นิตยสารดอนบอสโก-January-February 2020 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1

January-February 2020

01


นิตยสารดอนบอสโก นิ ต ยสารซาเลเซี ย น (Salesian Bulletin) คื อ สิ่ ง พิ ม พ์ ที่ เ ป็ น ทางการของคณะซาเลเซี ย นซึ่ ง คุณพ่อบอสโกได้เป็นผู้ริเริ่มไว้เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1877 นิตยสารนีไ้ ด้รบั การตีพมิ พ์อย่างดีเรือ่ ยมา เพื่อเผยแพร่งานด้านการจัดการศึกษาอบรมของ คุณพ่อบอสโกไปทัว่ โลก ปัจจุบนั นิตยสารซาเลเซียน มีทงั้ หมด 66 อีดชิ น่ั 29 ภาษา เผยแพร่ใน 134 ประเทศ ทั่ ว โลก นิ ต ยสารดอนบอสโกของประเทศไทย คือหนึ่งในจ�ำนวนนี้ด้วย ซึ่งได้เริ่มพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1958 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 63 และได้เปลี่ยน จากการตีพิมพ์รายเดือนเป็นราย 2 เดือนตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2018 เป็นต้นมา เจ้าของผู้พิมพ์ คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา บิชอปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิการ ซ.วิรินทิพย์ อินทร์แย้ม, ซ.ระวิวรรณ บวกหาร ซ.ธิดาเพ็ญ จรัสศรี, ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต คุณพ่ออนุสิทธิ์ จันทร์เพ็ญ, คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค แผนกการเงิน บ.วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 0-2731-7100 E-mail : thaisdbbulletin@gmail.com พิมพ์ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ โทร. 0-2652-9625 ถึง 30 จัดพิมพ์โดย แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน E-mail : sdbsocomthai@gmail.com

2

EDITOR’s NOTE

นิ ต ยสารดอนบอสโกฉบั บ นี้ ขึ้ น

ปีที่ 63 แล้วครับ ทีมงานนิตยสารขอ โมทนาคุณพระเจ้าร่วมกับพีน่ อ้ งทัง้ หลาย ทีโ่ ปรดให้นติ ยสารนีไ้ ด้เป็นเครือ่ งมือน้อยๆ ในการรับใช้พี่น้องและพระศาสนจักรใน ประเทศไทยตลอดมา สี่ห้าปีที่ผ่านมา นิตยสารหลายเล่ม ทยอยปิ ด ตั ว ไปเรื่ อ ยๆ เพราะการ เสพเนื้ อ หาสาระหรื อ ที่ เ รี ย กกั น ว่ า “คอนเทนต์” ของผู้อ่าน เปลี่ยนจาก บนหน้ า กระดาษไปอยู ่ ใ นโลกดิ จิ ทั ล ออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการ นิ ต ยสารกระดาษก็ เริ่ ม หดหายไป… เดีย๋ วนีค้ อนเทนต์แทบทุกเรือ่ งทีเ่ ราสนใจ สามารถค้ น หา อ่ า นได้ ใ นโลกดิ จิ ทั ล แทบจะทันที ไม่ต้องรอเป็นเดือนๆ ให้ นิตยสารผลิตออกมา แม้ โ ลกดิ จิ ทั ล ก� ำ ลั ง วิ่ ง ไปเร็ ว จี๋ แต่ โลกของนิตยสารกระดาษ ก็ยังคงความ คลาสสิคที่ดึงดูดให้เราเคลื่อนที่ไปอย่าง เนิบช้าและรื่นรมย์ ให้เวลาเราละเลียด กับเรื่องราวต่างๆ ผ่านทางตัวอักษรและ ภาพต่างๆ เป็นชีวิตที่ดี๊ดี ผมขอขอบพระคุณสมาชิกทุกท่านและ คุณผู้อ่านทุกคนที่ติดตามเราตลอดมา

นิ ต ยสารดอนบอสโกเป็ น ของทุ ก ท่ า น การอยู่รอดและความเจริญของนิตยสาร จึ ง ขึ้ น กั บ การสนั บ สนุ น ของท่ า นเป็ น พิ เ ศษด้ ว ย โดยพื้ น ฐานด้ า นรายรั บ ของนิ ต ยสารดอนบอสโกยื น อยู ่ บ น สามขา คือ รายรับจากสมาชิกประจ�ำ จากผู้มีพระคุณและจากคณะซาเลเซียน ปัจจุบัน นิตยสารดอนบอสโกได้จัดตั้ง กองทุนนิตยสารดอนบอสโกขึ้นเพื่อจะ สามารถบริหารจัดการการพิมพ์อย่าง เป็นระบบมากขึ้นและอยู่รอดได้ หาก ท่ า นใดปรารถนาจะมี ส ่ ว นร่ ว มและมี ก� ำ ลั ง ทรั พ ย์ พ อที่ จ ะสละได้ โปรด พิจารณาท�ำบุญสนับสนุนสื่อการพิมพ์ คาทอลิ ก ดั ง เช่ น นิ ต ยสารดอนบอสโก ตามก�ำลังความสามารถของท่าน ส่วน ท่านที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการช่วย เหลือ ท่านไม่ต้องบอกเลิกรับนิตยสาร ดอนบอสโก เรายินดีจดั ส่งให้ทา่ นได้อา่ น ด้วยความเต็มใจเช่นเดิม เชิ ญ คุ ณ ผู ้ อ ่ า นเปิ ด นิ ต ยสาร พลิ ก กระดาษทีละหน้า ค่อยๆ อ่านกันอย่าง มีความสุขนะครับ

วัตถุประสงค์ 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การศึกษาอบรม งานอภิบาลเยาวชน การส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ db Bulletin

บรรณาธิการ


CONTENTs

dbBULLETIN JANUARY-FEBRUARY 2020 ภาพจากปก

ด.ช.พุทธคุณ ไพรวัลย์ ศิษย์ซาเลเซียนอัจฉริยะตัวจิ๋ว โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จ.ประจวบฯ

2 EDITOR’s NOTE

Faith & Catechesis

Salesian World

10 Catechetical Moment

เด็กทั้งสี่กับความฝันของพวกเขา

เราจะรักคุณพ่อเจ้าวัดของเรา ได้อย่างไรเมื่อเรารู้สึกไม่ชอบ?

4 สารอัคราธิการ

6 เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัว ของพ่อบอสโก

หีบเพลง

16 แก่นซาเลเซียน

by Eccomi

30 Lectio Divina

เพื่อเขาจะได้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ค�ำขวัญอัคราธิการ ปี 2020: คริสตชนดีและพลเมืองซื่อตรง

Youth & Education

“พุทธคุณ ไพรวัลย์” ศิษย์ซาเลเซียนอัจฉริยะตัวจิ๋ว

เยาวชนคิดอย่างไรกับครูไทย?

Life

24 เพื่อนนักอบรม

36 ครอบครัวซาเลเซียน

12 สัมภาษณ์

คุณพ่อมัทธิว กิติชัย ใสสว่าง 26 One Moment in Time ขอพร...

39 เรื่องมีอยู่ว่า.... เจ้าหญิงทอฝัน

4

7 เสียงเยาวชน

12

22 เส้นทางจอม “YOUTH”

เมื่อคาทอลิกตกหลุมรัก... 5 วิธีการที่น�ำความสุขแท้จริง มองให้รู้ อยู่ให้เป็น

34 สื่อกับเยาวชน

Holiness

38 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน

36

นักบุญหลุยส์ แวร์ซีลีอา และ นักบุญคัลลิสตุส คาราวารีโอ

40 พระพรที่ได้รับ

News

18 Local News 27 ส่องโลกซาเลเซียน

34 January-February 2020

3


สารอัคราธิการ Don Ángel Fernández Artime

แปล I สายลมที่พัดผ่าน

เด็กทั้งสีกระดาษใบเล็ ่กับความฝั น ของพวกเขา กๆ ที่เด็กคนหนึ่งอายุ 17 ปี ได้เขียนประวัติศาสตร์ของเราได้อย่างน่าประทับใจและทรงคุณค่ายิ่ง

ถึงเพื่อนๆ ที่ร่วมในพระพรพิเศษ ทั่ ว ทุ ก มุ ม โ ล ก เ พ ร า ะ กิ จ ก า ร

ของคุณบอสโกและท่านผู้อ่านนิตยสาร ซาเลเซียนที่รัก เมื่อไม่นานมานี้ก่อน ที่ พ ่ อ จะเริ่ ม เขี ย นจดหมายฉบั บ นี้ พ่ อ ได้ ไ ปถวายมิ ส ซาร่ ว มกั บ บรรดา คณะที่ ป รึ ก ษาของคณะซาเลเซี ย น พวกเราได้เข้าไปในห้อง “Camerette” ของคุ ณ พ่ อ บอสโกซึ่ ง อยู ่ ใ นพระวิ ห าร พระหฤทั ย ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องพระเยซู เ จ้ า Camerette เป็นห้องและวัดน้อยที่คุณพ่อ

บอสโกได้ถวายมิสซาเป็นครัง้ สุดท้ายทีโ่ รม วั น นั้ น ตรงกั บ วั น ที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1887 ซึ่งไม่กี่เดือนต่อมาคุณพ่อ บอสโกก็ ไ ด้ ถึ ง แก่ ม รณภาพเมื่ อ วั น ที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1888 ความคิดของพ่อล่องลอยไปชั่วขณะ หนึ่ง พ่อคงไม่ได้คิดอะไรมากมายถึง ห้ อ งนี้ ที่ ซึ่ ง คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ ถ วาย มิสซาเป็นครั้งสุดท้าย มันเป็นห้อง ทีธ่ รรมดา ไม่นา่ จะเป็นหรือคงไม่ ได้เป็นความคาดหวังของการ เริ่มต้นกิจการของคณะ ทั้ง ยังดูเหมือนจะไม่มีนัย ส�ำคัญอะไรทีบ่ ง่ ชี้ เ กี่ ย ว กั บ อนาคตอั น ยิ่ ง ใ ห ญ ่ ของคณะ ซาเลเซี ย น ใ น ป ั จ จุ บั น ที่ ไ ด ้ เ ติ บ โ ต ไ ป 4

db Bulletin

ซาเลเซียนได้เริ่มขึ้นในห้องเล็กๆ อีก ห้องหนึ่งที่อยู่ตุริน ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1854 พ่อมีความปรารถนาจะพูดและแบ่ง ปันถึงผลอันน่าอัศจรรย์ของพระจิตเจ้า กับพวกเธอในเดือนนี้ซึ่งเป็นเดือนของ คุณพ่อบอสโก ใ น มื อ ข อ ง พ ่ อ มี เ อ ก ส า ร ท า ง ประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่ง มันเป็นเพียง กระดาษชิ้ น เล็ ก ๆ ขนาดของมั น ก็ ประมาณ 4x4 นิ้วเห็นจะได้ มันเป็น แผ่ น กระดาษที่ เ ยาวชนคนหนึ่ ง จาก ศูนย์เยาวชนที่ตุรินได้เขียนไว้ เยาวชน คนนั้นคือไมเคิล รัว เขาได้เขียนว่า “ในตอนเย็นของวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1854 พวกเราได้มารวมตัวกันใน ห้องของคุณพ่อบอสโก มีรอคคีเอตตี อาร์ตกิ ลีอา กาลีเอโร และรัว พวกเรามา รวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะผูกมัด ตนเองพร้ อ มกั บ ความช่ ว ยเหลื อ ของ พระเจ้าและนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์ ในการฝึกปฏิบตั คิ วามรักต่อเพือ่ นพีน่ อ้ ง เพื่อไปสู่การให้ค�ำสัญญา และจากนั้น ถ้ามีความเป็นไปได้และมีความเหมาะสม ก็จะท�ำการปฏิญาณตนต่อองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า จากเย็นวันนั้นชื่อ “ซาเลเซียน” ก็ได้ ถูกมอบให้กับผู้ที่ได้ตัดสินใจเลือกที่จะ ผูกมัดตนเองในอนาคตกับพันธกิจแห่ง การปฏิบัติความรักนี้” ในเยาวชนจ�ำนวน 4 คนนี้ มี 3 คน


คือ รอคคีเอตตี กาลีเอโร และรัวที่ได้ ฆราวาสนับแสนนับล้านที่ร่วมแบ่งปัน ในพระพรพิ เ ศษของคุ ณ พ่ อ บอสโก กลับกลายเป็นซาเลเซียน และท� ำ งานทุ ก วั น ในบ้ า นซาเลเซี ย น หลายแห่งทั่วทุกมุมโลก จากเมล็ดพืชเล็กๆ มันเป็นเรือ่ งทีน่ า่ ทึง่ มากทีก่ ระดาษ ด้ ว ยการที่ ไ ม่ ไ ด้ ย กยอตนเองแต่ รายงานเหตุ ก ารณ์ ใ นวั น นั้ น ได้ ต ก อย่างใด พร้อมกับการเชื้อเชิญให้มี มาถึ ง เรา แต่ พ ่ อ คิ ด ว่ า สิ่ ง ที่ ส ร้ า ง ความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อ ความประหลาดใจและความยิ่งใหญ่ หน้าทีข่ องเราเสมอ บ่อยครัง้ พ่อก็ได้ยำ�้ อั น แท้ จ ริ ง คื อ การหยั่ ง รู ้ แ ละวิ สั ย เตือนพี่น้องชายหญิงทั่วทุกมุมโลกว่า ทัศน์ของบุรุษผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ผู้นี้ เราเป็นผู้ปกป้องขุมทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ คุณพ่อบอสโกผู้ซึ่งมีหัวใจที่เต็มเปี่ยมไป ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ของเรา แต่ เ ป็ น ของ ด้วยการให้การศึกษาอบรมและความรัก ประทานจากพระจิ ต เจ้ า ส� ำ หรั บ ต่อการประกาศข่าวดีสเู่ ยาวชนของท่าน พระศาสนจักรในการท�ำความดีเพื่อ พระจิตเจ้าทรงท�ำงานอย่างมากในการ เด็กๆ และเยาวชน เราต้องพยายาม พบปะครัง้ แรกระหว่างท่านกับเยาวชน ปกป้องขุมทรัพย์นี้และท�ำให้เกิดดอก ทั้ง 4 คน จากเยาวชนเหล่านี้ เราได้ ออกผลมากมาย ดังเช่นค�ำอุปมาเรื่อง เห็นถึงผลมากมาย เพราะปัจจุบนั เรามี เงินตะลันต์ที่พระวรสารได้น�ำเสนอไว้ คณะซาเลเซียนและครอบครัวซาเลเซียน นีเ่ ป็นความรับผิดชอบทีย่ งิ่ ใหญ่ของเรา ทีร่ ว่ มสืบสานพันธกิจของคุณพ่อบอสโก ล อ ง จิ น ต น า ก า ร ดู ซิ ว ่ า ถ ้ า ห า ก กระจายอยู่ 136 ประเทศทั่วโลก เพื่อ พระศาสนจั ก รและโลกปั จ จุ บั น ไม่ มี ดูแลเอาใจใส่เยาวชนทั้งชายและหญิง ลูกๆ ของคุณพ่อบอสโกทีอ่ ยูท่ า่ มกลาง ไม่ว่าจะเด็กเล็ก หรือวัยรุ่น พวกเขาคือ เยาวชน จะมีความยากล�ำบากเกิดขึ้น มากน้อยเพียงไร หรือแม้แต่ถา้ ไม่มใี คร เป้าหมายแห่งการท�ำพันธกิจของเรา จากความว่างเปล่าบนผืนดิน ต้นไม้ สมัครใจที่จะไปอยู่ท่ามกลางเยาวชน ที่งดงามต้นนั้นได้เติบโต เป็นต้นไม้ เป็นเหมือนคุณพ่อบอสโกทีเ่ ป็น “บิดา ที่ทุกวันนี้มีเพื่อนนับพันและยังมีผู้มี และอาจารย์ของเยาวชน” ดังที่นักบุญ พระคุณอีกมากมายทีค่ อยสนับสนุน ขอ ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปาได้ให้ ขอบคุณทุกคนที่ช่วยท�ำให้เรามีโอกาส สมญานามไว้ โลกและพระศาสนจักร ท� ำ ความดี ม ากมาย เป็ น ต้ น ไม้ ที่ มี จะเป็นอย่างไร

ท่านผูอ้ า่ นและเพือ่ นๆ ทีร่ กั ทุกท่าน พ่ อ ขอแบ่ ง ปั น รายละเอี ย ดสั้ น ๆ เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของความเป็นจริง ที่ยิ่งใหญ่นี้ คุณพ่อบอสโกมีความเป็น อัจฉริยะในการตัง้ คณะซาเลเซียนซึง่ มา จากเยาวชนในความดูแลของท่านเอง จากเยาวชนเพียง 4 คนที่เป็นผู้น�ำ ท่ า มกลางเยาวชนมากมาย ก็ สามารถเริ่ ม ศู น ย์ เ ยาวชนวั ล ด๊ อ กโก ได้แล้วในปีนั้น พ่อขอใช้โอกาสนี้เพียงไม่กี่บรรทัด ในหน้ า กระดาษนี้ ซึ่ ง จะปรากฏใน จดหมายข่าวซาเลเซียนที่จะถูกแปล เป็นภาษาต่างๆ บอกกับพวกเธอว่า “ขอบคุณ” ในนามของคุณพ่อบอสโก “ขอบคุณ” ส�ำหรับความรักของพวก เธอต่อพระพรพิเศษของคุณพ่อบอสโก ต่ อ การร่ ว มสานต่ อ ในความฝั น ของ ท่าน และต่อเหตุผลแห่งการด�ำเนินชีวติ ของท่านก็คือ “เพื่อพระเยซูคริสตเจ้า และเยาวชน” ขอพระมารดามารีย์ ผูต้ งั้ คณะของเรา อวยพรพวกเธอทุกคน ด้วยความรัก คุณพ่ออังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม

January-February 2020

5


เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก Text: Jose J.Gomez PALACIOS I Illustrate: Cesare แปล I นิรนาม

