Mining Magazine May-June 2020

Page 1

ปที่ 10 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2563

ทว� ทว�สุขเสถียร

รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยอยหินไทย

“ผูประกอบการเหมืองหิน หวังรัฐใชเง�นหนึ่งลานลานบาท กระตุนเมกะโปรเจ็กต”

สารจากประธาน สภาการเหมืองแร

การประชุมคณะกรรมการแร ครั้งที่ 4 และ 5/2563

เหมืองหินอุตสาหกรรม

เพ�่อการกอสราง และบทบาทในการ ชวยลดการทำลายทรัพยากรปาไม

ไขขอของใจกฎหมายแร




10

3 เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2563

คณะกรรมการสภาการเหมืองแร่

1. น.ส.อัญชลี ตระกูลดิษฐ 2. นายยุทธ เอีย่ มสอาด 3. นายดิเรก รัตนวิชช์ 4. นายวัลลภ การวิวฒ ั น์ 5. นายทวี ทวีสขุ เสถียร 6. นายอนุพงศ์ โรจน์สพ ุ จน์ 7. นายศิรชิ ยั มาโนช 8. นายชาญณรงค์ ทองแจ่ม 9. นายศิรสิทธิ์ สืบศิร ิ 10. นายสุรชิต มานะจิตต์ 11. นายเสกข์สรร ธีระวาณิชย์ 12. นายสุรพล อุดมพรวิรตั น์ 13. นายยงยุทธ รัตนสิร ิ 14. นายณรงค์ จ�ำปาศักดิ ์ 15. นายอภิชาติ สายะสิญจน์ 16. นายสุเทพ สุนทรารัณย์ 17. นายอับดุลลาเต๊ะ ยากัด 18. นายตติกร บูรณธนานุกจิ

ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่

เลขาธิการ สภาการเหมืองแร่ นายสุรพล อุดมพรวิรตั น์ (ท�ำการแทน)

ผูช้ ว่ ยเลขาธิการ สภาการเหมืองแร่ นางอรพิณ เปรือ่ งการ

ทีอ่ ยู่ สภาการเหมืองแร่

222/2 ซอยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2275-7684-6 แฟกซ์ 0-2692-3321 E-mail Contact : miningthai@miningthai.org Website : www.miningthai.org ID LINE : @ulc4210x ที่ปรึกษา : น.ส.อัญชลี ตระกูลดิษฐ ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ วัลลภ การวิวัฒน์ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ และประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ บรรณาธิการ : สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล กองบรรณาธิการ : ทัศนีย์ เรืองติก / อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ / ชุติภา จริตพันธ์ ฝ่ายโฆษณา : ศิริภรณ์ กลิ่นขจร / กษิรา เหมบัณฑิตย์ / กัลยา ทรัพย์ภริ มย์ จัดท�ำโดย : บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด เลขที่ 471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2354-5333 แฟกซ์ 0-2640-4260 **วารสารเหมืองแร่ จัดท�ำขึน้ เพือ่ ให้ขอ้ มูลข่าวสารทีเ่ ป็นประโยชน์แก่สมาชิกสภาการเหมืองแร่ ประชาสัมพันธ์การด�ำเนินงานและกิจการของสภาฯ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทัง้ นีบ้ ทความต่างๆ ใน วารสารเหมืองแร่ นีเ้ ป็นดุลพินจิ ของกองบรรณาธิการ โดยจะออกทุกๆ 2 เดือน


สารจากประธานกรรมการ

สภาการเหมืองแร่

สวัสดีค่ะ ท่านสมาชิกสภาการเหมืองแร่และท่านผู้อ่านวารสาร “เหมืองแร่” ทุกท่าน สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยเรากำ�ลังจะผ่านพ้นไป เราได้แต่หวังว่า การแพร่ระบาดจะไม่หวนคืนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำ�ให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งฝั่งอุปสงค์ อุปทาน สายพานการผลิต การค้า และระบบ การเงินต้องหยุดชะงักลงด้วยมาตรการล็อคดาวน์ ทิ้งความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างใหญ่หลวงแก่ผู้คนใน ทุกประเทศและทุกภาคส่วน ธนาคารโลกประเมินว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปีนี้จะติดลบถึงร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็น ความถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดนับแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร ของโลกยังจะต่ำ�ที่สุดในรอบ 150 ปี ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออก การท่องเที่ยว และเงินทุนจากต่างประเทศเป็นสำ�คัญ อัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศเราจึงถูกประเมินว่าจะติดลบถึงร้อยละ 5 ซึ่งมากเป็นอันดับสองในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และแปซิฟิก เป็นรองก็แต่ประเทศหมู่เกาะโซโลมอน และมีการประเมินกันว่าตัวเลขการเลิกจ้างแรงงานในประเทศมีอยู่สูงถึง ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งในจำ�นวนนี้ หนึ่งล้านคนเป็นแรงงานในภาคการก่อสร้าง ผลกระทบจากการขาดรายได้ทั้งของผู้ใช้ แรงงานและของผู้ ป ระกอบกิ จ การในช่ ว งล็ อ คดาวน์ ส่ ง ผลให้ กำ�ลั ง ซื้ อ และความมั่ น ใจในการจั บจ่ า ยใช้ ส อยของผู้ ค นลดลง สภาวการณ์เช่นนี้คาดว่าระบบเศรษฐกิจจะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวไม่น้อยกว่า 1 ปี ธุรกิจเหมืองแร่และธุรกิจแร่ในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกหรือเพื่อใช้ภายในประเทศไม่อาจ หลีกพ้น ผลกระทบต่อยอดขายที่จะลดน้อยลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแร่ที่เกี่ยวกับธุรกิจก่อสร้างและการผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งได้แก่ หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง แร่ยิปซัม และแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ชี้ว่ายอดขายบ้านและคอนโดมิเนียมในปี พ.ศ. 2563 มีแนวโน้มลดลงประมาณ 312,000-333,000 หน่วย ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ที่ลดลงประมาณ 726,000-755,000 ล้านบาท สภาการเหมืองแร่จึงขอให้ทุกท่ านเตรียมการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ให้ผ่ านพ้นวิกฤตไปได้ด้วยดี โดย หวั ง ว่ า มาตรการในการใช้ เ งิ น กู้ จำ�นวน 1 ล้ า นล้ า นบาท ในการกระตุ้ น เศรษฐกิ จ ของรั ฐ บาลจะดำ�เนิ น ไปอย่ า งสั ม ฤทธิ์ ผ ล ยังผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวโดยเร็ว

