นิตยสารดอนบอสโก-July-August 2022 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1


นิตยสารดอนบอสโก นิตยสารซาเลเซียน (Salesian Bulletin) คือ สิ่ ง พิ ม พ์ ที่ เ ป็ น ทางการของคณะซาเลเซี ย นซึ่ ง คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ เ ป็ น ผู ้ ริ เริ่ ม ไว้ เ มื่ อ เดื อ นสิ ง หาคม ค.ศ. 1877 นิตยสารนี้ได้รับการตีพิมพ์อย่างดีเรื่อยมา เพื่ อ เผยแพร่ ง านด้ า นการจั ด การศึ ก ษาอบรมของ คุณพ่อบอสโกไปทั่วโลก ปัจจุบันนิตยสารซาเลเซียน มีทงั้ หมด 67 อีดชิ นั่ 32 ภาษา เผยแพร่ใน 132 ประเทศ ทั่ ว โลก นิ ต ยสารดอนบอสโกของประเทศไทยคื อ หนึ่งในจ�ำนวนนี้ด้วย ซึ่งได้เริ่มพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1958 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 65 และได้เปลี่ยนจากการตีพิมพ์ รายเดือนเป็นราย 2 เดือนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018 เป็นต้นมา เจ้าของผู้พิมพ์ คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา บิชอปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิการ ซ.ฉวีวรรณ เกษทองมา FMA ซ.ระวิวรรณ บวกหาร DQM ซ.อุทุมพร แซ่โล้ว SIHM ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต SQM คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค ASC แผนกการเงิน พ่อมนูญ สนเจริญ SDB ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 0-2731-7100 E-mail : thaisdbbulletin@gmail.com พิมพ์ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ โทร. 0-2652-9625 ถึง 30 จัดพิมพ์โดย แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน E-mail : sdbsocomthai@gmail.com Line @salesianthailand

EDITOR’s NOTE

ฤดูกาลไหว้ครูหลังการเปิดภาคการศึกษา ที่หนึ่งที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเห็นพานไหว้ครู ในรูปแบบแปลกใหม่ เช่น พานไหว้ครูหมูกะทะ, พานไหว้ครูชุดของยังชีพ ฯลฯ การอนุญาต ให้ นั ก เรี ย นออกแบบและจั ด พานไหว้ ค รู แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง พื้ น ที่ ใ นการแสดงออก ทางความคิ ด ที่ ค รู เ ป็ น ผู ้ เ ปิ ด ให้ ก ว้ า งขึ้ น เสรี ภ าพในการแสดงความคิ ด เห็ น ของนักเรียนนีค้ อื ปัจจัยส�ำคัญทีส่ ง่ เสริมให้พวกเขา มีโอกาสพัฒนาสติปัญญาให้งอกงามต่อไป ในอนาคต พิ ธี ก ารไหว้ ค รู แ บบนี้ จึ ง เน้ น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แม้วา่ การออกแบบและจัดท�ำพานไหว้ครู ประเภทความคิ ด สร้ า งสรรค์ จ ะมี ม ากขึ้ น แต่ จิ ต วิ ญ ญาณของการไหว้ ค รู ก็ ยั ง คงอยู ่ ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีการพูดกันมาก ถึงการบูรณาการวิชาการต่างๆ และการจัด หลักสูตรให้เหมาะสมกับปัจจุบัน แต่สิ่งที่ ยั ง คงอยู ่ แ ละไม่ เ คยเปลี่ ย นแปลงเลย ในการศึกษาเล่าเรียน ก็คือเป้าหมายใน การสร้างความงอกงามทางสติปัญญาและ คุณธรรมจริยธรรมในฝั่งผู้เรียน อดไม่ได้ทจี่ ะชืน่ ชมคุณครูซงึ่ ไม่ได้เป็นเพียง ผู้ให้ความรู้และความคิดแก่นักเรียน แต่ให้ โอกาสพวกเขาเรียนรู้ด้วยการคิด ขอบคุณ คุณครูและผูใ้ หญ่ทมี่ อบความไว้ใจให้กบั ศิษย์

ขอบคุณทีใ่ จกว้างและเชือ่ มัน่ ว่าเด็กๆ จะไม่ใช้ ความไว้ใจและความใจกว้างของครูไปท�ำ สิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ บรรยากาศของความรักและความไว้ใจ แบบนี้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการเติบโต คุณพ่อบอสโกกล่าวว่า “การศึกษาอบรม เป็นเรือ่ งของหัวใจ” และหากจากจุดประสงค์ ของการศึกษาอบรมมุ่งที่การเปลี่ยนแปลง พัฒนาซึ่งเริ่มจากภายใน ความรักใจดีของ ผู้อบรมคือกุญแจเพื่อเปิดเข้าสู่ภายในของ บุ ค คล ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ แ ละ การเปลี่ยนแปลงจริงๆ ก็ต้องใช้ความรักใจดี ที่พากเพียร นิตยสารดอนบอสโกฉบับนี้ขอน�ำเสนอ บทความพิเศษเรือ่ งความรักใจดี ซึง่ เป็นหนึง่ ในเสาหลักของการอบรมแบบซาเลเซียน ซึ่ง จิตตารมณ์นมี้ ที มี่ าจากนักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์ นอกนัน้ ยังคงมีบทความประจ�ำและข่าวสารต่างๆ ที่น่าสนใจให้กับท่านผู้อ่านเช่นเดิม ขอขอบคุณสมาชิกนิตยสารและผูม้ พี ระคุณ ทุกท่านที่ท�ำบุญสนับสนุนการพิมพ์ รวมทั้ง ส่งข่าวคราวและเรื่องราวโมทนาคุณแม่พระ เพือ่ ลงในนิตยสารดอนบอสโก ขอเป็นก�ำลังใจ ให้แก่กนั ต่อไปและขอพระเจ้าอวยพรทุกท่าน

วัตถุประสงค์ 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การศึกษาอบรม งานอภิบาลเยาวชน การส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ

บรรณาธิการ


CONTENTs

ภาพจากปก

dbBULLETIN

J U LY - A U G U S T 2 0 2 2

บิ๊ก - รัชพล อุดมสมบูรณ์ Mister Deaf Thailand 2020 ศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกกรุงเทพ ภาพ: Mister Deaf Thailand

2

EDITOR’s NOTE

Salesian World 4 สารอัคราธิการ

สึนามิแห่งความหวัง

6 เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัว

ของพ่อบอสโก

ต้นหม่อนที่ถนน Giardiniera

10 ความรักใจดี

ตามแนวทางของ นักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์

Faith & Catechesis 16 สวดอย่างไร ให้ละม้าย คล้ายแม่พระ (13) 30 Lectio Divina

ลักษณะพิเศษของการเป็นศิษย์ธรรมทูต

Youth & Education 7 เสียงเยาวชน

“วัยรุ่นคิดอย่างไรกับการสื่อสารกับพ่อแม่” 24 เพื่อนนักอบรม Life เพียงมีพ่อบอสโกเป็น “เพื่อน” 12 สัมภาษณ์ ซิสเตอร์ อันนา กราสซี 34 INFLUENCER CULTURE ธรรมทูตแห่งความเมตตา 36 รัชพล อุดมสมบูรณ์ เพื่อคนยากไร้ Mister Deaf Thailand 2020 26 One Moment in Time ความเชื่อ...

39 เรื่องมีอยู่ว่า....

กระปุกออมสิน

12

Holiness

22 ข้ารับใช้พระเจ้าการ์โล เดลลา โตร์เร

แล้วทุกสิ่งจะกลับมาหาพ่อ 38 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน ผู้รับใช้พระเจ้า

22 30

คุณพ่อคอสตันตีโน เวนดราเม

40 พระพรที่ได้รับ

News

18 Local News 27 ส่องโลกซาเลเซียน

34 July-August 2022

3


สารอัคราธิการ Don Ángel Fernández Artime แปล I สายลมที่พัดผ่าน

สึนามิ แห่งความหวัง

4

db Bulletin

สวั ส ดี เ พื่ อ นร่ ว มในพระพรพิ เ ศษของ คุณพ่อบอสโกทุกท่าน พ่อมีโอกาสเดินทาง ไปยังประเทศไทยโดยมีจดุ ประสงค์เพือ่ ปลุกเร้า และให้ ก� ำ ลั ง ใจพี่ น ้ อ งสมาชิ ก ซาเลเซี ย น ซึ่งท�ำงานอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รวมถึงพี่น้อง สมาชิกในครอบครัวซาเลเซียนด้วย แน่นอนว่า พ่อเห็นถึงการเจริญเติบโตและความก้าวหน้า ของพันธกิจซาเลเซียน ณ ประเทศแห่งนี้ แม้ ว ่ า พ่ อ จะมี จุ ด มุ ่ ง หมายหลายประการ ในการมาเยี่ ย มเยี ย นครั้ ง นี้ กระนั้ น ก็ ดี หนึ่งในความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของพ่อคือ การไปเยี่ยมบ้านดอนบอสโกบางสัก ท่าน คงทราบดี ว ่ า จากโศกนาฏกรรมสึ น ามิ เมือ่ วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2004 ท�ำให้ดนิ แดน แห่งนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ และความตาย แต่ไม่นา่ เชือ่ เลย ทุกวันนี้ บ้านดอนบอสโกบางสัก ได้เปลี่ยนให้ดินแดนแห่งนี้กลับกลายเป็น ความสุข ให้ความหวัง และให้โอกาสเพือ่ เริม่ ต้น ชีวิตใหม่ คลื่ น ยั ก ษ์ สึ น ามิ ค ร่ า ชี วิ ต ผู ้ ค นกว่ า 230,000 ราย มีผู้สูญหายนับพัน มิหน�ำซ�้ำ สึ น ามิ ยั ง ท� ำ ลายทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งที่ ตั้ ง อยู ่ ตามชายฝัง่ ทะเลอันดามัน ไม่วา่ จะเป็นชายหาด สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่พักอาศัย โรงแรม ร้านค้า ฯลฯ อย่างราบคาบ... ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุนั้น คุณพ่อปัสกวัล ชาเวซ วิลลานูเอวา เป็นอัคราธิการคณะ ซาเลเซียน ท่านได้ขอให้คุณพ่อเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนได้ลงพืน้ ทีเ่ พือ่ แสวงหาวิธกี าร ช่ ว ยเหลื อ และบรรเทาทุ ก ข์ ผู ้ ป ระสบภั ย พิ บั ติ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง มี เ ด็ ก หลายคน ที่ต้องกลับเป็นก�ำพร้า (เพราะบิดามารดา หรือผู้ปกครองเสียชีวิตจากภัยพิบัติสึนามิ) เด็กๆ เหล่านีต้ อ้ งได้รบั การดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะเหตุนี้ จึงเป็นทีม่ าของบ้านดอนบอสโก บางสั ก ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น พั น ธกิ จ ใหม่ ข อง แขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทยในช่วงนั้น พ่อเชือ่ ว่าจิตตารมณ์และพลวัตแห่งความรัก เมตตาที่คุณพ่อบอสโกมอบฝากไว้กับเรา ยั ง คงเข้ ม ข้ น อยู ่ เ สมอ เพราะในช่ ว งแรก


มีเด็กไม่น้อยกว่า 117 คน ทั้งชายและหญิง ซึ่งเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลแบบซาเลเซียน พวกเขามีบ้านใหม่ มีครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น และรูส้ กึ ปลอดภัยเสมอ เห็นไหมว่า แม้จะอยู่ ในสถานการณ์ ที่ เ ลวร้ า ยที่ สุ ด แต่ เรายั ง สามารถมองชีวิตพร้อมกับความหวังใหม่ได้ เสมอ...หลายปีผา่ นไปเด็กๆ เหล่านัน้ เติบโตขึน้ พวกเขาได้ รั บ การศึ ก ษาอย่ า งเหมาะสม และในวั น นี้ ก็ ก ลั บ กลายเป็ น ผู ้ ใ หญ่ ที่ มี คุณภาพสามารถดูแลตนเองและครอบครัว ให้มีความสุขได้ ท่ามกลางโศกนาฏกรรม อันเลวร้ายยังคงมีการอวยพรเสมอ

อัศจรรย์แห่งชีวิตใหม่ มาถึงวันนี้ก็ครบ 18 ปีแล้ว และคงไม่มี เด็กก�ำพร้าคนใดที่ได้รับผลกระทบจากภัย พิ บั ติ สึ น ามิ อี ก แล้ ว ...พั น ธกิ จ ซาเลเซี ย น ณ ที่แห่งนี้จะด�ำเนินต่อไปในทิศทางใด? นี่คือสิ่งที่พ่อสามารถตอบได้เพราะพ่อเห็น กับตาของตนเอง เมือ่ พ่อไปถึงบ้านดอนบอสโก บางสัก มีเด็กและเยาวชนจ�ำนวน 42 คน อายุระหว่าง 6 – 15 ปี ก�ำลังรอต้อนรับ พ่ออยู่ พ่อรู้สึกได้ว่าพวกเขาเจริญชีวิตอย่าง งดงามด้วยประสบการณ์แห่งมิตรภาพและ ครอบครัว พวกเขาถูกแบ่งออกให้อาศัยอยู่ ตามบ้าน ซึ่งมีจ�ำนวน 5 หลัง โดยที่บ้าน แต่ละหลังได้จัดบรรยากาศอย่างน่าอบอุ่น และครบครัน ไม่ว่าจะเป็นห้องครัว ห้องซักรีด ห้องน�้ำ ห้องเรียน ห้องอาหาร และ ห้องนอน พ่อคิดว่ามันเหมือนสวรรค์สำ� หรับ พวกเขาเลย เด็กๆ เหล่านี้คือใครกันแน่ พวกเขา ไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ สึมานิซึ่งพัดโถมมาจากทะเล แต่พวกเขา ได้รับผลกระทบจากสึนามิแห่งชีวิตที่คงหนี ไม่ พ ้ น ปั ญ หาความยากจน ครอบครั ว แตกแยก พวกเขาไม่มบี ดิ า มารดาแล้ว ก่อนที่ จะเข้ามาอยู่ ณ บ้านหลังนี้ พวกเขาต้องอยู่ กั บ ญาติ พี่ น ้ อ งซึ่ ง ในบางกรณี ก็ เ ป็ น ญาติ ที่ห่างไกลมาก บ้านดอนบอสโก บางสัก เป็นสถานที่ ซึ่ ง มอบโอกาสในการเปลี่ ย นแปลงชี วิ ต

ส�ำหรับเด็กๆ มีอศั จรรย์ทเี่ กิดขึน้ ในบ้านหลังนี้ จริงๆ พ่อขอบอกอีกครั้งว่า มันคืออัศจรรย์ จริงๆ แต่อย่าเพิ่งตกใจกับเรื่องนี้เลย เรื่องนี้ สร้างความประทับใจทีล่ กึ ซึง้ ให้กบั พ่อ เพราะ บ้านหลังนีไ้ ด้สร้างโอกาสและเตรียมส�ำหรับ ชีวติ ทีม่ คี วามสุข เด็กๆ รูส้ กึ ว่าได้รบั การดูแล และปกป้อง พวกเขาได้รับการศึกษาอบรม อย่ า งดี บางคนมี โ อกาสเรี ย นในระดั บ ที่สูงขึ้น แล้วท่านทราบไหมว่า ท�ำไมพ่อ ถึ ง บอกว่ า มั น คื อ อั ศ จรรย์ ค� ำ ตอบก็ คื อ หากไม่ มี โ อกาสดี ๆ ที่ บ ้ า นดอนบอสโก หยิบยื่นให้ เด็กๆ หลายคนเมื่ออายุครบ 13 ปี อาจต้องถูกส่งไปขายบริการทางเพศ หรือการค้ามนุษย์ในรูปแบบต่างๆ หรือถ้าหาก อายุ ค รบ 14 ปี แ ล้ ว ก็ อ าจถู ก บั ง คั บ ให้ แต่งงานกับผู้ชายซึ่งมีอายุห่างจากพวกเขา หลายปีเลยทีเดียว พ่อคิดว่า เรือ่ งนีค้ งเพียงพอ ที่ จ ะแสดงออกถึ ง คุ ณ ค่ า อั น งดงามแห่ ง พระพรพิเศษของคุณพ่อบอสโก ซึง่ ตราบจน วันนี้ก็ครบ 165 ปีแล้ว แต่พระพรพิเศษนี้ ยังคงด�ำเนินไปและเกิดผลอย่างน่าอัศจรรย์ พ่อขอเพิ่มเติมบางประเด็นที่พ่อคิดว่า มั น เป็ น อะไรที่ วิ เ ศษ หลายคนคงคิ ด ว่ า ทีน่ มี่ หี มูค่ ณะซาเลเซียนประจ�ำอยู่ แต่เปล่าเลย ไม่มีสมาชิกซาเลเซียนประจ�ำอยู่เลยแม้แต่ คนเดี ย ว เนื่ อ งจากพั น ธกิ จ ซาเลเซี ย น ในประเทศไทย และความต้องการในงาน อภิบาลมีความหลากหลายและกว้างมาก เราจึงไม่สามารถไปประจ�ำอยูก่ บั ทุกพันธกิจ ทีเ่ ราริเริม่ แต่การอยูท่ า่ มกลางเยาวชนแบบ ซาเลเซียนสามารถเห็นได้จากผู้อบรมและ เจ้าหน้าทีซ่ งึ่ ท�ำหน้าทีใ่ นรูปแบบทีห่ ลากหลาย โดยเฉพาะ ณ บ้านดอนบอสโกบางสักนี้ เรามีสตรีฆราวาสผูอ้ ทุ ศิ ตนของคุณพ่อบอสโก ถึง 2 ท่าน ท�ำหน้าที่เป็นเหมือนมารดา ของเด็กๆ ตลอด 24 ชั่วโมง นอกนั้นยังมี สามีภรรยาคูห่ นึง่ และยังมีซาเลเซียนผูร้ ว่ มงาน บางท่านซึ่งเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ซื้ อ สิ่ ง ของ จั ด หาสิ่ ง จ� ำ เป็ น ยั ง มี ส ตรี อีกท่านหนึง่ ซึง่ เป็นเหมือนคุณแม่มาร์เกริตา จริงๆ เพราะเธอเป็นแม่ครัวทีย่ อดเยีย่ มมาก แน่นอนว่า แขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย

