่ ไม่ได้ แต่คณ ุ จอร์จ

ก็ฟื้นฟูบูรณะมันกลับมาจนสมบูรณ์ โดย ทีมงานไทรทัน ฟิลม์ ได้ชวนคุณจอร์จ แต่เช้าตรู่ ขับบีเอ็มดับเบิลยู 320 (E21) ไปกับวิวเจ้าพระยา บนสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ ย่าน ปากเกร็ด เพื่อเก็บภาพสวยของอาทิตย์ ทอแสงยามเช้า

62 BMWcar

62-63_Behind The Scene_Apr_Ok.indd 62

3/20/2560 BE 14:27


BEHIND THE SCENE ก่อนจะย้อนกลับมาที่บ้าน เพื่อน�ำบีเอ็ม ดับเบิลยู Z3 (1996) สีฟา้ รถในฝันอีกคันของ เขาที่ติดตราตรึงใจจากภาพยนตร์ James Bond 007 (GoldenEye) ทีเ่ พียร์ซ บรอสแนน ควบขับต่อกรกับเหล่าร้าย แต่คณ ุ จอร์จต้องใช้ เวลากว่า 10 ปีถึงตามหามาครอบครองได้

คุณจอร์จเลือกเส้นทางที่ขับผ่านนาเกลือสวย ๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเขากับคุณพ่อเคยขับ Z3 คันนีเ้ ที่ยวด้วยกัน เขาบอกว่าทุกครั้งที่คุณพ่ออยู่หลังพวงมาลัย Z3 เขาแอบเห็นแววตาของ ความสดชื่นมีชีวิตชีวาอีกครั้งในตัวท่าน ทั้งหมดนี้คือ BMWStories ภาพความทรงจ�ำตั้งแต่ อดีตสู่ปัจจุบัน ของคุณจอร์จ-ธนิษฐ์ เรืองสวัสดิพงศ์ กับ BMW 320 และ Z3 ที่ถูกน�ำมา ถ่ายทอดเป็นเรื่องราวของความผูกพันและช่วงเวลาดี ๆ นี่เป็นเหตุผลว่าท�ำไมต้องเป็น บีเอ็มดับเบิลยูเท่านั้น

ส่วนความสนุกและความสวยงามของ ภาพยนตร์ชุดนี้ ทุกท่านสามารถติดตามชม ได้ แ ล้ ว วั น นี้ ท าง www.facebook.com/ bmwcarthailand/ และ www.facebook.com/ BMW.Thailand/ พร้อมกัน l APRIL 2017 63

62-63_Behind The Scene_Apr_Ok.indd 63

3/20/2560 BE 14:27


David Finlay ขับ 740Ld xDrive ไปยังสถานที่แห่งหนึ่งใน Scotland เพื่อรำ�ลึกถึงการสร้างสถิติที่มี 7 Series ยุค 1980 คันหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้อง เรื่อง & ภาพ: David Finlay

ากวัดในแนวตรง เมือง Machrihanish อยู่ ห่างจากจุดกึ่งกลางของเมือง Glasgow ออกไปเพียง 65 ไมล์ (104 กิโลเมตร) จนพวกเรา ที่อยู่ทางภาคตะวันตกของ Scotland มักพูดว่า “อ๋อ...เมืองอยู่ถัดไปนี่เอง” แต่ถ้าคุณคิดว่าค�ำว่า ถัดไปนี่เองหมายถึงการขับรถไปแค่ชั่วโมงเดียว ก็ถึง คุณคิดผิดถนัด เส้นทางที่เหมาะที่สุดก็คือขับไปทาง Argyll ที่มีทะเลสาบมากมายเสียจนหากเอาเส้นรอบวง

ของมั น มารวมกั น แล้ ว จะใหญ่ ก ว่ า ฝรั่ ง เศส ทั้งประเทศ และไม่มีทะเลสาบไหนมีสะพานข้าม เลยแม้แต่อันเดียว มีทางเลือกสองทาง หากคุณ ไม่อยากนั่งรอเป็นชาติเพื่อเอารถลงเรือเฟอร์รี่ ข้ามไป คุณก็ตอ้ งขับอ้อมมัน ซึง่ เมือ่ รวมระยะทาง แล้วก็กว่า 140 ไมล์ (224 กิโลเมตร) แต่มันก็เป็น ทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด และมันก็ควรค่าที่จะท�ำแบบนั้นเพราะเพียง แค่สามสิบนาทีหลังจากที่ออกมาจากในเมือง

คุณจะได้ขับเลาะไปทางตะวันตกของทะเลสาบ Loch Lomond ที่สวยงามจนต้องอ้าปากค้าง ถึงแม้จะเป็นวันที่อากาศขมุกขมัวก็ตามเถอะ หลังจากที่ขับลัดเลาะผ่านส่วนโค้งส่วนเว้าของ ทะเลสาบ Loch Fyne ไปแล้ว ทีนี้คุณก็ยิงยาวไป จนกระทั่งถึง Tarbert (ใช่…สถานที่ใน Scotland เขามักจะตัง้ ชือ่ กันในท�ำนองนีแ้ หละ) จากนัน้ ก็วงิ่ ตามถนนที่มุ่งหน้าสู่คาบสมุทร Kintyre ก่อนที่จะ ไปสุดที่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกที่อยู่อีก

64 BMWcar

64-70 740 .indd 64

3/20/2560 BE 15:03


7 SERIES DRIVE

ฟากหนึ่ง ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงามสุดยอด อย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของ คุณเองด้วย ทางด้านขวาคุณจะเห็นเกาะ Jura และ Islay (อ่านว่า eye-lah) อยูไ่ กล ๆ และมีเกาะ Gigha (อ่านว่า gee-ah) อยู่ใกล้เข้ามาอีกหน่อย วิวทะเลที่จุดนี้ดูไฮโซมากเลยทีเดียว ซึ่งมันตรง ข้ามกับความจริงที่ว่าบริเวณนี้เป็นพื้นที่การท�ำ ฟาร์มอันอุดมสมบูรณ์ มีฝนตกมากในบริเวณนี้ จึงท�ำให้มที งุ่ หญ้าเขียวขจีสดุ ลูกหูลกู ตา ซึง่ สภาพ

ภูมิประเทศแบบนี้สมควรแล้วที่ท�ำให้บริเวณนี้มี ชื่อเสียงในเรื่องผลิตภัณฑ์จากนม คุณสามารถ แยกออกไปวิ่งบนถนนย่อยเส้นเล็ก ๆ เพื่อชมวิว ที่สวยงามได้บ่อยตามที่คุณต้องการ แต่ก็ต้อง เตรียมตัวที่อาจจะต้องถอยหลังยาวไปหลบที่ จุดแซงเวลาทีม่ รี ถของพวกท�ำฟาร์มวิง่ สวนออกมา หรือคุณอาจเลือกที่จะวิ่งรวดเดียวผ่านเส้น A83 ลงใต้ผา่ นหมูบ่ า้ นเล็ก ๆ ทีช่ อื่ อ่านยากอย่าง Tayinloan, Glenbarr, Muasdale และ Bellochantuy

ไปเลยก็ได้ ซึ่งมันอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าหากคุณ ก�ำลังขับ BMW 740Ld xDrive M Sport เหมือน กับผมในตอนนี้ ด้วยความกว้างเท่ากับถนน เล็ก ๆ หนึ่งเลน มันจึงเหมาะที่จะขับบนถนน สายหลักมากกว่า และเพลิดเพลินไปกับความ นุม่ นวลหรูหราผ่านโค้งหลายร้อยโค้งโดยไม่รสู้ กึ ผิด ที่ผิดทาง ถึงแม้บางโค้งจะเป็นโค้งแคบที่ต้องเอา ตัวรถมีความยาวถึง 17 ฟุตบีบตัวผ่านเข้าไปก็ตาม APRIL 2017 65

64-70 740 .indd 65

3/20/2560 BE 15:05


ถนนที่มุ่งหน้าสู่คาบสมุทร Kintyre ก่อนที่จะไปสุดที่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกที่อยู่อีกฟากหนึ่ง ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงามสุดยอดอย่างปฏิเสธไม่ ได้

โหมดทีผ่ มชอบทีส่ ดุ ในสามโหมดของมันก็คอื Eco Pro ที่ช่วยสร้างความประหยัดให้คุณใน ทุกโอกาสทีอ่ ำ� นวย (ทริปนีเ้ ราท�ำได้ถงึ 40 ไมล์ตอ่ แกลลอน (14 กิโลเมตรต่อลิตร) โดยการท�ำงาน ของเกียร์และเครื่องยนต์ก็จะถูกบังคับให้ท�ำงาน ในโหมด Comfort ไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งผมก็ชอบ มันอยูด่ เี พราะผมรูส้ กึ ว่าโหมด Sport ของมันขีต้ นื่ ไปหน่อย แต่กระนั้นในโหมด Eco Pro นี้ คุณ ก็สามารถตัง้ พวงมาลัยและช่วงล่างให้แยกท�ำงาน

ในโหมด Sport ได้และนั่นคือสิ่งที่ผมท�ำ ซึ่งผม คิดว่ามันเหมาะกับถนนใน Kintyre นี้มาก Campbeltown คือ ‘เมืองเอก’ ของ Kintyre และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของ Argyll โดย มีประชากร 4,852 คน ตามข้อมูลส�ำรวจส�ำมะโน ประชากรปี 2011 เมื่อร้อยปีก่อน มันเป็นเมือง ที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดของอังกฤษ ทั้งนี้ต้องขอบคุณความส�ำเร็จจากการท�ำฟาร์ม, การประมง และอุตสาหกรรมการต่อเรือและ

โรงกลั่นสุราของที่นี่ ถึงแม้คืนวันจะผ่านล่วงเลย ไปนานแล้วแต่คุณยังสามารถเห็นเค้าอดีตยุค รุ่งเรืองของมันได้จากบ้านที่ออกแบบเอาไว้อย่าง อลังการบางหลังในบริเวณนี้ Machrihanish อดีตชุมชนคนท�ำเหมืองที่อยู่ ห่างออกไปทางตะวันตกอีกไม่เท่าไรก็มีความ สวยงามอลังการไม่แพ้กัน โดยเฉพาะบริเวณ รอบสนามกอล์ฟที่มีชื่อเสียงระดับโลกแห่งนี้ Old Tom Morris ถึงกับอุทานออกมาในวันแรกที่

66 BMWcar

64-70 740 .indd 66

3/20/2560 BE 15:05


7 SERIES DRIVE

เขามาที่นี่เป็นครั้งแรกในปลายยุค 1870s ว่า “พระเจ้าได้ทรงมองเห็นกีฬากอล์ฟตอนทีพ่ ระองค์ สร้างสถานทีน่ ขี้ นึ้ มา” ซึง่ ตอนนัน้ เขาได้คว้าแชมป์ Open Championship มาแล้วถึงสีค่ รัง้ ดังนัน้ ผม จึงคิดว่าเราน่าจะเอาค�ำพูดเขามาเป็นบทสรุปได้ บางคนถึงกับให้เกียรติยกหลุม 1 ของมันให้เป็น หลุมที่ตียากที่สุดในโลก เพราะหากทีช็อตไม่ดี ลูกกอล์ฟก็ลอยละลิว่ ไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก

และคุณจะไม่มีวันได้เห็นมันอีกเลย ผมก็ไม่ได้ เชี่ยวชาญอะไรมากนักเกี่ยวกับกอล์ฟ แต่จากที่ เห็นผมว่ามันไม่ได้เป็นสนามที่ง่ายเลย และนี่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งสิ่ ง เดี ย วที่ ท� ำ ให้ Machrihanich มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ในปี 1906 มันเคยเป็นที่ตั้งของสถานีรับส่งสัญญาณวิทยุ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และสามารถส่ง รหัสมอสไปยังรัฐ Massachusetts ได้สำ� เร็จเป็น

ครั้งแรก ถึงแม้ว่าเสาสัญญาณจะโค่นลงมาในปี เดียวกันนั้นเอง แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการ สื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุที่ได้กลายเป็นธุรกิจ ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ก็ยังมีสนามบินอีกหนึ่งแห่ง ที่เมื่อ ก่อนเคยเรียกกันว่า RAF Machrihanish ซึ่งเอา ไว้ใช้ในปฏิบตั กิ ารทางการทหารเท่านัน้ ตัง้ แต่หลัง สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา และยังคงอยู่

APRIL 2017 67

64-70 740 .indd 67

3/20/2560 BE 15:05


ภายใต้การดูแลกระทรวงกลาโหมจนกระทั่ง ปี 2012 ก่อนทีจ่ ะขายให้กบั Machrihanish Airbase Community Company หรือ MACC ไป ส่วนที่เป็นรันเวย์หลักยาว 10,003 ฟุต ในปัจจุบันยังคงอยู่ และใช้เป็นทางวิ่งส�ำหรับ เครือ่ งบินเล็กทีบ่ นิ รับ-ส่งผูโ้ ดยสารมาจาก Glasgow แต่สว่ นอืน่ ๆ ได้ถกู เอาไปท�ำอย่างอืน่ แล้ว อย่างเช่น ศูนย์ติดต่อธุรกิจ, ศูนย์ประชุม และสนามแรลลี่ ทางเรียบชือ่ ดังของภูมภิ าคนี้ นอกจากนี้ เมือ่ ไม่กปี่ ี

มานีย้ งั ได้มกี ารพยายามท�ำให้มนั เป็น ‘ท่าอวกาศ ยาน’ แห่งแรกของอังกฤษอีกด้วย ซึ่งถ้าท�ำได้จริง สนามบิน Machrihanish ก็คงจะโด่งดังกว่า ที่มันเคยถูกรู้จักในอดีตขึ้นมาในทันที แม้กระทั่งตอนนี้มันก็มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เพียง แต่คณ ุ อาจจะไม่รเู้ อง คุณคงเคยได้ยนิ หนังฮอลลีวดู้ ชื่อดังในปี 1985 เรื่อง White Nights (บอกเธอ บอกฉัน บอกว่ารักเรามั่นนิรันดร) ที่แสดงโดย ดาราเจ้าบทบาทอย่าง Gregory Hines, Helen

Mirren, Isabella Rossellini, Maryam d’Abo ทีต่ อ่ มาเป็น Bond Girl, และ Mikhail Baryshnikov นักบัลเล่ตท์ ผี่ นั ตัวมาเป็นนักแสดง (Lionel Ritchie แต่งเพลง ‘Say You, Say Me’ ขึ้นเป็นการเฉพาะ ส� ำ หรั บ หนั ง เรื่ อ งนี้ และต่ อ มาได้ ฮิ ต ขึ้ น ถึ ง อันดับหนึ่งในอเมริกา) หนังเริ่มจากเครื่องบิน Boeing 747 ทีต่ วั ละครตามท้องเรือ่ งที่ Baryshnikov รับบทเกิดตกที่ไซบีเรีย ซึ่งคนทั่วไปก็คงจะคิดว่า มันคงเป็นฉากเครื่องบินตกปลอม ๆ แต่จริง ๆ

68 BMWcar

64-70 740 .indd 68

3/20/2560 BE 15:05


7 SERIES DRIVE แล้วไม่ใช่ ทุกอย่างเป็นของจริงยกเว้นเครื่องบิน ทีม่ นั เป็นเครือ่ งบินรุน่ อืน่ ทีเ่ อามาแปลงให้ดเู หมือน 747 เพื่อลดต้นทุน Malcolm McMillan ผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ MACC บอกเราว่าเครื่อง บินร่วงลงมาฟ้าจริง ๆ และก็ร่วงลงมาที่ Machrihanich นีแ่ หละ โดยเครือ่ งบินล�ำนัน้ ขับโดยนักบิน เสี่ยงตายชาวไอริชคนหนึ่ง และเขาเดินออกมา จากซากเครือ่ งบินล�ำนัน้ โดยไม่ได้รบั อันตรายอะไร เพื่อไปรับเงินค่าจ้างก้อนโต

Malcolm เล่าเรื่องนี้ให้ผมฟังในระหว่างการ สนทนาอย่างออกรสชาติหลังจากทีผ่ มได้ไปเยือน ที่ออฟฟิศเขาโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า และจากนั้น ผมก็บอกเขาถึงวัตถุประสงค์ที่ผมขับเจ้า 740Ld คันนี้มาที่นี่ ซึ่งนอกเหนือไปจากการได้ขับรถดี ๆ คันหนึง่ ท่องเทีย่ วไปบนถนนสวย ๆ แห่งหนึง่ ของโลก มันยังเป็นเหมือนการจาริกแสวงบุญด้วยในตัว ผมมาที่ Machrihanish เป็นครั้งแรกเมื่อ เดือนธันวาคมปี 1988 เพื่อมาท�ำข่าวการสร้าง

สถิติความเร็วของการเล่นสกีจากบนหลังคารถ โดยรถที่ถูกน�ำมาใช้ในตอนนั้นคือ BMW 745i เวอร์ชั่นเทอร์โบที่ท�ำมาจาก 732i ที่เลิกผลิตไป ก่อนหน้านัน้ ไม่นาน 745i ตัวนีไ้ ม่ได้ถกู ส่งมาขาย ในอังกฤษเพราะหากเป็นรถพวงมาลัยขวา ชุด เทอร์โบของมันจะไปติดกลไกระบบบังคับเลี้ยว แต่บริษัทหนึ่งใน Glasgow ที่ชื่อ AVA Turbos ได้สั่งมันเข้ามาหนึ่งคันเพื่อเอามาท�ำเป็นรถแข่ง สนามให้ Iain Gardner นักแข่งประสบการณ์สงู ขับ Alan Clark หุ้นส่วนคนหนึ่งของ AVA เป็น พี่ชายของ Norman ผู้เป็นนักสกีที่ประสบความ ส�ำเร็จคนหนึ่ง มันดูเหมือนว่าเจ้า 745i คันนี้ น่าจะเหมาะแก่การเอาอุปกรณ์สกีไปติดไว้บน หลังคาได้อย่างเพอร์เฟ็กต์ จากนั้นก็เอาไปที่ Machrihanish และให้ Norman ขึน้ ไปอยูบ่ นนัน้ ในขณะที่ Alan ขับเหยียบมิดไปตามรันเวย์ Norman ดูเหมือนจะสงบนิ่งมากเมื่ออยู่บนนั้น ทั้ง ๆ ที่มันมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก มันเป็นเรือ่ งส�ำคัญมากทีเ่ ขาต้องรักษาต�ำแหน่ง ร่างกายให้นิ่งอยู่ตลอดเวลา เพราะหากไม่เป็น เช่นนั้นแล้ว แขนข้างหนึ่งอาจจะโดนลมตีไป ข้างหลัง แล้วก็จะพลอยพาแขนอีกข้างตามไป ด้วยจากนั้นก็จะหงายไปทั้งตัว สิ่งเดียวที่ Alan จะรู้ได้ว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วก็คงจะเป็น เสียงหมวกกันน็อกของน้องชายที่ฟาดลงมาที่ กระจกหลังจนแตกกระจาย ผมดีใจที่ไม่ต้องไป ยืนอยู่บนนั้น ในการวิ่งรอบแรกและรอบเดียวในวันนั้นก็ สามารถท�ำลายสถิติเดิมลงได้อย่างง่ายดายเมื่อ เจ้า BMW ทะยานผ่านช่วงจับเวลาขึน้ ไปถึง 141.5 ไมล์ต่อชั่วโมง (226 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) พี่น้อง Clark มีความสุข แต่คิดว่าพวกเขายังสามารถ ท�ำได้เร็วกว่านี้อีก ทั้งนี้เพราะช่วงจับความเร็วได้ ถูกก�ำหนดเอาไว้ส้ันไป ซึ่งที่จริงแล้วมันสามารถ ยืดออกไปได้อีกหลายหลาและก็ยังมีพื้นที่เหลือ มากพอให้ Alan เบรกได้ทัน แต่สปอนเซอร์รถคันนี้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจอยู่ ใน Glasgow รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ และบอกว่า ทางทีมได้ท�ำส�ำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งเอา ไว้แล้ว ดังนั้นแทนที่จะให้ Norman ออกไปเสี่ยง อีกรอบ เขาจึงสัง่ ให้เก็บของทันทีและพาทุกคนไป เลี้ยงฉลองที่ร้านใน Campbeltown ไม่มีใคร คัดค้านขึน้ มาเพราะอย่างน้อยตอนนีร้ า่ งกายของ พวกเขาก็เริม่ จะรับมือกับความเยือกเย็นช่วงกลาง ฤดูหนาวของ Kintyre ไม่ไหวแล้ว แต่งานในส่วนของเรายังไม่ถือว่าบรรลุ เป้าหมายนัก ด้วยความทีเ่ ป็นไปไม่ได้ทจี่ ะเอารถ ของช่างภาพอีกคันวิง่ ตีคไู่ ปกับเจ้า 745i ในระหว่าง วิ่งจับเวลา เราจึงยังไม่ได้ภาพแอ็คชั่นสวย ๆ APRIL 2017 69