นางสาวอัญชลี ตระกูลดิษฐ ประธานคณะกรรมการสภาการเหมืองแร่



Contents ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2563

12

17 5 8

สารจากประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ การประชุมคณะกรรมการแร่

การประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 4 และ 5/2563

10 แวดวงชาวเหมือง 12 Cover Story คุณทวี ทวีสุขเสถียร รองประธานกรรมการสภา การเหมืองแร่ และนายกสมาคมอุตสาหกรรมย่อยหินไทย “ผูป้ ระกอบการเหมืองหินหวังรัฐใชเ้ งินหนึ่งลา้ นลา้ นบาท กระตุน้ เมกะโปรเจ็กต”์ กองบรรณาธิการ

17 บทความ

เหมืองหินอุตสาหกรรมเพื่อการกอ่ สรา้ ง และบทบาท ในการชว่ ยลดการทำ�ลายทรัพยากรป่าไม้ สุรพล อุดมพรวิรัตน์

23 สาระน่ารู้

คอนกรีตทำ�อะไรได้มากกวา่ ที่คิด

27 EEC นักวิจัยชี้ภาคบริการและชุมชนในพื้นที่ EEC ใช้น้ำ�มากไม่แพ้ภาคอุตสาหกรรม แนะเตรียมแผนรองรับ ก่อนเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ� ฝ่ายสื่อสาร แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ�

30 CSR 32 ไขขอ้ ขอ้ งใจกฎหมายแร่ 34 แรน่ า่ รู้

“ทองแดง” โลหะที่เปี่ยมไปด้วยคุณคา่ มยุรี ปาลวงศ์


การประชุมคณะกรรมการแร่

อัญชลี ตระกูลดิษฐ ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ ได้มอบหมายให้ ทวี ทวีสุขเสถียร รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ พร้อมผู้ติดตาม คือ ยงยุทธ รัตนสิริ กรรมการสภาการเหมืองแร่ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 และครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 คณะกรรมการมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนี้ การประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 4/2563 ให้ความเห็นชอบ 1) คำ�ขอประทานบัตร จำ�นวน 5 ราย รวม 5 แปลง ลำ�ดับ

เลขทีค่ �ำ ขอ

ชื่อผู้ขอ

ตำ�บล

อำ�เภอ

1

3/2560

บริษัท แพร่ศิลา จำ�กัด

ร้องกวาง

ร้องกวาง

2

2/2536

ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด มหาลานนา

เมืองแปง

ปาย

3

15/2556

บริษัท โรงโม่หินไทธนาคม จำ�กัด

ท่าสายลวด

แม่สอด

4

14/2537

นางณรงค์ จำ�ปาศักดิ์

ดอนคา

อู่ทอง

5

1/2561

บริษัท โรงโม่หินชัยพัฒน์ จำ�กัด

หาดขาม

กุยบุรี

จังหวัด

ชนิดแร่

หินอุตสาหกรรมชนิด หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง แม่ฮ่องสอน ฟลูออไรต์ หินอุตสาหกรรมชนิด ตาก หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง หินอุตสาหกรรมชนิด สุพรรณบุรี หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง หินอุตสาหกรรมชนิด ประจวบคีรีขันธ์ หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง แพร่

มีอายุ/ปี 13 9 11 25 30

2) คำ�ขอต่ออายุประทานบัตร จำ�นวน 5 ราย รวม 6 แปลง ลำ�ดับ

เลขทีค่ �ำ ขอ

ชื่อผู้ขอ

1

1/2556 (31861/15794) บริษัท ศิลาสากล อุบลราชธานี จำ�กัด

2

1/2560 (30176/15222)

บริษัท บางสวรรค์ ศิลาทอง จำ�กัด

1/2560 (29789/15878) และ 2/2560 3 (29790/15879) ซึง่ ร่วมแผนผังโครงการ ทำ�เหมืองเดียวกัน

บริษัท ศิลาพรชัย จำ�กัด

ตำ�บล

อำ�เภอ

โซง

น้ำ�ยืน

บางสวรรค์

พระแสง

จังหวัด

หินอุตสาหกรรมชนิด หินบะซอลต์เพื่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง หินอุตสาหกรรมชนิด สุราษฎร์ธานี หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง อุบลราชธานี

ด คลองตะเกรา ท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา หิหินนปูอุนตเพืสาหกรรมชนิ ่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง

4

1/2558 หนอง (26542/15799) ห้างหุน้ ส่วนจำ�กัด เพชรสมุทร (1970) ชุมพลเหนือ

เขาย้อย

เพชรบุรี

5

1/2559 (28493/15867

อู่ทอง

สุพรรณบุรี

บริษัท กาญจนาศิลาภัณฑ์ จำ�กัด

ชนิดแร่

จรเข้สามพัน

มีอายุ/ปี 15 10

20

หินอุตสาหกรรมชนิด ไม่ หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม เห็ยันงชอบ ก่อสร้าง หินอุตสาหกรรมชนิด หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม 20 ก่อสร้าง

หมายเหตุ : เนือ่ งจากห้างหุน้ ส่วนจำ�กัด เพชรสมุทร (1970) ผูย้ นื่ คำ�ขอต่ออายุฯ เลขที่ 1/2558 ประทานบัตรเลขที่ 26542/15799 ต้องจัดทำ�รายงาน การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอคณะกรรมการผู้ชำ�นาญการพิจารณารายงานวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่ให้ความเห็นชอบก่อน และนำ�เรื่องเข้าคณะกรรมการแร่พิจารณาขอต่ออายุประทานบัตร โดยคณะ กรรมการแร่มีมติให้นำ�กลับไปดำ�เนินการและนำ�เข้าพิจารณาใหม่ในการประชุมครั้งหน้า

8

May-June 2020


3) คำ�ขออาชญาบัตรพิเศษ จำ�นวน 1 ราย รวม 1 แปลง ลำ�ดับ เลขทีค่ �ำ ขอ 1/2555

1

ชื่อผู้ขอ

ตำ�บล

อำ�เภอ

จังหวัด

บริษัท ไทย มินเนอรัล เวนเจอร์ส จำ�กัด คลองเส, กะเปียด ถ้ำ�พรรณรา, ฉวาง นครศรีธรรมราช

ชนิดแร่

มีอายุ/ปี

ทังสเตน

5

การประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 5/2563 ให้ความเห็นชอบ 1) คำ�ขอประทานบัตร จำ�นวน 3 ราย รวม 4 แปลง ลำ�ดับ