คอยติดตามและให้การสนับสนุนเสมอเพือ่ ให้ พั น ธกิ จ ซาเลเซี ย นสามารถด� ำ เนิ น ไป อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดส�ำหรับเด็กๆ พ่อยังมีสงิ่ ทีจ่ ะอยากบอกอีกสองประการ ประการแรก พ่อเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ แบบซาเลเซียนท�ำให้เด็กๆ เหล่านี้สามารถ ฝึกหัดการท�ำงานฝีมอื จนสามารถผลิตสินค้า ที่มีคุณภาพและสามารถออกจ�ำหน่ายได้ รายได้ที่ได้จากการจ�ำหน่ายสินค้าจะน�ำ มาเข้ากองทุนเล็กๆ เมื่อพวกเขาจบออกไป จากบ้ า นแห่ ง นี้ แ ล้ ว ก็ จ ะได้ รั บ ทุ น จาก กองทุ น นี้ ติ ด ตั ว ไปเพื่ อ ไปต่ อ ยอดส� ำ หรั บ การพัฒนาชีวิต ในเรื่องนี้ แขวงซาเลเซียน แห่ ง ประเทศไทยก็ พ ยายามจั ด หาตลาด เพื่อกระจายสินค้าซึ่งมาจากฝีมือของเด็ก เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยายามดึงดูด นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ประการที่สอง หัวใจของพ่อเปี่ยมล้น ด้วยความยินดีเมื่อพ่อทราบว่า เด็กๆ ที่จบ จากบ้านหลังนีจ้ ำ� นวน 12% มีโอกาสเรียนต่อ ในระดับมหาวิทยาลัย มี 15% ที่ศึกษาต่อ ในสายอาชีวศึกษา ณ วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกของเรา และมีมากกว่า 50% ที่หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนรัฐบาล ใกล้ๆ แล้ว เลือกทีจ่ ะประกอบอาชีพเพือ่ เริม่ ต้น การเจริญชีวิตที่ท้าทายอีกครั้ง ณ บ้านดอนบอสโกบางสักแห่งนี้ พ่อ มิได้มีเพียงแต่ความฝันที่งดงาม แต่พ่อได้ ค้นพบความเป็นจริงประการหนึ่งซึ่งตอกย�้ำ สิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในใจของพ่อ นัน่ คือเด็กๆ เหล่านี้ พวกเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่ความดีงามหรือ ข่าวดีส�ำหรับเรา เพราะพวกเขายังคงพัฒนา ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นอกนั้น ความเป็น ธรรมชาติแห่งวัยเยาว์ของพวกเขาไม่เคย สร้ า งเสี ย งรบกวนหรื อ ความน่ า ร� ำ คาญ ตรงกันข้าม พวกเขาได้ท�ำให้โลกใบนี้งดงาม มากขึ้น นีแ่ หละคือเหตุผลทีว่ า่ ท�ำไมความเศร้าโศก แห่งสึนามิในวันนีไ้ ด้ชหี้ นทางซึง่ น�ำพาให้เรา ค้นพบความงดงามแห่งความหวัง คุณพ่ออังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม July-August 2022

5


เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก Text: Jose J.Gomez PALACIOS I Illustrate: Cesare แปล I ต้นลูกหนาม SIHM

ต้นหม่อน ที่ถนน

Giardiniera ถนน Giardiniera ในเมืองตุรนิ เรียงราย ไปด้วยต้นหม่อน และฉันก็คอื หม่อนต้นหนึง่ บนถนนเส้ น นี้ แม้ ไ ม่ ค ่ อ ยมี ค นผ่ า นมา เท่าไรนัก แต่เรายังคงแผ่ร่มเงาให้แก่ผู้คน ทีเ่ ดินผ่านไปมา จนกระทัง่ วันนัน้ คุณพ่อบอสโก เดินผ่านมาพร้อมกับกลุ่มเด็กๆของท่าน เป็นผลให้มุมที่ไร้ความหมาย กลับกลาย เป็ น มุ ม ที่ มี ชี วิ ต ชี ว า วงดนตรี ข องเด็ ก ๆ บรรเลงจบลงที่นี่ หัวหน้าแก๊งก็คือเฟลิซ เรวิโญ อายุสิบหกปี เขามาที่ศูนย์เยาวชน เป็นประจ�ำ ก่อนหน้านีค้ รอบครัวได้ดวุ า่ เขา จนเขาทนไม่ไหวและได้ไประบายให้คณ ุ พ่อบอสโกฟัง ท่านปลอบเขาว่า “อย่ากังวล เฟลิซ จงมีความสุขเถิด ฉันจะเป็นพ่อของเธอ ตลอดไป ถ้าเกิดอะไรขึน้ กับเธอ ให้ไปทีบ่ า้ น ของพ่อ” อยูม่ าวันหนึง่ ฉันได้ยนิ เสียงตะโกนดังมา แต่ไกล เป็นเสียงของแม่ลูกคู่หนึ่ง “เธอจะอยูก่ บั พ่อบอสโกหรือไปท�ำงาน กับฉันที่โรงพิมพ์” “วันนีว้ นั อาทิตย์ ผมไม่ไปท�ำงาน ผมจะไป ศูนย์เยาวชน” พูดยังไม่ทันจบประโยคดี ผู้เป็นแม่ พยายามจะจับตัวเด็กคนนัน้ ไว้ เขาจึงวิง่ หนี สุดชีวิต แม่ของเขาวิ่งตามมา ฉันเห็นเขา ถูกไล่ตาม เวลานัน้ คุณพ่อบอสโกไม่ได้อยูบ่ า้ น เฟลิซก�ำลังจะถูกแม่จบั ได้ เขาไม่มที หี่ ลบภัย ฉันอยูท่ นี่ นั่ ตัวของฉันมีใบดกหนาพร้อมที่

6

db Bulletin

ประวัติความเป็นมา ครอบครัวเรวิโญรับทราบถึงสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ และยิมยอมต่อความต้องการของเฟลิซ ซึง่ ต่อมา เขาได้อยูก่ บั คุณพ่อบอสโก และได้กลายเป็นพระสงฆ์ เขาเป็นนักเทววิทยาและเป็นเจ้าอาวาส ของวัดนักบุญออกัสตินในต�ำบลของเขาเอง เฟลิซเป็นทีเ่ คารพของพระสงฆ์ทเี่ มืองตุรนิ และ เมื่อคิดถึงประวัติชีวิตของเฟลิซ เขาจะเล่าเรื่องนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่คุณพ่อบอสโกเสมอ

จะบังซ่อนตัวเขาไว้ เขาปีนขึน้ ไปบนยอดด้านบนตัวของฉันอย่างฉับไวราวกับกระรอกและ หมอบอยูบ่ นนัน้ ทันเวลาพอดี ขณะทีแ่ ม่ของเขาก�ำลังตามหาตัวเฟลิซ คุณพ่อบอสโกก็มาถึง พอดี แม่จึงพูดกับพ่อบอสโกว่า “ฉันต้องการลูกชายของฉันคืนมา” “ลูกชายของคุณไม่ได้อยู่ที่นี่ พ่อไม่เห็นเขา” “เขามาที่นี่แน่นอน และไม่มีทางไปที่อื่นได้” “ลูกของคุณอาจจะอยู่ที่อื่นก็เป็นได้” “เป็นไปไม่ได้...” บทสนทนาระหว่างพ่อบอสโกและแม่ของเฟลิซกินเวลานาน จนในทีส่ ดุ คุณนายเรวิโญ ก็กลับบ้าน เฟลิซค่อยๆ ไต่ลงมาจากต้นหม่อนอย่างระมัดระวัง แล้วมายืนอยู่ต่อหน้า คุณพ่อบอสโก “เธออยู่ข้างบนใช่มั้ย” “ผมวิง่ หนีมา ผมอยากอยูก่ บั คุณพ่อ คุณพ่อบอสโกคงจะไม่สง่ ผมกลับบ้านหรอกนะ”... เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ท�ำให้ผู้คนระลึกถึงฉัน ซึ่งเป็นต้นหม่อนต้นสุดท้ายที่อยู่บนถนน Giardiniera ใกล้กับวัดนักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์


เสียงเยาวชน Voice of Youth By Andy ผิดมั้ย? ที่เรามีความคิดเป็นของตัวเอง ผิดมั้ย? ที่อยากจะท�ำตามความฝันของเรา แต่ท�ำไมหลายครั้งมันยากเหลือเกินที่จะให้ ใครๆ เข้าใจ ในฐานะเด็ก การสื่อสารกับผู้ ใหญ่มักไม่ ใช่เรื่องง่าย เพราะวัยที่แตกต่างอาจท�ำให้คนเรามีมุมมองต่างกัน หลายครั้งการพูดคุยมักจบลงที่ความขัดแย้งไม่ลงรอย จนพลอยเสียความรู้สึก ถ้าการพูดคุยจบลงแบบนี้บ่อยๆ มันก็ท�ำให้เหนื่อยหน่ายและท้อที่จะคุย แล้วเราจะสื่อสารกันยังไงให้พ่อแม่เข้าใจและเป็นสุข? ให้เราถามความคิดเห็นของเยาวชนกันว่า

วัยรุ่นคิดอย่างไร

กับการสื่อสารกับพ่อแม่?


8

db db Bulletin Bulletin


4 วิธีการ สื่อสารกับผู้ใหญ่ ให้ราบรื่น

1 สร้างความสัมพันธ์ที่ดี พอเราเป็ น วั ย รุ ่ น เราอาจจะเริ่ ม เป็ น ตั ว เองมากขึ้ น ความคิ ด นิ สั ย บางอย่ า งก็ เ ปลี่ ย นไปตามวั ย ที่ โ ตขึ้ น ความสนิทก็เลยลดลงเพราะเราในตอนนี้ก็ไม่เหมือนกับเรา เมื่อก่อนเสียทีเดียว การมีช่วงเวลาที่ดีกับพ่อและแม่ เช่น พูดคุย รับประทานอาหารด้วยกัน เล่นบอร์ดเกม สวด ฯลฯ จึงจะเป็นช่วงเวลาที่ท�ำให้ต่างฝ่ายต่างได้เรียนรู้กัน มากขึ้ น ว่ า ตั ว ตนของพ่ อ แม่ จริ ง ๆ แล้ ว เป็ น ยั ง ไง และก็เป็นโอกาสที่จะท�ำให้พ่อแม่ได้รู้จักตัวตนที่แท้จริง ของเราด้วย

2

ไวในการฟัง

3 พูดอย่างฉลาด การพูดนั้นมีพลังมาก ดังที่ในหนังสือสุภาษิตบอกไว้ว่า “ความตายและชีวิตอยู่ใต้อ�ำนาจของลิ้น” (สภษ 18:21) เมื่อเราจะพูดกับผู้ใหญ่เราก็ต้องใช้ภาษาแบบผู้ใหญ่ ถ้าอยาก รู้ว่าภาษาของพ่อแม่เรานั้นเป็นแบบไหน เราก็ควรลองสังเกตว่า เวลาที่พ่อแม่คุยกับผู้ใหญ่คนอื่นๆ เขาเหล่านั้นใช้วิธีการพูด ยังไง เนื้อหาเป็นแบบไหน น�้ำเสียงเป็นอย่างไร การแสดงออกทางสีหน้าท่าทางเป็นยังไง ในฐานะที่เราเป็น วัยรุ่น และไม่ใช่เด็กๆ แล้ว เราก็ควรเรียนรู้ไว้และลองน�ำมา ฝึกใช้ดู เมื่อเรามีวิธีการพูดที่ดีประกอบกับมีถ้อยค�ำที่สุภาพ ถูกกาละเทศะ จะได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน

4 สร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง “การจะให้คนยอมรับ เราก็ต้องท�ำตัวให้เป็นคนที่ไว้วางใจได้ด้วย!” เมื่อพูดอะไรเราก็ควรรักษาค�ำพูด สิ่งนี้จะค่อยๆ สร้างความ ไว้วางใจให้พ่อแม่รู้ว่าเรามีความรับผิดชอบและดูแลตัวเองได้ อาจจะต้องใช้เวลาพิสูจน์ให้คุณพ่อคุณแม่เห็นในครั้งแรกๆ ว่าเรา สามารถท�ำได้ตามที่พูดจริงๆ เขาอาจจะไว้ใจบ้างหรือไม่ไว้ใจบ้าง ก็ไม่เป็นไรเพราะพ่อแม่ก็แค่ห่วง แต่หากเรารักษาค�ำพูด สร้าง ความน่าเชื่อถือ รับผิดชอบค�ำพูดอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดท่านก็จะ ไว้ใจเรา และก็จะมอบอิสระให้การคิด ตัดสินใจ และปล่อยให้ดูแล ตัวเองมากขึ้น

“จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ” (ยก 1:19) การสื่อสารที่ดีต้องเริ่มต้นจากการฟัง สิ่งส�ำคัญของการฟังไม่ใช่ เพียงแค่ให้เราได้ยินเนื้อหาหรือจับใจความสิ่งที่พ่อแม่พูดเท่านั้น แต่มันคือ “การฟังจนรับรู้ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ของผู้พูด โดยไม่รีบพูด ไม่รบี ตัดสิน หรือด่วนสรุปจนเร็วเกินไป” ถ้าเราฟังเพียงแค่เนือ้ หา คือ ค�ำพูด ก็มีโอกาสที่เราจะรู้สึกแย่ ขัดใจ โกรธว่าท�ำไมพ่อแม่ไม่เข้าใจ จนเราอาจจะพูดสวนกลับหรือมีท่าทีที่ไม่น่ารัก ถ้าเราได้เปิดหูและ เปิดหัวใจเพื่อรับรู้ความรู้สึกของพ่อแม่หรือคนอื่นๆ ที่พูดกับเรา เราจะได้รับความ “เข้าใจ” ที่ไม่ใช่แค่เพียง อ้างอิง: เป็นความคิดความเข้าใจแต่เข้าใจไปถึงใจ www.choojaiproject.org/2018/08/how-to-talk-to-your-parents/

July-August 2022

9


ความรักใจดีตามแนวทางของน.ฟรังซิสแห่งซาลส์ Text : สายลมที่พัดผ่าน

ความรักใจดี ตามแนวทางของ นักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์ ครบ 400 ปี แห่งมรณกรรม ของนักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์ (1622-2022) 10

db Bulletin

นักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์เป็นอาจารย์แห่งชีวติ จิต คริ ส ตชนซึ่ ง มี ค วามโดดเด่ น ในเรื่ อ งความรั ก ต่ อ พระเจ้าทีแ่ สดงออกในรูปแบบของการปฏิบตั คิ วามรัก ความเมตตา ความพากเพียร การสร้างมิตรภาพ และความสุภาพอ่อนโยน แน่นอนทีเดียว คุณธรรม เหล่านี้บ่งชี้ถึงคุณลักษณะเฉพาะของท่านนักบุญ ซึง่ แสดงออกมาอย่างงดงามและผสมผสานกลมกลืน บนพืน้ ฐานของความเป็นมนุษย์ ความเป็นคริสตชน ความเป็นผูอ้ ภิบาลในฐานะพระสงฆ์ และพระสังฆราช แห่งเจนีวา คุณธรรมเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นเอง ในทันใด แต่มาจากประสบการณ์ชวี ติ และพระหรรษทาน ของพระเจ้าซึง่ ท�ำงานร่วมกัน ท่านใช้เวลาตลอดชีวติ ในการเรียนรู้ วินิจฉัย ท�ำความเข้าใจ และพยายาม แก้ไขในความบกพร่องอยู่เสมอ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าบ่อเกิดแห่งความดีงาม ทั้ ง ปวงมาจากความรั ก ของพระเจ้ า และจาก สัมพันธภาพที่พระองค์ทรงริเริ่มและมนุษย์ตอบรับ ด้วยใจอิสระ ท่านนักบุญตระหนักในความจริงข้อนี้ และยิง่ เด่นชัดมากขึน้ ในพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า ซึ่งวางรากฐานแห่งความเต็มเปี่ยมแห่งการด�ำเนิน ชีวิตมนุษย์ และบรรทัดฐานแห่งจริยธรรม เรื่องราว ของพระเยซูคริสตเจ้าที่ถูกบันทึกไว้ในพระวรสาร พร้อมกับพระวาจาของพระองค์ “เรามีใจสุภาพ อ่อนโยน และถ่อมตน” (มธ 11:29) ซึ่งเป็นการ เชื้อเชิญและบ่งชี้แบบอย่างแห่งการปฏิบัติความรัก อ่อนหวานต่อเพื่อนมนุษย์ผ่านทางพระวาจา พระอากัปกิรยิ า และพระพันธกิจ แบบอย่างของพระคริสตเจ้านี้ กระตุ้นเตือนและสร้างแรงบันดาลใจต่อการเจริญ ชีวิตมนุษย์อย่างเต็มเปี่ยมของนักบุญฟรังซิสแห่ง ซาลส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงความรักต่อ พระเจ้าด้วยการปฏิบัติกิจเมตตาแห่งรักต่อเพื่อน พี่น้อง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องโปรเตสแตนท์ใน สมัยของท่าน) ในสมั ย ของนั ก บุ ญ ฟรั ง ซิ ส แห่ ง ซาลส์ ค� ำ ว่ า “ความรั ก ใจดี ” อาจยั ง ไม่ ป รากฏ เพราะท่ า น ใช้ค�ำว่า “Dolcezza” ในภาษาอิตาเลียน แปลว่า ความอ่ อ นหวาน ความสุ ภ าพ ความอ่ อ นโยน ความใจดี แต่ค�ำว่า “ความรักใจดี” ซึ่งในภาษา อิตาเลียนคือ “Amorevolezza” เป็นค�ำที่คุณพ่อ บอสโกใช้ในบริบทของระบบป้องกัน และการศึกษา อบรมซาเลเซียน อย่างไรก็ตาม ความหมายของ “Dolcezza” ในสมัยของนักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์


และ “Amorevolezza” ของคุณพ่อบอสโก อาจไม่ได้แตกต่างมากนักในแง่มุมของ ความเข้าใจ เพราะคุณธรรมต่าง ๆ ดังที่ กล่าวมามีความเกี่ยวเนื่องกันเพื่อน�ำไปสู่ การปฏิบัติอย่างเกิดผล ความรักใจดี (ความสุภาพ ความอ่อนโยน ความอ่อนหวาน) ส�ำหรับนักบุญฟรังซิส แห่งซาลส์ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ความรู้สึก ที่ ซ าบซึ้ ง ต่ อ ความงดงามหรื อ ความดี บางประการ ไม่ได้อยู่ที่ความรู้สึกสงสาร แบบผิวเผิน ความรักใจดีนคี้ งไม่ได้ทำ� ให้เรา ขับเคลื่อนชีวิตไปอย่างเชื่องช้าหรือเย็นชา ที่ ส� ำ คั ญ ความรั ก ใจดี ไ ม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ความพ่ า ยแพ้ แต่ ค วามรั ก ใจดี ส� ำ หรั บ นั ก บุ ญ ฟรั ง ซิ ส แห่ ง ซาลส์ คื อ ความลึ ก ซึ้ ง แห่งการมีความรักเมตตาทีแ่ ข็งแกร่งในชีวติ กล่าวคือการตระหนักรู้ในมโนธรรมและ ความคิ ด ของตนเอง การรู ้ จั ก ควบคุ ม ความรู้สึกของตนเอง พร้อมกับใส่ใจใน ความรู้สึกของผู้อ่ืน ความรักใจดีนี้ต้อง แสดงออกด้ ว ยความใสซื่ อ ผ่ อ นคลาย สงบ มีสันติ ปราศจากความตึงเครียดและ ทัศนคติแห่งความขัดแย้ง นอกนั้น จะต้อง ไม่ใช้ค�ำพูดหรือการกระท�ำที่รุนแรง หรือ แม้กระทั้งความเจ้ากี้เจ้าการในชีวิตของ ผู้อื่น ท่านนักบุญเคยท�ำข้อตกลงกับลิ้น ของตนเองในการที่ จ ะไม่ พู ด อะไรเลย หากมี อ ารมณ์ โ กรธ และในความ เป็นจริงแล้วท่านใช้เวลากว่า 20 ปีเลย ที เ ดี ย วในการเอาชนะความอ่ อ นแอ ประการนี้ 1 การปฏิ บั ติ สิ่ ง เหล่ า นี้ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่ า เราจะต้ อ งยอมทุ ก อย่ า ง หรือปล่อยให้ผา่ นไป ตรงกันข้าม เราต้องมี ความกล้ า หาญและความกระตื อ รื อ ร้ น ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยคุณธรรม ต่างๆ เหล่านี้ แต่ต้องท�ำด้วยความสุภาพ พากเพียร อดทน และด้วยความเคารพ ดั ง นั้ น ความรั ก ใจดี ต ามเจตนารมณ์ ของนั ก บุ ญ ฟรั ง ซิ ส แห่ ง ซาลส์ จึ ง ไม่ ใช่ ความอ่ อ นแอ แต่ เ ป็ น ความเข้ ม แข็ ง ที่ เ ป็ นผลมาจากการรู้จักควบคุมตนเอง และความเพี ย รอดทน ความรั ก ใจดี นี้

