นิตยสารดอนบอสโก-July-August 2018 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1

นิตยสารครอบครัวซาเลเซียน ปีที่ 61 เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2561 ISSN 0857-4781 JULY-AUGUST 2018

สัมภาษณ์สงฆ์ซาเลเซียน โอกาส 50 ปี และ 25 ปี

กระซิบพระวรสารในหัวใจเด็กช่าง @วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง


EDiTOR’S

NOTE

ผมโตมากับหนังสือพิมพ์และนิตยสาร จ�ำได้ว่าตอนเด็กๆ แม่เปิดแผงขายหนังสือพิมพ์เล็กๆ ที่หน้าบ้านใกล้ตลาด ตอนเช้าผมมีหน้าที่นั่งหน้าแผงเพื่อขายหนังสือพิมพ์ จึงมีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับทุกวัน ทั้งหนังสือพิมพ์หัวสีที่มียอดขายเป็นที่หนึ่งระดับประเทศซึ่งยังพิมพ์จ�ำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน และหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ ที่ได้ปิดตัวลงไปแล้ว สมัยนั้นผมมักจะยืมหนังสือนิทานและหนังสือการ์ตูนของเพื่อนและแม่ค้าข้างบ้านมาอ่าน เมื่อไปโรงเรียนก็จะใช้เวลาว่างเข้าห้องสมุดไปอ่าน “ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์” ซึ่งเป็นนิตยสารที่เป็นความรู้รอบตัว ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และสังคม บางครั้งก็อ่านเรื่องลึกลับพวกมนุษย์ต่างดาวและมัมมี่ จาก “ต่วย’ ตูน” ฉบับพิเศษ พอโตขึ้นมาหน่อย คุณครูแนะน�ำให้รู้จักกับนิตยสารภาษาอังกฤษรายสัปดาห์อย่าง “Student Weekly” ที่มาพร้อมกับการบ้าน ให้ท�ำเป็นประจ�ำ ผมมารู้จัก “National Geographic” ที่บ้านเณร อันที่จริงภาษาอังกฤษของผมไม่แข็งแรงแต่ก็อาศัยการดูภาพถ่ายเป็นหลัก ทางบ้านเณรสนับสนุนให้เรารักการอ่าน โดยทุกบ่ายวันอาทิตย์เราจะมีเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการอ่านหนังสือที่สนใจจากชั้น หนังสือ ผมมักจะหยิบนิตยสารที่ชอบมาอ่านนั่นก็คือ “Reader’s Digest สรรสาระ” ที่มีความรู้ทั่วไปหรือไม่ก็ “สารคดี” ที่มีเรื่องราวของบุคคล ธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม ภาพที่สวยและภาษาที่ละเมียดในนิตยสารท�ำให้ผมเพลินไปกับการอ่าน สิ่งส�ำคัญที่สุดก็คือบ้านเณรปลูกฝังให้ผมรักพระศาสนจักรผ่านทางการติดตามข่าวสารและข้อมูลต่างๆจากสิ่งพิมพ์ของ พระศาสนจักรไม่ว่าจะเป็น “อุดมศานต์”, “อุดมสาร”, “แม่พระยุคใหม่”, “อิสระ” และ “ดอนบอสโก” รวมไปถึงสิ่งพิมพ์ต่างประเทศอย่าง “The Sunday Examiner” ของฮ่องกงและ “L’Osservatore Romano” ฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อมาอยู่ต่างประเทศก็รู้จักกับนิตยสารอื่นๆ ที่ช่วยเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับ พระศาสนจักรมากยิ่งขึ้นอย่าง “Famiglia Cristiana”, “Catechesi” ฯลฯ การรอคอยหนังสือพิมพ์ และนิตยสารเล่มต่างๆ ทุกวัน ทุกสัปดาห์และทุกเดือนในยุคที่ยังไม่มีสื่อโซเชียล ถือเป็นความรู้สึกดีๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านที่ไม่เคยพบหน้ากับผู้ท�ำ เวลานี้ชีวิตเปลี่ยนไป จากคนเคยอ่านมาเป็นคนท�ำนิตยสารที่ชื่อ “ดอนบอสโก” นิตยสารที่ผูกพันกับครอบครัวซาเลเซียน จากปีที่ 1 ถึงปีที่ 61 จ�ำนวน 668 ฉบับ ขอบคุณบรรณาธิการคนเก่าและทุกบุคคลที่อยู่เบื้องหลังหน้ากระดาษของนิตยสารดอนบอสโก ที่ส่งมอบความสุขและคุณค่าดีๆ ถึงมือผู้อ่านเป็นประจ�ำ จากนี้ไป นิตยสารดอนบอสโกจะมาพบกับท่านทุกสองเดือนนะครับ แม้ระยะเวลาของการพบกันอาจจะห่างออกไป แต่จิตตารมณ์ครอบครัวแบบซาเลเซียนก็ท�ำให้หัวใจของเราใกล้กันเสมอ บรรณาธิการ

02

July - August 2018


CONTENTs

d b M a g a z i n e J U LY - A U G U S T 2 0 1 8

ภาพจากปก 50 ปีแห่งชีวิตพระสงฆ์ของคุณพ่อ วาเลนติโน โซซิโอและ 25 ปีแห่งชีวิต พระสงฆ์ของคุณพ่อประเสริฐ สมงาม และคุณพ่อบัญชา กิจประเสริฐ “ทุกครั้งที่พระเจ้าทรงเรียกผู้หนึ่งเข้ามา ในคณะย่อมเป็นการแสดงว่า พระองค์ ยังทรงรักคณะและต้องการให้คณะ ด�ำเนินต่อไป เราแต่ละคนตอบรับเสียง เชื้อเชิญนี้และมั่นใจว่าพระองค์ทรงประ ทานพระหรรษทานของพระองค์ให้เรา เป็นประจ�ำทุกวัน” (C 22, อ้าง C 96)

02 EDITOR’S NOTE 04 เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก คุณแม่ ขนมปังและเหล้าองุ่น 05 เสียงเยาวชน เมื่อมีปัญหากล้าปรึกษาพ่อแม่แค่ไหน? 08 สัมภาษณ์คุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ 12 เส้นทางจอม YOUTH การอภิบาลเยาวชนอย่างมีคุณภาพ 16 LOCAL NEWS 20 บทความ ครบ 150 ปีพระวิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์ 23 เยาวชนกับสื่อ 26 สัมภาษณ์คุณพ่อประเสริฐและคุณพ่อบัญชา 32 ส่องโลกซาเลเซียน ข่าวระดับโลกและระดับภูมิภาค EAO 37 เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ กระซิบพระวรสารในหัวใจเด็กช่าง 42 LECTIO DIVINA ผู้ใดมีใจเมตตาย่อมเป็นสุข 48 ครอบครัวซาเลเซียน ความสุขของซาเลเซียนผู้ร่วมงาน 50 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน คุณพ่อทิตัส เซแมน 51 เรื่องมีอยู่ว่า เราสอนเรื่องการให้อภัย แต่เด็กๆให้ตัวอย่างแก่เรา

วัตถุประสงค์ : 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การอบรมศึกษา งานอภิบาลเยาวชน และการส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ เจ้าของผู้พิมพ์ : คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา : พระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร : คุณพ่อเอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร กองบรรณาธิการ : ซ.วิรินทิพย์ อินทร์แย้ม, ซ.มยุรี งามวงศ์, ซ.ธิดาเพ็ญ จรัสศรี, ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต, คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค, บ.อนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ ฝ่ายศิลป์และพิสูจน์อักษร : ปาริฉัตร แก้วพันธุ์ช่วง แผนกการเงิน : บ.วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม พิมพ์ที่ : วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพฯ โทร. 02-6529625-30 จัดพิมพ์โดย : แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก : 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel : (02) 7317100 Email : thaisdbbulletin@gmail.com

03

July - August 2018


เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก By... Andy

คุณแม่ ขนมปังและ เหล้าองุ่น ฉันเป็นขวดใส่เหล้าองุ่นเก่าๆ ที่ถูกทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับอยู่ในห้องเก็บของ ของบ้านเณรกีเอรี ฉันยังจ�ำได้ดีถึง สามเณรที่ชื่อยอห์น บอสโก ซึ่งเป็นเด็ก หนุ่มที่เฉลียวฉลาดและมีความสามารถ มาก ก่อนหน้านี้ฉันเคยอยู่ที่บ้านของ คุณแม่มาร์เกริตา ลองคิดดูซิว่าเวลาที่ สามเณรยอห์นกลับบ้านช่วงปิดเทอม คุณแม่จะมีความสุขมากขนาดไหนที่ได้ เห็นหน้าลูกชายของตน ฉันเห็นยอห์น กลับมาเยี่ยมบ้านช่วงปิดเทอมภาคฤดู ร้อนและได้ใช้เวลาว่างในการสอนภาษา ลาตินให้กับเด็กๆ ที่คาสเตลนูโอโว แต่ ครั้งนี้ฉันเห็นเขามีสุขภาพไม่แข็งแรง เหมือนเดิม อาจเป็นเพราะว่าเขาต้อง อ่านหนังสือและเรียนอย่างหนักในตอน กลางคืนก็เป็นได้ ยอห์นได้ใช้ชีวิตอย่างดีในบ้าน เณร แต่ในช่วงระยะหลังนี้สุขภาพของ เขาไม่ค่อยดี เขาเป็นโรคที่ท�ำให้รู้สึก อ่อนเพลียอย่างหนัก รู้สึกเบื่ออาหาร และมักนอนไม่หลับ หมอได้แนะน�ำให้ ท่านนอนพักอย่างเดียวเป็นเวลาหลาย เดือน แต่เขาท�ำได้เพียงไม่ถึงเดือนก็เลิก

04

July - August 2018

ประวัติคุณพ่อบอสโก ต้นปี ค.ศ. 1839 ยอห์น บอสโกป่วยหนักขณะอยู่ที่บ้านเณรกีเอรี โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คุณพ่อได้หายป่วยหลังจากที่คุณแม่มาร์เกริตามา เยี่ยม พร้อมกับน�ำขนมปังและเหล้าองุ่นอย่างดีมาด้วย ส�ำหรับคุณพ่อบอสโก แล้ว คุณแม่ ขนมปังและเหล้าองุ่น คืออัศจรรย์ที่ท�ำให้ท่านหายจากความเจ็บ ป่วย (MB I, หน้า 384-385)

เมื่อแม่มาร์เกริตาทราบข่าวว่ายอห์นต้องนอนแกร่วอยู่บนเตียงมาหลาย วัน นางจึงเตรียมข้าวของเพื่อไปเยี่ยมลูกที่บ้านเณร นางเติมเหล้าองุ่นอย่างดีใส่ใน ตัวของฉันจนเต็ม แล้วก็เตรียมขนมปังที่ท�ำด้วยแป้งข้าวฟ่าง เพื่อน�ำไปฝากลูกชาย ตามความคิดของแม่มาร์เกริตาซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาแล้วความเจ็บไข้มีแต่สาเหตุเดียว คือการขาดอาหารและยาที่จะรักษาก็มีแต่ชนิดเดียว คือให้รับประทานอาหารดีๆ ที่ นี้ก็เป็นเรื่องหนักใจของยอห์นเมื่อเห็นแม่มาเยี่ยมพร้อมกับสิ่งของที่เตรียมมาเพราะ ก�ำลังเบื่ออาหารการกิน แต่เพื่อไม่อยากขัดใจแม่ ซึ่งอาจท�ำให้ท่านน้อยใจ จึงตัดสิน ใจหยิบขนมปังมากินค�ำหนึ่งตามด้วยเหล้าอึกหนึ่ง แล้วโดยไม่รู้ตัวก็กินค�ำต่อๆ ไป จนหมดทั้งขนมปังและเหล้าองุ่น เมื่อรับประทานแล้วก็รู้สึกง่วงนอนเป็นก�ำลังและได้ หลับไปเป็นเวลา 2 วันกับ 1 คืนติดต่อกัน เมื่อผู้ใหญ่ของบ้านเณรเห็นเช่นนั้นจึงคิดว่ายอห์นคงจะไม่รอดแน่ๆ จึงได้ เตรียมจัดงานศพ แต่ยอห์นกลับตื่นขึ้นมาและรู้สึกว่าตนสบายดีจนเกือบเป็นปกติ ฉันดีใจมากและไม่โกรธที่ยอห์นทิ้งฉันไว้ในห้องเก็บของของบ้านเณรแทนที่จะมอบ ปริญญาเกียรตินิยมเภสัชศาสตรบัณฑิตให้กับฉัน.. db


dbMagazine

เสียงเยาวชน By... Eccomi

เสียงเยาวชน เยาวชนคืออนาคตและปัจจุบันของประเทศชาติและพระศาสนจักร เราจึงทุ่มเทและท�ำทุกวิถีทางเพื่อให้พวกเขาโตไปสร้างสังคม และพระศาสนจักรที่ดีที่เราคาดหวังไว้ แต่ในขณะที่เราก�ำลังท�ำสิ่งเหล่านี้ เราอาจจะลืมฟังเสียงพวกเขา เสียงของคนที่จะเป็นอนาคตและก�ำลังของพระศาสนจักร พวกเขาต้องการคนที่รับฟังและถามพวกเขาว่า เขาคิดอย่างไร เขาฝันอยากเป็นอะไร... พระศาสนจักรปรารถนาจะฟังเสียง ฟังความรู้สึก ฟังประสบการณ์แห่งความเชื่อ ฟังความสงสัยและฟังการวิจารณ์ของเยาวชน เราต้องการฟังเยาวชน พระศาสนจักรต้องการอยู่ใกล้ชิดกับประชากรของพระเจ้าโดยเริ่มจากการฟัง นิตยสารดอนบอสโกขอมอบพื้นที่นี้ให้กับ “เสียงของเยาวชน” เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความฝันที่แท้จริงของพวกเขาที่เราอาจไม่เคยได้ยิน

เมื่อมีปัญหา

กล้าปรึกษาพ่อแม่แค่ไหน?

หนูกล้าปรึกษาพ่อแม่ค่ะเพราะ พ่อแม่เป็นคนในครอบครัว พ่อกับแม่ เป็นคนที่รู้จักและเข้าใจตัวหนูดีที่สุด ท่านจะคอยให้ค�ำปรึกษาในเวลาที่หนู ต้องการและคอยอยู่เคียงข้างหนู ไม่ว่า สถานการณ์จะดีหรือร้าย มีครั้งหนึ่งที่ หนูเครียดเรื่องสอบและเรื่องหาสถาน ที่เรียนต่อ แม่ก็จะคอยบอกว่าให้หนูใจ เย็นๆ ไม่ต้องเครียด และให้หนูท�ำให้ ดีที่สุด มินนี่ - ลักษิกา เนาวรัตน์ อายุ 17 ปี 05 July - August 2018


เสียงเยาวชน By... Eccomi “หลังจากที่ผมได้คุย กับพ่อแม่แล้ว ท่านอาจจะว่า หรือบ่นผมบ้าง แต่สุดท้ายแล้ว ท่านก็ช่วยผมอยู่ดี”

ผมเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับ เรื่องนี้โดยตรง ในอดีตผมเคยถูกเพื่อน ชวนให้หนีเรียนไปเล่นเกม ผมปฏิเสธ เพื่อนเพราะรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดีซึ่งได้ กลายเป็นสาเหตุที่ท�ำให้เพื่อนในกลุ่มโกรธ ผม ไม่คุยด้วยและมีการพูดเสียดสี บ้างก็ ว่า “เอ๋อ” บ้างก็ว่า “เด็กน้อย” ผมจึงหัน ไปปรึกษาเพื่อนคนหนึ่งว่าต้องท�ำอย่างไร ดี เพื่อนคนนั้นก็บอกผมว่า “ไปเหอะ! สัก ครั้งในชีวิต” ผมจึงหนีเรียน จากนั้นไม่ นาน ผมและเพื่อนก็ถูกคุณครูจับได้และ ถูกหักคะแนนตามล�ำดับ แถมโดนเชิญผู้ ปกครองด้วย ตอนนั้นผมเครียดมากไม่ กล้าบอกแม่ ผมจึงบอกให้คนในบ้านมา แทนแม่หน่อย พอถึงวันพบผู้ปกครอง ผม ตกใจมาก เพราะเห็นแม่เดินออกมาจาก ห้องปกครอง ตอนนั้นผมรู้สึกเกร็งไปทั้ง ตัว พูดอะไรไม่ออก ในขณะที่แม่น�้ำตาคลอ เบ้า แล้วก็ถามผมว่า “ท�ำไมไม่บอกแม่” มันท�ำให้ผมรู้สึกผิดมาก นับเป็นเรื่องที่เลว ร้ายมากในชีวิตผม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เวลาผมมีปัญหาอะไร ผมจะหันไปปรึกษา คุณแม่ แต่เราก็ควรคิดไตร่ตรองเองก่อน เพราะในบางเรื่องคุณแม่อาจจะไม่เข้าใจสัก ทีเดียว เนื่องจากว่ามีช่วงวัยและอายุที่แตก ต่างกัน โมเดล - ธนวัฒน์ แก้วบวร อายุ 16 ปี 06

July - August 2018

หนูกล้าปรึกษาพ่อแม่ทุก เรื่องเพราะพ่อแม่เป็นคนที่เลี้ยงดูหนู มา เวลาหนูมีปัญหาแล้วไปปรึกษาพ่อ แม่ท่านก็จะรู้ว่าปัญหานี้ควรแก้ยังไง พ่อแม่เป็นคนที่หนูไว้ใจที่สุด หนูเคย มีปัญหาแล้วไปปรึกษาเพื่อน ซึ่งบางที มันอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอเรา ทะเลาะกัน เพื่อนก็เอาปัญหาของหนู ไปเล่าให้เพื่อนคนอื่นฟัง แต่กับพ่อแม่ นอกจากท่านจะรับฟังและไม่น�ำไปเล่า ต่อแล้ว ท่านยังให้ค�ำปรึกษาและมีวิธี แก้ปัญหาที่ดีพร้อมกับให้ก�ำลังใจหนู เสมอ นุ่ม - พลอยญาฎา คุ้มภัย อายุ 14 ปี

ที่ผ่านมาผมเคยกลัวพ่อแม่ ดุ ผมจึงไม่ค่อยกล้าที่จะปรึกษาพ่อแม่ มากนัก ผมกลัวว่าเมื่อบอกไปแล้วจะมี ปัญหาตามมา ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง มากๆ ยิ่งท�ำให้ไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ เลย แต่ความคิดนี้ได้เปลี่ยนไป เมื่อผม เจอกับเหตุการณ์หนึ่ง ผมจ�ำได้ว่า ผม โดนเพื่อนไถเงินทุกวัน จนไม่มีเงินจะ กินข้าว ผมเริ่มโดนไถเงินตั้งแต่ต้นเทอม จนเกือบถึงปลายเทอม มันเป็นอะไรที่ น่าร�ำคาญมาก อยากจะท�ำอะไรเพื่อน แต่ผมท�ำไม่ได้ ผมจึงตัดสินใจบอกแม่ ผม แม่ผมได้โทรบอกคุณครูประจ�ำชั้น ครูประจ�ำชั้นก็ถามผมว่าท�ำไมไม่บอก ครู พร้อมกับเรียกเพื่อนที่ไถเงินผมมา ตักเตือน แล้วเหตุการณ์การไถเงินนี้ก็ ไม่เกิดกับผมอีก แม้ว่าหลังจากที่ผมได้ คุยกับพ่อแม่แล้วท่านอาจจะว่าหรือบ่น ผมบ้าง แต่สุดท้ายท่านก็ช่วยผมอยู่ดี ไอคิว - ชนะศึก ด�ำเนิน อายุ 14 ปี


dbMagazine

REPORT

ในปัจจุบันวัยรุ่นอย่างเรามักจะ มีเรื่องเกิดขึ้นมากมายให้ปวดหัว ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องการเรียน ความรัก และอื่นๆ อีก มากมาย และส่วนใหญ่ก็มักจะปรึกษา เพื่อนมากกว่าพ่อแม่ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ กล้าบอกเพราะกลัวโดนต�ำหนิ แต่ส�ำหรับ ผมแล้ว ผมรู้สึกว่าการที่เรามีปัญหาไม่ ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ควรที่จะปรึกษาพ่อแม่ ก่อนเสมอ ผมขอยกตัวอย่างประสบการณ์ ของผม วันหนึ่งผมคิดอยากที่จะท�ำงาน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว ผม จึงหางานท�ำจนในที่สุดผมเกิดสนใจที่จะ ไปท�ำงานกับบริษัทแห่งหนึ่ง ผมได้ขอค�ำ ปรึกษาจากพ่อแม่ ท่านได้เตือนและให้ค�ำ แนะน�ำว่าไม่ควรจะไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัทดัง กล่าว ถือเป็นโชคดีของผมเพราะต่อมา บริษัทดังกล่าวเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งหากผมเข้า ไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัทนี้ผมคงต้องเดือดร้อน และเกิดเรื่องใหญ่แน่ๆ จากประสบการณ์ ที่ผมได้เล่าไปข้างต้น ผมหวังเป็นอย่าง ยิ่งว่า คงจะท�ำให้เพื่อนๆ ที่ก�ำลังประสบ ปัญหาต่างๆ กล้าที่จะพูดคุยและปรึกษา ปัญหาต่างๆ กับพ่อแม่ ผมเชื่อว่าไม่มีพ่อ แม่คนไหนที่เห็นลูกมีปัญหาแล้วจะนิ่งเฉย ได้หรอกครับ

จากรายงาน “คนไทย” มอนิเตอร์ 2557: เสียงเยาวชนไทย พบว่า เมื่อเยาวชนมีปัญหา ส่วนใหญ่จะใช้เวลา อยู่กับตัวเอง เพื่อท�ำกิจกรรมต่างๆ หรือคิดหาทางออกด้วยตนเอง ซึ่งอาจน�ำไปสู่การตัดสินใจ ที่ผิดพลาดได้ สิ่งที่เยาวชนท�ำเมื่อมีปัญหา ก็คือ อยู่กับตัวเอง ท�ำกิจกรรมต่างๆ (เช่น ฟังเพลง เล่นเกม เล่น facebook ออกก�ำลังกาย ดูทีวี นอนหลับ อ่านหนังสือ เป็นต้น) 95% ปรึกษาเพื่อน/แฟน 38% ปรึกษาพ่อแม่/ครอบครัว 34% ปรึกษาอาจารย์ 4% (ฐาน 4,000)

ส�ำหรับตัวหนูแล้ว ไม่ว่าจะ เรื่องความรัก เรื่องการเรียน หรือเรื่อง อะไรก็ตาม ให้หนักหนาสาหัสยังไง หนูก็กล้าที่จะบอกพ่อแม่และกล้าที่จะ ปรึกษา โดยเฉพาะกับแม่ หนูรู้สึกว่า เมื่อหนูคุยแล้ว เหมือนทุกอย่างที่หนู หนักใจอยู่มันลดเบาลง พ่อกับแม่จะ ให้ค�ำปรึกษาที่ดีกว่าทุกๆ คน ถ้าหนู ปรึกษาพ่อแม่ โดยที่หนูไม่อยากให้คน อื่นรู้ ค�ำว่า “ความลับไม่มีในโลก” จะมี อยู่จริง พ่อกับแม่จะเป็นคนที่เก็บความ ลับของหนูได้เก่งที่สุด เมื่อหนูคุยกับพ่อ แม่ ท่านไม่ได้แค่รับฟัง แต่ท่านยังช่วย แก้ปัญหา ชี้แนะ และคอยให้ก�ำลังใจ เสมอ พร - ปรียาพร หมทอง อายุ 15 ปี

ที่มา:

www.khonthaifoundation.org

“ผมเชื่อว่า ไม่มีพ่อแม่คนไหน ที่เห็นลูกมีปัญหา แล้วจะนิ่งเฉยได้ หรอกครับ”

พี - ภูมิพัฒน์ สินวราเสฏฐ์ อายุ 17 ปี 07

July - August 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ By... Mr.Privillege

คนเรามีจุดมุ่งหมายในชีวิต ที่ไม่เหมือนกัน ขณะที่หมุดหมายหนึ่ง ของชีวิตของคนส่วนใหญ่ก็คงอยู่ที่ เกียรติยศ เงินทองและความส�ำเร็จ แต่ก็ยังมีคนอีกจ�ำนวนหนึ่งที่มีหมุดที่ แตกต่างออกไป เพราะในขณะที่คน ส่วนใหญ่เดินไปข้างหน้ามุ่งแสวงหา ความมั่งคั่ง ความสะดวกสบายและ ความศิวิไล คนๆ นี้กลับเดินสวน กระแส เขาสละบ้าน ครอบครัว พ่อแม่ ญาติพี่น้องและความสุขสบาย ส่วนตน เดินทางไกลข้ามน�ำ้ข้ามทะเล สู่แผ่นดินไทย สิ่งที่เขาต้องการคืออะไร? เขาต้องแลกมาด้วยอะไร? ทุ่มเทขนาดไหน? อะไรคือเคล็ดลับในการด�ำเนินชีวิต? และที่สุดเขาประสบผลส�ำเร็จ หรือเปล่า? เรามาหาค�ำตอบจากบุคคลผู้นี้ คุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ (Fr. Valentino Sosio) สงฆ์ซาเลเซียนและธรรมทูต ผู้ติด ตามพระคริสตเจ้ามาตลอดเวลา 50 ปี

50 ปีแห่งชีวิตสงฆ์

คุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ ซดบ.