เลขทีค่ �ำ ขอ

ชื่อผู้ขอ

ตำ�บล

อำ�เภอ

1

2/2560

บริษทั ปัญจะพัฒนาวิศวกรรมฯ จำ�กัด

เขานิพันธ์

เวียงสระ

2

1/2559

ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด เจริญผลการศิลา

สะพลี

ปะทิว

3

2/2558 และ 3/2558 ซึ่งร่วมแผนผัง โครงการทำ�เหมือง เดียวกัน

ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด พีรพลศิลา และ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ธนบดีศิลา

ลิดล

เมืองยะลา

จังหวัด

ชนิดแร่

มีอายุ/ปี

สุราษฎร์ธานี ยิปซัมและแอนไฮไดรต์ หินอุตสาหกรรม ชุมพร ชนิดหินปูนเพื่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง

ยะลา

17 30

หินอุตสาหกรรม ชนิดหินปูนเพื่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง

25

ชนิดแร่

มีอายุ/ปี

2) ขอต่ออายุประทานบัตร จำ�นวน 2 ราย รวม 2 แปลง ลำ�ดับ

เลขทีค่ �ำ ขอ

ชื่อผู้ขอ

ตำ�บล

1

1/2559 (31224/15464)

บริษัท สหพนาสิทธิ์ จำ�กัด

บ้านแปะ

2

1/2558 หนองชุมพลเหนือ เขาย้อย (26542/15799) ห้างหุน้ ส่วนจำ�กัด เพชรสมุทร (1970)

อำ�เภอ

จังหวัด

จอมทอง เชียงใหม่ เพชรบุรี

หินอุตสาหกรรมชนิด หินบะซอลต์เพื่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง หินอุตสาหกรรม ชนิดหินปูนเพื่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง

12 16

รายงานสรุปผลการอนุญาตสิทธิส�ำ รวจและทำ�เหมืองแร่ จากการประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 1 - 5 มีจ�ำ นวนทั้งสิ้น ดังนี้ ที่

การอนุญาต

1/2563

2/2563

3/2563

4/2563

5/2563 (แปลง)

(แปลง)

(แปลง)

(แปลง)

(แปลง)

(แปลง)

รวม

1

ประทานบัตร

2

3

1

5

4

15

2

ต่ออายุประทานบัตร

1

5

1

6

2

15

3

โอนประทานบัตร

0

0

0

0

0

0

4

อาชญาบัตรพิเศษ

0

0

1

1

0

2

3

8

3

12

6

32

รวม

May-June 2020

9


แวดวงชาวเหมือง l

กองบรรณาธิการ

ทส. ร่วมการประชุม

คณะกรรมการนโยบาย

บริหารจัดการแร่แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563

ราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม พร้อมด้วย จตุพร บุรษุ พัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำ�เนียบรัฐบาล โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ โดยที่ ป ระชุ ม มี ม ติ เ ห็ น ชอบมอบหมายให้ ก ระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมอุตสาหกรรม พืน้ ฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เป็นผูร้ บั ผิดชอบจัดกิจกรรมการทำ�เหมืองแร่ทม่ี ธี รรมาภิบาล และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Smart Mining) ซึ่งเป็นการนำ�มาตรการทาง สังคมเชิงสร้างสรรค์มาใช้ในการบริหารจัดการแร่ เป็นเวทีที่จัดให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ ได้ประกาศเจตนารมณ์ตอ่ สาธารณะในการจะประกอบกิจการด้านเหมืองแร่อย่างมีธรรมาภิบาล และคำ�นึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ประกอบกิจการ เป็นการเน้นย้ำ�และสร้างความเชือ่ มัน่ ต่อการพัฒนาแร่อย่างยัง่ ยืน เกิดประโยชน์สงู สุด และ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน สังคม และประเทศชาติ การประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำ�เนินงานของ คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ภายใต้ คนร. และรับทราบผลการดำ�เนินการของภาคเอกชน ที่ได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการในแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 25602564 ที่กำ�หนดให้ประทานบัตรหรือเขตเหมืองแร่ที่มีเขตติดต่อกันต้องดำ�เนินการให้มี แผนการทำ�เหมืองร่วมกัน หรือออกแบบการทำ�เหมืองของเขตประทานบัตรที่ติดกัน ให้สามารถใช้ทรัพยากรแร่ได้อย่างคุ้มค่าภายใต้ความเหมาะสมทางด้านความปลอดภัย เทคโนโลยี และวิศวกรรมเหมืองแร่ รวมถึงให้มีแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาพรวม เพื่อการใช้ทรัพยากรแร่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาความเหมาะสมและมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560-2564 หลักเกณฑ์การจำ�แนกทรัพยากรแร่ของประเทศไทย ซึ่งพิจารณาปัจจัยด้าน ธรณีวิทยา ปัจจัยความเหมาะสมด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำ�เหมืองและสถานภาพ โครงการ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้าน สุขภาพของประชาชน เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำ�หนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำ�เหมือง หลักเกณฑ์การประเมินพื้นที่ที่มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เพื่อใช้ เป็นหลักเกณฑ์สำ�หรับการประเมินว่าพื้นที่ใดสมควรถูกกำ�หนดให้เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ อุดมสมบูรณ์และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และหลักเกณฑ์ในการจัดทำ�ข้อมูลพื้นฐานด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน สำ�หรับการประกอบโลหกรรม พ.ศ. ... โดยการ พิจารณาและมีมติในเรื่องดังกล่าวก็เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการแร่ให้เหมาะสม และเกิดประโยชน์สงู สุดภายใต้ดลุ ยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิง่ แวดล้อม และสุขภาพของ ประชาชนตามหลักการของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 10

