นิตยสารดอนบอสโก-Sep-Oct 2018 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1

นิตยสารครอบครัวซาเลเซียน ปีที่ 61 เดือนกันยายน-ตุลาคม 2561 ISSN 0857-4781 SEPTEMBER-OCTOBER 2018

กระซิบพระวรสาร

ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด นนทบุรี


EDITOR’s NOTE

ค�ำว่า “นิตยสาร” หรือ “magazine” ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาอารบิก แปลว่า “โกดังเก็บของ” ตรงกับภาษาอิตาเลี่ยนว่า “magazino” ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะนิตยสารเก็บเรื่องราวและภาพที่หลากหลายไว้ในที่เดียวกัน นิตยสารดอนบอสโกพยายามอย่างยิ่งที่จะมอบเรื่องราวและสาระ ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ รวมทั้งเผยแพร่จิตตารมณ์ซาเลเซียนและประชาสัมพันธ์ข่าวสารใน ครอบครัวซาเลเซียนให้กับทุกท่าน

แนะน�ำและติชมกันมานะครับ เพื่อเราจะได้ท�ำให้โกดังเก็บของที่เก็บเรื่องราวของ คุณพ่อบอสโก, ซ.มารีอา มัซซาเรลโล, คุณพ่อฟิลิป รีนัลดี, คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร, พระคุณเจ้ากาเยตาโน ปาซอตตี, บุคคลใน ครอบครัวซาเลเซียน และพันธกิจซาเลเซียน ยังคงฟุ้งและอยู่ในใจของเราทุกคน บรรณาธิการ

ส�ำหรับนิตยสารดอนบอสโก ฉบับเดือนกันยายน - ตุลาคม 2018 นี้ เริ่มต้นด้วยการสะท้อนเสียงของวัยรุ่นในคอลัมน์เสียงเยาวชน ต่อค�ำถาม ที่ว่า “มาร่วมมิสซาแล้วได้อะไร” และน�ำเสนอบทสัมภาษณ์ของ คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ที่ปรึกษาอัคราธิการประจ�ำภูมิภาค เอเชียตะวันออกและโอเชียเนียโอกาสตรวจเยีย่ มแขวงซาเลเซียนประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ในคอลัมน์เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ น�ำเสนอเรื่องราวของแสงสว่างในโลกมืด ซึ่งเป็นเรื่องราวดีๆ ของภารกิจซาเลเซียนในศูนย์พัฒนาสมรรถภาพ คนตาบอด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นอกนั้น นิตยสารดอนบอสโกฉบับนี้น�ำเสนอ 2 คอลัมน์ใหม่ คือ “แก่นซาเลเซียน” ขีดเขียนโดย บ.สันติสุข นักเขียนรุ่นลายครามที่มีผลงาน เขียนมากมาย และคอลัมน์ “กล้ากระแสเรียก” ที่บอกเล่าถึง ประสบการณ์ดีๆ ของเยาวชนที่ก�ำลังเดินในเส้นทางของกระแสเรียกของตน และยังมีเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมายบรรจุอยู่ในนิตยสารฉบับนี้

วัตถุประสงค์ : 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การอบรมศึกษา งานอภิบาลเยาวชน และการส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ เจ้าของผู้พิมพ์ : คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา : พระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร : sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิการ : ซ.วิรินทิพย์ อินทร์แย้ม, ซ.มยุรี งามวงศ์, ซ.ธิดาเพ็ญ จรัสศรี, ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต, คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค, บ.อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ ฝ่ายศิลป์และพิสูจน์อักษร : ปาริฉัตร แก้วพันธุ์ช่วง แผนกการเงิน : บ.วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม พิมพ์ที่ : วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพฯ โทร.02-6529625-30 จัดพิมพ์โดย : แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก : 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel : (02) 7317100 Email : thaisdbbulletin@gmail.com 02 Sep - Oct 2018


CONTENTs

dbBULLETIN SEPTEMBER-OCTOBER 2018

9 14

22

26 48

นิตยสารครอบครัวซาเลเซียน ปีที่ 61 เดือนกันยายน-ตุลาคม 2561 ISSN 0857-4781 SEPTEMBER-OCTOBER 2018

กระซิบพระวรสาร

ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด นนทบุรี

ภาพจากปก เยาวชนผู้พิการทางสายตาก�ำลังสัมผัสใบหน้าของ คุณพ่อบอสโก พวกเขาสัมผัสถึงความรักของพระเจ้า ผ่านทางชีวิตและการอุทิศตนของซาเลเซียนและ บุคคลรอบข้าง ความมืดบอดทางสายตามิได้เป็น อุปสรรคในการรับรู้ถึงความรักของพระเจ้า และของเพื่อนมนุษย์ ตาของพวกเขาบอดแต่ใจไม่บอด

02 EDITOR’s NOTE 04 เรื่องเล่าจากสิง่ รอบตัวของพ่อบอสโก กล่องนิรภัยแห่งวัลดอกโก 05 เสียงเยาวชน มาร่วมมิสซาแล้วได้อะไร? 09 สัมภาษณ์คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ 14 แก่นซาเลเซียน ถึงแก่น 16 LOCAL NEWS 22 เส้นทางจอม YOUTH SYNOD 2018 เวลาแห่งการเดินไปพร้อมกับเยาวชน 26 เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ กระซิบพระวรสารในหัวใจผู้พิการทางสายตา ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 32 LECTIO DIVINA ความเมตตาจากภายใน ให้ความเมตตากรุณาก่อนให้สิ่งของ 37 บุญราศีไมเคิล รัว ผู้สืบทอดต�ำแหน่งของคุณพ่อบอสโกคนแรก 38 ส่องโลกซาเลเซียน 42 เยาวชนกับพลังความดี เริ่มที่ไหน? 45 กล้ากระแสเรียก เธอไม่รักเราแล้วหรือ? 48 ครอบครัวซาเลเซียน ความสุขของสมาชิกกลุ่ม ADMA 50 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน ซิสเตอร์อันโทนีทา เบิห์ม ธมอ 51 เรื่องมีอยู่ว่า เด็กๆ ไม่เสียค่าใช้จ่าย 03

Sep - Oct 2018


เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก

By... Andy

กล่องนิรภัย แห่งวัลดอกโก

ฉันเป็นกล่องไม้ส�ำหรับใส่ของ ขนาดย่อมที่ถูกท�ำขึ้นโดยช่างไม้ฝีมือดี ด้านหน้าของฉันมีที่ใส่กุญแจเพื่อไว้เก็บ สิ่งของมีค่า ฉันถูกวางไว้ที่ตรงมุมห้อง ติดกับโต๊ะท�ำงานของคุณพ่อบอสโก แต่ไม่มีใครที่ล็อคกุญแจฉันไว้ คุณพ่อ บอสโกน�ำกระดาษซึ่งเขียนด้วยลายมือ หลายแผ่นมาใส่ไว้ในตัวฉัน วันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม มีเสียงอึกทึกดังไปทั่วศูนย์เยาวชน จนปลุกให้ฉันต้องตื่นขึ้นตอนบ่ายสอง โมง ฉันเห็นต�ำรวจ 5 คนมายืนอยู่ที่ หน้าประตูห้องของคุณพ่อบอสโก ในขณะที่ต�ำรวจอีก 18 คนมาปิดทาง เข้าออกของศูนย์เยาวชนไว้ทุกทาง ขณะนั้นคุณพ่อบอสโกก�ำลังคุยอยู่กับ หญิงม่ายยากจนคนหนึ่งที่ก�ำลังนั่ง ร้องไห้อยู่ในห้องท�ำงานของท่านเพื่อ ขอให้คุณพ่อรับลูกของนางไว้ คุณพ่อ บอสโกพูดกับเด็กนั้นว่า “ลูกรัก ลูกอยู่ กับพ่อที่นี่แหละ พ่อจะดูแลลูกเอง” ในเวลานั้นมีการกระจายเสียง ไปทั่วศูนย์เยาวชนว่ามีต�ำรวจมาจับ คุณพ่อบอสโกเพื่อน�ำท่านไปขังคุก เมื่อเด็กๆ ได้ยินดังนั้นก็ต้องการจะ ออกมาจากห้องเรียนและโรงฝึกงาน เพื่อมาปกป้องคุณพ่อและต้องการจะไป เข้าคุกพร้อมกับท่าน 04 Sep - Oct 2018

ประวัติคุณพ่อบอสโก วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1860 คุณพ่อบอสโกถูกต�ำรวจบุกค้นศูนย์เยาวชน และถูกต�ำรวจจับตามองอยู่ตลอดเวลา (MB VI, หน้า 554 เป็นต้นไป) ต�ำรวจสามคนตามคุณพ่อบอสโกเข้าไปในห้องของท่านและท�ำการค้นตัว พวกเขา ค้นกระเป๋าสตางค์ ค้นลิ้นชัก ค้นถังขยะและตรวจแม้กระทั่งตะเข็บชายเสื้อ ต�ำรวจคนหนึ่งเห็นฉันและพูดขึ้นว่า “ดูซิว่ามันมีอะไรซ่อนอยู่ในนี้” พ่อบอสโก กล่าวกับต�ำรวจนั้นว่า “พ่อเก็บความลับของพ่อเอาไว้ในนั้นและพ่อไม่ต้องการ ให้ใครรู้” ฉันกลัวมาก เขาพังที่ใส่กุญแจซึ่งอยู่ด้านหน้า อันที่จริง เขาไม่ต้องท�ำ ขนาดนั้นก็ได้เพราะมันไม่ได้ล็อคเอาไว้ ต�ำรวจนายนั้นเห็นกระดาษอยู่เต็มไปหมดจึงหยิบกระดาษขึ้นมาอ่าน ทีละใบด้วยเสียงดัง “ขนมปังของคุณพ่อบอสโกจากร้านมาการ์ ค้างช�ำระ 7,800 ลีร์ แผ่นหนังส�ำหรับท�ำรองเท้าในโรงงานของคุณพ่อบอสโก ค้างช�ำระ 2,150 ลีร์” แล้วเขาก็เปิดอ่านใบที่สามและใบที่สี่ไปเรื่อยๆ มันเป็นกระดาษที่น�ำความอับอาย มาให้ กระดาษเหล่านั้นคือใบเสร็จค่าน�้ำมัน ค่าข้าว ฯลฯ ซึ่งค้างช�ำระ “พ่อไม่ ต้องการให้ใครรู้ว่าพ่อมีหนี้มากมายเช่นนี้ แต่เวลานี้พวกท่านก็รู้ความลับของพ่อ หมดแล้ว หากพวกท่านจะช่วยพ่อจ่ายหนี้เหล่านี้บ้างก็คงจะดีไม่น้อยเพราะจะเป็น โอกาสให้พวกท่านได้ท�ำกิจเมตตา” พ่อบอสโกกล่าว ขณะที่ก�ำลังพูดคุยกันอยู่นั้นมีบุรุษไปรษณีย์มาส่งจดหมาย ต�ำรวจจึงยึด จดหมายเหล่านั้นไว้ จดหมายฉบับแรกที่พวกเขาเปิดอ่านเป็นของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยซึ่งเขียนจดหมายมาแนะน�ำเด็กคนหนึ่งเพื่อให้คุณพ่อบอสโก รับไว้ดูแล เมื่ออ่านจบ ทุกคนตกใจ พวกเขารีบขอโทษคุณพ่อบอสโก คุณพ่อยิ้ม และก็เลี้ยงเหล้าองุ่นอย่างดีกับพวกเขาทุกคน db


เสียงเยาวชน

dbBulletin

By... Eccomi

เสียงเยาวชน

เคยเกิดค�ำถามในใจกันบ้างไหมว่า คาทอลิกไม่ไปโบสถ์ได้ไหม? เบื่อแล้วอะ ไปทุกอาทิตย์ก็เหมือนๆ เดิม ท�ำไมต้องไปร่วมมิสซาด้วย? ขอร่วมมิสซาออนไลน์อยู่บ้านแทนได้มะ? คงจะเป็นค�ำถามเด็ด ที่เคยผุดขึ้นในใจของพวกเราบ้างใช่ไหมละครับ ลองมาฟังเสียงของเยาวชนกันว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับค�ำถามที่ว่า

มาร่วมมิสซาแล้วได้อะไร? ผมไปร่วมมิสซาทุกอาทิตย์กับครอบครัวเสมอตั้งแต่ผมจ�ำความได้ หากไม่ สะดวกในวันอาทิตย์ ก็จะไปเย็นวันเสาร์แทน การที่ต้องไปร่วมมิสซาเป็นประจ�ำในทุกๆ อาทิตย์ บางครั้งก็ท�ำให้ผมรู้สึกขี้เกียจและไม่อยากไปเพราะความเพลียจากการท�ำงาน หรือจากการเล่นเกมจนดึก บางครั้งก็อยากจะไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ มากกว่า เพราะฟัง คุณพ่อเทศน์ไม่เข้าใจ ท�ำให้เบื่อและง่วงนอน สิ่งที่ผมชอบเวลาไปร่วมมิสซาก็คือได้เจอ เพื่อนๆ พี่ๆและน้องๆ ซึ่งท�ำให้ผมเกิดความรู้สึกอบอุ่นและสบายใจ นอกนั้นในบางครั้ง ผมได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรม เช่น ช่วยแบกบุษบกแม่พระเพื่อแห่รอบวัดและช่วยถือของ ถวายในพิธีมิสซา สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ผมรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของวัดและรู้สึกสุขใจเป็นอย่าง มาก เวลาที่ผมรู้สึกไม่สบายใจ มีเรื่องเครียดหรือทุกข์ใจ เมื่อได้ไปร่วมมิสซา แก้บาป และรับศีลมหาสนิท จะช่วยท�ำให้ผมคลายความกังวลใจไปได้ ท๊อปฟี่ - อนุภัทร ชัยพรแก้ว อายุ 15 ปี 05

Sep - Oct 2018


เสียงเยาวชน

หนูเป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ใช่คนที่ มีความศรัทธามากมาย ตั้งแต่จ�ำความได้ ถ้าพูด ถึงเรื่องความศรัทธา หนูมีคุณตาคุณยายที่เป็น คนศรัทธามากๆ ท่านเตือนหนูเสมอว่าให้ไปวัด วันอาทิตย์ และวันฉลองส�ำคัญ แต่ไปท�ำไมล่ะ? หนูเกิดค�ำถามขึ้นมาบ่อยๆ ทั้งไม่อยากตื่นเช้า ต้องไปเรียนพิเศษอีก ไหนจะต้องท�ำการบ้าน แต่สุดท้ายหนูก็เลือกไปวัด ทุกครั้งที่หนูร่วมพิธี

มิสซาในวัด หนูรู้สึกสบายใจ มีความสุข เหมือนกับว่าพระเยซูเจ้าคอยอยู่ ข้างๆ หนู และปลอบใจในสิ่งที่หนูก�ำลังเป็นกังวล บางเรื่องที่หนูบอกใคร ไม่ได้ หนูแอบที่จะบอกพระองค์ด้วยในบางครั้ง ถึงจะไม่ได้ยินเสียงใครตอบ กลับมาแต่ก็รู้สึกสบายใจมากๆ เวลาที่มีปัญหาใหญ่และต้องการค�ำแนะน�ำ จากใครบางคน หนูมักจะได้ยินพระวาจาของพระเจ้าเป็นค�ำตอบที่ตรงกับ ปัญหาที่หนูก�ำลังพบอยู่พอดี หนูดีใจมากเพราะนอกจากจะท�ำให้หนู แก้ปัญหาได้แล้ว ยังเอามาเป็นแนวทางในชีวิตได้อีกด้วย และเมื่อเวลา กลับมาจากวัด ที่บ้านของหนูยังมีบรรยากาศที่อบอุ่นมากๆ ทุกคนยิ้มแย้ม มีความสุข ไม่น่าเชื่อว่าเราจะพูดคุยกันถึงพระวาจาและบทเทศน์ที่พึ่งได้ยิน มาจากวัด บางเรื่องที่ฟังคุณพ่อเทศน์แล้วไม่เข้าใจ หนูจะเอากลับมาถาม คุณตาคุณยาย ท่านแสดงออกว่าดีใจมากและจะเริ่มอธิบายอย่างละเอียด อีกครั้ง หนูรู้สึกได้เลยว่ามันเป็นความอบอุ่นที่ได้รับจากการที่ทุกคนใน ครอบครัวไปวัดด้วยกัน ซึ่งถ้าหนูเลือกที่จะตื่นสาย หรือเลือกที่จะไปเรียน พิเศษ แล้วขาดวัดวันอาทิตย์ หนูอาจจะได้สิ่งที่หนูพอใจ แต่หนูอาจจะ ไม่ได้มีส่วนในความสุขกับครอบครัวของหนูในวันพระเจ้าก็เป็นได้ ทั้งหมด ที่ได้แบ่งปันมานี้ หนูคิดว่ามันคือของขวัญที่หนูได้รับจากพระเจ้า ไม่ใช่ เพราะเป็นการตอบแทนที่หนูควรได้รับจากการเลือกไปวัด แต่เป็นความสุข ที่พระเจ้าให้หนูด้วยความรักและยังอวยพรทุกคนในครอบครัวของหนูด้วย แม้ว่าความรู้สึกขี้เกียจไม่อยากไปวัดมันอาจจะเกิดขึ้นมาอีก แต่เมื่อคิดถึง ความสุขและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการไปวัดแล้ว หนูคิดว่า หนูจะพยายาม ซื่อสัตย์ในการไปร่วมมิสซาทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองค่ะ ปลายฝน - สุชานันท์ ทองทา อายุ 15 ปี

การที่หนูได้เข้าวัดและร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ท�ำให้หนู มีความศรัทธา ได้ใกล้ชิดกับพระเจ้า และได้รับพระคุณต่างๆ มากมาย การไปร่วมมิสซาท�ำให้หนูได้คุยกับพระ ได้พบปะกับคนที่รู้จัก ส่วนคนที่ ไม่รู้จักหนูก็ยิ้มให้เขา ตอนนี้หนูเป็นผู้ฝึกหัดของคณะซิสเตอร์คณะหนึ่ง พระให้ของขวัญแก่หนูคือ เวลาไปวัดวันอาทิตย์ หนูได้เจอกับแม่และน้อง ที่มาวัดด้วย หนูดีใจมากเมื่อเห็นแม่มาวัดกับน้อง เราทั้งสามคนรวมพลัง กันที่วัด หนูสวดและขอพรให้ครอบครัวทุกวัน แต่บางทีหนูก็ขี้เกียจ ไม่ อยากตื่นแต่เช้า ไม่มีแรงร้องเพลงหรือสวดภาวนา บางครั้งในฤดูฝนพื้นก็ เฉอะแฉะไม่สะดวก ไม่มีสมาธิ แต่หนูก็รู้ตัวว่าต้องไม่ปล่อยตัว พยายาม ท�ำตัวให้กระตือรือร้น หนูไม่อยากให้เวลาในการร่วมพิธีกรรมผ่านไปเฉยๆ ผลที่ได้รับก็คือ หนูรู้สึกอบอุ่นใจที่รู้ว่าพระเจ้ารักหนูและพระองค์มาสถิต ในใจ ท�ำให้หนูมีความเชื่อและความศรัทธามากขึ้น แป้ง - พิชชานันท์ สุพันธ์มาตย์ อายุ 16 ปี 06 Sep - Oct 2018


dbBulletin

ส�ำหรับผมการไปร่วมมิสซาคือการท�ำ หน้าที่ของคริสตชนที่ดี คุณพ่อคุณแม่และโดย เฉพาะคุณย่าของผมคอยปลูกฝังให้ผมรู้ว่าการ มาร่วมมิสซาเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมาก ผมได้รับหลาย สิ่งจากการไปร่วมมิสซา อย่างแรกเลยคือรู้ว่าใน สัปดาห์นั้นมีฉลองอะไรหรือมีอะไรส�ำคัญ ย่าของผมเป็นคนที่ติดตามข่าวสารของวัดอย่าง ใกล้ชิดรู้ว่าวันนั้นเป็นวันฉลองอะไรเสมอ ซึ่งย่าก็ ชอบถามผมว่ารู้ไหมว่าวันนี้เป็นวันอะไร

เพราะฉะนั้นผมเลยต้องตั้งใจฟังทุกครั้งเมื่อไปวัด สิ่งที่สองที่ผมได้รับก็คือ การรู้เรื่องราวต่างๆ ในพระวรสาร ด้วยความที่ผมเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ รอเพลินๆ อยู่แล้ว ในช่วงก่อนเริ่มมิสซา ผมจะหยิบพระวรสารเล่มเล็กๆ ของที่วัดมาอ่าน มันช่วยท�ำให้ผมรู้จักพระเยซูเจ้าและได้อ่านเรื่องอุปมา ต่างๆ ผมมีเวลานั่งคิดนั่งท�ำความเข้าใจได้พอสมควรเลยก่อนที่จะเริ่มมิสซา ตอนนี้ผมเริ่มอ่านรอบที่สองแล้ว นอกนั้น การมาร่วมมิสซาเป็นช่วงเวลาที่ ผมวางทุกอย่างลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องปัญหาต่างๆ ในชีวิต และได้ อยู่กับตัวเอง ไตร่ตรองถึงเรื่องต่างๆ ที่ได้พบและคุยกับพระเจ้า ผมขอบคุณส�ำหรับถึงทุกสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม การไปวัด ท�ำให้ผมได้เพื่อนที่ดีเพิ่มขึ้น ได้รู้จักกับเพื่อนต่างโรงเรียน แต่แน่นอนว่า บางครั้งผมก็ไม่ค่อยอยากไปวัด เพราะด้วยความง่วง ความขี้เกียจ หรือมี การบ้านเยอะจากที่โรงเรียน แต่ผมก็มีพ่อแม่ที่คอยกระตุ้นให้ไปวัดทุกๆ วัน อาทิตย์ และจากการไปวัดร่วมมิสซาและอ่านพระวรสารท�ำให้ผมชอบ พระวาจาตอนหนึ่งคือ “ถ้าท่านมีความเชื่อเท่าเมล็ดมัสตาร์ด แล้วพูดกับ ภูเขานี้ว่า 'จงย้ายจากที่นี่ไปที่โน่น' มันก็จะย้ายไป และไม่มีอะไรที่ท่านจะ ท�ำไม่ได้” (มธ 17:20) นี่เป็นพระวาจาซึ่งเป็นบทสรุปความเชื่อของผม โอห์ม - ศรัณย์ ศิริโชติ อายุ 16 ปี

การมาร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณในแต่ละวันหรือวันอาทิตย์ ของหนู นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขเพราะหนูรู้สึกว่าได้พบกับพระเจ้า และได้รับพรจากพระเจ้ามากที่สุด อาจจะได้มากกว่าการสวดภาวนาด้วยซ�้ำ เพราะเวลาสวดภาวนาอาจไม่ค่อยตั้งใจจึงหลับหรือใจลอยบ้าง ตรงกันข้าม หนูพยายามตั้งใจและมีสมาธิในการร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ เพราะ ได้มีส่วนร่วมในการตอบรับและที่ส�ำคัญได้ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าซึ่งหนู ชอบมาก ทุกครั้งที่หนูจะไปรับศีลมหาสนิท หนูจะเตรียมตัวอย่างดี ด้วยการไปแก้บาป เพื่อเชิญให้พระเยซูเจ้าเข้ามาประทับอยู่ในชีวิตของหนู นอกจากนี้การรับฟังพระวาจาพระเจ้า การเทศน์เตือนใจของพระสงฆ์ ยังเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ช่วยให้หนูเข้าใจพระวาจา สามารถน�ำพระวาจา ไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างเหมาะสม และอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นใจ การเป็นเช่นนี้มันไม่ง่ายเสมอไป เนื่องจากใจไม่นิ่ง บางครั้งฟังพระวาจา แล้วก็จ�ำอะไรไม่ค่อยได้ หลับ หรือหลงลืมพระวาจา จึงท�ำให้หนูต้องเริ่มต้น ใหม่ที่จะท�ำให้ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในแต่ละวัน มีอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ที่จะทบทวนพระวาจาในใจและน�ำพระวาจามาปฏิบัติให้ได้ เพราะหนูรู้สึก ว่าพระเจ้าอยู่กับหนูไม่เคยทิ้งไปไหน เตือนใจ และเป็นก�ำลังใจให้กับหนู อยู่เสมอ โบว์ - สุวิสา ทาเทียเพ็ง อายุ 18 ปี 07

Sep - Oct 2018


เสียงเยาวชน

สมัยยังเป็นเด็ก เมื่อถึงเช้าวันอาทิตย์ แม่จะตะโกนเรียกผมให้รีบตื่นมาเตรียมตัวไป ร่วมมิสซา ผมมักจะงอแงอยู่บ่อยๆ เพราะความ รู้สึกในตอนนั้นมันคือความขี้เกียจ อยากนอนต่อ และเกิดค�ำถามว่า ท�ำไมต้องไปวัด ไปแล้วก็ไม่รู้ จะท�ำอะไร มีอะไรสนุกๆ ที่น่าท�ำมากกว่าที่จะไป

ร่วมมิสซาตั้งเยอะ ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยมีค�ำถามแบบเดียวกับผม จนกระทั่งผมได้เรียนค�ำสอน ท�ำให้ผมได้เริ่มเข้าใจความหมายและความ ส�ำคัญของพิธีมิสซามากขึ้น การที่ผมได้รับศีลมหาสนิทและได้เป็นผู้ช่วย มิสซาท�ำให้ผมได้เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมอง เกี่ยวกับพิธีมิสซานั้นใหม่ ค�ำถามเก่าๆ ของผมที่เคยตั้งไว้ตั้งแต่เด็กก็ค่อยๆ หายไป และแทนที่ด้วย ประสบการณ์ใหม่ๆ ขึ้นมา การที่ผมไปร่วมมิสซาที่วัดนั้น มันไม่ใช่แค่ต่าง คนต่างไป พอจบพิธีก็ต่างคนต่างกลับ แต่มันมีความเป็นครอบครัว ความ เป็นสัตบุรุษ และความเป็นคริสตชนอยู่ที่นั่น ผมได้เห็นรอยยิ้ม ความมี น�้ำใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่มอบให้กัน ในบางสัปดาห์จะมีสัตบุรุษ น�ำอาหารมาแบ่งปัน น�ำของมาแจก สิ่งนี้ท�ำให้ผมไปวัดแล้วรู้สึกสุขใจ บางครั้งเมื่อผมไปร่วมมิสซาจะเจอคุณพ่อท่านหนึ่งที่เทศน์โดยเล่า ประสบการณ์ของท่านท�ำให้ผมเข้าใจพระวาจามากขึ้น ผมชอบบทเทศน์ แนวนี้เพราะสะท้อนแนวคิดต่างๆ ซึ่งช่วยท�ำให้ผมเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นด้วย นอกนั้น ผมเป็นคนที่ชอบเดินทางท่องเที่ยว การมีโอกาสไปร่วมมิสซที่วัด อื่นๆ โดยเฉพาะวัดที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาที่ส�ำคัญ ท�ำให้ผมได้ เห็นถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ และสัมผัสถึงบรรยากาศของการร่วมมิสซา ที่อาจมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ผมพบเสมอเวลาไปร่วมมิสซาก็คือ รอยยิ้มของคริสตชนที่มอบให้กัน ลีโอ - รังสี เบญจอนันต์พงศ์ อายุ 18 ปี