ท� ำ ให้ เราเล็ ง เห็ น ความงดงามในชี วิ ต ของผู้อื่น มีความชัดเจนและแน่วแน่ใน เจตนาที่บริสุทธิ์ และมีความส�ำนึกในการ ประทับอยู่ของพระเจ้าในชีวิตประจ�ำวัน ในฐานะพระสังฆราช ท่านเคยแนะน�ำ พระสงฆ์ของท่าน เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ แห่งการรับใช้ในฐานะศาสนบริกรแห่งศีล อภัยบาป ขอให้ระวังค�ำพูด อย่าพูดหรือ สร้างความรู้สึกหนักใจให้ผู้ที่มาขอรับศีลอภัยบาป เพราะเวลาที่คนหนึ่งเข้ามารับ ศีลอภัยบาป เขาเรียกพระสงฆ์ว่า “คุณพ่อ ที่เคารพ” เพราะเหตุนี้ ศาสนบริกรแห่ง ศีลอภัยบาปควรมีท่าทีแห่งการต้อนรับ ให้เกียรติ มีความเพียรทน มีปรีชาญาณ รอบคอบ และให้ ก� ำ ลั ง ใจผู ้ ที่ ม าขอรั บ ศีลอภัยบาปอย่างจริงใจเพือ่ ให้เขาสามารถ ก้ า วเดิ น ต่ อ ไป มากกว่ า การสอบถาม ที่ ไ ม่ จ� ำ เป็ น หรื อ การตั ด สิ น ที่ บั่ น ทอน จิตใจ2 ความรักใจดีหรือความอ่อนหวาน เป็นคุณธรรมที่ต้องด�ำเนินไปพร้อมกับ ความเพี ย รอดทนเสมอ เพราะผลของ ความเพียรอดทนซึ่งนอกจากจะท�ำให้ชีวิต ฝ่ายจิตของเรามีความมัน่ คงแล้ว ยังท�ำให้เรา สามารถเอาชนะใจของผูอ้ นื่ ด้วย ดังค�ำกล่าว ของท่านทีว่ า่ น�ำ้ ผึง้ เพียงหนึง่ ช้อนยังสามารถ

ดึ ง ดู ด ฝู ง มด (หรื อ แมลง) ได้ ม ากกว่ า น�ำ้ ส้มสายชูเป็นร้อยถัง”3 ความรักอ่อนโยน และความเพียรอดทนนี้ จะยิง่ สมบูรณ์มากขึน้ หากปราศจากความกระวนกระวายหรือ ความเร่งรีบที่ไม่จ�ำเป็น ขอให้ความรักใจดีของนักบุญฟรังซิส แห่งซาลส์ทดี่ ลใจชีวติ และพันธกิจแห่งการเป็น ผู้อภิบาลของคุณพ่อบอสโก ได้สร้างแรง บันดาลใจให้ทกุ คนในการด�ำเนินชีวติ และ “ท�ำทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ทำ� อะไรทัง้ สิน้ ด้วยการฝืนใจ”4

Don Bosco fu un vero Salesiano?, Confronto tra I due Santi in base a 7 parolechiave della loro spiritualità โดย Gianni Ghiglione 2 Saint Jane Frances de Chantal’s Depositions, In the Cause of the Beatification and Canonisation of Saint Francis de Sales, หัวข้อ 42: His Assiduity in the Confessional 3 Jean-Pierre Camus, The Spirit of Saint Francis de Sales, Part 1, Section 3 4 จดหมายจากนักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์ถงึ นักบุญ เจน ฟรังเซส ซังตาล ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1604 1

July-August 2022

11


สัมภาษณ์ซิสเตอร์ อันนา กราสซี เรียบเรียง : ภาชนะดินเผา

ซิสเตอร์ อันนา กราสซี ธรรมทูตแห่งความเมตตา เพื่อคนยากไร้ ภาพของซิสเตอร์ชาวอิตาเลียนที่เดินทาง ไปพบกับเด็กยากจนในพืน้ ทีต่ า่ งๆ เพือ่ ให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาและปัจจัยพื้นฐาน ในการด�ำรงชีวิตเป็นภาพที่คุ้นตาชาวบ้านและ บุคคลทัว่ ไปที่ได้พบเห็น โดยหวังเพียงว่าพวกเขา จะมีอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า เด็กจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีเ่ คยได้รบั ความช่วยเหลือ จากซิสเตอร์เรียนจบได้ดบิ ได้ดี มีความก้าวหน้า ในชีวิต ซิสเตอร์ผมู้ เี มตตาท่านนีค้ อื ซิสเตอร์ อันนา กราสซี สังกัดคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ปัจจุบันท่านอายุ 78 ปี และจ�ำนวนปีที่ท่านอยู่ เมืองไทยไม่ใช่ 5 ปีหรือ 10 ปี แต่เป็น 48 ปี อะไรท�ำให้ผู้หญิงคนหนึ่งเลือกจากบ้านเกิด เมื อ งนอนครอบครั ว ที่ อ บอุ ่ น มาท� ำ งานยั ง ดินแดนห่างไกลค่อนโลกนานเกือบ 50 ปี

12

db Bulletin


ครอบครัวที่อบอุ่น โดยไม่ต้องใช้ล่ามแปลภาษาในระหว่างการสนทนา เรา พูดคุยกับซิสเตอร์อันนา กราสซี ด้วยภาษาไทยปกติธรรมดา แม้ว่าซิสเตอร์จะมีส�ำเนียงแปร่งๆ ของชาวต่างชาติ แต่ก็ สามารถสื่อสารและเข้าใจความหมายได้เป็นอย่างดี ซิสเตอร์ อันนา กราสซี (Anna Grassi) เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1944 / พ.ศ.2487 บิดาชื่อ ซาเวรีโอ กราสซี มารดาชือ่ ฟีโลเมนา ราฟาเอลเล มีพชี่ าย 1 คนและน้องสาว 1 คน เธอและพี่น้องเติบโตในครอบครัวที่อบอุ่น เต็มด้วยความรัก และสันติสขุ ในหมูบ่ า้ นเล็กๆ ที่ Gioia dei Marsi เมืองลากวีลา ประเทศอิตาลี เธอได้เห็นความเสียสละมากมายของบิดา มารดาในการท�ำงานหาเลีย้ งชีพอย่างสุจริต และอบรมลูกๆทุกคน ให้เติบโตทั้งในด้านความเป็นมนุษย์และชีวิตคริสตชนที่ดี เลือกเส้นทางชีวิต ซิ ส เตอร์ อั น นาเล่ า ให้ เราฟั ง ว่ า ในหมู ่ บ ้ า นของเธอ มีซสิ เตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ หรือซิสเตอร์ซาเลเซียน ท�ำงานอยูด่ ว้ ย แต่ตนเองก็ไม่เคยสนใจหรือคิดถึงเรือ่ งกระแสเรียกเลย จนกระทัง่ วันหนึง่ เธอได้มโี อกาสไปเข้าเงียบทีบ่ า้ นของซิสเตอร์ และผู้ใหญ่ได้เชิญชวนให้เธอมาหาประสบการณ์ชีวิตฝ่ายจิต ประสบการณ์วนั น้นั ท�ำให้เธอในวัย 17 ปี เปิดใจตอบรับการเรียก ของพระเจ้าและตัดสินใจเข้าเป็นผู้ฝึกหัดที่ Via Dalmazia กรุงโรมในเวลาต่อมา ตัง้ แต่วนั นัน้ เธอได้เลือกเดินบนเส้นทาง แห่งการเป็นซิสเตอร์ซาเลเซียน โดย ได้ปฏิญาณตนครั้งแรก วั น ที่ 5 สิ ง หาคม 1966 และปฏิ ญ าณตนตลอดชี พ ในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งคณะ มาเมืองไทยได้ยังไง เมื่อถามถึงการมาเมืองไทย ซิสเตอร์เล่าว่า “วันหนึ่งดิฉัน พบกับมาเดอร์ แอร์ซเิ ลีย กันตา ซึง่ เป็นอัคราธิการิณขี องคณะ ในเวลานั้น ท่านเสนอให้ดิฉันมาที่ประเทศไทย และดิฉัน ก็น้อมรับการพิจารณาของผู้ใหญ่ ดิฉันถือว่าความปรารถนา ของผู ้ ใ หญ่ คื อ พระประสงค์ ข องพระเจ้ า ” สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ซิสเตอร์แน่ใจมากยิ่งขึ้นก็คือในเย็นวันที่ได้เข้าพบผู้ใหญ่ ภายในหมูค่ ณะได้ชมโทรทัศน์รายการสารคดีเกีย่ วกับ ‘สภาพ สังคมของสตรีในประเทศไทย ณ ดินแดนลุ่มน�้ำเจ้าพระยา’ ทันทีที่รับชม ซิสเตอร์ก็แน่ใจมากขึ้นว่า ประเทศไทยคือ แผ่นดินทีพ่ ระเจ้าเลือกให้ซสิ เตอร์เพือ่ รับใช้พระองค์ทา่ มกลาง ผู้ยากไร้ เฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและสตรีที่ยากจน

ซิสเตอร์อนั นาเดินทางมาถึงเมืองไทยเมือ่ วันที่ 4 กันยายน ค.ศ.1974 / พ.ศ.2517 เวลานั้นเธออายุ 30 ปี เธอเดินทาง มาพร้อมกับซิสเตอร์แอลด้า บารัตตีโน ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น โดยมีซิสเตอร์โรส มูร์ (เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเวลานั้นท่านกลับไป ท�ำธุระที่ประเทศอิตาลี เป็นผู้น�ำซิสเตอร์ทั้งสองเดินทาง โดยเครื่องบินมายังประเทศไทย แผ่นดินไทยอันเป็นที่รัก หากจะว่าไปแล้วก็ต้องบอกว่าซิสเตอร์อันนา ด�ำเนินชีวิต เป็นคนไทยมากกว่าเป็นชาวอิตาเลียน ที่บอกแบบนี้ก็เพราะ ซิสเตอร์อยู่ประเทศไทยมากกว่า 47 ปี เกินค่อนชีวิต และเมื่อ ถามว่าซิสเตอร์รสู้ กึ อย่างไรทีท่ ำ� งานเป็นธรรมทูตทีน่ ี่ ซิสเตอร์ ตอบโดยไม่ลังเลว่า “ดิฉันรักที่นี่มาก และรู้สึกว่าตนเอง ได้รับมากกว่าที่ได้มอบให้เสียอีก” พร้อมทั้งขอบคุณพระเจ้า ทุกครัง้ ทีเ่ ห็นการเปลีย่ นแปลง ความเจริญพัฒนาของบ้านเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน และความก้าวหน้าของของคณะ ในประเทศไทย ในสายเลือดคนไทยมีทงั้ วัฒนธรรมประเพณีดงี าม ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ เรี ย บง่ า ย มารยาท อ่อนช้อย อีกทั้งมีรากฐานของศาสนา เป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ วจิตใจ ยิง่ ท�ำให้คนไทย มี เ สน่ ห ์ ที่ น ่ า ดึ ง ดู ด เพราะพวกเขา เป็นเหมือนดินดีทพี่ ร้อมจะรับเมล็ดพันธุ์ แห่งพระวาจาของพระเจ้าเจริญเติบโต และเกิดผล


ใช้หัวใจในการสื่อสาร เมื่อซิสเตอร์เริ่มท�ำงานแพร่ธรรม ได้พยายามเอาใจใส่ กลุม่ เยาวชนสตรีเป็นพิเศษ เนือ่ งด้วยมาจากแรงบันดาลใจแรก ตั้งแต่ วันที่ ตั ด สิ นใจเดินทางมาประเทศไทย การปรั บ ตั ว ในวัฒนธรรมของคนไทยไม่ใช่เรือ่ งยาก นัน่ อาจเป็นเพราะซิสเตอร์ มีความรักทีจ่ ะเรียนรู้ และชืน่ ชมความงดงามของประเพณีไทย อยูแ่ ล้ว แต่ความล�ำบากในการสือ่ สารนัน้ เป็นอุปสรรคส�ำคัญ ซิสเตอร์สอื่ สารภาษาไทยได้ยากมาก ในระยะแรกนัน้ แทบจะไม่ สามารถพูดให้เข้าใจได้ตรงตามที่ต้องการ แต่ด้วยส�ำนึกว่า ซิสเตอร์ไม่ได้เดินทางข้ามน�้ำข้ามทะเลเพื่อมาพบกับความพ่ายแพ้ ดังนั้น แม้ว่าภาษาพูดจะไม่ชัดเจนทั้งส�ำเนียงและ ไวยากรณ์ แต่ภาษาใจที่ปรารถนาดีของซิสเตอร์สามารถ สือ่ สารถึงใจของเยาวชนและกลุม่ สตรีทซี่ สิ เตอร์อยูก่ บั พวกเขา สะพานเชื่อมพระเมตตาของพระเจ้า ซิ ส เตอร์ เ ห็ น ความก้ า วหน้ า ของการศึ ก ษาอบรมและ ภารกิจโรงเรียนของคณะในประเทศไทย และยินดีส่งเสริม การจัดหาทุนการศึกษาให้เด็กยากจนในโรงเรียนของเรา ซึง่ มี จ�ำนวนไม่น้อย ด้วยความห่วงกังวลถึงอนาคตของพวกเขา และปรารถนาให้เด็กเหล่านั้นได้รับการศึกษาที่ดี ซิสเตอร์ ได้ รั บ อนุ ญ าติ จ ากผู ้ ใ หญ่ ใ นการติ ด ต่ อ กั บ องค์ ก รต่ า งๆ โดยเฉพาะอย่า งยิ่ ง องค์กร VIDES - Volunteers In Development, Education, & Solidarity และผู้มีพระคุณ จากต่างประเทศหลายคนทีม่ นี ำ�้ ใจดี ซึง่ พวกเขาต้องการช่วยเหลือ เด็กยากจนให้มโี อกาสเรียนจบและประสบความส�ำเร็จในชีวติ เพือ่ ให้พวกเขาได้อปุ การะเด็กนักเรียนทีย่ ากจน ใฝ่ดี มีความกตัญญู โดยได้รับการติดตามและส่งผลการเรียนของบรรดา เด็กๆ ทีอ่ ยูใ่ นโครงการนี้ รวมทัง้ ความก้าวหน้าและพัฒนาการ ของพวกเขาให้ กั บ ผู ้ มี พ ระคุ ณ ได้ รั บ รู ้ ในเวลาเดี ย วกั น หลายครอบครัวทีย่ ากจน ก็ได้ฝากความหวังไว้กบั ซิสเตอร์และ คณะ ด้วยความมัน่ ใจว่าเราจะเอาใจใส่ดแู ลลูกๆ ของเขาจนถึง ที่สุด ไม่ทอดทิ้ง ดังนั้น บทบาทของซิสเตอร์จึงเป็นเหมือน สะพานทีเ่ ชือ่ มความตัง้ ใจของทัง้ สองฝ่าย โดยมีความรักเมตตา ของพระเจ้าเป็นสายสัมพันธ์ ที่ผ่านมาเป็นเวลากว่า 24 ปี ที่ซิสเตอร์ไปเยี่ยมเด็ก ทีม่ าจากครอบครัวยากจนในทีต่ า่ งๆ รวมทัง้ เด็กๆ ทีป่ ระสบภัย สึนามิเมือ่ ปี 2004 ในแถบจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา อย่างเช่น ที่หมู่บ้านน�้ำเค็ม หมู่บ้านเขาหลัก ฯลฯ ซิสเตอร์ช่วยเหลือ 14

db Bulletin

พวกเขาโดยไม่แบ่งเชือ้ ชาติและศาสนา ซิสเตอร์เล่าให้เราฟังว่า “เด็กเหล่านี้น่าสงสารมาก พวกเขายากจนและขาดโอกาส การทีซ่ สิ เตอร์ไปเยีย่ มพวกเขาเป็นโอกาสได้พดู คุยเพือ่ บรรเทาใจ ของพวกเขาด้วย จะได้มีก�ำลังใจเดินหน้าต่อไป”


ซิสเตอร์มักจะสวดภาวนาเสมอว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอให้ ทุกคนที่ได้พบปะกับลูกประสบการณ์ประทับอยู่ของพระองค์ แม้ในความอ่อนแอของลูก ด้วยความรักเยีย่ งบิดาของพระองค์ โปรดให้ลูกเป็นดังเช่นองค์พระเยซูเจ้าส�ำหรับบรรดาบุตร ของพระองค์ พร้อมกับพวกเขา ลูกจะรักพระองค์ นมัสการ พระองค์ และขอบพระคุณพระองค์” บทภาวนานีเ้ ตือนใจและ เป็นพลังให้กับซิสเตอร์ในทุกวัน ความหวังที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต ซิสเตอร์เป็นสมาชิกในคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ และ หวั ง ที่ จ ะเป็ น สตรี ผู ้ รั บ เจิ ม ของพระเจ้ า ในคณะไปจนถึ ง ลมหายใจสุดท้าย อยากที่จะด�ำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับ พระประสงค์ของพระเจ้ามากทีส่ ดุ อยากจะอุทศิ ตนเพือ่ การศึกษา อบรม แม้ว่าพละก�ำลังจะถดถอย อย่างน้อยขอให้ได้เฝ้าดู การเติบโตของเยาวชนและกลุม่ สตรีทไี่ ด้ชว่ ยเหลือจนพวกเขา สามารถประสบความส�ำเร็จในชีวิต แน่นอนว่า สิ่งที่ซิสเตอร์ และสมาชิกในคณะหวังมากที่สุด คือเป็นประจักษ์พยาน และ แรงบันดาลใจส�ำหรับเยาวชนที่มีน�้ำใจดี เสียสละ บางคน จะติดตามกระแสเรียกในการเป็นธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ อยากบอกเยาวชนไทย ซิสเตอร์รักเมืองไทยอย่างเต็มหัวใจและรักพวกเธอที่เป็น เยาวชนมาก พวกเธอทุกคนอยู่ในความคิดของซิสเตอร์แล้ว ตั้งแต่เย็นวันนั้นเมื่อซิสเตอร์ได้ให้ค�ำตอบกับผู้ใหญ่ที่จะมา เป็นธรรมทูต ดังนัน้ ขอให้พวกเธอรักชีวติ ทีพ่ ระเจ้าประทานให้ และมีใจกตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อทุกสิง่ ทีไ่ ด้รบั ขอให้เปิดใจรับข่าวดีของ พระเจ้า และรักแม่พระมากๆ เลียนแบบพระนางในความบริสทุ ธิท์ งั้ กาย ใจ และความคิด ท�ำให้ชวี ติ ของเราเป็นเหมือน ค� ำ ขอบคุ ณ พระแม่ เช่ น เดี ย วกั บ ที่ คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ ตั้ ง ใจ ให้ชวี ติ ของพวกซิสเตอร์ธดิ าแม่พระองค์อปุ ถัมภ์เป็นค�ำขอบคุณ ต่อพระนางมารีย์เช่นกัน แล้วเยาวชนไทยวันนี้ล่ะ จะหาญกล้าสานฝันของ ค�ำภาวนาที่เป็นพลังในชีวิต การท� ำ งานเพื่ อ คนยากไร้ ต ้ อ งอาศั ย ความรั ก และ ซิสเตอร์ อันนา กราสซี เป็นธรรมทูตท่ามกลางพี่น้อง ความพากเพียรอดทนอย่างมาก เมื่อถามถึงที่มาของพลัง ชาวไทยต่อไปอย่างไร ในการท�ำงานเพื่อบรรดาเยาวชน ซิสเตอร์บอกกับเราว่าก็คือ ‘การภาวนา’ July-August 2022