64-70 740 .indd 69

3/22/2560 BE 10:06


ดูเหมือนว่าเจ้า 745i คันนี้น่าจะเหมาะแก่การเอาอุปกรณ์สกี ไปติดไว้บนหลังคาได้อย่างเพอร์เฟ็กต์ จากนั้นก็เอาไปที่ Machrihanish และให้ Norman ขึ้นไปอยู่บนนั้น

ดังนั้นเราจึงต้องจัดฉากการวิ่งขึ้นมาอีกครั้ง Alan และ Norman เอารถออกไปที่รันเวย์ สองรอบโดยวิ่งด้วยความเร็วเพียง 60 ไมล์ต่อ ชั่วโมง (96 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในขณะที่ผมขับ Peugeot 309 ของที่บ้านขนาบไปข้าง ๆ โดยมี ตากล้องสองคนชะโงกหัวออกมาจากหน้าต่าง แต่สำ� หรับ Norman แล้วมันไม่ใช่เรือ่ งสนุกเลย เพราะมันท�ำให้เลือดในกายของเขาไม่ฉดี พล่านพอ ในขณะที่ต้องไปยืนเกร็งโต้ลมหนาวอยู่บนนั้นถึง

สองรอบ เขาบอกว่าที่ความเร็ว 141.5 ไมล์ต่อ ชัว่ โมง (226 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง) สบายกว่าเยอะเลย Malcolm McMillan อนุญาตให้เราเอาเจ้า 740Ld ลงไปวิง่ ในรันเวย์เพือ่ เก็บภาพร�ำลึกความ หลังได้ ตอนนี้ทางวิ่งฝั่งตะวันออกถูกกันเอาไว้ ส�ำหรับเครื่องบินพาณิชย์ใช้เท่านั้น แต่ผมเอารถ ไปจอดบริเวณที่ 745i เริม่ ไต่ทำ� ความเร็วเพือ่ สร้าง ประวัติศาสตร์ และมองไปยังช่วงจับความเร็ว ที่ทอดยาวอยู่ข้างหน้า นี่คือภาพที่พี่น้อง Clark

มองเห็นอยู่ตรงหน้าเมื่อ 28 ปีก่อน ผมนึกรู้สึก อิจฉาพี่น้องสองคนนี้ขึ้นมา แต่ผมอิจฉา Alan มากกว่า Norman หลังจากตักตวงความหลังจนหน�ำใจและกล่าว ขอบคุณในความเอือ้ เฟือ้ ของ Malcolm เรียบร้อย แล้ว ผมติดเครื่องเจ้า 745Ld และมุ่งหน้ากลับ คืนสูเ่ มืองใหญ่ของ Scotland ซึง่ การขับเทีย่ วกลับ ในครั้งนี้ให้ความรู้สึกปลื้มปิติพอ ๆ กับตอนที่ ขับกลับในครั้งโน้น l

70 BMWcar

64-70 740 .indd 70

3/22/2560 BE 10:06


71 Ad Dermaster.indd 71

3/24/2560 BE 17:30


72 BMWcar

72-78 ALPINA.indd 72

3/20/2560 BE 15:12


ALPINA B7s

Alpina B7 จากยุค 80s คือรถที่ ได้รับการปรับแต่งให้สปอร์ตขึ้น แต่ยังคงมาดสุขุมบวกความง่ายในการใช้งาน ทำ�ให้มันเป็นหนึ่งในรถที่น่าสน เรื่อง: Dan Bevis

สํ

ภาพ: Patrik Karlsson

าหรับส�ำนักแต่งอย่าง Alpina นัน้ หลาย ๆ ท่านรูก้ นั อยูแ่ ล้วว่าพวกเขามีความถนัดใน การตกแต่ง BMW ให้สวยงามโดยมีสไตล์ออกไป ในทางรถผูใ้ หญ่มากกว่ารถแต่งจากส�ำนัก M บริษทั นีม้ ชี อื่ เต็มว่า Alpina Burkard Bovensiepen GmbH & Co. KG เริม่ ก่อตัง้ ในปี 1965 โดยท�ำหน้าที่ เป็นส�ำนักจูน BMW ในเวลาต่อมาพวกเขาสะสม ชื่อเสียงจากการแข่งขันจนกระทั่งช่วงต้น

ทศวรรษที่ 70s แต่หลังจากนั้นมา ก็หันมา เอาดีทางด้านการจูนรถถนนที่สามารถขับ ใช้งานได้ทกุ วัน แต่มสี มรรถนะถูกใจนักเลงรถ เอกลักษณ์ของรถจากส�ำนักนี้คือสติ๊กเกอร์ คาดแถบข้างรถ และล้ออัลลอยลาย 20 ก้าน ผูค้ นในวงการรถจะมอง Alpina ว่ามีดกี รีเกือบ เท่าบริษทั ผูผ้ ลิต และไม่ใช่แค่บริษทั ขายของ แต่งทัว่ ไป ในยุค 80s นัน้ ถ้าคุณรูส้ กึ ว่า M5 และ

M635CSI ธรรมดาเกินไป ก็มรี ถแต่งจากทาง Alpina นี่ล่ะที่คุณพอจะเล่นได้ รถ Alpina รุน่ ทีเ่ ราน�ำมาเสนอในวันนีค้ อื รุน่ B7 Turbo และ B7 Turbo Coupe ซึง่ มีพนื้ ฐาน ตัวรถมาจากซีรสี ์ 5 E28 และซีรสี ์ 6 ตัวถัง E24 B7Tubo เปิดตัวในเดือนเมษายน 1984 โดย Alpina ประชาสัมพันธ์ว่าเป็น ‘รถ 4 ประตูที่เร็วที่สุด ในโลก’ ทีก่ ล้าเคลมเช่นนีเ้ พราะพวกเขาลงมือ APRIL 2017 73

72-78 ALPINA.indd 73

3/20/2560 BE 15:14


โมดิฟายเครื่อง M30 ติดรถเพิ่มเติมอย่างหนัก ติดตัง้ เทอร์โบชาร์จเจอร์ KKK K27 เข้าไป (ถ้ารหัส มันคุน้ ก็เพราะมันเป็นรหัสเดียวกับทีใ่ ช้ใน Porsche 911 Turbo) เพิ่มอินเตอร์คูลเลอร์ เปลี่ยนลูกสูบ เป็นของ Mahle จูนกล่องและท�ำฝาสูบใหม่ ท�ำให้ มีแรงม้าสูงสุดเพิ่มเป็น 300 แรงม้า Alpina ผลิต รถรุน่ นีอ้ ยูเ่ พียงแค่ 3 ปี มียอดผลิตทัง้ สิน้ 236 คัน (รวมทัง้ รุน่ B7 Turbo Kat ซึง่ ติดตัง้ เครือ่ งกรองไอเสีย 42 คัน) ส่วนเวอร์ชั่นคูเป้ที่มีพื้นฐานจากซีรีส์ 6 ซึง่ เปิดตัวใน 1984 นัน้ มีผลิตแค่ 130 คัน และ 20 คัน ในนั้นเป็นรถเวอร์ชั่นติดเครื่องกรองไอเสีย รถเหล่านี้มีรายละเอียดปลีกย่อยให้จ�ำเยอะ ยกตัวอย่างเช่น ซีรสี ์ 6 นัน้ มีราคาแพงและน�ำ้ หนัก ตัวเยอะกว่าซีรีส์ 5 และ Alpina เองก็คิดว่า รถรุน่ ทีแ่ พงกว่านัน้ ก็ตอ้ งมีอตั ราเร่งทีด่ กี ว่า ดังนัน้

ในขณะที่รุ่นซาลูนได้เครื่อง B7/1 รุ่นคูเป้จะได้ เครื่อง B7/2 ที่มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 330 แรงม้า ซึ่งได้เพิ่มมาจากการใช้แคมชาฟท์องศาสูงกว่า และสวิตช์ปรับบูสต์เพิม่ ได้ ชือ่ B7 นัน้ ถ้าเป็น Alpina ยุคก่อนจะใช้ตวั อักษรบ่งบอกชนิดของเครือ่ งยนต์ ถ้าเป็น A ก็คือเครื่องยนต์ 4 สูบ ถ้าเป็น B ก็คือ เครื่อง 6 สูบ ความจุเยอะ ส่วน C คือ รุ่น 6 สูบ ทีค่ วามจุกระบอกสูบน้อยลงมา เครือ่ งยนต์ของ B7 มีขนาด 3,430 ซีซี ข้อเหวี่ยงและชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องได้รับการบาลานซ์มาจากโรงงาน ของ Alpina เอง ลูกสูบของ Mahle ยังมีการปัม๊ เลข แต่ละลูกไม่เหมือนกันด้วยซ�้ำ อินเตอร์คูลเลอร์ ทีใ่ ช้กส็ ามารถลดความร้อนของไอดีลงได้ 50 องศา เซลเซียส และยังมีท่อไอดีแสนกลที่มีกลไกวาล์ว ปิด-เปิดเพือ่ เพิม่ กระแสไอดีเข้าสูเ่ ครือ่ งยนต์ได้ดว้ ย

มีผลให้ได้แรงดัน บูสต์เพิ่มขึ้นประมาณ 0.3 บาร์ ไปจนถึง 2,300 รอบต่อนาที ก่อนที่เทอร์โบของ จริงจะท�ำงาน สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ B7 ไม่ใช่แค่เพียง การเอารถ M5 มาคาดสติก๊ เกอร์ มันคือรถทีอ่ าศัย เทคโนโลยีรถแข่งมาสู่รถถนนอย่างแท้จริง ในวันนี้ หลายคนมอง B7 เป็นยานยนต์ชนั้ เลิศ จากอดีตซึ่งเพียบพร้อมด้วยความแรงและความ ขลังมาดีอยู่แล้ว ท�ำให้ใครก็ตามที่ได้เป็นเจ้าของ รถรุ่นนี้อยากจะรักษาสภาพเดิมให้เหมือนวันที่ ออกมาจากโรงงานให้ได้มากทีส่ ดุ อย่างไรก็ตาม Frederik Ekroth และ Ted Willes ไม่ได้คิดแบบนั้น พวกเขามองว่าไหน ๆ Alpina ก็โมดิฟายรถเพือ่ ท�ำให้ มันดีขนึ้ แล้วท�ำไมเจ้าของรถจะโมดิฟายให้มนั ดีขนึ้ ไปอีกไม่ได้เล่า ? รถเหล่านี้ เป็น Performance Car จากอดีตในปัจจุบันอุปกรณ์ ต่าง ๆ ก็พัฒนาไป

74 BMWcar

72-78 ALPINA.indd 74

3/20/2560 BE 15:14


ALPINA B7s

ตามเวลา ท�ำไมถึงไม่เอาสิง่ ใหม่ ๆ เหล่านั้นมาช่วย ปรับปรุงรถให้ดีขึ้น ดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจที่รถ ทั้ง 2 คันนี้จะมีแรงม้ามากขึ้นกว่าในอดีต แต่ เจ้าของรถก็ไม่ได้โมดิฟายเยอะเพื่อเน้นแรงม้า เพียงอย่างเดียว พวกเขายังต้องการให้มนั เป็นรถ ที่ขับใช้งานได้ทุกวัน ซึ่งก็ตรงกับความตั้งใจและ แนวทางการสร้างรถของ Alpina นั่นเอง Fredrik บอกว่า “ผมเลือก B7 Turbo Coupe´ เพราะมันเป็นรถทีส่ ดุ ยอดเป็น E24 ทีน่ อกจากจะ ทรงโฉบเฉี่ยวแล้วยังแรงสมกับหน้าตาของมัน หลังจากที่ผมซื้อ 635 ของผมในปี 2002 ผมก็ พยายามศึกษา E24 มาเรื่อย ๆ ต่อมาผมก็ได้ รู้เรื่องเกี่ยวกับ B7 Turbo โดยเฉพาะตัว Coupe´ มันกลายเป็นรถในฝันของผมมา 7 ปี ต่อมา ในปี 2010 ก็สบโอกาสคว้ามาเป็นเจ้าของ” Fredrik มีประสบการณ์สงู กับรถ BMW รถคันแรกของเขา สมัยเป็นนักเรียนคือ 635CSI เกียร์ธรรมดา (พวกเราหลายคนไม่โชคดีขนาดนัน้ ) เขายังใช้รถ คันนั้นมาจนถึงวันนี้ และเมื่อมีโอกาสได้เป็น เจ้าของรถในฝันจะปฏิเสธให้โง่หรือชีวติ มีชวี ติ เดียว ก็ต้องใช้ให้คุ้ม “เจ้าของคนเก่าเป็นเพือ่ นของผมเอง” เขาอธิบาย “และเขายังเป็นประธาน Alpina Club Schweden อีกด้วย เขาน�ำเข้ารถจากเยอรมนีมาสวีเดนในปี 2005 ในเวลานั้นมันมีชุดแต่งไฟเบอร์กลาสติดมาด้วย แต่พอเขาได้มาเขาก็ถอดของเหล่านั้นออกแล้ว ท�ำมันกลับเป็นแบบเดิม ผมรู้รายละเอียดทุกสิง่ ที่เขาท�ำกับรถคันนี้ และสภาพของมันก็ดีมาก ! APRIL 2017 75

72-78 ALPINA.indd 75

3/20/2560 BE 15:14


แม้วา่ บางส่วนของตัวถังจะถูกท�ำสีมาและอะไหล่ บางชิ้นก็ถูกซ่อมหรือเปลี่ยนไปแล้ว อย่างเช่น ไฟหน้า ลิน้ หน้า และส่วนทีเ่ ป็นยางทัง้ หมดของกันชน ฝาสูบถูกถอดมาเช็กสภาพและท�ำการซ่อมบ�ำรุง แถมปรับรายละเอียดเพิ่มรองรับแรงม้าอีก เขา ปรับบูสต์เพิ่มไปเป็น 1.1 บาร์ นอกจากนี้ก็ยัง เปลีย่ นคลัตช์เป็นแบบทีท่ นงานหนักขึน้ เพลากลาง เพลาข้างก็เอาไปซ่อมแซมจนสภาพเหมือนใหม่

หลังจากนั้นก็ใส่โช้กอัพใหม่และลูกหมากปีกนก หน้าของ Powerflex แล้วก็ยังเปลี่ยนเบรกเป็น Autobahn package ของ 750i E32 ล้อที่เห็น ก็ท�ำสีมาใหม่” ดังนั้นไม่ใช่แค่ว่าโชคดีที่ได้รถ ในฝัน แต่ได้รถในฝันซึง่ เจ้าของเก่าดูแลมาอย่างดี ชนิดที่เจ้าของรถคลาสสิกคนอื่นเขาไม่ท�ำกัน “รถคันนี้มีประวัติน่าดูชม” Fredrik ยิ้ม “มันถูกซื้อมาจากดีลเลอร์ BMW/Alpina ที่ชื่อ

Autohaus Borse ในเยอรมนี พวกเขาติดตั้ง ชุดแต่งไฟเบอร์กลาส ลิ้นหน้า สเกิร์ตข้าง และ สเกิร์ตหลังเพิ่ม ใส่สปอยเลอร์หลัง M-tech และ ใส่ล้อ 17 นิ้ว ชุดเดียวกับที่มันใส่อยู่ในวันนี้ Alpina เปิดตัวล้อขนาด 17 นิว้ ในปี 1987 ดังนัน้ มันจึงเป็นของใหม่ทไี่ ด้รบั ความนิยมมากในยุคนัน้ Borse ยังใส่กรอบหน้าปัดไม้ และน�ำรถคันนี้ไป โชว์ในงาน IAA Exhibition ที ่ Frankfurt ในปี 1987 ด้วย นับว่าเจ๋งมาก !” ปัจจุบนั Fredrik เป็นเจ้าของ B7 คันนีม้ านาน 6 ปีแล้ว ในช่วงเวลานี้ เขาได้ใส่หวั ฉีดขนาดโตขึน้ เพิ่มบูสต์เป็น 1.2 บาร์ และปรับจูนกล่องใหม่ให้ รับกับการโมดิฟายทีเ่ พิม่ ไป B7 ของเขาสามารถเสก ม้า 400 ตัวได้ทท่ี า้ ยเครือ่ ง หรือถ้าวัดทีล่ อ้ ก็ 355 ตัว เกียร์ที่ใช้อยู่ก็ถูกส่งไปซ่อมปรับสภาพใหม่ที่ Mobimech ในเมือง Gothenburg ซึ่งมีชื่อเสียง ถึงขั้นเป็น Guru of Getrag เลยก็ว่าได้ ลูกหมาก และลูกยางต่าง ๆ ถูกเปลีย่ นใหม่ออกรอบ “ในรถ เก่าแบบนี้ คุณจะพบว่าต้องคอยเปลี่ยนนู่นนี่อยู่ เสมอ” เขาพูด ต่อจากรุ่น Coupe´ เราก็ย้ายไปดูรุ่น 4 ประตู กันบ้าง เราทราบมาว่า E28 ของ Ted นัน้ เป็นหนึง่ ในบรรดารถสะสมของเขา ซึง่ ประกอบด้วย Porsche 924 Turbo, 996 GT2 และ M3 E36 และยังมี Alpina B7 Turbo อีกคันเป็นรถหมายเลข 176

76 BMWcar

72-78 ALPINA.indd 76

3/20/2560 BE 15:14


ALPINA B7s แต่รถคันทีเ่ ขาน�ำมาให้เราดูในวันนีเ้ ป็นหมายเลข 164 มันมีของแต่งดี ๆ กับเอกลักษณ์จากยุค 80s แบบเดียวกับรถของ Fredrik แต่มีก�ำลังเครื่อง มากกว่าเพราะ Ted ถอดเทอร์โบ KKK K27 ออก แล้วเปลี่ยนเป็น Garrett GT35 พร้อมทั้งเปลี่ยน อินเตอร์คูลเลอร์ให้มีขนาดโตขึ้น เอากล่อง ECU จาก Alpina Biturbo E34 มาคุมเครือ่ ง ท�ำให้มแี รงม้า สูงสุดถึง 360 แรงม้า ซึง่ สูงกว่าสเปคโรงงานมาก “ผมเปลีย่ นระบบเบรกไปใช้ชดุ 4 Pot ของ 750i E32 ที่เป็นรุ่นพิเศษ Autobahn package” เขาเล่า “นอกจากนี้ก็เปลี่ยนล้อด้วย โดยถอดล้อ 16 นิว้ ล้อหน้ากว้าง 7 นิว้ ล้อหลังกว้าง 8 นิว้ เอา ไว้ในโรงรถแล้วใส่ล้อ 17 นิ้ว ของ B10 Biturbo