REPORT จากข้อมูลการวิจัยเชิงส�ำรวจเพื่อศึกษาการด�ำเนินชีวิตของเยาวชนคาทอลิก อายุระหว่าง 16-20 ปี จ�ำนวน 466 คน โดยสุ่มแบบเจาะจงจากเยาวชนในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สังฆมณฑลเชียงใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี สังฆมณฑลราชบุรี และสังฆมณฑลอุบลราชธานี พบว่า เยาวชนให้ความส�ำคัญกับการไปวัด (โบสถ์) วันอาทิตย์ ร้อยละ 87.34 พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณเป็นพิธีกรรมที่เยาวชนมีความประทับใจมากกว่าร้อยละ 36.48 และ เยาวชนจ�ำนวนร้อยละ 71.62 เห็นว่า การร่วมพิธีมิสซาท�ำให้จิตใจดีขึ้น มีความสบายใจ และมีสมาธิ ที่มา : วรสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม (พ่อวัชศิลป์ หน้า 63-74) ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2009 / 2552 08 Sep - Oct 2018


dbBulletin

สัมภาษณ์คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ By... Mr.Privillege

บทสัมภาษณ์

คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์

ที่ปรึกษาของคุณพ่ออัคราธิการ ประจ�ำภาคพื้นเอเชียตะวันออก และโอเชียเนีย “ชายวัยกลางคน หน้าตาฝรั่ง สวมเสื้อ กีฬาใส่กางเกงขาสั้นก�ำลังเล่นบาสเกตบอลอยู่ กับเด็กๆ ที่สนามของโรงเรียนซาเลเซียนที่หัวหิน ด้วยความสนุกสนาน” แวบแรกที่เห็นก็ท�ำให้ผม รู้สึกประทับใจในตัวชายผู้นี้แล้ว เพราะแม้ตัวเขา และผู้เล่นอื่นจะไม่สามารถสื่อสารกันได้ด้วย ค�ำพูดเพราะข้อจ�ำกัดด้านภาษา แต่เขาก็สื่อสาร กันด้วยหัวใจในแบบซาเลเซียน นี่เป็นความ ประทับใจแรกที่ผมเห็นชายคนนี้เมื่อหลายปีก่อน

ชื่อของท่านก็คือ “คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์” ที่ปรึกษาอัคราธิการประจ�ำ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ใครจะคิดว่าผู้ใหญ่ของคณะจะมาอยู่ ใกล้ชิดกับเด็กๆ และเยาวชนด้วยความเป็นกันเองโดยไม่ถือตัวขนาดนี้ สมาชิกซาเลเซียนแขวงนักบุญเปาโล ประเทศไทย ซึ่งประกอบ ไปด้วยประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวมีความยินดีขอต้อนรับคุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ที่มาตรวจ เยี่ยมแขวงในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ค.ศ.2018 การมาของ คุณพ่อเป็นพระพรส�ำหรับสมาชิกซาเลเซียนทุกคน รวมทั้งสมาชิกใน ครอบครัวซาเลเซียนด้วย โอกาสนี้นิตยสารดอนบอสโกขอน�ำท่านไปรู้จักกับ คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ผ่านทางการสัมภาษณ์ในโอกาสที่ท่าน มาตรวจเยี่ยมแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ สัญชาติ : เชค เกิด : 07-10-1958 ปฏิญาณตนครั้งแรก : 04-09-1982 บวชพระสงฆ์ : 25-05-1986 หน้าที่ -อธิการ (กรุงโซล, ค.ศ. 1993-1996) -เจ้าคณะแขวงเกาหลีใต้ (ปี ค.ศ.1993-2002) -ที่ปรึกษาอัคราธิการในภูมิภาคเอเชียตะวันออก - โอเชียเนีย (ค.ศ. 2002-2008) -ที่ปรึกษาอัคราธิการซาเลเซียน ฝ่ายงานธรรมทูต (ค.ศ. 2008-2014) -ที่ปรึกษาอัคราธิการในภูมิภาคเอเชียตะวันออก - โอเชียเนีย (ค.ศ.2014 จนถึงปัจจุบัน) ภาษาในการสื่อสาร : เชค สโลกวัก เกาหลีใต้ อิตาเลี่ยน อังกฤษ 09

Sep - Oct 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์

สามชั่วอายุคน ตัวพ่อเองมีพี่น้องทั้งสิ้น 4 คน พ่อเป็นลูกชายคนโต บิดา ของพ่อเป็นช่างไฟ ส่วนคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อปี ค.ศ.1986 พ่อถูกส่งมาเป็นธรรมทูตที่ประเทศเกาหลี ส�ำหรับพ่อแล้วประเทศเกาหลีเป็นเหมือนบ้านเกิดที่สองของพ่อ พ่อท�ำงาน อยู่ที่นี่จนถึงปี ค.ศ.2002 จากนั้นพ่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา ของคุณพ่ออัคราธิการประจ�ำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย (EAO) ในปี ค.ศ.2002-2008 เวลานี้พ่อรับหน้าที่นี้อีกครั้งนับเป็นครั้งที่สอง ซึ่งมีวาระตั้งแต่ปี ค.ศ.2014-2020 ส่วนในระหว่างปี ค.ศ.2008-2014 พ่อได้รับเลือกให้ท�ำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาฝ่ายงานธรรมทูตของคณะ ด้วยหน้าที่นี้ท�ำให้พ่อได้เดินทางไปเยี่ยมสมาชิกและเห็นกิจการซาเลเซียน ในประเทศต่างๆ มากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก 1.ขอคุณพ่อช่วยแนะน�ำตนเอง? ก่อนอื่นหมด พ่อรู้สึกดีใจที่ได้ตอบการ สัมภาษณ์ของนิตยสารดอนบอสโกซึ่งเป็นโอกาส ให้พ่อได้ทักทายพี่น้องสมาชิกในครอบครัว ซาเลเซียนในประเทศไทยด้วย พ่อชื่อวาคลาฟ เคลเมนต์ (Fr. Václav KLEMENT) เกิดที่ประเทศ เชคโก สโลวาเกียเมื่อ 60 ปีที่แล้วในครอบครัวคาทอลิก ญาติพี่น้องในตระกูลของพ่อมีอาชีพเป็นครูมาถึง

10

Sep - Oct 2018

2. กระแสเรียกของคุณพ่อเริ่มต้นอย่างไร? กระแสเรียกของพ่อนั้นเป็นผลมาจากความเชื่อที่เข้มแข็งของกลุ่ม คริสตชนของวัดที่เบอร์โน (Brno) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพ่อ แม้ว่าในเวลานั้น รัฐบาลคอมมิวนิสต์จะเข้มงวดเรื่องกิจกรรมทางศาสนาแต่ที่วัดของพ่อก็มี กลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่มีชีวิตชีวาและเข้มแข็ง เช่น กลุ่มลูกเสือ กลุ่มเด็ก ผู้ช่วยมิสซา กลุ่มนักขับร้องและกลุ่มเยาวชน ส่วนตัวพ่อนั้นโชคดีที่ได้รับ ค�ำแนะน�ำและได้รับการติดตามดูแลจากบรรดาพระสงฆ์พื้นเมืองที่มีความ กระตือรือร้น พวกเขาสอนพ่อให้มีชีวิตจิตที่เข้มแข็ง ส่วนบรรดานักบวชคณะต่างๆ รวมทั้งบรรดาซาเลเซียนไม่สามารถ ท�ำงานได้อย่างเปิดเผยเนื่องจากสาเหตุทางการปกครองในระบอบ


dbBulletin คอมมิวนิสต์ ในเวลานั้นมีสมาชิกซาเลเซียน ที่ท�ำงานอยู่ในประเทศของพ่อประมาณ 400 คน มีแขวงซาเลเซียน 2 แขวง แต่พวกเขาไม่สามารถ เปิดบ้านหรือท�ำกิจการของคณะอย่างเป็น ทางการได้ พวกเขาช่วยงานอยู่ตามวัดและดูแล กลุ่มเยาวชนซึ่งท�ำให้มีกระแสเรียกเพิ่มขึ้น มากมาย พ่อได้รู้จักกับซาเลเซียนเมื่อพ่ออยู่ใน บ้านเณรของสังฆมณฑลปีแรก ต่อมาพ่อได้ ตัดสินใจเข้าคณะซาเลเซียนโดยได้รับการอบรม แบบลับๆ เรื่อยมาจนในที่สุดพ่อก็ได้ปฏิญาณตน ครั้งแรก 3.ทราบมาว่าคุณพ่อเคยเป็นธรรมทูตที่ ประเทศเกาหลีใต้ อะไรคือแรงบันดาลใจ ของการเป็นธรรมทูต? พ่อไม่เคยมีความคิดที่จะเป็นธรรมทูต มาก่อนเลย จนวันหนึ่งคุณพ่อเจ้าคณะได้ให้ โอวาทก่อนนอนในช่วงเวลาเข้าเงียบโดยพูดถึง “โครงการแอฟริกา” (เริ่มในปี ค.ศ.1978) ใน เวลานั้นพ่อยังเป็นซาเลเซียนผู้เยาว์อยู่ คุณพ่อ เจ้าคณะได้พูดถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น ธรรมทูตไว้ว่า จะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพที่ดี

สามารถเรียนภาษาต่างประเทศได้และมีจิตใจร้อนรนที่พร้อมจะแบ่งปัน ความเชื่อให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นคริสตชน หลังจากที่พ่อได้ฟังโอวาทนั้นแล้ว พ่อนอนไม่หลับเลย สองปีต่อมา ด้วยความช่วยเหลือของเครือข่ายซาเลเซียน พ่อสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ โดยเดินทางข้ามเทือกเขาแอลป์ ในเวลากลางคืนเพื่อมาที่ประเทศอิตาลี และก่อนหน้าที่พ่อจะรับศีลบวช เป็นพระสงฆ์ที่กรุงโรมในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1986 นั้น พ่อได้รับ มอบหมายให้ไปเป็นธรรมทูตที่ประเทศเกาหลีใต้แล้ว พ่อเดินทางไปถึง กรุงโซลในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1986 4.คุณพ่อคิดว่าเยาวชนในปัจจุบันนี้โดยเฉพาะในภาคพื้นเอเชีย ตะวันออกและโอเชียเนียเป็นอย่างไร? พ่อคิดว่าเยาวชนส่วนมากซึ่งพ่อได้พบใน 23 ประเทศของภูมิภาค เอเชียตะวันออกและโอเชียเนียมีชีวิตอยู่ในสถานการณ์ทางวัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีเยาวชนอีกมากที่ยัง ไม่รู้จักกับพระเยซูเจ้าและมีประสบการณ์กับกลุ่มคริสตชน พ่อเห็นเยาวชน หลายคนพยายามดิ้นรนเพื่อจะมีชีวิตที่ดีกว่า หลายคนได้ย้ายถิ่นฐานไปยัง ประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม มีเยาวชนจ�ำนวนไม่น้อยในภูมิภาคของเราที่ได้ รู้จักกับบรรดาซาเลเซียนและบุคคลที่อยู่ในครอบครัวของคุณพ่อบอสโก การที่พวกเขาได้พบกับเราซาเลเซียนท�ำให้ได้รู้จักกับพระเยซูเจ้าเป็น ครั้งแรกด้วย

11

Sep - Oct 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์

5.เราจะส่งเสริมกระแสเรียกซาเลเซียนได้ อย่างไร? การส่งเสริมกระแสเรียกนั้นเป็นหน้าที่ แรกของพวกเราทุกคน เราสามารถส่งเสริม กระแสเรียกได้ด้วยการภาวนา การแบ่งปันชีวิต และความเป็นมาของกระแสเรียกของเรา เราต้อง ช่วยเยาวชนให้เข้าใจว่าพระเจ้าทรงมีแผนการ พิเศษส�ำหรับพวกเขาแต่ละคน ยังมีเยาวชน จ�ำนวนมากที่ยังไม่รู้ถึงรูปแบบต่างๆ ของกระแส เรียกในพระศาสนจักร เช่น กระแสเรียกภราดา กระแสเรียกพระสงฆ์ กระแสเรียกธรรมทูต กระแสเรียกครูค�ำสอน กระแสเรียกซาเลเซียน ผู้ร่วมงาน รวมทั้งกระแสเรียกอื่นๆ ที่เป็นการ อุทิศตนเพื่อพระเจ้าและเพื่อผู้อื่นอีกหลาย รูปแบบ สิ่งส�ำคัญก็คือเราต้องติดตามและร่วม ทางไปกับเยาวชนเป็นรายบุคคลเสมอ นี่เป็น หน้าที่ที่ส�ำคัญมาก อย่าลืมว่าหากปราศจาก คุณพ่อกาฟัสโซแล้วก็คงไม่มีคุณพ่อบอสโก เช่นกัน! 6.คุณพ่อมีหน้าที่อะไรบ้างในฐานะเป็นที่ ปรึกษาของอัคราธิการประจ�ำภาคพื้นเอเชีย ตะวันออกและโอเชียเนีย? ตามพระวินัยของคณะซาเลเซียน ข้อที่ 140 กล่าวถึงหน้าที่หลักของที่ปรึกษา ประจ�ำภูมิภาคว่ามีหน้าที่ในการร่วมเดินไปกับ สมาชิกของแขวงต่างๆ บทบาทหลักของพ่อก็คือ การเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคุณพ่ออัคราธิการ

กับทั้ง 12 แขวงซึ่งมีบรรดาเจ้าคณะแขวงเป็นผู้น�ำ นอกนั้นพ่อยังมีหน้าที่ ช่วยให้คณะที่ปรึกษารู้จักสภาพของภารกิจและสถานการณ์ของแขวงต่างๆ ในภูมิภาคนี้ด้วย การร่วมเดินไปด้วยกันนี้หมายถึงการเดินไปพร้อมกัน กับทุกแขวงผ่านทางการที่พ่อติดต่อประสานงานกับคุณพ่อเจ้าคณะเป็น ประจ�ำและผ่านทางการไปเยี่ยมแขวงต่างๆ ประจ�ำปีในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อปลุกเร้าใจด้วย 7.ขอคุณพ่อช่วยสรุปภาพรวมของซาเลเซียนในภาคพื้นเอเชีย ตะวันออกและโอเชียเนีย (EAO) ? ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย เป็น 1 ใน 7 ภูมิภาค ที่แบ่งตามการปกครองของคณะซาเลเซียนในปัจจุบันซึ่งประกอบไปด้วย แขวงซาเลเซียน 12 แขวง และ 5 กิ่งแขวง (delegations) รวมทั้งสิ้น 23 ประเทศ ในจ�ำนวนนี้มีบางประเทศที่ก�ำลังเริ่มต้นกิจการใหม่หลายแห่ง และซาเลเซียนมีบทบาทในการช่วยก่อตั้งพระศาสนจักรท้องถิ่น ตัวอย่าง เช่น ประเทศมองโกเลีย เป็นต้น ในภูมิภาคของเรานี้มีจ�ำนวนสมาชิก ประมาณ 1,440 คน มีบ้านซาเลเซียนจ�ำนวน 200 แห่ง (โรงเรียน ศูนย์ ฝึกอาชีพ วัด งานสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ) และมีจ�ำนวนนวกชนเฉลี่ยปีละ 70 คน ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาภูมิภาคของเรามีสถิติของจ�ำนวนซาเลเซียน ที่สมัครไปเป็นธรรมทูตยังต่างแดนสูงที่สุดในคณะ สรุปโดยภาพรวมแล้ว ถือว่าสมาชิกซาเลเซียนในภูมิภาคนี้อยู่ในวัยหนุ่ม และสมาชิกที่เป็นผู้น�ำ ในหมู่คณะหรือในแขวงส่วนใหญ่ก็เป็นคนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ชาวต่างชาติ 8.สิ่งที่เป็นจุดเด่นของซาเลเซียนในภาคพื้นเอเซียตะวันออกและ โอเชียเนีย โดยเฉพาะในประเทศไทย? จุดเด่นของซาเลเซียนในภูมิภาคของเราก็คือ จิตตารมณ์ครอบครัว ความรักในคุณพ่อบอสโก ความมั่นคงในกระแสเรียกและการอุทิศตนเป็น ธรรมทูตไม่ว่าจะในประเทศของตนหรือจะเป็นธรรมทูต “ad gentes” ที่ คุณพ่ออัคราธิการเป็นผู้ส่งไป จุดเด่นส�ำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งเราสามารถเห็นได้ชัดก็คือ

12

Sep - Oct 2018


dbBulletin

การร่วมมือและการเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันใน ระหว่างแขวง เช่น ความร่วมมือในด้านการ อบรม การแลกเปลี่ยนบุคลากร การส่งธรรมทูต มาช่วยงานแบบชั่วคราว และการสร้างหมู่คณะ บุญราศีแซนดอร์เพื่ออบรมภราดาซาเลเซียนที่ ปาราญาเก ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น 9.สิ่งที่ท้าทายซาเลเซียน โดยเฉพาะใน ประเทศไทย? ส�ำหรับเราแล้วการท้าทายไม่ว่าจะใน ระดับภูมิภาคหรือในระดับแขวงเป็นโอกาสที่ยิ่ง ใหญ่เสมอ สิ่งแรกที่ท้าทายเราก็คือการเติบโตใน การเป็นสาวกและธรรมทูตของพระเยซูเจ้าด้วย หัวใจแบบคุณพ่อบอสโก เราทุกคนมีหน้าที่รักษา และท�ำให้ไฟแห่งการเป็นธรรมทูตลุกร้อนอยู่ใน หัวใจของเราเสมอ นี่คือสิ่งส�ำคัญประการแรก ส่วนการท้าทายอีกประการหนึ่งก็คือการท�ำงาน ร่วมกันและเดินไปพร้อมกับบรรดาฆราวาส จ�ำนวนมากที่ร่วมงานกับเรา ด้วยความคิดและ ความรู้สึกเช่นนี้ท�ำให้เราซาเลเซียนทุกคนใน ภูมิภาค EAO ให้ความสนใจกับหัวข้อของการ ประชุมสมัชชาของคณะซาเลเซียนครั้งที่ 28 (ค.ศ.2020) ที่ว่า “ซาเลเซียนน่าจะเป็นแบบไหน ส�ำหรับเยาวชนทุกวันนี้?” หัวข้อดังกล่าวนี้ มุ่งไปที่การเติบโตอย่างต่อเนื่องของซาเลเซียน แต่ละคน

10.ความฝันของคุณพ่อในฐานะที่ปรึกษาฯ? ซาเลเซียนมีความฝันเสมอดังเช่นคุณพ่อบอสโก พ่อในฐานะที่เป็นที่ ปรึกษาประจ�ำภูมิภาค EAO พ่อก็มีความฝันในเรื่องต่อไปนี้ คือ 1.ความเข้มแข็งของกระแสเรียกภราดาซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศที่ยังไม่มีกระแสเรียกนี้เลย 2.การพัฒนาคุณภาพในการอบรมเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ท�ำให้ระบบป้องกันของคุณพ่อบอสโกหยั่งรากลึกเข้าสู่วัฒนธรรม และการมี ความคิดริเริ่มในการประกาศข่าวดี 3.การร่วมมือในพันธกิจกับสมาชิกในครอบครัวซาเลเซียนและกับ ฆราวาส โดยอยู่บนพื้นฐานของการอบรมที่เข้มแข็งร่วมกัน ภูมิภาคของเราได้ เริ่มจัดการอบรมประจ�ำทุกปีเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวตั้งแต่ปี ค.ศ.2017 ที่ปาราญาเก ประเทศฟิลิปปินส์ 4.การเริ่มกิจการใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่ประเทศมาเลเซีย และในภูมิภาคโอเชียเนียที่สาธารณรัฐวานูอาตู (Republic of Vanuatu) 11.สิ่งที่คุณพ่ออยากบอกกับซาเลเซียนแขวงไทย? พ่อเคยมาตรวจเยี่ยมพิเศษแขวงไทยเมื่อปี ค.ศ.2005 นั่นก็คือเมื่อ 13 ปีที่แล้ว เวลานี้พ่อมีโอกาสที่จะได้ท�ำหน้าที่นี้อีกครั้งในนามของคุณพ่อ อัคราธิการเพื่อฟังสมาชิกซาเลเซียนแต่ละคน รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว ซาเลเซียน บรรดาฆราวาสที่ร่วมงานกับเราและบรรดาเยาวชน ส�ำหรับพ่อ แล้วนี่คือโอกาสพิเศษที่จะส่งเสริมความหนึ่งเดียวในแขวงซาเลเซียนนักบุญ เปาโล (ประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว) กับหมู่คณะซาเลเซียนทั่วโลกและกับคุณพ่ออัคราธิการ การฟังชีวิตและรับรู้ถึงงานของเรานี้ก่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันและสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดี db

13

Sep - Oct 2018


แก่นซาเลเซียน By... บ.สันติสุข

ถึงแก่น

ทุกวันนี้ โซเชียลเน็ตเวิร์คกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่ที่เปิดอยู่ตลอด เวลา ให้ข้อมูล ให้รูปภาพ ให้ภาพเคลื่อนไหว แม้กระทั่งเสียงพูดคุย เสียง เพลง เป็นหนังสือเล่มใหญ่ที่ผู้คนสามารถเข้าไปรับรู้ข้อมูลและให้ข้อมูลได้ ในเวลาเดียวกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะมองหนังสือเล่มใหญ่นี้อย่างไรซึ่งจะ ท�ำให้หนังสือเล่มใหญ่นี้เป็นประโยชน์หรือไร้ค่า สร้างสรรค์หรือท�ำลาย ที่แน่ๆ คือหนังสือเล่มใหญ่นี้อยู่ที่นั่น เพียงแค่เปิดเครื่องมือสื่อสารที่มีก็ สามารถเข้าถึงได้ทันที อย่างเช่นข้อความที่แชร์กันเมื่อไม่นานมานี้ “คริสเตียนไม่ใช่ ศาสนาของฉัน แต่เป็นความสัมพันธ์ของฉันกับพระเจ้า” ส�ำหรับบางคน แค่ผ่านตา อีกบางคนอาจแค่ได้อ่าน แต่ถือได้ว่าเป็นข้อความที่ลึกซึ้ง ชวนให้คิด สะกิดใจ และชวนให้ย้อนกลับมาทบทวนว่าที่ผ่านมาศาสนา ที่เลื่อมใสยึดถือมาเนิ่นนานนั้น ยังเป็นแค่ศาสนาของฉัน เป็นศาสนาที่ ฉันนับถือ เป็นศาสนาที่ฉันสังกัด เป็นศาสนาที่ฉันเป็นศาสนิกชน...หรือ 14

Sep - Oct 2018

เป็น “ความสัมพันธ์” ของฉันกับพระเจ้า เป็น ความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมชีวิตฉันทั้งชีวิต... จิตใจ ร่างกาย ความคิด ทัศนคติ การเป็นการ กระท�ำ ฯลฯ ที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ของฉันกับ พระเจ้า เหมือนความสัมพันธ์ของสองคนที่รักกัน ที่ครอบคลุมชีวิตความเป็นอยู่ทั้งสิ้นทั้งครบของ ทั้งสอง จากความสัมพันธ์ที่ศาสนิกชนมีกับ พระเจ้า “ศาสนกิจ” ทั้งหลายทั้งปวงก็ตามมา ศาสนกิจจึงไม่ใช่ศาสนกิจในตัวมันเอง แต่เป็น วิธีการและการแสดงออกของความสัมพันธ์ที่ ศาสนิกชนมีกับพระเจ้า ดังเช่นความรักของสอง บุคคลที่รักกัน ความรักในตัวมันเองไม่มี หาก แต่เป็นแค่นามธรรม แต่พอสองคนที่รักกัน แสดงออกซึ่งความรู้สึกดีๆ ต่อกัน ความ ปรารถนาอยากให้อีกฝ่ายมีความสุข ความตั้งใจ จะเติมเต็มชีวิตกันและกัน เมื่อนั้นแหละความรัก จึงเกิดขึ้น เป็นตัวเป็นตน เป็นรูปธรรม


dbBulletin ความสัมพันธ์ของศาสนิกชนกับพระเจ้า เป็นความสัมพันธ์แห่งความรัก เพราะพระเจ้า ทรงเป็นความรัก ความรักที่ท�ำให้พระเจ้าผู้ทรง ฤทธิ์ พระผู้สร้าง ทรงท�ำพระองค์เป็นพระบิดา จากความสัมพันธ์ระหว่างพระผู้สร้างกับสิ่งสร้าง มาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก ที่ส่งผล ไปถึงศาสนกิจทุกรูปแบบ ให้เปลี่ยนจาก ศาสนกิจเป็นกิจการแห่งการกราบไหว้ เคารพ ย�ำเกรง ยกย่องบูชา พินอบพิเทา อ่อนน้อม ถ่อมตัว เอาอกเอาใจด้วยเครื่องบูชาหลากหลาย รูปแบบ มาเป็นกิจการแห่งความรัก ความรู้คุณ ความชื่นชม ความอบอุ่นใจ...สะท้อนให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตราบใดที่ศาสนกิจเป็นแค่พิธีกรรม และข้อปฏิบัติ แม้จะเคร่งครัดและเลื่อมใสศรัทธา ก็ยังคงเป็นแค่ศาสนกิจ เป็นแค่กิจปฏิบัติที่ พยายามท�ำให้ดีให้ครบ ให้สม�่ำเสมอ ให้เห็น ให้รู้สึกว่าเป็นศาสนิกชน ให้สบายใจได้ว่าท�ำ หน้าที่ศาสนิกชนแล้ว ตราบนั้นก็ยังไม่เข้าถึง แก่นแห่งศาสนา จนกว่าจะเข้าถึงความสัมพันธ์ นั่นแหละ ศาสนกิจจึงมีความหมาย จึงมีคุณค่า เปรียบเหมือนการไหว้เมื่อพบเห็นกัน การไหว้ เป็นแค่พิธีการของการทักทาย แต่เมื่อเป็นการ ไหว้ของสองคนที่มีความสัมพันธ์กัน การไหว้ เปลี่ยนเป็นการแสดงออกของความสัมพันธ์ที่มี และหากเป็นความสัมพันธ์ของคนสองคนที่รัก กัน การไหว้เปลี่ยนจากพิธีการเป็นแสดงออก ของความรัก...เป็นความรักที่เป็นรูปธรรม คนที่มีความสัมพันธ์กัน คนที่รักกัน แม้จะมีการแสดงออกของความสัมพันธ์และ