หีบเพลง ฉั น เคยเป็ น หี บ เพลงที่ ดี ที่ สุ ด ใน สมัยนั้น แต่เจ้าของของฉันได้ทิ้งฉันไป เพราะเขาอยากได้หีบเพลงเครื่องใหม่ เขาจึงเอาฉันไปรวมไว้กับเครื่องดนตรี มือสองเพื่อขายทอดตลาด เช้ า วั น หนึ่ ง ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน ชายคนหนึ่ ง มายื น ดู ฉั น และพู ด ว่ า “แค่ 12 ลีร์เท่านั้นหรือ” แล้วเขาก็ ซื้อฉันไป...เจ้าของคนใหม่ของฉันเป็น พระสงฆ์หนุม่ ทีม่ ชี อื่ ว่ายอห์น บอสโก เขา ซ่อมแซมฉันให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และวันต่อมาฉันก็อยู่ในมือของเขา ฉัน ถูกเล่นคลอไปพร้อมกับเสียงร้องเพลง ของเด็กๆ ด้วยความสนุกสนานร่าเริง ฉันรู้สึกดีใจมากเพราะฉันได้น�ำความ สุขมาให้กบั ทุกๆ คน แต่แล้วความสุขนี้ ก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะต่อมาตัวฉันเริ่ม ช�ำรุดและใช้การไม่ได้ หลายวันต่อมา ฉันเห็นคุณพ่อบอสโก กลับมาทีศ่ นู ย์พร้อมกับออร์แกนเครือ่ งหนึง่ แน่ น อนว่ า มั น ดู ดี ก ว่ า ฉั น เนื่ อ งจาก ว่าเครื่องนั้นมันถูกบันทึกบทเพลงใน พิธีกรรมไว้แล้ว เช่น Tantum Ergo, บทเพลงแม่พระ... 6

db Bulletin

ประวัติความเป็นมา

ในปี ค.ศ.1847 คุณพ่อบอสโกตัดสินใจที่จะเริ่มสอนร้องเพลงให้กับเด็กๆ โดย ในช่วงเริ่มแรกท่านได้ซื้อหีบเพลงมาตัวหนึ่งในราคา 12 ลีร์ และต่อมาท่านได้ซื้อ ออร์แกนที่เล่นเพลงอัตโนมัติมาแทนหีบเพลง และเริ่มใช้ในการขับร้องบทเพลงใน พิธกี รรม แต่เมือ่ ผ่านไประยะหนึง่ เพลงทีใ่ ช้รอ้ งก็เริม่ ซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มา คุณพ่อยอห์น โวลา จึงได้เอาเปียโนมาใช้แทนออร์แกน ส�ำหรับคุณพ่อบอสโกแล้วดนตรีเป็นส่วนหนึ่ง ของการอบรมเยาวชน ท่านกล่าวเสมอว่า “ศูนย์เยาวชนที่ปราศจากเสียงดนตรี ก็เหมือนร่างกายที่ไร้วิญญาณ” (MB III, หน้า 122-124)

ฉันกลับไปสู่ชีวิตที่มืดมนอีกครั้ง ฉันถูกทิ้งอยู่ในห้องเก็บของจนฝุ่นจับ แต่ สิ่งที่ท�ำให้ฉันรู้สึกไม่ดีนั้นไม่ใช่เพราะฉันถูกทิ้ง แต่เป็นเพราะว่าเมื่อฉันได้ยิน เสียงเพลงจากออร์แกนเครื่องนั้นแล้ว ฉันอยากจะตะโกนบอกกับมันว่า เสียง ดนตรีของเธอมันเหมือนกับเครื่องจักรที่ไร้วิญญาณเพราะเพียงแค่กดปุ่ม มัน ก็เล่นเพลงขึ้นมาเองแล้ว หลายสัปดาห์ต่อมา เสียงดนตรีจากออร์แกนเครื่องนั้นก็เงียบไป ฉันเห็น เด็กๆ ยกออร์แกนเครื่องนั้นมาวางไว้ข้างๆ ฉัน พวกเขาทิ้งพวกเราไว้ให้อยู่ใน ชะตากรรมเดียวกัน เราทัง้ คูถ่ ามกันว่า “แล้วจากนีต้ อ่ ไปใครจะเป็นผูส้ ร้างเสียง ดนตรีให้กับเด็กๆ ละ? พวกเขาจะต้องหยุดร้องเพลงเพราะพวกเราเป็นสาเหตุ หรือเปล่า?” แต่แล้ววันหนึง่ ก็มเี สียงดนตรีดงั แว่วมา เด็กๆ ก�ำลังร้องเพลงโดย ใช้เปียโน เมื่อได้ยินดังนั้น พวกเราทั้งคู่จึงรู้สึกโล่งใจ อันที่จริง โดยลึกๆ แล้ว พวกเราทั้งคู่รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็น “จิตวิญญาณให้กับศูนย์เยาวชน” ดังค�ำพูด ของคุณพ่อบอสโกที่เราทั้งคู่มักได้ยินเสมอว่า “ศูนย์เยาวชนที่ปราศจากดนตรี ก็เหมือนกับร่างกายที่ไร้วิญญาณ”


เสียงเยาวชน By Andy

เสียงเยาวชน

ครูคือผู้สร้าง “คน” แต่การสร้าง “คน” มันเป็นเรื่องยากและละเอียดอ่อน วิศวกรสร้างตึก วัตถุดิบยังเป็นวัสดุ อิฐ หิน ดิน ทราย ที่ไม่มีชีวิต สามารถก�ำหนด ควบคุมได้อย่างใจนึกทุกประการ แต่การสร้าง “คน” หรือ สอน “เด็ก” ไม่ใช่อะไรที่ส�ำเร็จรูป เด็กร้อยคนร้อยนิสัย ร้อยวัฒนธรรม ร้อยสติปัญญา ร้อยปมเด่น ร้อยแบบของลักษณะทางจิต ร้อยความสามารถ... จึงต้องใช้เวลาและความพากเพียร ให้เราฟังความคิดเห็นของเยาวชนกันว่า

“เยาวชน

คิดอย่างไรกับครูไทย?” แบงค์ - ณฐวัฒน์ ธนทวีประเสริฐ อายุ 16 ปี

Bank

ผมคิดว่าคุณครูที่ดีคือคุณครูที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้เหตุผลกับนักเรียนและสอนโดย ใช้สื่อและเครื่องมือที่ทันสมัยเหมาะกับนักเรียนในยุคปัจจุบัน ผมประทับใจเวลาที่ คุณครูท�ำหน้าที่ไม่เฉพาะแค่การสอนเท่านั้นแต่คุณครูเอาใจใส่นักเรียน พร้อมที่จะให้ ค�ำปรึกษาและให้กำ� ลังใจเสมอ ลักษณะทีผ่ มไม่ชอบมากทีส่ ดุ ก็คอื การทีค่ ณ ุ ครูใช้คำ� พูด ดูถูกนักเรียน ผมอยากให้คุณครูเป็นแบบอย่างที่ดีกับนักเรียนเสมอ

January-February 2020

7


ซี - ธนัชชา จันทราสกุล อายุ 15 ปี

C

หนูคดิ ว่า ครูทดี่ จี ะมีเทคนิคในการสอนให้นกั เรียนเข้าใจง่าย มีสอื่ การสอนประกอบที่ น่าสนใจ รูจ้ กั ให้กำ� ลังใจและมีความเพียรอดทนในการสอนนักเรียนแม้วา่ จะต้องอธิบาย หลายรอบก็ตาม หนูชอบที่คุณครูสอนหนูเหมือนเป็นเพื่อน ซึ่งหนูก็ให้ความเคารพ คุณครูเสมอ หนูอยากให้คุณครูให้การบ้านน้อยๆ แต่เน้นการท�ำงานในห้องมากๆ หนู คิดว่าคุณครูตอ้ งพยายามปรับตัวเข้าหาเด็กๆ โดยไม่มอี คติ โดยเฉพาะกับนักเรียนทีเ่ รียน ในห้องท้ายๆ ทีส่ ำ� คัญหนูไม่อยากให้คณ ุ ครูพดู จาค่อนแคะนักเรียนทีท่ ำ� ผิดไม่วา่ จะเป็น เรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม

วิน - ชวินธร อัครวิเนค อายุ 15 ปี

Win

ส�ำหรับผมครูเป็นเหมือนพ่อแม่คนที่สองของผม ซึ่งคอยช่วยเหลือผมและสามารถ พูดคุยได้ตลอดเวลา ผมอยากให้คณ ุ ครูบางท่านรูจ้ กั รับฟังเหตุผลของนักเรียนมากกว่านี้ อย่ า งไรก็ ต าม ผมขอบคุ ณ คุ ณ ครู ทุ ก คนที่ ส อนผมและให้ ค� ำ ปรึ ก ษากั บ ผมเสมอ

น�้ำฝน - ญาดา สุระ อายุ 14 ปี

Namfon

หนูขอบคุณคุณครูทุกคนที่ช่วยหนูให้มาถึงจุดนี้ ขอบคุณที่เข้าใจในตัวหนูและให้ ความเป็นกันเอง ท�ำให้หนูกล้าที่จะพูดคุยและปรึกษาทุกเรื่อง เวลาเดียวกันก็มีครู บางท่านทีห่ นูไม่ชอบเพราะตีนกั เรียนโดยใช้อารมณ์ในการตัดสิน หนูอยากให้คณ ุ ครู ใช้เหตุผลมากกว่านี้

วิน - ภาสกร พยัตตระกูล อายุ 15 ปี

Win

ส�ำหรับผม ครูคือ ผู้ให้ ท่านให้ทั้งความรู้และโอกาส ผมดีใจที่ได้เรียนในโรงเรียน ที่มีคุณพ่อ (คณะผู้ใหญ่) และคุณครูที่เข้าใจเยาวชนอย่างพวกผม เมื่อผมท�ำผิดพลาด ท่านคอยชี้แนะและให้ก�ำลังใจ เมื่อผมมีเรื่องไม่สบายใจท่านก็ให้ค�ำปรึกษา สิ่งส�ำคัญ คือท่านดูแลผมและเพือ่ นๆ เหมือนเป็นลูกหลานของท่านเอง ผมอยากขอบคุณคุณครู ทุกท่านที่ได้มอบความรักและโอกาสให้กับผม และขอบคุณแทนเพื่อนๆ บางคนที่ ไม่ได้มีโอกาสได้ขอบคุณท่านด้วยครับ 8

db Bulletin


โอม - ภักคพงษ์ เรืองขจร อายุ 17 ปี

Ohm

ประสบการณ์หนึ่งที่ติดอยู่ในใจของผมคือ ตัวผมเคยถูกคุณครูมองว่าเป็นเด็กที่ ประพฤติตัวไม่ดี ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงในอดีต แต่เมื่อเวลาผ่านไปผมคิดได้และได้ปรับปรุง ตนเองใหม่ แต่คุณครูก็ยังคงมีภาพลบในตัวผมอยู่ ท่านยังคงพูดจาไม่ดีกับผม ท�ำให้ ผมหมดก�ำลังใจในการพัฒนาตนเองเพือ่ จะได้เป็นนักเรียนทีด่ ี ผมอยากให้คณ ุ ครูเข้าใจ เด็กนักเรียนแต่ละคนและให้โอกาสเขา ผมเชือ่ ว่าเด็กทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ผใู้ หญ่กบั เด็กมองกันคนละมุม เด็กทุกคนอยากได้โอกาส ความรัก ความเข้าใจเหมือนกันไม่วา่ จะ เป็นเด็กเกเรหรือเด็กดีในสายตาของผู้ใหญ่ครับ

โป๊ปฟรังซิสถึง “คุณครู” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสกับคุณครูที่มา เข้าเฝ้าในหอประชุมเปาโลที่ 6 นครรัฐวาติกัน เมื่อวัน ที่ 14 มีนาคม 2015 ว่า ครูเป็นอาชีพทีง่ ดงาม พระองค์ เองก็เคยเป็นครูเช่นกัน สาเหตุที่งดงามก็เพราะว่า ครู จะเห็นการเติบโตของเด็กๆ ที่ถูกฝากมอบไว้กับครู ทุกวัน ครูจงึ เป็นเหมือนกับพ่อแม่ของเด็ก ซึง่ เป็นความ รับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่...การสอนนั้นเป็นงานที่จริงจัง เฉพาะผู้ที่มีวุฒิภาวะและมีความสมดุลเท่านั้นจึงจะ สามารถท�ำหน้าที่นี้ได้... ขอคุณครูอย่าลืมเด็กทีเ่ รียนอ่อน ขอให้คณ ุ ครูรกั เด็กทีเ่ กเร เด็กทีม่ ปี ญ ั หา เด็กทีไ่ ม่สนใจเรียน เด็กทีเ่ รียนไม่เก่ง และเด็กนักเรียน ต่างชาติให้มากๆ นี่เป็นงานที่ท้าทายการเป็นครูมาก เพราะเด็กเหล่านี้อาจท�ำให้ครูหมดความอดทน “ถ้าครูรักแต่เด็กที่ตั้งใจเรียนซึ่งเป็นเด็กดีอยู่แล้ว ครูจะได้บุญกุศลอะไร?” ไม่ว่าครูคนไหนก็ชอบเด็กแบบนี้อยู่แล้ว หากครู คาทอลิกอยากจะเป็นพยานถึงพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง ครูตอ้ งไปหาเด็กชายขอบของโรงเรียน ครูจะไม่ทอดทิง้ เด็กให้อยูช่ ายขอบ... ให้อยู่ในความโง่เขลา และให้อยู่ในสภาพชีวิตที่เลวร้ายได้ ในสังคมที่เลวร้ายที่ยากจะพบหลักยึดเหนี่ยว จ�ำเป็นที่เด็กจะต้องพบหลักยึดที่ดีในโรงเรียนและเจอครูทใี่ ห้ความหมายของการ เรียน ครูไม่ได้ถา่ ยทอดเฉพาะความรูแ้ ต่ตอ้ งสร้างความสัมพันธ์กบั นักเรียนแต่ละคน นักเรียนต้องรูส้ กึ ว่าตนได้รบั การยอมรับและ ความรักในความจ�ำกัดและความสามารถทีม่ ี และเพือ่ จะสอนความรักไม่เพียงพอทีจ่ ะใช้คอมพิวเตอร์... มีความแตกต่างระหว่างการ ให้ความรู้และการถ่ายทอดคุณค่า การถ่ายทอดความรู้อาจเพียงพอที่จะใช้คอมพิวเตอร์ แต่เพื่อจะถ่ายทอดความรักซึ่งเป็นคุณค่า จ�ำเป็นต้องสร้างบรรยากาศของความเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งต้องการครูที่ดี

REPORT

ศูนย์ส�ำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เด็กและเยาวชน ไทยคิดอย่างไร? กับครูไทย” ท�ำการส�ำรวจระหว่างวันที่ 9 – 11 มกราคม 2556 จากเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ จ�ำนวน 1,232 หน่วยตัวอย่าง กระจาย ทุกภูมิภาค พบว่า เด็กและเยาวชน ร้อยละ 30.19 ต้องการครูที่มีทักษะในการ สอน สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดี มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 24.76 ครูต้อง เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความเมตตา กรุณา ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดี ร้อยละ 23.78 ต้องมีความเอาใจใส่ในการสอนอย่างจริงจัง และร้อยละ 10.47

ครูต้องใจดีไม่ดุ ไม่ลงโทษเด็ก เด็กและเยาวชน ร้อยละ 27.92 ประทับใจในครูที่มีความตั้งใจและเอาใจ ใส่ในการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้แก่เด็กนักเรียน มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 19.97 ครูที่คอยชี้แนะ ให้ค�ำแนะน�ำ ค�ำปรึกษา ในเรื่องต่างๆ ร้อยละ 19.56 ครูที่เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดี และ ร้อยละ 16.56 ครูที่มีความเมตา กรุณา โอบอ้อมอารีต่อเด็ก ที่มา: http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=135 January-February 2020

9


CTimes Catechetical Moment by Eccomi

เราจะรักคุณพ่อเจ้าวัดของเราได้อย่างไร

เมื่อเรารู้สึกไม่ชอบ?

พระสงฆ์คือผู้น�ำศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรอดสู่พระศาสนจักร หากปราศจากพระสงฆ์แล้ว ฆราวาสจะไม่สามารถรับพระหรรษทานจากพระเจ้าได้ บรรดาพระสงฆ์ต้องการการสนับสนุนเพื่อเสริมสร้างชุมชนวัดให้เข้มแข็งและมีชีวิตชีวา CTimes ขอเสนอ 6 วิธีการเพื่อสนับสนุนและให้ก�ำลังใจกับคุณพ่อเจ้าวัดของเรา

1 2

10

ค้นหาข้อดี แม้บางครั้งยากที่จะพบก็ตาม ไม่มีใครรักทุกคนได้ทุกเวลา คุณพ่อเจ้าวัดก็ต้องการ ความรักและความร่วมมือจากเราสัตบุรุษ เราควรพยายาม เข้าใจคุณพ่อเจ้าวัดของเรา ที่ส�ำคัญให้เราเชื่อว่าพระเจ้า คือผู้ทรงส่งท่านมาอยู่กับเรา หลายครั้งเมื่อมีการเปลี่ยน คุณพ่อเจ้าวัด สัตบุรุษมักเปรียบเทียบคุณพ่อเจ้าวัดองค์เก่า และองค์ใหม่ เช่น วิธีการเทศน์ที่แตกต่างกัน หรือวิธีการ ปฏิบัติอื่นๆ ที่แตกต่างกัน จงจ�ำไว้เสมอว่า พระเจ้าทรงส่ง ท่านมาเพื่อน�ำความดีมาสู่เรา ให้เราเปิดใจแล้วเราจะพบ กับความดีมากมาย

db Bulletin

ภาวนาเสมอเพื่อคุณพ่อเจ้าวัด เรามั ก ขอพระสงฆ์ ใ ห้ ส วดภาวนาให้ กั บ เรา โดยที่ ลื ม คิ ด ไปว่ า ท่ า นเองก็ ต ้ อ งการค� ำ ภาวนาจากเรา ด้ ว ยเช่ น กั น นอกจากของขวั ญ ดอกไม้ ฯลฯ ที่ เราน� ำ ไปให้ พ ระสงฆ์ แ ล้ ว ค� ำ ภาวนา การสวดสาย ประค� ำ และการขอมิ ส ซาตามจุ ด ประสงค์ ข องท่ า น ก็ มี ค ว า ม ส� ำ คั ญ อ ย ่ า ง ม า ก ที่ สั ต บุ รุ ษ ไ ม ่ ค ว ร ลื ม


เรียนรู้มิสซาอย่างลึกซึ้ง หากเราต้องการสนับสนุนพระสงฆ์ ส่งเสริมกระแสเรียกและสร้างชุมชนวัด เรา ต้องตระหนักว่า เราแต่ละคนมีหน้าทีร่ บั ผิดชอบความเชือ่ ของเราและต้องด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันด้วยความเชื่อ การเรียนรู้และเข้าใจความหมายของมิสซามากยิ่งขึ้นจะ เกิดผลดีอย่างมาก ยิง่ สัตบุรษุ มีประสบการณ์ฝา่ ยจิตทีล่ กึ ซึง้ ของการร่วมมิสซามาก เท่าใดก็จะช่วยให้พระสงฆ์สามารถน�ำกลุม่ คริสตชนได้งา่ ยมากขึน้ เท่านัน้ และจะ ท�ำให้มีบรรยากาศของการรับฟังและการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นในวัด

4

3

อย่าห่างเหินจากพระสงฆ์ การสนั บ สนุ น คุ ณ พ่ อ เจ้ า วั ด ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง การประจบ หรื อ การเทิ ด ทู น ให้ ท ่ า นอยู ่ บ นหิ้ ง เราให้ เ กี ย รติ พ ระสงฆ์ ในฐานะที่ ท ่ า นเป็ น ดั ง พระคริ ส ตเจ้ า และเคารพในบทบาท หน้ า ที่ ข องท่ า น เราแต่ ล ะคนสามารถให้ ก� ำ ลั ง ใจท่ า นโดย การพู ด คุ ย ทั ก ทายและแสดงความยิ น ดี กั บ ท่ า นใน โอกาสวั น ส� ำ คั ญ ในชี วิ ต ของท่ า น เช่ น วั น เกิ ด วั น ฉลอง ศาสนนาม วันบวชพระสงฆ์ เป็นต้น