May-June 2020


พิ ธ ล ี งนาม บันทึกความเข้าใจว่าด้วย ความร่วมมือในการ

พัฒนาเหมืองหินปูนสู่ความยั่งยืน

ทส. ดันนวัตกรรม

น้ำ�บาดาล หอถังยักษ์ แก้ปัญหาน้ำ�แล้งเพื่อเกษตรกร

วิ

ษณุ ทับเทีย่ ง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมลงนามเป็นสักขีพยานใน พิธลี งนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาเหมืองหินปูนสูค่ วามยัง่ ยืน ระหว่าง บริษทั ปูนซีเมนต์นครหลวง จำ�กัด (มหาชน) และ บริษทั ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำ�กัด โดยมี ชัยวิทย์ อุณหศิริกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่ อนุ กัลลประวิทย์ ผู้อำ�นวยการกองบริหาร สิง่ แวดล้อม วี จารุรกั ษา ผูอ้ ำ�นวยการกองวิศวกรรมบริการ และ ประสิทธิ์ ศรีพรหม ผูอ้ ำ�นวยการสำ�นักงานอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ เขต 7 ราชบุรี เข้าร่วมพิธฯี ในโอกาสนี้ กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวง อุตสาหกรรม และ พงศ์บณ ุ ย์ ปองทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวแสดงความยินดีและสนับสนุนต่อการบริหาร จั ด การแร่ ในการพั ฒ นาเหมื อ งหิ น ปู น สู่ ค วามยั่ ง ยื น ณ ห้ อ งประชุ ม อาคารเพชร ชัน้ 1 กรมทรัพยากรธรณี

ระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่ ง แวดล้ อ ม และหน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการด้านบริหารจัดการน้ำ� ของประเทศ แก้ ปั ญ หาภั ย แล้ ง และการ ขาดแคลนน้ำ� อุ ป โภคบริ โ ภค และน้ำ� เพื่ อ การเกษตรแก่ ป ระชาชนในพื้ น ที่ ต่ า งๆ ทั่วประเทศ ดำ�เนินโครงการศึกษาการพัฒนา น้ำ�บาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ในพื้นที่ นำ�ร่อง 6 พื้นที่สำ�เร็จ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ลําพูน เพชรบูรณ์ ยโสธร เลย และสระแก้ว พร้อมส่งมอบให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่าง เต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ โดย พลเอก ประวิ ต ร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในพิธสี ง่ มอบโครงการนำ�ร่องแห่งแรก ร่วมด้วย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และ จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม ณ บ้ า นสะอาด หมู่ ที่ 6 ตำ�บลน้ำ�สวย อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย

May-June 2020

11


Cover Story l

กองบรรณาธิการ

ทวี ทวีสุขเสถียร

รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ นายกสมาคมอุตสาหกรรมย่อยหินไทย

“ผู้ประกอบการเหมืองหิน หวังรัฐใช้เงินหนึ่งล้านล้านบาท กระตุ้นเมกะโปรเจ็กต์” ในบรรดาผู้ ป ระกอบการเหมื อ งหิ น ชั้ น นำ � ของไทย ชื่อของคุณทวี ทวีสุขเสถียร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ศิลาสากลพัฒนา จำ�กัด เป็นที่รู้จักกันดี ใน ฐานะผูป้ ระกอบการเหมืองหินอุตสาหกรรมเพือ่ การ ก่อสร้างที่ดำ�เนินกิจการเหมืองแร่และโรงบดย่อย หินปูน ซึ่งให้ความสำ�คัญต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ส่งผลให้เหมืองศิลาสากลพัฒนาได้ตำ�แหน่งต้นแบบ เหมื อ งแร่ สี เ ขี ย ว ที่ อ ยู่ ร่ ว มกั บ ชุ ม ชนอย่ า งยั่ ง ยื น นอกจากหน้าที่หลักในการบริหารงานที่ศิลาสากล พัฒนาแล้ว คุณทวียังสวมหมวกสำ�คัญในตำ�แหน่ง รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ และนายก สมาคมอุตสาหกรรมย่อยหินไทยอีกด้วย

12

May-June 2020


May-June 2020

13


วารสารเหมื อ งแร่ ฉ บั บ นี้ จึ ง ขอนำ�ท่ า นไปฟั ง มุ ม มองของนายกสมาคมอุ ต สาหกรรม ย่อยหินไทยถึงการประกาศใช้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ภาพลักษณ์การทำ�เหมืองหิน อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง และสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเหมืองหิน

สมาคมอุตสาหกรรมย่อยหินไทย ก่อตั้งขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ ใด และมีความเป็นมาอย่างไร

ความหวังของผู้ประกอบ การเหมืองหินก็คอื หวังว่า รัฐจะใช้เม็ดเงินจากการ กู้ยืมมาจ�ำนวนหนึ่งล้าน ล้ า นบาทในการกระตุ ้ น เศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ ใน เร็ววัน และมาตรการหนึ่ง ในนัน้ เราก็หวังว่าภาครัฐ จะใช้เม็ดเงินในการด�ำเนิน โครงการก่อสร้างขนาด ใหญ่ ห รื อ เมกะโปรเจ็ ก ต์ อย่างเช่น โครงการ EEC โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการมอเตอร์เวย์และ ทางหลวงสายต่างๆ และ โครงการรถไฟรางคู่ ให้ ด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

ก่อนปี พ.ศ. 2535 หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง ไม่ได้จัดเป็นแร่ตามพระราชบัญญัติ แร่นะครับ การขออนุญาตระเบิดและย่อยหิน ต้องดำ�เนินการขออนุญาตตามมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน พื้นที่ที่อนุญาตฯ จำ�กัดอยู่ที่ไม่เกิน 10 ไร่ และอายุใบอนุญาตไม่เกิน 5 ปี ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถวางแผนการลงทุนเพื่อการผลิตในระยะยาวได้ และ ไม่เอือ้ อำ�นวยต่อการลงทุนนำ�เทคโนโลยีในการทำ�เหมืองทีท่ นั สมัย ปลอดภัย และประหยัดต้นทุน รวมทั้งการวางแผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมได้ ทั้งขั้นตอนการขออนุญาตยังต้อง ผ่า นการพิจ ารณาหลายขั้ นตอน ขาดความโปร่ ง ใสและมี ค่า ใช้ จ่ า ยรายทางสู ง มาก ดัง นั้น ผูป้ ระกอบกิจการระเบิดและย่อยหินจึงได้รวมตัวกันก่อตัง้ “สมาคมอุตสาหกรรมย่อยหินไทย” ขึน้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2533 โดยสมาคมฯ ได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาการเหมืองแร่ รวบรวมประเด็นปัญหาและอุปสรรคของ การประกอบธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมและแนวทางการแก้ ไ ขปั ญ หาเสนอต่ อภาครั ฐ จนนำ�ไปสู่ การเปลี่ ย นแปลงจากการระเบิ ด และย่ อ ยหิ น ไปเป็ น เทคโนโลยี ก ารทำ�เหมื อ งหิ น ภายใต้ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2538 ภายใต้ การกำ�กั บ ดู แ ลของกรมทรั พ ยากรธรณี ต่ อ มาเปลี่ ย นเป็ น กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและ การเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ซึง่ ส่งผลให้ผปู้ ระกอบการสามารถขออนุญาตประทานบัตร ครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 300 ไร่ และเป็นระยะเวลานานถึง 25 ปี ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถ วางแผนลงทุนในระยะยาวได้ การทำ�เหมืองจึงได้เปลี่ยนจากการห้อยโหนด้วยลวดสลิงในการ เจาะรูระเบิดมาเป็นการทำ�เหมืองแบบขั้นบันไดตามหลักวิศวกรรม ซึ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงก็นำ�มาซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ถือประทานบัตรที่มากขึ้นตาม ไปด้วยเช่นกัน

