นิตยสารดอนบอสโก-Nov-Dec 2018 (Thai Salesian Bulletin)

Page 1

ISSN 0857-4781 NOVEMBER-DECEMBER 2018

นิตยสารครอบครัวซาเลเซียน ปีที่ 61 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561


EDITOR’s NOTE

จากการวิจัยของเอมิลี เอสฟาฮานี สมิท  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน พบว่า  แม้จะมีความสุขและอยู่ในประเทศที่คุณภาพชีวิตสูง ก็ตาม แต่คนจ�ำนวนมากก็ยังเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง และความโดดเดี่ยว เพราะชีวิตขาด “ความหมาย”  ไม่ใช่เพราะขาดความสุข ชีวิตที่มีความหมายต่างจากชีวิตที่มีความสุข   “ความสุข” เป็นเรื่องของการ “ได้รับ” และ “ความรู้สึกพึงพอใจ” ชั่วขณะ แต่ “ความหมาย” เป็นเรื่องของการ “ให้”  และการสร้าง “คุณค่า” ให้กับตนเองและผู้อื่น กว่านิตยสารดอนบอสโกฉบับเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมนี้ จะอยู่ในมือผู้อ่าน ก็น่าจะอยู่ใกล้เทศกาลพระคริสตสมภพ และเข้าสู่บรรยากาศวันสิ้นปีเก่าและขึ้นปีใหม่ ซึ่งท�ำให้เรานึกถึง ส.ค.ส. (ส่งความสุข) เราอวยพรกันเพื่อขอให้มีความสุขสมหวัง ขอให้ฝันเป็นจริง ขอให้ร�่ำรวย ขอให้สุขภาพแข็งแรง ฯลฯ

สมโภชพระคริสตสมภพหรือการฉลองการบังเกิด ของพระเยซูเจ้า คือฉลองแห่งการให้ ซึ่งท�ำให้ชีวิตมีความหมาย “พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก จึงประทานพระบุตร เพียงพระองค์เดียวของพระองค์ มาบังเกิด และสิ้นพระชนม์ เพื่อเราทุกคนจะได้รับความรอด”

แต่ว่า “ความสุข” คืออะไร บางคนว่าคือความส�ำเร็จ การมีความรู้สึกดีๆ การไม่มีความทุกข์ ฯลฯ

ลาก่อนปีเก่าและสวัสดีปีใหม่  ขอ ส.ค.ม.  คือ ส่ง “ความหมาย”  แทน ส.ค.ส. ถึงผู้อ่านทุกท่าน หวังว่าทุกท่านจะพบความหมายในชีวิตทุกวัน

ใครๆ ก็อยากได้ชีวิตที่มีแต่ความสุข เราไขว่คว้าหาความสุขทุกวัน  โดยเฉพาะความสุขที่มาจากสิ่งภายนอก เสื้อผ้าทันสมัย การกินอาหารอร่อยๆ มีนาฬิกาหรูๆ ใส่ และมีเงินในกระเป๋ามากๆ แต่ชีวิตไม่ได้ต้องการแค่ความสุข ชีวิตยังต้องการ “ความหมาย”

บรรณาธิการ

วัตถุประสงค์ : 1. เผยแพร่จิตตารมณ์และกิจการซาเลเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธรรมทูต การอบรมศึกษา งานอภิบาลเยาวชน และการส่งเสริมและปลูกฝังกระแสเรียก 2. กระชับสายสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างกลุ่มต่างๆ ของครอบครัวซาเลเซียน 3. เผยแพร่ความรักและความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าและแม่พระ เจ้ า ของผู ้ พิ ม พ์ : คุ ณ พ่ อ เทพรั ต น์ ปิ ติ สั น ต์ ที่ ป รึ ก ษา : พระสั ง ฆราชโยเซฟ ประธาน ศรี ด ารุ ณ ศี ล บรรณาธิ ก ารบริ ห าร : sdbsocomthai@gmail.com กองบรรณาธิ ก าร : ซ.วิ ริ น ทิ พ ย์ อิ น ทร์ แ ย้ ม , ซ.มยุ รี งามวงศ์ , ซ.ธิ ด าเพ็ ญ จรั ส ศรี , ซ.ลั ด ดา รั ช นี ลั ด ดาจิ ต , คุ ณ ธั ญ ญา ศิ โรรั ต น์ ธั ญ โชค, บ.อนุ สิ ท ธิ์ จั น ทร์ เพ็ ญ ฝ่ า ยศิ ล ป์ แ ละพิ สู จ น์ อั ก ษร : ปาริ ฉั ต ร แก้ ว พั น ธุ ์ ช ่ ว ง แผนกการเงิ น : บ.วรวุ ฒิ จิ ร สุ จ ริ ต ธรรม พิ ม พ์ ที่ : วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ด อนบอสโกกรุ ง เทพฯ โทร.02-6529625-30 จัดพิมพ์โดย : แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน ส�ำนักงานนิตยสารดอนบอสโก : 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel : (02) 7317100 Email : thaisdbbulletin@gmail.com

02

dbBulletin 2018


CONTENTs

dbBULLETIN NOVEMBER-DECEMBER 2018 ภาพจากปก “ก้าวไปพร้อมกันกับดอนบอสโก” “LET’S WALK TOGETHER WITH DON BOSCO” ชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารีซาเลเซียน ครั้งที่ 8 ค่ายวชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 3-7 ธันวาคม ค.ศ.2018

8 22

11

02 EDITOR’s NOTE 04 เรื่องเล่าจากสิง่ รอบตัวของพ่อบอสโก โต๊ะบิลเลียด แห่งวัลดอกโก 05 เสียงเยาวชน คิดอย่างไรกับการเรียนค�ำสอน และอยากให้ครูค�ำสอนสอนเรื่องอะไร

08 ลูกเสือซาเลเซียน 11 14 16 22 24 26

ก้าวไปพร้อมกันกับดอนบอสโก

สัมภาษณ์คุณพ่อจายาพาลาน ราฟาเอล แก่นซาเลเซียน LOCAL NEWS บทความ รับพระคุณการุณย์ในเดือนผู้ล่วงลับ บทความ พระสมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ กระซิบพระวรสารในหัวใจเยาวชนที่ศูนย์ฝึกอาชีพดอนบอสโก เวียงจันทน์

34

39

30 LECTIO DIVINA ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป 34 POPE 2 [you]th ความกตัญญูและการด�ำเนินชีวิตสวนกระแส 35 ส่องโลกซาเลเซียน 39 กล้ากระแสเรียก ก้าวที่ 2 สองล้ออภิบาลด้วยรัก 42 เส้นทางจอมYOUTH การประชุมสมัชชาพระสังราชครั้งที่ 15 48 ครอบครัวซาเลเซียน ความสุขของสมาชิก VDB 50 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน บุญราศีฟิลิป รีนัลดี 51 เรื่องมีอยู่ว่า ผมเป็นขโมย รอยสักบนหน้าผากของเด็กหนุ่มชาวบราซิล 03

dbBulletin 2018


เรื่องเล่าจากสิ่งรอบตัวของพ่อบอสโก

By... Andy

โต๊ะบิลเลียด แห่งวัลดอกโก

ฉันเป็นโต๊ะบิลเลียดสุดหรูอยูใ่ น ร้านกาแฟปิอันตาที่เมืองกีเอรี ชาวบ้าน มักจะมาดื่มกาแฟ พูดคุยและก็มาเล่น บิลเลียดกันที่นี่ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของ คนในสมั ย นั้ น ผ้ า สั ก หลาดสี เขี ย วของ ฉั น สดใสเหมื อ นโอเอซิสในทะเลทราย ใครๆ ก็ ชื่ น ชมและอยากจะมาเล่ น ชี วิ ต ของฉั น ยิ่ ง ดู ดี ม ากขึ้ น เมื่ อ เด็กหนุ่มที่ชื่อยอห์น บอสโก มาท�ำหน้าที่ ดู แ ลฉั น เขาท� ำ ความสะอาดฉั น ทุ ก วั น และดูแลแขกในร้านอย่างดี ฉันเห็นเขา เสริฟกาแฟและขนมอย่างสุภาพและให้ บริการทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มเสมอ เวลาที่ไม่มีแขกในร้าน ฉันเห็น ยอห์ น ฝึ ก เล่ น บิ ล เลี ย ดกั บ เพื่ อ นคน หนึ่ ง ที่ ชื่ อ โยนาห์ เขามาที่ ร ้ า นนี้ เ ป็ น ประจ� ำ ทุ ก คนในร้ า นรู ้ ว ่ า โยนาห์ เ ล่ น บิลเลียดเก่งมากจนยากที่จะหาตัวจับได้ ขณะที่ ย อห์ น และโยนาห์ เ ล่ น บิลเลียดด้วยกัน ฉันได้ยินพวกเขาพูด คุ ย กั น ใน เรื่ อ งดนตรี บทประพั น ธ์ และเกี่ ย วกั บ หนั ง สื อ ต่ า งๆ ที่ พ วกเขา ไปยื ม มาจากร้ า นหนั ง สื อ เอลี ย าห์

04

dbBulletin 2018

pic

ประวัติคุณพ่อบอสโก

ปี ค.ศ.1835 ยอห์น บอสโกไปเรียนที่กีเอรี และในเวลาเดียวกันก็ท�ำงานเป็น บริกรที่ร้านกาแฟปิอันตาด้วย ที่นั่นยอห์นได้มีเพื่อนชาวยิวคนหนึ่งชื่อโยนาห์ ซึ่งเป็นคนมีการศึกษาและเล่นบิลเลียดเก่งมาก โยนาห์ได้ขอให้ยอห์นช่วย อธิบายค�ำสอนคาทอลิกให้กับเขา แม้ว่าทางบ้านจะไม่เห็นด้วยแต่ในที่สุด โยนาห์ก็ได้รับศีลล้างบาป (บันทึกศูนย์เยาวชน, ช่วงทศวรรษแรก, หน้า 10) แต่แล้ววันหนึ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ทั้งสองคนไม่พูดคุยกันเสียงดัง เหมือนแต่ก่อน ฉันได้ยินค�ำศัพท์แปลกๆ ซึ่งฉันไม่เคยได้ยินมาก่อน อย่างเช่น ค�ำว่า“โตราห์”, “คิปปูร์” ฯลฯ ฉันเริ่มแปลกใจและจินตนาการไปต่างๆ นานา ว่าพวกเขาอาจเป็นสมาชิกขององค์กรลับ หรืออาจจะก�ำลังวางแผนท�ำอะไรบางอย่าง หลายสัปดาห์ต่อมา หลังจากที่ได้ยินพวกเขาพูดคุยกันมาระยะหนึ่ง ที่สุด ฉันก็เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ครอบครัวของโยนาห์เป็นชาวยิว แต่ โยนาห์ ต้องการจะเป็นคาทอลิก ด้วยเหตุนี้ในระหว่างที่พวกเขาเล่นบิลเลียดกัน ยอห์น ได้อธิบายค�ำสอนให้กับโยนาห์ฟังไปด้วย ฉันเป็นพยานได้ถึงสิ่งที่ยอห์นสอน เพราะฉันได้ยินพวกเขาคุยกันเรื่องบัญญัติของพระเจ้า การคืนดี ศีลศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ ในทีส่ ดุ โยนาห์กไ็ ด้รบั ศีลล้างบาป ฉันอยากขอบใจเด็กทัง้ สองคนทีท่ ำ� ให้ ตัวฉันเป็นมากกว่าโต๊ะบิลเลียดธรรมดา เพราะผ้าสักหลาดสีเขียวของฉันได้กลาย เป็นดังดินดีที่ช่วยบ่มเพาะเมล็ดพันธ์ุแห่งมิตรภาพ ความรู้และความเชื่อให้กับ คนทั้งสอง db


เสียงเยาวชน

dbBulletin

By... Eccomi

เสียงเยาวชน เคยคิดมั้ยว่า จะเสียเวลาไปเรียนค�ำสอนท�ำไม? เรียนค�ำสอนแล้วไม่เห็นว่าจะท�ำให้รวย ไม่ช่วยให้หางานได้ง่ายขึ้น สู้ไปเรียนวิชาการอื่นไม่ได้ ปัจจุบันปรัชญาชีวิตและค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนไป การหาความสะดวกสบายทางด้านวัตถุภายนอกท�ำให้มองข้ามความส�ำคัญของฝ่ายจิตใจ ลองมาฟังเสียงของเยาวชนคาทอลิกไทยกันว่า

คิดอย่างไรกับการเรียนค�ำสอน และอยากให้ครูค�ำสอนสอนเรื่องอะไร? นีน - พิชญาภา ว่องวารี อายุ 17 ปี ปั จ จุ บั น นี้ เ ยาวชนถอยห่ า งจากวั ด ด้ ว ยเหตุ ผ ลหลาย อย่างไม่ว่าจะเป็นเพราะเกม แฟน สื่อโซเชียลและการเรียน แต่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ต้นเหตุ หนูคิดว่าต้นเหตุที่แท้จริงมาจากตัวเรา นี่แหละ เมื่อก่อนหนูไปเรียนค�ำสอนทุกวัน แต่พอหนูเริ่มเรียน ชั้น ม.ปลาย หนูก็มีข้ออ้างที่จะไม่มาเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ เวลาเรียนค�ำสอนมีนิดเดียว หนูกลับไปสนใจสิ่งอื่นมากกว่า ตอน นี้หนูตั้งใจที่จะมาเรียนค�ำสอนให้มากขึ้น หนูอยากให้ครูสอน เรื่องพระคัมภีร์เพราะว่าหนูยังรู้ไม่มาก และที่ส�ำคัญค�ำสอนของ พระเยซูเจ้าอยู่ในพระคัมภีร์อย่างมาก หนูจึงอยากเรียนรู้ให้มากขึ้น 05 dbBulletin 2018


เสียงเยาวชน

บีม - ภัทรพล สวัสดี อายุ 16 ปี

pic

ผมคิดว่าการเรียนค�ำสอนเป็นสิง่ ทีด่ ซี งึ่ ช่วยยกระดับจิตใจและช่วยผมให้รจู้ กั พระเจ้ามากขึ้น ผมได้ข้อคิดหลายอย่างในการด�ำเนินชีวิตจากการเรียนค�ำสอน แม้ว่า บางครั้งเนื้อหาที่เรียนอาจจะไม่ตรงกับชีวิตประจ�ำวันของผม หากถามว่ารู้สึกอย่างไร เวลาไปเรียนค�ำสอน บางครัง้ ผมรูส้ กึ เบือ่ เพราะอาจด้วยเนือ้ หาทีเ่ รียนซ�ำ้ ๆ ซึง่ เคยเรียน มาก่อนแล้ว ประกอบกับวิธกี ารสอนทีไ่ ม่ดงึ ดูดใจท�ำให้รสู้ กึ ว่าอยากจะไปเรียนน้อยลง ผมอยากให้ครูค�ำสอนแบ่งปันประสบการณ์ของความเชื่อให้มากๆ ผมชอบ ฟังประสบการณ์จริงและอยากให้สอนเรื่องบุคคลในพระคัมภีร์นอกเหนือจากบุคคล ที่เด่นๆ (โนอาห์ อับราฮัม โมเสส โยเซฟ) ซึ่งได้ยินบ่อยครั้งแล้ว ผมอยากรู้จัก ประวั ติ นั ก บุ ญ หลายๆ องค์ เ พื่ อ จะได้ เ ห็ น แบบอย่ า ง รวมทั้ ง อยากรู ้ ป ระวั ติ ของคริสตศาสนาในประเทศไทยให้มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ผมอยากขอบคุณ คุณครูค�ำสอนทุกคนที่สอนผมมาตั้งแต่เด็กครับ

ออย - ปัทมพร แซ่โล้ว อายุ 17 ปี หนูคิดว่าการเรียนค�ำสอนเป็นสิ่งที่ดี ส�ำหรับหนูแล้ว การเรียนค�ำสอนเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหนูกับพระเจ้า ตอนนี้หนูเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หนูมีอะไรหลายๆ อย่าง ให้คิด มีหลายอย่างที่ต้องท�ำและมีการบ้านเยอะ จนบางทีหนูก็ ละเลยเรื่องชีวิตคริสตชนและรู้สึกว่าหนูอยู่ห่างจากพระเจ้า บาง ครั้งหนูท�ำการบ้านจนดึก ท�ำให้หนูไปนอนโดยไม่ได้สวดภาวนา เพราะความง่วง การเรียนค�ำสอนช่วยท�ำให้หนูกลับมาใกล้ชิด กับพระเจ้าอีกครั้ง เพราะเมื่อมาเรียนค�ำสอนพร้อมกับเพื่อนๆ ที่ โรงเรียน หนูได้สวดภาวนา ได้ฟงั พระวาจา ได้ทบทวนชีวติ ได้ขอพร และขอโทษพระ สิ่งนี้ท�ำให้หนูรู้สึกสบายใจมากขึ้น คนเราแม้จะ เก่งสักแค่ไหน แต่ถ้าขาดพระเจ้าแล้วชีวิตของเขาจะสมบูรณ์ได้ อย่างไร สิ่งที่หนูอยากจะให้มีในการสอนค�ำสอนก็คือ อยากให้เน้น เรื่องการน�ำพระวาจาของพระเจ้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน

ต้อง - สรวัฒน์ ดีสุดจิตร อายุ 23 ปี

ในทัศนคติของผมการเรียนค�ำสอนคือการเรียนรู้เรื่องราวความรักของ พระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ ผมมองว่าการเรียนค�ำสอนเป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นการปลูกฝัง ความเชื่อและคุณธรรมให้กับผู้เรียน เมื่อผมมองย้อนกลับไปในสมัยที่ผมยังเป็นเด็ก ผมอยากให้ครูค�ำสอนจัดกิจกรรมประกอบการสอนที่มีข้อคิดให้นักเรียนและสอน เกี่ยวกับพิธีกรรม เช่น การสอนร้องเพลงในวัด สอนอ่านบทอ่าน สอนช่วยมิสซา ฯลฯ การที่จะให้นักเรียนนั่งฟังครูบรรยายตลอดชั่วโมงอาจท�ำให้นักเรียนเบื่อและ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนค�ำสอน และน่าจะสอนวิธีการใช้ชีวิตวัยรุ่นให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการเป็นคริสตชน นอกนั้น การจัดให้มีชมรมหรือกลุ่มกิจกรรมที่ เหมาะสมกับเด็กจะช่วยท�ำให้พวกเขาใกล้ชิดกับพระเจ้าและรู้สึกผูกพันกับวัดมากขึ้น 06

dbBulletin 2018


dbBulletin ว่าน - เจนนิสา ริ้วงาม อายุ 18 ปี ฉันเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกขี้เกียจไปเรียนค�ำสอนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการ เรียนค�ำสอน 1 ชั่วโมงตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ฉันรู้สึกว่ามันนานมากและอยากจะไป ร่วมกิจกรรมบนหอประชุมกับเพื่อนๆ มากกว่า แต่เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง การเรียน ค�ำสอนท�ำให้ฉันได้รู้จักพระคัมภีร์มากขึ้น ได้ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนที่เป็นคาทอลิก ด้วยกัน และได้อยู่ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้น ตอนนี้ฉันเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว หากไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ฉันอาจจะไม่มีโอกาสได้มาเรียนค�ำสอน แบบนี้แล้ว ฉันจึงอยากใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ากับการเรียนเรื่องศาสนาให้มากที่สุด ฉันอยากให้ครูคำ� สอนได้ทบทวนความรูแ้ ละข้อค�ำสอนทีเ่ คยเรียนไปแล้วเพือ่ จะได้ซมึ ซับและจดจ�ำมากทีส่ ดุ โดยใช้สอื่ อุปกรณ์ประกอบ เช่น ภาพยนตร์ คลิปต่างๆ ที่ เกีย่ วข้องกับค�ำสอน ฯลฯ ฉันอยากให้คณ ุ ครูตอกย�ำ้ เกีย่ วกับประวัตนิ กั บุญแต่ละองค์และ ประวัตคิ วามเป็นมาของคริสตศาสนา โดยยกตัวอย่างประกอบเพือ่ จะได้เข้าใจได้งา่ ยขึน้

อู๋ - สิมิลัน สิริสายัณห์ อายุ 21 ปี ผมเป็นคริสตังยืน ได้รบั ศีลล้างบาปเมือ่ อายุ 19 ปี เมือ่ ผมยังเป็นเด็กผมอยากจะเป็น คาทอลิก เมือ่ ผมโตขึน้ ผมจึงพยายามค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับคาทอลิกด้วยตัวเอง ผมได้ อ่านพระคัมภีรพ์ ระธรรมใหม่จนจบเล่มและพยายามตามหาวัดคาทอลิกเพือ่ จะไปเรียนค�ำสอน ทีส่ ดุ เมือ่ สามปีทแี่ ล้วผมได้เรียนค�ำสอนกับกลุม่ ผูใ้ หญ่และได้รบั ศีลล้างบาปเมือ่ 2 ปีทผี่ า่ นมา ผมคิ ด ว่ า การเรี ย นค� ำ สอนเป็ น สิ่ ง จ� ำ เป็ น มาก ส� ำ หรั บ ผมแล้ ว การเรี ย นค� ำ สอนก่อนที่จะรับศีลล้างบาปเป็นเหมือนกับการเตรียมตัวก่อนเข้าท�ำงาน เพื่อจะท�ำงาน ให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานที่จะท�ำอย่างดีเสียก่อน เช่นเดียวกัน ก่อนที่คนหนึ่งจะรับศีลล้างบาปเพื่อเกิดใหม่เป็นลูกของพระเจ้า ก็จ�ำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการ เป็นลูกของพระองค์ เพื่อจะได้ท�ำหน้าที่เป็นลูกที่ดีอย่างแท้จริง ทุกครั้งที่ผมมาเรียนค�ำสอนผมรู้สึกมีความสุขมาก ผมได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย การเรียนค�ำสอนท�ำให้ความรักและความเชื่อของผมที่มีต่อพระเจ้าเพิ่มมากขึ้น ผมสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์แห่งความ รอดและประวัติของพระศาสนจักร ผมชอบที่จะเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนเป็นคริสตชนที่ดี และสามารถให้ค�ำตอบกับสิ่งที่ผมปฏิบัติได้ จากประสบการณ์ ข องผม ผมอยากให้ ค รู ค� ำ สอนช่ ว ยให้ ผู ้ เรี ย นมั่ น ใจว่ า พระเจ้ า มี จ ริ ง และทรงรั ก เราแต่ ล ะคน เมื่ อ คนหนึ่งได้สัมผัสถึงความรักของพระเจ้าแล้ว แน่นอนว่า สิ่งต่างๆ ก็จะตามมาเอง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจเรียน ความอยากที่จะ เรียนรู้ การปฏิบัติตน ฯลฯ ถ้าคนหนึ่งรู้ว่าพระเจ้ารักเขา เขาจะรักพระองค์ตอบและท�ำตามที่พระองค์ทรงสอน ปั จ จุ บั น นี้ ผ มรู ้ สึ ก ว่ า ตนเองยั ง รู ้ จั ก พระเจ้ า น้ อ ยไป แม้ ว ่ า ผมจะรั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ห่ ง การเริ่ ม ต้ น ชี วิ ต คริ ส ตชนครบ หมดแล้ ว แต่ ผ มก็ ยั ง ไปเรี ย นค� ำ สอนทุ ก อาทิ ต ย์ ขอบคุ ณ คุ ณ ครู ค� ำ สอนทุ ก คนที่ ส อนผมอย่ า งเป็ น ขั้ น เป็ น ตอน ผมไว้ ใ จ ครูค�ำสอน ผมว่าความรู้เกี่ยวกับพระเจ้านั้นไม่มีสิ้นสุด ผมอยากเรียนค�ำสอนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

T R O P E R จากข้ อ มู ล การวิ จั ย เชิ ง ส� ำ รวจเพื่ อ ศึ ก ษาการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ของเยาวชนคาทอลิก อายุระหว่าง 16-20 ปี จ�ำนวน 466 คน โดย สุ ่ ม แบบเจาะจงจากเยาวชนในอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ สั ง ฆมณฑล เชี ย งใหม่ สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี สั ง ฆมณฑลราชบุ รี และสั ง ฆมณฑล อุ บ ลราชธานี พบว่ า เยาวชนอยากให้ ค รู ค� ำ สอนสอนเรื่ อ งต่ อ ไปนี้

ร้อยละ 20.51 ต้องการให้สอน ความเชื่อ ความศรัทธา การภาวนา พระประสงค์ของพระเจ้า ร้อยละ 15.24 ให้สอนเรือ่ งการแสดงความรักต่อเพือ่ นมนุษย์ และการ เป็นคริสตชนที่ดี ร้อยละ 11.79 ให้สอนเรื่องการใช้ชีวิตวัยรุ่น เช่น ชีวิตในสังคม ปั จ จุ บั น ชี วิ ต วั ย รุ ่ น เพศสั ม พั น ธ์ การวางตั ว การเป็ น เยาวชนที่ มี คุ ณ ภาพ มารยาท สิ่งเสพติด ฯลฯ ที่มา: วรสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม (พ่อวัชศิลป์ หน้า 72) ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2009 /2552

07

dbBulletin 2018


บทความลูกเสือซาเลเซียน By... MR.OK

ก้าวไปพร้อมกัน

กับดอนบอสโก

ในปั จ จุ บั น นี้ ถื อ ว่ า ขบวนการลู ก เสื อ เป็ น ขบวนการทางการศึ ก ษาส� ำ หรั บ เยาวชน เพราะเป็นขบวนการที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของ เยาวชนเป็ น รายบุ ค คล เพื่ อ ให้ บ รรลุ ถึ ง การ พัฒนาอย่างสมบูรณ์ซึ่งร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดี มีความ รับผิดชอบต่อบุคคลอื่นรอบข้าง ในฐานะเป็น สมาชิกในสังคมและประเทศชาติ กิจการลูกเสือ เปิดโอกาสให้เด็กทุกเพศ ทุกวัยและทุกฐานะ มาร่วมกิจกรรมด้วยใจอิสระเสรี โดยไม่ค�ำนึง ถึงเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่งอุดมการณ์อันนี้ได้เป็น ไปตามความมุ่งประสงค์ หลักการและวิธีการที่ Robert Stephenson Smyth Baden Powell ผู้ให้ก�ำเนิดลูกเสือโลกได้วางไว้เมื่อ 100 กว่าปีที่ ผ่านมา ส�ำหรับในประเทศไทยกิจการลูกเสือนับ เป็นพระราชมรดกอันล�้ำค่าของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ช่วย ให้ประเทศชาติมีความมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้