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัด เรื่องนี้ส�ำคัญมาก มันเป็นกระบวนการของความสัมพันธ์ 2 ทาง ระหว่างสัตบุรุษและ คุณพ่อเจ้าวัด แทนที่เราจะบ่นในเรื่องต่างๆ หรือหวังว่าเราจะมีคุณพ่อเจ้าวัดที่พิเศษ กว่าวัดอื่นๆ เราควรจะพยายามมีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัดของเราจะดีกว่า เช่น ไปร่วม มิสซานอกเหนือจากวันอาทิตย์ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของวัด มีส่วนร่วมในพิธีกรรม เข้า เป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆ ฯลฯ

5

เสนอความคิดและให้แรงบันดาลใจกับคุณพ่อเจ้าวัด สั ต บุ รุ ษ สามารถเสนอความคิ ด และให้ แ รงบั น ดาลใจกั บ คุณพ่อเจ้าวัดเพื่อท่านจะได้ท�ำหน้าที่การเป็นพระสงฆ์ที่ดีมากขึ้น ทั้ ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห มายความว่ า เราต้ อ งไปสอนท่ า น แต่ เราท� ำ หน้ า ที่ ในส่ ว นของเรา เช่ น ชมว่ า บทเทศน์ ข องท่ า นดี ม ากและอยาก ฟั ง บทเทศน์ ใ นหั ว ข้ อ อื่ น ๆ สิ่ ง นี้ ท� ำ ให้ ท ่ า นรู ้ ว ่ า งานที่ ท ่ า นก� ำ ลั ง ท� ำ อยู ่ นั้ น มี คุ ณ ค่ า และค� ำ พู ด ของท่ า นก็ ไ ม่ ไ ด้ เข้ า หู ซ ้ า ยทะลุ หูขวา หากเราไม่ชอบการคุยกันในวัดก่อนเริ่มมิสซา เราสามารถขอ คุณพ่อเจ้าวัดให้สร้างบรรยากาศของความเงียบและการภาวนาก่อนเริม่ มิสซา ถ้าเราคิดว่าการขับร้องและการเล่นดนตรีในพิธกี รรมยังสามารถ พัฒนาได้ดกี ว่านี้ เราอาจเสนอตัวเองเข้าไปมีสว่ นร่วม หรือถ้าเราเห็นว่า วัดทรุดโทรมและขาดอุปกรณ์บางอย่าง เราสามารถเสนอคุณพ่อเจ้าวัด และร่วมบริจาคเงินเพื่อปรับปรุงและจัดซื้ออุปกรณ์เหล่านั้น อย่างไร ก็ตาม เรือ่ งดังกล่าวจะต้องท�ำด้วยความรอบคอบและด้วยความเคารพ ด้วยวิธนี ี้ “วัด” จะช่วยสร้าง “พระสงฆ์” และ “พระสงฆ์” จะสร้าง “วัด”

6 January-February 2020

11


สัมภาษณ์คุณพ่อกิติชัย ใสสว่าง By Andy

คุณพ่อมัทธิว กิติชัย ใสสว่าง ชีวิตนี้เพื่อเยาวชน เกิดวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1987 สัตบุรุษ: วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บ้านหนองคูน้อย จ.ยโสธร เป็นบุตรชายคนแรกในจ�ำนวนพี่น้อง 3 คน ของนายยอห์น แบปติสต์ บุญมา ใสสว่าง และนางยูเลียอันนา ไพรมะณี ใสสว่าง การศึกษาและกระแสเรียก ปี 1992-2000 ศึกษาระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ ร.ร.มารีย์นุเคราะห์ บ้านหนองคูน้อย จ.ยโสธร ปี 2000-2006 ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ ร.ร.อัสสัมชัญอุบลราชธานี ปี 2006-2008 โปสตูลันต์ ปี 2008-2009 นวกภาพ ปี 2009 ปฏิญาณตนครั้งแรก ปี 2007-2008, ปี 2009-2012 ปรัชญาศาสตร์ที่วิทยาลัยแสงธรรม ปี 2012-2015 ผู้ดูแลอภิรติกชนที่บ้านเณรนาซาเรท อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ปี 2015-2019 ศึกษาเทววิทยาที่ University of Divinity Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ปี 2016 ปฏิญาณตนตลอดชีวิตที่ Melbourne ปี 2017 แต่งตัง้ เป็นผูอ้ า่ นพระคัมภีรท์ ี่ Melbourne ปี 2018 แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยพิธีกรรมที่ Melbourne วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2018 บวชเป็นสังฆานุกรที่ Melbourne วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2020 บวชเป็นพระสงฆ์ ณ วัดนักบุญเทเรซา อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ คติพจน์ “เราพอใจในความเมตตากรุณา มิใช่พอใจเครื่องบูชา เพราะเรามาเพือ่ เรียกคนชอบธรรม แต่มาเพือ่ เรียกคนบาป” (มธ 9:13)


มาราธอนคื อ ระยะการวิ่ ง 42.195 กิ โ ลเมตร ด้ ว ย ความที่เป็นการวิ่งระยะไกล มีทั้งช่วงเวลาที่ต้องอาศัยทั้ง แรงบันดาลใจและใจบันดาลแรงในการพาตัวเองไปจนถึง เส้นชัย มีทงั้ ช่วงเวลาทีใ่ จฮึกเหิมและห่อเหีย่ วสลับกันไป จึง ไม่น่าแปลกใจที่ใครหลายคนจะเปรียบเปรยชีวิตว่าคล้าย การวิ่งมาราธอน ชีวิตของการติดตามพระคริสตเจ้าก็ไม่ต่างอะไรกับการ วิ่งมาราธอนที่ต้องมีเป้าหมายและแรงบันดาลใจที่มาจาก พระเจ้าซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีค�ำว่าดวง ไม่มีค�ำว่าฟลุ๊ค แต่มัน คือผลรวมของความเชื่อและความไว้วางใจในพระเจ้าผู้ทรง ร่วมทาง คุณพ่อมัทธิว กิติชัย ใสสว่าง คือนักวิ่งมาราธอนบน เส้นทางแห่งการติดตามพระคริสตเจ้า เบื้องหลังเส้นทาง บนลู่วิ่งแห่งชีวิตของคุณพ่อจะเป็นอย่างไร รวมทั้งความคิด และประสบการณ์บนเส้นทางสายนี้จะน่าสนใจแค่ไหน ให้เราไปฟังจากปากของพระสงฆ์ใหม่ท่านนี้ด้วยกัน

จุดเริ่มต้น

ภาพจ�ำในวัยเด็ก? ด.ช.แจ๊ก ลูกชาวนา ผมเป็นลูกชาวนา ชีวิตในวัยเด็กของผมคลุกคลีอยู่กับ ท้องไร่ ท้องนา ช่วยพ่อแม่ด�ำนา เกี่ยวข้าว และเลี้ยงวัว สนามเด็ ก เล่ น ของผมส่ ว นใหญ่ คื อ ท้ อ งทุ ่ ง และไร่ น า ประสบการณ์เหล่านีช้ ว่ ยผมให้เรียนรูจ้ กั ความอดทน ความ มานะบากบั่นในการท�ำงานท่ามกลางความยากล�ำบาก และความไม่แน่นอนของสภาพอากาศและผลผลิตที่ได้ รับ ทุกครั้งที่มีโอกาส ผมจะกลับมาช่วยพ่อแม่ท�ำนาเสมอ ผมรู ้ สึ ก ภู มิ ใจและมี ค วามสุ ขที่ ผ มเกิ ด มาและมี วั น นี้ ไ ด้ ก็ เพราะความรักและการเลี้ยงดูจากครอบครัวของชาวนา ธรรมดาๆครอบครัวหนึ่งที่มีชีวิตเรียบง่ายแต่เปี่ยมไปด้วย ความเชื่อและความศรัทธา

กล้าก้าว

คลุกคลีกับวัด ผมเป็นคนทีช่ อบกีฬาฟุตบอลตัง้ แต่เด็กๆ ทุกครัง้ ทีม่ กี าร จัดฉลองวัด ผมก็จะเห็นบรรดาคุณพ่อและบราเดอร์แข่งขัน ฟุตบอล ซึง่ ทุกคนเล่นกันเก่งมาก ผมจึงอยากจะเข้าบ้านเณร เพือ่ จะได้เล่นกีฬาเก่งเหมือนพวกท่านเหล่านัน้ ตัง้ แต่วนั นัน้ เป็นต้นมาผมก็เริ่มคลุกคลีอยู่กับวัด ช่วยงานที่วัดและเป็น เด็กช่วยมิสซา January-February 2020

13


ความคิดการเป็นซาเลเซียน เข้ามาสู่ชีวิตคุณพ่อได้อย่างไร? ด้วยค�ำแนะน�ำของคุณพ่อเจ้าวัดบวกกับความใฝ่ฝนั ทีผ่ ม อยากจะเล่นฟุตบอลให้เก่ง ผมได้ตัดสินใจเข้าบ้านเณรของ สังฆมณฑลอุบลราชธานี ผมได้ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเณรแห่งนี้ 6 ปี ในช่วงปีสุดท้ายผมรู้สึกลังเลใจและไม่แน่ใจว่าอะไรคือ เส้นทางทีพ่ ระเจ้าทรงต้องการในชีวติ ของผม (จะเป็นฆราวาส หรือเป็นพระสงฆ์?) แต่ลึกๆ แล้วผมก็ยังรู้สึกมีความสุขบน เส้นทางของกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์อยู่ วันหนึ่ง ซิสเตอร์ซาเลเซียนท่านหนึ่งซึ่งเป็นพี่สาวของเพื่อนผมก็ได้ แนะน�ำผมและเพือ่ นให้ไปสัมผัสชีวติ นักบวชซาเลเซียนทีค่ า่ ย มิตรภาพ อ.หัวหิน อันที่จริง ผมไม่เคยรู้จักคณะซาเลเซียน มาก่อนเลย หลังจากจบค่าย ผมรู้สึกประทับใจ ผมกับเพื่อน จึงได้ตัดสินใจเข้าคณะซาเลเซียน ผมคิดว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่มีอะไรบังเอิญ พระเจ้าทรงเตรียมเส้นทางของพระองค์ ให้กับผม

สิ่งที่ท้าทายในชีวิตเณร? อุปสรรคทีท่ า้ ทายทีส่ ดุ คือการค้นหาความปรารถนาลึก ๆ ของตัวเอง และยืนหยัด มัน่ คงในเสียงเรียกนัน้ ท่ามกลางการ เปลีย่ นแปลงต่าง ๆ สิง่ ทีม่ ผี ลต่อกระแสเรียกของผมมากทีส่ ดุ ไม่ใช่พอ่ แม่ คณะผูใ้ หญ่ หรือตารางเวลา แต่เป็นเพือ่ น เพือ่ น คือคนที่ผมใช้ชีวิตด้วยมากที่สุดไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านเณรหรือ ว่าโรงเรียน ผมจะรู้สึกว่าเวลาที่เพื่อนคนใดคนหนึ่งเปลี่ยน เส้นทางกระแสเรียกโดยเฉพาะเพื่อนสนิท ผมจะมองย้อน ชีวิตที่ได้แสงแดดและได้ห่าฝน กลับมาดูตัวเองทุกครั้งว่า เพื่อนไม่อยู่แล้วเราจะอยู่อย่างไร ตกลงเราจะไปต่อหรือพอแค่นี้ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็น ได้รับอะไรจากการอยู่บ้านเณร? เกือบทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมมีและเป็นในตอนนี้ผมได้รับ โอกาสที่ท�ำให้ผมได้รื้อฟื้นความตั้งใจแรกเริ่มของผมเสมอ มาจากบ้านเณร บ้านเณรได้ให้โอกาสผมในการพัฒนา คือซื่อสัตย์ต่อเสียงเรียกของพระเจ้า บุคลิกภาพและความสามารถของผม ไม่ว่าจะเป็นในด้าน การเรียน ให้โอกาสผมได้เรียนในโรงเรียนทีด่ แี ละมีคณ ุ ภาพ สงฆ์นิรันดร ในการศึกษา บ้านเณรได้ส่งเสริมความสามารถด้านกีฬา คติในการด�ำเนินชีวิตพระสงฆ์? และดนตรี และสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดก็คือบ้านเณรได้อบรมด้าน “เราพอใจความเมตตากรุณา มิใช่พอใจเครือ่ งบูชา เพราะ ชีวติ จิต การภาวนาและงานอภิบาล ซึง่ สิง่ ต่าง ๆ เหล่านีช้ ว่ ย เราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่มาเพื่อเรียกคนบาป ส่งเสริมให้กระแสเรียกของผมเติบโตขึน้ เป็นเหมือนต้นไม้ที่ (มธ 9:13)” ได้รับแสงแดดและน�้ำเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ส�ำหรับผมแล้วความเมตตากรุณา ความโอนโยนและ ความรัก เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในงานอภิบาลและการประกาศ ข่าวดีของพระคริสตเจ้า โดยเฉพาะในสังคมที่มีการแสวงหา อ�ำนาจและชื่อเสียง พระวาจาของพระเจ้าในตอนนี้จะเป็น เครือ่ งเตือนใจผมในงานอภิบาล และในชีวติ นักบวชพระสงฆ์ ของผม และการที่พระเยซูเจ้าเสด็จมามิใช่เพื่อแสวงหา คนชอบธรรมแต่มาเพือ่ เรียกคนบาป เราทุกคนเป็นคนบาป รวมถึงตัวผมเองด้วย เพราะฉะนั้นพระเยซูเจ้าทรงเสด็จมา เพือ่ เราทุกคน พระวาจานีจ้ ะช่วยเตือนผมว่าชีวติ พระสงฆ์คอื ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุก ๆ คน 14

db Bulletin


คุณพ่อกิติชัยถึงทุกคน

พระสงฆ์ทา่ นหนึง่ ได้กล่าวไว้วา่ “ในวิถชี นบท การเลีย้ งดู อบรมสัง่ สอนเด็กคนหนึง่ นัน้ ต้องใช้คนทัง้ หมูบ่ า้ น เช่นเดียวกัน ในชีวิตกระแสเรียกนักบวชพระสงฆ์ คริสตชนแต่ละคน มี ส ่ ว นในการปลู ก ฝั ง และหล่ อ หลอมชี วิ ต กระแสเรี ย ก ของพระสงฆ์และนักบวชคนหนึ่ง ไม่มากก็น้อย” ในโอกาสเริม่ ต้นชีวติ สงฆ์ตามแบบอย่างของพระคริสตเจ้า ผมขอขอบพระคุณพระเจ้าส�ำหรับพระพรและพระหรรษทาน ต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงประทานให้ โดยผ่านทางคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้องและสัตบุรุษทุกๆ ท่าน ที่มีส่วนในการอบรมและปลูกฝังความเป็นมนุษย์และความ เป็นคริสตชนของผม อีกทั้งยังคอยให้ก�ำลังใจ และตักเตือน ผมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปราศจากความรักของพระเจ้า ผ่านทางบรรดาพี่น้องเหล่านี้ กระแสเรียกของผมในฐานะ นักบวชพระสงฆ์ ผู้รับใช้ของพระเจ้า คงไร้ซึ่งจุดมุ่งหมาย และเปล่าประโยชน์ ดังนั้นขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงพิทักษ์ รักษาและคุ้มครองพี่น้องทุกท่านในความเชื่อและความรัก ต่อพระองค์ ขอพี่น้องทุกท่านช่วยสวดภาวนา เป็นก�ำลังใจ และคอยอบรม ตักเตือนผมต่อไปนะครับ เพื่อว่าผมจะได้ ก้าวเดินในเส้นทางแห่งการรับใช้นี้ด้วยความรักและความ ซื่อสัตย์ตลอดไป ผมสัญญาว่าจะคิดถึงพี่น้องทุกๆ ท่าน ในค�ำภาวนาเสมอและโดยเฉพาะในพิธีบูชาขอบพระคุณ ขอขอบพระคุณทุกท่าน

สัมภาษณ์

บิดามารดาของพระสงฆ์ใหม่ คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ สั ญ ญาว่ า ครอบครั ว ใดที่ ม อบ ลูกของตนในคณะซาเลเซียน พระเยซูเจ้าจะทรงไป แทนที่ เขาในครอบครั ว โอกาสบวชพระสงฆ์ ข อง คุณพ่อมัทธิว กิติชัย ใสสว่าง ให้เราฟังความในใจ ของนายยอห์น แบปติสต์ บุญมา และนางยูเลียอันนา ไพรมะณี ใสสว่าง บิดาและมารดาของพระสงฆ์ใหม่ พ่อแม่ส่งเสริมความเชื่อและความศรัทธา ของลูกอย่างไร? แม่: ตอนเด็กๆ แม่กับพ่อก็จะพาลูกๆ ไปร่วมมิสซาที่ วัดทุกเช้าวันอาทิตย์ และก็สนับสนุนให้ลูกไปช่วยงานที่วัด เป็นประจ�ำสม�่ำเสมอ และเมื่อลูกอยากเข้าบ้านเณร แม่ก็ พยายามสนับสนุนลูกทุกอย่างเท่าที่ท�ำได้และโดยเฉพาะ การสวดภาวนาเพื่อกระแสเรียกของลูก ประทับใจอะไรในตัวลูก? พ่อ: ลูกจะเป็นคนทีต่ งั้ ใจเรียน มีความมุง่ มัน่ อดทน และ ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ พระสงฆ์ควรใส่ใจเรื่องอะไรเป็นพิเศษ? แม่: พระสงฆ์นักบวชควรเอาใจใส่เรื่องความศรัทธาต่อ พระเจ้าในการสวดภาวนา และเรื่องความเสียสละในการ อภิบาลสัตบุรษุ ด้วยความรักเมตตา นีค่ อื สองสิง่ ทีจ่ ะส่งเสริม ชีวติ พระสงฆ์และเป็นสิง่ ทีพ่ ระสงฆ์แต่ละคนควรมีควบคูก่ นั ไป อยากฝากอะไรถึงลูก? พ่อแม่: อยากบอกลูกว่าพ่อกับแม่ภูมิใจในตัวลูกมากที่ทำ� ตามความฝันตัวเองส�ำเร็จ และขอพระเจ้าอวยพรให้ลูกท�ำ หน้าที่ของตนเองต่อไปอย่างดีและซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียก เพือ่ จะได้ทำ� งานของพระและรับใช้เพือ่ นพีน่ อ้ งตลอดไป และ ขอขอบคุณคณะผู้ใหญ่และทุก ๆ ท่านที่มีส่วนในการอบรม และเลี้ยงดูลูกทั้งด้านร่างกายและชีวิตกระแสเรียก