การประกาศใช้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 แทนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ส่งผลต่อการ ดำ�เนินกิจการเหมืองหินอย่างไรบ้าง

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ การทำ�เหมืองหินอุตสาหกรรมเพื่อ การก่อสร้างได้รบั การจำ�แนกเป็นการทำ�เหมืองประเภทที่ 2 กล่าวคือ เป็นการทำ�เหมืองในพืน้ ที่ ไม่เกิน 625 ไร่ และเป็นการทำ�เหมืองแร่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพต่อชุมชนอย่างรุนแรง และอายุประทานบัตรมีอายุได้สงู สุด 30 ปี เหมืองต่างๆ ในหมูเ่ หมืองเดียวกันซึง่ มีเขตประทานบัตรติดต่อกันสามารถขออนุญาตร่วมแผนผัง โครงการทำ�เหมืองเดียวกันได้ ส่งผลให้การวางแผนทำ�เหมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ นอกจากนีก้ ารอนุญาตประทานบัตรในกรณีทไ่ี ม่อยูใ่ นพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำ�ชัน้ 1 สามารถดำ�เนินการ ได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากอำ�นาจในการอนุญาตประทานบัตรได้เปลี่ยนถ่ายจากระดับกระทรวง มาอยูท่ อี่ ธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ โดยการพิจารณาให้ความเห็นชอบจาก คณะกรรมการแร่ ซึง่ มีผแู้ ทนจากหน่วยงานราชการต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง แต่การยืน่ คำ�ขอประทานบัตร ก็ถูกตีกรอบมากขึ้น สามารถดำ�เนินการได้แต่เฉพาะในพื้นที่ที่ถูกกำ�หนดให้เป็นเขตแหล่งแร่ เพื่อการทำ�เหมืองเท่านั้น และผู้ประกอบการก็มีภาระและความรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งจากเดิม มีการจัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนรอบพื้นที่เหมือง และกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน รอบพื้นที่เหมืองแร่แล้ว ยังต้องมีการจัดทำ�หลักประกันการฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำ�เหมืองและ 14

May-June 2020


เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทำ�เหมือง รวมทั้งต้องจัดทำ� ประกันภัยความรับผิดต่อชีวติ ร่างกาย และทรัพย์สนิ ของบุคคล ภายนอกด้วย

ภาพลักษณ์ของการทำ�เหมืองหิน อุตสาหกรรมเพือ่ การก่อสร้าง ถูกมองว่า เป็นการทำ�ลายป่าไม้ ทำ�ลายต้นน้�ำ ลำ�ธาร มุมมองของท่านเป็นเช่นไร

ในทางตรงกันข้ามเลยครับ การทำ�เหมืองหินก่อสร้าง เป็นการช่วยลดการทำ�ลายป่านะครับ ทุกกิจกรรมทีม่ นุษย์เราทำ� ล้ ว นส่ ง ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มกั น ทั้ ง นั้ น ไม่ ม ากก็ น้ อ ย เราต้องประเมินว่าทางเลือกไหนดีที่สุด จากนั้นก็เลือกในทาง ที่เกิดผลกระทบต่ำ�สุด และต้องยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้น น้อยที่สุดและควบคุมดูแลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใน ระดับที่ต่ำ�ที่สุด อย่าลืมว่าเมื่อไม่ให้มีการตัดไม้ทำ�ลายป่า การสร้างบ้าน ก็ตอ้ งหันไปใช้วสั ดุอนื่ ๆ เช่น คอนกรีต อิฐบล็อก แผ่นเรียบ วัสดุ พวกนี้ล้วนมีส่วนประกอบที่ทำ�มาจากหิน ปูนซีเมนต์ก็ทำ�มา จากหิน คอนกรีตก็ตอ้ งใช้หนิ และทรายในการผสมกับปูนซีเมนต์ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง เหมืองหินจึงมีบทบาทช่วยลดการ ตัดไม้ทำ�ลายป่ามากทีเดียว ถ้าไม่เอาอะไรสักอย่าง แล้วคุณ จะเอาอะไรมาสร้างบ้าน โลหะก็มรี าคาสูงกว่า เรือ่ งนีเ้ ทียบได้กบั เรื่องพลังงานไฟฟ้า คุณไม่อยากให้เกิดมลพิษในเมืองด้วยการ ลดการใช้รถทีใ่ ช้น้ำ�มันเป็นเชือ้ เพลิง มาใช้รถทีใ่ ช้พลังงานไฟฟ้า แทน ไฟฟ้ามาจากไหนล่ะครับ ผมเชือ่ อยูอ่ ย่างว่ามันเป็นกฎทาง ธรรมชาติทวี่ า่ เมือ่ ใดก็ตามทีเ่ รามีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อย่างไรเสียมันต้องก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ไม่ว่าที่ใดก็ที่หนึ่ง การใช้รถที่ใช้นำ�้ มันเป็นเชื้อเพลิงก็ก่อให้เกิด มลพิษที่ไม่เข้มข้นแต่กระจายไปทั่ว ซึ่งควบคุมได้ยาก การ เปลี่ ย นมาใช้ ร ถที่ ใ ช้ พ ลั ง งานไฟฟ้ า มลพิ ษ หรื อ ผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมก็จะเปลี่ยนไปเกิดที่โรงผลิตไฟฟ้าแทนในระดับ

