นิตยสารดอนบอสโก-July-August 2021 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1

 ู ส ะ ก “จากแ

” ะ ก แ ง ย ้ ี ล เ  ู ผ July-August 2021

01


นิตยสารดอนบอสโก นิตยสารซาเลเซียน (Salesian Bulletin) คือ สิ่ ง พิ ม พ์ ที่ เ ป็ น ทางการของคณะซาเลเซี ย นซึ่ ง คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ เ ป็ น ผู ้ ริ เริ่ ม ไว้ เ มื่ อ เดื อ นสิ ง หาคม ค.ศ. 1877 นิตยสารนี้ได้รับการตีพิมพ์อย่างดีเรื่อยมา เพื่ อ เผยแพร่ ง านด้ า นการจั ด การศึ ก ษาอบรมของ คุณพ่อบอสโกไปทั่วโลก ปัจจุบันนิตยสารซาเลเซียน มีทงั้ หมด 67 อีดชิ นั่ 32 ภาษา เผยแพร่ใน 132 ประเทศ ทั่ ว โลก นิ ต ยสารดอนบอสโกของประเทศไทยคื อ หนึ่งในจ�ำนวนนี้ด้วย ซึ่งได้เริ่มพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1958 จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 64 และได้เปลี่ยนจากการตีพิมพ์ รายเดือนเป็นราย 2 เดือนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018 เป็นต้นมา เจ้าของผู้พิมพ์ คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ที่ปรึกษา บิชอปโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล บรรณาธิการบริหาร sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิการ ซ.ฉวีวรรณ เกษทองมา ซ.ระวิวรรณ บวกหาร ซ.อุทุมพร แซ่โล้ว ซ.ลัดดา รัชนีลัดดาจิต คุณธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค แผนกการเงิน คุณพ่อมนูญ สนเจริญ ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 0-2731-7100 E-mail : thaisdbbulletin@gmail.com พิมพ์ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพ โทร. 0-2652-9625 ถึง 30 จัดพิมพ์โดย แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน E-mail : sdbsocomthai@gmail.com

EDITOR’s NOTE

ท่านผูอ้ า่ นทีเ่ คารพรัก โควิด-19 ก�ำลัง เล่นงานเมืองไทยอย่างหนักหน่วง คาดเดา ได้ยากว่าสถานการณ์จะขึน้ หรือลงอย่างไร เมื่อนิตยสารดอนบอสโกฉบับนี้อยู่ในมือ ผู้อ่าน ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ ท�ำให้การจัดงานฉลองต่างๆ ที่วางแผนไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น การเลื่อนวันจัดงานหรือการยกเลิก ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อ บางคอลัมน์ในนิตยสารฉบับนีด้ ว้ ย เพราะ เนือ่ งจากเนือ้ หาบางส่วนทีถ่ กู น�ำเสนอไว้ใน นิ ต ยสารฉบั บ นี้ ก็ เ พื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ งานฉลองนัน้ ๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ดังนัน้ ท่านผูอ้ า่ น อย่าแปลกใจที่มีบางคอลัมน์หายไปและ มีเนื้อหาบางส่วนเพิ่มเข้ามา แม้ว่านิตยสารดอนบอสโกจะได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19 อยูบ่ า้ ง แต่คงไม่มากเมือ่ เทียบกับ อีกหลายชีวติ ทีต่ อ้ งเผชิญกับมรสุมทีห่ นักหน่วง มากกว่า มาตรการต่างๆ ทีใ่ ช้เพือ่ ป้องกัน การแพร่กระจายของโรคท�ำให้หลายธุรกิจ ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จนต้องลดพนักงาน เลิกจ้าง หรือปิดตัวเองลง นอกนัน้ การปิดสถานทีเ่ สีย่ งชัว่ คราว การปิด แคมป์คนงาน การเรียนออนไลน์ การกระจาย วัคซีน ฯลฯ ล้วนมีผลกระทบต่อการด�ำเนิน ชีวติ ของเราทัง้ สิน้ ซึง่ ไม่งา่ ยทีจ่ ะรับมือและ เรียนรู้ที่จะปรับตัว

แต่ ห ากมองในแง่ ดี ในทุ ก วิ ก ฤตมี โอกาสซ่อนอยูเ่ สมอ การระบาดในวงกว้าง ของ โควิด -19 ก็ทำ� ให้ผคู้ นทัว่ โลกได้เห็นถึง ความส�ำคัญของการดูแลตัวเองให้หา่ งไกล จากโรคภัยต่างๆ มากขึน้ รวมถึงในภาครัฐ และภาคธุ ร กิ จ ก็ ต ระหนั ก ถึ ง การต้ อ ง ปรั บ เปลี่ ย นและปรั บ ตั ว เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความยั่งยืนในเชิงรุก เพื่อลดความเสี่ยง ในการการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ ในอนาคตมากขึ้นด้วย ที่ส�ำคัญกว่าก็คือ สถานการณ์ดังกล่าวได้ปลุกจิตส�ำนึกว่า เราทุกคนเป็นพี่น้องกัน เราทุกคนเป็น ครอบครัวเดียวกัน และเราทุกคนอยูใ่ นเรือ ล�ำเดียวกัน จิตส�ำนึกนีท้ ำ� ให้เราไม่สามารถ อยู ่ นิ่ ง เฉยต่ อ หน้ า ความทุ ก ข์ ย ากของ คนรอบข้ า งได้ เราได้ เ ห็ น ถึ ง การให้ ความช่วยเหลือของเพื่อนร่วมชาติ รวมทั้ง จากบรรดาคริสตชนและครอบครัวซาเลเซียน ที่ ยื่ น มื อ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ตามก� ำ ลั ง ความสามารถ ถึงแม้จะดูเล็กน้อยแต่ก็มี คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ ชั่วโมงนี้นิตยสารดอนบอสโกจึงขอส่ง ก� ำ ลั ง ใจและความปรารถนาดี ถึ ง ผู ้ อ ่ า น ให้อยู่รอดปลอดภัยกันทุกคน ขอแม่พระ องค์อุปถัมภ์และคุณพ่อบอสโกคุ้มครอง ทุกท่าน บรรณาธิการ

วัตถุประสงค์ 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การศึกษาอบรม งานอภิบาลเยาวชน การส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ


CONTENTs ภาพจากปก

dbBULLETIN

คุณพ่อโทมัส ณัฐวุฒิ กิจสวัสดิ์ จากแกะสู่ผู้เลี้ยงแกะ

J U LY - A U G U S T 2 0 2 1

ะสู

“จากแก ะ” ก

ผูเลี้ยงแ

ภาพ: สุรพล ประภากมล

2 EDITOR’s NOTE

Salesian World

Youth & Education

4 สารอัคราธิการ

24 เพื่อนนักอบรม

Life

Holiness

คุณพ่อโทมัส ณัฐวุฒิ กิจสวัสดิ์ จาก ‘แกะ’ สู่ ‘ผู้เลี้ยงแกะ’

นักบุญยอแซฟบิดาผู้ใจดี

10

“ยิ่งใหญ่กว่าเนินเขาแห่งมอนเฟราโต” ยุทธการ ทิงนองนอย(ด์) 34 มุมมองสื่อที่ท้าทาย... 6 50 ปี ชุมชนคริสตชน 36 ศาริสา จันทร์แพง วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ พนม #นักแบดหน้าหล่อ บ้านแม่กลางป่า มือวางอันดับ 1 รุ่น U11 ของประเทศไทย

12 สัมภาษณ์

22 ข้ารับใช้พระเจ้าการ์โล เดลลา โตร์เร

26 One Moment in Time

แบบอย่างชีวิตข้ารับใช้พระเจ้า คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร

Fear not, For I am with you

38 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน

จะเลือกอะไรดีนะ ???

คุณพ่อคาร์โล เกรสปี 40 พระพรที่ได้รับ

Faith & Catechesis

News

39 เรื่องมีอยู่ว่า....

10 ความหวัง (ตอนจบ) 16 สวดอย่างไร

ให้ละม้าย คล้ายแม่พระ (7) 30 Lectio Divina ปัสกา โฉมหน้าของโลก (มก 16:15-20)

12

18 Local News 27 ส่องโลกซาเลเซียน

24 36 July-August 2021

3


สารอัคราธิการ Don Ángel Fernández Artime

แปล I สายลมที่พัดผ่าน

ยิ่งใหญ่กว่าเนินเขาแห่งมอนเฟราโต เราทราบดีว่าระบบการศึกษาอบรมของคุณพ่อบอสโกนั้นยังครอบคลุมไปถึงการเดินเที่ยวไปนอกสถานที่ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เพราะเป็นกิจกรรมซึ่งสร้างความคุ้นเคย เป็นโอกาสท�ำความรู้จักกัน น�ำความชื่นชมยินดี และเป็นการเฉลิมฉลอง การเดินทางก็เหมือนกันชีวิตที่ต้องก้าวต่อไปเรื่อยๆ เป็นช่วงเวลาแห่งการสนทนา และสร้างมิตรภาพ และที่ส�ำคัญยังได้สัมผัสถึงประสบการณ์แห่งความดีและค้นพบความหมาย แห่งการอยู่ท่ามกลางเยาวชนของคุณพ่อบอสโก

พ่อจ�ำได้อย่างแม่นย�ำว่า ในช่วงบ่ายของ วันที่ 15 สิงหาคม 2015 เป็นช่วงเวลาที่เรา ก�ำลังเฉลิมฉลอง 200 ปีแห่งชาตกาลของ คุณพ่อบอสโก มีเยาวชนจ�ำนวน 5,200 คน จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมาร่วมชุมนุมเยาวชน ซาเลเซียนระดับโลกในโอกาสนัน้ ในช่วงทีเ่ รา วางแผนกั น เรามี ค วามคิ ด ว่ า จะมี ค วาม เป็นไปได้ไหมส�ำหรับการจัดกิจกรรมการเดิน (Outing) ส�ำหรับเยาวชน 5,200 คน โดยเริม่ จาก ตุรินไปจบที่เนินเขาแห่งเบกกี สถานที่ซึ่ง คุณพ่อบอสโกได้เห็นแสงแรกของเช้าวันใหม่ ซึ่ ง ค� ำ นวณดู แ ล้ ว ระยะทางของการเดิ น ก็ประมาณ 35 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เราตั ด สิ น ใจยกเลิ ก แผนการนี้ เพราะ มั น เป็ น การยากมากที่ จ ะบริ ห ารจั ด การ ให้เยาวชนทุกคนเดินไปพร้อมกันด้วยระยะ ทางไกลเช่นนี้ ในที่สุด เราจึงตัดสินใจที่จะ จัดกิจกรรมบางอย่างที่เรียบง่ายแต่มีความ

4

db Bulletin

เชื่ อ มโยงโดยตรงกั บ ประสบการณ์ ข อง คุ ณ พ่ อ บอสโกและเยาวชนของท่ า นที่ ไ ด้ ร่วมเดินไปด้วยกันในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เรา ได้เริ่มเดินจากคาสเตลนูโอโว ดอนบอสโก ซึ่งเป็นเมืองที่คุณพ่อบอสโกรับศีลล้างบาป และเป็ น เมื อ งหนึ่ ง ในจ� ำ นวนหลายเมื อ ง ซึง่ ท่านได้ไปท�ำพิธบี ชู าขอบพระคุณครัง้ แรก หลังจากการบวชเป็นพระสงฆ์ เราเดินในระยะทาง 8 กิโลเมตร พ่อเห็นว่า เหล่าเยาวชนทีเ่ ดินไปด้วยกันนัน้ หนาตามาก มิหน�ำซ�้ำยังมีฝนห่าใหญ่ที่กระหน�่ำลงมา อย่างไม่สนใจใคร เป็นทีน่ า่ ประทับใจ เพราะ ว่าฝนห่าใหญ่ที่ตกลงมานั้น ไม่สามารถ ยั บ ยั้ ง ความตั้ ง ใจอั น แน่ ว แน่ ข องเยาวชน เหล่านั้นได้เลย พวกเขายังก้าวเดินต่อไป พ่อไม่สามารถหยุดจินตนาการถึงภาพ ของคุณพ่อบอสโกที่ในมือของท่านมีตะกร้า ขนมปังเพือ่ เป็นอาหารเทีย่ งหรืออาหารว่าง ส�ำหรับเด็กๆ ท่านถูกรายล้อมจากพวกเขา และยั ง มี เ สี ย งดนตรี ที่ ถู ก บรรเลงโดย พวกเขาอีก พวกคุณรู้หรือไม่ว่าเบื้องหลังประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นวิสัยทัศน์ที่แฝงไว้ด้วยงดงาม ซึ่ ง สร้ า งคุ ณ ค่ า ให้ กั บ การอบรมและชี วิ ต ฝ่ า ยจิ ต พ่ อ สามารถท� ำ ให้ ค วามคิ ด นี้ ต่อเนื่องไปด้วยการเล่าเรื่อง แต่ในโอกาสนี้ พ่อขอยกเรือ่ งราวทีเ่ ขียนโดยสมาชิกซาเลเซียน ท่านหนึง่ ท่านชือ่ คุณพ่อโยเซฟ มิกเู อล นูเนส ท่ า นเป็ น นั ก เขี ย นที่ มี พ รสวรรค์ ม าก ท่านเขียนว่า... เป็นเวลาหลายปีที่เดียวที่คุณพ่อบอสโก เฉลิมฉลองพระนางมารีย์แห่งสายประค�ำ

ศักดิ์สิทธิ์ที่เบกกีพร้อมกับเด็กๆ ของท่าน ทีต่ ดิ ตามท่านด้วยความชืน่ ชมยินดี ว่าไปแล้ว พวกเขาก็คือเด็กๆ ที่ดีที่สุดในศูนย์เยาวชน ส�ำหรับพวกเขาแล้วการออกมาข้างนอกกับ คุณพ่อบอสโกในช่วงวันหยุดถือเป็นของขวัญ ทีว่ เิ ศษมาก ในช่วงเริม่ ต้นมีเด็กๆ ไม่มากนัก แต่ต่อมาจ�ำนวนก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมี มากกว่า 100 คน จุดหมายปลายทางแรก ที่พวกเขาต้องเดินไปให้ถึงคือดินแดนแห่ง บ้านเกิดและครอบครัวของคุณพ่อบอสโก ณ ที่นั้น โยเซฟ พี่ชายของคุณพ่อบอสโก ได้ต้อนรับเด็กๆ ด้วยความยินดี โยเซฟได้ เตรียมที่หลับที่นอนให้พวกเขาอย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยจัดให้บางคนนอน ที่ยุ้งฉาง บางคนนอนที่คอกม้าบ้าง โยเซฟ พยายามจัดหาสิง่ จ�ำเป็นต่างๆ ให้กบั พวกเขา เป็นอย่างดี แน่นอนว่า มันคงไม่ได้เป็น สถานที่ซึ่งมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกสบาย มากมาย แต่ โ ยเซฟก็ ไ ด้ ต ้ อ นรั บ พวกเขา อย่างดีที่สุด หลังจากนั้นในปี 1858 คุณพ่อบอสโก ได้ตงั้ ชมรมเดินอย่างจริงจัง โดยเดินไปตาม หมู่บ้านต่างๆ ในแคว้นเปียตมอนต์ และ จั ง หวั ด ใกล้ เ คี ย ง คุ ณ พ่ อ บอสโกเองเป็ น ผู้วางแผนการเดินทางและมอบฝากเด็กๆ ของท่ า นไว้ กั บ เหล่ า มิ ต รสหายของท่ า น ตลอดจนผู้มีพระคุณหลายท่านด้วย เป็นที่น่า สังเกตว่า เพียงแค่เหล่ามิตรสหายและผูม้ พี ระคุณ ได้ยินชื่อของคุณพ่อบอสโก พวกเขาก็พร้อม ที่จะต้อนรับเด็กๆ ของคุณพ่อบอสโก ด้วย การเตรียมอาหาร ขนม ผลไม้ ฯลฯ ให้เด็กๆ เหล่านี้เพื่อจะได้มีแรงสู้เดินต่อไป...


ชาวนายังหยุดท�ำงาน

มี ห ล า ย ค ว า ม ท ร ง จ� ำ พ ร ้ อ ม กั บ ประสบการณ์ อั น เลอค่ า มากมายซึ่ ง น� ำ ความยินดีมาสู่เด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่คุณพ่อบอสโกเดินพร้อมกับพวกเขา มีเด็กคนหนึ่งชื่ออัลฟอนซิ เขียนเล่าไว้ว่า “ผมจ�ำการเดินทางเหล่านั้นได้เสมอ เพราะมันเติมเต็มความยินดีและความวิเศษ ในชี วิ ต ของผม ผมออกเดิ น ไปเคี ย งข้ า ง คุณพ่อบอสโกจากเนินเขานี้สู่เนินเขาโน้น เพื่ อ ดื่ ม ด�่ ำ ความงดงามแห่ ง มอนเฟราโต ตั้งแต่ปี 1854 ถึงปี 1860 ช่วงเวลานั้น พวกเรามีกันประมาณ 100 คน พวกเรา ได้เข้าใจว่าเพราะเหตุใด คุณพ่อบอสโกจึง มีชอื่ เสียงเรือ่ งความศักดิส์ ทิ ธิ์ จากการเดินทาง ไปยังหมู่บ้านต่างๆ พวกเราเห็นคุณพ่อ เจ้ า อาวาสหลายท่ า น และบรรดาผู ้ น� ำ ชุมนุมต่างพากันออกมาเพื่อต้อนรับและ พบกับคุณพ่อบอสโก ผูค้ นมากมายสอดส่อง สายตาจากประตูบ้านและหน้าต่างมายัง คุ ณ พ่ อ บอสโก บางคนเดิ น ออกมาอยู ่ ตามถนน แม้ ก ระทั่ ง ชาวนาบางคนยั ง หยุดท�ำงานเพื่อจะได้มาเห็น นักบุญ...” เราทราบดีวา่ ระบบการศึกษาอบรมของ คุ ณ พ่ อ บอสโกนั้ น ยั ง ครอบคลุ ม ไปถึ ง การเดินเทีย่ วไปนอกสถานทีใ่ นช่วงฤดูใบไม้รว่ ง เพราะเป็นกิจกรรมซึ่งสร้างความคุ้นเคย เป็นโอกาสท�ำความรู้จักกัน น�ำความชื่นชม ยินดี และเป็นการเฉลิมฉลอง การเดินทาง ก็ เ หมื อ นกั บ ชี วิ ต ที่ ต ้ อ งก้ า วต่ อ ไปเรื่ อ ยๆ เป็ น ช่ ว งเวลาแห่ ง การสนทนาและสร้ า ง มิตรภาพ และทีส่ ำ� คัญยังได้สมั ผัส ถึ ง ประสบการณ์ แห่ ง ความดี และค้นพบ

ความหมายแห่งการอยู่ท่ามกลางเยาวชน ของคุณพ่อบอสโก ถ้าจะว่าไปแล้ว มันก็เป็น เหมือนกับเวลาที่ผู้น�ำคนหนึ่งร่วมเดินทาง พร้อมกับผู้อื่น เขาผู้นั้นจะพยายามสรรหา ค�ำพูดทีง่ ดงามและใจดีเพือ่ ให้กำ� ลังใจทุกคน เขาผู้นั้นยังพยายามแสดงอากัปกิริยาต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความใกล้ชิด สนิทสนม และ ความเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน เขาจะให้ความ ใส่ ใจเป็ น พิ เ ศษต่ อ บุ ค คลซึ่ ง มี ค วามยาก ล�ำบากในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย เยาวชนได้ รั บ การกระตุ ้ น ให้ มี ค วาม กระตือรือร้นจนพวกเขาแสดงออกผ่านทาง ดนตรีและการเฉลิมฉลอง ซึ่งแน่นอนว่า มั น เป็ น ความยิ น ดี ที่ ไ หลหลั่ ง ลงมาอย่ า ง ท่วมท้นจากก้นบึง้ ของหัวใจ พวกเขามีความสุข ที่ได้ใกล้ชิดกับคุณพ่อซึ่งพวกเขาชื่นชมและ รู ้ บุ ญ คุ ณ เสมอ ประสบการณ์ แ ห่ ง ความ ยิ น ดี นี้ เ ป็ น การเน้ น ย�้ ำ ถึ ง การอบรมที่ มี ประสิทธิภาพของคุณพ่อบอสโก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งภาพของเด็กๆ ที่ก�ำลังเดินไปตาม หมู่บ้านพร้อมกับเครื่องดนตรีหลากหลาย ชนิดที่พวกเขาบรรเลงไปด้วยขณะที่ก�ำลัง เดิ น นั้ น มั น ช่ า งเป็ น ภาพที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ การจ�ำจดมาก