15


สวดอย่างไร ให้ละม้าย คล้ายแม่พระ Text : ยาก๊อบ

สวดอย่างไร

ให้ละม้าย คล้ายแม่พระ (13)

ในพระองค์ ทรงมี ซึ่งชีวิต (พืช) ชีวิตนั้น คือแสงสัน บันดาลจิต (ยน 1:4) ชีวิตเป็นแสงสว่างส่องปัญญาส�ำหรับมนุษย์ “ชีวิตนั้นคือ แสงสันบันดาลจิต” วิชาจิตวิทยาแบ่งจิตออกเป็น 3 ระดับ ตามระดับของสัญชาตญาณ (instinct) ชี วิ ต ระดั บ พื ช มี สั ญ ชาตญาณพื ช เพี ย งระดั บ เดี ย ว พื ช ทั้ ง หลายจึ ง มี สั ญ ชาตญาณระดั บ เดี ย วคื อ สั ญ ชาตญาณพื ช คือตะเกียกตะกายหาอาหารเพือ่ การเจริญเติบโต ซึง่ สังเกตได้ตงั้ แต่

16

db Bulletin

เป็ น เซลล์ มี ชี วิ ต เรื่ อ ยมาแต่ เ กิ ด จนตายและมี ค วามสุ ข กั บ การ กระท�ำเช่นนั้น สัญชาตญาณพืชยังแสดงออกมาเป็นการดิ้นรน ต่อต้านอุปสรรคขัดขวางการเจริญชีวติ ทุกรูปแบบทีร่ วมกันเรียกว่า ปัจจัย 4 แห่งการอยู่รอด คือ อาหารรวมเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค มนุษย์มีชีวิตพืชจึงมีสัญชาตญาณพืช เป็นแสงสว่างส่องสว่างและกระตุ้นให้มนุษย์รู้ว่ามีหน้าที่ต้องท�ำ


อะไรบ้างเพื่อให้ชีวิตของตนเจริญขึ้น เพื่อปฏิบัติกระแสเรียก ทีพ่ ระบิดาผูส้ ร้างได้สร้างมนุษย์ทกุ คนและแต่ละคนให้มกี ระแสเรียก เฉพาะตัว ที่ควรได้ท�ำส�ำเร็จเรียบร้อยก่อนจะลาโลกไปสู่ชีวิต นิรันดรอันเป็นเป้าหมายแท้ยั่งยืนตลอดไป กระแสเรียกของบางคนเลี้ยงตัวได้ คือ มีรายได้พอจุนเจือ ให้ด�ำเนินกระแสเรียกไปได้ตลอดรอดฝั่งแต่เกิดจนตาย บางคน เกิดในบรรยากาศขาดแคลนชักหน้าไม่ถงึ หลัง รายได้ไม่พอเลีย้ งชีพ พร้อมสรรพด้วยปัจจัย 4 หากขาดผู้ช่วยเหลือเจือจุนก็ไม่อาจ พั ฒ นากระแสเรี ย กจนท� ำ การได้ หรื อ มี พ อเฉพาะแค่ พั ฒ นา คุณภาพชีวิตให้สามารถปฏิบัติกระแสเรียกเฉพาะตัวได้ แต่ไม่มี ปั จ จั ย พอที่ จ ะด� ำ เนิ น ตามกระแสเรี ย กที่ ไ ด้ เ ตรี ย มตั ว มาอย่ า ง พร้อมสรรพ หากมีคนรูใ้ จยืน่ ค่าโสหุย้ มาให้ ก็จะปฏิบตั กิ ระแสเรียก ได้อย่างงดงามตระการตา บทเทศน์เรือ่ งการพิพากษาครัง้ สุดท้าย ทีม่ ทั ธิวบันทึกไว้ในบทที่ 25 : 31 - 46 แสดงว่า ทรงเน้นประเด็นนี้ ของพระวจนาตถ์โดยเฉพาะ ระบุความหิวความกระหาย การขาด เครื่ อ งนุ ่ ง ห่ ม และการติ ด คุ ก ขาดที่ อ ยู ่ อ าศั ย ด้ ว ยข้ อ ความว่ า “เชิญมารับอาณาจักรเป็นมรดกที่เตรียมไว้ให้ท่านแล้วตั้งแต่ สร้างโลก เพราะว่าเมื่อเราหิวท่านให้เรากิน เรากระหายท่านให้ เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้า (ไม่มีที่อยู่อาศัย) ท่านก็ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้าท่านก็ให้เสื้อผ้าแก่เรา เราเจ็บป่วยท่านก็มาเยี่ยม” สังเกตได้ว่าพระเยซูเจ้าองค์พระวจนาตถ์ ในการสอนตอนนี้ ทรงตัง้ ใจเจาะจงหมายถึงปัจจัย 4 แห่งการด�ำรงชีพโดยตรง ใครที่ ช่วยเหลือกัน บรรเทาความเดือดร้อนความจ�ำเป็น 4 ด้านนี้ จะได้รบั การรับรู้จากองค์พระวจนาตถ์เป็นพิเศษอย่างแน่นอน สังเกตว่าผู้ได้รับการรับรู้แทนที่จะดีใจกลับโวยวาย อย่างไม่น่าโวยวาย “พระเจ้าข้า เมื่อไรเล่าที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย (ไม่ใช่ข้าพเจ้าคนเดียว พากันโวยวายเซ็งแซ่ แทนเพื่อนๆร่วมท�ำดีด้วย) ได้เห็นพระองค์ทรงหิว ทรงกระหาย ทรงเป็นแขกแปลกหน้า หรือไม่มีเสื้อผ้า เจ็บป่วย หรืออยู่ในคุกและไม่ได้ช่วยเหลือ” (มธ 25:44) ปัญหาก็ถูกเฉลยออกมาโดยพระวจนาตถ์เป็นพระวาจาว่า “ท่านท�ำสิ่งใดต่อผู้ต�่ำต้อย ท่านท�ำต่อเราเอง” ผู้ฟังได้แต่ตะลึง เป็นไปได้อย่างไร “ในพระองค์ ทรงมี ซึ่งชีวิต (พืช)” อย่างไรก็ตาม การสงเคราะห์การขาดแคลน ปัจจัยชีวิตของศิษย์พระวจนาตถ์ก็ต้องท�ำอย่างชาญฉลาดให้ผ่านทางแสงสันบันดาลจิตของ พระวจนาตถ์ ไม่ใช่ช่วยเพราะสงสาร จากการได้เห็นภายนอก ได้ฟังจากค�ำอ้อนวอน

ครัง้ หนึง่ ผูเ้ ขียนไปเยีย่ มวัดกาลหว่าร์ ขณะชมความงามอยูห่ น้าวัด มีสตรีคนหนึ่งแต่งกายแบบพะรุงพะรัง เข้ามานั่งพับเพียบกราบ ที่ เ ท้ า ขอความอนุ เ คราะห์ โ ดยร่ า ยยาวว่ า “สามี ม าท� ำ งาน ในกรุงเทพขาดการติดต่อ ทีบ่ า้ นไม่มจี ะกิน จึงมาตามหาและหาไม่พบ เงินหมดตัว ขอค่าโสหุ้ยเดินทางกลับบ้าน ผู้เขียนรู้สึกสงสาร ขึ้นสมอง จึงให้เงินไปจ�ำนวนพอสมควรให้พอกลับถึงบ้านและยัง มีเงินใช้บ้าง รู้สึกภูมิใจที่ได้ท�ำตามพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว ครบถ้วน อาทิตย์หนึ่งต่อมาไปเยี่ยมชมวัดนักบุญฟรังซิสสามเสน มีสตรีแต่งตัวพะรุงพะรังเข้ามากราบที่เท้าขอความอนุเคราะห์ โดยร่ายยาวด้วยสูตรเดิม เอะใจจึงถามว่า ยังกลับไม่ถึงบ้าน อีกหรือ เท่านัน้ แหละเธอก็รบี ลุกขึน้ เดินหนีไปทันที จึงได้รสู้ กึ ตัวว่า ไม่ได้บุญเสียแล้วเพราะถูกหลอกลวง แสงสันของพระวจนาตถ์ มาถึงช้าไปหน่อย แต่ก็ได้บทเรียนว่า จะอนุเคราะห์ผู้เดือดร้อน ก็ต้องการพระหรรษทานด้วย ท�ำบุญโดยผ่านองค์กรแหละดีที่สุด เช่น กล่องมหาพรต คณะวินเซนเดอปอล คณะพลมารี หน่วยงาน ของสภาวัด เป็นต้น


LOCAL NEWs By SDB Reporter

ข่าวซาเลเซียน แชมป์ปันจักสีลัตประเทศไทย

ลงนามต่อสัญญาความร่วมมือ

นักกีฬาปันจักสีลัตโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ คว้า 3 เหรียญทอง, 3 เหรียญเงิน, 6 เหรียญ ทองแดง,1 ถ้วยนักกีฬายอดเยีย่ มหญิง และ 1 ถ้วยผูฝ้ กึ สอน ยอดเยี่ยมชาย จากการแข่งขันกีฬาปันจักสีลัตชิงชนะเลิศ แห่งประเทศไทย ประจ�ำปี 2565 ระหว่างวันที่ 6-10 มิถนุ ายน 2022 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขต เพชรบูรณ์ ฝึกสอนโดย นายสันติชัย เชื่อมชิต

วันที่ 9 มิถุนายน 2022 ได้มีพิธีลงนามเพื่อต่อสัญญา ความร่วมมือ (MOU) ระยะที่ 4 ของการด�ำเนินกิจการศูนย์ฝกึ อาชีพดอนบอสโกเวียงจันทน์ ระหว่างคณะชาวหนุม่ ประชาชน ปฏิวตั ลิ าว โดยมีนาย Piya Yathotoo เป็นผูล้ งนาม กับมูลนิธ-ิ ซาเลเซียนแห่งประเทศไทย โดยคุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ประธานมู ล นิ ธิ ฯ เป็ น ผู ้ ล งนาม ณ ศู น ย์ ก ลางของคณะ ชาวหนุม่ ประชาชนปฏิวตั ลิ าว นครหลวงเวียงจันทน์ สปป ลาว โอกาสนี้ คุณพ่อ Patrick Maccioni อธิการ และคุณพ่อ Paul Vu Van Trung ได้ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย เณรซาเลเซียนไทยไปเรียน ที่ประเทศฟิลิปปินส์

วั น ที่ 18 มิ ถุ น ายน 2022 บราเดอร์ แ ละสามเณร ซาเลเซียน ทั้งหมด 5 ท่าน เดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษ และรั บ การอบรมที่ บ ้ า นเณรใหญ่ ซ าเลเซี ย น กั น ลู บั ง ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 1 ปี โดยมีคุณพ่อณัฐวุฒิ กิจสวัสดิ์ เดินทางไปส่งที่ประเทศฟิลิปปินส์ ช่วยเหลือผู้ยากไร้

คณะซาเลเซียน โดยส�ำนักวางแผนและพัฒนา (PDO - Planning & Development Office) ได้มอบข้าวสาร อาหารแห้ง ให้กับคนยากจน ผู้พิการและผู้สูงอายุในซอย กรุงเทพกรีฑาซึ่งเผชิญกับพิษเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 และได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ท�ำให้ราคาพลังงานปรับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลต่อ ภาวะเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย จนเกิดปรากฏการณ์ของแพง คนตกงาน....

18

db Bulletin


เยี่ยมหมู่คณะซาเลเซียนประเทศกัมพูชา

วันที่ 16 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2022 คุณพ่อ เทพรั ต น์ ปิ ติ สั น ต์ เจ้ า คณะนั ก บวชซาเลเซี ย นแห่ ง ประเทศไทย กัมพูชาและ สปป ลาว เยีย่ มหมูค่ ณะซาเลเซียน และกิจการซาเลเซียนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการ อนึง่ สมาชิกซาเลเซียนได้ทำ� งานในประเทศกัมพูชาตัง้ แต่ปี 1991 จนถึงปัจจุบัน รวมเวลา 31 ปี

ฟื้นฟูจิตใจนักเรียนคาทอลิก

วันที่ 25 มิถุนายน 2022 งานอภิบาลเยาวชนโรงเรียน เซนต์ดอมินิก จัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูจิตใจส�ำหรับนักเรียน คาทอลิกระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จ�ำนวน 29 คน ในหัวข้อ “DO ALL THROUGH LOVE” เพื่อให้นักเรียน ได้ตระหนักถึงหน้าที่ของการเจริญชีวิตเป็นคริสตชนที่ดี แบ่งปันประสบการณ์ให้แก่กัน โดยมีคุณพ่อยะรัตน์ ไชยรา จิตตาภิบาล เป็นผู้ให้การอบรม ณ ห้องประชุมอัลเบรา โรงเรียนเซนต์ดอมินิก รับศีลมหาสนิทครั้งแรก

วันที่ 19 มิถุนายน 2022 โอกาสสมโภชพระวรกายและ พระโลหิตของพระคริสตเจ้า วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ กรุงเทพ ได้จัดพิธีรับศีลมหาสนิทครั้งแรกให้กับเด็กๆ และเยาวชน ของวัด โดยในมิสซาเช้ามีเยาวชนไทยรับศีลมหาสนิทจ�ำนวน 4 คน และมีผู้ใหญ่รับศีลล้างบาป 1 คน ส่วนในมิสซาเย็น มีเยาวชนชาวฟิลิปปินส์ รับศีลมหาสนิทครั้งแรก จ�ำนวน 6 คน July-August 2022

19


LOCAL NEWs By SDB Reporter

ข่าวครอบครัวซาเลเซียน สัมมนาครูใหม่

อบรมฝ่ายงานธรรมทูต

วันที่ 10 มิถุนายน 2022 คณะภคินีผู้รับใช้ฯ จัดสัมมนา ครูใหม่โรงเรียนในเครือคณะภคินผี รู้ บั ใช้ดวงหทัยนิรมลของ พระแม่มารีย์ ในหัวข้อ “อัตลักษณ์และวัฒนธรรมองค์กร โรงเรียนในเครือคณะภคินีผู้รับใช้ฯ” ในรูปแบบออนไซต์ ณ โรงเรี ย นธิ ด าแม่ พ ระ จ.สุ ร าษฎร์ ธ านี และรู ป แบบ ออนไลน์ผา่ นระบบ ZOOM โดยมีซสิ เตอร์มะลิวลั ย์ ปรมัตถ์วโิ รจน์ และซิสเตอร์นิลุบล ทิวากร เป็นวิทยากร

วันที่ 11-12 มิถนุ ายน 2022 ผูร้ บั ผิดชอบฝ่ายงานธรรมทูต ของคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ได้จดั การอบรมผูร้ บั ผิดชอบ ฝ่ายงานธรรมทูตระดับหมูค่ ณะและผูส้ นใจ ในหัวข้อ “ก้าวไป พร้อมกันด้วยความรักในงานธรรมทูต” มีซสิ เตอร์ผปู้ ระสานงาน ระดับหมู่คณะเข้าร่วมการอบรมจ�ำนวนทั้งหมด 16 คน โดย ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ อธิการิณีเจ้าคณะแขวง เป็นประธาน ในวจนพิธีกรรมเปิดการประชุม โอกาสนี้ ซิสเตอร์ Ruth del Pilar Mora ที่ปรึกษากลางฝ่ายงานธรรมทูตระดับโลก ได้พบปะและให้โอวาทแก่สมาชิกผ่านระบบออนไลน์ ร่วมอาลัย

กิจกรรมวันเด็ก@กัมพูชา

วันที่ 30 พฤษภาคม – 4 มิถนุ ายน 2022 ซิสเตอร์สไรเม็จ และซิสเเตอร์พอลลา คณะผู้รับใช้ฯ จัดกิจกรรมวันเด็ก (วันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันเด็กของประเทศกัมพูชา) ให้กับ เด็กๆ ระดับอนุบาล ของวัด 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล มารีย์ และวัดมารดาแห่งพระศาสนจักร หมู่บ้านตาออม โรงเรียนอนุบาลมารีย์และวัดคาทอลิก หมู่บ้านเปรียกแสนง ศูนย์เด็ก น.ยอแซฟหมู่บ้านขะนาทะไม และโรงเรียนอนุบาล มารียแ์ ละ วัดคาทอลิก หมูบ่ า้ นก�ำปงเคลียง มีเด็กๆ ร่วมงาน ประมาณ 350 คน

20

db Bulletin

ครอบครัวซาเลเซียนร่วมอาลัยและภาวนาเพื่อวิญญาณ ของซิสเตอร์อนั นา จันทร์สม กิจบ�ำรุง คณะภคินพี ระราชิน-ี มาเรีย (SQM) ซึ่งได้มอบชีวิตคืนให้แด่พระเจ้าเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2022 สิริอายุ 74 ปี (1948-2022) พิธีปลงศพ จัดขึน้ ทีว่ ดั เซนต์หลุยส์เมือ่ วันที่ 6 มิถนุ ายน 2022 อนึง่ ซิสเตอร์ ได้ปฎิญาณตนครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 1968 และ ปฏิญาณตนตลอดชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1983 รวม 54 ปีแห่งการเป็นนักบวช