E34 แทน” จะเห็นได้ว่าเมื่อเปลี่ยนขนาดล้อและ ยางใหม่ บริเวณหน้ายางสัมผัสถนนก็เพิ่มขึ้น ล้อหลังจาก B10 นัน้ กว้าง 10 นิว้ และใส่ยางหน้า กว้าง 255 ท�ำให้สามารถรับม้าทั้งหมดแล้วถ่าย ลงพื้นได้อย่างครบถ้วน แล้ว Ted มาเจอรถคันนีไ้ ด้อย่างไร “ในสวีเดน น่ะมี B7 Turbo อยูป่ ระมาณ 15 คัน นีน่ บั รวมทัง้ E24 และ E28 แล้วนะครับ และผมก็โทรฯติดต่อ เจ้าของทุกคันด้วยตัวเอง” เขาหัวเราะ “ผมถามไป ตรง ๆ เลยว่าขอซื้อรถต่อได้ไหม ทุกคนก็ปฏิเสธ หมด คือไม่ใช่ว่าหยิ่งนะ เกือบทุกคนนิสัยดีหมด เพียงแต่พวกเขาไม่อยากขายรถแค่นนั้ แต่บางคน ก็วางสายเลยโดยที่ไม่ยอมคุยสักค�ำ !” แต่

โชคชะตาก็เข้าข้าง Ted เพราะในที่สุดก็เจอคน ที่ยอมขาย เจ้าของเดิมบูรณะสภาพรถมาอย่าง ดีแล้ว ดังนั้นสภาพรถที่คุณเห็นในตอนนี้ก็เกือบ จะเหมือนกับเมื่อครั้งที่ Ted ซื้อมันมา “ผมไม่ใช่ คนที่ซ่อมรถเก่งขนาดนั้น ดังนั้นก็เลยไม่ได้ซ่อม อะไรเลย” เขายอมรับ “ไปถามภรรยาผมดูกไ็ ด้ !” พู ด ตามตรงว่ า เขาเลื อ กรถมาได้ ดี ม าก B7 Turbo ที่เปลี่ยนเทอร์โบใหม่เป็น Garrett นี้ ให้พลังสูง เป็นการอัพเกรดพลังของยุคใหม่ให้กบั รถยุคเก่าได้อย่างดี แม้รถจะอายุมากแต่ก็ยัง ดูสวยอยู่ ภายในมีสไตล์แบบรถยุคเก่า บางส่วน ก็ดเู ข้าใจยากแต่ในภาพรวมก็ยังรู้สึกสบายเวลา นั่งเราถาม Ted ว่าท�ำไมถึงอยากได้รถแบบนี้

APRIL 2017 77

72-78 ALPINA.indd 77

3/20/2560 BE 15:14


“ถามโง่ๆ ถามมาได้ยงั ไง...ก็เพราะมันเป็น รถทีเ่ ยีย่ มยอด” ค�ำตอบเข้าใจง่าย แต่เลือกใช้ ค�ำที่กระตุกส้นเท้าเล็กน้อย “ผมชอบขับมันเวลาอากาศดี ๆ” เขาพูดต่อ “ผูค้ นรูว้ า่ นีค่ อื รถอะไร พวกเขามักมองมันแล้ว ก็ส่งยิ้มกลับมาให้เรา” Frederik บอกว่ า “ผมก็ ว ่ า อย่ า งนั้ น คนสมัยนีช้ อบรถรุน่ เก่าทีส่ ภาพดี ๆ ยิง่ ถ้าเป็น คนที่รู้จัก Alpina ก็จะยกนิ้วโป้งให้เลย ผม ขับมันเพื่อความสนุก และถ้ามีโอกาสผม

ก็เอามันไปอัดบนเอาโต้บาห์น ก็รถพวกนี้ มันถูกออกแบบมาให้วิ่งอย่างนี้ ผมก็ชอบ สิครับ มันต่างจาก 635CSi ตัวธรรมดามาก ขับมันส์กว่า ตอบสนองไวกว่า แล้วพอเทอร์โบ ท�ำงานมันก็เหมือนกับจะบินได้เลย อัตรา ทดเกียร์ยาว แต่พลังมันเหลือเฟือ กดคันเร่ง ทีก็จะไปแบบหลอน ๆ แต่ 635 จะเป็นรถ ที่วิ่งสบาย ๆ เร่งไปเรื่อย ๆ เหมือนท�ำมาไว้ วิ่งทางไกลมากกว่า แต่ที่น่าแปลกคือ Alpina เป็นรถทีน่ ง่ั หรือขับแล้วสบายกว่า” จะเห็นได้วา่

ฝีมือการท�ำรถของ Alpina นั้นอยู่ในขั้น หาตัวจับยาก รถทีอ่ อกจากโรงงานใน Buchloe ปี 1984 ซึง่ นานมาแล้วนัน้ ยังสามารถวิง่ ได้ดี จนทุกวันนี้ และเมื่อได้รับการปรุงแต่งเพิ่ม ในบางจุด มันก็กลายเป็นรถคลาสสิกสมรรถนะ สูงทีข่ บั มันส์ขนึ้ คนละเรือ่ ง อย่าไปมัวรักษาสภาพ แบบยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอมเลย Ted และ Fredrik ท�ำให้คณ ุ เห็นแล้วว่าการได้ใช้ชวี ติ กับรถเหล่านี้ บนถนนแบบเต็มๆ นั้น สนุกกว่ากันมาก l

ENGINE & TRANSMISSION: M30 3.4-litre straight-six, KKK K27 turbo with intercooler and original three-inch

E28 Alpina B7 Turbo – no.164

arms, B10 Bi-Turbo head gasket, ARP bolts, bigger injectors, Bosch 984 fuel pump, fuel pressure @ 3.5 bar (original 2.5 bar), max boost raised from 0.85 bar to 1.2 bar, max rpm 6500, reprogrammed ECU, Getrag 265/5 dogleg gearbox with 1:1 5th gear, 25 percent LSD with 2.56:1 final drive, Sachs 765 clutch POWER: 355whp @ 5450rpm (approx. 400hp at crank) CHASSIS: 8.5x17-inch (front) and 9.5x17-inch (rear) Alpina alloys, 235/35 (f) and 255/40 (r) Michelin Pilot Sport 2 tyres, M635CSi dampers with original Alpina progressive springs, ‘Autobahn package’ E32 750i four-pot front calipers with 324mm discs, 300mm E34 M5 rear discs, E32 750i master cylinder EXTERIOR: Achatgrün Metallic with silver Alpina pinstripes, BMW M-Tech spoiler in place of Alpina spoiler (fitted to this car from new) INTERIOR: Alpina dark grey cloth interior with Recaro seats, wood trim THANKS: “Ando Gunnarsson, Henke, my parents, and my friends Calle and Magnus that gave me the BMW interest.”

ENGINE & TRANSMISSION: M30 3.4-litre straight-six, Garrett GT35 turbo, oversized intercooler, Alpina E34 Bi-Turbo management, Getrag 265/5 dogleg gearbox POWER: 360bhp CHASSIS: 8.5x17-inch (front) and 10x17-inch (rear) E34 B10 Bi-Turbo Alpina alloys, 225/40 (f) and 255/40 (r) Federal 595 RS-R tyres, Bilstein suspension, ‘Autobahn package’ E32 750i four-pot front calipers with 324mm discs EXTERIOR: Diamond Black with silver Alpina pinstripes INTERIOR: Black leather interior with Recaros

E24 Alpina B7 Turbo Coupé – no.91

72-78 ALPINA.indd 78

3/20/2560 BE 15:14


79 AD Maxi.indd 79

3/22/2560 BE 09:32


เมื่อไม่กี่เดือนก่อน Robb Pritchard นักข่าวพเนจรของเรา ได้ ไปเจอตัวแข่ง Group 2 Schnitzer 3.0 CSi ที่ประเทศ Ecuador ที่ก่อนหน้านั้นเคยถูกเอาไปทำ�เลียนแบบตัวแข่ง Group 5 ได้อย่างสวยงาม มันมีความพิเศษมากทีเดียวแต่ยังไม่เท่ากับคันนี้

สิ

งที่คุณเห็นอยู่นี้คือหนึ่งในสี่คันของตัวแข่ง โรงงาน 3.5 CSL ที่ถูกใช้แข่งในรายการ World Championship for Make ในปี 1976 มันคว้าชัยชนะในการแข่งขัน 1,000 กิโลเมตร แถมยังเป็นรถทีท่ ำ� แต้มให้ BMW ได้สงู สุดอีกด้วย มันถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมดเพียงสี่คัน และตอนนี้ เหลือรอดชีวิตอยู่แค่สามคัน สองคันในนั้นยัง วิง่ ได้ และมีเพียงคันเดียวเท่านัน้ ทีย่ งั คงใช้ชนิ้ ส่วน ออริจินอลตรงรุ่นเดิมของมันจากโรงงาน ซึ่งมัน ก็คือรถคันนี้นั่นเอง รถคันนี้ก�ำลังลงประกาศขาย อยู่ และแน่นอนว่าพวกเราคงไม่มปี ญ ั ญาซือ้ มันหรอก แต่อย่างน้อยเราก็สามารถเอาบันทึกเรือ่ งราวชีวติ ของมันในอดีตมาเล่าให้คุณฟังได้ ปี 1976 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ วงการแข่ ง ขั น รถทั ว ริ่ ง จากการประกาศกฎ Group 5 ออกมาใช้เพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์สามารถ ท�ำรถแข่งตัวแรงของตนออกมาได้อย่างมีอสิ รภาพ มากขึ้น รถหลายค่ายถูกติดปีกติดหางติดโป่ง เข้าไปมากมายจนมีรปู ทรงดูแค่คลับคล้ายคลับคลา กับเส้นโครงร่างของรถที่เป็นพื้นฐานของมัน เท่านั้นเอง และคือเหตุผลที่มันถูกขนานนามว่า ‘Silhouettes Racing’ มีเพียงฝากระโปรง, หลังคา และประตูเท่านั้นที่ยังคงใช้เหมือนกับรถถนน และชุดตัวถังที่ใส่เข้าไปมีรูปร่างเป็นทรงเหลี่ยม จึงท�ำให้เจ้า CSL เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Batmobile การตัดสินใจเข้าร่วมในรายการนีข้ อง BMW ค่อนข้างช้า โดยกว่าจะตัดสินใจว่าจะเอา

CSL ลงแข่งก็ปาเข้าไปเดือนธันวาคมปีกอ่ นหน้านัน้ ซึง่ รถจริงก็เพิง่ สร้างเสร็จเมือ่ ฤดูรอ้ นปี 1975 เท่านัน้ เอง จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์นั่นแหละรถทั้ง สี่คันจึงเสร็จพร้อมวิ่งโดยเหลือเวลาให้ทดสอบ และปรับปรุงน้อยมาก รถคันหนึ่งถูกลงแข่งโดย ทีม Alpina-Faltz อีกคันลงแข่งโดยทีมอังกฤษ ที่ชื่อ Hermetite และคันที่สามสีเขียวคาดลาย Gosser Bier ลงแข่งโดยทีม Schnitzer (ส่วน คันสุดท้ายถูกเก็บเอาไว้ที่โรงงานเพื่อพัฒนาให้ เป็นเครื่องทวินเทอร์โบ ซึ่งมีกำ� หนดการที่จะเปิด ตัวออกมาภายหลังในปีเดียวกันนั้น) มีนักแข่งมา ลงขับกันมากหน้าหลายตาเลยทีเดียว ด้วยความ ที่ในตอนนั้นยังไม่มีต�ำแหน่งแชมป์ประเภท นักขับมอบให้เช่นเดียวกับแรลลี่ โดยจะมีแต่แชมป์ ประเภทผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว นักแข่งตัวยืนของ BMW ก็อย่างเช่น Albrecht Krebs ที่ไม่เคยขับ ให้กับค่ายอื่นเลยนอกจาก BMW ตลอดยุค 70s และ Dieter Quester ผู้ที่ใช้ชีวิตอาชีพนักแข่งรถ อยูก่ บั BMW มาเป็นเวลาอันยาวนาน และเป็นผูท้ ี่ ได้รบั การจดจ�ำว่าครัง้ หนึง่ เคยจบการแข่งขัน DTM ปี 1990 ด้วยการเอาหลังคารถไถลผ่านเส้นชัย เข้าไป นอกจากนี้รถยังถูกขับโดยนักแข่ง F1 ใน ยุคนั้นด้วย อย่างเช่น Gunnar Nilsson จากทีม JPS Lotus และ Ronnie Peterson หนึ่งในนักขับ รถหกล้อ Tyrell มีเพียง Porsche เจ้าเดียวเท่านัน้ ทีส่ ง่ ทีมแข่ง โรงงานมาลง ส่วน Ford หลังจากที่ Capri ครอง

ความเป็นเจ้าสนามอยูห่ ลายปีกถ็ อนตัวออกจาก การแข่งขัน แต่ก็ก�ำลังเตรียมกลับมาด้วยรถที่ ท�ำขึน้ มาจาก Escort Mk2 ส่วน Lancia ลงแข่งด้วย Turbo Stratos ที่น่าทึ่งแต่มันก็ไม่สามารถโชว์ ผลงานให้ได้ทงึ่ ถึงขนาดนัน้ รถเกิดไฟไหม้เป็นจุล ตอนช่วงกลางฤดูกาลและก็ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา ใหม่ ถึงแม้จะมีรถแข่งชั้นยอดจากเยอรมนีมา ห�้ำหั่นกันแค่สองค่าย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทัง้ สองค่ายนีจ้ ะมีโอกาสได้ลนุ้ เท่า ๆ กัน กฎใหม่นี้ อนุญาตให้ท�ำเครื่องยนต์ได้ถึง 3.5 ลิตร แต่ถึง แม้วา่ CSL จะมีมา้ ล�ำ ่ ๆ ปัน่ ออกมาจากเครือ่ งยนต์ ธรรมดาหกสูบเรียงได้ถึง 475bhp แถมยังแบก

80 BMWcar

80-85 CSL.indd 80

3/20/2560 BE 15:25


..

GOSSER BEER CSL

กระดองเอาไว้แค่ 970 กิโลกรัม แต่เจ้า 935 จมูก แบนเครือ่ งเทอร์โบคาดลาย Martini ของ Porsche ก็ยงั แรงกว่าอยูถ่ งึ 160bhp แต่สำ� หรับรถทีถ่ กู สร้าง ขึ้นมาอย่างรีบเร่งและจัดเต็มโดยใช้เทคโนโลยี สูงสุดเท่าทีใ่ นยุคนัน้ จะพึงมี และเสร็จออกมาโดย ไม่ได้ผา่ นการทดสอบเต็มรูปอย่างสมบูรณ์ ความ ทนทานในการแข่งขันระยะทางยาว ๆ น่าจะเป็น ประเด็นที่ท�ำให้น่าคิดมากกว่า ในสนามแรกทีเ่ ป็นการแข่งขันแบบเอ็นดูรานซ์ หกชั่วโมงที่ Mugello รถของ Schnitzer มีปัญหา เรื่องแฮนด์ลิ่งและเบรก แต่ก็ยังสามารถขยับขึ้น ไปได้ถงึ อันดับสองก่อนต้องออกจากการแข่งขันไป

และรถที่ไม่ใช่ Porsche สามารถท�ำได้ดีสุดแค่ ต�ำแหน่งที่แปด (3.0 CSL ของทีม Hermitite) รถที่วิ่งอยู่หัวแถวขับโดยมือขับชื่อดัง Jochen Mass และ Jacky Ickx ซึ่งทั้งคู่ต่างก็เป็นนักแข่ง จาก F1 และหลังจากนั้นก็ประสบความส�ำเร็จ ในรายการแข่งขันหลักอีกมากมาย สนามถัดไปยังคงอยู่ในอิตาลีที่ Vellelungo และก็ยงั คงเป็นแบบเอ็นดูรานซ์หกชัว่ โมง รถ BMW สามารถขึน้ ไปได้ถงึ อันดับทีส่ องอีกครัง้ จนกระทัง่ เกิดปัญหาถอดนอตล้อไม่ออกในขณะอยู่ในพิต ซึง่ บางทีมนั อาจจะเป็นเรือ่ งทีพ่ ลิ กึ ทีส่ ดุ ในการแข่ง รถทีเ่ ป็นเหตุทำ� ให้ตอ้ งออกจากการแข่งขัน ช่างใน

พิตกระโดดขึ้นกระโดดลงขย่มประแจถอดล้ออยู่ หลายหนจนช่วงล่างของมันพังไปเลย Mass และ Ickx สามารถคว้าชัยชนะได้อีกครั้งหนึ่ง ที่ Silverstone 6-Hour ในอีกสองสามสัปดาห์ ต่อมา สายตาทุกคูต่ า่ งจับจ้องไปทีเ่ จ้า CSL ตัวใหม่ 750 แรงม้าที่มีชื่อเล่นว่า ‘Munich Monster’ ซึง่ มันก็ยงั ไม่สามารถท�ำความเร็วได้เท่ากับ Porsche แต่ที่มันขึ้นน�ำได้ก็เพราะเจ้าตัวแข่ง Martini เกิด ปัญหากับเกียร์ขึ้นมา ด้วยความที่กำ� ลังมหาศาล ถูกยัดผ่านเข้าไปในเกียร์จึงไม่มีใครคิดว่ามันจะ ทนอยู่ได้นาน ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดกันเอาไว้ จากนั้น Quester และ Krebs ก็ขับขึ้นน�ำอย่าง APRIL 2017 81

80-85 CSL.indd 81

3/20/2560 BE 15:27


แต่ถงึ แม้วา่ CSL จะมีมา้ ล่�ำ ๆ ปั่นออกมาจากเครื่องยนต์ธรรมดา หกสูบเรียงได้ถึง 475bhp แถมยังแบกกระดองเอาไว้ แค่ 970 กิโลกรัม แต่เจ้า 935 จมูกแบน เครื่องเทอร์ โบ คาดลาย Martini ของ Porsche ก็ยังแรงกว่าอยู่ถึง 160bhp

สบาย ๆ แต่ก็สบายได้ไม่นานเพราะจากนั้นก็เกิด ปัญหาก้านสูบหักและท�ำให้ต้องออกจากการ แข่งขันไป สามสนาม สาม DNF เป็นอะไรที่ท�ำให้ Schnitzer ดูไม่หล่อเลย ในขณะที่ Porsche ของ ทีม Kremer มีปัญหาในขณะเติมน�้ำมัน Tom Walkingshaw นักแข่งอังกฤษและ John Fitzpatric จากทีม Hermetite จึงสามารถแซงขึน้ น�ำและชนะ ได้อย่างฉิวเฉียด ซึ่งมันเป็นชัยชนะแรกของ BMW ในฤดูกาลนี้ รายการต่อไป ADAC 1,000 กิโลเมตร ถูกจัดขึน้

ที่ Nordschleife สนามในต�ำนานอันมีชื่อเสียง ทีเ่ ป็นหนึง่ ในสนามทีถ่ อื ว่าโหดทีส่ ดุ ในโลก รถแข่ง จากทีมโรงงาน Porsche ขึ้นน�ำโด่งโดยมี BMW สามคันวิง่ ไล่ตาม แต่กไ็ ม่สามารถท�ำความเร็วขยับ เข้าไปใกล้ได้ แต่โฉมหน้าของการแข่งขันก็เปลีย่ น ไปเมื่อรถ Porsche เพลาขาด และท�ำให้ BMW ขึ้นน�ำแบบเต็ม ๆ 1-2-3 โดยรถของ Schnitzer อยู่ในอันดับที่สาม แต่รถคันหน้าสุดจาก Alpina เกิดช่วงล่างพังและต้องออกจากการแข่งขัน ส่วนรถ ของทีม Hermetite ก็เครื่องพังตอนเหลืออีกแค่

สามรอบ และท�ำให้ Schnitzer สามารถคว้าชัยชนะ ที่รอคอยมายาวนานได้สำ� เร็จหลังจากผิดหวังมา สามครั้งก่อนหน้านี้ ที่ Oestereichring รถ Porsche หัวแถวท�ำเวลา ควอลิฟายบนสนามยาว 5.9 กิโลเมตรแห่งนี้ ได้ดีกว่ารถ BMW คันที่ท�ำเวลาได้ดีที่สุดอยู่ถึง สีว่ นิ าทีเต็ม ๆ แต่ปญ ั หาจากเรือ่ งความทนทานก็ทำ� ให้ ต้องออกจากการแข่งขัน และท�ำให้ Quester ที่ ตอนนีข้ บั คูก่ บั Nilsson เข้าเส้นชัยด้วยต�ำแหน่ง 1-2 Le Mans รายการใหญ่สุดของปีที่ไม่มีแต้ม

82 BMWcar

80-85 CSL.indd 82

3/20/2560 BE 15:27


..