พ่อเกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1937 ที่เซโมโก (SEMOGO) จังหวัดซอนดรีโอ (SONDRIO) ประเทศอิตาลี พ่อมีพี่น้องทั้งหมด 12 คน พ่อเป็นคนที่ 9 เมื่อพ่อเกิดได้หนึ่งวัน บิดามารดาได้น�ำ พ่อไปรับศีลล้างบาป ตอนเด็กๆ พ่อเรียนที่หมู่บ้านของพ่อจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พ่อได้รับ ศีลก�ำลังเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1947

08

July - August 2018


dbMagazine กระแสเรียกของคุณพ่อเริ่มต้นหรือ เกิดขึ้นได้อย่างไร? ในปี ค.ศ. 1951 หลังจบชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 พ่อได้เข้าบ้านเณร ซาเลเซียนที่อีเวร์อา (IVREA) ผู้ที่ผลัก ดันและเป็นแรงบันดาลใจให้พ่อเข้าบ้าน เณรซาเลเซียนก็คือคุณพ่อเอมิลิโอ บาโรนี (Fr. Emilio Baroni) ธรรมทูต ซาเลเซียนที่ท�ำงานอยู่ในประเทศไทย คุณพ่อบาโรนีเป็นคนบ้านเดียวกันกับ พ่อ ญาติพี่น้องของคุณพ่อบาโรนีสนิท กับครอบครัวของพ่อ เพราะฉะนั้นทุก ครั้งที่คุณพ่อกลับไปจากเมืองไทยเพื่อ เยี่ยมญาติพี่น้อง คุณพ่อก็มักจะไปที่ บ้านของพ่อ พูดคุยและเชิญชวนพ่อให้ เข้าบ้านเณรซาเลเซียนอยู่เสมอ ตอนที่คุณพ่อบาโรนีไปหาพ่อ เพื่อพาพ่อเข้าบ้านเณรซาเลเซียนที่ อีเวร์อานั้น พ่อไม่ได้อยู่บ้าน ไปเลี้ยงวัว ให้ลุง พอพ่อกลับมาบ้าน คุณพ่อบาโรนี ก็พาพ่อไปส่งที่บ้านเณรและเข้าเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ที่นั่น ตอนแรกๆ ที่อยู่บ้านเณรพ่อไม่ได้คิดอะไรมาก ได้ แต่เรียนไปเรื่อยๆ ท�ำไมถึงตัดสินใจเป็นธรรมทูต ซาเลเซียนและครอบครัวของคุณ พ่อว่าอย่างไร? เมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พ่อเริ่มมีความปรารถนาที่จะเป็นธรรม ทูต อาจเป็นเพราะค�ำพูด ประสบการณ์ และค�ำเชิญชวนของพระสังฆราชอาร์ดู อีโน (Mons.ARDUINO) ที่ท�ำงานอยู่ ในประเทศจีนก็เป็นได้ เวลาพระคุณเจ้า กลับไปที่ประเทศอิตาลี ได้แบ่งปันเรื่อง ราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนให้เรา ซึ่งเป็นเณรซาเลเซียนฟัง มันเป็นอะไรที่ ดีมากๆ พ่อจึงคิดอยากจะเป็นธรรมทูต เหมือนกับพระสังฆราชอาร์ดูอีโนบ้าง เวลาเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่ง เป็นปีสุดท้าย พ่อได้เขียนจดหมายถึง

คุณแม่เพื่อขออนุญาตไปเป็นธรรมทูต คุณแม่ถามว่า “ลูกคิดดีแล้วหรือ?” พ่อก็ตอบว่า “ครับ ผมคิดดีแล้ว ผม พร้อมที่จะไปเป็นธรรมทูตครับ” คุณ แม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ประกอบกับการที่ ครอบครัวของพ่อมีคุณพ่อบาโรนีเป็น แบบอย่างและแรงบันดาลใจอีกทาง หนึ่งด้วย ดังนั้น พ่อจึงสมัครเป็นธรรม ทูต แต่ไม่ได้ระบุประเทศที่จะไป ผู้ใหญ่ เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกและส่งเราไปยัง ดินแดนธรรมทูตในประเทศใดประเทศ หนึ่ง พ่อกับเพื่อนอีก 4 คน คือ 1) สามเณรอูโก ซันนา 2) สามเณรยอแซฟ กัลลัสซี 3) สามเณรเฮนรี่ ดาเนียลี 4) สามเณรเอ็ตโตเร แบร์โตลอตตี ได้รบั เลือกให้มาเป็นธรรมทูตในประเทศไทย

พวกเราจึงต้องค้างอยู่ที่ประเทศอินเดีย ประมาณ 2-3 วัน อย่างไรก็ตาม พ่อ และเพื่อนๆ ได้มาถึงประเทศไทยอย่าง ปลอดภัย เราไปพักที่บ้านเจ้าคณะ ซึ่ง ขณะนั้นตั้งอยู่ที่ศาลาแดง คุณพ่อมารีโอ รูเซ็ตดู (Fr. Mario Ruzzeddu) คุณพ่อเจ้าคณะในขณะนั้น ให้การ ต้อนรับพวกเราอย่างดี เราพักอยู่ที่บ้าน เจ้าคณะ 2 คืน จากนั้น ได้เดินทางไป บ้านเณรซาเลเซียน หัวหิน ความรู้สึก แรกที่มาถึงประเทศไทย คือ อากาศ ร้อนมาก แต่ก็ถือว่าเป็นอากาศที่ดี เรา กินได้ นอนหลับ เพื่อนทุกคนต่างก็รู้สึก ดีใจมากที่ได้มาประเทศไทย ตอนแรก เรารู้สึกล�ำบากเรื่องภาษา แต่ก็ไม่กลัว ไม่ท้อแท้ เพราะใจเราสู้

วันแรกที่คุณพ่อมาถึงเมืองไทยเป็น อย่างไรบ้าง? ในปี ค.ศ. 1956 พ่อออกเดิน ทางจากกรุงโรมมาประเทศไทยโดย เครื่องบิน พร้อมกับเพื่อนทั้งสี่ ระหว่าง ทาง ปรากฏว่าเครื่องยนต์เกิดขัดข้อง

อะไรคือสิ่งท้าทายที่สุดในฐานะที่ เป็นธรรมทูตในประเทศไทย? เมื่อไปถึงหัวหิน พ่อเริ่มเรียน ภาษาไทยกับคุณพ่อนาตัล มาเน (Fr. Natale Mane) พร้อมกับเพื่อนๆ รู้สึก ว่าภาษาไทยยากมาก แต่ก็พยายาม 09

July - August 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อวาเลนติโน โซซิโอ By... Mr.Privillege บ้านโป่ง (ค.ศ. 1962-1964) พ่อไม่รู้สึก ว่ามีปัญหาในเรื่องภาษาแต่อย่างใด

ที่จะเรียนรู้อย่างดี จนสามารถเข้าใจได้ พ่อได้เข้านวกสถานที่หัวหินเมื่อวัน ที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1957 พร้อมกับ เพื่อนๆ อีก 9 คน คือ 1) นวกชนเอ็ต โตเร แบร์โตลอตตี 2) นวกชนชั้น พึ่งฮั้ว 3) นวกชนเฮนรี่ ดาเนียลี 4) นวกชน ยอแซฟ กัลลัสซี 5) นวกชนกิมชวน ริ้วงาม 6) นวกชนประสาท หอมสนิท 7) นวกชนอูโก ซันนา 8) นวกชน สุธรรม ฉายาบรรณ 9) นวกชนวิเชียร ราชานุกูล โดยมีคุณพ่ออัลบีโน ปองกี โอเน (Fr. Albino Ponchione) เป็น อธิการและนวกจารย์ เราทั้งสิบคนได้ ปฏิญาณตนครั้งแรกในคณะซาเลเซียน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1958 ในปีนวกภาพ ภาษาไทยของพ่อยังไม่ แตกฉานเท่าไหร่ ดังนั้น สิ่งที่ท้าทาย พ่อมากที่สุดในฐานะที่เป็นธรรมทูตใน ประเทศไทยก็คือภาษา ภาษาเป็นสิ่ง ส�ำคัญในการติดต่อกับผู้คน การเรียน ภาษาไทยอย่างดีท�ำให้เราสามารถ สื่อสารกับผู้คน แต่ถ้าเราไม่รู้ภาษา มันก็อาจจะท�ำให้เกิดความไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดกันได้ อย่างไรก็ตาม พ่อ พยายามตั้งใจเรียนภาษาไทยอย่างดี จนกระทั่งว่าในช่วงเวลาที่พ่อเป็นบรา เดอร์ฝึกงาน ทั้งที่หัวหิน (ค.ศ. 19611962) และที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย 10

July - August 2018

สิ่งที่คุณพ่อประทับใจในวันบวช พระสงฆ์? ในปี ค.ศ. 1964 หลังจากที่ได้ ฝึกงานโดยเป็นผู้ดูแลเด็กๆ และเยาวชน เป็นเวลา 3 ปีแล้ว (ที่หัวหิน 1 ปี และที่ บ้านโป่ง 2 ปี) พ่อก็เดินทางไปเรียนเทว วิทยาที่คัสเตลลามาเร (CASTELLAMARE) ประเทศอิตาลี เป็นเวลา 4 ปี จนในที่สุด ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1968 ณ เมืองซาแลร์โน (SALERNO) ประเทศ อิตาลี พ่อดีใจและประทับใจมากที่พี่ 1 คน และน้อง 2 คน ไปร่วมพิธีบวชเป็น พระสงฆ์ของพ่อ แม้จะต้องเดินทางไกล เกือบ 1,000 กิโลเมตร และเสียเวลา เดินทางมากก็ตาม คืนนั้นเอง พ่อได้ เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อประกอบพิธี บูชาขอบพระคุณเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ของพ่อ ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1968 ความมั่นคงในการเป็นธรรมทูต ซาเลเซียน หลังจากบวชเป็นพระสงฆ์และ พักผ่อนที่บ้านเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

พ่อได้เดินทางกลับประเทศไทย เพื่อ ท�ำงานที่คณะซาเลเซียนมอบหมายให้ พ่อท�ำปกติ บรรดาธรรมทูตจะได้กลับ บ้านทุกๆ 3 ปี โดยมีเวลาอยู่ที่บ้าน ประมาณ 2 เดือน พ่อก็มีโอกาสกลับ บ้านเหมือนธรรมทูตคนอื่นๆ เวลาที่ พ่อกลับมาเยี่ยมบ้าน ญาติพี่น้องหลาย คนพูดเชิญชวนให้พ่อกลับมาอยู่ที่บ้าน เพราะที่ประเทศอิตาลีเริ่มมีกระแสเรียก น้อยลง แต่พ่อก็ไม่คล้อยตามค�ำชักจูง ของพวกเขา พ่อยังคงปรารถนาที่จะเป็น ธรรมทูตซาเลเซียนต่อไปตลอดระยะ เวลา 50 ปี แห่งชีวิตพระสงฆ์ พ่อได้ ท�ำงานในสถานที่ต่างๆ ดังนี้ ค.ศ. 1968-1974 โรงเรียนแสงทอง วิทยา หาดใหญ่ ค.ศ. 1974-1975 อาสนวิหารอัคร เทวดาราฟาเอล สุราษฎร์ธานี ค.ศ. 1975-1976 วัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด หาดใหญ่ ค.ศ. 1976-1977 รับการอบรมด้าน ค�ำสอนที่ประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1977-1983 วัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด หาดใหญ่ ค.ศ. 1983-1993 โรงเรียนดอน บอสโกวิทยา อุดรธานี


dbMagazine ค.ศ. 1993-1996 โรงเรียนแสงทอง วิทยา หาดใหญ่ ค.ศ. 1996-2002 วัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด หาดใหญ่ ค.ศ. 2002-ปัจจุบัน บ้านนาซาเรท บ้านโป่ง อะไรคือเคล็ดลับของความซื่อสัตย์ ต่อกระแสเรียกซาเลเซียน? แรงจูงใจที่ท�ำให้พ่อซื่อสัตย์ มั่นคงในการติดตามพระคริสตเจ้า ใน ฐานะธรรมทูตซาเลเซียน ก็คือ ความ รักต่อคุณพ่อบอสโก รักคณะซาเลเซียน และท�ำงานตามจิตตารมณ์ของคุณพ่อ บอสโก ส่วนพลังที่ได้รับจากพระเจ้ามา จากการสวดภาวนาประจ�ำวัน การท�ำ กิจศรัทธาต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้น และการท�ำงานอภิบาลด้วยใจรักอย่าง แท้จริง

ให้รอดพ้น แต่ผู้ที่เดินเคียงข้างและคอย ประคับประคองชีวิตพระสงฆ์ให้ด�ำเนิน ไปอย่างราบรื่นและมีความสุข ก็คือ สมาชิกซาเลเซียนที่อยู่ในหมู่คณะ เดียวกัน พ่อประทับใจในตัวของคุณพ่อ ปองกีโอเน เพราะคุณพ่อเป็นคน ละเอียด มีระเบียบวินัย มีความเป็น บิดา และรักสมาชิกทุกคนอย่างแท้จริง การที่สมาชิกเจริญชีวิตอยู่ในหมู่คณะ และรักกันและกันท�ำให้กระแสเรียกของ เรามั่นคง และต่างคนต่างก็เป็นแบบ อย่างที่ดีให้แก่กันและกันด้วย

ใครคือต้นแบบของการเป็นพระ สงฆ์ของคุณพ่อครับ? คุณพ่อบอสโกเป็นต้นแบบของ การเป็นพระสงฆ์ของพ่อ ในด้านความ รักต่อพระเจ้าและบรรดาเยาวชน ความ ศรัทธาต่อแม่พระองค์อุปถัมภ์ และ ความกระตือรือร้นในการช่วยวิญญาณ

ส�ำหรับพ่อ.. ความสุขในการเจริญชีวิตพระสงฆ์ อยู่ที่การได้เห็นสัตบุรุษทั้งชายและหญิง ทั้งผู้สูงอายุและเยาวชน ต่างร่วมแรงร่วมใจกันท�ำงาน มีความรัก ความสามัคคี เป็นจิตหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่อิจฉา และไม่นินทากัน

อะไรคือความสุขในชีวิตพระสงฆ์? ส�ำหรับพ่อ ความสุขในการ เจริญชีวิตพระสงฆ์อยู่ที่การได้เห็น สัตบุรุษทั้งชายและหญิง ทั้งผู้สูงอายุ และเยาวชนต่างร่วมแรงร่วมใจกัน ท�ำงาน มีความรัก ความสามัคคี เป็น จิตหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่อิจฉา และไม่นินทากัน ความในใจที่คุณพ่ออยากจะบอกใน โอกาสฉลอง 50 ปีชีวิตสงฆ์? ในโอกาสฉลอง 50 ปี แห่ง การเป็นพระสงฆ์ของพ่อ พ่ออยากจะ บอกกับทุกคนว่า ให้รักพระมากๆ ให้ มีความเชื่อที่มั่นคง แม้เวลาที่มีปัญหา หรืออุปสรรคในชีวิต ให้รักผู้ก่อตั้งคณะ และปฏิบัติตามจิตตารมณ์ของท่านด้วย ความซื่อสัตย์มั่นคง ให้มีความสุขใน การเจริญชีวิต และน�ำความสุขที่มีนั้นไป แบ่งปันให้ผู้อื่นด้วย.. db

11

July - August 2018


เส้นทางจอม YOUTH By... กำ�ลังภายใน

มุ่งสู่ Synod 2018

การอภิบาลเยาวชนอย่างมีคุณภาพ : การเติบโต ในการร่วมทางกับเยาวชน

การอภิบาลเยาวชนและการอภิบาล กระแสเรียก เอกสารเตรียมการประชุม สมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 15 ได้ขอให้ ผู้อภิบาลประเมินคุณภาพของงาน อภิบาลเยาวชนและขอให้ขยายงาน อภิบาลกระแสเรียกออกไปให้กว้างขึ้น โดยท�ำให้ทั้งสองงานมีความสัมพันธ์ที่ เป็นหนึ่งเดียวและเกื้อหนุนกัน ค�ำขอดัง กล่าวนี้มีความส�ำคัญมากเพราะหลาย ครั้งเรามักแยกการอภิบาลเยาวชนและ การอภิบาลกระแสเรียกออกจากกันไม่ ว่าจะในทางทฤษฎีหรือในทางปฏิบัติ ซึ่งเราต้องยอมรับว่ายังมีหนทางในการ ก้าวเดินต่อไปได้อีกมากเพื่อพัฒนา คุณภาพของงานอภิบาลเยาวชน หากเรามองในด้านทฤษฎีแล้ว ก็คงยากที่จะเจอต้นแบบของการอภิบาล เยาวชนที่มีจุดเริ่มต้นมาจากเรื่องกระแส เรียกโดยตรง เราทราบดีว่า “กระแส 12

July - August 2018

เรียก” เป็นจุดยอดสุดที่มีความส�ำคัญ และเป็นที่มาของการอภิบาลเยาวชน แต่ความคิดดังกล่าวนี้อาจไม่ได้ฝังอยู่ใน DNA ของผู้ท�ำงานอภิบาลเยาวชนมาก เท่าไรนัก เพราะโดยทั่วไปแล้วผู้ท�ำงาน อภิบาลมักอบรมเรื่องคุณค่าชีวิต เพศ ยาเสพติด สื่อสารมวลชน การรักษา วัฒนธรรม การดูแลสิ่งแวดล้อม บาง คนเน้นเรื่องจิตอาสาและหน้าที่ในสังคม บางคนเลือกอบรมเรื่องการประกาศ พระวรสาร บางคนเน้นเรื่องความเชื่อ และศีลธรรมเป็นหลัก มีผู้อภิบาลเยาวชนจ�ำนวนไม่ มากนักที่ท�ำงานอภิบาลเยาวชนโดย

มีรากทางความคิดอยู่ในหลักการทาง เทววิทยาด้านกระแสเรียกที่ตระหนัก เป็นอันดับแรกว่าเยาวชนเป็นที่รักและ ได้รับการเรียกจากพระเจ้า พวกเขา มีหน้าที่น�ำพาชีวิตของตนไปสู่การตอบ รับพระเจ้าผู้ทรงรักและเรียกเขาเป็นการ ส่วนตัวเพื่อท�ำพันธกิจของพระองค์ด้วย ความรักและด้วยใจกว้าง พระเจ้าทรง มอบเส้นทางชีวิตที่ชัดเจนให้กับเยาวชน โดยพระองค์ทรงเรียกพวกเขาด้วยชื่อ และทรงมอบพันธกิจให้พวกเขาแต่ ละคน ส่วนในด้านปฏิบัติแล้ว หลาย ครั้งผู้อภิบาลเยาวชนสนใจเรื่องการท�ำ


dbMagazine กิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดค่าย การ จัดชุมนุม การจัดกีฬา ฯลฯ ซึ่งต้อง วางแผน เตรียมการและบริหารจัดการ ท�ำให้ต้องคิดเรื่องของปริมาณ จ�ำนวน และตัวเลข การมุ่งเน้นกิจกรรมเหล่า นี้อาจท�ำให้เรากลายเป็นเพียงนักจัด กิจกรรมและเป็นนักบริหารจัดการงาน อภิบาลมากกว่าจะเป็นผู้อภิบาลที่อุทิศ ตนเป็นเพื่อนร่วมทาง (accompaniment) ไปพร้อมกับเยาวชน สิ่งเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้หากเราไม่ได้ตระหนักถึง หัวใจของการอภิบาลเยาวชนที่แท้จริง นอกนั้น ผู้ท�ำงานด้านการ อภิบาลเยาวชนหลายคนอาจมีความ เข้าใจที่ไขว้เขว่เรื่องของกระแสเรียกว่า เป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการ เรียกเพื่อเป็นพระสงฆ์และนักบวชเท่า นั้น ความคิดแบบนี้ท�ำให้การอภิบาล กระแสเรียกเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มบุคคล และท�ำให้เยาวชนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม ดังกล่าวขาดโอกาสที่แท้จริงในการ

พบปะกับพระเจ้า และโดยไม่รู้ตัวเรา ก�ำลังปฏิเสธสิทธิพื้นฐานของการเป็น คริสตชนซึ่งในฐานะที่เยาวชนก็เป็น คริสตชนคนหนึ่ง พวกเขามีสิทธิที่จะ

มีความสัมพันธ์ส่วนตัวและเป็นหนึ่ง เดียวกับพระเจ้าโดยผ่านทางการตอบ รับพระองค์ในกระแสเรียก ซึ่งไม่เจาะจง เฉพาะกระแสเรียกพระสงฆ์และนักบวช เท่านั้น เพราะทุกกระแสเรียกมีคุณค่า และมีความส�ำคัญไม่แพ้กัน นี่คือเหตุผล ที่การร่วมทางในกระแสเรียกเป็นหน้าที่ ของพระศาสนจักรที่มีต่อเยาวชนทุกคน และถือว่าเป็นสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์และชอบ ธรรมที่เยาวชนทุกคนพึงได้รับ สารของสมเด็จพระสันตะปาปา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงส่งสารไปยังผู้ร่วมประชุมสัมมนา นานาชาติในหัวข้อ “การอภิบาลกระแส เรียกและชีวิตผู้เจิมถวายตัว ขอบฟ้า และความหวัง” ที่มหาวิทยาลัยราชินี แห่งอัครสาวก กรุงโรม เมื่อวันที่ 1-3 ธันวาคม ค.ศ. 2017 เนื้อความหลักของ สารดังกล่าวนี้ยืนยันถึงความส�ำคัญของ การอภิบาลกระแสเรียก ซึ่งช่วยท�ำให้

1.งานอภิบาลทุกงานของพระ ศาสนจักรจะต้องน�ำไปสู่การวินิจฉัยและ แยกแยะกระแสเรียก (discernment) ในทุกระดับโดยเริ่มจากกระแสเรียกการ เป็นมนุษย์นั่นคือการอภิบาลจะต้องช่วย เราให้แสวงหาและแยกแยะว่าสิ่งไหน คือความจริง สิ่งไหนเป็นความดีและ ความชั่ว และส�ำนึกว่าชีวิตเป็นพระพร ของพระเจ้า การอภิบาลต้องช่วยเราให้ เข้าใจถึงกระแสเรียกการเป็นคริสตชน นั่นคือสามารถแยกแยะและค้นพบว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้า และช่วยเรา ให้เติบโตในความเชื่อซึ่งเราได้รับโดย ผ่านทางศีลล้างบาป และสุดท้ายการ อภิบาลต้องช่วยเราให้วินิจฉัยและตอบ รับกระแสเรียกแห่งการรับใช้ที่เฉพาะ เจาะจงซึ่งพระเจ้าทรงประทานให้กับเรา แต่ละคน เช่น ครู หมอ พยาบาล พระ สงฆ์ นักบวช ฯลฯ สรุปได้ว่า มิติด้านกระแสเรียก เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ส�ำคัญของการ

เรามีความมั่นใจในแนวทางของการ ท�ำงานอภิบาลมากยิ่งขึ้น เราสามารถ สรุปประเด็นส�ำคัญของสารดังกล่าวได้ ดังนี้

ประกาศพระวรสารและต้องอยู่ในทุก การอภิบาลของพระศาสนจักร การ ประกาศพระวรสารและการอบรมด้าน ความเชื่อต้องช่วยเราให้สร้างความ สัมพันธ์ส่วนบุคคลกับพระคริสตเจ้า และช่วยเราในการวินิจฉัยและตอบรับ กระแสเรียกที่พระเจ้าประทานให้ ด้วย เหตุนี้การอภิบาลกระแสเรียกจึงมีความ สัมพันธ์กับการประกาศพระวรสารและ การอบรมความเชื่ออย่างใกล้ชิด 2. การอภิบาลกระแสเรียก จะต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่ในการ อภิบาลเยาวชน กล่าวคือการอภิบาล กระแสเรียกจะพึ่งพิง มีจุดเริ่มต้นและ 13

July - August 2018


เส้นทางจอม YOUTH By... กำ�ลังภายใน

พัฒนาอยู่ในการอภิบาลเยาวชน ทั้ง สองจะต้องจับมือเดินไปด้วยกัน พูด ง่ายๆ ก็คือเพื่อให้งานอภิบาลเยาวชน เกิดการขับเคลื่อน มีความสมบูรณ์ เกิด ผลและเป็นการอบรมที่แท้จริงก็จะต้อง มีองค์ประกอบด้านกระแสเรียกอยู่ด้วย ทั้งนี้ มิติด้านกระแสเรียกจะต้องไม่เป็น เพียงแค่เป้าหมายของกระบวนการหรือ ของกลุ่มบุคคลที่ศึกษากระแสเรียกอยู่ เท่านั้น แต่ต้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ อยู่ในกระบวนการของการประกาศ พระวรสารและในการอบรมเด็กและ เยาวชนเสมอ 3. การภาวนามีความส�ำคัญ มากในชีวิตกระแสเรียก เพราะกระแส เรียกเป็นของขวัญจากพระเจ้า เราจะ ได้ยินเสียงเรียกของพระเจ้าและท�ำให้ เสียงนี้ยังคงดังก้องอยู่และสามารถตอบ รับพระองค์ได้ในการภาวนาเท่านั้น จากประเด็นข้างต้นก่อให้เกิด ความท้าทายบางประการที่ผู้ท�ำงาน อภิบาลกระแสเรียกจะต้องเผชิญนั่นคือ 1.การมีความไว้ใจ ผู้อภิบาลต้องมีความไว้ใจใน เยาวชนและมีความไว้ใจในพระเจ้าเยาว ชนในสมัยนี้เติบโตในยุคของ “การเซล ฟี่” และในวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว เราต้องช่วยพวกเขาให้ 14

July - August 2018

ค้นหาความหมายของชีวิตผู้อภิบาล ต้องกล้าที่จะเสนอรูปแบบชีวิตที่เป็น ข้อเรียกร้องตามแนวพระวรสารให้กับ เยาวชน โดยไม่ลดข้อเรียกร้องเหล่านั้น ลงและในเวลาเดียวกันก็ไม่เข้มงวดจน กลายเป็นการบังคับ 2.ให้ความสว่าง ผู้อภิบาลต้องให้ความสว่าง และช่วยเยาวชนไม่ให้หันเหความคิด และสายตาไปจากเป้าหมายส�ำคัญโดย เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่สับสนและ รู้สึกไม่แน่ใจในชีวิต 3.ให้ความมั่นใจ ผู้อภิบาลต้องให้ความมั่นใจแก่ เยาวชนว่าการเป็นศิษย์ของพระคริสต เจ้านั้นคุ้มค่า และการมอบตนทั้งครบ เพื่อการประกาศพระวรสารเป็นความ

ยิ่งใหญ่และงดงามซึ่งให้ความหมายกับ ชีวิตทั้งครบ คุณลักษณะของการอภิบาลกระแส เรียกเยาวชน 1.ความแตกต่างกันของบุคคล พระเจ้าทรงเรียกเยาวชนแต่ ละคนด้วยชื่อ ตามประวัติและประสบ การณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นเยาวชน แต่ละคนจึงมีเส้นทางของตนและไม่ สามารถโอนการตอบรับกระแสเรียก ของตนให้กับคนอื่นได้ อุปสรรค ประการหนึ่งของบรรดาเยาวชนก็คือ การไม่สามารถตัดสินใจที่จะผูกมัด ตนเองในกระแสเรียก 2.การบอกเล่าด้วยประสบการณ์ การอภิบาลกระแสเรียกใน แบบ “มาดูซิ” (Come and See)


dbMagazine เป็นการอภิบาลตามแบบพระวรสาร ที่แท้จริง ดังที่พระเยซูเจ้าทรงตรัสเชื้อ เชิญศิษย์สองคนให้มามีประสบการณ์ อยู่กับพระองค์ พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรง อธิบายให้พวกเขาเข้าใจทุกอย่างก่อน แล้วจึงมามีประสบการณ์แต่ทรงให้พวก เขามาด�ำเนินชีวิตและมีประสบการณ์กับ พระองค์เพื่อจะเข้าใจถึงชีวิตการเป็น ศิษย์ติดตามพระคริสตเจ้า รูปแบบ ของการอภิบาลดังกล่าวนี้ช่วยเยาวชน ให้สัมผัสถึงใบหน้าที่สดใสและเห็นถึง

ความสุขที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ตอบรับการ เรียกของพระเจ้า ซึ่งเป็นการบอกเล่า ผ่านทางชีวิตของศิษย์ของพระคริสตเจ้า ซึ่งเยาวชนได้สัมผัส

เขาให้ตื่นขึ้น อธิบายให้พวกเขารู้ถึง สถานการณ์ชีวิตที่ก�ำลังเผชิญ น�ำพวก เขาไปหาพระเยซูเจ้าและสนับสนุนให้ พวกเขาตอบรับการเรียกของพระเจ้า ด้วยใจอิสระและรับผิดชอบ