พระเจ้าทรงเดินพร้อมกับพวกเขาด้วย

การสวดภาวนาและการอวยพรศี ล มหาสนิ ท ตามวั ด ต่ า งๆ ในหมู ่ บ ้ า นเป็ น กิจศรัทธาที่มีอย่างสม�่ำเสมอ เพราะสิ่งนี้ ท� ำ ให้ เ ด็ ก ๆ ได้ รั บ การเติ ม เต็ ม ด้ ว ย สิ่งมหัศจรรย์และความยินดี ส�ำหรับคุณพ่อ บอสโกแล้วดูเหมือนว่า หากท่านอยูใ่ นสวรรค์ ท่านก็คงได้รับความยินดีจากรอยยิ้มของ เด็กๆ พร้อมกับการแสดงดนตรีของพวกเขา ความรั ก ของคุ ณ พ่ อ ที่ มี ต ่ อ พวกเขา

Rector Major

ท�ำให้ความไว้วางใจที่พวกเขามีกลับกลาย เป็ น คุ ณ ค่ า อั น ยิ่ ง ใหญ่ คงต้ อ งขอบคุ ณ ประสบการณ์แห่งความเป็นกันเองตลอด การเดินทางที่พวกเขามอบให้กัน และโดย ไม่ รู ้ ตั ว เยาวชนหลายคนยั ง คงเดิ น ทาง ต่อเนื่องไปกับคุณพ่อบอสโกผ่านทางชีวิต และการอุทิศตนของพวกเขาเอง มันเป็น ประสบการณ์ทยี่ งิ่ ใหญ่กว่าการเดินเทีย่ วชม ความงดงามของเหล่าเนินเขาแห่งมอนเฟราโต เสียอีก ในขณะนี้ พ ่ อ ก� ำ ลั ง คิ ด ถึ ง ความส� ำ คั ญ ที่เราจะต้องเชื้อเชิญเยาวชนของเรา ผู้ซึ่ง เป็ น เจ้ า ของแห่ ง โลกดิ จิ ทั ล และดื่ ม ด�่ ำ กับอารยธรรมแห่งโลกดิจิทัล ได้เข้ามามี ประสบการณ์แห่งความมัง่ คัง่ แห่งการพบปะ ส่วนบุคคล (ไม่ได้ผา่ นทางจอโทรศัพท์มอื ถือ) เพื่อจะได้ค้นพบคุณค่าจากการรับฟังซึ่งกัน และกั น หั ว เราะด้ ว ยกั น ส� ำ รวมตั ว ด้ ว ย ความเงี ย บพร้ อ มกั น ในช่ ว งเวลาของ การสวดภาวนา ชื่นชมกับความมหัศจรรย์ ของพระอาทิตย์ที่ก�ำลังลับขอบฟ้า นอกนั้น ยังมาร่วมกันมีประสบการณ์จากการแบ่งปัน ของผู้อาวุโสซึ่งก�ำลังพักผ่อนอยู่ในบั้นปลาย ชีวิต มองดูพวกเขาที่ก�ำลังเดินก้าวผ่านไป พวกเขาซึ่ ง ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ได้ อ ย่ า งเกิ ด ผล อย่างมั่งคั่งมาแล้ว ขอบคุณพระเจ้า พ่อขอทิง้ ท้ายจดหมายนีด้ ว้ ยถ้อยค�ำจาก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสที่ประทาน ให้ กั บ สมาชิ ก ซาเลเซี ย นในช่ ว งเวลาของ การประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะ “พ่อชอบ คิดว่า เรายังมีศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่จะฝัน และช่วยผู้อื่นให้ฝันด้วย” ขอพระเจ้าอวยพรให้ทุกท่านมีความสุข คุณพ่ออังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม

July-August 2021

5


50 ปี ชุมชนคริสตชนวัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ พนม

text: กุหลาบป่า

บ้านแม่กลางป่า บนคาบสมุทรภาคใต้ระยะทางยาว 1000 กิโลเมตร จากเหนือสุดหัวหิน ถึงใต้สุดเบตง ส่วนความกว้าง 100 กิโลเมตร จากฝั่งทะเลอ่าวไทย ถึงฝั่งอันดามัน จุดกึ่งกลางอยู่ที่กลางป่า โอบล้อมด้วยขุนเขาและธารน�้ำ จากเทือกเขาสกและธารน�้ำ น้อยใหญ่ที่ไหลสู่แม่น�้ำตาปี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผืนป่าแห่งนี้รอคอยการส�ำรวจ เมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว แม่พระองค์อุปถัมภ์ ได้เลือกพร้อมกับชี้น�ำให้คณะส�ำรวจ ได้พบ และธรรมทูตซาเลเซียนได้ก่อตั้งชุมชน พัฒนาและอภิบาลมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นชุมชนคริสตชน “วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์” ในวันนี้ หลังจากการสถาปนาสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ซึ่งแยกจากสังฆมณฑล ราชบุรีแล้ว คณะส�ำรวจได้พบที่ดินที่เหมาะจะก่อตั้งชุมชนใหม่ “O.K. ที่นี่จะเป็น ที่ของแม่พระองค์อุปถัมภ์”


ตัดถนนและมอบสะพาน

วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1969 ฯพณฯ เปโตร คาเร็ตโต คุณพ่อเปโตร เยลลิชี คุณพ่อ เดลฟีโน เกรสปี นายสมุทร สิริติกิจ นายอ� ำ นวย ว่ อ งประชานุ กู ล นายวิ รั ต น์ (เซ่ ) กิ จ เจริ ญ นายประจวบ ตุ้มเปาะ และคนอื่นๆ อีกรวม 16 คน เดินทางไป ถึงค่ายที่พักชั่วคราวที่บางปริก และต่อมาก็ได้เดินดูพื้นที่ เพื่อ จะได้ตัดสินใจว่าจะมาอยู่หรือไม่ วันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1970 เป็นวันประวัติศาสตร์ส�ำหรับนิคมเกษตรแม่พระองค์อุปถัมภ์ คุ ณ พ่ อ เยลลิ ชี คุ ณ พ่ อ เกรสปี น� ำ ชุ ด ผู ้ บุ ก เบิ ก ไปอยู ่ ป ระจ� ำ วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1970 มีอีก 40 คน ไปพักที่ค่ายชั่วคราว เย็นวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1970 คุณพ่อถวายพิธบี ชู าขอบพระคุณ ครั้ ง แรก ส� ำ หรั บ ชาวบ้ า นจ� ำ นวนมาก เป็ น วั น เริ่ ม ต้ น ของ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์โดยมีคุณพ่อเดลฟีโน เกรสปี เป็นเจ้าอาวาส องค์แรก เมื่ อ เริ่ ม เข้ า ไปอยู ่ ใ นพื้ น ที่ ชาวบ้ า นต้ อ งเผชิ ญ กั บ ปั ญ หา การเดินทาง ฝนตกหนัก ต้องการถนน และสะพานข้ามคลอง คุ ณ พ่ อ มั ช ชี มี ลี อ าโน โกมิ เ อโร ได้ ช ่ ว ยโครงการท� ำ ถนน เข้ า ในนิ ค ม และสร้ า งสะพาน จนมี ร ถประจ� ำ ทางเดิ น ทุกวัน จากนิคมเกษตรฯ ถึงตลาดอ�ำเภอพุนพินวันละ 1 เที่ยว

เริ่มเปิดโรงเรียน

ก่อตั้งโรงเรียนในปีการศึกษา 2515 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 1972 ฯพณฯ เปโตร คาเร็ตโต เป็น ประธานในพิ ธี เ ปิ ด โรงเรี ย น “โรงเรี ย นอุ ป ถั ม ภ์ วิ ท ยาพนม” มีนักเรียนจ�ำนวน 89 คน ในระยะแรกๆ นั้นไม่สามารถจัดหา ครู ท� ำ การสอนได้ พ อเพี ย ง เนื่ อ งจากอยู ่ ห ่ า งไกลความเจริ ญ การคมนาคมไม่สะดวก คุณพ่อจึงหาชาวบ้านทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ พอที่ จ ะบรรจุ เ ป็ น ครู ท� ำ การสอนเรี ย นได้ ไ ด้ บ รรจุ เข้ า เป็ น ครู ในโรงเรียนดังนี้ ครูพัทยา ทนุผล เป็นครูใหญ่ ครูไพโรจน์ ทนุผล เป็ น ผู ้ จั ด การ ครู บุ ญ ส่ ง แซ่ เ ล้ า และครู ชาติ ชาย อาจณรงค์ เป็นครูผู้สอน กลุ่มสัตบุรุษยุคแรก

July-August 2021

7


ซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมล ของพระแม่มารีย์

ซิสเตอร์ได้มาอยู่ประจ�ำในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 เป็นก�ำลังส�ำคัญของวัดในการบริหารโรงเรียนและรักษาพยาบาล โดยมี ซิสเตอร์อากาทา ประไพ ทศไพสนธิและซิสเตอร์ลัดดา ทศไพสนธิ เป็นกลุ่มแรก

วัดใหญ่กลางป่า

ความฝั น ของคุ ณ พ่ อ เกรสปี ที่ จ ะมี วิ ห ารถวายแด่ แ ม่ พ ระ องค์อุปถัมภ์กลายเป็นความจริง เมื่อ ฯพณฯ เปโตร คาเร็ตโต ตั้ ง ใจที่ จ ะสร้ า งวั ด นี้ เ ป็ น อนุ ส รณ์ โ อกาส 50 ปี งานธรรมทู ต คณะซาเลเซี ย นในประเทศไทย เดื อ นมกราคม ค.ศ. 1982 มีการเตรียมลานกว้างเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้าง ในวันที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ.1982 ชาวบ้านก็ได้ลงมือก่อสร้างวัดด้วยน�้ำพัก น�้ำแรงของตนเอง มีพิธีเสกและเปิดวัดใหม่ ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 คุณพ่อปราโมทย์ รุจเิ กียรติกำ� จร ได้ดำ� เนินงานตบแต่งรายละเอียด ภายในวัดและบริเวณโดยรอบ นอกนั้นยัง ท�ำโครงการอื่นๆ เช่น ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ สุกรและไก่ เพื่อเสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้าน เปิ ด ตลาดนั ด และยั ง เอาใจใส่ พั ฒ นาการศึ ก ษาในโรงเรี ย น เป็นพิเศษ ค.ศ. 1986 คุณพ่อยอห์น ตามาโย เป็นเจ้าอาวาส ระยะเวลา 10 ปี ที่คุณพ่อยอห์น ตามาโย เป็นเจ้าอาวาส ชุมชนเจริญเติบโต ในหลายด้าน การสร้างถนนจากพนมจนถึงเขาต่อและทับปุด ช่วยให้การคมนาคมสะดวกและมีผคู้ นผ่านหมูบ่ า้ นทับคริสต์มากขึน้ ท�ำให้ชาวบ้านสามารถขายของทีต่ ลาดนัดได้มากขึน้ ด้านการศึกษา คุณพ่อได้ขยายโรงเรียนอุปถัมภ์วิทยาพนม เปิดชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ท�ำให้นักเรียนเพิ่มจ�ำนวนจาก 250 เป็น 700 คน คุณพ่อได้เอาใจใส่อบรมชาวบ้าน สอนอ่านพระคัมภีรต์ ามนโยบาย ของสังฆมณฑล ส่งเสริมการอ่านพระวาจาตามบ้าน ท�ำให้วดั พนม เป็นวัดน�ำร่องวัดหนึ่งในการแบ่งปันพระวาจา ก่อตั้งกลุ่มเพื่อน ซาวีโอ และส่งเสริมกลุม่ เยาวชน เริม่ โครงการส่งเสริมชีวติ ครอบครัว ซึ่งกลุ่มนี้ ก็ได้แพร่ขยายไปถึงบ้านดอน ชุมพร บ้านแสงอรุณ หัวหิน ระนอง และหาดใหญ่ด้วย

อารามกลาริส กาปูชิน

วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1987 มีการวางศิลาฤกษ์เพือ่ เปิดอาราม กลาริส กาปูชิน โดยพระสมณฑูต Alberto Tricarico และ ในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 คุณแม่โยวันนา กาเตลลานี ได้น�ำซิสเตอร์ 8 ท่านจากอารามบ้านแสงอรุณมาประจ�ำอยู่ ทีอ่ าราม “พระแม่แห่งปวงเทวา” เพือ่ รับใช้พระเจ้าและพระศาสนจักร ด้วยการอุทิศตนภาวนา ให้ชาวบ้านพึ่งพาอาศัยค�ำภาวนาขอ พระพรต่างๆ ที่เขาต้องการ ปัจจุบันอารามแม่พระแห่งปวงเทวา มีสมาชิก 16 ท่าน

8

db Bulletin

อารามกลาริสกาปูชิน

เสกวัดใหม่

ซิสเตอร์กาปูชิน

การพัฒนาและอภิบาลอย่างต่อเนื่อง

ในปี ค.ศ. 1994-1995 คุณพ่อตามาโย จัดกิจกรรมฉลอง 25 ปีของหมู่บ้านทับคริสต์เพื่อเป็นเกียรติแด่บรรดาคุณพ่อ และ ฆราวาสที่บุกเบิกหมู่บ้าน ปี ค.ศ. 1996 คุณพ่อแพทริก มัชโชนี เป็นเจ้าอาวาส ได้สนับสนุนโครงการพัฒนาการเกษตรโดยคณะ แมรี่โนลด์ ปี ค.ศ. 2001 ก่อสร้างบ้านคุณพ่อเจ้าอาวาสใหม่ ให้ชอื่ ว่า “บ้านคุณพ่อเกรสปี” เพือ่ ความสะดวกในการประชุมและ จัดกิจกรรมอื่นๆ ด้วย ปี ค.ศ. 2002 คุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม เป็นเจ้าอาวาส ได้พัฒนา องค์กรคาทอลิกต่างๆ พลมารีย์ วินเซน เดอ ปอล กลุ่มส่งเสริม ชีวิตครอบครัว กลุ่มเยาวชน โดยจัดประชุม จัดอบรม หรือส่ง เข้ า ร่ ว มการอบรมต่ า งๆ ที่ สั ง ฆมณฑลจั ด ขึ้ น อย่ า งสม�่ ำ เสมอ ได้น�ำแผนอภิบาลของสังฆมณฑลไปปฏิบัติในชุมชนจนเกิดผล ชัดเจน ปี ค.ศ. 2004 คุณพ่อแอนโทนี่ มิเอเล เป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อให้ความส�ำคัญกับผูป้ ว่ ยและ ผูอ้ าวุโส ด้วยการไปเยีย่ มเยียน และโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างสม�่ำเสมอ ปี ค.ศ. 2013 คุณพ่อแทรี่ ตาไปย์ เป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อ ตาไปย์เป็น 1 ในบุคลากร 4 ท่าน ที่ พระคุณเจ้าประพนธ์ ชัยเจริญ เคยส่งไปอบรมเกีย่ วกับการให้สตั บุรษุ ให้มสี ว่ นร่วมในงานอภิบาล ตามวิสัยทัศน์ของสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1991 ซึ่งปัจจุบันพระศาสนจักรเรียกร้องและสนับสนุน คุ ณ พ่ อ จึ ง น� ำ มาปรั บ ใช้ ใ นงานอภิ บ าลชุ ม ชน โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากฝ่ า ยอภิ บ าล และฝ่ า ยสั ง คมพั ฒ นา ของสังฆมณฑล ในการจัดอบรมผู้น�ำฆราวาส ท�ำแผนที่ชุมชน


บิชอปประพนธ์และสัตบุรุษ

บิชอปประธานและสัตบุรุษ

โมทนาคุณพระเจ้า

บ้านคุณพ่อเกรสปี

เยี่ยมสัตบุรุษ

วันโมทนาคุณ

เพื่ อ ช่ ว ยในการออกเยี่ ย ม จั ด ฉลองเขต ศึ ก ษาและแบ่ ง ปั น พระวาจา การติ ด ตามแก้ ป ั ญ หาของคู ่ ส มรสที่ ไ ม่ ไ ด้ แ ต่ ง งาน อย่างถูกต้องตามจารีตของพระศาสนจักร กิจกรรมเหล่านี้เป็น พื้นฐานในการก�ำหนดแผนอภิบาลของวัดต่อไป

สักการสถาน

วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2002 พระคุณเจ้าไมเกิ้ล ประพนธ์ ชัยเจริญ ร่วมประชุมชี้แจงกับสมาชิกสภาอภิบาลท�ำให้วัดของเรา เป็นสักการสถาน ด้วยโครงการใหญ่ 3 โครงการ คือ 1) การ ประดิ ษ ฐานรู ป พระทรมาน 14 สถาน บนเนิ น เขาหลั ง วั ด โดยจะจัดท�ำรูปปั้นขนาดเกือบเท่าคนจริงท�ำด้วยไฟเบอร์ลายไม้ สถานละ 3-4 รูป ประดิษฐานตามจุดต่างๆ ตั้งแต่ด้านล่าง ขึ้นไปจนถึงยอดเนิน 2) การปรับปรุงภายในวัด ซึ่งจะเน้นรูป แม่พระองค์อุปถัมภ์ และความส�ำคัญของประธาน พระแท่น และ ที่ประกาศพระวาจา 3) การฟื้นฟูชีวิตคริสตชน โดยจัดพิธีกรรม ให้สง่า เรียบร้อย และชวนศรัทธา ส่วนในชุมชนจัดกลุ่มสวด ภาวนา โดยเน้นการ อ่าน ร�ำพึง และแบ่งปันพระวาจา ส่งเสริม ความศรัทธาต่อแม่พระองค์อุปถัมภ์ให้มาก จัดเฝ้าศีล จัดแห่ แม่พระให้สง่า ฯลฯ เพื่อเป็นให้วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์แห่งนี้ เป็นสักการสถานที่สมบูรณ์ สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีจึงจัดสร้าง และประดิ ษ ฐานรู ป พระมหาทรมาน 14 สถาน บนเนิ น เขา หลังวัดใช้เป็นสถานที่ร�ำพึง พระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า รู ป ปั ้ น เหล่ า นี้ ติ ด ตั้ ง บนภู เ ขาเสร็ จ สมบู ร ณ์ ทั้ ง 14 สถาน เมื่อปี ค.ศ. 2006

การถวายผลิ ต ผลแรกเป็ น ข้ อ ก� ำ หนดเกี่ ย วกั บ พิ ธี ก รรม ในพันธสัญญาเดิม ซึ่งโมเสสรับพระวาจาจากพระเจ้ามาประกาศ ให้ ป ระชากรอิ ส ราเอลปฏิ บั ติ ต าม แผ่ น ดิ น ที่ เขาจะเข้ า ไปอยู ่ เป็นแผ่นดินทีพ่ ระเจ้าสัญญาจะประทานให้ ผลิตผลแรกจากแผ่นดิน เป็ น ของพระเจ้ า การถวายผลิ ต ผลแรกเป็ น เครื่ อ งหมายว่ า เขาขึ้ น กั บ พระเจ้ า เขากตั ญ ญู รู ้ คุ ณ ที่ พ ระองค์ ท รงดู แ ลชี วิ ต ของพวกเขา ประทานสิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับชีวิต เมื่อเริ่มชุมชนคริสตชนแม่พระองค์อุปถัมภ์ ผืนดินแห่งนี้ ยังเป็นป่า เมื่อได้รับการจัดสรรที่ดินแล้ว ทุกคนก็ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันบุกเบิก หักร้างถางพง พลิกฟืน้ ผืนดินให้สามารถเพาะปลูกได้ ครั้นเก็บพืชผลได้แล้ว ก็ได้ก�ำหนดให้มีวันโมทนาคุณพระเจ้าและ แม่พระองค์อปุ ถัมภ์ โดยทุกครัวเรือนจะน�ำผลผลิตทีด่ ที สี่ ดุ มาถวาย ครอบครัวใดที่ไม่มีพืชผลในช่วงนั้น ก็ออกไปหาของป่าที่ดีที่สุด เท่าที่จะหาได้มาถวาย หลังจากนั้นก็เริ่มปลูกไม้ยืนต้นที่เป็นพืช เศรษฐกิจ เช่น ส้มเขียวหวาน เงาะ ทุกเรียน มังคุด ลองกอง ปัจจุบันบางครอบครัวได้เปลี่ยนไปปลูกยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ดังนั้นในวันโมทนาคุณก่อนฉลองวัด ทุกครอบครัวจะน�ำผลผลิต ที่ดีที่สุดมาถวาย เพื่อแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณต่อพระเจ้าและ แม่พระองค์อุปถัมภ์ เป็นกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ต่างแสดงน�้ำใจน�ำผลผลิตของตนมาแบ่งปัน แสดงความสามารถ ในการจั ด ตกแต่ ง สถานที่ เตรี ย มการแสดงบนเวที อ�ำนวย ความสะดวกในการจัดสรรหลังจากพิธเี สก หัวใจของกิจกรรมนีค้ อื ขอบคุณพระเจ้า การภาวนา สรรเสริญและขอบพระคุณ