January-February 2020

15


แก่นซาเลเซียน By บText: บ.สันติสุข

คริสตชนดีและ พลเมืองซื่อตรง ค�ำขวัญปี ๒๐๒๐ ในมุมมองใหม่

ปี ๒๐๒๐ คุณพ่ออัคราธิการ Ángel Ferńandez Artime ให้ค�ำขวัญแก่ ครอบครัวซาเลเซียน “คริสตชนดีและ พลเมืองซื่อตรง” ซึ่งเป็นเป้าหมายของ การอบรมซาเลเซียนในระบบป้องกัน ของคุ ณ พ่ อ บอสโก เหมือ นเป็นการ ตอกย�้ำว่าบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวดเร็ ว ของทุ ก วั น นี้ ส ่ ง ผลต่ อ คุ ณ ค่ า ต่างๆอย่างมาก นอกจากจะก่อให้เกิด ความสับสนในแง่ของคุณค่าแล้ว ยังมี การท�ำให้คุณค่าหลายอย่างหมดหาย ไปจากสังคมอย่างน่าเสียดาย และใน บริบทนี้เองที่เด็กๆ และเยาวชนก�ำลัง เติบโตขึ้นมา ในบริ บ ทที่ เ ปลี่ ย นแปลงอย่ า ง รวดเร็วและมีความสับสนนี้ กระแสนิยม เข้ามาแทนทีค่ ณุ ค่า ท�ำให้คณุ ค่าหลายอย่าง 16

db Bulletin

ที่ยกย่องและยึดถือกันมาช้านานหมด คุ ณ ค่ า ลง ทั้ ง ในระดั บ ปั จ เจกบุ ค คล ทั้งในระดับสังคม ทั้งในระดับโลก ยิ่ง เมื่ อ ต้ อ งพบกั บ กระแสสั ม พั ท ธ์ นิ ย ม ที่ ม องว่ า อะไรก็ พ อๆ กั น ความดี และความถู ก ต้ อ งขึ้ น อยู ่ กั บ ใครจะ มองอย่างไร ...ดีส�ำหรับคุณแต่อาจ จะไม่ ดี ส� ำ หรั บ ฉั น ก็ ไ ด้ อาจจะถู ก ต้องส�ำหรับคุณแต่อาจจะไม่ถูกต้อง ส�ำหรับฉันก็ได้... แล้วนั้นยังมีกระแส ประโยชน์ นิ ย มที่ ถื อ ว่ า ความดี ค วาม ถู ก ต้ อ งขึ้ น อยู ่ กั บ ประโยชน์ แ ละผล ประโยชน์ทไี่ ด้ นอกนัน้ กระแสวัตถุนยิ ม กระแสบริโภคนิยม กระแสสนุกนิยม และกระแสรวดเร็วทันใจนิยม ท�ำให้ คุณค่าฝ่ายจิตใจพลอยได้รบั ผลกระทบ ถึ ง ขนาดขาดความน่ า เชื่ อ ถื อ ไปโดย

ปริยาย ในบริบทสังคมนี้แหละที่เด็กๆ และเยาวชนก�ำลังซึมซับกระแสนิยม เหล่ า นี้ จ ากบุ ค คลที่ เ ป็ น ผู ้ ใ หญ่ ท าง ตัวอย่าง ค�ำพูดค�ำจา การกระท�ำ จาก สื่อมวลชน...อย่างต่อเนื่อง ทุกวัน บริ บ ทสั ง คมที่ ถู ก แทรกซึ ม ด้ ว ย กระแสนิยมเหล่านี้ก�ำลังท้าทายความ เป็นนักอบรมของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ นายชุมพาบาล ผู้รับเจิมอย่างเร่งด่วน ก่อนที่กระแสนิยมเหล่านี้จะกลายเป็น คุณค่าส�ำหรับเด็กและเยาวชนในยุคนี้ ในฐานะนักอบรมซาเลเซียน เราไม่มี เวลาที่จะเสียไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ หรือประณามกระแสนิยมเหล่านี้ ตรง ข้าม เราน่าจะถือเป็นการท้าทายทีต่ อ้ ง ตอบรับด้วยความเร่งด่วนและกระชับ ความส� ำ นึ ก ในกระแสเรี ย กแห่ ง การ เป็นผูอ้ บรมของเรา พร้อมกับมาตรการ การอบรมให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึง คุณค่าแท้จริง ก่อนที่จะถูกกระแสนิยม เหล่านีค้ รอบง�ำ คุณพ่ออัคราธิการช่วย กระชับความส�ำนึกในการเป็นผู้อบรม เยาวชนของเราแต่ละคนด้วยค�ำขวัญ ปี ๒๐๒๐ “คริสตชนดีและพลเมือง ซื่อตรง” ไม่ใช่แค่ย�้ำเตือนให้เราค�ำนึง ถึงเป้าหมายของระบบการอบรมแบบ ป้องกัน...อบรมเด็กให้เป็นคริสตชนดี


และพลเมืองซือ่ ตรง แต่เป็นการตอกย�ำ้ ให้เราอบรมเด็กให้เห็นและตระหนัก ว่าความเป็นคริสตชนดีและความเป็น พลเมืองซื่อตรงเป็นคุณค่าความเป็น มนุษย์ทไี่ ม่มวี นั เปลีย่ นไปตามกระแสนิยม เมือ่ อ่านค�ำอธิบายสัน้ ๆ ของค�ำขวัญ ปี ๒๐๒๐ เราจะพบว่า เบือ้ งหลังค�ำขวัญ “คริสตชนดีและพลเมืองซื่อตรง” คุณ พ่ อ อั ค ราธิ ก ารตอกย�้ ำ ว่ า นี่ ไ ม่ ใช่ แ ค่ เป้ า หมายของการอบรมในระบบ ป้องกันที่เราพยายามอบรมเด็กและ เยาวชนให้เป็นเช่นนั้น แต่เป็นการ เชิญชวนให้ผอู้ บรมร่วมอยูใ่ นกระบวนการ อบรมไปสู ่ ก ารเป็ น คริ ส ตชนดี แ ละ พลเมืองซื่อตรงไปพร้อมกับเด็กและ เยาวชนที่เราให้การอบรม หรือจะพูด อีกนัยหนึ่ง เป็นการอบรมร่วมกัน... ทั้งผู้อบรมและผู้รับการอบรม อย่างที่ พูดกันว่าในขณะที่เราอบรมเด็ก เด็ก ก็ก�ำลังอบรมเราอยู่ ดังนั้น การอบรม ให้เด็กและเยาวชนเป็นคริสตชนดีและ พลเมื อ งซื่ อ ตรงจึ ง เป็ น กระบวนการ อบรมแบบสองทาง ทั้ ง เราและเด็ ก เหมือนการสื่อสารสองทาง (two way communication) ดังทีค่ ณ ุ พ่ออัคราธิการ เน้นย�ำ้ ในค�ำอธิบายค�ำขวัญปี ๒๐๒๐... “ให้เราอบรมตัวเราและเยาวชนของ เราในความเป็ น พลเมื อ งและพั น ธะ หน้าที่แห่งสังคม...ให้เราอบรมตัวเรา และเยาวชนของเราในพันธะหน้าทีแ่ ละ การบริการด้านการเมือง...ให้เราอบรม ตัวเราและเยาวชนของเราในด้านความ ซื่ อ สั ต ย์ แ ละหลี ก หนี ก ารฉ้ อ ราษฎร์ บังหลวง ฯลฯ” ในท�ำนองเดียวกัน เมื่อพูดถึงการอบรมเด็กและเยาวชน ให้เป็นคริสตชนดีนนั้ “ผูอ้ บรมต้องเป็น คริสตชนแท้จริงโดยมีชวี ติ จิตซาเลเซียน เป็นพื้นฐาน เป็นชีวิตจิตซาเลเซียน ที่ร่วมด�ำเนินชีวิตกับพระเจ้าในชีวิต ประจ�ำวัน...พร้อมบรรยากาศมิตรภาพ ระหว่างผู้อบรมกับเยาวชนที่น�ำไปสู่ การพัฒนาของแต่ละคน...มิตรภาพ แท้จริงทีส่ อื่ ออกมาในการติดต่อพูดคุย การเสริมสร้างกันและกัน...เป็นความ สัมพันธ์ที่มีความเป็นกันเองซึ่งก่อให้ เกิดความรัก ความรักน�ำไปสู่ความไว้

เนื้อเชื่อใจกระทั่งเยาวชนพร้อมพูดคุย ได้ทกุ เรือ่ งโดยไม่มคี วามกลัว เพราะพวกเขา มัน่ ใจว่าผูอ้ บรมรักและหวังดีพวกเขา...” อนึ่ ง “คริ ส ตชนดี แ ละพลเมื อ ง ซื่อตรง” เป็นเป้าหมายการอบรมใน ระบบป้องกันทีค่ ณ ุ พ่อบอสโกได้เริม่ ต้น และส่ ง ทอดมาให้ เราในครอบครั ว ซาเลเซียนนั้น บางคนอาจจะมองว่า เป้าหมายการอบรมเด็กและเยาวชนให้ เป็น “คริสตชนดี” นั้นคุณพ่อบอสโก คงหมายถึงบริบทที่ท่านด�ำเนินชีวิต อยู่ กล่าวคือบริบททีค่ นส่วนใหญ่เป็นค ริสตชน แต่ในบริบททีค่ ริสตชนเป็นส่วน น้อยนัน้ เป้าหมายการอบรมน่าจะเป็นการ อบรมเยาวชนให้ เ ป็ น “ศาสนิ ก ชนดี ” ...ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ เ ด็ ก ได้ ปฏิบัติศาสนกิจ ถือค�ำสอนถือศีลใน ศาสนาที่ตนสังกัดอยู่... ซึ่งก็ถือว่าเป็น ส่วนหนึง่ ของการอบรมทีเ่ ปิดกว้าง ทว่า ในแง่ของความเป็นจริงแล้ว การอบรม ให้เด็กเป็น “คริสตชนที่ดี” ในแง่ของ ระบบการอบรมแบบป้องกันของคุณพ่อ บอสโกยังบ่งบอกถึงมิติธรรมทูตของ เราในฐานะเป็ น คริ ส ตชนและเป็ น ผู้รับเจิม เป็นการย�้ำเตือนว่า นอกจาก ที่ จ ะอบรมให้ เ ด็ ก และเยาวชนเป็ น ศาสนิกชนที่ดีตามความเชื่อของแต่ละ คนแล้ ว เราตั้ ง ใจอบรมให้ เ ด็ ก และ เยาวชนเข้าถึงพระเจ้า เข้ามารู้จักและ มีประสบการณ์กับพระเยซูเจ้าผู้ทรง เติมเต็มชีวิตของแต่ละคนให้เต็มเปี่ยม และสมบูรณ์...ในพระเยซูเจ้า มนุษย์ พบความเต็ ม เปี ่ ย มแห่ ง ความเป็ น

มนุ ษ ย์ พระองค์ เ สด็ จ มาเพื่ อ สอน ความเป็นมนุษย์แท้ให้แก่มนุษย์ ทั้ง ด้วยชีวิตและค�ำสอนของพระองค์ ถ้า มองจากแง่นี้แล้ว เป้าหมายของการ อบรมแบบป้องกันคือการอบรมให้เด็ก และเยาวชนเป็น “คริสตชนดี” จึงเป็น พันธกิจส�ำหรับผู้อบรมคริสตชนในมิติ ของการประกาศข่าวดีและส�ำหรับเรา ผู้รับเจิมเพื่อเยาวชนในแนวทางของ คุณพ่อบอสโกใน “มิติธรรมทูต” แห่ง การอบรมซาเลเซียน ทีไ่ ด้รบั แรงบันดาลใจ จากความรักแท้จริงที่เรามีต่อเด็กและ เยาวชน ความรักย่อมอยากให้คนทีเ่ รา รักบรรลุความเต็มเปีย่ มแห่งชีวติ ในทุก ด้านและความเต็มเปี่ยมแห่งชีวิตนี้ได้ จากการมีประสบการณ์กับพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์แท้ หากมองจากแง่นแี้ ล้ว เราจะเห็นได้ ว่า ค�ำขวัญปี ๒๐๒๐ “คริสตชนดีและ พลเมืองซือ่ ตรง” ไม่ใช่แค่การน�ำเสนอ เป้าหมายการอบรมแบบป้องกันที่ส่ง ทอดกันมาถึงปัจจุบัน หากแต่เป็นการ สร้างความตระหนักให้ทกุ คนในครอบครัว ซาเลเซียนถึงบทบาทการเป็นผู้อบรม เด็กและเยาวชนได้และเข้าใจว่าการ อบรมเด็กและเยาวชนมีมากกว่าที่เรา เข้ า และคิ ด เวลาเดี ยวกั นก็ เป็น การ ทบทวนด้วยกันว่า จนถึงเวลานีแ้ ละใน บริบทสังคมทีเ่ ราด�ำเนินชีวติ อยูเ่ ดีย๋ วนี้ เราได้ท�ำหน้าการเป็นนักอบรมเด็ก และเยาวชนตรงประเด็นและสอดคล้อง ตามเป้าหมายอย่างแท้จริงแล้วหรือยัง

January-February 2020

17


LOCAL NEWs By SDB Reporter

ข่าวซาเลเซียน สัมภาษณ์พิเศษ ซ.อานาโรซา ซีโวริ พระญาติโป๊ป

50 ปี, 25 ปี ชีวิตสงฆ์และการปฏิญาณตน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2019 บิชอปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธานในพิธบี ชู าขอบพระคุณ โอกาสฉลอง 50 ปี ชีวิตสงฆ์ของคุณพ่อตีโต เปดรอน และคุณพ่อยอห์น แปร์ติเล, ฉลอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์ ของคุ ณ พ่ อ ยะรั ต น์ ไชยราและฉลอง 50 ปี ก าร ปฏิญาณตนเป็นนักบวชของภราดาโรเบิร์ต ปาเนตโต ณ วัดน.ยอห์น บอสโก กรุงเทพฯ

เ มื่ อ วั น ที่ 1 ธั น ว า ค ม 2 0 1 9 ซิ ส เ ต อ ร ์ อานาโรซา ซีโวริ พระญาติของสมเด็จพระสันตะปาปา ได้แบ่งปันประสบการณ์ของการมาเยือนประเทศไทย ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ผ่านทางการสัมภาษณ์ พิเศษ ด�ำเนินรายการโดยคุณชื่นจิตต์ เจริญพงศ์ชัย (ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์) ณ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ กรุงเทพกรีฑา

รับศีลมหาสนิทครั้งแรก

คว้าเหรียญทองและเหรียญเงิน วิทยาศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ ระหว่างวันที่ 3-12 ธันวาคม 2019 นักเรียน โครงการชาเลเชียน SME โรงเรียนแสงทองวิทยา (ซาเลเซี ย น) และธิ ด านุ เ คราะห์ (คณะซิ ส เตอร์ ซาเลเซียน) จ�ำนวน 5 คน ได้เข้าร่วมการแข่งขัน วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยม ตอนต้น ครั้งที่ 16 ณ เมืองโดฮา รัฐกาตาร์ ในฐานะ ผู้แทนประเทศไทย พร้อมด้วยคุณครู 1 ท่านที่เข้าร่วม ในกระบวนการแปลและตรวจทานข้อสอบ ผลปรากฏ ว่านักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง 3 คน และรางวัล เหรียญเงิน 2 คน 18

db Bulletin

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2019 คุณพ่อแตรี่ ตาไปย์ เจ้าอาวาสวัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ อ.พนม จ.สุราษฎร์ฯ เป็ น ประธานในพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ โอกาสรั บ ศี ล มหาสนิทครั้งแรกของนักเรียน จ�ำนวน 13 คน โดยมี บรรดาผู้ปกครองและสัตบุรุษที่มาร่วมแสดงความยินดี ในโอกาสพิเศษนี้


แบ่งปันความสุข

ร.ร.หัวหินวิทยาลัยคว้าแชมป์โยธวาทิตนานาชาติ ประเภท Open Division

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2019 ตัวแทนนักเรียนระดับ มัธยมปลายของโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา จ.อุดรฯ ได้ ไปส่งมอบความสุขให้กับเด็กๆ ของบ้านเด็ก คุณแม่ เทเรซา จ.หนองบัวล�ำภู จ�ำนวน 160 คน บ้านดังกล่าว เป็นบ้านซึ่งดูแลเด็กซึ่งติดเชื้อ HIV และเด็กที่ยากจน ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของซิสเตอร์คณะธรรมทูตแห่ง เมตตาธรรม โดยนักเรียนซาเลเซียนได้ไปจัดกิจกรรม เล่นเกม เลี้ยงอาหารกลางวันและมอบของใช้ที่จ�ำเป็น ซึ่งได้รับการบริจาคจากนักเรียนและผู้ปกครองของ โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

วงโยธวาทิ ต ของโรงเรี ย นหั ว หิ น วิ ท ยาลั ย จ.ประจวบฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท Open Division จากการประกวดวงโยธวาทิ ต โลก ชิ ง ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย ประจ�ำปี 2019 ณ สนามกี ฬ าแห่ ง ประเทศไทย จ.ศรี ษ ะเกษ ร ะ ห ว ่ า ง วั น ที่ 1 9 - 2 1 ธั น ว า ค ม 2 0 1 9

ส่งความสุขคริสต์มาสให้กบั ชุมชนกองขยะ

คุณพ่อเจ้าคณะเยี่ยมบ้านเณรหัวหิน

เมือ่ วันที่ 21 ธันวาคม 2019 คุณพ่อปอล วู แวน ตรง, ซิสเตอร์ซาเลเซียนและตัวแทนนักเรียนของศูนย์ฝึก อาชีพดอนบอสโกเวียงจันทน์ สปป ลาว ได้น�ำของขวัญ คริสต์มาสไปแจกให้กับเด็กๆ และชาวบ้านในชุมชุน กองขยะของเมืองเวียงจันทน์ เด็กๆและชาวบ้านทุกคน ต่างดีใจที่ได้รับของขวัญ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นโอกาสของการแบ่งปันและประกาศข่าวดีแก่ คนรอบข้าง

คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะฯ ได้เยี่ยมหมู่ คณะซาเลเซียนที่โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ และได้พบกับบรรดาอภิรติกชนซาเลเซียน (เณร) ระดับชั้นม.ต้น โอกาสนี้บรรดา อภร.ได้อวยพร คุณพ่อในโอกาสคริสต์มาสและปีใหม่ทกี่ ำ� ลังจะมาถึงนี้ ด้วย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2019 January-February 2020

19


LOCAL NEWs By SDB Reporter

ข่าวครอบครัวซาเลเซียน สมาชิกใหม่ ADMA

ค่ายมิตรมารีย์... “Come and See”

วันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2019 โอกาสสมโภชพระนาง มารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ฆราวาสจ�ำนวน 2 คนได้เข้า เป็นสมาชิกของคณะแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ADMA) โดยมีคุณพ่ออารอน อัลโกเซบา จิตตาธิการ ADMA ประเทศไทย เป็นประธาน ณ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ กรุงเทพ พร้อมกันนี้สมาชิก ADMA ทุกคนได้รื้อฟื้น ค�ำสัญญาในโอกาสนี้ด้วย

ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม 2019 ซิสเตอร์คณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ฝ่ายอภิบาลเยาวชน ได้จัด ค่ายมิตรมารีย์ “Come and See” ในหัวข้อ “ความ ศักดิ์สิทธิ์เป็นของเธอด้วย” ที่บ้านสเตลลา มารีส อ.ชะอ�ำ จ.เพชรบุรี มีเด็กๆ และเยาวชนจากโรงเรียน ในเครือ ธมอ. และเขตวัดต่างๆ รวมประมาณ 80 คน

สมัชชาแขวงคณะซาเลเซียน ผู้ร่วมงานประเทศไทย วั น ที่ 9-10 ธั น วาคม 2019 คณะซาเลเซี ย น ผู ้ ร ่ วมงานประเทศไทยได้จัดประชุม สมัช ชาแขวงที่ บ้านดอนบอสโกโฮม กรุงเทพกรีฑา โดยมีสมาชิก เข้าร่วมประชุมจ�ำนวน 40 คน ในการประชุมครั้งนี้ 20

db Bulletin

คุณพรสวัสดิ์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ ได้รับการลงคะแนนให้ ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผูป้ ระสานงานแขวงต่ออีกวาระหนึง่ เป็นสมัยที่ 10 วาระ ปี 2020-2022 และที่ประชุมได้ เลือกคณะที่ปรึกษาแขวงชุดใหม่อีกจ�ำนวน 6 คน


ส่งความสุขคริสต์มาส

ค่ายสัมผัสชีวิตคณะผู้รับใช้ฯ

เมื่ อ วั น ที่ 14 ธั น วาคม 2019 สมาชิ ก สถาบั น ธิดาพระราชินี และน้องผู้ฝึกหัด ร่วมกับคณะธรรมทูต ซาเวเรียน จัดกิจกรรมมอบความสุขโอกาสคริสต์มาส ให้ กั บ พี่ น ้ อ งในชุ ม ชนคลองเตย โดยจั ด ให้ มี ก าร ร้องเพลงอวยพรตามบ้านส�ำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมเกมการละเล่นต่างๆ เด็กๆ ในชุมชน ด้วย ซึ่งบรรยากาศในวันนั้นอบอวนไปด้วยความสุข

วันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2019 ซิสเตอร์ ผู้รับใช้ฯ จัดค่าย “สัมผัสชีวิต” กระแสเรียกคณะ ซิสเตอร์ผู้รับใช้ฯ ให้กับบรรดาเด็กๆ ที่สนใจเพื่อจะได้ รู้จักคณะผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ในบรรยากาศของ ความรัก ความอบอุ่น และความสนุกสนาน เฮฮา ณ ส�ำนักงานกลางคณะผู้รับใช้ฯ หัวหิน จ.ประจวบฯ

ซาเลเซียนผู้ร่วมงานสารสิทธิ์ฯ ส่งความสุขคริสต์มาส

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2019 สมาชิกซาเลเซียน ผู ้ ร ่ ว มงาน บ้ า นสารสิ ท ธิ์ น� ำ โดยคุ ณ พ่ อ นพพร ย อ แซ ฟ ไ ด ้ จั ด กิ จ ก ร ร ม ส ่ ง ค ว า ม สุ ข โ อ ก า ส วั น พระคริ ส ตสมภพแด่ เ ด็ ก ๆ โรงเรี ย นค่ า ย ลูกเสือบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และได้ส่งความ สุขแด่สมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงานอาวุโส

อวยพรคริสต์มาสศิษย์เก่าดอนบอสโก สมาคมศิษย์เก่าดอนบอสโก กรุงเทพฯ จัดกิจกรรม อวยพรและส่งความสุขคริสต์มาสและปีใหม่แด่กลุ่ม ศิษย์เก่าฯ โดยคุณพ่อมานะชัย ธาราชัย อธิการ พร้อม ด้วยตัวแทนนักเรียนได้อัญเชิญพระกุมารไปตามบ้าน เพื่ออวยพร

January-February 2020

21


เส้นทางจอม Youth By สายลมที่พัดผ่าน

เมื่อคาทอลิกตกหลุมรัก...