3.การเป็นส่วนหนึ่งของ พระศาสนจักร ผู้อภิบาลมีหน้าที่ช่วยเยาวชน ให้รู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของพระ ศาสนจักรและมีส่วนร่วมในพันธกิจ ต่างๆ โดยตระหนักว่าทุกกระแสเรียก มิได้มีไว้เพื่อความดีของตนเอง แต่ทุก กระแสเรียกเป็นส่วนหนึ่งของพระ ศาสนจักรและเพื่อพระศาสนจักร

6.ความพากเพียรอดทน การอภิบาลคือการหว่านและ การอดทนรอคอยจนกว่าเมล็ดพันธุ์จะ เติบโตและวันหนึ่งจะเกิดผล ผู้ท�ำงาน อภิบาลเยาวชนตระหนักเสมอว่างาน ของเขาก็คือการหว่านเมล็ดพันธ์ุ และจะ มีบุคคลอื่นที่จะช่วยท�ำให้เติบโตและจะ เก็บเกี่ยวผลนี้

4.ตามแนวพระวรสาร การอภิบาลกระแสเรียกมี จุดเริ่มต้นที่ “พระเยซูเจ้า” ซึ่งเป็น จุดศูนย์กลางของทุกการอภิบาล ดังเช่น ที่พระองค์ทรงเป็นศูนย์กลางของพระ วรสาร ด้วยเหตุนี้จึงชัดเจนว่ารูปแบบ ของการอภิบาล กระแสเรียกจึง ไม่ใช่เรื่องของ การสรรหาผู้ แทนของสังคม แต่เป็นเรื่องของ การเป็นศิษย์ ที่แท้จริงของพระ เยซูเจ้าที่ด�ำเนิน ชีวิตตามบัญญัติ ใหม่ของพระองค์และมีชีวิตตามแนวทาง ของความสุขแท้จริงในพระวรสาร

7.การเป็นเยาวชน ผู้อภิบาลตระหนักเสมอถึง คุณลักษณะของการเป็นเยาวชนและ ปฏิบัติกับพวกเขาให้เหมาะสมกับวัย การอภิบาลเยาวชนต้องมีลักษณะของ การขับเคลื่อน มีส่วนร่วม สนุกสนาน ร่าเริง มีความหวัง แสดงถึงความกล้า หาญ มีความไว้ใจ... คุณลักษณะที่กล่าวมาข้าง ต้นนี้เป็นผลมาจากการไตร่ตรอง ประสบการณ์ของผู้ที่ท�ำหน้าที่อภิบาล กระแสเรียกซาเลเซียนในประเทศอิตาลี อาศัยประสบการณ์ของบุคคลเหล่านี้ สามารถช่วยเราให้เป็นผู้ร่วมเดินทาง ฝ่ายจิตและเป็นผู้ร่วมทางในกระแสเรียก กับเยาวชนในพันธกิจของเรา.. db

5.การร่วมทาง การร่วมทางเป็นหน้าที่ที่ ชัดเจนของการอภิบาลเยาวชน ผู้ อภิบาลมีหน้าที่ร่วมทาง เดินไปพร้อม กับพวกเขา รับฟัง และกระตุ้นพวกเขา ให้ลุกขึ้นจาก comfort zone ปลุกความ ฝันและความปรารถนาในใจของพวก 15

July - August 2018


LOCAL NEWs By... SDB Reporter

ข่าวซาเลเซียน

อบรมครูใหม่ซาเลเซียน คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการอบรม สัมมนาครูใหม่ประจ�ำปีการศึกษา 2561 ที่บ้านฟื้นฟูจิตใจ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน ค.ศ.2018 งานนี้ มีครูใหม่เข้าอบรมจ�ำนวน 64 คนจาก 7 โรงเรียนในเครือซาเล เซียนทั่วประเทศไทย หัวข้อของการอบรมคือ คุณพ่อบอสโกและ การอบรม “ระบบป้องกัน” โดยมี คุณพ่อนพพร ยอแซฟ อธิการ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย เป็นวิทยากรผู้บรรยายหลัก นอกนั้น ในการอบรมครั้งนี้ที่มีตัวแทนครูคาทอลิกรุ่นใหม่ของโรงเรียน ซาเลเซียนในประเทศไทย จ�ำนวน 9 ท่าน ที่ได้ไปเข้าร่วมอบรม สัมมนา 2nd EAO Seminar Studies Workshop 2018 Paranaque, Philippines มาร่วมแบ่งปันและถ่ายทอดการอบรมให้แก่ คณะครู โดยทีมวิทยากรรุ่นใหม่ได้มาร่วมแบ่งปัน จัดกิจกรรมเพื่อ ให้ครูได้ระดมความคิด ตามแนวทางการสอนในยุคปัจจุบันโดยมี หลักการของพ่อบอสโกชี้น�ำ ด้วยแง่มุมใหม่ ที่ถ่ายทอดจากสิ่งที่เขา ได้รับมาตลอด 3 สัปดาห์ที่ประเทศฟิลิปปินส์ การอบรมในครั้งนี้ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยคุณครูสามารถน�ำแนวทางและ หลักการของคุณพ่อบอสโกไปประยุกต์ใช้ในการสอนและในการ อบรมนักเรียนเพื่อให้พวกเขาเป็นศาสนิกชนที่ดี และเป็นพลเมือง ที่ดีของชาติต่อไป.. db 16

July - August

2018

มหกรรมกีฬา-วิชาการ โรงเรียนแสงทองวิทยา โรงเรียนแสงทองวิทยาได้จัดกิจกรรมประจ�ำปีที่รวมทุก คนให้เป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ความสนุกสนานนั้นคือ กิจกรรม กีฬาสีและวิชาการ ในหัวข้อ นักเรียนซาเลเซียน นักนวัตกรรม คนช่างฝัน ผู้น�ำศตวรรษที่ 21 ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีขึ้นในวันที่ 28-29 มิถุนายน ที่ผ่านมา ในทุกๆ ปีกิจกรรมกีฬาสี-วิชาการ เป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนานที่นักเรียนแสงทองวิทยาทุกคน รอคอย เพราะเป็นวันที่พวกเขาจะแสดงศักยภาพทั้งด้านกีฬาวิชาการ-การประชันเชียร์ จุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้เด็กๆ ทุก คนเป็นหนึ่งเดียวกัน รู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีความคิด สร้างสรรค์ โดยอยู่ในกรอบของพ่อบอสโกคือ สนุกเถิดอย่าเกิด บาป กิจกรรมในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของคณะผู้ใหญ่ คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่ได้ มีส่วนสร้างและร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อให้กิจกรรมกีฬาและ วิชาการครั้งนี้เกิดขึ้น อีกทั้งได้ร่วมค้นหาศักยภาพตามความถนัด ของแต่ละคนให้เป็นที่ประจักษ์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น กิจกรรมในครั้งนี้ทุกคนได้ทุ่มเททั้งพลังใจและพลังกายเพื่อชัยชนะ ของกีฬาและวิชาการของแต่ละสี แต่แท้จริงแล้วกิจกรรมในครั้งนี้ หล่อหลอมให้พวกเขาได้พบกับมิตรภาพที่แท้จริง มิตรภาพที่สร้าง ให้พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตในสังคมที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นับได้ว่ากิจกรรมในครั้งนี้ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก และ คาดหวังในอนาคตว่า ภารกิจของเราซาเลเซียนเมื่อเห็นเยาวชน ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียวกัน สิ่งนี้คือจุดประสงค์หลัก ที่แท้จริงตามพันธกิจของคณะซาเลเซียนเพื่อเยาวชนทุกคน.. db


dbMagazine อบรมฟื้นฟูจิตใจนักเรียนคาทอลิกชั้น ม.4-6 แผนกอภิบาลเยาวชนโรงเรียนเซนต์ดอมินิก จัดกิจกรรม อบรมฟื้นฟูจิตใจส�ำหรับนักเรียนคาทอลิกชั้น ม.4-6 จ�ำนวน 41 คน ในหัวข้อ ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดี “ย้อนรอยเมืองเก่าเล่าเรื่องกรุงศรี 350 ปี มิสซังสยาม” เพื่อเป็นการฟื้นฟูความเชื่อของคริสตชนคาทอลิก ผ่านทางการ เยี่ยมชมและศึกษาประวัติศาสตร์ ณ หมู่บ้านญี่ปุ่น หมู่บ้าน โปรตุเกส วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา และวัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ ในโอกาสร�ำลึกถึงการสถาปนา “มิสซังสยาม” เสริม สร้างนักเรียนสู่การเป็นศิษย์พระคริสต์ เจริญชีวิตสอดคล้องกับ ความเชื่อ ก้าวออกสู่การประกาศข่าวดี ด้วยการบอกเล่าแบ่งปัน ประสบการณ์ชีวิตอารยธรรมแห่งความรักกับทุกคนได้ โดยมีคุณ พ่อยะรัตน์ ไชยรา รองอธิการบ้านนาซาเรท บ้านโป่ง เป็นผู้ให้การอบรม คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรีว่าอุดม รองอธิการโรงเรียนเซนต์ดอมินิก และคุณครูค�ำสอน เป็นผู้ดูแลนักเรียนตลอดกิจกรรมครั้งนี้ ระหว่างวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน ถึงวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ณ เดอะไพน์ รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี... db

นักเรียนซาเลเซียนกับผลงานในระดับนานาชาติ นักเรียนในโครงการซาเลเซียน SME ของโรงเรียนแสงทองวิทยาและโรงเรียนธิดานุเคราะห์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้รับคัด เลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันทางวิชาการในระดับนานาชาติโดยล่าสุดได้รับรางวัลจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติ BIMC&WYMIC 2018 1. เด็กชายคณิศร กิรติพงษ์วุฒิ โรงเรียนแสงทองวิทยา ได้รับรางวัล เหรียญและถ้วยรางวัล อันดับที่ 1 ประเภททีม เหรียญและถ้วยรางวัล อันดับที่ 3 ประเภทกลุ่มบุคคล และรางวัลชมเชยประเภทบุคคล จากการเป็นผู้แทนนักเรียนไทยเข้าแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ การแข่งขันคณิตศาสตร์ ระหว่างประเทศ ประจ�ำปี พ.ศ. 2561 Bulgaria International Mathematics Competition: Elementary Mathematics International Competition 2018 (BIMC: EMIC) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ณ สาธารณรัฐบัลแกเรีย 2. นางสาวภัทรณิชา ดาวสดใส นักเรียน (SME แสงทอง – ธิดาฯ รุ่นที่ 8 โรงเรียนธิดานุเคราะห์ ) ปัจจุบันเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้รับรางวัล เหรียญและถ้วยรางวัล อันดับที่2 ประเภทกลุ่มบุคคล เหรียญและถ้วยรางวัล อันดับที่3 ประเภททีม รับรางวัลเหรียญทองแดงประเภทบุคคล ผู้แทนนักเรียนไทยจากการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับมัธยมศึกษา ประจ�ำปี พ.ศ. 2561 Bulgaria International Mathematics Competition: Elementary World Youth Mathematics Inter - City Competition 2018 (BIMC: WYMIC) ระหว่างระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 7 กรกรฎาคม ค.ศ. 2018 ณ สาธารณรัฐบัลแกเรีย 17

July - August

2018


ฟื้นฟูจิตใจสมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงาน คณะซาเลเซียนผู้ร่วมงานแขวงประเทศไทย ได้จัดการเข้าเงียบประจ�ำปีส�ำหรับสมาชิกทั่วประเทศ จ�ำนวน 100 คน เมือ่ วันที่ 20-22 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ที่บ้านฟื้นฟูจิตใจซาเลเซียน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ โดยมีพระคุณเจ้าประธาน ศรีดารุณศีล ให้เกียรติมา เป็นผู้เทศน์เข้าเงียบในหัวข้อ “ศิษย์พระคริสต์เจริญ ชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” ในปัจจุบันซาเลเซียนผู้ร่วม งานมีจ�ำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 177 คน มี 13 หมู่คณะ โดยมีคุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม เป็นผู้ประสานงานระดับ แขวงคณะซาเลเซียน ซิสเตอร์สุภาวรรณ โชติผล เป็น ผู้ประสานงานระดับแขวงคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ และคุณพรสวัสดิ์ เลิศวิทยาวิวัฒน์เป็นผู้ประสานงาน ระดับแขวงคณะซาเลเซียนผู้ร่วมงาน.. db

ต้อนรับคณะผู้บริหาร APSPA คณะผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการศึกษา ในเครือ คณะซาเลเซียนแขวงประเทศออสเตรเลีย (Australian Pacific Salesian Principals Association : APSPA) เยี่ยมชมกิจการ ของโรงเรียนซาเลเซียนในประเทศไทย คือโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์ดอมินิก และวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก กรุงเทพ โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคณะผู้ใหญ่และผู้ บริหารของโรงเรียน คณะผู้เยี่ยมชมได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนโรงงาน การ เรียนร่วมกับผู้พิการทางการได้ยิน และการศึกษาแบบทวิภาคี ของวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ เมื่อวันที่ 10-11 กรกฎาคม ค.ศ. 2018.. db 18

July - August 2018

ฉลองน.ดอมินิก ซาวีโอ ฝ่ายงานอภิบาลโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ได้จัดตรีวารเตรียมจิตใจและวันฉลองนักบุญดอมินิก ซาวีโอ ในวันที่ 23-26 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เพื่อ ให้นักเรียนได้รู้จัก รักและเลียนแบบนักบุญผู้เป็นแบบ อย่างที่ดีของเยาวชน ในช่วงตรีวารและวันฉลอง มีการ แสดงละครยอเกียรติโดยนักเรียนอภิรติกชน และมีการ แสดงต่างๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.. db

Salesian family News

LOCAL NEWs By... SDB Reporter


dbMagazine

Salesian Family NEWs By... SDB Reporter

การปฏิญาณตนครั้งแรกของซ.พอลลา ชาวกัมพูชา เมือ่ วันเสาร์ที่ 23 มิถนุ ายน ค.ศ. 2018 ซิสเตอร์พอลลา เฮง (ชาวกัมพูชา) ได้ปฏิญาณตนครั้งแรกในคณะผู้รับใช้ดวง หทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ โดยมีพระสังฆราชเอนริเก้ ฟิกาเร โด อัลวากอนซาเลซ ประมุขสังฆมณฑลพระตะบอง ประเทศ กัมพูชาเป็นประธานในพิธี พร้อมกับบรรดาพระสงฆ์ นักบวชจาก ประเทศไทยและกัมพูชา รวมถึงบรรดาสัตบุรุษมากมายมาร่วมพิธี ที่วัดนักบุญยอห์น เสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา.. db

พิธีปลงศพซิสเตอร์อันนาปราณี ม่วงโมรี - SIHM เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2018 ซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ได้ร่วมพิธีปลงศพของซิสเตอร์ อันนาปราณี ม่วงโมรี โดยมีพระสังฆราชยอห์นบอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณปลงศพ ที่อาสนวิหาร แม่พระบังเกิด บางนกแขวก ซิสเตอร์อันนา ปราณี เกิดวันที่ 6 เมษายน ค.ศ 1929 เป็นสัตบุรุษวัดนักบุญอันตน ดอนมดตะนอย มีน้องสาวคนหนึ่ง ได้เข้าอารามก่อนหน้านั้นแล้ว คือซิสเตอร์ลูเซีย อารี ม่วงโมรี เมื่ออายุ 19 ปี ได้ตัดสินใจเข้าอารามคณะภคินีผู้รับใช้ฯ ที่บางนกแขวก จ.สมุทรสงคราม และปฏิญาณตนครั้งแรกพร้อมกับเพื่อน 6 คน เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ซิสเตอร์รับใช้พระเจ้าตามวัดต่างๆ หลายที่ แต่สถานที่ส�ำคัญ 2 แห่งที่ซิสเตอร์ได้ท�ำงานรับใช้มาเป็นเวลานาน คือ บ้านเณรและโรงเรียนดรุณาราชบุรี ซิสเตอร์ถูกส่งไป ท�ำงานหลายรอบ รวมเวลา 24 ปี และที่สุดท้ายที่ซิสเตอร์ท�ำงานอย่างต่อเนื่อง คือ โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก กรุงเทพฯ รวมเวลา 22 ปี ช่วงปลายปี 2015 ซิสเตอร์ป่วย จึงต้องกลับมารักษาตัวที่บ้านพรพัชรหทัยนิรมล จ.ราชบุรี และอยู่ที่นี่จนถึงวาระสุดท้ายของ ชีวิต รวมสิริอายุ 89 ปี ปฏิญาณตนเป็นนักบวช 65 ปี.. db “Youth Bible Camp” ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม ค.ศ.2018 แผนกคริสตศาสนธรรม คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์จัดการอบรม นักเรียนคาทอลิกระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในเครือ ธมอ. ในหัวข้อ “พระวรสารตามค�ำบอกเล่าของนักบุญมาระโก” ณ บ้านธารพระพร สามพราน มีผู้เข้าร่วมจ�ำนวนทั้งสิ้น 194 คน โดยได้รับเกียรติจากแผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆ มณฑลกรุงเทพฯ เป็นวิทยากร โอกาสนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่มี ส่วนในการจัดค่าย และช่วยให้เยาวชนที่รับการอบรมสามารถ ด�ำเนินชีวิตเป็น “ศิษย์พระคริสต์ ประกาศข่าวดีใหม่” ด้วยใจ ร้อนรนต่อไป.. db 19

July - August 2018


บทความ150 ปี พระวิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์ที่ตุริน By... พ่อฟรังซิส ไกส์

ครบ 150 ปี

การเจิมถวายพระวิหาร แม่พระองค์อุปถัมภ์ที่ตุริน พระวิหารแม่พระองค์ อุปถัมภ์ที่เมืองตุรินเกิดขึ้นจากหัวใจ ความกล้าหาญและความจงรักภักดี ยิ่งใหญ่ที่คุณพ่อบอสโกมีต่อพระนาง มารีย์ ในการสร้างนี้เกิดเหตุการณ์ ที่ไม่ธรรมดาและต้องเผชิญกับ ความยากล�ำบากมากมาย แต่คุณ พ่อบอสโกย�้ำเสมอว่า พระแม่มารีย์ พอพระทัยให้สร้างพระวิหารแห่งนี้ ทรงชี้สถานที่และทรงจัดหาปัจจัยที่ จ�ำเป็นในการสร้าง เย็นวันสับบาโตวันหนึ่งใน เดือนธันวาคม 1862 เปาลีโน อัลเบ รา อายุ 17 ปี ซึ่งเพิ่งเข้าเป็นสมาชิก ในคณะซาเลเซียน ได้ยินค�ำเปิดใจ ของคุณพ่อบอสโก คืนนั้น คุณพ่อฟัง แก้บาปจนถึงเวลา 23.00 น เมื่อออก จากที่ฟังแก้บาป เปาลีโนเดินเป็น เพื่อนกับคุณพ่อมาที่ห้องอาหาร เพื่อ จะหาอะไรรองท้องแทนอาหารเย็น คุณพ่ออยู่ในอาการครุ่นคิดหนักอยู่ พักหนึ่ง แล้วทันทีก็เริ่มพูดว่า “พ่อ ได้ฟังแก้บาปมากจนไม่รู้ว่าพูดหรือ ท�ำอะไรไป เพราะมีความคิดอย่าง หนึ่งรบกวนอยู่ในใจ ซึ่งท�ำให้พ่อ วอกแวก พ่อคิดว่าวัดของเราเล็กมาก 20

July - August

2018


dbMagazine ไม่สามารถบรรจุเด็กทุกคนได้ ดัง นั้น เราจะสร้างวัดใหญ่ที่สวยงามกว่า ใหญ่กว่า และสง่างามกว่า เราจะให้ ชื่อว่า วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ พ่อ ไม่มีเงินเลย แต่ไม่เป็นไร ถ้าพระเจ้า ทรงพระประสงค์เราจะท�ำได้” ต่อมา ไม่นาน คุณพ่อได้พูดถึงโครงการนี้ กับครูเณรซาเลเซียนยอห์น กาลิเอ โร อีกว่า “จนถึงบัดนี้ เราได้ฉลองแม่ พระปฏิสนธินิรมลอย่างสง่า แต่แม่ พระทรงต้องการให้เราถวายเกียรติ แด่พระนางภายใต้พระนามว่า แม่ พระองค์อุปถัมภ์ ทั้งนี้เพราะเราได้ พบเหตุการณ์ที่น่าสลดใจ จนเรา ต้องการให้พระนางพรหมจารีทรง ช่วยเราให้สามารถรักษาและปกป้อง ความเชื่อคริสตชนไว้ต่อไป และ เธอรู้ไหมว่าท�ำไม” กาลิเอโร ก็ตอบ ว่า “ครับ ผมคิดว่าคงจะเป็นวัดแม่ ของคณะเราในอนาคต และจะเป็น ศูนย์กลางที่กิจการต่างๆ เพื่อเยาวชน จะเริ่มต้นที่นี่” แล้วคุณพ่อบอสโกพูด ว่า “เธอพูดถูก พระนางมารีย์ทรง เป็นผู้ริเริ่มและผู้ค�้ำจุนกิจการต่างๆ ของเรา” ดังนั้น แรงบันดาลใจให้คุณ พ่อบอสโกคิดโครงการสร้างพระวิหาร แม่พระองค์อุปถัมภ์คือ มีวัดใหญ่ กว่าที่สามารถบรรจุเด็กได้ทุกคน และเป็น “วัดแม่” ของคณะ รวมทั้ง เหตุการณ์น่าสลดใจที่เกิดขึ้นคือ รัฐ ของพระสันตะปาปาซึ่งเคยเป็นที่รับ รู้ของชาวคาทอลิกเสมอมาว่าจ�ำเป็น ที่ต้องไม่ขึ้นกับใครนั้น ก�ำลังตกเป็น เป้าหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะ รวมเข้ากับประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1860 บรรดาพระสังฆราชในแคว้น อุมเบรียได้ออกสารเชิญชวนสัตบุรุษ

ใต้รูปว่า “องค์อุปถัมภ์ของคริสตชน” ปลายเดือนเมษายน 1864 เมื่องาน ขุดวางรากฐานส�ำเร็จไปแล้ว คุณพ่อ บอสโกท�ำพิธีเสกศิลาฤกษ์ โดยมีพระ สงฆ์ของคุณพ่อและเด็กนักเรียนตาม ไปด้วย แล้วพูดกับหัวหน้างานว่า “เวลานี้ พ่ออยากมอบเงินก้อนหนึ่ง ให้เธอเพื่อใช้ในงานส่วนส�ำคัญๆ” จากนั้นคุณพ่อได้เปิดกระเป๋าเงินใบ เล็ก เทเงินทั้งหมดให้หัวหน้างาน ปรากฏว่ามีเงินเพียง 8 เซนต์ เมื่อ เห็นหัวหน้างานท�ำท่ากระวนกระวาย

ให้ภาวนาต่อพระเจ้า โดยอาศัยค�ำ เสนอวิงวอนของดวงหทัยนิรมลของ พระมารดามารีย์ องค์อุปถัมภ์ของ คริสตชน ในเดือนมีนาคม 1862 ที่ เมืองสโปเลโตแคว้นอุมเบรียนี้ เกิด เหตุการณ์ยิ่งใหญ่น่าอัศจรรย์คือ รูป แม่พระเก่าแก่ซึ่งรักษาไว้ในวัดแห่ง หนึ่งได้พูดกับเด็กชายอายุ 5 ขวบ และได้รักษาหนุ่มชาวนาให้หายจาก โรคด้วย จากนั้นเริ่มมีผู้จาริกแสวง บุญมายังวัดแห่งนี้ พระอัครสังฆราช แห่งสโปเลโตส่งข่าวน่าตื่นเต้นนี้ใน หนังสือพิมพ์คาทอลิกของเมืองตุริน คุณพ่อบอสโกได้อ่านบทความนี้ให้ เด็กๆ ฟังด้วยความยินดีอย่างสุดซึ้ง ในช่วงเวลานั้น คุณพ่อมีความฝัน เรื่องเสาสองต้นที่ท่านเล่าให้เด็กๆ ฟังเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมว่า เรือ แห่งพระศาสนจักรน�ำโดยพระสันตะ ปาปา ก�ำลังแล่นผ่านคลื่นลมและ ฝ่ากระสุนปืนของเรือข้าศึกอย่างไม่ สะทกสะท้าน และในที่สุด เข้ามา ลอยล�ำอยู่ระหว่างเสาสองต้น บนเสา ต้นแรกมีศีลมหาสนิทและบนเสาต้น ที่สองมีรูปแม่พระนิรมล มีค�ำเขียนไว้

21

July - August

2018


บทความ150 ปี พระวิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์ที่ตุริน By... พ่อฟรังซิส ไกส์ คุณพ่อจึงพูดต่อทันทีว่า “ใจเย็นเข้า ไว้ แม่พระจะทรงจัดการให้มีเงิน ที่จ�ำเป็น” และแม่พระทรงจัดการ จริงๆ แต่กว่าจะหามาได้ แม่พระ ทรงใช้ความเหน็ดเหนื่อยและหยาด เหงื่อทั้งหมดของคุณพ่อบอสโก ถ้า คุณพ่อบอสโกสามารถผ่านความ ยากล�ำบากทุกอย่างไปได้ทั้งๆ ที่ขาด ปัจจัย ก็เพราะความช่วยเหลือของ แม่พระองค์อุปถัมภ์ ซึ่งทรงลงมือเอง อย่างได้ผล พระคุณทั้งน้อยใหญ่ที่ แม่พระประทานให้แก่ผู้บริจาคช่วย การก่อสร้างพระวิหาร กลับเป็นข่าว เผยแผ่ไปทั่วเมืองตุรินและที่อื่นๆ อย่างรวดเร็ว พระคุณที่โดดเด่นอาจ เป็นเรื่องของโยเซฟ ก๊อตตา นาย ธนาคารและสมาชิกวุฒิสภาที่เคย เป็นผู้มีพระคุณต่อคุณพ่อบอสโกอยู่ แล้ว ขณะนั้นเขาอายุ 83 ปี ก�ำลังล้ม ป่วยลงโดยไม่มีแพทย์คนใดให้ความ หวัง คุณพ่อบอสโกไปเยี่ยมเขา คนไข้ พยายามเผยอริมฝีปากพูดด้วยเสียง แผ่วเบาว่า “อีกไม่กี่นาที ผมจะต้อง ไปสู่นิรันดรภาพแล้ว” คุณพ่อบอส โกทักท้วงด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า “ไม่ ครับ แม่พระยังทรงต้องการให้ท่าน อยู่ในโลกนี้ ท่านจะต้องด�ำเนินชีวิต

22

July - August 2018

อยู่ต่อไป เพื่อช่วยพ่อสร้างพระวิหาร ของพระนาง” “ไม่มีหวังแล้ว” ชาย ชราพึมพ�ำ คุณพ่อบอสโกพูดด้วยใจ สงบ แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขันว่า “ท่าน จะท�ำอะไร ถ้าแม่พระองค์อุปถัมภ์ จะทรงวอนขอพระเจ้าให้ท่านได้รับ พระคุณหายป่วย” ท่านวุฒิสมาชิก ยิ้ม รวบรวมก�ำลังทั้งหมด ยกนิ้วขึ้น 2 นิ้วชูตรงมายังคุณพ่อบอสโกพูดว่า “สองพันลีร์ ถ้าผมหาย ผมจะถวาย เงินสองพันลีร์ตลอดเวลาหกเดือน เพื่อช่วยสร้างวัดที่วัลด๊อกโก” “ได้สิครับ พ่อจะไปบอกเด็กๆ ของ พ่อให้สวด แล้วพ่อจะคอยวันที่ท่าน หายเป็นปกติ” สามวันต่อมา ท่าน วุฒิสภามาหาคุณพ่อบอสโกจริงๆ กล่าวว่า “ผมมาตามนัดครับ แม่พระ ทรงช่วยให้ผมหาย และผมขอใช้หนี้ งวดแรก” วันที่ 9 มิถุนายน 1868 เวลา 10.30 น.พระวิหารแม่พระองค์ อุปถัมภ์ได้รับการเจิมถวาย โดยพระ อัครสังฆราชแห่งเมืองตุริน ผู้ถวาย บูชาขอบพระคุณที่นั่นเป็นครั้งแรก และต่อจากนั้นคุณพ่อบอสโกได้ถวาย มิสซาท่ามกลางเด็กราว 1,200 คน เต็มพระวิหาร ทุกคนตื้นตันใจอย่าง

สุดซึ้งเมื่อ “ค�ำท�ำนายบ้าๆ” ของคุณ พ่อบอสโกกลับเป็นความจริงต่อหน้า ต่อตาทุกคน พระวิหารที่สูงตระหง่าน ได้เกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ในบริเวณ ไร่ข้าวโพด ที่รอบโดมมีแถวผ้าสีขาว จารึกค�ำภาษาละตินว่า “ที่นี่เป็น บ้านของฉันและจากที่นี่ฉันจะได้รับ เกียรติมงคล” คุณพ่อบอสโกพูดกับ ผู้ที่มาแสดงความยินดีว่า “พ่อไม่ใช่ คนริเริ่มท�ำสิ่งใหญ่โตเหล่านี้ แต่เป็น พระเจ้า เป็นแม่พระ ผู้ทรงกรุณาใช้ พระสงฆ์ต�่ำต้อยผู้หนึ่งให้ท�ำจนส�ำเร็จ หินทุกก้อนในพระวิหารเป็นอัศจรรย์ ของพระมารดา” ดังนั้น วันที่ 9 มิถุนายน 2018 คณะซาเลเซียนพร้อมกับ สมาชิกในครอบครัวซาเลเซียน จึง มีความยินดีเฉลิมฉลองครบ 150 ปี การเจิมถวายพระวิหารแม่พระองค์ อุปถัมภ์ที่เมืองตุริน.. db


dbMagazine

เยาวชนกับสื่อ By... ธมอ.