GOSSER BEER CSL

World Championship ให้แต่กม็ รี ถระดับแนวหน้า มาลงแข่งกันเพียบ Turbo CSL คาดลาย Art Car จากฝีมือออกแบบของ Frank Stella โชว์ผลงาน ได้อย่างโดดเด่นด้วยการตามจี้ติดรถที่เหนือกว่า อย่าง Porsche 936 และ Renualt-Alpine A442 รถจ�ำนวนมากต้องดิน้ รนต่อสูก้ บั ปัญหาเรือ่ งความ ทนทานตลอดระยะเวลาแข่งขัน แต่ถึงแม้ว่าเจ้า Turbo ต้องออกจากการแข่งขันในขณะทีก่ ำ� ลังอยู่ ในอันดับสาม และตามออกมาด้วยรถของ Schnitzer ในขณะวิ่งอยู่ในอันดับแปด ก็ยังคงถือว่าเป็น

การโชว์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียว ท�ำให้ BMW ต้องรอต่อไปจนกระทั่งปี 1999 ซึ่งมันยังคงเป็นชัยชนะเพียงครั้งเดียวของ BMW จนถึงปัจจุบัน Watkins Glen 6 ชัว่ โมงในอเมริกาทีเ่ ป็นเพียง สนามเดียวนอกยุโรปเป็นสถานที่พิสูจน์ให้เห็น ศักยภาพของ Porsche อย่างแท้จริง ที่แม้ว่า Ronnie Peterson ผู้ที่ตอนนั้นคว้าชัยชนะ Grand Prix มาแล้วแปดครั้งก็ยังไม่สามารถ พิชติ มันลงได้ โดยเขาจบการแข่งขันได้ในต�ำแหน่ง APRIL 2017 83

80-85 CSL.indd 83

3/20/2560 BE 15:27


ที่ห้า แต่ด้วยกฎแบบโบราณที่ให้แต้มแก่ผู้ชนะที่ หนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการที่ BMW เคยชนะในช่วง กลางฤดูกาลก็ยงั คงท�ำให้ได้ลนุ้ ต�ำแหน่งแชมป์ไป จนถึงสนามสุดท้ายใน Dijon 6 ชั่วโมงที่ฝรั่งเศส BMW ส่ง Turbo CSL ลงไปอีกครั้ง และตอนนี้ เกียร์ของมันถูกท�ำให้แข็งแรงขึน้ ให้สามารถรับมือ กับพลังมหาศาลของมันได้ มันขึ้นน�ำได้อย่างที่ คาดเอาไว้และสามารถท�ำความเร็วได้พอ ๆ กับ Porsche ที่ไล่อยู่ด้านหลัง แต่ไม่นานเฟืองท้ายที่ ถึงแม้ว่าจะถูกท�ำให้แข็งแรงขึ้นกว่าเดิมก็ระเบิด

เป็นเสี่ยง ๆ และต�ำแหน่งแชมป์ก็กลายเป็นแค่ กองน�ำ้ มันกับเศษโลหะชิน้ เล็กชิน้ น้อยกระจัดกระจาย รถของ Schnitzer เป็นตัวทีเ่ ก็บคะแนนให้กบั BMW ได้มากที่สุดในฤดูกาลนั้น เมือ่ CSL ตกรุน่ ไป ทีมโรงงานก็เริม่ ลงมือสร้าง ตัวแข่ง 320 Turbo ตัวใหม่ ส่วนตัวแข่งปี 1976 ทั้งหมดก็ถูกขายให้กับทีมอิสระไป อดีตรถของ Schnitzer คันนีถ้ กู น�ำไปลงแข่งในรายการ German Championship โดยทีม Memphis Racing มัน ถูกเอาไปท�ำสีใหม่เป็นสีขาว/แดง คาดลายฟ้าทูโทน

และขับโดย Sepp Manhalter และเคยชนะการ แข่งขัน Havirov International ที่ Czech Republic เมื่อหมดฤดูกาลแข่งขันก็มีเศรษฐีนักธุรกิจชาว อินโดนีเซียมาเจอมันและขอซื้อไปด้วยข้อเสนอ ที่ทางทีมไม่อาจจะปฏิเสธได้ มันถูกบรรทุกใส่ เครือ่ งบินไปยังทวีปเอเชียและถูกพ่นสีใหม่อกี ครัง้ ซึ่งคราวนี้เป็นลายโลโก้บุหรี่ Bentoel และลงแข่ง ในรายการ Indonesian Grand Prix ซึ่งมันก็ชนะ แต่ในปี 1978 มันถูกขับปีนขึ้นไปบนขอบทางจน อ่างน�้ำมันเครื่องแตกท�ำให้น�้ำมันเครื่องไหล

84 BMWcar

80-85 CSL.indd 84

3/20/2560 BE 15:27


..

GOSSER BEER CSL

ออกมาจนหมด และเป็นเหตุท�ำให้เครื่องพัง ใน ตะวันออกไกล อะไหล่และช่างท้องถิ่นที่สามารถ ซ่อมรถแบบนีไ้ ด้หาแทบไม่ได้เลย ดังนัน้ มันจึงถูก เข็นเอาไปซุกไว้ในโรงนาแห่งหนึ่ง และอยู่ที่นั่น จนถึงต้นยุค 1990s ภูมิอากาศที่ร้อนชื้นของที่นั่นเป็นสาเหตุหลัก ของหายนะทีท่ ำ� ให้รถคันนีผ้ จุ นเกินเยียวยา ถึงแม้วา่ มันจะอยู่ในสภาพที่แย่มากตอนที่มีคนไปเจอมัน แต่ด้วยความที่มันถูกเก็บเอาไว้หลังจากที่ใช้งาน มาแค่ไม่ถึงสามปี จึงหมายความว่าทุกสิ่งยังคง อยูใ่ นสภาพเดิมอย่างสมบูรณ์ มีเพียงแค่สเี ท่านัน้ ที่ถูกเปลี่ยน ชาวอังกฤษคนหนึง่ ทีช่ อื่ Tony Walker ไปเจอ มันโดยบังเอิญในขณะที่ไปดูรถอีกคันหนึ่งแถว ๆ นั้น ชาวบ้านแถวนั้นเคยเห็นรถคันนี้แต่ไม่รู้จัก ว่ามันคือรถอะไร และคิดว่ามันน่าจะเป็นรถทีใ่ คร สักคนท�ำขึ้นมาเองด้วยความที่มันมีปีกมีหาง แปะอยู่อย่างอลังการ แต่ Tony รู้ดีว่ามีอะไรอยู่ ข้างใต้กองขี้ฝุ่นนั่น แต่น่าเสียดายที่การค้นพบ อันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นเพราะ เจ้าของชาวอินโดนีเซียไม่ยอมขาย ถึงแม้ว่าเขาก็ ไม่ได้คิดที่จะท�ำอะไรกับมันแค่ปล่อยทิ้งไว้ให้มัน ผุพังไปตามกาลเวลาเท่านั้นเอง มันใช้เวลาเกือบ สิบปีกว่าเขาจะยอมขายให้กับ Tony จากนั้นมัน

ก็ถูกส่งกลับยุโรปและถูกชุบชีวิตใหม่ขึ้นที่นั่น แน่นอนว่าสภาพอากาศของเขตร้อนชืน้ ท�ำให้ ชิ้นส่วนที่เป็นยางและแมกนีเซียมทั้งหมดของมัน หมดสภาพไปอย่างสิน้ เชิง ซึง่ รถคันอืน่ หากถูกปล่อย ทิง้ เอาไว้นาน ๆ ก็นา่ จะมีสภาพไม่หนีไปจากนีส้ กั เท่าไรนักด้วยเช่นกัน มันถูกรีบิลด์ใหม่ทั้งหมด ด้วยความมานะอุตสาหะ และใช้เวลาถึงหกปีจึง ส�ำเร็จ แต่ผลงานที่ได้ก็คือรถคันหนึ่งที่มีความ น่าตืน่ ตาตืน่ ใจอย่างมากเลยทีเดียว แถมอุปกรณ์ ทัง้ หมดยังเป็นของเดิมจากโรงงานอีกด้วย เครือ่ งยนต์ ของมันก็อยู่ในวิสัยที่ยังซ่อมได้ ความเสียหายจุด เดียวที่ตัวถังก็คือแผ่นรีดลมที่สปอยเลอร์หน้า ทีเ่ กิดขึน้ ตอนทีม่ นั ไปปีนขอบทางจนอ่างน�ำ้ มันเครือ่ ง แตกในตอนโน้น ส่วนสีถูกท�ำกลับไปเป็นลาย Gosser Bier เหมือนของเดิม Tony ไม่ได้ขับมัน ไปไหนบ่อยนักยกเว้นงานส�ำคัญ ๆ ทีค่ คู่ วรกับมัน อย่างเช่นที่ Goodwood Festival of Speed ใน ปี 2006 และก็ Le Mans Classic อีกสองหน แต่ ด้วยความที่ Tony เป็นคนประเภทคอแรลลีม่ ากกว่า ตอนนี้เขาจึงมองหาเจ้าของใหม่ให้กับมัน บางทีเจ้าของใหม่อาจจะเอามันไปจดทะเบียน และขับไปโชว์ตามงานโชว์รถคลาสสิก หรือบางทีมนั ก็ อาจถูกเก็บเอาไว้ชนื่ ชมในกรุสว่ นตัว แต่ไม่วา่ อนาคต ของมันจะเป็นอย่างไร นีค่ อื รถทีส่ ดุ พิเศษของ BMW!l APRIL 2017 85

80-85 CSL.indd 85

3/20/2560 BE 15:27


หนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการเพิ่มความแรง ให้ BMW หายใจเองก็คือ การหันไปคบซูเปอร์ชาร์จ แต่คุณรู้หรือยังว่ามันทำ�งานอย่างไรและมีแบบไหนบ้าง ?

ทุ

กวันนี้การเดินเข้าโชว์รูม BMW ไปซื้อรถที่ยังใช้เครื่องยนต์หายใจเองเป็นเรื่องที่ เป็นไปไม่ได้แล้ว ความจ�ำเป็นในการลดมลพิษท�ำให้รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่หันมา คบกับเทอร์โบมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นแบบหยุดไม่อยู่ แต่ถ้าคุณอยากจะหา BMW เหมาะ ๆ สักคัน เพื่อน�ำไปเสริมความแรงด้วยซูเปอร์ชาร์จ คุณก็ไม่ถึงกับต้อง ย้อนอดีตกลับไปไหนไกลหรอกครับ ก็จะมีใครไม่ชอบแรงม้าสูง ๆ กันบ้างเล่า ? แต่แล้วซูเปอร์ชาร์จมันมีกันทั้งหมดกี่แบบและท�ำงานอย่างไรกันบ้าง ?

Centrifugal Supercharger มีขนาดกะทัดรัดที่สุดและน่าจะเป็น คอมเพรสเซอร์แบบทีต่ ดิ ตัง้ ง่าย และมีประสิทธิภาพสูงเป็นอันดับต้น ๆ เพราะ อากาศทีถ่ กู อัดผ่านมันจะไม่ถกู ท�ำให้รอ้ นขึน้ เหมือนกับซูเปอร์ชาร์จแบบอืน่ ๆ (ถ้าเลือกใช้อย่างถูกต้อง) แต่อย่างไรก็ตาม พวกมันมีข้อเสียเหมือนเทอร์โบ ทีไ่ ม่สามารถสร้างบูสต์ได้ในรอบต�ำ ่ และถ้าพวกมันถูกทดเกียร์เอาไว้กจ็ ะท�ำให้ บูสต์หรือความเร็วของโรเตอร์เพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วในช่วงรอบสูงจนเกินขีดจ�ำกัด การศึกษากราฟแสดงประสิทธิภาพการท�ำงาน (Maps) และอัตราการไหลของ อากาศทีถ่ กู อัดโดยคอมเพรสเซอร์จากผูผ้ ลิตจึงเป็นสิง่ ส�ำคัญ เพือ่ การเลือกซือ้ ซูเปอร์ชาร์จได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ลักษณะนิสยั ของซูเปอร์ชาร์จแบบแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์ทไี่ ม่สามารถสร้าง บูสต์ได้ในรอบต�ำ ่ ท�ำให้มนั เป็นตัวเลือกทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะน�ำมาติดตัง้ ในรถถนน ทัว่ ไป เพราะมันจะไม่มปี ญ ั หาเรือ่ งการฉุดก�ำลัง เครือ่ งยนต์กบั เกียร์จงึ ไม่ตอ้ ง รับภาระโหลดอย่างหนักหนาสาหัสกันตัง้ แต่รอบต�ำ ่ ในกรณีของรถขับเคลือ่ น ล้อหน้าก็จะไม่เกิดปัญหาทอร์คสเตียร์ด้วย การที่มันถูกขับด้วยสายพาน ยังท�ำให้เครือ่ งยนต์ตอบสนองได้ดกี ว่าการติดตัง้ เทอร์โบอย่างมากมาย อีกจุดหนึง่ ทีเ่ ป็นข้อได้เปรียบเทอร์โบและซูเปอร์ชาร์จแบบปัม๊ อากาศมาก ๆ ก็คอื อัตรา การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ข้อได้เปรียบอีกอย่างของ Centrifugal Supercharger ก็คือการที่มัน มีระบบหล่อลืน่ ภายในตัวเอง จึงประหยัดการเดินท่อเพือ่ ไปแบ่งน�ำ้ มันเครือ่ ง

มาจากเครื่องยนต์และท่อที่วนน�้ำมันเครื่องกลับไปเข้าระบบ บางรุ่นจะใช้ ลูกปืนทีซ่ ลี ปิดไว้ภายใน บางรุน่ ใช้ระบบปัม๊ หล่อลืน่ แรงดันต�ำ ่ ส่วนของยีห่ อ้ Rotrex จะใช้นำ้� มันหล่อลืน่ แบบพิเศษทีม่ สี ภาพเหมือนน�ำ้ มันเครือ่ งในเวลาปกติ แต่เมื่อเจอกับแรงอัดบนแกนคอมเพรสเซอร์ มันจะแปรสภาพเป็นของเหลว ที่มีความหนืดคล้ายน�้ำมันเกียร์และเพิ่มแรงฉุดลากบนแกนคอมเพรสเซอร์ ด้วยความทีค่ อมเพรสเซอร์ใช้สายพานจากเพลาข้อเหวีย่ งในการขับเคลือ่ น แม้ตวั มันจะมีการทดสายพานหรือเฟืองเกียร์ไว้ แต่คอมเพรสเซอร์กย็ งั จะหมุน อยูต่ ลอดเวลาแม้ในช่วงรอบต�ำ่ ทีม่ นั ไม่ได้สร้างบูสต์ นีจ่ งึ เป็นการช่วยลดแรงต้าน อากาศที่ไหลผ่านไปเข้าท่อไอดีและสู่เครื่องยนต์ไปในตัว ดังนั้นภาระ โหลดบนสายพานก็จะต�่ำเวลาที่มันไม่ติดบูสต์และไม่กินก�ำลังเครื่องยนต์ (Parasitic load) ด้วย ซึง่ ช่วยในเรือ่ งอัตราสิน้ เปลืองเชือ้ เพลิง การทีส่ ายพาน ขับเคลือ่ นไม่ตอ้ งรับภาระส่งก�ำลังในตอนนัน้ ก็ชว่ ยให้โหลดบนพูลเล่ยเ์ พลา ข้อเหวีย่ งลดลง ท�ำให้ใช้สายพานเส้นเล็กลงได้และสูญเสียก�ำลังน้อยลงไปอีก l

86 BMWcar

86-91 TECH FOCUS.indd 86

3/22/2560 BE 10:08


TECH FOCUS

ในภาพรวมแล้ว ดีไซน์ของซูเปอร์ชาร์จแบบแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์มที งั้ ข้อดีและข้อเสีย เมือ่ เทียบกับซูเปอร์ชาร์จปัม๊ อากาศแบบดัง้ เดิม (Positive Displacement Supercharger) รวมถึงเทอร์โบทีห่ ลายคนคุน้ เคยกันดี นัน่ เป็นเพราะ Centrifugal Supercharger เป็นลูกผสมของซูเปอร์ชาร์จสองแบบหรือจะเรียกว่า Hybrid ก็คงไม่ผิด แต่ถ้า คุณจะเทีย่ วไปบอกใครว่าซูเปอร์ชาร์จบนเครือ่ ง V8 บล็อกโตในรถของคุณเป็นแบบ Hybrid และนั่นแปลว่ามันต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม...ก็ขอให้โชคดีละกัน ! ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางวัสดุในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ท�ำให้ผผู้ ลิตสามารถ สร้างเทอร์โบทีข่ บั เคลือ่ นด้วยสายพานหรือ Centrifugal Supercharger ได้สำ� เร็จ โดยเมือ่ ประกอบมันเข้ากับชุดเกียร์ทเี่ ป็นเฟือง สายพาน หรือชุดเฟือง Sun และ Planet ทีข่ บั เคลือ่ นด้วยของเหลว ก็จะท�ำให้โรเตอร์คอมเพรสเซอร์ตวั เล็กๆ สามารถ หมุนด้วยความเร็วสูงถึง 200,000 รอบต่อนาที ซูเปอร์ชาร์จส่วนใหญ่จะขับเคลือ่ น ด้วยสายพานที่ต่อจากพูลเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยงเข้ามาที่ชุดเกียร์ภายในตัวมัน ซึ่งจะช่วยเร่งความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ให้เข้าสู่ช่วงที่ท�ำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพเร็วขึ้น ซูเปอร์ชาร์จแบบแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์ได้ชอื่ มาจากหลักการท�ำงานของมัน ในขณะที่ ตัวคอมเพรสเซอร์รปู กรวยทีม่ คี รีบเรียงอยูใ่ นแนวรัศมีหมุน มันจะดูดอากาศเข้ามาทาง จุดศูนย์กลาง จากนั้นอากาศก็จะถูกครีบเหล่านั้นเหวี่ยงออกไปทางด้านข้าง ผ่านเข้าไปในท่อรูปหอยโข่ง ภายในท่อรูปหอยโข่งทีเ่ ส้นผ่านศูนย์กลางขยายใหญ่ขนึ้ เรือ่ ย ๆ จะท�ำให้อตั รา การไหลของอากาศลดลงและท�ำให้แรงดันเพิม่ ขึน้ ซึง่ เป็นหลักการแบบเดียวกับ ช่วงคอคอดของคาร์บเู รเตอร์ (แต่ทำ� หน้าทีก่ ลับกัน) ทีท่ ำ� ให้อากาศไหลผ่านเร็วขึน้ และแรงดันลดลง ขนาดพืน้ ทีห่ น้าตัดของคอมเพรสเซอร์ทขี่ ยายใหญ่ขนึ้ ก็จะท�ำให้ แรงดันอากาศเพิม่ ขึน้ ตาม ดีไซน์ของคอมเพรสเซอร์จงึ ถูกใช้เป็นตัวก�ำหนดอัตราส่วน ก�ำลังอัดของระบบนั่นเอง l