5 วิธีการที่น�ำความสุขแท้จริง ใครเคยตกหลุมรัก ยกมือขึ้น! ประสบการณ์ของการตกหลุมรักของเราแต่ละคนคงจะแตกต่างกันไป ลองมาส�ำรวจกันว่าในขณะที่เราก�ำลังตกหลุมรักใครบางคนนั้นเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร และ ถ้าเราลองพิจารณาให้ลึกซึ้งมากขึ้น เวลาที่เรามีความรัก พระเจ้าทรงเข้ามามีบทบาทในชีวิต ในความรู้สึก และในการตัดสินใจของเราอย่างไร? 1.ชีวิตเป็นสีชมพู ถ้ า ใครอยู ่ ใ นสถานการณ์ นี้ ก็ ค งจะเข้ า ใจดี ว ่ า ความรู ้ สึ ก ที่รักใครสักคนและเขาคนนั้นก็ต อบรับความรักของเราด้ ว ย มันจะบันดาลความสุขใจได้มากเพียงไร มันคงเป็นช่วงเวลา ของชี วิ ต ที่ ไ ม่ ว ่ า จะฟั ง เพลงอะไร หรื อ ดู ภ าพยนตร์ เรื่ อ งใด ทุกสิง่ ทุกอย่างมันดูฟรุง้ ฟริง้ ไปหมด หรือแม้กระทัง่ จะต้องพบเจอ กับอุปสรรคและความยากล�ำบากต่างๆ ก็ยังยิ้มได้ เพราะการ ตกหลุมรักใครบางคนนี่แหละที่เป็นขวัญและก�ำลังใจ

2.ตั้งค�ำถามให้กับตนเองว่า “นี่เป็น กระแสเรียกของฉันจริงๆ หรือเปล่า?” เราทุกคนที่เป็นคาทอลิกถูกหล่อหลอมให้พิจารณาและ ไตร่ตรองถึงกระแสเรียกของตนเองอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น เมื่อ เราตกหลุมรักกับใครบางคน เราสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์ หรือประสบการณ์นี้กับค�ำถามที่ว่า “พระเจ้าทรงเรียกเราไป สู่ชีวิตสมรสไหม?” นี่คือโอกาสของการไตร่ตรองและวินิจฉัย กระแสเรียกของเราให้ดี เพราะการที่เราตอบสนองพระประสงค์ ของพระเจ้าและตอบรับการเชื้อเชิญของพระองค์จะน�ำพาเราให้ มีความสุขอย่างแท้จริง ถ้าพระเจ้าทรงเรียกเราให้เป็นผู้รับเจิม ถวายตัว ก็อย่ากลัวที่จะตอบรับด้วยความสุข แต่ถ้าพระเจ้าทรง เรียกให้เรามีชีวิตสมรส เราก็ตอบสนองเสียงเรียกนั้นด้วยความ ซื่อสัตย์เสมอ อย่าให้มีสิ่งใดเป็นแรงกดดันที่มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจ แต่ให้การตัดสินใจนั้นมาจากน�้ำใจอิสระของเราจริงๆ

22

db Bulletin


3.ภาวนาให้กับคนที่เรารัก การภาวนาถือเป็นสิง่ ส�ำคัญมาก เมือ่ เรามีความรัก เราภาวนาขอพระเจ้า

โปรดให้เราได้พบกับความสุขที่แท้จริง ขอพระองค์โปรดช่วยรักษาความรัก ของเราให้มีความมั่นคง การภาวนาท�ำให้ความรักของพระเจ้ามั่นคงอยู่ใน ความรักที่เรามีต่อคนที่เรารัก ค�ำภาวนานั้นมีคุณค่าและทรงพลังซึ่งช่วยให้ เราและเขาพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคและความยากล�ำบากต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นบนเส้นทางแห่งความรัก แม้ว่าวันหนึ่ง เราอาจจะรักคนคนนั้นไม่ เหมือนเดิม แต่โดยอาศัยการภาวนา เรามั่นใจว่าพระเจ้าจะทรงรักเขาต่อไป พระองค์จะทรงเติมเต็มความรักที่เราให้เขาไม่ได้ เพราะเป็นความรักเองที่ น�ำพาให้เราได้วอนขอต่อพระเจ้าเพื่อความสุขของผู้นั้น อย่าได้ละเลยที่จะ สวดภาวนา เพราะการภาวนาจะช่วยท�ำให้สถานการณ์ตา่ ง ๆ ทีอ่ าจดูมดื มัว ได้กลับกลายเป็นท้องฟ้าใหม่ที่เจิดจ้าสว่างไสว

4.อย่าได้หยุดที่จะอยู่ใน “ความรัก” ทั้ ง ฝ่ า ยชายและฝ่ า ยหญิ ง พึ ง รั ก ษาความรั ก ให้ ค งอยู ่ เ สมอ พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ตรั ส ว่ า “ความรั ก ก็ เ ป็ น เหมื อ นกั บ งาน ฝีมือชนิดหนึ่ง” ที่ทั้งชายและหญิงจะต้องหมั่นเรียนรู้ ฝึกฝน โดย เฉพาะในการยอมรับตัวตนของกันและกัน และเติมเต็มซึ่งกันและ กันด้วย เพราะฉะนั้น การสร้างชีวิตครอบครัวร่วมกันจึงเป็นอะไรที่ มากกว่าความรูส้ กึ ทีอ่ ยูแ่ ค่มอี ะไรทีด่ งึ ดูดเข้าหากัน แต่มนั มีความหมายลึกซึง้ เพราะชายและหญิ ง จะต้ อ งก้ า วเดิ น ไปพร้ อ มกั น เพื่ อ รู ้ จั ก โลกแห่ ง ความรักของตนให้มากขึ้น

5.ขอค�ำปรึกษาจากผู้อื่น เรื่องของความรักคงไม่มีใครเก่งกว่าใคร แต่อยู่ที่ว่าใครมีสติมากกว่ากัน หากเราคิดคนเดียว ยึดแต่เหตุผลและความรู้สึกของตนเป็นหลัก แน่นอนว่า เราอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับความผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้า เราสุภาพขอค�ำแนะน�ำจากผูอ้ นื่ หรือเปิดใจเรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ อย่างชาญ ฉลาด เราก็จะเดินไม่ผิดพลาดเพราะหลายคนจะช่วยสนับสนุนเราไม่วิธีใด ก็วิธีหนึ่ง พระเจ้าทรงมีวิธีการของพระองค์เพื่อเผยช่องทางให้เราได้เข้าใจ และปฏิบตั ติ ามพระประสงค์ของพระองค์ได้อย่างมีความสุข เพียงแต่เราต้อง มองให้เห็นเท่านั้นเอง พระองค์ทรงต้องการให้เราเข้าใจในพระประสงค์ของ พระองค์ รวมถึงสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงเตรียมไว้สำ� หรับเราด้วย เพือ่ เราจะได้สร้าง หนทางทีม่ นั่ คงส�ำหรับการเดินทางไปสูค่ วามรักและความเชือ่ ทีเ่ ข้มแข็งมัน่ คง เมื่อคาทอลิกคนหนึ่งตกหลุมรัก ชีวิตของเขาจะเปลี่ยนสี เพราะความรักคือการด�ำเนินชีวิตอย่างลึกซึ้งและเข้มข้นมากกว่า เราถูกหล่อหลอมหัวใจเพื่อจะได้รักผู้อื่นอย่างดี ท�ำสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าในบางครั้งวิธีการที่เราแสดงออกอาจจะดูบ้าบอหรือ ไร้สาระในสายตาของคนอื่น แต่ส�ำหรับพระเจ้าแล้ว มันคือการเติมเต็มพระพรแห่งรักลงในชีวิตของเราที่มีความเปราะบางและขาด พระองค์ไม่ได้ ขอให้เราตกหลุมรักพระองค์เถิด January-February 2020

23


เพื่อนนักอบรม Text : ยวง บอสโก ธัญญา

มองให้รู้ อยู่ให้เป็น

“แม่ไอ้กอสขอน�้ำกินหน่อยๆๆๆ... อ้ายหนูเอ้ยขอน�้ำยายกินหน่อยๆๆๆ...” น�้ำเสียงร้องขอน�้ำอันแหบโหยของผู้ป่วย หญิงวัยชราดังมาจากเตียงข้างเคียงเป็น ระยะๆ ตลอดคื น แรกในวั น ที่ ผู ้ เขี ย น ได้มีโอกาสไปเฝ้าญาติผู้ใหญ่ซึ่งป่วยที่ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ดเู หมือนว่าไม่มใี ครในห้องนัน้ จะลุก ขึ้นไปหยิบยื่นน�้ำให้แกดื่มเลยสักคนเดียว แม้กระทั่งคนที่นอนเฝ้าอยู่ข้างๆ เตียง ของแกเอง ทีส่ ดุ ผูเ้ ขียนอดรนทนไม่ได้อกี ต่อไป จึงลุกขึ้นเดินไปที่เตียงของแก แต่ ก็ยังช้ากว่าเสียงของนางพยาบาลที่ดังมา จากทางด้านหลังว่า “หมอยังไม่ให้กิน ยาย...นอนเถอะค่ะ” เป็ น เหตุ ก ารณ์ ที่ ผู ้ เขี ย นเกื อ บ พลาดท� ำ ร้ า ยคุ ณ ยายด้ ว ยความ ส ง ส า ร ที่ ม า จ า ก ค ว า ม เชื่ อ ใ น ความคิ ด ของตนเองว่ า “ยาย แกหิ ว น�้ ำ ” โดยลื ม คิ ด ถึ ง ปั จ จั ย แวดล้อมอื่นๆ ไปเสียสิ้น

24

db Bulletin

เย็นวันหนึ่ง ดูข่าวทีวีมีดาราซุปตาร์ คูห่ นึง่ ให้สมั ภาษณ์ถงึ การเลีย้ งลูกน้อยวัย สี่ขวบของเขาว่า “เราเลี้ยงลูกเอง เราต้อง ยอมให้ลกู เล่นและดูคลิปดูยทู บู ในเวลาที่ เราต้องท�ำงาน และในเวลาที่เขาร้องขอ คือเมื่อเขาอยากเล่น และเมื่อเขาเห็นเรา ใช้มอื ถือ...แต่เราได้เลือกดาวน์โหลดคลิป รายการทีเ่ หมาะกับวัยเขาไว้กอ่ น แล้วให้ ดูใน “Youtube Offline” แบบไม่เชือ่ มต่อ อินเทอร์เน็ต” ผู้เขียนรู้สึกชื่นชมพ่อแม่ซุปตาร์ คู่นี้ที่พยายามเรียนรู้และสร้างทาง เลือกในการแก้ปัญหาให้กับลูกและ ตนเองด้วย แม้ว่าจะเป็นพ่อแม่มือ ใหม่ มีพ่อแม่คู่หนึ่งมาพบครูที่โรงเรียน ด้วยสีหน้าที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวล พ่อเป็นถึงนายพลต�ำรวจ ส่วนแม่เป็น แม่ บ ้ า น ทั้ ง สองเล่ า ว่ า “ลู ก ติ ด เกม ออนไลน์อย่างหนัก ห้ามก็ไม่ได้จะ พู ด อย่ า งไรก็ ไ ม่ ฟ ั ง ถ้ า ไม่ ใ ห้ เ ล่ น ก็

จะอาละวาดร้องตะโกนโวยวาย นี่เป็น สาเหตุที่เขาไม่เคยท�ำการบ้านมาส่งครู เลย และมานอนหลับในห้องเรียน เพราะ เล่นไม่ยอมกินยอมนอน...เราบังคับลูกไม่ ได้จริงๆ” นี่ เ ป็ น เหตุ ก ารณ์ และค� ำ สารภาพ ข อ ง พ ่ อ แ ม ่ ที่ ย อ ม ศิ โร ร า บ ใ ห ้ กั บ “อิทธิพล” ของการเปลี่ยนแปลงหรือ เป็นเพราะ “ความรักตามใจ” ลูกหัว แก้ ว หั ว แหวนคนเดี ย วของครอบครั ว อย่าง “ไร้หลักและเหตุผล” จึงยอม “ไม่ บั ง คั บ ใจตนเอง” ให้ มี ค วาม เด็ ด เดี่ ย วเข้ ม แข็ ง พอในการอบรม ลูกหรืออย่างไร? เป็นประเด็นที่ชวนคิดวิเคราะห์อย่าง มากในสั ง คมโลกปั จ จุ บั น ที่ ล ้ ว นต้ อ ง เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ชนิ ด ก้ า วกระโดดจากอิ ท ธิ พ ลของสื่ อ เทคโนโลยียุคดิจิทัล เราต้องยอมรับว่าความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมต่ า งๆ


มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ วิ ถี ชี วิ ต ของเรา ของลู ก ข อ ง ค ร อ บ ค รั ว ข อ ง สั ง ค ม อ ย ่ า ง หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยิ่งจะส่งผลกระทบ เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ จนท�ำให้เราต้อง เผชิญหน้ากับหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่ เคยเกิดขึ้นหรือประสบพบเห็นมาก่อน เลยในช่วงชีวิตที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่น่าวิตกกังวลเท่ากับเราจะ เตรียมลูกหลานของเราอย่างไรให้อยูร่ อด ได้ในอนาคตท่ามกลางการเปลีย่ นแปลง ที่ถาโถมเข้าใส่ จะท�ำอย่างไรให้เขามีทักษะ (Skill) การฟัง การอ่าน การดู การตั้งค�ำถาม และรู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะได้ว่าสิ่งใด ที่มีผลเป็นสาระส�ำคัญต่อชีวิต สิ่งใดที่ ไร้สาระ ท�ำอย่างไรให้เขาเป็นบุคคลแห่งการ เรียนรู้ (Learner) มีมายด์เซต (Mindset) มีทัศนคติ มีมุมมองพร้อมที่จะปรับตัว ปรับวิธีคิด เปลี่ยนพฤติกรรมให้ก้าวไป สู่ความดี ความสุขและความส�ำเร็จได้

ตลอดชีวิตของเขา ซึ่งเป็น “หน้าที่ส�ำคัญ” ของพ่อ แม่ และผู ้ ใ ห้ ก ารอบรมที่ จ ะต้ อ ง เป็น “ต้นแบบ” ใน “การเรียนรู้” ให้ เ ข้ า ใจถึ ง การเปลี่ ย นแปลงนี้ ก่ อ นและพร้ อ มที่ จ ะปรั บ เปลี่ ย น วิ ธี คิ ด วิ ธี ก ารให้ ส อดคล้ อ งกั บ ยุคสมัย โดยไม่ยอมให้ “ความเชื่อ คริสตชน” ต้องถูกเปลีย่ นแปลง หรือ สูญเสียไปด้วย นี่คือสิ่งส�ำคัญที่คุณพ่อบอสโกได้ มอบไว้เป็น “มรดกความเชื่อ” ให้ เรา ตลอดชีวติ ท่านยึดติดกับพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นเถาองุ่น และฝากงาน การ ให้การศึกษาอบรมเด็กเยาวชนที่ยากจน และอยู่ในอันตรายทั้งฝ่ายกายและฝ่าย จิตไว้ในความช่วยเหลือของ “แม่พระ” พระอาจารย์แห่งความรักของท่าน คุ ณ พ่ อ บอสโกเป็ น “บุ ค คล ต้นแบบ” แห่ง “การเรียนรู้ของเรา” ในการอบรมเด็กเยาวชนของท่าน

ภายใต้หลัก “เหตุผล ศาสนา และ ความรักใจดี” หรือ ระบบป้องกัน (Preventive System) ซึ่ ง เป็ น ประสบการณ์ชีวิตจิตของท่าน โดย อาศัยการน�ำของพระจิตเจ้า และยัง คงสดใหม่น�ำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอ แม้ ยุ ค สมั ย จะเปลี่ ย นแปลงไป อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าพระวาจาของพระเจ้า ทรงชีวติ และน�ำเราทุกคนไม่วา่ เด็ก ผูใ้ หญ่ ชายหญิง ผู้สูงวัย ผู้เจ็บป่วย หรือพิการ ไปสู่ชีวิตบรมสุขที่บรรลุถึงความดีความ ส�ำเร็จได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงใน โลกใบนี้และโลกหน้า “จงเชือ่ พระเยซู องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า เถิ ด ท่ า นและครอบครั ว จะได้ รอดพ้น” (กจ 16:31)

January-February 2020

25


One Moment in Time Text, Photo : Gassanee T.