เยาวชน กับ สื่อ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมอันเนื่องมาจากเทคโนโลยี และการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ ที่ มากมายนั้น เราต้องยอมรับว่า “สื่อ” ในปัจจุบันนี้ มีอิทธิพลอย่างมากต่อ ชีวิตประจ�ำวันของมนุษย์ ยิ่งมีกระแส

ของโลกออนไลน์ที่นับวันจะทวีความ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ที่อาจจะได้ รับผลกระทบจากสื่อมากที่สุดก็คือกลุ่ม เด็กและเยาวชน หากมองย้อนกลับไป ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงค�ำว่า “เครือข่ายสังคมที่เต็มไปด้วยกลุ่มวัยรุ่น

ที่ท�ำกิจกรรมติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลก เปลี่ยนข้อมูลด้านความบันเทิง หรือ กิจกรรมอื่นๆ ที่เน้นไปที่การกระจาย ตัว จากความเป็นเมืองไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง การพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การค้า

23

July - August 2018


เยาวชนกับสื่อ By... ธมอ.

สมาร์ทโฟนท�ำได้มากกว่าการพูดคุยกัน ธรรมดาด้วยเสียง แต่มีกล้องที่สามารถ ถ่ายทอดภาพของคู่สนทนาได้ แช็ท ได้ เล่นเกมได้ ท่องเว็บไซต์ได้อย่างไร้ ขีดจ�ำกัด ด้วยความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีช่วยย่อโลกทั้งใบให้เล็กลง เพียงปลายนิ้วสัมผัสก็สามารถติดต่อ สื่อสารกับคนที่อยู่ในอีกซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว…(เทียบจาก https://chomctm.wordpress.com)

และบริการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการสื่อสารที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เราสามารถเข้าถึงบริการด้าน ข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารใน ยุคการเชื่อมต่อไร้สายผ่านทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ตหรือโลกไร้พรมแดนได้มาก ขึ้นจนได้ถูกเรียกว่าเป็นยุคของดิจิทัล” ในโลกยุคดิจิทัล อุปกรณ์ไอซี ที เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ตนั้นกลายเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่ แทบจะขาดไม่ได้เลยในชีวิตประจ�ำวัน ไม่ว่า จะเป็นผู้ใหญ่ วัยรุ่น หรือแม้ กระทั่งเด็กๆ ต่างก็พกพาอุปกรณ์เหล่า นี้เอาไว้ติดต่อสื่อสาร ท�ำงาน และ อ�ำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ 24

July - August 2018

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นที่ว่า... “สื่ออาจมีผลกระทบกับผู้รับสื่อ โดย เฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน” เยาวชน ตามความหมายของส�ำนักงานราช บัณฑิตยสภา ความหมายในระดับ สากลโดยสหประชาชาติ ระบุว่า เยาวชน หมายถึง คนในวัย หนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งใน ยุคสมัยนี้ หรือในยุคที่เราอาจจัดให้ ตามล�ำดับช่วงเจเนอเรชัน ใน 2 ล�ำดับ สุดท้าย โดยข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก หนังสือ เจาะเทรนด์โลก 2017 จาก TCDC กล่าวคือ เยาวชน GENERATION Z (ปี 2005-2009) เจนซีเกิดมา ในขณะที่เทคโนโลยี วายฟายและ สมาร์ทโฟนพร้อมสรรพ บางครั้งถูก เรียกว่า Digital Native กลุ่มเจนซี จึง มีความเป็นปัจเจก เป็นกลุ่มผู้บริโภค

ที่ต้องการสินค้าเฉพาะเจาะจงที่แสดง ความเป็นตัวของตัวเอง ข้อมูลจากบิสสิ เนสทูคอมมิวนิตี้ ระบุว่า 53% ของเจน ซี ยังต้องการช่องทางการสื่อสารที่เป็น ส่วนตัวหรือเป็นแบบตัวต่อตัวมากกว่า ช่องทางที่สาธารณะ เยาวชน ALPHA GENERATION (ปี 2010-2025) อัลฟ่า คือเจ เนอเรชั่นของผู้คนที่เกิดในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง เจเนอเรชั่นนี้สามารถ ปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีตั้งแต่ยังเล็ก มากกว่าเจนอื่นๆ จนมีผู้กล่าวว่า เด็ก กลุ่มนี้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์แท็ปเล็ต ก่อนการเรียนรู้การใช้ห้องน�้ำเสียอีก (Tablet-training before Toilet-training) เพราะพวกเขาไม่คิดว่าเทคโนโลยี เป็นเพียงเครื่องมือ แต่พวกเขารวม เทคโนโลยีเหล่านั้นไว้เป็นสิ่งเดียวกับ การใช้ชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า Screenagers หรือ Generation Glass (http://www.trisacademy.com/blog/ generation-focus/) ทั้ง GENERATION Z และ ALPHA GENERATION ชี้ชัดถึงกลุ่ม เด็กและเยาวชนที่เกิดมาในยุคสมัยของ เทคโนโลยี หากเป็นดังข้อมูลข้างต้น แล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ปัจจุบัน สื่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของ พวกเขา ทั้งส่งผลต่อความคิดและพฤติ กรรม สะท้อนค�ำถามที่ว่า เราสามารถ ป้องกันสื่อที่สร้างผลกระทบด้านลบให้ กับชีวิตของเด็กและเยาวชนได้หรือไม่ ในเอกสารเตรียมการประชุม ซีโนด ณ กรุงโรม วันที่ 19-24 มีนาคม ค.ศ.2018 ภาคที่ 1 ซึ่งกล่าวถึงการ ท้าทายและโอกาสของเยาวชนในโลก ทุกวันนี้ ในข้อที่สี่ เรื่องเยาวชนกับ ความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี ได้น�ำ เสนอว่าผลกระทบของสื่อสารสังคมใน ชีวิตเยาวชนไม่อาจที่จะมองข้ามไปได้


สื่อสารสังคมคือส่วนส�ำคัญแห่งความ เป็น อัตลักษณ์และวิถีชีวิตของเยาวชน สิ่งแวดล้อมดิจิทัลมีศักยภาพยิ่งใหญ่ มากในการรวมรวมเยาวชนทั่วโลกให้ เป็นหนึ่งเดียวกันชนิดที่ไม่เคยปรากฏ มาก่อน ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลกันแค่ไหน ในเชิงภูมิศาสตร์ การแลกเปลี่ยนข้อมูล อุดมการณ์ คุณค่า และผลประโยชน์ ร่วมกันบัดนี้เป็นไปได้ทั้งสิ้น การเข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์เปิดโอกาส ให้กับการศึกษาหาความรู้ส�ำหรับ เยาวชนที่อยู่ห่างไกลจนท�ำให้ความรู้ ทั้งหมดของโลกอยู่แค่ปลายนิ้ว… ใน สถานการณ์เช่นนี้เยาวชนส่วนใหญ่เป็น ผู้ใช้และผู้เสพสื่อ สื่อกลับเป็นส่วนหนึ่ง ของเยาวชน และเยาวชนเป็นส่วนหนึ่ง ของสื่อ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับ เยาวชนแน่นแฟ้นอย่างนี้แล้ว จึงก่อเกิด ค�ำถามที่สองขึ้นมาว่า พลังของสื่อจะมี บทบาทหรืออ�ำนาจเหนือกว่าพลังของ เยาวชนหรือไม่ จาก คู่มือด้านการอบรมการ สื่อสารของคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ “วัฒธรรมแห่งการสื่อสาร การก�ำหนด ทิศทางเพื่อก้าวเดิน” (Nella cultura della comunicazione. Una mappa per orientarci) หน้าที่ 15 ได้เชิญชวน ให้ผู้อบรม ตามจิตารมณ์ของนักบุญ ยอห์น บอสโก ตระหนักถึงความจ�ำเป็น ที่จะปลุกความรักร้อนรนต่อภารกิจการ อบรมบรรดาเยาวชนขึ้นเสียใหม่ ฟื้นฟู

การเลือกที่จะ “อยู่กับ” เยาวชนและ ยอมรับการท้าทายที่จะ “จุ่มตัวเข้าไป” ในวัฒนธรรมของพวกเขา เนื่องจากสื่อ มวลชนเป็นเวทีใหม่ส�ำหรับภารกิจ อบรม และหน้าที่ของสื่อคือ เป็นตัว กลางเพื่อจะใช้ในการตีความหมายและ ค้นพบความหมายใหม่ในความสมดุล ระหว่างการวิ่งตามสื่อและการปิดตัว ด้วยอคติ นอกจากนี้ยังเป็นการตอบ ค�ำถามของทั้งสองข้อที่ว่า เราสามารถ ป้องกันสื่อที่สร้างผลกระทบด้านลบ ให้กับชีวิตของเด็กและเยาวชนได้หรือ ไม่ และ พลังของสื่อจะมีบทบาทหรือ อ�ำนาจเหนือกว่าพลังของเยาวชน หรือไม่... ปัจจุบัน หน้าที่ดังกล่าวนั้น ไม่ง่ายนัก เป็นการท้าทายเชิงมานุษย วิทยา เสี่ยงในการอบรมเด็กเล็กและ เยาวชน หลายครั้งนักอบรมชาย-หญิง อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะปฏิเสธ ที่จะไม่ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนหรือจะพูด ให้ถูกกว่าคือ ไม่เข้าใจภารกิจที่ตนได้ รับมอบหมาย พระสันตะปาปาเบเน ดิกต์ที่ 16 พระสันตะปาปากิตติคุณ กล่าวถึง “การอบรมแบบฉุกเฉิน” ใน ฐานะที่เป็นนักอบรมซาเลเซียน เรายิ่ง ตระหนักมากขึ้นทุกวันว่า ไม่เพียงแต่ โรงเรียน ศูนย์เยาวชน ศูนย์ที่ต้อนรับ และที่ชุมนุมของเยาวชนเท่านั้นที่เป็น พื้นที่ที่เยาวชนอาศัยอยู่ แต่พวกเขายัง ใช้เวลา พลังและความคิดส่วนใหญ่ของ

พวกเขาในสังคมเครือข่ายอีกด้วย จึงเป็นการจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ เราจะค้นหาหนทางเพื่อช่วยเหลือแก่ เยาวชนผู้เกิดในยุคดิจิทัล เพิ่มพูน ความเชี่ยวชาญในการอยู่เคียงข้าง พร้อมที่จะรับฟังพวกเขา ซึ่งเป็นวิธีการ สื่อที่มีคุณภาพประการหนึ่ง รู้จักท�ำให้ ชีวิตของเราสอดคล้องไปกับข่าวดีแห่ง ความรอดพ้นของพระเยซูเจ้า และนี่ เป็นของก�ำนัลที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถ มอบให้แก่เยาวชนคนยุคใหม่.. db

25 July - August 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อประเสริฐ สมงาม และคุณพ่อบัญชา กิจประเสริฐ By... Mr.Privillege

25 ปี แห่งชีวิตสงฆ์ คุณพ่อเปาโล ประเสริฐ สมงาม คุณพ่อซีโมน บัญชา กิจประเสริฐ

ในแวดวงกีฬามีวลีอมตะอยู่ ประโยคหนึ่งที่ว่า “การจะเป็นแชมป์ นั้นยากแต่การรักษาแชมป์เอาไว้นั้น ยากกว่า” ผมไม่รู้ว่า ใครเป็นคนแรกที่ กล่าวประโยคนี้ แต่มันเป็นประโยคที่ คลาสสิคและใช้ได้เสมอรวมทั้งในเรื่องที่ เกี่ยวกับกระแสเรียกพระสงฆ์ด้วย คุณพ่อเปาโล ประเสริฐ สมงาม หรือที่หลายๆ คนเรียกท่านว่า “พ่อเสริฐ” และคุณพ่อซีโมน บัญชา กิจประเสริฐ หรือที่หลายๆ คนเรียก ท่านว่า “คุณพ่อต๋อย” ได้รับศีลบวช

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 ที่วัด นักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดย พระคุณเจ้าไมเกิ้ล ประพนธ์ ชัยเจริญ ซดบ. แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว 25 ปี แต่พี่น้องที่ไปร่วมงานในวันดังกล่าว ยังคงจ�ำบรรยากาศในวันนั้นได้ดี การ มีพระสงฆ์ใหม่เป็นเรื่องน่ายินดีเสมอ ส�ำหรับพระศาสนจักรและคณะซาเล เซียน แต่ที่น่ายินดีมากกว่าคือการที่คุณ พ่อทั้งสองยังยืนหยัดมั่นคงและซื่อสัตย์ ในกระแสเรียกและท�ำงานเพื่อพระ

ประวัติคุณพ่อเปาโลประเสริฐ สมงาม ซดบ.

วันเกิด : 25 เมษายน ค.ศ. 1962 สัตบุรุษอาสนวิหารแม่พระนิจจานุเคราะห์ อุดรธานี ปฏิญาณตนครั้งแรก ที่บ้านซาเลเซียน 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 บวชพระสงฆ์ ที่วัดนักบุญยอแซฟ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 โดยพระคุณเจ้าไมเกิ้ล ประพนธ์ ชัยเจริญ ซดบ. ประวัติการท�ำงาน 1993-1996 ผู้จัดการและครูใหญ่ โรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ 1998-2007 อธิการโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย และเจ้าอาวาสวัดนักบุญเทเรซา หัวหิน (ปี ค.ศ. 2002-2011 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะแขวงฯ) 2007-2011 อธิการและผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย บ้านโป่ง ราชบุรี 2011-2017 เจ้าคณะแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย 2017-ปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟ ถ�้ำสิงห์ จ.ชุมพร

26 July - August 2018

ศาสนจักรมาจนครบ 25 ปีแห่งชีวิตสงฆ์ เป็น 25 ปีแห่งพระพรของพระเจ้าที่หลั่ง ไหลมายังสัตบุรุษและเยาวชน โดยผ่าน มือของคุณพ่อที่ถวายมิสซา อวยพรและ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มานับไม่ถ้วน ให้เราลองไปฟังจากปากค�ำ บอกเล่าของ “พ่อเสริฐ - ประเสริฐ สมงาม” และ “พ่อต๋อย - บัญชา กิจ ประเสริฐ” ถึงประสบการณ์และมุมมอง ของความเป็นสงฆ์ผ่านเลนส์ชีวิตตลอด 25 ปีบนหนทางสายนี้ว่าเป็นอย่างไร

ด.ช.ประเสริฐ – เด็กอุดรฯ และ ด.ช.บัญชา – เด็กสามพราน ถ้าหลับตานึกถึงภาพตอนคุณพ่อยังเป็น ด.ช.ประเสริฐ และด.ช.บัญชาอยู่ คุณพ่อจะนึกถึงภาพอะไร? คุณพ่อประเสริฐ: ผมนึกถึงภาพตนเองที่เป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องตาก แดดตากฝนเปลื้อนดินโคลนของสวนผักที่บ้าน ผมคิดถึงตอน ผมอยู่ที่บ้านและท�ำงานกับพี่ๆ และน้อง ผมนึกถึงจักรยาน เก่าๆ ที่ผมรักและใช้ขี่ไปโรงเรียนทุกวัน ผมนึกถึงภาพที่ผม วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ซึ่งในใจก็คิดถึงแต่สนามฟุตบอลมากกว่า ห้องเรียน และคอยสัญญาณกระดิ่งหมดชั่วโมงเพื่อรีบไปแบ่ง ทีมเล่นฟุตบอลกับเพื่อน คุณพ่อบัญชา: ผมนึกถึงภาพเด็กชายบัญชาที่เป็นเด็กบ้านนอกอยู่ ที่สามพราน นครปฐม บ้านของผมติดกับแม่น�้ำท่าจีนซึ่งอยู่


dbMagazine ใกล้กับวัดมาก เราอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่มีปู่ย่า พ่อแม่ อา รวมถึงคนงานในบ้าน ผมมีเพื่อนๆ ที่ดีอยู่ในระแวกบ้าน ผม นึกถึงภาพตนเองที่เข้าเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นเด็กธรรม ดาๆ ไม่มีคุณลักษณะที่โดดเด่น ความสามารถก็พื้นๆ สุภาพ เรียบร้อย เงียบๆ เหมือนเด็กชนบททั่วไป แต่ออกจะเป็นคุณ หนูหน่อยๆ ผมนึกถึงภาพบ้านของผมที่เคร่งครัดเรื่องการดูแล และเป็นครอบครัวที่ศรัทธา และเมื่อผมเรียนชั้น ป.4 พ่อแม่ ก็แยกครอบครัวออกมาเพื่อท�ำงานเลี้ยงชีพเอง บ้านอยู่เยื้อง ศาลาสันติสุขของวัด กระแสเรียกแห่งการเป็นสงฆ์ของคุณพ่อเริ่มต้น อย่างไร? คุณพ่อประเสริฐ: ผมเติบโตมาในครอบครัวและสังคมที่เคารพให้ เกียรติอย่างสูงสุดกับศาสนบริกรของพระศาสนจักร ด้วย บรรยากาศแบบนี้ท�ำให้ผมถูกหล่อหลอมให้คิดถึงการเป็น พระสงฆ์และนักบวชอยู่เสมอ ประกอบกับในหมู่ญาติพี่น้อง ของผมก็มีผู้ที่เป็นพระสงฆ์นักบวชหลายท่าน ในบรรยากาศ แบบนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อมีคนมาถามผมว่า “โตขึ้นอยาก เป็นอะไร” ผมจะรีบตอบทันทีว่า “ผมอยากเป็นคุณพ่อครับ” คุณพ่อบัญชา: กระแสเรียกการเป็นนักบวชซาเลเซียนของผมเริ่ม ต้นที่โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกกรุงเทพ ผมเข้ามาเรียนที่นี่ ตามกระแสของญาติพี่น้อง ผมต้องขอบคุณพี่คนหนึ่งที่โคกมด ตะนอยซึ่งคอยดูแลผมในวันนั้นที่เข้ามาเรียน ผมมีความสุข มากกับการเป็นนักเรียนประจ�ำ ผมเห็นนักบวชและคุณครูอยู่ ในสนามกับเด็กๆ เสมอโดยเฉพาะในเวลาพัก คุณพ่ออธิการ คุยกับเด็กเป็นรายบุคคลและครบทุกคน ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ ดีที่ผมมี เวลานั้นคุณพ่อและบราเดอร์พยายามเชิญชวนและ มีการจัดค่ายให้กับผู้ที่สนใจเป็นกลุ่ม ผมรู้สึกอยากเป็นซาเล เซียนจึงได้สมัครกับคุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ ซึ่งท่านเป็นอธิการ ในเวลานั้น ขอบคุณท่านที่รับผมเข้ามา

มนุษย์บ้านเณร

โรงเรียนแห่งการเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์

ประเสริฐและบัญชาเวอร์ชั่นเด็กเณรเป็นอย่างไรบ้าง ครับ? คุณพ่อประเสริฐ: ผมมองชีวิตตนเองในช่วงที่เป็นเณรนี้ว่าเป็นเหมือน กล้าแห่งกระแสเรียกที่ได้ย้ายมาลงแปลงที่บ้านอภิรติกชน

เซนต์ดอมินิก ผู้อบรมก็คงไม่ต่างกับชาวไร่ ชาวสวน ที่พรวน ดิน รดน�้ำ เฝ้าป้องกันศัตรูพืช พระหรรษทานของพระเป็น เจ้า คงเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่ให้พลังเพื่อการเติบโต เรา ไม่รู้ว่ามันเติบโตอย่างไร ทุกชีวิตจึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เพราะ ความงดงามของชีวิตเกิดจากฝีพระหัตถ์ของพระเจ้า ผมผ่าน การอบรมสั่งสอน ได้รับการชี้แนะให้ปรับปรุงแก้ไขตามวัย ไม่ เพียงแต่ในแง่ของการขัดเกลาเท่านั้น ที่บ้านเณรเล็กผมได้ เรียนรู้และฝึกฝนการเป็นผู้อุทิศตนและเป็นผู้น�ำกลุ่ม ท�ำให้ ผมมีส่วมร่วมรับผิดชอบในการอบรมตนเอง ผู้ใหญ่สอนผมให้ รู้จักร่วมคิด ร่วมท�ำแบ่งปันกันในทุกอย่าง รู้จักอยู่กับผู้อื่นได้ อย่างสันติและมีความคิดสร้างสรรค์ ผมมีความเชื่อมั่นว่าการ ท�ำหน้าที่ประจ�ำวันอย่างดีคือการสร้างวินัยในชีวิต และนั่น เป็นรากฐานของชีวิตนักบวช

คุณพ่อซีโมน บัญชา กิจประเสริฐ ซดบ.

วันเกิด : 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2505 สัตบุรุษวัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม บิดา : นายฟรังซิสโก เต๊กเฮ้ง กิจประเสริฐ มารดา : นางมารีอา กอเรตตี กุ้ยเฮียง กิจประเสริฐ คุณพ่อเป็นบุตรคนที่ 1 ในจ�ำนวนลูก 5 คน ปฏิญาณตนครั้งแรก ที่บ้านซาเลเซียน 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 บวชพระสงฆ์ ที่วัดนักบุญยอแซฟ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 โดยพระคุณเจ้าไมเกิ้ล ประพนธ์ ชัยเจริญ ซดบ. ประวัติการท�ำงาน 1993-1995 ครูใหญ่ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง 1995-1996 ผู้ช่วยอธิการ บ้านเณรซาเลเซียน สามพราน 1996-1999 ผู้อ�ำนวยการศูนย์การศึกษาซาเลเซียน/นักเรียน ประจ�ำ 1999-2001 รองอธิการ เหรัญญิก ครูใหญ่ วิทยาลัย เทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง 2001-2007 อธิการโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย บ้านโป่ง 2009-2011 อธิการวิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกสุราษฎร์ 2011-2013 ผู้อ�ำนวยการ วิทยาลัยดอนบอสโก กรุงเทพฯ/แผนกนักเรียนประจ�ำ 2013-2016 อธิการ บ้านดอนบอสโก เชียงใหม่/วัดน้อยแม่ พระองค์อุปถัมภ์ ปัจจุบัน อธิการโรงเรียน แสงทองวิทยา หาดใหญ่

27

July - August 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อประเสริฐ สมงาม และคุณพ่อบัญชา กิจประเสริฐ By... Mr.Privillege คุณพ่อบัญชา: หลังจากที่ผมเรียนจบโรงเรียน ดอนบอสโกกรุงเทพผมก็เข้าเป็นโปสตุ ลันต์ที่บ้านเณรซาเลเซียน สามพราน ผมต้องปรับตัวให้เข้ากับการเป็นเณร โดยพยายามปรับอุปนิสัยของตนเอง ปรับการแต่งตัวให้สุภาพ ผมเริ่มเรียน รู้ชีวิตนักบวชและเรียนวิชาต่างๆ ตาม ที่ก�ำหนด พอจบปีโปสตุลันต์ ผมก็เข้า เป็นนวกชน จากนั้นก็ปฏิญาณตนครั้ง แรกเลย เร็วมาก ผมสวมเสื้อหล่อเมื่อ อายุ 20 ปี เมื่อปี ค.ศ.1983 คุณพ่อคิดอย่างไรกับ “การร่วมทาง กระแสเรียก” (accompaniment) โดยเฉพาะประสบการณ์ในบ้าน อบรมและในเส้นทางของการเตรียม ตัวเป็นพระสงฆ์ของคุณพ่อ?

