Mining Magazine Nov-Dec 2017

Page 1






7

5 เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2560

คณะกรรมการสภาการเหมืองแร่

1. นายเกรียงศักดิ์ หล่อวัฒนตระกูล 2. นายเข็มชาติ ว่องชาญกิจ 3. นายยุทธ เอีย่ มสอาด 4. นายดิเรก รัตนวิชช์ 5. นายสุทธิเลิศ วีระไพบูลย์ 6. น.ส.อัญชลี ตระกูลดิษฐ 7. นายศิรชิ ยั มาโนช 8. นายทวี ทวีสขุ เสถียร 9. นายเสกข์สรร ธีระวาณิชย์ 10. นายอนุพงศ์ โรจน์สพ ุ จน์ 11. นายณรงค์ จ�ำปาศักดิ ์ 12. นายสุรชิต มานะจิตต์ 13. นายวัลลภ การวิวฒ ั น์ 14. นายยงยุทธ รัตนสิร ิ 15. นายสุเทพ สุนทรารัณย์ 16. นายศิรสิทธิ์ สืบศิริ 17. นายอภิชาติ สายะสิญจน์ 18. นายวรพจน์ โพธิแ์ ก้ว

ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่

เลขาธิการสภาการเหมืองแร่ นายสมพร อดิศกั ดิพ ์ านิชกิจ

ผูช้ ว่ ยเลขาธิการสภาการเหมืองแร่ นางสุปราณี เพชรศิริ

ทีอ่ ยู่ สภาการเหมืองแร่

222/2 ซอยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2275-7684-6 แฟกซ์ 0-2692-3321 E-mail Contact : miningthai@miningthai.org Website : www.miningthai.org ID LINE : miningthai ที่ปรึกษา : เกรียงศักดิ์ หล่อวัฒนตระกูล ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ วัลลภ การวิวัฒน์ กรรมการสภาการเหมืองแร่ และประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ สมพร อดิศักดิ์พานิชกิจ เลขาธิการสภาการเหมืองแร่ บรรณาธิการ : กิตติ วิสุทธิรัตนกุล กองบรรณาธิการ : สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล / ทัศนีย์ เรืองติก / อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ / ชุติภา จริตพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : เขมจิรา บุญพระรักษา ฝ่ายโฆษณา : ศิริภรณ์ กลิ่นขจร / มนัส ไชยเพส / กษิรา เหมบัณฑิตย์ / กัลยา ทรัพย์ภริ มย์ จัดท�ำโดย : บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด เลขที่ 471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2354-5333 แฟกซ์ 0-2640-4260 **วารสารเหมืองแร่ จัดท�ำขึน้ เพือ่ ให้ขอ้ มูลข่าวสารทีเ่ ป็นประโยชน์แก่สมาชิกสภาการเหมืองแร่ ประชาสัมพันธ์การด�ำเนินงานและกิจการของสภาฯ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทัง้ นีบ้ ทความต่างๆ ใน วารสารเหมืองแร่ นีเ้ ป็นดุลพินจิ ของกองบรรณาธิการ โดยจะออกทุกๆ 2 เดือน



Contents ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำ�เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2560 10 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

33 เรื่องเล่าจากชาวเหมือง เหมืองสาธิต

17 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม กรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการ บริหารจัดการทรัพยากรแรท่ องคำ�

24 ขา่ วเศรษฐกิจเหมืองแร่ 29 เหมืองแรส่ ีเขียว

8

November-December 2017

สถานประกอบการได้รับรางวัลเหมืองแร่สีเขียว ประจำ�ปี ๒๕๖๐

รุ่งศักดิ์ อินทร์สิงห์

36 News 38 รางวัลอุตสาหกรรม ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๑



อนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

เรื่อง กำ�หนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตแต่งแร่ และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรกำ�หนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบ อนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออก ใบอนุญาตแต่งแร่และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๐๖ และ มาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนีเ้ รียกว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือ่ ง กำ�หนดคุณสมบัตขิ องผูข้ อรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตแต่งแร่และใบ อนุญาตประกอบโลหกรรม พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

10

November-December 2017

หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตแต่งแร่ และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามหมวดนี้ ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีอายุไม่ต่ำ�กว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (๒) มีภูมิลำ�เนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (๓) เป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ บุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๒) เป็นบุคคลล้มละลาย (๓) ถูกยกคำ�ขออาชญาบัตรผูกขาดสำ�รวจแร่ อาชญาบัตร พิเศษ หรือประทานบัตร เว้นแต่การยกคำ�ขอนั้นพ้นกำ�หนด

สิบสองเดือนแล้วนับแต่วันที่มีคำ�สั่งยกคำ�ขอครั้งสุดท้าย หรือ เว้นแต่การยกคำ�ขอนั้นมิใช่ความผิดของผู้ถูกยกคำ�ขอ (๔) ถูกเพิกถอนอาชญาบัตรผูกขาดสำ�รวจแร่ อาชญาบัตร พิเศษ ประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่ ใบอนุญาตประกอบ โลหกรรม หรือใบอนุญาตอืน่ ๆ ตามพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ เว้นแต่การเพิกถอนนัน้ พ้นกำ�หนดยีส่ บิ สีเ่ ดือนแล้วนับแต่วนั ทีม่ ี คำ�สั่งเพิกถอนครั้งสุดท้าย หรือเว้นแต่การเพิกถอนนั้นมิใช่ ความผิดของผู้ถูกเพิกถอน (๕) ต้องโทษฐานฝ่าฝืนตามมาตรา ๑๐๖ วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา ๑๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วเกินยี่สิบสี่เดือน (๖) เป็ น ลู ก หนี้ ต ามคำ�พิ พ ากษาในคดี ส่ ว นแพ่ ง ตาม กฎหมายว่ า ด้ ว ยแร่ และยั ง ไม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ต ามคำ�พิ พ ากษาให้ ครบถ้วน ในกรณีนิติบุคคลเป็น ผู้ขอรับใบอนุญาต นิติบุคคลนั้น ต้องมีคณ ุ สมบัตติ าม ก. (๒) และ (๓) และไม่มลี กั ษณะต้องห้าม ตาม ข. (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ความใน ก. (๓) มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็น ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาต แต่งแร่ และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ข้อ ๔ การขอรับใบอนุญาตตามหมวดนี้ ผูข้ อรับใบอนุญาต ต้องแนบเอกสารหลักฐานตามทีร่ ะบุไว้ในคำ�ขอและเอกสารอืน่ ๆ ดังต่อไปนี้ มาพร้อมกับคำ�ขอ (๑) แผนที่แสดงตำ�แหน่งที่ตั้งเขตที่จะขอเป็นเขตแต่งแร่ หรือเขตโลหกรรมแล้วแต่กรณี โดยแสดงเป็นแผนที่มาตราส่วน


หมวด ๓ หลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตแต่งแร่ และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ข้อ ๕ การออกใบอนุญาตตามหมวดนี้ ให้ดำ�เนินการ ดังนี้ (๑) การอนุญาตต้องไม่ทับซ้อนกับเขตประทานบัตร เขต แต่งแร่ เขตโลหกรรม เขตใบอนุญาตซือ้ แร่ ใบอนุญาตตัง้ สถานที่ เก็บแร่ หรือใบอนุญาตอืน่ ๆ ตามพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ เว้นแต่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้รับใบอนุญาต (๒) การกำ�หนดเขตสถานทีแ่ ต่งแร่หรือประกอบโลหกรรม ในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมาย ทีด่ นิ ให้กำ�หนดเขตตามหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ นิ ดังกล่าว กรณี ผู้ขอใบอนุญาตประสงค์ให้มีเขตโลหกรรมไม่เต็มพื้นที่ให้รังวัด เฉพาะส่วนที่จะกำ�หนดเป็นเขตโลหกรรม (๓) การกำ�หนดเขตสถานทีแ่ ต่งแร่หรือประกอบโลหกรรม ในทีด่ นิ ประเภทอืน่ ซึง่ ไม่ใช่ทดี่ นิ ตาม (๒) ให้กำ�หนดเขตโดยการ รังวัด (๔) ให้ผมู้ อี ำ�นาจในการอนุญาตตามหมวดนีก้ ำ�หนดเงือ่ นไข อื่ น ๆ ในใบอนุ ญ าตได้ โดยให้ คำ�นึ ง ถึ ง สิ่ ง แวดล้ อ ม ความ ปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของประชาชน สัตว์ พืช และ ทรั พ ย์ สิ น เป็ น สำ�คั ญ ทั้ ง นี้ ถ้ า เป็ น กรณี ก ารแต่ ง แร่ ห รื อ การ ประกอบโลหกรรมที่เข้าข่ายต้องจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิง่ แวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้นำ�มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ดังกล่าวมากำ�หนดเป็นเงือ่ นไขแนบท้ายใบอนุญาตดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ขัน้ ตอนการปฏิบตั ใิ นการดำ�เนินการเกีย่ วกับการขอ และการออกใบอนุญาตแต่งแร่และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่กำ�หนด

11

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงอุตสาหกรรม

November-December 2017

๑ : ๕๐,๐๐๐ ของกรมแผนที่ทหาร พร้อมกับกำ�หนดค่าพิกัด ฉากสากล (U.T.M. Coordinates) ของมุมใดมุมหนึ่งของแผนที่ ดังกล่าวไว้ด้วย (๒) แผนทีต่ ามมาตราส่วนแสดงรูปและขนาดของเขตแต่งแร่ หรือเขตโลหกรรมแล้วแต่กรณี (๓) หลักฐานเกีย่ วกับทีด่ นิ ทีจ่ ะใช้ตง้ั สถานทีเ่ พือ่ การแต่งแร่ หรือประกอบโลหกรรมแล้วแต่กรณี (๓.๑) กรณีที่ดินของตนเอง ให้แนบเอกสารแสดง กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน (๓.๒) กรณีเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ให้ยื่นเอกสารหรือ หลักฐานทีแ่ สดงว่าเจ้าของ หรือผูค้ รอบครองทีด่ นิ ในเขตพืน้ ทีท่ ี่ ยืน่ คำ�ขอนัน้ ยินยอมให้ผยู้ นื่ คำ�ขอตัง้ สถานทีแ่ ต่งแร่หรือประกอบ โลหกรรมแล้วแต่กรณี ในพื้นที่ตามเขตคำ�ขอนั้นได้ (๓.๓) กรณี เ ป็ น ที่ ดิ น ที่ อ ยู่ ใ นความครอบครองของ หน่วยงานของรัฐ ให้แนบหลักฐานการอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ ในทีด่ นิ เพือ่ ตัง้ สถานทีแ่ ต่งแร่หรือการประกอบโลหกรรมแล้วแต่ กรณีจากหน่วยงานของรัฐนั้นๆ (๔) แผนผังและวิธีการแต่งแร่ หรือแผนผังและวิธีการ ประกอบโลหกรรมแล้วแต่กรณี (๕) กรณีการแต่งแร่หรือการประกอบโลหกรรมที่เข้าข่าย ต้องจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตาม กฎหมายว่ า ด้ ว ยการส่งเสริมและรัก ษาคุณภาพสิ่ง แวดล้ อม แห่งชาติ ให้แนบสำ�เนารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อม ซึ่ ง สำ�นั ก งานนโยบายและแผนทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบแล้วมาด้วย (๖) จัดทำ�ข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ ประชาชน สำ�หรับการแต่งแร่หรือการประกอบโลหกรรมแล้วแต่ กรณี ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกโดยอาศัย อำ�นาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ (๗) หนังสือแต่งตั้งวิศวกรควบคุมเพื่อตรวจสอบและ รับรองความถูกต้องของรายงานการแต่งแร่ หรือรายงานการ ประกอบโลหกรรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด


อนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

12

November-December 2017

เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐

โดยที่เป็นการสมควรกำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งแร่ อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๐๗ แห่งพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงอุตสาหกรรม จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การแต่งแร่ให้กระทำ�โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีการโม่ การบด หรือการย่อยแร่ หรือการคัดขนาดแร่ รวมทั้งการล้างแร่ด้วยน้ำ� (๒) วิธีการแยกแร่โดยอาศัยความแตกต่างของความถ่วงจำ�เพาะ เช่น ใช้รางล้างแร่ (Lanchute) จิ๊ก (jig) โต๊ะแยกแร่ (Shaking Table) ฮัมฟรีย์สไปราล (Humphrey’s Spiral) หรือไซโคลน (Cyclone) เป็นต้น (๓) วิธีการแยกแร่ด้วยแม่เหล็ก (Magnetic Separation) (๔) วิธีการแยกแร่ด้วยไฟฟ้าสถิตหรือไฟฟ้าแรงสูง (Electrostatic or High Tension Separation) (๕) วิธีการลอยแร่ (Flotation) (๖) วิธีการทางเคมี เช่น การละลายด้วยความร้อนและตกผลึกใหม่ (Recrystallization) เป็นต้น (๗) วิธีการอย่างอื่นที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เห็นชอบ ข้อ ๔ แผนผังและวิธีการแต่งแร่ ต้องแสดงรายละเอียด ดังนี้ (๑) รายละเอียดโครงการต้องประกอบด้วย (๑.๑) ข้อมูลสถานประกอบการแต่งแร่ ให้ระบุที่อยู่โรงแต่งแร่และสำ�นักงาน (๑.๒) แร่ที่จะทำ�การแต่ง ให้ระบุชนิดและแหล่งที่มา (๑.๓) น้ำ�ที่ใช้ในการแต่งแร่ ให้ระบุแหล่งที่มาและปริมาณที่ใช้ต่อวัน (๑.๔) พลังงานที่ใช้ เช่น ไฟฟ้า เชื้อเพลิง เป็นต้น ให้ระบุชนิดและปริมาณที่ใช้ต่อวัน (๑.๕) สารเคมีที่ใช้ ให้ระบุชนิด และปริมาณที่ใช้ต่อหน่วยการผลิตต่อวัน (๑.๖) กำ�ลังการผลิตติดตั้งต่อวัน (๑.๗) วิธีการแต่งแร่ ผังแสดงการแต่งแร่ (Flow Sheet) ผังแสดงสมดุลมวล (Mass Balance) และสมดุลน้ำ� (Water Balance) ในกระบวนการแต่งแร่ (๑.๘) รายละเอียดเกีย่ วกับเครือ่ งจักรและอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในการแต่งแร่ พร้อมทัง้ แบบแปลนแสดงตำ�แหน่งการติดตัง้ เครือ่ งจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ (๑.๙) วิธีการเก็บขังมูลดินทรายและเกรอะกรองน้ำ�ขุ่นข้น การป้องกันและกำ�จัดฝุ่นละออง วิธีการจัดการและจัดเก็บกอง หางแร่ การจัดเก็บและการกำ�จัดสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการแต่งแร่ (๒) แผนที่ภูมิประเทศขนาดมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ หรือใหญ่กว่า แสดงจุดที่ตั้งโครงการเขตแต่งแร่ เส้นทางเข้าสู่โครงการ