เมื่อรอบเครื่องยนต์สูงขึ้น คอมเพรสเซอร์ก็จะเข้าสู่ ‘ช่วงท�ำงาน’ และเริ่มสร้างบูสต์ แต่แรงดันบูสต์ที่ว่าก็จะไปเพิ่มโหลดบนสายพาน และเพลาข้อเหวี่ยงตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม พละก�ำลังที่มันผลิตได้ จะมากกว่าแรงที่ต้องใส่เข้าไปเพื่อหมุนมันเสมอ การออกแบบจัดวางต�ำแหน่งสายพานในขัน้ ตอนติดตัง้ จึงเป็นส่วนที่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ระบบในอุดมคติจะต้องท�ำให้ซเู ปอร์ชาร์จหมุนอยูใ่ นช่วง ท�ำงานโดยอ้างอิงจาก Map ของคอมเพรสเซอร์ และหมุนเร็วขึน้ จนถึง ความเร็วรอบสูงสุดในตอนที่เครื่องยนต์ถึงขีดแดงพอดี ถ้าคุณเลือก ทดซูเปอร์ชาร์จให้หมุนเร็วกว่าปกติเพือ่ หวังบูสต์ในรอบต�ำ ่ ไม่วา่ จะด้วย การขยายขนาดพูลเล่ยเ์ พลาข้อเหวีย่ งหรือลดขนาดพูลเล่ยซ์ เู ปอร์ชาร์จ ก็จะท�ำให้คอมเพรสเซอร์หมุนเร็วกว่าค่าปกติและหลุดออกนอกช่วง ท�ำงานแล้วท�ำให้อากาศทีถ่ กู อัดมีความร้อนมากขึน้ หรือบูสต์ตก และ ถ้าคุณท�ำให้ซเู ปอร์ชาร์จหมุนเกินความเร็วสูงสุดทีจ่ ำ� กัดไว้ อายุการใช้งาน ของมันก็จะสั้นลงอย่างรวดเร็วหรือพังไปในท้ายที่สุด เนื่องจาก Centrifugal Supercharger สร้างภาระโหลดบน สายพานต�ำ ่ คุณจึงสามารถเลือกสายพานเส้นเล็กลงและลดความเร็วได้ ด้วยการเพิม่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพูลเล่ยใ์ นอัตราส่วนทีเ่ ท่า ๆ กัน ซึง่ นอกจากจะท�ำให้พนื้ ทีห่ น้าสัมผัสและรัศมีทสี่ ายพานโอบรอบพูลเล่ย์ เพิม่ ขึน้ แล้ว มันยังช่วยเพิม่ แรงยึดเกาะสายพานกับพูลเล่ยแ์ ละลดความเร็ว ของสายพานไปในตัวด้วย คุณจะพบว่าเมือ่ รอบเครือ่ งสูงขึน้ บูสต์จะมามากขึน้ เรือ่ ย ๆ อย่าง ต่อเนื่องเช่นกัน รถที่ใช้ซูเปอร์ชาร์จแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์จึงให้ ความรูส้ กึ ว่าตัวรถดึงหนักขึน้ เรือ่ ย ๆ ไปตลอดทาง ยิง่ คุณเร่งเท่าไหร่ มันก็ยงิ่ ดึงหนักเท่านั้น เป็นความรู้สึกชวนหลงระเริงใจชั้นเยี่ยม ถ้าต้องการเพิม่ บูสต์จากซูเปอร์ชาร์จแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์ในรอบต�ำ ่ คุณจะเลือกเร่งมันให้หมุนเร็วเกินขีดจ�ำกัด (ไม่แนะน�ำ) หรือใช้คอมเพรสเซอร์ รุน่ ทีอ่ ตั ราการไหลของอากาศสูงก็ได้ แต่มนั จะก่อปัญหาบูสต์เกินขนาด ในช่วงรอบสูงตามมา และคุณก็จะต้องไปหาวิธจี ดั การ ‘ระบาย’ บูสต์ ส่วนเกินจากที่ก�ำหนดเอาไว้อยู่ดี แต่ถึงไม่ท�ำตัวซูเปอร์ชาร์จก็ต้องมี ช่องทางระบายแรงดันส่วนเกินทิง้ ไปอยูแ่ ล้วเพือ่ ป้องกันปัญหาแรงดัน เพิ่มขึ้นเฉียบพลัน ปัญหาแรงดันเพิ่มขึ้นเฉียบพลันจะเกิดขึ้นในตอนที่ซูเปอร์ชาร์จ ก�ำลังสร้างบูสต์อยูแ่ ล้วคุณถอนเท้าออกจากคันเร่งในทันที ซึง่ นอกจาก จะมีแรงดันตกอยูท่ ลี่ นิ้ ปีกผีเสือ้ แล้ว ก็มแี รงดันทีต่ กค้างอยูใ่ นท่อขาออก ของคอมเพรสเซอร์ซงึ่ ไม่มที างระบายอีกด้วย แรงดันพวกนีจ้ ะสะท้อนกลับ มาทีต่ วั คอมเพรสเซอร์ และเมือ่ คุณกดคันเร่งใหม่คอมเพรสเซอร์กจ็ ะต้อง ออกแรงผลักอากาศค้างท่อพวกนีอ้ อกไปใหม่หมด วิธกี ารแก้ปญ ั หาในระบบ ซูเปอร์ชาร์จแบบแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์กเ็ พียงหันไปใช้ ‘โบลวออฟวาล์ว’ ทีอ่ าศัยแรงสุญญากาศในท่อร่วมไอดีขณะลิน้ คันเร่งปิดสนิทไปดึงวาล์ว ให้เปิดขึน้ เพือ่ ระบายแรงดันทีส่ ะสมอยูใ่ นท่อระหว่างซูเปอร์ชาร์จกับ ลิ้นคันเร่งออกไป อีกเรือ่ งทีท่ ำ� ให้ตอ้ งไล่แรงดันส่วนนีอ้ อกไปก็คอื ความเครียดทีส่ ะสม อยูบ่ นลิน้ ปีกผีเสือ้ บาง ๆ กับแกน ลองนึกสภาพนอตตัวเล็ก ๆ ทีย่ ดึ แกน ลิน้ ปีกผีเสือ้ ขนาด 75 มิลลิเมตร เอาไว้ เมือ่ คุณยกคันเร่งให้ลนิ้ ปีกผีเสือ้ ปิดฉับในตอนทีเ่ ครือ่ งยนต์กำ� ลังสร้างบูสต์ 15 ปอนด์ ซึง่ เทียบเท่าแรงดัน ระดับ 106 ปอนด์ ทีต่ กอยูบ่ นแกนเล็ก ๆ นัน่ ! แรงกดระดับนีบ้ นแกนที่ ไม่ได้ถกู ออกแบบไว้รองรับจะสามารถท�ำให้ตวั แกนบิดงอหรือหักจนลิน้ คันเร่งดีดตัวปิดสนิทได้ ทัง้ สองกรณีจะท�ำให้คณ ุ ไม่สามารถเรียกใช้กำ� ลัง เครือ่ งยนต์ได้อกี ต่อไป การระบายแรงดันในส่วนนีจ้ งึ เป็นเรือ่ งส�ำคัญมาก APRIL 2017 87

86-91 TECH FOCUS.indd 87

3/22/2560 BE 10:09


ในการเลือกขนาดคอมเพรสเซอร์นน้ั คุณจะต้องพิจารณา Map จากผูผ้ ลิต อย่างละเอียด โดยกราฟจะแสดงอัตราการไหลของอากาศขาออกกับอัตราส่วน ก�ำลังอัดในช่วงความเร็วรอบต่าง ๆ ของคอมเพรสเซอร์ ซึง่ เป็นตัวบอกประสิทธิภาพ การท�ำงานของคอมเพรสเซอร์ในแต่ละช่วงความเร็วรอบนั่นเอง แล้วสมรรถนะทีค่ ณ ุ ควรคาดหวังจากซูเปอร์ชาร์จแบบแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์ ที่ติดตั้งอย่างถูกวิธีนั้นเป็นอย่างไร ? มันก็มีแรงบิดที่ต้องเพิ่มขึ้นเป็นกอบ เป็นก�ำราว 40 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเลือกใช้บสู ต์ตำ�่ แม้เพียงแค่ 0.4 บาร์ (6psi) หรือ พูดอีกอย่างก็คอื รถจะต้องเร่งในเกียร์ 4 ได้ดพุ อกับเกียร์ 3 ตอนไม่มซี เู ปอร์ชาร์จ และถ้าเลือกใช้บูสต์สูง 0.7 บาร์ (10.5psi) ก็จะต้องท�ำ 0-100 กิโลเมตรต่อ ชัว่ โมง ได้เร็วขึน้ 33 เปอร์เซ็นต์ เช่นจาก 8 เหลือต�ำ่ กว่า 6 วินาที (ถ้าคุมไม่ให้ ล้อฟรีได้) อันทีจ่ ริงก็ยงั มีสว่ นอืน่ ๆ ทีต่ อ้ งพิจารณาประกอบกันด้วย เช่น ปริมาณ น�ำ้ มันจากหัวฉีด จังหวะการจุดระเบิด และการลดอุณหภูมอิ ากาศ ซึง่ เราจะมา

จัดการกันในขัน้ ตอนต่อไป แต่สำ� หรับตอนนีค้ ณ ุ ลองเลือกดูวา่ จะไปหากราฟ Map ของคอมเพรสเซอร์มานัง่ อ่าน หรือจะพักเรือ่ งนีไ้ ว้แล้วไปดูกนั ว่าซูเปอร์ชาร์จ แบบปั๊มอากาศสามารถท�ำอะไรได้บ้าง ? l

เราได้ดซู เู ปอร์ชาร์จแบบแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์กนั ไปแล้ว ตอนนีก้ ไ็ ด้เวลาขยับ มาดูซูเปอร์ชาร์จแบบดั้งเดิมหรือ Positive Displacement Supercharger กันบ้าง ซูเปอร์ชาร์จแบบ Positive Displacement กับ Centrifugal นัน้ มีจดุ ที่ แตกต่างกันหลายอย่างตัง้ แต่วธิ กี ารป้อนอากาศเข้าเครือ่ งยนต์ ระบบขับเคลือ่ น และการถ่ายทอดพละก�ำลัง เช่นเดียวกับบุคลิกการตอบสนองของเครือ่ งยนต์ ที่ก็มีความแตกต่างกัน ซูเปอร์ชาร์จแต่ละประเภทก็จะมีอัตราส่วนก�ำลังอัด ภายในทีแ่ ตกต่างกันไปด้วย พวกทีอ่ ดั อากาศออกมาทีแ่ รงดันสูงกว่าบรรยากาศ เราจะเรียกกันว่าคอมเพรสเซอร์ ส่วนพวกทีอ่ ดั อากาศออกมาทีแ่ รงดันเท่ากับ บรรยากาศมีแค่ปริมาตรอากาศเท่านัน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ เราก็จะเรียกว่า ‘โบลวเออร์’ (Blower) ลองนึกภาพเครื่องยนต์ 2,000 ซีซี ของคุณที่ติดตั้ง Centrifugal Supercharger ซึง่ สร้างบูสต์ได้ 15psi ทุกจังหวะดูด เครือ่ งยนต์จะถูกป้อนด้วย อากาศที่มีแรงดันเป็นสองเท่าของบรรยากาศ จึงเท่ากับว่าเครื่องยนต์สูด อากาศที่แรงดันบรรยากาศเข้าเผาไหม้รอบการท�ำงานละ 4,000 ซีซี ส่วน ซูเปอร์ชาร์จแบบปัม๊ อากาศนัน้ จะป้อนอากาศปริมาตรเท่ากันในทุก ๆ หนึง่ รอบ ทีม่ นั หมุน เราจึงเห็นการใช้หน่วยลูกบาศก์มาเป็นตัวบอกขนาดความจุ ถ้าเรา ติดตัง้ ซูเปอร์ชาร์จขนาด 2,000 ซีซี บนเครือ่ งยนต์ความจุ 2,000 ซีซี และท�ำให้ มันหมุนด้วยความเร็วรอบเท่ากับเครือ่ งยนต์ (อัตราทด 1:1) นัน่ หมายความว่า

ทุกครัง้ ทีเ่ ครือ่ งยนต์หมุนหนึง่ รอบ ซูเปอร์ชาร์จก็จะหมุนหนึง่ รอบพร้อมกับป้อน อากาศปริมาตร 2,000 ซีซี เข้าไปให้เครือ่ งยนต์ทแี่ รงดันบรรยากาศ จนกระทัง่ เมือ่ อากาศไหลเข้าไปอยูใ่ นท่อไอดีทปี่ ริมาตรเล็กกว่าเดิม แรงดันอากาศถึงจะ ปรับตัวเพิ่มขึ้น และในเมื่อแต่ละรอบการท�ำงานของเครื่องยนต์สี่จังหวะจะ มีลกู สูบเพียงครึง่ เดียวทีอ่ ยูใ่ นจังหวะดูด นัน่ ก็แปลว่าลูกสูบปริมาตร 1,000 ซีซี จะต้องสูดอากาศปริมาตร 2,000 ซีซี เข้าไป ค�ำนวณออกมาแล้วได้ 15psi เท่ากับซูเปอร์ชาร์จแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์พอดี คุณคงจะเห็นแล้วว่าไม่ว่าเครื่องยนต์จะหมุนที่รอบเดินเบาหรือขีดแดง ท่อร่วมไอดีกจ็ ะมีแรงดันอากาศอยูต่ ลอดเวลา ซึง่ นัน่ แปลว่ามีบสู ต์มารอให้ใช้กนั ตัง้ แต่รอบเดินเบาเลยทีเดียว ! นีเ่ ป็นสาเหตุทที่ ำ� ให้รถทีใ่ ช้ซเู ปอร์ชาร์จ PD มี คันเร่งทีต่ อบสนองได้ฉบั ไวสุด ๆ ต่างจากรถทีใ่ ช้ซเู ปอร์ชาร์จ CF ซึง่ ต้องพึง่ พา รอบสูง ๆ หรือรถเทอร์โบทีก่ ารตอบสนองจะแย่ยงิ่ กว่า นีจ่ งึ เป็นอีกสาเหตุหนึง่ ที่เครื่องยนต์ซูเปอร์ชาร์จ PD มักมีบุคลิกใกล้เคียงกับเครื่องยนต์ที่มีขนาด ความจุระดับเดียวกับซูเปอร์ชาร์จมากกว่าความจุของเครือ่ งยนต์ทแี่ ท้จริง เช่น รถเครือ่ งยนต์ 2,000 ซีซี ทีเ่ ราสมมติกนั ข้างต้น ถ้าใช้บสู ต์ราว 1 บาร์ มันก็จะมี บุคลิกเหมือนก�ำลังขับรถเครื่อง 4,000 ซีซี มากกว่า และท�ำให้ตัวเลขแรงม้า กับแรงบิดออกมาได้สอดคล้องกันด้วย l

88 BMWcar

86-91 TECH FOCUS.indd 88

3/22/2560 BE 10:09


TECH FOCUS

ซูเปอร์ชาร์จ PD แบบทีน่ ยิ มกันมากทีส่ ดุ คือแบบ ‘Roots’ แน่นอนส่วนหนึง่ เพราะว่ามันเป็นซูเปอร์ชาร์จแบบทีเ่ ก่าแก่ทสี่ ดุ ออกแบบโดย Rootes Brothers ในราวปี 1860 เพือ่ ใช้เป็นปัม๊ อากาศในโรงงานอุตสาหกรรม และกว่าที่ Daimler จะน�ำมาติดตั้งในเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นครั้งแรกก็ล่วงเลยมาจนถึง ปี 1900 เมือ่ ไม่นานมานีบ้ ริษทั ทีช่ อื่ Eaton Corporation ได้นำ� มันมาพัฒนา ต่อเพือ่ ให้ใช้กบั รถถนนทัว่ ไปได้งา่ ยขึน้ จากเดิมทีท่ ำ� เอาไว้สำ� หรับการแข่งขัน เพียงอย่างเดียว จุดที่ Eaton ท�ำการปรับปรุงก็มที งั้ การลดเสียงกวนขณะท�ำงาน เพิ่มประสิทธิภาพทางความร้อนด้วยการน�ำเทคนิคการผลิตใหม่ ๆ มาใช้ อย่างเช่น การน�ำซอฟต์แวร์ CAD มาใช้ออกแบบ และการผลิตด้วยเครือ่ ง CNC ทีค่ วบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าเปรียบเทียบกันในเรือ่ งประสิทธิภาพมา ซูเปอร์ชาร์จ แบบ CF ที่เราพูดถึงไว้ในเล่มที่แล้วจะมีประสิทธิภาพการท�ำงานอยู่ที่ ราว 78 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่โบลวเออร์ Roots แบบดั้งเดิมท�ำได้ไม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่แม้ว่าจะผ่านการปรับปรุงกันขนานใหญ่ด้วยมือ Eaton ประสิทธิภาพก็ขยับขึ้นมาแค่ราว 60 เปอร์เซ็นต์อยู่ดี ดีไซน์ของมันประกอบด้วยโรเตอร์สองตัวหมุนคาบเกี่ยวกันอยู่ในเคส ปิดสนิท โดยจะเป็นโรเตอร์แบบสองหรือสามโหนกก็ได้ ตัวโรเตอร์จะวางชิด จนเกือบแนบสนิทกันและเหลือพืน้ ทีร่ ะหว่างมันกับผนังเคสน้อยมาก ๆ เพือ่