08

dbBulletin 2018


dbBulletin โรงเรียนและศูนย์เยาวชนซาเลเซียนหลายแห่งทั่ว โลก รวมทัง้ ในประเทศไทยด้วย ได้พยายามส่งเสริมกิจกรรมลูก เสือส�ำหรับเยาวชน ทัง้ นีก้ เ็ พราะว่ากิจกรรมดังกล่าวช่วยเสริม สร้างเยาวชนให้พฒ ั นาในด้านต่างๆ ทีส่ ำ� คัญวิธกี ารอบรมลูก เสือมีแนวทางที่สอดคล้องกับวิธีการอบรมของคุณพ่อบอสโก ในปี นี้ ค ณะกรรมการการศึ ก ษาซาเลเซี ย นได้ จัดการชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารี ซาเลเซียน ครั้งที่ 8 ที่ ค่ายวชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี วันที่ 3-7 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ภายใต้สโลแกนที่ว่า “ก้าวไปพร้อมกันกับดอนบอสโก (Let’s walk together with Don Bosco)” โดยคาดหวังว่า ผ่ า นทางกิ จ กรรมของลู ก เสื อ นี้ เยาวชนจะเติ บ โตขึ้ น ทั้ ง กายและใจ และได้ซึมซับจิตตารมณ์ซาเลเซียนมากยิ่งขึ้น สองนักอบรม ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ (1857-1941) ผู้ให้ก�ำเนิด กิจการลูกเสือ และคุณพ่อบอสโก (1815-1888) ผู้เป็นบิดา และอาจารย์ ข องเยาวชน คื อ สองนั ก อบรมผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ ท่านทั้งสองมีรูปแบบและวิธีการในการอบรมเยาวชนที่มี ความสอดคล้ อ งกั น หลายประการให้ เราเปรี ย บเที ย บวิ ธี อบรมลู ก เสื อ ของลอร์ ด เบเดน เพาเวลล์ กั บ ความคิ ด ของคุณพ่อบอสโก กฎของลูกเสือสอนว่า “ลูกเสือนั้นต้องร่าเริงอยู่เสมอ” วิ ธี ก ารอบรมที่คุณพ่อบอสโกได้ถ่ายทอดให้กับ บรรดาซาเลเซี ย นเพื่ อ อบรมเด็ ก ๆ ก็ คื อ “ความร่ า เริ ง ” ซึ่ ง เป็ น หลั ก ส� ำ คั ญ ในการอบรมและเป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข อง เยาวชนซาเลเซียน คุณพ่อบอสโกกล่าวย�้ำเตือนเด็กอย่าง ไม่รู้จักเบื่อหน่ายว่า “จงร่าเริงเสมอ” “จงรับใช้พระเจ้า ด้วยการเป็นคนร่าเริงเสมอ จงสนุกสนานเริงร่าให้เต็มที่ ขอเพียงอย่างเดียวอย่าท�ำบาป” นักบุญดอมินิก ซาวีโอ ลู ก ศิ ษ ย์ ข องคุ ณ พ่ อ บอสโกได้ ยึ ด หลั ก ดั ง กล่ า วในการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ท่ า นได้ ก ล่ า วเตื อ นใจเพื่ อ นในศู น ย์ เ ยาวชน ว่ า “ที่ นี่ เราท� ำ ตนให้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ด ้ ว ยการเป็ น คนร่ า เริ ง ” กฎของลูกเสือสอนว่า “เกียรติและศักดิ์ศรีของลูกเสือ คือการได้รับความไว้วางใจ” คุณพ่อบอสโกสอนเสมอว่า “หากนักอบรมต้องการ ให้เด็กไว้วางใจก็ต้องท�ำให้เด็กรักเขาเสียก่อน เขาต้องรักเด็ก และเด็กๆ ต้องรู้สึกว่า ถูกรักจริงๆ

กฎของลูกเสือสอนว่า “ลูกเสือมีใจบริสุทธิ์และ จริงใจทั้งวาจาและกิจการ” คุณพ่อบอสโกเน้นเสมอว่า ความดีในตัวเด็กๆ และเยาวชนนั้นเป็นเหมือนดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมในทุ่งนา และเหมือนกับน�้ำที่ใสสะอาดสดชื่นในล�ำธาร คุณพ่อเรียก สิ่งนี้ว่า “ฤทธิ์กุศลแห่งความดี” และนี่คือเครื่องประดับ จิ ต ใจของเยาวชนที่ ดี ที่ สุ ด เพราะบุ คลคลที่ มี ใจบริ สุ ท ธิ์ และปราศจากเล่ห์เหลี่ยมจะเป็นบุคคลที่มีใจละเอียดอ่อน ใส่ใจต่อผู้อื่น ตรงไปตรงมา เราสามารถพูดคุยกับเขาด้วย ความมัน่ ใจว่า เขาจะเป็นอย่างทีเ่ ราเห็นและจะไม่ทำ� ดีเพียง เพือ่ หวังผลประโยชน์เท่านัน้ คุณพ่อบอสโกและลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ รูด้ วี า่ ความรักคือสิง่ ทีป่ ระเสริฐมากและไม่สมควรที่ จะใช้มนั เป็นเพียง “เครือ่ งมือ” เพือ่ แสวงหาความสุขฝ่ายกาย หลักปฏิบัติของลูกเสือมีรากฐานอยู่ในการรับใช้ ตั ว อย่ า งที่ โ ดดเด่ น และชั ด เจนมากของวิ ธี ก าร อบรมแบบซาเลเซียนที่เน้นการรับใช้ด้วยความรักก็คือ เมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดที่กรุงตุริน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1854 คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ เชิ ญ ชวนเด็ ก โตๆ ให้ ไ ปที่ โรงพยาบาลและตามบ้านคนป่วย เพื่อช่วยท�ำความสะอาด

09

dbBulletin

2018


บทความลูกเสือซาเลเซียน

ลูกเสือเน้นความเป็นหนึ่งเดียวมีความสามัคคี คุณพ่อบอสโกเน้นเรื่องการสร้างจิตตารมณ์ครอบครัว และ สร้างบรรยากาศของความรักและความสามัคคีในกลุ่ม ลูกเสือ “อบรมในสนาม” วิ ธี ก ารอบรมแบบซาเลเซี ย น คื อ “การอบรมในสนาม” สนามเล่นคือสถานที่อบรม สถานที่แห่งการพบปะ สถานที่แห่งการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สถานที่แห่งการสนทนาและสร้างมิตรภาพ ลูกเสืออบรมโดยผ่านการเล่น ส�ำหรับซาเลเซียน สนามเป็นสถานที่เพื่อการอบรมที่ขาดมิได้ โดยปกติแล้วเมื่อจะมีการเปิดกิจการใหม่ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือสนาม ซึ่งจัดสรรไว้โดยเฉพาะและมีพื้นที่กว้างขวาง ค�ำถามแรกที่คณะผู้ใหญ่ จะถามก็คือ สถานที่ใหม่นี้มีเนื้อที่กว้างพอที่จะให้เยาวชนเล่นได้หรือไม่ ลูกเสือ เล่นดนตรี ร้องเพลง เต้นร�ำ ... คุณพ่อบอสโกมักพูดเสมอว่า ศูนย์เยาวชนที่ขาดเสียงดนตรี เปรี ย บเสมื อ นร่ า งกายที่ ไร้ วิ ญ ญาณ ด้ ว ยเหตุ นี้ คุ ณ พ่ อ จึ ง ได้ จั ด ตั้ ง กลุ ่ ม นั ก ขั บ ร้ อ งและวงดุ ริ ย างค์ โดยจั ด ให้ มี ก ารเดิ น พาเหรด ทั้ ง นี้ เพื่อสอนให้เด็กๆรู้จักการมีระเบียบวินัย วิธีการอบรมของลูกเสือต้องการให้เด็กอยู่กับหัวหน้า กลุ่มเสมอ คุณพ่อบอสโกเขียนถึงนักบวชซาเลเซียนของท่านว่า “อย่า ปล่อยเด็กๆ ให้อยู่ตามล�ำพังเป็นอันขาด” (MB 3,119) และตั้งผู้ที่ เราเรียกว่า “ผู้ดูแล” ขึ้นมา ขนย้ายผู้ป่วย ฯลฯ แม้คุณพ่อบอสโกและเด็กๆ จะรู้ดีว่าโรค นี้เป็นโรคติดต่อร้ายแรง แต่เด็กๆ ก็มีใจกล้าหาญถึงขั้นพร้อม ที่จะเสียสละแม้แต่ชีวิต วิธีการอบรมของลูกเสือมีหลักอยู่บนความรักต่อ ธรรมชาติ คุ ณ พ่ อ บอสโกเป็ น ผู ้ ที่ รั ก ธรรมชาติ แ ละเลื อ ก สถานที่ เ ล่ น ที่ มี อ ากาศปลอดโปร่ ง ให้ กั บ เยาวชน คุ ณ พ่ อ จั ด ให้ เ ยาวชนเดิ น เที่ ย วบนภู เ ขา คิ ด ค้ น วั น ฉลองลู ก เกาลั ด และพาเยาวชนไปพั ก แรมที่ ต ่ า งจั ง หวั ด หลายวั น

10

dbBulletin 2018

ลูกเสือเน้นความเคารพต่อหัวหน้า มีกลุ่มต่างๆ และให้รางวัล ตามความสามารถ คุ ณ พ่ อ บอสโกเรี ย กผู ้ ก� ำ กั บ ว่ า เป็ น “ผู ้ ดู แ ล” แต่ แ ทนที่ จะตั้งเป็น “กอง” คุณพ่อเรียกว่า “ชมรม” (ชมรมแม่พระนิรมล ชมรมนั ก บุ ญ ยอแซฟ ฯลฯ ) คุ ณ พ่ อ ไม่ เ น้ น ให้ ร างวั ล ตามความ สามารถ แต่ เ ปิ ด โอกาสให้ เ ด็ ก เลื อ กในสิ่ ง ที่ ต นถนั ด และชอบ การชุ ม นุ ม ลู ก เสื อ - เนตรนารี ซาเลเซี ย น ครั้ ง ที่ 8 นี้ จะเป็ น อี ก โอกาสที่ บ รรดาลู ก เสื อ และเนตรนารี จ ากโรงเรี ย น ต่ า งๆ ในเครื อ ซาเลเซี ย นจะได้ สั ม ผั ส กั บ จิ ต ารมณ์ ซ าเลเซี ย น และก้ า วเดิ น ไปพร้ อ มกั น กั บ คุ ณ พ่ อ บอสโกอย่ า งแท้ จ ริ ง db


สัมภาษณ์คุณพ่อจายาพาลาน ราฟาเอล

dbBulletin

By... Eccomi

บทสัมภาษณ์

คุณพ่อจายาพาลาน ราฟาเอล ในโอกาสที่มีการประชุมคณะกรรมการสมาพันธ์ศิษย์เก่า ซาเลเซี ย นภาคพื้ น เอเชี ย ตะวั น ออกและโอเชี ย เนี ย ที่ ก รุ ง เทพฯ ระหว่ า งวั น ที่ 24-25 พฤศจิ ก ายน ค.ศ.2018 โดยมี คุ ณ พ่ อ จายาพาลาน ราฟาเอล ผู้รับผิดชอบศิษย์เก่าซาเลเซียนระดับโลก มาร่วมประชุมในครั้งนี้พร้อมกับคณะกรรมการศิษย์เก่าระดับโลก และระดับ EAO นิตยสารดอนบอสโกจึงถือโอกาสแนะน�ำคุณพ่อ จายาพาลาน ราฟาเอลให้ทุกท่านได้รู้จักผ่านทางบทสัมภาษณ์ ของคุณพ่อ

1.ขอคุณพ่อแนะน�ำตัวเอง?

พ่อเป็นชาวอินเดีย ปัจจุบันอายุ 60 ปี พ่ อมี พี่ น้ อ งที่ เป็ น นั ก บวช 6 คนซึ่ง ในจ�ำนวน นี้ เ ป็ น นั ก บวชซาเลเซี ย น 3 คน (รวมตั ว พ่ อ เองด้ ว ย) บิ ด าของพ่ อ เป็ น ครู แ ละครู ค� ำ สอน ประจ�ำหมู่บ้าน ส่วนแม่เป็นแม่บ้านแต่ท่านอ่าน เขียนไม่ได้ ท่านทั้งสองเป็นคาทอลิกที่มีความ ศรั ท ธาและได้ อ บรมพ่ อ ให้ เ ป็ น คริ ส ตชนที่ ดี

2.ความเป็นมาเกี่ยวกับ กระแสเรียก?

นี้เป็นแรงบันดาลใจให้พ่อเป็นซาเลเซียน ดังนั้น พ่อเองก็เป็นศิษย์เก่าซาเลเซียน พ่ อ รู ้ สึ ก ดี ใจที่ เวลานี้ ไ ด้ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบศิ ษ ย์ เ ก่ า ซาเลเซี ย นระดั บ โลก ขอบคุ ณ คุ ณ พ่ อ อั ค ราธิ ก ารที่ ม อบความไว้ ว างใจให้ พ ่ อ ท� ำ หน้ า ที่ อั น ส� ำ คั ญ นี้

3.คิดอย่างไรกับบทบาทของฆราวาส?

การอบรมฆราวาสให้ รู ้ บ ทบาทของตนในพระศาสนจั ก รและในสั ง คม เป็นสิ่งท้าทายคณะซาเลเซียนเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมีการพูดถึงเรื่องนี้มาตั้งแต่ ในการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 แล้วก็ตาม พ่อคิดว่าฆราวาสแต่ละคน ต้ อ งพยายามอบรมตนให้ พ ร้ อ มที่ จ ะเป็ น ผู ้ น� ำ ส่ ว นบรรดาซาเลเซี ย นเองก็ ต ้ อ ง เตรียมศิษย์ปจั จุบนั ให้มคี ณ ุ ภาพเพือ่ จะเป็นบิดามารดาและเป็นผูน้ ำ� ทีด่ ขี องครอบครัว ในอนาคต ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ช่ ว ยสร้ า งโลกและพระศาสนจั ก รบนคุ ณ ค่ า แห่ ง พระวรสาร

พ่ อ เข้ า เรี ย นในโรงเรี ย นซาเลเซี ย น เมื่ อ อายุ ไ ด้ 9 ปี กระแสเรี ย กของพ่ อ มี ที่ ม า จ า ก ค ว า ม ป ร ะ ทั บ ใจ ใ น ชี วิ ต ข อ ง นั ก บ ว ช ซาเลเซี ย น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ชี วิ ต ของ ภราดาซาเลเซี ย นท่ า นหนึ่ ง ซึ่ ง ในสมั ย ที่ พ ่ อ เป็ น นั ก เรี ย นท่ า นท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น เหรั ญ ญิ ก ของ โรงเรี ย น ท่ า นได้ ช ่ ว ยเหลื อ เด็ ก ๆ ที่ ย ากจน รวมทั้ ง ได้ ช ่ ว ยเหลื อ พ่ อ ด้ ว ย ท่ า นยกเว้ น ค่ า เล่าเรียนให้พ่อเป็นเวลา 3 ปี ความประทับใจ

11

dbBulletin 2018


สัมภาษณ์คุณพ่อจายาพาลาน ราฟาเอล

4.คุณพ่อมองอนาคตของสมาพันธ์ ศิษย์เก่าซาเลเซียนระดับโลกอย่างไร?

สมาพันธ์ศษิ ย์เก่าซาเลเซียนระดับโลกมีศกั ยภาพ สูงมาก พ่อเห็นว่าทุกปีจะมีนกั เรียนประมาณ 200,000 คน จากทั่วโลกที่จบจากสถาบันของเรา นี่เป็นความท้าทาย ของสมาพันธ์ในการส่งเสริมให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วม ในสมาพันธ์ ทั้งนี้เพื่อช่วยพวกเขาให้ต่อเนื่องการอบรม ที่ ไ ด้ รั บ จากสถาบั น ซาเลเซี ย นและช่ ว ยพวกเขาในการ สร้ า งชี วิ ต ให้ มั่ น คงเพื่ อ สร้ า งสั ง คมและพระศาสนจั ก ร

5.อะไรคือจุดเด่นของสมาพันธ์ศิษย์เก่า ซาเลเซียน? พ่ อ คิ ด ว่ า สมาพั น ธ์ ศิ ษ ย์ เ ก่ า มี ผู ้ น� ำ และที ม บริหารที่เป็นหนึ่งเดียวและมีวิสัยทัศน์ เวลาเดียวกันก็มี โครงสร้างที่เป็นระบบ โดยมีการประชุมระดับกรรมการ ผู้บริหาร การประชุมในระดับประธานสมาพันธ์ของแต่

ละทวีป แต่ละภูมิภาค และแต่ละประเทศ พ่อเห็นว่าบรรดาศิษย์เก่าของเรา มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนซึ่งเป็นผลมาจากการอบรมที่พวกเขาได้รับในสถาบันของ เรา นอกนั้นพ่อยังเห็นถึงความกระตือรือร้นของสมาชิกซาเลเซียนและศิษย์ เก่าทุกภาคส่วน บรรดาศิษย์เก่าของเราได้รับการอบรมในระบบป้องกันของ คุณพ่อบอสโก ซึ่งในปัจจุบันนี้พวกเขาเติบโตขึ้นและมีการงานที่ดีในสังคม

6.สิ่งที่ท้าทายของสมาพันธ์ศิษย์เก่าซาเลเซียน?

มีความท้าทายอยู่บางประการ ได้แก่ -การส่งเสริมให้แขวงซาเลเซียนที่ยังไม่มีสมาพันธ์ศิษย์เก่าให้จัด ตั้งสมาพันธ์ได้ส�ำเร็จ และเสริมสร้างให้สมาพันธ์ศิษย์เก่าที่มีอยู่แล้วให้ เข้มแข็งมากขึ้นต่อไป -การพยายามให้ ส มาพั น ธ์ ศิ ษ ย์ เ ก่ า เติ บ โตในความกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ มากกว่ า ความปรารถนาซึ่ ง อ� ำ นาจและต� ำ แหน่ ง และช่ ว ยให้ ทุ ก สมาพันธ์สามารถยืนได้ด้วยตัวเองและร่วมกันสนับสนุนพันธกิจซาเลเซียน -อบรมศิ ษ ย์ เ ก่ า ให้ เ ป็ น พลเมื อ งที่ ดี แ ละเป็ น ศาสนิ ก ชน ที่ ดี อี ก ทั้ ง รู ้ จั ก เสี ย สละและเป็ น ผู ้ น� ำ ที่ ดี เ พื่ อ สั ง คมและประเทศชาติ

คุณพ่อจายาพาลาน ราฟาเอล, ซดบ Fr. Jayapalan Raphael

สัญชาติ : อินเดีย เกิด : 09.09.1958 ปฏิญาณตนครั้งแรก : 24.05.1977 บวชพระสงฆ์ : 27.12.1987 สังกัดแขวงซาเลเซียน : เจนไน (Chennai) ประเทศอินเดีย การศึกษา ปริญญาเอกสาขาการอภิบาลเยาวชนและค�ำสอน มหาวิทยาลัยซาเลเซียน กรุงโรม ปี ค.ศ.2001 ภาษาในการสื่อสาร ทมิฬ, อังกฤษ, อิตาเลียน, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, สเปน และโปรตุเกส หน้าที่ - ผู้อ�ำนวยการศูนย์ค�ำสอนซาเลเซียนแขวงเจนไน (ค.ศ.1992-1998, ค.ศ.2001-2004) - อธิการบ้านเณรเทวศาสตร์แขวงเจนไน (ค.ศ.2004-2009) - เลขาฯ คณะกรรมการค�ำสอนสภาพระสังฆราชอินเดีย (ค.ศ.2007-2011) - เจ้าคณะแขวงเจนไน (ค.ศ.2011-2017) 12

dbBulletin 2018


dbBulletin 7.สมาพันธ์ศิษย์เก่าซาเลเซียนในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกและโอเชียเนียเป็นอย่างไร?

พ่ อ คิ ด ว่ า สมาพั น ธ์ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ในภู มิ ภ าคนี้ มี ค วามกระตื อ รื อ ร้ น เป็ น อย่างมาก พ่อต้องขอบคุณคุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ที่ปรึกษาของคุณพ่อ อัคราธิการซาเลเซียนประจ�ำภูมิภาคนี้ที่ได้ปูทางไว้อย่างดีส�ำหรับการเติบโต ของสมาพั น ธ์ ขอบคุ ณ คุ ณ Alberto Piedade ซึ่ ง เป็ น กรรมการศิ ษ ย์ เ ก่ า รุ่นเยาว์ระดับโลกประจ�ำภูมิภาคเอเซียที่มีพลังและเป็นดังของขวัญจากพระเจ้า สมาพันธ์ศิษย์เก่าหลายประเทศในภูมิภาค EAO มีการขับเคลื่อนไปในทิศทาง ที่ดีดังเช่นในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ติมอร์ตะวันออกและกัมพูชา ส่วน ในประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกงและเกาหลีใต้อาจจะต้องช่วยกันฟื้นฟูให้กลับ มาดังเดิม ในขณะที่ประเทศเมียนมา อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี ปากีสถาน มองโกเลี ย และเวี ย ดนาม ก็ ยั ง สามารถท� ำ อะไรได้ อี ก หลายอย่ า งเพื่ อ จะ ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามพ่อมีความสุขที่เห็นการขับเคลื่อนของสมาชิก ซาเลเซียนซึ่งรับผิดชอบศิษย์เก่าของแต่ละแขวงและเห็นสัญญาณที่ดีในเชิงบวก เราสามารถเห็ น ถึ ง พลั ง และความร่ ว มมื อ ของบรรดาศิ ษ ย์ เ ก่ า ใน ภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการชุมนุมศิษย์เก่าระดับเอเซียทุก 4 ปี ครั้งล่าสุดได้จัดที่ประเทศติมอร์ตะวันออกเมื่อปี ค.ศ.2016 ครั้งต่อไปคือในปี ค.ศ.2020 จะจัดที่ประเทศญี่ปุ่นและในปีนั้นเราจะฉลองครบรอบ 150 ปีของ สมาพันธ์ศิษย์เก่าระดับโลกด้วย (1870-2020) นอกจากความร่วมมือแล้ว เรายังเห็นตัวอย่างของการอุทิศตนและความเสียสละของศิษย์เก่าด้วย ตัวอย่าง เช่น การบริหารโรงเรียน “Cristal school” โดยศิษย์เก่าในประเทศติมอร์ตะวันออก โรงเรียนดังกล่าวมีเด็กนักเรียนยากจนจ�ำนวน 5,000 คน นอกนั้นยังมีโรงเรียน มากกว่า 100 แห่งในประเทศเคนยาและประเทศซูดานที่ได้รับความช่วยเหลือ จากศิษย์เก่าซาเลเซียนของประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น และทุกครั้งที่มี ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติทเี่ กิดขึน้ ในภูมภิ าคนี้ บรรดาศิษย์เก่าของประเทศฟิลปิ ปินส์ ญี่ปุ่นและไทยก็จะให้ความช่วยเหลือเสมอ นี่เป็นสิ่ง ที่น่ายกย่องอย่างมาก

8.สิ่งที่คุณพ่ออยากจะบอกกับศิษย์เก่าซาเลเซียน ในแขวงไทย (ไทย กัมพูชาและสปป.ลาว)?