28

July - August

คุณพ่อประเสริฐ: พระเป็นเจ้าทรงเรียกเราเป็น ศิษย์ติดตามพระองค์พร้อมกับคนอื่นๆ นั่นเป็นที่เข้าใจว่า เราถูกเรียกเพื่อเจริญ ชีวิตและปฏิบัติภารกิจร่วมกัน เราจึง ต้องให้ความส�ำคัญทั้งในแง่มุมของการ มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการงานและ การแบ่งปันชีวิต ท่าทีดังกล่าวนี้ควรได้ รับการส่งเสริมเป็นพิเศษในช่วงเวลา ของการอบรมขั้นต้นและสืบเนื่องไปจน ตลอดชีวิต การเรียนรู้จากกันและกันนี้ ไม่ได้ขีดกรอบไว้ว่าให้ผู้น้อยต้องเรียน รู้จากผู้อาวุโสกว่าเท่านั้น แต่ผู้ใหญ่ก็

2018

เรียนรู้จากผู้น้อยด้วยเช่นเดียวกันเพราะ เป็นการเดินทางร่วมกันซึ่งไม่มีใคร กล่าวอ้างได้ว่าตนเองถึงเส้นชัยแล้ว คุณพ่อบัญชา: การร่วมทางกระแสเรียก และ ประสบการณ์ในบ้านอบรมส�ำหรับผม ถือว่าเป็นเรื่องที่ส�ำคัญมาก ผมรู้สึก ว่าเป็นหนี้บุญคุณคณะซาเลเซียนที่ให้ โอกาสดีๆ มากมาย ผมเป็นคนที่สุด แสนจะโชคดีที่อยู่กับบ้านอบรมที่ดี มากๆ และคณะผู้ให้การอบรม คุณพ่อ อธิการ คุณพ่อนวกจารย์ และบรรดา อาจารย์ดีกับผมมาตลอด ผมถือว่า


dbMagazine พระเจ้าประทานโอกาสที่ดีให้ผม ผมขอยกตัวอย่าง สัก 3 ประเด็น เรื่องแรกผมอยู่กับคุณพ่ออธิการที่ติดตาม ช่วยเหลือ เอาใจใส่ เรียกคุยประจ�ำเดือนและ ประเมินผล ท่านขยันสอน และเป็นแบบอย่างที่ดี แม้ท่านเหล่านี้จะไม่อยู่ในบ้านอบรม แต่ชีวิตท่านก็ปฏิบัติตามที่ท่านสอน ตอนที่ผมเรียนเทววิทยา ที่กรุงมะนิลา คุณพ่อลาซาโล อธิการได้จัดตารางพบปะเณร ทุกคน (Rendiconto) เป็นรายบุคคลทุกเดือน ทั้งๆ ที่มีเณร จ�ำนวน 60-70 คน ผมรู้สึกว่าเป็นบรรยากาศที่ดีมาก ประเด็นที่สองผมได้รับการศึกษาที่หนักแน่นมาก เรียนครบหลักสูตร อาจารย์มีความขยันในการสอน ท�ำให้ มีความรู้พื้นฐานที่ดี และสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วย ตนเอง เวลาเรียนที่วิทยาลัยแสงธรรมผมก็มีเพื่อนที่เรียนร่วม ชั้นหลายคน และขณะที่เรียนเทววิทยา ที่กรุงมะนิลาก็เช่นกันผมก็มีเพื่อนต่าง คณะ ต่างเชื้อชาติ ที่มาเรียนด้วยกัน แรกๆ ก็รู้สึกล�ำบากแต่พอปรับตัวได้ก็ รู้สึกสนุก ประเด็นที่สาม ที่บ้านเณรมีงาน อภิบาลเยาวชนที่ได้ฝึกเต็มที่โดย เฉพาะที่บ้านเณรซาเลเซียนสามพราน มีศูนย์เยาวชนที่เป็นสนามงานที่ ชัดเจน สอนให้เรารักงานอภิบาลและ เจริญชีวิตร่วมกับเยาวชน หลังจาก เรียนจบปรัชญา (รุ่นของผมเรียนที่ ม.รามค�ำแหงด้วย) ผมถูกส่งไปดูแล สามเณรและสอนเรียน ที่โรงเรียน อาชีวะดอนบอสโกบ้านโป่งเป็นเวลา

2 ปี แล้วไปเรียนต่อที่ดอนบอสโก ปาราญาเก กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่นี่ก็สุดยอดเลยเพราะเป็นประเทศ คริสตชน ผมไปฝึกงานอภิบาลทั้งวันเสาร์และวันอาทิตย์ ในช่วงที่เป็นสังฆานุกร 1 ปี ผมมีโอกาสท�ำหน้าที่ศาสนบริกร เช่น โปรดศีลล้างบาปเด็กทารก (รวมแล้วน่าจะพันคน) การ สวดปลงศพ เสกบ้าน ฯลฯ ซึ่งมีการประเมินผลอย่างเป็นกิจ ลักษณะ สิ่งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีที่ท�ำให้ผมเรียนรู้และเกิด ความภูมิใจ สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจในการเป็นพระสงฆ์ซาเลเซียน คืออะไรครับ? คุณพ่อประเสริฐ: แรงบันดาลใจส�ำหรับผมคือชีวิตของพระเยซูเจ้า ผม ประทับใจในชีวิตและพันธกิจของพระองค์ และในฐานะที่ผม เป็นสมาชิกซาเลเซียน ผมมีคุณพ่อบอสโกเป็นแบบอย่างของ ผู้ที่ติดตามพระคริสตเจ้า คุณพ่อบัญชา: สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจส�ำหรับผมให้เป็นซาเลเซียน สงฆ์ ก็คือ การรับใช้เยาวชนได้อย่างกว้างขวาง และเมื่อบวช มาก็รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ผมเคยท�ำงานทั้งที่เป็นงานอภิบาลใน คณะซาเลเซียน และงานในมิสซัง มีความหลากหลายดี

สงฆ์นิรันดร - 25 ปีแห่ง ชีวิตสงฆ์ คติพจน์ในวันบวชพระสงฆ์ของคุณพ่อคืออะไรครับ และคติพจน์ดังกล่าวเป็น แนวทางหรือเป็นแรงผลักดันให้ กับชีวิตอย่างไรบ้าง? คุณพ่อประเสริฐ: ผมและเพื่อนร่วมรุ่นใช้บทภาวนา ต่อดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของ พระเยซูเจ้าเป็นแนวทางให้กับชีวิต ในบทภาวนาดังกล่าวมีท่อนหนึ่ง ที่สวดว่า “...เพื่อโปรดประทาน กระแสเรียกให้กับคณะซาเลเซียน และให้พวกเขามีความมั่นคง...” กระแสเรียกใหม่คือเครื่องหมาย 29

July - August 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อประเสริฐ สมงาม และคุณพ่อบัญชา กิจประเสริฐ By... Mr.Privillege อย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า พระเจ้าทรงรักคณะและพันธกิจของ คณะยังคงมีความหมายในพระศาสนจักร ในอีกมุมมองหนึ่ง ยังสื่อถึงการภาวนาเพื่อตัวเราเพื่อจะได้มีดวงใจของพระเยซูเจ้า ผู้เลี้ยงแกะที่ดี ใกล้ชิดกับแกะ รู้จักแกะของตน เอาใจใส่ดูแล แกะจนเป็นที่ไว้วางใจของเจ้าของแกะ และพร้อมจะสละชีวิต เพื่อแกะในความดูแลของตน คุณพ่อบัญชา: เมื่อผมบวชเป็นพระสงฆ์ ผมตั้งคติพจน์ว่า “พระ คริสต์ที่ไร้กางเขน ไม่ใช่พระคริสตเจ้าแท้ฉันใด พระสงฆ์ที่ไร้ กางเขนก็ไม่ใช่พระสงฆ์แท้ฉันนั้น” คติพจนนี้เป็นแรงช่วยให้ ผมร่วมเดินทางไปกับพระเยซูคริสต์ อาศัยการภาวนา การ เทศน์ และการพบปะพูดคุยแนะน�ำแบ่งปันประสบการณ์ซึ่ง กันและกัน มุ่งมั่นในหน้าที่

ก็หันมาปั่นจักรยาน แต่ที่ท�ำเป็นประจ�ำคือการวิ่งสลับเดินเร็ว ต้องขอบคุณซาเลเซียนครับ ที่ปลูกฝังให้รักการออกก�ำลังกาย เวลานี้เราเข้าใจว่า การดูแลตัวเองไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว แต่ เป็นการแสดงออกถึงความรักต่อผู้อื่น เพราะถ้าเรารักตัวเอง มีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง เราก็สามารถรับใช้ผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากการเคลื่อนไหวร่างกาย ผมก็มักใช้ เวลาว่างในการอ่านหนังสือทั้งเพื่อความเพลิดเพลิน และเพิ่ม เติมความรู้ เพราะเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คุณพ่อบัญชา: ผมชอบอ่านหนังสือเป็นงานอดิเรก และบางครั้งก็ ชอบไปดูงานหรือทัศนศึกษาหาความรู้ มีเวลาก็เขียน บทความเป็นการตอกย�้ำความรู้ให้แน่นขึ้น เป็นการพัฒนา ตัวเองไปในตัว

ในชีวิตการเป็นพระสงฆ์คุณพ่อชอบงานไหน หรือชอบ งานอะไรมากที่สุดครับ? คุณพ่อประเสริฐ: ภารกิจที่ผมได้รับจากผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นงานประเภท ใดหรือในสนามงานไหน ผมตระหนักว่านั่นคือการรับใช้ใน รูปแบบที่แตกต่างกัน บางครั้งอาจไม่สอดคล้องกับความถนัด และจังหวะเวลาของผมมากนัก แต่หากเป็นความต้องการของ คณะ ผมก็เลือกที่จะท�ำตามประสงค์ของพระเป็นเจ้ามากกว่า ท�ำตามความต้องการส่วนตัว มันจึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญที่ต้อง อาศัยการภาวนา การไตร่ตรอง เพื่อแสวงหาพระประสงค์ของ พระเจ้าร่วมกัน คณะซาเลเซียนได้ให้โอกาสผมเพื่อจะรับใช้ พระศาสนจักรในหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะในรูปแบบใดผมมี ความสุขที่ให้น�้ำหนักกับเยาวชนและคนธรรมดา คุณพ่อบัญชา: ในชีวิตพระสงฆ์ ผมชอบพิธีกรรมเพราะเป็นกระแส เรียกของการเป็นสงฆ์ ขณะเดียวกันพ่อบอสโกสอนว่าการเป็น ซาเลเซียนต้องให้การศึกษาอบรมเยาวชน ผมก็รักงานอภิบาล ด้านนี้เพราะเป็นการพัฒนาพวกเขา อย่างไรก็ตามผมถือว่า งานทุกอย่างในคณะซาเลเซียน และในพระศาสนจักร เป็น พันธกิจที่ดีมีคุณค่าในตัวเองเพียงแต่ผมจะรับใช้ได้ดีมากน้อย แค่ไหนก็แล้วแต่พระจะโปรดให้

ตลอดเส้นทางชีวิตของการเป็นซาเลเซียน คุณพ่อเคย ลังเลบ้างไหม? คุณพ่อประเสริฐ: บนเส้นทางชีวิตของการติดตามพระคริสตเจ้าอย่าง ใกล้ชิดนั้น เป็นเส้นทางที่น้อยคนจะเลือกเดิน ทุกๆ วันคือ การท้าทายเพราะเราไม่รู้ว่าทางสาย นี้จะพาเราไปยังที่ใด บางช่วงก็ผ่าน ทุ่งหญ้า ผ่านป่าเขาอันร่มรื่น แต่ บางช่วงเวลามันก็ต้องผ่านทะเล ทรายที่แห้งแล้งหรือภูผาที่สูงชัน การติดตามพระองค์บนทางสายนี้ เราจึงต้องได้ยินพระองค์ตรัสเรียกเรา ทุกๆ วัน อาจมีบางวันที่ผมเองก็เหนื่อย ท้อแท้ อยากนั่งพัก และก็มีบาง วันที่ให้ความรู้สึกที่ดี เพราะ ผ่านทุ่งดอกไม้หลากสีสัน จะไม่อยากก้าวไปข้างหน้า แต่ในทุกขณะของชีวิต พระก็เรียกผมผ่าน ทางพระวาจาและการ ไตร่ตรองให้มุ่งหน้าต่อ ไปด้วยความพากเพียร อดทน ดุจเดียวกับพระอาจารย์ เจ้าที่มุ่งหน้าสู่เยรูซาเล็มอย่าง กล้าหาญ คุณพ่อบัญชา: ผมมุ่งมั่นในเรื่องกระ

คุณพ่อมีงานอดิเรกและใช้เวลาว่างหรือเวลาพักผ่อน อย่างไรบ้าง? คุณพ่อประเสริฐ: ผมชอบเล่นกีฬามาตั้งแต่ยังเล็ก หลักๆ ก็มีฟุตบอล บาสเก็ตบอล พอเข้าสู่วัยที่ร่างกายเริ่มเข้าใจข้อจ�ำกัดของตัวเอง 30

July - August 2018


dbMagazine แสเรียกซาเลเซียน ผมมีความสุข แม้ว่าผมจะพบอุปสรรคบ้าง ในชีวิตก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา อะไรคือเคล็ดลับที่ท�ำให้คุณพ่อซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียก ซาเลเซียนได้จนถึงทุกวันนี้? คุณพ่อประเสริฐ: ที่ผมยังเดินอยู่ในบนถนนสายนี้ก็เพราะความรัก และความซื่อสัตย์ของพระเจ้า ผมเองก็ไม่ต่างจากประชากร ของพระเจ้าในประวัติศาสตร์แห่งความรอดที่ซาบซึ้งในความ รักและความเมตตาของพระองค์ พระเจ้าทรงเรียกผมด้วย ความรักของพระองค์ ผมเชื่อมั่นในค�ำสัญญาที่ว่า พระองค์จะ อยู่กับผมตลอดไป พระองค์ไม่ทรงปล่อยให้ผู้ที่พระองค์ทรง เลือกเพราะรักต้องเดินอย่างเดียวดาย เพราะแม้ผมจะทุกข์ ทรมานเจียนตาย พระอาจารย์เจ้าก็ถูกตรึงกางเขนใกล้ผมและ ผมก็เชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรที่จะพรากผมไปจากพระเจ้าได้ คงไม่มี อะไรที่จะแสดงออกถึงความซื่อสัตย์มากไปกว่าการที่ผมได้รับ แรงพลังให้ติดตามพระองค์จนถึงกางเขน คุณพ่อบัญชา: ผมไม่มีเคล็ดลับอะไรที่ท�ำให้ซื่อสัตย์ ผมคิด ว่าการท�ำภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็น เกราะให้เราซื่อสัตย์ไปในตัว ยิ่งท�ำก็ยิ่ง เรียนรู้และเข้าใจตัวเองลึกซึ้งยิ่งขึ้น

คนทั่วไปมองว่าความสุขในชีวิตมา จากการงาน ชื่อเสียงและเงิน ทอง ส�ำหรับคุณพ่อแล้ว ความ สุขของชีวิตพระสงฆ์คือ อะไร? คุณพ่อประเสริฐ: ความสุขของชีวิตสงฆ์ คือ การได้ท�ำตามพระประสงค์ของ พระเจ้า นั่นหมายถึงความสุขอันลึกซึ้ง ที่ผมเสาะแสวงหา แต่ก็มีหลายครั้งที่ ผมยังคงพึงพอใจกับความรู้สึกดีๆ ที่ ได้มาจากการได้ท�ำตามความฝันของ ตัวเอง บางทีผมเองก็ยึดติดกับความ รู้สึกเช่นนั้น อาทิ การท�ำอะไรส�ำเร็จ ดังใจ การได้รับความชื่นชมและการ ได้รับเกียรติ บางครั้งผมเองก็มงุ่ มั่น กับ ชีวิตนักล่าฝันมากกว่าที่จะแสวงหา พระประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า

หลงอยู่กับความสุขที่ผิวเผินมากกว่าความสุขตามแนวทาง ของพระวรสารซึ่งชีวิตของพระสงฆ์ต้องเป็นพยานถึงสิ่งนั้น คุณพ่อบัญชา: ความสุขของผมคือการเจริญชีวิตกับผู้คนที่เราอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นนักบวช ครู สัตบุรุษ นักเรียน มากกว่านั้นพระเจ้า ให้เรามีงานท�ำ ผมว่าผมต้องโมทนาคุณพระถึงที่สุดแล้ว การมี สุขภาพที่ดีถือเป็นพระพรแห่งความสุขที่มีในชีวิต

ประเสริฐถึงประเสริฐ คุณพ่อมีอะไรอยากบอกกับประเสริฐ สมงาม บ้างครับ? ผมคงไม่มีอะไรจะพูดกับตัวเองนะ นอกจากจะ ภาวนาต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อผมจะสามารถได้ยินเสียง ที่พระองค์จะตรัสกับผมในโอกาสฉลอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์ ซาเลเซียน ผมขอค�ำภาวนาจากพี่น้องสมาชิกและพี่น้อง คริสตชน ขอให้ผมตอบรับการเรียกของพระองค์ในทุกๆ วัน ขอค�ำภาวนา ขอพระเจ้าได้ประทานพละก�ำลังและความ เชื่อ ในยามที่การตอบรับนั้นเรียกร้องการสละตนเองจนถึง ที่สุด ขอบคุณครับ

บัญชาถึงบัญชา คุณพ่อมีอะไรอยากบอกกับบัญชา กิจประเสริฐ บ้าง ครับ? ผมอยากบอกกับพ่อบัญชาว่า “จงขอบพระคุณและ โมทนาคุณพระเจ้าผู้พระทัยดี พระมารดามารีย์ และคุณพ่อ บอสโก ส�ำหรับ 25 ปี แห่งชีวิตสงฆ์ของพระคริสต์ ขอบคุณ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักและเลี้ยงดูคุณพ่อมา อีกทั้งได้อบรม และให้เงินให้ทองใช้ ขอบคุณคณะซาเลเซียนผู้เป็นท่อธารชีวิต ซึ่งรักและเอาใจใส่เสมอมา ขอบคุณคุณพ่อเจ้าอาวาส คุณครูที่ สอนตั้งแต่วัยเยาว์ คุณพ่ออธิการ ผู้ให้การอบรม เวลาเดียว กันก็รู้คุณต่อสัตบุรุษ ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง เด็กๆ ที่เกื้อกูลและ รักคุณพ่อเรื่อยมา ต่อจากนี้ให้คุณพ่อพยายามท�ำตนเยี่ยงนัก บุญยอห์น บัปติสต์ ที่ตนเองต้องอ่อนน้อมลง แล้วให้พระเจ้า ต้องเด่นขึ้นในชีวิต และจงถือคติพจน์ที่ว่า ‘พระคริสตเจ้าทรง กลับคืนชีพ อัลเลลูยา’ และเป็นซาเลเซียนพระสงฆ์ที่สุขเปี่ยม ล้นในพระศาสนจักร”.. db

31

July - August 2018


ส่องโลกซาเลเซียน By... SDB Reporter

World News

พิธีส่งอาสาสมัครธรรมทูต เยาวชน 8 คนขององค์กรอาสาสมัครนานาชาติดอนบอสโกของแขวงซาเลเซียน กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ รับกางเขนธรรมทูตจากพระอัครสังฆราช Wojciech Polak แห่งสังฆมณฑล Gnieznoในการชุมนุมเยาวชน “Lednica 2000” เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ.2018 การชุมนุมดังกล่าวจัดขึ้นทุกปีโดยมีเยาวชนหลายพันคนมาร่วมในการชุมนุม งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้สรรเสริญพระเจ้า มีการเต้นร�ำ ร้องเพลง การภาวนา และพิธีบูชาขอบพระคุณ อนึ่ง เยาวชนทั้ง 8 คนนี้จะไปท�ำหน้าที่เป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ เด็กๆ และเยาวชนที่ยากจนโดยจะไปท�ำงานช่วยเหลือบรรดาธรรมทูตในประเทศแซมเบีย (5 คน), สาธารณรัฐคาซัคสถาน (2 คน) และประเทศเปรู (1 คน)

การอบรมสื่อสารมวลชนให้กับนวกชน แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนของแขวงเมดริน ประเทศโคลอมเบีย ได้จัดการ อบรมเรื่องสื่อมวลชนให้กับนวกชนจ�ำนวน 13 คน ในหัวข้อความท้าทายของซาเลเซียน ในการสื่อสาร, ข่าวปลอม, การใช้วีดีโอเป็นเครื่องมือในการประกาศพระวรสารและการ อบรม เมื่อวันที่ 19-21 มิถุนายน ค.ศ. 2018 โดยคุณ Johana Vélez ผู้รับผิดชอบแผนก สื่อมวลชนได้เป็นผู้บรรยายร่วมกับคุณ Jorge Rojas ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสื่อ และได้ให้ นวกชนได้ฝึกท�ำวีดีโอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกระแสเรียกด้วย วันกตัญญู - ฉลองคุณพ่ออัคราธิการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.2018 คุณพ่ออังเกล เฟอร์นันเดส อาร์ติเม อัครา ธิการคณะซาเลเซียนเป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสสมโภชนักบุญยอห์น บัปติสต์ และวันกตัญญู ที่วิหารพระหฤทัย กรุงโรม ร่วมกับสมาชิกซาเลเซียน โดยมีตัว แทนสมาชิกในครอบครัวซาเลเซียนและสัตบุรุษมาร่วมพิธีจ�ำนวนมาก ในจ�ำนวนนี้มีพระ คาร์ดินัลราฟาเอล ฟารีนาและพระสังฆราชฟรังซิส บรูญาโร ศิษย์เก่าซาเลเซียน มาร่วม ในพิธีด้วย โอกาสนี้หมู่คณะบ้านศูนย์กลางของคณะได้จัดฉลองครบรอบการบวชพระสงฆ์ และการปฏิญาณตนให้กับสมาชิกในหมู่คณะด้วยคือ คุณพ่อฟรังซิส เชเรดา รองอัครา ธิการ (ฉลอง 50 ปีแห่งการปฏิญาณตน), คุณพ่อฮิลาริ พาสเซโร (ฉลอง 70 ปีแห่งการ ปฏิญาณตนและ 60 ปีแห่งชีวิตสงฆ์), คุณพ่อออร์ลันโด ดันเล เพซเซ (ฉลอง 60 ปีแห่ง การปฏิญาณตนและ 50 ปีแห่งชีวิตสงฆ์), คุณพ่อหลุยส์ เฟดริซี (ฉลอง 60 ปีแห่งการ ปฏิญาณตน) และคุณพ่อจานูซ ซาปาลา (ฉลอง 25 ปีแห่งชีวิตสงฆ์) นอกนั้นคณะ ซาเลเซียนได้ร่วมแสดงความยินดีกับพระคาร์ดินัลราฟาเอล ฟารีนาโอกาสฉลอง 60 ปี แห่งชีวิตสงฆ์ของพระคุณเจ้าด้วย หลังมิสซามีแสดงความยินดีกับคุณพ่ออัคราธิการและ สมาชิกที่ครบรอบการบวชพระสงฆ์และการปฏิญาณตน จากนั้นสมาชิกซาเลเซียนรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในบรรยากาศ ครอบครัว อนึ่ง การฉลองวันกตัญญูให้กับคุณพ่ออัคราธิการในวันสมโภชนักบุญยอห์น บัปติสต์นี้เริ่มต้นจากการที่ศูนย์เยาวชนวัลดอกโก จัดฉลองศาสนนามให้กับคุณพ่อบอสโก โดยในวันนั้นบรรดาศิษย์เก่าจะกลับมาฉลองและร่วมแสดงความรู้คุณต่อคุณพ่อบอสโก ด้วยเหตุนี้ จึงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบตั สิ บื ต่อกันมาจนถึงปัจจุบนั ทีท่ กุ วันที่ 24 มิถนุ ายน ของทุกปี บรรดาซาเลเซียนและสมาชิกในครอบครัวซาเลเซียน จะแสดงความรู้คุณกับคุณพ่ออัคราธิการซึ่งเป็นผู้สืบต�ำแหน่งของคุณพ่อบอสโกด้วย 32 July - August 2018


dbMagazine ซาเลเซียนประเทศสเปนจัดกิจกรรมภาคฤดูร้อน การรับใช้เยาวชนของซาเลเซียนไม่มีวันหยุดแม้กระทั่งจะเป็นช่วงปิดเทอม ภาคฤดูร้อนในประเทศสเปน ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน โดยในปีนี้มี เยาวชนจ�ำนวนกว่า 20,000 คนที่ร่วมกิจกรรมค่ายฤดูร้อนและกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งจัดโดย บรรดาซาเลเซียนจ�ำนวน 350 คนที่อยู่ในหมู่คณะต่างๆ ของประเทศสเปนและมีพี่เลี้ยงซึ่ง ช่วยดูแลเยาวชนจ�ำนวน 2,500 คน ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างอย่างเกิดประโยชน์ และเป็นโอกาสที่จะอบรมให้พวกเขาเติบโตขึ้นในทุกด้านโดยเฉพาะในด้านความเชื่อ โดย ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมหนึ่งซึ่งได้รับตอบรับอย่างดีจากบรรดาเยาวชนก็คือการ แสวงบุญที่บ้านเกิดของคุณพ่อบอสโก กิจกรรมดังกล่าวจัดโดยองค์กรเยาวชนซาเลเซียน (SYM) ของประเทศสเปน ในปีนี้มีเยาวชนถึง 650 คน ที่เดินทางไปแสวงบุญยังสถานที่ของคุณพ่อบอสโกที่เมืองบาร์เซโลนา และที่กรุงตุริน ประเทศอิตาลี “Festifoot 2018” ฟุตบอลโลกเวอร์ชั่นซาเลเซียน ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอล โลก โรงเรียนมัธยมในเครือซาเลเซียนของประเทศฝรั่งเศสจ�ำนวน 8 โรงเรียนได้จัดการ แข่งขันฟุตบอล “Festifoot 2018” ขึ้นที่โรงเรียน Lemonnier ในเมืองก็อง (Caen) แคว้น นอร์ม็องดี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส นอกจากการแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังมี การแข่งขันโต๊ะโกล์ การแข่งขันตอบปัญหาเกี่ยวกับฟุตบอลและการแข่งขันทักษะและความ สามารถด้านฟุตบอล ทีมที่ชนะคือโรงเรียนซาเลเซียนจากเมืองอาร์ฌ็องเตย (Argenteuil) และทีมที่ได้รางวัลมารยาทยอดเยี่ยมคือทีมจากโรงรียนซาเลเซียนที่ลีล (Lille) คุณพ่ออัคราธิการและคณะที่ปรึกษาเข้าเงียบประจ�ำปี เมื่อวันที่ 1-7 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 คุณพ่ออัคราธิการและคณะที่ปรึกษาเข้า เงียบประจ�ำปีที่บ้านฟื้นฟูจิตใจซานลูกา ที่เมืองกวาชีโน จ.โฟรซีโนเน ประเทศอิตาลี ซึ่ง เป็นบ้านของคณะธิดามารีย์แห่งความรักของพระเจ้า โดยมีคุณพ่อฟาบิโอ มานซี เป็นผู้ เทศน์ในหัวข้อ “พระบิดาเจ้าข้า โปรดท�ำให้เราศักดิ์สิทธิ์ในความจริง วิถีสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ตามค�ำบอกเล่าของพระวรสารนักบุญยอห์น”

สัปดาห์ธรรมทูตเยาวชนซาเลเซียน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 แขวงซาเลเซียนนักบุญเปาโล ประเทศบราซิล จัดงาน สัปดาห์ธรรมทูตเยาวชนซาเลเซียน ในปีนี้มีเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจ�ำนวน 1,050 คน โดยไปท�ำหน้าที่เป็นอาสาสมัครช่วยงานตามสถานที่ต่างๆ จ�ำนวน 26 แห่ง ในประเทศบราซิล ภายใต้การดูแลของซาเลเซียนจ�ำนวน 68 คนและพ่อแม่ของพวกเขา โครงการดังกล่าวนี้ช่วยให้เยาวชนมีประสบการณ์กับพระเจ้าโดยผ่านทางการอยู่กับชาว บ้าน การท�ำกิจเมตตาและการผูกมิตรกับคนรอบข้าง