ให้มนั ดูดอากาศได้ในปริมาตรคงทีแ่ ละผลักมันออกไปอีกด้านหนึง่ อากาศส่วนน้อยอาจจะรัว่ ออกไปทางช่องว่างเล็ก ๆ ระหว่างตัวโรเตอร์ เองและโรเตอร์กบั เคสได้บา้ ง ซึง่ เป็นเหตุการณ์ทเี่ รียกว่า ‘blow-by’ แรงดันบูสต์ช่วงรอบเดินเบาจึงต�ำ่ กว่าปกติเล็กน้อย โรเตอร์ทั้งสอง ถูกขับเคลือ่ นด้วยสายพานทีม่ รี อ่ งฟัน ความเร็วในการหมุนถูกก�ำหนด ด้วยอัตราส่วนของขนาดพูลเล่ยเ์ หมือนของ Centrifugal Supercharger หนึ่งใน เทคนิคล่าสุดในตอนนีก้ ค็ อื การปรับโหนกของโรเตอร์ให้เอียงท�ำมุม 60 องศา ในแนวยาวเพื่อแก้ปัญหาการส่งอากาศออกมาเป็นลูก ๆ เหมือนชีพจร และ ลดเสียงกวนจากการท�ำงานของโรเตอร์โหนกตรงแบบสมัยก่อน ซูเปอร์ชาร์จ PD กลายมาเป็นที่นิยมในกลุ่มคนเล่นรถ Hot Rod ใน สหรัฐอเมริกา หลังจากที่ General Motors ติดตัง้ โบลวเออร์ Roots ตัวเล็ก ๆ ลงบนเครือ่ งดีเซลบล็อกเล็ก 3 สูบ ความจุ 3.5 ลิตร หรือประมาณ 1,163 ซีซี ต่อสูบ ทีช่ าวอเมริกนั รูจ้ กั ในชือ่ 71 ลูกบาศก์นวิ้ (1,163 ซีซ)ี ส่วนในแวดวงมือจูน จะเรียกเครือ่ งบล็อกนีว้ า่ GM 3-71 จากนัน้ ก็มเี ครือ่ งดีเซลซูเปอร์ชาร์จ 6 สูบ ทีร่ จู้ กั กันในชือ่ GM 6-71 มันถูกออกแบบมาให้ขดี แดงเริม่ ที่ 5,200 รอบต่อนาที แต่หลังจากส�ำนักแต่งจัดการออกแบบชิ้นส่วนใหม่และเปลี่ยนไปใช้โรเตอร์ กับเฟืองขับของตนเอง ขีดแดงก็กระโดดมาอยู่ที่ 15,000 รอบต่อนาที และ เปลีย่ นชือ่ เป็น 8-71 จากความพยายามทีจ่ ะท�ำให้อากาศไหลผ่านได้มากพอ เพื่อที่จะสามารถน�ำไปใช้กับเครื่องรถแข่งบล็อคโตได้ ในตอนหลัง ๆ ผู้ผลิต อย่าง Mooneyham จะท�ำซูเปอร์ชาร์จ PD ออกมาเพือ่ รถสมรรถนะสูงโดยเฉพาะ พวกเขาเพิม่ ซีล Teflon เข้าไปและใช้โบลวเออร์โรเตอร์โหนกเฉียงความยาว 500 มิลลิเมตร ได้ออกมาเป็นบล็อก 14-71 อัตราการไหลของอากาศท�ำได้สงู ขึน้ ในรอบต�ำ่ ลงจาก 15,500 มาอยูท่ ี่ 10,000 รอบต่อนาที เพือ่ เพิม่ ความทนทาน เจ้าปีศาจโบลวเออร์ตัวนี้สร้างแรงดันบูสต์ระดับพระกาฬได้ถึง 45 psi และหมุนเร็วขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์ที่รอบเครื่องยนต์เท่าเดิม เมื่ออยู่บน เครือ่ ง V8 ความจุ 8.0 ลิตร ก็สามารถปัน่ แรงม้าออกมาได้ถงึ 7,000 ตัว และ แรงบิดอีกกว่า 6,000 ฟุต-ปอนด์ l

มองอย่างผิวเผินจะดูเหมือนว่าซูเปอร์ชาร์จ PD มีดกี ว่า CF หมดทุกด้าน แต่ดีไซน์ของมันก็มีข้อเสียอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น การที่มันมีแรงดันบูสต์ ตัง้ แต่รอบเดินเบา ซึง่ มีแรงม้ากับแรงบิดเกีย่ วพันอยูด่ ว้ ย ฟังเหมือนเป็นกรณี อุดมคติทสี่ มบูรณ์แบบ แต่เมือ่ ไหร่กต็ ามทีม่ บี สู ต์ เครือ่ งยนต์กจ็ ะต้องสูญเสีย ก�ำลังส่วนหนึง่ มาหมุนมันด้วย ซึง่ ต้องใช้นำ�้ มันเชือ้ เพลิงมากกว่าปกติ และส่งผล ให้อัตราสิ้นเปลืองแย่ลง รถเครื่อง 2,000 ซีซี ของคุณอาจจะกินน�้ำมันพอๆ กับรถเครือ่ ง 4,000 ซีซี ก็ได้ นัน่ คงไม่สนุกเท่าไหร่ถา้ คุณเกิดต้องมาติดแหงก อยู่กลางจราจรติดขัดแทนการซิ่งอยู่ในถนนโล่งในชนบท การทีม่ บี สู ต์ตงั้ แต่รอบเดินเบาและทีร่ อบต�ำ่ มาก ๆ ก็จะเพิม่ ภาระให้ชน้ิ ส่วน ภายในเครือ่ งยนต์ดว้ ย นัน่ คงไม่ใช่ปญ ั หาถ้าเครือ่ งยนต์ถกู ออกแบบมาให้รองรับ โบลวเออร์อยูแ่ ล้ว เช่นพวก Jaguar XKR หรือ Mercedes SLK แต่ถา้ มันเกิดไป ติดตั้งใน 316i ของคุณ และเพิ่มโหลดให้เครื่องยนต์สูงกว่า M3 สัก 50 เปอร์เซ็นต์อยูต่ ลอดเวลาตัง้ แต่รอบเดินเบา ชิน้ ส่วนต่าง ๆ คงจะสึกหรอแน่ โดยเฉพาะตอนกดคันเร่งจมมิดทีโ่ หลดจะพุง่ ไปสูงกว่าทีอ่ อกแบบไว้เป็นเท่าตัว วิธกี ารแก้สามารถท�ำได้โดยการใช้หน้าคลัตช์เข้ามาช่วย คล้ายๆ กับหน้าคลัตช์ ไฟฟ้า (Electromagnetic) ของคอมเพรสเซอร์แอร์หรือคลัตช์รปู กรวยที่ Mercedes ใช้ในช่วงต้นยุค 1920s

ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ PD แบบ Roots ยังมีประสิทธิภาพทางความร้อนต�ำ่ กว่า ซูเปอร์ชาร์จ CF อีกด้วย และความร้อนทีผ่ ลิตออกมาก็เป็นศัตรูตวั ฉกาจของ การสร้างพละก�ำลัง ประสิทธิภาพสามารถท�ำให้ดขี น้ึ ได้ดว้ ยการฉีดน�ำ้ หรือเมทานอล เข้าไปในโบลวเออร์ ซึง่ นอกจากจะไปอุดช่องว่างระหว่างโรเตอร์กบั เคสแล้ว ระหว่างทีล่ ะอองเหล่านีว้ งิ่ ผ่านไปตามท่อ มันจะระเหยเป็นไอซึง่ ก็เท่ากับเป็น อินเตอร์คูลเลอร์ไปในตัว แต่วิธีการนี้คงจะไม่เหมาะส�ำหรับรถถนนทั่วไป ดังนั้นคุณควรเลือกปรับบูสต์ไว้ต�่ำ ๆ แทนจะดีกว่า l APRIL 2017 89

86-91 TECH FOCUS.indd 89

3/22/2560 BE 10:09


ซูเปอร์ชาร์จแบบ PD ยังมีดไี ซน์อกี แบบหนึง่ ทีเ่ ราควรน�ำมาพูดถึง มันมีชอื่ ว่า Lysholm Screw (Twin Screw) เราจัดให้มนั อยูใ่ นกลุม่ ‘โบลวเออร์’ เพราะว่า มันถูกออกแบบมาเป็นปัม๊ อากาศในโรงงานอุตสาหกรรมเหมือนแบบ Roots ราวช่วงปี 1784 ตัวมันประกอบไปด้วยโรเตอร์ที่บิดเป็นเกลียวก้นหอย 2 ตัว วางประกบกันอยู่ ฝัง่ หนึง่ เป็นเกลียวตัวผู้ ฝัง่ หนึง่ เป็นเกลียวตัวเมีย มีหน้าตา คล้ายกับเฟืองเกลียวตัวหนอน ส่วนลักษณะการท�ำงานก็จะเหมือนกับโบลวเออร์ แบบ Roots ทุกประการ เพียงแต่อากาศจะถูกดูดเข้ามาตามแนวยาวของ โรเตอร์แทนที่จะเป็นแนวขวางแบบ Roots แต่ตอนที่อากาศไหลผ่านมันก็ จะถูกบีบอัดไปด้วย ดังนั้นมันจึงสามารถจัดอยู่ในกลุ่มคอมเพรสเซอร์แทน โบลวเออร์ได้เหมือนกัน หน้าตาภายนอกดูคล้ายกับแบบ Roots มาก โดยในช่วงแรก ๆ จะต้องใช้นำ�้ มันหล่อ ภายในเอาไว้เพือ่ อุดช่องว่างระหว่างโรเตอร์ กับเคส แต่ในปี 1934 หลังจากที่เทคนิค การผลิตพัฒนาขึ้น และ Alf Lysholm วิศวกรชาวสวีเดนได้น�ำดีไซน์แบบนี้ มาจดสิทธิบัตรโดยเรียกมันว่าซูเปอร์ชาร์จเจอร์ ดีไซน์ของมันจึง กลายเป็นรูปแบบหลักของ ซูเปอร์ชาร์จในยุคต่อ ๆ มา ผู้ผลิตอย่าง Sprintex, Whipple, Opcon และ IHI ทีโ่ ด่งดังจากญีป่ นุ่ ก็ตา่ งผลิต ซูเปอร์ชาร์จโดยใช้ดีไซน์แบบนี้ ซูเปอร์ชาร์จแบบ TS สามารถน�ำไปใช้งานได้หลากหลายสถานการณ์ เพราะมันสามารถสร้างแรงดันบูสต์ได้สูงเหมือนกับคอมเพรสเซอร์ CF (ทัง้ ซูเปอร์ชาร์จและเทอร์โบ) และสามารถติดบูสต์ได้ตงั้ แต่รอบต�ำ ่ ในขณะที่ ซูเปอร์ชาร์จแบบ Roots จะเริ่มประสบปัญหาเมื่อต้องสร้างแรงดันบูสต์ สูงกว่า 15psi ระดับแรงดันบูสต์ของซูเปอร์ชาร์จ TS จะก�ำหนดได้จากอัตรา ทดเฟืองเกียร์ทตี่ อ่ มาจากเครือ่ งยนต์เหมือนกับซูเปอร์ชาร์จ PD ซึง่ ถ้าเซตมา ให้มันสามารถสร้างแรงดันบูสต์ได้มาก ๆ ในรอบสูง เครื่องยนต์ก็จะมีบูสต์ ที่รอบเดินเบาเยอะตามไปด้วย ส่วนในรอบต�่ำ ๆ บูสต์จะตกลงเล็กน้อย เนือ่ งจากอากาศทีไ่ หลผ่านช่องหว่างระหว่างโรเตอร์กบั เคสเหมือนกรณีของ Roots แต่เนื่องจากซูเปอร์ชาร์จชนิดนี้สามารถลดช่องว่างระหว่างชิ้นส่วน ลงจนเหลือน้อยมาก ๆ ได้ ซูเปอร์ชาร์จ TS จึงเป็นเจ้าแห่งการสร้างบูสต์

ในรอบต�่ำ แต่ถ้าคุณก�ำลังตั้งค�ำถามว่าท�ำไมเราถึงไม่ทำ� ให้มันบูสต์เยอะ ๆ กับทดให้ซเู ปอร์ชาร์จหมุนเร็ว ๆ ไปเลยล่ะ เพราะโลกนีไ้ ม่มคี ำ� ว่าแรงเกินไปหรอก ? พอดีวา่ การสร้างบูสต์ทรี่ อบต�ำ่ มากจนเกินไปมันมีปญ ั หาอยูอ่ ย่างหนึง่ และ มันจะยิง่ เห็นชัดขึน้ โดยเฉพาะในเครือ่ งยนต์ทมี่ ลี กู สูบน้อย ๆ ลองนึกถึงเครือ่ ง สี่สูบความจุเล็ก ๆ อย่าง 318i ในหนึ่งรอบการท�ำงานคุณจะมีลูกสูบเพียง สองลูกที่อยู่ในจังหวะจุดระเบิดและมีแรงส่งไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยง ถ้ามี บูสต์มาก ๆ ลูกสูบคูน่ นั้ จะถีบตัวรุนแรงขึน้ กว่าปกติ แม้วา่ ความถีท่ รี่ อบเดินเบา จะอยู่ที่ประมาณ 10 ครั้งต่อวินาที แต่มันก็เป็นการเพิ่มโหลดวัฏจักร (Cyclic load) ให้เพลาข้อเหวี่ยง ด้วยการเร่งให้มันหมุนเร็วขึ้นอย่างรุนแรง ด้วยลูกสูบคู่ที่จุดระเบิดแล้วชะลอมัน

ลงมาอย่างรวดเร็วเมื่อ แรงบิดจากลูกสูบคูน่ นั้ หายไป ความเร็วรอบเดินเบาทีค่ ณ ุ เห็นจะ เป็นค่าเฉลี่ยระหว่างความเร็วสองส่วนนี้ ในเมื่อมีแต่จังหวะจุดระเบิดเท่านั้นที่เครื่องยนต์จะมีแรงบิดส่งลงไปหมุน เพลาข้อเหวีย่ ง ในเวลาทีเ่ หลือแรงบิดก็จะเท่ากับศูนย์ มันจึงท�ำให้เกิดอาการ เดินไม่เรียบแม้วา่ บูสต์จะต�ำ่ เพียง 0.4 บาร์ คล้าย ๆ กับการใช้ฟลายวีลแบบ น�ำ้ หนักเบาพิเศษ อย่างไรก็ตาม ลองนึกภาพสถานการณ์แบบเดียวกันแต่ไปอยู่ ใน 760i 12 สูบ ที่มีลูกสูบจุดระเบิดในรอบการท�ำงานเดียวกันถึงสี่ลูก และ ช่วงจังหวะทีล่ กู สูบแต่ละลูกส่งแรงบิดออกมาก็ทบั ซ้อนกันอยู่ นัน่ แปลว่าเพลา ข้อเหวีย่ งแทบไม่ทนั จะได้ชะลอตัวลงก็มแี รงบิดจากสูบต่อมาเข้ามารับช่วงต่อแล้ว

90 BMWcar

86-91 TECH FOCUS.indd 90

3/22/2560 BE 10:09


TECH FOCUS

เช่นเดียวกับซูเปอร์ชาร์จ PD ทีแ่ รงดันบูสต์จะลดลงเล็กน้อยทีร่ อบเดินเบา เนื่องจากอากาศที่เล็ดลอดไปตามช่องว่างรอบ ๆ โรเตอร์ แต่แรงดันบูสต์ ก็จะกลับสูงขึน้ อย่างรวดเร็วเมือ่ รอบสูงขึน้ อุปกรณ์ทใี่ ช้ขบั เคลือ่ นซูเปอร์ชาร์จ TS จะคล้ายคลึงกับแบบ Roots โดยความแตกต่างหลัก ๆ มีเพียงทิศทาง การไหลของอากาศกับรูปร่างโรเตอร์ ในซูเปอร์ชาร์จ TS ตัวโรเตอร์จะ ได้เปรียบจากเส้นผ่านศูนย์กลางทีเ่ ล็กกว่า ซึง่ ท�ำให้มนั หมุนได้เร็วกว่า เพราะว่าภาระโหลดจากแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์มนี อ้ ย อัตราส่วนก�ำลัง อัดภายในก็สามารถท�ำได้สงู กว่า เพราะมีแรงเสียดทานน้อยกว่า ความร้อนก็เลยน้อยกว่าด้วย ทัง้ หมดจะช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ เชิงปริมาตรและความร้อนเหมือนกับทีเ่ ราคุยกันไปก่อนหน้านี้ ความร้อนสะสมยิง่ น้อย ประสิทธิภาพการท�ำงานก็จะยิง่ สูง และรีดพละก�ำลังออกมาได้มากขึ้นตามไปด้วย ประสิทธิภาพเชิงปริมาตรของซูเปอร์ชาร์จ TS สามารถ ท�ำได้สงู ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงบูสต์ตำ �่ และยังสามารถรักษา ระดับเอาไว้ทรี่ าว 80 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงบูสต์สงู ประมาณ 30psi ซึง่ ถือว่าบูสต์หนักแล้ว นีจ่ งึ ท�ำให้ประสิทธิภาพของมันในตอน ใช้บสู ต์สงู เข้าใกล้เคียงกับซูเปอร์ชาร์จแรงเหวีย่ งหนีศนู ย์ตอนทีม่ นั ก�ำลังหมุน ทีร่ อบความเร็วทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงสุด ประสิทธิภาพทางความร้อนก็คงทีอ่ ยู่ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ท�ำให้มนั เหนือกว่าแบบ Roots และเกือบจะเทียบเท่า เทอร์โบ อย่างไรก็ตามเนื่องจากมันมีการบีบอัดอากาศเกิดขึ้นแม้ในรอบ เดินเบา ซูเปอร์ชาร์จจึงจะอุ่น ๆ อยู่ตลอดเวลา ด้วยเทคโนโลยีของ CAD และการผลิตล่าสุด ซูเปอร์ชาร์จประเภทนี้ จึงสามารถท�ำงานได้โดยไม่ตอ้ งใส่นำ�้ มันลงไปเพือ่ อุดช่องว่างระหว่างฟันเฟือง ของโรเตอร์เองและระหว่างโรเตอร์กับเคสที่เหลือขนาดเล็กลงแค่ 0.04 มิลลิเมตร นี่จึงท�ำให้ซูเปอร์ชาร์จมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบ CF (จาก 78 เปอร์เซ็นต์ มาประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์) และไม่มกี ารอัดอากาศออกมาเป็น จังหวะชีพจรเหมือนแบบ Roots ติดบูสต์ต้ังแต่รอบต�่ำแบบ Roots แต่ยัง สามารถสร้างบูสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่รอบสูงเหมือนกับซูเปอร์ชาร์จ หรือเทอร์โบ CF

นีจ่ งึ อธิบายได้วา่ ท�ำไมซูเปอร์ชาร์จขนาดกะทัดรัดระบบนีถ้ งึ ได้รบั ความนิยม มากที่สุดในบรรดาส�ำนักแต่งทั้งหลายในเครื่องสี่และหกสูบเรียง โดยตัว ซูเปอร์ชาร์จจะถูกติดตั้งตามแนวยาวของท่อไอดี ส่วนซูเปอร์ชาร์จแบบ แรงเหวี่ยงหนีศูนย์จะเป็นตัวเลือกหลักของเครื่องยนต์ประเภทวี (V) แทน โบลวเออร์แบบ Roots นัน้ ก็ดเู ท่ไม่นอ้ ย แต่สว่ นใหญ่พวกมันจะต้องโผล่ทะลุ ฝากระโปรงหน้าขึน้ มา ซึง่ ดูเป็นการโมดิฟายรถทีไ่ ม่ละเอียดอ่อน อย่างไรก็ตาม การใช้ซูเปอร์ชาร์จ TS สองตัวประกบที่แต่ละฝั่งของเครื่อง V8 หรือ V12 หากพื้นที่เอื้ออ�ำนวยก็ยังคงเป็นการตกแต่งรถที่ยอดเยี่ยมมาก เหมือนกับ Aston Martin V8 ยุค 1990s ทีผ่ ลิตเมือ่ 25 ปีกอ่ น ซึง่ สร้างแรงม้าได้มากกว่า เครื่อง 6.0 ลิตร V12 ใน Vanguish รุ่นล่าสุดซะอีก ! l

APRIL 2017 91

86-91 TECH FOCUS.indd 91

3/22/2560 BE 10:09


ความเหมือนที่แตกต่างใน

MINI COOPER เรือ่ ง: ชญานิน โชติชมภูพงษ์

MINI COOPER HATCHBACK 3dr. เจเนอเรชั่น 3 ในรหัสตัวถัง F56 นั้น มากับการปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอก พร้อมเครื่องยนต์ ใหม่ล่าสุดที่ติดตั้งเทอร์ โบชาร์จมาให้ ในทุกรุ่น ซึ่งรุ่นย่อยหลายรุ่น ทำ�ให้หลายคนยังแยกไม่ออกว่ารุ่นที่หลากหลายของ MINI COOPER (F56) นั้น มีความแตกต่างในแต่ละรุ่นกันอย่างไร ครั้งนี้เรามาจำ�แนก MINI COOPER จากภายนอกกันแบบง่าย ๆ

• จุดหลักภายนอก Cooper & Cooper D นั้น มีความเหมือนกันทุกประการ สังเกตง่าย ๆ ได้จาก กระจังหน้ารูปทรงหกเหลีย่ มมีครีบแนวนอนในสไตล์ มินคิ ลาสสิก กับกันชนหน้าสไตล์เรียบหรู จะต่าง กันเพียงโลโก้ ‘D’ ที่อยู่บนฝาท้ายส�ำหรับรุ่น เครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้น