ก่ อ นอื่ น พ่ อ อยากจะขอบคุ ณ คุ ณ พ่ อ เทพรั ต น์ ปิ ติ สั น ต์ เจ้ า คณะ แขวงฯ, คุณพ่อพรจิต พูลวิทยกิจ ผู้รับผิดชอบศิษย์เก่า และ ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ ประธานสมาพั น ธ์ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ฯ ที่ ใ ห้ ป ระเทศไทยเป็ น เจ้ า ภาพในการจั ด ประชุมศิษย์เก่าซาเลเซียนภูมิภาค EAO ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2018 นี่เป็นเครื่องหมายถึงความรักที่มีต่อคุณพ่อบอสโกและครอบครัวซาเลเซียน

1.อยากให้สมาคมศิษย์เก่าของทุกสถาบันส่งเสริมให้ นักเรียนที่จะจบการศึกษาเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ศิษย์เก่า นั่นหมายความว่า เราต้องจัดระบบ มีการ ประชาสั ม พั น ธ์ แ ละการอบรม การที่ นั ก เรี ย นลง ทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมเแสดงให้เห็นถึง การอุทิศตนและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน 2.จั ด ท� ำ โครงกาnรอบรมคณะกรรมการสมาคม ศิ ษ ย์ เ ก่ า รุ ่ น เยาว์ แ ละศิ ษ ย์ เ ก่ า ที่ เ ป็ น ผู ้ ใ หญ่ ทั้ ง ในแบบส่ ว นตั ว ส่ ว นรวมและแบบครอบครั ว โดย อาศั ย ความช่ ว ยเหลื อ ของสมาพั น ธ์ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ระดั บ โลก เนื่ อ งด้ ว ยสมาคมประกอบไปด้ ว ยตั ว สมาชิ ก ดั ง นั้ น การเติ บ โตและมี วุ ฒิ ภ าวะของสมาชิ ก แต่ ล ะ คนของสมาคมจึ ง เป็ น องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ เรา จะไม่ ส ามารถให้ กั บ คนอื่ น ได้ ถ ้ า ตั ว เราไม่ มี 3.เหตุ ผ ลพื้ น ฐานของการรวมกั น ของศิ ษ ย์ เ ก่ า มา จากการอบรมที่เราได้รับ ชีวิตของคุณพ่อบอสโกจะ ต้องเป็นแรงบันดาลใจให้เรามีชีวิตเพื่อผู้อื่น ดังนั้น สมาพั น ธ์ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ในประเทศไทยซึ่ ง ประกอบด้ ว ย สมาคมศิษย์เก่าของสถาบันต่างๆ ต้องช่วยเหลือเยาวชน ที่ ขั ด สนในประเทศไทยและน� ำ การเปลี่ ย นแปลง สู ่ สั ง คมโดยยึ ด หลั ก คุ ณ ค่ า ของพระวรสาร db

พ่ อ ชื่ น ชมในความเป็ น หนึ่ ง เดี ย วและการร่ ว มมื อ กั น ในระหว่ า ง สมาชิ ก ซาเลเซี ย นและศิ ษ ย์ เ ก่ า รวมทั้ ง ชื่ น ชมในเสถี ย รภาพทางการเงิ น ที่ มั่ น คงและความสนใจในการช่ ว ยเหลื อ คนยากจน พ่ อ ปรารถนาจะเห็ น สมาพันธ์ศิษย์เก่าในประเทศไทยก้าวหน้าต่อไปโดยเฉพาะในเรื่องต่อไปนี้ คือ 13

dbBulletin 2018


แก่นซาเลเซียน By... บ.สันติสุข

ถึงแก่น ๒ ที่ส่งผลกระทบไปทั้งชีวิต ความนึกคิด การมอง และการกระท�ำ เมื่อพูดถึงชีวิตจิตซาเลเซียน ซึ่งเป็นรูปแบบความสัมพันธ์กับพระเจ้า แบบซาเลเซียน เราต้องย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นซึ่งเป็นที่มาที่ไปของ ความสัมพันธ์แบบนี้ นั่นคือ กลับไปยังคุณพ่อบอสโก ท่านไม่ได้สร้าง ชีวิตจิตซาเลเซียน แต่ชีวิตจิตซาเลเซียนเกิดจากชีวิตของท่าน เกิดจาก ความเชื่อ เกิดจากความสัมพันธ์ที่ท่านมีกับพระเจ้าตั้งแต่เป็นเด็ก กลายเป็นวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องและเข้มข้นในชีวิตแต่ละวันของท่าน

คริ ส ต์ ศ าสนาคื อ ความสั ม พั น ธ์ ข อง ศาสนิ ก ชนกั บ พระเจ้ า วิ ธี ก ารและรู ป แบบ การแสดงออกของความสั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้ า คื อ ชี วิ ต จิ ต คริ ส ตชน ซึ่ ง มี ก ารแบ่ ง ออกเป็ น ชี วิ ต จิ ต ย่ อ ยลงไปหลากหลายรู ป แบบตาม บริบท อุดมการณ์ รูปแบบชีวิต...เหมือนกับ จะยืนยันว่า แม้รูปแบบจะแตกต่างและหลาก หลาย แต่ ล ะรู ป แบบต่ า งน� ำ ไปสู ่ เ ป้ า หมาย เดียวกัน คือ ความสัมพันธ์ฉันพ่อลูกกับพระเจ้า 14

dbBulletin 2018

ความสั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้ า เริ่ ม จากการรั บ รู ้ ว ่ า พระเจ้ า ทรงเป็ น ใคร และมนุษย์เป็นใครส�ำหรับพระเจ้า เพราะนี่คือพื้นฐานของความ สั ม พั น ธ์ ม นุ ษ ย์ กั บ มนุ ษ ย์ ด ้ ว ยกั น เราจะมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ใคร อย่ า งไรและแค่ ไ หนขึ้ น อยู ่ กั บ การรู ้ จั ก บุ ค คลนั้ น ดี ห รื อ มากน้ อ ย แค่ไหน ฉันใดก็ฉันนั้น เราจะมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างไร และแค่ ไ หนก็ ขึ้ น กั บ การรู ้ จั ก พระองค์ ดี ห รื อ มากน้ อ ยแค่ ไ หน ตั้งแต่จ�ำความได้ คุณแม่มาร์เกริตาน�ำยอห์นเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับ พระเจ้าในบริบทชีวิตแต่ละวัน ก่อนอื่นด้วยชีวิตของคุณแม่เอง แล้ว นั้นด้วยการพูดการสอนตามประสาแม่ผู้เป็นคริสตชนพื้นๆ โดยใช้ “อุ ป การณ์ ก ารสอน” ที่ ย อห์ น พบเห็ น และสั ม ผั ส ได้ ใ นชีวิตแต่ละ วัน ตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงค�่ำคืน คุณแม่สอนให้ยอห์นรู้ว่าพระเจ้า ทรงเป็นใคร พระองค์ทรงรักและให้อภัยอย่างไรด้วยประสบการณ์ จริงของชีวิตคุณแม่ในแต่ละวัน พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่ผู้สร้างและดูแล รักษาทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ตื่นขึ้นมาคุณแม่จะชวนลูกๆ ให้สวด


dbBulletin

ภาวนา ขอบคุ ณ พระเจ้ า ส� ำ หรั บ ชี วิ ต อี ก วั น หนึ่ ง ขอพรให้ แ ต่ ล ะคนด� ำ เนิ น ชี วิ ต ดี ง าม ขยั น ขั น แข็ ง มีความรักความเห็นใจช่วยเหลือกันและช่วยเหลือทุก คนที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อเป็นการสรรเสริญ พระเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตอกย�้ำว่าพระเจ้าทรงเป็น พ่อที่รักและดูแลเอาใจใส่ลูกทุกคนตลอดเวลา เมื่อ ลูกผิดพลาด พระองค์ก็ทรงให้อภัย โดยที่ตัวคุณแม่ ปฏิบัติให้ลูกๆ เห็นได้เป็นรูปธรรม การสอนของ คุ ณ แม่ จึ ง เป็ น ดั ง การอบรมแบบ “ออสโมซิ ส ” เป็ น การซึ ม ซั บ อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ แ ละต่ อ เนื่ อ ง นอกจากจะเน้ น สอนเน้ น อบรมให้ ลู ก ๆ มี ค วาม สัมพันธ์กับพระเจ้าแบบพ่อลูกแล้ว ชีวิตของคุณแม่ มาร์เกริตาเองก็สะท้อนความรักและความเมตตาของ พระเจ้าให้ลูกๆ ได้เห็นและสัมผัสได้ เข้าท�ำนองที่นัก เขียนคนหนึ่งเขียนไว้อย่างงดงามและเข้าใจได้อย่าง เป็นรูปธรรม “พระเจ้าทรงบริหารโลกอันกว้างใหญ่ พร้อมกับปัญหามากมาย พระองค์จึงทรงสร้างแม่ให้ ท�ำหน้าที่ดูแลลูกๆ แทนพระองค์” ลูกๆ สามารถ สัมผัสความรักของพระเจ้าได้อย่างเป็นรูปธรรมใน ตัวคุณแม่มาร์เกริตา ความรักที่สื่อออกมาในการ ดูแลเอาใจใส่ลูกๆ ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตใจ ความ รักที่แสดงออกในการทุ่มเทท�ำทุกอย่างเพื่อให้ลูกๆ อยู่ดีมีสุข ความรักที่สะท้อนออกมาในการฟันฝ่า อุปสรรคและปัญหา ทั้งที่เกิดในครอบครัว ทั้งที่เกิด จากสภาพอากาศเลวร้าย ทั้งที่เกิดจากความแห้ง แล้งและความอดอยาก...ทุกอย่างตัวคนเดียว ความ รักยืดหยัดในความเข้มแข็ง กล้าหาญ หนักแน่น สามารถเป็นที่พึ่งและจุดยึดเหนี่ยวของลูกๆ ในทุก กรณี สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ลูกๆเข้าใจได้ว่าพระเจ้าทรง เป็นบิดาและทรงรักลูกแต่ละคนของพระองค์อย่างไร ความสัมพันธ์กบั พระเจ้าเป็นความสัมพันธ์ ต่อเนื่องกระทั่งกลายเป็นความสัมพันธ์แห่งชีวิตที่ เป็นหนึ่งเดียวกัน คุณแม่มาร์เกริตาปลูกฝังความ สัมพันธ์ต่อเนื่องนี้ให้ลูกๆ ด้วยการสร้างความส�ำนึก ว่ า พระเจ้ า ทรงอยู ่ ทุ ก หนทุ ก แห่ ง ด้ ว ยค� ำ พู ด ซื่ อ ๆ “พระเจ้าทรงเห็นลูกเสมอ” เป็นการตอกย�้ำให้เกิด

ความตระหนักว่าลูกอยู่ในสายพระเนตรพระเจ้าตลอด ก่อนอื่นเป็นการสร้างสติ ให้ลูกๆ รับรู้ถึงความรัก ความห่วงใย และความคุ้มครองดูแลของพระเจ้า เวลา เดียวกันก็เตือนลูกให้รู้ว่าพระเจ้าทรงล่วงรู้ทั้งภายและภายนอกลูกของพระองค์ แต่ละคน ต่างกับมนุษย์ที่เห็นเฉพาะสิ่งภายนอก เป็นการปลูกฝังให้ลูกด�ำรงอยู่ใน ความดีทั้งภายนอกและภายใน เป็นความโปร่งใสของชีวิตและพฤติกรรม ในเวลา เดียวกันก็สร้างความตระหนักใจให้แก่ลูกๆในความมุ่งมั่นและในเจตนาท�ำความ ดีและท�ำหน้าที่ให้ เหมือนตอกย�้ำว่าพระเจ้าทรงรับรู้ความพยายามของลูก แม้ คนอื่นจะไม่เห็น แม้พยายามท�ำแล้วไม่ส�ำเร็จหรือส�ำเร็จไม่สมบูรณ์อย่างตั้งใจ ส�ำหรับหลายคนวลี “พระเจ้าทรงเห็นลูกเสมอ” เป็นเหมือนการเตือน ให้กลัวไม่กล้าท�ำผิด ซึ่งโดยไม่รู้ตัวเป็นการก่อให้เกิดความกลัวพระเจ้าและมี ภาพลักษณ์เชิงลบของพระเจ้า ทุกอย่างที่ด�ำเนินไปภายใต้ความกลัว นอกจาก จะท�ำให้ชีวิตไร้ความสุขและความยินดีแล้ว ยังไม่สร้างสรรค์ แต่ส�ำหรับคุณแม่ มาร์เกริตา “พระเจ้าทรงเห็นลูกเสมอ” เป็นความรู้สึกอบอุ่นและก�ำลังใจ ชีวิต ลูกๆ จึงมีความสุขและความยินดีด้วยส�ำนึกว่าอยู่ในสายตาของพ่อที่รักลูกเป็น ที่สุด ชีวิตจึงเปี่ยมด้วยศักยภาพและการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง นี่คือที่มาของ ชีวิตจิตของ “ระบบป้องกัน” ความส�ำนึกแห่งการประทับอยู่ของพระเจ้าผู้ทรงเป็น บิดาที่รักลูกมากกว่าที่ลูกรักตัวเองกลายเป็นความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องที่ท�ำให้ ลูกเป็น “ผู้ป้องกัน” เป็น “ปกป้องตนเอง” ตนเองไม่ว่าจะอยู่ในบริบทใด เป็น “ระบบการป้องกัน” ส�ำหรับลูกที่เฝ้าย�้ำเตือนตัว “ถ้าพระเจ้าทรงรักฉันถึงขนาด นี้ ฉันก็ต้องท�ำตัวให้สมกับความรักของพระองค์” ในทุกสิ่ง ในแง่นี้ เราสามารถ เห็นได้ชัดเจนว่าแก่นแห่ง “ระบบป้องกัน” คือ “ระบบความรัก” นั่นเอง db 15

dbBulletin 2018


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

ข่าวซาเลเซียน ชุมนุมเยาวชน SYM 2018

แผนกอภิ บ าลเยาวชนซาเลเซี ย นน� ำ โดย คุณพ่อปิยะ พืชจันทร์ จัดการชุมนุมเยาวชน SYM ที่ ศู น ย์ เ ยาวชนดอนบอสโก เขาตะเกี ย บ อ.หั ว หิ น จ.ประจวบฯ ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม ค.ศ.2018 โดยมี เยาวชนร่วมการชุมนุมจาก 5 โรงเรียนในเครือซาเลเซียน และจากโรงเรียนพระแม่มารีสาธร รวม 157 คน และ มีคุณครู กรรมการและสมาชิกซาเลเซียนประมาณ 25 คน ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.2018 คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ เจ้าคณะแขวงฯ ได้เป็นประธานในพิธีบูชา ขอบพระคุ ณ ปิ ด การชุ ม นุ ม คุ ณ พ่ อ โดยได้ ใ ห้ ข ้ อ คิ ด ในพิธีว่า "ให้เรายืนหยัดที่จะเลือกท�ำความดีที่แตก ต่าง ซึ่งเป็นความดีที่คนอื่นไม่ท�ำแต่เราเลือกที่จะท�ำ"

สัมมนา "กระแสเรียกและพันธกิจจาก มุมมองของพระคัมภีร์"

คณะซาเลเซียนจัดสัมมนาพระคัมภีร์หัวข้อ "กระแสเรียกและพันธกิจจากมุมมองของพระคัมภีร์" โดย คุณพ่อฟรังซิส โมโลนี, ซดบ เป็นวิทยากร ณ บ้าน ฟืน้ ฟูจติ ใจซาเลเซียน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ การสัมมนา มีทั้งหมด 2 ชุด ในชุดที่ 1 จัดวันที่ 8-10 ตุลาคม ค.ศ. 2018 มีผู้ร่วมสัมมนาจ�ำนวน 69 คน และชุดที่ 2 วันที่ 11-13 ตุลาคม ค.ศ.2018 มีผรู้ ว่ มสัมมนาจ�ำนวน 61 คน 16

dbBulletin

2018

บ.คาร์โลวิ่งการกุศล 1569 กม. เพื่อเด็ก ยากจน

บราเดอร์ ค าร์ โ ล บะคาลียา ภราดาซาเลเซียน ประจ� ำ ที่ ศู น ย์ ฝ ึ ก อาชี พ ดอน บอสโกเวี ย งจั น ทน์ ร่ ว มวิ่ ง การกุศลเพื่อช่วยเยาวชนของ สปป.ลาวที่ยากจน โดยเริ่มวิ่ง จากเมือง Attapeu ซึง่ อยูภ่ าคใต้ ไปที่ เมือง Phongsaly ซึ่งอยู่ ทางภาคเหนื อ เป็ น ระยะทาง 1,569 กิโลเมตร ระหว่างวัน ที่ 7-26 ตุลาคม ค.ศ.2018

ครูและเจ้าหน้าที่ศูนย์ พัฒนาสมรรถภาพคน ตาบอดดูงาน ภราดา ดร.สุ ว รรณ จูทะสมพากร ผู้อ�ำนวยการ น�ำ คณะครูและเจ้าหน้าทีศ่ นู ย์พฒ ั นา สมรรถภาพคนตาบอดศึ ก ษาดู งานด้ า นคลิ นิ ค แพทย์ แ ผนไทย ณ โรงพยาบาลการแพทย์แผน ไทยและการแพทย์ ผ สมผสาน ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ เมื่อ วั น ที่ 17 ตุ ล าคม ค.ศ.2018

นักเรียนของดอนบอส โกเวียงจันทน์ฝึกทักษะ ระยะสั้นที่ดอนบอสโก กรุงเทพฯ เมื่ อ วั น ที่ 7 ตุ ล าคม ค.ศ.2018 คุ ณ พ่ อ มั ช โชนี อธิการศูนย์ฝึกอาชีพดอนบอส โกเวียงจันทน์และภราดาวรวุฒิ จิรสุริตธรรม ไปเยี่ยมและให้ ก� ำ ลั ง ใจนั ก เรี ย นของศู น ย์ ฝ ึ ก อาชี พ ดอนบอสโกเวี ย งจั น ทน์

สปป.ลาว จ�ำนวน 6 คน ที่ ก� ำ ลั ง ฝึ ก ทั ก ษะอยู ่ ที่ วิ ท ยาลั ย เ ท ค โ น โ ล ยี ด อ น บ อ ส โ ก กรุงเทพฯ เมื่อจบหลั ก สู ต รก็ จะกลั บ ไปช่ ว ยเหลื อ รุ ่ น น้ อ ง ที่ ศู น ย์ ฝ ึ ก อาชี พ ดอนบอส โกเวียงจันทน์ในอนาคต


dbBulletin

ฉลองบุญราศีไมเคิล รัว ‘We educate for change, but our mission remains constant’

คุณพ่อบัญชา กิจประเสริ ฐ อธิ ก ารโรงเรี ย น แสงทองวิ ท ยา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้รับเชิญไปสอน คริสตศาสนาให้กับพระภิกษุ ซึ่ ง เป็ น นั ก ศึ ก ษาของมหา ปั ญ ญาวิ ท ยาลั ย จ.สงขลา ซึ่ ง เป็ น สถาบั น สมทบของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ในเทอมที่ 1 ปี การศึกษา 2018 จ�ำนวน 11 รูป นั ก ศึ ก ษาดั ง กล่ า วมาจาก ประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป. ลาว, เวี ย ดนาม, กั ม พู ช า, เมียนมา, อินเดีย และรวม ทั้งจากประเทศไทย เนื้อหา การเรี ย นเกี่ ย วกั บ ความรู ้ พื้นฐานของพระคัมภีร์ ความ เชื่ อ ค า ท อ ลิ ก พิ ธี ก ร ร ม และศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องพระ ศาสนจั ก ร โดยการเรี ย น การสอนใช้ ภ าษาอั ง กฤษ

เมื่ อ วั น ที่ 28 ตุ ล าคม ค.ศ.2018 วัดดอนบอสโกกรุงเทพจัดฉลองบุญราศีไมเคิล รัว โดยมีคุณพ่ออารอน อัลโกเซบา เป็นประธาน ในพิ ธี หลั ง พิ ธี ไ ด้ มี ก ารเสกพระรู ป บุ ญ ราศี

และสวดภาวนาเพื่ อ โปรดให้ ท ่ า นได้ รั บ ก า ร ส ถ า ป น า เ ป ็ น นั ก บุ ญ จ า ก นั้ น สั ต บุ รุ ษ ไ ด ้ จุ ด เ ที ย น ที่ ห น ้ า รู ป ข อ ง ท ่ า น เ พื่ อ ส ว ด ภ า ว น า ข อ พ ร

ปฐมนิเทศนักเรียน ใหม่ของโรงเรียน อาชีวะดอนบอสโก พนมเปญ โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกพนมเปญ เปิดเรียนปีการศึกษาใหม่เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ.2018 โดยในปีนี้มีนักเรียนใหม่ชั้นปีที่ 1 จ�ำนวน 210 คน ซึ่งก่อนเริ่มเรียนได้มีการ ปฐมนิ เ ทศและต้ อ นรั บ นั ก เรี ย นใหม่ ใ น บรรยากาศที่อบอุ่นโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก พนมเปญเป็นบ้านแม่ของกิจการซาเลเซียนใน ประเทศกัมพูชา ได้เปิดกิจการตั้งแต่ปี 1991 ป ั จ จุ บั น มี เ ยาวชน ทั้ ง ชาย แล ะ ห ญิ ง ชาว

กัมพูชาที่ได้จบจากสถาบันแห่งนี้ไปแล้ว มากกว่ า 5,000 คน กิ จ การซาเลเซี ย น ทีก่ มั พูชานีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของแขวงซาเลเซียน แห่ ง ประเทศไทย คุ ณ พ่ อ อั ค ราธิ ก ารได้ ตั้งให้ประเทศกัมพูชาเป็นกิ่งแขวงขึ้นกับ ประเทศไทยเมื่ อ ปี ค.ศ.2013 โดยมี คุ ณ พ่ อ โรเอล โซโต เป็ น ผู ้ ป ระสาน ง า น ข อ ง กิ่ ง แ ข ว ง เ ป ็ น ค น แ ร ก

คุณพ่อบรรจงร่วมเป็น ผู้บรรยายในการสถาปนา นักบุญใหม่ ทาง TNN24 เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ 14 ตุ ล าคม ค.ศ. 2018 โอกาสที่มีพิธีสถาปนานักบุญใหม่ 7 องค์ ที่ลานมหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม ประเทศ อิตาลี ซึ่งได้มีการถ่ายทอดสดจากวาติกัน รับ สั ญ ญาณถ่ า ยทอดโดยสื่ อ มวลชนคาทอลิ ก แห่งประเทศไทย ทางช่อง TNN24 คุณพ่อ

บรรจง สันติสุขนิรันดร์ ผู้อ�ำนวยการ ศู น ย์ ว รรณกรรมซาเลเซี ย นได้ ร ่ ว ม เป็ น ผู ้ บ รรยายให้ ค วามรู ้ ภ าคภาษา ไทย ร่ ว มกั บ คุ ณ พ่ อ เชษฐา ไชยเดช และ อ.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย

17

dbBulletin

2018


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

คุณพ่อสุขสันต์ร่วม เป็นวิทยากรอบรม นายสิบต�ำรวจ ร่วมฟื้นฟูจิตใจครูคาทอลิก ประจ�ำปีการศึกษา 2561 คณะครูคาทอลิกและครูค�ำสอน ของโรงเรียนในครอบครัวซาเลเซียนใน สังฆทณฑลกรุงเทพฯ เข้าร่วม “ชุมนุมครู ค�ำสอนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ครั้งที่ 11 และชุมนุมครูคาทอลิก ครั้งที่ 3” เมื่อวัน ศุกร์ที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2018 ณ โรงเรียน อัสสัมชัญศึกษาและอาสนวิหารอัสสัมชัญ มี ผู ้ เข้ า ร่ ว มชุ ม นุ ม ทั้ ง สิ้ น จ� ำ นวน 852 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูจิตใจ ครูคำ� สอน ครูคาทอลิก และเสริมสร้างก�ำลัง ใจในการท�ำงานค�ำสอนและงานธรรมทูต ในโอกาสนี้มีครูค�ำสอนในโรงเรียนของ ครอบครั ว ซาเลเซี ย นที่ ไ ด้ รั บ เข็ ม เชิ ด ชู เกียรติในการท�ำหน้าทีค่ รูคำ� สอนนาน 25 ปี 20 ปี และ 10 ปีด้วย โดย มีพระคาร์ดินัล เกรี ย งศั ก ดิ์ โกวิ ท วาณิ ช , พระสั ง ฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี และ พระสังฆราชชูศักดิ์ สิรสิ ทุ ธิ์ เป็นผูม้ อบเข็มเชิดชูเกียรติดงั กล่าว

วั น ที่ 16 ตุ ล าคม ค.ศ. 2018 คุณพ่อสุขสันต์ ชาวปากน�้ำ ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในวิทยากร บรรยายในหัวข้อ “แก่นหลักธรรม ค� ำ สอนของคริ ส ตศาสนา” ให้ กั บ นั ก เรี ย นนายสิ บ ต� ำ รวจซึ่ ง เป็ น

ฟื้นฟูจิตใจสัตบุรุษ วัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด หาดใหญ่ เมือ่ วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2018 สัตบุรุษวัดหาดใหญ่ต้อนรับ พระคุณเจ้า โยเซฟ ประธาน ศรี ดารุณศีล และคณะ ที่มาเทศน์และ เป็นวิทยากรในโอกาสฟื้นฟูจิตใจ คริสตชนเพื่อเตรียมฉลอง 50 ปี

ตรวจเยี่ยมหมู่คณะซาเลเซียนกัมพูชา และปิดการตรวจเยี่ยมของคุณพ่อเคลเมนต์ เมื่อวันที่ 15-28 ตุลาคม ค.ศ. 2018 คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ที่ปรึกษา คุ ณ พ่ อ อั ค ราธิ ก ารภู มิ ภ าคเอเชี ย และ โอเชียเนียตรวจเยี่ยมหมู่คณะซาเลเซียน ที่ ป ระเทศกั ม พู ช าและเยี่ ย มโรงเรี ย น ทัง้ หมด 7 โรงเรียน รวมทัง้ พบปะกับสมาชิก ในครอบครัวซาเลเซียนที่ท�ำงานที่นั่นด้วย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2018 คุณพ่อเคลเมนต์ ได้ปิดการตรวจเยี่ยม แขวงซาเลเซียนนักบุญเปาโล ประเทศไทย (ไทย กัมพูชาและ สปป.ลาว) อย่างเป็น 18

dbBulletin 2018

โครงการอบรมจริยธรรมและคุณธรรม โดยอาศั ย หลั ก ศาสนิ ก สั ม พั น ธ์ ส ร้ า ง สันติสขุ หลักสูตรนักเรียนนายสิบต�ำรวจ ประจ�ำปี 2561 ณ ห้องประชุม บางลาง ศปก.ตร.สน. อ.เมือง จ.ยะลา

ทางการ ณ ส�ำนักงานเจ้าคณะแขวง ซาเลเซียน กรุงเทพฯ โดยตั้งแต่เดือน สิงหาคมจนถึงเดือนตุลาคม คุณพ่อได้ ไปเยี่ยมกิจการซาเลเซียน พบปะกับ สมาชิกซาเลเซียน คณะครู นักเรียน สมาชิ ก ในครอบครั ว ซาเลเซี ย นทุ ก คณะในนามของคุ ณ พ่ อ อั ค ราธิ ก าร ทั้ ง นี้ เ พื่ อ สนั บ สนุ น และให้ ก� ำ ลั ง ใจ สมาชิกทุกคน การมาของคุณพ่อเป็น พระพรส�ำหรับสมาชิกทุกคนในแขวง

สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี พระคุณเจ้าได้ น�ำการอ่านพระวาจาด้วยท่าทีแห่งการ ภาวนา (Lectio Divina) และมีทมี วิทยากร ที่ อ บรมเรื่ อ งกฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ฯ วิถีชุมชนวัดและการศึกษาประวัติการ อภิบาลของธรรทูตในภาคใต้


dbBulletin

ข่าวครอบครัวซาเลเซียน คุณพ่อเคลเมนต์ประชุม กับสมาชิกครอบครัว ซาเลเซียน

สัมมนาครูโรงเรียนในเครือ คณะผู้รับใช้ฯ

สัมมนาคณะครูโรงเรียนในเครือ ของคณะผู้รับใช้ฯ จ�ำนวน 9 โรงเรียน ในหั ว ข้ อ "บทบาทของคุ ณ ครู ใ นเครื อ คณะผู ้ รั บ ใช้ ฯ และทั ก ษะในการสื่ อ สาร" ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม ค.ศ.2018 ที่ โรงเรียนธิดาแม่พระ สุราษฎร์ฯ โดยพระ สังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็น ประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณเปิดการ สัมมนา คณะผู้รับใช้จัดสัมมนาประจ�ำปี