ระลึกคุณ

ตลอด 50 ปีทผี่ า่ นมา ชุมชนคริสตชนแม่พระองค์อปุ ถัมภ์สำ� นึก ในพระเมตตาของพระเจ้ า พร้ อ มทั้ ง การดู แ ลเอาใจใส่ ข อง คุณพ่อเจ้าอาวาส คุณพ่อเดลฟีโน เกรสปี คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ คุณพ่อปราโมทย์ รุจิเกียรติก�ำจร คุณพ่อยอห์น ตามาโย คุณพ่อ แพทริก มัชโชนี คุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม คุณพ่อแอนโทนี่ มิเอเล คุณพ่อแทรี่ ตาไปย์ รวมถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาส บรรดาซิสเตอร์ คณะผูร้ บั ใช้ฯ และผูร้ ว่ มงานอภิบาลทุกท่าน ทีม่ สี ว่ นช่วยให้ชมุ ชนนี้ เจริญเติบโตขึ้นเป็นบ้านของแม่พระอย่างสง่างาม บนถนนลาดยางสาย 415 เชื่อมต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับ จังหวัดกระบี่ เลยมา 15 กิโลเมตร ผู้คนผ่านไปมาจะสะดุดตากับ กางเขนยอดวัด ยอดหอระฆังที่โดดเด่นเสียดฟ้าตัดกับยอดไม้ ฉากหลังทีย่ งั เป็นเนินเขาอุดมด้วยป่าไม้เขียวชอุม่ ประกาศตัวว่าทีน่ ี่ พระเจ้าประทับอยูก่ บั ลูกๆ ของพระองค์ภายใต้การปกป้องคุม้ ครอง ของแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ และพร้อมจะต้อนรับทุกคนทีเ่ ข้ามาพึง่ พา พระแม่ในผืนดินแห่งพระสัญญาที่อุดมสมบูรณ์นี้ July-August 2021

9


ความหวัง โดย คุณพ่อฟรังซิส ไกส์

ความหวัง อะไรเป็นแหล่งที่มาของความหวัง

ก) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงท�ำให้เรา รูจ้ กั พระเจ้า “การรูจ้ กั พระเจ้าเทีย่ งแท้หมายถึงการได้รบั ความหวัง” (Spe Salvi, ข้อ 3) คือค้นพบพระเจ้าในฐานะทรงเป็นพระบิดา ผูพ้ ระทัยดีและเมตตากรุณา ทรงเป็นพระเจ้าองค์ความรักทีพ่ ระเยซูเจ้า ทรงเปิดเผยด้วยการรับธรรมชาติมนุษย์ พระชนมชีพบนแผ่นดิน การเทศน์สอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสิ้นพระชนม์และการ กลับคืนพระชนมชีพ ความหวังแท้จริงและมัน่ คงมีพนื้ ฐานบนความเชือ่ พระเจ้าผู้ทรงรักและทรงเป็นพระบิดาผู้ทรงพระเมตตากรุณา ผู้ “ทรงรักโลกอย่างมากจึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียว ของพระองค์” (ยน 3:16) ดังนั้น ความหวังของคริสตชนจึงมี ความหมายเท่าเทียบกับความเชื่อ เพราะเหตุผล 2 ประการคือ 1)“ความเชือ่ คือความมัน่ ใจในสิง่ ทีเ่ ราหวังไว้ เป็นข้อพิสจู น์ถงึ สิ่ ง ที่ ม องไม่ เ ห็ น ” (ฮบ 11:1) “ความเชื่ อ เป็ น สารั ต ถะของ ความหวัง” (Spe Salvi, ข้อ 10) 2)“วิกฤตการณ์ของความเชื่อในยุคปัจจุบัน เหนือสิ่งอื่นใด เป็นวิกฤตการณ์ความหวังของคริตชน” (Spe Salvi, ข้อ 17) ข) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงท�ำให้เรา เป็นคนอิสระอย่างแท้จริง พระคริสตเจ้า “ตรัสกับเราว่า จริงๆ แล้ว มนุษย์เป็นผู้ใดและต้องท�ำอะไรเพื่อเป็นมนุษย์แท้จริง...พระองค์ ยังทรงชี้หนทางหลังความตายให้เรารู้” (Spe Salvi, ข้อ 6) ค) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผูท้ รง “ถ่ายทอด สารัตถะของสิ่งที่เป็นในอนาคตแก่เรา ดังนั้น การรอคอยพระเจ้า มีความแน่ใจใหม่ เป็นการรอคอยสิ่งที่จะเป็นไปในอนาคตจาก มุมมองของปัจจุบันที่ถูกมอบไว้ให้แล้ว เป็นการรอคอยเฉพาะ พระพักตร์พระคริสตเจ้าและพร้อมกับพระคริสตเจ้าผู้ประทับอยู่ ให้พระวรกายของพระองค์สมบูรณ์ เพราะเห็นแก่เราเสด็จมา อย่างรุ่งโรจน์ของพระองค์ครั้งสุดท้าย” (Spe Salvi, ข้อ 9) ง) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้มอบชีวิต นิรันดรแก่เรา

10

db Bulletin

(ตอนจบ)

ความหวังของคริสตชนต่อต้านสิ่งใด

ก) ความหวังของคริสตชนต่อต้านอเทวนิยมของศตวรรษ ที่ 19 – 20 ซึ่งท�ำให้ “การประท้วงต่อต้านความยุติธรรมต่างๆ ในโลก” กลับเป็น “การประท้วงต่อต้านพระเจ้า อย่างไรก็ตาม “ถ้าต่อหน้าความทุกข์ทรมานของโลกนี้ การประท้วงต่อต้าน พระเจ้าเป็นสิง่ ทีเ่ ข้าใจได้ ค�ำกล่าวอ้างสิทธิทวี่ า่ มนุษยชาติสามารถ ท�ำและต้องท�ำสิง่ ทีพ่ ระเจ้าไม่ทรงสามารถท�ำและไม่ทรงมีอำ� นาจ ในตัวมันเอง มิใช่เป็นเรื่องบังเอิญที่ความคิดแบบนี้ได้น�ำไปสู่ ความโหดร้ายและการละเมิดความยุตธิ รรมยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ เพราะความคิด นี้พื้นฐานบนความไม่เป็นจริงในตัวมันเองของการอ้างสิทธินี้” (Spe Salvi, ข้อ 42) ข) ความหวังของคริสตชนต่อต้านลัทธิมาร์กซิสต์ ซึง่ สอนเรือ่ ง การปกครองแบบเผด็ จ การของชนชั้ น กรรมมาชี พ ลั ท ธิ นี้ ไ ด้


“ทิ้งร่องรอยความพินาศน่าตระหนกยิ่งไว้เบื้องหลัง” เพราะ “ลืมมนุษย์และลืมอิสรภาพของมนุษย์...มาร์กซ์คิดว่าเมื่อจัดการ ให้เศรษฐกิจลงตัวแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเข้าที่เข้าทางของมัน ได้เองโดยอัตโนมัติ ความผิดพลาดแท้จริงของเขาคือ เรื่องลัทธิ วัตถุนิยมนั่นเอง ที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เป็นเพียงผลผลิตจาก เงื่อนไขของเศรษฐกิจและเป็นไปไม่ได้ที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น เพียงจากสิ่งภายนอกเท่านั้น โดยวิธีสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อ อ�ำนวยทางเศรษฐกิจ” (Spe Salvi, ข้อ 20,21) ค) ความหวังของคริสตชนต่อต้าน “ความเชือ่ ในความก้าวหน้า เป็นความหวังใหม่ของมนุษย์” (Spe Salvi, ข้อ 20) ซึง่ จินตนาการ ขึ้นมาเป็นการควบคุมธรรมชาติยิ่งที่ยิ่งมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ ห ลงเชื่ อ ว่ า ตนจะได้ รั บ ความรอดพ้ น จากทาง วิทยาศาสตร์ และได้จ�ำกัดความเชื่อแล้วความหวังในขอบเขต ส่วนตัวของแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้นเสมอ คริสตชนต้องก�ำจัด “ความก�ำกวมของความก้าวหน้า” คือความก�ำกวมที่มาจาก สาเหตุที่ความก้าวหน้า “อาจเปิดโอกาสใหม่ๆ เพื่อท�ำความดี แต่ในเวลาเดียวกัน ยังเปิดโอกาสให้ท�ำความชั่วร้ายอย่างน่ากลัว อีกด้วย” (Spe Salvi, ข้อ 22) เขาจ�ำเป็นต้องท�ำเช่นนี้โดย • มีการเจริญเติบโตของชีวิตภายในเพื่อมนุษย์จะได้ก้าวหน้า

ในด้านศีลธรรมคือ “ถ้าความก้าวหน้าทางวิทยาการไม่สอดคล้อง กับความก้าวหน้าในการอบรมมนุษย์ให้มีศีลธรรม ในการเจริญ เติบโตภายในของมนุษย์แล้ว (เทียบ อฟ 3:16 ; 2 คร 4:16) ความก้าวหน้านั้นไม่เป็นความก้าวหน้าเลย แต่กลับเป็นการ คุกคามมนุษย์และโลก” (Spe Salvi, ข้อ 22) • มีเหตุผล “ซึง่ เป็นของประทานยิง่ ใหญ่ทพี่ ระเจ้าทรงมอบแก่ มนุษย์” ต้องเปิดใจรับความเชือ่ เพราะมนุษย์ลมื ไม่ได้วา่ “ชัยชนะ ของเหตุผลเหนือสิ่งที่ไร้เหตุผลก็เป็นจุดมุ่งหมายของความเชื่อ คริสตชนอีกด้วย” (Spe Salvi, ข้อ 23) • “วิทยาศาสตร์อาจช่วยได้มากในการท�ำให้โลกและมนุษย์ มีความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ถึงกระนั้น วิทยาศาสตร์ก็อาจท�ำลาย มนุษย์และโลกได้ด้วย ถ้าไม่ถูกบังคับทิศทางโดยพลังอ�ำนาจจาก ภายนอก...ไม่ใช่วทิ ยาศาสตร์ทไี่ ถ่กมู้ นุษย์ มนุษย์ได้รบั การกอบกู้ จากความรั ก ...มนุ ษ ย์ ต ้ อ งการความรั ก แบบไม่ มี เ งื่ อ นไข เขาต้องการความคายหรือชีวติ ไม่วา่ ทูตศวรรค์หรือผูม้ อี ำ� นาจปกครอง ไม่วา่ ปัจจุบนั หรืออนาคต ไม่วา่ ฤทธิอ์ ำ� นาจใดหรือความสูง ความลึก ไม่ มี ส รรพสิ่ ง ใดๆ จะพรากเราได้ จ ากความรั ก ของพระเจ้ า ซึง่ ปรากฏในพระคริสตเยซู องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าของเรา” (รม 8:38 – 39) ถ้าความรักสมบูรณ์นี้มีอยู่จริงอย่างแน่นอนแล้ว เวลานั้นเท่านั้น ทีม่ นุษย์จะได้การกอบกู้ ไม่วา่ จะเกิดอะไรขึน้ กับเขาในกรณีเฉพาะ เจาะจงของตน นี่คือความหมายเมื่อเราพูดว่า พระคริสตเจ้า ทรงกอบกู้เรา” (Spe Salvi, ข้อ 24 – 26) ง) ความหวังของคริสตชนต่อต้านความสิน้ หวังและความวิตก กังวลในปัจจุบนั ซึง่ สรุปได้ในถ้อยค�ำทีจ่ ารึกไว้บนหินฝังศพโบราณ ในศตวรรษแรกๆ ของคริสต์ศาสนาว่า “ในความว่างเปล่า เราตกไปอยู่ในความว่างเปล่า อย่างรวดเร็วเหลือเกิน” (In nihil ab nihilo quam cito recidimus) (Spe Salvi, ข้อ 2) จ) ความหวังของคริสตชนต่อต้านรูปแบบหนึง่ ของคริสตศาสนา สมัยใหม่ ซึ่ง “จ�ำกัดความสนใจส่วนใหญ่ไว้กับปัจเจกบุคคลและ ความรอดพ้นของตน” (Spe Salvi, ข้อ 25) ท�ำให้ “ความหวัง ทางพระคั ม ภี ร ์ เ กี่ ย วกั บ พระอาณาจั ก รของพระเจ้ า ถู ก แทนที่ โดยความหวังเกี่ยวกับอาณาจักรของมนุษย์ และโดยความหวัง เกีย่ วกับโลกทีด่ กี ว่า ซึง่ จะเป็น “พระอาณาจักรของพระเจ้า” ทีแ่ ท้จริง ในเรื่องนี้ แม้เราต้องยอมรับว่ารูปแบบนี้ของคริสตศาสนาคงให้ การอบรมมนุษย์และดูแลเอาใจใส่ผอู้ อ่ นแอและผูท้ นทุกข์ทงั้ หลาย อย่างมาก ก็ยงั ต้องตัง้ ค�ำถามทีว่ า่ “แล้วเมือ่ ไหร่จงึ จะมีโลกทีด่ กี ว่านีเ้ ล่า อะไรท�ำให้โลกนี้ดี มีมาตรการอะไรที่เราใช้ตัดสินว่าโลกนี้ดี อะไรเป็นทางน�ำไปสู่โลกที่ดี (Spe Salvi, ข้อ 30) July-August 2021

11


จากแกะสู่ผู้เลี้ยงแกะ Text : MR.OK

คุณพ่อโทมัส ณัฐวุฒิ กิจสวัสดิ์

จากเด็ ก ต่ า งจั ง หวั ด อดี ต เด็ ก ศู น ย์ เ ยาวชน ดอนบอสโก มาสู่เส้นทางแห่งการเป็นซาเลเซียนสงฆ์ ณ นาทีนี้ คุณพ่อโทมัส ณัฐวุฒิ กิจสวัสดิ์ (พ่อป้อ) คื อ พระสงฆ์ ห นุ ่ ม คนล่ า สุ ด ของคณะซาเลเซี ย น ในประเทศไทย ผู้ ได้เดินตามเสียงเรียกของพระเจ้า ตั้งแต่อายุ 12 ปี... บทสัมภาษณ์นี้น่าจะท�ำให้ใครหลายคนรู้จัก เข้าใจ และรักชายคนนีม้ ากขึน้ ไม่ใช่ในฐานะพระสงฆ์ใหม่ เท่านั้น แต่ในฐานะที่เป็นแกะตัวหนึ่งซึ่งเดินติดตาม เสียงของผู้เลี้ยงแกะที่ดี และเมื่อเขาท�ำตามสุรเสียง ของพระองค์ ท� ำ ให้ เ ขาได้ รั บ พั น ธกิ จ ในการเป็ น ผู ้ เ ลี้ ย งแกะด้ ว ยตั ว ของเขาเอง ไม่ ใ ช่ แ ทนที่ “The Good Shepherd” แต่โดยการเป็นหุ้นส่วน และผู้ร่วมงานกับ “The Good Shepherd” ไม่ขอขยายความมากไปกว่านี้ เชิญคุณผูอ้ า่ น ค่ อ ยๆ เติ บ โตตามเส้ น ทางชี วิ ต และสั ม ผั ส วิ ธี คิ ด ฉบับคุณพ่อณัฐวุฒิ กิจสวัสดิ์ ได้ตามอัธยาศัย


01 จุดเริ่มต้นและความทรงจ�ำ เด็กชายป้อ หนุ่มน้อยจากสามพราน เมือ่ นึกย้อนอดีต สมัยทีย่ งั เป็นเด็กชายป้อ คุณพ่อบอกกับเราว่า “ภาพแรกที่ นึ ก ขึ้ น ได้ ก็ คื อ ภาพของเด็ ก ชายคนหนึ่ ง ที่ เ ติ บ โต ในครอบครัวเล็กๆ ในซอยชุมชนคลองไหหล�ำ สามพราน โดยมี คุณยายและคุณแม่ทเี่ ป็นคนเลีย้ งดูและคอยปลูกฝังความเชือ่ คริสตชน” ชีวติ วัยเด็กของคุณพ่อไม่ได้แตกต่างไปจากเด็กทัว่ ไปทีเ่ ล่นซุกซน และผูกพันกับแม่และยายอย่างลึกซึง้ คุณพ่อเติบโตมาในบรรยากาศ แบบคริสตชนที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง “ผมชอบวิง่ เล่นอยูต่ ามเล้าหมูทบี่ า้ น และบางครัง้ บางคราวก็ปน่ั จักรยานคูใ่ จไปรอบๆ บริเวณนัน้ ต่อมา ผมได้ยา้ ยบ้านมาอยูใ่ กล้วดั นักบุญเปโตรท�ำให้มีโอกาสไปวัดทุกๆ วันอาทิตย์ เพราะเดิน เพียงแค่ 2 นาที ก็ถึงวัดแล้ว”

ความรักใจดีเป็นเหตุ เมือ่ ถามถึงทีม่ าทีไ่ ปของความคิดทีอ่ ยากจะเป็นพระสงฆ์ คุณพ่อ เล่าให้เราฟังว่า “ตัง้ แต่ชนั้ ป.3 อายุราวๆ 8 ปี ผมได้ไปร่วมกิจกรรม ของศูนย์เยาวชนดอนบอสโก สามพราน ทุกๆ วันอาทิตย์ ตามค�ำแนะน�ำ ของคุณพ่อสามัคคี ชัยพระคุณ (คุณพ่อลุง) ที่นั่น ผมได้รู้จักกับ นักบุญยอห์น บอสโก ได้พบกับบรรดาคุณพ่อและบราเดอร์ซาเลเซียน ซิสเตอร์ซาเลเซียน ซิสเตอร์คณะผูร้ บั ใช้ฯ ซิสเตอร์คณะพระแม่มารีย์ และสมาชิกในครอบครัวซาเลเซียนทีท่ ำ� งานทีศ่ นู ย์เยาวชนฯ แบบอย่าง ของความรักและความใจดีของพวกท่านเหล่านั้นซึ่งผมได้สัมผัส ทุกๆ วันอาทิตย์ เป็นดังแบบอย่าง แรงจูงใจ และผมเชื่อว่าเป็นดัง จุ ด เริ่ ม ต้ น ของกระแสเรี ย กซาเลเซี ย นของผม ที่ ท� ำ ให้ ผ มมี ความรู้สึกอยากที่จะเป็นซาเลเซียนเหมือนกับพวกท่านเหล่านั้น” ด้วยความเชือ่ มัน่ ในกระแสเรียกและความอยากทีจ่ ะเป็นพระสงฆ์ ซาเลเซี ย น คุ ณ พ่ อ จึ ง ได้ ส มั ค รเข้ า ค่ า ยกระแสเรี ย กซาเลเซี ย น (ค่ายมิตรภาพ) และได้รับเลือกเข้าบ้านเณรเล็กซาเลเซียนที่หัวหิน และเดินในเส้นทางกระแสเรียกซาเลเซียนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