13

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

November-December 2017

ทางหลวงหรือทางน้ำ�สาธารณะในบริเวณใกล้เคียงและระยะห่างจากพื้นที่โครงการ (๓) แผนที่แสดงเขตแต่งแร่ขนาดมาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ หรือใหญ่กว่า พร้อมทั้งแสดงตำ�แหน่งที่ทำ�การ สถานที่เก็บแร่ก่อน ทำ�การแต่งและแร่ที่แต่งได้ สถานที่เก็บน้ำ�ที่ใช้ในการแต่งแร่ สถานที่เก็บน้ำ�ขุ่นข้น และสถานที่เก็บกองมูลดินทราย (๔) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานหรือมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบ สิง่ แวดล้อมทีก่ ำ�หนดตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทั้งนี้ แผนผังและวิธีการแต่งแร่ต้องมีวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาที่เกี่ยวข้องลงชื่อ รับรองในเอกสารต่างๆ ทีม่ ลี กั ษณะของงานอยูใ่ นข่ายควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร พร้อมกับระบุประเภท สาขางานวิศวกรรม และหมายเลขใบอนุญาตไว้โดยครบถ้วน ข้อ ๕ ก่อนเริ่มการแต่งแร่ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยต้องนำ�พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบโรงแต่งแร่ และเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่แล้วจึงจะเริ่มแต่งแร่ได้ หากการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่เป็นไปตามแผนผังและวิธีการแต่งแร่ หรือไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน หรือยังปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขการอนุญาตไม่ครบถ้วน ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ต้องดำ�เนินการ ให้ครบถ้วนหรือแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่แล้ว จึงจะเริ่มแต่งแร่ได้ ข้อ ๖ ผูร้ บั ใบอนุญาตแต่งแร่ตอ้ งดำ�เนินงานตามแผนผังและวิธกี ารแต่งแร่ทไี่ ด้รบั อนุญาต และต้องจัดให้มวี ศิ วกรผูไ้ ด้รบั อนุญาต เป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาทีเ่ กีย่ วข้องควบคุมรับผิดชอบการดำ�เนินงาน กรณีประสงค์จะเปลีย่ นตัววิศวกรให้แจ้ง เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำ�ท้องทีท่ ราบพร้อมกับมอบหนังสือยินยอมของวิศวกรทีจ่ ะควบคุมรับผิดชอบการดำ�เนินงานต่อไป ไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุประเภท สาขางานวิศวกรรม และหมายเลขใบอนุญาตไว้ในหนังสือยินยอมด้วย ข้อ ๗ ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายการที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงแผนผังและวิธีการแต่งแร่ตามประกาศ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงแผนผังและวิธีการแต่งแร่ การหยุดแต่งแร่ชวั่ คราว การแจ้งแต่งแร่ใหม่ และการเลิกแต่งแร่ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำ�ท้องทีท่ ราบ ข้อ ๘ ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่ต้องกรอกรายการให้ถูกต้องตามความเป็นจริงลงในบัญชีการรับแร่และแต่งแร่ ตามแบบพิมพ์ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด และเก็บไว้ในเขตแต่งแร่นั้น เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ทุกเวลา ข้อ ๙ ผู้รับใบอนุญาตแต่งแร่จะต้องจัดให้มีการตรวจวัดติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กำ�หนดไว้ในแผนผังและวิธีการ แต่งแร่หรือเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต และรายงานผลให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ทราบ


อนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

14

November-December 2017

เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประกอบโลหกรรม พ.ศ. ๒๕๖๐

โดยที่เป็นการสมควรกำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการประกอบโลหกรรม อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑๒ แห่งพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงอุตสาหกรรม จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประกอบโลหกรรม พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การประกอบโลหกรรมให้กระทำ�โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีการโลหะวิทยาความร้อน (Pyrometallurgical Process) (๒) วิธีการโลหะวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgical Process) (๓) วิธีการโลหะวิทยาไฟฟ้า (Electrometallurgical Process) (๔) วิธีการอย่างอื่นที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เห็นชอบ ข้อ ๔ แผนผังและวิธีการประกอบโลหกรรมต้องแสดงรายละเอียด ดังนี้ (๑) รายละเอียดโครงการต้องประกอบด้วย (๑.๑) ข้อมูลของสถานประกอบการ เช่น ที่อยู่สำ�นักงาน ที่ตั้งโรงประกอบโลหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นต้น (๑.๒) แหล่งที่มาของแร่และวัตถุดิบอื่นทุกชนิดที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม (๑.๓) แหล่งที่มาของน้ำ�ที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม และระบุปริมาณที่ใช้ต่อวัน (๑.๔) พลังงานที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม เช่น ไฟฟ้า เชื้อเพลิง เป็นต้น และระบุปริมาณที่ใช้ต่อวัน (๑.๕) กำ�ลังการผลิตติดตั้งต่อวัน (๑.๖) วิธีการประกอบโลหกรรม ผังแสดงการประกอบโลหกรรม (Flow Sheet) ผังแสดงสมดุลมวล (Mass Balance) และสมดุลน้ำ� (Water Balance) ในกระบวนการประกอบโลหกรรม (๑.๗) รายละเอียดเกี่ยวกับเตาถลุง เตาหลอม เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม พร้อมทั้งแบบแปลน แสดงตำ�แหน่งการติดตั้งเตาถลุง เตาหลอม เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบโลหกรรม (๑.๘) วิธีการจัดการมลพิษที่เกิดจากกระบวนการประกอบโลหกรรมโดยละเอียด (๒) แผนทีภ่ มู ปิ ระเทศขนาดมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ หรือใหญ่กว่า แสดงจุดทีต่ ง้ั โครงการเขตโลหกรรม เส้นทางเข้าสูโ่ ครงการ ทางหลวงหรือทางน้ำ�สาธารณะในบริเวณใกล้เคียงและระยะห่างจากพื้นที่โครงการ (๓) แผนที่แสดงเขตโลหกรรมขนาดมาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ หรือใหญ่กว่า พร้อมทั้งแสดงตำ�แหน่งสถานที่เก็บวัตถุดิบ โลหะ หรือผลิตภัณฑ์ และของเสียที่เกิดจากกระบวนการประกอบโลหกรรม


ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

November-December 2017

(๔) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หรือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อมที่กำ�หนดตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทั้งนี้ แผนผังและวิธีการประกอบโลหกรรมต้องมีวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขา ที่เกี่ยวข้องลงชื่อรับรองในเอกสารต่างๆ ที่มีลักษณะของงานอยู่ในข่ายควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร พร้อมกับระบุประเภท สาขางานวิศวกรรมและหมายเลขใบอนุญาตไว้โดยครบถ้วน ข้อ ๕ ก่อนเริม่ การประกอบโลหกรรมผูร้ บั ใบอนุญาตประกอบโลหกรรมต้องแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน และการเหมืองแร่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยต้องนำ�พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบโรงประกอบโลหกรรม และเมื่อได้รับ อนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่แล้วจึงจะเริ่มประกอบโลหกรรมได้ หากการติดตัง้ เครือ่ งจักรและอุปกรณ์ไม่เป็นไปตามแผนผังและวิธกี ารประกอบโลหกรรม หรือไม่อยูใ่ นสภาพทีพ่ ร้อมใช้งาน หรือ ยังปฏิบตั ติ ามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิง่ แวดล้อม หรือเงือ่ นไขการอนุญาตไม่ครบถ้วน ผูร้ บั ใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ต้องดำ�เนินการให้ครบถ้วน หรือแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่แล้วจึงจะเริ่มประกอบโลหกรรมได้ ข้อ ๖ ผูร้ บั ใบอนุญาตประกอบโลหกรรมต้องดำ�เนินงานตามแผนผังและวิธกี ารประกอบโลหกรรมทีไ่ ด้รบั อนุญาต และต้องจัด ให้มวี ศิ วกรผูไ้ ด้รบั อนุญาตเป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาทีเ่ กีย่ วข้องควบคุมรับผิดชอบการดำ�เนินงาน กรณีประสงค์ จะเปลี่ยนตัววิศวกรให้แจ้งเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำ�ท้องที่ทราบพร้อมกับมอบหนังสือยินยอมของวิศวกรที่จะควบคุม รับผิดชอบการดำ�เนินงานต่อไปไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุประเภทสาขางานวิศวกรรมและหมายเลขใบอนุญาตไว้ในหนังสือ ยินยอมด้วย ข้อ ๗ ผูร้ บั ใบอนุญาตประกอบโลหกรรมทีป่ ระสงค์จะเปลีย่ นแปลงรายการทีม่ ใิ ช่การเปลีย่ นแปลงแผนผังและวิธกี ารประกอบ โลหกรรมตามประกาศกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่วา่ ด้วยหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขในการเปลีย่ นแปลงแผนผัง และวิธีการประกอบโลหกรรม การหยุดประกอบโลหกรรมชั่วคราว การแจ้งประกอบโลหกรรมใหม่ และการเลิกประกอบโลหกรรม ให้แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำ�ท้องที่ทราบ ข้อ ๘ ผูร้ บั ใบอนุญาตประกอบโลหกรรมจะต้องจัดให้มกี ารตรวจวัดติดตามคุณภาพสิง่ แวดล้อมตามทีก่ ำ�หนดไว้ในแผนผังและ วิธีการประกอบโลหกรรมหรือเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต และรายงานผลให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ทราบ

15


อนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

16

November-December 2017

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสำ�รวจแร่ตามอาชญาบัตร พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรกำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขเกี่ยวกับการสำ�รวจแร่ตามอาชญาบัตร อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และ มาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงอุตสาหกรรมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนีเ้ รียกว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสำ�รวจแร่ตาม อาชญาบัตร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การสำ�รวจแร่ให้กระทำ�โดยวิธีการตรวจดูลักษณะ ทางธรณีวิทยาของพื้นที่ร่วมกับวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายวิธี ดังนี้ (๑) วิธีการตรวจดูลักษณะทางธรณีเคมีและธรณีฟิสิกส์ (๒) วิธกี ารเจาะสำ�รวจตามหลักเทคนิคการสำ�รวจแหล่งแร่ ที่เรียกว่า Drilling และ Boring (๓) วิธีการขุดหลุมสำ�รวจตามหลักเทคนิคการสำ�รวจ แหล่งแร่ที่เรียกว่า Pitting ภายในหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๓.๑) หลุมสำ�รวจมีขนาดกว้างหรือยาวไม่เกิน ๓ เมตร หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๓ เมตร ตรงลงไปโดยมีหน้าตัด ของหลุมไม่เกินขนาดดังกล่าว (๓.๒) หลุมสำ�รวจแต่ละหลุมต้องมีระยะห่างกันไม่นอ้ ย กว่า ๒๐ เมตร (๔) วิธีการขุดร่องสำ�รวจตัดขวางสายแร่ตามหลักเทคนิค การสำ�รวจแหล่งแร่ทเ่ี รียกว่า Trenching ภายในหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๔.๑) ร่องสำ�รวจมีขนาดกว้างไม่เกิน ๓ เมตร และลึก ไม่เกิน ๕ เมตร ผนังของร่องสำ�รวจต้องเรียบและตั้งตรงที่สุด ที่จะทำ�ได้ (๔.๒) ร่องสำ�รวจแต่ละร่องต้องมีระยะห่างกันไม่น้อย กว่า ๒๐ เมตร (๕) ถ้าจะสำ�รวจแร่โดยหลักเกณฑ์หรือวิธีการอื่น ให้เป็น ไปตามทีอ่ ธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด ข้อ ๔ ให้ผู้ถืออาชญาบัตรสำ�รวจแร่ ทำ�การสำ�รวจแร่ได้ เฉพาะวิธกี ารตรวจดูลกั ษณะธรณีวทิ ยาร่วมกับวิธกี ารสำ�รวจแร่ ตามข้อ ๓ (๑) วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันก็ได้ ข้ อ ๕ ให้ ผู้ ถื อ อาชญาบั ต รผู ก ขาดสำ�รวจแร่ ห รื อ ผู้ ถื อ อาชญาบัตรพิเศษ ทำ�การสำ�รวจแร่ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ ตามข้อ ๓ และตามที่เสนอไว้ในแผนงานและวิธีการสำ�รวจแร่ ข้อ ๖ แผนงานและวิธกี ารสำ�รวจแร่ตอ้ งมีขอ้ มูลรายละเอียด อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) แผนทีภ่ มู ปิ ระเทศ มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ หรือใหญ่กว่า (๒) เนื้อที่คำ�ขอแต่ละแปลง (๓) ชนิดแร่ วิธีการสำ�รวจแร่แต่ละขั้นตอน ปริมาณงาน