สัมมนาประจ�ำปีของคณะ ผู้รับใช้ฯ เมื่อวันที่ 15-17 ตุลาคม ค.ศ. 2018 คณะผู้รับใช้ฯ จัดสัมมนาประจ�ำ ปีให้กับสมาชิกของคณะในหัวข้อ “สื่อ ชี วิ ต ” และการใช้ ส่ื อ ประกาศข่ า วดี ณ บ้านพรพัชร หทัยนิรมล จ.ราชบุรี โดยมี คุ ณ วี ร ะพงศ์ ทวี ศั ก ดิ์ และคุ ณ พุ ฒิ พ งศ์ พุ ฒ ตาลศรี เป็ น วิ ท ยากร

วันที่ 12-14 ตุลาคม ค.ศ.2018 คุณพ่อวาคลาฟ เคลเมนต์ ได้ประชุม พบปะกับสมาชิกกลุม่ ต่างๆ ในครอบครัว ซาเลเซียน ณ ส�ำนักงานเจ้าคณะแขวง ซาเลเซียนแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โดย

มีการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อ ของการประชุมสมัชชาของคณะซาเลเซียน และได้ปรึกษากันถึงความร่วมมือระหว่าง สมาชิกกลุ่มต่างๆ ในครอบครัวซาเลเซียน

“วันกตัญญู” สมาคมศิษย์เก่า ดอนบอสโก กรุงเทพ

ก้าวเดินด้านการอบรม ในนวกสถานนานาชาติ

ศิษย์เก่าดอนบอสโกกรุงเทพได้ เดินทางมายังสุสานซาเลเซียนของวัดนักบุญ โยเซฟ บ้านโป่ง เพือ่ ร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณ และสวดภาวนาอุ ทิ ศ แด่ ด วงวิ ญ ญาณของ พระสงฆ์ นักบวชซาเลเซียน รวมถึงคณะครู ศิ ษ ย์ เ ก่ า และผู ้ มี พ ระคุ ณ ต่ อ วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีดอนบอสโก กรุงเทพ ผู้ล่วงลับ ทุกท่าน โอกาสวันกตัญญูประจ�ำปี โดยมี คุณพ่อมานะชัย ธาราชัย อธิการวิทยาลัย เทคโนโลยี ด อนบอสโก กรุ ง เทพ เป็ น ประธานในพิธี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2018

ฝ่ า ยอบรมส่ ว นกลางคณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์จัดการพบปะ ธมอ. ผู้รับผิดชอบการอบรมของนวก สถานนานาชาติ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่ ง เป็ น ระดั บ เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย ง ใต้ (CIAO) จ�ำนวน 9 คน ที่บ้าน ธารพระพร สามพราน ระหว่างวัน ที่ 26-27 กันยายน ค.ศ.2018 โดย มี Sr.Nieves Reboso ผู้รับผิดชอบ งานฝ่ า ยอบรมระดั บ คณะ ร่ ว มกั บ Sr.Maria Fisichella ผูป้ ระสานงานฝ่าย อบรมน�ำการอบรมเชิงพบปะในครั้งนี้

19

dbBulletin 2018


LOCAL NEWs

By... SDB Reporter

ฉลองการปฏิญาณครบ รอบ 25 ปีและการ ปฏิญาณตนครั้งแรก ชุมนุมซาเลเซียนผู้ร่วม งานระดับโลกครั้งที่ 5 ระหว่ า งวั น ที่ 25-28 ตุลาคม ค.ศ.2018 คณะซาเลเซียน ผู้ร่วมงานจัดการชุมนุมซาเลเซียน ผู ้ ร ่ ว มงานระดั บ โลกครั้ ง ที่ 5 ที่ "Fratena Domus" กรุงโรม ประเทศ อิตาลี ในหัวข้อ "ซาเลเซียนผู้ร่วม งานและการร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบเพื่ อ ตอบรั บ การท้ า ทายใหม่ ข องโลก" โดยมีผู้เข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้จ�ำนวน 330 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วม ชุมนุมจ�ำนวน 3 ท่านคือ คุณพ่อ สุพจน์ ริว้ งาม, คุณพรสวัสดิ์ เลิศวิทยา วิวัฒน์และคุณธีรวงศ์ อาภรณ์รัตน์

บริจาคโลหิต ต่อชีวิต เพื่อนมนุษย์ ครั้งที่ 8 สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียน แสงทองวิ ท ยา สมั ย ที่ 20 และ ชมรมครูและผู้ปกครองของโรงเรียน ได้ จั ด โครงการบริ จ าคโลหิ ต ต่ อ ชี วิ ต เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ครั้ ง ที่ 8 ณ โรงเรี ย นแสงทองวิ ท ยา เมื่ อ วั น ที่ 20 ตุลาคม ค.ศ.2018 โดยได้รับ ความร่ ว มมื อ อย่ า งดี จ ากทุ ก ฝ่ า ย

20

dbBulletin

2018

สถาบันธิดาพระราชินมี าเรีย (DQM) ได้จดั ฉลองครบรอบ 25 ปีแห่งการปฏิญาณตน ของ มารีอา ศรินทิพย์ กิจสวัสดิ์ สัตบุรุษวัด นักบุญเปโตร สามพราน, ซาบีนา่ สุจติ รา แสงแดง สัตบุรษุ วัดนักบุญลูกา บางขาม จ.ลพบุรี และพิธี ปฏิญาณตนครั้งแรกของอัสซูนตะ จุฬาลักษณ์

มาเยอะ สัตบุรุษวัดนักบุญสเตเฟน แม่จัน จ.เชียงราย โดยมีพระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี เมื่ อ วั น เสาร์ ที่ 6 ตุ ล าคม ค.ศ.2018 ณ โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพฯ

สัมมนาประจ�ำปีของสถาบัน ธิดาพระราชินีมาเรีย สถาบั น ธิ ด าพระราชิ นี ม าเรี ย จั ด สัมมนาประจ�ำปี ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม ค.ศ.2018 ณ โรงเรียนพระแม่มารี ในหัวข้อ “ธิดา พระราชินฯี ผูร้ บั การเจิมถวายตัวทีอ่ ยูท่ า่ มกลาง โลก ตามแนวเอกสารครบรอบ 70 ปี แ ห่ ง Provida Mater Ecclesia” โดยคุ ณ พ่ อ Christofer Kim Kil Min นักกฎหมายและ ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบสถาบั น ผู ้ รั บ การเจิ ม ถวายตั ว ที่ อยู่ท่ามกลางโลกของประเทศเกาหลี ใ ต้ เ ป็ น

วิ ท ยากร และมี คุ ณ พ่ อ บรรจง สั น ติ สุ ข นิรันดร์, SDB เป็นผู้แปลและเป็นวิทยากร แบ่ ง ปั น เอกสารพระศาสนจั ก รเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ผู ้ เ จิ ม ถวายตั ว ที่ อ ยู ่ ท ่ า มกลางโลก

ฉลองศาสนนามคุณแม่เจ้าคณะ คณะภคินีพระราชินีมาเรีย (SQM) จั ด ฉลองแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ข องโรงเรี ย น และฉลองศาสนนามของคุณแม่ปราณี ก�ำพุฒ อธิการิณเี จ้าคณะฯ ภายใต้ชอื่ งาน “มารีคล้องใจ สายใยสัมพันธ์ 2018” ณ โรงเรียนพระแม่มารี

สาธุประดิษฐ์ เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.2018 ภายในงานมีการร่วมรับประทานอาหารค�่ำ ร่วมกัน พร้อมกับชมการแสดงของคณะครู จากโรงเรียนในสังกัดของคณะในบรรยากาศ เต็ ม ไปด้ ว ยความอบอุ ่ น และสนุ ก สนาน


SALESIAN NEWs

dbBulletin

By... SDB Reporter

คณะซาเลเซียนแขวงนักบุญเปาโล ประเทศไทย ขอร่วมยินดีกับสังฆานุกร มัทธิว กิติชัย ใสสว่าง โอกาสรับศีลบวชเป็นสังฆานุกร วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.2018 ณ วัดนักบุญยอแซฟ Collingwood ประเทศออสเตรเลีย โดย พระอัครสังฆราช Timothy Costelloe, ซดบ. (พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลเพิร์ท)

สังฆานุกร มัทธิว กิติชัย ใสสว่าง

เกิดวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1987 สัตบุรุษ วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บ้านหนองคูน้อย จ.ยโสธร เป็นบุตรชายคนแรกในจ�ำนวนพี่น้อง 3 คน ของนายยอห์น แบปติสต์ บุญมา ใสสว่าง และนางยูเลียอันนา ไพรมะณี ใสสว่าง

การศึกษาและกระแสเรียก ปี 1992 - 2000 ปี 2000 - 2006 ปี 2006 - 2007 ปี 2007 - 2008 ปี 2008 - 2009 ปี 2009 ปี 2007 - 2012 ปี 2012 - 2015 ปี 2015 - ปัจจุบัน ปี 2016

ศึกษาระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่โรงเรียนมารีย์นุเคราะห์ บ้านหนองคูน้อย จ.ยโสธร ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี โปสตูลันต์ปี 1 บ้านนาซาเรท อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โปสตูลันต์ปี 2 บ้านซาเลเซียน อ.สามพราน จ.นครปฐม นวกภาพ ปฏิญาณตนครั้งแรก ศึกษาปรัชญาศาสตร์ที่วิทยาลัยแสงธรรม ผู้ดูแลอภิรติกชนที่บ้านเณรนาซาเรท อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ศึกษาเทววิทยาที่ Catholic Theological College of University of Divinity Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ปฏิญาณตนตลอดชีวิต

ปี 2017 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ที่ Salesian House Clifton Hill Melbourne ปี 2018 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยพิธีกรรมที่ Salesian House Clifton Hill Melbourne

คติพจน์ “ตามเรามา” (มธ 9:9) ความในใจ

“หลายคนถามผมว่า ‘ท�ำไมถึงอยากเป็นนักบวชและพระสงฆ์?’ ค�ำตอบส�ำหรับผมคือ ผมก็ไม่รู้ครับ แล้วแต่ช่วงเวลา...ตอนเด็กๆ ผมอยากเตะบอลเก่ง และอยากช่วยมิสซา พอโตขึ้นมาอีกนิดก็อยากจะใส่เสื้อหล่อ เพราะเท่ดี แล้วตอนนี้ละ ก็ไม่รู้ครับ แล้ว แต่ พ ระเจ้ า เลย... หลายคนอาจจะบอกว่ า ฟั ง ดู ง ่ า ยนะ แต่ ท� ำ จริ ง ไม่ ง ่ า ยเลย และ นั่ น แหละครั บ คื อ สิ่ ง ที่ ผ มอยากจะท� ำ คื อ สละความอยากและน�้ ำ ใจของตั ว เอง เพื่ อ ผมจะได้ พ ร้ อ มส� ำ หรั บ งานที่ พ ระเจ้ า จะทรงมอบให้ ภาวนาให้ ผ มด้ ว ยนะครั บ ” 21

dbBulletin

2018


บทความ By... คุณพ่อจรัล ทองปิยะภูมิ

รับพระคุณการุณย์ ในเดือนผู้ล่วงลับ

เรียบเรียงจาก “คู่มือการรับพระคุณการุณย์” (The Enchiridion of Indulgences) โดยสมณฑัณฑสถาน (The Sacred Apostolic Penitentiary) ส�ำนักวาติกัน 1968

พฤศจิกายน เดือนผู้ล่วงลับ ชวนให้เราภาวนาเป็นพิเศษส�ำหรับญาติผู้ใหญ่และ มิตรสหายที่จากเราไปแล้ว พวกเขารอโอกาสพิเศษในรอบปีอันนี้เพื่อให้เราอุทิศค�ำภาวนา กิจเมตตา และการพลีกรรม ให้แก่พวกเขา ขณะเดียวกัน พระศาสนจักรในสวรรค์ หรือพระ ศาสนจักรทีป่ ระสบชัย และพระศาสนจักรในไฟช�ำระ หรือพระศาสนจักรทีก่ ำ� ลังทนทรมาน ย่อม ภาวนาให้เรา พระศาสนจักรในโลก หรือพระศาสนจักรทีก่ ำ� ลังต่อสู้ ด้วยเช่นกัน ส�ำหรับเดือน พฤศจิกายนนี้ การอุทศิ ค�ำภาวนาให้ผลู้ ว่ งลับทีด่ ที สี่ ดุ คือ การรับพระคุณการุณย์ครบบริบรู ณ์

ค�ำสอนของพระศาสนจักร

บทแสดงความเชื่ อ ของพระสั ง คายนา เทรนต์ ป ระกาศว่ า “ข้ า พเจ้ า เชื่ อ ในฤทธิ์ อ� ำ นาจ ของพระคุ ณ การุ ณ ย์ ที่ พ ระคริ ส ตเจ้ า ทรงมอบให้ แก่ พ ระศาสนจั ก ร และในการเอื้ อ อ� ำ นวยของ การรั บ พระคุ ณ การุ ณ ย์ นี้ ต ่ อ การเจริ ญ เติ บ โต ของชีวิตคริสตชน”

22

dbBulletin 2018

ส ม เ ด็ จ พ ร ะ สั น ต ะ ป า ป า ป อ ล ที่ 6 ทรงกล่ า วในพระธรรมนู ญ Indulgentiarum Doctrina (1967) ว่ า “พระบุ ต รทรงได้ ม าซึ่ ง สมบั ติ ที่ ท รงมอบแก่ พ ระศาสนจั ก รที่ ก� ำ ลั ง ต่ อ สู ้ โดยให้ อ ยู ่ ใ นความดู แ ลของนั ก บุ ญ เปโตร ผู ้ ถื อ กุญแจสวรรค์ พร้อมกับบรรดาผู้สืบทอดต�ำแหน่ง ของท่ า น ให้ แ จกจ่ า ยแก่ บ รรดาผู ้ มี ค วามเชื่ อ ที่ ส� ำ นึ ก ผิ ด และสารภาพบาปของตน เพื่ อ ความรอดพ้ น ของพวกเขา ทั้ ง นี้ ด ้ ว ยความ เมตตา และความสมเหตุ ส มผล โดยให้ อ ภั ย การลงโทษชั่ ว คราวเป็ น บางส่ ว นหรื อ ทั้ ง หมด”


dbBulletin พระองค์ได้ทรงเตือนในพระสมณสาร Sacrosancta Portiunculae (1966) ด้วยว่า “การรั บ พระคุ ณ การุ ณ ย์ ไ ม่ ใช่ วิ ธี ส ะดวกสบาย ที่ จ ะหลี ก เลี่ ย งการท� ำ กิ จ ใช้ โ ทษบาป แต่ ก ลั บ เป็นเครื่องสนับสนุนให้คริสตชนผู้ตระหนักใน ความอ่อนแอของตน ร่วมส่วนในพระวรกายของ พระคริสตเจ้า ด้วยความรัก แบบอย่างที่ดี และ การภาวนา เพื่ อ ยั ง ผลต่ อ การกลั บ ใจของตน” เช่นเดียวกัน สมเด็จพระสันตะยอห์น ปอลที่ 2 ทรงก�ำชับว่า “การรับพระคุณการุณย์ มิใช่การลดทอนหน้าที่ของการกลับใจ หากแต่ เป็นการช่วยให้เกิดการกลับหาพระเจ้าที่พร้อมใจ สุดใจ และใจกว้าง ด้วยเหตุนี้เอง การรับพระคุณ การุณย์ครบบริบรู ณ์จงึ เรียกร้องให้เรามีทา่ ทีจติ ใจ ที่เหมาะสม กล่าวคือ การตัดใจจากบาป แม้แต่ บาปเบา” (General Audience 29 ก.ย. 1999) หลักการทั่วไปของการรับพระคุณการุณย์ ครบบริบูรณ์ ในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ จะต้องมีการตัดใจจากบาป แม้แต่บาปเบา และ ปฏิบตั ิ “สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำ 3 ประการ” (NOI 26/EI p.9) อันได้แก่: การรับศีลอภัยบาป การรับศีลอภัย บาปครั้ ง หนึ่ ง สามารถใช้ รั บ พระคุ ณ การุ ณ ย์ หลายครั้ง (NOI 28/EI p.9) การรับศีลมหาสนิท การรับศีลมหาสนิทครัง้ หนึง่ สามารถใช้รบั พระคุณ การุณย์ครั้งเดียว อาจท�ำก่อนหรือหลังก็ได้ ไม่ จ�ำเป็นต้องท�ำในวันเดียวกัน (NOI 27, 28/EI p.9) การภาวนาเพื่ อ พระประสงค์ ข องสมเด็ จ พระ สันตะปาปา ด้วยบทข้าแต่พระบิดาและบทวันทา มารีย์ หรือบทอืน่ ๆ ก็ได้ อาจท�ำก่อนหรือหลังก็ได้ ไม่ จ�ำเป็นต้องท�ำในวันเดียวกัน (NOI 27, 29/EI p.9) ความเข้าใจเกี่ยวกับพระคุณการุณย์ครบ บริบูรณ์ พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์คือการยก “โทษทั้งหมด” ของบาปหนักที่ได้สารภาพบาป แล้ว และของบาปเบา ทั้งที่ได้สารภาพบาปแล้ว และที่ยังไม่ได้สารภาพบาปพระคุณนี้รับได้วัน ละครั้ง โดยสามารถอุทิศให้ตนเองหรือวิญญาณ ในไฟช�ำระเมื่อเรารับศีลอภัยบาป “ความผิด”

ของบาปได้ถูกยกทั้งหมด แต่ “โทษ” ของบาปได้ถูกยกเพียงบางส่วน แม้ ว ่ า เราได้ ท� ำ กิ จ ใช้ โ ทษบาปตามที่ พ ระสงฆ์ ก� ำ หนดแล้ ว ก็ ต าม พระศาสนจักรมอบพระคุณนี้อย่างเป็นพิเศษในเดือนพฤศจิกายน ตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 จนถึ ง 8 พฤศจิ ก ายน เราสามารถรั บ พระคุ ณ การุ ณ ย์ ค รบบริ บู ร ณ์ ไ ด้ ใ นแต่ ล ะวั น ทุ ก วั น โดยการเยี่ ย มสุ ส าน และ ภาวนาแด่ผู้ล่วงลับอย่างศรัทธา ทั้งแบบออกเสียงหรือแบบภาวนาในใจ พระคุณนี้จะอุทิศได้เฉพาะแก่ผู้ล่วงลับเท่านั้น ผู้ท�ำกิจศรัทธานี้สามารถรับ พระคุณการุณย์บางส่วน หากท�ำในวันอื่นๆ ตลอดปี (OGI 13/EI p.23) พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ที่รับได้ทุกวัน มี ก ารรั บ พระคุ ณ การุ ณ ย์ ค รบบริ บู ร ณ์ ด ้ ว ยกิ จ ศรั ท ธาต่ า งๆ หลายชนิ ด ที่ ต ้ อ งท� ำ ในวั น ฉลองพิ เ ศษหรื อ โอกาสพิ เ ศษต่ า งๆ เฉพาะ ในวันนั้นๆ เท่านั้น แต่กิจศรัทธาที่เราสามารถเลือกท�ำเพื่อรับพระคุณ การุณย์ครบบริบูรณ์ได้ทุกวัน โดยไม่ต้องรอโอกาสส�ำคัญ มีดังต่อไปนี้ 1. การสวดสายประค�ำหนึ่งสายในวัด ในครอบครัว ในหมู่คณะสงฆ์และ นักบวช หรือในกลุม่ ส่งเสริมความศรัทธาต่างๆ ถือเป็นการเพียงพอทีจ่ ะสวด เพียงส่วนส�ำคัญของสายประค�ำ อันประกอบด้วย บทข้าแต่พระบิดา และบท วันทามารีย์การสวดต้องท�ำต่อเนือ่ ง แบบออกเสียง เบาหรือดังก็ได้ และร�ำพึงข้อ ร�ำพึงสายประค�ำตามไปด้วย โดยไม่จำ� เป็นต้อง ใช้สายประค�ำ (OGI 48/EI p.33) 2. การเดิ น รู ป 14 ภาคในวั ด หรื อ ในสถานที่ เ ดิ น รู ป ที่ ก� ำ หนดไว้ อ ย่ า ง เป็นทางการ เมื่อท�ำแบบส่วนตัวต้องมีการเคลื่อนจากสถานหนึ่งไป อีกสถานหนึ่ง ยกเว้นกรณีของผู้สูงอายุหรือผู้มีเหตุจ�ำเป็น เมื่อท�ำแบบ ส่วนรวม การเคลื่อนของผู้น�ำสวดถือว่าเพียงพอ (OGI 63/EI p.38) 3. การอ่านพระคัมภีร์เป็นเวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง (OGI 50/EI p.34) 4. การเฝ้าศีลมหาสนิทเป็นเวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง (OGI 3/EI p.19) พระคุณการุณย์ที่พิเศษสุด พระคุณการุณย์ที่พิเศษสุดส�ำหรับเราคริสตชนคาทอลิกคือ การรับ พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในเวลาแห่งความตาย ส�ำหรับสัตบุรุษที่ในเวลา ใกล้ตายไม่มโี อกาสได้รบั ความช่วยเหลือจากพระสงฆ์ทมี่ าโปรดศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ พระศาสนจักรเองประทานพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์โดยตรงแก่บุคคลนั้น ในเวลาแห่งความตาย หากเขามีท่าทีจิตใจที่เหมาะสม และได้เคยสวดบท ภาวนาบทใดบทหนึง่ เป็นประจ�ำในชีวติ ของตน พระศาสนจักรประทานพระคุณ นีใ้ ห้ โดยยกเว้นไม่ตอ้ งปฏิบตั ิ “สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำ 3 ประการ” (OGI 28/EI p.27) db ค�ำย่อ: “The Enchiridion of Indulgences” (EI) “Norms On Indulgences” (NOI) “Other Grants Of Indulgences” (OGI) 23

dbBulletin 2018


บทความ

By... คุณพ่อฟรังซิส ไกส์

พระสมณลิขิตเตือนใจ

“จงชื่นชม ยินดีเถิด”

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเชิญชวนทุกคนให้มุ่งสู่ความ ศักดิ์สิทธิ์