33

July - August 2018


ส่องโลกซาเลเซียน By... SDB Reporter

ธรรมทูตซาเลเซียนในค่ายอพยพพาลาเบค ประเทศยูกันดา ผลจากภัยสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศซูดานใต้ท�ำให้มี ผู้อพยพเข้ามาในประเทศยูกันดาประมาณ 150,000 คน รัฐบาล ยูกันดาได้ให้ความช่วยเหลือผู้อพยพเหล่านี้และได้จัดตั้งค่าย อพยพหลายแห่ง ธรรมทูตซาเลเซียน 4 คน ได้เข้าไปท�ำงานใน ค่ายอพยพพาลาเบค ซึ่งเป็นหนึ่งในค่ายอพยพที่รัฐบาลตั้งขึ้น ใน ค่ายดังกล่าวมีผู้ที่ลี้ภัยสงครามจ�ำนวนกว่า 42,000 คน ในเบื้อง ต้นซาเลเซียนมีโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพและได้ซื้อที่ดินจ�ำนวน 30 เฮคเตอร์เพื่อก่อสร้างศูนย์ดังกล่าว ระหว่างนี้ได้ใช้วัดน้อยใน ค่ายเป็นโรงเรียนส�ำหรับเด็กเล็กชั่วคราวไปก่อน คุณพ่ออูบันดิโน แอนดาเด ธรรมทูตซาเลเซียนกล่าวว่า “บรรดาผู้อพยพมีทั้งหมอ วิศวกร ทนายความ...เยาวชนที่นี่มีศักยภาพที่เปี่ยมล้นและยินดี ร่วมกิจกรรมทุกอย่างที่พวกเราจัด แต่น่าเสียดายที่พวกเขาทุกคน มีสถานะเดียวกันหมดคือผู้อพยพ” บรรดาธรรมทูตซาเลเซียน ได้ท�ำหน้าที่สร้างความหวังและช่วยดูแลครอบครัว อีกทั้งให้การ ศึกษาอบรมโดยเฉพาะด้านอาชีพกับเยาวชนซึ่งเข้ามาในค่ายโดย ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย

คณะที่ปรึกษาซาเลเซียนและคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ.2018 คณะที่ปรึกษาของ คณะซาเลเซียนและธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ได้ประชุมร่วมกันที่ ศูนย์กลางของคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ เพื่อศึกษาเอกสาร Instrumentum Laboris ของการประชุมสมัชชาพระสังฆราชครั้ง ที่ 15 ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้โดยมีคุณพ่อรอสซาโน ซาลา, ซดบ. เลขาธิการพิเศษประจ�ำสมัชชาเป็นผู้บรรยาย จากนั้นได้ มีการอภิปรายและแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อไตร่ตรองและวางแนวทาง กิจกรรมในอนาคตหลังการประชุมสมัชชาร่วมกัน การประชุมจบ ลงด้วยการแบ่งปันของคุณแม่อัคราธิการิณีและคุณพ่ออัคราธิการ จากนั้นมีการสวดท�ำวัตรเย็นร่วมกันและฟังโอวาทก่อนนอนจาก คุณพ่ออัคราธิการ อนึ่ง การประชุมของคณะที่ปรึกษาทั้งสองคณะนี้เป็น ธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งปกติจะประชุมร่วมกันปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงฤดูร้อนและช่วงฤดูหนาว โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ ด้านสถานที่

พระคาร์ดินัลชาร์ลส์ โบ รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนประธาน ในสมัชชาพระสังฆราช สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งตัวแทน ประธาน 4 ท่าน เพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-28 ตุลาคม ค.ศ.2018 ที่ นครรัฐวาติกัน ตัวแทนประธานดังกล่าวได้แก่ พระคาร์ดินัล ชาร์ลส์ เมือง โบ, ซดบ. จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, พระคาร์ดินัล Louis Raphaël I Sako พระอัยกาแห่งบาบิ โลน, พระอัครสังฆราช Désiré Tsarahazana จากประเทศ มาดากัสการ์ และ พระคาร์ดินัล John Ribat จากประเทศปาปัว นิวกินี นอกจากนี้แล้วยังมีซาเลเซียนอีก 2 ท่านที่เข้าร่วมการประชุมสมัชชาพระสังฆราช นั่นคือ คุณพ่ออังเกล เฟอร์นันเดส อาร์ติเม อัคราธิการคณะซาเลเซียนเป็นผู้แทนของมหาธิการคณะนักบวชและคุณพ่อรอสซาโน ซาลา เป็นเลขาธิการพิเศษของสมัชชา

34

July - August 2018


dbMagazine

Regional News คุณพ่ออัคราธิการแต่งตั้งเจ้าคณะคนแรกของแขวงใหม่อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2018 คุณพ่ออัคราธิการได้แต่งตั้งคุณพ่ออันดรูว์ หว่อง ชาวฟิลิปปินส์ ให้เป็นคุณพ่อเจ้าคณะคนแรกของแขวงนักบุญหลุยส์ แวร์ซีลีอา ประเทศ อินโดนีเซีย โดยมีวาระตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018-2024 อนึ่ง คุณพ่ออันดรูว์ หว่อง เคยรับหน้าที่เป็น คุณพ่อเจ้าคณะแขวงฟิลิปปินส์เหนือในปี ค.ศ. 2005-2008 และเคยเป็นที่ปรึกษาของคุณพ่อ อัคราธิการประจ�ำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชเนีย (EAO) ในปี ค.ศ. 2008-2014

พิธีแต่งตั้งเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนองค์ใหม่ของญี่ปุ่น คุณพ่ออัคราธิการ ได้แต่งตั้งคุณพ่อยากอบ ยามากูจิ เป็นคุณพ่อเจ้าคณะแขวงองค์ ใหม่ของแขวงนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ประเทศญีป่ นุ่ โดยเมือ่ วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ได้มี พิธีการแต่งตั้งเจ้าคณะแขวงองค์ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยคุณพ่อยากอบเป็นประธานในพิธี บูชาขอบพระคุณ ท่ามกลางสมาชิกซาเลเซียนจ�ำนวน 70 คนและสมาชิกในครอบครัวซาเลเซียน ที่มาร่วมพิธีจ�ำนวนมาก อนึ่ง คุณพ่อเจ้าคณะองค์เดิมคือคุณพ่อมาริโอ มิชากิ ยามานูชิ ได้รับ การแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสให้เป็นพระสังฆราชประจ�ำสังฆมณฑลไซตามะ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2018

โครงการน�้ำประปาชุมชน นอกจากบรรดาซาเลเซียนจะให้การอบรมด้านฝ่าย จิตกับเยาวชนและคริสตชนแล้ว ยังช่วยเหลือให้พวกเขามี คุณภาพชีวิตที่ดีด้วย หมู่คณะซาเลเซียนวัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ เมืองดาคูดาว บนเกาะมินดาเนา แขวงฟิลิปปินส์ใต้ ได้จัด ท�ำโครงการน�้ำประปาชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีน�้ำสะอาดใช้ ในครัวเรือนโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรธรรมทูตซาเล เซียนที่นิว โรแชล ประเทศสหรัฐอเมริกา หมู่คณะซาเลเซียน นี้ท�ำหน้าที่ดูแลสัตบุรุษในเขตวัดจ�ำนวน 1,400 ครอบครัว ซึ่ง กระจายอยู่ในหลายหมู่บ้าน โดยมีวัดน้อยจ�ำนวน 24 แห่งใน เขตนี้ อนึ่ง ซาเลเซียนในประเทศฟิลิปปินส์ได้จัดท�ำโครงการมากมายเพื่อให้การศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน ทั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อตัดวงจรแห่งความยากจนและส่งเสริมให้พวกเขาพัฒนาตนเองในทุกด้าน 35

July - August 2018


REGIONAL NEWs By... SDB Reporter กิจกรรมซาเลเซียนที่มองโกเลีย เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสมาชิกซาเลเซียนที่ประเทศ มองโกเลียได้จัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับเด็กๆ และเยาวชนโดยมีจุด ประสงค์เพื่อเผยแพร่จิตตารมณ์ซาเลเซียนให้กับเยาวชนที่อยู่ใน ความดูแลตามศูนย์ต่างๆ ที่ซาเลเซียนรับผิดชอบ ที่ผ่านมาได้มี การจัดกิจกรรมเกมให้กับเด็กๆ และเยาวชนของศูนย์ดอนบอสโก ดาร์ฮานที่มาวัดเป็นประจ�ำโดยพวกเขาจะน�ำคูปองที่ได้รับจากการ เล่นเกมไปแลกซื้อของรางวัลตามที่ต้องการ นอกนั้น ซาเลเซียนได้จัดทัศนศึกษาให้กับนักเรียน 30 คนของศูนย์ดอนบอสโกที่จบการเรียน หลักสูตรภาษาอังกฤษ การออกแบบและคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งได้มีพิธีการมอบประกาศนียบัตรอย่างสง่าด้วย สุดท้าย ซาเลเซียนได้ จัดการแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกขึ้นที่เมืองอูลซึ่งเป็นศูนย์ที่ดูแลโดยสมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงาน ศูนย์ดังกล่าวอยู่ห่างจากเมืองดาร์ฮาน ราว 60 กิโลเมตร มีเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 220 คน

การประชุมของซาเลเซียนเมลาเนเซี่ยน เมื่อวันที่ 27-30 มิถุนายน ค.ศ.2018 ซาเลเซียน ชาวเมลาเนเซี่ยนจ�ำนวน 7 คน ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองที่อยู่ใน เขตหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกของทวีปโอเชีย เนียและเป็นสมาชิกของแขวงปาปัวนิวกีนีได้ประชุมร่วมกับ คุณพ่ออัลเฟรด มาราวิลลา เจ้าคณะแขวงฯ ที่บ้านเจ้าคณะ เมืองพอร์ตมอร์สบี ในหัวข้อการน�ำจิตตารมณ์ซาเลเซียน เข้าสู่วัฒนธรรมเมลาเนเซี่ยน การประชุมดังกล่าวนี้เป็นการ ประชุมกันครั้งแรกของสมาชิกที่เป็นชาวเมลาเนเซี่ยน การประชุมสิ้นสุดลงในวันสุดท้ายด้วยพิธีบูชาขอบพระคุณที่บ้านเณร Avior Haus หลังจากนั้นได้มีการพบปะกับสามเณรจ�ำนวน 14 คนและรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในบรรยากาศครอบครัว

วันเด็กผู้ช่วยมิสซา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.2018 แผนกอภิบาลเยาวชน ของฮ่องกงได้จัดวันเด็กผู้ช่วยมิสซาขึ้นที่บ้านธรรมฑูตซาเลเซียน “Shau Kei Wan” ฮ่องกง โดยมีเด็กช่วยมิสซาเข้าร่วมกิจกรรม จ�ำนวน 70 คน ซึ่งมาจาก 5 โรงเรียนซาเลเซียน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบ “เยาวชนรับใช้ เยาวชน” ซึ่งเป็นสไตล์การอบรมของคุณพ่อบอสโก โดย 4 เดือน ก่อนหน้านี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจาก เด็กแต่ละโรงเรียนเพื่อเตรียมงานร่วมกัน คณะกรรมการดังกล่าว ได้เรียนรู้วิธีการวางแผนงานเยาวชนและมีการประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง จุดประสงค์ของการตั้งคณะกรรมการก็เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ วิธีการจัดการและเป็นโอกาสให้พวกเขาฝึกทักษะการเป็นผู้น�ำ และที่ส�ำคัญก็คือเพื่อสร้างทีมเพื่อท�ำงานร่วมกันและรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม ไฮไลท์ของงานวันเด็กผู้ช่วยมิสซาก็คือการร่วมมิสซาร่วมกันโดยคุณพ่อ Domingos Leong ซดบ. ซึ่งเป็นกรรมการของแผนก พิธีกรรมของสังฆมณฑลฮ่องกงเป็นประธาน โดยเด็กๆผู้ช่วยมิสซาทุกคนแต่งตัวอย่างสง่าอยู่ล้อมรอบพระแท่นด้วยความศรัทธา คุณพ่อได้ เทศน์ในมิสซาความตอนหนึ่งว่า “...การเป็นผู้ช่วยมิสซาไม่ใช่เป็นเพียงแค่ชื่อแต่ให้เราเป็นด้วยจิตตารมณ์แห่งการรับใช้ ดังเช่นพระเยซูเจ้า ที่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น” ในตอนท้ายของพิธี คุณพ่อชาร์ลส์ ชุน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านกระแสเรียกได้เชื้อเชิญให้ทุกคนภาวนาเพื่อกระแส เรียกซาเลเซียนและส่งเสริมให้ทุกคนคิดถึงกระแสเรียกของตนเองเป็นพิเศษ

36

July - August 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ By... Andy

กระซิบพระวรสารในหัวใจเด็กช่าง

@วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง

การให้การศึกษากับเยาวชน ในโรงเรียนเป็นวิธีการหนึ่งที่ซาเลเซียน ใช้ในการประกาศพระวรสาร วิธีการ ดังกล่าวนี้เป็นการกระซิบพระวรสารให้ ซึมซับลงในหัวใจของบรรดาเยาวชนโดย ผ่านทางแบบอย่างชีวิต การอุทิศตนของ สมาชิกซาเลเซียนและคณะครู การให้ ความรู้ การฝึกทักษะและการพัฒนาตัว นักเรียนทั้งครบ โรงเรียนซาเลเซียน ไม่ว่าจะ เป็นสายสามัญหรือสายอาชีพหรือใน ระดับมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่แห่งการ อบรมเยาวชนเพื่อเตรียมตัวไปสู่ชีวิต แห่งการท�ำงาน การสอนให้พวกเขา อ่านออกเขียนได้และสอนให้มีวิชาชีพ ติดตัวคือการให้โอกาสกับพวกเขาใน การพัฒนาชีวิตให้ดียิ่งขึ้นทั้งนี้ก็เพื่อ ตนเองและเพื่อสังคม ฝ่ายงานธรรมทูตของคณะ ซาเลเซียนได้เสนอให้ปี ค.ศ. 2018 เป็นปีที่ส่งเสริมการประกาศพระวรสาร โดยมุ่งที่เยาวชนในศูนย์ฝึกวิชาชีพใน ทวีปเอเชีย ภายใต้หัวข้อ “กระซิบพระ วรสารให้กับเยาวชนในศูนย์ฝึกอาชีพ ในเอเชีย” 37

July - August 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ By... Andy

นิตยสารดอนบอสโกจึงขอน�ำท่านไปสัมผัสกับภารกิจ ดังกล่าวของคณะซาเลเซียนในแขวงไทย โดยเริ่มที่วิทยาลัย เทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ...หากเดินทางจากถนนเพชรเกษมเพื่อเข้าสู่ตัว อ�ำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี ก็จะผ่านสามแยกกระจับมาถึงบ้าน หัวโป่งซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน จากซุ้มประตูทางเข้าซึ่งติดกับ ถนนเพชรเกษมเดินทางเข้าไปอีกประมาณ 300 เมตร ก็จะ เห็นอาคารและป้ายชื่อของโรงเรียนตั้งสง่าอยู่ตรงหน้าพร้อม กับน�้ำพุที่พวยพุ่งอยู่ตลอดเวลาบ่งบอกถึงพลังและความสดชื่น ร่มเย็น... กิจการเพื่อเด็กยากจนและขาดโอกาส เมื่อทีมงานนิตยสารดอนบอสโกเดินทางมาถึง โรงเรียน พวกเราได้รับการต้อนรับอย่างดีจากคุณพ่อพรจิต พูลวิทยกิจ อธิการ, คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ ผู้อ�ำนวยการฯ, และภราดาสารพัน แคเซอ เหรัญญิก หลังจากดื่มน�้ำดื่มท่า เรียบร้อย คุณพ่ออธิการเล่าให้เราฟังว่า โรงเรียนแห่งนี้เกิดขึ้น เพื่อเด็กยากจนและขาดโอกาส ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2518 สมาชิกซาเลเซียนของ หมู่คณะโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ได้เล็งเห็นว่ายังมี เยาวชนในเขตอ�ำเภอบ้านโป่งอีกเป็นจ�ำนวนมากที่ไม่มีโอกาส ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้อาจด้วยเหตุที่ขาด ทุนทรัพย์และด้านสติปัญญา จึงคิดที่จะหาแหล่งฝึกอาชีพให้ กับพวกเขาเหล่านั้น โดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ ถึงแม้ว่าขณะนั้น

38

July - August 2018

โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก กรุงเทพ ได้ด�ำเนินการแล้วก็ตาม เนื่องจากหากจะส่งพวกเขาไปฝึกก็มีปัญหาด้านการเงินและ ด้านที่อยู่อาศัย คุณพ่อยวง โกลมบินี อธิการโรงเรียนสารสิทธิ์ พิทยาลัยสมัยนั้นจึงได้เสนอโครงการกับผู้ใหญ่ของคณะเพื่อจัด ตั้งศูนย์ฝึกอาชีพ ซึ่งต่อมาก็ได้รับการอนุมัติให้ด�ำเนินการได้ โดยคุณพ่อโกลมบินีได้ขอความร่วมมืออีกทางหนึ่งจาก คุณพ่อ กุสตาฟ โรเซนต์ อธิการโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก กรุงเทพ ในขณะนั้น (พ.ศ. 2515 - 2518) ให้ช่วยรับเป็นธุระในการ จัดหาทุนเพื่อที่จะสร้างศูนย์ฝึกอาชีพดังกล่าว ซึ่งต่อมาคุณพ่อ โรเซนต์ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรการกุศลของประเทศ เบลเยี่ยม คุณพ่อโกลมบินี จึงได้เริ่มจัดหาที่ดินที่หมู่บ้าน หัวโป่งและในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2522 ได้เริ่มลงมือ ก่อสร้างโรงฝึกงาน ห้องเรียน โรงพละ บ้านพักนักบวช พร้อม ท�ำรั้วล้อมรอบบริเวณทั้งหมด ท�ำถนนภายใน และจัดซื้อ อุปกรณ์ที่จ�ำเป็นต่างๆ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ทางคณะนัก บวชซาเลเซียนแห่งประเทศจึงมอบหมายให้คุณพ่อยอห์น บัป ติสตา วิสเซอร์ ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งอธิการโรงเรียนอาชีวะดอน บอสโก กรุงเทพฯ ขณะนั้น (พ.ศ. 2518 - 2525) เป็นผู้รับ ผิดชอบโครงการต่อไป คุณพ่อวิสเซอร์ ได้ด�ำเนินการติดต่อ กับทางราชการและได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนอาชีวะ ศึกษาระดับ ปวช. เริ่มโรงเรียนการกุศล วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ทางโรงเรียน


dbMagazine

ได้เปิดรับนักเรียนเป็นปีแรก โดยเปิดสอนสายวิชาช่าง อุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) เป็นโรงเรียนการกุศล ไม่เก็บค่าธรรมเนียม การเรียนแต่ประการใด ปีการศึกษาต่อมา (พ.ศ. 2525) ได้เปิดรับนักเรียน เพิ่ม คุณพ่อวิสเซอร์ ได้ขยายกิจการออกไปอีก เนื่องจากมี นักเรียนที่มีคุณสมบัติตามจุดประสงค์ของโครงการเพิ่มจ�ำนวน มากขึ้น จึงได้จัดสร้างอาคารหอพักนักเรียน อาคารเรียนเพิ่ม เติม บ้านพักซิสเตอร์และคนงาน โรงอาหารส�ำหรับนักเรียน และหอพักส�ำหรับครู โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรการ กุศลประเทศเยอรมัน ประเทศเนเธอร์แลนด์และจากองค์กร MISEREOR ในหลวงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่จารึกอยู่ในหัวใจของ คณะผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนทุกคนในสถาบันแห่งนี้ก็คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมี พระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์เปิดอาคารของโรงเรียน อย่างเป็นทางการ โดยพระองค์ทรงเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก บ้านโป่ง” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ.2528 ท่ามกลางความปลื้มปิติเป็นที่สุดของคณะผู้ บริหาร คณะครู และนักเรียนที่เฝ้ารับเสด็จฯ

ความก้าวหน้าและการเติบโต คุณพ่ออธิการพาเราเดินชมสถานที่ในโรงเรียน พร้อม กับเล่าให้เราฟังถึงการพัฒนาและความก้าวหน้าของโรงเรียน อย่างเป็นล�ำดับ เช่น มีการเปิดสาขาวิชาช่างไฟฟ้าก�ำลังในปี พ.ศ.2527, สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์ ปี พ.ศ.2547 และการเปิดสอนในระดับ ปวส. ปี พ.ศ.2549 เป็นต้น นอกนั้น ในปี พ.ศ.2554 ทางโรงเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียน ซึ่งเดิมชื่อโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก บ้านโป่ง เป็นวิทยาลัย เทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง (Don Bosco Banpong Technological College) ในอดีตมีสมาชิกซาเลเซียนหลาย ท่านและมีซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ที่เคยมาประจ�ำอยู่ประจ�ำที่นี่ซึ่งทุกท่านล้วนมีส่วนในการพัฒนา โรงเรียนให้ก้าวหน้าและท�ำหน้าที่เป็นดังกระจกสะท้อนความรัก ของพระเจ้าสู่เยาวชน เช่น คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์, คุณพ่อมนูญ สนเจริญ, ภราดาประสาท หอมสนิท, คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์, ภราดาสุธรรม ฉายาบรรณ, ภราดาไพฑูรย์ ธรรมนิตย์, คุณพ่อ บัญชา กิจประเสริฐ, ภราดาสุวรรณ จูทะสมพากร, ภราดา วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม, คุณพ่อสมชาติ ผิวเกลี้ยง, คุณพ่อแตรี่ ตาไปย์, คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรีว่าอุดม, คุณพ่อเปโตร ดาเนียลเล, คุณพ่อสามัคคี ชัยพระคุณ, คุณพ่อชินวัฒน์ สุวดินทร์กูร ฯลฯ และที่ลืมไม่ได้ก็คือ ซ.พิกุล สงวนพงษ์ ซึ่งประจ�ำอยู่แผนกโรง ครัวถึง 23 ปี (ค.ศ.1985-2008) การประจ�ำอยู่ของซิสเตอร์แสดง ให้เห็นถึงการรับใช้และความร่วมมือในพันธกิจของครอบครัวซา เลเซียนอย่างแท้จริง

39

July - August 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ By... Andy ปัจจุบันในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยเทคโนโลยีดอน บอสโก บ้านโป่ง มีนักเรียนจ�ำนวนทั้งสิ้น 738 คน และมีคณะ ครูจ�ำนวน 80 คน เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขา งานเครื่องมือกล, สาขาวิชาช่างไฟฟ้าก�ำลัง สาขางานไฟฟ้า ก�ำลังและสาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์ ส่วนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มี 3 สาขาวิชา คือสาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม สาขางานติด ตั้งและบ�ำรุงรักษา, สาขาวิชาไฟฟ้า สาขางานไฟฟ้าควบคุมและ สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์ นอกนั้น โรงเรียนยังมีแผนกหอพักนักเรียนประจ�ำซึ่ง ในปัจจุบันมีจ�ำนวนนักเรียนในแผนกนี้ทั้งสิ้น 71 คน สถาบันแห่งการอบรม วิทยาลัยแห่งนี้สอนวิชาชีพและพยายามพัฒนา นักเรียนในทุกด้าน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขามีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ปั้น - วรงค์กรณ์ ควรการ อายุ 16 ปี ศาสนา พุทธ นักเรียนชั้นปวช.ปีที่ 2 สาขาวิชา ช่างไฟ บอกกับเราว่า “ผมมาเรียนที่นี่ เพราะมีเพื่อนๆ ของลุงซึ่งเป็นศิษย์เก่า ของวิทยาลัยแนะน�ำมา การที่ผมมา เรียนและอยู่ในหอพักนักเรียนประจ�ำ ท�ำให้ผมมีความรับผิดชอบและมีความ เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น รู้จักคิด รู้จักท�ำและ เรียนดีขึ้น ที่ส�ำคัญคุณพ่อและบราเดอร์รักพวกเราทุกคนเหมือน เป็นลูกของท่าน อีกทั้งดูแลและอบรมพวกเราอย่างดี” และเมื่อ ถามถึงความใฝ่ฝันในอนาคต ปั้นตอบเราว่า “ผมอยากเป็น วิศวกรไฟฟ้าเพราะเป็นอาชีพที่มั่นคง ผมอยากดูแลครอบครัว และมีเงินมากเพียงพอที่จะใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลในอนาคต ให้กับพ่อของผมซึ่งป่วยเป็นโรคไตและแม่ซึ่งป่วยเป็นโรคเบา หวาน” นักเรียนอีกคนที่พูดคุยกับเราคือ นายพลวัต สายน�้ำเย็น (ต่อ) อายุ 18 ปี ศาสนาพุทธ ชั้นปวช. ปีที่ 3 สาขาวิชา ช่างยนต์ บอกกับเราว่า “ผมมาเรียนที่ นี่เพราะมีคุณครูที่ดีที่คอยอบรมสั่งสอน และนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจริงจึง ท�ำให้เมื่อเรียนจบแล้วท�ำงานเป็น ส่วน คุณพ่อและบราเดอร์ก็ใจดีและมีความ เป็นกันเอง ท่านให้การอบรมพวกเรา พัฒนาวิทยาลัยให้ก้าวหน้าและสร้าง บรรยากาศที่ดีในการเรียน เวลานี้ผมเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 แล้ว 40