• ส่วน Cooper S นั้นก็จะมีหน้าตาที่เหมือนกับ Cooper SD โดยใช้กระจังหน้าแบบรังผึ้งพร้อม โลโก้ S และทีฝ่ ากระโปรงมีสคูปดักลมพร้อมคาด แถบ STRIP คู่สีด�ำหรือขาว กันชนหน้าก็มีการ เปลี่ยนแปลงดูสปอร์ตมากขึ้น มีกรอบโครเมียม ที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามที่ช่องดักลมซ้ายขวา

• ในรุ่น JCW Dress Up Edition แตกต่าง ด้วยกันชนหน้าที่ดุดันมากขึ้นด้วยช่องรับลม ขนาดใหญ่อย่างชัดเจนกับเส้นสายทีโ่ ค้งเว้า รับกับ กรอบไฟตัดหมอก LED

92 BMWcar

92-94_Mini_Apr.indd 92

3/20/2560 BE 16:03


MINI MINI COOPER HATCHBACK 3 DOOR (F56) นั้น แบ่งรุ่นหลักตามเครื่องยนต์ ได้ดังนี้

MINI COOPER รุน่ นีเ้ หมือนเป็นรุน่ มาตรฐาน เรือนร่างภายนอกก็จะดูไม่หวือหวา ใช้เครือ่ งยนต์ เบนซิน ขนาดแค่ 1.5 ลิตร 3 สูบ แต่มีพิษสง ร้ายกาจด้วยการอัดอากาศแบบ Twin Turbo จนมีพละก�ำลังสูงถึง 136 แรงม้า MINI COOPER D ทุกอย่างเหมือนกันกับ Cooper รุ่นมาตรฐานทุกประการ แต่ตอบโจทย์ ความประหยัดด้วยการใช้เครื่องยนต์ ‘ดีเซล’ 1.5 ลิตร 3 สูบ Twin Turbo ให้ก�ำลัง 116 แรงม้า MINI COOPER S เป็นการเอา Cooper มา ท�ำการอัพเกรดกันหลายจุดตั้งแต่ชุดบอดี้พาร์ท ภายนอก รวมถึงอัด ‘ออพชั่น’ มาให้เพียบ ใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 2.0 ลิตร 4 สูบ Twin Turbo ให้ก�ำลัง 192 แรงม้า MINI COOPER SD หัวใจดีเซลที่ยังคง ความหรูหราสะดวกสบาย ด้วยหน้าตาทีโ่ ฉบเฉีย่ ว ในแบบ cooper S แต่มากับขุมพลังดีเซลความจุ 2.0 ลิตร 4 สูบ Twin Turbo ให้กำ� ลัง 170 แรงม้า MINI COOPER S JCW Dress Up Edition ในเวอร์ชนั่ นีเ้ ป็นการเอา COOPER S มาแต่งองค์ ทรงเครื่องในลุคโหด จาก John Cooper Works ส�ำนักแต่งคู่บุญ ด้วยชุดแต่งรอบคันตามแบบ ฉบับของ JCW Aero Kit ภายในก็ครบครันกับ บรรดา accessories จาก JCW

• JCW Dress Up Edition หลัก ๆ ก็เหมือนกับ Cooper S แต่แตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงกันชน ท้ายทรง JCW ที่โดดเด่นด้วยช่องลมทรงเหลี่ยม ขนาดใหญ่ตรงมุมกันชนทั้ง 2 ข้างสไตล์สปอร์ต

• Cooper S เพิ่มความสปอร์ตด้วยสปอยเลอร์ ที่ติดตั้งมาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานจาก ชุด ท่อไอเสียอัพเกรดมาเป็นแบบปลายคูอ่ อกกลาง และไม่ลืมที่จะแปะ โลโก้ S ให้รู้ว่าไม่ธรรมดา

• อีกหนึง่ ความแตกต่างคือไฟหน้า ที่ Cooper และ Cooper D จะใช้ไฟหน้าและไฟตัดหมอกแบบ ฮาโลเจนธรรมดา แต่สำ� หรับในรุน่ อืน่ ล้วนใช้ไฟหน้า แบบ LED ที่มาพร้อมวงแหวนเป็น Day Time Running Lights และไฟตัดหมอกก็เป็น LED เช่นกัน

• Cooper รุ่นธรรมดาจะมากับบั้นท้ายที่เรียบง่าย กันชนท้ายมีเพียงการขลิบด�ำเพื่อรับกับ FENDER ข้าง และไฟตัดหมอกดวงเดียวตรงกลาง ไร้ซึ่งสปอยเลอร์บนหลังคา และจุดสังเกต ง่าย ๆ อีกอย่างในรุน่ นีค้ อื ท่อไอเสียปลายเดีย่ วออกทางด้านซ้ายของตัวรถ ส่วนในรุน่ Cooper D ก็จะมีโลโก้ D บ่งบอกความเป็นเครื่องยนต์ดีเซลไว้อีกด้วย APRIL 2017 93

92-94_Mini_Apr.indd 93

3/21/2560 BE 14:40


• ล้อแม็กของ Cooper และ Cooper D ใช้ล้อแม็ก Victory Spoke ขนาด 16"

• MINI Cooper S SEVEN รุ่นพิเศษที่เปิดตัวในงาน Bangkok International Motor Expo 2016 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ด้วยสีตัวถังน�้ำเงินเข้ม Lapisluxury Blue มีการตกแต่งด้วยการใช้เลข 7 ตามจุดต่าง ๆ ของตัวรถ โดยมีที่มาจาก Austin Seven ที่ถือเป็นจุดก�ำเนิด MINI มาตั้งแต่ปี 1959

• ในรุ่น Cooper S และ Cooper SD ใช้ล้อแม็ก Cone Spoke ขนาด 18"

• ในรุ่น JCW Dress Up Edition 18" สวมล้อแม็ก Cup Spoke 2-Tone แบบเดียวกับ ที่ใช้ในตัวแรงพันธุ์แท้อย่าง JCW VERSION

• MINI Special Edition MINI Cooper S และ Cooper SD จะมีรุ่น Special Edition ที่พิเศษกว่ารุ่นอื่น โดยสังเกตง่าย ๆ จากหลังคา Panoramic Sunroof และมี Paddle Shift เพิ่มขึ้นมา • MINI John Cooper Works พระเอกส�ำหรับผู้ชื่นชอบความแรง ที่นอกจากชุดพาร์ทที่ดุดันแล้วยังผ่านการอัพเกรด ขุมพลังจนมีความแรง 231 แรงม้าจากโรงงาน และเพิ่มสีตัวถังพิเศษ Label Green ตัดกับหลังคา Chili Red ซึ่งจะไม่พบสีนี้ใน Cooper รุ่นอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.mini.co.th 94 BMWcar

92-94_Mini_Apr.indd 94

3/21/2560 BE 14:40


Ad_Mini_BMW_Apr.pdf

95 Ad Mini.indd 95

1

3/15/2560 BE

08:25

3/21/2560 BE 15:37


TAKE TWO

Did you know we produce two great magazines? Come and explore…

@bmwcarthailand

@gtporschethailand

www.bmwcarmag.com www.gtporschemag.com

ลึกกว่า เหนือกว่า สนุกกว่า สำ�หรับแฟนพันธุ์แท้ Premium Motoring Magazines from 2000 Publishing & Media Co., Ltd.

96 Ad_Take Two_BMW_2017.indd 96

3/21/2560 BE 15:23


Free Download มิติใหม่แห่งการอ่านนิตยสาร กับประสบการณ์เหนือระดับ ที่คุณสัมผัสได้บนปลายนิ้ว ผ่าน Application BMWCar BACK ISSUE อ่านย้อนหลังได้ ตัง้ แต่เล่มแรก ทีน่ ่ี ทีเ่ ดียว ! GALLERY คลังภาพรถสุดเจ๋ง พร้อม Unseen ทีไ่ ม่ได้เห็นในเล่ม ! VIP ZONE อ่านเล่มล่าสุดก่อนใคร! และมอบของรางวัลพรีเมียมทุกเดือน CONTENT อัปเดทข่าวสารล่าสุด เสิรฟ์ ให้คณ ุ ทุกวัน l

l

l

l

ทีส่ ดุ แห่ง Application เพือ่ แฟนพันธุแ์ ท้ ระดับเอ็กซ์คลูซฟี เช่นคุณ bmwcarthailand

97 Ad_e-book_App_2.indd 97

3/24/2560 BE 14:21


Nikon D5

นิคอน ประกาศเปิดตัว Nikon D5 สุดยอดกล้อง DSLR จุดเด่นของกล้องรุ่นนี้ ใช้เซ็นเซอร์ภาพ CMOS รูปแบบ FX ความละเอียด 20.8 ล้านพิกเซล จอภาพ LCD 3.2 นิ้ว 2,360,000 จุด ซึ่งสั่งการผ่านระบบสัมผัส ระบบออโต้โฟกัสวยจุดโฟกัสมากถึง 153 จุด ถ่ายภาพ ต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงประมาณ 12 ภาพต่อวินาที และมี ISO มาตรฐานกว้างตั้งแต่ 100 ถึง 102400 ความคมชัดระดับ 4K UHD จอภาพ LCD และระบบ ทัชสกรีน ช่องใส่การ์ด XQD ทีจ่ ไุ ฟล์ RAW ถึง 200 ภาพ และ ช่อง USB 3.0 แบบใหม่ช่วยให้ถ่ายโอนข้อมูล ปริมาณมาก ๆ ได้รวดเร็ว

Wireless Chargers

Energysquare ได้ ค้นพบนวัตกรรมใหม่แห่งการ ชาร์จแบตเตอรีใ่ ช้เพียงแค่สติก๊ เกอร์ บาง ๆ 5 แผ่นซึ่งจะเชื่อมโยงกับแผ่น ชาร์จไฟ สามารถชาร์จโดยสติก๊ เกอร์แต่ละ แผ่นจะมีขั้วไฟฟ้าและพอร์ท Micro USB, USB-C หรือ Lightning ส�ำหรับเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ทชาร์จไฟของแต่ละอุปกรณ์

Nike Air VaporMax

ไนกี้เปิดตัวรองเท้าไนกี้แอร์เวเปอร์แม็กซ์ นวัตกรรมใหม่ของ รองเท้าเพื่อเพิ่มความเบาสบายและมีความทนทานสูง ในส่วนของ รองเท้าแอร์แม็กซ์รุ่นเดิมนั้นใช้วัสดุยางเพื่อปกป้องจุดส�ำคัญและ เสริมความสมดุล แต่ส�ำหรับไนกี้แอร์เวเปอร์แม็กซ์นั้นจะใช้วัสดุ ที่ยืดหยุ่นจึงท�ำให้เบาและสามารถรักษารูปทรงไว้ได้ดี

LG Crystal Sound OLED

แอลจีเปิดตัวต้นแบบ LG Crystal Sound OLED ซึง่ เป็นนวัตกรรมใหม่ลา่ สุดของทีวี หน้าจอมีความกว้าง 65 นิ้ว เป็นจอ OLED ความละเอียดระดับ Ultra HD แต่สงิ่ ทีส่ ำ� คัญของทีวเี ครือ่ งนีค้ อื มีจอทีวที สี่ นั่ สะเทือน และสร้างเสียงได้จึงท�ำให้เสียงที่ออกมานั้นออกตรง กับต�ำแหน่งของภาพจึงท�ำให้ผรู้ บั ชมรูส้ กึ ทีค่ วามสมจริง ไม่เหมือนทีวีแบบก่อน ๆ ที่เราเคยเจอ

98 BMWcar

98-99_Instyle_Apr.indd 98

3/20/2560 BE 16:18


INSTYLE

Meridiani : Dimitri

Night Table รุ่น Dimitri ได้รับการออกแบบมา ส�ำหรับวางข้างเตียงนอน ซึ่งโมเดลนี้ถูกออกแบบ ขึ้นในปี 2016 โดย Andrea Parisio ในคอลเลกชั่น Shine โมเดลนีถ้ กู จัดท�ำขึน้ มา 2 แบบ คือ แบบด้าน ผสมแลกเกอร์ กับแบบมันวาวผสมแลกเกอร์ ทั้ง ยังเลือกแมตช์กันทั้ง 2 สี ได้อีกด้วย โดยมีช่องชั้น วางภายใน ที่ท�ำจากไม้ผสมกับการเคลือบสีให้ แลดูสวยงาม, สินค้าจะมี 2 ขนาดให้เลือก คือ รุ่น Dimitri 45 และ รุ่น Dimitri 70

HP Elite Slice

เครือ่ งคอมพิวเตอร์พซี ขี นาดเล็กซึง่ ความสามารถ เทียบเท่ากับพีซีปกติทั่วไป ตัวพีซีกล่องหลักใช้ Intel Core 6th Gen สามารถใส่แรมได้สูงสุด 32 GB เชื่อมต่อจอภาพผ่าน USB Type-C ส่วนเมาส์และ คีย์บอร์ดเป็นแบบไร้สายเพื่อให้สะดวกในการพกพา ระบบปฏิบัติการ Window 10Pro และที่มากไปกว่า นั้นยังสามารถใช้ระบบสแกนนิ้วมือเพื่อป้องกันการ ใช้งานของผู้อื่นได้อีกด้วย

Baxter: Dalma

เก้าอีอ้ าร์มแชร์ รุน่ Dalma ถูกออกแบบ มาพร้อมกับหนังทีอ่ อ่ นนุม่ โดยมีเอกลักษณ์ คุณสมบัติพิเศษที่พนักพิงจะถูกบุไปด้วย นวมที่อ่อนนุ่มภายในรวมทั้งดีไซน์ที่ถูก ออกแบบมาให้เหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้ งานโดยมาพร้อมกับรูปแบบทรงทีด่ หู รูหรา สวยงามพร้อมกันนี้ยังท�ำให้ผู้ที่ใช้งานรู้สึก สบายไปกับการนั่งพักผ่อนอีกด้วย ทั้ง Meridiani : Dimitric และ Baxter: Dalma พร้อมแล้วที่จะให้คุณได้สัมผัส ความเป็นที่สุดได้ที่ Seasons เอกมัย 20 โทร. 0-2715-08450 www.seasonsofliving.com www.facebook.com/seasonsfanpage APRIL 2017 99

98-99_Instyle_Apr.indd 99

3/20/2560 BE 16:18


บียอน รีสอร์ท เขาหลัก

The Luxury Romance

างวัลรีสอร์ตหรูสุดโรแมนติก ประจ�ำปี 78 ตารางเมตร ตกแต่งสไตล์ไทยร่วมสมัย Palm 2559 จาก Luxury Travel Guide Awards Villa Elite with Jacuzzi วิลล่าจากุชชี่ จ�ำนวน ที่คัดเลือกโรงแรมหรูในประเทศแถบเอเชียและ ออสตราเลเซีย เป็นเครื่องการันตีถึงความหรูหรา โรแมนติกของ บียอน รีสอร์ท เขาหลัก หมู่วิลล่า ริมหาดปากวีป หาดสวรรค์ส�ำหรับคู่รักที่เต็มไป ด้วยผืนทรายสีขาวนวล ส่องแสงระยิบระยับ ยามต้องแสงแดด วิลล่าทุกห้องตั้งอยู่ใกล้กับ ชายหาด สปาและห้องอาหาร รวมถึงสระว่ายน�ำ ้ อาทิ Palm Villa Elite ที่มีพื้นที่กว้างขวางกว่า

14 หลัง และ Palm Villa Elite with Private Pool ปาล์มวิลล่าไพร์เวทพลูจ�ำนวน 10 หลัง วิลล่า ที่ออกแบบมาเพื่อความเป็นส่วนตัวของคู่รัก ทุกห้องเพียบพร้อมด้วยสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ครบครัน วิลล่ามีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แบบไทย ผสานกับความทันสมัย ดินเนอร์ ริมหาดใต้แสงเทียน ผ่อนคลายด้วยโปรแกรม และทรีตเมนต์สตู รเฉพาะของบียอนจาก กานดา สปา สนุกกับกีฬาทางน�้ำ ทั้งพายเรือคายัค วินด์เซิร์ฟ รวมถึง SUP หรือ Stand Up Paddle กีฬาสุด Chic แนวใหม่ จบวันด้วยอาหารค�่ำ จานเด็ดระดับซิกเนเจอร์ รวมถึงเมนูท้องถิ่น แสนอร่อย นอกจากนี้ยังสามารถล่องทะเล ชม ความสวยงามของอ่าวพังงา เกาะพนัก และ เกาะห้อง เกาะปันหยี หรือจะนั่งซาเล้งไปท�ำ กิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน อาทิ กรีดยางพารา และท�ำยางแผ่นของชาวบ้าน เยี่ยมชมแปลง ปลูกผักไฮโดรโปนิกก็ยังได้ตามสะดวก ท่านสามารถติดตามข่าวสารโปรโมชัน่ ต่าง ๆ และส�ำรองที่พัก ของ บียอน รีสอร์ท เขาหลัก ผ่ า นทาง www.katagroup.com/beyond khaolak หรือ www.facebook.com/Beyond ResortKhaolak l

100 BMWcar

100-101_Luxite_Apr.indd 100

3/20/2560 BE 16:34


LUXITE

อสิตา รีสอร์ท อีโค รีสอร์ต ใกล้กรุง

ข้าเมษาหน้าร้อน ลองหลบร้อนไป สัมผัส บรรยากาศ...แสนสบาย พักผ่อนท่ามกลาง ธรรมชาติและสูดอากาศอันบริสุทธิ์ สู่เสน่ห์ของรี สอร์ตเล็ก ๆ ในอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กับอสิตา รีสอร์ท ที่มีการตกแต่งอย่างมีสไตล์ เฉพาะตัว ท่ามกลางธรรมชาติและสายน�ำ้ ล�ำคลอง ทีไ่ หลผ่านบ้านพักทั้ง 23 หลัง ท่านสามารถเลือก พักได้ระหว่างสองบรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็นห้อง พักในเรือนไทยที่ตกแต่งสไตล์ไทย-ไทย ไว้อย่าง สวยงามมีระเบียงโดยรอบ ท่านจะได้สัมผัส ธรรมชาติมมุ สูง หรือห้องพักวิลล่าทีส่ ะท้อนความ เป็นธรรมชาติ ได้อย่างชัดเจน เน้นความเรียบง่าย

โล่ง โปร่ง สบาย มีระเบียงส่วนตัว สามารถลง เล่นน�ำ้ หรือชมธรรมชาติได้อย่างใกล้ชดิ สบายด้วย สิง่ อ�ำนวยความสะดวกและการบริการมาตรฐาน โรงแรม อาทิ อินเทอร์เน็ต Wi-Fi สระว่ายน�้ำเเบบ สระเกลือ เพือ่ ดูเเลสุขภาพผิวพรรณ เเละปลอดภัย ส�ำหรับคนที่เเพ้คลอรีนที่ใส่ในสระว่ายน�้ำทั่วไป ผ่อนคลายด้วยการนวดสปา ที่ทางรีสอร์ตมี บริการให้คุณได้เลือกสัมผัส เช่น การนวดไทย แผนโบราณ นวดกดจุดฝ่าเท้า นวดอโรมา และ เติมเต็มด้วยร้านอาหารแสนอร่อยที่ทางรีสอร์ต จะน�ำผักออแกนิกจากฟาร์มของรีสอร์ตมาปรุง อาหารให้กับลูกค้ารับประทาน และนอกจากนี้ ยั ง มี ส ถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว ใกล้เคียงอีกมากมาย ให้คณ ุ เลือกเยีย่ มชมได้อย่าง เต็มที่ อาทิเช่น ตลาดน�ำ้ อัมพวา, ตลาดน�้ำท่าคา, ตลาดน�้ำบางน้อย, ตลาดร่มหุบ, อุทยาน ร.2, บ้านแมวไทย, อันซีนไทยแลนด์โบสถ์ปรกโพธิ์ ค่ายบางกุ้ง พิพิธภัณฑ์ขนมไทยและพิพิธภัณฑ์ หุ่นขี้ผึ้งสยาม เยี่ยมชมและส�ำรองที่พักอสิตา รีสอร์ท ที่ www.asitaresort.com, www.facebook. com/asitaresort l APRIL 2017 101