และจำ�นวนเงินที่ใช้ในการสำ�รวจ (๔) ชนิด ขนาด จำ�นวนเครือ่ งจักรและอุปกรณ์ทใี่ ช้ในการ สำ�รวจ (๕) จำ�นวนคนงานและผู้ควบคุมการสำ�รวจ (๖) แผนควบคุมและฟื้นฟูผลกระทบจากการสำ�รวจ (๗) กรณีอาชญาบัตรพิเศษต้องจัดทำ�แผนการสำ�รวจแร่ และข้อผูกพันสำ�หรับการสำ�รวจของแต่ละปีให้เป็นไปตามค่า ใช้จ่ายขั้นต่ำ�ในการสำ�รวจแร่ตามที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด ให้ นั ก ธรณี วิ ท ยาหรื อ วิ ศ วกรเหมื อ งแร่ ที่ อ ธิ บ ดี ก รม อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เห็นชอบเป็น ผู้ลงนาม รับรองความถูกต้องของแผนงานและวิธกี ารสำ�รวจแร่ตามวรรคหนึง่ ข้อ ๗ ผูถ้ อื อาชญาบัตรผูกขาดสำ�รวจแร่และผูถ้ อื อาชญาบัตร พิเศษ ต้องทำ�การสำ�รวจตามแผนงานและวิธีการสำ�รวจแร่ ที่ได้รับอนุญาตภายใต้การควบคุมรับผิดชอบของนักธรณีวิทยา หรือวิศวกรเหมืองแร่ที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่เห็นชอบ และต้องรายงานผลการดำ�เนินงานและการ สำ�รวจแร่ตามรอบระยะเวลาทีก่ ำ�หนด โดยใช้รปู แบบการรายงาน ผลตามประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรือ่ ง การรายงานผลการดำ�เนินงานและการสำ�รวจแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ การเปลี่ยนตัวนักธรณีวิทยาหรือวิศวกรเหมืองแร่ตาม วรรคหนึ่ง ต้องได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผถู้ อื อาชญาบัตรนำ�แร่ทไ่ี ด้จากการสำ�รวจแร่ ไปเพือ่ วิเคราะห์หรือวิจยั เกินกว่าปริมาณทีอ่ ธิบดีกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด ข้อ ๙ กรณีการคืนพื้นที่บางส่วน ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษ ต้องปฏิบตั ติ ามแผนงานและวิธกี ารสำ�รวจแร่ โดยค่าใช้จา่ ยในการ สำ�รวจต้องเป็นไปตามข้อกำ�หนดเดิมของปีการสำ�รวจทีเ่ หลืออยู่ เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงแผนงานและวิธีการสำ�รวจแร่ ให้ผู้ถือ อาชญาบัตรแจ้งให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทราบ ภายใน ๓๐ วัน ทัง้ นี้ ค่าใช้จา่ ยจะต้องไม่นอ้ ยกว่าค่าใช้จา่ ย ขัน้ ต่ำ�ตามข้อ ๖ (๗) หากกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ ไม่มีความเห็นเป็นอื่นภายใน ๓๐ วัน ให้ดำ�เนินการต่อไปได้ ข้อ ๑๐ เมือ่ พนักงานเจ้าหน้าทีเ่ ข้าไปในเขตสำ�รวจแร่ ให้ ผู้ถืออาชญาบัตรอำ�นวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามควรแก่กรณี ข้อ ๑๑ ในการสำ�รวจแร่ทม่ี กี ารกระทำ�กับพืน้ ที่ ต้องจัดการ ปรับสภาพพืน้ ทีใ่ ห้ใกล้เคียงสภาพเดิม ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงอุตสาหกรรม


อนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

เรื่อง กรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ� ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ รับทราบรายงานการศึกษานโยบายการสำ�รวจและทำ� เหมืองแร่ทองคำ�ของสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึง่ ได้เสนอความเห็นการดำ�เนินการ เกีย่ วกับนโยบายการสำ�รวจและทำ�เหมืองแร่ทองคำ� และประเด็นทีค่ วรให้ความสำ�คัญในการพิจารณาให้ประทานบัตรทำ� เหมืองแร่ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับรายงานดังกล่าวและความเห็นของหน่วยงานต่างๆ มาพิจารณา ดังนั้น เพื่อ ให้การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ�ของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สูงสุดให้แก่ประเทศ ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ภาครัฐและประชาชน มีความเหมาะสมและเป็นธรรม ขณะเดียวกันการ ดำ�เนินงานด้านการสำ�รวจและทำ�เหมืองแร่ทองคำ�ของภาคเอกชนจะต้องเป็นไปโดยใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและ เหมาะสมตามหลักวิชาการ สามารถป้องกันอันตรายและป้องกันปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ ยอมรับได้ มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ�นี้ได้ผ่านความเห็นชอบของ คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ รวมถึงคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรม จึงกำ�หนดกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ�ไว้ ดังนี้

November-December 2017

17

๑. ด้านการบริหารจัดการแหล่งแร่ทองคำ� เนื่องจากแร่ทองคำ�เป็นแร่เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงและสำ�คัญต่อระบบเศรษฐกิจ ให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงทุนสำ�รวจและลงทุนทำ�เหมืองแร่ทองคำ� ทั้งการลงทุนของคนไทยเองและ ร่วมทุนกับบริษทั ต่างชาติ เพือ่ ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้ได้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ประเทศสูงสุด โดยกำ�หนด วิธีการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาแหล่งแร่ทองคำ� ดังต่อไปนี้ ๑.๑ ในพืน้ ทีศ่ กั ยภาพแหล่งแร่ทองคำ�ทีภ่ าครัฐได้สำ�รวจและมีขอ้ มูลเพียงพอ กระทรวงอุตสาหกรรมจะประกาศกำ�หนด เขตเป็นพืน้ ทีเ่ พือ่ การพัฒนาเหมืองแร่ทองคำ�เป็นโครงการใหญ่ และเปิดประมูลสิทธิเข้าสำ�รวจและทำ�เหมืองในพืน้ ที่ ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำ�หนด ซึ่งจะประกาศเป็นคราวๆ ไป ตามความเหมาะสมของพื้นที่แหล่งแร่ โดยในการ ประกาศกำ�หนดเขตเป็นพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำ�เป็นโครงการใหญ่นั้น จะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น จากชุมชนในพืน้ ทีป่ ระกอบการดำ�เนินการด้วย ทัง้ นี้ จะบริหารจัดการไม่ให้การประกาศพืน้ ทีด่ งั กล่าวเป็นปัญหาอุปสรรค ต่อการผลิตแร่ชนิดอื่น ๑.๒ การขอสิทธิสำ�รวจแร่ทองคำ�ในพื้นที่ทั่วไป นอกจากพื้นที่ตามข้อ ๑.๑ สามารถทำ�ได้โดยการขออนุญาต อาชญาบัตรพิเศษเพื่อการสำ�รวจแร่ทองคำ� ๑.๓ การทำ�เหมืองแร่ทองคำ�ในพืน้ ทีท่ วั่ ไป นอกจากพืน้ ทีต่ ามข้อ ๑.๑ สามารถทำ�ได้โดยการขออนุญาตประทานบัตร เพือ่ ทำ�เหมืองแร่ทองคำ� โดยผูข้ อต้องได้รบั อาชญาบัตรพิเศษเพือ่ การสำ�รวจแร่ทองคำ�มาแล้วในพืน้ ทีท่ ย่ี น่ื คำ�ขอประทานบัตร ๑.๔ เพือ่ ให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนือ่ งจากการทำ�เหมืองแร่ทองคำ�ตลอดห่วงโซ่การผลิตและสร้างมูลค่าเพิม่ ภายในประเทศ การทำ�เหมืองแร่ทองคำ�ในพืน้ ทีแ่ หล่งแร่ทสี่ ามารถผลิตเป็นโลหะผสมทองคำ�ในเชิงธุรกิจได้ ผูป้ ระกอบการ เหมืองแร่ต้องสนองตอบต่อนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมในการเพิ่มมูลค่าแร่ทองคำ�ด้วยการทำ�เป็นโลหะทองคำ� บริสุทธิ์ภายในประเทศ โดยส่งเข้าโรงงานของผู้ประกอบการภายในประเทศ หรือโดยการจัดตั้งโรงงานเองหรือร่วมกับ ผู้ลงทุนรายอื่นๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ประกาศฉบับนี้ได้ประกาศใช้แล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมจะไม่อนุญาตให้


18

November-December 2017

ส่งออกโลหะผสมทองคำ�ที่ได้จาการทำ�เหมืองไปต่างประเทศอีก ๑.๕ ในกรณีทมี่ กี ารนำ�ผูเ้ ชีย่ วชาญจากต่างประเทศเข้ามาปฏิบตั งิ าน จะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผปู้ ฏิบตั งิ าน ชาวไทยสามารถปฏิบัติงานแทนได้ภายในเวลา ๕ ปี และการจ้างเหมางานก่อสร้าง งานพัฒนาหรือทำ�เหมือง และงาน บริการต่างๆ จะต้องใช้บริการจากผู้ประกอบการไทยเป็นหลัก ๑.๖ ไม่มีการให้สิทธิประโยชน์ด้านส่งเสริมการลงทุนให้กับโครงการทำ�เหมืองแร่ทองคำ�ในด้านภาษีตา่ งๆ ๑.๗ ส่งเสริมให้มีช่องทางในการปรึกษาหารือและยกระดับการมีส่วนร่วมในเชิงนโยบายระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ� กลางน้ำ� และปลายน้ำ� (Forward Linkages) เพื่อให้สินค้าที่ใช้วัตถุดิบ ทองคำ�ภายในประเทศได้รับการรับรองแหล่งกำ�เนิดสินค้า ตลอดจนเกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมอย่างเป็น รูปธรรมตลอดห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ� ๒. ด้านผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐและท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาแหล่งแร่ทองคำ�ของประเทศเป็นไปโดยเหมาะสม ทั้งทางด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจและผลกระทบ ต่างๆ ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ เกิดประโยชน์ตอ่ ประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง ให้กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ กำ�หนดนโยบายในการเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนจากการพัฒนาแร่ทองคำ�ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เงินผลประโยชน์ พิเศษเพื่อประโยชน์แก่รัฐ ค่าภาคหลวงแร่ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ เพื่อการตอบแทน แก่รัฐและท้องถิ่น ให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ดังต่อไปนี้ ๒.๑ ผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐ นอกจากค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล หรือภาษีและค่าธรรมเนียมอืน่ ๆ ทีผ่ ขู้ อจะต้องจ่ายให้แก่รฐั ตามกฎหมาย แล้ว ผูข้ อจะต้องจ่ายผลประโยชน์พเิ ศษในรูปของเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอืน่ อย่างใดอย่างหนึง่ หรือหลายอย่างรวมกัน ให้แก่รฐั ทัง้ ในขัน้ การขออาชญาบัตรพิเศษและการขออนุญาตประทานบัตร ตามหลักเกณฑ์ทกี่ ระทรวงอุตสาหกรรมกำ�หนด โดยจะกำ�หนดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสม คุ้มค่า และเป็นธรรมต่อภาครัฐ ครอบคลุมปัจจัยด้านราคาทองคำ� ความผันแปร ตามศักยภาพของแหล่งแร่ และผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคม อีกทัง้ จะกำ�หนดพิกดั อัตราค่าภาคหลวงแร่ครอบคลุม ปัจจัยต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิต และสถานการณ์ราคาทองคำ� เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและคุ้มค่าแก่ทุกฝ่าย ๒.๒ ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ท้องถิ่น ผู้ขอจะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ท้องถิ่นในรูปของเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างรวมกันให้กบั องค์การบริหารส่วนตำ�บลหรือเทศบาลทีป่ ระทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ�ตัง้ อยู่ และองค์การบริหาร ส่วนตำ�บลหรือเทศบาลที่อยู่ติดกัน ตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด โดยอาจใช้ พืน้ ฐานจากสัดส่วนของรายได้จากการผลิตแร่หรืออัตราต่อหน่วยการผลิตแร่ หรือหลักเกณฑ์อน่ื ๆ ทีเ่ หมาะสม นอกจากนี้ ผู้ขอจะต้องจัดตั้งกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ เพื่อใช้เป็นงบประมาณในการดำ�เนินกิจกรรมหรือโครงการ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนาหมูบ่ า้ นรอบเหมืองแร่ ทัง้ ในด้านการพัฒนาอาชีพและชีวติ ความเป็นอยู่ โดยมีตวั แทนจากหมูบ่ า้ น เป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่และหน่วยราชการอืน่ เพือ่ ให้สามารถ บริหารจัดการกองทุนได้ตรงกับความต้องการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนได้อย่างแท้จริง โดยให้เก็บสะสมเงิน ในบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด ทั้งนี้ หากโครงการทำ�เหมืองเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังคงมีเงินกองทุนเหลืออยู่ให้คณะกรรมการบริหารจัดการเงินกองทุนต่อไป