ประชุมคณะกรรมการค�ำสอน ครอบครัวซาเลเซียน

พบปะซาเลเซียนผู้ร่วมงานเขตบ้านโป่ง

วันที่ 26 มิถุนายน 2022 เวลา 13.10 -15.10 น. คณะที่ปรึกษาแขวงของซาเลเซียนผู้ร่วมงานประชุมร่วมกัน ที่ห้องประชุมวัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากนั้น เวลา 15.00 - 18.30 น. สมาชิกซาเลเซียนผู้ร่วมงาน 3 บ้าน คือบ้านสารสิทธิ์ บ้านนารีวฒ ุ แิ ละบ้านดอนบอสโก บ้านโป่ง ได้พบปะกัน ณ ห้องประชุมโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย โดยมีการรายงานและแบ่งปันกิจกรรมต่างๆ ที่แต่ละกลุ่ม ได้ ท� ำ ในช่ ว งเวลา 3 ปี ที่ ผ ่ า นมา และท� ำ กิ จ กรรม เพือ่ เชือ่ มความสัมพันธ์และสร้างการเป็นจิตหนึง่ ใจเดียวกัน ในบรรยากาศครอบครัว

วั น ที่ 21 มิ ถุ น ายน 2022 คณะกรรมการค� ำ สอน ครอบครัวซาเลเซียนได้จดั ประชุมเพือ่ วางแผนงานประจ�ำปี 2022 ณ ส�ำนักงานเจ้าคณะแขวงซาเลเซียน กรุงเทพ โอกาสนี้ คุณพ่ออารอน อัลโกเซบา รองเจ้าคณะฯ ได้ให้เกียรติ เปิดการประชุมและให้โอวาทกับคณะกรรมการด้วย อนึ่ง คณะกรรมการดั ง กล่ า วประกอบไปด้ ว ยผู ้ รั บ ผิ ด ชอบ งานค�ำสอนและผู้แทนและครูค�ำสอนฆราวาสของแต่ละคณะ ในครอบครั ว ซาเลเซี ย นประเทศไทย ซึ่ ง จั ด ตั้ ง เป็ น คณะกรรมการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2018

มอบชีวิตคืนแด่พระเจ้า

ประชุมจตุภาคี

วันที่ 7 มิถนุ ายน 2022 ได้มพี ธิ บี ชู าขอบพระคุณปลงศพ มารีอา วิภาพรรณ หล่าวศิริมงคล สมาชิกสถาบันธิดาพระราชิ นี ม าเรี ย ผู ้ นิ ร มิ ล (DQM) ณ วั ด เซนต์ ห ลุ ย ส์ กรุ ง เทพ ท่ า นได้ ม อบชี วิ ต คื น ให้ แ ด่ พ ระเจ้ า เมื่ อ วั น ที่ 1 มิถุนายน 2022 สิริอายุ 79 ปี (1943-2022) มารีอา วิภาพรรณปฎิญาณตนครัง้ แรกเมือ่ วันที่ 30 เมษายน 1994 และปฏิญาณตนตลอดชีวิตเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2000

วั น อาทิ ต ย์ ที่ 12 มิ ถุ น ายน 2022 คณะกรรมการ จตุภาคี น�ำโดย ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ นายกสมาศิษย์เก่า สารสิทธิพ์ ทิ ยาลัย และนายกสมาคมผูป้ กครองและครูโรงเรียน สารสิทธิ์พิทยาลัย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้จัดการประชุม ครั้งที่ 1 /2565 โอกาสนี้ สมาคมศิษย์เก่าสารสิทธิ์พิทยาลัย ได้แสดง ความยินดีกับคุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน อธิการโรงเรียน สารสิทธิ์พิทยาลัยที่รับต�ำแหน่งใหม่ และ เหรัญญิกคนใหม่ คือภราดา วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม July-August 2022

21


ข้ารับใช้พระเจ้า คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร Text : อันนา

แล้วทุกสิ่ง จะกลับมาหาพ่อ หนึ่งชีวิตเกิดมา มิใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็น พระพรของพระเจ้าทีใ่ ห้ชวี ติ เกิดขึน้ ชีวติ ยิง่ อบอวล และเติบโตรายล้อมไปด้วยความรักเป็นรากฐาน ชีวิตนั้นก็พร้อมที่จะเบ่งบานอย่างมีศํกยภาพ และพร้อมเปิดตนเองสู่ผู้อื่นมากขึ้น ชีวติ ของคุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร อยูใ่ น เส้นทางแห่งแผนการของพระเจ้า ความมุง่ มัน่ ของท่านปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัด แม้ไม่รวู้ า่ ข้างหน้าจะมีอุปสรรคขัดขวางหรือไม่อย่างไร แต่ท่านวางใจและมอบชีวิตให้พระเจ้าทรงน�ำ พร้อมกับความรักและศรัทธาต่อพระมารดามารียผ์ า่ นทางการสวดสายประค�ำทีท่ า่ นพร�ำ่ สวด ตลอดเวลา เมื่ อ มาประจ� ำ ที่ วั ด แม่ พ ระมหาทุ ก ข์ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ราวปี 1948 เป็นช่วงเวลา ที่คุณพ่อรู้สึกว่าต้องจากวัดท่าม่วงที่คุณพ่อ ประจ�ำนานถึง 12 ปีแล้ว เสียงเรียกร้อง ภายในทีป่ รารถนาอยากท�ำกิจการเพือ่ ความดี ของวิ ญ ญาณคุ ก รุ ่ น ในจิ ต ใจและลุ ก โชน อย่างร้อนรน แม้หนทางข้างหน้าดูมืดมน แต่ไม่เคยลดความเชือ่ ความวางใจ ในเส้นทาง ทีพ่ ระเจ้าทรงน�ำ อุปสรรคมากมาย และยากนัก จะมองเห็ น ความหวั ง ตามสายตาประสา มนุษย์แล้วไม่มีความเป็นไปได้เลย ในค�่ ำ คื น นั้ น ขณะที่ บ ้ า นพั ก พระสงฆ์ ที่ถูกสร้างขึ้นคล้ายกล่องไม้ขีดเก็บความร้อน ได้อย่างดี พอตะวันตกดิน เมื่อเข้าห้องพัก หากเอามือวางบนก�ำแพงก็จะรับรู้ถึงความร้อน ที่ส่งผ่านออกมา ท�ำให้ไม่สามารถนอนหลับได้ เพราะเหงื่อไหลท่วมตัวตลอดเวลา วันนั้นเป็นวันที่ ต�ำรวจแจ้งไม่ให้เปิดประตู เนื่องจากโจรป่าอาละวาดหนัก

22

db Bulletin


พ่ อ จึ ง อยู ่ ใ นห้ อ งที่ อ ากาศร้ อ นจั ด มาก ขณะทีก่ ำ� ลังสวดไป สัปหงกไป คล้ายกับพ่อ อยูใ่ นนิมติ พบตัวเองอยูใ่ นห้องประชุมโดยมี คุณพ่อรีกัลโดเน อัคราธิการ เป็นประธาน และมีสมาชิกนัง่ ซ้อนกันเหมือนเวลาถ่ายรูป ส่วนพ่อจะอยูด่ า้ นหลัง ทันใดนัน้ อัคราธิการ เรียกให้พ่อมาอยู่ข้างๆ ท่าน ทันใดนั้นเอง นักบุญยอห์น บอสโก ปรากฎมาพร้อมกับกลุม่ พระสงฆ์ในชุดสีดำ� เข้ามาใกล้พ่อ จับมือซ้ายพ่อและพูดกับ อั ค ราธิ ก ารว่ า “ไม่ ผมต้ อ งการคนนี้ ” แล้วนักบุญยอห์น บอสโก ได้น�ำพ่อมายัง ทุง่ กว้าง แห้งแล้ง ไม่มตี น้ ไม้หรือหญ้าขึน้ เลย หน้าดินคลุมด้วยทรายสีแดงร้อนจัด นั ก บุ ญ ยอห์ น บอสโก บอกพ่ อ ว่ า “เห็ น ทุ ่ ง แห้ ง แล้ ง และถู ก แผดเผาจาก ดวงอาทิตย์ไหม จงเข้าไปท�ำงานในทุ่งนี้” พ่อเดินเข้าไปตามที่ท่านนักบุญบอก แต่ อากาศร้ อ นจั ด หายใจเข้ า ไปก็ ร ้ อ น จึงหันหลังกลับและสัน่ ศีรษะบอกกับนักบุญ ยอห์น บอสโกว่า “พืน้ ของทุง่ แห่งนีป้ กคลุมด้วย ทรายแดงร้อนระอุ ไม่มนี ำ�้ ไม่มตี น้ ไม้ ไม่มี หญ้า และอากาศหายใจเข้าออกก็ร้อนจัด” นักบุญยอห์น บอสโก พูดอีกครั้งว่า “จงเข้าไปท�ำงานในสนามด้วยความกล้าหาญ อย่ากลัว แล้วทุกสิง่ จะกลับมาหาพ่อ” พ่อได้ เขียนเล่าในอัตชีวประวัติของท่าน คุณพ่อการ์โล ออกจากคณะซาเลเซียน ในปี 1949 เพือ่ ตัง้ คณะและริเริม่ กิจการแห่ง การช่วยวิญญาณตามที่ท่านเชื่อว่าพระเจ้า ได้มอบให้คณ ุ พ่อได้ทำ� กิจการนี้ ท่ามกลาง อุปสรรครอบด้านของการริเริ่มกิจการ แต่ พระหรรษทานและพระพรของพระเจ้าไม่มวี นั เหือดแห้ง กลับท�ำให้กจิ การทีค่ ณ ุ พ่อท�ำนัน้ ได้งอกงามเติบโตขึน้ และช่วยวิญญาณผูค้ น ได้มากมายผ่านทางการให้การศึกษา เมือ่ ภารกิจของท่านเรียบร้อยแล้ว ท่าน ประสงค์ที่อยากกลับเข้าคณะซาเลเซียน 4 เดือนก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต (ค.ศ.1982)

พ่อได้ปฎิญาณตนกลับเข้าเป็นสงฆ์ซาเลเซียน ท่ามกลางพี่น้องสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง ต่อมา คณะที่ท่านก่อตั้งขึ้นก็ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่ง ในครอบครัวซาเลเซียน และเป็นกิ่งก้าน ทีไ่ ด้รบั การหล่อเลีย้ งจากรากฐานของท่าน นักบุญยอห์น บอสโก ดังที่ท่านนักบุญ ได้ ใ ห้ ค� ำ มั่ น ใจกั บ คุ ณ พ่ อ ว่ า “อย่ า กลั ว แล้วทุกสิ่งจะกลับมาหาพ่อ” ในโอกาสครบรอบ 40 ปี แห่ ง มรณกรรมของคุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร ในวันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.2022 ได้ มีการจัดงาน “วันครอบครัวซาเลเซียน” ณ อนุสาวรียข์ องท่าน โดยคุณพ่ออัคราธิการ Ángel Fernández Artime ได้มาวาง พวงหรีดเพื่อแสดงความเคารพรักต่อท่าน และถวายมิสซาพร้อมกับเสกห้องพักของ คุ ณ พ่ อ ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร (บ้านพ่อ) อัคราธิการมาเยีย่ มโดยไม่ได้นดั หมาย และ มาอวยพรในกิ จ การที่ คุ ณ พ่ อ ได้ ก ระท� ำ คุณพ่อการ์โลคงยิม้ ทัง้ ขอบคุณอยูเ่ บือ้ งบน มองดูเรา เหตุการณ์นเี้ ป็นการยืนยันอีกครัง้ ด้วยค�ำพูดของท่านนักบุญยอห์น บอสโก ทีว่ า่ “จงเข้าไปท�ำงานใสนามด้วยความกล้าหาญ อย่ากลัว แล้วทุกสิ่งจะกลับมาหาพ่อ”

คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร พระสงฆ์ซาเลเซียน สิ้นใจอย่างศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1982 ในปี ค.ศ.2003 คุณพ่อได้รับเกียรติเป็น “ข้ารับใช้พระเจ้า” (Servant of God) อันเป็นขั้นตอนแรก ของกระบวนการ ด�ำเนินเรื่อง แต่งตั้งเป็นนักบุญ

July-August 2022

23


เพื่อนนักอบรม Text : ยวง บอสโก ธัญญา ASC.

เพียงมีพ่อบอสโกเป็น

“เพื่อน”

ช่วงวันที่ 5-19 พฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา หลายท่าน มีโอกาสได้ต้อนรับ สัมผัสและพบปะกับคุณพ่ออังเกล แฟร์นนั เดช อาร์ตเิ ม อัคราธิการคณะซาเลเซียน ผูส้ บื ต�ำแหน่ง ของคุณพ่อบอสโก ในระหว่างที่ท่านมาเยี่ยมเยียนให้ก�ำลังใจ ครอบครั ว ซาเลเซี ย นในประเทศไทย และท� ำ พั น ธกิ จ ต่ า งๆ ด้วยความรูส้ กึ ชืน่ ชมยินดี อบอุน่ มีความสุข อิม่ อกอิม่ ใจ สนุกสนาน ร่าเริง ฯลฯ เสมือนได้ตอ้ นรับคุณพ่อบอสโก อย่างไรอย่างนัน้ เลยเชียว ไม่วา่ จะเป็นพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ฆราวาสผูร้ ว่ มงาน หรือ บรรดาเด็กๆ เยาวชนที่มาร่วมต้อนรับท่าน หลายท่านประทับใจกับได้ติดตามภาพข้อมูลข่าวสาร ไลฟ์สด และคลิปวีดโี อเกีย่ วกับกิจกรรมการเยีย่ มเยียนกลุม่ ต่างๆ ในครัง้ นี้ ผ่านเพจเฟสบุ๊กของคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย

ผู ้ เขี ย นเป็ น คนหนึ่ ง ในจ� ำ นวนนั้ น ที่ มี ค วามรู ้ สึ ก ประทั บ ใจ อบอุ่นและชื่นชมยินดีอย่างมากด้วย โดยเฉพาะในท่า ทีและ ค�ำพูดของคุณพ่ออัคราธิการทีเ่ รียกบรรดาเด็กๆ ทีม่ ารอต้อนรับว่า “My Friend” ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าค�ำๆ นี้ จะยังคงดังกึกก้องอยู่ในหัวใจ ของเด็กๆ และผู้ใหญ่หลายๆ คนไปอีกนานเท่านาน จากประวัติของคุณพ่อบอสโก เราจะเห็นได้ชัดขึ้นว่าค�ำว่า “เพือ่ น” นี้ เป็นพระพรอันยิง่ ใหญ่ทนี่ ำ� พาความสุขแท้มาสูช่ วี ติ ของ คุณพ่อบอสโกตั้งแต่เป็นเด็กเล็กจนกระทั่งเป็นนักบุญที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นทั้ง “เพื่อน บิดาและอาจารย์” ของบรรดาเด็กและ เยาวชน โดยมี “แม่พระ” เป็นผู้ช่วยเหลือและน�ำทางแห่งรักของ พระเจ้านีใ้ ห้บรรลุถงึ เป้าหมายชีวติ ทีค่ รบครัน ทัง้ ของท่านเองและ บรรดาเด็กเยาวชนที่ติดตามท่าน


“เพื่อน” และค�ำว่า “เพื่อน” ยังทรงอิทธิพลอยู่เสมอ ในความเป็นมนุษย์เพศทุกวัยทุกสถานภาพ โดยเฉพาะ ในเยาวชนคนวัยรุ่น ซึ่งดูเหมือนว่า “เพื่อน” จะเป็นทุกสิ่ง ทุกอย่างในชีวิตของพวกเขา พวกเขาจึงรักเพือ่ น เชือ่ และฟังเพือ่ น ปรารถนาทีจ่ ะท�ำสิง่ ต่างๆ ไปพร้อมกับเพือ่ น โดยไม่คอ่ ยสนใจสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ หรือ ผลกระทบ ที่จะตามมาในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร และทีส่ ำ� คัญคือ พวกเขาเลือกทีจ่ ะเชือ่ ฟังและปรึกษากับ เพือ่ นมากกว่าพ่อแม่ผปู้ กครองของตนเอง ซึง่ หากเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่าปัญหาและความเสีย่ งต่างๆ ในชีวติ ก็จะติดตามมา ไม่มากก็น้อยในเยาวชนชายหญิง ลูกหลานของเรา ค�ำกล่าวทีว่ า่ “สนุกสนานร่าเริงได้ แต่อย่าท�ำบาป“ เป็นข้อหนึง่ ที่แสดงให้เห็นถึงความลึกซึ้งของคุณพ่อบอสโก ในการเข้าถึงจิตใจ

และความต้องการบรรดาเด็กเยาวชนชายหญิงทัง้ หลายอย่างแท้จริง ท่านจึงน�ำ “ระบบป้องกัน” ซึง่ เป็นรูปแบบเฉพาะทีแ่ สดงออก ถึงความรักของพระเจ้า มาใช้ในการอบรมจนเกิดผลดี และเจริญเติบโตขึน้ ในทุกมิตชิ วี ติ ของเยาวชนในการอบรมดูแลของท่านและ คณะซาเลเซียน และครอบครัวซาเลเซียน ผูส้ บื ทอดจิตตารมณ์และ พระพรพิเศษของท่าน ดั ง นั้ น ขอเพี ย งให้ เราผู ้ ที่ มี น�้ ำ ใจดี ซึ่ ง มี ภ ารหน้ า ที่ ในการอบรมดูแลเด็กและเยาวชน ได้พยายามท�ำความรูจ้ กั เข้าใจ และเข้าถึงการเป็น “เพื่อน” กับ “คุณพ่อบอสโก” ก็มพ ี ลังและพระพรเพียงพอทีจ่ ะช่วยให้ทกุ ท่าน “เป็นเพือ่ น ที่ดี” ของบรรดาเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้อง หรือท่าน ได้ใช้ชวี ติ ร่วมกับพวกเขาได้ ไม่วา่ จะในครอบครัว สถานศึกษา องค์กร หรือในชุมชนสังคม July-August 2022

25


One Moment in Time Text, Photo : Gassanee T.

ความเชื่อ... • เมื่อเรามีความเชื่อ... จะต่อเรือฝ่าขุนเขา..ก็ย่อมได้ แม้ความเชื่อไม่ได้ท�ำให้ส�ำเร็จอย่างง่ายดาย แต่อย่างน้อยก็มองเห็นจุดหมาย..ทีป่ ลายทาง

• เมื่อเรามีความเชื่อ ทุก ๆ เมื่อ ทุก ๆ ที่ จะไม่มีหลง หากว่าเราเชื่อมั่นในพระองค์ อุปสรรคก็แค่ขี้ผงที่พัดมา

• เมื่อเรามีความเชื่อ.. เราก็ยืนอยู่เหนือความบาดหมาง ความล�ำบากก็จะค่อย ๆ จาง ระยะห่างหุบห่อย่อสั้นลง

• เมื่อเรามีความเชื่อ โลกที่ว่าน่าเบื่อก็มีฝันและหรรษา มีความเชื่อก็เหมือนมี Wi-Fi ตลอดเวลา เพราะต่อให้มีปัญหา... ก็ Connect ได้ตลอดเวลากับพระองค์ ..................