ความรักเหมือนกัน แต่ด้วย “วิธีการ” และ “รูปแบบ” ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนิสัยใจคอ บุคลิกภาพ ภูมิหลัง อารมณ์...ฉันใด ความสัมพันธ์และ ความรักของศาสนิกชนที่มีกับพระเจ้าก็มี “วิธีการ” และ “รูปแบบ” ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับนิสัยใจคอ บุคลิกภาพ ภูมิหลัง อารมณ์...ก็ฉันนั้น วิธีการและรูปแบบการแสดงออกแห่งความสัมพันธ์และความรัก ของศาสนิกชนที่มีกับพระเจ้านี้ ในบริบทของคริสตศาสนาเราเรียกกันว่า “Christian spirituality” หรือ “ชีวิตจิตคริสตชน” ก่อนที่จะมีการศึกษาและ ค้นพบวิธีการและรูปแบบการด�ำเนิน “ชีวิตจิตคริสตชน” ในรายละเอียด และปลีกย่อยที่หลากหลาย อาทิเช่น Salesian spirituality, Franciscan spirituality, Ignatius spirituality เป็นต้น Salesian spirituality หรือ ชีวิตจิตซาเลเซียน จึงเป็นวิธีการ และรูปแบบการแสดงออกแห่งความสัมพันธ์และความรักซาเลเซียนที่มี กับพระเจ้า ซึ่งจะเป็นเนื้อหาของบทความในคอลัมน์ “แก่นซาเลเซียน” อย่างต่อเนื่อง db

15

Sep - Oct 2018


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

ข่าวซาเลเซียน

ฉลอง 50 ปีและ 25 ปีแห่งชีวิตซาเลเซียนสงฆ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.2018 คณะซาเลเซียนแขวงไทยจัดฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตซาเลเซียนสงฆ์ของคุณพ่อ วาเลนติโน โซซิโอ และ ฉลอง 25 ปี แห่งชีวิตซาเลเซียนสงฆ์ของคุณพ่อเปาโล ประเสริฐ สมงาม และคุณพ่อซีโมน บัญชา กิจประเสริฐ ที่วัดนักบุญยอห์น บอสโก กรุงเทพ โดยพระคุณเจ้าโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีลเป็นประธาน พระคุณเจ้าได้ให้ ข้อคิดจากบทอ่านของหนังสือประกาศกเยเรมีย์และจากพระวรสารเรื่องข้าวละมานว่า 1.การเข้าไปในพระวิหารเพื่อภาวนาและ ถวายคารวกิจเป็นสิ่งดี แต่ผู้เข้าไปต้องต้องประพฤติตนให้เหมาะสม พระสงฆ์ที่ถวายบูชาต้องมีชีวิตที่ดีด้วย 2.ประกาศกคือผู้ที่ ประกาศวาจาของพระเจ้า ไม่ใช่วาจาตนเอง อาจมีผู้ที่ฟังพระวาจาของพระเจ้าแล้วรู้สึกจะระคายหู แต่พระสงฆ์ผู้ประกาศพระวาจา ก็มีหน้าที่ประกาศต่อไป 3.ประกาศกอาจไม่ได้รับการต้อนรับ แต่อย่าท้อใจ 4.จากเริ่องของข้าวละมานสอนเราเราว่า พระสงฆ์ ต้องให้โอกาสและต้อนรับคนบาปเสมอ 5.โอกาสฉลอง 50 ปีและ 25 ปีแห่งชีวิตซาเลเซียนสงฆ์เป็นไครอส นั่นคือเวลาแห่ง พระพร ขอให้เป็นโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวซาเลเซียนมีความยินดีร่วมกันในวันนี้ ในตอนท้ายของมิสซา คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะแขวงฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีและมอบของที่ระลึกให้กับคุณพ่อทั้งสามท่าน จากนั้นรับประทานอาหารร่วมกัน ในบรรยากาศครอบครัว อนึ่งคุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ เป็นสงฆ์ธรรมทูต ท�ำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1956 จนถึงปัจจุบันรวม 62 ปี ปัจจุบันประจ�ำบ้านเณรนาซาเรท ส่วนคุณพ่อประเสริฐ สมงาม เป็นอดีตเจ้าคณะฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2011-2017 ปัจจุบันเป็น เจ้าอาวาสวัดน.ยอแซฟถ�้ำสิงห์ และคุณพ่อบัญชา กิจประเสริฐ ปัจจุบันเป็นอธิการที่โรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ ด้วยรู้คุณต่อคุณพ่อวิสเซอร์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.2018 บรรดาศิษย์เก่าของโรงเรียน อาชีวะดอนบอสโก พนมเปญ ได้จัดงานแสดงความรู้คุณและอวยพรวันเกิด ปีที่ 86 ให้กับคุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ (วันเกิด 2 สิงหาคม) โดยในภาคเช้า มีการแสดงต่างๆ บนเวทีและศิษย์เก่าได้น�ำข้าวสารและอุปกรณ์ของใช้มา บริจาคให้กับโรงเรียนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนรุ่นปัจจุบัน ส่วนในตอนค�่ำ มีการเลี้ยงสังสรรค์โดยมีศิษย์เก่ามาร่วมงานจ�ำนวนมาก การฉลองดังกล่าว เป็นโอกาสที่บรรดาศิษย์เก่าของโรงเรียนได้มาพบกันด้วย อนึ่ง คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ เป็นธรรมทูตที่ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 จนถึงปัจจุบัน รวมเวลา 26 ปี โดยก่อนหน้านี้ ปี ค.ศ.1991 คุณพ่อวอลเตอร์ บริโกลินและภราดาโรเบิร์ต ปาเนตโต เป็นธรรมทูตซาเลเซียน 2 ท่านแรกในประเทศกัมพูชา 16

Sep - Oct 2018


dbBulletin พิธีบูชาขอบพระคุณปลงศพคุณแม่อันนา เหมิด เมื่อวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม ค.ศ.2018 คุณพ่อพล เนตรธรรม เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณปลงศพของคุณแม่อันนา เหมิด มารดา ของคุณพ่อประเสริฐ สมงาม ร่วมกับคุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะแขวง ซาเลเซียน สมาชิกซาเลเซียน พระสงฆ์ นักบวชและสัตบุรุษที่มาร่วมกัน ภาวนาเพื่อดวงวิญญาณของคุณแม่ ณ อาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์ จ.อุดรธานี วันผู้ปกครองที่ดอนบอสโกบางสัก เมื่อวันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.2018 บ้านดอนบอสโกบางสัก จ.พังงา ได้จัดงานประชุมผู้ปกครองประจ�ำปีและจัดงานวันแม่เพื่อให้ลูกๆ ได้แสดงความรู้คุณต่อบุพการี ณ หอประชุมใหญ่ของบ้าน เริ่มต้นงานด้วยวจนพิธีกรรมเปิด โดยนางสาวสุรารักษ์ ไชยนิรมล ผู้อ�ำนวยการฯ เป็นผู้น�ำการภาวนา จากนั้นได้มีการประชุมและมีพิธีการ วันแม่ รวมทั้งมีการแสดงของลูกๆ ด้วย หลังจบพิธีการต่างๆ ได้มีการ รับประทานอาหารเที่ยงพร้อมกันในบรรยากาศครอบครัว

ฉลองนักบุญดอมินิก ซาวีโอ เมื่อวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.2018 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก กรุงเทพฯ จัดงานวัน ฉลองนักบุญดอมินิก ซาวีโอ องค์อุปถัมภ์ของ โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนระลึกถึงความดีของท่าน และยึดแบบอย่างของท่านในการเป็นเยาวชนทีด่ ี โดยมีพิธีบูชาขอบพระคุณ การแสดงละคร เทิดเกียรตินกั บุญดอมินกิ การประกวดดอมินกิ น้อย และในตอนท้ายได้มีการแห่รูปนักบุญดอมินิก รอบโรงเรียน จากนั้นคุณครูและนักเรียนถวาย พวงมาลัยดอกไม้ให้กับท่านนักบุญ ส่วนใน ภาคบ่ายมีการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ครู และนักเรียน

นักกีฬาโกลบอลเก็บตัวฝึก ซ้อมสู่เอเชียนพาราเกมส์ 2018 เดือนสิงหาคมถึงเดือน ตุลาคม นักกีฬาโกลบอลทีม ชาติไทยเก็บตัวฝึกซ้อมที่ศูนย์ พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อเตรียม ตัวเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อ ไปแข่งขัน “เอเชียนพาราเกมส์ 2018” (The 2018 Asian Para Games) ที่ประเทศอินโดนีเซียในระหว่างวันที่ 6-13 ตุลาคม ค.ศ.2018 ในทีมนักกีฬาโกลบอลชายทีมชาติไทย มีนักกีฬาซึ่งเป็นศิษย์เก่า ของศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดปากเกร็ดรวมอยู่ด้วยจ�ำนวน 5 คน คือ 1 นายชลธี สุขชุ่ม, 2 นายพรชัย จาดมี, 3 นายนพดล ภูศรีโสม, 4 นายบัญชา ฝั้นค�ำอ้าย 5 นายศิวรินทร์ พรพิรุณ นอกนั้นยังมีศิษย์เก่าของศูนย์ที่เป็นนักกีฬาทีมชาติประเภทอื่นๆ เช่น กีฬาฟุตบอลตาบอดทีมชาติ ได้แก่ นายปัญญาวุฒิ คุพันธ์, นายกิตติกร บัวดี เป็นต้น ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดปากเกร็ด (Skills Development Center for the Blind) ด�ำเนินการโดยคณะซาเลเซียนตั้งแต่ปี 1978 ปัจจุบัน ภราดา สุวรรณ จูทะสมพากร เป็นผู้อ�ำนวยการ 17

Sep - Oct 2018


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

เริ่มการตรวจเยี่ยมของคุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ที่ปรึกษาอัคราธิการภูมิภาค เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย เดินทางมาถึงประเทศไทยเพือ่ ตรวจ เยี่ยมแขวงนักบุญเปาโล ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศไทย กัมพูชา และลาว อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม-31 ตุลาคม ค.ศ.2018 โดยได้รับการต้อนรับอย่างดีจากคุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะแขวง พระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล และสมาชิกซาเลเซียนทุกคน เช้าวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.2018 คุณพ่อได้ประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาของแขวงฯ ส่วนในตอนบ่ายท่านได้เริ่มการเยี่ยมเยียน หมู่คณะต่างๆ ตามก�ำหนดการโดยเริ่มจากวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ ซึ่งได้รับการต้อนรับจากคุณพ่อมานะชัย ธาราชัย อธิการ คณะผู้ใหญ่ คณะครูและนักเรียน จากนั้นคุณพ่อได้ไปตรวจเยี่ยมหมู่คณะซาเลเซียนที่โรงเรียนเซนต์ดอมินิก กรุงเทพฯ ตามด้วย โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย และหมู่คณะอื่นตามก�ำหนดการ การมาของคุณพ่อเคลเมนต์น�ำพระพรมาสู่แขวงและเป็นดังคุณพ่อบอสโก ท่ามกลางเราอย่างแท้จริง

รับมอบรางวัลการแข่งมอเตอร์ไซต์ Yamaha Moto Challenge 2018 แผนกช่างยนต์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง ได้ส่งทีมร่วมแข่งขัน Yamaha Moto Challenge 2018 Yamaha Thailand Racing รุ่น Exciter ที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.2018 ในทีมประกอบไปด้วยผู้จัดการทีม ผู้ช่วย ผู้จัดการทีม ช่างซ่อม และนักแข่ง ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมของวิทยาลัย ได้รับถ้วยชนะเลิศอันดับที่ 1 สนามที่ 2 แผนกช่างยนต์ได้มอบถ้วยรางวัลให้กับวิทยาลัยในโอกาสวันเกิดของคุณพ่อบอสโก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยบาทหลวงพรจิต พูลวิทยกิจ อธิการ บาทหลวงภูวนัส กิจสวัสดิ์ ผู้อ�ำนวยการ ภราดาสารพัน แคเซอ ผู้จัดการ เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยคณะครู และนักเรียนที่ร่วมแสดงความยินดี ศูนย์รับบริจาคโลหิต โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ.2018 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัยร่วมกับ สภากาชาดจังหวัดราชบุรี จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตโดยใช้สถานที่ภายในโรงเรียน เป็นศูนย์รับบริจาค โอกาสนี้ นายประยงค์ จันทเต็ง นายอ�ำเภอบ้านโป่งได้น�ำ ข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา หน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมบริจาคโลหิต ร่วมกับ คุณพ่อนพพร ยอแซฟ อธิการ คณะครู ผู้ปกครองและนักเรียนของโรงเรียนด้วย

สนช. ศึกษาดูงานวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ คุณพ่อมานะชัย ธาราชัย อธิการ คณะผู้ใหญ่-ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน ให้การต้อนรับคณะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โอกาส ศึกษาดูงานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ.2018 คณะ สนช.มีความประทับใจในระบบการจัดการเรียนการสอน แบบโรงเรียน-โรงงาน, ระบบรุ่นพี่ (ครูศิษย์เก่า) สอนน้อง, ความรักใน สถาบัน, การมีอิสระในการนับถือศาสนา และที่ส�ำคัญลูกศิษย์ทุกคนมี ความเคารพรักต่อคุณพ่อบอสโก สถาบันแห่งนี้ได้ช่วยเหลือเด็กยากจนและด้อยโอกาสให้มีอนาคตและเป็นพลเมืองที่ดีของ ประเทศชาติมามากกว่า 70 ปี 18

Sep - Oct 2018


dbBulletin

"ปั่นจักรยานพาน้องตาบอด ท่องไป สู่โลกกว้าง ปากเกร็ด ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร" ครั้งที่ 6 ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพ คนตาบอด ร่วมกับ ชมรมจักรยาน เมืองทองจัดงาน "ปั่นจักรยานพาน้อง ตาบอด ท่องไปสู่โลกกว้าง ปากเกร็ดศูนย์ศิลปาชีพบางไทร" ครั้งที่ 6 เมื่อ วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.2018 โดย ภราดา สุวรรณ จูทะสมพากร ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาสมรรถภาพ คนตาบอด กล่าวเปิดงาน มีผู้ร่วม กิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 400 คน ในจ�ำนวนนี้มีนักเรียนตาบอดของศูนย์ ร่วมกิจกรรมด้วยจ�ำนวน 35 คนโดยใช้ จักรยานสองตอน (Tandam) 35 คัน ปั่นโดยทีมอาสาชมรมจักรยาน เมืองทองคู่กับน้องตาบอด นอกนั้นยังมี จักรยานร่วมขบวนอีกกว่า 300 คัน มีระยะทางไปกลับทั้งสิ้น 88 กิโลเมตร หลังอาหารเที่ยงที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร มีกิจกรรมการประมูล รถจักรยานเสือหมอบ 1 คัน รายได้ มอบให้กับศูนย์พัฒนาสมรรถภาพ คนตาบอด

เหรียญทองการแข่งขัน Singapore Asia Youth Piano Competition 2018 นายวรโชติ ตันวินิจ ชั้นมัธยมปีที่ 5 โรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ ไปร่วมแข่งขันเปียโนในรายการ Singapore Asia Youth Piano Competition 2018 และ ได้รับเหรียญทอง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.2018 นายวรโชติเริ่มฝึกเล่นเปียโนตั้งแต่อายุ 4 ขวบ และฝึกฝนเรื่อยมา นอกนั้นในปัจจุบันนายวรโชติยังเป็นสมาชิกวงโยธวาฑิตของโรงเรียนด้วย การร้องเพลงและการเล่นดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมแบบซาเลเซียน เพราะช่วยขัดเกลาจิตใจของเด็กให้อ่อนโยนและนุ่มนวลมากขึ้น ส�ำหรับคุณพ่อ บอสโกแล้ว “ศูนย์เยาวชนที่ไม่มีเสียงดนตรีเป็นเหมือนร่างกายที่ไร้วิญญาณ” บราเดอร์วรายุทธไปเรียนเทววิทยาที่แผ่นดิน ศักดิ์สิทธิ์ บราเดอร์วรายุทธ เจริญภูมิ ได้จบคอร์ส ภาษาอังกฤษที่ประเทศไอร์แลนด์ โดยได้รับเกียรติ บัตรจบระดับ B2 เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.2018 ที่ผ่านมา และเดินทางไปเรียนเทววิทยาที่สถาบัน ซาเลเซียน Ratisbonne ประเทศอิสราเอลเมื่อต้น เดือนกันยายน 2018 เราทุกคนเป็นก�ำลังใจและ ขอให้บราเดอร์เตรียมตัวเป็นพระสงฆ์อย่างดี แขวงซาเลเซียนไทย ยินดีต้อนรับธรรมทูต ซาเลเซียนใหม่ที่ลาว แขวงซาเลเซียน แห่งประเทศไทยมีความยินดี ต้อนรับธรรมทูตซาเลเซียน ใหม่ 2 ท่าน ที่จะมาประจ�ำ ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นั่นคือ 1.บราเดอร์ Harris Raymond L. (ชาวอินเดีย) 2.บราเดอร์ Le Quoc Bao Paul (ชาวเวียดนาม) ทั้งสองจะถูกส่งมาเป็นธรรมทูตรุ่นที่ 149 ร่วมกับเพื่อนธรรมทูตจ�ำนวน 25 คน โดยธรรมทูตเหล่านี้จะถูกส่งมาที่ทวีปเอเซีย 12 คน ทวีปแอฟริกา 8 คน, ทวีปยุโรป 3 คน และทวีปอเมริกา 2 คน พิธีการส่งธรรมทูตครั้งที่ 149 จะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2018 นี้ โดยมี การรับกางเขนธรรมทูตจากคุณพ่ออัคราธิการที่วิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์ วัลดอกโก ประเทศอิตาลี 19

Sep - Oct 2018


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

ชุมนุมซาเลเซียนภราดา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ครั้งที่ 7

เมื่อวันที่ 8-13 สิงหาคม ค.ศ.2018 ได้มีการจัดชุมนุม ซาเลเซียนภราดาภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนียครั้งที่ 7 ณ คะลอง ประเทศเวียดนาม ในหัวข้อ “ทุกคนเป็นพี่น้องกัน” (มธ 23:8) มีสมาชิกผู้เข้าร่วมการชุมนุมจ�ำนวน 180 คน ประกอบ ไปด้วย ซาเลเซียนภราดา 155 คน ซาเลเซียนพระสงฆ์ 25 คน ผู้เตรียมเข้านวกภาพ 19 คน จาก 12 แขวงของภูมิภาค EAO นอกนั้นมีตัวแทนซาเลเซียน 6 คนจากทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชียและยุโรปและที่ปรึกษาของคณะ 4 คน ในจ�ำนวนนี้มี ตัวแทนซาเลเซียนภราดาจากแขวงนักบุญเปาโลประเทศไทย (ไทย กัมพูชา ลาว) จ�ำนวน 9 คนที่ร่วมในการชุมนุมนี้ด้วย

20 Sep - Oct 2018

วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.2018 มีพิธีบูชาขอบพระคุณเปิด การชุมนุมโดยคุณพ่อ Ivo Coelho ที่ปรึกษาอัคราธิการด้านการ อบรมเป็นประธาน ตามด้วยการกล่าวต้อนรับจากคุณพ่อ Joseph Nguyen Van Quang เจ้าคณะแขวงเวียดนามและมองโกเลีย จากนั้นคุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ได้แนะน�ำสมาชิกผู้เข้าร่วม ประชุมให้กับทุกคนได้รู้จักและเริ่มกิจกรรมการชุมนุมต่างๆ ตาม ก�ำหนดการ โอกาสนี้ผู้ร่วมประชุมได้มีโอกาสไตร่ตรองถึงหัวข้อ “ภราดาซาเลเซียนน่าจะเป็นแบบไหนส�ำหรับเยาวชนในปัจจุบัน” ซึ่งเป็นหัวข้อของการประชุมสมัชชาคณะ GC 28 ปี ค.ศ. 2020 แม้ว่าสมาชิกซาเลเซียนที่เข้าร่วมการชุมนุมจะมีความ แตกต่างของวัย เชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมแต่ทุกคนก็ร่วมเป็น จิตหนึ่งใจเดียวกันภายใต้จิตตารมณ์ซาเลเซียน ตลอด 4 วันของ การชุมนุมได้เป็นเวลาแห่งพระพรส�ำหรับสมาชิกซาเลเซียนทุกคน โดยเฉพาะกับซาเลเซียนภราดาในภูมิภาค EAO


SALESIAN FAMILY NEWs

dbBulletin

By... SDB Reporter

Salesian family News

สุวรรณสมโภชและพัชรสมโภชแห่งชีวิตผู้รับเจิม ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2018 ณ พระสังฆราชยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ ประมุขสังฆณฑลราชบุรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ในโอกาสฉลอง 50 ปีแห่งชีวิตผู้รับเจิมของซิสเตอร์เทเรซา จันทรา กอหะสุวรรณ และซิสเตอร์แอลดา บารัตติโน ธรรมทูตจากประเทศอิตาลี ฉลอง 60 ปี แห่งชีวิตผู้รับเจิมของ อากาทา บุญมี จิตอุทัศน์ และฉลอง 75 ปี แห่งชีวิตผู้รับเจิมของซิสเตอร์เอสเตรีนา ปรันโด ธรรมทูตจาก ประเทศอิตาลี ณ บ้านธารพระพร สามพราน ภายใต้การน�ำของพระวาจาที่ว่า “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต” (ยน 14:6) พิธีปลงศพซิสเตอร์เรยีนา แจ่มฟ้า ประสูตร์แสงจันทร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ.2018 ซิสเตอร์คณะ ผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ได้ร่วมพิธีปลงศพของ ซิสเตอร์เรยีนา แจ่มฟ้า ประสูตร์แสงจันทร์ โดยมีพระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ปลงศพ ร่วมกับพระสังฆราชยอห์นบอสโก ปัญญา กฤษเจริญ ที่อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก ประชุมคณะกรรมการค�ำสอนครอบครัวซาเลเซียน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ.2018 แผนกค�ำสอนซาเลเซียนได้จัดประชุม ผู้รับผิดชอบงานค�ำสอนของคณะนักบวชที่สังกัดครอบครัวซาเลเซียนซึ่งประกอบไปด้วย คณะซาเลเซียน คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่ มารีย์ คณะภคินีพระราชินีมาเรียและสถาบันธิดาพระราชินีมาเรียผู้นิรมล ณ ส�ำนักงาน เจ้าคณะแขวงซาเลเซียน กรุงเทพฯ ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งเป็นคณะกรรมการค�ำสอน ในครอบครัวซาเลเซียนและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการท�ำงานด้านค�ำสอนและการแพร่ธรรม โอกาสนี้คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะแขวงฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมและให้แนวทางในการร่วมมือกัน รื้อฟื้นการปฏิญาณตนของซิสเตอร์ผู้เยาว์ ธมอ. เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ.2018 ซิสเตอร์มัลลิกา ด้านซอม ซิสเตอร์ปัจจนีย์ ไทยล�ำภู และซิสเตอร์โยธิกา บุญธาตุ พร้อมกับซิสเตอร์ผู้เยาว์จากแขวง AFO Africa ovest และแขวง Madagascar (MDG) ทั้งหมด 6 คน ได้รื้อฟื้นการปฏิญาณตนเป็น นักบวชในคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ โดยมี Don Pier Fausto FRISOLI, SDB เป็น ประธานในพิธี และ Sr.Chiara Cazzuola ,Vicaria generale เป็นผู้รับค�ำปฏิญาณ ณ วัดน้อย Casa Angela Vespa กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในบรรยากาศแห่งความเรียบง่ายและความศรัทธา ข่าวการเข้าเงียบประจ�ำปี ธมอ. รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม ค.ศ.2018 ซิสเตอร์คณะธิดา แม่พระองค์อุปถัมภ์ได้จัดเข้าเงียบประจ�ำปีรุ่นที่ 2 ให้กับสมาชิกจ�ำนวน 32 คน ณ บ้านธารพระพร สามพรานในหัวข้อ “เยเรมีย์...เสียงเชิงพยากรณ์ในนคร” โดย พระสังฆราชโยแซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประมุขสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ เทศน์แบ่งปันแบบ Lectio Divina 21

Sep - Oct 2018


เส้นทางจอม Youth By... กำ�ลังภายใน

SYNOD 2018

เวลาแห่งการเดินไปพร้อมกับเยาวชน และเวลาแห่งการกลับใจ

พระศาสนจักรเดินหน้าสู่การประชุม สมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 15 ในหัวข้อ “เยาวชน ความเชื่อ และการวินิจฉัยกระแสเรียก” โดยจัด ที่กรุงโรม ระหว่างวันที่ 3-28 ตุลาคม ค.ศ.2018 หากเรามองย้อนกลับไปในอดีตจะสังเกตเห็นว่า การประชุมสมัชชานี้ได้รับการเตรียมเรื่อยมาซึ่งเรา สามารถแบ่งได้ใน 3 รูปแบบ คือ 1.การเตรียมในทางประวัติศาสตร์โดยผ่าน ทางวันเยาวชนโลก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงปรารถนาจะท�ำให้พระศาสนจักรและเยาวชน อยู่ใกล้ชิดกัน ดังเช่นในสมณสมัยของสมเด็จ พระสันตะปาปาหลายพระองค์ที่ผ่านมา ตั้งแต่ใน สมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 (ซึ่งจะได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญในระหว่างที่มี การประชุมสมัชชาพระสังฆราชในเดือนตุลาคมนี้) พระองค์ได้ทรงนัดพบกับบรรดาเยาวชนในโอกาส ฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ.1975 หลังจากนั้นอีก 9 ปี 22 Sep - Oct 2018

สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงนัดพบกับบรรดาเยาวชนโอกาส ปีแห่งการไถ่กู้ (25 มีนาคม 1983-22 เมษายน 1984) และพระองค์ได้ทรงตั้ง วันเยาวชนโลกขึ้น โดยมีการจัดงานดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงสมณสมัยของ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีการจัดงานนี้อยู่ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสจะทรงเสด็จไปร่วมวันเยาวชนโลกครั้งที่ 34 ที่ ประเทศปานามา ระหว่างวันที่ 22-27 มกราคม ค.ศ.2019 เหตุการณ์นี้แสดง ให้เห็นว่าพระศาสนจักรรักและให้ความส�ำคัญกับเยาวชนเสมอมา 2.การเตรียมในด้านของเนื้อหาโดยผ่านทางหัวข้อของการชุมนุมในวัน เยาวชนโลก 2 ครั้งคือที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ในปี ค.ศ.2013 และที่เมืองคราครูฟ ในปี ค.ศ.2016 และวันเยาวชนโลกที่จะจัดขึ้นหลังจากการประชุมสมัชชา พระสังฆราช ที่ประเทศปานามา ในปี ค.ศ.2019 เนื้อหาของหัวข้อการชุมนุม ดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกัน 3.การเตรียมโดยผ่านทางการประชุมเตรียมสมัชชา (Pre-Synodal Meeting) ซึ่งจัดในวันที่ 19-24 มีนาคม ค.ศ. 2018 รวมทั้งเหตุการณ์อื่นๆ ด้วย ที่เตรียมจิตใจเยาวชนส�ำหรับการประชุมสมัชชาพระสังฆราช เช่น การเดินจาริก แสวงบุญไปยังกรุงโรมของเยาวชนอิตาเลี่ยน เป็นต้น หลังจากที่พระศาสนจักรได้เตรียมตัวส�ำหรับการประชุมสมัชชานี้ใน หลายรูปแบบ รวมทั้งการใช้เวลา 2 ปีเพื่อเตรียมเอกสารต่างๆ บัดนี้ร่างเอกสาร เตรียมสมัชชา (Instrumentum Laboris) ซึ่งจะใช้ในการประชุมก็พร้อมแล้ว


dbBulletin การเดินไปพร้อมกับเยาวชน สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 15 ได้ศึกษา ร่างเอกสารเตรียมสมัชชา (Instrumentum Laboris) ซึ่งได้ถูกรวบรวมและ คัดกรองข้อมูลจากส�ำนักเลขาธิการของการประชุม เอกสารดังกล่าวประกอบไป ด้วย 3 ภาค โดยแต่ละภาคใช้เรื่องการเดินทางไปยังหมู่บ้านเอมมาอูสเป็น ความคิดที่อยู่เบื้องหลัง ในภาคแรกพูดถึง “ดังพระคริสตเจ้าทรงร่วมทางไปกับ ศิษย์สองคนที่เอมมาอูส (อ้าง ลก 24:13-35) พระศาสนจักรได้รับการเชื้อเชิญ ให้ร่วมทางกับเยาวชนสู่ความยินดีในความรัก โดยไม่ตัดเยาวชนคนคนใดออก ไป (ข้อ 1) ในภาคที่ 2 เอกสารกล่าวถึง “พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นเยาวชนในหมู่ เยาวชน” นั่นคือ พระองค์ทรงต้องการพบปะและเดินไปกับพวกเขา ดังเช่นที่ พระเยซูเจ้าทรงเดินไปพร้อมกับศิษย์ที่เอมมาอูส (ข้อ 75) และสุดท้ายในภาค ที่ 3 กล่าวถึงหัวข้อ “กลุ่มคริสตชน” กลุ่มคริสตชนถูกเรียกให้ออกไปและพบปะ กับเยาวชน เพื่อจุดไฟในใจของพวกเขาอีกครั้งหนึ่งและเดินไปพร้อมกับพวกเขา (ข้อ 175) เอกสารนี้ยืนยันถึงความตั้งใจที่ชัดเจนของพระศาสนจักร ที่ไม่ใช่ เป็นเพียงแค่การช่วยให้เยาวชนก้าวเดินไปข้างหน้าแบบธรรมดาทั่วไป แต่พระศาสนจักรต้องการเดินไปพร้อมกับเขา เพราะว่าพระเยซูเจ้าทรงเดิน เคียงคู่ไปกับเยาวชนแต่ละคน พระศาสนจักรแห่งการวินิจฉัยกระแสเรียก นอกจากเรื่องการเดินทางไปเอมมาอูสจะเป็นเส้นความคิดเบื้องหลัง ของเอกสารนี้แล้ว หัวข้อของร่างเอกสารเตรียมสมัชชาฉบับนี้ยังแบ่งออกเป็น สามภาคตามขั้นตอนแห่งการวินิจฉัยกระแสเรียกด้วย นั่นคือ “รู้ ” “ตีความ” และ “เลือก” พระศาสนจักรพร้อมที่จะเดินกับเยาวชนในการวินิจฉัยกระแสเรียก โดยเสนอรูปแบบเฉพาะที่เหมาะกับแต่ละคน เหมาะกับสถานะและเหมาะกับชีวิต ของพวกเขาในสมัยปัจจุบัน พระศาสนจักรได้รับการเรียกให้เปลี่ยนวิธีมองชีวิต และเปลี่ยนความคิด ซึ่งนั่นก็คือ การถูกเรียกให้ “กลับใจ” ด้านฝ่ายจิต ด้านการ อภิบาลและด้านการเป็นธรรมทูต ในหัวข้อเรื่องการเลือกนั้น ร่างเอกสารเตรียมสมัชชาข้อที่ 139 กล่าวไว้ ว่า “การเลือกไม่ได้หมายถึงการตัดสินใจและให้ค�ำตอบเพียงครั้งเดียวกับทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้น แต่การเลือกเป็นกระบวนการของการเติบโตในความสามารถที่จะ แยกแยะและวินิจฉัยพันธกิจของคริสตชน อย่างไรก็ตาม เราคงไม่สามารถ จะคิดถึงการร่วมทางในการวินิจฉัยกระแสเรียกกับเยาวชนได้ หากเราไม่ได้ แสดงออกให้เยาวชนเห็นถึงการวินิฉัยแยกแยะในชีวิตของพระศาสนจักร” ท่าทีที่ถูกต้องของหัวใจ เพื่อจะมีส่วนร่วมในการประชุมสมัชชาพระสังฆราชนี้อย่างดีจ�ำเป็นที่ เราต้องมีท่าทีที่ถูกต้องด้วย ต่อหน้าการประชุมสมัชชานี้ เราอาจมีท่าที 2 แบบ ที่แตกต่างกัน ท่าทีดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อการปฏิบัติที่จะตามมาด้วย

ในระดับประเทศ และในระดับคณะน่าจะเป็นสิ่งที่ ถูกต้องแล้ว ด้วยเหตุนี้เขาจะขอให้พระศาสนจักร เปลี่ยนตามมุมมองและการปฏิบัติของเขาโดยไม่มี การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ท่าทีนี้เป็น ท่าทีของการขอให้คนอื่นเปลี่ยนแต่ตนเองอยู่เฉยๆ นี่เป็นท่าทีและทัศนคติของคนที่มั่นใจว่าตนเองนั้น ท�ำถูกต้อง และหลายครั้งก็แสดงออกถึงความ อวดเก่งและขาดความเคารพต่อผู้อื่น ผู้ที่มีทัศนคติ แบบนี้จะมีความคิดว่า “พระศาสนจักรนั้นก�ำลัง ท�ำผิดพลาด ฉันท�ำถูกต้อง พระศาสนจักรต้องท�ำ อย่างที่ฉันพูด” 2.ท่าทีแห่งการเปิดใจ คือท่าทีที่แสดงออกถึงความสุภาพและ การเตรียมพร้อม เขารู้ว่าจุดหมายของการประชุม สมัชชาก็คือการเดินไปสู่การกลับใจด้านฝ่ายจิต ด้านการอภิบาลและด้านการเป็นธรรมทูต การเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิด และเปลี่ยนชีวิตคือ จุดประสงค์แรกของการประชุมสมัชชานี้ บุคคลที่มี ท่าทีนี้จะตรวจสอบด้วยความจริง จะมีความคิดริเริ่ม และมีความกระตือรือร้น เขาจะมีความสุภาพและ รู้จักเสวนาโดยไม่คาดเดาหรือมีค�ำตอบต่อค�ำถาม แบบส�ำเร็จรูป เขาจะแสวงหาด้วยความพากเพียร และรอบคอบ ผู้ที่มีทัศนคติแบบนี้จะมีความคิดว่า “พระศาสนจักรคือการเดินสู่การกลับใจ ฉันเป็น ส่วนหนึ่งของพระศาสนจักร ฉันคือคนแรกที่ถูกเรียก ให้กลับใจร่วมกับพี่น้องคนอื่นๆ” ท่าทีที่สองนี้เป็นการเปิดหัวใจและความ คิดเพื่อให้พระจิตเจ้าทรงท�ำงาน หากปราศจากท่าที นี้แล้วก็คงยากที่จะช่วยพระศาสนจักรให้ก้าวเดินไป สู่การฟื้นฟูและบังเกิดผล db

1.ท่าทียึดติด คือท่าทีของผู้ที่ยึดมุมมองและความมั่นใจของตนเองเป็นหลัก โดยคิดว่าสิ่งที่ตนก�ำลังท�ำอยู่ไม่ว่าจะในระดับกลุ่ม ในระดับสังฆมณฑล 23

Sep - Oct 2018


CTimes Catechetical Moment By... Eccomi

ข้อดี 7 ประการ

ของการสวดสายประค�ำสม�่ำเสมอ 3. แม่พระจะทรงเผยแสดงกับเรา

1. เราจะเห็นแก่ตัวน้อยลง

เรารูส้ กึ ดีใจเมือ่ ได้รบั สายประค�ำเป็นของขวัญ แต่เราจะน�ำสายประค�ำ มาใช้ในการสวดหรือไม่ การสวดสายประค�ำเรียกร้องให้เราสละเวลาส่วนตัว เพื่อสวดภาวนา การสวดสายประค�ำบ่อยๆ จะช่วยเราให้หันไปหาพระเยซูเจ้าผู้ทรง ท�ำให้เราออกจากตัวเองและละทิ้งความเห็นแก่ตัว

2. เราจะมีวินัยมากขึ้น

ยิ่งเราสวดสายประค�ำมากเท่าใด ยิ่งเกิดความรู้สึกอยากสวดมาก ขึ้นเท่านั้น การจัดเวลาและซื่อสัตย์ในการสวดสายประค�ำจะท�ำให้เรามีวินัย ต่อตัวเองและท�ำให้มีสมาธิในการสวดมากขึ้น แม้ในยามที่เรารู้สึกเหนื่อย และไม่อยากจะสวดก็ตาม การมีวินัยในการสวดนี้จะส่งผลต่อชีวิตของเรา ในทุกด้านและเพื่อจะมีวินัยก็ต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอเหมือนกับการออก ก�ำลังกาย เราจะไม่สามารถเป็นนักวิ่งมาราธอนได้ด้วยก้าววิ่งแรกเพียงก้าว เดียวเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนวันละเล็กวันละน้อย ดังนั้น การสวด สายประค�ำทุกวัน จะท�ำให้เรามีวินัยมากขึ้น และแสดงถึงความซื่อสัตย์ใน การท�ำหน้าที่ต่อพระเจ้าและแม่พระ 24 Sep - Oct 2018

หากเราสวดสายประค�ำเพราะถูกบังคับ แน่นอนว่าเราจะรู้สึกเบื่อเมื่อต้องสวด และคง เป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าใจถึงความประเสริฐและ ความงดงามของการสวดสายประค�ำ เมื่อเรา ร�ำพึงถึงพระธรรมล�้ำลึกต่างๆ ที่เราสวดใน สายประค�ำ พระนางมารีย์และพระเยซูเจ้าจะทรง เผยแสดงให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้นถึงธรรมล�้ำลึก เหล่านั้น และช่วยเราให้มีประสบการณ์ที่ลึกซึ้ง ในการภาวนา

4. เราจะมีความกล้าหาญมากขึ้น

เมื่อเราวางชีวิตและหัวใจของเราไว้ใน พระหัตถ์ของพระนางมารีย์ผ่านทางการสวด สายประค�ำ พระนางจะทรงช่วยเหลือและน�ำเรา ไปหาพระเยซูเจ้า ทุกครัง้ ทีเ่ ราวอนขอความช่วยเหลือ จากพระนางด้วยความไว้วางใจ เราท�ำให้ พระนางได้รับเกียรติยิ่งใหญ่ ความกล้าหาญ และก�ำลังใจจะเกิดในชีวิตของเรา เราจะมีความ กล้าหาญอย่างมหาศาลเพราะเรารู้ว่าพระนาง อยู่ข้างเรา นักบุญมัซซีมิเลียน กอลเบ กล่าวว่า “พ่อเห็นแม่พระในทุกแห่ง และพ่อไม่พบปัญหา ที่ไหนเลย”


dbBulletin

5. เราจะด�ำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างสงบ

การสวดสายประค�ำท�ำให้ชีวิตตลอดวันมีความสงบมากขึ้น พระนางจะทรงอยู่เคียงข้างเพื่อต่อสู้กับสิ่งเลวร้าย และท�ำให้สิ่งต่างๆ ง่ายขึ้น เราจะตระหนักถึงการประทับอยู่ของพระเจ้ามากขึ้น การสวด สายประค�ำไม่ท�ำให้ความทุกข์ทรมานในชีวิตของเราลดลง แต่ช่วยเรา ให้มีอาวุธที่เข้มแข็งในการสู้รบ

6. การสวดสายประค�ำช่วยขจัดกิเลสและบาป

หนึ่งในค�ำสัญญา 15 ประการของการสวดสายประค�ำคือ “การช่วยขจัดกิเลสและบาป” การสวดสายประค�ำเป็นประจ�ำจะช่วยเราให้ มีสติมากขึ้นในการตัดสินใจเลือกการกระท�ำของเรา การสวดสายประค�ำ ช่วยเราให้มองชีวิตในมุมมองเดียวกับพระเจ้าและเห็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้อง การจากเรานั่นก็คือ ความดีของเรา

ซิสเตอร์ลูเซียแห่งฟาติมากล่าวว่า “ไม่มีปัญหาใดๆ ไม่ว่าจะยากแค่ไหน ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องฝ่ายโลกหรือฝ่ายจิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ส่วนตัวหรือเกี่ยวกับครอบครัวของเรา... ที่จะไม่ สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวดสายประค�ำ” นี่คือข้อดี 7 ประการ ที่มาจากการสวดสายประค�ำ อย่างสม�่ำเสมอ แต่ยังมีอีกมากมาย! แล้วข้อดีข้อที่ 8 ในการสวดสายประค�ำของคุณ คืออะไร? db

7. เราจะมีชีวิตที่เรียบง่าย

พลังของการสวดสายประค�ำอยู่ในความเรียบง่ายจนเราอาจ คิดว่าการสวดสายประค�ำเป็นเรื่องโง่เขลา หลายครั้งเราอาจคิดว่า เพื่อจะ แก้ปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อนก็ต้องใช้วิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อนด้วย จนหลายครัง้ ก็ไม่สามารถจะหาวิธกี ารได้ อันทีจ่ ริง เพือ่ จะแก้ปญ ั หาบางอย่าง เราอาจไม่จ�ำเป็นต้องท�ำอะไรซับซ้อน ให้เราดูแบบอย่างของพระเยซูเจ้าผู้ เสด็จมาบังเกิดในโลกดังทารกที่ดูบอบบางและไร้ก�ำลัง พระองค์บังเกิดมา ในความยากจนและเรียบง่าย การสวดสายประค�ำเป็นสิ่งเรียบง่ายซึ่งเรา สามารถสวดได้ในทุกสถานการณ์และเป็นอาวุธแห่งการภาวนาที่ทรงพลัง ที่สุดที่เรามี

25

Sep - Oct 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ

By... Andy

แสงสว่างในโลกมืด

กระซิบพระวรสารในหัวใจผู้พิการทางสายตา @ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ปากเกร็ด

หากดวงตาไร้ซึ่งการมองเห็น จากการเกิดมาพร้อมกับโลกแห่งความ มืดหรือเกิดจากอุบัติเหตุและโรคภัยจน ท�ำให้สายตาใช้การไม่ได้และต้องอยู่ใน โลกที่มีเพียงแต่สีด�ำ ลองคิดดูซิว่าจะท�ำ อย่างไรกับชีวิต และจะรับมืออย่างไรกับ การเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าการใช้ชีวิต แบบมองไม่เห็นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คน ตาบอดพิการแค่สายตา ไม่ได้พิการใน การใช้ชีวิต การสูญเสีย “ดวงตาซึ่งเป็น หน้าต่างของหัวใจ” ในสายตาของคน 26 Sep - Oct 2018

ทั่วไปอาจมองว่า เขามีดวงตาไว้เพียง ประดับบนใบหน้าและยากที่จะเข้าถึง ตัวตนและความรู้สึกได้ แม้หัวใจดวง นั้นจะไร้ซึ่งหน้าต่าง ให้เราลองหาบาน ประตูบานอื่นดูไหม แล้วลองเดินเข้าไป คุณจะพบอะไรดีๆ เหมือนที่เราได้เจอ นิตยสารดอนบอสโกขอน�ำ ท่านไปพบกับภารกิจของการเป็นแสง สว่างในโลกมืด ซาเลเซียนท�ำอะไรที่ ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดบ้าง เชิญทุกท่านร่วมค้นหาไปด้วยกัน

“เราช่วยเยาวชนผู้พิการทางสายตาให้ สามารถด�ำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมี คุณภาพ อย่างมีศักดิ์ศรีและอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักเหตุผล ศาสนา และความ รักใจดี” ภราดาสุวรรณ จูทะสมพากร ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาสมรรถภาพ คนตาบอดปากเกร็ด จ.นนทบุรี ให้ สัมภาษณ์กับเราที่ศาลากลางน�้ำของ ศูนย์ในบรรยากาศสบายๆ และได้เล่า ให้เราฟังถึงความเป็นมาและภารกิจ ซาเลเซียนที่นี่


dbBulletin ภราดา สุวรรณ จูทะสมพากร ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาสมรรถภาพ คนตาบอด ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

การเริ่มต้นกิจการศูนย์ฯ

ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคน ตาบอดเป็นศูนย์ฝึกอาชีพแห่งแรกให้ กับคนตาบอดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ 78/2 หมู่ 1 ถ.ติวานนท์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เริ่มต้นกิจการในปี ค.ศ. 1963 โดยการน�ำของคุณหญิงสมาน ใจ ด�ำรงแพทยาคุณ ภายใต้ชื่อศูนย์ฝึก อาชีพคนตาบอดนนทบุรีเพื่อช่วยฝึก ผู้พิการทางการเห็น (ชาย) ให้มีอาชีพ ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1978 คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ เจ้าคณะ แขวงฯ ในขณะนั้นและคุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซนส์และคุณพ่อชาร์ลส์ เวลาร์โด ได้ลงนามในเอกสารความร่วมมือกับ คุณหญิงกระจ่างศรี กีร์ติบุตร ผู้เป็น ประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่ง ประเทศไทย พญาไท ให้มูลนิธิฯ อยู่ภายใต้การด�ำเนินงานของคณะ ซาเลเซียน

ในปี ค.ศ.1983 ศูนย์ฝึกอาชีพ คนตาบอดนนทบุรี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด” เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ปรับปรุง ใหม่ทั้งด้านวิชาการและด้านอาชีพ สมาชิกซาเลเซียนได้ผลัด เปลี่ยนมาท�ำหน้าที่ ณ ศูนย์แห่งนี้ เรื่อยมา เช่น คุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซนส์, คุณพ่อชาร์ลส์ เวลาร์โด, คุณพ่อเรนโซ โรซิโญโล, คุณพ่อเกียรติ บุญขจาย, คุณพ่อสมชาติ ผิวเกลี้ยง, คุณพ่ออารอน อัลโกเซบา, คุณพ่อชินวัฒน์ สุวดินทร์ กูร, คุณพ่อสามัคคี ชัยพระคุณ, คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรีว่าอุดม เป็นต้น ปัจจุบัน คุณพ่อชาร์ลส์ เวลาร์โด ด�ำรงต�ำแหน่งประธานศูนย์พัฒนา สมรรถภาพคนตาบอดและกรรมการ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์

พิการแค่สายตา ไม่ได้พิการ ในการใช้ชีวิต

บราเดอร์สุวรรณพาเราเดินชม สถานที่ภายในศูนย์พร้อมกับเล่าให้เรา ฟังว่า ทุกปีจะมีนักเรียนใหม่ที่เป็นผู้ พิการทางสายตามาจากทั่วประเทศ อายุตั้งแต่ 15-50 ปี เข้ามารับการ อบรมในศูนย์จ�ำนวนประมาณ 30 คน ปัจจุบันมีนักเรียนชั้นปี 1 จ�ำนวน 27 คน และ ชั้นปี 2 จ�ำนวน 28 คน นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีนักเรียน 1 คนที่นับถือศาสนาอิสลาม 60% ของนักเรียนที่เข้ามา เรียนที่นี่ได้สูญเสียการมองเห็นตั้งแต่ ก�ำเนิด หนึ่งในสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็ เนื่องมาจากกรรมพันธุ์ ที่ผ่านมามี นักเรียนบางคนที่มาจากครอบครัวที่ พิการทางสายตาเกือบทั้งครอบครัวโดย ส่งทอดจากรุ่นปู่ย่าตายายมายังรุ่นของ พ่อแม่และส่งต่อมาถึงรุ่นลูก

27

Sep - Oct 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ

นักเรียนอีก 40% สูญเสียการ มองเห็นจากอุบัติเหตุ โรคต่างๆ และ จากการทะเลาะวิวาท นั่นหมายความ ว่า พวกเขาพิการทางสายตาเมื่อโตแล้ว กรณีนี้ต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับการ เปลี่ยนแปลงในชีวิตระยะหนึ่ง บราเดอร์อธิบายต่อว่า การตาบอดมี 2 ประเภท คือ ตาบอด สนิทซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้เลย ต้อง ใช้ประสาทสัมผัสอื่นแทนในการเรียนรู้ ส่วนอีกประเภทหนึ่งก็คือ ตาบอดไม่ สนิทหรือบอดเพียงบางส่วน สามารถ มองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่าคนปกติ การเรียนที่นี่มีหลักสูตร 2 ปี โดยในปีแรก นักเรียนจะฝึกพื้นฐาน การเคลื่อนที่ด้วยไม้เท้า การอ่านเขียน เบรลส์ (อักษรนูนของคนตาบอด) งานหัตถกรรม การนวดแผนไทย การเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งใช้เวลา เรียน 500 ชั่วโมง ส่วนในปีที่สองเป็น การฝึกความช�ำนาญในด้านวิชาชีพ การนวดแผนไทยโดยใช้เวลาฝึก 1,000 ชั่วโมง ที่ศาลาสุขสัมผัสซึ่งเป็นคลีนิค ที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สภาการ

28 Sep - Oct 2018

แพทย์แผนไทยได้รับรองหลักสูตรของศูนย์ 2 หลักสูตร นั่นคือหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์ แผนไทยและหลักสูตรการนวดไทย นอกนั้นนักเรียนยังมีโอกาสฝึกทักษะอื่นๆ เช่น ฝึกดนตรี ฝึกภาษาอังกฤษ เล่นโกลบอล และส�ำหรับคนที่สนใจสามารถเรียน กศน. รวมทั้งสามารถสอบเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพสาขาการนวดไทยด้วย ผู้พิการทางการมองเห็นเหล่านี้พิการแค่สายตา พวกเขาไม่ได้พิการในการ ใช้ชีวิต บราเดอร์ คุณครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนพยายามช่วยพวกเขาให้สามารถใช้ชีวิต อยู่ร่วมกับคนปกติได้อย่างมีศักดิ์ศรี สอนให้พวกเขามีอาชีพเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ เป็นภาระกับคนอื่นและพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน ที่ส�ำคัญเราพยายามอบรมให้ พวกเขาเป็นพลเมืองที่ดีและเป็นศาสนิกชนที่ดีที่มีคุณธรรม

สูญเสียได้ เเต่อย่าเสียศูนย์

แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนๆ หนึ่งจะยอมรับสภาพของการสูญเสียการ มองเห็น โดยเฉพาะกับบุคคลซึ่งเคยมีสายตาปกติมาก่อน เค - ณัฐพงศ์ พุทธรักษา นักเรียนชั้นปี 1 อายุ 26 ปี ศาสนาพุทธ จาก จ.ก�ำแพงเพชร ซึ่งไม่ได้พิการทางสายตาแต่ก�ำเนิด เล่าให้เราฟังถึงสาเหตุ ของการสูญเสียการมองเห็นว่า “ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนสมัยที่ผมเรียน มหาวิทยาลัย ปี 1 เทอม 1 ผมได้มีเรื่องทะเลาะวิวาทชกต่อยกันในสถานบันเทิงแห่ง หนึ่งจนผมสลบไป เมื่อรู้สึกตัวก็พบว่าตนเองอยู่ที่โรงพยาบาล แล้วแต่จ�ำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตนเองบ้าง ผมลืมตาขึ้นมา และรู้สึกว่าทุกอย่างรอบตัวนั้นมืดสนิท ตอนนั้นผมคิดว่าเขา ให้ผมอยู่ในห้องที่ปิดไฟอยู่ ไม่มีใครบอกผมถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ผม อยู่ที่โรงพยาบาล 27 วัน ในระหว่างนั้นผมเริ่มรู้ว่ามีอะไรบาง อย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับสายตาของผม ผมมองเห็นเลือนลาง ประมาณ 40% เมื่อรู้แน่ว่าผมสูญเสียการมองเห็นก็รู้สึกท�ำใจ ไม่ได้และไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่เมื่อคิดถึงแม่และคน ที่รักผมแล้วผมก็มีก�ำลังใจที่จะต่อสู้ต่อไป หลังจากที่ผมใช้ชีวิตอยู่ไปวันๆ โดยไม่ท�ำอะไรมา 8 ปี วันหนึ่ง ผมเจอข้อมูลของ ศูนย์แห่งนี้ทางอินเทอร์เน็ต ผมจึงมาสมัครเรียนที่นี่ ผมมาอยู่ที่นี่ไม่รู้สึกเครียด เหมือนตอนอยู่ที่บ้าน ผมชอบทุกอย่างที่นี่ ผมมีเพื่อนหลายคนอีกทั้งได้ฝึกฝนตนเอง ในทุกด้าน บราเดอร์ คุณครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่นี่ใจดีและพร้อมที่จะให้ค�ำปรึกษา กับผม” จีรศักดิ์ จันทร์เรืองฤทธิ์ (ศักดิ์) หนุ่มใต้จาก อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช อายุ 29 ปี นักเรียนชั้น ปีที่ 1 ศาสนาพุทธ เป็นอีกหนึ่งคนที่ไม่ได้พิการทาง สายตาแต่ก�ำเนิด ศักดิ์เล่าให้เราฟังว่า “ผมเป็นลูกคน สุดท้องในบรรดาพี่น้อง 6 คน พ่อแม่ของผมท�ำสวน ยางพารา พอผมเรียนจบชั้น ม.3 ก็ออกมาช่วยพ่อแม่ท�ำ สวนยาง จ�ำได้ดีว่า วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 ผมประสบอุบัติเหตุรถชน หลังจากผ่าตัดและพยายาม รักษาตัวเองอยู่นาน ผมก็สูญเสียการมองเห็นและกลายเป็นคนตาบอด ผมเสียใจ มากแต่พ่อแม่และญาติพี่น้องได้ให้ก�ำลังใจผม”


dbBulletin

และเมื่อถามถึงความประทับ ใจในศูนย์แห่งนี้ ศักดิ์ตอบเราว่า “ศูนย์ แห่งนี้ช่วยผมให้มีความหวัง มีวิชาชีพ ติดตัว ผมชอบเรียนนวดและชอบดนตรี เวลานี้ผมและเพื่อนได้รวมตัวกันตั้งวง ดนตรี ตัวผมเล่นกีตาร์ ผมรู้สึกว่าศูนย์ แห่งนี้มีบรรยากาศของความเป็นพี่น้อง กัน ที่นี่ช่วยผมให้มีความหวังในชีวิต” เยาวชนเหล่านี้ได้สูญเสีย การมองเห็น แต่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง ประกอบกับก�ำลังใจจากคนรอบข้างช่วย ประคับประคองพวกเขาไม่ให้ชีวิต เสียศูนย์และสามารถเดินหน้าต่อไปได้