100-101_Luxite_Apr.indd 101

3/20/2560 BE 16:34


Cocotte Fresh from the Farm

ากกระแส ‘Slow Food movement’ ปรัชญาการใช้ชีวิตที่อิงจากธรรมชาติ อันมีที่มาจากประเทศอิตาลี ได้กลายมาเป็นแรง บันดาลใจในการท�ำร้าน ‘Cocotte’ ร้านอาหาร สไตล์บสิ โทรที่มีจุดเด่นในรือ่ งการคัดสรรวัตถุดบิ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ สดจากฟาร์มออร์แกนิก

อาทิ เนื้อวัวคุณภาพสุดพรีเมียม อาหารทะเล ผักสดจากโครงการหลวง และไวน์ ที่ต้องอาศัย การเดินทางทั่วประเทศไทย เพื่อค้นหาวัตถุดิบ ที่ดีที่สุดจากธรรมชาติ ผนวกเข้ากับการจัดแต่ง บรรยากาศร้านแนวร่วมสมัย ด้วยดีไซน์ทเี่ น้นการ ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ท�ำจากไม้ หรือการจ�ำลองบูธใน

ตลาดฝรั่งเศส ที่จัดวางด้วยชีส เนื้อแปรรูป หรือ เนยแข็งนานาชนิด พร้อมด้วยครัวเปิดที่พร้อม ให้ผู้มาทานได้รับชมขั้นตอนการท�ำอาหาร และ สโลว์ไลฟ์ไปกับอาหารเลิศรสสดจากฟาร์ม ท่าม กลางไลฟ์สไตล์สุดคึกคักแห่งเมืองกรุงกับร้าน เมนูสดุ พิเศษทุกจานของร้าน Cocotte รังสรรค์ โดยเชฟ เจอริโก้ แวน เดอร์ วูฟ ที่การันตีด้วย ประสบการณ์การท�ำงานจากร้านอาหารระดับเชฟ มิชลินสตาร์ในประเทศฝรั่งเศส โดยมีซิกเนเจอร์ ดิส อาทิ ‘Tomahawk Australian Wagyu’, ‘Porchetta Cocotte Style’ มาพร้อมกับเบคอน ที่ย่างด้วยไฟอ่อน เสิร์ฟพร้อมกับมะเขือเทศ ตากแห้ง เคล้ากับถั่วคั่วด้วยเครื่องเทศ ต่อด้วย ‘Truffle Cocotte Camembert’ เนยแข็งกามอง แบร์จากฝรั่งเศส ปรุงด้วยเห็ดทรัฟเฟิล เสิร์ฟ พร้อมผักนานาชนิดจากโครงการหลวง ตบท้าย ด้วยเมนูไฮไลท์อย่าง “Beetroot and Crab” ด้วย การปรุงผักหัวบีทอย่างประณีตกับปูสด เสิร์ฟ พร้อมกับผลลูกมะเดือ่ ราดด้วยครีม mascarpone เนื้อแน่นจากอิตาลี อันเป็นบทสรุปของรสชาติ สมบูรณ์แบบ สุดประณีตไม่เหมือนใคร ยังมีเมนู อีกหลากหลายไม่วา่ จะเป็นไก่ยา่ งอบกรอบ หรือ ‘Cocotte Burger’ ทีแ่ น่นด้วยเนือ้ วากิว สอดแทรก ด้วยชีส Emmental พร้อมกับเบคอนรมควัน อบกรอบ ตกแต่งด้วยหัวหอมและมะเขือเทศ เคียงด้วยมันฝรั่งทอดที่อร่อยจนต้องมาชิมซ�้ำ ร้านอาหาร Cocotte ตั้งอยู่บริเวณชั้น G บน ตึก 39 Boulevard บนถนนสุขุมวิท ซอย 39 เปิด บริการทัง้ ช่วงกลางวันและกลางคืน ตัง้ แต่ 10.00 น. ถึง 24.00 น. และยังมีบริการ Sunday Brunch ทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ถึง 14.00 น. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 092664-6777 หรือ Facebook: Cocottebkk l

102 BMWcar

102-103_Eatery_Apr.indd 102

3/20/2560 BE 16:47


EATERY Deer and Doe Cafe

ส้มต�ำดี กาแฟโดน ริมเขาใหญ่

ครจะไปคิดว่าส้มต�ำกับกาแฟสดจะเข้า กันได้ดเี ป็นปีเ่ ป็นขลุย่ เช่นนี้ กับร้านอาหาร บรรยากาศดีริมถนนธนะรัชต์ ทางขึ้นเขาใหญ่ ร้านนีเ้ ป็นของคุณเอกชยา สุขสิริ อดีตบรรณธิการ นิตยสาร Volome ที่ผันตัวไปใช้ชีวิตอยู่ปากช่อง ตัวร้านจึงตกแต่งได้เก๋ โมเดิรน์ ร้านสวย นัง่ สบาย ๆ ด้วยผนังกระจกมีทงั้ โซนริมสวนด้านนอกและโซน ปรับอากาศด้านใน นอกจากจะให้บริการกาแฟสด

เครื่องดื่มและเบเกอรี่แล้ว ที่นี่ยังมีเมนูอาหารให้ เลือกลิ้มลองมากมาย ที่เด่นมากคือส้มต�ำไก่ย่าง โดยเฉพาะ ‘ต�ำโด’ เป็น Signature Menu ของ D.A.D.

ความพิเศษอยูท่ เี่ ส้นมะละกอกรอบ น�ำมาต�ำคลุก เคล้าจนเข้ากับน�ำ้ กะปิรสแซบ เทลงจานเนือ้ เซรามิก ใบยักษ์ น�้ำกะปิชุ่มท่วมเข้ากันดีกับเครื่องเคียง รายรอบ อาทิ ปูม้า กุ้งสด หอยแครงไก่อบโอ่ง คอหมูยา่ ง (นุม่ มาก) ขนมจีน และมาม่า หรือจะสัง่ ‘พะโล้ลำ� จวน’ เป็นสูตรตกทอดจากคุณยายล�ำจวน ที่มีฝีมือเรื่องท�ำอาหารสูตรชาววัง มาทานคู่กับ ‘ชาเขียว D.A.D.’ หอมกลิ่นมัตชะและรสสัมผัส นุ่มของฟองนมละเมียด มาร้านนี้ทานคนเดียว อาจไม่สนุกเท่าชวนเพื่อนมาร่วมด้วยช่วยกันชิม เดียร์แอนด์โดคาเฟ่ (D.A.D.) ถนนธนะรัชต์ กม.7 เลยปั ๊ ม ปตท. 200 เปิ ด บริ ก ารทุ ก วันจันทร์-พฤหัสบดี 10.00 - 19.00 น. ศุกร์-อาทิตย์ 07.00-20.00 น. สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/deeranddoecafe l

Cut Grill & Lounge

จุ

Authentic Atmosphere @Phuket

ดนัดพบใหม่แห่งความบันเทิงของภูเก็ต ทีต่ งั้ ตระหง่านอยูบ่ ริเวณท่าเรือเชิงทะเลกับ วิวแบบพาโนรามิก 360 องศา ท่ามกลาง ทะเลสาบ Boat Avenue ด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรม แบบโมเดิร์นทรงครึ่งวงกลม ที่ตกแต่งแบบเรียบ ง่ายสบายตา รายล้อมด้วยสระว่ายน�้ำใหญ่ ที่ให้ บรรยากาศสังสรรค์ได้ทั้งกลางวันต่อเนื่องไปถึง ยามค�่ำ Cut Grill & Lounge โดดเด่น ด้วยเมนู

‘Farming Roast’ อาหารออร์แกนิก ที่รังสรรค์ ผ่านสองเอ็กเซ็กคูทีฟเชฟระดับอินเตอร์ อย่าง ‘Jeriko Van Der Wolf’ และ ‘Fabrice Kem Seng’ อาทิ ‘The Metre of Finger Food’ อาหารทาน เล่นจากนานาชาติที่วางบนจานยาวกว่า 1 เมตร เลยไปจนถึงเมนูยอดฮิตอย่าง เนือ้ ย่าง ‘Tomahawk Australian Wagyu’ ที่มีน�้ำหนักมากกว่า 1.5 กิโลกรัม รวมไปถึงอาหารทะเลเมนูหอยแครงที่

จัดวางบนจานร้อน ‘Hokkaido Scallops’ ที่เข้า กับบรรยากาศการพักผ่อนบนชายหาดอย่างแท้จริง ร่วมเปิดประสบการณ์การ กิน ดื่ม มิติใหม่ที่ สร้างความอิ่มเอม จากการพักผ่อนอย่างเหนือ ระดับกับ Cut Grill & Lounge เปิดให้บริการตัง้ แต่ เวลา 10.00-2.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 09-3638-8921 http://cut-phuket.com และ www.facebook.com/CUTPhuket l APRIL 2017 103

102-103_Eatery_Apr.indd 103

3/20/2560 BE 16:47


บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย

บี

แถลงยอดการเติบโต เปิดตัว BMW ซีรีส์ 5 ใหม่ล่าสุด

เอ็มดับเบิลยู กรุป๊ ประเทศไทย เนรมิตพืน้ ทีด่ า้ นหน้าอาคารมหานคร คิวบ์ สาทร ให้เป็น Exclusive Lounge สุดหรูส�ำหรับงานแถลง ผลประกอบการและทิศทางการด�ำเนินธุรกิจประจ�ำปี 2560 โดยมียอดรวม

จากบีเอ็มดับเบิลยู และมินิกว่า 745 คัน ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศไทย สร้าง สถิตใิ หม่สง่ มอบรถมอเตอร์ไซค์ 110 คันในเดือนมกราคมเพียงเดือนเดียว ไฮไลท์ส�ำคัญของงานในปีนี้ ได้แก่ การเปิดตัว BMW ซีรีส์ 5 ใหม่ล่าสุด ภายใต้แนวคิด BMW Efficient Lightweight ซึ่งเน้นการใช้วัสดุอะลูมิเนียม และเหล็กกล้าที่มีความทนทานสูงแต่น�้ำหนักเบา จึงช่วยให้ซีรีส์ 5 รุ่นใหม่ มีน�้ำหนักเบากว่ารุ่นก่อนถึง 100 กิโลกรัม ส่วนมินิ ประเทศไทย ได้แนะน�ำ มินิ คันทรีแมน รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมเปิดตัวให้แฟนมินิในประเทศไทยได้ สัมผัสเป็นครั้งแรกในงาน Bangkok International Motor Show 2017 เร็ว ๆ นี้ ขณะที่บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด จะเผยโฉมมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ ล่าสุดอีกสองรุ่นอย่าง บีเอ็มดับเบิลยู R nineT Racer และ บีเอ็มดับเบิลยู R nineT Pure ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ l

104 BMWcar

104-106_Social News_Apr.indd 104

3/20/2560 BE 16:52


SOCIAL NEWS

MGC เปิดโชว์รูม มิลเลนเนียม ภูเก็ต

ใหม่ ใหญ่ หรู 400 ล้านบาท

ร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่ม บริษัท มาสเตอร์กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จ�ำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท มิลเลนเนียม ออโต้ จ�ำกัด ขนทัพสื่อมวลชน บินลงใต้ไปเยี่ยมชมงาน เปิดโชว์รูมจ�ำหน่ายอย่างเป็นทางการของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูและมินิ แห่งใหม่ล่าสุดในจังหวัดภูเก็ตใหม่ บนถนนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ที่ลงทุนกว่า 400 ล้านบาท เนรมิตพื้นที่กว่า 4 ไร่ รองรับรถยนต์ได้ มากกว่า 38 คัน พร้อมช่องบริการหลังการขาย 10 ช่อง สามารถซ่อมได้

ทั้งสีและตัวถัง และจัดจ�ำหน่ายทั้ง บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ, โรลส์-รอยซ์, แอสตัน มาร์ติน และเรือยอชท์ อะซิมุท โดยตั้งเป้าเป็นฮับรถหรูแห่งภาคใต้ รองรับลูกค้าทั้งไทยและต่างชาติ โดยในงานนี้ มร. สเตฟาน ทอยเชอร์ต ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ได้บินตรงมาร่วมแสดงความ ยินดี พร้อมกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างมิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป และโชว์รูมแห่งใหม่ล่าสุด ซึ่งมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปีด้วยจ�ำนวน ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น l

APRIL 2017 105

104-106_Social News_Apr.indd 105

3/20/2560 BE 16:52


ต.สยาม มุ่งชิงชัย

ธุรกิจ SHOP ยุค 4.0

ชูยางใหม่ทงั้ 3 แบรนด์ ก่อนส่ง GRIP ปูพรมทัว่ ไทย

คุ

ณอภิชยั ตัง้ วงศ์ศริ ิ กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ต.สยาม คอมเมอร์เชียล จ�ำกัด ผู้น�ำเข้าและจัดจ�ำหน่ายยาง TOYO TIRES, NITTO TIRE และ KUMHO TIRE อย่างเป็นทางการในประเทศไทย จัดงาน แถลงข่าว T.SIAM SHIFT TO THE FUTURE ประมวลภาพรวมความส�ำเร็จ ประจ�ำปี 2559 ทีผ่ า่ นมาและเปิดตัวยาง TOYO TIRES, NITTO TIRE และ KUMHO TIRES รุน่ ใหม่ลา่ สุด พร้อมปูพรมศูนย์บริการยางรถยนต์ครบวงจร GRIP 43 สาขา เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย 200 สาขาทั่วประเทศภายใน 10 ปี l

ทีมไทยคว้าแชมป์

BMW World Final Golf Cup 2016

ข่

าวใหญ่ที่ท�ำให้คนไทยทั้งประเทศภูมิใจ ! เมื่อทีมไทยสามารถ คว้าชัยชนะการแข่งขันกอล์ฟมือสมัครเล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก BMW World Final Golf Cup 2016 ที่สนาม Emirates Golf Club ที่ดูไบ โดย 3 นักกอล์ฟไทย ประกอบไปด้วย คุณกฤษนันท์ คุณเกรียงไกร และ คุณปนัดดา ฝ่าด่านนักกอล์ฟ 114 คนจาก 40 ประเทศทั่วโลก ท�ำคะแนน รวม 317 แต้ม สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ครั้งแรกที่ทีมไทยชนะการ แข่งขันกอล์ฟมือสมัครเล่นทรงคุณค่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดโดย BMW ที่เป็นรายการที่มีมากว่า 30 ปี l 106 BMWcar

104-106_Social News_Apr.indd 106

3/20/2560 BE 16:52


MISSED AN ISSUE OF YOUR FAVOURITE BMW MAGAZINE? Subscribe today

SAVE

30% สั่งซื้อเล่มย้อนหลัง ราคาเล่มละ 100 บาท ค่าจัดส่ง 20 บาทต่อเล่ม สั่งซื้อ 6 เล่ม (เฉพาะเล่มปี 2015) ราคา 420 บาท ค่าจัดส่ง 130 บาท

ISSUE 24 I Dec. 2016

ISSUE 25 I Jan. 2017

ISSUE 26 I Feb. 2017

ISSUE 27 I Mar. 2017

โอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ในนาม บริษัท 2000 พับลิชชิ่ง แอนด์ มีเดีย จ�ำกัด ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนลาดพร้าว ซอย 99 เลขที่บัญชี 181-5-00114-2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม • โทร. 09-4480-4932 E-mail: subcription@2000pm.com I Line ID: @bmwcarthailand 108 Ad_Back Issue_BMW_2017.indd 108

3/21/2560 BE 14:41


ราคาพิ เ ศษ สมัครสมาชิกรายปี

1,000 จากราคาปกติ 1,200 บาท

กรุณาโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ ชือ่ บัญชี บริษัท 2000 พับลิชชิ่ง แอนด์ มีเดีย จำ�กัด เลขทีบ่ ญ ั ชี 181-5-00114-2 และส่งหลักฐานการชำ�ระเงินมาที่ LineID : @bmwcarthailand (พิมพ์ @ ด้วย) ระบุ ชือ่ สกุล ทีอ่ ยู่ เบอร์โทร อีเมล ไซส์เสือ้ M/L/XL เล่มทีเ่ ริม่ รับ

ฟรี ! รับเสื้อยืดโปโล เนื้อดี มูลค่า 400 บาท

• บริการส่งฟรีถึงบ้าน •

โทรสมัครด่วน 09-4480-4932 (ฝ่ายสมาชิก) ด่วน! ของสมนาคุณมีจำ�นวนจำ�กัด

109 Ad_Subscription_BMW_2017.indd 109

*บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโปรโมช่ันโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

3/21/2560 BE 14:01


BMW ART CARS

• จอห์น บัลเดสซารี่ ศิลปินชาวอเมริกัน ถ่ายภาพร่วมกับ BMW Art Car คันที่ 19 ผลงานล่าสุดที่เขาเป็นผู้รังสรรค์ขึ้น โดยกล่าวว่า “รถยนต์ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการใช้ชีวิตที่ร่วมสมัย ผลงานของผมอยากจะบอกทุกคนถึงเอกลักษณ์ของ BMW ที่เด่นชัด คือ ความสนุกสนาน และ ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานที่ผมสร้างขึ้น ที่เป็นศิลปะที่เร็วที่สุด

BMW Art Cars

M6 GTLM John Baldessari

ลงานล�ำดับที่ 19 ของ BMW Art Car สร้างสรรค์โดยศิลปินร่วมสมัยชาว อเมริกนั John Baldessari ซึง่ ได้โชว์เทคนิค ของการให้สีที่โดดเด่น เช่น สีแดง สีเหลือง และสีเขียว ผนวกกับการใช้ฟอร์มรูปทรง เลขาคณิตแบบมินิมอล สะกดสายตา จากผูพ้ บเห็น ดา้ นข้างเติมตัวหนังสือ FAST เรียกได้ว่าเพิ่มความแรงให้กับเครื่องยนต์ แบบ V8 ความจุ 4,395 ซีซี ให้แรงม้า สูงถึง 585 แรงม้า ท�ำความเร็วได้สูงสุดถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยหลังจากออกน�ำไปจัดแสดง ผลงาน ที่ไมอามี่ บีช, สหรัฐอเมริกา เมื่อปลายปี ทีผ่ า่ นมา BMW M6 GTLM ถูกส่งออกไปให้ ประจักษ์สายตาแฟน ๆ มอเตอร์สปอร์ต ในงานแข่งระดับต�ำนาน 24 Hours of Daytona ภายใต้สงั กัดทีม BMW Team RLL l

110 BMWcar

110 ART CAR.indd 110

3/22/2560 BE 10:16


PLUS Bimmermeet | A Highland Fling | Tech Focus: Superchargers

the ultimate BMW magazine

BMW คันประวัติศาสตรในรัชสมัยรัชกาลที่ 9

Vol.3 Issue 28 | April 2017 | www.bmwcarmag.com

The ultimate BMW magazine Vol.3 Issue 28 April 2017

รวมภาพบรรยากาศ บันทึกความทรงจ�ำครั้งส�ำคัญ ของชาว Bimmer ในประเทศไทย กับครัง้ แรกของ #BIMMERMEET จัดโดย นิตยสาร BMWCar

www.bmwcarmag.com 100 Baht

1FC-APR._BMWCar 2017.indd 1

Alpina B7s two classic turbocharged Alpina

CLS Batmobile a restored 1970s race car 3/24/2560 BE 15:07


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.