November-December 2017

19

๓. ด้านความปลอดภัย การป้องกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ เพื่อให้การพัฒนาแหล่งแร่ทองคำ�เป็นไปด้วยความระมัดระวังและเคร่งครัดต่อการป้องกันและรักษาคุณภาพ สิง่ แวดล้อม เพือ่ ปกป้องรักษาความปลอดภัยต่อชีวติ และสุขภาพของผูป้ ฏิบตั งิ านและประชาชน ตลอดจนการฟืน้ ฟูพนื้ ที่ ที่ผ่านกิจกรรมการสำ�รวจแร่ หรือการทำ�เหมืองแร่แล้วให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ หรือสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ให้กรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนดนโยบายในการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ รวมทั้งการให้ผู้ขอจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการเยียวยาต่าง ๆ กรณีเกิดปัญหา ได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนการจัดระบบการตรวจวัดคุณภาพสิง่ แวดล้อมทีม่ ปี ระสิทธิภาพและสามารถสร้างความเชือ่ มัน่ ให้แก่ประชาชนได้ ดังต่อไปนี้ ๓.๑ ในขั้นตอนการสำ�รวจแร่ ผู้ขอจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักวิชาการและรายละเอียดเงื่อนไขตามแผนงานที่ ได้รับอนุญาต แผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและแผนการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ และต้องวางหลักประกันการจัดการด้าน สิง่ แวดล้อมและการฟืน้ ฟูพนื้ ทีห่ ลังเสร็จสิน้ โครงการสำ�รวจแร่ แต่ทงั้ นีห้ ากตรวจพบว่าการปฏิบตั ไิ ม่เป็นไปตามทีก่ ำ�หนด อาจเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ ๓.๒ ในขัน้ ตอนการขอประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่ ใบอนุญาตประกอบโลหกรรม หรือใบอนุญาตอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ผู้ขอจะต้องจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ ๑ : โครงการเหมืองแร่ทองคำ�ทีเ่ ข้าข่ายโครงการหรือกิจการซึง่ ต้องจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิง่ แวดล้อม ผูข้ อจะต้องจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อม (EIA) ตามทีท่ างราชการกำ�หนด ทัง้ นี้ มาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่าง ๆ รวมทั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมจะเป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขประกอบการอนุญาต ประทานบัตร ซึ่งหากผู้ขอไม่ปฏิบัติตามจะเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนประทานบัตรได้ ประเภทที่ ๒ : โครงการเหมืองแร่ทองคำ�ที่เข้าข่ายโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง รุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ผู้ขอจะต้องจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่เข้าข่ายอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA) ตามที่ทางราชการกำ�หนด ทั้งนี้ มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผลกระทบต่างๆ รวมทั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมจะเป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขประกอบการอนุญาตประทานบัตร ซึ่งหากผู้ขอ ไม่ปฏิบัติตามจะเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนประทานบัตรได้ ๓.๓ ในขั้นตอนการทำ�เหมือง ผู้ขอจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามรายละเอียดเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต ทั้งเงื่อนไขที่เป็น ข้อบังคับตามกฎหมายและเงือ่ นไขทีก่ รมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่กำ�หนดเพิม่ เติมในส่วนการจัดตัง้ กองทุน การเอาประกันภัย การปิดเหมือง การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงการฟื้นฟูพื้นที่ในช่วงระหว่างการ ทำ�เหมืองและภายหลังการปิดเหมือง (๑) กองทุ น ฟื้ น ฟู พื้ น ที่ เ หมื อ งแร่ เพื่ อ ใช้ เ ป็ น งบประมาณในการฟื้ น ฟู พื้ น ที่ โ ครงการ ทั้ ง พื้ น ที่ ที่ ผ่ า นการ ทำ�เหมืองแล้ว พื้นที่กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และพื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำ�เหมือง เพื่อฟื้นคืนสภาพพื้นที่ให้สอดคล้อง กับแผนการทำ�เหมือง และเป็นไปตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม (๒) กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ เพื่อใช้เป็นงบประมาณในการดำ�เนินกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการ เฝ้าระวังสุขภาพประชาชนรอบพื้นที่เหมืองแร่ ทั้งในช่วงระหว่างการทำ�เหมืองและภายหลังสิ้นสุดการทำ�เหมือง


20

November-December 2017

(๓) กองทุนประกันความเสีย่ ง เพือ่ ใช้เป็นงบประมาณสำ�หรับแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อมและสุขภาพ ที่เกิดจากการทำ�เหมืองแร่และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (๔) การวางหลักประกันการฟืน้ ฟูสภาพพืน้ ทีก่ ารทำ�เหมืองและเยียวยาผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการทำ�เหมืองตามที่ คณะกรรมการแร่กำ�หนด เพือ่ เป็นหลักประกันให้ผปู้ ระกอบการฟืน้ ฟูพนื้ ทีผ่ า่ นการทำ�เหมืองแร่และจัดการสภาพแวดล้อม ในเขตประทานบัตรตามทีไ่ ด้กำ�หนดเป็นมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิง่ แวดล้อมได้ครบถ้วน และดูแลสภาพพืน้ ที่ โครงการภายหลังสิ้นสุดการทำ�เหมืองเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตามที่กำ�หนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามข้อ ๓.๒ และแผนการปิดเหมือง รวมทั้งเป็นหลักประกันในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ในกรณีที่เกิดผลกระทบจาก การทำ�เหมืองแร่ (๕) การจัดทำ�ประกันภัยความรับผิดต่อชีวติ ร่างกาย ทรัพย์สนิ ของบุคคลภายนอกตามวงเงินทีค่ ณะกรรมการแร่ กำ�หนด เพือ่ ให้ผขู้ อจัดทำ�ประกันภัยทีค่ มุ้ ครองความเสียหายต่อชุมชนทีอ่ าจจะเกิดขึน้ จากผลกระทบจากการทำ�เหมืองแร่ (๖) การประกอบการจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ซึ่งกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จะกำ�หนดให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามความเหมาะสม การบริหารจัดการกองทุนต่างๆ จะใช้หลักเกณฑ์ตามที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนด ๓.๔ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการทำ�เหมือง การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม ผู้ประกอบการจะต้อง ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำ�หนดในการจัดทำ�แนวพื้นที่กันชนการทำ�เหมืองและการจัดทำ�ข้อมูลพื้นฐาน ด้านสิง่ แวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ซึง่ อย่างน้อยจะต้องมีการศึกษาข้อมูลทางธรณีวทิ ยาเกีย่ วกับการปนเปือ้ นของ โลหะหนักหรือสารพิษ และการเจ็บป่วยทีอ่ าจเกิดจากสารเคมีหรือมลพิษทีเ่ กิดจากการทำ�เหมืองของประชาชนในพืน้ ทีก่ อ่ น และหลังการทำ�เหมือง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำ�หรับเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการ ทำ�เหมืองให้ชดั เจน เพือ่ ป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ทัง้ นี้ การตรวจวัดคุณภาพสิง่ แวดล้อมและตรวจสุขภาพ ของประชาชนควรเริ่มดำ�เนินการตั้งแต่ขั้นตอนการสำ�รวจแร่ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่สมบูรณ์ที่สุด ๔. ด้านการกำ�กับดูแลการประกอบการ เพือ่ ให้การพัฒนาแหล่งแร่ทองคำ�ของผูป้ ระกอบการเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย ถูกหลักวิชาการ และสอดคล้อง ตามเงือ่ นไขต่างๆ ประกอบการอนุญาตประทานบัตร และใบอนุญาตต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ให้มนั่ ใจได้วา่ การดำ�เนินงานต่างๆ ของผู้ประกอบการเป็นไปโดยเรียบร้อย ไม่มีเหตุในการสร้างอันตราย ความเสียหาย หรือข้อขัดแย้งกับชุมชนหรือท้องถิ่น ให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำ�หนดนโยบายในการกำ�กับดูแลการประกอบการตั้งแต่ขั้นการสำ�รวจแร่ การทำ�เหมืองแร่ จนถึงขั้นการฟื้นฟูพื้นที่ ดังต่อไปนี้ ๔.๑ กำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของผูป้ ระกอบการอย่างใกล้ชดิ ตัง้ แต่ขน้ั ตอนการสำ�รวจแร่ การทำ�เหมืองแร่ การแต่งแร่ การประกอบโลหกรรม การจัดการของเสียจากโครงการ การปฏิบตั ติ ามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการฟืน้ ฟูสภาพพืน้ ที่ โดยจะบังคับใช้กฎหมายและใช้ธรรมาธิบาลสิง่ แวดล้อมเป็นเครือ่ งมือสำ�คัญในการดำ�เนินการ ๔.๒ เพือ่ ประโยชน์ในการควบคุมและเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำ�เหมืองแร่ทองคำ� ต้องมีการแต่งตัง้ คณะกรรมการ ควบคุมเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำ�เหมืองตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำ�หนด ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตัวแทนผู้ถือประทานบัตร ผู้แทนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และผู้ทรงคุณวุฒิดา้ นสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพ เพื่อตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำ�เหมือง โดยผู้ถือประทานบัตรต้องรับผิดชอบ


ค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินการของคณะกรรมการ ๔.๓ เมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏว่าการทำ�เหมืองแร่ทองคำ�เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพของ ประชาชนและไม่อาจหาข้อยุติได้ ให้คณะกรรมการแร่สอบหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยโดยรวดเร็วและเป็นธรรมตาม หลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำ�หนด ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฏว่าผลกระทบเกิดจากการทำ�เหมือง ผู้ถือประทานบัตรจะต้องเยียวยาผลกระทบภายในระยะ เวลาที่กำ�หนด หากผู้ถือประทานบัตรไม่เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่นำ�เงิน จากหลั ก ประกั น หรื อ ค่ า สิ น ไหมทดแทนจากการประกั น ภั ย มาเป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยในการดำ�เนิ น การ และแจ้ ง ให้ ผู้ ถื อ ประทานบัตรนำ�หลักประกันมาวางหรือจัดทำ�ประกันภัยให้ครบถ้วนตามเดิม ในกรณีทผี่ ถู้ อื ประทานบัตรไม่วางหลักประกัน หรือจัดทำ�ประกันภัยให้ครบถ้วนตามเดิมภายในกำ�หนดเวลาโดยไม่มีเหตุอันควร ให้อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่มีคำ�สั่งเพิกถอนประทานบัตร ๔.๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายที่เกิดจากการประกอบกิจการ ในกรณีที่ ค่าเสียหายเกิดขึน้ ในเขตทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้สนั นิษฐานไว้กอ่ นว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากการกระทำ�ของผูไ้ ด้รบั อนุญาต ศาลมีอำ�นาจกำ�หนดค่าสินไหมทดแทนสำ�หรับค่าเสียหายต่อจิตใจทีเ่ ป็นผลเนือ่ งมาจากความเสียหายทางร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยด้วย และหากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ได้รับอนุญาตรู้อยู่แล้วว่าการประกอบกิจการไม่ปลอดภัยแต่ยัง ดำ�เนินการ หรือไม่รเู้ พราะเหตุประมาทอย่างร้ายแรงแล้วยังไม่ดำ�เนินการใดๆ ตามสมควร ให้ศาลมีอำ�นาจสัง่ ให้ผปู้ ระกอบ กิจการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นจากจำ�นวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงที่ศาลกำ�หนดได้ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่จริงนั้น ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๔๒ ของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐

November-December 2017

21

๕. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกขั้นตอน ทั้งในด้านการอนุญาต ตรวจสอบกำ�กับดูแล ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ ทองคำ�จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๕.๑ ในการขออนุญาตสำ�รวจแร่หรือประทานบัตรเหมืองแร่ จะต้องมีการแจ้งให้ประชาชนในพื้นที่ทราบล่วงหน้า ตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำ�หนด ๕.๒ ในขั้นตอนการขอประทานบัตร ให้มีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำ�หนด สำ�หรับกรณีที่ประชาชนในชุมชนไม่เห็นด้วยกับการทำ�เหมือง และผู้ออกประทานบัตรไม่สามารถวินิจฉัยให้ได้ข้อยุติ ต้องจัดให้มีการทำ�ประชามติของประชาชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตรตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำ�หนด ๕.๓ ในขั้นตอนการจัดทำ�รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนตาม หลักเกณฑ์และแนวทางที่ทางราชการกำ�หนด ๕.๔ ในขั้นตอนการจัดทำ�รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนตาม หลักเกณฑ์และแนวทางที่ทางราชการกำ�หนด ๕.๕ ในขั้นตอนการประกอบกิจการ ให้มีตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของประชาชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการ ควบคุมเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำ�เหมืองตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำ�หนด เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมในการควบคุม และเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำ�เหมือง


๖. ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน เพื่อให้การประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ�ของประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ ประเทศ ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างเหมาะสมเป็นธรรม รวมถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคมและ ท้ อ งถิ่ น เกี่ ยวกั บ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมของผู้ ป ระกอบการเหมื อ งแร่ ท องคำ� ให้ ก รมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและ การเหมืองแร่กำ�หนดนโยบายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ� ดังต่อไปนี้ ๖.๑ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และประชาชนผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในการส่งเสริมและกำ�กับดูแลการประกอบการเหมืองแร่ ทองคำ�ให้เป็นไปตามหลักธรรมาธิบาล มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งมีความระมัดระวังต่อการป้องกัน และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ๖.๒ ผูถ้ อื ประทานบัตรต้องปฏิบตั ติ ามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดระยะเวลาดำ�เนินโครงการ โดยต้อง ผ่านการทวนสอบมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) และต้องให้ความร่วมมือเข้าร่วม โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ๖.๓ ยกระดับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ�ให้มีความรับผิดชอบตามมาตรฐานสากล (Responsible Gold Mining Practice) ทั้งด้านการทำ�เหมือง การประกอบโลหกรรม และการหลอมทองคำ�บริสุทธิ์ โดยมีการตรวจสอบและ ประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานเป็นระยะ ๆ

22

November-December 2017

๗. ด้านอื่นๆ ๗.๑ ผู้ถือประทานบัตรแร่ทองคำ� หรือแร่ชนิดอื่นและแร่ทองคำ�รวมอยู่ด้วยมีความประสงค์ขอต่ออายุประทานบัตร หรือผู้ถือประทานบัตรแร่ชนิดอื่นมีความประสงค์ขอเพิ่มชนิดแร่ทองคำ�อีกชนิดหนึ่งลงในประทานบัตร ให้ใช้นโยบายนี้ โดยอนุโลม ๗.๒ นโยบายนี้ไม่ครอบคลุมถึงการร่อนแร่ทองคำ� โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะประกาศกำ�หนดหลักเกณฑ์ในการ อนุญาต ควบคุม และกำ�กับดูแลการร่อนแร่เป็นการเฉพาะ ๗.๓ บรรดานโยบาย ระเบียบ คำ�สั่ง และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ�ในส่วนที่ กำ�หนดไว้แล้วในนโยบายนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับนโยบายนี้ ให้ใช้นโยบายนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ (นายอุตตม สาวนายน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม


อนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

เรื่อง กำ�หนดชนิดแร่ ปริมาณแร่ สภาพ และพื้นที่ที่อยู่ในความควบคุมเกี่ยวกับการซื้อแร่ การขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรกำ�หนดชนิดแร่ ปริมาณแร่ สภาพ และพื้นที่ใด เป็นแร่ที่อยู่ในความควบคุมเกี่ยวกับการซื้อแร่ การขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๙๘ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำ�หนดชนิดแร่ ปริมาณแร่ สภาพ และพื้นที่ที่อยู่ ในความควบคุมเกี่ยวกับการซื้อแร่ การขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำ�หนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ กำ�หนดให้แร่ตามชนิด สภาพ และปริมาณดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด เป็นแร่ที่อยู่ในความควบคุมการ ซื้อแร่ การขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ (๑) แร่ทองคำ� ไม่ว่าจะมีปริมาณเท่าใด (๒) แร่ดีบุก ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๓) แร่เหล็ก ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๔) แร่ทองแดง ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๕) แร่สังกะสี ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๖) แร่พลวง ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๗) แร่ตะกั่ว ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๘) แร่แมงกานีส ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๙) แร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๑๐) แร่อิลเมไนต์ ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม (๑๑) แร่โมนาไซต์ ปริมาณเกินสิบกิโลกรัม November-December 2017

ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

23


ข่าวเศรษฐกิจเหมืองแร่

24

November-December 2017

กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีรัฐบาลไทยเข้าสู่ อนุญาโตตุลาการ พร้อมดูแล ผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน ดร.พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ยื่นให้ ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่าง ประเทศว่า สืบเนื่องจากประชาชนมีการร้องเรียนและ คั ด ค้ า นการทำ � เหมื อ งแร่ ท องคำ � มาเป็ น เวลานานว่ า อาจทำ�ให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยชุมชนในระยะยาว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงมีคำ�สั่ง ที่ ๗๒/๒๕๕๙ เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการ ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ� เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ ให้ระงับการอนุญาตและการทำ�เหมืองแร่ทองคำ� ทัง้ หมดในประเทศไทยเป็นการชัว่ คราว รวมทัง้ กำ�หนดให้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกำ�หนดและจัดให้มมี าตรการเยียวยา แก้ไขผลกระทบด้านต่างๆ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด (คิงส์เกต) ประเทศออสเตรเลีย ผูถ้ อื หุน้ ใหญ่บริษทั อัครา รีซอร์สเซส จำ � กั ด (มหาชน) ผู้ ถื อ ประทานบั ต รเหมื อ งแร่ ท องคำ � จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ อ้างว่าได้รับผลกระทบจาก คำ�สั่ง คสช. ดังกล่าว จึงได้ยื่นหนังสือขอปรึกษาหารือกับ รัฐบาลไทย เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ โดยอาศัยสิทธิ ตามความตกลงการค้ า เสรี ร ะหว่ า งไทย-ออสเตรเลี ย (Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA) ซึง่ อนุญาตให้บริษทั เอกชนของประเทศคูค่ า้ มีสทิ ธิยนื่ คำ�ขอ ปรึกษาหารือเพือ่ เจรจาได้โดยตรงกับประเทศคูภ่ าคี และ

ล่ า สุ ด คิ ง ส์ เ กตได้ ใ ช้ สิ ท ธิ ดั ง กล่ า ว ยื่ น ให้ คิ ง ส์ เ กตและ ประเทศไทยเข้ า สู่ ก ระบวนการระงั บ ข้ อ พิ พ าทตาม กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ รั ฐ บาลได้ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการดำ � เนิ น การระงั บ ข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่ ว มเป็ น กรรมการ อาทิ กระทรวงการต่ า งประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม สำ�นักงานอัยการ สูงสุด เป็นต้น เพือ่ เจรจาและหาข้อยุตอิ ย่างต่อเนือ่ งจนถึง ปัจจุบนั ซึง่ คณะกรรมการฯ ดำ�เนินการเจรจาโดยยึดหลัก การคำ�นึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน รวมทัง้ ให้ความเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกับ กรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการ แร่ทองคำ�ใหม่ และพระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่ ที่รัฐบาล ได้ยกร่างขึ้นและมีผลบังคับใช้แล้ว ทั้งนี้ กรอบนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการแร่ทองคำ�ใหม่ และพระราชบัญญัตแิ ร่ฉบับใหม่มงุ่ หวังให้การทำ�เหมืองแร่ ชนิ ด ต่ า งๆ รวมทั้ ง เหมื อ งแร่ ท องคำ � สนองตอบแนว นโยบายของรัฐในอันทีจ่ ะสร้างสมดุลแห่งประโยชน์อนั เกิด จากการทำ � เหมื อ งทั้ ง ด้ า นสั ง คม ชุ ม ชน สิ่ ง แวดล้ อ ม สุขภาพ วิถชี วี ติ ความเป็นอยูข่ องประชาชน สร้างมูลค่าเพิม่ ทางเศรษฐกิจให้คุ้มค่า และกระจายผลประโยชน์จากการ ขุดค้นทรัพยากรของชาติให้เป็นธรรม เกือ้ หนุนการพัฒนา อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งกรอบนโยบายบริหารจัดการแร่ ทองคำ�ใหม่และพระราชบัญญัติแร่ฉบับใหม่นี้ จะทำ�ให้ การบริหารจัดการ และการกำ�กับดูแลการดำ�เนินกิจการ เกี่ยวกับแร่ทองคำ�และแร่อื่นๆ ของประเทศไทยเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และรัดกุมมากขึน้ กว่าในอดีต


กระทรวงอุตสาหกรรมขอยืนยันว่า ได้ดำ�เนินการ ตามกระบวนการและขั้ น ตอนต่ า งๆ ตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้องมาอย่างเคร่งครัด รวมถึงการเตรียมการสำ�หรับ การระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศ การเข้ า สู่ ก ระบวนการระงั บ ข้ อ พิ พ าทตาม กระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการ ปฏิบตั ติ ามพันธกรณีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีระหว่าง ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ซึง่ มีลกั ษณะเป็นการหาข้อยุติ โดยคณะบุคคลที่สามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันและยอมรับ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในกระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ ทัง้ สองฝ่ายยังสามารถดำ�เนินการเจรจาเพือ่ หา ข้อยุติที่ยอมรับร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังไม่ได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของคิงส์เกตอย่างใดทั้งสิ้น

วิษณุยันรัฐไม่เสียค่าโง่เหมืองทอง

กพร. เดินหน้าผลักดันสถานประกอบการ เหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากล เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้ โครงการ CSR-DPIM มีสถานประกอบการ ที่ได้มาตรฐาน จำ�นวน 91 แห่ง คิดเป็นมูลค่ากว่า 88 ล้านบาท กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าผลักดันและส่งเสริม ผู้ประกอบการเหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม ภายใต้ โ ครงการ CSR-DPIM อย่างต่อเนื่อง โดยตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา มี ผู้ ป ระกอบการได้ ม าตรฐานแล้ ว 91 แห่ ง และใช้ งบประมาณสนับสนุนเพือ่ พัฒนาสังคมและสิง่ แวดล้อม มูลค่ากว่า 88 ล้านบาท เพื่อมุ่งหวังให้การประกอบ กิจการเหมืองแร่อยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ อย่างยั่งยืน จุลพงษ์ ทวีศรี รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน และการเหมื อ งแร่ รั ก ษาราชการแทนอธิ บ ดี ก รม อุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า อุตสาหกรรม เหมื อ งแร่ เป็ น อุ ต สาหกรรมที่ มี ค วามสำ � คั ญ ต่ อ ระบบ เศรษฐกิจของไทย ในฐานะอุตสาหกรรมต้นน้ำ�สำ�หรับ

November-December 2017

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยกรณี เหมื อ งแร่ ท องคำ � ว่ า รั ฐ บาลให้ ยุ ติ ก ารต่ อ ใบอนุ ญ าต ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ�จนกว่าจะดำ�เนินการ อะไรบางอย่างเสร็จแล้ว จึงจะกลับมาพิจารณาการต่อใบ อนุญาตดังกล่าวอีกครั้ง ไม่ใช่การยกเลิกใบอนุญาต ส่วน ที่มีข่าวการฟ้องร้องกันเป็นการยื่นฟ้องตามกระบวนการ อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ โดยคณะอนุญาโตตุลาการ จะมี 3 คน เป็นการแต่งตั้งจากบริษัทคิงส์เกตฯ ผู้ถือหุ้น ของบริษัทอัคราฯ 1 คน รัฐบาลแต่งตั้ง 1 คน และต้องหา ประธานอีก 1 คน สำ�หรับประเด็นที่ไประบุว่ารัฐบาลแพ้คดีแล้วต้อง ชดเชย 30,000 ล้านบาทนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก

บริษัท คิงส์เกตฯ ไม่เคยยื่นข้อเรียกร้องเข้ามา แต่อาจจะ ยื่นในไม่ช้า โดยคณะกรรมการดำ�เนินการระงับข้อพิพาท ทีม่ ปี ลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำ�เนินการ เจรจามาหลายเดือนแล้ว

25


November-December 2017

26

ภาคการผลิต ซึ่งผลผลิตจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่กว่า ร้อยละ 87 คิดเป็นมูลค่ากว่า 78,000 ล้านบาท ใช้เป็น วัตถุดิบสำ�หรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตวัสดุ ก่อสร้าง อุตสาหกรรมซีเมนต์ อุตสาหกรรมเซรามิก แก้ว และกระจก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นภาค อุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และชุมชน จึงจำ�เป็นต้องกำ�กับดูแลให้สถานประกอบการ เหมืองแร่มจี ติ สำ�นึกและความรับผิดชอบต่อการประกอบการ ทั้งด้านความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยรอบ ดังนั้น กพร. จึงได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ในการ ที่จะผลักดันและส่งเสริมให้สถานประกอบการเหมืองแร่ เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม เพิ่มมากขึ้น ภายใต้ “โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมแร่ ให้ มี ม าตรฐานสากลเพื่ อ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม (CSR-DPIM)” เพื่ อ ให้ ส ถานประกอบการเหมื อ งแร่ สามารถประกอบการได้อย่างต่อเนือ่ งและอยูร่ ว่ มกับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างความเข้าใจ และการยอมรั บ ในการนำ � ทรั พ ยากรแร่ ม าใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์สูงสุดและเกิดความมั่นคงในระยะยาว ทั้งนี้ การดำ�เนินงานภายใต้โครงการ CSR-DPIM ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่า นมา มีสถานประกอบการ เหมืองแร่ที่ได้ตามมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบ ต่อสังคม รวม 91 แห่ง ในจำ�นวนนี้มีสถานประกอบการ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย CSR-DPIM จำ�นวน 58 แห่ง โดยสร้างให้เกิดโครงการและแผนงานการพัฒนาร่วมกับ ชุมชมโดยรอบ ซึ่งนำ�มาสู่ความสัมพันธ์อันดีและการอยู่ ร่วมกันอย่างยัง่ ยืนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนา ชุ ม ชนจากผู้ ป ระกอบการ CSR-DPIM จำ � นวน 56 โครงการ มูลค่าการสนับสนุนจำ�นวน 5,607,300 บาท

แผนงานด้ านสิ่ ง แวดล้ อม มู ลค่ าการสนั บ สนุ นจำ �นวน 36,487,400 บาท และแผนงานยกระดั บ คุ ณ ภาพ ชี วิ ต ของผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย มู ล ค่ า การสนั บ สนุ น จำ � นวน 46,395,117 บาท คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนทางสังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่เข้าร่วม โครงการ รวมกว่า 88,489,817 บาท สำ�หรับในปี 2561 กพร. ยังคงมุ่งมั่นผลักดันให้สถานประกอบการเหมืองแร่ มี ก ารประกอบการที่ ไ ด้ ม าตรฐานสากลในด้ า นความ รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้การประกอบการเหมืองแร่ สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป สำ�หรับโครงการ CSR-DPIM ได้กำ�หนดมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรม เหมืองแร่ออกเป็น 7 หัวข้อ ได้แก่ การกำ�กับดูแลองค์กร หลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การดำ�เนินงานอย่างเป็นธรรม ผูใ้ ช้แร่ และการมีสว่ นร่วม ในการพั ฒนาชุ ม ชน โดยสถานประกอบการที่ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการจะต้องทบทวนการประกอบการตามมาตรฐานทัง้ 7 หัวข้อ เพื่อกำ�หนดโครงการหรือแผนงานที่ต้องปฏิบัติ หรือควรปฏิบัติเพิ่มเติมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำ�หนด รวมทั้งเพื่อนำ�ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง การประกอบการให้ความรับผิดชอบต่อสังคมในระยะยาว


November-December 2017

27

ที่มา : กพร. เศรษฐกิจปริทรรศน์ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐


สภาการเหมืองแร่เชิญหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ร่วมแลกเปลีย่ นข้อคิดเห็นด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ สภาการเหมืองแร่ จัดประชุมร่วมกับกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กรมทรัพยากรธรณี และ สำ � นั ก งานนโยบายและแผนทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ซึง่ จะเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของ ประเทศให้กา้ วหน้าและพัฒนาอย่างยัง่ ยืน พร้อมกันนีไ้ ด้เชิญ ผู้ แ ทนจากหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ยวข้ อ งร่ ว มงานเลี้ ย งปี ใ หม่ ด้ ว ย บรรยากาศที่ เ ป็ น กั น เอง เมื่ อวั น ที่ 12 มกราคม 2561 ณ ห้ อ งเพชรชมพู ชั้ น 3 โรงแรมดิ เ อมเมอรั ล ด์ ถนน รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

คุณเกรียงศักดิ์ หล่อวัฒนตระกูล ประธาน กรรมการสภาการเหมืองแร่

คุณสมพร อดิศักดิ์พานิชกิจ เลขาธิการสภาการเหมืองแร่

กพร. รับสมัครเข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตร

28

November-December 2017

“โครงการอบรมทบทวนความรูเ้ พือ่ การต่ออายุใบรับรองการผ่านการฝึกอบรม เป็นผูค้ วบคุมการใช้วตั ถุระเบิดในงานเหมืองแร่” ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ กรมอุ ต สาหกรรมพื้น ฐานและการเหมื อ งแร่ (กพร.) ตระหนักถึงความสำ�คัญของการใช้วัตถุระเบิดในงานวิศวกรรม โดยเฉพาะในงานเหมืองแร่ ซึง่ ทีผ่ า่ นมากรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน และการเหมืองแร่ ได้ส่งเสริมงานด้านวิชาการ ได้แก่ การให้คำ� แนะนำ�ปรึกษา และจัดฝึกอบรมสัมมนาระยะสัน้ เพือ่ ถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำ�กับดูแล ให้ผู้ใช้วัตถุระเบิดดำ�เนินการภายใต้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๑๓) ออกตามความในพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ดังนัน้ กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่จงึ ได้ออก ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่องผู้ ควบคุมการใช้วตั ถุระเบิดในงานเหมืองแร่ ลงวันที่ ๑๖ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เพือ่ แก้ไขปัญหาการใช้วตั ถุระเบิดให้มคี วามปลอดภัย