แสงสว่างในความมืด

บราเดอร์สุวรรณบอกกับเราว่า “นักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน พวกเขาสิ้นหวังและมีชีวิตในความมืด จากการสูญเสียการมองเห็น เรามี หน้าที่น�ำความหวังกลับคืนมาให้พวก เขาอีกครั้ง” บราเดอร์ยืนยันว่า “นี่เป็น งานซาเลเซียนอย่างแท้จริง เป็นงาน เพื่อเยาวชนที่ยากจนและขาดโอกาส บราเดอร์มีความสุขที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่” เมื่อก่อนพวกเขาใช้ชีวิตแบบ อยู่ไปวันๆ โดยไม่คิดถึงอนาคตและ รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หลังจากมาเรียน ที่นี่และได้ฝึกทักษะต่างๆ แล้ว พวกเขา

เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและภูมิใจ ในตนเองมากขึ้น เราค่อยๆ ขัดเกลา จิตใจของพวกเขา อบรมหลักศีลธรรม สอนให้พวกเขารู้จักพระเยซูเจ้าและ แม่พระ สอนให้รู้จักคุณพ่อบอสโกและ คณะซาเลเซียน บราเดอร์จะสอดแทรก เรื่องราวของพระวรสารในโอวาทตอน เช้าและในการให้ข้อคิดตอนค�่ำ รวม ทั้งการอบรมตอนบ่ายวันเสาร์ พวกเขา ค่อยๆ ซึมซับคุณธรรมความดีต่างๆ ซึ่ง กลายเป็นแสงสว่างภายในใจของเขา พวกเขาอาจจะบอดที่ตาแต่ เจิดจ้าที่ใจ เค-ณัฐพงศ์ พูดถึงบราเดอร์ ว่า “ชีวิตของผมเปลี่ยนไปและมีความ สุขมากขึ้น ผมชอบบราเดอร์ที่ให้โอวาท ตอนเช้าและให้ข้อคิดก่อนนอนซึ่งมี คติเตือนใจที่ดีมาก บราเดอร์ให้ก�ำลัง ใจผมเสมอ ส�ำหรับผมแล้ว แม่ พี่ชาย ญาติพี่น้อง บราเดอร์ คุณครูและเจ้า หน้าที่ทุกคนในศูนย์เป็นดังแสงสว่าง ท่ามกลางความมืดในชีวิตของผม ผม อยากบอกกับทุกคนที่ก�ำลังเผชิญอยู่

เปิดหน้าต่างหัวใจ ชินจัง-กิตติพงศ์ แสนหาญ หนุ่มวัย 17 ปี บุคลิกเรียบร้อย จากจังหวัดเลย นักเรียนชั้นปี 2 นับถือศาสนาพุทธ เล่าให้เราฟังว่า “ผมตาบอดแต่ไม่สนิทตั้งแต่เกิด ผมมองเห็นลางๆเพียงบางส่วนซึ่งเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ ยายและแม่ของผมก็พิการทางการ มองเห็น ผมเป็นลูกชายคนโต มีน้องสาวหนึ่งคนซึ่งเขาตาปกติดี ตั้งแต่มาเรียนที่นี่ ผมได้ พัฒนาตนเองหลายด้าน นอกจากด้านความรู้ในการประกอบวิชาชีพแล้ว ผมรู้สึกว่าตนเอง มีความอดทนมากขึ้น ชีวิตที่นี่ช่วยผมให้เป็นคนที่ขยันมากขึ้น และเมื่อถามชินจังว่าเมื่อนึกถึงคุณพ่อบอสโกเขานึกถึงอะไร ชินจังบอกว่านึกถึงคุณพ่อที่ใจดีซึ่งช่วยเหลือเด็กยากจน ผมคิดว่าผมเป็นคนหนึ่งที่โชคดีที่ได้มาอยู่ในศูนย์แห่งนี้ อนาคตผม อยากเปิดร้านนวดแผนไทยเป็นของตนเอง” 29

Sep - Oct 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ

ในสถานการณ์แบบเดียวกับผมว่าอย่า ท้อแท้ แต่ให้มีความหวังเสมอ” เช่นเดียวกับ ศักดิ์ - จีรศักดิ์ จันทร์เรืองฤทธิ์ ที่บอกกับเราว่า “เมื่อ ผมนึกถึงบราเดอร์สุวรรณ ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์ฯ ผมนึกถึงค�ำว่า ก�ำลังใจ ความ ใจดีและนักอบรม”

ฆราวาสผู้ร่วมพันธกิจ ซาเลเซียน

นอกจากซาเลเซียนที่ท�ำงานอุทิศตน เพื่อบรรดานักเรียนทุกคนในศูนย์ แล้ว ยังมีคุณครูและเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็น ฆราวาสที่ร่วมพันธกิจกับซาเลเซียนด้วย ปัจจุบันมีคุณครูและเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 22 คน คุณครูและเจ้าหน้าที่ทุกคน ภูมิใจที่ได้ท�ำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของ สถาบันแห่งนี้

คุณครูพิมพรรณ แย้มเอี่ยม สอนการอ่านเขียนเบลส์และสอนวิชา มารยาทและการเข้าสังคมที่ศูนย์มาเป็น เวลา 27 ปี (พ.ศ.2534-2561) คุณครู ผูกพันกับศูนย์แห่งนี้ “คุณครูดีใจที่ได้ ช่วยเหลือนักเรียนที่พิการทางสายตา คุณครูประทับใจในสมาชิกซาเลเซียน ที่มาท�ำงานที่นี่ทุกคน เราอยู่กันเป็น แบบครอบครัว คุณพ่อและบราเดอร์ มีความเป็นกันเอง ทุกท่านท�ำงานด้วย ความเสียสละทั้งกลางวันและกลางคืน และอบรมเด็กด้วยความรัก” เช่นเดียวกับครูเสวียน งามแสง ซึ่ง เป็นผู้พิการทางสายตา อายุ 53 ปี เป็น คาทอลิก สอนวิชาการนวดแผนไทย

คุณครูบอกเราว่า “ผมเป็นศิษย์เก่าของ ศูนย์รุ่นปี พ.ศ.2525 ต่อมาได้บรรจุเข้า เป็นครูในปี พ.ศ.2533 ผมได้กลับใจ เป็นคาทอลิกที่นี่ ปัจจุบันครอบครัวของ ผมเป็นคาทอลิกทุกคน” เมื่อถามถึง ชีวิตการท�ำงาน คุณครูบอกเราว่า “ผม มีความสุขที่ได้ท�ำหน้าที่การเป็นครู ผมเข้าใจความรู้สึกของนักเรียนรุ่นน้อง ดี เพราะในอดีตผมเองก็เคยรู้สึกว่า ไม่มีอนาคต พวกผมที่เป็นผู้พิการทาง สายตามีก�ำลังวังชาเหมือนคนอื่นแต่ไม่ สามารถท�ำงานเหมือนคนอื่นได้ ที่ผ่าน มาผมได้รับโอกาสจากศูนย์แห่งนี้ เวลา นี้ผมอยากตอบแทนศูนย์และท�ำหน้าที่ เป็นผู้ให้บ้าง ขอบคุณสมาชิกซาเลเซียน ที่ดูแลศูนย์แห่งนี้ ซาเลเซียนทุกคนเป็น ดังคุณพ่อบอสโกที่ท�ำงานช่วยเหลือเด็ก ยากจน ผมคิดว่าเป็นโชคดีของผู้พิการ ทางสายตาในประเทศไทยที่ได้รับ โอกาสดีๆ แบบนี้”

สถาบันสร้างคน

ตลอดเวลากว่า 50 ปีของ ศูนย์แห่งนี้ มีเยาวชนผู้พิการทางสายตา

ท�ำงานเป็นครูมา 28 ปีแล้ว ปัจจุบัน ท�ำหน้าที่เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่า ของศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด

เปิดหน้าต่างหัวใจ พิซซ่า - อนันต์ชัย พิมพ์ประโพท เด็กหนุ่มช่างพูดจากกรุงเทพฯ อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 1 ศาสนาพุทธ บอกกับเราว่า “ผมสูญเสียการมองเห็นตั้งแต่เกิด บิดาของผมเสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน ผมอยู่กับแม่ซึ่งดูแลผม เป็นอย่างดี ก่อนหน้านี้ ผมเคยเรียนอยู่ในศูนย์ตาบอดหลายแห่ง ยอมรับว่าในอดีตผมเคยท้อแท้แต่ผมก็สู้ ผม ชอบศูนย์แห่งนี้ การเรียนที่นี่ท�ำให้ผมมีอาชีพ และเมื่อถามถึงความประทับใจในศูนย์ พิซซ่าบอกกับเราว่า สิ่งที่ ผมประทับใจมากก็คือ ผมได้รับความรักและการเอาใจใส่จากบราเดอร์ คุณครูและเจ้าหน้าที่ทุกคน เวลาผมท�ำไม่ ถูกต้องบราเดอร์และคุณครูก็จะเตือน บราเดอร์มีอัธยาศัยดี เมื่อผมเดือดร้อน บราเดอร์ก็ช่วยเหลือ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ผมท�ำของหาย บราเดอร์ก็บอกเพื่อนๆ ให้ช่วยกันตามหา ผมประทับใจมาก” และเมื่อถามถึงความใฝ่ฝันในชีวิต พิซซ่าบอกเราว่า “ผมตั้งใจจะปรับปรุงตนเองให้มีนิสัยที่ดีขึ้น และในอนาคตผมอยากจะเปิดร้านนวดแผนไทย” 30 Sep - Oct 2018


dbBulletin

ได้ผ่านเข้ามาเพื่อรับการอบรมกว่า 1,500 คน ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป สถาบันแห่งนี้น�ำความหวังและเป็นพลัง ให้พวกเขาก้าวเดินต่อไปอย่างมีอนาคต ศิษย์เก่าของศูนย์เมื่อจบไปแล้วก็ไป ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น นวด แผนไทย บางคนก็เป็นเจ้าของกิจการ ร้านนวด ท�ำงานบริษัท เป็นคุณครู บางคนก็ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่า ศิษย์เก่าหลายคนก็เป็นนายกสมาคม คนตาบอดประจ�ำจังหวัดของตน เราได้มีโอกาสพบกับศิษย์เก่า กลุ่มหนึ่งซึ่งปัจจุบันเป็นนักกีฬาทีมชาติ โกลบอลชุดเอเชียนพาราเกมส์ 2018 และก�ำลังฝึกซ้อมอยู่ในศูนย์กีฬา ดอนบอสโกภายในศูนย์เพื่อเตรียมตัว ไปแข่งขันที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่าง วันที่ 3-16 ตุลาคม ค.ศ.2018 ประกอบ ไปด้วย 1.นายชลธี สุขชุ่ม (แฝด) อายุ 20 ปี จาก จ.อ่างทอง ศิษย์เก่าปี 2559 2.นายพรชัย จาดมี (หนึ่ง) อายุ 26 ปี จาก จ.พิจิตร ศิษย์เก่าปี 2555

3.นายนพดล ภูศรีโสม (เบนซ์) อายุ 23 ปี จาก จ.ชลบุรี ศิษย์เก่าปี 2556 4.นายบัญชา ฝั้นค�ำอ้าย (เบริ์ด) อายุ 25 ปี จาก จ.ล�ำปาง ศิษย์เก่าปี 2554 5.นายศิวรินทร์ พรพิรุณ (พี) อายุ 26 ปี จาก จ.นครปฐม ศิษย์เก่าปี 2551

นายศิวรินทร์ พรพิรุณเป็น ตัวแทนของเพื่อนในทีมบอกกับเราว่า “พวกเราทุกคนรู้คุณต่อศูนย์แห่งนี้ที่ปั้น พวกเรามา ถ้าหากไม่มีศูนย์แห่งนี้และ ไม่มีสมาชิกคณะซาเลเซียนแล้ว ก็คง ไม่มีพวกเราทุกวันนี้เช่นกัน ศูนย์แห่ง นี้ให้อนาคตกับเรา นอกจากพวกเราที่ เป็นนักกีฬาโกลบอลทีมชาติไทยแล้ว ศูนย์แห่งนี้ยังสร้างนักกีฬาทีมชาติ คนอื่นๆ ด้วย เช่น นายปัญญาวุฒิ คุพันธ์และนายกิตติกร บัวดี (นักกีฬา

ฟุตบอลตาบอดทีมชาติไทย), นายสุบิน ชูชม (นักกีฬาว่ายน�้ำคนพิการทีมชาติ ไทย), นายสหัส ศรีจรุง (นักยูโด คนพิการทีมชาติไทย) ฯลฯ” ศักรินทร์ พูดด้วยน�้ำเสียงภาคภูมิใจ นี่คือภารกิจของการกระซิบ พระวรสารในหัวใจผู้พิการทางสายตา เพื่อให้พวกเขาได้รับรู้ถึงความรักของ พระเจ้า ชีวิตของซาเลเซียนและชีวิต คริสตชนต้องเป็นดังแสงสว่างใน ความมืด เราทุกคนมีหน้าที่จุดไฟ ในหัวใจของคนรอบข้าง การมาที่ศูนย์ แห่งนี้ไม่เพียงแต่ท�ำให้เรารู้จักศูนย์แห่ง นี้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาส ให้คนปกติได้เรียนรู้และเข้าใจชีวิต ของคนในโลกที่มืดบอดอย่างถูกต้อง เพราะการมองไม่เห็นโลกภายนอกไม่ใช่ อุปสรรคส�ำคัญ แต่ความไม่เข้าใจและ ไม่รู้จักเปิดใจของคนปกติอย่างเราๆ ต่างหากที่เป็นปัญหาส�ำคัญ ส�ำหรับพวกเขา db

31

Sep - Oct 2018


LECTIO DIVINA By... พระสังฆราชประธาน ศรีดารุณศีล

ความเมตตาจากภายใน

ให้ความเมตตากรุณาก่อนให้สิ่งของ Lectio : พระเจ้าตรัส ลูกา 6:36-45 ความเมตตากรุณาและความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่ พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณา เถิด อย่าตัดสินเขาแล้วพระเจ้าจะไม่ ทรงตัดสินท่าน อย่ากล่าวโทษเขาแล้ว พระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน จงให้ อภัยเขาแล้วพระเจ้าจะทรงให้อภัยท่าน จงให้ แล้วพระเจ้าจะประทานแก่ท่าน ท่านจะได้รับเต็มสัดเต็มทะนานอัดแน่น จนล้นเพราะว่าท่านใช้ทะนานใดตวงให้ เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ทะนานนั้นตวง ตอบแทนให้ท่านด้วย”

32 Sep - Oct 2018

ความดีบริบูรณ์ พระเยซูเจ้ายังตรัสอุปมาให้เขา เหล่านั้นฟังอีกว่า “คนตาบอดจะน�ำทาง คนตาบอดได้หรือ ทั้งคู่จะตกลงไปในคู มิใช่หรือ ศิษย์ย่อมไม่อยู่เหนืออาจารย์ แต่ทุกคนที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีแล้ว ก็จะเป็นเหมือนอาจารย์ของตน ท�ำไม ท่านจึงมองดูเศษฟางในดวงตาของ

พี่น้อง แต่ไม่สังเกตเห็นท่อนซุงใน ดวงตาของตนเลย ท่านจะกล่าวแก่ พี่น้องได้อย่างไรว่า “พี่น้อง ปล่อยให้ ฉันเขี่ยเศษฟางออกจากดวงตาของท่าน เถิด” ขณะที่ท่านไม่เห็นท่อนซุงใน ดวงตาของตนเอง ท่านคนหน้าซื่อ ใจคดเอ๋ย จงเอาท่อนซุงออกจากดวงตา ของท่านก่อนเถิด ท่านจะเห็นชัด


dbBulletin แล้วจึงค่อยไปเขีย่ เศษฟางออกจากดวงตา ของพี่น้อง ต้นไม้ที่เกิดผลไม่ดีย่อมไม่ใช่ ต้นไม้พันธุ์ดี หรือต้นไม้พันธุ์ไม่ดีย่อม ไม่ให้ผลดีเช่นกัน เรารู้จักต้นไม้แต่ละ ต้นได้จากผลของต้นไม้นั้น เราย่อมไม่ เก็บผลมะเดื่อเทศจากพงหนาม หรือ เก็บผลองุ่นจากกอหนาม คนดีย่อมน�ำ สิ่งที่ดีออกจากขุมทรัพย์ที่ดีในใจของตน ส่วนคนเลวย่อมน�ำสิ่งที่เลวออกมาจาก ขุมทรัพย์ที่เลวของตน เพราะปากย่อม กล่าวสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจออกมา โคโลสี 3:12-15 ท่านเป็นผู้ที่พระเจ้าทรง เลือกสรร เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่รัก ของพระองค์ จงเห็นอกเห็นใจกัน จงมี ความใจดี ความถ่อมตน ความอ่อนโยน และความพากเพียรอดทนเป็นเสมือน เครื่องประดับตน จงผ่อนหนักผ่อนเบา ซึ่งกันและกัน หากมีเรื่องผิดใจกันก็จง ยกโทษกัน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงให้ อภัยความผิดของท่านอย่างไร ท่านก็ จงให้อภัยแก่เขาอย่างนั้นเถิด แต่สิ่งที่ ส�ำคัญกว่าสิ่งใดก็คือ ความรัก ซึ่งรวม เราไว้เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์ ขอให้สันติสุขของพระคริสตเจ้าครอบ ครองดวงใจของท่าน พระเจ้าทรงเรียก ท่านทั้งหลายให้รวมเป็นกายเดียวกันก็ เพื่อจะได้บรรลุถึงสันติสุขนี้เอง จงระลึก ถึงพระคุณนี้เถิด เข้าใจความหมายของพระวาจา 1. ความเมตตาภายนอก และความ เมตตาภายใน การให้ความเมตตาไม่ได้ หมายถึงเพียงการให้อภัยเพื่อนมนุษย์ เท่านั้น พระศาสนจักรสนับสนุนให้ เราท�ำกิจเมตตาฝ่ายกาย 7 ประการ คือ ให้อาหารแก่ผู้หิวโหย ให้น�้ำดื่ม แก่ผู้ที่กระหาย ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ที่เปลือย เปล่า ให้ที่พักอาศัยแก่ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย

เยี่ยมเยียนผู้ป่วย เยี่ยมเยียนผู้ถูกจองจ�ำ และฝังผู้ตาย พระเยซูเจ้าตรัสถึง กิจเมตตา 6 ประการแรกในพระวรสาร ของมัทธิว (25) ส�ำหรับประการที่ 7 พระศาสนจักรได้รับแรงบันดาลใจจาก หนังสือโทบิต (ดู 2:3-7) นอกจาก กิจเมตตาฝ่ายกายเหล่านี้ หนังสือค�ำสอน คาทอลิกยังสอนให้ปฏิบัติกิจเมตตาฝ่าย จิตด้วย คือ ตักเตือนผู้อื่น สั่งสอนคนที่ ไม่มีความรู้ แนะน�ำผู้ที่สงสัย บรรเทา ใจผู้ที่มีความทุกข์ ให้อภัยความผิด บกพร่องของผู้อื่น อดทนต่อคนที่ท�ำผิด และภาวนาอุทิศแก่ผู้เป็นและผู้ตาย เช่นเดียวกับในกรณีอื่นๆ นี่คือรายการที่แนะน�ำให้ปฏิบัติ และ ไม่ได้รวมทุกสิ่งที่เราควรปฏิบัติ ยิ่งกว่า นั้น ยังต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับ ยุคสมัยและสถานการณ์ความทุกข์ยาก ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตของมนุษย์ด้วย เช่น เราควรเพิ่มด้วยว่า “อย่าทอดทิ้ง คนชรา” ในรายการกิจเมตตาฝ่ายกาย และเพิ่มว่า “ให้สั่งสอนความเชื่อแก่ บุตร” ในรายการกิจเมตตาฝ่ายจิต แต่ในบทนี้พ่อไม่ต้องการ กล่าวถึงกิจเมตตาที่ท�ำด้วยมือ มาก เท่ากับความเมตตา “ภายใน” คือ ความเมตตาในหัวใจ อีกนัยหนึ่งคือเรา ควรปฏิบัติกิจเมตตาโดยมีความเมตตา ในใจควบคู่ไปด้วย นักบุญเปาโลเขียน ถึงชาวโคโลสีว่า “จงเห็นอกเห็นใจกัน จงมีความใจดี ความถ่อมตน ความ อ่อนโยนและความพากเพียรอดทนเป็น เสมือนเครื่องประดับตน จงผ่อนหนัก ผ่อนเบาซึ่งกันและกัน หากมีเรื่องผิดใจ กัน ก็จงยกโทษกัน” (คส 3:12-13) ค�ำว่า “เห็นอกเห็นใจกัน” เป็นค�ำแปลที่มีความหมายเบากว่า ต้นฉบับ ซึ่งกล่าวถึง “ความเห็นอก เห็นใจที่มาจากภายใน หรือจากใน ท้อง” เป็นภาพลักษณ์ที่เราเคยพบใน พระคัมภีร์ซึ่งบรรยายความเมตตาของ

พระเจ้า จึงเหมือนกับเปาโลกล่าวว่า “จงเมตตากรุณาเหมือนกับที่พระเจ้า ทรงเมตตากรุณา มิใช่เพียงท�ำกิจการดี แต่ต้องมีเจตนาดีต่อผู้อื่นด้วย” ความเข้าใจของนักบุญเปาโล ท�ำให้เราเห็นว่า นอกจากโลกของความ เมตตาที่ประกอบด้วยค�ำพูดและกิจการ แล้ว ยังมีโลกของความเมตตาภายในซึ่ง แตกต่าง เหมือนวิญญาณแตกต่างจาก ร่างกายภายนอก การท�ำความดีจ�ำเป็น ต้องเกิดจากความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ความเมตตากรุณาต้องเกิดขึ้นก่อน กิจการกุศล นักบุญเปาโลกล่าวว่า “จงรัก ด้วยใจจริง” (รม 12:9) เปาโลใช้ค�ำว่า anhypokritos แปลว่า “ปราศจากการ เสแสร้ง” ค�ำนี้เป็นเสมือนแสงน�ำทางที่ ไม่พบเห็นบ่อยนักในพันธสัญญาใหม่ และจะใช้เมื่อบรรยายความรักของ คริสตชนเท่านั้น ค�ำนี้ปรากฏใน จดหมายถึงชาวโครินธ์ฉบับที่ 2 (6:6) และในจดหมายของนักบุญเปโตรฉบับ ที่ 1 (1:22) ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจความ หมายของค�ำนี้อย่างชัดเจนมาก เพราะ เขาขยายความว่า “จงรักกันจากใจจริง” เปาโลระบุความแตกต่าง ระหว่างการแสดงความเมตตาสอง 33

Sep - Oct 2018


LECTIO DIVINA

แบบนี้ โดยกล่าวว่า แม้เขาจะแจกจ่าย ทรัพย์สินทั้งปวงให้คนยากจนก็ไม่มี ประโยชน์ใดๆ ถ้าเขาไม่ได้ให้ด้วย ความรัก (ดู 1 คร 13:3) ความเมตตา ที่เสแสร้งคือการท�ำดีโดยปราศจาก ไมตรีจิต เป็นเพียงการแสดงความ เมตตาภายนอกที่ไม่ใช่ภาพสะท้อนของ หัวใจ ในกรณีนี้ คนเราอาจท�ำงานการ กุศลด้วยความเห็นแก่ตัวได้ หรือเพื่อ แสวงหาชื่อเสียง หรือแสวงหาประโยชน์ จากพี่น้องชายหญิงของเรา หรือท�ำไป เพราะรู้สึกผิด แต่จะเป็นความผิดพลาด อย่างร้ายแรง ถ้าเรายกเอาความเมตตา ภายในมาต่อสู้กับกิจเมตตาฝ่ายกาย หรือใช้เป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติกิจ เมตตาใดๆ เลย เราไม่มีจุดมุ่งหมาย จะลดความส�ำคัญของกิจเมตตา แต่ ต้องการให้ใช้กิจเมตตานั้นต่อต้านความ เห็นแก่ตัว ความเมตตาในพระทัยเป็นสิ่ง ที่ฉายแสงทะลุกิจการของพระเยซูเจ้า ก่อนจะบอกเล่าการรักษาโรคหรือการ ท�ำอัศจรรย์ครั้งใด พระวรสารมักกล่าว ว่า พระองค์ทรงรู้สึกสงสารประชาชน เมื่อคนโรคเรื้อนคนหนึ่งอ้อนวอนว่า ถ้าพระเยซูเจ้าพอพระทัย พระองค์ย่อม ทรงรักษาเขาให้หายได้ มาระโกเขียน

34 Sep - Oct 2018

ว่า “พระเยซูเจ้าทรงสงสาร ตื้นตัน พระทัย จึงทรงยื่นพระหัตถ์สัมผัสเขา ตรัสว่า ‘เราพอใจ จงหายเถิด’” (1:41) เมื่อทรงเห็นความเศร้าเสียใจของหญิง ม่ายที่เมืองนาอิน พระเยซูเจ้า “ทรง สงสาร” (ลก 7:13) พระองค์ทรงรู้สึก เช่นเดียวกันก่อนจะทรงทวีขนมปัง (ดู มธ 15:32) และในอีกหลายกรณี ในเหตุการณ์เหล่านี้ พระเยซูเจ้าทรง แสดงให้เห็นความรู้สึกของพระบิดาต่อ มนุษย์ ในอุปมาเรื่องบุตรล้างผลาญ เมื่อบิดาเห็นบุตรชายกลับมา ก็ “รู้สึก สงสาร” (ลก 15:20) ถ้าจะแปลวลีนี้เป็นภาษา อังกฤษได้ใกล้เคียงที่สุดก็ต้องแปล ว่า “อารมณ์ที่ออกมาจากที่ลึกในใจ