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ.2018 คือ 5 ปี หลังจากที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง เป็ น ประมุ ข ของพระ ศาสนจักรคาทอลิก พระองค์ทรงตัดสินพระทัย ประกาศพระสมณลิขิตเตือนใจ ฉบับที่ 3 ชื่อ “จงชื่นชมยินดีเถิด” (Gaudete et Exsultate ซึ่งต่อไปจะใช้ตัวย่อว่า GE) มีเนื้อหาเรื่อง "การ เรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน" ตาม ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในหัวข้อย่อยของเอกสาร นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเปิดเผยข้อความ ที่จ�ำเป็นอย่างตรงไปตรงมา โดยชี้แจงสิ่งส�ำคัญ ซึ่ ง เป็ น ความหมายแท้ จ ริ ง ของชี วิ ต คริ ส ตชน ดั ง ที่ นั ก บุ ญ อิ ก ญาซี โ อ แห่ ง โลโยลาสรุ ป ไว้ คื อ 24

dbBulletin 2018

"การแสวงหาและพบพระเจ้าในทุกสิ่ง" นี่เป็นหัวใจส�ำคัญของการปฏิรูปทั้งหลาย ไม่ ว ่ า ส่ ว นตั ว หรื อ ในพระศาสนจั ก ร คื อ ตั้ ง พระเจ้ า ไว้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางของชี วิ ต เมื่อพระคาร์ดินัล ฮอร์เก แบร์โกลิโอ (Jorge Bergoglio) ทรงได้รับ ต�ำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปา พระองค์ทรงเลือกพระนามว่า "ฟรังซิส” เพราะ เหตุผลนี้เอง ในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ทรงรับภารกิจของนักบุญฟรังซิส แห่ง อัสซีซีมาเป็นภารกิจของพระองค์เองด้วยคือทรง "บูรณะ" พระศาสนจักรในแง่ การปฏิรูปฝ่ายจิตซึ่งมีพระเจ้าทรงเป็นตรงกลาง พระองค์ทรงยืนยันอย่างแน่วแน่ ว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกร้องทุกสิ่งทุกอย่างจากเรา โดยพระองค์จะประทาน ชีวิตและความสุขที่แท้จริงให้เราตามที่ถูกสร้างมา พระองค์ทรงต้องการให้เราเป็น นักบุญ และไม่ทรงต้องการให้ด�ำเนินเรื่อยเปื่อยแบบไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไร" (GE 1) พระสมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้ “ไม่ต้องการจะให้เป็นเอกสารต�ำราเรื่อง ความศักดิ์สิทธิ์ อธิบายถึงความหมายและคุณลักษณะที่จะช่วยให้เข้าใจถึงเรื่อง ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ส� ำ คั ญ นี้ หรื อ ว่ า จะเป็ น ของวิ ธี ก ารต่ า งๆ ที่ จ ะท� ำ ให้ เ กิ ด ความ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ " จุ ด มุ ่ ง หมายของสมเด็ จ พระสั น ตะปาปาคื อ “เพี ย งเพื่ อ จะน� ำ เสนอ แนวทางใหม่ของการเรียกให้ไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถปฏิบัติได้จริงในช่วงเวลา ปัจจุบันของเรา ที่มีทั้งความเสี่ยง การท้าทายและโอกาสมากมาย” (GE 2) และ ในแง่นี้พระองค์ทรงมีความหวังว่า "ในแต่ละหน้าของพระสมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้ จะเป็ น ประโยชน์ อ ย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะเปิ ด หนทางให้ พ ระศาสนจั ก รทั้ ง ครบได้ อุ ทิ ศ ตน ใหม่ อี ก ครั้ ง ในการส่ ง เสริ ม ความปรารถนาไปสู ่ ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ " (GE 177) เอกสารนี้ ป ระกอบด้ ว ย 5 บท จุ ด เริ่ ม ต้ น คื อ การเรี ย กให้ ไ ปสู ่ ค วาม ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต่ อ จากนั้ น มี ก ารระบุ อ ย่ า งชั ด เจนถึ ง "สองศั ต รู ตั ว ฉกาจของความ ศักดิ์สิทธิ์" ซึ่งมีแนวโน้มที่จะท�ำให้ความศักดิ์สิทธิ์เป็นสภาพของชนกลุ่มน้อยที่ เด่นในด้านสติปัญญาหรือด้านเจตจ�ำนง ดังนั้น จึงมีการเสนอ “ความสุขแท้จริง” ตามแนวพระวรสารให้ เ ป็ น แบบอย่ า งเชิ ง บวกของความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซึ่ ง เป็ น ความ จริงเมื่อติดตามหนทาง "ในแสงสว่างของพระอาจารย์" และไม่ใช่อุดมการณ์ที่ คลุมเครือทางศาสนา ต่อจากนั้นมีการบรรยาย "เครื่องหมายของความศักดิ์สิทธิ์ ในโลกปัจจุบัน" คือความพากเพียร ความอดทน ความถ่อมตน ความยินดีและมี อารมณ์ขัน ความกล้าหาญและความกระตือรือร้น ในการอยู่ร่วมกันและในการ อธิษฐานภาวนาอย่างสม�่ำเสมอ พระพระสมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้จบลงด้วยบท เกี่ยวกับชีวิตจิตในแง่ที่เป็น "การต่อสู้ การเฝ้าระวังและการรู้จักไตร่ตรองแยกแยะ" ส�ำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสความศักดิส์ ทิ ธิค์ อื อะไร ความศักดิส์ ทิ ธิ์ อยู่ในพระทัยของพระองค์ตั้งแต่แรก เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 คือ 5 เดือนหลัง จากที่พระองค์ทรงได้รับการเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ทรงให้สัมภาษณ์ หลายเรื่องกับนักข่าวของวารสารภาษาอิตาเลียนที่มีชื่อว่า “วัฒนธรรมคาทอลิก” (La Civiltà Cattolica) เนื้ อ หาพื้ น ฐานคื อ "ข้ า พเจ้ า เห็ น ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ น


dbBulletin

ประชากรของพระเจ้ า เป็ น ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ประจ� ำ วั น ของเขาทั้ ง หลาย" แล้ ว ทรงอธิ บ าย ต่ อ ไปว่ า "ข้ า พเจ้ า เห็ น ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ น ประชากรที่มีความพากเพียร เช่น หญิงผู้เลี้ยงดู ลูกชายผูท้ ำ� งานเพือ่ เลีย้ งครอบครัว พระสงฆ์อาวุโส ผูม้ บี าดแผลตามตัวแต่กย็ งั มีรอยยิม้ เพราะได้รบั ใช้ พระเจ้า ซิสเตอร์ผู้ท�ำงานหนักและด�ำเนินชีวิต ศักดิส์ ทิ ธิอ์ ย่างซ่อนเร้น ส�ำหรับข้าพเจ้านีค่ อื ความ ศักดิ์สิทธิ์ธรรมดาๆ เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่ข้าพเจ้า มักจะรวมกับความพากเพียร ซึง่ ไม่หมายเพียงการ ยอมรับเหตุการณ์ต่างๆ และสถานการณ์ของชีวิต เท่านัน้ แต่ยงั หมายถึงความมัน่ คงในการก้าวเดิน ต่ อ ไปข้ า งหน้ า วั น ต่ อ วั น เป็ น ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ของพระศาสนจักรที่ยังต้องต่อสู้ในโลกนี้ ดังที่ นักบุญอิกญาซีโอได้กล่าวถึง และนี่ยังเคยเป็น ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องบุ พ การี ข ้ า พเจ้ า คื อ บิ ด า มารดา และคุณย่าโรซา (Rosa) ผู้ท�ำความดี มากมายแก่ขา้ พเจ้า ในหนังสือสวดภาวนาท�ำวัตร ข้าพเจ้ามีพินัยกรรมของคุณย่าโรซาซึ่งข้าพเจ้า อ่านบ่อยๆ เพราะคิดว่าเป็นเหมือนค�ำอธิษฐาน ภาวนา ข้าพเจ้าคิดว่าคุณย่าเป็นนักบุญที่ได้รับ ทุกข์ทรมานมากแม้ในด้านจิตใจ แต่ก็ได้ก้าว เดินต่อไปด้วยความกล้าหาญอย่างสม�่ำเสมอ” ถ้ อ ยค� ำ เหล่ า นี้ แ สดงให้ เ ห็ น ลั ก ษณะ การเขี ย นและความหมายของพระสมณลิ ขิ ต เตือนใจ “จงชื่นชมยินดีเถิด” รวมทั้งบรรยากาศ ฝ่ายจิตและการประยุกต์ใช้ด้านการปฏิบัติ ใน การให้สัมภาษณ์นั้นพระองค์ทรงให้ค�ำนิยามว่า "มี ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องชุ ม ชนธรรมดาทั่ ว ไป" ดังนั้น เราจึงต้องแสวงหาความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิต ธรรมดาๆ และในหมู่บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับเรา ไม่ใช่ในรูปแบบนามธรรมหรือผู้วิเศษ เราพบ ความคิ ด เช่ น นี้ อ ย่ า งชั ด เจนในสภาสั ง คายนา วาติกนั ที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในบทที่ 5 ของสังฆ ธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ซึ่งกล่าวถึง “การ เชื้อเชิญทุกคนทั่วไปให้เข้ามาสู่ความศักดิ์สิทธิ์ใน พระศาสนจักร" เราต้องไม่แสวงหาชีวิตที่สมบูรณ์ ดีพร้อมโดยปราศจากข้อผิดพลาด (เทียบ GE 22)

แต่ตอ้ งพบความศักดิส์ ทิ ธิใ์ นบุคคลที่ "แม้ทา่ มกลางความผิดพลาดและล้มเหลวทีเ่ กิดขึน้ ก็ ยั ง คงมุ ่ ง เดิ น หน้ า และด� ำ เนิ น ชี วิ ต เป็ น ที่ พ อพระทั ย พระเจ้ า เสมอมา" (GE 3) ดังนั้น จึงเป็นที่ประจักษ์แจ้งว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงต้องการ โน้มน้าวทุกคนให้สนใจสิง่ ส�ำคัญในชีวติ คริสตชน โดยทรงช่วยเราให้มวี สิ ยั ทัศน์การมอง แบบกว้างไกล เพือ่ ไม่ตกอยูใ่ นการประจญทีอ่ าจจะท�ำให้สญ ู เสียจุดมุง่ หมายปลายทาง ดังนัน้ พระองค์ทรงพยายามช่วยเราโดยเชิญชวนให้เข้ามาสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิท์ เี่ หมาะสม กับบริบทในชีวิตปัจจุบัน พร้อมกับความเสี่ยง ความท้าทาย และโอกาสดีที่พระเจ้า ประทานในการเดินทางตลอดชีวิตเพื่อ "ความยินดีของท่านจะสมบูรณ์" (ยน 15:11) ในช่วงเริ่มต้นของจดหมายจากกรุงโรม ลงวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1884 นั ก บุ ญ ย อ ห ์ น บ อ ส โ ก เขี ย น ค ว า ม ใ น ใ จ ถึ ง เ ย า ว ช น ที่ เ มื อ ง ตุ ริ น ว ่ า "ความปรารถนาหนึ่งเดียวของพ่อคือ เห็นพวกเธอมีความสุขในโลกนี้และตลอด นิรันดร" ถ้อยค�ำเหล่านี้ที่คุณพ่อกล่าวในตอนสุดท้ายของชีวิต สรุปหัวใจของข่าวสาร ที่คุณพ่ อ เขี ย นถึ งเยาวชนทุ ก ยุ คทุ ก สมั ย ทั่ วโลก จุ ด มุ ่ งหมายของเยาวชนในวันนี้ พรุ ่ ง นี้ แ ละทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย คื อ การใฝ่ ฝ ั น ที่ จ ะมี ค วามสุ ข พระเยซู เจ้ า เท่ า นั้ น ทรง เสนอความสุขแท้จริงตลอดนิรันดร คือความศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นการตอบสนองความ กระหายลึกซึ้งตลอดไปของเยาวชน ซึ่งโลกและสังคมทุกของชาติไม่สามารถเสนอ ให้ พระเจ้าเท่านั้นทรงท�ำได้ ส�ำหรับคุณพ่อบอสโกความจริงนี้ชัดเจนมาก ค�ำพูด สุดท้ายที่ท่านฝากไว้แก่เยาวชนคือ "จงบอกเด็กๆ ว่า พ่อจะรอเขาทุกคนในสวรรค์" เป็นเวลาเพียง 130 ปี ที่ผ่านมาตั้งแต่มรณภาพของคุณพ่อบอสโก และ ในช่วงเวลานี้ระบบป้องกันของคุณพ่อก็ได้เกิดผลมากเกินความคาดหวัง เพราะ ได้ปั้นวีรชนและนักบุญจ�ำนวนมาก บุคคลทั้งหมด 169 คน ได้รับการสถาปนา เป็นนักบุญ บุญราศี ผู้ได้รับการนับถือหรือผู้รับใช้ของพระเจ้าซึ่งอยู่ในระหว่าง การพิจารณาเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการรับรองอย่างชัดเจนว่าพระพรพิเศษที่พระเจ้า ประทานแก่ คุ ณ พ่ อ บอสโกเป็ น จริ ง ในรู ป แบบต่ า งๆ ของความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ db

25 dbBullettin 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ

By... ผ้าขาวบาง

ดอนบอสโกเวียงจันทน์ กระซิบพระวรสารในหัวใจเยาวชน ที่ศูนย์ฝึกอาชีพดอนบอสโก เวียงจันทน์

...สะบายดี สบายดีบ่ สบายดีบ่ เพื่อนมิตรสหาย อยู่เมืองลาวแล้วสบายใจ ท่านจะมาจากดินแดนใดขอต้อนรับด้วย ใจสะบายดี สะบายดี... ค� ำ ร้ อ งจากบทเพลง “สะบาย ดี ป ระเทศลาว” ประกอบกั บ ท� ำ นอง ดนตรี ที่ ส นุ ก สนานนี้ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ความงดงามของผื น ดิ น แห่ ง จิ ต ใจของ พี่ น ้ อ งชาวลาวได้ เ ป็ น อย่ า งดี ผื น ดิ น ดี นี้ ก� ำ ลั ง รอการหว่ า นเมล็ ด พั น ธ์ุ แ ห่ ง ข่ า วดี ของพระเจ้ า ลงในหั ว ใจของพวกเขา นิ ต ยสารดอนบอสโกขอน� ำ ท่ า นไปสั ม ผั ส กั บ ภารกิ จ “กระซิ บ พระ วรสารในหั ว ใจของเยาวชนลาว” ที่ ศู น ย์ ฝ ึ ก อาชี พ ดอนบอสโก เวี ย งจั น ทน์

26 dbBulletin 2018

ประเทศลาวเป็ น ประเทศในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ตั้ ง อยู ่ ทางฝั่งซ้ายของแม่น�้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น�้ำสายส�ำคัญ แม่น�้ำโขงนี้มีความ ยาวมากกว่า 4,000 กิโลเมตร ทางภาคตะวันออกและทางเหนือส่วน ใหญ่จะเป็นเนินเขา ทางตะวันตกติดกับประเทศไทย ประเทศลาวมีพื้นที่ ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 6,700,000 คน มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปกครอง ในระบอบคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์

คริสตศาสนาในลาว

ชาวลาวส่ ว นใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธเหมื อ นชาวไทย ศาสนาคริ ส ต์ เข้ า มาในคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 16 แต่ ง านเกิ ด ผลดี ใ นช่ ว ง ที่ พ ระสงฆ์ ค ณะมิ ส ซั ง ต่ า งประเทศแห่ ง กรุ ง ปารี ส เข้ า มาท� ำ งาน หลั ง จากปี ค.ศ.1875 ได้ เ กิ ด มี ก ลุ ่ ม คริ ส ตชนตามลุ ่ ม แม่ น�้ ำ โขง และในปี ค.ศ.1899 ได้ มี ก ารตั้ ง สั ง ฆมณฑลลาว โดยมี ศู น ย์ ก ลางที่ น ครพนม (หนองแสง) ครอบคลุมประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย


dbBulletin

ในปี ค.ศ.1934 สมณะกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อได้แบ่งทาง เหนือของลาวให้เป็นเขตการปกครองเฉพาะขึ้น ที่เวียงจันทน์ โดยให้ อยู่ในความดูแลของคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (OMI) ต่อมาหลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 ลาวถูกแบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครอง คือ เขต ปกครองหลวงพระบาง สังฆมณฑลเวียงจันทน์ สังฆมณฑลท่าแขก และ สังฆมณฑลปากเซ เนื่องด้วยสถานการณ์ทางการเมืองและการปกครอง ท�ำให้บรรดาธรรมทูตถูกผลักดันออกนอกประเทศ เหลือเพียงพระสงฆ์พ้ืน เมืองบางคนจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีจ�ำนวนคาทอลิกประมาณ 40,000 คน

ซาเลเซียนในลาว

ในโอกาสที่ มีการเปิดโรงเรียนดอนบอสโกอย่า งเป็ น ทางการ ที่พนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1994 โดย เจ้านโรดม รณฤทธิ์ คณะซาเลเซียนได้เชิญเอกอัครราชทูตและผู้แทนจาก ประเทศต่างๆ ที่ประจ�ำอยู่ที่พนมเปญ และบุคคลส�ำคัญอีกหลายท่าน รวม ทั้งพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และประชาชนจ�ำนวนมากมาร่วมงาน ด้วย โอกาสนี้เองที่เอกอัครราชทูตของลาวได้เห็นและรู้ถึงสิ่งที่ซาเลเซียน ก�ำลังกระท�ำในกัมพูชา และเริ่มคิดที่จะท�ำบางอย่างในประเทศลาว ระหว่าง นั้นซาเลเซียนได้ขออนุญาตส่งผู้ช�ำนาญบางคนไปพบกับเจ้าหน้าที่ของลาว เพื่อศึกษาถึงสภาพความเป็นจริงในท้องถิ่นและโอกาสที่จะเปิดโรงเรียน อาชีวะที่เวียงจันทน์หรือในที่อื่นที่เหมาะสม ในระหว่างที่โครงการยังไม่ แน่ชัด คณะผู้ใหญ่ได้เสนอให้เริ่มต้นด้วยการช่วยเหลือและติดตามเยาวชน ลาวจ�ำนวน 5 คนที่ถูกส่งมาเรียนที่โรงเรียนดอนบอสโกกรุงเทพก่อน เมื่อ เยาวชนทั้ง 5 คนได้จบการศึกษาระดับ ปวส. ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2004 คณะซาเลเซียนจึงได้ตัดสินใจเช่าบ้านและที่ดินจ�ำนวนหนึ่งในชานเมือง เวียงจันทน์ เพื่อให้พวกเขาเปิดร้านซ่อมไฟฟ้าและร้านซ่อมจักรยานยนต์

โดยมี คุ ณ ครู สั ญ ญาจากโรงเรี ย นดอนบอสโก กรุ ง เทพไปอยู ่ กั บ พวกเขาเพื่ อ คอยช่ ว ยเหลื อ และแนะน� ำ พวกเขา วั น ที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.2004 โอกาสฉลองแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ คุณพ่อตีโต้ เปดร็อนก็ได้เดินทางไปประจ�ำที่ นั่นและได้ปรับปรุงสถานที่ให้เป็นที่ฝึกงานและ สถานที่เล่นส�ำหรับเยาวชน และได้เริ่มซ่อมรถ จักรยานยนต์ ท�ำงานไฟฟ้า ในเวลาเดียวกันก็ ออกไปท�ำความรูจ้ กั ผูค้ นในบริเวณนัน้ และเด็กๆ และสอบถามว่าใครอยากจะเรียนวิชาชีพบ้าง โดยได้ตงั้ ชือ่ ศูนย์นวี้ า่ “มิตรสัมพันธ์” เป้าหมาย ของโรงงานน้อยๆ นี้คือ ช่วยเยาวชนที่ยากจน ให้เรียนรู้วิชาชีพอย่างหนึ่งอย่างใด และเลือก บางคนที่มีความถนัดเป็นพิเศษเพื่อส่งไปเรียน ที่ โรงเรี ย นดอนบอสโกกรุ ง เทพ อั น เป็ น การ เตรี ย มบุ ค ลากรส� ำ หรั บ การเริ่ ม กิ จ การของ ซาเลเซียนในลาวอย่างเป็นทางการในอนาคต ต่อมาผูร้ บั ผิดชอบเยาวชนคอมมิวนิสต์ ได้ ม าเยี่ ย มที่ ศู น ย์ แ ละสอบถามถึ ง การเรี ย น การสอน ในตอนท้ายเขาได้สรุปว่า นี่แหละ คื อ หลั ก สู ต รที่ เขาต้ อ งการ และขอความร่ ว ม มื อ จากศิ ษ ย์ เ ก่ า ดอนบอสโกและนั ก บวช ซาเลเซียนส�ำหรับฝึกงานเยาวชนคอมมิวนิสต์

27

dbBulletin 2018


เรื่องเด่นประจำ�ฉบับ

กิจการเพื่อเด็กยากจนและขาดโอกาส

ศูนย์ฝึกอาชีพดอนบอสโกเวียงจันทน์มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เด็กที่ยากจนและขัดสนให้ได้รับการศึกษาและมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงดู ตนเองและครอบครัวได้ เมือ่ นักเรียนผ่านการคัดเลือกแล้วจะได้เข้าเรียนโดย ไม่มคี า่ ใช้จา่ ยใดๆ เพียงแต่ให้ทกุ คนน�ำข้าวจ�ำนวนหนึง่ มาช่วยสมทบกับทาง โรงเรียนเพือ่ การมีสว่ นร่วม ปัจจุบนั ทางศูนย์เปิดท�ำการเรียนการสอน 4 แผนก คือ ช่างไฟฟ้า (หลักสูตร 1 ปี), ช่างยนต์ (หลักสูตร 1 ปี), ช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ (6 เดือน) และช่างเชื่อม (6 เดือน) โดยมีนักเรียนทั้งสิ้น 143 คน ในจ�ำนวน นี้มีนักเรียนประจ�ำจ�ำนวน 64 คน สมาชิกซาเลเซียนที่ประจ�ำที่นี่ประกอบ ไปด้วยคุณพ่อแพทริก มัชโชนี อธิการและมีสมาชิกในหมู่คณะคือภราดา คาร์โล บาคาลา, คุณพ่อปอล วูแวนตรุงและคุณพ่อยอห์น แบปติสต์ ฮุยฮวง

กระซิบพระวรสารในหัวใจของเยาวชนลาว

วั น ที่ 2 3 - 2 6 พ ฤ ษ ภ า ค ม ค.ศ.2007 คุณครูสัญญาได้น�ำผู้แทนของ กระทรวงศึกษาธิการและผู้แทนอีก 6 คน จาก 5 กระทรวง ไปเยี่ยมโรงเรียนอาชีวะ ดอนบอสโก พนมเปญ และโรงเรียนดอน บอสโก กรุ ง เทพ เมื่ อ จบการดู ง านแล้ ว ทุ ก คนได้ แ สดงความปรารถนาที่ จ ะมี โรงเรียนอาชีวะแบบนีใ้ นประเทศลาวเช่นกัน ในปี ค.ศ.2008 มูลนิธิซาเลเซียน ได้ด�ำเนินการติดต่อกับทางราชการเพื่อขอ อนุญาตจัดตั้งโรงเรียนและขยายกิจการโดย ได้เช่า-ซื้อที่ดินผืนหนึ่ง ซึ่งทางราชการได้ อนุญาตให้มูลนิธิสามารถท�ำงานใน สปป. ลาว อี ก ทั้ ง ได้ รั บ รองหลั ก สู ต รฝึ ก งาน 4 แผนก คณะจึ ง ได้ เริ่ ม สร้ า งอาคารต่ า งๆ เพื่ อ ใช้ ใ นการเรี ย นการสอน โดยตั้ ง ชื่ อ ศูนย์แห่งนี้ว่า “ศูนย์ฝึกอาชีพดอนบอสโก เวียงจันทน์” ซึง่ ด�ำเนินงานมาจนถึงปัจจุบนั

28

dbBulletin

2018

คุณพ่อมัชโชนีบอกกับเราว่า เนื่องด้วยเราอยู่ใน สปป. ลาว ซึ่งมี สถานการณ์เฉพาะของพืน้ ทีแ่ ละมีความจ�ำกัดในด้านการปฏิบตั ศิ าสนา เรา กระซิบข่าวดีของพระเจ้าโดยอาศัยการอบรมจิตใจและการฝึกอาชีพให้กับ พวกเขา เราพยายามสอนในสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ชีวติ ของพวกเขา ทุกครัง้ ที่ เราให้การอบรมในตอนเช้าและให้โอวาทตอนค�่ำกับนักเรียน คณะผู้ใหญ่จะ สอดแทรกค�ำสอนของพระวรสาร การอบรมศีลธรรม รวมทัง้ ค�ำสอนของคุณ พ่อบอสโกกับพวกเขา นีเ่ ป็นการเตรียมใจของพวกเขาให้เปิดสูค่ วามจริงและ ความดี นอกนัน้ เราได้ตงั้ รูปปัน้ ของคุณพ่อบอสโกเอาไว้หน้าตึก เพือ่ ช่วยเตือน ใจให้คิดถึงค�ำสอนของคุณพ่อด้วย นี่เป็นสิ่งซึ่งเราท�ำเพื่อการประกาศข่าวดี เมือ่ ถามคุณพ่อมัชโชนีวา่ อะไรคือความสุขของคุณพ่อในฐานะทีเ่ ป็น ซาเลเซียน คุณพ่อบอกกับเราว่า ความสุขนั้นขึ้นกับเราแต่ละคนว่าจะเปิดใจ รับสิง่ ทีพ่ ระเจ้าประทานให้หรือไม่ ส�ำหรับพ่อแล้ว ความสุขของพ่อก็คอื การ ได้อยู่ท่ามกลางเยาวชนที่ยากจนจริงๆ พ่อมีความสุขที่ได้อยู่กับพวกเขา ไม่ เพียงพอทีเ่ ราท�ำงานเพือ่ เยาวชนเท่านัน้ แต่เราต้องอยูท่ า่ มกลางเยาวชนด้วย


dbBulletin

คุณพ่อแพทริก มัชโชนี

คุณครูสายเพียวงศ์ สีดา

ในเวลาเดียวกัน การอยูท่ นี่ กี่ ม็ สี งิ่ ท้าทายหลายอย่างไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของการ เข้าสู่วัฒนธรรมและภาษา แม้ว่าประเทศไทยและสปป.ลาวจะมีวัฒนธรรม ใกล้เคียงกันแต่พ่อก็ต้องพยายามเรียนรู้และเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมให้ มากขึน้ โดยเฉพาะกับนักเรียนทีเ่ ป็นกลุม่ ชาติพนั ธุ์ สิง่ ท้าทายอีกประการหนึง่ ก็คือ เด็กนักเรียนของเรามีพื้นฐานด้านการศึกษาและความพร้อมในด้าน สติปัญญาที่แตกต่างกัน บางคนล�ำบากในการปรับตัว ไม่ว่าในเรื่องอาหาร เรือ่ งระเบียบวินยั ท�ำให้ทอ้ ใจและเลิกเรียนไปก็มี อย่างไรก็ตาม เราพยายาม สุดความสามารถที่จะส่งเสริมและช่วยเหลือพวกเขามากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้

ฆราวาสผู้ร่วมพันธกิจซาเลเซียน

ปัจจุบันโรงเรียนของเรามีครูจ�ำนวน 30 คน บุคลากรเหล่านี้ มีบทบาทส�ำคัญในการร่วมมือกับเราในการอบรมเยาวชน คุณครูส่วน หนึ่งก็คือศิษย์เก่าของเรา เมื่อพวกเขาเรียนจบแล้วก็มาเป็นครู คุณพ่อ มัชโชนีบอกกับเราว่า “การได้ชื่อว่าเป็นครูนั้นไม่เพียงพอ พวกเขาต้อง ได้ รั บ การอบรมเพิ่ ม เติ ม ด้ ว ย คุ ณ ครู เ หล่ า นี้ ยั ง ต้ อ งการเวลาเพื่ อ ให้ มี วุ ฒิ ภ าวะมากขึ้ น เวลานี้ ท างโรงเรี ย นได้ ส ่ ง นั ก เรี ย นบางคนมารั บ การ อบรมที่วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพและบ้านโป่งเพื่อเตรียม ตัวเขาให้มาเป็นครูต่อไปในอนาคต” คุณครูสายเพียวงศ์ สีดา หนึ่งในบรรดานักเรียนรุ่นแรกซึ่งได้ รับโอกาสให้ไปเรียนที่วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพเป็นเวลา 5 ปี บอกกับเราว่า “ผมรักและดีใจที่เป็นลูกของพ่อบอสโก นอกจาก ความรู้ที่ผมได้รับจากการเรียนและการฝึกปฏิบัติแล้ว ผมยังได้รับการ ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากคุณพ่อและบราเดอร์ ผมเห็นถึงความเสีย สละของบรรดาซาเลเซี ย นและคุ ณ ครู ในบรรยากาศแบบนี้ ท� ำ ให้ ผ ม ซึ ม ซั บ จิ ต ตารมณ์ ซ าเลเซี ย นมาด้ ว ย เวลานี้ ผ มอยากจะส่ ง มอบสิ่ ง ที่ ผ ม ได้รับให้กับนักเรียนรุ่นน้องในศูนย์แห่งนี้ต่อไป โดยการท�ำหน้าที่ครู”