พร้อมทัง้ จัดฝึกอบรมหลักสูตร “โครงการขึน้ ทะเบียนผูค้ วบคุม การใช้วตั ถุระเบิดในงานเหมืองแร่” เพือ่ ดำ�เนินการจัดฝึกอบรม ถ่ายทอดความรูแ้ ละเทคโนโลยี และทำ�การทดสอบความรู้ พร้อม ออกใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมเป็น “ผู้ควบคุมการใช้วัตถุ ระเบิดในงานเหมืองแร่” ล่าสุด กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ ได้จดั โครงการอบรมทบทวนความรูเ้ พือ่ การต่ออายุใบรับรองการผ่าน การฝึกอบรมเป็นผู้ควบคุมการใช้วัตถุระเบิดในงานเหมืองแร่ ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ในวันศุกร์ท่ี ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมทองคำ� ชัน้ ๑ กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน และการเหมืองแร่ กรุงเทพฯ

*หมดเขตรับสมัคร วันศุกร์ท่ี ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


เหมืองแร่สีเขียว

ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง สถานประกอบการได้รับรางวัลเหมืองแร่สีเขียวประจำ�ปี ๒๕๖๐ ตามที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ประกาศนโยบาย “เหมืองแร่สีเขียว” (Green Mining Policy) เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ โดยเน้นการทำ�งานเชิงรุก เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทั้งในด้านการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ พร้อมกับการ สนับสนุนและผลักดันให้สถานประกอบการดำ�เนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการเปิดโอกาสให้ชุมชนและสังคมมี ส่วนร่วมมากที่สุด และจัดให้มีการประกวดเพื่อรับรางวัลเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining Award) นั้น กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ พร้อมกับหน่วยงานที่เกีย่ วข้องได้ดำ�เนินการพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการ ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์เหมืองแร่สีเขียวและรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว ประจำ�ปี ๒๕๖๐ ปรากฏว่ามีผู้ผ่านเกณฑ์ประเมิน และมีสิทธิ์ได้รับรางวัลเหมืองแร่สีเขียวและรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว ประจำ�ปี ๒๕๖๐ ดังนี้

รางวัลเหมืองแร่สีเขียว ประจำ�ปี ๒๕๖๐ ประเภทเหมืองแร่ ๑. บริษัท กิตติวดีศิลาพาณิชย์ จำ�กัด ๒. นายกิตติ กิตติชนม์ธวัช ๓. บริษัท เขาบ่อคอนสทรัคชัน จำ�กัด ๔. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำ�กัด (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ๕. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำ�กัด (จังหวัดลพบุรี) ๖. นายไพฑูรย์ คุณาธารศักดิ์ ๗. นายสุทิน ขีดขิน ๘. บริษัท เพชรสยามศิลาตราด จำ�กัด ๙. บริษัท โรงโม่หินศิลามหานคร จำ�กัด รับช่วงฯ จาก บริษัท น.วาสิกิจ จำ�กัด ๑๐. บริษัท ศิลาเขาแก้ว จำ�กัด ๑๑. บริษัท เหมืองหินวรจันทร์ จำ�กัด รับช่วงฯ จาก นายธิติพรชัย สินสมุทรธาวิน

November-December 2017

ประเภทโรงงานโม่ บด หรือย่อยหิน ๑๒. บริษัท ชุมพรการศิลา จำ�กัด ๑๓. บริษัท เขาบ่อคอนสทรัคชัน จำ�กัด ๑๔. นายสุทิน ขีดขิน ๑๕. บริษัท โรงโม่หินศิลามหานคร จำ�กัด ๑๖. บริษัท บูรพาแอกกริเกต จำ�กัด ๑๗. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด นางรองศิลาทอง ๑๘. บริษัท ศิลาเขาแก้ว จำ�กัด ๑๙. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด เขาตาเก้า ๒๐. บริษัท เหมืองหินวรจันทร์ จำ�กัด

29


ประเภทโรงแต่งแร่ ๒๑. บริษัท พิพัฒน์กร จำ�กัด (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ๒๒. บริษัท ควอลิตี้ มิเนอรัล จำ�กัด (มหาชน) ๒๓. บริษัท เกียเอ็นเนอร์ยี่ จำ�กัด ๒๔. บริษัท อิมเมอรี่ส์ มินเนอรัลส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด

30

November-December 2017

รางวัลรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว ประจำ�ปี ๒๕๖๐ ประเภทเหมืองแร่ ๑. บริษัท ตรัง ยู ซี จำ�กัด ๒. บริษัท ศิลาอารี จำ�กัด ๓. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ชุติวรรณ ๔. บริษัท ผาทองทุ่งสง จำ�กัด ๕. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด เลิศวัฒนาการโยธา ๖. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำ�กัด ๗. นายลำ�พูน กองศาสนะ ๘. บริษัท ทรูสโตน จำ�กัด ๙. บริษัท ไจแอนท์ ร็อค ๑๙๙๐ จำ�กัด ๑๐. บริษัท ชาญยุทธการศิลาเลย (๑๙๙๗) จำ�กัด ๑๑. บริษัท มรรคาสาธิต จำ�กัด รับช่วงฯ จาก บริษัท ศิลาสากลอุบลราชธานี จำ�กัด ๑๒. บริษัท สยามสโตน แอ๊กกริเกรท จำ�กัด (จังหวัดเชียงใหม่) รับช่วงฯ จาก บริษัท หยุ่นศิลาเชียงใหม่ จำ�กัด และบริษัท หยุ่นศิลาอิสาน จำ�กัด ๑๓. บริษัท แพร่ธำ�รงวิทย์ จำ�กัด รับช่วงฯ จาก บริษัท ทุ่งสีคอนสตรัคชั่น จำ�กัด ๑๔. บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด (เหมืองแร่แม่ทาน) ๑๕. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด โรงโม่หินชัยประภารุ่งเรือง ๑๖. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (โครงการเหมืองแร่หินปูน) ๑๗. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (โครงการเหมืองแร่ลิกไนต์) ๑๘. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ศิลาแม่ทะ รับช่วงฯ จาก ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด หาญกิตติชัย ๑๙. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำ�ปาง) จำ�กัด ๒๐. บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำ�กัด ๒๑. บริษัท มินเนอรัล รีซอร์สเซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ๒๒. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด บุญบันดาลการแร่ ๒๓. บริษัท สหชาติเศรษฐกิจ จำ�กัด ๒๔. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) (จังหวัดนครสวรรค์) ๒๕. บริษัท วิษณุประทานพร (๒๕๕๕) จำ�กัด รับช่วงฯ จาก ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด เทพศิลาอุตสาหกรรม ๒๖. บริษัท สโตนวัน จำ�กัด (มหาชน) ๒๗. บริษัท ทัศนาชลบุรี จำ�กัด ๒๘. บริษัท สยามสโตน แอ๊กกริเกรท จำ�กัด (จังหวัดชลบุรี) รับช่วงฯ จาก บริษัท รวมทรัพย์สิน จำ�กัด ๒๙. บริษัท เกลือพิมาย จำ�กัด


๒๙. บริษัท เกลือพิมาย จำ�กัด ๓๐. บริษัท สายจำ�รัสปูนขาว จำ�กัด รับช่วงฯ จาก บริษัท สิรินิธิ จำ�กัด ๓๑. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด นางรองศิลาทอง ๓๒. บริษัท หินเพชร จำ�กัด รับช่วงฯ จาก ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด จิบฮงล้งการช่างบุรีรัมย์ ๓๓. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด หินบุรีรัมย์ ๓๔. บริษัท ปูนซีเมนต์ ตราลูกโลก จำ�กัด ๓๕. บริษัท ศิลาภูพระลาน จำ�กัด รับช่วงฯ จาก บริษัท หินอ่อน จำ�กัด ๓๖. บริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำ�กัด (มหาชน) ๓๗. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำ�กัด (มหาชน) (จังหวัดสระบุรี) ๓๘. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำ�กัด ๓๙. บริษัท เคมีแมน จำ�กัด ๔๐. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) (จังหวัดสระบุรี) ๔๑. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำ�กัด (จังหวัดสระบุรี) ๔๒. บริษัท ศิลาสานนท์ จำ�กัด ๔๓. บริษัท พี.แอนด์ เอส.โดโล-ไลม์ จำ�กัด รับช่วงฯ จาก บริษัท พี.แอนด์ เอส.มิลลิ่ง จำ�กัด ๔๔. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ศิลาเขาน้อย ๔๕. บริษัท เทพประทานการแร่ จำ�กัด ๔๖. บริษัท ศิลาสมบูรณ์ทรัพย์ จำ�กัด ๔๗. บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำ�กัด (มหาชน) ๔๘. บริษัท ศุภศิลาชัย จำ�กัด ๔๙. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ปฐมวัฒนโลหะกิจ ๕๐. บริษัท ศรีปฐมอุตสาหกรรม จำ�กัด ๕๑. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำ�กัด (มหาชน) (จังหวัดสุพรรณบุรี)

November-December 2017

31

ประเภทโรงงานโม่ บด หรือย่อยหิน ๕๒. บริษัท ตรัง ยู ซี จำ�กัด ๕๓. บริษัท ศิลาอารี จำ�กัด ๕๔. บริษัท นครรัตนศิลา จำ�กัด ๕๕. บริษัท ผาทองทุ่งสง จำ�กัด ๕๖. บริษัท เพิ่มผลศิลา จำ�กัด ๕๗. นายลำ�พูน กองศาสนะ ๕๘. บริษัท ไจแอนท์ ร็อค ๑๙๙๐ จำ�กัด ๕๙. บริษัท ชาญยุทธการศิลาเลย (๑๙๙๗) จำ�กัด ๖๐. บริษัท กิตติวดีศิลาพาณิชย์ จำ�กัด ๖๑. บริษัท สยามสโตน แอ๊กกริเกรท จำ�กัด (จังหวัดเชียงใหม่) ๖๒. บริษัท แพร่ธำ�รงวิทย์ จำ�กัด ๖๓. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด หาญกิตติชัย ๖๔. บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำ�กัด ๖๕. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด เทพศิลาอุตสาหกรรม ๖๖. บริษัท เทพศิลา แอกรีเกรท ซัพพลาย จำ�กัด


32

November-December 2017

๖๗. บริษัท สโตนวัน จำ�กัด (มหาชน) ๖๘. บริษัท ทัศนาชลบุรี จำ�กัด ๖๙. บริษัท สยามสโตน แอ๊กกริเกรท จำ�กัด (จังหวัดชลบุรี) ๗๐. บริษัท ขุมเงินขุมทอง จำ�กัด ๗๑. บริษัท หินเพชร จำ�กัด ๗๒. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด หินบุรีรัมย์ ๗๓. บริษัท ศิลาภูพระลาน จำ�กัด ๗๔. บริษัท เหมืองหินศิริพัฒนาหน้าพระลาน จำ�กัด ๗๕. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำ�กัด ๗๖. บริษัท พรพิศศิลา จำ�กัด ๗๗. บริษัท ศิลาสานนท์ จำ�กัด ๗๘. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ศิลาเขาน้อย ๗๙. บริษัท เหมืองศิลาสยาม จำ�กัด ๘๐. บริษัท ศุภศิลาชัย จำ�กัด ๘๑. บริษัท ราชบุรีเอ็นเตอร์ไพรส์ จำ�กัด ๘๒. บริษัท ปฐมศิลาสหมิตร จำ�กัด ๘๓. บริษัท ศรีปฐมอุตสาหกรรม จำ�กัด ๘๔. บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำ�กัด ประเภทโรงแต่งแร่ ๘๕. บริษัท สินหลวง จำ�กัด ๘๖. บริษัท เอ็ม.อาร์.ดี. อี.ซี.ซี. จำ�กัด ๘๗. บริษัท ภัทรารัตน์เคลย์แอนด์มิเนอรัล (๑๙๙๒) จำ�กัด ๘๘. บริษัท ซิเบลโก้มิลเนอร์รัลล์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ๘๙. บริษัท มินเนอรัล รีซอร์สเซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด สาขาสบปราบ (จังหวัดลำ�ปาง) ๙๐. บริษัท หินแสงวัฒนาฤกษ์ (กำ�แพงเพชร) จำ�กัด ๙๑. บริษัท พิพัฒน์กร จำ�กัด (จังหวัดตาก) ๙๒. บริษัท สุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย) จำ�กัด ๙๓. บริษัท ระยองอินเตอร์เนชันแนลแซนด์ซัพพลาย จำ�กัด ๙๔. บริษัท ธรรมชาติทรายแก้ว จำ�กัด ๙๕. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำ�กัด ๙๖. บริษัท เคมีแมน จำ�กัด ๙๗. บริษัท พี.แอนด์ เอส.โดโล-ไลม์ จำ�กัด ๙๘. บริษัท ซิเบลโก้มิลเนอร์รัลส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด สาขาบางเลน (จังหวัดนครปฐม) ประเภทโรงประกอบโลหกรรม ๙๙. บริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำ�กัด ๑๐๐. บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำ�กัด ๑๐๑. บริษัท จี สตีล จำ�กัด (มหาชน)