(deep, heartfelt emotion)” แต่เรา ต้องไม่คิดว่าการแสดงอารมณ์เช่นนี้ เป็นเรื่องน่าอาย และคนเข้มแข็งต้อง ไม่แสดงอารมณ์เช่นนี้ เมื่อเป็นอารมณ์ ที่ออกมาจากใจ ย่อมเป็นปฏิกิริยาที่ เหมาะสมส�ำหรับมนุษย์มากที่สุด และ ย่อมท�ำคุณประโยชน์ให้แก่บุคคลที่ ได้รับ หมายถึงการเปิดใจตนเองต่อ อีกคนหนึ่ง เพราะเหตุนี้มีความถ่อมตน เกิดขึ้นควบคู่กันด้วย 2. การตัดสินด้วยความเมตตากรุณา ในสมณสาสน์ส�ำหรับปี ศักดิ์สิทธิ์ พระสันตะปาปาฟรานซิส เน้นย�้ำความส�ำคัญของการแสดงความ เมตตาด้านหนึ่ง คือ การตัดสินผู้อื่น พระองค์ทรงเขียนว่า “ถ้าผู้ใดปรารถนา จะหลีกเลี่ยงการตัดสินของพระเจ้า เขาไม่ควรท�ำตัวเป็นผู้ตัดสินพี่น้องของ เขา ทุกครั้งที่มนุษย์ตัดสิน เขาจะไม่มอง ไกลเกินผิวหน้า ในขณะที่พระบิดาทรง มองเข้าไปในส่วนลึกของวิญญาณ” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “อย่า ตัดสินเขา และท่านจะไม่ถูกพระเจ้า ตัดสิน... ท�ำไมท่านจึงมองดูเศษฟางใน ดวงตาของพี่น้อง แต่ไม่สังเกตเห็น ท่อนซุงในดวงตาของตนเลย” (มธ 7:1, 3) พระเยซูเจ้าไม่ทรง หมายความว่า “อย่าตัดสินใคร และ เขาจะไม่ตัดสินท่าน” เพราะเรารู้จาก ประสบการณ์ว่าเหตุการณ์ไม่เป็นเช่น นี้เสมอไป แต่พระองค์ตรัสว่า “อย่า ตัดสินพี่น้องของท่าน เพราะพระเจ้ายัง ไม่ตัดสินท่าน” องค์พระผู้เป็นเจ้าทรง เปรียบบาปของเพื่อนมนุษย์ (บาปที่เรา ตัดสิน) ว่าเหมือนเศษฟาง ตรงกันข้าม กับบาปของผู้ที่ตัดสิน (คือบาปจากการ ตัดสินผู้อื่น) ท่อนซุงนั้นคือการตัดสิน ซึ่งร้ายแรงถึงเพียงนี้ในสายพระเนตร ของพระเจ้า


dbBulletin

การกล่าวถึงการตัดสินย่อมมี ความแตกต่างและซับซ้อน ถ้าพูดถึง หัวข้อนี้เพียงบางส่วนก็จะดูเหมือนผิด จากความเป็นจริง เราจะมีชีวิตอยู่ได้ อย่างไรโดยไม่ตัดสินใครเลย? เรา ตัดสินอยู่เสมอแม้แต่ทางสายตา เราไม่ สามารถสังเกต ฟัง และด�ำเนินชีวิตโดย ไม่ประเมินค่าสิ่งต่างๆ โดยไม่ตัดสิน สิ่งต่างๆ ดังนั้น สิ่งที่เราต้องตัดออกไป จากหัวใจของเราไม่ใช่การตัดสิน แต่ เป็นพิษ เจตนาร้าย การประณามใน การตัดสินของเรา เมื่อพระเยซูเจ้าทรง สั่งว่า “อย่าตัดสินเขา และท่านจะไม่ ถูกพระเจ้าตัดสิน” พระองค์ทรงตรัส ตามมาด้วยว่า “อย่ากล่าวโทษเขา แล้ว พระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่าน” (ลก 6:37) อันที่จริง การตัดสินเป็นการ กระท�ำที่เป็นกลาง เพราะอาจจบลง ด้วยการกล่าวโทษหรือการประกาศว่า ไม่มีความผิดก็ได้ ในที่นี้ เราก�ำลังพูด ถึงการตัดสินด้านลบ ซึ่งพระวาจาของ พระเจ้าห้ามไว้ คือการประณามทั้งบาป และคนบาป มารดาคนหนึ่งและบุคคล ภายนอกจะตัดสินความบกพร่องของ ทารกต่างกัน มารดาจะรู้สึกเจ็บปวดกับ ข้อบกพร่องนั้นราวกับเป็นของเธอเอง เธอรู้สึกว่าตนเองต้องร่วมรับผิดชอบ และตั้งใจว่าจะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องนั้น

เธอจะไม่เที่ยวโพนทะนาว่าบุตรน้อย ของเธอมีข้อบกพร่อง เราควรตัดสิน พี่น้องของเราเหมือนกับมารดาคนนี้ เพราะ “แม้เราจะมีจ�ำนวนมาก เราก็ รวมเป็นร่างกายเดียว” (รม 12:5) เขา เหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “ครอบครัว ของเรา” Meditatio : มองชีวิตของเราโดยมี พระวาจาน�ำทาง 3. ความเมตตาในสายตาของบุคคล หนึ่ง เมื่อเราอ่านพระวรสาร เรา จะเห็นความส�ำคัญของสายพระเนตร ของพระเยซูเจ้า การพบกันหลายครั้ง เริ่มต้นด้วยสายพระเนตรที่แสดงความ รักและความเมตตาของพระองค์ เช่น ในกรณีของเศรษฐีหนุ่ม (มก 10:21) ศักเคียส (ลก 19:5) และเปโตร หลัง จากเขาทรยศพระองค์แล้ว (ลก 22:61) พระองค์ไม่ทรงมองผ่านๆ บางครั้ง พระวรสารกล่าวว่า “พระองค์ทอด พระเนตรผู้ที่นั่งเป็นวงล้อมอยู่” (ดู มก 3:34) บางครั้งสายพระเนตรนั้น เจาะเข้าถึงส่วนลึกของตัวตนของมนุษย์ พระองค์ “ทรงล่วงรู้ใจ” (ดู ลก 16:15) สายพระเนตรของพระองค์เป็นสาย พระเนตรที่เปี่ยมด้วยความเมตตา และยอมรับเสมอเมื่อใดที่ทรงอยู่กับ

ประชาชนที่เปิดใจหรือก�ำลังแสวงหา แต่บางครั้ง เมื่อทรงอยู่กับคนหน้าซื่อ ใจคดหรือคนที่เป็นปฏิปักษ์ “พระองค์ ทอดพระเนตรเขาเหล่านั้นด้วยความ กริ้ว” (มก 3:5) กล่าวกันว่าเมื่อเวลาผ่านไป เป็นศตวรรษ หลายสิ่งหลายอย่างก็ เปลี่ยนไป แต่ภาษาของสายตาไม่เคย เปลี่ยน ความหมายของรอยยิ้ม น�้ำตา ความกลัว ความสงสัย และความไว้ วางใจจะเหมือนกันทุกที่ พระเยซูเจ้า ตรัสว่า “ประทีปของร่างกายคือดวงตา ดังนั้น ถ้าดวงตาของท่านเป็นปกติ ดี สรรพางค์กายของท่านก็จะสว่างไป ด้วย” (มธ 6:22) ดวงตาเป็นกระจกส่อง วิญญาณ การมองเข้าไปในดวงตาของ บุคคลจึงเหมือนกับการเคาะประตูบ้าน ของเขา เมื่อมีใครมาเคาะประตูบ้านของ เรา เราแสดงปฏิกิริยาได้หลายทาง เช่น เราอาจตัดสินใจไม่เปิดและเพียงแต่แอบ ดูผ่านช่องในประตู เราสามารถอ้าประตู ไว้แต่ไม่ยอมให้ใครเข้ามาก็ได้ ดวงตา ของบุคคลที่มาพบกันจะสะท้อนอารมณ์ อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความหมางเมิน และความเหนื่อยหน่าย หรือความยินดี ความสาสมใจ ความ กระตือรือร้น และความพร้อมจะช่วย เหลือ น่าเศร้าที่ดวงตาของบางคนไม่ ยอมให้แสงสว่างผ่านเข้าไปภายในตัว 35

Sep - Oct 2018


LECTIO DIVINA

เขา หรือไม่แสดงความรู้สึกของเขา แต่ เหมือนกับหน้าต่างที่ใช้แผ่นไม้ปิดทับไว้ การแพทย์สมัยใหม่สามารถ วินิจฉัยโรคได้จากการมองดวงตาของ มนุษย์ โรคของวิญญาณจึงสะท้อนออก มาทางดวงตาด้วยเช่นกัน คนที่ขาด ความมั่นใจจะไม่มองใครตรงๆ และไม่ สบตาใครเป็นเวลานาน ดวงตาของคน จองหองและอวดดีจะสร้างระยะห่างจาก ตัวเขาและผู้อื่นเสมอ ดวงตาของคนหลง ตนเองจะมองเห็นแต่ตัวเองแม้ในขณะ ที่เขามองผู้อื่น ดวงตาของคนเห็นแก่ ตัวจะมองหาแต่ผลประโยชน์ให้ตนเอง ดวงตาของคนโกงจะมองหาจุดอ่อนของ ผู้อื่น ดวงตาของคนมักมากในกามจะไม่ เคยมองว่าผู้อื่นเป็นมนุษย์ แต่เป็นเพียง วัตถุส�ำหรับตอบสนองความปรารถนา ของตนเอง พ่อสาธยายทั้งหมดนี้เพื่อให้ เห็นว่าเราทุกคนมีเครื่องมือล�้ำค่าที่จะใช้ แสดงความเมตตาได้ คือสายตาของเรา เราอาจใช้สายตาเป็นยาสมานแผล หรือ เป็นน�้ำส้มราดบาดแผลก็ได้ ค�ำสอนของ ยากอบเกี่ยวกับลิ้น (3:5-10) สามารถ ใช้ได้กับสายตา เราสามารถใช้สายตา เพื่อฆ่าคนหรือน�ำชีวิตมาให้ก็ได้ จะพ่น พิษใส่คนหรือปลอบโยนเขาก็ได้ 4.ความเมตตา คุณธรรมส�ำหรับบุคคล ที่ไม่มีอะไรจะให้

36 Sep - Oct 2018

ความเมตตาในสายตานับว่า เป็นความเมตตาที่มนุษย์ทุกคนสามารถ และควรให้ได้ โซเรน เคิร์กการ์ด เป็น นักปรัชญา เขาเป็นผู้มีความเชื่อหนัก แน่นและเป็นเพื่อนของพระเยซูเจ้าด้วย เขาเข้าใจว่าความเมตตาเป็นคุณธรรมที่ เหนือกว่าคุณธรรมอื่นใดส�ำหรับบุคคล ที่ไม่มีอะไรจะให้ ยกเว้นสายตาที่เมตตา กรุณา เขาเขียนว่า “มนุษย์เราสามารถ แสดงความเมตตาได้ทั้งที่ไม่มีอะไรจะ ให้ใครเลยแม้แต่น้อย นี่คือสิ่งส�ำคัญ มาก เนื่องจากความสามารถแสดง ความเมตตานับว่าเป็นความครบครัน ที่ยิ่งใหญ่กว่าการมีเงิน และให้เงินนั้น แก่ผู้อื่น ... จงมีความเมตตากรุณาเถิด จากนั้นจึงให้เงิน ถ้าปราศจากความ เมตตา เงินจะส่งกลิ่นเหม็น” เราจะท�ำร้ายคนจนอย่างสาหัส ถ้าเราถือว่าเขาเป็นเพียงวัตถุและเป็น ผู้รอรับความเมตตาจากเรา และมอง ว่าเขาต้องโค้งค�ำนับและแสดงความ กตัญญูทุกครั้งที่คนรวยต้องการแสดง ความเมตตา เคิร์กการ์ดบอกว่านั่นคือ “ความไร้เมตตา” เพราะเหมือนกับ การคิดว่าคนจนไม่สามารถแสดงความ เมตตาได้ นี่คือบทเรียนที่พระเยซูเจ้าทรง ต้องการสอนศิษย์ของพระองค์ เมื่อหญิง ม่ายยากจนคนหนึ่งใส่เงินสองเหรียญ ลงในตู้ทานในพระวิหาร พระองค์ตรัส

ว่านางได้ท�ำทานมากกว่าคนรวยทุกคน (ดู มก 12:42-43) นับว่าเป็นโชคดีส�ำหรับเราที่ทุกคน สามารถแสดงความเมตตาได้ ไม่ว่าจะ เป็นคนรวยหรือคนจน ความเมตตา เป็นคุณธรรมที่ทุกคนปฏิบัติได้ และ เหนืออื่นใดเป็นคุณธรรมส�ำหรับบุคคล ที่ไม่มีอะไรจะมอบให้ผู้อื่น Oratio (ช่วงสนทนากับพระเจ้าหลังจากที่ ได้อ่านพระวาจาและอ่านชีวิตของ เราแล้ว) Contemplatio (อยู่กับพระวาจา) “....สิ่งที่ส�ำคัญกว่าสิ่งใดก็คือ ความรัก ซึ่งรวมเราไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน อย่างสมบูรณ์ ขอให้สันติสุขของพระ คริสตเจ้าครอบครองดวงใจของท่าน พระเจ้าทรงเรียกท่านทั้งหลายให้รวม เป็นกายเดียวกันก็เพื่อจะได้บรรลุถึง สันติสุขนี้เอง จงระลึกถึงพระคุณนี้เถิด” (โคโลสี 3:14-15) Communicatio (น�ำพระวาจาไปปฏิบัติ)


บุญราศีไมเคิล รัว

dbBulletin

By... Eccomi

บุญราศีไมเคิล รัว

ผู้สืบทอดต�ำแหน่งของคุณพ่อบอสโกคนแรก (1937-1910)

บทภาวนาเพื่อการสถาปนา เป็นนักบุญของบุญราศีไมเคิล รัว ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพและเมตตาปราณี พระองค์โปรดให้บุญราศีไมเคิล รัว เจริญชีวิตตามแบบอย่างของนักบุญยอห์น บอสโก ในด้านจิตตารมณ์และพันธกิจที่คุณพ่อได้เริ่มไว้ เราวอนขอพระองค์ได้ทรงโปรดช่วย ผู้ที่วอนขอความช่วยเหลือจากท่าน เพื่อว่าคุณพ่อไมเคิล รัว จะได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญ เราวอนขอทั้งนี้โดยอาศัยค�ำเสนอวิงวอน ของพระมารดาองค์อุปถัมภ์ผู้ซึ่งเป็นที่รักของท่าน และโดยอาศัยพระบารมีของพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน

เกิด: 9 มิถุนายน ค.ศ.1837 ที่ตุริน ประเทศอิตาลี สิ้นใจ: 6 เมษายน ค.ศ.1910 สถาปนาเป็นบุญราศี: 29 ตุลาคม ค.ศ.1972 ระลึกถึง: วันที่ 29 ตุลาคม

เชิญร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกพระรูปบุญราศีไมเคิล รัว และแห่พระรูป ณ วัดดอนบอสโก กรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.2018 เวลา 18.00 น. 37

Sep - Oct 2018


ส่องโลกซาเลเซียน

By... SDB Reporter

World News ฟื้นฟูจิตใจสมาชิกกลุ่ม ADMA ตุริน

สมาชิกสมาคมแม่พระองค์อุปถัมภ์ ของตุรินพร้อมกับครอบครัวรวมกว่า 500 คน ได้ไปเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจที่วัลเลดาออสต้า ใน หัวข้อ “การเดินทางแห่งความเชื่อ” (อับราฮัม อิสอัค ยากอบ โยเซฟ และครอบครัว) โดยแบ่ง ออกเป็น 4 ผลัด ผลัดละ 5 วัน เริ่มตั้งแต่วัน ที่ 29 กรกฎาคม ถึงวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ.2018 ช่วงเวลาของการฟื้นฟูจิตใจเป็นเวลาแห่งพระพรและการแบ่งปันประสบการณ์ แห่งความเชื่อให้แก่กัน อนึ่ง กลุ่ม ADMA ก�ำลังเตรียมตัวเพื่อการฉลองครบรอบ 150 ปีแห่งการก่อตั้งกลุ่ม ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.2019 เยาวชนซาเลเซียนเข้าเฝ้าพระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.2018 เยาวชนจากองค์กรซาเลเซียนในอิตาลีร่วมกับ เยาวชนอิตาเลี่ยน 70,000 คน ร่วมชุมนุมที่ กรุงโรม และเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส โอกาสเตรียมประชุมสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 15 หัวข้อ เยาวชน ความเชื่อและการ วินิจฉัยกระแสเรียก ระหว่างวันที่ 3-28 ตุลาคม ค.ศ.2018 การชุมนุมครั้งนี้เยาวชนได้ร่วมกันภาวนา รับศีลอภัยบาปและฟังการ แบ่งปันความเชื่อจากเพื่อนเยาวชนด้วยกัน และร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณที่ลานพระวิหารนักบุญเปโตรกับสมเด็จพระสันตะปาปา

ฉลองวันเกิดครบ 203 ปีของคุณพ่อบอสโก

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.2018 คุณพ่ออังเกล เฟอร์นันเดส อาร์ติเม อัคราธิการคณะซาเลเซียนเป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสฉลองวันเกิด ของคุณพ่อบอสโกครบ 203 ปี (1815-2018) ณ วิหารนักบุญยอห์น บอสโก ที่เบกกี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านนักบุญ นอกนั้นในปีนี้ยังครบรอบ 100 ปีของสักการสถาน แม่พระองค์อุปถัมภ์ (เปิดเสก 8 สิงหาคม ค.ศ.1918) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย โดยก่อนเริ่มพิธีมิสซาได้มีการบรรยายถึง ความเป็นมาและความหมายในเชิงสถาปัตยกรรมของสักการสถานให้กับสัตบุรุษและเยาวชนที่มาร่วมงาน คุณพ่ออัคราธิการได้ ให้ข้อคิดในพิธีบูชาขอบพระคุณว่า “ให้เราขอบคุณพระเจ้าที่ประทานคุณพ่อบอสโกมาให้เรา เยาวชนทุกวันนี้ต้องการซาเลเซียน ให้เราเป็นดังคุณพ่อบอสโกในโลกปัจจุบัน”

พบพระเยซูเจ้าผ่านทางพระวาจาในแผ่นดินของพระองค์

เมื่อวันที่ 20-29 สิงหาคม ค.ศ.2018 ฝ่ายการอบรมของคณะซาเลเซียน น�ำโดยคุณพ่อ Ivo Coelho ที่ปรึกษาอัคราธิการฝ่ายการอบรม ได้จัดการอบรมเป็น ครั้งแรกในหัวข้อ “พบพระเยซูเจ้าผ่านทางพระวาจาในแผ่นดินของพระองค์” ให้กับ สมาชิกซาเลเซียน ณ บ้านซาเลเซียน Ratisbonne กรุงเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล โดยมีคุณพ่อฮวน โฮ่เซ่ บาร์โธโลเม คุณพ่อมาระโก โรเซตตี และคุณพ่อชาจิ โยเซฟ เป็นผู้ให้การอบรม มีสมาชิกผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น 34 คน จาก 17 ชาติทั่วโลก ในจ�ำนวนนี้มีคุณพ่ออารอน อัลโกเซบาและ คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรีว่าอุดม จากประเทศไทยที่เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ 38 Sep - Oct 2018


dbBulletin ช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย

ศูนย์ดอนบอสโกบูกาวา สาธารณรัฐคองโก ได้เข้าช่วยเหลือ ชาวบ้านกว่า 200 หลังคาเรือนซึ่งประสบอัคคีภัยในย่านยาลูเคมบา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.2018 ต้นเพลิงเกิดจากบ้านหลังหนึ่งจากนั้น ก็ลุกลามไปยังบ้านอื่นๆ ในย่านนั้นอย่างรวดเร็วเพราะเนื่องจากบ้านถูก สร้างด้วยไม้และบ้านอยู่ติดกันทั้งหมด จากรายงานแจ้งว่ามี 289 ครอบครัว จ�ำนวนกว่า 2,000 คน ได้สูญเสียทุกสิ่ง ไม่มีที่พักอาศัยและขาดอุปกรณ์ที่จ�ำเป็นในการด�ำรงชีวิต สามเดือนที่ผ่านมาเกิดอัคคีภัย เช่นนี้มาแล้วถึง 4 ครั้ง ศูนย์ดอนบอสโกได้ท�ำงานช่วยเหลือเยาวชนในย่านนี้ เสมอมา โดยในปีที่แล้วศูนย์ดอนบอสโกได้ให้ทุน การศึกษากับเด็กๆ จ�ำนวน 507 คน เพื่อเข้าเรียนในระดับประถมและมัธยมต้น

การแข่งขันกีฬาซาเลเซียนที่โคลอมเบีย

การเล่นกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่ซาเลเซียนใช้เพื่ออบรม เยาวชน และด้วยตระหนักถึงความส�ำคัญประการนี้ แขวงซาเลเซียน ประเทศโคลอมเบียจึงได้จัดการแข่งขันกีฬาซาเลเซียนระดับชาติ ครั้งที่ 13 ขึ้นที่ โรงเรียน Pedro Justo Berrío และ ที่โรงเรียน El Sufragio ระหว่าง วันที่ 21-25 สิงหาคม ค.ศ.2018 โดยมีทีมเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 14 ทีม ใน ระดับอายุ 15-17 ปี โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสมาชิกซาเลเซียน คณะครู ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า โดยในพิธีเปิดได้มี การแสดง เต้นร�ำและร้องเพลงอย่างอลังการ การจัดงานครั้งนี้น�ำความประทับใจมายังทุกคนที่ได้เข้าร่วมและท�ำให้คิดถึงพระ ด�ำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสที่ว่า “กีฬาสร้างวัฒนธรรมแห่งการพบปะกันเพื่อโลกที่เต็มด้วยสันติ”

ซาเลเซียนในงานชุมนุมครอบครัวสากลที่ไอร์แลนด์

โอกาสงานชุมนุมครอบครัวสากลระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม ค.ศ.2018 ที่กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ คณะซาเลเซียนได้มีซุ้มจัดแสดงนิทรรศการร่วมอยู่ ในงานครั้งนี้ด้วย โดยมีผู้สนใจเข้าชมทั้งซาเลเซียน สมาชิกครอบครัวซาเลเซียนและ บุคคลทั่วไปเข้าชมจ�ำนวนมาก ในจ�ำนวนนี้มีพระคาร์ดินัลออสการ์ โรดีเกซ มาราดิอากา จากประเทศฮอนดูรัส และพระคาร์ดินัลชาร์ลส์ เมือง โบ จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ที่มาเยี่ยมชมด้วยโดยมี คุณพ่อยูนัน แม็คโดเนล เจ้าคณะแขวงซาเลเซียนของประเทศไอร์แลนด์ให้การต้อนรับ ปัจจุบัน ซาเลเซียนในประเทศไอร์แลนด์ ได้จัดตั้งองค์กร “Don Bosco Care” เพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่ไม่มีบ้านและไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้ โครงการดังกล่าวมี จุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยาวชนในกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหาให้สามารถด�ำเนินชีวิตอยู่ในสังคมและเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีในอนาคต

สหประชาชาติมอบรางวัลยอดเยี่ยมแก่องค์กรการกุศลดอนบอสโก

องค์กรการกุศลดอนบอสโกแห่งนิว โรเชลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลองค์กรการกุศลยอดเยี่ยมที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ประจ�ำปี 2018 จากสหประชาชาติ คุณพ่อมาร์ค ไฮด ผู้รับผิดชอบองค์กรกล่าวว่า “งานที่เราท�ำ จะไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ถ้าปราศจากชาวอเมริกันนับล้านคน ไม่ว่าจะเป็นจาก องค์กรรัฐบาลและเอกชน ที่ช่วยบริจาคจนท�ำให้โครงการต่างๆ ของเราเกิดขึ้นได้” องค์กรการกุศลดอนบอสโกนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเยาวชน ครอบครัวและชุมชนต่อสู้กับ ความยากจน ความทุกข์ยากและความสิ้นหวัง บรรดาซาเลเซียนช่วยเหลือเยาวชนที่ยากจนมากกว่า 132 ประเทศทั่วโลก โดยให้การศึกษา และเตรียมตัวให้พวกเขาเข้าสู่โลกของการท�ำงาน เวลานี้ทางองค์กรยังมีโครงการช่วยเหลือชาวบ้านให้มีน�้ำ สะอาดใช้และดูแลด้านสุขภาพด้วย 39