July-August 2021

13


02 เตรียมตัวเป็นผู้เลี้ยงแกะ ภาพจ�ำในบ้านเณร

“สิ่งที่ผมจ�ำได้ดีที่สุดในบ้านเณร ไม่ว่าจะเป็นบ้านเณรหัวหิน บ้านเณรนาซาเรท และบ้านเณรสามพราน ก็คือชีวิตและตาราง เวลาของบ้ า นเณร ที่ ห ล่ อ หลอมตั ว ของผมให้ เ ป็ น ซาเลเซี ย น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนอย่างจริงจัง การสวดภาวนา การฝึกงาน อดิเรก (เล่นดนตรี) การเล่นกีฬา การท�ำงานบ้านและงานสวน กิ จ กรรมนอกบ้ า นเณร (เดิ น ทางไกล, ปี น เขา, เล่ น น�้ ำ ทะเล, ปั่นจักรยานทางไกล) การรับใช้พี่น้องในหมู่คณะ การเรียนรู้จัก ชี วิ ต ของนั ก บุ ญ ยอห์ น บอสโก และผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซ าเลเซี ย น การเรียนพระวินัยของคณะและชีวิตซาเลเซียนเมื่ออยู่ในปีนวกภาพ และการฝึ ก งานอภิ บ าลโดยเฉพาะในกิ จ กรรมศู น ย์ เ ยาวชนฯ และปีฝึกงานในบ้านอบรม ประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผม ไม่เคยลืม เพราะเป็นภาพแห่งความประทับใจทีต่ อ้ งจดจ�ำไปตลอด”

ไอดอล

“ส�ำหรับผมแล้ว ‘นักบุญยอห์น บอสโก’ เป็นไอดอลของผม ในการเป็นพระสงฆ์ ท่านได้รบั ใช้พระเจ้าและพระศาสนจักรโดยการ อุทิศตนเพื่อเยาวชนตลอดชีวิตของท่าน” นอกจากคุณพ่อบอสโกแล้ว ยังมี ‘คุณพ่อตีโต เปดรอน’ ทีเ่ ป็นไอดอล คนส�ำคัญอีกท่านหนึ่ง “ผมได้มีโอกาสอยู่กับคุณพ่อเป็นเวลา 2 ปีที่บ้านซาเลเซียน สามพราน คุณพ่อเป็นทัง้ อธิการและเป็นนวกจารย์ของผม การได้อยู่ กับคุณพ่อท�ำให้ผมได้สัมผัสถึงความรักเยี่ยงบิดาและการเอาใจใส่ ลูกๆสมาชิกในบ้าน คุณพ่อเป็นมิชชันนารีทที่ ำ� หน้าทีส่ งฆ์ดว้ ยใจยินดี และด้วยความเสียสละเสมอ แบบอย่างที่สัมผัสได้ของคุณพ่อนี้ เป็ น แรงผลั ก ดั น ให้ ผ มจะได้ เ ลี ย นแบบเพื่ อ จะเป็ น พระสงฆ์ ที่ ดี ในวันนี้และในอนาคต

14

db Bulletin

03 ทัศนะของผู้เลี้ยงแกะ มุมมองกระแสเรียก

เมื่อถามถึงมุมมองเกี่ยวกับ ‘กระแสเรียก’ คุณพ่อบอกกับเราว่า “กระแสเรียกก็คอื เสียงเรียกของพระเจ้าทีพ่ ระองค์ทรงเรียกเราแต่ละคน ให้ดำ� เนินชีวติ ทีเ่ หมาะสม สอดคล้องกับแผนการของพระเจ้า พระองค์ ทรงเรียกเราแต่ละคนให้มวี ถิ ที างเฉพาะของตน บางคนให้มคี รอบครัว บางคนด�ำเนินชีวติ โสด บางคนด�ำเนินชีวติ สงฆ์หรือชีวติ นักบวช แม้เรา จะมีกระแสเรียกที่ต่างกัน แต่ทุกกระแสเรียกล้วนมีคุณค่าและมี ความส�ำคัญ”

การส่งเสริมกระแสเรียกพระสงฆ์นักบวช

เราสามารถส่งเสริมกระแสเรียกได้ด้วย 3 วิธีการ คือ 1. ชีวิตที่เป็นแบบอย่าง: การส่งเสริมกระแสเรียกที่ดีต้องเริ่มที่ ตัวของเราแต่ละคน โดยอาศัยการด�ำเนินชีวติ คริสตชนทีด่ แี ละเปีย่ มด้วย ความศรัทธาในพระเจ้า 2. ภาวนาเพื่อกระแสเรียกในพระศาสนจักร โดยเฉพาะใน ประเทศไทย 3. เชือ้ เชิญและอบรมเยาวชนให้รจู้ กั คุณค่าของตนเอง ให้เขาได้ แสวงหา ค้นพบและตอบรับเสียงเรียกของพระเจ้าด้วยความเชือ่ และ ด้วยความวางใจในพระเจ้า

พระสงฆ์ยุค 2021

“ผมคิดว่าพระสงฆ์ในยุคปัจจุบนั นีค้ วรเป็นบุคคลทีต่ อ้ งออกจาก ตนเองเพื่อเข้าหาผู้อื่นและเป็นบุคคลที่พร้อมจะเสียสละ รับใช้และ อุทิศตนในงานอภิบาลเพื่อความรอดพ้นของวิญญาณ เสื้อหล่อ สีขาวที่พระสงฆ์สวมใส่ต้องพร้อมที่จะยับและเปอะเปื้อนอันเนื่อง มาจากการท�ำงานท่ามกลางสัตบุรุษและบรรดาเยาวชน”


04 เริ่มชีวิตผู้เลี้ยงแกะ คติพจน์

“เราเป็นผูเ้ ลีย้ งแกะทีด่ ี ผูเ้ ลีย้ งแกะย่อมสละชีวติ เพือ่ แกะของตน” (ยน 10:11) นี่เป็นพระวาจาของพระเจ้าที่ผมได้เลือกในโอกาสบวช เป็นพระสงฆ์ โดยส่วนตัวแล้ว “ภาพของผู้เลี้ยงแกะที่ดูแลแกะ” เป็นภาพที่ชัดเจนที่สุดของการเป็นพระสงฆ์ พระสงฆ์มีบทบาทและ หน้าที่ของการดูแลเอาใจใส่และอภิบาลบรรดาคริสตชน โดยเฉพาะ ในเรื่องความรอดพ้นของวิญญาณ เช่นเดียวกับผู้เลี้ยงแกะที่ดีที่คอย ดูแลแกะทุกตัวในฝูงของตน จดจ�ำชือ่ ของแกะ ดูแลแกะไม่ให้ตวั หนึง่ ตัวใดพัดหลงทาง คอยพันแผลของแกะที่บาดเจ็บ เสริมก�ำลังแกะ ที่อ่อนแรง ดูแลแกะของตนให้แข็งแรง และเลี้ยงแกะอย่างยุติธรรม ยอห์น 10:11 เป็นดังภาพของการเป็นสงฆ์ทดี่ ี ทีผ่ มจะต้องพยายาม เป็นให้ได้ใกล้เคียงทีส่ ดุ และตอบรับการเรียกของพระเจ้าด้วยการเป็น พระสงฆ์ที่รับใช้ ช่วยเหลือ เสียสละ และดูแลเอาใจใส่คริสตชน อย่างดีที่สุดเท่าที่ผมจะสามารถท�ำได้

ความในใจ

ผมประทั บ ใจในค� ำ พู ด ของคุ ณ แม่ ม าร์ เ กริ ต าที่ เ คยกล่ า วกั บ คุณพ่อบอสโกลูกของท่านในโอกาสรับศีลบวชว่า “ลูกเป็นพระสงฆ์แล้ว ลูกอยู่ใกล้พระเยซูเจ้ามากขึ้น...การถวายมิสซาเป็นการเริ่มรับ ความทรมานพร้อมกับพระเยซูเจ้า” โอกาสที่ผมได้รับศีลบวชและ เริม่ ต้นชีวติ สงฆ์นี้ ขอให้คำ� พูดของคุณแม่ของคุณพ่อบอสโกนี้ ได้เป็นหลัก และข้อเตือนใจในกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์ของผมเสมอ ขอให้ ผมได้เป็นพระสงฆ์ที่ดี ปฏิบัติหน้าที่ และคิดถึงแต่ความรอดพ้นของ วิญญาณ ดังพระวาจาของพระเจ้าทีผ่ มได้เลือก “เราเป็นผูเ้ ลีย้ งแกะทีด่ ี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน” (ยน 10:11) ขอขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับพระพรและพระหรรษทานที่ พระองค์ประทานให้แก่ผมตลอด 32 ปี พระองค์ทรงเป็นดังเข็มทิศ ทีค่ อยชีน้ ำ� ชีวติ ของผม เป็นดังผูน้ ำ� ทางทีเ่ ดินเคียงข้างผมเสมอ ไม่วา่ จะเป็ น ทางที่ ร าบเรี ย บหรื อ ทางที่ ข รุ ข ระ และวั น นี้ พ ระองค์ ไ ด้ มอบหมายหน้าทีแ่ ห่งการเป็นสงฆ์ และการติดตามพระองค์อย่างใกล้ชดิ ให้กับผมผ่านทางชีวิตนักบวชซาเลเซียน ขอขอบพระคุณ คุณยาย คุณแม่ ญาติพนี่ อ้ งทุกท่าน สมาชิกคณะ นักบวชซาเลเซียนแขวงไทย-กัมพูชา-ลาว และแขวงออสเตรเลียแปซิฟิก คณะผู้ใหญ่ผู้ให้การอบรม สมาชิกครอบครัวซาเลเซียน ผู้มีพระคุณ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมในการอบรม ค�ำภาวนา ก�ำลังใจ และการสนับสนุนผมในเส้นทางกระแสเรียกสงฆ์ซาเลเซียน


สวดอย่างไร ให้ละม้าย คล้ายแม่พระ Text : ยาก๊อบ

สวดอย่างไร ให้ละม้าย คล้ายแม่พระ (7)

ใครอดอยาก ปากแห้งโหย โปรยให้อิ่ม ที่ตรัสไว้ ให้สัญญา จะเมตตา (จากเพลงมักนีฟีกัต ข้อ 8, 10) “อดอยาก” หมายรวมถึงผู้รู้สึกหิวอาหาร กระหายน�้ำ และ รู้สึกต้องการความช่วยเหลือฝ่ายจิตวิญญาณ ผู้อดอยากต้องการ อาหารและน�ำ้ ดืม่ ประทังชีวติ ตามปรกติจะทรงดลใจให้มนุษย์ชว่ ย เหลือกันและกันตามบัญญัติแห่งความรัก มีบางครั้งที่ทรงแสดง มหัศจรรย์ แต่ผรู้ สู้ กึ ต้องการความช่วยเหลือฝ่ายจิตวิญญาณ ขอให้ รู้สึกต้องการจริงๆที่จะพัฒนาจิตวิญญาณให้มีคุณภาพ แม่พระ รับรองว่าได้รับความช่วยเหลือแน่ๆ จนอิ่มหน�ำ คือ พอเพียง ให้ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งสวรรค์อย่างเต็มภาคภูมิ

16

db Bulletin

“ความรัก” เป็นค�ำกลางๆทีฝ่ า่ ยหนึง่ มีความหวังดีตอ่ อีกฝ่ายหนึง่ แต่ภาษาไทยของเรามีความละเมียดละไมมากในเรือ่ งความรูส้ กึ รัก จึงมีค�ำแยกความรู้สึกรักออกเป็นหลายระดับ “เมตตา” เป็นความรู้สึกรักที่ผู้ใหญ่มีต่อผู้น้อย พระเจ้าทรง เมตตาเรา ดีแล้ว แต่เราไม่พูดว่าเรามีความเมตตาต่อพระเจ้า แทนที่จะพูดว่าเราเมตตาพระเจ้า เราพูดเสียใหม่ว่าเรามีความ กตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อพระเจ้า ยิง่ กตัญญูเท่าไรก็เท่ากับยิง่ รักมากเท่านัน้


“กรุณา” คือ เมตตา แต่แทนที่ผู้ใหญ่จะประทานสิ่งดีๆ พึงปรารถนาแก่ผนู้ อ้ ย ก็ตอ้ งเป็นการประทานอภัยยกโทษความผิด หนี้สินหรือความแสลงใจ พระเจ้าทรงกรุณายกบาปและโทษบาป แก่เรา ก็เป็นความกรุณาเหลือล้นแล้ว แต่ยงั ทรงกระท�ำมากกว่านัน้ คือ เมตตาประทานพระหรรษทานให้เรามีฐานะเป็นลูกบุญธรรม โดยประทานพระบุตรแท้มาเกิดเป็นมนุษย์เหมือนเรา และไถ่บาป เราโดยลบล้างบาปของเราจนวิญญาณของเราขาวสะอาดอย่างหิมะ เท่านัน้ ยังไม่พอ ยังทรงสัญญาเป็นระยะๆ ในประวัตศิ าสตร์จนถึง ทีส่ ดุ ส่งพระบุตรลงมาสัญญาให้กระชับแน่นขึน้ อีกว่า “จะเมตตา” “กตัญญู” เป็นความรักที่ผู้น้อยแสดงต่อผู้ใหญ่ เมื่อเราแสดง ความรักต่อองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พระองค์ไม่ตอ้ งมีความกตัญญูตอ่ เรา แต่ทรงเมตตาเรา เรายิง่ กตัญญูตอ่ พระองค์ พระองค์จะยิง่ เมตตาเรา แต่พระคัมภีรย์ นื ยันว่า พระเจ้าทรงรักเราก่อน ก่อนทีเ่ ราจะปฏิสนธิ ในครรภ์มารดาเสียอีก นั่นเป็นพระเมตตาของพระองค์ที่เป็นฝ่าย เริ่มต้นวงจรแห่งความรัก หากเราตอบสนองด้วยความกตัญญู ขั้นต้น พระองค์ก็เพิ่มพระเมตตาทันที เป็นหน้าที่ของเราที่จะ ต้องรับรู้และแสดงความกตัญญูกลับคืนไปให้มากกว่าเดิม วงจร แห่งการเพิ่มความรักจะทวีขึ้นในวงจรแห่งชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง จนกว่าจะจบสิน้ วงจรในโลกนี้ และผลก็จะสืบเนือ่ งต่อไปในโลกหน้า ซึ่งเราแน่ใจได้อย่างแน่นอนว่าจะได้รับ เพราะทรงให้สัญญาว่าจะ เมตตาจนถึงชีวิตนิรันดร พระคัมภีรเ์ ปิดเผยว่า วันพิพากษาประมวลพร้อมจะเป็นจุดเริม่ ต้น แห่งพระเมตตาเต็มรูปแบบ ทุกอย่างจะเป็นทีเ่ ปิดเผยแก่ทกุ คน เพื่อแสดงพระยุติธรรมและพระเมตตาแห่งการไถ่บาปและ ยกโทษบาป ในสมั ย ที่ พ ระศาสนจั ก รเน้ น พระยุ ติ ธ รรมและ ความกลัว ก็จะได้ยินค�ำเทศนาบ่อยๆในวันอาทิตย์ว่า ทุกอย่าง จะเปิ ด เผยแก่ ทุ ก คน แม้ สิ่ ง ที่ แ ก้ บ าปไปแล้ ว มาสมั ย นี้ พระศาสนจักรเน้นพระกรุณาและพระเมตตา ค�ำเทศนาส�ำนวนนัน้ ก็หายไป และเน้นการไถ่บาปแบบเหมาเข่ง หากมีการกลับใจ ตามเกณฑ์ของพระศาสนจักรในแต่ละสมัยแล้ว วิญญาณของคนบาป จะขาวสะอาดดุจหิมะ คือน่าจะไม่เหลือแม้แต่คราบของบาป ทีไ่ ด้รบั การอภัยไปแล้ว เพราะในบรรยากาศของสวรรค์แห่งบรมสุข สมบูรณ์นริ นั ดร ไม่นา่ จะมีอะไรเหลือแม้แต่คราบของความสกปรก ที่ได้รับการช�ำระล้างไปแล้ว ถ้าหากคราบนั้นจะเป็นเหตุให้ลด ความสุขลงแม้แต่เท่ายองไย องค์พระตุลาการย่อมมีวธิ ขี องพระองค์ ที่จะให้สวรรค์เป็นแดนสันติสุขเต็มรูปแบบ

ความคิดอ่านข้างต้นนี้ แม่พระอาจจะรู้ได้โดยพระจิตเจ้า ทรงดลใจ แต่ถ้าคิดว่าพระจิตเจ้าน่าจะเปิดทางรู้ตามธรรมชาติ ให้กไ็ ม่นา่ จะมีทางอืน่ ก็ไม่พน้ ได้รบั ถ่ายทอดจากโยเซฟ เพราะเป็น ความคิดแบบบุรุษที่สนใจและตั้งใจแสวงหา เพราะความกตัญญู ต่อองค์พระผู้สร้าง ผู้ประทานชีวิต และผู้ประทานความหวัง เกีย่ วกับพระเมสสิยาห์ นักบุญโยเซฟก็นา่ จะเป็นบุรษุ ลักษณะนีใ้ นสังคม นาซาเร็ธ และท่านก็ได้ท�ำบทบาทหน้าที่ของท่านอย่างดีที่สุด อย่างซื่อๆ เงียบๆ ลึกซึ้ง ท่านก็ยังคงรักษาลักษณะนี้ของท่าน อย่างคงเส้นคงวาในพระศาสนจักรด้วย ใครหวังอะไรจากนักบุญโยเซฟจึงไม่น่าจะผิดหวัง “Go to Joseph!” จงไปหาโยเซฟ

July-August 2021

17


LOCAL NEWs By SDB Reporter

ข่าวซาเลเซียน

บวชสังฆานุกร คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทยขอร่วมแสดงความยินดีกบั บราเดอร์ 2 ท่านที่ได้รับศีลบวชเป็นสังฆานุกร คือ 1. บราเดอร์เปาโล วรายุทธ เจริญภูมิ ได้รับศีลบวชเป็น สั ง ฆานุ ก รพร้ อ มกั บ เพื่ อ นๆ รวม 14 ท่ า น เมื่ อ วั น ที่ 12 มิถุนายน 2021 ณ Church of All Nations เกทเสมนี กรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล

สังฆานุกร เปาโล วรายุทธ เจริญภูมิ

2. บราเดอร์ โจชัว ปิลากุ เซซุจ (ธรรมทูตซาเลเซียน ที่ประเทศกัมพูชา) ได้รับศีลบวชเป็นสังฆานุกร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2021 ณ วัดนักบุญยอห์น เนนิ ประเทศไนจีเรีย

สังฆานุกร โจชัว ปิลากุ เซซุจ

เยี่ยมบ้านดอนบอสโกโฮม บางสัก วันที่ 15-17 มิถุนายน 2021 คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะฯ เยี่ยมบ้านดอนบอสโกบางสัก จ.พังงา อนึ่ง บ้านดังกล่าวเป็นบ้านซึ่งคณะซาเลเซียนให้ช่วยเหลือแก่ เด็กยากจนและก�ำพร้าให้ได้รับการอบรมและได้รับโอกาส ทางการศึกษา ปัจจุบัน มีเด็กอยู่ที่บ้านนี้จ�ำนวน 40 คน

เทิดเกียรติพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ค�ำ่ วันที่ 11 มิถนุ ายน 2021 โอกาสสมโภชพระหฤทัยของ พระเยซูเจ้า บ้านเณรซาเลเซียนสามพรานจัดเทิดเกียรติแด่ พระหฤทัยฯ ซึง่ เป็นองค์อปุ ถัมภ์ของบ้านอบรมซาเลเซียนทัว่ โลก (โดยเฉพาะส�ำหรับนวกชน) ณ บ้านศานติธรรมซาวีโอ โดย ในงานได้มีการแสดงยอเกียรติแด่พระหฤทัยของบรรดา สามเณรผ่านทางบทเพลง ละคร ฯลฯ ซึ่งช่วยเพิ่มพูน ความศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้ามากยิ่งขึ้น

18

db Bulletin


บรรเทาภัยโควิด-19 หมูค่ ณะซาเลเซียนสามพราน น�ำโดยคุณพ่อนพดล ยอแซฟ และครอบครัวซาเลเซียนในเขตสามพราน ได้บรรเทาภัย โควิด-19 ให้กบั ชาวบ้านซึง่ ได้รบั ผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโควิด-19 ในเขต ต.ท่าข้ามและต�ำบลใกล้เคียง โดยได้แจก ข้าวสารอาหารแห้ง แอลกอฮอล์ล้างมือ ข้าวกล่อง ผัก ผลไม้ ขนมหวาน ฯลฯ ซึ่งได้รับมอบมาจากคณะนักบวชและจาก ผู้ใจบุญ เพื่อน�ำไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ประสบภัยต่อไป