Ramallah, Palestine

ขอพร... ผมอยากจะขอพร ขอให้ผม ได้นอน บ้างได้ไหม ขอให้ผม มีบ้าน ที่ปลอดภัย เสียงระเบิด..ผมไม่ อยากได้ยิน

ผมถึงอยากจะขอพร ผมแค่อยาก จะได้นอน แล้วหลับฝัน ขอผมได้ หลับสบาย เพียงสักวัน ไม่ต้องตื่น กลางคัน ด้วยเสียงปืน

ผมอยากจะขอพร ขอวิงวอน หากหัวใจท่าน ไม่ใช่หิน ผมก็เป็น ปุถุชน คนเดินดิน แต่ความสุข กลับโบยบิน หมดสิ้นไป

ผมแค่อยากขอ...สันติภาพ ซึ่งผมก็ว่ามันยากที่จะฝืน แต่อย่างน้อย...ผมก็แค่ขอสักที่..ที่จะยืน

บ้านแตก...สาแหรกขาด สงครามอันน่าขยาด มันเผาไหม้ ทั้งพ่อแม่ พี่น้อง ต้องตายไป แล้วผมจะมีชีวิตอยู่อย่างไร..อย่างไรกัน

26

db Bulletin

ขอแค่บ้านที่สงบของผมคืน...แค่นั้นเอง


ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

World News ปฏิญาณตนตลอดชีวิต เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2019 สมาชิกซาเลเซียนแขวงนักบุญลูกา ประเทศเวเนซูเอลา จ�ำนวน 8 ท่าน ได้ ป ฏิ ญ าณตนตลอดชี พ ที่ วิ ห าร นักบุญยอห์น บอสโก คาราคัส โดย คุณพ่อฟรังซิส เมนเดซ เจ้าคณะแขวง เป็นประธานในพิธี

ประชุมคณะที่ปรึกษาซาเลเซียนและธิดาแม่พระฯ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2019 คณะที่ปรึกษาของคณะซาเลเซียนและ คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ได้ประชุมพบปะกัน ก่อนที่จะมีการประชุม สมัชชาคณะซาเลเซียนในปี 2020 ที่วิหารพระหฤทัย กรุงโรม โอกาสนี้ ได้อวยพรคริสต์มาสและปีใหม่ซึ่งกันและกันในบรรยากาศแบบซาเลเซียน

วิทยุดอนบอสโกบราซิล ชนะเลิศรางวัลผูป้ ระกาศข่าว เยาวชน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2019 สถานี วิ ท ยุ “FM Dom Bosco Radio” ประเทศบราซิ ล ได้ รั บ รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งผู้สื่อข่าว ดีเด่นประเภทข่าวเยาวชน โดยมี ผู้เข้าร่วมประกวดกว่า 60 สถานี สถานีวทิ ยุดอนบอสโกเป็นสถานีซงึ่ ส่งเสริมให้แม่ที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึง ประสงค์รักษาชีวิตของทารกเอาไว้

ซาเลเซียนแปลพระคัมภีร์ภาษาทิวา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2019 พระคัมภีร์คาทอลิกภาษาทิวา [Tiwa Bible - “Baibil Khumur” (Holy Bible)] ได้ถูกเผยแพร่โอกาสฉลองวัด อุมสวาย รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย พระคัมภีร์ดังกล่าวถูกแปลโดยคุณพ่อ ยูวี โฮเซ่, ซดบ และคณะกรรมการ นับเป็นพระคัมภีร์เล่มล่าสุดในจ�ำนวน พระคัมภีร์ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 1,000 ภาษาทั่วโลก January-February 2020

27


สมาชิกใหม่ซาเลเซียนผู้ร่วมงาน

โอกาสฉลองแม่พระผูป้ ฏิสนธินริ มล วันที่ 7 ธันวาคม 2019 ซาเลเซียนผูร้ ว่ มงานของประเทศสโลเวเนียจ�ำนวน 4 คนได้ให้คำ� สัญญา โดยคุณพ่อมาร์โก โคสนิค เจ้าคณะ แขวงสโลเวเนียเป็นประธานในพิธี ณ วัดแม่พระองค์ อุปถัมภ์ ราโคนิค ปัจจุบนั มีสมาชิกซาเลเวียนผูร้ ว่ มงาน ในประเทศสโลเวเนียจ�ำนวน 70 คน

ซิสเตอร์ซาเลเซียนรับรางวัล “Caminando juntos” อบรม กฎหมาย พระศาสนจักร เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2019 นวกชนซาเลเซียนและนวกเนรี คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ของแขวงโคลอมเบีย เข้ารับการอบรม กฎหมายพระศาสนจักรร่วมกัน โดยคุณพ่อหลุยส์ แบร์นาโด มูวร์, ซดบ คณะบดีกฎหมายพระศาสนจักรของสันตะส�ำนักเป็นวิทยากร ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ผู้รับการอบรมตระหนักถึงหน้าที่และข้อปฏิบัติในการเป็น นักบวช ก่อนที่จะปฏิญาณตน

รวบรวม ของบริจาค คริสต์มาส

ซาเลเซียนเมืองคาดิส ประเทศสเปนได้ขอบริจาคและรวบรวม สิ่งของเพื่อคนยากจนในโอกาสคริสต์มาส โดยมีอาสาสมัครที่ช่วยรับ ของบริจาคกว่า 300 คน จากสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ การเรียน ของเล่น ทัง้ นีเ้ พือ่ ส่งไปช่วยคนยากจนทีเ่ มืองคอนโดบาและเมือง มาลากา ประเทศสเปน 28

db Bulletin

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2019 ซิสเตอร์ แบร์นาดา การ์เซีย คณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ซึ่งเป็นธรรมทูตท�ำงานที่ประเทศ บู กี น าฟาโซกว่ า 40 ปี ได้ รั บ รางวั ล “Caminando juntos” (เดินไปด้วยกัน) จาก องค์กร “Manos Unidas” โอกาส ที่ รั บ รางวั ล ซิ ส เตอร์ ไ ด้ ก ล่ า วขอบคุ ณ ทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกับซิสเตอร์ในการ ช่วยเหลือคนยากจนโดยเฉพาะเครือข่าย องค์กรซาเลเซียน


EAO News

REGIONAL NEWs By SDB Reporter

ฉลอง 150 ปี ADMA ทีป่ ระเทศติมอร์ตะวันออก

คริสต์มาสเพื่อเด็กยากจน

เมื่อวันที่ 13-15 ธันวาคม 2019 สมาชิก ADMA ประเทศติมอร์ตะวันออกจัดชุมนุมเพื่อฉลอง 150 ปี ของการก่อตัง้ ADMA โลก ทีเ่ มืองเบาเกา ภายใต้การน�ำ ของคุณพ่อมานูเอล ดา ซิลวา ซิเมเนส ผูร้ บั ผิดชอบกลุม่ ADMA ประเทศติมอร์ตะวันออก มีสมาชิก ADMA เข้าร่วมประมาณ 500 คน

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2019 หมู่คณะเทวศาตร์ ซาเลเซียน “บุญราศีฟิลิป รีนัลดี” ประเทศเวียดนาม ได้จัดงานฉลองคริสต์มาสให้กับเด็กๆ ที่ยากจนของ โรงเรียนและหมู่บ้านต่างๆ กว่า 700 คน ทั้งนี้โดยได้ รับการสนับสนุนของรางวัล อาหารและของขวัญจาก กลุ่มต่างๆ

พิธีบวชสังฆานุกรซาเลเซียนชาวเมียนมาร์

ชุมนุมเยาวชนเวียตนามอพยพทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2019 เยาวชนชาวเวียดนาม ซึ่ ง ครอบครั ว ได้ อ พยพไปอยู ่ ที่ ป ระเทศญี่ ปุ ่ น ได้ ม า ชุ ม นุ ม กั น ที่ วั ด ซาเลเซี ย น Kyushu เมื อ งนางาซากิ โดยมี คุ ณ พ่ อ เมดา เจ้ า อาวาส เป็ น ผู ้ จั ด กิ จ กรรม โอกาสนี้ เ ยาวชนได้ ศึ ก ษาสมณลิ ขิ ต “Admirabile Signum” (ความหมายและคุณค่าของถ�้ำคริสต์มาส) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส และได้มีการรับศีล อภัยบาป ปัจจุบันมีคาทอลิกชาวเวียตนามที่อพยพใน ประเทศญี่ปุ่นประมาณ 20,000 คน

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2019 อาร์ชบิชอปนิโคลาส เมือง ทาง แห่งเขตศาสนปกครองมัณฑะเลย์ ประเทศ เมียนมาร์ เป็นประธานในพิธีบวชสังฆานุกร เคลเมน ต์ ทุน ที่บ้านซาเลเซียนอนิสกาน ท่ามกลางสมาชิก ซาเลเซี ย น และสั ต บุ รุ ษ จ� ำ นวนมากที่ ม าร่ ว มแสดง ความยินดี

January-February 2020

29


LECTIO DIVINA By บิชอป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล

เพื่อเขาจะได้

เป็นหนึ่งเดียวกัน

LECTIO (พระเจ้าตรัส) 1คร 15:51-58

พระผู้เป็นเจ้าให้มากยิ่งขึ้นเสมอ ท่านรู้อยู่ “พีน่ อ้ งท้งั หลาย ข้าพเจ้าขอบอกว่า มนุษย์ตามธรรมชาติรบั พระอาณาจักร แล้วว่า งานหนักของท่าน ไม่สญ ู เปล่าส�ำหรับ ของพระเจ้าเป็นมรดกไม่ได้ ส่งิ ทีเ่ น่าเปือ่ ยได้รบั สภาพไม่เน่าเปือ่ ยเป็นมรดก องค์พระผู้เป็นเจ้า” ไม่ได้ 51โปรดฟังเถิด ข้าพเจ้ามีธรรมล�ำ้ ลึกข้อหนึง่ จะบอกท่าน เราทุกคนจะ ไม่ตาย แต่เราทุกคนจะเปลี่ยนแปลง 52ทันทีทันใดชั่วพริบตา เมื่อเป่าแตร เอกภาพคือชัยชนะของพระเยซูเจ้า คร้ังสุดท้าย เสียงแตรจะดังขึ้น แล้วผู้ตายจะกลับคืนชีพ อย่างไม่เน่าเปื่อย นั ก บุ ญ เปาโลพู ด ถึ ง ชั ย ชนะมี ก ารต่ อ สู ้ และเราจะเปลี่ยนแปลง 53เพราะธรรมชาติที่เน่าเปื่อยได้ของเรานี้ จะต้อง และการพ่ายแพ้ รวมอยู่ด้วยในเอกภาพก็มี สวมใส่ความไม่เน่าเปือ่ ย และ ธรรมชาติทตี่ อ้ งตายนี้ จะต้องสวมใส่ความไม่ ปัจจัยเหล่านี้อยู่เช่นกัน เคียร่าลูบิค กล่าว รูจ้ กั ตาย 54เมือ่ สิง่ ทีเ่ น่าเปือ่ ยนีจ้ ะสวมใส่ความไม่เน่าเปือ่ ย และเมือ่ ธรรมชาติ ว่า “การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ที่ต้องตายนี้จะสวมใส่ความไม่รู้จักตายแล้ว ก็จะเป็นจริงตามที่เขียนไว้ใน เป็นลักษณะเด่นของคริสตศาสนา และองค์ พระคัมภีร์ว่า “ความตายถูกชัยชนะกลืน 55ความตายเอ๋ย ชัยชนะของเจ้า พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นศาสดาผู้ตั้งทรงกลับ อยู่ไหน ความตายเอ๋ย พิษของเจ้าอยู่ไหน” 56พิษของความตายคือบาป คืนพระชนมชีพจริงแต่การกลับคืนชีพของ ธรรมบัญญัติคือสิ่งแสดงฤทธิ์อานาจ ของบาป 57ขอบพระคุณพระเจ้า พระองค์ ไม่เหมือนการกลับคืนชีพของคน ผู้ประทานชัยชนะให้กับเรา เดชะพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา อื่นเช่นลาซารัสซึ่งเมื่อถึงเวลาก็ตายอีก แต่ 58พี่น้องที่รักทั้งหลาย จงมั่นคง อย่าหวั่นไหว จงออกแรงท�ำงานขององค์ เมือ่ พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว 30

db Bulletin


พระองค์ไม่สิ้นพระชนม์อีกเลย พระองค์ทรง มีชวี ติ อยูต่ อ่ ไปในพระอุระของพระตรีเอกภาพ ผู้สถิตในสวรรค์ มีผู้พบเห็นและเป็นพยาน ถึงการกลับคืนชีพของพระองค์ถึง 500 คน เป็น พระองค์จริงๆ มิใช่ภาพลวงตาหรือภาพ หลอน ยอห์นบันทึกไว้ ในพระวรสารของ ท่านว่า ภายหลังการกลับคืนชีพ พระองค์ ทรงส�ำแดงพระองค์แก่บรรดาศิษย์ในห้องที่ พวกเขาชุมนุมอยู่ แล้วตรัสแก่โทมัสว่า “จง เอานิ้วมาที่นี่และดูมือของเราเถิด จงเอามือ มาท่ีนี่ คล�ำที่สีข้างของเรา อย่าสงสัยอีกต่อ ไป แต่จงเชื่อเถิด” (ยน20:27) พระองค์ทรง รั บ ประทานอาหารพร้ อ มกั บ บรรดาศิ ษ ย์ ทรงสนทนากับพวกเขา และประทับอยู่กับ พวกเขาถึง 40 วัน ทรงสละความยิ่งใหญ่ ไร้ขอบเขตของพระองค์เพราะความรักต่อเรา

ทรงบังเกิดเป็นเด็ก แต่เมื่อพระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพ พระองค์ก็มี ชัยชนะต่อกฏธรรมชาติทุกประการ อีกทั้งยังทรงแสดงให้เห็นว่าทรงเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งสร้างทั้งมวล” (เคียร่า ลูบิค) งานเปลีย่ นแปลงเป็นของพระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ทรงยิง่ ใหญ่กว่าสิง่ ที่ ท�ำให้เกิดการแบ่งแยก “บรรดาทหารโรมันไม่ต้องแบ่งเสื้อคลุมของพระเยซูเจ้า ออกเป็นชิ้นส่วนแต่ได้ท�ำให้ร่างของบรรดาคริสตชนต้องฉีกขาดด้วยอุ่งเล็บ ของสัตว์ร้าย และปลายหอก” (Mons. Kurt Koch, Pontificio Consiglio per l’unità). นักกีฬาท่ีเข้าแข่งเพื่อชิงเหรียญทอง ต้องกลับเป็นเด็ก ตาม จิตตารมณ์พระวรสาร เขาต้องรักเพื่อนมนุษย์ รวมท้ังผู้ที่เป็นปรปักษ์และ ศัตรูด้วย เป็นข้อเรียกร้องที่ปฏิบัติตามได้ยากยิ่ง แต่พระเยซูเจ้าทรงจ่าย ด้วยกางเขนและการกลับคืนพระชนมชีพ อีกทั้งทรงแสดงให้เห็นว่าเป็นไป ได้ พระวาจาของพระเจ้า เป็นพลังสามารถทาให้เกิดเอกภาพ

พลังเป็นของทุกคนที่ภาวนา

สัปดาห์แห่งการภาวนาเพื่อเอกภาพของคริสตชนส�ำแดง ให้เห็นคุณค่า ของการภาวนาและมิติทางด้านจิตวิญญาณที่มีความส�ำคัญเป็นอันดับแรก

January-February 2020

31


เพือ่ สร้างสัมพันธภาพท่จี ริงใจกับพระเจ้า จ�ำเป็นอย่างยิง่ ท่ตี อ้ งภาวนาเพราะ ช่วยช�ำระใจให้บริสทุ ธิ์ ท�ำให้เกิดความสภุาพและจุดไฟแห่งความรักให้ลกุ ร้อน ขึ้นในใจ การภาวนาหล่อหลอมคริสตชนให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้า สอนให้รจู้ กั ภาวนาเหมือนพระองค์ ชีวติ ของเขาสรุปอยูใ่ นถ้อยค�ำทีว่ า่ “เพือ่ ให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน” การภาวนามิใช่การแสวงหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่เป็นการยอมให้แผนการณ์ ของพระเจ้าส�ำเร็จในตัวของผู้ภาวนา พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า “เมื่อท่าน อธิษฐานภาวนา....จงกล่าวว่า “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย” การ สวดเช่นนี้ ผู้สวดยอมรับว่าตน เป็นบุตรของพระบิดาเจ้า และเป็นพี่น้องกับ ผู้อื่น ดังน้ัน เอกภาพจึงเกิดขึ้นได้ในองคพ์ระเยซูเจ้า

MEDITATIO

(พระวาจาของพระเจ้าตรัสกับฉัน)

พระเยซูเจ้าทรงมอบชีวติ ของพระองค์เพือ่ ให้ทกุ คนเป็นหนึง่ เดียวกัน อุดมการณ์นเี้ ป็น ของฉันด้วยหรือ? • ฉั น ภาวนาขอให้ พ ระประสงค์ ข อง พระองค์ส�ำเร็จไปหรือ? • พระเยซูเจ้าทรงกระท�ำให้เกิดเอกภาพ แล้ว นักบุญเปาโล ยืนยันว่า “ท่านทุกคน เป็นหนึ่ง เดียวกันในพระคริสตเยซู” (กท 3:28) พลังเป็นของทุกคนที่เป็นพยาน • เอกภาพท�ำให้เกิดความครบครันและ ไม่มสี งิ่ ใดสามารถรวมศาสนจักรและชุมชนชาวคริสต์ให้เป็นหนึง่ เดียวกัน การฟื้นฟู เพียงแต่ ต้องค้นให้พบและน�ำมา ได้ดีเท่าพระคัมภีร์เพราะเป็นสายใยของคริสตสัมพันธ์ พระคัมภีร์เป็น ปฏิบัติ พื้นฐานของการเสวนาระหว่างคริสตศาสนานิกายต่างๆ การแบ่งแยก เกิดจากการตีความพระคัมภีร์ ดังนั้น การฟังจึงเป็นเรื่องส�ำคัญและเร่งด่วน ORATIO ต้องแสวง จุดร่วม สงวนจุดต่าง จ�ำเป็นต้องมีความปรารถนาแรงกล้าท่จี ะกลับ (พระวาจาท�ำให้ฉันภาวนา) เป็นพระวาจาและแปรเปลี่ยนให้เป็นชีวิต “ผลของการประกาศพระวรสาร ขอโทษ ขึน้ อยูก่ บั การเป็นประจักษ์พยานของพระศาสนจักร” (Benedetto XVI, per บาปท�ำให้เกิดการแบ่งแยกและท�ำลาย il simposio di Salonicco, 1-9-2011) ทุกคนสามารถมีส่วนสร้างเอกภาพ ล้ า ง พระเยซคู ริ ส ตเจ้ า ทรงกระท� ำ ให้ ให้เกิดขึ้นได้ อาศัยการภาวนา และการเป็นประจักษ์พยานทุกคนท�ำได้ ไม่ สถานการณ์คืนสู่สภาพเดิม พระองค์ทรง เกินก�ำลังของตน กระท�ำให้เกิดการคืนดีขนึ้ ใหม่ ทรง”รวบรวม

32

db Bulletin


บรรดาบุตรของ พระเจ้าที่กระจัดกระจายอยู่ ให้กลับเป็นหน่ึงเดียวกัน” (ยน 11:52) ขอบคุณ “ขอบคุ ณ พระเจ้ า ที่ ท ่ า นเคยเป็ น ทาส ของบาปแต่ ท ่ า นเต็ ม ใจเชื่ อ ฟั ง พระธรรม ค�ำสอนที่ท่านได้รับมา” (รม6,17). “เรา จะได้ รั บ การเปลี่ ย นแปลง ขอพระนาม ของพระเจ้ า จงได้ รั บ การ สรรเสริ ญ ”!

พระเยซูเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้เราเข้าร่วมในแผนการของพระองค์คอื เพือ่ ให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

ขอพรพระจิตเจ้า

COMMUNICATIO (พระวาจาสร้างเอกภาพ)

“ถ้ า ปราศจากพระจิ ต เจ้ า พระเจ้ า ดู เหมือนประทับอยู่ห่างไกล พระคริสตเจ้าดู เป็นอดีตทีไ่ ม่เก่ยี วข้องกับปัจจุบนั พระวรสาร เป็นตัวหนังสือทีป่ ราศจากชีวติ พระศาสนจักร เป็ น เพี ย งองค์ ก รหนึ่ ง เหมื อ นองค์ ก ร อื่นๆ อ�ำนาจมีไว้เพื่อครอบง�ำ พันธกิจมีไว้ เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ พิธีกรรม เป็นเพียงการไหว้วอน การกระท�ำของ มนุษย์เป็นกิจการของทาส เมื่อมีพระจิตเจ้า พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ที่นี่ พระวรสาร เป็ น พั น ธกิ จ ของพระตรี เ อกภาพ อ� ำ นาจ

เป็นการรับใช้ พันธกิจกลับกลายเป็นการเสด็จมาของพระจิตเจ้า พิธีกรรม เป็นการร�ำลึกและเป็นการล้มิ รสสวรรค์ลว่ งหน้า กิจการของมนุษย์กลับเป็น กิจการของพระเจ้า (Atenagora)

CONTEMPLATIO (พระวาจาของพระเจ้ากลับเป็นจริง)

ในหนังสือที่ถูกจัดพิมพ์ขึ้นส�ำหรับการภาวนาเพื่อเอกภาพปี ค.ศ.2012 มี ก ล่ า วถึ ง พระคุ ณ เจ้ า ELEUTERIO FORTINO รองเลขาธิ ก ารสมณ กระทรวงเพื่อส่งเสริมเอกภาพ ของคริสตชนซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี ค.ศ.2010 ท่านผู้นี้ได้ท�ำงาน อย่างทุ่มเทเพื่อส่งเสริมเอกภาพระหว่างคริสตชน ท่าน ให้ความส�ำคัญกับสัปดาห์ภาวนานี้มาก เพราะเห็นคุณค่าและ ความ ส� ำ คั ญ ของมิ ติ ท างด้ า นจิ ต ใจ เรื่ อ งเอกภาพระหว่ า งบรรดาคริ ส ตชน เป็ น เหมื อ นลมหายใจของท่ า นก็ ว ่ า ได้ ท่ า นสามารถพู ด ความจริ ง เก่ียวกับความเชื่อคาทอลิกโดยไม่กระทบกระเทือนใจใคร แต่ชี้ให้เห็น ชั ด ถึ ง ความแตกต่ า ง ท่ า นรั ก ปอดของพระศาสนจั ก รทั้ ง สองข้ า ง คื อ วิถีชีวิตฝ่ายจิตทางตะวันตก และคลังสมบัติชีวิตฝ่ายจิตทางตะวันออก January-February 2020

33


สื่อกับเยาวชน Text I ว.วรินทร์

สื่อกับเยาวชน... เมื่ อ วั น ที่ 28 พฤศจิ ก ายน 2019 ผู ้ เขี ย นได้ รั บ เชิ ญ ไปร่ ว มพิ ธี ม อบรางวั ล สื่อมวลดีเด่น ครั้งที่ 37 ประจ�ำปี ค.ศ.2019 ณ ห้องอโนมาแกรนด์ บอลรูม โรงแรม อโนมาแกรนด์ ในหัวข้อ “แรงบันดาลใจ แห่ ง ชั ย ชนะ” บาดหลวงอนุ ช า ไชยเดช ผูอ้ ำ� นวยการสือ่ มวลชนคาทอลิกประเทศไทย ได้ ก ล่ า วรายงานตอนหนึ่ ง ว่ า “ส� ำ หรั บ การประกวดภาพยนตร์ สั้ น ในปี นี้ มี ผู ้ ส ่ ง เข้าประกวดไม่มากนักแต่ก็เป็นงานระดับ นั ก เรี ย นที่ ม ากด้ ว ยคุ ณ ภาพ และส� ำ หรั บ รางวัลสือ่ มวลชนคาทอลิกยอดเยีย่ มประจ�ำปี 2019 นี้ มีผลงานทีไ่ ด้รบั รางวัลจ�ำนวนไม่มาก

34

db Bulletin

เช่นกัน น่าสังเกตว่า เทคโนโลยีกา้ วไปแค่ไหน ผลงานที่น่าสนใจกลับมีจ�ำนวนลดทอนลง แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าของสื่อเทคโนโลยี มากขึ้ น ก็ ต าม สั น นิ ษ ฐานได้ ว ่ า สิ่ ง ที่ ช ่ ว ย ให้เกิดผลงานดีๆ ไม่ใช่เทคนิคอย่างเดียว แต่ เ ป็ น แนวคิ ด และแรงบั น ดาลใจ”... ผู ้ เขี ย นรู ้ สึ ก สะกิ ด ใจมากๆ กั บ ประโยคที่ ว่า “...เทคโนโลยีก้าวไปแค่ไหน ผลงานที่ น่าสนใจกลับมีจ�ำนวนลดทอนลง แม้ว่าจะ มีความก้าวหน้าของสื่อเทคโนโลยีมากขึ้น ก็ตาม…” ในฐานะที่ ผู ้ เ ขี ย นท� ำ งานท่ า มกลาง เด็กๆ และเยาวชน ค�ำถามหนึง่ ทีผ่ ดุ ขึน้ มาใน ความคิดว่า “ยิ่งสื่อและเทคโนโลยีก้าวหน้า มากไปเพียงใด เด็กและเยาวชนจะก้าวหน้า ในการพัฒนาตนมากขึน้ เท่านัน้ จริงหรือไม่? หรื อ ว่ า ยิ่ ง สื่ อ ก้ า วหน้ า ไปมากเท่ า ใดก็ ยิ่ ง ลดทอนการพัฒนาตนของเยาวชนมากขึ้น เท่านั้น?” ณ ภาวะการณ์ปัจจุบันนี้ที่สังคม ของเรามั่ ง คั่ ง ด้ ว ยข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ ร วดเร็ ว และหลากหลายช่องทาง เด็กและเยาวชนใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างคล่องแคล่ว ข ้ อ มู ล ส ่ ว น ห นึ่ ง ข อ ง ก า ร ส� ำ ร ว จ ในโครงการติ ด ตามสภาวการณ์ เ ด็ ก

ในหั ว ข้ อ “1 วั น ในชี วิ ต เด็ ก ไทย” เมื่ อ วั น ที่ 6 มิ ถุ น ายน 2556 โดยนาย อมรวิ ช ช์ นาครทรรพ ที่ ป รึ ก ษาวิ ช าการ ส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และ คุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้มีการน�ำเสนอที่ สสค. โอกาสการประชุมจัดประชุมสัมมนา “ทิ ศ ทางการจั ด การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานใน อนาคต” พบว่าจากกลุ่มตัวอย่าง 3,058 คน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด สิ่งที่น่า สนใจเป็ น พิ เ ศษคื อ หลั ง ตื่ น นอนสิ่ ง แรก ที่ เ ด็ ก ส่ ว นใหญ่ ร้ อ ยละ 51.1ท� ำ คื อ การเช็คโทรศัพท์มอื ถือเช่นเดียวกับสิง่ สุดท้ายที่ ร้อยละ 35 ท�ำก่อนนอน คือ ใช้โทรศัพท์มอื ถือ เล่นเฟซบุ๊ก (Facebook) และ ไลน์ (Line) ...(อ้างอิงจาก http://www.teenpath.net/) ซึ่งถ้ามองในภาพรวมแล้ว กล่าวได้ว่าสื่อมี บทบาทเป็ น อย่ า งมากต่ อ ชี วิต ของบรรดา เด็กๆ และเยาวชน ในการประเมินผลหลังจากการจัดการ อบรมสื่ อ ศึ ก ษาแก่ ก ลุ ่ ม ต่ า งๆ แต่ ล ะครั้ ง ของผู ้ เขี ย น จะพบว่ า ผู ้ เข้ า รั บ การอบรม มีทัศนคติและมุมมองเกี่ยวกับสื่อที่กว้างขึ้น ทั้งรู้สึกดีกับการเข้าร่วมกิจกรรม โอกาสนี้ ตัวแทนของพวกเขาจ�ำนวน 3 คน ที่เป็น นักเรียนโรงเรียนในเครือ ธมอ. จะแบ่งปัน ถึ ง ประสบการณ์ แ ละความเข้ า ใจต่ อ บทบาทของสื่ อ ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ซึ่ ง ต่ า ง เห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ว่ า ในปั จ จุ บั น สื่ อ ได้ เข้ า มามี บ ทบาทในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของ


พวกเขาอย่างมากมาย เช่น อินเทอร์เน็ตที่ ค่อนข้างมีบทบาทส�ำคัญในชีวิตประจ�ำเป็น อย่างมาก สื่อสามารถเปลี่ยนแปลงความ รู้สึกนึกคิดของพวกเขาได้ ไม่ว่าจะเชื่อหรือ ไม่เชือ่ สือ่ ก็สามารถท�ำให้พวกเขาคล้อยตาม ไปได้ ส่วนในด้านการเรียน สื่อช่วยพวกเขา ให้สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วย ตนเอง เป็นดังช่องทางที่ทรงพลังอันก่อนให้ เกิดการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว และบางครั้ง สื่อท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง ลดน้อยลง ในมุมมองด้านบวกและด้านลบของสื่อ ที่มีผลกระทบต่อพวกเขา พวกเขาเห็นว่าสื่อ มีด้านบวกคือ สื่อเป็นสิ่งที่ช่วยอ�ำนวยความ สะดวกด้านต่างๆ ช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย ทันสมัยและรวดเร็วใช้ตดิ ต่อสือ่ สารให้ขอ้ คิด ต่างๆ ที่น�ำมาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน พวกเขา สามารถใช้สื่อในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ เกี่ยวกับการเรียนได้อย่างสะดวกโดยไม่มีข้อ จ�ำกัดเรื่องเวลา และยังช่วยให้รับรู้ข่าวสาร ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ส่วน ด้านลบ พวกเขาเห็นว่าการรับวัฒนธรรม ต่างๆ จากสื่อมากเกินไป มีการละเมิดสิทธิ ส่วนบุคคลผ่านสื่อได้ง่ายขึ้น และยังมีสื่อที่ ต้องการให้ผู้บริโภคสื่อเข้าใจผิดๆ หรือ “สื่อ ปลอม” นอกจากนี้ สื่ อ ยั ง มี ผ ลกระทบต่ อ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย ต่ อ การแบ่ ง ปั น ถึ ง หั ว ข้ อ ของแนวทาง ของพวกเขาในการใช้ แ ละบริ โ ภคสื่ อ

อย่ า งรู ้ เ ท่ า ทั น และเกิ ด ประโยชน์ ต ่ อ ชี วิ ต ต่ อ จิ ต ใจ และต่ อ สั ง คม นางสาว ญาณิ ศ า แซ่ โ ง้ ว ได้ ใ ห้ แ นวคิ ด ที่ ว ่ า หากสื่อมีผลกระทบด้านลบนั้น เราควรมี แนวทางตรวจสอบก่อนเชื่อสื่อ ด้วยค�ำถาม ดังต่อไปนี้ 1. สื่อมีที่มาอย่างไร มาจากไหน ใครเป็นผู้ผลิตสื่อ 2. สื่อมีความน่าเชื่อถือ หรือไม่ 3. สื่อต้องการจะบอกอะไรกับเรา 4. สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของเรา อย่างไร และ 5. สื่อก�ำลังสร้างและสะท้อน ค่านิยมอะไรในสังคม ส่วนนางสาวณัฐณิชา ราชจ�ำปี แบ่งปันว่า เราควรเสพสื่ออย่างมี วิจารณญาณและรู้เท่าทันต่อผลกระทบใน การใช้ สื่อนั้นๆ หรืออาจจะใช้สื่อที่เป็นด้าน บวกในการท�ำกิจกรรมร่วมกับ ครอบครัว เพื่ อ นๆ หรื อ คนรอบข้ า ง และใช้ สื่ อ เป็ น ตัวกลางในการแบ่งปันความสุข สร้างรอยยิม้ ให้กบั ผูอ้ นื่ และนายโชติพงษ์ นาคนิรนั ดร์ เห็นว่าแนวทางที่จะใช้เมื่อเจอสื่อในด้านลบ คือ การพิจารณาถึงสือ่ นัน้ ว่ามีความน่าเชือ่ ถือ หรือไม่และน�ำหลายๆ สือ่ มาเปรียบเทียบกัน และควรที่จะน�ำข้อมูลที่สื่อต่างๆ น�ำเสนอ เรื่องเดียวกัน มาเทียบเคียงกันว่ามีความน่า เชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นด้านลบจริง ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับสื่อเหล่านั้นและควรที่ จะแนะน�ำให้คนรอบข้างว่าสือ่ นีเ้ ป็นสือ่ ทีไ่ ม่ดี น อ ก จ า ก นี้ น า ง ส า ว นั ฏ ฐ า เจนศิ ริ พ าณิ ช ย์ ได้ แ บ่ ง ปั น ถึ ง หั ว ขั อ “สื่อกับเยาวชน” โดยมีความเห็นว่า สื่อ มี ทั้ ง ด้ า นบวกและด้ า นลบ จึ ง มี ค วาม คาดหวั ง ว่ า เยาวชนในปั จ จุ บั น จะ “ใช้ สื่ อ แ บ บ มี ส ติ อ ่ า น แ ล ะ ย ่ อ ย ข ้ อ มู ล ประมวลผล ก่อนทีจ่ ะแสดงความเห็น บริโภค สื่อให้มีประโยชน์กับตัวเอง เช่น เพิ่มความรู้ และสร้างสื่อให้เป็นประโยชน์กับสังคม” ในมุ ม มองของครู ที่ ส อนอยู ่ โรงเรี ย น ในเครือ ธมอ. ซึ่งมีบทบาทของการเป็น เพื่อนร่วมทางของเยาวชนต่างมีความเห็น ในเรื่อง “สื่อกับเยาวชน” นี้โดยสรุปว่า สื่อ เป็นดาบสองคม มีคุณอนันต์และโทษมหันต์ เปลี่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว ครู ร วงทอง นนทะชัย กล่าวตอนหนึ่งว่า “ปัจจุบันสื่อ มีอิทธิพลต่อการเรัยนรู้ของเด็กและเยาวชน เพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ท�ำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนท�ำให้

เยาวชนใช้ เวลาอยู ่ กั บ สื่ อ ต่ า งๆ รอบตั ว มากกว่าการท�ำกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์ ดั ง นั้ น ผู ้ ที่ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ สื่ อ ต่ า งๆ ควรมีแนวทางในการดูแลติดตามการใช้สื่อ ให้มีประโยชน์ และมีคุณภาพให้เกิดผลดี มากกว่าผลเสีย” ครูวิรมณ บัวแดง ได้ แสดงความคิดเห็นว่า “อาวุธจ�ำเป็นในการ อยู ่ ท ่ า มกลางสื่ อ ของเยาวชนนั่ น ก็ คื อ การ รู้เท่าทันสื่อ การรู้เท่าทันจะท�ำให้เยาวชน มี ภู มิ คุ ้ ม กั น ในการเสพสื่ อ ท� ำ ให้ เ สพสื่ อ อย่างระมัดระวังแม้จะเจอสื่อที่มีพิษ แต่ก็ สามารถแยกแยะได้ เยาวชนจะสามารถเลือก เรียนรู้แต่สิ่งดีๆ ที่ปรากฏอยู่ในสื่อ ใช้สื่อ ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองได้ จ�ำเป็นที่เด็ก และเยาวชนต้องมีผู้ร่วมทางที่สามารถชี้แนะ ให้ก�ำลังใจ และก้าวเดินไปด้วยกัน” ครู บุ ษ บา มั่ ง ประสิ ท ธิ์ กล่ า วถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการเป็ น เพื่ อ นร่ ว มทาง ของเด็ ก และเยาวชน ในฐานะผู ้ อ บรมว่ า สิ่งแรกที่ท�ำคือ “เราให้ความสนใจในสิ่งที่ ก� ำ ลั ง มี บ ทบาทและเป็ น ที่ ส นใจของเขา สอบถามความคิดเห็นของเขาทีม่ ตี อ่ สือ่ นัน้ ๆ ถามข้อดี ข้อเสีย ให้เขาได้แสดงความคิดเห็น ยอมรั บ ในความชอบและแนะแนวทางไป พร้อมๆ กัน โดยส่วนตัวจะให้ความสนิทและ แสดงออกให้เขาเห็นว่าเราคือเพือ่ น คือพี่ คือ คนที่อยู่ข้างเขา เราคือทีม ดังนั้นเมื่อเราพูด อะไร แนะน�ำอะไร เขาจะยอมรับและน�ำไป ปฏิบัติเพราะเขารู้ว่าเรารักและหวังดีกับเขา จริงๆ เมื่อเจอปัญหาไม่ว่าของเขาเอง หรือ เพื่อนในห้องเขาจะมาปรึกษา เพราะเราคือ ทีมเดียวกัน” พ ร ะ สั น ต ะ ป า ป า ฟ รั ง ซิ ส ต า ม ที่ ไ ด ้ ต รั ส ไว ้ ใ น พ ร ะ ส ม ณ ลิ ขิ ต เ ตื อ น ใจ “พระคริสตเจ้าทรงพระชนม์” ทรงสนับสนุน บรรดาเยาวชนให้สามารถพบหนทางที่จะ ข้ามผ่านจาการติดต่อเสมือนจริง ไปยังการ สื่อสารที่ดีและเกิดผลดีต่อชีวิต ... ข้าแต่ พระเจ้าขอโปรดให้บรรดาเด็กๆ และเยาวชน ได้กา้ วเดินในความสุขความยินดีของการเป็น “เยาวชนที่ซื่อตรงและศาสนิกชนที่ดีโดยมี แรงบันดาลใจจากองค์พระคริสตเจ้าผู้ทรง พระชนม์ด้วยเทอญ อาแมน”

January-February 2020

35


ครอบครัวซาเลเซียน Text, Photo : MR.OK

“พุทธคุณ ไพรวัลย์”

ศิษย์ซาเลเซียนอัจฉริยะตัวจิ๋ว

หลังจากที่ “ช่างพุทธ” ได้ออกรายการทาง โทรทัศน์หลายรายการ (ซุปเปอร์ 10, คนค้น ฅน ฯลฯ) ท� ำ ให้ ชื่ อ ของพุ ท ธคุ ณ เป็ น ที่ รู ้ จั ก ใน นามของอัจฉริยะตัวจิ๋วช่างซ่อมนาฬิกา ปัจจุบัน ช่างพุทธ - พุทธคุณ ไพรวัลย์ อายุ 12 ปี เรียน ชัน้ ป.6 โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ หลังจากทีมงานนิตยสารดอนบอสโกได้พูดคุยกับ ช่างพุทธแล้ว ท�ำให้เราพบความพิเศษและทัศนคติ ทีด่ เี กินตัวซึง่ ไม่เหมือนใครในตัวของเด็กทีจ่ วิ๋ แต่ตวั ที่ตอบค�ำถามแบบห้วนๆ ตรงไปตรงมา เด็กผู้ค้น พบตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก และเป็นนักประดิษฐ์ วันเกิด? พุทธ: 30 กรกฎาคม 2550