Sep - Oct 2018


REGIONAL NEWs

By... SDB Reporter

Regional News ตัวแทนคณะกรรมการศิษย์เก่าซาเลเซียนรุ่นเยาว์ (GEX) เยี่ยมภูมิภาค EAO เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ค.ศ.2018 ที่ผ่านมา ตัวแทนคณะ กรรมการที่ปรึกษาของสมาพันธ์ศิษย์เก่าซาเลเซียนรุ่นเยาว์ระดับโลก (GEX = Giovani Exallievi) คือ Mr. Angel Gudiña (รองประธาน GEX) และ Mr. Alberto Piedade (ที่ปรึกษาของ GEX Asia-Oceania) ได้เดินทาง เยีย่ ม 4 แขวงในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย (EAO) ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศฟิลปิ ปินส์ (2 แขวง) และประเทศญีป่ นุ่ เพื่อพบปะกับกลุ่มศิษย์เก่าซาเลเซียนและน�ำเสนอแผนด�ำเนินงานของสมาพันธ์ และเสนอโปรแกรมของสมาพันธ์ในเรื่องของ โรงเรียนส�ำหรับผู้น�ำ การแลกเปลี่ยนเยาวชน งานอาสาสมัครและเครือข่ายธุรกิจ สมาชิกซาเลเซียนเวียดนามปฏิญาณตนครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.2018 สมาชิกซาเลเซียนแขวงเวียดนาม จ�ำนวน 20 คนได้ปฏิญาณตนครั้งแรก คุณพ่อเจ้าคณะแขวงได้ขอบคุณบิดา มารดาของสมาชิกที่มอบลูกชายให้กับคณะซาเลเซียนเพื่อเป็นธรรมทูต ท่ามกลางเยาวชน และได้เชื้อเชิญให้บิดามารดาของสมาชิกผู้ปฏิญาณตน ช่วยกันส่งเสริมและให้ก�ำลังใจลูกๆ ให้ซื่อสัตย์ในการอุทิศตนเพื่อพระเจ้า เพื่อพระศาสนจักร เพื่อคณะซาเลเซียน และเพื่อเยาวชนที่ยากจน ดังเช่นคุณแม่มาร์เกริตา มารดาของคุณพ่อบอสโกที่ได้ร่วมงาน และอยู่เคียงข้างคุณพ่อบอสโกในการท�ำงานแพร่ธรรม อนึ่ง ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมนี้ แขวงเวียดนามได้มีการบวชพระ สงฆ์ซาเลเซียนจ�ำนวน 11 องค์ และมีการปฏิญาณตนตลอดชีวิตของซาเลเซียนอีก 7 ท่าน ซาเลเซียนตอบรับการเรียกของพระเจ้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลก ปัจจุบัน คณะกรรมการฝ่ายการอบรมของคณะซาเลเซียนแขวง ออสเตรเลีย-แปซิฟิคได้จัดการสัมมนาประจ�ำปีในหัวข้อ “ซาเลเซียนตอบ รับการเรียกของพระเจ้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน” ณ Chestnut Hill Conference Lodge, Kallista ระหว่างวันที่ 24-27 สิงหาคม ค.ศ.2018 โดยได้รับเกียรติจากคุณพ่อมณฑล โรจนสุทัศน์กุล ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ เป็นวิทยากรหลักในการ อบรม ซึ่งมีสมาชิกซาเลเซียนที่บวชเป็นพระสงฆ์ บราเดอร์ และภราดาที่ปฏิญาณตนตลอดชีพแล้วในระยะเวลา 5 ปีแรกเข้าร่วม จ�ำนวน 15 คน (จากประเทศซามัว ประเทศฟิจิ และนักศึกษาจากแขวงต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และโอเชียเนียที่ก�ำลัง ศึกษาเทววิทยาอยู่ในเมลเบิร์น) ชุมนุมผู้น�ำเยาวชนซาเลเซียนฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.2018 แขวงซาเลเซียนฟิลิปปินส์เหนือ ได้จัดการชุมนุมผู้น�ำเยาวชนซาเลเซียนที่ปาราญาเก โดยมีเยาวชนมาร่วม ชุมนุม 265 คน การชุมนุมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อร่วมกันปรับปรุงคู่มือ ของผู้น�ำเยาวชนและเป็นการพบปะกันเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและแบ่งปัน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 40 Sep - Oct 2018


dbBulletin

ประชุมผู้รับผิดชอบครอบครัวซาเลเซียน ภูมิภาค EAO เมื่อวันที่ 18-20 สิงหาคม ค.ศ.2018 มีการจัดประชุมผู้รับผิดชอบครอบครัวซาเลเซียน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย (EAO) ณ บ้านฟื้นฟูจิตใจซาเลเซียนที่อนิสกาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยมีคุณพ่อ ยูเซบิโอ มูนญอซ ผู้รับผิดชอบครอบครัว ซาเลเซียนระดับโลก, คุณพ่อราฟาเอล จาญาพาลาน ผู้รับผิดชอบศิษย์เก่าระดับโลก มาประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบครอบครัว ซาเลเซียนของแต่ละแขวงในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกและโอเชียเนีย จ�ำนวน 10 คน ผู้แทน ของซิสเตอร์ซาเลเซียน 3 คน ฆราวาสและศิษย์ เก่า 11 คน คุณพ่อฟรังซิส ไกส์ เป็นตัวแทน ประเทศไทยไปร่วมประชุมในครั้งนี้

“DON BOSCO AND THE LOST BOYS” เดอะมิวสิคัล Don Bosco Academy – Bacolor ร่วมกับ Arti Sta.Rita และ เครือบริษัท Laus Group จัดแสดงละครเพลง “DON BOSCO AND THE LOST BOYS” เดอะมิวสิคัล ที่เมือง San Fernando ประเทศ ฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2018 ก�ำกับการแสดงโดย Mr. Andy Alviz ผู้ก�ำกับละครเพลงผู้มีชื่อเสียง ละครเพลงเรื่องนี้บอกเล่าถึงเรื่องราว ชีวิตและกระแสเรียกของคุณพ่อบอสโก เพื่อให้ลูกๆของคุณพ่อบอสโกจะได้ รู้จักท่านมากขึ้นในฐานะที่เป็นบิดา อาจารย์และเพื่อนของเยาวชน กิจกรรม นี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ปกครองและครูของ โรงเรียนซาเลเซียนที่เมือง ซานเฟอร์นันโด

ประชุมผู้ให้การอบรมหลังนวกภาพภูมิภาคเอเชียตะวันออกและ เอเชียใต้ ระหว่างวันที่ 1-4 กันยายน ค.ศ.2018 ฝ่ายการอบรมของคณะ ซาเลเซียนน�ำโดยคุณพ่อ Ivo Coelho ที่ปรึกษาอัคราธิการด้านการอบรม ได้จัดประชุมผู้ให้การอบรมหลังนวกภาพภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชีย ใต้ ณ บ้านฟื้นฟูจิตใจซาเลเซียน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ โดยมีผู้เข้าร่วม ประชุมจากภูมิภาคต่างๆ จ�ำนวน 33 คน ในจ�ำนวนนี้มีคุณพ่อบุญเลิศ ปณีตัธยาศัย เข้าร่วมประชุมด้วย ในวันแรกได้มีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปัน ถึงความท้าทายในการอบรม นอกนั้นมีการน�ำเสนอหนังสือจิตตารมณ์ ซาเลเซียนและแลกเปลี่ยนแผนการอบรมรวมทั้งหนังสือและอุปกรณ์ที่ใช้ใน บ้านอบรมด้วย ในช่วงท้ายของการสัมมนา คุณพ่อ อาร์มัน โรเบิลซา (FIN) ได้เป็นวิทยากรบรรยายถึงการอบรมเยาวชนในโลกปัจจุบัน ในภาพรวมแล้วสมาชิกผู้ร่วมสัมมนาทุกคนประทับใจในการต้อนรับของแขวงไทยที่เป็นเจ้าภาพด้านสถานที่และ ขอบคุณคุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะแขวงฯ ที่สร้างบรรยากาศให้ทุกคนรู้สึกเหมือนอยู่บ้านและท�ำให้การสัมมนานี้ ด�ำเนินไปอย่างดี 41

Sep - Oct 2018


บทความ

By... ว.วรินทร์

เยาวชนกับ... “พลังความดี” เริ่มที่ไหน...

42 Sep - Oct 2018


dbBulletin ขณะที่ก�ำลังคลิกหาข้อมูลจาก www.google.com เพื่อเตรียมสอน ศีลธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งโดยปกติจะประกอบการสอน ด้วยการใช้คลิปวิดีโอสั้นๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต ตามอุดมการณ์การอภิบาลประจ�ำปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนในเครือ ที่ว่า “กล้าคิด กล้าท�ำ กล้าน�ำ ด้วยใจยินดี” อยู่นั้น สายตาก็สะดุดกับค�ำ โดน...ค�ำหนึ่ง กล่าวคือ “พลังความดี” คิดในใจว่า โห...ใช่เลย...นี่แหละ... ที่อยากได้เป็นข้อมูลในการแบ่งปันให้กับเด็กๆ โดยในคอลัมน์นี้ ผู้เขียนใช้ นามปากกาว่า Advertorial เผยแพร่เมื่อ 2 สิงหาคม 2559 จากเว็บไซต์ ของไทยรัฐ โดยในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าว ได้โพสต์ค�ำเชิญชวน “คลิปสั้นๆ 1 นาที จุดประกายความดี ในสังคม” เผยแพร่อยู่พร้อมกับค�ำบรรยาย “สิ่งเล็กๆ ที่เราท�ำ จะกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ และความ “สุขใจ” อย่างที่ คาดไม่ถึง” เพราะ “ในสังคมทุกวันนี้ มนุษย์เราต่างใช้ชีวิตบนความเร่งรีบ ทุกคนต้องการที่จะประสบความส�ำเร็จในชีวิต ต่างไขว่คว้าหาโอกาสให้กับ ตัวเอง จนบางครั้งกลับกลายเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น หรือเป็นการเฉยเมย

ต่อสังคมเกินไปหรือไม่ อ่านถึงบรรทัดนี้ หลาย ท่านคงมีค�ำถามต่อ...แล้วเราต้องท�ำอะไร ยิ่งใหญ่แค่ไหนกัน? ถึงจะช่วยสังคมให้ดีขึ้นได้” จากนั้น ผู้เขียนได้ถ่ายทอดและขยาย ความคิดนี้ผ่านทางคลิปวิดีโอสั้นๆ 3 คลิป ซึ่ง ในแต่ละคลิปมีความยาวไม่ถึง 1 นาที พร้อมกับ ข้อเขียนที่ว่า “...1 นาทีที่คุณก�ำลังจะรับชมต่อ ไปนี้ อาจจุดประกายสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในหัวใจ ของคุณ “ความดี” เล็กน้อยที่จะคืนความงดงาม ของสังคมไทย” ซึ่งได้แก่ 1. คลิปพลังความดี เริ่มต้นที่ตัวเรา_รถเข็น 2. คลิปพลังความดีเริ่ม ที่ตัวเรา_ข้ามถนน 3. คลิปพลังความดีเริ่มที่ตัว เรา_รถเมล์ … ผู้เขียนได้สรุปไว้ว่า “ตอนจบของ เรื่องเหล่านี้ ที่คุณจะเลือกนั้น อาจจะเป็นเพียง ความดีง่ายๆ ที่สร้างรอยยิ้มเล็กๆ ให้กับทั้งคุณ และผู้ที่ได้รับ ที่ส�ำคัญที่สุดมันอาจจะเป็นความ ดีที่ท�ำให้คุณมีส่วนสร้างสัมคมให้ดีขึ้น ด้วยพลัง ความดีที่คุณเริ่มต้นจากคุณเอง” (https://www.thairath.co.th/content/673071) ข้อมูลที่ได้ นับเป็นประโยชน์มากมาย ทีเดียวส�ำหรับการแบ่งปันให้กับนักเรียนที่สอน... หลังจากการชมคลิปวิดีโอดังกล่าวข้างต้นแล้ว พวกเขาได้มีการพูดคุยแบ่งปันสิ่งที่ได้รับ พร้อม สานต่อความคิดและตอบค�ำถามที่ว่า หลังจาก รับชมคลิปวิดีโอสั้นๆ เหล่านี้แล้ว... “นักเรียนจะ สามารถเป็นคนดีในสังคมปัจจุบันได้อย่างไร?” และ “ความดีที่นักเรียนคิดว่าท�ำได้จริงในชีวิต ประจ�ำวันมีอะไรบ้าง?” นางสาวสุชานันท์ จอมจันทร์ ชั้น ม.5 ได้แบ่งปันว่า... “คนดีเป็นได้ทุกที่ ทุกเวลา คนดีในปัจจุบันคือ การเป็นพลเมืองดีของบ้าน เมือง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ไม่ ท�ำการกระท�ำที่เรียกว่า มักง่าย เอาเปรียบผู้อื่น เห็นแก่ตัว และไม่เบียดเบียนใครทั้งคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ไม่ท�ำผิดกฎ ระเบียบของสังคม ไม่แล้ง น�้ำใจ เมินเฉยต่อผู้ที่ควรจะ ช่วยเหลือที่เราพอจะช่วยได้ และสิ่งที่ส�ำคัญอีก 43

Sep - Oct 2018


บทความ

มุมหนึ่งก็คือ คิดดี พูดดี พูดในสิ่งที่สมควรพูด ไตร่ตรองทุกค�ำพูดที่จะ พูดถึงผู้อื่น เพื่อไม่ให้กระทบต่อตนเองและผู้ที่รับฟัง เงียบในเวลาที่ ควรเงียบ ไม่ใช่พูดในทุกสถานการณ์ สิ่งเหล่านี้ถ้าเราปฏิบัติได้ก็ถือได้ว่า คนดี เป็นพลเมืองดีของสังคม...” และในฐานะที่ยังเป็นนักเรียนอยู่ ความ ดีที่สามารถท�ำได้ ณ เวลานี้ก็คือ “การตั้งใจเรียน ตั้งใจท�ำคะแนนสอบให้ ดีที่สุด มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ เป็นเด็กดีของแม่และพี่สาว พูดดี คิดดี การพูดดีคือ พูดไม่หยาบคาย พูดในสิ่งที่สมควรพูด คิดดีคือ กล้า คิดในทางที่ดี มีมุมมองในแนวบวก และกล้าที่จะน�ำเสนอความคิดเช่นกัน ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม โดยการทิ้งขยะให้ลงถัง แยกขยะ ไม่ทิ้งขยะตามพื้น ตามริมทางพุ่มไม้ต่างๆ ปฏิบัติตามกฎของโรงเรียนอย่างดี มีมารยาทกับ คนทุกรุ่นไม่เพียงต่อผู้อาวุโส ทั้งหมดนี้คือ ความดีที่คิดว่าจะท�ำได้ดีค่ะ” ส่วนนางสาวนวพร สมชอบ นักเรียนชั้น ม.5 เช่นกัน ก็ได้ แบ่งปันว่า “ในสังคมปัจจุบันที่เราอยู่นั้น ไม่ได้มีแต่คนดีเสมอไป มีทั้ง คนที่เห็นแก่ตัว มีทั้งคนที่คดโกง ซึ่งอยู่ปะปนกันทั่วเมือง เวลายังคง ด�ำเนินต่อไปเรื่อยๆ ทั้งที่ยังมีทั้งคนดีและคนไม่ดีในสังคม สังคมใน ปัจจุบันจึงวุ่นวาย และก็นับเป็นเรื่องปกติ ส�ำหรับเราไปเสียแล้ว แต่ถ้าหากสังคมนี้มีแต่ คนดีจะเป็นอย่างไร คนดีเพียงคนเดียวก็ท�ำให้ โลกสงบสุบได้ การจะเป็นคนดีได้นั้นก็ต้อง หมั่นท�ำความดีบ่อยๆ เพื่อให้ใจเราชินกับความ ดี ท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าทุกคน ช่วยกันท�ำความดี สังคมที่เคยวุ่นวายอาจจะดี ขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่พวกเราไม่ได้ท�ำอะไร เพียงแค่ท�ำความดีอย่างเสมอต้น เสมอปลาย” ส�ำหรับนวพร ยังได้แสดงความคิดเห็นถึงการท�ำความดีที่ สามารถท�ำได้ว่า “แทบจะทุกอาชีพมักจะมีความดีซ่อนอยู่ แต่ถ้าพูดถึง อาชีพนักเรียน แน่นอนก็มีหลายอย่างที่พวกเราสามารถท�ำได้ ไม่ว่าจะ ตั้งใจเรียน ดูแลพ่อแม่ในวัยที่ยังมีเวลาว่าง ไม่ต้องคอยท�ำงานเช้าจดเย็น หรือเพียงแค่ทิ้งขยะในโรงเรียนให้ถูกประเภท มันก็เป็นความดีได้โดยที่ เราไม่รู้ตัว” นางสาวธัญญาเรศ ตั๊นจรูญศรี ชั้นม.5 ก็ได้แบ่งปันเช่นกันว่า “การเป็นคนดีในสังคมปัจจุบัน เราสามารถเป็นได้หลายวิธี เช่น การมีน�้ำใจ การแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น และอีกมากมาย ซึ่งการท�ำดีแบบนี้ เริ่มหายไปในสังคมปัจจุบันแล้ว ในแต่ละวันเราจึงควรท�ำดีวันละอย่าง สองอย่าง ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครรู้

44 Sep - Oct 2018

แต่จิตใจของเรารู้ดีว่า วันนี้เราได้ท�ำความดีไป หรือยัง เราเป็นคนดีหรือยัง การที่จะเป็นคน ดีได้ต้องท�ำความดีบ่อยๆ เพื่อให้จิตคุ้นชินกับ ความดี เพราะถ้าเราท�ำไม่ดี ก็จะเป็นการเปิด โอกาสให้ความชั่วเข้ามาแทรกแซงได้ ก็จะ ท�ำให้คนดีในสังคมลดลง” และความดีที่ ธัญญาเรศสามารถท�ำได้ก็คือ “การมีน�้ำใจ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตใจโอบอ้อมอารี พูดจาดีๆ มีความอ่อนโยนและอ่อนหวาน ซื่อตรง ไม่โกหก ไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การท�ำความดีเล็กๆ ที่ต่อเนื่อง สม�่ำเสมอและมั่นคง จะกลับกลายเป็น “พลังความดี” และกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ และความ“สุขใจ”อย่างที่คาดไม่ถึง”... ดังนั้น “แม้ความดีจะสามารถเป็นได้ ทั้งสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ทั้งที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม แต่ความดี ก็เป็นสิ่ง พื้นฐานที่เราสามารถหยิบยื่นต่อกัน เพื่อท�ำให้ สังคมเล็กๆ หรือกระทั่งโลกทั้งใบน่าอยู่ขึ้นได้... ไม่ว่าจะเป็นใคร หรือเป็นกลไกไหนในสังคม ความดีงามที่เราส่งต่อย่อมเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ได้ เสมอ เปรียบเสมือนแรงกระเพื่อมที่เริ่มต้นจาก จุดหนึ่ง แล้วขยายวงต่อไปอีกหลายจุดอย่าง งดงาม” (Advertorial) db


กล้ากระแสเรียก

dbBulletin

เรียบเรียง... อัลปิโน

วันเวลาผ่านไปรวดเร็ว... ฤดูกาลที่เมล็ดข้าวเมล็ดหนึ่งจะงอกงามมาเป็นต้นกล้า กระทั่งเติบโตทอรวงสุกเหลืองอร่ามไม่ยาวนานนัก แต่ฤดูกาลชีวิตของคนๆ หนึ่งนั้นยาวไกลกว่านั้นมากมาย ระยะเวลาของการบ่มเพาะตนเองของเด็กๆ และเยาวชนในบ้านอบรม แม้จะไม่ยาวไกลพอที่จะเห็นผลผลิตของชีวิตคนคนหนึ่ง แต่ก็ยาวนานพอที่จะเห็นการงอกงามและเติบโต ชีวิตของสามเณรและผู้ฝึกหัดที่เดินติดตามพระคริสตเจ้าจะเติบโตอย่างไรบ้าง ชีวิตของเขาจะถูกน�ำพาไปในทิศทางใด มีอะไรเกิดขึ้นบ้างบนเส้นทางเดินสายนี้ ให้เราไปฟังประสบการณ์และการเรียนรู้ของ “กล้ากระแสเรียก” เหล่านี้

ตอน “เธอไม่รักเราแล้วหรือ?” เธอจะกลับไปเข้าอารามอีกครั้งจริงหรือ? คิดดีแล้วหรือยัง? เกิดอะไรขึ้นกับเธอ? อกหักหรือเปล่า? งานนี้อารามแตกแน่?... สารพัด ค�ำถามและค�ำแซวจากคนรอบข้างประดังเข้ามายังสาวห้าวอารมณ์ดีคนนี้ เมื่อทุกคนรู้ว่าเธอก�ำลังจะออกจากงานที่ท�ำอยู่เป็นเวลาหลายปีในองค์กร แห่งหนึ่งของพระศาสนจักรเพื่อกลับไปเข้าอารามอีกครั้งด้วยวัยที่ขึ้นต้น ด้วยเลขสาม มันเกิดอะไรขึ้นกับเธอ? เส้นทางชีวิตของเธอเป็นอย่างไร? ให้เราไปฟังค�ำบอกเล่าของเธอด้วยกัน ฉันมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ฉันมองย้อนไปก็งงๆ นะ ฉันกลับมา เข้าอารามอีกครั้งได้ยังไง ทั้งๆ ที่เมื่อ 9 ปีก่อน ฉันได้ตัดสินใจออกจาก อารามและคิดว่าจะไม่หวนกลับมาที่นี่อีก แต่พระเจ้าทรงติดตามฉัน เสียง ที่แผ่วเบาของพระองค์ที่ฉันเคยได้ยินเมื่อหลายปีก่อนยังคงดังก้องอยู่ใน โสตประสาทของฉันเป็นระยะๆ “เธอไม่รักเราแล้วหรือ? เธอจะทิ้งฉันไป เหมือนคนอื่นหรือ?...” จนวันหนึ่งเสียงนี้ก็ท�ำให้ฉันใจอ่อน เมื่อฉันมอง ย้อนกลับไปยังวันวานฉันเห็นถึงจุดเริ่มต้นของ ความรักของพระเจ้าซึ่ง เกิดขึ้น เติบโตและเบ่งบานในใจฉัน จนเป็นที่มาของการตอบรับพระองค์ ในวันนี้

45

Sep - Oct 2018


กล้ากระแสเรียก

จุดเริ่มต้น...บ้านนี้มีรัก

ฉันเป็นเด็กดอยที่เกิดมาในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติท่ามกลางขุนเขาและเรือกสวนไร่นา ฉันเติบโตมาใน บรรยากาศของความเชื่อและความศรัทธาของคนในครอบครัวและ คริสตชนในหมู่บ้าน จะว่าไปแล้วก็ต้องบอกว่าความรักที่ฉันมีต่อพระเจ้า เริ่มต้นที่ “ครอบครัว” ซึ่งเป็นบ้านหลังแรกที่ฉันรักมาก พ่อของฉันเป็น ครูค�ำสอน ฉันเห็นพ่อน�ำสวดภาวนาในวัด เดินทางไปเยี่ยมชาวบ้านตาม หมู่บ้านและสอนค�ำสอนให้กับเด็กๆ และเยาวชน แบบอย่างของพ่อ จุดประกายท�ำให้ฉันมีฝันเล็กๆ ว่าสักวันหนึ่งฉันต้องเป็นเหมือนพ่อให้ได้ ต่อมาพระเจ้าทรงโปรดให้ฉันได้พบกับซิสเตอร์ท่านหนึ่งซึ่งท่านได้ชวนฉัน ให้ไปเรียนที่ จ.สุราษฎร์ฯ และจากที่นั่นฉันได้ตัดสินใจเข้าเป็นผู้ฝึกหัด ด้วยอายุ 16 ปี

บ้านหลังที่สอง

ฉันใช้ชีวิตในบ้านอบรมเป็นอัสปิรันต์ แต่ด้วยความที่ฉันเป็น คนไม่นิ่งและไม่เรียบร้อยจึงท�ำให้ฉันถูกเตือนเสมอแต่ก็ไม่วายที่จะยังเป็น แบบนั้น ลองคิดดูซิว่าแค่ฉันเข้าไปอยู่ไม่กี่เดือนฉันท�ำจานแตกไป 6 ใบ บอกตรงๆ ฉันอายมาก! หลังๆ ฉันค่อยๆ ปรับตัวและลดสถิติการท�ำจาน แตกให้น้อยลง งานอดิเรกของฉันคือการแอบกินมะม่วงในสวน กระโดด ข้ามร่องสวนเพื่อเก็บผักและผลไม้ มันเป็นการออกก�ำลังเพื่อยืดหยุ่น ร่างกายที่ดีเยี่ยมและหากกระโดดไม่พ้นก็แน่นอนว่ามีทางเดียวคือตกน�้ำ นี่เป็นความสุขเล็กๆ ที่ฉันมักท�ำกับเพื่อนๆ เสมอ ชีวิตในบ้านอบรม

“ชีวิตในบ้านอบรม เรียกร้องและท้าทาย ให้ฉันเปิดตัวเองสู่คน อื่น ฉันเรียนรู้ค�ำว่า “เรา” ไม่ใช่ค�ำว่า “ฉัน” แม้จะพบความยากล�ำบาก แต่ก็สุขใจ” 46 Sep - Oct 2018

เรียกร้องและท้าทายให้ฉันเปิดตัวเองสู่คนอื่น ฉันเรียนรู้ค�ำว่า “เรา” ไม่ใช่ค�ำว่า “ฉัน” แม้จะ พบความยากล�ำบากแต่ก็สุขใจ บรรดาผู้ใหญ่ได้ ปลูกฝังและอบรมให้เมล็ดพันธุ์ดีเติบโตขึ้นใน ตัวฉัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมล็ดพันธุ์แห่งความ เชื่อซึ่งฉันมีน้อยนิด พระเจ้าทรงช่วยเหลือฉันใน ทุกทาง พระองค์ทรงค่อยๆ ให้ฉันเติบโตตาม วิธีการของพระองค์ที่ทรงเห็นว่าสมควรและ เหมาะสมกับฉัน ฉันได้สัญญากับพระองค์ว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฉันจะไม่ทิ้งพระองค์ไป ไหน” และเตือนตนเองเสมอว่า “ผู้ใดที่จับคันไถ แล้วเหลียวดูข้างหลัง ผู้นั้นก็ไม่เหมาะสมกับ พระอาณาจักรของพระเจ้า” (ลก 9:62) ค�ำ สัญญาและพระวาจานี้ช่วยฉันให้มีพลังและ เป็นแนวทางที่ฉันยึดมั่นเสมอมา ในการเขียน จดหมายเพื่อแสดงเจตจ�ำนงในกระแสเรียก ฉันเคยคิดจะเขียนลาออก แต่ทุกครั้งจะมีเสียงใน ใจว่า “เธอไม่รักเราแล้วหรือ? เธอจะหนีฉันไป เหมือนคนอื่นหรือ? เสียงนี้ท�ำให้ฉันเปลี่ยนใจ และเขียนจดหมายสมัครอยู่ต่อ แต่เมื่อเวลาผ่าน ไปทั้งค�ำสัญญาและเสียงของพระองค์ก็ค่อยๆ แผ่วเบาลงจนไม่มีพลังเพียงพอที่จะชี้น�ำชีวิตของ ฉัน สิ่งนี้น�ำมาซึ่งการที่ฉันตัดสินใจออกจากคณะ การตัดสินใจครั้งนั้นท�ำให้ฉันเสียใจและละอาย ใจอย่างมาก เพราะฉันผิดค�ำสัญญาที่ให้ไว้กับ พระเจ้า และเลือกเข้าข้างตนเองว่าฉันท�ำ ถูกต้องแล้ว


dbBulletin

ผิดแผนแต่เกินคาด!