เรื่องเล่าจากชาวเหมือง l

รุ่งศักดิ์ อินทร์สิงห์

เหมืองสาธิต

33

จะไม่ให้ผู้จัดการแกตกอกตกใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้อย่างไร ก็เหมืองนีท้ างองค์การฯ ซึง่ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ดำ�เนินกิจการเกี่ยวกับเหมืองแร่ มีนโยบายหมายมั่นปั้นมือ จะทำ�ให้เป็นเหมืองสาธิต โดยการนำ�กรรมวิธแี ยกแร่มาใช้รว่ มกับ กระบวนการทำ�เหมือง เพื่อนำ�ร่องเป็นโครงการตัวอย่างแก่ เหมืองข้างเคียงนำ�ไปปฏิบตั ติ าม แต่เพียงแค่ทดลองเดินเครือ่ ง สู บ ทรายขึ้น รางเป็ น วั น แรกเท่ า นั้น รางกู้แ ร่ ท่ีบ รรจงสร้ า ง เสียดิบดีตามหลักวิชาการก็มอี นั เป็นไป พังพาบพินาศสันตะโร ซะแล้ว! หลังจากที่รายงานเรื่องรางกู้แร่พังถล่มให้ผู้อำ�นวยการ ทราบแล้ว ไม่นานก็ได้มีคำ�สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ข้อเท็จจริงขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อสอบสวนหาสาเหตุและหาตัว ผู้รับผิดชอบโดยเร่งด่วนทันที และก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ พนักงานขององค์การฯ ว่า งานนี้ผู้จัดการสลวยมีหวังไม่แคล้ว โดนเชือดบูชายัญ ไปไม่รอดจอดมิตอ้ งแจวอย่างแน่นอน เพราะ เป็นผู้ที่รับผิดชอบโครงการนี้เต็มประตูแต่เพียงผู้เดียว เมือ่ หลายปีมาแล้วผูจ้ ดั การสลวย... ได้รบั มอบหมายให้ไป ดำ�เนินการติดตั้งเหมืองดีบุกแห่งหนึ่ง เหมืองนี้อยู่ที่อำ�เภอ สวนผึง้ จังหวัดราชบุรี ไกลลิบลับออกไปบริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งเป็นภูเขาที่ให้กำ�เนิดแร่ดีบุก วางตัว ทอดยาวสลับซับซ้อนขวางกัน้ เขตชายแดนของทัง้ สองประเทศไว้ ผู้จัดการสลวยได้มาบุกเบิกงานที่เมืองแห่งนี้ตั้งแต่ต้น โดยในชั้นแรกทางองค์การฯ ต้องการริเริ่มให้มีการทำ�เหมืองสูบ ทีท่ ันสมัยถูกต้องตามหลักวิชาการ เพือ่ เป็นแบบอย่างให้เหมือง เอกชนละแวกแถวนั้น โดยนำ�เครื่องมือแยกแร่ที่เรียกว่า “จิ๊ก” มาประยุกต์ใช้รว่ มกับรางกูแ้ ร่ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้การทำ�งานมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น เป็นการอนุรักษ์แร่ไปในตัวด้วย... อันเป็นเป้าหมายหลัก ในการพัฒนาการทำ�เหมืองให้เกิดประโยชน์สงู สุดแก่ประเทศชาติ โดยส่วนรวม

November-December 2017

ในชีวิตประจำ�วันของเราได้เกี่ยวข้องกับสิ่งของเครื่องใช้ ที่มีโลหะดีบุกหลายอย่าง ที่ใช้มากคือแผ่นเหล็ก อาบดีบุก หรือแผ่นเหล็กวิลาส ซึ่งนำ�มาใช้ทำ�กระป๋องบรรจุอาหาร นม ผักและผลไม้ นอกจากนี้ก็ใช้ทำ�โลหะบัดกรี เช่น ตะกั่วบัดกรี เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและกิจการต่างๆ เช่น เป็นโลหะบัดกรี สำ�หรั บ บรรจุ อ าหารกระป๋ อ ง ใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมไฟฟ้ า อิเล็กทรอนิกส์ หลอดไฟฟ้า การประกอบวิทยุ โทรทัศน์ เรดาร์ โทรศัพท์มอื ถือ เครือ่ งคำ�นวณเลข อุตสาหกรรมรถยนต์ หม้อน้ำ� รถยนต์ เครื่องประดับและผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ประเทศไทยอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตแร่ดบี กุ ทีส่ ำ�คัญแห่งหนึง่ ของโลก แหล่งแร่ดีบุกจะอยู่กระจัดกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้ ทางซีกตะวันตกของประเทศ และลงลึกไปถึงในทะเลทางภาคใต้ แร่ดีบุกส่วนมากจะส่งไปถลุงที่โรงถลุงไทยซาร์โก้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงถลุงขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ดำ�เนินการ ถลุ ง ด้ ว ยกรรมวิ ธี ทั น สมั ย ได้ โ ลหะดี บุ ก ในระดั บ มาตรฐาน ตลาดโลก ส่งออกไปจำ�หน่ายยังต่างประเทศ ทำ�รายได้ให้แก่ ประเทศปีละจำ�นวนมหาศาล การทำ�เหมืองดีบุกบนบกสมัยก่อนใช้วิธีเหมืองสูบเป็น ส่วนใหญ่ เหมืองแร่ดีบุกนี้ช่วยให้ประชาชนหลายหมื่นคนได้มี อาชี พ โดยยั ง มิ ไ ด้ ร วมถึ ง ประชาชนที่ ทำ�งานในโรงงานหรื อ อุตสาหกรรมอืน่ ๆ อีกมากมายทีใ่ ช้ดบี กุ เป็นวัตถุดบิ ในงานนัน้ ๆ หากไม่มีการทำ�เหมืองผลิตแร่ดีบุกแล้ว ประชาชนผู้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับดีบุกย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนไปตามๆ กัน ที่สำ�คัญคือจะมีผลต่อรายได้ของประเทศเป็นอย่างมาก ขณะที่ผู้จัดการสลวย... นั่งใจลอยปล่อยอารมณ์นึกถึง เรือ่ งราวความเป็นมาของแร่ดบี กุ ในอดีตอยูน่ น้ั พลันก็ตอ้ งสะดุง้ สุดตัว เมื่อได้ยินเสียงกึกก้องสะเทือนเลื่อนลั่นราวฟ้าผ่าดังขึ้น “โครม!” ผู้จัดการสลวยรีบหันไปมองทางหน้าเหมือง พลันก็ผงะ ตกใจแทบช็อก เมือ่ เห็นรางกูแ้ ร่ขนาดใหญ่ลม้ ครืนพังทลายลงมา ...แทบไม่นา่ เชือ่ สายตาตัวเอง เพียงไม่กน่ี าทีทว่ี ง่ิ โร่กระหืดกระหอบ มาถึงบริเวณทีเ่ กิดเหตุกพ็ บรางกูแ้ ร่ ไม้เสาค้ำ�ยัน กระดานพืน้ ราง ฯลฯ ล้มกองระเนระนาดเกะกะรุงรังเต็มไปหมด เดชะบุญทีไ่ ม่มี ใครได้รับบาดเจ็บอันตรายถึงชีวิต


November-December 2017

34

ผู้ จั ด การสลวย แกมี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะผลั ก ดั น งานนี้ ใ ห้ ประสบความสำ�เร็จ เพราะในแง่เทคนิคของการทำ�เหมือง ตัวแก เองก็มีประสบการณ์ความรู้ความสามารถพอตัว และเคยผ่าน งานด้านนี้มาแล้ว เหมืองแห่งนี้จะเป็นที่พิสูจน์ฝีมือ เป็นเหมือง ในฝันในการอนุรักษ์แร่... ทั้งนี้ก็เพื่อจะฝากผลงานไว้เป็นเกียรติ ประวัติในวงการเหมืองแร่สักครั้งในชีวิต อย่าลืมว่ากว่าจะถือกำ�เนิดเกิดมาเป็นแหล่งแร่นนั้ ต้องใช้ เวลาที่ยาวนานเป็นหลายสิบล้านปี แร่ธาตุเมื่อทำ�เหมืองแร่ขุด ขึน้ มาหมดแล้วหมดเลย ไม่สามารถปลูกหรือเพาะเลีย้ งทดแทน ขึน้ มาได้ใหม่ การทำ�เหมืองแร่จงึ ต้องพยายามเก็บแร่ทกุ เม็ดทุกก้อน ให้ได้มากทีส่ ดุ เพราะเมือ่ แร่ตกหล่น สูญหาย เก็บไม่หมด โอกาส ทีจ่ ะกลับมาทำ�เพือ่ เก็บแร่ใหม่นนั้ เป็นไปได้ยาก ไม่คมุ้ เนือ่ งจาก แหล่งแร่ถูกกระทำ�เสียความสมบูรณ์ไปแล้ว ลั ก ษณะธรณี วิ ท ยาแหล่ ง แร่ ข องเหมื อ งนี้ เ ป็ น ลานแร่ เกิ ด จากการผุ พั ง ของสายแร่ ดี บุ ก ปฐมภู มิ ที่ มี ต้ น กำ�เนิ ด จาก เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาแกรนิตยุคครีเทเชียสที่ให้ แร่ดบี กุ หลังจากทีส่ ายแร่ถกู กระบวนการทางธรรมชาติ เช่น น้ำ� ลมฝน แสงแดด ฯลฯ ชะล้างทำ�ลายให้หลุดจากสายแร่เดิม แล้ว ไปสะสมตัวในทีร่ าบต่ำ�ลานแร่แบบทุตยิ ภูมิ ทีเ่ รียกว่าชัน้ กระแสแร่ โดยมีชั้นหินดินทรายปิดทับไว้ตามธรรมชาติ การทำ�เหมืองจะทำ�แบบเหมืองสูบ โดยการทำ�รางไม้เอียง ยกสูงจากระดับพื้นดินซึ่งเรียกว่า “รางกู้แร่” หรือที่ชาวบ้าน เรียกชื่อ “พาลอง” ทำ�หน้าที่กักเก็บแร่ที่สูบขึ้นราง แร่ดีบุกเป็น แร่หนักจะแทรกลงพื้นรางโดยมีลูกคั่นดักเก็บแร่ไว้ รางไม้ท่วี า่ นี้ จะมีเสาไม้ตั้งตรงส่วนหนึ่งเพื่อรองรับน้ำ�หนัก และอีกส่วนเป็น เสาไม้พาดเอียงตียึดโยงเพื่อให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น ส่วนบริเวณ ที่ต่อจากท้ายรางจะมีเครื่องมือแยกแร่ที่เรียกว่าจิ๊ก นำ�มาวาง ติดตั้งเพื่อคอยดักเก็บแร่เม็ดเล็กไว้ การทำ�เหมืองแร่ดีบุกแถวภาคกลางสมัยก่อนนั้น จะนิยม ใช้รางกูแ้ ร่เพียงอย่างเดียว ทำ�ให้แร่เม็ดเล็กถูกน้ำ�พัดพาปลิวไหล ออกท้ายราง การทำ�เหมืองแบบทีเ่ คยทำ�กันดัง้ เดิมสมัยรุน่ โบราณ ก่อนเก่า จึงมีข้อเสียทำ�ให้สูญเสียแร่เป็นจำ�นวนมากทิ้งออกไป ถ้ามีการนำ�จิ๊กมาใช้ร่วมกับรางกู้แร่ จะสามารถเก็บแร่ที่มีขนาด เล็กเหล่านี้ได้ ทำ�ให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์มีผลผลิตแร่ เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพิม่ ขึน้ ... ซึง่ วิธกี ารนีท้ ำ�ได้ผลดีประสบความสำ�เร็จ มาแล้วในเหมืองสูบทางภาคใต้ การทำ�งานของจิ๊กจะใช้หลักความแตกต่างน้ำ�หนักเป็น สำ�คั ญ แร่ ดี บุ ก กั บ ดิ น ทรายจะถู ก แยกด้ ว ยฮี ม าไทต์ ห รื อ แร่ เหล็กแดง ซึง่ ฮีมาไทต์จะมีนำ�้ หนักอยูร่ ะหว่างแร่ดบี กุ กับดินทราย ที่จิ๊กจะมีแผ่นตะแกรงวางรองรับฮีมาไทต์ไว้ เมื่อป้อนแร่เข้ามา

เพื่อทำ�การแยก ลูกเบี้ยวที่จิ๊กจะขับเคลื่อนแผ่นไดอะแฟรมให้ กระเพือ่ มน้ำ�ขึน้ -ลงเป็นจังหวะ ช่วงแผ่นไดอะแฟรมกระเพือ่ มขึน้ ที่เรียกว่าจังหวะอัด ดินทรายที่เบาจะถูกน้ำ�กระแทกให้กระเด็น ขึ้ น ไปได้ สู ง ตามด้ ว ยฮี ม าไทต์ ที่ มี นำ�้ หนั ก อยู่ ร ะหว่ า งกลาง ส่วนดีบุกที่มีน้ำ�หนักมากจะถูกน้ำ�กระแทกให้กระเด็นขึ้นไป ได้น้อย ช่วงที่แผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนลงหรือที่เรียกว่าจังหวะดูด ดีบุกที่มีนำ�้ หนักมากสุดจะถูกดูดลงข้างล่างได้เร็วกว่าแร่อื่น ฮีมาไทต์จะตามลงมาอยู่ช่วงกลางแล้วอุดรูตะแกรงไว้ ส่วน ดินทรายที่เบาจะลงมาได้ชา้ จึงถูกน้ำ�ซัดออกจากตะแกรงไป จากกรรมวิธกี ารทำ�งานของจิก๊ ดังกล่าวนี้ ดีบกุ จะถูกแยก ออกจากดินทรายโดยมีฮีมาไทต์เป็นตัวคั่นกลางในการแยก ผู้จัดการสลวยซึ่งคลุกคลีตีโมงมีประสบการณ์ และเคย ผ่านงานเหมืองดีบุกทางภาคใต้มาแล้วอย่างโชกโชน ได้รับการ ทาบทามให้มาทำ�งานทีอ่ งค์การฯ แห่งนี้ โดยทำ�หน้าทีอ่ อกแบบ ติดตั้งรางกู้แร่ควบคู่ไปกับจิ๊ก ในตอนแรกงานก็ผ่านราบรื่น ั หาตรงทีห่ ลังจากก่อสร้างและติดตัง้ ดำ�เนินไปได้ดว้ ยดี แต่มปี ญ จิ๊กเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าการดำ�เนินการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำ� และเครือ่ งสูบทรายล่าช้ามาก เนือ่ งจากติดขัดระเบียบของราชการ กว่าจะได้รับมอบอุปกรณ์เครื่องยนต์ดังกล่าวก็ผ่านพ้นหน้าฝน ไปแล้ว ทางเมืองจึงไม่สามารถทำ�เหมืองได้เพราะน้ำ�ไม่พอใช้ ในการทำ�งาน เลยต้องเสียเวลารอคอยไปอีกฤดูฝนหนึ่งอย่าง น่าเสียดาย หลักโดยทั่วไปของการทำ�เหมืองสูบ... หลังจากที่ติดตั้ง รางกูแ้ ร่และจิก๊ แล้ว จะต้องทดลองเดินเครือ่ งยนต์เพือ่ ทดสอบการ ทำ�งานของเครือ่ งจักรกล การรับน้ำ�หนักของรางกูแ้ ร่ การทำ�งาน ของจิ๊ก ฯลฯ เมื่อมีข้อบกพร่องก็จะได้แก้ไขปรับปรุงให้เสร็จสิ้น เรียบร้อย... และที่สำ�คัญการทดลองเดินเครื่องสูบน้ำ� ก็เพื่อจะ ทำ�ให้ไม้ที่ทำ�รางกู้แร่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ�ตลอดเวลาอีกด้วย การทีต่ อ้ งเสียเวลารอคอยไปตัง้ เกือบปี ทำ�ให้รางกูแ้ ร่และ เสาไม้คำ�้ ยันต้องปล่อยทิ้งค้างเติ่งตากแดดไว้ ผลที่ตามมาก็คือ ไม้เมือ่ ถูกทิง้ กลางแจ้งตากแดดไว้นานๆ น้ำ�ทีอ่ ยูใ่ นเนือ้ ไม้ระเหย ออกไปหมด ทำ�ให้ไม้แห้งกรอบเกิดแตกร้าวขึ้น นอตและตะปู ที่ตอกยึดเสาไม้ไว้เริ่มไม่แน่นหนาแข็งแรง เนื่องจากไม้หดตัว จนเกิดรอยร้าว... อันเป็นสาเหตุสำ�คัญทีท่ ำ�ให้โครงสร้างการค้ำ�ยัน รางกู้แร่ไม่แข็งแรงทนทานเท่าที่ควร ผูจ้ ดั การสลวยรูซ้ ง้ึ และตระหนักถึงปัญหาเรือ่ งนีเ้ ป็นอย่างดี จึงได้ทำ�รายงานชี้แจงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น และได้เร่งรัดการ จัดซื้อเครื่องสูบน้ำ�สูบทราย ให้ฝ่ายจัดซื้อขององค์การฯ ทราบ เป็นทางการแล้ว แต่กไ็ ม่ได้รบั การตอบสนองเท่าทีค่ วร โดยฝ่าย