แสงทองวิทยาบรรเทาภัยโควิด-19 สมาชิกซาเลเซียน, สมาคมผู้ปกครองและครู และสมาคม ศิษย์เก่าโรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา ได้มอบถุงยังชีพ จ� ำ นวน 1,500 ชุ ด ให้ กั บ ผู ้ รั บ ผลกระทบจากโควิ ด -19 ชาว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ณ โรงเรียนแสงทองวิทยา เมือ่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2021 และ ได้มอบถุงยังชีพจ�ำนวน 1,000 ชุด ให้กับชาวบ้านที่กักตัวของ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2021

July-August 2021

19


LOCAL NEWs By SDB Reporter

ข่าวครอบครัวซาเลเซียน ฉลองดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ วันที่ 12 มิถนุ ายน 2021 สมาชิกคณะผูร้ บั ใช้ฯ เขตภาคใต้ ร่วมฉลองดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ณ โรงเรียน ธิดาแม่พระ จ.สุราษฎร์ธานี โดยบิชอป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธานในพิธี ส่วนในเขตภาคกลาง จัดฉลอง ณ บ้านพรพัชรหทัยนิรมล จ.ราชบุรี โดยมีคุณพ่อ ชีวิน สุวดินทร์กูร เป็นประธานในพิธี

ร่วมประชุมศิษย์เก่าซาเลเซียน ภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ครั้งที่ 12 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2021 ภราดาถนัด อนันต์ ผูร้ บั ผิดชอบศิษย์เก่าซาเลเซียนประเทศไทยและผูแ้ ทนศิษย์เก่า 3 ท่ า น ได้ ร ่ ว มประชุ ม ออนไลน์ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ซาเลเซี ย น ภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ครั้งที่ 12 การประชุมดังกล่าว มีการถ่ายทอดสดผ่านทาง YouTube เพื่อให้ศิษย์เก่า แต่ ล ะประเทศได้ ติ ด ตามการประชุ ม อย่ า งใกล้ ชิ ด นอกนั้ น ที ม ศิ ษ ย์ เ ก่ า จากประเทศไทยและที ม งาน จากโรงเรียนแสงทองวิทยายังท�ำหน้าที่เป็นฝ่ายเทคนิค ร่วมกับทีมจากประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ด้วย

ประชุมวางแผนงานค�ำสอนระดับบ้าน วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2021 ซิสเตอร์ทองอยู่ กิจสกุล อธิการิณหี มูค่ ณะแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ หาดใหญ่ ได้จดั ประชุม การวางแผนงานสอนค�ำสอนแก่บรรดาสมาชิกในหมู่คณะ ทีท่ ำ� หน้าทีส่ อนค�ำสอนนักเรียนแต่ละระดับชัน้ เพือ่ ก�ำหนด ทิศทางการสอนค�ำสอนให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียน และครอบคลุมเนือ้ หาค�ำสอนตามทิศทางของพระศาสนจักร และเน้นการเตรียมจิตใจในโอกาสครบรอบ 150 ปีของ การก่อตั้งคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์

เปิดสนามงานใหม่ ในปีการศึกษา 2564 นี้ สถาบันธิดาพระราชินีมาเรีย ได้ตอบรับค�ำเชิญไปช่วยงานในเขตศาสนปกครองอุดรธานี โดยได้ส่งสมาชิก 2 ท่าน คือ มารีอา ดาวรุ่ง ริ้วงาม และ มารี อ า พั ต รา พรมชาติ ไปช่ ว ยงานบริ ห ารโรงเรี ย น พระมหาไถ่ศกึ ษาเลย โรงเรียนดังกล่าวเปิดสอนในระดับชัน้ เตรียมอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจ�ำนวน 1,634 คน

20

db Bulletin


“ในเรือล�ำเดียวกัน” ครอบครัวซาเลเซียนประเทศไทยซึ่งประกอบไปด้วย คณะซาเลเซียน (SDB), คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (FMA), ซาเลเซียนผู้ร่วมงาน (ASC), คณะแม่พระองค์ อุปถัมภ์ (ADMA), คณะผู้รับใช้ฯ (SIHM), สถาบันธิดาพระราชินมี าเรีย (DQM), คณะภคินพี ระราชินมี าเรีย (SQM) และศิษย์เก่าซาเลเซียน ร่วมบรรเทาภัยผู้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนี้ วันที่ 18 พฤษภาคม 2021 มอบถุงยังชีพให้กับชาวบ้าน จาก 4 ชุมชนในเขตคลองเตย กรุงเทพฯ คือ ชุมชนโรงหมู ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชนแฟลต 23-24 และชุมชน วัดบ้านมั่นคง โดยมีคุณพ่ออนุรัตน์ ณ สงขลา เจ้าอาวาส วัดแม่พระปฎิสนธินิรมลแห่งเหรียญอัศจรรย์ และผู้แทน ชุมชนเป็นตัวแทนรับมอบ ณ โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์

วันที่ 17 มิถนุ ายน 2021 มอบข้าวสารอาหารแห้งจ�ำนวน 500 ชุด เพื่อช่วยชาวบ้านในเขตอ�ำเภอเขาย้อย จ.เพชรบุรี และ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยผ่านทางคุณพ่อศราวิน พัดศรีเรือง ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการศูนย์สังคมพัฒนาเขตศาสนปกครอง ราชบุรี ณ ส�ำนักงานเจ้าคณะแขวงฯ กรุงเทพ วันที่ 17 มิถนุ ายน 2021 มอบข้าวสารอาหารแห้งจ�ำนวน 100 ชุด เพื่อช่วยผู้อพยพชาวเมียนมาในเขต จ.กาญจนบุรี โดยผ่านทางคุณสุรสิทธิ์ จิตอุทัศน์ เจ้าหน้าที่ส�ำนักงาน คาทอลิ ก สงเคราะห์ ผู ้ ป ระสบภั ย และผู ้ ลี้ ภั ย (COERR) กาญจนบุรี ณ ส�ำนักงานเจ้าคณะแขวงฯ กรุงเทพ July-August 2021

21


ข้ารับใช้พระเจ้า คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร Text : อันนา

“นักบุญโยเซฟ”

แบบอย่างชีวิตของ คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร เมื่อชีวิตเกิดปัญหา อุปสรรค ไร้ทางออก หลายชีวิตยอม อ่อนข้อให้ปญั หาทีข่ วางกัน้ ด้วยการจบชีวติ ตนเอง เป็นการจบสิน้ ทุกอย่าง ที่ไม่ต้องห่วงกังวล ไม่ต้องเจ็บปวด ไม่ต้องสิ้นหวัง อีกต่อไปแล้ว ทุกอย่างจบลงไปพร้อมกับชีวติ แต่อกี หลายชีวติ เผชิญหน้ากับปัญหา แม้กลัวแสนกลัวแต่ใจมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว ท้าทาย เพราะรู้ว่าชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมาไม่ได้เป็นชีวิตส�ำหรับ ตนเอง ชีวติ ทีม่ พี ระพรของพระเสมอ แม้ดเู หมือนหมดหนทาง แต่ไม่เคยหมดหวังเมื่อพลังใจของเราไม่เคยสิ้นหวัง ความเชือ่ ความหวัง และความรัก เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งอยูก่ บั คริสตชนในช่วงเวลาที่หดหู่ที่สุดของการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ผู้ที่เชื่อในพระเจ้าจะยอมรับความทุกข์อย่างที่สุด พร้อมกับเชือ่ และด�ำเนินชีวติ ในหวัตอ่ พระเจ้าอย่างทีส่ ดุ เช่นกัน หลังจากทีค่ ณ ุ พ่อการ์โล เดลลา โตร์เร ได้ลาออกจาก คณะซาเลเซียนและเข้าสังกัดเป็นพระสงฆ์พนื้ ของมิสซัง กรุงเทพฯ ในเวลาทีท่ า่ นออกมานัน้ ไม่มที รัพย์สนิ ใดๆ แต่เหนือสิง่ อืน่ ใดท่านได้รบั พระพรจากพระสังฆราช หลุยส์ โชแรง ซึง่ ได้กล่าวกับท่านในวันทีร่ บั ท่าน เข้าสังกัดในมิสซังว่า “เรารับคุณพ่อเข้าสังกัด ในฐานะสงฆ์อิสระเพื่อตั้งคณะ เราไม่มีเงิน ไม่มีที่ดินจะให้ แต่เราให้พรและอนุญาต คุณพ่อทุกอย่างทีค่ ณ ุ พ่อต้องการ” นีค่ อื พร อันยิ่งใหญ่มิใช่ทรัพย์สิน แต่เป็นพระพร ที่สามารถท�ำกิจการที่ดีและจะคงอยู่กับ ท่านเสมอไป ครัง้ หนึง่ คุณพ่อได้ตดั สินใจทีห่ นักมาก เนือ่ งจากยากจน ภาระก็มาก ไม่มอี ะไรเลย ในการริเริ่มการตั้งคณะ วันหนึ่งโปสตุลันด์ ซึ่งอายุยังน้อยไปบอกกับคุณพ่อว่าให้ซื้อที่ดิน และจะสวดขอพระมารดาให้จ่ายหนี้ให้ คุณพ่อ จึงได้ตัดสินใจซื้อพร้อมด้วยหนี้สินที่ไม่รู้ว่าจะต้องเอา ที่ไหนไปช�ำระ บรรดาพระสงฆ์ที่พ�ำนักอยู่ที่บ้านพักพระสงฆ์

22

db Bulletin


คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร

ที่อัสสัมชัญ ต่างสงสัยว่าคุณพ่อมีหนี้สิน และต้ อ งดู แ ลกลุ ่ ม หญิ ง สาวที่ ต ้ อ งการ ถวายตัวจะเอาเงินที่ไหนมา ค�ำตอบของ คุ ณ พ่ อ ท� ำ ให้ ทุ ก คนส่ า ยหั ว เพราะไม่ มี ความเป็นไปได้เลย คุณพ่อการ์โลตอบว่า “พระมารดาจะจ่ายทุกอย่างให้เพราะทรง เป็นมารดาของเรา” ขณะเข้าเงียบที่วัดอัสสัมชัญพร้อมกับ พระสงฆ์ต่างประเทศ คุณพ่อใช้เวลาสวด สายประค�ำและเฝ้าศีลมหาสนิทตามล�ำพัง สายตาของคุณพ่อจ้องไปยังรูปปั้นแม่พระ เสด็จขึ้นสวรรค์ ณ วัดอัสสัมชัญ สิ่งที่พ่อ ได้เห็นและสัมผัสตามที่พ่อเขียนบันทึกเล่า ในอัตชีวประวัตวิ า่ “พ่อเห็นแม่พระประทับนัง่ บนบัลลังก์ใหญ่แทน ขณะที่พ่อคิดจะสวด ขอความช่ ว ยเหลื อ พระมารดาทรงก้ม พระเศียรและทรงมองพ่อ ตรัสว่า ‘จงไป หานักบุญโยเซฟ’ ตรัสแล้วก็อัตรธานไป พ่อเห็นรูปแม่พระเสด็จขึ้นสวรรค์ดังเดิม ทางด้านขวาทีพ่ อ่ ก�ำลังสวดอยู่ มีพระแท่น และรูปปั้นนักบุญโยเซฟ พ่อจึงหันไปสวด ขอความช่วยเหลือจากท่าน ผ่านไปหลายวัน พ่อยังสวดขอนักบุญโยเซฟ”

แม่ พ ระได้ แ นะน� ำ ให้ คุ ณ พ่ อ การ์ โ ล ขอความช่วยเหลือจากบิดาผูใ้ จดี ไม่นา่ เชือ่ ว่า เหตุการณ์ครัง้ นัน้ จะเป็นเหตุการณ์สำ� คัญ ของความช่ ว ยเหลื อ จากท่ า นนั ก บุ ญ โยเซฟ เมื่อมีคริสตชนคนหนึ่งที่ท�ำงาน ทีก่ ระทรวงมหาดไทยได้มาพบคุณพ่อและ บอกว่าที่ดินของคุณพ่อจะมีการเวรคืน ทีด่ นิ ด้านฝัง่ ซ้ายของกรุงเทพฯไปสนามบิน ราคาไร่ละ 15,000 บาท รวมทั้งหมด 26 ไร่ ซึ่ ง มี ชื่ อ คุ ณ พ่ อ เป็ น เจ้ า ของ แม้ขา้ ราชการจะให้เพียงไร่ละ 7,000 บาท และห้ามเซ็นเอกสารใดๆ แต่ให้ยืนกราน ราคาที่ดินไร่ละ 15,000 บาท ความช่วยเหลือของท่านนักบุญโยเซฟ มาในเวลาทีเ่ หมาะสม ทันเวลา ต่อลมหายใจ ความวางใจของคุณพ่อต่อหน้าความเวิง้ ว้าง ว่างเปล่า แห้งแล้ง สิ้นหวัง แต่ส�ำหรับ คุณพ่อมั่นใจเต็มร้อย และเชื่อว่าทุกอย่าง จะส�ำเร็จไปเมื่อเรามอบความวางใจอย่าง สิน้ สุดก�ำลังกายใจ ความเชือ่ ได้กลายมาเป็น กิจการทีส่ มั ผัสได้ในชีวติ ของท่าน ผ่านทาง นักบุญโยเซฟบิดาผู้ใจดี

พระสงฆ์ซาเลเซียน สิ้นใจอย่างศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1982 ในปี ค.ศ.2003 คุณพ่อได้รับเกียรติเป็น “ข้ารับใช้พระเจ้า” (Servant of God) อันเป็นขั้นตอนแรก ของกระบวนการ ด�ำเนินเรื่อง แต่งตั้งเป็นนักบุญ

July-August 2021

23


เพื่อนนักอบรม Text : ยวง บอสโก ธัญญา ASC.

ยุทธการ ทิงนองนอย(ด์) “พีแ่ กมันนอยด์แม่ไปแล้ว” น�ำ้ เสียงของแม่ดเู หมือน จะปลงๆ กับอากัปกิริยาของลูกชายที่เพิ่งลุกเดินหนีไป “พีแ่ กก็นสิ ยั อย่างนีแ้ หละ….ขออะไรไม่ได้อย่างใจ.... พู ด อะไรผิ ด หู มั น ...มั น สะบั ด ก้ น หู ต าเหลื อ กไปทุ ก ที มันไม่รู้จักโตจริงๆ เฮ้อ!” แม่บ่นพึมพ�ำ เด็กสาวมอต้นฟังค�ำแม่บน่ ด้วยความเคยชิน จึงไม่ได้ พูดอะไรต่อให้มากความ “แกนีก่ เ็ หมือนกัน...เงียบเป็นเป่าสาก...ใครเขาจะเป็น จะตาย แกไม่ มี ป ากหรื อ ไง เออ..แล้ ว ก็ ส มองด้ ว ย มี ห รื อ เปล่ า ...เคยคิ ด เคยรู ้ บ ้ า งไหมว่ า อะไรมั น ดี มันไม่ดีอ่ะ...” ดูเหมือนอารมณ์แม่จะเตลิดเปิดเปิง ไปไกลแล้ว เด็กสาวเหลือบตามองสีหน้าแม่แว๊บหนึ่ง แต่แล้ว ก็รีบก้มหน้าหลบสายตาคู่นั้น ซึ่งยามนี้ดูเหมือนตา ของเสือจ้องตะปบเหยื่อ ปานนั้น “ยู้ฮู...แม่ลูกท�ำอะไรกันอยู่...วันนี้พ่อมีขนมมาฝาก ทุกคนด้วยนะ...มามาเร็วๆ มากินด้วยกัน” พ่อเรียกทุกคน เหมือนทุกๆ วันที่กลับจากที่ท�ำงานมาถึงบ้าน ว่าแล้ว พ่อก็สง่ ห่อขนมใส่มอื ของแม่ ท�ำนองว่าให้ชว่ ยจัดการต่อ ให้ด้วย ส่งเสร็จก็เดินผิวปากอารมณ์ดีหายเงียบเข้าไป ในห้องนอน ครอบครัวของเราสองพีน่ อ้ งก็เป็นเช่นนีม้ านานนม ตั้งแต่เริ่มจ�ำความได้พ่อกับแม่และพี่ชายก็เป็น แบบนี้แล “เชิ ด ศั ก ดิ์ ท� ำ ไมเธอไม่ พ ยายามเห็ น ใจเพื่ อ นๆ ร่วมชั้นบ้าง ในกลุ่มงานด้วย ถ้าเธอจะไม่ช่วยอะไรเลย ครูว่าก็ยังดีกว่าเธอจะท�ำตัวเป็นจระเข้ขวางคลองนะ เพราะถ้ า เธอไม่ ท� ำ แล้ ว ยั ง ท� ำ ลายความตั้ ง ใจดี ข อง เพื่อนๆ ด้วย อย่างนี้มันเป็นการกระท�ำที่ไม่ถูกไม่ควร เลยนะ...” คุณครูใช้วาทะเดิมๆ ซ�้ำเติม โดยไม่สนใจว่า เขาจะรู้สึก หรือถูกผิดอย่างไร มีปัญหาอะไร


ที่ โ รงพยาบาลเสี ย งนุ ่ ม ๆ ของคุ ณ หมอถามเขาว่ า “เชิดศักดิ์... รู้ไหมว่าทุกคนเป็นห่วงและรักเธอมากนะ ท�ำไมเธอ ถึงท�ำร้ายตัวเองได้ขนาดนี.้ ..ดูรอยกรีดเหล่านีส้ .ิ .. มันคงท�ำให้เธอ เจ็บปวดมากเลยสินะ เลือดก็คงออกมากด้วย ถ้าเป็นหมอนะ... หมอคงอดทนได้ไม่เท่าเธอแน่แน่เลย...อย่างเก่งหมอก็คงท�ำได้ แค่รอ้ งไห้เสียงดังดัง แต่จะไม่ยอมท�ำร้ายตัวเองให้เจ็บปวดเด็ดขาด...” ดู เ หมื อ นทุ ก อย่ า งจะดี ขึ้ น แล้ ว ดู เ หมื อ นเชิ ด ศั ก ดิ์ จะยอมรับในความรู้สึกรัก และห่วงใย รวมถึงค�ำเตือนสติ ของคุณหมอ แต่หลายวันต่อมาที่โรงเรียน น้องสาวผู้ท่ีเงียบและเก็บง�ำ ความรู้สึกมาตลอด ก็ลุกขึ้นมาปกป้องพี่ชายคนเดียวของเธอ อย่างสุดฤทธิ์สุดเดช “ผอ.คะ หนูขอถามนะคะว่า เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น กับพี่เชิดศักดิ์นี่เป็นความผิดของใครคะ และใครควรจะ แก้ไขเปลีย่ นแปลงตัวเองบ้างคะ” เอาล่ะสิ หนูเกิดไม่กลัวแมว ขึ้นมาซะงั้น “เธอ...พูดว่าอะไรนะ?” ผอ.รู้สึกแปลกใจกับค�ำพูดของสาว น้ อ ยมาก สี ห น้ า พ่ อ กั บ แม่ ข องเธอก็ บ ่ ง บอกได้ ถึ ง ความรู ้ สึ ก ทัง้ ตกใจ...สับสน งุนงงและแปลกใจมาก ทีจ่ จู่ เู่ ธอก็ทะลุกลางปล้อง ออกมา และพูดอย่างที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน “คุณพ่อผู้แสนดีและน่ารักของหนู มีขนมมาฝากเราทุกวัน แต่กไ็ ม่เคยใส่ใจทุกข์สขุ ของเราหรือของใครในบ้านเลย หนูยอมรับค่ะ พ่อเป็นคนดีอารมณ์ดี รักการงาน รักครอบครัว แต่หนูคิดว่าพ่อ ไม่รจู้ กั จิตใจของใครในบ้านเลย แม้แต่กบั แม่ พ่อคิดเพียงว่าได้ทำ� หน้าที่ของพ่อแล้ว” สาวน้อยพูดต่อ ไม่ยั้ง แต่คุณพ่อลืมไปหรือเปล่าคะว่า “ความรักของเรา”

ต้องการความเอาใจใส่ ต้องการคนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข เข้าใจกันเห็นใจกัน ช่วยเหลือดูแลกันแม้ในเรื่องเล็กน้อย เราไม่ใช่แค่ตอ้ งการเงินต้องการขนมของพ่อเท่านัน้ แต่เรา ต้องการความอบอุ่นทางใจจากคุณพ่อด้วยค่ะ”.... “คุณแม่คะ หนูขอร้องได้ไหมคะ แม่อย่าใช้ความรักและ ความคิ ด ของแม่ ม าบั ง คั บ ให้ เราต้ อ งเป็ น อย่ า งที่ แ ม่ ต ้ อ งการ ในทุกเรื่อง หนูกับพี่ชายมีหัวใจมีหัวสมองมีอารมณ์มีความรู้สึก และมีความรักความกตัญญูตอ่ แม่และพ่อด้วย อ้อ!..กับคุณครูดว้ ย นะคะ แต่หนูอยากให้แม่ใช้เหตุผล ใช้ค�ำถาม มากกว่า ค�ำบ่นค�ำด่า ทีแ่ ม่อา้ งว่า แม่บน่ แม่ดา่ แม่จำ�้ จีจ้ ำ�้ ไชกับลูก ก็เพราะ แม่รักและหวังดีกับลูก....” “หนูเข้าใจค่ะว่า คุณครูอยากเห็นหนูกับพี่ชายเป็นคนดี รู้จัก เสี ย สละเพื่ อ ส่ ว นรวม รู ้ จั ก รั ก รู ้ จั ก ให้ รู ้ จั ก ช่ ว ยเหลื อ สั ง คม แต่คุณครูคะ...ขอได้ โ ปรดฟั ง เหตุ ผ ล ฟั ง ค� ำ อธิ บ ายของ พวกเราก่ อ นที่ จ ะตั ด สิ น ว่ า เราจะเป็ น อย่ า งนั้ น อย่ า งนี้ ได้ไหมคะ...แค่ขอโอกาสให้พวกเราได้พูดบ้าง รับฟังเราอย่างที่ เราคิด และรักเราอย่างทีเ่ ราเป็นนะคะ” สิน้ เสียงระบายความในใจ เธอก็ทรุดตัวลงก้มกราบเท้าพ่อแม่และคุณครูทั้งน�้ำตา องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงพอพระทัย “บุตรที่เชื่อฟังบิดา มารดา และบิดามารดาก็อย่าขัดใจบุตรเกินไปจนเขาท้อแท้ หมดก�ำลังใจ” (เทียบ คส 3:20-21)

July-August 2021

25


One Moment in Time Text, Photo : Gassanee T.