ที่เข้มข้นกว่า แต่ควบคุมได้ง่ายกว่า ซึ่งไม่ว่าทางเลือกใด เรา ก็ ต้ อ งควบคุ ม ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มให้ เ กิ ด ขึ้ น ในระดั บ ที่ ต่ำ� สุ ด ในระดั บ ค่ า ใช้ จ่ า ยที่ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย รวมทั้ ง ผู้ บ ริ โ ภค ผู้ใช้บริการที่มีส่วนได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมยอมรับได้ ด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันนี้มีการคัดค้านต่อต้านเกิดขึ้นในทุกทางเลือก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กไ็ ม่เอา โรงไฟฟ้าทีใ่ ช้น้ำ�มันเตาเป็นเชือ้ เพลิง ก็ไม่เอา โรงไฟฟ้าถ่านหินก็ไม่เอา โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงก็ต่อต้าน โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ�ก็ ต่อต้าน เหลือแต่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ที่สะอาดหน่อย แต่ก็ยังมีคนออกมาต่อต้านนะครับ แล้วเรา จะไปทางไหนกัน ส่วนประเด็นทีว่ า่ การทำ�เหมืองหิน เหมืองแร่ทำ�ลายพืน้ ที่ ลุ่มน้ำ�นั้น ส่วนหนึ่งก็ได้อธิบายไปแล้วนะครับ แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็ตอ้ งไปดูสภาพทีเ่ ป็นจริงในแต่ละพืน้ ทีด่ ว้ ยนะครับ การกำ�หนด ชัน้ คุณภาพลุม่ น้ำ�ของประเทศเรา คงต้องมีการสังคายนากันใหม่ ที่ผ่านมาเป็นการกำ�หนดบนแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ โดยเน้นไปที่ระดับเส้นชั้นความสูงเป็นสำ�คัญ เราจึงได้เห็นภูเขา หิ น ปู น หลายแห่ ง ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น แหล่ ง ต้ น น้ำ� ลำ�ธารเลย แต่ ถู ก กำ�หนดเป็นพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำ�ชั้น 1

การคัดค้านโครงการเหมืองหิน มีผลต่อราคาหินในตลาดหรือไม่

เป็นเรื่องปกติของกฎดีมานด์ ซัพพลายนะครับ ถ้าความ ต้องการใช้สนิ ค้ามากแล้วมีผลผลิตออกมาสูต่ ลาดน้อย ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ ราคาสินค้าก็จะสูงขึน้ แต่กรณีของหินทีเ่ ป็น สิ น ค้ า ที่ มี ค่ า ขนส่ ง ค่ อ นข้ า งสู ง เมื่ อ เที ย บกั บ ราคา เราจะไป พิจารณาแต่กำ�ลังการผลิตโดยรวมทัง้ ประเทศเพียงพอต่อความ ต้องการใช้คงจะไม่ได้ พื้นที่ไหนไม่มีเหมืองหิน ผู้บริโภคก็ต้อง รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งหินจากพื้นที่อื่นมาใช้ ราคาหิน ก็จะสูงกว่าหินในพื้นที่ที่มีเหมืองหินอยู่ May-June 2020

15


สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในครั้งนี้ส่งผลกระทบ ต่อธุรกิจเหมืองหินอุตสาหกรรม เพื่อการก่อสร้างอย่างไร

วิกฤตการณ์ไวรัส COVID-19 ครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อคน และธุรกิจทุกภาคส่วน ทุกระดับนะครับ และโยงใยกันไปหมด คนผลิตสินค้าก็ต้องหยุดผลิต คนซื้อคนใช้สินค้าก็ต้องหยุดซื้อ ด้วยมาตรการล็อกดาวน์ การทีผ่ คู้ นขาดรายได้ไประยะหนึง่ กว่า จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็ต้องใช้เวลาเป็นปี ต่อจากนั้นบทเรียน จากการไม่ มี ร ายได้ ใ นช่ ว งระยะเวลาหนึ่ ง ก็ ค งจะทำ�ให้ ผู้ ค น ระมัดระวังในการใช้จา่ ยมากขึน้ การต่อเติมบ้าน การก่อสร้างบ้าน ก็คงจะชะลอตัวไปอีกนาน บ้านและคอนโดที่สร้างเสร็จแล้ว ก็ ยั ง มี ป ริ ม าณเกิ น ความต้ อ งการอยู่ ซึ่ ง จะส่ ง ผลต่ อ ความ ต้องการใช้หนิ เพือ่ การก่อสร้างทีล่ ดน้อยลงไปด้วย ความหวังของ ผู้ประกอบการเหมืองหินก็คือ หวังว่ารัฐจะใช้เม็ดเงินจากการ กู้ยืมมาจำ�นวนหนึ่งล้านล้านบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ ฟื้นตัวได้ในเร็ววัน และมาตรการหนึ่งในนั้น เราก็หวังว่าภาครัฐ จะใช้เม็ดเงินในการดำ�เนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่หรือ เมกะโปรเจ็กต์ อย่างเช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการ มอเตอร์เวย์และทางหลวงสายต่างๆ และโครงการรถไฟรางคู่ ให้ดำ�เนินไปอย่างต่อเนื่อง โครงการเหล่านี้ล้วนต้องใช้หินเป็น วัสดุในการก่อสร้างทั้งสิ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความต้องการใช้หิน ก่อสร้างให้มากขึ้นในระดับหนึ่ง

16

May-June 2020

ท้ายนี้ ท่านมีอะไรจะฝากถึงผูป้ ระกอบการ เหมืองหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง บ้างไหม

ผมขอฝากถึงเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วย ราชการต่างๆ ขอให้ปฏิบตั ติ ามอย่างเคร่งครัด ทำ�อยูใ่ นขอบเขต พื้นที่ประทานบัตรที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น การทำ�เกินพื้นที่หรือ ทำ�ในพื้นที่ที่ห้ามทำ� จะถูกดำ�เนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา บทลงโทษทั้งปรับและจำ�คุก ระมัดระวังในการใช้วัตถุระเบิด โดยเฉพาะการผสมปุ๋ ย แอมโมเนี ย ไนเตรทกั บ น้ำ� มั น ดี เ ซล ควรจะผสมในเขตประทานบัตรตามปริมาณที่ได้รับอนุญาต และใช้ให้หมดภายในวันเดียว ปริมาณคงเหลือของวัตถุระเบิด ต้ อ งถู กต้ อ งตรงตามบั ญ ชี อี ก ทั้ ง เรื่ อ งการขนส่ ง ไม่ บ รรทุ ก น้ำ�หนักเกิน ถึงแม้จะเป็นรถของลูกค้า แต่เมือ่ บรรทุกเกิน ผูข้ าย จะต้องรับผิดด้วย ผมก็ อ ยากเรี ย นผู้ ป ระกอบการเหมื อ งหิ น ทุ ก ท่ า นว่ า ปั จ จุ บั น ประเทศเรามี ป ระชากรมากขึ้ น ความตระหนั ก ใน ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในสังคมมีสูงขึ้น ผู้ประกอบการจะทำ� ธุรกิจโดยคำ�นึงถึงแต่การประหยัดต้นทุนในการผลิตอย่างเดียว อย่างในอดีตไม่ได้แล้ว การลงทุนในเรื่องการป้องกันผลกระทบ ต่อสิง่ แวดล้อมและการดูแลชุมชนทีอ่ ยูโ่ ดยรอบพืน้ ทีเ่ หมือง การ ปฏิบตั ติ ามแต่เพียงทีก่ ฎหมายกำ�หนดก็คงไม่พอ แต่ทา่ นจะต้อง ใส่ใจและตระหนักว่าการดูแลป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การฟืน้ ฟูสภาพเหมืองทัง้ ในระหว่างการทำ�เหมือง และหลังการ ทำ�เหมือง การสร้างทัศนียภาพของพื้นที่ทำ�เหมืองให้กลมกลืน กับธรรมชาติให้มากทีส่ ดุ และการทำ�ให้เหมืองเป็นส่วนหนึง่ ของ ชุมชนอย่างจริงใจ จะช่วยให้ธุรกิจของท่านดำ�เนินไปได้อย่าง มั่ น คง และยั ง จะเป็ น การส่ ง ผ่ า นมรดกทางธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังลูกหลานของพวกเราทุกคนด้วย


บทความ

l

สุรพล อุดมพรวิรัตน์

เหมืองหิน

อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง

และบทบาทในการช่วยลดการทำ�ลายทรัพยากรป่าไม้

เป็นวัสดุธรรมชาติที่มนุษย์รู้จักนำ�มาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัย ที่มนุษย์ยังอาศัยอยู่ในถ้ำ�และตามเพิงผาธรรมชาติ และ ดำ�รงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาของป่า เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธก็ทำ�จาก การนำ�หินมากะเทาะกันให้เป็นรูปทรงต่างๆ ต่อมาเมื่อมนุษย์ค้นพบโลหะ พลังแห่งการทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ก็เพิ่มมากขึ้น เมื่อมนุษย์ สามารถนำ�โลหะมาแปรรูปให้เป็นเครื่องมือสำ�หรับตัดไม้และแปรรูปไม้ได้อย่าง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ไม้ ก็ ถู ก นำ�มาใช้ เ ป็ นวั ส ดุ ใ นการสร้ า งที่ อ ยู่ อ าศั ย อุ ป กรณ์ การเกษตร และเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมาย จุดเปลี่ยนดังกล่าวทำ�ให้วิถีชีวิตคน เปลี่ยนไป มนุษย์ได้ย้ายถิ่นฐานออกจากถ้ำ�มุ่งสู่ที่ราบ ทำ�การเกษตรกรรมแทน การล่าสัตว์แต่เพียงอย่างเดียว มีการตั้งถิ่นฐานและสร้างชุมชนที่ใหญ่ขึ้นใน เวลาต่อมา และเมื่อโลกมีประชากรมากขึ้น ความต้องการใช้ไม้ก็มีมากขึ้น ความรุนแรงของการทำ�ลายทรัพยากรป่าไม้ก็มากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ May-June 2020

17


วิวัฒนาการ

ของการใช้ประโยชน์จากหินในการก่อสร้าง คนไทยในยุคเกษตรกรรมล้วนพักอาศัยในบ้านเรือน ทีท่ ำ�จากไม้ ในบ้านของคนไทยสมัยก่อนมีเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ในชี วิ ต ประจำ�วั น ที่ ทำ�จากหิ น อยู่ เ พี ย งไม่ กี่ อ ย่ า ง เช่ น ครกหินเอาไว้ตำ�น้ำ�พริก โม่หินสำ�หรับโม่แป้งไว้ทำ�ขนม อาจจะมีหินลับมีดอยู่ด้วยสักก้อนหนึ่ง และเวลาเจ็บป่วย ก็ใช้หินในการบดยาเพื่อผสมเครื่องสมุนไพรไว้ใช้รักษา อาการป่ ว ย แต่ หิ น กลั บมามี บ ทบาทในชี วิ ต ประจำ�วั น ของเรามากขึน้ เมือ่ ในเวลาต่อมามนุษย์รจู้ กั ผลิตเครือ่ งจักร ที่เป็นจุดเริ่มต้นของยุคอุตสาหกรรม และเครื่องจักรนี่เอง ที่นำ�หินกลับมาสู่ชีวิตคน เมื่อมนุษย์เรามีเครื่องมือเจาะ ระเบิดหินออกจากภูเขา มีเครื่องจักรกลหนักในการขุด ตักหินได้ครั้งละมากๆ มีรถบรรทุกในการลำ�เลียงหิน มี เครื่องบดย่อยหินให้เป็นก้อนเล็กๆ รวมทั้งมีเครื่องตัดหิน ออกมาเป็นแผ่นได้ดังที่เราต้องการ เมื่อหินถูกนำ�มาใช้ได้ ง่ายขึ้น หินก็ค่อยๆ เข้ามาแทนที่ไม้อย่างเงียบๆ และ จุดเปลี่ยนที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งก็คือการค้นพบการใช้ ั นามากขึน้ คอนกรีต เมือ่ นวัตกรรมทางด้านคอนกรีตได้พฒ หินทีใ่ ช้ในการผลิตปูนซีเมนต์และเป็นส่วนผสมของคอนกรีต ก็ถูกนำ�มาใช้งานในด้านต่างๆ อย่างแพร่หลายขึ้น ทั้ง ในด้านการก่อสร้างอาคาร ที่พักอาศัยและสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน ทางรถไฟ สะพาน อุโมงค์ ทางยกระดับ สนามบิน เขื่อน คลองส่งน้ำ� และเสาไฟฟ้า