ฉันคิดว่านี่คือเส้นทางที่ฉันเลือก ฉันออกมาด�ำเนินชีวิตเหมือน ฆราวาสคนหนึ่งโดยคิดไว้อย่างเดียวว่าจะกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว แต่พระเจ้าก็ไม่ได้ให้เป็นไปตามใจของตนเอง ผิดแผนเพราะทันทีที่ฉัน ออกจากบ้านอบรมก็มีผู้ใหญ่มาชวนให้ฉันไปท�ำงานในองค์กรของพระ ศาสนจักรซึ่งฉันก็ได้ตกปากรับค�ำ ฉันยอมรับว่าปีแรกของการท�ำงานมี ความล�ำบากพอสมควรเพราะทุกอย่างใหม่หมด นั่นคือความท้าทายใหม่ ที่ต้องพบในโลกภายนอก ตอนนั้นก็ทุกข์ใจมากพอสมควร “ท�ำไมพระองค์ ท�ำแบบนี้? ท�ำไม!!!!” ฉันคิดไตร่ตรองและปรับทัศนคติตัวเองพร้อมกับตั้ง ทิศทางชีวิตใหม่โดยพยายามท�ำงานอย่างเต็มก�ำลังความสามารถ ฉันคิด เสมอว่างานที่ฉันท�ำเป็นงานของพระเจ้า ไม่ใช่งานของฉัน ฉันเป็นเพียง เครื่องมือชิ้นหนึ่งที่พระองค์ทรงใช้เพื่อให้งานของพระองค์ส�ำเร็จและเกิดผล โดยที่ฉันต้องร่วมมือกับพระองค์และปล่อยให้พระองค์ทรงน�ำทาง ทุกครั้ง ที่ฉันกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ที่บ้าน มักมีคนถามฉันว่า “กลับมาคนเดียวหรือ? แหม นึกว่าจะพาหนุ่มๆ มาแนะน�ำให้คนที่บ้านรู้จักบ้าง...” ฉันรู้สึกเขินๆ เมื่อได้ยินแบบนี้แต่ก็คิดในใจเสมอว่า “ฉันสวยเลือกได้เนอะ!?!?” พ่อแม่ ญาติพี่น้องก็เห็นว่าวัยของฉันก็น่าจะมีคู่ครองได้แล้ว จะได้เป็นฝั่งเป็นฝา กับเขาสักที แต่จนแล้วจนรอด พระก็ไม่ได้ส่งใครมาให้ฉัน ด้วยหน้าที่และ งานที่ฉันรับผิดชอบในองค์กรท�ำให้ฉันมีโอกาสได้ไปร่วมการประชุม รับการอบรมต่างๆ ฝึกทักษะการเป็นผู้น�ำ ร่วมจัดค่าย และไปร่วมงานใน ระดับสังฆมณฑล ระดับประเทศและในระดับโลก ฉันได้มีโอกาสเข้าเฝ้า สมเด็จพระสันตะปาปาและได้ไปแสวงบุญยังต่างประเทศ ประสบการณ์ เหล่านี้มีคุณค่าส�ำหรับฉันมากซึ่งฉันไม่เคยคิดมาก่อนว่าพระเจ้าจะทรงมอบ โอกาสดีๆ เช่นนี้ให้กับฉัน มันเป็นเวลา 9 ปีแห่งพระพร ที่ฉันได้แบ่งปัน

วันนี้พระองค์ ได้ทรงน�ำทางฉัน ผ่านทางบุคคลต่างๆ ที่เป็นเหมือน กระบอกเสียง ของพระองค์ และนั่นอาจเป็น สิ่งที่พระองค์ ทรงปรารถนาจากฉัน

พรสวรรค์เล็กๆ ที่ฉันมีด้วยการรับใช้ซึ่งน�ำความ สุขและความภูมิใจมาให้กับฉัน แต่ในที่สุดฉันก็ ตัดสินใจทิ้งสิ่งเหล่านี้ไว้เบื้องหลังเพื่อตามหาฝัน ที่สูงกว่า

พระเจ้าทรงต้องการอะไรจากฉัน?

แม้จะได้ท�ำงานที่รักงานที่ชอบ แต่ก็ เหมือนมีบางสิ่งที่ขาดหายไปโดยไม่รู้ว่านั่นคือ อะไร? พระเจ้าต้องการอะไรจากฉันกันแน่ พระองค์ต้องการให้ฉันท�ำอะไร? ในเวลา เดียวกันก็มีเสียงที่รบกวนใจฉันที่ยากจะปฏิเสธ อยู่เสมอว่า เธอไม่รักเราแล้วหรือ? เรารอเธออยู่ นะ! เธอจะทิ้งเรา และหนีจากเราไปอย่างที่คน อื่นท�ำหรือ? ในอดีตฉันเคยยืนกรานกับตนเอง และคนอื่นว่า เมื่อฉันออกจากชีวิตการเป็น นักบวช ฉันจะไม่กลับไปอีกเด็ดขาด แต่แล้ว วันนี้พระองค์ได้ทรงน�ำทางฉันผ่านทางบุคคล ต่างๆ ที่เป็นเหมือนกระบอกเสียงของพระองค์ และนั่นอาจเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงปรารถนาจาก ฉัน คือการตัดสินใจกลับเข้าคณะอีกครั้งหนึ่ง แม้อาจเป็นการกลับมาแบบงงๆ แต่นั่นคงเป็น แผนการที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ส�ำหรับฉัน ขอเพียงฉันเปิดใจให้พระองค์น�ำทางและท�ำงาน โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ปัจจุบันฉันอยู่ในนวกสถาน ของคณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ เชชีเลีย ลูกคนบาป

47

Sep - Oct 2018


ครอบครัวซาเลเซียน

By... Andy

ความสุข

ของสมาชิกกลุ่ม ADMA

คุณพ่อบอสโกได้ก่อตั้ง ฆราวาสแพร่ธรรมและกลุ่มฆราวาส หลายกลุ่ม และได้เริ่มกระบวนการ ท�ำงานของบุคลากร ที่ท�ำงานเพื่อ เยาวชนที่ยากไร้ ด้วยวิธีการที่แตกต่าง กัน สมาคมผู้ศรัทธาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) ได้ตั้งขึ้นโดยคุณพ่อบอสโก เพื่อให้เป็นเครื่องมือพิเศษในการ “ส่ง เสริมความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท และ ต่อแม่พระองค์อุปถัมภ์” ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1869 ได้มีการตั้งสมาคมผู้ศรัทธาแม่ พระองค์อุปถัมภ์อย่างเป็นทางการใน วิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์ที่กรุงตุรินและ “ได้รับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซาเลเซียน” ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 คุณพ่อเอจิดิโอ วีกาโน อัคราธิการคณะซาเลเซียนในขณะนั้น และ คณะที่ปรึกษาได้รับคณะแม่พระองค์ อุปถัมภ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซาเลเซียนอย่างเป็นทางการตามที่มี กล่าวไว้ในระเบียบการว่า “สมาคมผู้ ศรัทธาแม่พระองค์อุปถัมภ์เป็นสมาคม 48 Sep - Oct 2018

“ตั้งแต่เล็ก ดิฉันได้เห็นรูป คุณพ่อบอสโกและรูปแม่พระ ที่มือซ้ายอุ้มพระกุมาร มือขวาถือคฑา ซึ่งบิดาของดิฉัน น�ำมาแขวนไว้ที่ผนังบ้าน เวลานั้น ดิฉันไม่รู้ว่านั่น คือ รูปแม่พระองค์อุปถัมภ์ ดิฉันรู้เพียงอย่างเดียวว่า ดิฉันรู้สึกชอบและประทับใจ ในรูปแม่พระนี้มากกว่ารูปอื่นๆ นั่นคงเป็นสัญญาณแรก ที่หลายสิบปีต่อมา ดิฉันได้เป็นสมาชิก คณะแม่พระองค์อุปถัมภ์”

ที่เปิดกว้างส�ำหรับสัตบุรุษใน พระศาสนจักร สมาคมได้เสนอหนทาง สู่ความศักดิ์สิทธิ์และงานแพร่ธรรมแบบ ซาเลเซียนให้กับสมาชิก” คุณพ่อบอสโก ต้องการเปิดกว้างรับบุคคลจ�ำนวนมาก เข้ามามีส่วนร่วมในจิตตารมณ์และใน ภารกิจของคณะซาเลเซียนเสมือนกลุ่ม ที่สองของกิจการซาเลเซียนของท่าน การสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมเรียก ร้องให้เจริญชีวิตตามจิตตารมณ์ ซาเลเซียนในครอบครัวของตน ใน สังคม และในการท�ำงานตามสภาพ แวดล้อมของชีวิต ในประเทศไทย สมาคมนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดแม่พระ องค์อุปถัมภ์ กรุงเทพกรีฑา คุณมารีอา ศุภลักษณ์ สุขกิจ หรือคุณต้อม รับศีลล้างบาป ที่อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธิ นิรมล จ.จันทบุรี ปัจจุบันเป็นสมาชิก กลุ่ม ADMA ได้เล่าให้เราฟังถึงจุด เริ่มต้นของความศรัทธาต่อแม่พระว่า “ตั้งแต่เล็ก ดิฉันได้เห็นรูปคุณพ่อ บอสโกและรูปแม่พระที่มือซ้ายอุ้ม พระกุมาร มือขวาถือคฑา ซึ่งบิดาของ


dbBulletin

ประชุมกลุ่ม ADMA ประจ�ำเดือน ณ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ หัวหมาก

ดิฉันน�ำมาแขวนไว้ที่ผนังบ้าน เวลานั้น ดิฉันไม่รู้ว่านั่นคือรูปแม่พระ องค์อุปถัมภ์ ดิฉันรู้เพียงอย่างเดียวว่า ดิฉันรู้สึกชอบและประทับใจในรูป แม่พระนี้มากกว่ารูปอื่นๆ นั่นคงเป็น สัญญาณแรกที่หลายสิบปีต่อมา ดิฉัน ได้เป็นสมาชิกคณะแม่พระองค์อุปถัมภ์” คุณต้อมเล่าให้เราฟังถึงความ เป็นมาของการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม ADMA ว่า “ประมาณต้นปี ค.ศ.2003 ดิฉันได้มาร่วมมิสซาวันอาทิตย์ที่วัด แม่พระองค์อุปถัมภ์ หัวหมาก กรุงเทพฯ ก่อนจบมิสซา คุณพ่อ เจ้าวัด (คพ.ยอห์น ลิสซันดริน) ได้ ประชาสัมพันธ์ว่าหลังมิสซาแล้ว ขอเชิญ ผู้ที่มีความรักต่อแม่พระเข้าร่วมประชุม กับกลุ่มแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) ซึ่งคุณพ่อเพิ่งเริ่มตั้งกลุ่มนี้ขึ้นที่วัด ซึ่งมี การประชุมกันมาแล้ว 2-3 ครั้ง การเป็นสมาชิกไม่มีข้อผูกมัดหรือต้อง ท�ำภารกิจมากมาย เพียงแต่มี “ความ รักและเผยแพร่ความศรัทธาต่อแม่พระ และพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท” ดิฉัน ไปเข้าร่วมประชุมด้วยโดยไม่รีรอทั้งที่ ยังไม่รู้จักใครสักคน หลังจากประชุม ครั้งแรกก็ตั้งใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกและ จะมาประชุมในครั้งต่อๆ ไปด้วย ทั้งนี้ เพราะช่วงวัยเด็ก ดิฉันเคยเป็นสมาชิก กลุ่มพลมารีและเป็นสมาชิกกลุ่ม กิจกรรมคาทอลิกอื่นๆ แต่เมื่อโตขึ้น ก็ห่างเหินไป ดังนั้นการได้กลับมาเข้า

การได้เข้าร่วมชุมนุม ADMA นานาชาติ เมืองเชนสโตโควา ประเทศโปแลนด์

กลุ่มกิจกรรมคาทอลิกแบบนี้อีกครั้งช่วย ดิฉันให้เพิ่มพูนความเชื่อและช่วยบ�ำรุง ความศรัทธาให้มากขึ้น และเมื่อถามว่าอะไรคือความ สุขและความประทับใจของการที่ได้เป็น สมาชิกกลุ่ม ADMA คุณต้อมตอบเรา ว่า “ดิฉันมีความสุขที่ได้พบปะกับเพื่อน สมาชิกทั้งที่เป็น ADMA และสมาชิก “ดิฉันมีความสุขที่ได้พบปะ กับเพื่อนสมาชิกทั้งที่เป็น ADMA และสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ในครอบครัวซาเลเซียน ทุกครั้งที่มีการประชุม กลุ่ม ADMA คุณพ่อจิตตาธิการจะอบรม เพื่อเสริมสร้างความศรัทธา ให้กับพวกเราในหลายรูปแบบ โดยอาศัยเอกสารและ จากสื่อต่างๆ และหากมี กิจกรรมอื่นๆ ในครอบครัวซาเลเซียน หรือการไปแสวงบุญ คุณพ่อจะพาสมาชิกไปด้วยกัน คล้ายดังที่พ่อบอสโกพาเด็กๆ ไปเที่ยวเหมือนในประวัติของ คุณพ่อบอสโก”

กลุ่มอื่นๆ ในครอบครัวซาเลเซียน ทุกครั้งที่มีการประชุมกลุ่ม ADMA คุณพ่อจิตตาธิการจะอบรมเพื่อเสริม สร้างความศรัทธาให้กับพวกเราใน หลายรูปแบบ โดยอาศัยเอกสารและ จากสื่อต่างๆ และหากมีกิจกรรมอื่นๆ ในครอบครัวซาเลเซียน หรือการไป

แสวงบุญ คุณพ่อจะพาสมาชิกไป ด้วยกัน คล้ายดังที่พ่อบอสโกพาเด็กๆ ไปเที่ยวเหมือนในประวัติของคุณพ่อ บอสโก” ความประทับใจของดิฉันอีก อย่างก็คือ การได้เข้าร่วมชุมนุม ADMA นานาชาติ (ADMA International Congress) ที่เมืองเชนสโตโควา (Czestochowa) ประเทศโปแลนด์ เมื่อ เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2011 ซึ่งปกติ จะจัดทุก 4 ปี โดยหมุนเวียนกันเป็น เจ้าภาพ ดิฉันได้พบเพื่อนสมาชิกที่มา จากหลายเชื้อชาติในวัยที่ต่างกัน ทั้ง ผู้สูงวัย ผู้ใหญ่ คนหนุ่ม-สาว รวมทั้ง ที่มากันเป็นครอบครัวพร้อมกับลูกๆ ภาพของพ่อแม่ที่อุ้มลูกขึ้นไปแบ่งปัน ประสบการณ์ของครอบครัวที่มีแม่พระ เป็นแบบอย่างในชีวิตบนเวทีให้กับทุก คนที่อยู่ในที่ประชุมฟังนั้น ยังคงอยู่ใน ความทรงจ�ำของดิฉันเสมอ การไปร่วม ประชุมนี้ท�ำให้ดิฉันมีก�ำลังใจอย่างมาก ในการเป็นสมาชิก ADMA ที่แข้มแข็ง ดิฉันอยากจะเผยแพร่ความศรัทธาต่อ แม่พระให้กับทุกคนและเชิญชวนทุกคน ให้ได้สัมผัสประสบการณ์ดีๆ ของการ เป็นสมาชิกกลุ่ม ADMA แบบเดียวกับ ที่ดิฉันได้สัมผัสด้วย db

49

Sep - Oct 2018


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน

By... Andy

ซิสเตอร์อันโทนีทา เบิห์ม ธมอ. ผู้รับใช้พระเจ้า

ซิสเตอร์อันโทนีทา เบิห์ม เกิดวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1907 ที่บอทตรอพ (Bottrop) ประเทศ เยอรมัน หลังจากที่เธอก�ำพร้าบิดา มารดา ได้ย้ายจากเมืองบอทตรอพ ไปอาศัยอยู่ที่เมืองเอสเซน ประเทศ เยอรมัน โดยมีพี่ชายคนโตรับเธอไป ดูแล ในเมืองนี้เองเธอได้พบกับซิสเตอร์ คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ที่สุด กระแสเรียกเติบโตพร้อมสู่ชีวิตเจิมถวาย ตนแด่พระเจ้า อันโทนีทาได้เข้าคณะ เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ.1926 จากนั้นได้ไปท�ำ นวกภาพที่ นวกสถานนานาชาติ นิสซา มอนแฟร์ราโต ประเทศอิตาลี และได้ปฏิญาณตนครั้งแรกวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ.1928 หลังจากการ ปฏิญาณตนตลอดชีพ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ.1934 ซิสเตอร์อันโทนีทา ได้สมัครไปเป็นธรรมทูตที่ดินแดน ปาตาโกเนีย ที่ประเทศอาร์เจนตินา ที่นั่นท่านได้ท�ำงานตามหมู่คณะต่างๆ เช่น บาเฮีย บลังกา ฮูนนิ เด ลอส อันเดส เวียดมา คาร์เมน เด ปาตาโกเนส โรซารีโอ ซันตา เฟ โดยด�ำรงต�ำแหน่ง อธิการิณีและอธิการิณีเจ้าคณะแขวง ในที่สุด 50 Sep - Oct 2018

ในปี ค.ศ. 1965 ซิสเตอร์อันโทนีทา ได้เป็นอธิการิณีเจ้าคณะแขวงคนใหม่ ของแขวงเปรูเวียนา ประเทศเปรู ปี ค.ศ.1969 ท่านได้เป็นอธิการิณีเจ้า คณะแขวงเม็กซิกัน ประเทศเม็กซิโก เมื่อหมดวาระท่านได้ท�ำหน้าที่ รองอธิการิณีที่หมู่คณะโมเรเลีย จากนั้นใน ค.ศ. 1979 ท่านไปประจ�ำ ที่ วีญา สเปม ในเมืองโกอากัลโก (Goacalco) และที่นั้นมาเดอร์อันโทนีทาได้ สิ้นใจอย่างสงบ เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ.2008 ตลอดชีวิตของการเป็นธิดา แม่พระองค์อุปถัมภ์ และการเป็น ธรรมทูต ท่านได้สร้างความเป็นหนึ่ง และทอแสงแห่งสันติ มีความเป็น มารดาแท้และลึกซึ้ง สายตาของท่าน บ่งบอกถึงความไว้วางใจ การเป็นอยู่ และการกระท�ำของท่านสะท้อนความ เห็นอกเห็นใจ เปิดใจต้อนรับ ให้ก�ำลัง ใจ ช่วยเหลือให้สร้างเสริมพัฒนาตน รักษาจิตตารมณ์ชีวิตนักบวชให้มีชีวิต ชีวา ซึ่งหมายถึงซื่อสัตย์ต่อการเป็นสตรี ผู้รับเจิมของตน สนับสนุนความบริสุทธิ์ ตามพระพรพิเศษในเชิงสร้างสรรค์

อุทิศเพื่อช่วยเยาวชนด้วยความซื่อสัตย์ ต่อกระแสเรียก เอาใจใส่ดูแลบรรดา ซิสเตอร์ผู้สูงอายุเป็นพิเศษ ซิสเตอร์ อันโทนีทา เบิห์ม สตรีผู้มีความเชื่ออัน แข็งแกร่งดุจศิลาผู้นี้ ท่านมั่นคั่งด้วย ความหวังและมีความรักต่อทุกคน ในฐานะธรรมทูตท่านได้เจริญชีวิตตาม อุดมการณ์ “ขอแต่วิญญาณ สิ่งอื่น เอาไปเถิด” โดยเจริญชีวิตชิดสนิทกับ พระเจ้า จนท�ำให้ท่านสามารถวินิจฉัย บุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ความไว้ วางใจในพระมารดามารีย์ของท่าน ตั้งอยู่บนรากฐานแข็งแกร่งแห่งความ เชื่อในพระเยซูเจ้า ที่น�ำพาท่านไปถึง ชายขอบสังคม ดังที่พระสันตปาปา ฟรังซิสได้ทรงเชื้อเชิญ ซิสเตอร์อันโท นีทา มีหัวใจที่เป็นดังบ้านที่เปิดกว้าง ออกต้อนรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ยากไร้ และผู้ประสบความทุกข์ยาก ต่างๆ ชีวิตของท่านเตือนใจเราทุกคน ถึงภารกิจของแม่พระที่ประทับอยู่ใน ชีวิตของเรา และในประวัติศาสตร์ของ มนุษยชาติและสะท้อนให้เห็นถึงความ สุขแท้จริงที่พระเยซูเจ้าได้ตรัสถึง db


เรื่องมีอยู่ว่า

dbBulletin

By... Andy

เด็กๆ

ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ในตอนค�่ำ ที่แผนกต้อนรับของโรงแรมแห่งหนึ่ง ผมเห็นครอบครัวชาวต่างชาติก�ำลังตกลงจองห้องพักกับพนักงานของ โรงแรมอยู่ ครอบครัวนี้ประกอบไปด้วยพ่อ แม่ และลูกน้อยอายุเพียง 2-3 เดือน ในบทสนทนาที่เจรจาตกลงห้องพักระหว่างพนักงาน และแขกผู้มาพัก ให้ข้อคิดบางอย่างกับผม... “มีอะไรให้ช่วยมั้ยครับ?” “พวกเราต้องการห้องพักสักห้องหนึ่งครับ” “มากี่คนครับ?” “3 คนครับ” “เสียใจด้วยครับ ทางโรงแรมไม่มีห้องพักแล้ว เพราะเหลือห้องว่างเพียงห้องเดียวซึ่งเป็นห้องคู่ส�ำหรับสองท่านเท่านั้น” “ถ้าเช่นนั้น เราขอพักห้องนี้เลย” “แต่พวกคุณมากันสามคน” “พวกเราเป็นสามีภรรยากันและนี่คือลูกของเราอายุ 3 เดือน เด็กคนนี้ยังเล็ก เขานอนกับเราได้” “ถ้าเช่นนี้ก็ตกลงครับ เพราะเด็กเล็กนั้นทางโรงแรมไม่นับครับ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ” บทสนทนาดังกล่าวสะเทือนใจผู้เป็นพ่อแม่ พวกเขาอุ้มลูกไว้อ้อมกอดพร้อมกับหอมแก้มเบาๆ แล้วบิดาก็พูดกับลูกว่า “ส�ำหรับพวกเขา ลูกไม่มีตัวตน จึงไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ แต่ส�ำหรับพ่อกับแม่แล้ว ลูกเป็นชีวิตและน�ำความสุขมาให้พ่อกับแม่อย่างมากมาย” ในโรงเแรม เด็กเล็กๆ ไม่เสียค่าที่พัก เพราะไม่ได้ท�ำให้เสียพื้นที่ เขานอนที่เตียงของแม่ กินในส่วนที่เป็นของแม่ ฯลฯ โดยปกติ เด็กที่อายุยังน้อยและความสูงไม่ถึงเกณฑ์ ไม่ต้องจ่ายค่าตั๋ว รวมทั้งได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร อันที่จริง พ่อแม่ได้จ่ายเงินแทนพวกเขาไปแล้ว หรือจะพูดอีกแบบหนึ่งก็คือ ในราคาที่แม่จ่ายไปนั้นได้รวมราคาของลูกด้วยแล้ว “ถ้าท่านไม่กลับใจเป็นเหมือนเด็กเล็กๆ ท่านจะเข้าสู่พระอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้” ดังนี้แหละ ถ้าใครท�ำตัวเป็นเหมือนเด็กเล็กๆ ก็จะได้เข้าสวรรค์ และได้รับความรอด อย่ากังวลไปเลย เขาจะเข้าสวรรค์แน่นอน เพราะราคาที่พระเยซูเจ้าได้จ่ายไปนั้นได้รวมราคาของเขาด้วยแล้ว db

51

Sep - Oct 2018


“หากปราศจากพวกท่านแล้ว เราไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย” จากพินัยกรรมของคุณพ่อบอสโก ถึงผู้มีพระคุณ “หากปราศจากความช่วยเหลือของ พวกท่านแล้ว พ่อคงท�ำกิจการต่างๆ ได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจท�ำอะไรไม่ได้เลย แต่ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน เราสามารถร่วมมือกับพระหรรษทาน ของพระเจ้าเพื่อช่วยซับน�้ำตาให้กับ หลายชีวิตและช่วยวิญญาณ ให้รอดได้มากกมาย” ธารน�้ำใจ ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์ นิตยสารดอนบอสโกได้ที่ บัญชี วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนน ศรีนครินทร์ (กรุงเทพกรีฑา) เลขที่บัญชี 080-221616-6

คุณพ่อนพดล ยอแซฟ ขอโมทนาคุณแม่พระที่ช่วยให้พบ เอกสารในกระเป๋าสตางค์ซึ่งหล่นหายไปเมื่อเดือนสิงหาคม คุณพ่อรู้สึกกังวลใจเป็นอย่างมากเพราะเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารส�ำคัญ และจะต้องใ้ช้ในการเดินทาง หลังจากที่ได้สวดภาวนาวอนขอต่อแม่พระ และได้พยายามตามหาหลายช่องทาง ที่สุดแม่พระก็โปรดให้มีผู้ส่งเอกสาร ดังกล่าวคืนมาให้ทางไปรษณีย์ คุณพ่อจึงขอโมทนาคุณแม่พระ ผ่านทางนิตยสารดอนบอสโกมา ณ โอกาสนี้ด้วย

โมทนาคุณ แม่พระ

หากท่านมีเรื่องราวที่ต้องการจะโมทนาคุณแม่พระและผู้ศักดิ์สิทธิ์ คุณพ่อนพดล ยอแซฟวซาเลเซียนผ่านทางนิตยสารดอนบอสโก ในครอบครั ขอโมทนาคุ ณแม่ดต่พอระที บ านสามารถติดตามข่าวสารซาเลเซียนได้ทาง โปรดติ มายั่ช่วงยให้ เรา พและท่

เอกสารในกระเป๋าสตางค์ซึ่งหล่นหายไป เมื่อเดือนสิงหาคม คุณพ่อรู้สึกกังวลใจเป็นอย่าง มากเพราะเอกสารดังกล่าวเป็www.facebook.com/SalesianThailand นเอกสารส�ำคัญมากและ จะต้องใ้ช้ในการเดินทาง หลังจากที่ได้สวดภาวนาวอนขอต่อแม่พระ และได้พยายามตามหาหลายช่องทาง ที่สุดแม่พระก็โปรดให้มีผู้ส่งเอกสารดังกล่าวคืน มาให้ทางไปรษณีย์ คุณพ่อจึงขอโมทนาคุณแม่พระผ่านทางนิตยสารดอนบอสโกมา ณ โอกาสนี้ด้วย (หากท่านมีเรื่องราวที่ต้องการจะโมทนาคุณแม่พระและนักบุญในครอบครัวซาเลเซียน ผ่านทางนิตยสารดอนบอสโก และ www.facebook.com/SalesianThailand โปรด ติดต่อมายังเรา)

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่ แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel:02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com

ธารน�้ำใจ ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโกได้ที่ บัญชี วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง ยิงกันฑเลย...ยิ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนศรีนครินทร์ (กรุงเทพกรี า) งทันที...ติดตามกิจกรรมศูนย์เยาวชน ธมอ. ออนไลน์ : สื่อสร้างสรรค์ส�ำหรับเด็กรุ่นใหม่ใฝ่ดี บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 080-221616-6 www.facebook.com/fmaoratory (ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซี ยนทราบด้วย) ...กดไลค์ กดแชร์...กันให้สนั่น...เขย่าโลกเยาวชน... สนใจสมัครสมาชิกได้ที่ ร่วมกิจกรรมตามเมนูเยาวชนตามสั่ง : แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน (1) #กิจกรรมอบวุ้นเส้น (2) #ดนตรีผัดขี้เมา 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 (3) #ต้ มย�ำPhoto (4) #ลอดช่องIT... คือไร...clik เลย... Tel: 02-731-7100 Email: sdbsocomthai@gmail.com


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.