Fear not, For I am with you ฝูงนกกลับรังแล้วหรือฟ้า เมฆไม่ลอยมาแล้วหรือฝน หมดแรงอีกแล้วหรือผู้คน พร�่ำบ่นอีกแล้วหรือชะตา ล้มลุกคลุกคลานอีกแล้วหรือชีวิต ดับสนิทสิ้นแรงแล้วหรือแขนขา จะหมดวันอีกแล้วหรือเวลา จะเข่นฆ่าอีกแล้วหรือสงคราม มือคู่หนึ่งคอยโอบอุ้มอยู่นี่ไง จะพาเจ้าฝ่าไปทุกสนาม ทุกย่างก้าวทุกคราวทุกโมงยาม รัก..คุ้มครอง..ติดตาม...ให้ปลอดภัย …………. @Budapest, Hungary


ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

World News เครื่องหมายแห่งความหวัง ของเยาวชน แผนกอภิบาลเยาวชนซาเลเซียน ของประเทศเวเนซุ เ อลา ได้ ท� ำ งาน อภิ บ าลเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เด็ ก อพยพ จ�ำนวน 200 คนในเขต Petare ของ นครหลวงการากัส บรรดาซาเลเซียน ได้ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา และให้ ก ารอบรมเพื่ อ ช่ ว ยพวกเขา ใ ห ้ เ ติ บ โ ต ขึ้ น อ ย ่ า ง มี วุ ฒิ ภ า ว ะ และมี อ าชี พ การงาน ในจ� ำ นวนนี้ มีเด็กส่วนหนึ่งได้ขอรับศีลล้างบาป และศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วย

ฉลองอัคราธิการ วันที่ 24 มิถนุ ายน 2021 สมาชิกศูนย์กลางคณะซาเลเซียน กรุงโรม ได้จดั สมโภช การบังเกิดของนักบุญยอห์น บัปติสต์ ซึง่ เป็นศาสนนามของคุณพ่อบอสโก การฉลอง ดั ง กล่ า วเป็ น ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ สื บ ต่ อ กั น มาและถื อ เป็ น วั น ฉลองอั ค ราธิ ก าร ซาเลเซียนประจ�ำปีในฐานะผู้แทนของคุณพ่อบอสโกในปัจจุบัน โอกาสนี้คุณพ่อ อังเกล แฟร์นันเดซ อาร์ติเม ได้เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณและได้มี การแสดงความยินดีกับคุณพ่ออัคราธิการในระหว่างการรับประทานอาหารเที่ยง ร่วมกัน ณ สักการสถานพระหฤทัย กรุงโรม ประเทศอิตาลี

เยาวชนเบลเยียมเดินแสวงบุญ วั น ที่ 4-18 กรกฎาคม 2021 ซาเลเซียนประเทศเบลเยียมจัดเดิน แ ส ว ง บุ ญ โ ด ย ใช ้ เ ส ้ น ท า ง ข ้ า ม ภูเขาแอลป์ไปยังบ้านเกิดของคุณพ่อ บอสโก กรุงตุรนิ ประเทศอิตาลี ระยะทาง 120 กิโลเมตร มีเยาวชนเบลเยียม จ�ำนวน 12 คน ทีร่ ว่ มกิจกรรมนี้ กิจกรรม ดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเยาวชน ให้เรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความจ�ำกัดของ ตนเองและ ฝึกการด�ำเนินชีวิตร่วมกัน

บวชสังฆานุกรทีอิตาลี วันที่ 19 มิถุนายน 2021 คาร์ดินัลอัลเจโล อมาโต ซดบ เป็นประธานในพิธี บวชสังฆานุกรซาเลเซียนจ�ำนวน 9 องค์ ของหมู่คณะบุญราศีเซฟารีโน นามุงกูระ (เจรินี) ณ สักการสถานนักบุญยอห์น บอสโก ชิเนชิตะ กรุงโรม ประเทศอิตาลี โอกาสนี้ มี ตั ว แทนของคณะที่ ป รึ ก ษาอั ค ราธิ ก ารมาร่ ว มในพิ ธี ดั ง กล่ า วด้ ว ย

July-August 2021

27


ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

World News แจกอาหารให้คนยากไร้

อาสาสมัครธรมทูตเยาวชน วันที่ 13 มิถุนายน 2021 คณะซาเลเซียนของสาธารณรัฐเช็กได้จัดพิธีบูชา ขอบพระคุณ ส่งอาสาสมัครธรรมทูตเยาวชนจ�ำนวน 15 คน ไปยังประเทศต่างๆ โดยคุณพ่อ Martin Hobza เจ้าคณะฯ เป็นประธาน ในระหว่างพิธีได้มีการมอบ กางเขนธรรมทูตเพือ่ เป็นเครือ่ งหมายถึงการอุทศิ ตน โดยก่อนหน้านี้ บรรดาเยาวชน ดังกล่าวได้รับการอบรมเพื่อเตรียมตัวในการเป็นอาสาสมัครธรรมทูตอย่างดี

ศูนย์ซาเลเซียน “คุณพ่อ Chava” เมื อ งติ ฮั ว นา (Tijuana) ประเทศ เม็กซิโก แจกอาหารให้กับผู้ยากไร้ ทุกวัน จากสถิติโดยเฉลี่ย ใน 1 เดือน มีผู้มารับอาหารประมาณ 30,000 คน ซึ่ ง ในจ� ำ นวนนี้ ก็ คื อ บุ ค คลผู ้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

ซาเลเซียนทีอ่ ายุมากทีส่ ดุ ในโลก อายุ 107 ปี!!!

อภิเษกบิชอปซาเลเซียนประเทศฮอนดูรัส วันที่ 11 มิถุนายน 2021 บิชอป Gábor Pintér สมณฑูตวาติกันประจ�ำประเทศ ฮอนดูรสั เป็นประธานในพิธกี ารอภิเษก บิชอป Walter Guillén Soto, ซดบ ซึง่ ได้รบั การแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งเขตศาสนปกครองใหม่ Gracias ประเทศฮอนดูรัส ณ วัดนักบุญมาระโก (อาสนวิหารใหม่ของเขตศาสนปกครองดังกล่าว)

28

db Bulletin

วันที่ 1 มิถุนายน 2021 หมู่คณะ ซาเลเซียนเมืองเซาเปาโล ประเทศ บราซิลได้จดั ฉลองวันเกิด 107 ปี ให้กบั คุณพ่อ Ladislau Klinicki ซึ่งเป็น สมาชิ ก ซาเลเซี ย นที่ มี อ ายุ ม ากที่ สุ ด ในโลกในปั จ จุ บั น อนึ่ ง คุ ณ พ่ อ Ladislau เป็ น ชาวโปแลนด์ ท่ า น เกิ ด เมื่ อ ปี 1914 และได้ เ ดิ น ทาง มาเป็นธรรมทูตซาเลเซียนที่ประเทศ บราซิลในปี 1968 ท่านเป็นเสาหลัก ส�ำคัญของกิจการซาเลเซียนที่ซานตา เทเรซิ น า เมื อ งเซาเปาโล ในช่ ว ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง ท่ า นถู ก จั บ เป็นนักโทษในค่ายกักกันนาซี แต่ทา่ น ก็ยงั คงรักษาความเชือ่ ไว้ได้อย่างมัน่ คง และเป็ น คนมองโลกในแง่ ดี เ สมอ


EAO News

ส่องโลกซาเลเซียน By SDB Reporter

สัมนาเชิงปฏิบัติการด้านสื่อมวลชน วันที่ 7 มิถุนายน 2021 แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน ของฮ่องกงร่วมกับแผนกอภิบาลเยาวชนซาเลเซียนจัดสัมนา เชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ระบบสื่อมวลชนซาเลเซียน” ให้กับ บรรดาฆราวาสทีท่ ำ� งานในสถาบันซาเลเซียน ณ บ้านธรรมทูต ซาเลเซียน โดยมีคุณพ่อ Antonio Leung ผู้รับผิดชอบ งานอภิบาลเยาวชน และคุณพ่อ Leong Chi-choi Pedro เป็นวิทยากร

แจกถุงยังชีพ ท่ า มกลางการแพร่ ร ะบาดของโควิ ด -19 ในประเทศ ศรี ลั ง กา สมาชิ ก ซาเลเซี ย นได้ แจกถุ ง ยั ง ชี พ และอุ ป กรณ์ เพื่ อ สุ ข ภาพอนามั ย ให้ กั บ ครอบครั ว ที่ ย ากจนซึ่ ง ได้ รั บ ผลกระทบจากการระบาดของโรค โดยผ่านทางศูนย์ดอนบอสโก เพื่ อ การพั ฒ นาของประเทศศรี ลั ง กา นอกนั้ น ทุ ก บ้ า น ซาเลเซี ย นยั ง ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เป็ น พิ เ ศษกั บ 150 ครอบครัวที่ยากจนซึ่งอยู่ในชุมชนที่ซาเลเซียนตั้งอยู่ด้วย

บวชพระสงฆ์ใหม่ชาวเมียนมา วันที่ 24 มิถุนายน 2021 อาร์ชบิชอป Marco Tin Win

แห่ ง อั ค รสั ง ฆมณฑลมั ณ ฑะเลย์ เป็ น ประธานในพิ ธี บ วช พระสงฆ์ซาเลเซียนชาวเมียนมาจ�ำนวน 6 องค์ ร่วมกับ บิ ช อป Lucas Dau Ze, SDB เจ้ า คณะและสมาชิ ก ซาเลเซียน ณ สักการสถานแม่พระองค์อุปถัมภ์ อนิสกาน ประเทศเมียนมา

ประชุมศิษย์เก่าซาเลเซียนภูมิภาค เอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ 12 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2021 ผู้รับผิดชอบศิษย์เก่าและ ตัวแทนศิษย์เก่าซาเลเซียนในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย รวม 28 ประเทศ จ�ำนวน 120 คน เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ศิษย์เก่าซาเลเซียนครั้งที่ 12 ในหัวข้อ “ขับเคลื่อนด้วย ความหวัง” ในจ�ำนวนนี้มีตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วม ประชุมจ�ำนวน 4 คน July-August 2021

29


LECTIO DIVINA By บิชอป โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล

ปัสกา โฉมหน้าของโลก Lectio (พระเจ้าตรัสอะไร)

พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง 16ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาป ก็จะรอดพ้น ผูท้ ไี่ ม่เชือ่ จะถูกตัดสินลงโทษ 17ผูท้ เี่ ชือ่ จะท�ำอัศจรรย์ เหล่านี้ได้ คือจะขับไล่ปีศาจในนามของเรา จะพูดภาษาใหม่ๆ ได้ 18จะจับงูได้ และถ้าดื่มยาพิษก็จะไม่ได้รับอันตราย เขาจะปกมือ เหนือคนเจ็บ คนเจ็บเหล่านั้นก็จะหายจากโรคภัย” 19เมื่อพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสดังนี้แล้ว พระเจ้า ทรงรับพระองค์ขึ้นสู่สวรรค์ ให้ประทับ ณ เบื้องขวา 20บรรดาศิษย์ก็แยกย้ายกันออกไปเทศนาสั่งสอน ทั่ ว ทุ ก แห่ ง หน องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ทรงท� ำ งาน ร่วมกับเขา และทรงรับรองค�ำสั่งสอนโดยอัศจรรย์ ที่ติดตามมา (มก 16:15-20)

@ “ทรงประทับเบื้องขวาของพระบิดา”

ตั ว บทพระวรสารตอนนี้ เ ป็ น บทสรุ ป เรื่ อ งการเสด็ จ มารั บ ธรรมชาติ มนุษย์ของพระเยซูเจ้า อีกทั้ง ยั ง เป็ น การเปิ ด เผยองค์ พระตรีเอกภาพให้โลกรูจ้ กั อีกด้วย พระวรสารเรี ย ก “พระเยซูเจ้า องค์พระ ผู้เป็นเจ้า” (ข้อ 19) อี ก ทั้ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า บุ ค ค ล ที่ ล ะ จ า ก บ ร ร ด า ศิ ษ ย ์ ข อ ง พระองค์และเสด็จขึน้ ไปยังพระเจ้า มิใช่ เป็ น พระเยซู เ จ้ า ที่ บ รรดาศิ ษ ย์ รู ้ จั ก

30

db Bulletin

เท่านั้น แต่ทรงเป็น Kyrios-Signore พระผู้ทรงกลับคืนชีพ ที่บัดนี้เข้าสู่สภาวะใหม่ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงสามารถประทับ เบื้องขวาของพระเจ้าได้ มาระโกน�ำข้อมูลเพียงสั้นๆจากพระคัมภีร์มากล่าว แต่เป็น เรือ่ งส�ำคัญ ดังทีค่ ำ� สอนของพระศาสนจักรคาทอลิกข้อ 662-667 อธิ บ ายไว้ ว ่ า พระเยซู เจ้ า เสด็ จ สู ่ ส วรรค์ เ พื่ อ เปิ ด ประตู ใ ห้ กั บ มนุษย์ ด้วยก�ำลังตามธรรมชาติ มนุษยชาติมิอาจบรรลุถึงบ้าน ของพระบิดาเจ้าสวรรค์ (ดู ยน 14:2) เข้าถึงชีวิต และความสุ ข ของพระเจ้ า ได้ เป็ น พระเยซู เจ้ า ที่ ท รงเปิ ด ประตู บ านนี้ ใ ห้ แ ก่ ม นุ ษ ย์ “เพื่ อ ให้ เรามี ค วามมั่ น ใจว่ า เมื่ อ พระองค์ ท ่ า น ผู ้ ท รงเป็ น ศี ร ษะและบุ ต รคนแรกเสด็ จ สู ่ สวรรค์ เราผู ้ เ ป็ น ส่ ว นประกอบอื่ น ๆ แห่ ง พระวรกาย ก็ จ ะติ ด ตามไปรั บ ความรุง่ เรืองดุจเดียวกัน” (บทน�ำขอบพระคุณ แบบที่ 1 ฉลองพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์) ถึงแม้จะมีความปรารถนาทีจ่ ะรูจ้ กั พระเจ้าและความพยายามเพื่อ พบปะกับพระองค์ก็ตาม แต่พระเจ้าเพียงผู้เดียว เท่านัน้ สามารถเปิดเผย พระองค์แก่ผทู้ แี่ สวงหา พระองค์ สิ่งนี้เป็นไป ได้ ด ้ ว ยการทรมาน และการกลั บ คื น ชี พ ของพระเมสสิ ย าห์ สเทเฟนปฐมมรณสักขี ประกาศว่า ประตู ซึ่ ง พระเยซู อ งค์ พระผูเ้ ป็นเจ้าทรง แง้มไว้ ยั งคง


เปิดอยูแ่ ละไม่ถกู ปิดอีกเลย “ดูซิ ข้าพเจ้าเห็นท้องฟ้าเปิดออก และเห็นบุตรแห่งมนุษย์ทรงยืนอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า” (กจ 7:56) จากจุดนี้ เยรูซาเล็มใหม่จะเคลื่อนลงมา นคร ทีล่ กู แกะคือองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ในนครนี้ “จะไม่มคี วามตาย อีกต่อไป จะไม่มีการค�่ำครวญ การร้องไห้ และความทุกข์ อีกต่อไป เพราะโลกเดิมผ่านพ้นไปแล้ว” (วว 21:4) ภายใต้ฟา้ ใหม่นี้ - บนแผ่นดินใหม่ - เป็นพระเยซูเจ้า ที่เข้าไปพร้อมกับ “มนุษยภาพของพระองค์” ผู้ที่เสด็จ ขึน้ หาพระบิดาเจ้าสวรรค์ มิใช่องค์พระเยซูเจ้าทีป่ ลดเปลีอ้ ง พระองค์ จากร่างกายทีเ่ ป็นภาระหนักหรือจากประวัตศิ าสตร์ ของพระองค์ เพราะเราก็ ไ ด้ รั บ การช่ ว ยให้ ร อดพ้ น เช่ น เดี ย วกั น พร้ อ มกั บ การเสด็ จ สู ่ ส วรรค์ ข อง พระองค์ “ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ ที่ น ่ า สงสารของเรา ถูกพระคริสตเจ้าพาขึน้ ไปบนสวรรค์ชนั้ ฟ้า เหนือประชากร สวรรค์ เหนือหมู่เทวดาทั้งหลาย ไปสู่พระบัลลังก์ของ พระเจ้าพระบิดา” (น. เลโอผู้ยิ่งใหญ่ Sermone 74)

พั น ธกิ จ ที่ ท รงมอบหมายให้ ท� ำ “ท่ า นทั้ ง หลายจงออกไปทั่ ว โลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” ทุกแห่งที่พวกเขาไปในทุกดินแดน ทุ ก วั ฒ นธรรม บรรดาศิ ษ ย์ ข องพระเยซู เ จ้ า ต้ อ งประกาศข่ า วดี ไม่มีก�ำแพงขวางกั้นระหว่างประชาชนผู้รับเลือกสรรของชาวอิสราเอล ไม่ มี พ รมแดนของแผ่ น ดิ น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ พระวรสารมิ อ าจเป็ น เนื้ อ หา ในประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ ในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง พระสั ง คายนาวาติ กั น ที่ ส องยื น ยั น ว่ า “พระบิ ด าเจ้ า ทรงส่ ง พระเยซูคริสตเจ้าอย่างไร พระองค์ก็ทรงส่งบรรดาอัครสาวกอย่างนั้น” (SC 6) “เพือ่ รักษาพระวรสารหรือข่าวดีให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบนั อยูเ่ สมอ ไว้ในพระศาสนจักรตลอดไป บรรดาอัครสาวกจึงตั้งบรรดาสังฆราช ให้เป็นผูส้ บื ต�ำแหน่งต่อไป และ มอบหมายต�ำแหน่งหน้าทีส่ งั่ สอนของท่าน ให้บรรดาสังฆราช” (DV 7) ค�ำสอนของพระศาสนจักรก็เน้นว่า “ด้วยการ ประทานพระจิตเจ้าแก่บรรดาอัครสาวก พระคริสตเจ้าผูไ้ ด้ทรงกลับคืนชีพ ทรงประทานพลังอ�ำนาจแห่งการท�ำให้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์แก่พวกเขา ท�ำให้พวกเขากลับเป็นเครื่องหมายแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสตเจ้า โดยพลั ง อ� ำ นาจขององค์ พ ระจิ ต เจ้ า เอง พวกเขาถ่ า ยทอดอ� ำ นาจ นั้ น แก่ บ รรดาผู ้ สื บ ต� ำ แหน่ ง ของพวกเขา การสื บ ต� ำ แห่ ง ของ @ การเปิดสู่โลก ถึงแม้บรรดาอัครสาวกยังมีความเชื่อน้อยอยู่ก็ตาม อัครสาวกท�ำให้เกิดโครงสร้างชีวิตพิธีกรรมทั้งหมดของพระศาสนจักร พระเยซู เ จ้ า ก็ ยั ง ส่ ง พวกเขาไปทั่ ว โลกเพื่ อ ประกอบ เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางศีลบรรพชา” (CCC 1087)