คุณพ่อบอสโกเป็นใครส�ำหรับ เยาวชนลาว

ตั ว แทนนั ก เรี ย นของศู น ย์ ฝ ึ ก อาชี พ ดอนบอสโกเวียงจันทน์ จ�ำนวน 6 คน ซึ่งมาฝึก ทักษะระยะสั้นที่วิทยาลัยดอนบอสโกกรุงเทพ และบ้านโป่ง บอกกับเราว่าส�ำหรับพวกเขาแล้ว คุณพ่อบอสโกคือบิดาที่มีความรักใจดี เสียสละ และช่วยเหลือเด็กยากจน พวกเราทุกคนก็เป็น เด็กที่ยากจนซึ่งได้รับโอกาส พวกเราอยากเลียน แบบอย่างของท่าน เราทุกคนอยากขอบคุณคณะ ซาเลเซียนเวลานี้พวกเรามาเรียนที่ประเทศไทย เพื่ อ จะได้ มี ป ระสบการณ์ แ ละพั ฒ นาความรู ้ ของพวกเรา และจะได้น�ำความรู้กลับไปช่วย เหลือรุ่นน้องและพัฒนาประเทศของเราต่อไป นีค่ อื ภารกิจของการกระซิบพระวรสาร ในหัวใจของเยาวชนลาว ข่าวดีของพระเจ้าถูก ถ่ายทอดผ่านทางชีวิตของซาเลเซียนและบุคคล ากรในโรงเรียน นักเรียนได้สัมผัสถึงการอุทิศ ตนและการมอบความรั ก ของพระเจ้ า ผู ้ ท รง เป็นบิดาให้กับพวกเขา และพวกเขาจะส่งมอบ พระพรเหล่านี้ให้กับบุคคลอื่นรอบข้างต่อไป db

29

dbBulletin 2018


LECTIO DIVINA By... พระสังฆราชประธาน ศรีดารุณศีล

ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป

แต่พระคริสตเจ้า ทรงด�ำรงชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า Lectio (พระเจ้าตรัสอะไร) พระเยซูเจ้าทรงประณามบรรดาธรรมาจารย์ มก 12:38-44 38 พระเยซูเจ้าตรัสกับประชาชนขณะทีท่ รง สั่งสอนว่า “จงระวังบรรดาธรรมาจารย์ที่ชอบสวม เสื้อยาวเดินไปมา พอใจให้คนทั้งหลายค�ำนับตาม ลานสาธารณะ 39 พอใจนั่งแถวหน้าในศาลา ธรรม พอใจนั่งที่หัวโต๊ะในงานเลี้ยง 40 คนพวกนี้ กินบ้านของหญิงม่าย และอธิษฐานภาวนายืดยาว เพื่อให้คนมอง คนเหล่านี้จะรับโทษหนักกว่าผู้อื่น”

30

dbBulletin 2018


dbBulletin

เศษเงินของหญิงม่าย 41 ขณะที่พระองค์ประทับนั่งตรงหน้า ตู ้ ท าน ทอดพระเนตรเห็ น ประชาชนใส่ เ งิ น ลงในตู ้ ท านคนมั่ ง มี ห ลายคนใส่ เ งิ น จ� ำ นวน มาก 42 หญิงม่ายยากจนคนหนึ่งเข้ามา เอา เหรี ย ญทองแดงสองเหรี ย ญใส่ ล งในตู ้ ท าน 43 พระองค์ จึ ง ทรงเรี ย กบรรดาศิ ษ ย์ เข้ า มา ตรัสว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย ว่า หญิงม่ายยากจนคนนี้ได้ท�ำทานมากกว่า ทุ ก คนที่ ไ ด้ ใ ส่ เ งิ น ลงในตู ้ ท าน 44 เพราะ ทุกคนเอาเงินที่เหลือใช้มาท�ำทาน แต่หญิง คนนี้ ขั ด สนอยู ่ แ ล้ ว ยั ง น� ำ เงิ น ทั้ ง หมด น� ำ ทุกอย่างที่มีอยู่ส�ำหรับเลี้ยงชีวิตมาท�ำทาน” พระเยซูเจ้าประทับนั่งตรงหน้าตู้ทาน พระเยซูเจ้าทรงเตือนศิษย์ของพระองค์ อย่าท�ำตามแบบอย่างของบรรดาธรรมาจารย์ เขาเหล่านั้นแสวงหาผละประโยชน์ของตนเอง เป็นส�ำคัญ ส่วนพระองค์ผทู้ รงเป็นอาจารย์หนึง่ เดียว (อ้าง ยน 13,13) ทรงบังเกิดมา “เพื่อ รับใช้” ทรงเลือกที่สุดท้าย และสิ้นพระชนม์บน กางเขน ค�ำสอนของพระองค์เป็นความสัตย์จริง ไม่หลอกลวง แต่มนุษยชาติไม่ยอมรับรูค้ วามจริง

เพราะบาปท� ำ ให้ เขาเป็ น เช่ น นั้ น พระเยซู เจ้ า มิ ไ ด้ ใ ห้ ความส� ำ คั ญ กั บ อาจารย์ ที่ โ อ้ อ วด อาจารย์ ผู ้ นี้ คื อ มนุษย์เก่าที่อยู่ในตัวเราแต่ละคน พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่าความสนิทสัมพันธ์คือพระพร

การท�ำทานด้วย “เงินที่เหลือใช้” เป็นการกระท�ำ แบบจอมปลอม เพราะเยซู เจ้ า ทรงแก้ ไขพฤติ ก รรมของ มนุษยชาติท่ีตกต�่ำเสียใหม่ การท�ำทานที่พระวิหาร เท่ากับ เป็นการถวายนมัสการแด่พระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ของที่น�ำ ไปถวายจึงมิใช่วัตถุสิ่งของ แต่เป็นสัมพันธภาพระหว่าง ผู ้ ถ วายกั บ พระเจ้ า พระเยซู เจ้ า จึ ง ไม่ รู ้ สึ ก ประทั บ ใจกั บ คนมั่ ง มี ที่ ใ ส่ เ งิ น ลงในตู ้ ท านเป็ น จ� ำ นวนมาก “เพื่ อ โอ้ อ วด” แต่ พ ระองค์ ท รงรู ้ สึ ก ประทั บ ใจกั บ การกระท� ำ ของหญิงม่าย ที่น�ำทุกอย่างที่มีอยู่ส�ำหรับเลี้ยงชีพมาท�ำทาน พระเยซูเจ้าทรงวัดชีวิตของมนุษย์มิใช่ด้วยตัวเลข แต่ด้วยความรัก พระองค์ทรงกระท�ำเป็นแบบอย่าง พระองค์ มิได้ให้สงิ่ ของทีพ่ ระองค์ “มี” แต่ทรงประทานสิง่ ทีท่ รง “เป็น” ทรงประทานชีวิตพระของพระองค์ ทรงกระท�ำเช่นเดียวกับ หญิงม่าย ที่ “ให้หมด” นี่คือการให้ตามวิถีทางของพระเจ้า

31

dbBulletin 2018


LECTIO DIVINA

Hans von Balthasar คิดเช่นนั้นเมื่อกล่าว ว่า “หญิงม่ายผู้นี้ เป็นเครื่องหมายของพระบิดา เจ้า ผู้ซึ่งรักโลกอย่างมาก จนถึงกับประทานพระ บุตรแต่พระองค์เดียวแก่โลก” พระเจ้าทรงให้หมด ความเชื่อคือหนทาง จุดหมายปลายทางของความเชือ่ คือพระเจ้า ทุกชีวิตมุ่งไปยังพระองค์ บรรดานักบุญและผู้ล่วง หลับที่เราระลึกถึงในพิธีกรรมต้นเดือนนี้ พูดและ สอนอย่ า งชั ด เจนว่ า ชี วิ ต เป็ น พระพรและสั้ น นั ก จึงควรน�ำมาเจริญด้วยความรัก และอยู่เพื่อพระเจ้า ความไม่เที่ยงและความเปราะบาง บังคับให้เรา ต้ อ งคิ ด ว่ า โอกาสที่ จ ะเจริ ญ ชี วิ ต บนโลกนี้ เป็นโอกาสเดียวเท่านั้น ความเชือ่ สอนให้รจู้ กั ตอบสนองและท�ำชีวติ ให้เป็นพระพร การด�ำเนินชีวติ ตามกระแสเรียก เป็น การตอบรับกับพระเจ้า พระองค์ทรงมีพระประสงค์ ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ ตลอดนิรันดร ร่วมสนิทสัมพันธ์ เป็นหนึ่งเดียวกับ พระองค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เริ่มต้นแล้วในประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเหมาะสมที่มนุษย์จะให้การตอบสนอง

ต่อพระองค์อย่างเต็มที่มนุษย์มิใช่สิ่งสร้างธรรมดา เนื่องจาก พระเจ้าทรงประทับอยู่ภายในตัวเขา “ท่ า นจงท� ำ ความสะอาดภาชนะของท่ า น ให้ พ ร้ อ ม รั บ พระพรอย่ า งเต็ ม ที่ อั น ที่ จ ริ ง ทุ ก คนได้ รั บ การอภั ย บาป อย่ า งเท่ า เที ย มกั น แต่ ก ารได้ รั บ องค์ พ ระจิ ต เจ้ า ขึ้ น อยู ่ กั บ ความเชื่ อ ของแต่ ล ะบุ ค คล ถ้ า ท่ า นท� ำ งานน้ อ ย ท่ า นย่ อ มได้ รั บ น้ อ ย ถ้ า ท่ า นท� ำ มาก ท่ า นจะได้ รั บ มากด้ ว ย ไม่ ว ่ า ท่ า น ท� ำ สิ่ ง ใด ท่ า นก็ ท� ำ เพื่ อ ความดี ข องท่ า น หากท่ า นมี เ รื่ อ ง บาดหมางกับใคร จงอภัยแก่เขาเถิด เมื่อท่านเข้าไปรับการอภัย บาป จ�ำเป็นที่ท่านเองก็ต้องให้อภัยแก่ผู้ที่ได้ท�ำผิดต่อท่าน” Meditatio (เทียบเคียงตัวฉันกับพระวาจา) *ชีวิตของข้าพเจ้า ปิดบังความหลอกลวงและความโลภไว้ ไม่ได้ พระเยซูเจ้าทรงสอนศิษย์ของพระองค์ให้กระชากหน้ากากของ ความหลอกลวงทิ้งไป และรู้จักให้โดยปราศจากเงื่อนไข พระองค์ ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง “ข้าพเจ้าถวายตนเป็นบูชาส�ำหรับเขา” (ยน 17,19) บนกางเขน พระองค์ตรัสว่า “ส�ำเร็จบริบูรณ์แล้ว” (ยน 19,30) *ความเชือ่ ท�ำให้เรามองตลอดเส้นทางชีวติ ว่า เป็นพระพร หนึง่ เดียว ยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ข้าพเจ้าจะสอดแทรกประวัตศิ าสตร์สว่ นตัว ของข้าพเจ้า ในประวัตศิ าสตร์อนั ยิง่ ใหญ่แห่งความรอดได้อย่างไร? *การตอบสนองที่ เ กิ ด จากความรั ก อมตะของพระเจ้ า เป็ น แรงบั น ดาลใจ เร่ ง เร้ า ให้ เราประกาศความเชื่ อ ออกมา

32

dbBulltine 2018


dbBulletin

*ขอพรพระจิตเจ้า “เมื่ อ พระจิ ต แห่ ง ความจริ ง เสด็ จ มา พระองค์ จ ะทรงน� ำ ท่ า นไปสู ่ ค วามจริ ง ทั้ ง มวล” (ยน 16,13) Contemplatio (ซึมซับอยู่กับพระวาจา) ในปีนี้ที่เราเตรียมฉลอง 350 ปีมิสซังสยาม ทั่วทั้งพระศาสนจักร ในประเทศไทย และทุกหมู่คณะ กระท�ำกิจกรรมต่างๆ เป็น โอกาสของการฟื ้ น ฟู ชี วิ ต ด้ ว ยพระวาจา Lectio Divina ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต ่ า งๆ เอกภาพและความรั ก ต่ อ กั น ความร้ อ นรน แบบธรรมทูต...ท�ำให้เกิดการปฏิวัติทางด้านจิตวิญญาณขึ้นมา *นักบุญเบอร์นาร์ดกล่าวว่า “เราต้องมองตัวเราเองและ เป็นทุกข์ถึงบาปของเรา เพื่อเราจะได้รับความรอดพ้น แต่เราต้อง จ้องมองพระเจ้าด้วยความวางใจในพระองค์ เพื่อรับความยินดี และความบันเทาจากองค์พระจิตเจ้า ด้านหนึง่ เราพบกับความกลัว และความถ่อมตน อีกด้านหนึ่ง เราพบความหวังและความรัก” Oratio (พระวาจาของพระเจ้าท�ำให้เราภาวนา) *ขอโทษ ความฟุ ้ ง เฟ้ อ ของธรรมาจารย์ ป รากฏให้ เ ห็ น “ชอบ สวมเสื้ อ ยาวเดิ น ไปมา พอใจให้ ค นทั้ ง หลายค� ำ นั บ ตามลาน สาธารณะ พอใจนั่ ง แถวหน้ า ในศาลาธรรม พอใจนั่ ง หั ว โต๊ ะ ในงานเลี้ ย ง ชอบสวดภาวนายื ด ยาว ชอบท� ำ ทานเพื่ อ ให้ คนเห็น” *ขอบคุณ 1 พกษ 17,16 “แป้งในไหไม่ขาด และน�้ำมันในเหยือก ไม่ แ ห้ ง ตามที่ พ ระยาห์ เวห์ ต รั ส ไว้ ท างประกาศกเอลี ย าห์ ”

ใช้เวลาอยู่นิ่งๆ กับพระวาจา “ข้าพเจ้า มีชีวิตอยู่ มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระคริสตเจ้า ทรงด�ำรงชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า” Communicatio (พระวาจาของพระเจ้าเป็นจริงในชีวิต) พระเจ้าอเล็กซันเดอร์ผยู้ งิ่ ใหญ่ ถามดีโอเยเน ที่ก�ำลังมองกองกระดูกของมนุษย์ว่า “ท่านก�ำลังหา อะไรอยู่”? ดีโอเยเนตอบว่า “ข้าพระพุทธเจ้าแยก ไม่ออกว่า กระโหลกลูกไหนเป็นของพระราชบิดาของ พระองค์ กระโหลกลูกไหนเป็นของทาสของพระองค์” “การรูจ้ กั เตรียมพร้อมเป็นเรือ่ งส�ำคัญ เรียก ร้องความหนักแน่น การวิเคราะห์ การสังเกต และ การตัดสินใจ รูจ้ กั เตรียมพร้อม หมายถึงรูจ้ กั เริม่ เดิน รู้จักเตรียมพร้อมหมายถึงรู้จักจบ รู้จักเตรียมพร้อม หมายถึงรูจ้ กั ตาย พระเยซูเจ้าทรงสัง่ ศิษย์ของพระองค์ “จงเตรียมพร้อมไว้ เพราะว่าบุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จ มาในเวลาทีท่ า่ นมิได้คาดหมาย” (มธ 24,44) ความ ตายมิใช่การบอกลาที่ไม่มีอนาคต ดังที่หลายคนคิด โดยเฉพาะอย่างยิง่ บุคคลทีไ่ ม่ได้รบั ความบันเทาใจ” “ส�ำหรับคริสตชน การจาก การจบ การตาย มิได้เป็นภาวะจ�ำยอม หรือ การเข้าสู่ความว่างเปล่า แต่เป็นการตัดขาดเพื่อการเริ่มต้นใหม่ที่แตกต่าง จากเดิม” (พระคาร์ดินัล Gianfranco Ravasi) db 33

dbBulletin 2018


Pope 2 you[th]

By... FIAT

ความกตัญญู

และการด�ำเนินชีวิตสวนกระแส

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสว่า “สิ่ ง แรกที่ พ ่ อ อยากสอนลู ก ทุ ก คนก็ คือจงเป็นคนกตัญญูและดูแลพ่อแม่ยามที่ท่าน แก่ชรา อย่าปล่อยให้พวกท่านต้องอยู่โดดเดี่ยว เพราะตอนที่เรายังเป็นเด็ก ท่านก็ไม่ทอดทิ้งเรา เราต้องตอบแทนพวกท่าน เราทุกคนจะได้รับ การตั ด สิ น ตามที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรงสอนนั่ น คื อ ‘เมื่อเราหิว ท่านให้เรากิน เรากระหาย ท่านให้ เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้า ท่านก็ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้า ท่านก็ให้เสื้อผ้าแก่เรา เราเจ็บ ป่วย ท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็มาหา’ “พ่อไม่ต้องการเห็นเยาวชนเป็นคนเหลาะแหละและไม่หนักแน่น รวมทั้งเยาวชนที่เหนื่อยล้าเร็วเกินไปและมีชีวิตเบื่อหน่ายด้วยหน้าตาบูด เบี้ยว พ่อต้องการเห็นเยาวชนที่เข้มแข็ง เยาวชนที่เต็มด้วยความหวังและ ความอดทน ท�ำไมหรือ? ก็เพราะพวกเขารู้จักพระเยซูเจ้า เพราะพวกเขามี ใจอิสระ แต่เพื่อจะเป็นเช่นนี้ได้พวกเขาต้องรู้จักเสียสละและเดินสวนกระแส ความสุขแท้จริง 8 ประการ ที่เราได้ยินในพระวรสารคือชีวิตแห่งการเดิน สวนกระแสและเป็นสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เราเดินติดตาม พระองค์ ตรัสว่า ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า ผู้ร�่ำรวยหรือผู้ที่สะสม เงินทองย่อมเป็นสุข ผู้ที่มีจิตตารมณ์แห่งความยากจนคือผู้ที่สามารถใกล้ชิด และเข้าใจคนที่ยากจน พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า ผู้ที่ด�ำเนินชีวิตไปด้วยดีย่อม เป็นสุข แต่ตรัสว่า ผูท้ เี่ ศร้าโศกเพราะความทุกข์ของคนอืน่ ย่อมเป็นสุข...” db (12 กรกฎาคม ค.ศ. 2015, ประเทศปารากวัย)

34

dbBulletin 2018


ส่องโลกซาเลเซียน

dbBulletin

By... SDB Reporter

World News พระธาตุบุญราศีโรเมโร มาเยือนวิหาร น.ยอห์น บอสโก พระสันตะปาปาทรงทักทาย คุณพ่ออัคราธิการ เมื่ อ วั น ที่ 10 ตุ ล าคม ค.ศ. 2018 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ทรงทั ก ทายและพู ด คุ ย กั บ คุ ณ พ่ อ อั ง เกล เฟอร์ นั น เดส อาร์ ติ เ ม ช่ ว งสั้ น ๆ ใน ระหว่ า งการประชุ ม สมั ช ชาพระสั ง ฆราช สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า พระองค์ ทรงภาวนาเพื่ อ สมาชิ ก ซาเลเซี ย นทุ ก คน คุณพ่ออัคราธิการได้ตอบพระองค์วา่ บรรดา ซาเลเซียนก็ภาวนาวิงวอนต่อพระมารดา องค์ อุ ป ถั ม ภ์ เ พื่ อ พระองค์ เ สมอเช่ น กั น อนึ่งในสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 15 นี้มี ซาเลเซียนเข้าร่วมในสมัชชาทั้งสิ้น 18 คน

ช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2018 พระธาตุของบุญราศีโรเมโรมา เยือนวิหาร น.ยอห์น บอสโก ประเทศ ปานามา ท่ า นเป็ น หนึ่ ง ในนั ก บุ ญ

องค์อุปถัมภ์ประจ�ำงานวันเยาวชนโลก ซึ่ง ประเทศปานามาจะเป็ น เจ้ า ภาพจั ด งาน พระธาตุของท่านบรรจุอยู่ในโลงแก้วประกอบ ไปด้วย ชิ้นส่วนของเสื้อผ้าซึ่งเปื้อนเลือดที่มา จากบาดแผลของการถู ก ลอบสั ง หารและ หมวกพระสังฆราช พระธาตุของท่านจะถูก จาริ ก ไปตามที่ ต ่ า งๆ ในประเทศปานามา จนถึงวันเยาวชนโลกที่จะจัดในเดือนมกราคม ค.ศ.2019 อนึ่ ง วั น ที่ 14 ตุ ล าคม ค.ศ. 2018 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส จะ ทรงสถาปนาท่ า นเป็ น นั ก บุ ญ ร่ ว มกั บ พระ สั น ตะปาปาเปาโลที่ 6 พระสงฆ์ 2 ท่ า น นั ก บวช 2 ท่ า นและฆราวาสอี ก 1 ท่ า น

พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้ง คุณพ่อ Attard เป็นที่ปรึกษา กระทรวง เมื่ อ วั น ที่ 6 ตุ ล าคม ค.ศ.2018 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาทรงแต่ ง ตั้ ง คุ ณ พ่ อ ฟาบิ โ อ อั ต ตาค ที่ ป รึ ก ษาอั ค ราธิ ก ารฝ่ า ยงานอภิ บ าลเยาวชนของคณะ ซาเลเซี ย นให้ เ ป็ น ที่ ป รึ ก ษาของแผนกฆราวาส ครอบครั ว และชี วิ ต ซึ่ ง แผนกนี้ ได้ ถู ก ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ วั น ที่ 15 สิ ง หาคม ค.ศ.2016 อยู ่ ภ ายใต้ ก ารดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบของ สมณกระทรวงเพื่อฆราวาสและครอบครัว

สถาบันเกษตรกรรมซาเลเซียน "Carlos Pfannl" ประเทศปารากวัย จัดท�ำ โครงการลดความยากจนในเขตเมือง Caaguazú ตั้งแต่ปี ค.ศ.2016 ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากองค์กรซาเลเซียนในระดับโลกและจากรัฐบาลประเทศเยอรมันทัง้ นีเ้ พือ่ ช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถพึง่ ตนเองได้ และเมือ่ วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.2018 ได้มกี าร ส่งมอบเครือ่ งมือและอุปกรณ์การเกษตรให้กบั เกษตรกรจ�ำนวน 300 คน ซึง่ กระจายอยู่ ใน 5 เขต โดยมีทมี ช่างเทคนิคทีค่ อยให้คำ� แนะน�ำทัง้ หมด 25 ชุด ทีมงานดังกล่าวมา จากส�ำนักเทศบาลและจากกระทรวงเกษตร นอกนั้น สถาบันเกษตรกรรมซาเลเซียน ยังได้จัดตั้งห้องแลปเพื่อใช้ในการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรด้วย สอง ปีที่ผ่านมามีชาวบ้านจ�ำนวน 1,795 คน ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวนี้ 35

dbBulltin 2018


ส่องโลกซาเลเซียน

By... SDB Reporter

125 ปี วัดพระหฤทัย แบตเตอร์ซี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ Marian Day of the ADMA Primary เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2018 มีการจัดงาน "Marian Day of the ADMA Primary" ครั้งที่ 28 ที่ วิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์ กรุงตุริน ประเทศอิ ต าลี โดยมี ส มาชิ ก กลุ ่ ม ADMA จากแคว้นเปียตมอนต์ จาก วัลเลดาออสตาและบริเวณใกล้เคียง มาร่วมงาน การฉลองเริ่มด้วยการน�ำ เสนอหนั ง สื อ ส่ ง เสริ ม ความศั ร ทธา ต่ อ แม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ เ ล่ ม ใหม่ "ชนทุกสมัยจะกล่าวว่าข้าพเข้าเป็นสุข" น�ำเสนอโดยคุณพ่อยูเซบิโอ มูญอส (ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบครอบครั ว ซาเลเซี ย น) หนังสือดังกล่าวเรียบเรียงโดยคุณพ่อ ปิแอร์ลุยจิ คาเมโรนี จิตตาธิการก ลุ่ม ADMA ส่วนในช่วงบ่ายมีการ ฟังบรรยายโดยมีซิสเตอร์ซาเลเซียน 2 ท่านเป็นวิทยากร จากนั้นทุกคน ร่วมกันสวดสายประค�ำโดยมีเยาวชน เป็นผู้น�ำสวด และจบการฉลองด้วย พิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งในระหว่างพิธี มีการรับสมาชิกใหม่จ�ำนวน 12 คน

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.2018 หมูค่ ณะซาเลเซียนแบตเตอร์ซไี ด้ฉลองครบ รอบการเสกวัดพระหฤทัยครบ 125 ปี โดย มีคุณพ่อฟรังซิส เชเรดา รองอัคราธิการ

เป็นผู้แทนของคุณพ่ออัคราธิการเข้าร่วม ในการฉลอง วัดดังกล่าวเป็นวัดแรกของ คณะซาเลเซียนในประเทศอังกฤษ ปัจจุบนั มีสัตบุรุษของวัดที่มาจาก 44 ประเทศ

อบรมครูค�ำสอนซาเลเซียน ที่แม็กซิโก เมื่อวันที่ 12-14 ตุลาคม ค.ศ. 2018 แผนกอภิ บ าลเยาวชนของแขวง Guadalajara ประเทศแม็กซิโก ร่วมกับ EDEBÉ และ กลุ่มครูค�ำสอนซาเลเซียนที่ เป็นคุณแม่ (ENCASA) จัดอบรมครูคำ� สอน ของสถาบันซาเลเซียนในหัวข้อ "การสอน ค�ำสอนและการอบรมความเชือ่ " ทีโ่ รงเรียน มั ธ ยมซาเลเซี ย นและที่ บ ้ า นซาเลเซี ย น

เพื่อการอภิบาล Tlaquepaque กิจกรรม ดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ก�ำลังใจครูค�ำ สอน อีกทั้งให้การอบรมเรื่องจิตตารมณ์ ซาเลเซียน เครื่องมือในการสอน และเป็น โอกาสแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ชุมนุมเยาวชนเพื่อกระแสเรียก เมื่ อ วั น ที่ 17 ตุ ล าคม ค.ศ. 2018 เยาวชนมากกว่า 850 คน จาก 18 สถาบั น ซาเลเซี ย นของประเทศโบลิ เวี ย ร่วมชุมนุมกันในหัวข้อ "การเรียกสู่ความ หวัง" การชุมนุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ การแนะน�ำกระแสเรียกและการวางแผน ชีวติ จัดทีโ่ รงเรียนดอนบอสโก โคคาบัมบา