Haifa, Israel May 2022


ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

World News แห่ศีลมหาสนิท ตามล�ำน�้ำ Vistula วันที่ 16 มิถุนายน 2022 โอกาส สมโภชพระวรกายและพระโลหิ ต ของพระคริ ส ตเจ้ า วั ด ซาเลเซี ย นที่ Czerwińsk ประเทศโปแลนด์ ได้จัด พิธีอัญเชิญศีลมหาสนิทไปตามล�ำน�้ำ Vistula เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร โดย ในระหว่างทางมีการจัดตั้งพระแท่น 4 แห่งที่ฝั่งแม่น�้ำ เพื่อนมัสการและ รอรับพรจากศีลมหาสนิท พิธีดังกล่าว โดยได้รับความร่วมมือจากโบสถ์ 3 แห่ง คือ Smoszewie, Chociszewie (Wychódźc), และ Secemin มีเรือ ทีเ่ ข้าร่วมกว่า 50 ล�ำ ในจ�ำนวนนีม้ เี รือ ล�ำใหญ่ที่น�ำสัตบุรุษและเยาวชนเพื่อ ร่วมในพิธีแห่ในครั้งนี้ด้วย

พระธาตุหัวใจของนักบุญฟรังซิสแห่งซาลส์ วันที่ 16-17 มิถุนายน 2022 ในโอกาสที่พระธาตุหัวใจของนักบุญฟรังซิส แห่งซาลส์จาริกมายังอารามแม่พระแห่งการเสด็จเยี่ยม ที่ Moncalieri ประเทศอิตาลี คุณพ่ออัคราธิการ Ángel Fernández Artime พร้อมด้วยคณะทีป่ รึกษาและสมาชิก ครอบครัวซาเลเซียนได้มาเคารพพระธาตุดังกล่าว โอกาสนี้ คุณพ่ออัคราธิการ ได้เป็นประธานในพิธบี ชู าขอบพระคุณ โดยในบทเทศน์คณ ุ พ่อได้เน้นย�ำ้ ถึงความรัก ของพระเป็นเจ้าผ่านทางความรักต่อเพื่อนมนุษย์ซึ่งต้องมาเป็นอันดับแรกเหนือสิ่งอื่นใด

ชุมนุมผู้ช่วยจารีต วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2022 แขวง ซาเลเซียนนักบุญปีโอที่ 10 แห่งเมือง Porto Alegre (BPA) ประเทศบราซิล จัดชุมนุมผูช้ ว่ ยจารีตจ�ำนวนกว่า 300 คน จากวัดต่างๆ ในความดูแลของแขวง ซาเลเซียน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุม่ คือ ทีเ่ มือง Paraná และที่ Santa Catarina เด็กๆ ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งการอบรม การร่วมมิสซา การเล่น เกมต่ า งๆ และการพบปะกั น ใน จิตตารมณ์ของคุณพ่อบอสโก

ช่วยเหลือเด็กชาวยูเครนจากภัยสงคราม เดือนมิถุนายน 2022 ศูนย์ธรรมทูตซาเลเซียนเมือง Bonn ประเทศเยอรมัน และแขวงซาเลเซียนประเทศโครเอเชียได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือบรรดาเด็กๆ ชาวยูเครนจ�ำนวน 60 คนทีอ่ าศัยอยูใ่ นหลุมหลบภัยเป็นเวลาหลายเดือนด้วยความหวาดกลัว ในเขตสงครามซึง่ เป็นพืน้ ทีช่ ายแดนระหว่างประเทศยูเครนและโครเอเชีย ให้ไปลี้ภัยที่เมือง Lviv ได้อย่างปลอดภัย July-August 2022

27


ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

World News “Festiclip” ครั้งที่ 16

ชุมนุมศิษย์เก่าซาเลเซียนประเทศอินเดีย วันที่ 21 มิถุนายน 2022 สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียน ในเครือซาเซียน ศิษย์เก่าสามเณรและนวกชนซาเลเซียน ประเทศอินเดีย (AfsanDB) จัดชุมนุมศิษย์เก่าที่เมือง Chennai ซึง่ อยูท่ างตอนใต้ของประเทศอินเดีย นับเป็นการ ชุมนุมกันครั้งแรกหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งท�ำให้ไม่สามารถพบปะกันได้เป็นเวลากว่า 2 ปี

วันที่ 11 มิถนายน 2022 แขวงซาเลเซียนประเทศ ฝรั่งเศสจัดการประกวดหนังสั้น “Festiclip” ครั้งที่ 16 ที่ “Institution Notre-Dame des Minimes” เมืองลียง โดยมี เยาวชนอายุระหว่าง 15 - 20 ปี ส่งหนังสั้นเข้าร่วมประกวด ในวันประกาศรางวัลมีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน และมีการ ถ่ายทอดผ่าน YouTube ช่อง “Don Bosco”

“Indigenous Queen” แห่ง Carchá ประเมินประสบการณ์อาสาสมัครธรรมทูต วันที่ 3-5 มิถุนายน 2022 อาสาสมัครซาเลเซียนธรรมทูต [Salesian Missionary Volunteering (VMS)] จ�ำนวน 9 คน ซึ่งเป็นอาสาสมัครในหมู่คณะซาเลเซียน 3 แห่งในประเทศเม็กซิโกได้ประชุมประเมินผล และทบทวน ประสบการณ์ชวี ติ ปี 2021-2022 ร่วมกัน การประชุมสิน้ สุดลง ด้วยพิธีบูชาขอบพระคุณโดยคุณพ่อ Kennedy Delgado เป็นประธานในพิธี

28

db Bulletin

วันที่ 4 มิถุนายน 2022 คุณ Maria Fidelia Paau ซึ่งเป็นชนเผ่า Maya-Q’eqchi ได้รับเลือกให้เป็น “Indigenous Queen” แห่ง Carchá ประจ�ำปี 20222023 ภายหลังจากการรับต�ำแหน่งดังกล่าว เธอได้เดินทาง มายังศูนย์เยาวชนซาเลเซียนที่ San Pedro Carchá เพื่ อ แสดงความรู ้ คุ ณ ต่ อ คุ ณ พ่ อ บอสโกและบรรดา ซาเลเซียนในฐานะที่เธอเป็นศิษย์เก่า ปัจจุบันเธอก�ำลัง ศึ ก ษาสาขาวิ ท ยาศาสตร์ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย ซาเลเซี ย น Mesoamerican โดยได้รบั ทุนจาก “Missions Don Bosco”


EAO News

เยาวชนรับศีลก�ำลัง วันที่ 5 มิถุนายน 2022 เยาวชนของวัดพระคริสตราชา เมือง Tetere ประเทศหมู่เกาะซาโลมอน จ�ำนวน 196 คน รับศีลก�ำลัง โดย อาร์ชบิชอป Christopher Michael Cardone แห่ง Honiara เป็นประธานในพิธี ท่านได้เทศน์ให้ก�ำลังใจ เยาวชนให้เปิดใจต่อกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์และนักบวช และหวั ง ว่ า จะมี สั ก คนในพวกเขาจะบวชเป็ น พระสงฆ์ เพื่อท�ำหน้าที่รับใช้พระคริสตเจ้า

ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

อบรมพระสงฆ์และภราดารุ่นเยาว์ วันที่ 4-7 มิถุนายน 2022 แขวงซาเลเซียนประเทศ เวียดนามจัดอบรมพระสงฆ์และภราดาซาเลเซียนรุ่นเยาว์ จ�ำนวนกว่า 50 คน ในหัวข้อ “การให้ค�ำปรึกษาและการเป็น เพือ่ นร่วมทางกับเยาวชนทีส่ ร้างครอบครัว” ณ บ้านเข้าเงียบ ซาเลเซียนเมือง K’Long โดยมีคณ ุ พ่อ Joseph Hoang Ngoc Dung จากสังฆมลฑล Saigon เป็นวิทยากร โอกาสนี้ คุณพ่อ Barnabas Le An Phong เจ้าคณะแขวงเวียดนาม ได้เน้นกับ ผูร้ ว่ มสัมมนาถึงความส�ำคัญของชีวติ ซาเลเซียน 3 ประการซึง่ จะแยกจากกันไม่ได้ นั่นคือ ชีวิตจิตแห่งการภาวนา ชีวิตหมู่ คณะและพันธกิจ

ฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี

ฉลองวันธรรมทูตซาเลเซียน

ต้นเดือนมิถนุ ายน 2022 สมาชิกซาเลเซียนแขวงฟิลปิ ปินส์ เหนือ (FIN) ได้ฟน้ื ฟูจติ ใจประจ�ำปี ในหัวข้อ “รักองค์พระเจ้า เหนือสิง่ อืน่ ใดพร้อมกับนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์” ซึง่ เป็นการ ร่วมฉลองครบ 400 ปีแห่งมรณกรรมของท่านนักบุญ โดย คุณพ่อ Morand Wirth, SDB เป็นผู้เทศน์ ผ่านระบบ Zoom

วันที่ 4 มิถุนายน 2022 สมาชิกครอบครัวซาเลเซียน ประเทศปาปัวนิวกินีและหมู่เกาะโซโลมอนร่วมกันที่ศูนย์อบรม “Emmaus” เมืองพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกีนี เพื่อฉลองวันธรรมทูตซาเลเซียน โอกาสนี้ คุณพ่อ Ambrose Pereira ได้ เ ป็ น วิ ท ยากรบรรยายในหั ว ข้ อ “วิ ธี สื่ อ สาร พระคริสตเจ้าผ่านสือ่ มวลชน” ในตอนท้ายของงานมีการระดมทุน เพือ่ ช่วยเหลืองานแพร่ธรรมทีป่ ระเทศโบลิเวีย และการรับพร จากคุณพ่อ Pedro Sachitula รองเจ้าคณะแขวงฯ July-August 2022

29


LECTIO DIVINA By บิชอป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล

ลักษณะพิเศษของการ เป็นศิษย์ธรรมทูต (discipleship) การเป็นศิษย์กับการฟังพระวาจาของพระเจ้า Lectio (พระเจ้าตรัสอะไร)

ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระด�ำเนินพร้อมกับบรรดาศิษย์ พระองค์เสด็จเข้าไป ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สตรีผู้หนึ่งชื่อมารธารับเสด็จพระองค์ที่บ้าน 39นางมีน้องสาว ชือ่ มารียซ์ งึ่ นัง่ อยูแ่ ทบพระบาทขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้าคอยฟังพระวาจาของพระองค์ 40 มารธาก�ำลังยุ่งอยู่กับการปรนนิบัติรับใช้จึงเข้ามาทูลว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ ไม่สนพระทัยหรือที่น้องสาวปล่อยดิฉันคนเดียวให้ปรนนิบัติรับใช้ ขอพระองค์ บอกเขาให้มาช่วยดิฉันบ้าง” 41แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสตอบว่า “มารธา มารธา เธอเป็นห่วงและวุ่นวายหลายสิ่งนัก 42สิ่งที่จ�ำเป็นมีเพียงสิ่งเดียวjมารีย์ได้เลือกเอา ส่วนที่ดีที่สุดที่จะไม่มีใครเอาไปจากเขาได้” (ลก 10:38-42) 38


ท�ำความเข้าใจพระวาจา

ตัวบทพระวรสารโดยนักบุญลูกาเล่าเรื่องสตรีผู้หนึ่ง ชื่อ มาร์ธา เธอให้การต้อนรับพระเยซูเจ้าในบ้านของเธอ พระเยซูเจ้าทรงปรารถนาเป็น “แขก”ในบ้านของเรา เราให้การต้อนรับพระองค์ แต่ตามความเป็นจริงสิ่งที่เป็น เป้าหมายแท้จริงของชีวิตเราก็คือเป็น “แขก” ในบ้าน ของพระองค์ เราอยากให้พระองค์ต้อนรับเราไว้ในบ้าน ของพระองค์สักวันหนึ่ง มิใช่ชั่วคราว แต่เป็นการถาวร ซึง่ เท่ากับเป็นการแลกเปลีย่ น “การต้อนรับ”ซึง่ กันและกัน คือ เราต้อนรับองค์พระผู้เป็นเจ้าในชีวิตนี้ เพื่อพระองค์ จะทรงต้อนรับเราในชีวิตหน้าตลอดไป การ“ต้อนรับองค์พระผู้เป็นเจ้า” มีความหมายว่า อย่างไร? ค�ำตอบคือ หมายความว่า ในช่วงชีวิตนี้ เราขอ ต้อนรับพระองค์เข้ามาประทับอยู่ในส่วนลึกของจิตใจเรา ถามว่า“ท�ำอย่างไรหรือ” ค�ำตอบคือ ท�ำเหมือนมาร์ธา ก็ได้ คือ ท�ำหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อพระองค์ ผลก็คือ เกิดความวุน่ วายใจ เพราะงานทีจ่ ะท�ำมีมาก แต่อกี วิธหี นึง่ ก็คือ ท�ำเหมือนมารีย์ โดยนั่งแทบพระบาทพระเยซูเจ้า และ “ฟัง” พระองค์ตรัส ดูเหมือนพระเยซูเจ้าทรงพอพระทัยกับวิธีนี้ เพราะ พระองค์ตรัสชมมารีย์ว่า “สิ่งที่จ�ำเป็นมีเพียงสิ่งเดียว มารียไ์ ด้เลือกเอาส่วนทีด่ ที สี่ ดุ ทีจ่ ะไม่มใี ครเอาไปจากเขาได้” (ข้อ 42) การฟังพระองค์ตรัสเป็นสิ่งที่ดี แต่เราจะได้ยินเสียง ของพระองค์ได้อย่างไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่า พระองต์ตรัส อะไร? เราได้ความคิดมาจากนักบุญ อัมโบรสทีเ่ คยกล่าวไว้วา่ “เราพูดกับพระเจ้าเมื่อเราภาวนา เราฟังพระองค์ตรัส เมื่อเราอ่านพระวาจา” (DV 25) นั่นหมายความว่า เราได้ยินพระองค์ตรัสเมื่อเราอ่าน พระวาจา หรือ พระคัมภีร์นั่นเอง มาร์ธาให้การต้อนรับพระองค์ที่บ้านของเธอ แต่เธอ ก็เป็นห่วง และวุน่ วายด้วยหลายสิง่ หลายอย่าง พระเยซูเจ้า มิได้ตำ� หนิเธอแต่ทรงบอกให้เธอทราบว่า เธอเป็นห่วงและ วุน่ วายใจด้วยหลายสิง่ หลายอย่าง ซึง่ อาจไม่มคี วามจ�ำเป็น เท่ากับการนั่งสนทนากับพระองค์ เมือ่ มีแขกมาทีบ่ า้ น โดยเฉพาะถ้าเขาเป็นบุคคลส�ำคัญ เป็นธรรมดาที่เราปรารถนาให้การต้อนรับอย่างดีที่สุด

เราจึงรู้สึกเป็นห่วง อยากท�ำหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อแขกผู้นั้น แต่ก็อาจ ปล่อยเขาอยู่ตามล�ำพัง โดยไม่สนใจเขาเท่าที่ควร เราอาจให้ความส�ำคัญ กับ จาน ช้อน ส้อม ผ้าปูโต๊ะ เมนูอาหาร มากกว่าตัวแขก ก็เป็นได้ การต้อนรับพระเจ้าทีบ่ า้ น หมายถึงการให้ความส�ำคัญกับการประทับอยู่ ของพระองค์ คิดถึงพระองค์ในเวลาภาวนา ร�ำพึง การเข้าเงียบ เวลาเหล่านี้ เอื้อต่อการพบปะกับพระองค์

July-August 2022

31


ในทุกสถานการณ์ของชีวิต ทั้งดีและไม่ดี พระเจ้าทรงประทับอยู่ ในตัวเราเสมอ การต้อนรับพระองค์หมายถึง ให้ความสนใจพระองค์ พูดกับพระองค์ ฟังพระองค์ ไม่ปล่อยให้ความวิตกกังวล ความหงุดหงิด หัวใจ ปัญหาต่างๆ ดึงความสนใจของเราไปจากพระองค์ สิง่ จ�ำเป็นมีเพียง สิ่งเดียวเท่านั้นคือ ความสัมพันธ์กับพระองค์เป็นการส่วนตัว เป็ น สิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งรั ก ษาไว้ ด ้ ว ยความเอาใจใส่ เพราะถ้ า เรา มีความสัมพันธ์เช่นนี้ สิ่งอื่นที่ดีๆ จะตามมาเอง

Meditatio

(พระวาจาของพระเจ้าตรัสกับฉันวันนี้) พระเยซูเจ้าพระองค์เองก็ทรงต้อนรับเราเข้ามาในบ้านของพระองค์ เมื่อเราเข้าวัด เราก็เข้าในบ้านของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าของบ้าน ที่ให้การต้อนรับเรา เมื่อเราเข้าไปรับศีลมหาสนิท เราก็ให้การต้อนรับพระองค์ ตรงนี้ มีการแลกเปลีย่ นค�ำเชิญต่อกัน พระองค์ทรงเชิญเรามาทีบ่ า้ นของพระองค์ เพื่อพระองค์สามารถเจริญชีวิตในบ้านของเรา ตามสภาพความเป็นจริง ในชีวิตของเรา เราอยากเชิญพระเยซูเจ้าเข้าประทับอยูใ่ นสถานทีม่ เี กียรติและเหมาะสม ทุกวันตลอดชีวิตของเรา ถ้าเรารู้สึกเป็นกันเองกับพระองค์ เราก็จะเป็นกันเองกับผู้อื่นด้วย ให้เราภาวนาเพื่อเรียนรู้จักเจริญชีวิต ให้เราร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ เพื่อเรียนรู้จักเจริญชีวิตอย่างดี กิจศรัทธาทุกอย่างเป็นเพียงเครื่องมือ มิใช่เป้าหมาย เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ เราใช้ เ พื่ อ เรี ย นรู ้ จั ก เจริ ญ ชี วิ ต อย่ า งดี เราปฏิ บั ติ กิจศรัทธาเพื่อสามารถเป็นผู้ที่ให้การต้อนรับผู้อื่นในชีวิต ให้เราต้อนรับ พระเยซูเจ้า เพื่อเราจะกลับเป็นคนสุภาพ สนใจความต้องการของผู้อื่น และพร้อมเสมอเพื่อให้การรับใช้ การต้อนรับที่เราให้กับพระเยซู จะท�ำให้เราสามารถเป็นผู้รับใช้ ไม่วิตกกังวลหรือกระวนกระวายใจ เพราะสิ่งเหล่านี้มาจากตัวเราเอง จากการที่เรามุ่งให้ตนเองเป็นศูนย์กลาง ถ้าเราต้อนรับพระองค์ และมอบความไว้วางใจไว้กบั พระองค์ พระองค์ จะท� ำ ให้ เราพ้ น จากความกระวนกระวายใจ ความวิ ต กกั ง วล และ ความยุ่งเหยิง ท�ำให้เราเป็นคนที่พร้อมรับใช้อย่างแท้จริง พร้อมให้ การร่วมมือ และการช่วยเหลือ มีความเมตตาต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก ถ้าเราให้การต้อนรับพระองค์ เราจะกลับเป็นคนใจกว้างเหมือนกับ พระองค์ ถ้าเราต้อนรับพระองค์ในชีวติ พระเจ้าจะทรงต้องรับเราในพระสิร-ิ รุ่งโรจน์ พระองค์ทรงต้อนรับเราแล้ว ทรงปรารถนาที่จะอยู่กับเรา พระคริสตเจ้าในเรา ทรงเป็นความหวังและสิรริ งุ่ โรจน์ เป็นศูนย์กลาง ของธรรมล�้ำลึก ที่ซ่อนเร้นในอดีต แต่ถูกเปิดเผยให้ทราบในปัจจุบัน