July - August 2018

ผมได้พัฒนาตนเองในหลายด้าน เช่น ด้านการเรียน ด้าน ดนตรี ด้านกีฬาและด้านระเบียบวินัย” ไม่เพียงแค่การอบรมด้านวิชาความรู้และการฝึก ทักษะด้านวิชาชีพให้กับนักเรียนเท่านั้น ทางโรงเรียนได้ ให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษกับการอบรมด้านความเชื่อและ คุณธรรมด้วย คุณพ่ออธิการบอกกับเราว่านักเรียนคาทอลิก จะเรียนค�ำสอนกับสมาชิกซาเลเซียนและกับคุณครูคาทอลิก และจะมีโอกาสร่วมมิสซาในวันศุกร์ต้นเดือนและทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนเพื่อระลึกถึงแม่พระองค์อุปถัมภ์ โดยก่อนมิสซา จะมีวจนพิธีกรรมรับศีลอภัยบาป ส่วนวันคริสต์มาสและวัน ฉลองพ่อบอสโกก็จะมีมิสซาส�ำหรับนักเรียนและคณะครูทุก คนในสถาบัน นอกนั้นยังมีกิจกรรมการอบรมนักเรียนเป็น ระดับชั้นทุกปีเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งปกติเราจะจัดนอกสถานที่ โดยมีหัวข้อการอบรมที่หลากหลาย ฆราวาสผู้ร่วมพันธกิจซาเลเซียน นอกจากบรรดาซาเลเซียนที่ท�ำงานอุทิศตนเพื่อ บรรดานักเรียนทุกคนแล้ว ยังมีคุณครูซึ่งเป็นฆราวาสที่ร่วม พันธกิจกับซาเลเซียนด้วย ปัจจุบันมีคุณครูทั้งสิ้น 80 คน โดยเป็นคุณครูที่นับถือศาสนาพุทธจ�ำนวน 49 คน คุณครู คาทอลิก 30 คนและคุณครูอิสลาม 1 คน คุณครูทุกท่าน ภูมิใจที่ได้ท�ำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการอบรมนักเรียนที่นี่ มาสเตอร์เกรียงศักดิ์ ร�ำพรรณ์ อายุ 54 ปี เป็น คาทอลิก สอนวิชาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า และเครื่องมือวัดไฟฟ้า กล่าวถึง ความรู้สึกในการเป็นเป็นครูสอน ที่นี่ว่า “ผมเป็นศิษย์เก่าและภูมิใจ ที่ได้กลับมาเป็นครูสอนที่นี่เพื่อ ตอบแทนโรงเรียน ผมอยากมอบ โอกาสเหมือนที่ผมได้รับนี้ให้กับ นักเรียนรุ่นน้องด้วย” มาสเตอร์เล่าให้เราฟังว่า “ผมได้รับ โอกาสให้เข้ามาเรียนที่นี่ในระดับ ปวช.ซึ่งในเวลานั้นผมมีอายุ 20 ปี จากนั้นผมก็ได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับ ปวส. อีก 3 ปี เมื่อเรียนจบแล้วคณะผู้ใหญ่ในสมัยนั้นยังให้โอกาสผมใน การศึกษาต่อระดับปริญญาตรี, ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ครู และระดับปริญญาโทโดยให้ยืมทุนในการศึกษา ผมรู้สึกว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวซาเลเซียน และคิดเสมอว่า ผมเป็นน้องของคุณพ่อบอสโกที่ท�ำงานเพื่อเยาวชน” และเมื่อ พูดถึงความประทับใจในการท�ำหน้าที่ครู (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ถึงปัจจุบัน) มาสเตอร์บอกเราว่า “การเป็นครูที่นี่ ไม่เหมือน


dbMagazine กับการเป็นครูในโรงเรียนทั่วไป โดยปกติแล้วโรงเรียนทั่วไป คุณครูจะสอนตามตารางเมื่อหมดเวลาก็ออกจากห้อง ตอน เย็นก็กลับบ้าน แต่ครูของวิทยาลัยดอนบอสโก หลังจากสอน ในห้องเรียนแล้วยังต้องช่วยนักเรียนให้ท�ำงานได้ด้วย เวลา พักคุณครูก็จะอยู่กับนักเรียน เล่นและพูดคุยกับพวกเขา ท�ำตัว เป็นเหมือนเพื่อน ท�ำให้รู้จักชีวิตของพวกเขาและพร้อมจะให้ ความช่วยเหลือพวกเขาได้ 24 ชั่วโมง...” จิตตารมณ์ซาเลเซียนได้ซึมซับเข้าไปในชีวิตของ คุณครูและถูกถ่ายทอดออกมาในการปฏิบัติคุณครูไม่ได้ท�ำ หน้าที่เพียงแค่การสอนเท่านั้นแต่ยังเป็นทั้งพี่และเพื่อนให้กับ นักเรียนด้วยซึ่งนักเรียนสามารถสัมผัสได้ถึงการอุทิศตนและ ความรักที่คุณครูมีต่อพวกเขา จ๊อบ - นรเศรษฐ์ มณีศรี อายุ 17 ปี นักเรียน ชั้น ปวช. ปีที่ 3 สาขาวิชาช่างไฟ ได้ สะท้อนความรู้สึกของตนที่มีต่อคุณครู ในวิทยาลัยว่า “มาสเตอร์ที่นี่มีความ เป็นกันเอง เอาใจใส่ดูแลผมและ เพื่อนๆ เหมือนเป็นพี่ของผม พวกเรา สามารถปรึกษามาสเตอร์ได้ทุกเรื่องไม่ ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนและเรื่องส่วน ตัว” เช่นเดียวกับ นายปริญญา เหมมณี (แบล็ค) อายุ 17 ปี ศาสนาพุทธ ชั้น ปวช.3 สาขาวิชา ช่างกลโรงงาน ที่บอกถึงความประทับ ใจในตัวคุณครูให้ฟังว่า “เวลาที่ผมมี ปัญหา มาสเตอร์ก็ให้ค�ำปรึกษาที่ดีกับ ผมและช่วยตักเตือนเรื่องความประพฤติ และเรื่องระเบียบวินัยท�ำให้ชีวิตของผม ดีขึ้น” สถาบันสร้างคนและอนาคต จากสถิติของโรงเรียนท�ำให้เราทราบว่าเป็นเวลา เกือบ 4 ทศวรรษมาแล้ว ที่มีนักเรียนมากกว่า 7,000 คน ที่ ได้ผ่านสถาบันแห่งนี้ ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่นักเรียนที่จบชั้น ปวช. จะเรียนต่อใน ระดับ ปวส. หรือปริญญาตรี ส่วนนักศึกษาปวส. ที่มาเรียน ในภาคบ่ายก็จะท�ำงานไปด้วย เนื่องจากวิทยาลัยสนับสนุน ให้นักศึกษาหารายได้ด้วยตนเอง และเมื่อจบการศึกษาแล้ว นักศึกษาสามารถน�ำวุฒิไปใช้ในการปรับขั้นเงินเดือนหรือ เรียนต่อในระดับที่สูงกว่า ศิษย์เก่าของวิทยาลัยเมื่อจบไปแล้วก็ไปประกอบ อาชีพหลากหลาย เช่น เป็นเจ้าของกิจการ ท�ำงานเป็นเจ้า

หน้าที่ในโรงงานหรือบริษัทต่างๆ เป็นอาจารย์ในโรงเรียนและ มหาวิทยาลัย ท�ำงานการไฟฟ้า รับราชการเป็นทหาร ต�ำรวจ เปิดร้านอาหาร ฯลฯ นอกนั้นยังมีศิษย์เก่าส่วนหนึ่งที่เป็นพระสงฆ์และ นักบวชด้วย เช่น คุณพ่อนพดล ยอแซฟ, คุณพ่อมณฑล โรจน สุทัศน์กุล, ภราดาจิตติ อุปการ เป็นต้น สถาบันแห่งนี้ได้สร้างพลเมืองที่ดีให้กับประเทศชาติ และสร้างศาสนนิกชนที่ดีให้กับสังคมและนี่คือภารกิจของ การกระซิบพระวรสารในหัวใจของเด็กช่างที่วิทยาลัยแห่งนี้ ข่าวดีของพระเจ้าถูกถ่ายทอดผ่านทางชีวิตของซาเลเซียนและ บุคคลากรในโรงเรียน นักเรียนได้สัมผัสถึงการอุทิศตนและ การมอบความรักของพระเจ้าผู้ทรงเป็นบิดาให้กับพวกเขา และพวกเขาจะส่งมอบพระพรเหล่านี้ให้กับบุคคลอื่นรอบ ข้างต่อไป.. db

41

July - August 2018


LECTIO DIVINA By... พระสังฆราชประธาน ศรีดารุณศีล

ผู้ใดมีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับความเมตตา

Lectio : พระเจ้าตรัส 1 ยอห์น 4:7-21 ท่านที่รักทั้งหลายเราจงรักกัน เพราะความรักมาจากพระเจ้าและทุก คนที่มีความรัก ย่อมบังเกิดจากพระเจ้า และรู้จักพระองค์ ผู้ไม่มีความรัก ย่อม ไม่รู้จักพระเจ้าเพราะพระเจ้าทรงเป็น

42

July - August 2018

ความรัก ความรักของพระเจ้าปรากฏให้ เราเห็นดังนี้ คือ พระเจ้าทรงส่งพระบุตร พระองค์เดียวมาในโลก เพื่อเราจะได้มี ชีวิตโดยทางพระบุตรนั้น ความรักอยู่ที่ ว่าพระเจ้าทรงรักเราและทรงส่งพระบุตร ของพระองค์มาเพื่อชดเชยบาปของเรา มิใช่อยู่ที่เรารักพระเจ้า

ท่านที่รักทั้งหลาย ถ้าพระเจ้า ทรงรักเราเช่นนี้ เราก็ควรจะรักกันด้วย ไม่มีผู้ใดเคยเห็นพระเจ้า แต่ถ้าเรารัก กัน พระเจ้าย่อมทรงด�ำรงอยู่ในเรา และความรักของพระองค์ในเราก็จะ สมบูรณ์ เรารู้ว่าเราด�ำรงอยู่ในพระองค์ และพระองค์ทรงด�ำรงอยู่ในเราเพราะ


dbMagazine พระองค์ประทานพระพรของพระจิต เจ้าให้เรานั่นเอง เราเห็นและเราเป็น พยานได้ว่า พระบิดาทรงส่งพระบุตร ของพระองค์มาเป็นพระผู้ไถ่โลก ผู้ใด ยอมรับว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตร ของพระเจ้า พระเจ้าย่อมทรงด�ำรงอยู่ใน เขา และเขาย่อมอยู่ในพระเจ้า เรารู้และ เชื่อในความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา พระเจ้าทรงเป็นความรัก ผู้ใดด�ำรงอยู่ ในความรัก ย่อมด�ำรงอยู่ในพระเจ้า และพระเจ้าย่อมทรงด�ำรงอยู่ในเขา ความรักสมบูรณ์อยู่ในเรา เพื่อให้เรา มีความมั่นใจในวันพิพากษา เพราะ พระองค์ทรงเป็นอย่างไร เราในโลกนี้ ย่อมเป็นอย่างนั้นด้วย ไม่มีความกลัว ในความรัก ความรักที่สมบูรณ์ย่อมขจัด ความกลัวเพราะความกลัว คือความ คาดหมายว่าจะถูกลงโทษ ความรักของ ผู้มีความกลัวจึงยังไม่สมบูรณ์ จงมีความ รักเถิดเพราะพระองค์ทรงรักเราก่อน ถ้า ผู้ใดพูดว่า “ฉันรักพระเจ้า” แต่เกลียด ชังพี่น้องของตน ผู้นั้นย่อมเป็นคนพูด เท็จ เพราะผู้ไม่รักพี่น้องที่เขาแลเห็นได้ ย่อมไม่รักพระเจ้าที่เขาแลเห็นไม่ได้ เรา ได้รับบทบัญญัตินี้จากพระองค์ คือให้ผู้ ที่รักพระเจ้า รักพี่น้องของตนด้วย มัทธิว 18 : 23-34 อาณาจักรสวรรค์เปรียบได้ กับกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงประสงค์ จะตรวจบัญชีหนี้สินของผู้รับใช้ ขณะ ที่ทรงเริ่มตรวจบัญชีนั้น มีผู้น�ำชายผู้ หนึ่งเข้ามา ชายผู้นี้เป็นหนี้อยู่เป็นพัน ล้านบาท เขาไม่มีสิ่งใดจะช�ำระหนี้ได้ กษัตริย์จึงตรัสสั่งให้ขายทั้งตัวเขา บุตร ภรรยาและทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อใช้ หนี้ ผู้รับใช้กราบพระบาททูลอ้อนวอน ว่า ‘ขอทรงพระกรุณาผลัดหนี้ไว้ก่อน เถิด แล้วข้าพเจ้าจะช�ำระหนี้ให้ทั้งหมด’ กษัตริย์ทรงสงสารจึงทรงปล่อยเขาไป และทรงยกหนี้ให้ ขณะที่ผู้รับใช้ออก

ไป ก็พบเพื่อนผู้รับใช้ด้วยกันซึ่งเป็น หนี้เขาอยู่ไม่กี่พันบาท เขาเข้าไปคว้า คอบีบไว้แน่น พูดว่า ‘เจ้าเป็นหนี้ข้า อยู่เท่าไร จงจ่ายให้หมด’ “เพื่อนคน นั้นคุกเข่าลงอ้อนวอนว่า ‘กรุณาผลัด หนี้ไว้ก่อนเถิด แล้วข้าพเจ้าจะช�ำระหนี้ ให้’ แต่เขาไม่ยอมฟัง น�ำลูกหนี้ไปขังไว้ จนกว่าจะช�ำระหนี้ให้หมด เพื่อนผู้รับ ใช้อื่นๆ เห็นดังนั้นต่างสลดใจมาก จึง น�ำความทั้งหมดไปทูลกษัตริย์ พระองค์ จึงทรงเรียกชายผู้นั้นมา ตรัสว่า ‘เจ้า คนสารเลว ข้ายกหนี้สินของเจ้าทั้งหมด เพราะเจ้าขอร้อง เจ้าต้องเมตตาเพื่อน ผู้รับใช้ด้วยกัน เหมือนกับที่ข้าได้เมตตา เจ้ามิใช่หรือ’ กษัตริย์กริ้วมาก ตรัสสั่ง ให้น�ำผู้รับใช้นั้นไปทรมานจนกว่าจะ ช�ำระหนี้หมดสิ้น พระบิดาของเราผู้สถิต ในสวรรค์จะทรงกระท�ำต่อท่านท�ำนอง เดียวกัน ถ้าท่านแต่ละคนไม่ยอมยก โทษให้พี่น้องจากใจจริง” เข้าใจความหมายของพระวาจา บัดนี้ เรามาถึงจุดที่เราต้อง ก้าวออกจากความเมตตาของพระเจ้า และพระคริสตเจ้า และหันมาพิจารณา ความเมตตาของตัวเราเอง เมื่อพระพร กลายเป็นหน้าที่ ศาสนาคริสต์ต่างจาก ศาสนาอื่น หรือปรัชญาทางศาสนา เพราะไม่เริ่มต้นด้วยการบอกประชาชน ว่าเขาต้องท�ำอะไรเพื่อให้ได้รับความ รอดพ้น แต่เริ่มต้นด้วยการบอกว่า พระเจ้าได้ทรงท�ำอะไรมาแล้วเพื่อช่วย ให้เขารอดพ้น ศาสนาคริสต์ไม่ได้เริ่ม ต้นด้วยหน้าที่ แต่ด้วยพระพร หน้าที่ และบทบัญญัติมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แน่นอน แต่มีความส�ำคัญเป็นอันดับ สอง ก่อนจะมีหน้าที่เราได้รับพระพร ก่อนจะท�ำงานมีพระหรรษทาน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวข้อง กับบทบัญญัติข้อแรกและข้อส�ำคัญที่สุด ให้เรารักพระเจ้า จากนั้นให้เรารักเพื่อน

มนุษย์ (ดู ลก 10:27) นักบุญยอห์น ยืนยันว่าเราไม่ใช่ฝ่ายที่รักพระเจ้าก่อน แต่พระเจ้าทรงรักเราก่อน เรารักเพราะ พระองค์ทรงรักเรา (ดู 1 ยน 4:10, 19) เราจะเห็นได้ว่ากรณีของความเมตตา ก็เช่นเดียวกัน ค�ำว่าเมตตาในภาษา ลาติน คือ misericordia มาจากสองค�ำ คือ misereor และ cor แปลว่า “การ มีความสงสารในหัวใจ” ต่อความทุกข์ ทรมานหรือความผิดพลาดของพี่น้อง ชายหญิงของเรา นี่คือวิธีที่พระเจ้าทรง อธิบายความเมตตาของพระองค์ เมื่อ ประชากรของพระองค์หลงออกนอกทาง “ใจของเราปั่นป่วนอยู่ภายใน ความ เอ็นดูของเราก็คุกรุ่นขึ้น” (ฮชย 11:8) 1. ความเมตตาของเรา เป็นเหตุหรือผล ของความเมตตาของพระเจ้า? พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้มีใจ เมตตาย่อมเป็นสุขเพราะเขาจะได้รับ พระเมตตา” (มธ 5:7) และพระองค์ ทรงสอนเราให้ภาวนาว่า “โปรดประ ทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้ อภัยแก่ผู้อื่น” พระองค์ตรัสด้วยว่า “ถ้า ท่านไม่ให้อภัยผู้ท�ำความผิด พระบิดา ของท่านก็จะไม่ประทานอภัยแก่ท่าน เช่นเดียวกัน” (6:15) ประโยคเหล่านี้ สามารถชักน�ำเราให้เชื่อว่าความเมตตา 43

July - August 2018


LECTIO DIVINA By... พระสังฆราชประธาน ศรีดารุณศีล ของพระเจ้าต่อเรานั้น เป็นผลมาจาก ความเมตตาของเราต่อผู้อื่น และเรา จะได้รับพระเมตตาตามสัดส่วนของ ความเมตตาที่เราแสดงต่อผู้อื่นด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง พระหรรษทานและผลงานย่อมจะ พลิกกลับหัว และจะลบล้างลักษณะที่ ให้เปล่าของความเมตตาของพระเจ้า ที่พระองค์ทรงประกาศแก่โมเสสว่า “เราจะโปรดปรานผู้ที่เราต้องการจะ โปรดปราน และเราจะเมตตากรุณาผู้ ที่เราต้องการจะเมตตากรุณา” (อพย 33:19) ดังนั้น เราควรเมตตากรุณา เพราะเรารับความเมตตากรุณามาแล้ว และมิใช่เพื่อให้เราได้รับความเมตตา กรุณา เราจ�ำเป็นต้องมีใจเมตตาต่อผู้ อื่น มิฉะนั้นความเมตตาของพระเจ้า จะไม่มีประสิทธิผลส�ำหรับเรา และจะ ถูกถอนคืนไป พระหรรษทาน “มา ก่อน” เสมอ และท�ำให้เกิดพันธะที่เรา ต้องตอบสนอง นักบุญเปาโลเขียนใน จดหมายถึงชาวโคโลสีว่า “องค์พระผู้ เป็นเจ้าทรงให้อภัยความผิดของท่าน อย่างไร ท่านก็จงให้อภัยแก่เขาอย่าง นั้นเถิด” (3:13) หากว่าความสุขแท้ เกี่ยวกับความเมตตาของพระเจ้าต่อ เรา ดูเหมือนว่าเป็นผลมาจากความ

เมตตาของเราต่อพี่น้องชายหญิงของ เรา ก็เป็นเพราะพระเยซูเจ้าก�ำลังตรัส ถึงความเมตตาจากมุมมองของการ พิพากษาครั้งสุดท้าย (“เขาจะได้รับ พระเมตตา” ในอนาคต) นักบุญยาก อบเขียนว่า “ผู้ใดที่ไม่แสดงความ เมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ จะถูก พิพากษาโดยปราศจากความเมตตา กรุณาเช่นเดียวกัน” (12:1) อุปมาเรื่องผู้รับใช้ไร้เมตตา (มธ 18:23-34) เป็นกุญแจให้เราใช้ ท�ำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ความเมตตาของพระเจ้าและความ เมตตาของเรา เราเห็นจากเรื่อง อุปมานี้ว่ากษัตริย์องค์นี้เป็นฝ่าย ยกหนี้จ�ำนวนมหาศาล (หนึ่งหมื่น

ตะลันต์) ให้แก่ผู้รับใช้ของพระองค์ ความใจกว้างของพระองค์ควรท�ำให้ ผู้รับใช้คนนี้มีใจสงสารลูกหนี้ที่ติดเงิน เขาเพียงหนึ่งร้อยเหรียญ เห็นได้ชัดว่ากษัตริย์ใน เรื่องนี้เป็นตัวแทนของพระเจ้า และ ผู้รับใช้ก็หมายถึงมนุษย์ มนุษย์เป็น หนี้พระองค์ส�ำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะต้องได้รับทุกสิ่งทุกอย่างจาก พระองค์ แต่พระเจ้าไม่ทรงเรียกร้อง สิทธิใดเพื่อพระองค์เอง พระองค์ไม่ ทรงร้องขอสิ่งใดจากประชาชนที่อาจ เป็นผลประโยชน์ต่อพระองค์ ความ เมตตาของพระองค์เป็นของประทาน ที่ให้เปล่าอย่างอุดมบริบูรณ์ โดย ไม่ก�ำหนดเงื่อนไขไว้ล่วงหน้า แม้ว่า ความรักนี้ไม่มีเงื่อนไข แต่จะมีผลตาม มา พระเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์ไม่ เพียงยอมรับความรักแบบให้เปล่าที่ พระองค์ประทานแก่เขาอย่างมากมาย แต่ให้เขายอมให้ความรักนี้มีชีวิตใน ตัวเขา และแทรกเข้าไปในทุกส่วนของ ร่างกายของเขา และนี่คือสิ่งที่ผู้รับใช้ คนแรกในเรื่องอุปมาไม่ยอมท�ำ เขา ยอมรับผลประโยชน์จากของประทาน อันไร้ขอบเขตของนายของเขา แต่เขา ตั้งใจจะเก็บทุกสิ่งนั้นไว้ส�ำหรับตนเอง เขาก�ำลังขัดขวางไม่ให้ความรักไหลล้น ออกมาอย่างเสรี 2. จงเมตตากรุณาเหมือนกับพระบิดา สวรรค์ เหตุใดพระเจ้าจึงทรงก�ำหนด ความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นเช่นนั้น ระหว่างความเมตตาของพระองค์ต่อ เรา และความเมตตาของเราต่อผู้อื่น? พระเยซูเจ้าตรัสกับศิษย์ของพระองค์ ว่า “ให้ท่านรักกัน เรารักท่านทั้ง หลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้น เถิด” (ยน 13:34) และยอห์นยืนยัน

44

July - August 2018


dbMagazine

ว่า “ท่านที่รักทั้งหลาย ถ้าพระเจ้าทรง รักเราเช่นนี้ เราก็ควรจะรักกันด้วย” (1 ยน 4:11) (เขาไม่ได้บอกว่า “เรา ก็ควรตอบแทนด้วยการรักพระองค์ ด้วย”) อาจกล่าวได้ว่าพระเจ้าทรง ห่วงใยความรักของเราต่อเพื่อนมนุษย์ มากกว่าความรักของเราต่อพระองค์ เราสัมผัสได้ด้วยตนเองถึงความแตก ต่างระหว่างความรักของมนุษย์ ที่ไหล วนภายในวงจรปิด และความรักของ พระเจ้า ที่ไหลผ่านวงจรเปิด กฎของ พระเจ้าคือ “เรารักท่าน ดังนั้นท่าน จงรักพี่น้องของท่าน” ท�ำไมจึงเปลี่ยนความรักต่อ พระเจ้าให้กลายเป็นความรักต่อเพื่อน มนุษย์? ค�ำตอบที่ตรงที่สุดคือเรายัง มีชีวิตในเนื้อหนัง ดังนั้นทุกสิ่งจึงต้อง เกิดขึ้นผ่านเนื้อหนัง แม้แต่ความรักก็ ต้องมีตัวตน เพื่อให้เป็นความรักที่แท้ จริง ไม่สลายกลายเป็นความว่างเปล่า เมื่อเราไม่สามารถรักพระเจ้าอย่างเป็น รูปธรรมแบบนี้ทั้งด้วยวิญญาณและ ร่างกาย เพราะเรามองไม่เห็นพระองค์ เราจึงได้รับค�ำแนะน�ำให้รักเพื่อน มนุษย์ที่เรามองเห็นได้ (1 ยน 4:20) เพื่อนมนุษย์ของเราคือพระพักตร์ของ พระเจ้าที่เรามองเห็นได้ นักบุญแคเธอรีนแห่ง

ซีเอนนา ระบุอีกเหตุผลหนึ่งส�ำหรับ การเปลี่ยนวิถีความรักเช่นนี้ เธอ รายงานว่าพระเจ้าตรัสกับเธอว่าเรา ต้องการให้ลูกรักเราด้วยความรัก เดียวกับที่เรารัก แต่ลูกท�ำเช่นนี้ไม่ได้ เพราะเรารักลูกโดยที่เราไม่ได้รับความ รัก ความรักทั้งหมดที่ลูกมีต่อเราเป็น ความรักที่ลูกเป็นหนี้เรา ดังนั้นการที่ ลูกรักเราจึงไม่ใช่พระหรรษทาน แต่ เพราะลูกสมควรรักเรา ... เรารักลูก ด้วยพระหรรษทานและไม่ใช่เพราะเรา เป็นหนี้ลูก ดังนั้น ลูกจึงไม่สามารถรัก ตอบเราด้วยความรักที่เราต้องการจาก ลูก และเราได้จัดให้ลูกอยู่ท่ามกลาง เพื่อนมนุษย์ เพื่อให้ลูกปฏิบัติต่อเขา สิ่งที่ลูกไม่สามารถปฏิบัติต่อเราได้ คือ 45

ให้ลูกรักเพื่อนมนุษย์โดยไม่คาดหวัง สิ่งตอบแทนจากเขา และสิ่งใดที่ลูกท�ำ ต่อเขา เราถือว่าลูกได้ท�ำต่อเรา เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ที่เป็นคน บาปอย่างเราไม่สามารถรักพระเจ้า ด้วยความรัก “เปี่ยมเมตตา” เราไม่ สามารถเมตตาพระเจ้าได้ ดังนั้นความ รักเปี่ยมเมตตานั้นจึงถูกมอบให้แก่ เพื่อนบ้านของเรา ช่วยให้เราปฏิบัติ ตามค�ำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ดูเหมือนว่า เราไม่มีทางท�ำได้ คือ “จงเป็นผู้เมตตา กรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระ เมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36) ช่วยให้ เราท�ำเพื่อผู้อื่นอย่างที่พระเจ้าทรงท�ำ เพื่อเรา และพระเจ้าทรงถือว่า–นี่คือจุด เด่นอีกประการหนึ่งของความเมตตา July - August 2018


LECTIO DIVINA By... พระสังฆราชประธาน ศรีดารุณศีล อันไร้ขอบเขตของพระองค์ – เราท�ำเช่น นั้นเพื่อพระองค์ “ท่านก็ท�ำสิ่งนั้นต่อ เรา” (มธ 25:40) ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ – ต่างจากความเมตตาของพระเจ้าต่อ เรา – ไม่ใช่ของขวัญที่เรามอบให้เขา แต่เป็นหน้าที่เราเป็นหนี้พวกเขา “อย่า เป็นหนี้ผู้ใด นอกจากเป็นหนี้ความ รักซึ่งกันและกัน” (รม13:8) เหตุใด จึงเป็นหนี้ เราได้รับความรักมากมาย มหาศาลเพื่อให้เราแบ่งปันให้แก่พี่น้อง ชายหญิงของเรา แต่ไม่ว่าเราจะรักพี่ น้องของเรามากเพียงใด เราไม่มีวัน แสดงความเมตตาต่อเขาได้เท่ากับความ เมตตาที่เราได้รับจากพระเจ้า ดังนั้น เราจึงเป็นหนี้ความรักต่อพี่น้องของเรา พระเจ้าทรงเมตตาเราอย่างไร้ขอบเขต ด้วยการประทานพระเยซูเจ้าพระบุตร ของพระองค์แก่เรา และพระองค์ทรง ขอให้เราไม่เก็บพระองค์ไว้ส�ำหรับตัว เราเท่านั้น แต่ให้แบ่งปันพระองค์กับ ผู้อื่น พระองค์ทรงขอให้น�้ำที่พระองค์ ประทานแก่เรากลายเป็น “ธารน�้ำใน ตัวเราที่ไหลรินเพื่อชีวิตนิรันดร” (ยน 4:14) พี่น้องชายหญิงที่มาเคาะประตู ของเราจึงเป็นเจ้าหนี้ที่มาขอให้เราใช้ หนี้ แม้ว่าคุณไม่สามารถให้ทุกสิ่งที่เขา ขอจากคุณได้เสมอไป แต่อย่าไล่เขาไป โดยไม่มอบสิ่งที่เราเป็นหนี้เขาเลย