The 5th Festival of Salesian Symphonic Bands เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม ค.ศ.2018 แขวงซาเลเซียนโบโกตา

ประเทศ โคลอมเบียจัดงาน Festival of Salesian Symphonic Bands ครั้งที่ 5 ที่ศูนย์ดอน บอสโก โบโกตา น�ำโดยคุณพ่อมารีโอ เพเรสซอน โตเนลลี โดยมีวงซิมโฟนีของสถาบัน ซาเลเซี ย นจ� ำ นวน 14 วงเข้ า ร่ ว มและในวั น สุ ด ท้ า ยได้ มี ก ารแสดงคอนเสิ ร ์ ต ร่วมกันของเยาวชนจ�ำนวน 610 คน

36

dbBulletin 2018


REGIONAL NEWs

dbBulletin

By... SDB Reporter

EAO News กิจกรรมเดือนแม่พระสาย ประค�ำ รณรงค์ขอบริจาคไขกระดูก สาขาวิชามะเร็งวิทยาของ มหาวิทยาลัย Unisalesian แห่ง Araçatuba ประเทศบราซิล ร่วมมือ กับคณะแพทยศาสตร์ชวี เวชศาสตร์ และสั ต วแพทยศาสตร์ ไ ด้ ร ่ ว ม กั น รณรงค์ ส ร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ให้ กั บ นักศึกษาเพื่อขอบริจาคไขกระดูก เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.2018 โดย มี เจ้ า หน้ า ที่ ผู ้ เชี่ ย วชาญด้ า นเคมี บ�ำบัดมาร่วมในการรณรงค์ครั้ง นี้ด้วย มีผู้บริจาคจ�ำนวน 42 ราย

แผนกอภิ บ าลเยาวชนซาเลเซี ย นแขวงฟิ ลิ ป ปิ น ส์ เ หนื อ จั ด 2 กิ จ กรรม เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความศรั ท ธาต่ อ แม่ พ ระให้ กั บ เยาวชนในโอกาสเดื อ นแม่ พ ระแห่ ง สาย ประค� ำ ที่ โรงเรี ย นอาชี ว ะดอนบอสโกมากาติ คื อ การชุ ม นุ ม เยาวชนของโรงเรี ย น ในเครื อ ซาเลเซี ย นครั้ ง ที่ 24 ซึ่ ง มี เ ยาวชนในระดั บ มั ธ ยมมาร่ ว มจ� ำ นวน 276 คน และ การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับแม่พระ ในระหว่างวันที่ 8-13 ตุลาคม ค.ศ.2018

วันเด็กที่วัดซาเลโลโลกา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.2018 ซาเลเซียนผู้ร่วมงานของประเทศซามัวได้ จัดฉลองวันเด็กที่วัดซาเลโลโลกา โดยภายในงานมีการจัดมอบของขวัญให้กับเด็กๆ มี การแสดงดนตรี การเต้ น ร� ำ และการแข่ ง ขั น กี ฬ า มี ผู ้ เข้ า ร่ ว มงานประมาณ 100 คน

คุณพ่ออัคราธิการเยี่ยม แขวงฮังการี เมือ่ ต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2018 คุ ณ พ่ อ อั ค ราธิ ก าร คณะซาเลเซียนเยี่ยมแขวงนักบุญ สเตเฟน เร ประเทศฮังการี แม้จะ เป็นการเยี่ยมระยะสั้นๆ แต่เต็ม ไปด้วยบรรยากาศครอบครัว การ เยีย่ มครัง้ นีน้ ำ� มาซึง่ ความยินดีและ การแบ่งปัน ในระหว่างเยาวชน และสมาชิกในครอบครัวซาเลเซียน

ศูนย์การศึกษาดอนบอสโก เปิดห้องประชุมและห้อง สมุดใหม่ หลั ง จากใช้ เวลา 2 ปี ใ นการดั ด แปลงโรงยิ ม ให้ เ ป็ น ห้ อ งประชุ ม และห้ อ ง สมุ ด ของศู น ย์ ก ารศึ ก ษาดอนบอสโก นครโฮจิ มิ น ห์ ประเทศเวี ย ดนาม บั ด นี้ ท าง ศู น ย์ ไ ด้ ด� ำ เนิ น การเสร็ จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ห้ อ งสมุ ด ที่ ป รั บ ปรุ ง ใหม่ ส ามารถรองรั บ นั ก เรี ย นได้ 150 คน มี ชั้ น ส� ำ หรั บ วางหนั ง สื อ ได้ ป ระมาณ 90,000 เล่ ม และมี ห้ อ งส� ำ หรั บ จั ด สั ม มนาซึ่ ง รองรั บ ผู ้ สั ม มนาได้ 230 คน สถานที่ ดั ง กล่ า วจะใช้ เ พื่ อ ก า ร อ บ ร ม เ ท ว วิ ท ย า ส� ำ ห รั บ ฆ ร า ว า ส แ ล ะ ส� ำ ห รั บ อ บ ร ม ผู ้ น� ำ เ ย า ว ช น ด ้ ว ย

37

dbBulletin 2018


REGIONAL NEWs

By... SDB Reporter

เข้าเงียบครอบครัว ซาเลเซียน 2018 “วันแพร่ธรรม” เมื่ อ วั น ที่ 20 ตุ ล าคม ค.ศ.2018 ได้มีการจัดกิจกรรมวัน แพร่ธรรมประจ�ำปีที่วัดซาเลเซียน โชฟู ทีก่ รุงโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ ใน งานได้มีการแบ่งปันประสบการณ์ ของสมาชิ ก กลุ ่ ม DBVG (Don Bosco Overseas Youth Volunteer Group) ซึง่ ได้ไปสัมผัสชีวติ ที่ เตเตเร เกาะซาโลมอนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ กลุ่ม DBVG ก่อตั้งในปี ค.ศ.1991 โดยพระสังฆราชฟรังซิส มิโซเบ, ซดบ (ในเวลานัน้ ด�ำรงต�ำแหน่งเป็น เจ้าคณะ) เพือ่ ช่วยเยาวชนทีต่ อ้ งการ ท�ำความดีเพือ่ ผูอ้ นื่ จะได้มโี อกาสได้ สัมผัสชีวิตและมีประสบการณ์จริง

โอกาสระลึกถึงบุญราศีอเล็กซานดรีนา ดา กอสตา เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ.2018 สมาชิ ก ครบอครั ว ซาเลเซี ย นของแขวงฟิ ลิ ป ปิ น ส์ เ หนื อ ประกอบไป ด้ ว ยสมาชิ ก ซาเลเซี ย น, ซิ ส เตอร์ ธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ , ซาเลเซี ย นผู ้ ร ่ ว มงาน, ADMA, VDB, CDB, Damas Salesianas และศิษย์เก่าได้มาเข้าเงียบร่วมกันเป็น เวลาครึ่ ง วั น ที่ โรงเรี ย นอาชี ว ะดอนบอสโกมากาติ กรุ ง มะนิ ล า ประเทศฟิ ลิ ป ปิ น ส์

อภิบาลในชุมชนกองขยะ คุณพ่ออัลเฟรด เจ้าคณะแขวงปาปัวนิวกินี และคุณพ่อศรีมาล พรียานกา อธิ ก ารโรงเรี ย นอาชี ว ะดอนบอสโก เฮนเดอร์ สั น ได้ ไ ปเยี่ ย มและประชุ ม กั บ ผู ้ น� ำ ชุมชน Honiara ของหมู่เกาะซาโลมอน ซึ่งเป็นชุมชนกองขยะ เพื่อวางแผนและจัด ท�ำโครงการช่วยเหลือชาวบ้านด้านสาธารณสุข รวมทั้งการให้การศึกษากับเด็กๆ และเยาวชนและการจัดตั้งศูนย์เยาวชนในชุมชน เมื่อกลางเดือนตุลาคม ค.ศ.2018

ฟื้นฟูจิตใจ นั ก เรี ย นชั้ น ปี สุ ด ท้ า ยของ โรงเรี ย นอาชี ว ะดอนบอสโกโบโรโค เมื อ งพอร์ ต มอร์ ส บี ประเทศปาปั ว นิ ว กิ นี จ� ำ นวน 84 คน ได้ ไ ปเข้ า เงี ย บฟื ้ น ฟู จิ ต ใจที่ ศู น ย์ เ ข้ า เงี ย บ เอมมาอู ส เมื่ อ ต้ น เดื อ นตุ ล าคม ค.ศ.2018 ในหั ว ข้ อ “การเรี ย กสู ่ ความเต็มเปี่ยมแห่งชีวิตและความรัก”

38

dbBulletin 2018

คุณพ่ออัคราธิการเยี่ยมแขวงญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

คุณพ่ออังเกล เฟอร์นนั เดส อาร์ตเิ ม่ อัคราธิการของคณะซาเลเซียนเดินทางไปเยือน ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเยี่ยมสมาชิกและครอบครัวซาเลเซียน ระหว่างวันที่ 7-12 พฤศจิกายน ค.ศ.2018 จากนัน้ จะเดินทางต่อไปทีป่ ระเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 13-17 พฤศจิกายน ค.ศ.2018


กล้ากระแสเรียก

dbBulletin

เรียบเรียง... อัลปิโน

อาจารย์ประจ�ำบ้านอบรมมักพูดเสมอว่า “เมื่อเรียนปรัชญาเราต้องใช้หัวคิด แต่เมื่อเรียนเทววิทยาเราต้องใช้หัวเข่าแทน” หัวเข่าในที่นี้ก็คือการคุกเข่าลงแล้วสวดภาวนา การใช้สมองและการภาวนาเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของการเติบโตของกล้ากระแสเรียก นอกจากการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจแล้ว ยังมีมิติของงานอภิบาลและการลงมือปฏิบัติด้วย ที่ส�ำคัญไม่แพ้กัน สามเณรที่เรียนเทววิทยาอยู่ต่างแดนจะมีประสบการณ์ในการอภิบาลอย่างไรบ้าง ให้เราไปฟังจากปากของเขาด้วยกัน

ก้าวที่ 2 “สองล้อ อภิบาลด้วยรัก” “สองล้อ” เป็นอีกหนึ่งเพื่อนคู่ใจของผมในการ ท�ำงานอภิบาลท่ามกลางเยาวชนทุกๆ บ่ายวันเสาร์ในเมือง เมล์เบิร์น ออสเตรเลีย ตลอดเส้นทางเกือบ 6 กิโลเมตร หรือ 30 กว่านาที จากบ้านอบรมที่พัก ผ่านธรรมชาติใน ชนบท เลียบล�ำธารเล็กๆ และรถรางสาธารณะ สองล้อนี้ พาผมมุ่งหน้าไปยังศูนย์เยาวชนที่มีชื่อว่า “Don Bosco Youth Centre” ซึ่งตั้งอยู่ ณ ใจกลางชุมชน Brunswick ที่ ล้อมรอบด้วยบรรดาร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านขายของช�ำ รวมถึงสถานีรถไฟหลัก และที่จอดรถราง สาธารณะ ที่แห่งนี้เองที่บรรดาเด็กๆ หลากหลายเชื้อชาติ ต่างศาสนา และมากด้วยวัฒนธรรมอาศัยอยู่ ที่แห่งนี้ที่ เป็นที่รวมพลของบรรดาเยาวชนทุกเพศ ทุกวัย ภายใต้การ บริหารงานโดยนักบวชคาทอลิกคณะซาเลเซียน

39

dbBulletin 2018


กล้ากระแสเรียก

1

3

เวลาบ่ายสองโมงโดยประมาณ เป็นเวลาที่บรรดาเด็กๆ ต่างทยอยกันมารอที่ประตูทาง เข้าของศูนย์เยาวชนเพื่อจองคิวเครื่องเล่นต่างๆ ในศูนย์เยาวชน สองโมงครึ่งเป็นเวลาที่ประตูทาง เข้าหลักเปิดออก ต้อนรับการมาเยือนของบรรดาเด็กๆ มากหน้าหลายตาในรอบๆ ชุมชน Brunswick และเยาวชนต่างเมือง แน่นอนว่าภารกิจการอภิบาลเริ่มต้นจากวินาทีนี้ที่เด็กๆ เข้ามาใน ศูนย์เยาวชน โต๊ะสนุก โต๊ะปิงปอง โต๊ะโกล์ สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอล และสนามแทรม โพลีน เต็มไปด้วยบรรดาเด็กๆ เยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆ รวมถึงบรรดาสมาชิกนักบวช ซาเลเซียนทั้งคุณพ่อ บราเดอร์ และกลุ่มเยาวชนอาสาสมัคร ที่ช่วยดูแลบรรดาเด็กๆ อย่างใกล้ ชิด และร่วมเล่นกับพวกเขา ส�ำหรับผมแล้ว วินาทีที่ก้าวเข้าสู่ศูนย์เยาวชนพร้อมกับสองล้อคู่ใจ ของผม เป็นเวลาที่เริ่มต้นของความรักในงาน 2 อภิบาลท่ามกลางเยาวชน ผมเห็นรอยยิ้มของ บรรดาเด็กๆ ในการกระโดดแทรมโพลีน ความ ร่าเริงไร้เดียงสาของเด็กๆ ในทุกกิจกรรมของ ศู น ย์ เ ยาวชน ส� ำ หรั บ ผมแล้ ว ความแตกต่ า ง ทางด้านวัฒธรรม เชื้อชาติ และภาษา เหล่านี้ ไม่ใช่อุปสรรคที่รบกวนงานอภิบาลของผม สิ่ง ที่ ผ มท� ำ ได้ ดี ที่ สุ ด ก็ คื อ การร่ ว มพู ด คุ ย ทั ก ทาย หยอกล้อ และการเล่นกับบรรดาเยาวชน สิ่งที่ ส�ำคัญเหนืออื่นใดอีกอย่างก็คือ การมอบความ 4 รักที่จริงใจของผมผ่านทางรอยยิ้มที่มอบให้กับ พวกเขา

5

40

dbBulletin 2018

6

ส�ำหรับส่วนตัวของผมแล้ว การท�ำงาน อภิ บ าลเยาวชนในประเทศออสเตรเลี ย เป็ น งานที่ท้าทายมากอีกงานหนึ่ง เพราะเป็นการ ยากที่จะพูดถึงเรื่องของ “ศาสนา” ซึ่งเป็นอีก หนึ่งมิติที่ส�ำคัญในการท�ำงานอภิบาลเยาวชน โดยเฉพาะงานอภิ บ าลเยาวชนในบริ บ ทของ ซาเลเซี ย น เนื่ อ งด้ ว ยสภาพแวดล้ อ มทาง วั ฒ นธรรมและสั ง คมที่ ไ ม่ ค ่ อ ยได้ เ ปิ ด รั บ แนว ความคิดของเรื่องศาสนา ศาสนาถูกมองและถูก สอนว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ งมงาย จึงเป็นการ ยากอยู่ไม่น้อยในการอภิบาลเยาวชนเหล่านี้ใน มิติของข่าวดีแห่งพระวรสารตามคุณค่าของคริสต ชนคาทอลิก อย่างไรก็ตามแต่ การแสดงออก ถึง “เหตุผล” และ “ความรักใจดี” ผ่านทาง รอยยิ้มที่ผมได้ร่วมเล่นกับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น


dbBulletin

8

1. ชุมชน Brunswick 2,3,4 “Don Bosco Youth Centre” 5,6 การแจกอาหารโดยอาสาสมัคร 7,8 บรรยากาศในศูนย์เยาวชน

7

ช่วงทีพ่ วกเขาต่อแถวเรียงคิวมาเพือ่ รับอาหารจาก ผมและบรรดาสัตบุรษุ ผูน้ ำ�้ ใจดี แต่สงิ่ ทีผ่ มเห็นได้ ชัดถึงความสุขของพวกเขาก็คือ ความร่าเริงยินดี รอยยิม้ จากใบหน้า และค�ำว่า “Thank you” เบาๆ จากริมฝีปากของพวกเขา นี่เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า พวกเขามีความสุข และผมเองก็มีความสุขที่ได้ ท�ำหน้าที่และร่วมแบ่งปันความสุขในกิจกรรมนี้

ที่โต๊ะสนุก โต๊ะปิงปอง สนามกีฬา หรือว่าจะเป็นสนามแทรมโพลีน การได้ มอบรอยยิ้มจากความรักที่จริงใจ จากการพูดคุยทักทาย การแลกเปลี่ยน ความคิด ความช่วยเหลือ สิง่ นีเ้ องทีผ่ มได้นำ� ความรักของพระมอบให้กบั พวก เขา เป็นความรักในแบบของเพื่อนหรือพี่ชายคนหนึ่งที่รักและหวังดี ที่อยาก จะเห็นบรรดาเด็กและเยาวชนเหล่านี้เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมที่ พวกเขาอาศัยอยู่

จากสองประสบการณ์ ง านอภิ บ าล ของผมนั้ น เป็ น อะไรที่ ท ้ า ทาย และชวนให้ ผมคิ ด อยู ่ ม ากที เ ดี ย ว แต่ ผ มกั บ สองล้ อ คู ่ ใจก็ ยินดีและพร้อมเสมอเพื่อภารกิจ เพื่อน�ำความ รั ก ของพระไปให้ กั บ บรรดาเด็ ก ๆ เยาวชน ผู้ยากจน และผู้ที่อยู่ชายขอบของสังคม db

นอกจากประสบการณ์ ง านอภิ บ าลที่ ศู น ย์ เ ยาวชนแล้ ว ผมกั บ สองล้ อ คู ่ ใจของผมยั ง ได้ ร ่ ว มกั น ท� ำ อี ก หนึ่ ง ภารกิ จ ในงานอภิ บ าล ที่ ไ ม่ ได้ ด ้ อ ยค่ า ไปกว่ า งานอภิ บ าลเยาวชน งานอภิ บ าลที่ ว ่ า นี้ ก็ คื อ “Food Bank” หรื อ “งานแจกอาหารแก่ ค นยากจนและผู ้ มี ค วามต้ อ งการ”

AVIDAN

สองล้อคู่หูของผมร่วมเดินทางกับผมอีกราว 2 กิโลเมตรจากที่พัก เป็นระยะเวลาโดยประมาณเกือบ 10 นาที ไปยังแหล่ง All Saints Parish ในเขตชุมชน Fitzroy ที่เต็มไปด้วยผู้คนอพยพ หรือผู้ลี้ภัยจากสงคราม ใน ทุกๆ วันศุกร์เวลา 11.00 น. เป็นเวลาที่เหล่าคนยากจนและผู้ที่ขัดสนต่างรอ คอยความมีน�้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของบรรดาสัตบุรุษในเขต Our Lady of the Southern Cross ที่แจกขนมปัง อาหารส�ำเร็จรูป และปัจจัยที่ส�ำคัญในการ ด�ำรงชีวิต ผมได้มีโอกาสช่วยสัตบุรุษเหล่านี้ในการแจกขนมปัง หัวหอม มัน ฝรั่ง แครอท ไม่ก็เป็นอาหารส�ำเร็จรูป บะหมี่ พาสต้า หรืออาหารกระป๋อง ผมได้มโี อกาสพูดคุยแลกเปลีย่ นความคิดกับบรรดาคนยากจน ส่วนมากเป็น ผู้อพยพจากภัยสงครามจากอดีตในประเทศของพวกเขา ได้มีโอกาสแบ่งปัน ความสุขให้กบั พวกเขาจากกิจกรรมนีใ้ นทุกๆ วันศุกร์ซงึ่ ผมไม่มเี รียน แน่นอน ว่าผมไม่ได้มโี อกาสท�ำอะไรมากให้กบั พวกเขาเหล่านี้ ได้แต่ทกั ทาย พูดคุย ใน 41

dbBulletin 2018


เส้นทางจอมYOUTH

By... กำ�ลังภายใน

SYNOD 2018

การประชุมสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 15

“เยาวชน ความเชื่อ และการวินิจฉัยกระแสเรียก” เอกสารสรุปการประชุมสมัชชาพระสังฆราชพูด ถึงเยาวชนว่าอย่างไร?

การประชุมสมัชชาพระสังฆราชครัง้ ที่ 15 หัวข้อ “เยาวชน ความเชื่อและการวินิจฉัย กระแสเรียก” เมือ่ วันที่ 3 - 28 ตุลาคม ค.ศ.2018 ที่นครรัฐวาติกัน ได้จบลงอย่างงดงาม นับ เป็ น การประชุ ม สมั ช ชาพระสั ง ฆราชครั้ ง แรกในประวั ติ ศ าสตร์ ซึ่ ง มี หั ว ข้ อ ที่ มุ ่ ง ความ สนใจไปที่ เ ยาวชน ในการประชุ ม ครั้ ง นี้ มี ซาเลเซียนเข้าร่วมการประชุมจ�ำนวน 18 คน ในจ�ำนวนนี้มีคุณพ่อโรสซาโน ซาลา ท�ำหน้าที่ เป็นเลขาธิการพิเศษในการประชุม นิ ต ยสารดอนบอสโกจึ ง ขอน� ำ บท สั ม ภาษณ์ ข องคุ ณ พ่ อ ซึ่ ง กล่ า วถึ ง เอกสาร สรุ ป การประชุ ม สมั ช ชาพระสั ง ฆราชครั้ ง นี้ มาให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามกัน

42

dbBulletin 2018

ก่ อ นอื่ น พ่ อ คิ ด ว่ า เอกสารสรุ ป การประชุ ม สมั ช ชา พระสั งฆราชฉบั บนี้ ไ ม่ เ พี ย งแค่ เราจะต้ อ งอ่ า นเท่ า นั้ น แต่ ควรน�ำมา ศึกษาอย่างจริงจังด้วยเพราะเอกสารนี้ได้รับการเขียนอย่างมีแบบแผน ตรงจุด พิถีพิถันและเข้ากับยุคสมัย โดยภาพรวมแล้วเอกสารพูดถึง เยาวชนว่าเป็นบุคคลที่เปี่ยมด้วยความหวัง พวกเขามีความสามารถ ในการเลือกและมีความฝันที่ยิ่งใหญ่ ทั้งนี้โดยอาศัยความช่วยเหลือ ของพระเจ้ า และการปลุ ก เร้ า ใจจากพระสงฆ์ ผ ่ า นทางการอภิ บ าล แนวคิดดังกล่าวนี้เป็น "แนวคิดแบบซาเลเซียน" ที่มีพื้นฐาน ความคิ ด อยู ่ ใ นการเห็ น สิ่ ง ที่ ดี ง ามในตั ว มนุ ษ ย์ (ตามแบบนั ก บุ ญ ฟรังซิส เดอ ซาลส์) เอกสารนี้ไม่ได้ซ่อนมุมที่เป็นจุดอ่อนของเยาวชน แต่มองเห็นการประทับอยู่และการท�ำงานของพระเจ้าในตัวของพวกเขา

ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมสมัชชา พระสังฆราชนี้? บทแรกในภาคที่ ส ามของเอกสารนี้ เ น้ น “การร่ ว มเดิ น ไป

ด้วยกันกับเยาวชน” ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่จะท�ำก็ได้หรือไม่ท�ำก็ได้ในรูปแบบ ที่เป็นตัวเลือก แต่เป็นสิ่งที่น้อยที่สุดที่เราควรจะท�ำ มติของที่ประชุม สมั ช ชาได้ เ ห็ น ชอบและเลื อ กที่ จ ะเดิ น เคี ย งคู ่ กั บ เยาวชน รวมทั้ ง กั บ ทุ ก คนที่ ไ ด้ รั บ ศี ล ล้ า งบาป พวกเขาทุ ก คนเป็ น พระเอก ไม่ มี ใ ครใน พระศาสนจักรจะเป็นเพียงผูร้ บั เท่านัน้ เราทุกคนมีบางอย่างทีจ่ ะให้และรับ การประชุมครั้งนี้ เยาวชนเป็นกุญแจหลักในการเปิดประตู สู่การท�ำสมัชชาในพระศาสนจักร ซึ่งนี่เป็นผลของพระจิตเจ้าซึ่งโปรด ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เสมอ


dbBulletin เอกสารสรุปการประชุมสมัชชาในเรื่องการสื่อสาร และเครือข่ายทางสังคม? การเลือกภาพสัญลักษณ์เอมมาอูส เป็นตัวเดินเรื่องในเอกสารสรุปการ ประชุมมีความส�ำคัญอย่างไร?

ภาพสัญลักษณ์ของเอมมาอูส ได้รับการเสนอ จากที่ประชุมส่วนใหญ่ซึ่งกลายเป็นจุดอ้างอิงที่มีความ หมายของพระศาสนจั ก รส� ำ หรั บ เยาวชนในปั จ จุ บั น ทั้ ง สามภาคของเอกสารสรุ ป การประชุ ม สมั ช ชา พระสังฆราชอ้างอิงถึงประสบการณ์การเดินทางไปหมูบ่ า้ น เอมมาอูสซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง นั่นคือ พระเยซูเจ้า ทรงร่วมเดินไปกับศิษย์ 2 คน ซึ่งในระหว่างการเดินทาง พระองค์ทรงฟังพวกเขาอย่างสุภาพและปล่อยให้พวกเขา แสดงออกถึงสิ่งที่มีอยู่ในใจที่สับสนของพวกเขา (ภาค 1) เมื่อเดินทางถึงหมู่บ้าน พวกเขาได้เชิญพระองค์ไปพักใน บ้าน แล้วพวกเขาก็จำ� พระองค์ได้เมือ่ พระองค์ทรงบิขนมปัง (ภาค 2) หลังจากนัน้ พวกเขาก็ได้เป็นพยานถึงการได้พบกับ คริ ส ตเจ้ า ผู ้ ท รงกลั บ คื น ชี พ (ภาค 3) ประสบการณ์ ดั ง กล่ า วนี้ เป็ น ประวัติศาสตร์ข องพระศาสนจักร เป็น ประสบการณ์ของทุกหมู่คณะและของทุกคนรวมทั้งของ เยาวชนด้วยและนี่คือการเดินทางที่เราต้องท�ำร่วมกับ เยาวชนและกับพระเจ้า ดังนัน้ ภาพสัญลักษณ์ของเอมมาอูส จึงเป็นอีกภาพหนึ่งของการประชุมสมัชชาพระสังฆราช

ในเอกสารสรุปการประชุมสมัชชานี้มีข้อเสนอใหม่ๆ มากมาย แต่สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับพ่อคือ ข้อ 161 ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะว่าทุกหมู่ คณะของพระศาสนจักรควรจะต้อนรับเยาวชนสักช่วงเวลาหนึง่ และร่วมเดิน ไปกับเขาเพื่อช่วยพวกเขาในการวินิจฉัยกระแสเรียกและให้หลักประกัน ถึงความยินดี ชีวิตฉันพี่น้อง การท�ำพันธกิจและการมีชีวิตจิตที่เข้มแข็ง หั ว ข้ อ เรื่ อ งสื่ อ สารมวลชนในโลกดิ จิ ทั ล เป็ น อี ก หั ว ข้ อ ที่ มี ความท้าทายอย่างมาก ในเอกสารข้อ 145-146 เรียกร้องให้มีการ ประกาศข่าวดีใหม่ในพื้นที่นี้ ข้อเสนอนี้กล่าวถึงปัญหาของการขาด จริยธรรมในสื่ออย่างมาก เราถูกเรียกให้ไตร่ตรองว่า "ท�ำไม" และ “จะท�ำอย่างไร” เพื่อให้พระศาสนจักรอยู่ในสื่อดิจิทัลได้ดีมากกว่านี้

สมาชิกครอบครัวซาเลเซียนได้ร่วมประชุมสมัชชา พระสังฆราช พวกเขามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด?