July-August 2021

31


หลังจากที่ได้ตั้งพระศาสนจักรแล้ว บรรดาอัครสาวกได้มอบหน้าที่ การรับใช้ในฐานะพระสังฆราชแก่ลีนุส (ดู 1 ทธ 4:21) ต่อจากลีนุสคือ อานาเคลตุส องค์ต่อมาคือเคลเมนต์ ท่านผู้นี้เคยพบกับบรรดาอัครสาวก และได้ยินค�ำเทศน์ด้วยหูของท่านเอง เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในระหว่างบรรดาพี่น้องที่โครินธ์ เคลเมนต์ พระสังฆราชแห่งโรมได้สง่ จดหมายฉบับส�ำคัญทีส่ ดุ เพือ่ ให้พวกเขาคืนดีกนั ในสันติ รือ้ ฟืน้ ความเชือ่ ของพวกเขา และให้การรับรองค�ำสอนของบรรดา อัครสาวก ผูส้ บื ต�ำแหน่งต่อจากเคลเมนต์คอื เอวาริสตุส ต่อจากเอวาริสตุส ก็คอื อาเล็กซันเดอร์ ต่อมาคือซิกซ์ตสุ ซึง่ เป็นผูส้ บื ต�ำแหน่งองค์ทหี่ กต่อจาก บรรดาอัครสาวก องค์ต่อมาคือ เทเลสโฟลุส อีจีนุส ปีอุส อาทีเชตุส และ โซเตรุสถูกเลือกเป็นล�ำดับที่ 12 ในพระศาสนจักรธรรมประเพณีสืบทอด มาถึงเรา โดยเริ่มต้นจากบรรดาอัครสาวก ท�ำการประกาศความจริง “พระศาสนจักรเป็นหลักและรากฐานของความจริง” (1 ทธ 3:5) เรื่องนี้ ปรากฏให้เห็นผ่านทางการสืบต�ำแหน่งของอัครสาวก

@ “จงท�ำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด”

“จงออกไป” ท�ำชีวิตในแต่ละวันให้เป็นพันธกิจ พระเยซูเจ้าทรง ประทานศีลมหาสนิท เพื่อพระองค์จะสามารถประทานปัสกาแก่เรา พระองค์ยงั เสริมอีกว่า “จงท�ำดังนีเ้ พือ่ ระลึกถึงเราเถิด” พระวาจานีน้ ำ� ปัสกา มาถึงมือเรา พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นเครื่องหมายของปัสกา ที่เราเฉลิม ฉลองทุกวัน รวมทั้งการเสด็จสู่สวรรค์ การเสด็จลงมาขององค์พระจิตเจ้า และการพิศเพ่งองค์พระตรีเอกภาพ การเฉลิมฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณ ท�ำให้เรามีประสบการณ์ของ พระเยซูเจ้า และท�ำให้เรากลับกลายเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระองค์ มิใช่เป็น ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณเท่านัน้ แต่เป็นประสบการณ์ทสี่ มั ผัสทัว่ ทัง้ ชีวติ “นักบุญยอห์นคริสตอสตอมได้เขียนไว้ว่า ท่านโมเสส ท่านก�ำลังพูด

32

db Bulletin

อะไรอยู?่ เลือดของลูกแกะช�ำระมนุษย์ให้สะอาดได้หรือ? ช่วยเขาให้รอดพ้นจากความตายได้หรือ? ในความเป็นจริง ลูกแกะสามารถเป็นได้แค่สญ ั ญลักษณ์เท่านัน้ ดังนัน้ จึงเป็น การแสดงออกของความหวังในบุคคลที่มีความสามารถ ท�ำสิ่งที่การบูชาสัตว์ท�ำไม่ได้ พระเยซูเจ้าทรงฉลองปัสกา โดยปราศจากลูกแกะ และ พระวิหาร กระนั้นก็ดี ลูกแกะ ก็ไม่ขาดและพระวิหารก็มอี ยู่ พระองค์เองทรงเป็นลูกแกะ ที่ประชาชนรอคอย ทรงเป็นลูกแกะแท้ ดังที่ยอห์นผู้ท�ำ พิธีล้างกล่าวไว้เป็นการล่วงหน้าแล้วว่า “นี่คือลูกแกะของ พระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของโลก” (ยน 1:29)พระโลหิต ของพระองค์ ความรักของผูท้ เี่ ป็นทัง้ พระบุตรของพระเป็นเจ้า และเป็นมนุษย์แท้ พระโลหิตนัน้ สามารถช่วยให้รอดพ้นได้ ความรักของพระองค์ช่วยให้รอดพ้น การบูชาผู้บริสุทธิ์กับ การบูชาลูกแกะ ได้พบค�ำตอบในผู้ซึ่งส�ำหรับเราเป็นทั้ง ลูกแกะและพระวิหาร” (เบเนดิกต์ที่ XVI 2007) “จงท�ำดังนี้ เพือ่ ระลึกถึงเราเถิด” เป็นการประกาศความรอดพ้นแก่โลก

Meditatio

(พระวาจาตรัสกับฉันวันนี้) @ เจริญชีวิตอยู่ในโลกแต่ไม่เป็นของโลก “พระเจ้า ทรงพิสูจน์ว่าทรงรักเรา เพราะพระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์ เพื่อเราขณะที่เรายังเป็นคนบาป” (รม 5:8) @ ปั ส กาจุ ด ประกายในใจและทอแสงออกมา บนใบหน้า จงหายใจให้เต็มปอด อย่าให้สิ่งใดมารบกวน ความรักของเรา


@ จากเทศกาลปัสกา มีโครงการชีวติ โผล่ขนึ้ มา ท�ำให้เรา Contemplatio เจริ ญ ชี วิ ต แต่ ล ะวั น ในความยิ่ ง ใหญ่ ด้ ว ยการรื้ อ ฟื ้ น (พระวาจาของพระเจ้าส�ำเร็จเป็นจริง) บรรยากาศนี้ ด ้ ว ยพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ และด้ ว ย “โดยปฏิบัติตามสิ่งที่บรรดาปิตาจารย์สั่งสอน เราพร้อมใจกันสอนให้ การเฉลิมฉลอง เป็นดังการประกาศแบบธรรมทูตแก่โลก ยืนยันความเชือ่ ในพระเอกบุตรองค์เดียวกันว่า องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พระเยซู คริสตเจ้าของเรา ครบครันในความเป็นพระเจ้า และครบครันในความเป็น มนุษย์ ทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ (ประกอบ)ด้วยพระวิญญาณที่มี Oratio (พระวาจาท�ำให้ฉันภาวนา) ขอโทษ มารียช์ าวมักดาลาไปประกาศแก่ผทู้ เี่ คยอยูก่ บั ความสามารถในการใช้เหตุผลและร่างกาย ทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติ พระองค์ เมื่อเขาเหล่านั้นได้ยินนางพูดว่าพระองค์ยังทรง เดียวกับพระบิดาโดยทางพระเทวภาพ และทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติ เดียวกับมนุษย์โดยทางมนุษยภาพ ทรงเป็นเหมือนเราทุกประการเว้นแต่บาป พระชนม์อยู่และนางเห็นพระองค์แล้ว เขาก็ไม่เชื่อ ต่อมา พระองค์ทรงแสดงองค์แก่ศิษย์สองคนที่ก�ำลัง พระคริสตเจ้า องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พระบุตรแต่องค์เดียว ได้รบั การยอมรับว่า เดินทางไปยังเอมมาอูส เขาทัง้ สองกลับมาเล่าให้คนอืน่ ฟัง ทรงมี ส องธรรมชาติ คุ ณ สมบั ติ ข องแต่ ล ะธรรมชาติ มิ ไ ด้ ท� ำ ให้ อี ก พระธรรมชาติดอ้ ยลง หรือลดน้อยถอยลงแต่ประการใด ทรงรวมเป็นหนึง่ แต่คนเหล่านั้นก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกัน” ขอบคุณ “พระเจ้าเสด็จขึน้ ขณะทีม่ เี สียงโห่รอ้ งถวายชัย ในพระบุคคลเดียว” (สังคายานาแห่ง Chalcedon 451) พระยาห์เวห์เสด็จไปขณะที่มีเสียงเป่าเขาสัตว์ จงร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า จงร้องเพลงเถิด จงร้องเพลง Communicatio ถวายกษัตริย์ของเรา จงร้องเพลง เพราะพระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ปกครองทั่วแผ่นดิน (พระวาจาท�ำให้ประชากรของพระเจ้าเกิดขึ้นใหม่) “บุรษุ ผูห้ นึง่ เป็นผูไ้ ร้มลทิน มอบตนเองเป็นเครือ่ งบูชาเพือ่ ความดีของ จงร้องเพลงไพเราะถวายพระองค์เถิด พระเจ้าทรงปกครองเหนือนานาชาติ พระองค์ประทับ ผู้อื่น รวมทั้งศัตรูด้วย และกลับเป็นค่าไถ่ของโลก เป็นเครื่องหมาย อยู่บนพระบัลลังก์ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ (สดด 46:5-7) หนึ่งเดียวของความรัก” (MahatmaGandhi) ขอพรพระจิตเจ้า “พระเจ้าทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้า “พระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นเชื้อแป้งของพระเจ้า ทรงแทรกเข้ามาในชีวิต พระองค์น้ีกลับคืนพระชนมชีพ เราทุกคนเป็นพยานได้ ของมนุษยชาติ โดยกระจายงานของการช่วยให้รอดพ้นของพระองค์ ที่ได้ พระองค์ทรงได้รับการเทิดทูนให้ประทับเบื้องขวาของ ทรงกระท�ำส�ำเร็จในพระธรรมล�้ำลึกปัสกาออกไป พระองค์ยังทรงปกคลุม พระเจ้ า พระองค์ ท รงได้ รั บ พระจิ ต เจ้ า จากพระบิ ด า อดีตทั้งหมดของมนุษยชาติ เริ่มต้นจากอาดัมคนแรก” (Pope John Paul II) ตามสัญญา และประทานพระจิตเจ้านี้ให้เราดังที่ท่าน ได้เห็นและได้ยินอยู่นี้” (กจ 2:32-33)

July-August 2021

33


มุมมองสื่อที่ท้าทาย... Text I ว.วรินทร์

มุมมองสื่อ ที่ท้าทาย...

ครั้ ง หนึ่ ง โดยไม่ ตั้ ง ใจ ผู ้ เขี ย นได้ มี โ อกาสดู - ฟั ง รายการ “คิดบวก” ของช่อง PPTV HD 36 ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2018 ผ่านทาง Youtube ที่ว่า “การท�ำงานของ สื่อยุคใหม่ในมุมมองของ คุณด�ำรง พุฒตาล นักสื่อสารมวลชน อาวุ โ ส และเจ้ า ของต� ำ นานนิ ต ยสารคู ่ ส ร้ า งคู ่ ส ม” เป็ น ดั ง การจุดประกายความคิดและความอยากรู.้ ..” เทคโนโลยีทกี่ า้ วหน้า และกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย หรือที่เรียกว่า “สภาพ สังคมดิจิทัล”ในปัจจุบันนั้น เยาวชน...มีมุมมองอย่างไรกันนะ... มุมมองสื่อที่ท้าทาย...ส�ำหรับ...กุลชฏา เลิศวิทยาวิวัฒน์ หรือเมย์ ศิษย์เก่าน�ำ้ ดีจากรัว้ ธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่ จบการ ศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โครงการ ผลิตแพทย์เพือ่ ชาวชนบท CPIRD) คุณหมอประจ�ำโรงพยาบาล ในจังหวัดสงขลา...ที่ได้เขียนแบ่งปันความคิดเห็นที่มีต่อสื่อ

34

db Bulletin

ในบริบทต่างๆ... เยาวชน...ผูซ้ งึ่ องค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ตรัสไว้ในพระสมณลิขติ เตือนใจ “CHRISTUS VIVIT พระคริสตเจ้า ทรงพระชนม์อยู่” ว่าเป็น “ความหวังอันน่าปิติยินดี...” (ข้อ 299)

สื่อกับสังคมปัจจุบัน...

ความก้าวหน้าของสื่อแปรผันตามเวลาที่ผ่านไป ยิ่งเวลาล่วง จากอดีตไปมากเท่าไร การพัฒนาของสื่อก็ยิ่งก้าวกระโดดไปมาก เท่านั้น ก่อนอื่น ต้องถามก่อนว่า ค�ำว่า “สื่อ” ส�ำหรับคุณหมาย ถึงอะไร? ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2452 สื่อในค�ำกริยาหมายความว่า ติดต่อให้ถึงกัน หรือถ้าเป็นค�ำนาม หมายความว่า ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักน�ำให้รู้จักกัน ซึ่งหลายคนจะเห็นสัญลักษณ์ของสื่อแตกต่างกันออกไป การทีม่ กี ลุม่ คนพยายามเข้ามาพัฒนาสือ่ ให้ดขี นึ้ เพราะมีหลายคน


เห็นข้อดีของสื่อ สื่อถูกพัฒนาจนกลายเป็นเหมือนปัจจัยที่ห้าของ มนุษย์ ความส�ำคัญอยู่ที่ผู้ใช้สื่อต้องเฉลียวพอที่จะเห็นข้อเสีย ของมันด้วย เพราะต่อให้สร้างเหรียญขนาดใหญ่มากแค่ไหน ก็ยงั คง มีสองด้านเสมอ สือ่ ท�ำให้มนุษย์สอื่ สารกันได้ไวมากขึน้ เรียนรูจ้ กั กัน ได้เร็วมากขึ้น มีความสะดวกในการท�ำงานหรือการใช้ชีวิต หรือ บางที่ สื่อเป็นเหมือนครอบครัวไปแล้วก็ว่าได้ มีผู้คนมากมายด�ำรง ชีวติ อยูไ่ ด้ผา่ นสือ่ เหล่านี้ แต่ในขณะเดียวกัน สือ่ ก็ได้ทำ� ร้ายชีวติ คนไป ไม่น้อยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพูดถึงค�ำว่า สื่อกับสังคมปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน

สื่อกับเด็กและเยาวชน...

สื่อถูกใช้เป็นตัวกลางส�ำหรับเด็กและเยาวชนแบบมีบทบาท ชัดเจน การเข้าถึงสื่อที่ง่ายมากขึ้น ทั้งในฐานะคนรับสารและ ผู้ส่งสาร สื่อถูกใช้อย่างแพร่หลายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ความ สามารถของวั ย รุ ่ น ที่ ไ ด้ เ ปรี ย บคื อ การเรี ย นรู ้ ก ารใช้ สื่ อ ได้ อย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือการเรียนรู้นั้นผ่านมาจาก หลายช่องทาง คนรอบตัวมีอทิ ธิพลต่อการใช้สอื่ เหล่านัน้ อย่างเห็น ได้ชดั การผ่านการสัง่ สมประสบการณ์ในระดับหนึง่ และถูกปลูกฝัง การเรียนรู้ท่ีดี จะท�ำให้เกิดการแยกแยะสื่อระหว่างความจริงและ สิง่ ลวงตาทีม่ มี ากขึน้ ในปัจจุบนั การแสดงออกผ่านสือ่ ได้เปิดกว้าง มากยิ่งขึ้น วัยรุ่นในยุคนี้มีอิสระทางความคิดและการกระท�ำ แต่บางครั้งก็ลืมไตร่ตรองถึงความเหมาะสมของการแสดงออก เหล่านั้น ทั้งด้วยความตั้งใจและไม่ตั้งใจได้เช่นกัน

สื่อกับตัวฉัน...

สื่อเป็นเหมือนดาบสองคม หากใช้ในทางที่ดี ก็จะส่งเสริมไป ในทางที่ดี แต่หากใช้ในทางที่ผิดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ก็อาจ ส่งผลเสียตามมาในภายหลังได้ ถึงแม้จะรู้แบบนั้น ฉันก็รู้สึกว่า สือ่ ยังมีคณ ุ มากกว่าโทษอยูด่ ี ในปัจจุบนั ฉันมองเห็นการแสดงออก ผ่ า นสื่ อ สั ง คมหลากหลายรู ป แบบ สิ่ ง ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด เจนคื อ การโต้ เ ถี ย งกั น ทางความคิ ด ผ่ า นสื่ อ ออนไลน์ ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น การแสดงถึ ง ความเลวร้ า ยของสื่ อ อย่ า งอิ น เทอร์ เ น็ ต เสมอไป แต่เป็นการฝึกให้ตระหนักไตร่ตรอง แยกแยะและรับผิดชอบ ต่อเนือ้ หาสาระทัง้ ในฐานะผูส้ ง่ และผูร้ บั สารนัน้ ๆ ด้วย สือ่ ในชีวติ ฉัน นอกจากใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำ� คัญ ยังต้องใช้ในการสื่อสาร และเพื่อการสื่อสาร หมายถึง ท�ำอย่างไร ให้ความคิด ค�ำพูด และ การกระท�ำของฉันมีความสอดคล้องกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น จนกลับกลายเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกได้ว่า “สื่อชีวิต” ที่มีความงดงาม สะท้อนความดีที่ยังต้องเป็นและ มีในโลกใบนี้... การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของสื่อ จึงเป็นข้อท้าทายให้ฉันพร้อมก้าวเดินไปพร้อมกับมัน อย่ า งมี ส ติ รู ้ เ ท่ า ทั น และใช้ ป ระโยชน์ อ ย่ า งสร้ า งสรรค์ . .. “เท่าทันสื่อ...เท่าทันตัวเอง”!#=สื่อชีวิต#สื่อที่ท้าทาย...

สื่อกับการแสวงหา...

การเลือกใช้สอ่ื เป็นเหมือนบทเรียนส�ำคัญทีต่ อ้ งได้รบั การเรียนรู้ ในคนทุกวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ สื่อมีหลายประเภท ดังนั้น การเลือกเสพสื่ออย่างตั้งใจ จะช่วยท�ำให้เราสามารถไตร่ตรอง สารที่ รับมาได้ลึ กซึ้ง มากยิ่งขึ้น สื่อจะดูโดดเด่นมากที่สุดเมื่อ ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้รับสารได้ตรงจุด เช่น หากเราต้องการดูข่าว สื่อที่เราต้องการมากที่สุด คือข่าวที่มีความ ละเอียด และเชื่อถือได้ เป็นต้น การแสวงหาความรู้ การเรียน การท� ำ กิ จ กรรมต่ า งๆ แสวงหาความบั น เทิ ง ความต้ อ งการ ส่ วนตัว ต่างๆ เป็ นไปตามความชอบและบริบทของแต่ละคน ส�ำหรับคริสตชน การเข้าถึงการภาวนาเป็นเรื่องที่ง่ายมากเช่นกัน การแสวงหาเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ต้องมีแหล่งค้นหาที่ดี ทีต่ รงกับความต้องการด้วย การแสวงหาเหล่านี้ ท�ำให้ผคู้ นมีอาชีพ มีรายได้เลีย้ งครอบครัว คนเราต้องมีความปรารถนาเพือ่ หล่อเลีย้ ง ชีวิตอยู่เสมอ เพื่อก้าวหน้าและมีพลังในชีวิต เหมือนการที่เรารัก และปรารถนาในพระเจ้าอยูเ่ สมอ เป็นการแสวงหาแก่นแท้ในชีวติ อย่างไม่มีสิ้นสุด July-August 2021

35


ศาริสา จันทร์แพง Text : เด็กสมหวัง

#นักแบดหน้าหล่อ มือวางอันดับ 1 รุน่ U11 ของประเทศไทย

ศาริจันสทร์าแพง

น�้ ำ ว้ า - ศาริ ส า จั น ทร์ แ พง นั ก กี ฬ า แบดมินตันรุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี (รุ่น U11) ปั จ จุ บั น เรี ย นอยู ่ ช้ั น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 โรงเรียนธิดาแม่พระ จ.สุราษฎร์ธานี เส้นทาง นั ก แบดตั วจิ๋วคนนี้ ไม่ ธ รรมดา เขาประเดิ ม รางวัลสนามแรกตั้งแต่อายุ 7 ขวบ จนกระทั่ง ก้าวสูม่ อื วางอันดับ 1 รุน่ U11 ของประเทศไทย ได้ทั้ง 3 ประเภท ในปี 2020 เส้ น ทางสู ่ ส นามแข่ ง ขั น ของน้ อ งน�้ ำ ว้ า เป็ น อย่ า งไร? บทเรี ย นใหม่ ที่ ไ ด้ จ ากสนาม แบดมิ น ตั น แตกต่ า งจากในรั้ ว โรงเรี ย น มากน้อยแค่ไหน? ติดตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทั้งหมดจากน้องน�้ำว้าไปพร้อมกัน...