32

db Bulletin


ขอบคุ ณ ลู ก ขอขอบพระคุ ณ พระองค์ ที่ เ สด็ จ มาเยี่ ย มลู ก บ่ อ ยๆ เรารู้ดีว่า พระเจ้าทรงปรารถนาอยู่กับเรา และเราก็ยินดี ทางเพื่ อ นพี่ น ้ อ งของลู ก ทางศี ล มหาสนิ ท ทางพระวาจาประจ� ำ วั น อยู่กับพระองค์ เราอยากปฏิบตั ติ อ่ พระองค์อย่างดีในฐานะแขกแท้จริง ทางเหตุการณ์ต่างๆ ขอพรพระจิตเจ้า โปรดดลใจลูกผ่านทางองค์พระจิตเจ้า ให้ลกู ทราบว่า ทรงเป็นแขกคนส�ำคัญทีเ่ ราสามารถให้การต้อนรับในชีวติ ของเรา ดังนัน้ จงต้อนรับพระองค์อย่างดี และท�ำให้ดยี งิ่ ขึน้ พระองค์กำ� ลังเสด็จมาเยี่ยม และรู้จักให้การต้อนรับพระองค์ ทุกวัน

Oratio

Contemplatio

(พระวาจาของพระเจ้าช่วยฉันพิศเพ่งภาวนา)

สิ่ ง ที่ จ� ำ เป็ น มี เ พี ย งสิ่ ง เดี ย ว มารี ย ์ ไ ด้ เ ลื อ กเอาส่ ว นที่ ดี ที่ สุ ด ขอโทษ 41องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส...ว่า “มารธา มารธา ที่จะไม่มีใครเอาไปจากเขาได้” (ลก 10:42) เธอเป็นห่วงและวุ่นวายหลายสิ่งนัก 42สิ่งที่จ�ำเป็นมีเพียง สิ่งเดียวjมารีย์ได้เลือกเอาส่วนที่ดีที่สุดที่จะไม่มีใครเอาไป Communicatio (พระวาจาเปลี่ยนแปลงชีวิตของฉัน) จากเขาได้” ฉันตั้งใจฟังพระองค์ตรัส ด้วยการอ่าน และฟังพระวาจาของพระองค์ ลูกขอโทษต่อพระองค์ที่บ่อยครั้ง ลูกท�ำตนเหมือน ฉันจะตั้งใจฟังผู้ที่พูดกับฉัน ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม มาร์ธา โดยเป็นห่วงและวุ่นวายใจในหลายสิ่งหลายอย่าง แต่ลืมสิ่งที่จ�ำเป็นเพียงสิ่งเดียว โปรดอภัยแก่ลูกเทอญ

(พระวาจาของพระเจ้าท�ำให้ฉันภาวนา)

42


เยาว์กับสื่อ Text I ซ.ยุพดี จารุวิภาค (ธมอ)

กับสือ่ ฉบับนี้ ผูเ้ ขียนขอ เยาวชน น�ำเสนอ “วัฒนธรรมอินฟลูเอนเซอร์” ซึ่ง

ก�ำลังเข้ามาครอบง�ำวิถีชีวิตของเราเยาวชน คนหนุม่ สาว ทีด่ ำ� เนินชีวติ อยูบ่ นโลกออนไลน์ อยู่บนลานสาธารณะ ที่จะสามารถเรียนรู้ ค้นหาค�ำตอบ พบปะผู้คน ขายซื้อสินค้า ลานสาธารณะที่ เ ยาวชนมี อิ ส ระที่ จ ะ แสดงออก น� ำ เสนอตัว ตน และสร้าง เครือข่ายให้สามารถอยู่เป็นส่วนหนึ่ง ของสั ง คมเสมื อ นจริ ง ได้ ไ ม่ ย าก แต่ จะอยู ่ อ ย่ า งไรให้ ร อดและอยู ่ อ ย่ า ง มีประโยชน์เพื่อชีวิต วัฒนธรรมอินฟลูเอนเซอร์ คือ ปรากฏการณ์ใหม่ของผูท้ มี่ อี ทิ ธิพล บนอินเทอร์เน็ต ใช้ความสามารถ

34

db Bulletin

R E C N E U INFL

สร้าง ชือ่ เสียง สร้างแรงบันดาลใจ สร้ า งความสนใจในบางสิ่ ง ท�ำให้รู้สึกใกล้ชิดกับพวกเขา ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง พฤติกรรม ชี้น�ำการกระท�ำ และ การตัดสินใจของผู้อื่น ส่วนใหญ่ ก็เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการ ตลาด ผ่านการใช้เครือข่ายสังคม วัฒนธรรมอินฟลูเอนเซอร์ ส่ ง ผลกระทบต่ อ เด็ ก ในโลก ออนไลน์อย่างไร?

ผูเ้ ชีย่ วชาญ อธิบายว่า เนื่องจากวิธีการ น�ำเสนอที่ยอดเยี่ยมในการ ค้ น หาสิ่ ง ใหม่ ๆ ที่ อ ยู ่ ร อบ ตั ว เรา เพื่ อ ให้ สิ่ ง เหล่ า นั้ น มาช่วยดูแล เสริมเติมความ ต้องการของเรา โดยไม่รู้ว่า ภาพหรือการน�ำเสนอที่เกิน ความเป็นจริง โลกที่เห็นคือ โลกเสมือนจริง แต่แรงกดดัน ที่มาจากสังคมของการกินดี อยู่ดีและการแข่งขัน เหล่านี้ สร้างความอ่อนไหวให้กบั เรา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและเยาวชน แนวคิดจาก Childnet Education ทีมงาน ช่ ว ยเหลื อ เด็ ก และเยาวชน อาจช่วยเราให้เข้าใจดียิ่งขึ้น Influencers จะได้ รั บ เงิ น เพื่อโปรโมตเนื้อหา ติดป้าย ก�ำกับและ # เพือ่ ให้มผี ตู้ ดิ ตาม Followers มากๆ ข้ อ ความหรื อ เนื้ อ หาที่ Influencers น�ำเสนอ เป็นสิง่ ส�ำคัญทีต่ อ้ งการวิจารณญาณ เพราะ Influencers อาจมี ความคิดเห็นและความเชื่อ


Christus Vivit

“กระแสเรียกของเรา ที่จะเป็น แรงบั น ดาลใจให้ ลู ก น� ำสิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด ในตั ว ลู ก ออกมาใช้ เ พื่ อ ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าและ เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น.... เป็นการอยู่ที่นั่นเพื่อผู้อื่น”

E R U CULT ของตนเองที่ไม่ สอดคล้องกับค่านิยมทีถ่ กู ต้อง รูปภาพจ�ำนวนมากทีพ่ บบน เครือข่ายสังคมผ่านการแก้ไข หรือตัดต่อ ตัดแต่งอย่างมาก เพือ่ ให้ภาพถ่ายเพียงภาพเดียว ดูเหมือน ‘สมบูรณ์แบบ’ ซึ่ง จริงๆ แล้วภาพต้นฉบับเป็น คนละเรื่องกัน ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ มั ก จะ เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น หากพบว่ า การใช้ เ ครื อ ข่ า ย สังคมส่งผลต่อสุขภาพจิตหรือ ท� ำ ให้ คุ ณ รู ้ สึ ก แย่ กั บ ตั ว เอง ก็ให้เลิกติดตาม เพื่อรักษา คุณภาพชีวิตของตนไว้

เปิ ด รั บ แง่ บ วก! มี platform จ�ำนวนมากทีเ่ สนอ สิ่งดีๆ แนวคิดเพื่อชีวิต หรือให้ ความรู ้ เ กี่ ย วกั บ วั ฒ นธรรมที่ แตกต่างกัน ติดตามสิง่ ทีท่ ำ� ให้คณ ุ รูส้ กึ ดี และเผยแพร่ขอ้ ความเชิงบวก ทางออนไลน์ อันทีจ่ ริง ชีวติ เราต้องการการพัฒนา ทีม่ แี นวร่วม วัฒนธรรมอินฟลูเอนเซอร์ ช่วยยุติความยากจนทั่วโลกด้วยการ ใช้สื่อเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลทาง ออนไลน์ ช่วยขับเคลื่อนผ่านผู้บริโภค ที่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล มีกลุ่มองค์กร อาสาสมัครพัฒนาความก้าวหน้าส�ำหรับ คนยากจน พวกเขาเผยแพร่ ข ้ อ มู ล ใน หัวข้อต่างๆ โดยความคิดสร้างสรรค์ทที่ กุ คน สามารถเป็น ผู้สร้างหรือผู้ใช้ก็ได้ รวมถึง

องค์ ก รไม่ แ สวงหา ก�ำไร NGO ที่มีเป้าหมาย เพื่อสร้างพลังแห่งความดี สุดท้าย ในฐานะที่เราเป็น ครอบครัวที่ก�ำลังก้าวเดินไปด้วยกัน ในความเป็นพระศาสนจักร และเป็นลูก พ่ อ บอสโก เราเยาวชนตระหนั ก ถึ ง ค� ำ สอน ของพระสันตะปาปาจากสมณลิขิตเตือนใจ Christus Vivit “กระแสเรียกของเรา ทีจ่ ะเป็นแรงบันดาลใจให้ลกู น�ำสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ในตัวลูกออกมาใช้เพือ่ ถวายพระเกียรติแด่ พระเจ้าและเพือ่ ประโยชน์สขุ ของผูอ้ นื่ ....เป็นการอยูท่ นี่ นั่ เพื่อผู้อื่น” เราจะเป็น อินฟลูเอนเซอร์ในครอบครัว ในสถานศึกษา ในวัด ในกลุม่ เยาวชนทีส่ งั กัดอยูไ่ ด้อย่างไร ก็ด้วยการสร้างอิทธิพลเชิงบวก บอกเล่า”ข่าวดี” ของ การพบปะกับพระคริสตเจ้า อินฟลูเอนเซอร์หมายเลขหนึง่ ของเรา ของความหลงใหลในคุณพ่อบอสโก อินฟลูเอนเซอร์ ของจิตตารมณ์ซาเลเซียนของเรา ด้วยชีวิตที่ชื่นชมยินดี มีความกระตือรือร้นและมีความสุขของเรา

July-August 2022

35


บิ๊ก - รัชพล อุดมสมบูรณ์ Text : Andy

รัชพล อุดมสมบูรณ์ Mister Deaf Thailand 2020

นิตยสารดอนบอสโกชวนรู้จักโลกของคนหูหนวกผ่านการพูดคุยกับ บิ๊ก - รัชพล อุดมสมบูรณ์ ศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ แผนกช่างพิมพ์ ที่เกิดมาในโลกของการถูกกดปุ่ม Mute ไว้ตลอดกาล แม้วา่ การไม่ได้ยนิ เสียงนัน้ อาจเป็นอุปสรรคส�ำคัญส�ำหรับบิก๊ ในการใช้ชวี ติ แต่อปุ สรรคทีว่ า่ นีก้ ม็ ไิ ด้ลดทอนคุณค่าชีวติ ของเขาแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ยิ่งเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้บิ๊กต้องสู้ชีวิตมากขึ้น และเป็นแบบอย่าง อันทรงคุณค่าให้แก่คนที่มีความสมบูรณ์พร้อมทางกายมากยิ่งกว่า ขอบคุณล่ามภาษามือ คุณครูรติพร ทองมี ที่เป็นคนกลางถ่ายทอด เรือ่ งราวชีวติ ทีล่ ขิ ติ เองของบิก๊ เพือ่ ให้คนหูดอี ย่างเราได้เห็นถึงหัวใจทีแ่ ข็งแกร่ง และการก้าวข้ามชีวิตที่ช�ำรุดบกพร่องสู่การด�ำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และมีความหมายในสังคม • บิ๊กในวัยเด็ก

มันล�ำบากมากกว่า ตอนนีบ้ กิ๊ ถนัดใช้ภาษามือ ซึ่งง่ายต่อการสื่อสารและเป็นสากลมากกว่า แม่ของบิก๊ เล่าให้เราฟังว่า บิก๊ พยายามท�ำตัว เหมือนคนปกติ เขาเคยมาขอฝึกเชื่อมเหล็ก และฝึ ก ขั บ มอเตอร์ ไซด์ แม่ ก็ ใ ห้ อ นุ ญ าติ เพราะเห็นว่าเขาสนใจจริง เวลาเดียวกัน การทีบ่ กิ๊ พยายามฝึกฝนความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้ และลงมือปฏิบตั จิ ริง ท�ำให้คนอืน่ เห็นว่า ตัวเขา ก็ทำ� ได้ เขาไม่อยากด้อยค่าตัวเอง บิก๊ อาจจะ พิการที่หู แต่ไม่ได้พิการในการใช้ชีวิต

ผมหูหนวกตัง้ แต่เกิด แต่ตอนแรกไม่มใี ครรู้ ตัวผมเองก็รสู้ กึ แค่วา่ โลกมันว่างเปล่า ไม่รสู้ กึ ถึ ง เสี ย ง ตอนหลั ง พ่ อ แม่ พ าไปตรวจจึ ง รู ้ ชัดเจนว่าเป็นคนหูหนวกเช่นเดียวกับพี่ชาย เพียงคนเดียวที่มี แม้จะเสียใจและเคยรู้สึก น้อยใจอยูบ่ า้ งแต่ผมก็ไม่ปล่อยให้ชวี ติ ตัวเอง ต้ อ งหยุ ด ผมต้ อ งลุ ก ขึ้ น สู ้ บิ๊ ก พู ด กั บ เรา ด้วยสีหน้าจริงจัง ตั้งแต่เล็ก บิ๊กท�ำตนเองเหมือนคนปกติ เล่นร่วมกับเพื่อนๆ ชอบเรียนรู้ ซุกซน ร่าเริง และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับทุกคนได้ง่าย • เปิดโลกการเรียนรู้ หลั ง จากที่ บิ๊ ก เรี ย นจบระดั บ มั ธ ยมต้ น • พิการเพียงตัวแต่ใจไม่ ทีโ่ รงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี ก็มาเรียนต่อ บิก๊ บอกกับเราว่า การทีห่ ไู ม่ได้ยนิ ท�ำให้เขา ระดับ ปวช ที่แผนกช่างพิมพ์ของวิทยาลัย ต้องใช้สายตามอง เพือ่ อ่านสีหน้า ท่าทาง ซึง่ เทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ บางครัง้ ก็สอื่ สารเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เคย เมื่ อ ถามว่ า ท� ำ ไมถึ ง เลื อ กมาเรี ย น ทดลองใช้การเขียนเพื่อสื่อสาร แต่รู้สึกว่า ทีว่ ทิ ยาลัยแห่งนี้ บิก๊ ตอบเราว่า “พ่อแม่เห็นว่า

36

db Bulletin

เป็นโรงเรียนคริสต์ มีระเบียบวินัย มีคุณพ่อ และคุณครูทเี่ อาใจใส่ดแู ลนักเรียน และพีช่ าย ก็เรียนจบจากที่นี่ และตัวเองก็อยากเรียน สายอาชีพ จึงเลือกมาเรียนต่อที่นี่” “ผมคิดว่าตัวเองเป็นคนพิการที่สู้ชีวิต สมัยทีเ่ รียนดอนบอสโกกรุงเทพ ผมต้องตืน่ ตี 4 เพือ่ นัง่ รถโดยสารเทีย่ วตี 5 เดินทางจากบ้าน ที่ศรีราชา จ.ชลบุรี มาเรียนที่กรุงเทพและ นั่งรถโดยสารกลับถึงบ้าน 2 ทุ่มของทุกวัน” “ที่วิทยาลัย ผมมีเพื่อนที่เป็นทั้งคนหูดี และคนหูหนวก มันเป็นประสบการณ์ทดี่ มี าก ในการใช้ชีวิตร่วมกัน ได้ฝึกอาชีพ ได้ปฏิบัติ งานจริง ถ้าไม่เข้าใจในการเรียน คุณครูก็จะ ทบทวนให้ ผมมีเพือ่ นๆทีค่ อยให้กำ� ลังใจกัน มาเรียนแล้วรูส้ กึ สนุก ไม่เครียด แต่ถา้ วันไหน เครียดก็จะเล่นกีฬากับเพื่อนๆ”

• ชีวิตด้านความเชื่อ

คนเราไม่ได้เติบโตเพียงด้านร่างกาย เท่านั้น ด้านจิตใจก็ส�ำคัญไม่แพ้กัน บิ๊กโชคดีที่มีพ่อแม่ที่เข้าใจ บิ๊กบอก กับเราว่า “ทั้งสองท่านคอยเตือนและ อบรมสัง่ สอนผมเสมอเพือ่ ให้รวู้ า่ สิง่ ไหนดี และไม่ดี สิง่ ไหนควรท�ำและไม่ควรท�ำ และคอยให้ ค�ำแนะน�ำผมเมื่อมีปัญหา” บิก๊ พูดถึงแม่วา่ “แม่ของผมเป็นคาทอลิก ตัง้ แต่ผมยังเป็นเด็ก แม่สอนผมให้มคี วามเชือ่ ในพระเจ้าและแม่พระ แม่จะพาไปร่วมมิสซา ทีโ่ บสถ์และพาไปร่วมมิสซาภาษามือในบางครัง้ เวลาทีร่ ว่ มมิสซาภาษามือ ผมจะเข้าใจพระวรสาร ได้มากขึ้น” “ตัวผมเองมักจะสวดขอพรพระเจ้าก่อน เดินทาง เพื่อจะได้เดินทางได้อย่างปลอดภัย และมักสวดขอให้ผ่านอุปสรรคต่างๆ ไปได้”

• ความทรงจ�ำที่ ไม่ลืม

เมื่อถามถึงโมเมนต์ที่ประทับใจในชีวิต บิ๊กบอกกับเราว่า “การได้เข้าเฝ้าโป๊ปฟรังซิส อย่างใกล้ชิดคือที่สุดในชีวิต อันที่จริง ผมมี ความฝันที่อยากจะเข้าเฝ้าโป๊ปมานานแล้ว เพราะพระองค์ เ ป็ น ประมุ ข ของคริ ส ตชน