สมาชิกครอบครัวซาเลเซียนได้ร่วมประชุมสมัชชาพระสังฆราช ครั้งนี้ด้วยใจร้อนรน จิตตารมณ์ซาเลเซียนถูกใส่อยู่ในวาระการประชุม ในหลายรู ป แบบ มี ส มาชิ ก ซาเลเซี ย น 3 ท่ า นที่ ไ ด้ ร ่ ว มในการร่ า ง เอกสารสรุ ป การประชุ ม สมั ช ชาโดยตรง ส� ำ หรั บ พ่ อ แล้ ว พ่ อ เห็ น ว่ า ผู ้ ร ่ ว มสมั ช ชาทุ ก ท่ า นมี ส ่ ว นร่ ว มในการประชุ ม อย่ า งดี การประชุ ม สมั ช ชาครั้ ง นี้ ท� ำ เพื่ อ ประโยชน์ ข องเยาวชนโดยแท้ จ ริ ง เวลานี้ ค ณะ ซาเลเซียนก�ำลังเตรียมจัดสมัชชาของคณะในปี ค.ศ.2020 เราสามารถ น�ำผลสรุปของการประชุมสมัชชาพระสังฆราชนี้มาเป็นแนวทางของการ ประชุมสมัชชาของเราซึ่งท�ำให้มีข้อมูลบางส่วนโดยที่ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่

คุณพ่อบอสโกจะพูดอะไรถึงการประชุมสมัชชานี้?

ระหว่างพิธีปิดการประชุมสมัชชาพระสังฆราชในมหาวิหาร นั ก บุ ญ เปโตร เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ 28 ตุ ล าคม พ่ อ มองไปที่ รู ป ปั ้ น ของคุ ณ พ่ อ บอสโกที่ อ ยู ่ ใ นวิ ห ารหลายครั้ ง พ่ อ คิ ด ถึ ง ความรั ก ของ คุ ณ พ่ อ บอสโกที่ มี ต ่ อ เยาวชนทุ ก คน คิ ด ถึ ง ความกล้ า หาญในการ ประกาศข่าวดีของท่านที่ไร้พรมแดน รวมทั้งการท�ำกิจการมากมาย ของท่าน พ่อคิดว่าคุณพ่อบอสโกคงมีความสุขกับการประชุมสมัชชา ครั้ ง นี้ เ พราะว่ า พระศาสนจั ก รสามารถเข้ า ถึ ง จิ ต ใจของเยาวชนและ ในเวลาเดี ย วกั น ลู ก ๆของท่ า นบางคนได้ เ ป็ น ตั ว แทนในนามของ สมาชิ ก ซาเลเซี ย นเพื่ อ เข้ า ร่ ว มในการประชุ ม สมั ช ชาพระสั ง ฆราช ครั้งนี้ db

43

dbBulletin 2018


ครอบครัวซาเลเซียน

By... MR.OK

ความสุข

ของสมาชิก VDB

สถาบันสตรีฆราวาสผู้อุทิศตน ของคุณพ่อบอสโก หรือ Volunteers of Don Bosco (VDB) ก่ อ ตั้ ง โดย คุณพ่อฟิลิป รีนัลดี (ปัจจุบัน คือบุญราศี ฟิลิป รีนัลดี) ท่านเป็นผู้ที่ได้สืบทอด เจตนารมณ์นี้มาจากความประสงค์ของ คุณพ่อบอสโก ซึง่ ครัง้ หนึง่ ท่านปรารถนา ที่ จ ะให้ มี ก ระแสเรี ย กนี้ เ กิ ด ขึ้ น ในโลก แต่ ใ นช่ ว งเวลานั้ น พระศาสนจั ก รยั ง ไม่ มี ก ารรั บ รองการด� ำ เนิ น ชี วิ ต การ เป็ น ฆราวาสผู ้ รั บ เจิ ม ในรู ป แบบนี้ สตรี ฆ ราวาสผู ้ อุ ทิ ศ ตนของ คุณพ่อบอสโกคือบุคคลที่เลือกด�ำเนิน ชีวิตด้วยการอุทิศตนเป็นประจักษ์พยาน ถึงความรักของพระคริสตเจ้า ท�ำงาน เพื่ อ ส่ ว นรวม และด�ำเนินชีวิตยากจน ถื อ พรหมจรรย์ และนบนอบ โดย ไม่ ไ ด้ แ ยกตั ว จากงานประจ� ำ ที่ ท� ำ อยู ่ และครอบครั ว พวกเขามี บ ทบาทใน แวดวงต่างๆ ของสังคม ซึ่งการเข้าไป มี บ ทบาทในสั ง คม ท� ำ ให้ ส ามารถที่ จะเข้ า ใจความต้ อ งการของสั ง คมได้ อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม และจากจุ ด นี้ เ อง ท�ำให้พวกเขาสามารถตอบสนองความ ต้องการของสังคมด้วยจิตตารมณ์ของ คุ ณ พ่ อ บอสโกอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มากขึน้ บรรดาสตรีเหล่านีไ้ ม่ได้อยูเ่ พียง ล�ำพัง แต่พวกเขามีหมู่คณะและพี่น้อง ที่ ร ่ ว มด� ำ เนิ น ชี วิ ต ด้ ว ยวิ ถี ท างเดี ย วกั น 44

dbBulletin 2018

การเดินใน กระแสเรียกนี้ ก็คงไม่แตกต่างจาก กระแสเรียก ของการเป็นฆราวาส ในแง่ของการ ใช้ชิวิตประจ�ำวัน แต่สิ่งที่ประเสริฐสุดคือ การได้รับการเจิม จากพระเจ้า ให้ชีวิตทั้งหมดของฉัน เป็นของพระองค์

ลั ก ษณะที่ พิ เ ศษประการหนึ่ ง ของสมาชิ ก ก็ คื อ พวกเขาด� ำ เนิ น ชี วิ ต โดยไม่ เ ปิ ด เผยตนเองว่ า เป็ น ฆราวาส ผู ้ รั บ เจิ ม จากพระเจ้ า ด้ ว ยเหตุ ผ ลเพื่ อ การท�ำงานที่จะมีประสิทธิภาพมากกว่า ในสภาพแวดล้ อ มของตน เพราะใน ความเป็ น จริ ง แล้ ว โลกไม่ ต ้ อ งการจะ ทราบว่า พวกเขาเป็นผู้รับเจิมที่สังกัด สถาบันใด แต่ต้องการที่จะเห็นชีวิตที่ เป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานแห่ ง การอุ ทิ ศ ตน อย่างจริงจังที่เป็นแบบอย่างที่ดีมากกว่า สถาบั น สตรี ฆ ราวาสผู ้ อุ ทิ ศ ตนของคุณพ่อบอสโก (VDB) เริ่มต้น ในประเทศไทยเมื่ อ ปี ค.ศ.1973 ปั จ จุ บั น มี ส มาชิ ก ในประเทศไทย จ�ำนวน 12 คน


dbBulletin พระเจ้าทรงเรียกฉันและฉันตอบรับ พระองค์

“ความสุขของฉัน มาจากการได้รับความรัก และความเมตตา จากพระเจ้าผู้ทรงน่ารัก พระองค์ทรงประทาน ของขวัญที่ประเสริฐสุด คือให้ดิฉันได้ค้นพบ กระแสเรียกในการ ถวายชีวิตแด่พระองค์”

สมาชิ ก ของสถาบั น ท่ า นหนึ่ ง ซึ่ ง เรา ไม่ อ าจเปิ ด เผยชื่ อ หรื อ ตั ว ตนที่ แ ท้ จ ริ ง ของเธอ ได้ เนื่ อ งมาจากการต้ อ งสงวนตนเองด้ ว ย เหตุ ผ ลดั ง ที่ ไ ด้ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น เธอได้ เ ล่ า ให้ เราฟั ง ถึ ง ที่ ม าของกระแสเรี ย กของเธอว่ า “กระแสเรี ย กของดิ ฉั น ได้ เริ่ ม ต้ น ขึ้ น เมื่ออายุประมาณ 28 ปี โดยผ่านการแนะน�ำของ ซิสเตอร์ทา่ นหนึง่ ของคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ (FMA) ท่านได้มอบแผ่นพับที่แนะน�ำกระแสเรียก ของสถาบั น สตรี ฆ ราวาสผู ้ อุ ทิ ศ ตนของคุ ณ พ่ อ บอสโกให้กับดิฉัน เมื่อดิฉันอ่านจบแล้วก็รู้สึกว่า นี่คือสิ่งที่ฉันก�ำลังแสวงหาอยู่ มันคือกระแสเรียก ที่ ฉั น ได้ แ สวงหามานานตั้ ง แต่ เ รี ย นอยู ่ ชั้ น ม.3 แต่ เวลานั้ น ฉั น ยั ง ไม่ เ คยรู ้ จั ก และไม่ เ คย ได้ยิน ฉันได้แต่จินตนาการว่าน่าจะมีกระแสเรียก ที่ ไ ม่ เ น้ น เครื่ อ งแบบ มี อิ ส ระในการใช้ ชี วิ ต ไม่จ�ำเจ และสามารถท�ำความดีได้ตามสถานะ ของการใช้ชีวิตในสภาพจริงของฉันเอง เมื่อพบ แล้วว่านี่คือความปรารถนาของฉัน ฉันบอกกับ ตัวเองว่า ใช่แล้ว นี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ ซิสเตอร์ ท่านนั้นได้แนะน�ำให้ดิฉันติดต่อกับคุณพ่อยอห์น แปร์ติเล่ ซึ่งในเวลานั้นท่านเป็นจิตตาธิการของ กลุ่ม VDB ในประเทศไทย ท่านได้สอบถามถึง แรงจูงใจและอธิบายถึงรูปแบบชีวิตให้ฉันเข้าใจ ดิ ฉั น รู ้ สึ ก ชอบและรู ้ สึ ก ว่ า มั น ตรงกั บ สิ่ ง ที่ ดิ ฉั น แสวงหามานาน เมื่อฉันได้พบปะกับคุณพ่อระยะ หนึง่ แล้ว ดิฉนั ก็เริม่ รับการอบรมอย่างต่อเนือ่ งและ เข้มข้นทุกเดือน คุณพ่อได้ร่วมเดินทางในกระแส เรียกของฉันและช่วยฉันให้เข้าใจถึงพระประสงค์ ของพระเจ้ า จนในที่ สุ ด ดิ ฉั น ก็ ไ ด้ ป ฏิ ญ าณตน ครั้ ง แรกในวั น ที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1998”

ล�ำบากบ้างแต่มันก็ไม่ท�ำให้ฉันหมดก�ำลังใจ เพราะฉันตระหนักเสมอว่า พระเจ้าทรงอยู่เคียงข้างฉันและมีพี่น้องสมาชิกในสถาบัน ที่คอยเป็นก�ำลังใจ ดิฉันมีพระแม่มารีย์เป็นแบบอย่างของการด�ำเนินชีวิตที่ชิดสนิทกับพระเจ้า แบบเรียบง่าย และมีองค์พระจิตเจ้าทรงเป็นอาจารย์ของฉัน ส�ำหรับฉันแล้ว พระเยซูเจ้าทรงเป็นศูนย์กลางของชีวิตและพระองค์ทรงน�ำฉันในทุกย่างก้าว

ความสุขในชีวิต

ถ้ า จะถามว่ า อะไรคื อ ความสุ ข ของการเป็ น VDB เธอบอกกั บ เราว่ า “ความสุ ข ของฉั น มาจากการได้ รั บ ความรั ก และความเมตตา จากพระเจ้ า ผู ้ ท รงน่ า รั ก พระองค์ ท รงประทานของขวั ญ ที่ ป ระเสริ ฐ สุ ด คื อ ให้ ดิ ฉั น ได้ ค ้ น พบกระแสเรี ย กในการถวายชี วิ ต แด่ พ ระองค์ ด ้ ว ย รู ป แบบชี วิ ต ที่ ผ สมผสานใน 3 อั ต ลั ก ษณ์ ที่ ล งตั ว อย่ า งกลมกลื น นั่ น คือ การเจิมถวายตัว, ความเป็นฆราวาสและความเป็นซาเลเซียน” “ฉันอยากขอบคุณผู้ใหญ่ของสถาบัน บรรดาจิตตาธิการทุกท่าน และพี่ น ้ อ งสมาชิ ก ของสถาบั น ส� ำ หรั บ ความรั ก และความเอาใจใส่ ซึ่ ง ช่ ว ยฉั น ให้ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในกระแสเรี ย กด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ ทุ ก วั น ”

หากท่านสนใจกระแสเรียกของสถาบัน VDB ติดต่อที่ คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน 086-8024548 คุณพ่อยอห์น แปร์ติเล่ 086-1738832

ชีวิตประจ�ำวันของฉันที่ธรรมดานั้น กลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาเพราะทุกสิ่งที่ฉัน ท�ำนั้นมุ่งไปยังพระเจ้าตลอดเวลา ฉันมีความ สุ ข ที่ ทุ ก วั น ฉั น ได้ สั ม ผั ส กั บ ความรั ก และความ เมตตาของพระเจ้า ถึงแม้ว่าฉันจะพบความยาก 45

dbBulletin 2018


ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซาเลเซียน

By... FIAT

บุญราศีฟิลิป รีนัลดี พระสงฆ์ ผู้ก่อตั้งคณะสตรีฆราวาส ผู้อุทิศตนของคุณพ่อบอสโก ระลึกถึง 5 ธันวาคม ฟิลิป รีนัลดี เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1856 ทีเ่ มืองลู มอนเฟราโต (อเล็กซานเดรีย) ประเทศอิตาลี ท่านมา อยู่กับคุณพ่อบอสโก เมื่อท่านมีอายุ 21 ปี แล้ว หลังจากบวชเป็นพระสงฆ์ ท่านได้รับ มอบหน้าทีใ่ นการอบรมบรรดาผูฝ้ กึ หัดและ บรรดานวกชน ในปี ค.ศ.1889 คุณพ่อรัว ได้ส่งท่านไปเป็นอธิการที่ซาร์เรีย ประเทศ สเปน หลังจากนั้น ท่านได้เป็นเจ้าคณะ แขวง ท่ า นมี บ ทบาทในการพั ฒ นาคณะ ซาเลเซี ย นในประเทศสเปนเป็ น อย่ า ง มาก ท่ า นได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง เป็ น รองอั ค ราธิ การของคณะ ท่ า นแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ สมบั ติ ข องความเป็ น บิ ด าในตั ว ของ ท่ า น ท่ า นให้ ค วามสนใจในงานใหม่ ๆ แ ล ะ ป ร ะ ส บ ค ว า ม ส� ำ เร็ จ ใ น ง า น นั้ น เช่ น การดู แ ลเอาใจใส่ เรื่ อ งกระแสเรี ย ก การจัดตั้งศูนย์ส�ำหรับให้ความช่วยเหลือ ด้ า นสั ง คม และด้ า นจิตใจแก่ห ญิง สาวที่ ก�ำลังท�ำงาน การให้ค�ำแนะน�ำและความ ช่วยเหลือแก่คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ในช่วงเวลาที่น่าเป็นห่วงในประวัติศาสตร์ ของพวกเขา ความกระตือรือร้นของท่าน

46

dbBulletin 2018

ปรากฏให้เห็นด้วยการส่งเสริมกลุ่มผู้ร่วม งานซาเลเซี ย น ในการจั ด ตั้ ง สมาพั น ธ์ ของบรรดาศิษย์เก่าทั้งชายและหญิงระดับ โลก ท่านได้ท�ำงานท่ามกลางผู้อุทิศตนแด่ แม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ข องคริ ส ตชน ท่ า น เห็นรูปแบบใหม่ของชีวิตแห่งการเจิมถวาย ตัวในโลก และพัฒนาความคิดนี้ จนใน ที่สุดท่านได้ตั้งคณะสตรีฆราวาสผู้อุทิศตน ของคุณพ่อบอสโกที่ก�ำลังเจริญเติบโตขึ้น ท่านได้รับเลือกเป็นอัคราธิการใน ปี ค.ศ.1922 ท่านได้ใช้ความพยายามทัง้ สิน้ เพื่ อ ท� ำ ให้ จิ ต ตารมณ์ ข องคุ ณ พ่ อ บอสโก เหมาะสมตามกาลสมัย ในฐานะนักศึกษา ที่หลักแหลมในทุกๆ สิ่งเกี่ยวกับซาเลเซียน และอาจารย์ฝา่ ยจิต ท่านได้ทำ� ให้ชวี ติ ภายใน ของซาเลเซี ย นกระปรี้ ก ระเปร่ า อี ก ครั้ ง หนึ่ง ท่านได้สนับสนุนให้ก�ำลังใจบรรดา ซาเลเซียน เพื่อพัฒนาความไว้วางใจที่แท้ จริงในพระเจ้า และความไว้วางใจที่ไม่มี ขอบเขตในแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ของคริสตชน ท่ า นได้ ท� ำ ตามพระประสงค์ ข องสมเด็ จ พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 กล่าวคือ ท่าน เอาใจใส่พิเศษในงานธรรมทูตโดยการส่ง บรรดาธรรมทูตตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อว่า พวกเขาจะสามารถเรียนรู้ภาษาและธรรม ประเพณี ท ้ อ งถิ่ น และดั ง นั้ น จะได้ ก ลั บ เป็ น ผู ้ แ พร่ พ ระวรสารที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ยิ่ ง ขึ้ น ท่ า นได้ สิ้ น ใจวั น ที่ 5 ธั น วาคม ค.ศ.1931 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงประกาศแต่งตัง้ ท่านเป็นบุญราศี เมื่ อ วั น ที่ 29 เมษายน ค.ศ.1990 db


เรื่องมีอยู่ว่า

dbBulletin

By... Andy

ผมเป็นขโมย

รอยสักบนหน้าผากของเด็กหนุ่มชาวบราซิล เรื่องราวของวัยรุ่นเชื้อสายแอฟริกาคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศบราซิล กลายเป็นข่าวดังเมื่อหลายปีก่อน เพราะเขาถูกลงโทษโดยการ “สัก” ข้อความบนหน้าผาก สาเหตุเนื่องมาจากการถูกกล่าวหาว่าพยายามขโมยรถจักรยานที่เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ซึ่งไม่มีใครรู้แน่ว่าเขาได้ท�ำจริงๆ หรือไม่ ผู้เสียหายจากการถูกขโมยรถดังกล่าวมีอาชีพเป็นช่างสัก เขาและเพื่อนจึงได้สักค�ำว่า “ผมเป็นขโมยและคนโง่” จารึกลงบนหน้าผากของเด็กหนุ่มนั้น และได้ถ่ายคลิปวีดีโอในขณะที่มีการสักและน�ำไปเผยแพร่ในโลกโซเชียล ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่คลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีคนจ�ำนวนมากแสดงความคิดเห็นเหยียดหยามเด็กคนนั้นว่าเป็นโจร บางคนว่าเขาเป็นเด็กมีปัญหา เด็กติดยาเสพติด ฯลฯ หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้ปกครองของเด็กได้แจ้งว่า ลูกชายได้หายออกไปจากบ้านหลายวัน... ท่ามกลางกระแสการรุมประณาม ก็มีอีกหลายคนที่พยายามช่วยเด็กหนุ่มแก้ไขสถานการณ์ ดังเช่นกลุ่มพิทักษ์สิทธิลูกหลานชาวแอฟริกันในบราซิลซึ่งได้ระดมเงินมากกว่า 5,000 ดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือเด็กหนุ่มคนนี้ทั้งๆ ที่เขาก�ำลังอยู่ในขบวนการพิจารณาคดีและยังไม่รู้ผลการตัดสิน สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวเข้าใจดีว่าชีวิตของเด็กคนนี้เป็นผลมาจากความยากจน ในโลกโซเชียลมีข้อความที่โพสต์แสดงความเกลียดชังเด็กคนนี้มากมาย ซึ่งผู้ที่โพสต์เองก็ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวกับเด็กคนนี้ ในเวลาเดียวกัน ก็มีข้อความจ�ำนวนมากที่โพสต์ให้ก�ำลังใจเด็ก เพราะผู้ที่โพสต์เหล่านี้เชื่อว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองได้หากได้รับโอกาส พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่มนางเป็นคนแรกเถิด” (ยน 8:7) “จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (มก 12:31) ความรักน�ำมาซึ่งการกลับใจ ไม่ใช่การประณาม ไม่มีใครที่อยากจะทุกข์ใจและสักความผิดพลาดของตนไว้ที่หน้าผาก เราเป็นใครที่จะไปประณามผู้อื่น และถึงแม้ว่าเขาจะมีความผิดจริง เราก็ไม่ควรที่จะกระท�ำกับเขาเช่นนั้น แม้ว่าในที่สุดแล้วสังคมจะให้อภัยเด็กหนุ่ม แต่เขาก็ได้รับบาดแผลจากการถูกประณาม เวลานี้เขาต้องรักษาแผลและความเสียหายซึ่งเป็นผลที่ตามมา db 47

dbBulletin 2018


“หากปราศจากพวกท่านแล้ว เราไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย” พินัยกรรมของคุณพ่อบอสโก ถึงผู้มีพระคุณ “หากปราศจากความช่วยเหลือของพวกท่านแล้ว พ่อคงท�ำกิจการต่างๆ ได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจท�ำอะไรไม่ได้เลย แต่ด้วยความช่วยเหลือของพวกท่าน เราสามารถร่วมมือกับพระหรรษทานของพระเจ้า เพื่อช่วยซับน�้ำตาให้กับหลายชีวิตและช่วยวิญญาณ ให้รอดได้มากมาย”

โมทนาคุณ แม่พระ

บ�ำรุงการพิมพ์

ลู ก ขอโมทนาคุ ณ แม่ พ ระผ่ า นทางนิ ต ยสารดอนบอสโก ที่ ไ ด้ ช ่ ว ยคลี่ ค ลายปั ญ หาระหว่ า งพี่ น ้ อ งในครอบครั ว ของ ลู ก ให้ มี ค วามเข้ า ใจกั น และกลั บ มาพู ด คุ ย กั น ด้ ว ยดี ดั ง เดิ ม ฟิโลเมนา น้ อ งชายของลู ก มี อ าการปวดหลั ง จึ ง ได้ ไ ปหาหมอเพื่ อ รั ก ษา ที่ ค ลี นิ ค แห่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง อาการของน้ อ งก็ ดี ขึ้ น ได้ เ พี ย งหนึ่ ง วั น จากนั้ น ก็ ท รุ ด หนั ก ลงกว่ า เดิ ม จนไม่ ส ามารถเดิ น ได้ โ ดยไม่ ทราบสาเหตุ น้ อ งชายอยู ่ ใ นสภาพนี้ เ ป็ น เวลาหลายเดื อ น ญาติ พี่ น ้ อ งได้ ส วดวอนขอแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ทุ ก วั น จนใน ที่ สุ ด หมอได้ พ บสาเหตุ ข องโรคและรั ก ษาน้ อ งชายจนอาการ ดี ขึ้ น เป็ น ล� ำ ดั บ ลู ก จึ ง ขอโมทนาคุ ณ แม่ พ ระมา ณ โอกาสนี้ ลูกแม่พระ

คุณเสาวณี แสนจันทร์, คุณโชคชัย อัตตกิจกุล, คุณสมศรี กิจสวัสดิ์, คุณล�ำดวน ทรงสัตย์, คุณพยุง แก้วเจริญสุข, คุณอุไร ศรีขจรลาภ, คุณปราณีต โชติกีรติเวช, คุณอนงค์, คุณปรีชา, คุณสิริพร ตันตสูติ, คุณวัจนาถ วังตาล, คุณศรีนวล ทองอ�ำไพ, คุณสุรชัย จิรพงศ์รัตน์, คุณสละ ชาวจีน, คุณสายชล ชาวปากน�้ำ ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 3 ท่าน ทุกวันที่ 24 ของทุกเดือนจะมีการถวายมิสซา แก่สมาชิกนิตยสาร รวมทั้งผู้มีอุปการะคุณต่อนิตยสาร

ธารน�้ำใจ

ท่านสามารถร่วมสนับสนุนการพิมพ์นิตยสารดอนบอสโกได้ที่

บัญชี วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนศรีนครินทร์ (กรุงเทพกรีฑา) บัญชีออมทรัพย์เลขที่บัญชี 080-221616-6 (ส่งเงินแล้วโปรดแจ้งรายละเอียดให้แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียนทราบด้วย)

สนใจสมัครสมาชิกได้ที่

แผนกสื่อมวลชนซาเลเซียน 32 ถ.กรุงเทพกรีฑา หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 02-7317100 Email: sdbsocomthai@gmail.com

(หากท่านเปลี่ยนชื่อและที่อยู่ผู้รับ กรุณาแจ้งให้ทางนิตยสารทราบ)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.