46

July - August 2018

Meditatio : มองชีวิตของเราโดยมี พระวาจาน�ำทาง ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้เรารัก เพื่อนมนุษย์ด้วยความรักภายใน ไม่ใช่ เพราะพระเจ้าทรงบัญชาให้เรารักพวก เขา และไม่ใช่เพราะพระเจ้าทรงรักเขา ดังนั้นเขาจึงสมควรได้รับความรักจาก เรา แต่เป็นเพราะพระเจ้าทรงใส่ความ รักของพระองค์ไว้ในตัวเรา เพราะ พระองค์ทรงมอบหมายความรักนี้ให้ เราเพื่อใช้รักผู้อื่น นี่คือคุณธรรมทาง เทววิทยาของความรักเมตตาซึ่งเราได้ รับจากพระเจ้า และเป็นการมีส่วนร่วม ในความรักของพระเจ้า ท�ำให้เรากลาย เป็นผู้มีส่วนร่วมในธรรมชาติพระเจ้า

ธรรมชาตินั้นคือความรัก ดังนั้น เราจึง มีสมรรถภาพใหม่ที่จะรักอย่างที่พระเจ้า ทรงรัก 3. ความเมตตา - จุดที่ทุก ศาสนามาพบกัน บางที ความเมตตา อาจเป็นจุดตัดที่ชัดเจนที่สุดระหว่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ ความ เมตตาต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในศาสนา พุทธ ถือว่าเป็นความดีที่เป็นขั้นหนึ่ง ของ “มรรคแปด” ที่น�ำบุคคลหนึ่งไป สู่ความตื่นรู้ แต่โลกของสองศาสนานี้มี แรงจูงใจต่างกัน ส�ำหรับศาสนาคริสต์ เราเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาตามภาพ ลักษณ์ของพระเจ้า ผู้ทรงเป็น “พระ บิดาผู้ทรงพระกรุณา และพระเจ้าผู้ ประทานก�ำลังใจทุกประการ” (2 คร 1:3) ทรงเป็นพระเจ้าผู้ “ทรงรักทุก สิ่งที่ด�ำรงอยู่ และไม่ทรงชิงชังสิ่งใดที่ พระองค์ได้ทรงสร้าง” (ปชญ 11:24) ส่วนศาสนาพุทธไม่ยอมรับ ว่ามีพระเจ้าและพระผู้สร้าง แต่เชื่อว่า มนุษย์ควรเมตตากรุณาเพราะความ เป็นหนึ่งเดียวกันและความรับผิดชอบ ที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย แต่ความแตกต่างนี้ไม่ขัดขวาง เราไม่ให้ท�ำงานร่วมกัน โดยเฉพาะ ในวันนี้เมื่อชีวิตถูกคุกคามจากความ รุนแรง และเมื่อความสัมพันธ์ต่างๆ มี แต่ความขมขื่นและไร้ความปรานี เรา คริสตชนสามารถเรียนรู้ได้มากจาก หนังสือของดาไลลามะองค์ปัจจุบัน ผู้ เสนอ “จริยธรรมแห่งสันติภาพและ ความเห็นใจ” ส�ำหรับสหัสวรรษที่สาม ทุกหน้าของหนังสือของท่านแสดงความ เป็นหนึ่งเดียวและความอ่อนโยนต่อ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และเสนอด้วยว่าจะ ถ่ายโอนวิสัยทัศน์นี้ไปสู่แวดวงการเมือง เศรษฐกิจ และมิติอื่นๆ ของชีวิตได้ อย่างไร ขณะที่ความเมตตาที่เป็น ทัศนคติและคุณธรรมของมนุษย์ น�ำ


dbMagazine

ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธมา รวมกันได้บ้าง แต่ความเมตตาที่เป็น คุณลักษณะของพระเจ้า น�ำเราเข้าไป ใกล้ศาสนายูดายและอิสลาม ซึ่งเป็นอีก สองศาสนาใหญ่ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียง หนึ่งเดียว พระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงอธิบายเรื่องนี้ในสมณสาสน์ส�ำหรับ ปีศักดิ์สิทธิ์ เมื่อพระองค์ทรงเขียนว่า มีมิติหนึ่งของความเมตตาที่ก้าวข้าม ขอบเขตของพระศาสนจักรและเชื่อม โยงเราเข้ากับศาสนายูดายและอิสลาม ทั้งสองศาสนานี้ถือว่าความเมตตา เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่ส�ำคัญที่สุดของ พระเจ้า ชาวอิสราเอลเป็นชนชาติแรก ที่ได้รับการเผยแสดงนี้ ซึ่งสืบเนื่องต่อ มาในประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งของ ความอุดมบริบูรณ์ที่ไม่มีวันหมดสิ้น ที่ มีจุดมุ่งหมายให้แบ่งปันกับมนุษยชาติ ทั้งมวล... ในบรรดาพระนามอันทรง เกียรติที่ศาสนอิสลามถือว่าเป็นของพระ ผู้สร้าง พระนามหนึ่งคือ “ผู้ทรงความ เมตตาและกรุณา” บ่อยครั้งที่ค�ำวิงวอน นี้ติดอยู่ที่ริมฝีปากของชาวมุสลิม ผู้รู้สึก ว่าความเมตตาอยู่เคียงข้างและค�้ำจุน เขาในความอ่อนแอทุกวัน พวกเขา เชื่อเช่นกันว่าไม่มีใครสามารถก�ำหนด ขอบเขตให้ความเมตตาของพระเจ้า เพราะประตูของความเมตตาจะเปิดอยู่ เสมอ 4. น�้ำมันที่ไหลลงมาตาม เคราของอาโรน นักบุญออกัสติน กล่าว

ว่า “เราเป็นมนุษย์ที่รู้จักตาย บอบบาง อ่อนแอ ที่น�ำภาชนะดินเผาติดตัวเราไป ด้วย ซึ่งไม่เหลือที่ว่างให้กันและกันมาก นัก” เราไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่าง กลมเกลียว ไม่ว่าในครอบครัวหรือใน หมู่คณะประเภทใดโดยไม่ให้อภัยกัน และเมตตากันและกัน เราต้องให้อภัย กัน และถ้าท�ำได้ ต้องแก้ต่างให้ผู้อื่น แทนที่จะประณามเขา เราควรคิดว่า “ผู้ที่แก้ต่างให้ตนเอง พระเจ้าจะทรง กล่าวหาเขา ผู้ที่กล่าวหาตนเอง พระเจ้า จะทรงแก้ต่างให้เขา” แต่ส�ำหรับผู้อื่น เราควรคิดว่า “ผู้ที่แก้ต่างให้พี่น้องของ เขา พระเจ้าจะทรงแก้ต่างให้เขา ผู้ที่ กล่าวหาพี่น้องของเขา พระเจ้าจะทรง กล่าวหาเขา” ส�ำหรับชุมชนหนึ่ง การให้ อภัยจะท�ำหน้าที่เหมือนน�้ำมันที่หล่อ ลื่นเครื่องยนต์ ถ้าใครออกเดินทาง โดยรถยนต์โดยไม่มีน�้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์แม้แต่หยดเดียว รถยนต์ของ เขาจะลุกเป็นไฟภายในไม่กี่นาที การ ให้อภัยช่วยลดแรงเสียดทานได้เหมือน กับน�้ำมัน การเมตตาต่อกันและกันควร เป็นอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติที่สุดส�ำหรับ มนุษย์ เราคงต้องปิดหูปิดตาต่อเสียง ร้องแห่งความสิ้นหวังที่ดังมาจากทุก ทิศทาง ถ้าเราจะไม่มีความรู้สึกสงสาร ใครเลยแม้แต่น้อย มีเพลงสดุดีบทหนึ่ง ที่สรรเสริญความดีและความยินดีจาก การอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีกลมเกลียว

โดยบอกว่า “เป็นเสมือนน�้ำมันบริสุทธิ์ บนศีรษะ” ที่ไหลลงมาตามหนวดเครา และเสื้อยาวของอาโรน (ดู สดด 133:2) อาโรนของเรา มหาสมณะของเราคือ พระคริสตเจ้า ความเมตตาและการให้ อภัยคือน�้ำมันที่ไหลลงมาจาก “พระ เศียร” ที่ถูกยกขึ้นบนไม้กางเขน และ จากนั้นก็ไหลลงมาตามร่างกายของ พระศาสนจักร จนถึงชายเสื้อ ไปสู่ทุก คนที่ด�ำเนินชีวิตตามชายขอบของพระ ศาสนจักร ในทางปฏิบัติ ขอให้เรา พยายามนึกว่า ในบรรดาความสัมพันธ์ ต่างๆ ของเรา มีความสัมพันธ์ใดบ้าง ที่ดูเหมือนว่าต้องการน�้ำมันแห่งความ เมตตาและการคืนดี และขอให้หยอด น�้ำมันลงในความสัมพันธ์นั้นให้ชุ่มโชก เพลงสดุดีลง ท้ายด้วยการกล่าวว่า ใน ที่ใดที่ประชาชนด�ำเนินชีวิตด้วยการ ให้อภัยกันและเมตตาต่อกัน “ณ ที่นั้น พระเจ้าประทานพระพรและชีวิตตลอด ไป” (สดด 133:3) Oratio (ช่วงสนทนากับพระเจ้าหลัง จากที่ได้อ่านพระวาจาและอ่านชีวิต ของเราแล้ว) Contemplatio (อยู่กับพระวาจา) “จงมีความรักเถิดเพราะ พระองค์ทรงรักเราก่อนถ้าผู้ใดพูดว่า “ฉันรักพระเจ้า” แต่เกลียดชังพี่น้อง ของตน ผู้นั้นย่อมเป็นคนพูดเท็จ เพราะ ผู้ไม่รักพี่น้องที่เขาแลเห็นได้ ย่อมไม่ รักพระเจ้าที่เขาแลเห็นไม่ได้ เราได้รับ บทบัญญัตินี้จากพระองค์ คือให้ผู้ที่รัก พระเจ้า รักพี่น้องของตนด้วย” (1 ยอห์น 4:19-21) Communicatio (น�ำพระวาจาไป ปฏิบัติ) 47

July - August 2018


ครอบครัวซาเลเซียน By... อัลปิโน

ความสุข

ของซาเลเซียนผู้ร่วมงาน

กิจการของคุณพ่อบอสโกได้ เป็นแรงบันดาลใจให้แก่บุคคลมากมาย ในการที่จะท�ำงานเพื่อเยาวชน ท่านไม่ เพียงก่อตั้งคณะซาเลเซียนชาย-หญิง และคณะซาเลเซียนผู้ร่วมงานเท่านั้น แต่ยังมีคณะและกลุ่มต่างๆ ที่ได้ถือ ก�ำเนิดขึ้นภายหลังโดยยึดจิตตารมณ์ ของคุณพ่อบอสโกเป็นหลักในการ ด�ำเนินชีวิต คณะและกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ รวมเรียกว่า “ครอบครัวซาเลเซียน” ซึ่ง เป็นดังต้นไม้ที่แตกหน่อ ออกใบและ แผ่กิ่งก้าน ในปัจจุบันนี้มีจ�ำนวนทั้ง สิ้น 31 กลุ่ม คณะซาเลเซียนผู้ร่วมงานเป็น หนึ่งในสมาชิกของครอบครัวซาเลเซียน ที่ประกอบไปด้วย คริสตชนฆราวาส พระสงฆ์ หรือนักบวชผู้มีความรัก ความ ศรัทธา และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนัก บวชซาเลเซียนในการช่วยเหลือเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเยาวชนที่ ยากจนและถูกทอดทิ้ง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1876 โดยคุณพ่อ บอสโก ที่กรุงตุริน ประเทศอิตาลี คณะ ซาเลเซียนผู้ร่วมงานนี้เป็นคณะหลัก 48

July - August 2018

“ผมเคยท�ำหน้าที่ เป็นผู้ประสานงานระดับบ้าน และผู้ประสานงานระดับแขวง ปัจจุบันนี้ ผมเป็นคณะกรรมการ ของกลุ่มและท�ำหน้าที่ เป็นผู้รับผิดชอบด้านการอบรม พร้อมกับความรับผิดชอบ ที่หนักและยิ่งใหญ่นี้ ผมเชื่อมั่นว่า พระเจ้าได้ทรงประทาน พระพรมากมาย ให้ผมอยู่ตลอดเวลา”

คณะหนึ่งของครอบครัวซาเลเซียน คณะ นี้ร่วมกับคณะซาเลเซียนและคณะธิดา แม่พระองค์อุปถัมภ์ เป็นแกนน�ำของ กระแสเรียกซาเลเซียน และมีความรับ ผิดชอบร่วมกันในการสานต่อโครงการ ของพ่อบอสโกในโลกปัจจุบัน คุณธีรวงศ์ อาภรณ์รัตน์ หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า “มาสเตอร์ ป้อง” สมาชิกคณะซาเลเซียนผู้ร่วม งานสังกัดหมู่คณะดอนบอสโก บ้านโป่ง และเป็นผู้รับผิดชอบการอบรมระดับ แขวงในประเทศไทย ได้เล่าถึงแรง บันดาลใจในการเป็นซาเลเซียนผู้ร่วม งานของตนว่า “แรงบันดาลใจที่ท�ำให้ผมติด ตามคุณพ่อบอสโกในฐานะซาเลเซียนผู้ ร่วมงานก็คือการจาริกพระธาตุของคุณ พ่อบอสโกที่มาเยือนประเทศไทยในปี ค.ศ.2010 การมาของพระธาตุนี้ท�ำให้ ความรักในใจของผมที่มีต่อคุณพ่อบอส โกผลักดันให้ผมท�ำอะไรบางอย่างเพื่อ เป็นของขวัญให้กับท่านซึ่งส�ำหรับผม แล้วมันคือของขวัญที่จะไม่มีวันเลือน หายไปนั่นคือ การมอบค�ำสัญญาที่จะ


dbMagazine เป็นลูกของท่านในฐานะเป็นซาเลเซียน ผู้ร่วมงาน” คุณธีรวงศ์เล่าให้เราฟังต่อว่า “ผมเคยท�ำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ระดับบ้านและผู้ประสานงานระดับแขวง ปัจจุบันนี้ผมเป็นคณะกรรมการของกลุ่ม และท�ำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านการ อบรม พร้อมกับความรับผิดชอบที่หนัก และยิ่งใหญ่นี้ ผมเชื่อมั่นว่าพระเจ้าได้ ทรงประทานพระพรมากมายให้ผมอยู่ ตลอดเวลา” และเมื่อพูดถึงเรื่องของความ สุขและความประทับใจในชีวิตของการ เป็นซาเลเซียนผู้ร่วมงาน คุณธีรวงศ์ แบ่งปันกับเราว่า “ผมมีความประทับ ใจที่ได้มีส่วนร่วมในการแปลเอกสาร

ก็คือ การได้ไปร่วมการประชุมสมัชชา ระดับภาคที่ประเทศญี่ปุ่น ประสบการณ์ นี้ท�ำให้ผมเห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียว ของบรรดาซาเลเซียนผู้ร่วมงาน เพราะ ถึงแม้ว่าเราจะมาจากหลายเชื้อชาติ แต่ เราก็เป็นหนึ่งเดียวด้วยจิตตารมณ์และ พระพรพิเศษซาเลเซียน ผมมั่นใจว่าซา เลเซียนผู้ร่วมงานเป็นซาเลเซียนโดย สายเลือดและเป็นทายาทแห่งพระพร พิเศษ เราแต่ละคนมีหน้าที่และความ รับผิดชอบที่จะท�ำให้พระพรพิเศษนี้ เพิ่มพูนขึ้นตามสถานะของเราในโลก เพื่อส่งต่อพลังแห่งพระจิตเจ้านี้ถึง บรรดาเยาวชนที่พระเจ้าทรงมอบให้ เราอยู่เคียงข้างด้วยแบบอย่างชีวิตของ เรา ยิ่งถ้าเราตอบสนองต่อพระพรของ “ผมมีความประทับใจที่ได้มี ส่วนร่วมในการแปลเอกสาร ‘โครงการชีวิตเผยแผ่ข่าวดี’ เอกสารดังกล่าว ช่วยผมให้รู้จักและเข้าใจ คุณพ่อบอสโกลึ้กซึ้งมากขึ้น ทั้งในเรื่องจิตตารมณ์ ความสัมพันธ์กับครอบครัว ซาเลเซียน การเจริญชีวิตเป็นพยานใน โลก ความศรัทธาต่อ พระมารดาองค์อุปถัมภ์

‘โครงการชีวิตเผยแผ่ข่าวดี’ เอกสาร ดังกล่าวช่วยผมให้รู้จักและเข้าใจคุณ พ่อบอสโกลึ้กซึ้งมากขึ้น ทั้งในเรื่อง จิตตารมณ์ ความสัมพันธ์กับครอบครัว ซาเลเซียน การเจริญชีวิตเป็นพยานใน โลก ความศรัทธาต่อพระมารดาองค์ อุปถัมภ์ นักบุญยอแซฟ นักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์ และบรรดานักบุญซาเลเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อฟิลิป รีนัลดี ซึ่งผมยกย่องท่านให้เป็นบิดาฝ่ายจิตที่ ผมรักเป็นพิเศษ อีกความประทับใจหนึ่งของผม

พระเจ้านี้ด้วยความรู้ตัวและด้วยความ รู้คุณมากเท่าใด พระพรนี้ก็จะไปสู่ บรรดาเยาวชนมากเท่านั้น” คุณธีรวงศ์กล่าวทิ้งท้ายไว้ ว่า “ผมมีความสุขที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในความฝันของคุณพ่อบอสโกที่จะช่วย เยาวชนให้รอด ผมอยากจะรู้จักและ เข้าใจชีวิตของท่านมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่ง ส�ำคัญในชีวิตของซาเลเซียนผู้ร่วมงาน ไม่ใช่เพียงเรื่องการท�ำงานหรือรูปแบบ ของงานที่ปรากฏภายนอกเท่านั้น แต่ ต้องให้ความส�ำคัญกับชีวิตจิตด้วย ดัง

ที่คุณพ่อบอสโกเน้นย�้ำว่า ‘หากเรา ต้องการให้พระเยซูเจ้าเจริญชีวิตในเรา ด้วยพระหรรษทานของพระองค์ เราต้อง เพาะเลี้ยงชีวิตภายในของเรา’ ผมเชื่อ ว่าหากเราทุกคนปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำ ดังกล่าวนี้ เราจะเป็นสมาชิกซาเลเซียน ผู้ร่วมงานที่ศักดิ์สิทธิ์และจะมีส่วนร่วม ในการท�ำให้ความฝันของคุณพ่อบอสโก เป็นจริง”.. db

49

July - August 2018


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน... By... Andy

คุณพ่อทิตัส เซแมน บุญราศีซาเลเซียน

คุณพ่อทิตัส เซแมน สงฆ์ซาเลเซียน มรณสักขีชาวสโลวัก เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1915 ที่ Vajnory เมืองบราติสลาวา ประเทศ สโลวาเกีย ท่านมีความปรารถนาตั้งแต่ วัยเด็กที่จะเป็นพระสงฆ์ ต่อมาท่านได้ เข้าบ้านเณรและเรียนเทวศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยเกรโกเรียน กรุงโรมและที่ กีเอรี กรุงตุริน ในยามว่างจากการเรียน ท่านใช้เวลาในการท�ำงานอภิบาลใน ศูนย์เยาวชน ท่านได้รับศีลบวชเป็นพระ สงฆ์ที่ตุรินปี ค.ศ.1940 เดือนเมษายน ปี ค.ศ.1950 คอมมิวนิสต์สโลวักได้ยึดครองประเทศ และมีการเบียดเบียนศาสนา บรรดา พระสงฆ์นักบวชหลายคนถูกจับไปยัง ค่ายกักกัน และมีสามเณรหลายคนที่ เตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ไม่สามารถเรียน ต่อได้ ด้วยเหตุนี้คุณพ่อเซแมนจึงตัดสิน ใจรับหน้าที่ในการจัดส่งสามเณรให้ เดินทางไปเรียนที่ตุรินอย่างลับๆ ซึ่งมี ความเสี่ยงอย่างมาก ท่านได้ท�ำการส่ง สามเณรซาเลเซียนไป 2 ครั้ง จ�ำนวน 50

July - August 2018

มากกว่า 60 คน ในครั้งที่ 3 ท่านถูก จับได้และถูกส่งเข้าคุกร่วมกับนักโทษ คนอื่นๆ ท่านเผชิญกับการเบียดเบียน ที่รุนแรงโดยท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นคน ทรยศต่อประเทศชาติและเป็นสายลับ ให้กับวาติกัน

และการเป็นมรณสักขีแพร่ไปในหมู่ คริสตชน ขบวนการเพื่อขอสถาปนา ท่านเป็นบุญราศีได้เริม่ ขึน้ ทีบ่ ราติสลาวา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010 และ สิ้นสุดขบวนการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.2012

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 ท่านถูกตัดสินให้จ�ำคุก 25 ปี ท่านมีชีวิตร่วมทุกข์ทรมานกับพระเยซู เจ้าบนเขากัลวารีโอด้วยจิตตารมณ์แห่ง ความเสียสละ ท่านกล่าวว่า “หากผม จะต้องตายผมก็ไม่เสียดายชีวิต เพราะ ผมรู้ว่าจะมีสามเณรอย่างน้อยสักหนึ่ง คนในบรรดาผู้ที่ผมช่วยเหลือจะได้เป็น พระสงฆ์แทนที่ผม” ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.1964 ท่านได้รับการปล่อย ตัวหลังจากติดคุกนาน 12 ปี ท่านได้รับ ความทุกข์ทรมานในคุกและได้สิ้นใจ 5 ปีหลังจากนั้น คือในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.1969 ชื่อเสียงแห่งความศักดิ์สิทธิ์

การสถาปนาท่านเป็นบุญราศี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ.2017 ที่บราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย โดย พระคาร์ดินัลอันเจโล อมาโต, ซดบ เป็น ประธานและเป็นผู้แทนของสมเด็จพระ สันตะปาปา พระศาสนจักรและครอบครัว ซาเลเซียนขอบคุณพระเจ้าส�ำหรับพระ พรยิ่งใหญ่ของบุญราศีทิตัส เซแมน ซึ่ง ด�ำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ในกระแส เรียกและเป็นพยานด้วยความกล้าหาญ ในเวลาแห่งการเบียดเบียน.. db


dbMagazine

เรื่องมีอยู่ว่า... By... Andy

เรา “สอน” เรื่องการให้อภัย แต่เด็กๆ “ให้ตัวอย่าง” แก่เรา ความมหัศจรรย์ของเด็กๆ ก็คือการที่พวกเขาลืมความผิดได้อย่าง รวดเร็ว หลายครั้งเรา "สอน” เรื่องการให้อภัย แต่เด็กๆ “ให้ตัวอย่าง” แก่เรา คุณแม่คนหนึ่งเล่าเรื่องลูกชายให้ผมฟังว่า โดยปกติ ลูกชายเป็นเด็กเรียบร้อย แต่วันหนึ่งเขาทะเลาะกับเพื่อน ที่เล่นด้วยกันที่โรงเรียน ปรากฏว่าเขาหัวแตก หลังจากท�ำแผล เรียบร้อยแล้วคุณครูก็น�ำลูกมาส่งที่บ้าน เด็กที่ท�ำให้ลูกชายของเขาหัวแตกก็คือเพื่อนข้างบ้านซึ่งอยู่ในซอยเดียวกัน วันต่อมาซึ่งเป็นวันหยุด ลูกชายมาขออนุญาตจากแม่เพื่อไปเล่นฟุตบอลกับเพื่อนคนนั้นซึ่งท�ำให้เขาหัวแตก แม่จึงพูดห้ามลูกว่า “ท�ำไมลูกยังไปเล่นกับเขาอีก ลูกจ�ำไม่ได้หรือว่าเมื่อวานเขาท�ำให้ลูกหัวแตก?” “แม่ครับ เรื่องนี้มันเกิดขึ้นเมื่อวาน และเมื่อวานมันก็ผ่านไปแล้ว เมื่อวานนี้มันไม่มีอีกแล้วครับ” คุณครูประถมท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า ในชั้นเรียนของเขามีเด็กนักเรียนซึ่งเกเรมากคนหนึ่ง วันหนึ่งเขาท�ำให้คุณครูโมโหจนหมดความอดทน คุณครูวิ่งไล่ตามเด็กคนนั้น แต่เด็กได้วิ่งหนีกลับบ้าน คุณครูจึงคิดในใจว่า เขาจะจัดการกับเด็กคนนี้ในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับจะลงโทษเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับคนอื่น เช้าวันต่อมา เด็กนั้นมาถึงโรงเรียน และเดินเข้ามาในห้อง เมื่อเขาเห็นคุณครูก็เข้ามาสวัสดีเหมือนทุกวัน ประหนึ่งว่าเขาจ�ำอะไรที่เกิดขึ้นเมื่อวานไม่ได้ เหตุการณ์นี้ท�ำให้คุณครูได้รับข้อคิด และได้แบ่งปันให้ผมฟังว่า พฤติกรรมของเด็กคนนี้ ท�ำให้คุณครูเข้าใจว่า “การให้อภัยคืออะไร?” การให้อภัยก็คือ “การลืม” ส�ำหรับเด็กคนนี้ก็เช่นกัน เมื่อวานนี้มันผ่านไปแล้ว และ “เมื่อวานนี้” มันไม่มีอีกแล้ว ผมมั่นใจว่า หลายคนอาจไม่รู้ว่า ในบ้านของเรามีคุณครูที่เป็นตัวอย่างแห่งการให้อภัยแบบทันทีนี้อยู่ด้วยดังเช่นเด็กทั้งสองคนนั้น ความมหัศจรรย์ของเด็กๆ ก็คือความสามารถในการลืมคนที่ท�ำผิดและความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว “เป็นบุญของผู้มีใจเหมือนเด็กเล็กๆ”.. db 51

July - August 2018


Welcome ยินดีต้อนรับ

“หากปราศจากพวกท่านแล้ว เราไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย” จากพินัยกรรมของคุณพ่อบอสโก ถึงผู้มีพระคุณ

Fr Václav Klement คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์

ที่ปรึกษาของคุณพ่ออัคราธิการภาคพื้นเอเชียตะวันออกและโอเชเนีย โอกาสตรวจเยี่ยมแขวงซาเลเซียนนักบุญเปาโล (ไทย กัมพูชาและลาว) อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม - 31 ตุลาคม ค.ศ. 2018

“หากปราศจากความช่วยเหลือของ พวกท่านแล้ว พ่อคงท�ำกิจการต่างๆ ได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจท�ำอะไรไม่ได้เลย แต่ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน เราสามารถร่วมมือกับพระหรรษทาน ของพระเจ้าเพื่อช่วยซับน�้ำตาให้กับ หลายชีวิตและช่วยวิญญาณ ให้รอดได้มากมาย”

ธารน�้ำใจ

ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์ นิตยสารดอนบอสโกได้ที่

The 7th EAO Salesian Brother Congress ชุมนุมภราดาซาเลเซียนภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชเนียครั้งที่ 7 “ทุกคนเป็นพี่น้องกัน” (มธ 23:8) ณ คะลอง ประเทศเวียดนาม วันที่ 8-14 สิงหาคม ค.ศ.2018

ชื่อบัญชี วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนน ศรีนครินทร์ (กรุงเทพกรีฑา) บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 080-221616-6

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่

แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel:02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.