คาทอลิกระดับโลก ผมได้มโี อกาสเข้าเฝ้าพระองค์ ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญเมื่อปี 2019 รู้สึก ตืน่ เต้นมาก ผมถามแม่วา่ ‘จะกอดท่านได้ไหม’ แม่ตอบว่า ‘ไม่แน่ใจ...’ หลังจากจบมิสซา พระองค์มาทักทายผมและเพื่อนๆ ผู้พิการ ด้านหน้าพระแท่น พระองค์ทรงอวยพรผม โดยทรงสัมผัสทีห่ ู ผมได้กอดพระองค์ ตอนนัน้ รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก การมาของโป๊ป ท� ำ ให้ ผ มรู ้ สึ ก ว่ า ชี วิ ต ของผมมี คุ ณ ค่ า และ รูส้ กึ ถึงความเท่าเทียมกันกับคนปกติ การพบ กั บ โป๊ ป ท� ำ ให้ ค วามคิ ด ของผมเปลี่ ย นไป รู ้ สึ ก มี ใจสู ้ ม ากขึ้ น และอยากเป็ น ต้ น แบบ ในการส่งมอบความรักให้กับผู้อื่นเช่นเดียว กับพระองค์”

• ผลงานที่ภูมิใจ

ปี 2020 บิ๊กได้แชมป์ Mister Deaf Thailand 2020 และก� ำ ลั ง เตรี ย มเป็ น ตั ว แทนประเทศไทยไปประกวด Mister Deaf World ทีส่ าธารณรัฐเชคในอีกไม่นานนี้ รางวัลนีเ้ ป็นรางวัลทีบ่ กิ๊ ภูมใิ จมากทีส่ ดุ นอกนัน้ บิก๊ ได้มโี อกาสเดินแบบและถ่ายแบบ รวมทัง้ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น พิ ธี ก รภาษามื อ ในสื่ อ ต่ า งๆ เพือ่ สือ่ สารให้กบั คนหูหนวก เช่น สือ่ ประชาสัมพันธ์ห่างไกลโควิด-19, หลักการการรู้ เท่าทันสื่อของ กสทช., บันทึกเทปโทรทัศน์ รายการ D-มีดี ตอนคนท�ำสื่อและเรียนรู้ “การรับสือ่ อย่างเท่าเทียม” และถ่ายโฆษณา ของบริษัท SUMSUNG: “Leave no one behind I SUMSUNG” ปี 2564 เป็นต้น

• อยากบอก

“ผมอยากเป็นก�ำลังใจให้กบั ทุกคน ขอให้ มีความเชือ่ มัน่ ในตนเอง สิง่ นีจ้ ะท�ำให้เรารูส้ กึ ดี และมีพลังบวก ขอพระเจ้าประทานพลังให้ทกุ คน มีความเข้มแข็ง อดทน มีใจสู้ และมีความพยายามมากๆ” การได้มาสัมภาษณ์ บิ๊ก - รัชพล อุดมสมบูรณ์ ท�ำให้เราได้รบั ความอิม่ ใจ เป็นรางวัลชิน้ ใหญ่ เราอิม่ ทีไ่ ด้ฟงั เรือ่ งราว อันเข้มข้นซึง่ น่าประทับใจ และอิม่ ไปกับ การสู ้ ไ ม่ ถ อยของบิ๊ ก ที่ แ ม้ จ ะหู ห นวก ให้เราเชื่อเถอะว่าคนพิการเองมีความสามารถที่ จ ะท� ำ อะไรได้ อ ย่ า งไร้ ข อบเขต เพียงแค่เรามอบโอกาสให้กับพวกเขา เพื่อดึงศักยภาพที่มีออกมา


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ เรียบเรียง: ภาชนะดินเผา

ผู้รับใช้พระเจ้า

“คุณพ่อคอสตันตีโน เวนดราเม” (1893-1957)

คุณพ่อเกิดที่ซานมาร์ตีโน เมือ่ วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.1893 (พ.ศ. 2436) ตั้งแต่อายุน้อย ท่ า นมี ส ติ ป ั ญ ญาเฉี ย บแหลม และโดดเด่นในความใจดี หลังจาก ส�ำเร็จการศึกษาที่เวเนโต ใน ปี ค.ศ. 1913 ได้เข้านวกภาพ และบรรลุความฝันในการเป็น ซาเลเซียน ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 1 ท่านถูกเรียกให้รับใช้ ประเทศชาติและผ่านประสบการณ์แห่งความทุกข์ยากล�ำบาก จากนั้ น จึ ง ได้ รั บ ศี ล บวชเป็ น พระสงฆ์ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1924 ในเดื อ นตุ ล าคมได้ รั บ ไม้กางเขนธรรมทูตที่วัลดอกโก และเดือนทางไปยังประเทศอินเดีย ในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน คุณพ่อคอนสตันตีโนได้ประจ�ำอยู่ที่เมืองชิลลอง รัฐอัสสัม ซึ่งเป็นพื้นที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย อยู่ใต้ทิเบต อาณาเขตติดกับประเทศจีน ท่านท�ำงานระหว่างชนพื้นเมือง เผ่า Khasi และ Yaintia ในหน้าที่เจ้าอาวาสและออกเยี่ยม หมู่บ้านต่างๆ จนถึงแถบชานเมือง ตามเส้นทางบนภูเขาที่แสน ทุรกันดารและเหน็ดเหนื่อย ท่านเดินทางไปพบปะครอบครัว โดยไม่ แ บ่ ง แยกเชื้ อ ชาติ แ ละศาสนา เช่ น เดี ย วกั บ พ่ อ บอสโก ท่านใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์ในการประกาศข่าวดีเพื่อ ให้พระเยซูเจ้าเป็นที่รู้จักของชาวบ้าน ท่านให้ความส�ำคัญกับ

38

db Bulletin

การสอนค� ำ สอน และสร้ า ง บรรยากาศการฉลองจิตตารมณ์ ซาเลเซี ย นในศู น ย์ เ ยาวชน ให้ ก ารศึ ก ษากั บ เด็ ก ๆ และ น� ำ พระคริ ส ตเจ้ า ไปสู ่ พี่ น ้ อ ง ต่ า งความเชื่ อ ที่ เ ป็ น มุ ส ลิ ม ฮินดู และเมโธดิสต์ ชาวบ้าน จึ ง เปรี ย บท่ า นเป็ น หมื อ นกั บ น.เปาโล หรือ น.ฟรังซิส เซเวียร์ แห่งประเทศอินเดีย คุณพ่อคอนสตันตีโนเสียชีวติ ในดิ น แดนธรรมทู ต หลั ง จาก 32 ปี ที่ ไ ด้ อุ ทิ ศ ตนท� ำ งาน ประกาศข่าวดี และพบว่าป่วย ด้วยโรคข้ออักเสบ ความเจ็บปวด ทีก่ ระดูกสันหลังและโรคแทรกซ้อนต่างๆ ท�ำให้หลายครัง้ ท่าน กล่าวว่า “ทุกครัง้ ทีล่ ม้ ตัวลงนอน เหมื อ นกั บ ว่ า ฉั น จะสามารถลุ ก ขึ้ น มาได้ อี ก ” ความเจ็ บ ปวด แทบขาดใจบนเตียงซึ่งเปรียบเหมือนพระแท่นบูชา เป็นประจักษ์ พยานให้เราทราบถึงความกล้าหาญเยี่ยงวีรบุรุษของท่าน ชีวิต ธรรมทูตผูอ้ ทุ ศิ ตนเพือ่ พระสิรมิ งคลของพระเจ้าผูน้ ี้ หมดลมหายใจ ที่ โรงพยาบาลในเมื อ งดิ บ รู ก าห์ รั ฐ อั ส สั ม ประเทศอิ น เดี ย เมือ่ วันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1957 ซึง่ เป็นวันเตรียมฉลองคุณพ่อบอสโก สิ่งที่ควรจดจ�ำไม่ใช่จ�ำนวนของผู้ที่กลับใจจากค�ำสอนของท่าน เท่ า นั้ น แต่ ร วมถึ ง ประสิ ท ธิ ผ ลจากงานธรรมทู ต ที่ ยั ง คงอยู ่ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้


เรื่องมีอยู่ว่า by ลียองเอ

น้อง - อรvวรา สงกะมิลันท์

กระปุกออมสิน

ยุค นีใ้ ครๆ ต่างก็พดู เป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นยุคข้าวยาก

หมากแพง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวแพงไปหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารทะเล กะปิ น�ำ้ ปลา น�ำ้ ตาลทราย น�ำ้ หวาน บะหมี่ กึ่งส�ำเร็จรูป กาแฟกระป๋อง เครื่องปรุงรส หมู ไข่ ผัก ปุ๋ย ก๊าซหุงต้ม น�้ำมันพืช น�้ำมันรถ ค่าขนส่ง ค่าบริการต่างๆ ฯลฯ เวลาจะซื้ออะไร สักอย่างต้องคิดแล้วคิดอีก เช็คแล้วเช็คอีกว่าเงินน่ะมีพอมัย้ ความคิด ทีว่ า่ “ของมันต้องมีๆ” ต้องพยายามตัดออกไปจากสารบบความคิด

สุวรรณา วิภามาศ พชรพล เจริญพงษ์ ประพันธ์ วีรี ประทีปปรีชา สุวรรณา อู๋สวัสดิ์

“ทรัพย์สมบัติที่ได้มาเร็วจะร่อยหรอหมดไป แต่ คนที่เก็บเล็กผสมน้อยจะมีมากขึ้น” (สภษ 13:11)

ทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนจะมีการถวายมิสซา แก่สมาชิกนิตยสาร รวมทั้งผู้มีอุปการคุณต่อนิตยสาร

บ�ำรุงการพิมพ์ ศักดิ์สกล พรหมสาขา ณ สกลนคร อัจจิมา นาทะสิริ องค์อร รุ่งรัชตเวช กรชนก ช่างนับ ดิศรัตน์ ส่งเสริมศรี

ของบางอย่างไม่ตอ้ งมีกไ็ ด้ กินก็ไม่ตอ้ งหรู อยูก่ ไ็ ม่ตอ้ งแพงนัก ต้องรู้จักประหยัด มัธยัสถ์ อดออม ลดละเลิกความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย พอเพียง พออยู่ พอกิน พอแล้ว ตอนนีฉ้ นั เลิกซือ้ ของหลายสิง่ หลายอย่างทีไ่ ม่จำ� เป็นแล้ว แต่กม็ ขี องอยูส่ งิ่ หนึง่ ทีฉ่ นั พยายามไปหาซือ้ มา เพือ่ เตือนใจฉัน นั่นก็คือ กระปุกออมสิน ฉันจ�ำได้วา่ เมือ่ ตอนเด็กๆ ฉันเป็นนักสะสมเงินในกระปุก ออมสินตัวยง แต่พอโตขึ้นมากลับเลิกสะสมและลืมนึกถึง กระปุกออมสินไปเลย ทั้งๆ ที่ตอนเด็กๆ ฉันมีความสุข ทุกครั้งที่ได้หยอดเงินลงไปในกระปุกออมสิน เสียงเหรียญ ที่ตกลงไปกระทบกับกระปุกออมสินมันท�ำให้หัวใจของฉัน พองโต ภูมใิ จและมีความสุขไม่นอ้ ย แม้จะเป็นเพียงเหรียญบาท แต่มนั ก็ทำ� ให้ฉนั ยิม้ ได้ และแม้จะเป็นเพียงเงินเล็กๆ น้อยๆ แต่มนั ก็ชว่ ยเตือนใจฉันให้มองเห็นค่าของสิง่ ต่างๆ ได้เช่นกัน

อรนงค์ ซื่อเพียรธรรม กนก เจริญจิตต์ สุพจน์ ดีสุดจิตร ครอบครัวศิลาโคตร วิมล กิจบ�ำรุง

วิภา นิติรักษ์ มนัส อุชชิน กัลยาณี สุวรรณจิต กมลรัตน์ ธีรวชิรกุล ครอบครัวดีสุดจิตร

ศิราภา อุดมอักษร อรทัย สุทธิรัตนากร นิวัฒน์ กาฬแก้ว สุพัตรา ราชกิจ วรรณนภา ศานติวศิน

ไม่ออกนาม 4 ท่าน

July-August 2022

39


พระพรแห่งการรักษา

ดิฉันได้ป่วยเป็นโควิด หลังจากที่หายป่วย ได้ ส ามวั น ก็ เ ป็ น งู ส วั ด ที่ หั ว คิ้ ว ข้ า งซ้ า ยและ ได้ลกุ ลามเข้าไปในตาด้านซ้าย ระหว่างนัน้ คุณหมอ ได้ให้ยารักษาแต่อาการไม่ดขี นึ้ ตาของดิฉนั แดงก�ำ่ และรู้สึกเจ็บเหมือนมีอะไรบางอย่างมาบาดลูกตา อยู่ตลอดเวลา ดิฉันได้ไปพบคุณหมอท่านใหม่ ซึ่งได้ให้ยาอีกแบบหนึ่งเพื่อรักษา คุณหมอท่านนี้ แจ้งว่ากระจกตาของดิฉันเป็นแผลและลูกตาบวม ออกมาเหมือนดุมล้อรถ แต่เนือ่ งจากคุณหมอท่านนี้ จะต้องไปธุระที่ต่างประเทศเป็นเวลาสองอาทิตย์ ดิฉันจึงได้ไปพบคุณหมอคนที่สาม ซึ่งหลังจาก การตรวจลูกตาด้วยเครือ่ งสามมิตแิ ล้วพบว่าลูกตาด�ำ เป็นแผลเยอะมาก คุณหมอแจ้งว่าอาจจะต้องใช้ เวลารักษาหลายเดือนหรืออาจจะใช้เวลาเป็นปี เพื่อนๆของดิฉันที่อยู่ในสายการแพทย์ได้บอกกับ ดิฉันว่าอาจจะมีผลท�ำให้ตาบอดได้ อาทิตย์ต่อมาได้เกิดตุ่มน�้ำพองขึ้นที่บริเวณ ผิวหนังทีห่ ลัง ดิฉนั จึงไปพบหมออีกครัง้ หมอแจ้งว่า งูสวัดในตาต้องใช้เวลาเป็นปีหรือหลายปีจงึ จะหาย ขณะนั้นดิฉันรู้สึกทุกข์ใจและท้อแท้ใจมากเพราะ ดิฉันยังมีโรคอื่นที่รุมเร้าร่วมอยู่ด้วย ระหว่างนั้น มีผู้มาช่วยรักษาอาการป่วยและมีเพื่อนพลมารีย์ มาเยี่ยมและสวดเพื่อให้ก�ำลังใจดิฉัน ตัวดิฉันเอง ก็สวดภาวนาวอขอการรักษาจากพระเจ้าและจาก แม่พระองค์อุปถัมภ์ หลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ ดิฉันได้ไปพบแพทย์ตามนัดและท�ำการตรวจตา ด้วยเครื่อง 3-D พบว่าบาดแผลในลูกตาด�ำซึ่ง คุณหมอได้แจ้งว่าต้องใช้เวลารักษาหลายเดือนถึง หลายปีได้หายถึง 70% ดิฉนั ออกจากห้องคุณหมอ ด้วยความงงงวยและตื้นตันใจในอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ในครัง้ นี้ ดิฉนั จึงอยากเป็นประจักษ์พยานถึงความ รักที่พระเจ้าทรงมีต่อดิฉัน ดิฉันเชื่อว่าพระองค์ มิทรงทอดทิ้งดิฉันในยามยากล�ำบาก ดิฉันจึงขอ เทิดพระเกียรติพระเจ้าและโมทนาคุณแม่พระองค์ อุปถัมภ์ส�ำหรับพระพรแห่งการรักษาที่ดิฉันได้รับ ในครั้งนี้ มารีอา เอกรัตน์ เศวตสมภพ

อาการป่วยหายวันหายคืน

ดิฉันขอโมทนาคุณพระเจ้า ที่ช่วยให้คุณแม่ ของดิฉันในวัย 87 ปี หายป่วยพ้นภาวะอันตราย คุณแม่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าดื่มนมบ�ำรุงก�ำลัง และ กวาดใบไม้เล็กน้อย รู้สึกเมื่อยหลัง จึงไปนอนพัก หลานทีด่ แู ลเห็นว่าสายมากแล้วคุณแม่ไม่เห็นออก จากห้องนอนมาทานอาหารเช้า จึงไปดู ปลุกให้ตนื่ ปกติ คุ ณ แม่ จ ะเป็ น คนหู ไวได้ ยิ น เสี ย งก็ ข านรั บ ปรากฏว่ า ช่ ว ยกั น ปลุ ก เขย่ า เท่ า ไรก็ ไ ม่ รู ้ สึ ก ตั ว จากท่านอนตะแคง จับให้คณ ุ แม่นอนท่าเหยียดตรง เปลีย่ นท่านอนให้กไ็ ม่รสู้ กึ ตัว วัดชีพจร และความดัน ก็ปกติ แต่เรียกเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกตัวผิดปกติมาก ลูกหลานก็วติ กกังวลในความผิดปกติทไี่ ม่เคยเกิดขึน้ ได้โทรปรึกษาพยาบาล พยาบาลได้แนะน�ำในกรณี ผู้สูงอายุที่ภาวะผิดปกติ ให้น�ำตัวส่งโรงพยาบาล ระหว่างรอรถพยาบาล ได้เรียนให้คุณพ่อเจ้าวัด ทราบเพื่ อ โปรดศี ล เจิ ม คนป่ ว ยก่ อ นน� ำ ส่ ง โรงพยาบาล ในที่สุด คุณแม่ก็ได้มาอยู่ในมือแพทย์ ด้วย อาการไม่รู้ตัว แพทย์ได้ส่งตัวท�ำ CT สแกนสมอง พบว่าคุณแม่มีอาการเส้นเลือดสมองตีบ แขนขา อ่อนแรง เป็นโรคทีเ่ กิดซ�ำ้ ขึน้ อีก เมือ่ อยูโ่ รงพยาบาล ได้รบั ยากระตุน้ คุณแม่ได้เริม่ รูส้ กึ ตัว พูดคุยได้ แต่มี อาการกล้ามเนือ้ แขน ขา อ่อนแรง พ้นขีดอันตรายแล้ว แพทย์สง่ ตัวกลับบ้านก่อน ลูกหลานและคนรูจ้ กั ได้ สวดภาวนาขอพระเจ้าและพระแม่มารีอา คุ้มครอง คุณแม่ และคืนสุขภาพที่ดีให้ท่าน หลังจากออกจากโรงพยาบาลคุณแม่ทำ� กายภาพ บ�ำบัดที่บ้าน อาการแขนขา อ่อนแรงเริ่มดีขึ้นๆ หายวันหายคืน สุขภาพดีขึ้นตามล�ำดับ ด้วยความ ช่วยเหลือจากพระเจ้าและพระมารดามารีอา ลูกขอ โมทนาคุณพระเจ้าและพระมารดามารีอาเป็นพิเศษ ขอบคุณญาติมิตรทุกคนที่ร่วมใจภาวนาให้คุณแม่

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่

แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา อ่านนิตยสารออนไลน์

หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com Line @salesianthailand

(หากท่านเปลี่ยนชื่อและที่อยู่ผู้รับ กรุณาแจ้งให้ทางนิตยสารทราบ)

ลูกของแม่

ธารน�้ำใจ ร่วมสนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโก เลขที่บัญชี 666-2-11320-5

บัญชี กองทุนนิตยสารดอนบอสโก ธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาโรงพยาบาลรามค�ำแหง (ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนทราบด้วย)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.