35

นี่คือการคิดนอกกรอบของเอดิสัน” ผู้จัดการสลวยยังได้พูดอธิบายให้คณะกรรมการฟังอีกว่า “คนที่ ป ระสบความสํ า เร็ จ ในชี วิ ตนั้ น เขาจะมี วิ ธี ก ารเรี ย นรู้ หลายวิธี เรียนรูจ้ ากความล้มเหลวก็ได้ เพือ่ จะได้รวู้ า่ ทีล่ ม้ เหลว เพราะอะไร ทำ�ไม อย่างไร เพือ่ จะได้ไม่ลม้ เหลวอีก ไม่ใช่เฉพาะ จะต้องเรียนรู้จากความสำ�เร็จอย่างเดียว เหมือนคนที่เคยเดิน หลงทาง เขาจะจำ�ทางนั้นได้แม่น และเอ้อ” “พูดอะไรผมฟังไม่รู้เรื่องเลย” ผู้จัดการสลวยพูดยังไม่ทันจบ กรรมการที่ถามคำ�ถาม เมือ่ ตะกีก้ พ็ ดู โพล่งขัดจังหวะขึน้ พลางถามด้วยคำ�ถามเดิมอีกว่า “ทีบ่ อกว่าเหมืองนีจ้ ะทำ�เป็นเหมืองสาธิต แล้วรางมันเกิด พังอย่างนี้ มันจะเป็นเหมืองสาธิตได้ยังไง... ผู้จัดการ” “เป็นเหมืองสาธิตได้ส”ิ ผูจ้ ดั การสลวยตอบด้วยความมัน่ ใจ พร้อมกับเน้นย้ำ�ว่า “ยังไงก็ยังคงเป็นเหมืองสาธิตเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการสาธิตให้ดูแตกต่างจากทั่วไป” “เป็นได้ยังไง... เหมืองสาธิต” กรรมการอีกคนถามแบบ ไม่เชื่อ ทำ�สีหน้าฉงน เห็นคณะกรรมการยังข้องใจสงสัย ผู้จัดการสลวยจึงทะลุ กลางปล้อง ด้วยคำ�พูดที่กลับตาลปัตรคาดคิดไม่ถึงว่า “อ้าว! ก็เป็นการสาธิตวิธกี ารทำ�เหมืองให้เจ๊ง ทำ�รางให้พงั ยังไงเล่า” พูดจบผูจ้ ดั การสลวยจ้องมองไปทีค่ ณะกรรมการ ทีม่ องหน้า กั น เล่ิ ก ลั่ ก ด้ ว ยความงงงวย ก่ อ นที่ จ ะทิ้ ง ท้ า ยคำ�พู ด เล่ น เอา กรรมการสอบสวนถึงกับนิ่งอึ้งตะลึงงันขึ้นว่า “เห็นตัวอย่างข้อดีของเมืองสาธิตแห่งนีห้ รือยังว่า วิธกี าร ทำ�เหมืองให้เจ๊ง ทำ�รางให้พงั เขาทำ�กันอย่างไร และถ้าคิดจะทำ� เหมืองให้รวย ทำ�รางให้ดแี ล้วละก้อ... อย่าริอา่ นทำ�อย่างนีเ้ ด็ดขาด แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกว่าเป็นเหมืองสาธิตได้ยังไง เพียงแต่ กลับข้างเอาอีกด้านมาสาธิตเท่านั้นเอง ทำ�งงไปได้...ปัดโธ่!” จากคำ�พูดของผู้จัดการสลวยในวันนั้น ผมซึ่งร่วมเป็น กรรมการด้วยคนหนึ่ง ทำ�ให้ได้รับรู้เรื่องราวแหวกแนวเกี่ยวกับ เหมืองแร่ว่า การสาธิตวิธีการทำ�เหมืองให้เจ๊ง ทำ�รางให้พัง ที่พิสดารไม่เหมือนใครแบบนี้ก็มีด้วยแฮะ... ผมไม่ยักรู้ และยังได้ขอ้ คิดอีกว่า สิง่ ใดทีเ่ กิดขึน้ แล้ว ไม่วา่ ผลจะออกมา เช่นไร สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ และนีก่ ค็ อื เรือ่ งน่าทึง่ ของ “เหมืองสาธิต” ในมิตทิ แ่ี ปลกแยก ไม่ธรรมดา ขอบคุณผู้จัดการสลวย ขอบคุณเหมืองสาธิต... สำ�หรับ ความรู้ใหม่ที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยครับ!!!

November-December 2017

จัดซื้ออ้างว่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนระเบียบของทางราชการ ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร เรื่องอะไรที่ฝ่ายจัดซื้อจะเอาคอ ไปพาดเขียงให้เมือ่ ยตุม้ ... เนือ้ ไม่ได้กนิ หนังไม่ได้รองนัง่ แล้วจะ เอากระดูกมาแขวนคอทำ�ไมเล่า? นีแ่ หละข้อเสียของระบบราชการ ที่ขาดความรู้สึกของความเป็นเจ้าของยังไงล่ะ? จากประสบการณ์ที่ผู้จัดการสลวยได้เคยสร้างรางกู้แร่ มาแล้วหลายแห่งหลายที่ ทำ�ให้แกพอจะรูป้ ญ ั หาล่วงหน้าแล้วว่า อะไรจะเกิดขึ้น แต่ไม่คิดว่ามันจะพังรวดเร็วขนาดนี้ และก็ เป็นจริงอย่างที่ผู้จัดการสลวยคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นไม่มีผิด... ในวันแรกที่ประเดิมเดินเครื่องสูบทราย หินดินทรายและแร่ จำ�นวนมากถูกสูบขึ้นราง เพียงไม่กี่ชั่วโมงที่เครื่องยนต์ทำ�งาน รางกูแ้ ร่กไ็ ม่สามารถรับน้ำ�หนักได้ ก็เลยพังโครมจนเป็นเรือ่ งราว ใหญ่โตขึ้นมา พลันทีค่ ณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเดินทางถึงเหมือง ก็ดำ�เนินการสอบสวนผู้จัดการสลวยทันทีโดยมิชักช้า หลังจาก ทีซ่ กั ถามต้นสายปลายเหตุอปุ สรรคปัญหา ตลอดจนวิธกี ารปฏิบตั ิ อย่างละเอียดถี่ยิบ และผู้จัดการสลวยก็ได้อธิบายชี้แจงขั้นตอน ความเป็นมาอย่างครบถ้วนกระบวนความ พร้อมกับโชว์หลักฐาน ทีเด็ดเป็นเอกสารหนังสือที่แจ้งเตือนไปที่ฝ่ายจัดซื้อถึงความ เสียหายทีจ่ ะเกิดขึน้ ถ้าหากการจัดซือ้ เครือ่ งสูบน้ำ�สูบทรายล่าช้า ไม่เป็นไปตามกำ�หนดเวลา ยังผลให้ทางคณะกรรมการไม่สามารถ สรุปเรื่องเอาความผิดกับแกได้... ผู้จัดการสลวยรอดตัวพ้น ผิด ในข้อกล่าวหาทุกกรณี ในช่วงสุดท้ายของการพูดคุยก่อนที่จะยุติการสอบสวน มีกรรมการท่านหนึ่งได้เอ่ยถามว่า “ผู้จัดการ ไหนบอกว่าเหมืองนี้จะทำ�เป็นเหมืองสาธิต แล้วรางมันเกิดพังลงมาแบบนี้ จะเป็นเหมืองสาธิตได้ยังไง” ผูจ้ ดั การสลวยไม่ตอบ มองหน้าสบตาแล้วเปลีย่ นเรือ่ งพูด ขึ้นว่า “ผมจะเปรียบเทียบอะไรให้ฟัง คุณเคยอ่านเรื่องราวการ ค้นพบหลอดไฟฟ้าของโทมัส อัลวา เอดิสันไหม กว่าที่เขาจะ ค้ น พบว่ า โลหะทั ง สเตนสามารถนำ � มาสร้ า งไส้ ห ลอดไฟฟ้ า ให้แสงสว่างแก่คนทั้งโลกได้สำ�เร็จนั้น เขาต้องใช้ความพยายาม ทดลองหลายพันตัวอย่าง กว่าจะประสบความสำ�เร็จได้ คนทัว่ ไป ต่างคิดว่าหลายพันครั้งที่เอดิสันทดลองนั้น เป็นความล้มเหลว แต่เอดิสันกลับคิดอีกด้านว่า หลายพันครั้งที่ทดลองนั้นไม่ใช่ ความล้มเหลว แต่เป็นขั้นตอนที่นำ�ไปสู่ความสำ�เร็จต่างหาก ทำ�ให้เขารู้ว่าตัวอย่างต่างๆ นั้นเมื่อทดลองแล้วใช้ไม่ได้ เขาจึง กำ�จัดคัดออกไปทีละตัวอย่าง จนมาเหลือทังสเตนเป็นคำ�ตอบ สุดท้าย... หลอดไฟดวงแรกของโลกสำ�เร็จได้เพราะความล้มเหลว


NEWS

พิธีเปิดงาน และมอบรางวัล Green Mining Award 2017

36

November-December 2017

จุลพงษ์ ทวีศรี รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน และการเหมืองแร่ (กพร.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมอบรางวัล Green Mining Award 2017 ซึ่ง กองบริหารสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่ จัดขึน้ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูร่ี พาร์ค พร้อมกันนีไ้ ด้มกี ารจัดกิจกรรมเสวนาภาคอุตสาหกรรม เหมื อ งแร่ แ ละอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐาน เพื่ อ สร้ า งความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการเหมืองแร่ด้วย


กพร. จัด Workshop เรื่อง “คิดบวกอย่างสร้างสรรค์

บูรณาการงานอย่างมืออาชีพ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่อย่างยั่งยืน” กองบริหารสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “คิดบวกอย่าง สร้างสรรค์ บูรณาการงานอย่างมืออาชีพ เพือ่ การพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่อย่างยัง่ ยืน” สำ�หรับผูป้ ระกอบการหรือเจ้าหน้าที่ ของสถานประกอบการอุ ต สาหกรรม พื้ น ฐาน รวมทั้ ง เจ้ า หน้ า ที่ ที่ เ กี่ ยวข้ อ ง โดยมีผสู้ นใจเข้าร่วมอบรมกว่า 150 คน ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 2 โรงแรมรามา การ์เด้นส์

>> อนุ กัลลประวิทย์ ผู้อำ�นวยการกองบริหาร สิ่งแวดล้อม กพร. ประธานพิธีเปิด

สำ�นักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 5 พิษณุโลก เข้าร่วมโครงการ CSR และจัดงานปีใหม่ พ.ศ. 2561

ธนา เกียรติวงศ์ชยั ผูอ้ ำ�นวยการสำ�นักงานอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ เขต 5 พิษณุโลก ได้มอบหมายให้ จิตรกร วรยศ วิศวกรเหมืองแร่ปฏิบัติการ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ร่วมกับผู้บริหารและพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ศิลารัตน์หล่มสัก ผู้ถือประทานบัตรที่ ๒๕๕๘๖/๑๖๐๐๖ ทำ�เหมืองหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง) ตั้งอยู่ที่ตำ�บลบุ่งน้ำ�เต้า อำ�เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดทำ�โครงการ CSR และงานปีใหม่ พ.ศ. 2561 โดยเชิญนายกองค์การบริหารส่วนตำ�บล กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน รอบพื้นที่เหมือง รวมประมาณ 300 คน เพื่ อ รั บ มอบ เครื่องอุปโภคบริโภค แว่นตา และรถเข็น ผู้สูงอายุ พร้อมทั้งจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน ให้กบั ผูร้ ว่ มงาน ณ โรงโม่หนิ ของห้างหุน้ ส่วน จำ�กัด ศิลารัตน์หล่มสัก November-December 2017

37


38

November-December 2017




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.