ความผิดหวังที่มาพร้อมกับ น้องน�ำ้ ว้าเริม่ เล่นแบดมินตันตัง้ แต่อายุ การเริ่มต้นใหม่ จุดเริ่มต้น

5 ขวบ เขาโดดเด่นในการแข่งขันตั้งแต่ อายุ 7 ขวบ โดยประเดิ ม สนามแรก ใน “รายการจุ ฬ า CU โอเพ่ น ” ด้ ว ย ความเป็นนักสู้ที่ติดตัวเขามาประกอบกับ การฝึกฝนอย่างหนัก ท�ำให้นำ� ว้ า้ คว้าแชมป์ ในรายการต่างๆ เป็นว่าเล่น ตั้งแต่อายุ ยังน้อย เริ่มจากรุ่น U9 ปี 2020 น�ำ้ ว้าสามารถคว้าทริปเปิล้ แชมป์ ในรุ่น U11 ในรายการโตโยต้า ชิงแชมป์ ประเทศไทย ทั้งหญิงเดี่ยว หญิงคู่ และ คู่ผสม ตามติดมาด้วยรายการ Granular ซึ่งคว้าแชมป์มาครองได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนสามารถขึ้ น มาเป็ น มื อ วางอั น ดั บ 1 รุ่น U11 ของประเทศไทยได้ทั้ง 3 ประเภท

แรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจของน�ำ้ ว้าคือการทีไ่ ด้เห็น ความสามารถของนักแบดมินตันระดับโลก รวมทั้ ง นั ก แบดมิ น ตั น ไทยที่ ส ามารถ คว้าแชมป์โลกมาได้ “หนูอยากไปยืนอยู่ จุดนั้นบ้าง” ไอดอลของน�้ำว้าคือ พี่ปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย (นักแบดมินตันหญิง ทีมชาติไทย) เขาฝันที่จะเป็นและไปให้ถึง เหมือนพี่ปอป้อ

รางวัลที่ภาคภูมิใจ

เมื่อถามถึงรางวัลที่ภูมิใจ น�้ำว้าบอก กั บ เราว่ า “หนู รู ้ สึ ก ภู มิ ใจกั บ ทุ ก รางวั ล ทีห่ นูสามารถคว้าชัยชนะมาได้คะ่ ยิง่ ทีเ่ ป็น รายการระดับประเทศด้วยแล้ว ทุกแมตช์ มี แต่ ค วามเข้ ม ข้ น และสูสีกันมาก” และ เมื่อถามถึงรางวัลที่ภูมิใจและปลาบปลื้ม มากที่สุด น�้ำว้ายิ้มด้วยความสุขพร้อมกับ บอกกั บ เราว่ า “คื อ รางวั ล ขนะเลิ ศ ถ้ ว ย พระราชทานจากองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิ ราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีค่ะ”

กีฬามีแพ้และมีชนะเสมอ “หนูต้องเจอ กั บ ความผิ ด หวั ง ในการแข่ ง ขั น มี ทั้ ง เสี ย ใจ เสี ย ดาย เสี ย น�้ ำ ตา ซึ่ ง เกิ ด จาก ความประมาทและความไม่พร้อมของตัวหนูเอง แต่ พ อหนู โ ตขึ้ น หนู ก็ มี มี ส มาธิ ม ากขึ้ น หนูสร้างก�ำลังใจให้กับตัวเอง และพยายาม แก้ ไขจุ ด ด้ อ ยของหนู แ ละศึ ก ษาเกมของ คู ่ ต ่ อ สู ้ ค วบคู ่ กั น ไปด้ ว ย สิ่ ง เหล่ า นี้ ช่วยท�ำให้หนูมีโอกาสมากขึ้นตามไปด้วย”

ความมุ่งมั่นในทุกด้าน

“หนูตอ้ งซ้อมแบดหนักมาก เพราะฉะนัน้ เวลาเรียนในห้องเรียน หนูจะตั้งใจเรียน เป็ น พิ เ ศษ งานหรื อ การบ้ า นที่ ค รู สั่ ง หนู จ ะรี บ ท� ำ ให้ เ สร็ จ ที่ โรงเรี ย น ยิ่ ง เวลา ที่หนูต้องไปแข่งขันต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ หรือสองสัปดาห์ติดกัน หนูจะรีบตามงาน และใช้วิธีการถามเพื่อนหรือครูประจ�ำวิชา เพื่อให้เรียนทันเพื่อนค่ะ” น�้ ำ ว้ า จั ด แบ่ ง เวลาและเอาใจใส่ ทั้ ง การเรียนและการฝึกซ้อมได้เป็นอย่างดี จนท� ำ ให้ ผ ลการเรี ย นภาคล่ า สุ ด ของเขา ได้เกรดเฉลี่ย 3.94 น�้ำว้าได้รับเกียรติบัตร เรียนดีและได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียน ในเครือเอกชนให้เป็นนักเรียนทีท่ ำ� ชือ่ เสียง ในระดับประเทศด้วย

- การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น รู้จัก กาลเทศะ รู้จักการวางตัวในสังคม และ พูดจาสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน - ความคล่องตัว การมีปฏิภาณไหวพริบ และการตัดสินใจ ซึ่งใช้ควบคู่กับการเรียน ได้เป็นอย่างดี

ความใฝ่ฝันในอนาคต

“เป้าหมายของหนูตอนนี้คืออยากติด เยาวชนทีมชาติ ติดทีมชาติชุดใหญ่ และ อยากเป็นตัวแทนทีมชาติไทยไปแข่งขัน แบดมินตันระดับโลก หนูจะเป็นแชมป์โลก และแชมป์โอลิมปิกให้ได้ค่ะ”

สิ่งที่อยากจะบอกกับเพื่อนๆ

“อยากให้เพือ่ น ๆ ทุกคน หาจุดเด่นของ ตั ว เองให้ เจอ ค้ น พบสิ่ ง ที่ เราชอบหรื อ อยากท�ำมันมากทีส่ ดุ เมือ่ เจอแล้วก็ให้ตงั้ ใจ ไปให้ถงึ จุดหมาย ไม่มอี ะไรทีจ่ ะได้มาง่ายๆ โดยไม่พยายาม ขอให้เรามีความอดทนและ มีวนิ ยั จงเชือ่ ว่าไม่มใี ครชนะเราได้ นอกจากเรา จะชนะใจของเราเอง หากมีคนบนโลกนี้ ท�ำได้ เราก็ต้องท�ำได้เช่นกัน”

แบดมินตันให้อะไรกับน�้ำว้าบ้าง

- การตรงต่ อ เวลา การมี ค วาม รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม - การรู ้ จั ก แบ่ ง เวลาให้ ถู ก ต้ อ งและ ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเวลาเรียน เวลาซ้อม หรือเวลาพักผ่อน - การมี ม ารยาท มี สั ม มาคารวะ มีน�้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และรู้จัก ขอบคุณ ขอโทษ

July-August 2021

37


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ เรียบเรียง: “ภาชนะดินเผา”

คุณพ่อคาร์โล เกรสปี ผู้รับใช้ของพระเจ้า (1891-1982)

คาร์โล เกรสปี โครชี (Carlo Crespi Croci) เกิดที่เมืองเลญาโน (มิลาน) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 1891 ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจ�ำนวนพีน่ อ้ ง 13 คน เมือ่ อายุ 12 ปี ท่านได้เข้าเรียนทีโ่ รงเรียน มัธยมซาเลเซียนซานอัมโบรโจทีม่ ลิ านและได้จบระดับมัธยมปลาย Ginnasio ที่นั่น จากนั้น ในปี 1903 ท่านได้เข้าเรียนต่อ Liceo ที่โรงเรียนมัธยมซาเลเซียนที่วัลซาลิเซ ตุริน (ระบบการเรียน ระดับมัธยมของประเทศอิตาลีแบ่งเป็น ระดับมัธยมต้น 3 ปี และ ระดับมัธยมปลาย 5 ปี ซึง่ แบ่งเป็น 2 ภาค คือ 2 ปีแรก เรียก ว่า Ginnasio และอีก 3 ปีหลัง เรียก Liceo) หลังจากนั้นท่านได้เข้าในคณะ ซาเลเซียนและได้เดินในเส้นทางของการเป็นนักบวชซาเลเซียน เรื่ อ ยมา ท่ า นได้ ป ฏิ ญ าณตนครั้ ง แรกเมื่ อ วั น ที่ 8 กั น ยายน 1907, ปฏิญาณตนตลอดชีวิตในปี 1910 และได้รับศีลบวช เป็นพระสงฆ์ในปี 1917 หลังจากนั้น ท่านได้ศึกษาต่อในสาขา วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปาดัว ท่านมีความสามารถในด้านนี้ มาก โดยในระหว่างเรียน ท่านได้คน้ พบจุลนิ ทรียต์ วั ใหม่ซงึ่ เป็นที่ สนใจของนักวิทยาศาสตร์ในเวลานั้นเป็นอย่างมาก ในปี 1921 ท่านได้รับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและได้รับ อนุปริญญาสาขาดนตรีด้วย ในปี 1923 ท่านเดินทางไปเป็นธรรทูตทีป่ ระเทศเอกวาดอร์และ ท�ำงานอยู่ที่เมืองคูเอนกา (Cuenca) จนตลอดชีวิตของท่าน ท่านได้ท�ำงานต่างๆ มากมายเพื่อช่วยเหลือคนยากจน อาทิเช่น จัดตั้งระบบไฟฟ้าให้ชาวบ้านที่มาคัส,

เปิดโรงเรียนเกษตรกรรมในยานูนกัย, สร้างโรงเรียน ศิลปะและงานอาชีพแห่งแรก ซึ่งภายหลังได้ตั้งเป็น มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคซาเลเซียน, ก่อตั้งนวกสถาน ที่ Yanuncay, ในปี 1940 ท่านได้เปิดคณะศึกษาศาสตร์ และได้เป็นอธิการบดีคนแรก นอกจากนี้ท่านยังก่อตั้ง โรงเรียนประถม “Cornelio Merchán” ส�ำหรับเด็ก ยากจน, เปิ ด ศู น ย์ อ บรมซาเลเซี ย นที่ เ ตรี ย มตั ว ไปท�ำงานในเอกวาดอร์ตะวันออก, ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ “คาร์โล เกรสปี” ซึง่ มีผลงานทางวิทยาศาสตร์มากมาย และเป็นที่รู้จักแม้นอกเขตอเมริกาในปัจจุบัน ท่านได้เผยแพร่ความศรัทธาต่อแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ อย่างสุดก�ำลัง ท่านอยู่ท่ามกลางคนยากจนเสมอ โดย เฉพาะในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ ท่านจะสอนค�ำสอนแก่เด็ก เร่ร่อน ให้อาหารและให้พวกเขาได้เล่นสนุกสนานและ ได้ เ ปิ ด ศู น ย์ ตั ด เย็ บ ส� ำ หรั บ เด็ ก หญิ ง ที่ ย ากจนด้ ว ย ในช่วงสุดท้ายของชีวิต มีสัตบุรุษมารอรับศีลอภัยบาป จากท่ า นเป็ น จ� ำ นวนมากและผู ้ ค นเริ่ ม เรี ย กท่ า น จนติดปากว่า “นักบุญคาร์โล เกรสปี” ท่านสิน้ ใจทีเ่ มืองคูเอนคาเมือ่ วันที่ 30 เมษายน 1982


เรื่องมีอยู่ว่า by ลียองเอ

จะเลือกอะไรดีนะ??? เด็กผู้หญิงหน้าทะเล้นคนหนึ่งรีบวิ่งออกจากบ้านไปซื้อของที่ร้านหน้าปากซอย ในหมู่บ้านตามที่แม่สั่ง ระหว่างทางที่ไปเธอก็ไหว้ทักทายทุกคนที่พบเจอ….. “สวัสดีจ้ะตาจุก...ปู่จืด...ย่าจั่น...ยายจันทร์…ลุงจ้อย...ป้าจี๊ด...อาจ๊อด...น้าจี้... พี่เจฟ...น้องเจน…หนูจุ่น” เธอรู้จักทุกคนในชุมชนแห่งนี้ และก็ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเธอเช่นกัน ทักไปทักมาเธอก็ลืมรายการของที่ท่องเอาไว้เสียสนิท เธอจึงรีบวิ่งกลับบ้าน ไปถามแม่ ซึ่งคราวนี้แม่ของเธอก็ไม่ลืมที่จะจดรายการของที่ต้องการ ใส่เศษกระดาษไปให้เธอด้วย พร้อมกับก�ำชับว่าให้รีบๆ ไปรีบๆ กลับ อย่ามัวโอ้เอ้อยู่ เธอเองก็ตงั้ ใจทีจ่ ะรีบไปรีบกลับตามทีแ่ ม่บอก แต่ระหว่างทางทีไ่ ป เธอเจอแมวของลุงจ้อยเดินพลัดหลงอยู่ข้างทาง ใจหนึ่งเธอก็อยากจะ รีบวิ่งไปซื้อของให้แม่ แต่อีกใจหนึ่งเธอก็สงสารลุงจ้อยเพราะเธอรู้ว่า ลุงจ้อยรักแมวตัวนี้มาก อีกทั้งยังกลัวว่าแมวของลุงจ้อย อาจจะหลงทางหรือได้รับอันตราย จากรถที่วิ่งสวนไปสวนมาบนท้องถนน เธอจึงรีบอุ้มแมวเอาไปคืนให้กับลุงจ้อย ที่อยู่บ้านท้ายซอย พอลุงจ้อยเจอแมวที่หายไป ลุงจ้อยก็ดีใจเป็นการใหญ่ หอมแมวซ้ายทีขวาที แล้วหันมาขอบใจเธอ เธอเองก็ดีใจที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น แต่ทว่ากระดาษที่แม่จดรายการของมาให้นั้นปลิวหายไปแล้ว เธอไม่กล้าวิ่งกลับไปถามแม่รอบสองเพราะกลัวแม่จะว่า เธอจึงซื้อของเท่าที่จ�ำได้ไปให้แม่ เมื่อกลับมาถึงบ้าน เธอเดินหน้าจ๋อยไปหาแม่ แล้วก็บอกแม่ว่า ซื้อของไม่ครบเพราะท�ำกระดาษหาย แต่แม่ของเธอกลับยิ้มหวาน แล้วเอามือลูบหัวเธอบอกว่าลุงจ้อยโทรมาเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้แม่ฟังแล้ว และชื่นชมแม่ที่เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี มีน�้ำใจ มีสัมมาคารวะ มีจิตอาสาแบบนี้….. แม่บอกว่าแม่ภูมิใจในตัวลูก แม่อยากให้ทุกคนรักและเอ็นดูลูกของแม่ เหมือนอย่างที่แม่รักและเอ็นดูลูกของแม่ด้วย “การให้ย่อมเป็นสุขมากกว่าการรับ” (กจ 20:35) ทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนจะมีการถวายมิสซา แก่สมาชิกนิตยสาร รวมทั้งผู้มีอุปการะคุณต่อนิตยสาร

บ�ำรุงการพิมพ์ วิภา นิติรักษ์ สุพจน์-รัตนา ดีสุดจิตร สุรี เสนีย์รัตนประยูร

สุพัตรา ราชกิจ วรรณา ชยานุภัทร์กุล วีรี ประทีปปรีชา

สัชฌการ แสงมณี เฮเลน ประคัลภ์-ไพรศรี อุดมอักษร

ศักดิ์สกล พรหมสาขา ณ สกลนคร มณีวรรณ กิจบ�ำรุง ไม่ออกนาม 5 ท่าน

July-August 2021

39


โมทนาคุณแม่พระ ตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา ลูกมีปัญหาสุขภาพ หลายอย่าง ลูกได้วอนขอแม่พระและนักบุญยอห์นบอสโก ด้วยความเชื่อมั่น ปัจจุบันนี้ สุขภาพลูกดีขึ้นมากแล้ว ลูกจึงขอโมทนาคุณแม่พระและนักบุญยอห์นบอสโก ที่ได้ช่วยเหลือลูกในครั้งนี้ เทเรซา ปราณี

ของตนได้ทจี่ งั หวัดเชียงราย (ในสารคุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์ เร ฉบั บ ที่ 43 เดื อ นมกราคม - กุ ม ภาพั น ธ์ 2021) ดิฉันได้อ่านแล้วก็ได้สวดวอนขอท่านให้ช่วย ดิฉนั เช่นเดียวกัน หลังจากสวดได้ประมาณหนึง่ สัปดาห์ ในวั น ที่ 17 เมษายน 2021 ก็ มี ค นโทรมาติ ด ต่ อ ขอซือ้ ทีด่ นิ และในวันที่ 19 เมษายน 2021 ก็ขายทีด่ นิ ได้ ดิฉันจึงขอโมทนาคุณคุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร มา ณ ที่นี้

กลับใจ

นิรมล สันติมโนกุล

ดิฉันเป็นคริสตชนที่ลุ่มๆ ดอนๆ แต่งงานกับ พ่อบ้านที่เคยเป็นพุทธ แล้วมารับศีลล้างบาป ชีวิต ครอบครัวแรกๆ มีความล�ำบากในการท�ำมาหากิน จึ ง ละเลยการเป็ น คริ ส ตชน ไม่ ส นใจเรื่ อ งวั ด วา จนกระทัง่ อายุมากขึน้ ๆ จึงกลับใจมาหาพระ ร่วมมิสซา ไม่เคยขาด ศรัทธาขึ้น เมื่อใกล้ชิดพระมากขึ้นก็รู้สึก ได้รับพระพรเพิ่มขึ้น มีความเชื่อ ความหวังในพระ ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สามีล้มป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ดิฉัน หนักใจที่สามีทิ้งวัดตั้งแต่หลังแต่งงาน มาประมาณ 30 กว่าปี ดิฉนั ได้แต่เฝ้าสวดภาวนาทุกวันให้สามีกลับใจ เพือ่ แก้บาป รับศีล ในทีส่ ดุ สามีได้กลับใจคืนดีกบั พระ แก้ บ าป รั บ ศี ล ได้ รั บ ศี ล เจิ ม ผู ้ ป ่ ว ย เป็ น พระพร ที่ดิฉัน อยากโมทนาคุณพระเจ้ า และพระแม่ ม ารี อ า ในการกลั บ ใจของสามี หลั ง จากที่ ส ามี ก ลั บ ใจ ใกล้ ชิ ด พระมากขึ้ น อาการป่ ว ยทางกายของสามี ก็ดีขึ้นด้วย พระเจ้าได้เยียวยาทั้งฝ่ายกายและวิญญาณ ณหทัย

ขายที่ดินได้ ดิฉันได้ประกาศขายที่ดินที่อ�ำเภอแม่สอด เป็น เวลา 3 ปีกว่าแล้ว แต่ขายไม่ได้สักที วันหนึ่งดิฉัน ได้อา่ นเรือ่ งราวการโมทนาคุณคุณพ่อการ์โลของสุภาพ สตรีท่านหนึ่งซึ่งได้รับพรจากท่านเพื่อให้ขายที่ดิน

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่

ธารน�้ำใจ

หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com

บัญชี กองทุนนิตยสารดอนบอสโก ธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาโรงพยาบาลรามค�ำแหง เลขที่บัญชี 666-2-11320-5

แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา อ่านนิตยสารออนไลน์

(หากท่านเปลี่ยนชื่อและที่อยู่ผู้รับ กรุณาแจ้งให้ทางนิตยสารทราบ)

สนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโกได้ที่

(ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนทราบด้วย)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.