ส�ำหรับช่างพุทธ คุณพ่อบอสโกเป็นใคร? พุทธ: ผู้ก่อตั้งคณะซาเลเซียน ดอมินิก ซาวีโอเป็นใคร? พุทธ: นักบุญ นิยามความเป็น พุทธคุณ ไพรวัลย์ ด้วย 3 ค�ำ? พุทธ: ขยัน ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา สิ่งแรกที่ท�ำตอนตื่นนอน? พุทธ: คอยตรวจเช็คนาฬิกา ไขลานนาฬิกาบางเรือน กิจกรรมยามว่าง ที่ท�ำแล้วสบายใจ? พุทธ: หาของมาซ่อม ของสะสมหรือสิ่งของที่รักที่สุด? พุทธ: นาฬิกา

เรียนทีโ่ รงเรียนหัวหินวิทยาลัยตัง้ แต่เมือ่ ไร? พุทธ: ตั้งแต่ชั้น ป.1 ของเล่นที่พุทธชอบมากที่สุด? พุ ท ธ: ไม่ มี ข องเล่ น เลย แต่ ข องที่ ช อบที่ สุ ด คื อ ชอบเรียนอะไร? นาฬิกา พุทธ: ศิลปะ คอมพิวเตอร์ หนังสือเล่มโปรดหรือเวปไซด์ทชี่ อบอยูต่ อนนี?้ เมื่อคิดถึงโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย พุทธ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และเว็บไซด์เยอรมัน คิดถึงอะไรเป็นอันดับแรก? โบราณ พุทธ: พ่อบอสโก

36

db Bulletin


3 สิ่งที่พุทธคุณ ขาดไม่ได้ พุทธ: 1.เครื่องมือ 2.ไฟฟ้า 3.ของที่เสียแล้ว เริ่มซ่อมนาฬิกา ตั้งแต่เมื่อไร? พุทธ: ตั้งแต่ปี 2558 แต่เริ่มจริงจังตอนปี 2560 ความสุขในการซ่อมนาฬิกา หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าคืออะไร? พุทธ: สามารถท�ำให้ของกลับมาใช้ได้เหมือนเดิม

คิดอย่างไรกับเรื่องศาสนา? พุทธ: ใครอยากนับถือศาสนาใดก็ได้ เพราะทุก ศาสนาสอนให้ท�ำในสิ่งที่ดี คนยกย่องว่า “เราเป็นอัจฉริยะ” ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร? พุทธ: รู้สึกไม่ดี ไม่ได้ต้องการให้ยกย่องว่าเป็น อัจฉริยะหรือเก่ง เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้เก่งที่สุด ยังมีคนอื่นที่เก่งกว่าอีก

แรงบันดาลใจที่อยากเป็นช่างซ่อม? ความใฝ่ฝันในอนาคต? พุทธ: อยากช่วยเหลือผูท้ ตี่ อ้ งการซ่อมสิง่ ของต่างๆ พุทธ: อยากซ่อมสิ่งของให้เก่งกว่านี้แต่ไม่ต้องให้ แต่มีเงินน้อย ใครมายกย่อง เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้อื่นได้มากขึ้น อยากผลิตอุปกรณ์ที่ช่วยลดโลกร้อน ประโยชน์ที่ได้รับจากการซ่อมนาฬิกา และเครื่องใช้ไฟฟ้า? อยากบอกอะไรกับเพื่อนๆ? พุทธ: ท�ำให้รู้สึกภูมิใจ, ได้ของที่ใช้งานได้เหมือน พุทธ: ขอให้ท�ำในสิ่งที่ตนเองรัก ถ้าอยากท�ำสิ่งใด เดิม, ประหยัดเงินซื้อของใหม่และท�ำให้ลูกค้า ก็ให้หาความรู้ในสิ่งนั้น รู้สึกดี คิดอย่างไรกับการเล่นเกม และการใช้โทรศัพท์มือถือ? พุทธ: อยากให้ใครทีเ่ ล่นเกมหรือติดโทรศัพท์มอื ถือ เปลี่ยนไปท�ำอย่างอื่นที่ชอบบ้าง เพราะจะช่วย ลดค่าใช้จ่ายจากการเติมเกม ได้พักสายตาและ ประหยัดไฟในการชาร์จโทรศัพท์ คิดอย่างไรกับ “โลกร้อน”? พุทธ: อยากให้ช่วยกันลดโลกร้อนโดยท�ำสิ่งง่ายๆ ใกล้ตัวคือใช้สิ่งของที่มีให้คุ้มค่า คิดอย่างไรกับ “การคอรัปชั่น”? พุทธ: อยากให้เลิกโกงกัน จะได้ทำ� สิง่ ต่างๆได้เต็ม ทีโ่ ดยทีไ่ ม่ตอ้ งปิดบังใคร และรูส้ กึ ภูมใิ จทีไ่ ด้เงินมา โดยไม่ได้โกงใคร คิดอย่างไรกับระบบการศึกษาไทย? พุทธ: อยากให้ปรับปรุง อยากให้นักเรียนได้เรียน รู้สิ่งที่ชอบบ้าง ไม่ใช่ตามหลักสูตรอย่างเดียว และ อยากให้ช่วยเหลือเด็กที่ขาดทุนทรัพย์ January-February 2020

37


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน By ว.วรินทร์

นักบุญหลุยส์ แวร์ซีลีอา และ นักบุญคัลลิสตุส คาราวารีโอ ปฐมมรณสักขีซาเลเซียน

หลุยส์ แวร์ซีลีอา เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค . ศ . 1 8 7 3 ที่ โ อ ลี ว า เ ย ส ซี ( ป า เ วี ย ) ประเทศอิ ต าลี เมื่ อ อายุ 12 ปี ท ่ า นได้ พ บ กั บ คุ ณ พ่ อ บอสโก ท่ า นได้ บ วชเป็ น พระสงฆ์ ในปี ค.ศ. 1895 และได้ เ ป็ น นวกจารย์ ที่ เยนซาโน กรุ ง โรม เป็ น เวลา 10 ปี ในปี ค.ศ.1906 ค� ำ ท� ำ นายของคุ ณ พ่ อ บอสโก กลับเป็นความจริงขึ้นมา เมื่อหลุยส์ แวร์ซีลีอา ได้ น� ำ อาสาสมั ค รซาเลเซี ย นกลุ ่ ม แรกไป ประเทศจี น ท่ า นได้ ก ่ อ ตั้ ง บ้ า นแม่ ข อง ซาเลเซียนที่มาเก๊าได้เปิดกิจการที่เซียวเจา และท่านได้รบั อภิเษกเป็นพระสังฆราชองค์แรก ของเซียวเจา เมือ่ วันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1920 ท่าน เป็นนายชุมพาบาลผูไ้ ม่รจู้ กั เหน็ดเหนือ่ ย ท่านเป็น ผู้ฉลาดรอบคอบ อุทิศชีวิตเพื่อฝูงแกะของท่าน อย่างแท้จริง ท่านได้ตงั้ ศูนย์แพร่ธรรมบนรากฐาน ทีม่ นั่ คง รวมทัง้ บ้านเณร บ้านอบรมชุมชนและบ้าน เด็กก�ำพร้า บ้านคนชรา ท่านได้แสดงตนเองเป็น บิดามากกว่าเป็นนักปกครอง และท่านค�ำนึงถึง

38

db Bulletin

ก�ำลังความสามารถของสมาชิกก่อนที่จะส่งเขาไป กระท�ำกิจการงานต่างๆ เสมอ คั ล ลิ ส ตุ ส คาราวารี โ อ เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1903 ที่คูออร์เย กรุงตุริน ท่านได้พบพระสังฆราชแวร์ซีลีอาในปี ค.ศ.1921 และท่านได้พูดกับพระสังฆราชว่า “ผมจะติดตาม พระคุณเจ้าไปเมืองจีน” ท่านได้ท�ำสิ่งที่ท่านพูด ท่านได้เดินทางไปเมืองจีน ในอีกสองปีต่อมาก็ได้ บวชเป็นพระสงฆ์ ท่านได้ซื่อสัตย์ต่อการเจิมถวาย ตัวในชีวิตนักบวชตลอดเวลา ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1930 ขณะที่ ท่ า นก� ำ ลั ง ร่ ว มเดิ น ทางพร้ อ มกั บ พระสั ง ฆราช แวร์ ซี ลี อ า ในบริ เ วณที่ เ ปลี่ ย วตามล� ำ แม่ น�้ ำ ไปยั ง ต� ำ บลลิ น เจา เพื่ อ เยี่ ย มอภิ บ าลสั ต บุ รุ ษ พร้ อ มกั บ ครู ส องคน ครู ส อนค� ำ สอนสตรี อี ก ส อ ง ค น ร ว ม ทั้ ง นั ก เรี ย น ห ญิ ง ห นึ่ ง ค น พวกโจรคอมมิ ว นิ ส ต์ ไ ด้ เ ข้ า ท� ำ ร้ า ยพวกเขา ท่านทั้งสองได้พยายามปกป้องหญิงสาวเหล่านั้น ซึ่งดิ้นรนเพื่อหลบหนี ธรรมทูตทั้งสองท่านได้ถูก ทุบตีอย่างทารุณโหดร้ายและต่อมาถูกยิงด้วยความ โกรธเพราะความเชือ่ คริสตชนทีย่ กย่องพรหมจรรย์ ในปี 1976 พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ได้ประกาศ ให้พระสังฆราชแวร์ซลี อี า และคุณพ่อคาราวารีโอเป็น มรณสักขี ต่ อ มา พระสั น ตะปาปา ยอห์ น ปอล ที่ 2 ทรงประกาศแต่ ง ตั้ ง ท่ า นทั้ ง สองเป็ น บุญราศีในฐานะปฐมมรณสักขีซาเลเซียน เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1983 ท่านทั้ งสอง ได้ ต ระหนั ก ถึ ง อุ ด มคติ ข องผู ้ เ ลี้ ย งแกะตาม พระวรสาร ผู้ทรงมอบชีวิตของพระองค์ ส�ำหรับ ฝู ง แกะเพื่ อ ความจริ ง และความเป็ น ธรรม อี ก ทั้งทรงเป็นผู้ปกป้องคนยากจนและ ผู้อ่อนแอ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรง สถาปนาท่านทั้งสองเป็นนักบุญเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.2000


เรื่องมีอยู่ว่า by ลียองเอ

เจ้าหญิงทอฝัน ถ้าพลังของเอลซ่าสามารถเปลี่ยนสิ่งของบนโลกนี้ให้กลายเป็นน�้ำแข็งได้ ถ้าเส้นผมยาวสลวยสวยเก๋ของราพันเซลสามารถใช้เป็นเชือกปีนป่ายไปตามทีต่ า่ งๆ ได้ ถ้าซินเดอเรลล่าเด็กสาวผูอ้ าภัพจะกลายร่างเป็นเจ้าหญิงนัง่ รถฟักทองไปงานเต้นร�ำ กับเจ้าชายได้ทันเวลา และถ้ากระจกวิเศษมีตาทิพย์สามารถบอกได้วา่ ...ใครคือผูห้ ญิงทีง่ ามเลิศทีส่ ดุ ในปฐพี มันก็ไม่ใช่เรือ่ งแปลกถ้าสักวันหนึง่ จะมีเจ้าหญิงผูม้ พี ลังวิเศษเกิดขึน้ ใหม่บนโลกใบนี้ อีกคน “เด็กหญิงทอฝัน”เด็กหญิงหน้ากลมแก้มป่องผูม้ คี วามใฝ่ฝนั อยากจะเป็นเจ้าหญิง แต่ติดตรงที่ว่า………… เธอไม่ได้มพี ลังวิเศษทีส่ ามารถหยิบจับอะไรแล้วกลายเป็นน�ำ้ แข็งได้เหมือนเอลซ่า ผมก็ไม่ได้เป็นลอนยาวสลวยสวยเก๋เหมือนราพันเซล เต้นร�ำก็ไม่เก่งเหมือน ซิลเดอเรลล่าและก็ไม่รู้ว่าเจ้าชายอยู่ที่ไหน แถมส่องกระจกทีไรก็ไม่เคยได้ยินเสียง เล็ดลอดออกมาจากกระจกเหมือนในเรื่องสโนไวท์สักทีว่าใครงามเลิศที่สุดในปฐพี ในโลกของความเป็นจริงเธอท�ำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่ในโลกของความใฝ่ฝัน เธอยังคงได้ยินเสียงเล็กๆที่คอยกระซิบอยู่ข้างๆหูเธอว่า “เปลี่ยนพลังที่มีอยู่ใน ตัวหนูให้กลายเป็นพลังวิเศษสิจ๊ะ” เธอไม่รู้หรอกว่าเสียงนั้นเป็นเสียงของใคร แต่ที่แน่ๆเสียงนั้นดังก้อง อยู่ลึกๆ ในหัวใจ ท�ำให้เธอปล่อยพลังจากมือ..ไปช่วยเหลือคนอื่น ปล่อยพลัง จากเท้า..เดินไปหาคนอืน่ ปล่อยพลังจากหู..รับฟังผูอ้ นื่ ปล่อยพลังจากปาก.. พูดดีถึงผู้อื่น และปล่อยพลังจากใจ..ให้ก�ำลังใจผู้อื่น ตอนนีเ้ ด็กหญิงทอฝันรูแ้ ล้วว่า…เธอจะกลายเป็นเจ้าหญิงผูม้ พี ลังวิเศษ ในโลกของความเป็นจริงได้อย่างไร “จงสวมสิริรุ่งโรจน์เป็นอาภรณ์งดงามที่มาจากพระเจ้าไว้ตลอดไป” (บรค 5:1)

บ�ำรุงการพิมพ์ สุพาน หาญเสมอ สุนิตย์ หาญเสมอ อ�ำนาจ ก�ำสมัย อรนงค์ ซื่อเพียรธรรม ปัทมาวดี ตันติวัฒนากร

วรรณา ชยานุภัทร์กุล ประธาน โคมิน คุณน�้ำริน นฤมล

ลิ้นจี่ บวชสันเทียะ ธิดารัตน์ เบญจบรรพต สุนันทา สุนทรอภิวัฒน์ นงเยาว์ - โทมัส ทอม อาดามส์ กันยา สุนทรอภิวัฒน์ นิตยา พันสะ สุวรรณา วิภามาศ

อัญชลี ลาภประเสริฐวัฒนา นันทา จันทร์กลิ่น อารีย์ เจริญพานิช ผ่องใส ป้อมจักรศิลป์

วิภาดา บริวัตรวสุนันท์ อริตตา วู วรรณนภา ศานติวศิน วิโรจน์ เวียนวัฒนะ

วิโรจน์ เจริญส�ำราญ ไม่ประสงค์ออกนาม 8 คน

ทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนจะมีการถวายมิสซา แก่สมาชิกนิตยสาร รวมทั้งผู้มีอุปการะคุณต่อนิตยสาร January-February 2020

39


รอดชีวิตจากอุบัติเหตุ ข้าพเจ้าเดินทางไปกับรถตู้ของโรงเรียนแห่งหนึ่งเพื่อไปท�ำธุระ ปราก ฎว่ายางของรถคันดังกล่าวเกิดระเบิดท�ำให้รถพลิกคว�่ำและไฟไหม้ทั้งคัน ข้าพเจ้าหมดสติไป เมื่อรู้ตัว ข้าพเจ้าก็เห็นไฟก�ำลังลุกไหม้อยู่ในรถ ในใจ ก็คิดว่า ข้าพเจ้าคงจะต้องเสียชีวิตแน่นอนจึงได้ภาวนาเพื่อมอบชีวิตไว้กับ พระเจ้า เมื่อภาวนาจบข้าพเจ้าก็เห็นทางออกจากรถและคลานตามคุณครู อีกท่านหนึ่งออกมานอกรถ ข้าพเจ้าเป็น 1 ใน 4 ของบุคคลที่รอดชีวิตใน เหตุการณ์นี้ ที่เหลืออีก 11 คนได้เสียชีวิต โดยปกติข้าพเจ้าไม่เคยคล้อง สายประค�ำไว้ที่คอแต่วันเกิดเหตุ ข้าพเจ้ามีสายประค�ำติดตัวอยู่ด้วยตลอด ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นพระเจ้าและแม่พระที่ช่วยข้าพเจ้าให้รอดจากอุบัติเหตุใน ครั้งนี้ จึงขอโมทนาคุณพระเจ้าและแม่พระองค์อุปถัมภ์ผ่านทางนิตยสาร ดอนบอสโกมา ณ โอกาสนี้ อักเนส ขอบคุณส�ำหรับพระพรมากมาย ลูกขอขอบพระคุณพระแม่ที่อวยพรครอบครัวของลูก ท�ำให้พระพรของ พระเจ้าหลัง่ ไหลมาสูบ่ า้ นของลูกดุจธารน�ำ้ โดยผ่านทางบุคคลมากมายทัง้ ที่ ลูกรูจ้ กั และไม่รจู้ กั ลูกขอขอบคุณพระเจ้าและแม่พระส�ำหรับพระพรมากมาย เหล่านี้ เทเรซา ผ่องใส ป้อมจักรศิลป์ เปลี่ยนใจไม่คิดสั้น ลูกขอโมทนาคุณแม่พระผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของลูกเสมอมา ขอบคุณ พระแม่ที่ทรงช่วยบุตรชายของลูกที่คิดสั้นให้มีสติ ใจเย็นขึ้นและไม่ท�ำร้าย ตนเอง ท�ำให้รอดชีวิต มารีอา (หากท่ า นประสงค์ ที่ จ ะโมทนาคุ ณ แม่ พ ระและผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซ าเลเซี ย นส� ำ หรั บ พระพรที่ ไ ด้ รั บ ลงใน นิตยสารดอนบอสโก โปรดส่งข้อความมายัง Email: sdbsocomthai@gmail.com)

ค�ำปราศรัยของคุณพ่อบอสโกถึงผู้มีพระคุณ “หากปราศจากความช่วยเหลือของพวกท่านแล้ว พ่อคงท�ำกิจการต่างๆ ได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจท�ำอะไรไม่ได้เลย แต่ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน เราสามารถร่วมมือกับ พระหรรษทานของพระเจ้าเพื่อช่วยซับน�้ำตาให้กับหลายชีวิต และช่วยวิญญาณให้รอดได้มากมาย”

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่

ธารน�้ำใจ

บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com

บัญชี กองทุนนิตยสารดอนบอสโก ธนาคารธนชาต สาขาโรงพยาบาลรามค�ำแหง เลขที่บัญชี 096 - 6 - 11569 - 2

แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก อ่านนิตยสารออนไลน์

“หากปราศจากพวกท่านแล้ว เราไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย”

(หากท่านเปลี่ยนชื่อและที่อยู่ผู้รับ กรุณาแจ้งให้ทางนิตยสารทราบ)

ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโกได้ที่ (ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนทราบด้วย)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.