โรงโม่หินของ บริษัท ไจ แอนด์ ร็อค 1990 จำ�กัด ในจังหวัดสระบุรี

18

May-June 2020


ภาพลั ก ษณ์ ข องการทำ�เหมื อ งหิ น อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง ในสายตา ของคนส่วนใหญ่ถกู มองว่าเป็นอุตสาหกรรม ที่ทำ�ลายทรัพยากรป่าไม้และพื้นที่ลุ่มน้ำ� จะมีใครสักกี่คนที่จะหันมาพินิจพิจารณา ในประเด็นที่ว่าหินได้ถูกนำ�มาใช้เป็นวัสดุ ก่อสร้างแทนไม้ มีส่วนช่วยลดการตัดไม้ ทำ�ลายป่าลงได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการใช้ ประโยชน์ ข องหิ น ในรู ป ของคอนกรี ต ก่ อ สร้ า งอาคารสำ�นั ก งานที่ มี ค วามสู ง หลายชั้ น ก็ มี ส่ ว นช่ ว ยในการลดการใช้ พื้ น ที่ ใ นแนวราบ ลดการบุกรุกพื้น ที่ป่ า ลงไปได้ ม าก บทบาทของเหมื อ งหิ น อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง จึงเป็นทั้ง “พระเอก” ที่ช่วยลดการตัดไม้ท�ำ ลายป่า และในขณะเดียวกันการทำ�เหมืองหิน หลายแห่งก็จำ�เป็นต้องตัดไม้ทำ�ลายป่า เหมืองหินจึงถูกมองเห็นแต่ในบทบาท ของ “ผู้ร้าย” หากไม่มองให้ลึกถึงความ จำ�เป็นในความต้องการใช้หินที่ไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้

May-June 2020

19


การพัฒนา

ของเหมืองหินอุตสาหกรรม เพื่อการก่อสร้างใน ประเทศไทย เมื่อมนุษย์เริ่มตระหนักได้ว่าการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นความจำ�เป็นสำ�หรับการ อยู่ อ าศั ย ในโลกใบนี้ กระแสการรณรงค์ ก ารอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เริ่มขึ้นและตามมา ด้ ว ยการรณรงค์ ใ ห้ มี ก ารลดการตั ด ไม้ ทำ�ลายป่ า ใน ประเทศไทยสัมปทานป่าไม้ได้ยุติลงในวันที่ 14 มกราคม 2532 เมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชกำ�หนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2484 และพระราชกำ�หนด แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 จากนั้น คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์สั่งการให้สัมปทานการทำ�ไม้หวงห้าม ทุกชนิด (เว้นสัมปทานทำ�ไม้ป่าชายเลน) ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง มีผล ให้การทำ�ไม้สมั ปทานจำ�นวน 276 ป่า เนือ้ ที่ 96,728,981 ไร่ ยุ ติ ล งโดยสิ้ น เชิ ง ลดการตั ด ไม้ ล งได้ โ ดยเฉลี่ ย ปี ล ะ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อไม้หายากขึ้น มีราคาแพงขึ้น ตรงนี้ เ ป็ น จุ ด เปลี่ ย นที่ สำ�คั ญที่ ก ารสร้ า งบ้ า นเรื อ นต้ อ ง หันมาใช้คอนกรีตแทนไม้มากขึ้นเรื่อยๆ ประจวบกับการ พัฒนาเมืองและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ที่ มี ก ารเติ บ โตมากขึ้ น การทำ�เหมื อ งหิ น เพื่ อ การผลิ ต ปูนซีเมนต์และหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างอันเป็น ส่วนผสมของคอนกรีตจึงขยายตัวมากขึ้น จากฐานข้ อ มู ล ของสภาการเหมื อ งแร่ ปั จ จุ บั น ประเทศไทยมีประทานบัตรเหมืองหินอุตสาหกรรมเพือ่ การ ก่อสร้าง จำ�นวน 522 แปลง กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศ ยกเว้น บริเ วณภาคตะวัน ออกเฉีย งเหนื อ ตอนบนด้ า นที่ ติ ด กั บ ชายแดนประเทศลาวตอนกลาง ในภูมิภาคนี้ไม่มีหินปูนหรือหินบะซอลต์ที่เหมาะสมกับ

20

May-June 2020

บทบาทของเหมืองหินอุตสาหกรรมเพื่อ การก่อสร้าง จึงเป็นทั้ง “พระเอก” ที่ช่วย ลดการตัดไม้ท�ำลายป่า และในขณะเดียวกัน การท�ำเหมืองหินหลายแห่งก็จ�ำเป็นต้อง ตัดไม้ท�ำลายป่า เหมืองหินจึงถูกมองเห็น แต่ในบทบาทของ “ผูร้ า้ ย” หากไม่มองให้ลกึ ถึงความจ�ำเป็นในความต้องการใช้หินที่ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

การนำ�มาใช้ผสมคอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้างหรือสำ�หรับทำ�ถนน ลาดยาง จึงจำ�เป็นต้องใช้หนิ กรวดในแม่น้ำ�โขงมาบดย่อยเพือ่ ใช้ในการ ก่อสร้าง หินบางส่วนถูกขนส่งมาจากจังหวัดเลยและจังหวัดอุดรธานี และบางส่วนนำ�เข้ามาจากแขวงคำ�ม่วนของประเทศลาว ปริมาณ สำ�รองหิ น ในพื้ น ที่ ป ระทานบั ต รและคำ�ขอประทานบั ต รโดยรวม ทั้งประเทศมีอยู่ประมาณ 9,500 ล้านตัน อย่างไรก็ดีแม้ปริมาณ สำ�รองหินเพือ่ การก่อสร้างในภาพรวมจะมีเพียงพอต่อความต้องการ ใช้ไปอีกนานหลายปี แต่การเปิดเหมืองเพิม่ ในแต่ละพืน้ ทีก่ ย็ งั มีความ จำ�เป็น เพราะหินทีเ่ ป็นสินค้ามีคา่ ขนส่งค่อนข้างสูง เมือ่ เทียบกับราคา พื้นที่ไหนไม่มีเหมืองหินอยู่ใกล้ ผู้บริโภคก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่าย ในการขนส่งหินจากพื้นที่อื่นมาใช้


วิวัฒนาการของคอนกรีต เทคโนโลยีและนวัตกรรม การใช้งานของหินอุตสาหกรรมเพื่อ การก่อสร้างที่มากที่สุด เป็นการใช้งานใน รูปแบบส่วนผสมของคอนกรีต คอนกรีต เป็นวัสดุทางวิศวกรรมที่เกิดจากการผสม กันให้เป็นเนื้อเดียวในระดับอนุภาคของ วัสดุหลายๆ อย่าง เช่น ปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ� เพื่อให้เกิดเป็นวัสดุที่สามารถ จำ�ลองคุณสมบัติความแข็งแรงของหินได้ คุณสมบัติเด่นที่สุดของคอนกรีตที่ทำ�ให้ ผูอ้ อกแบบอาคารอย่างสถาปนิกหรือวิศวกร เลื อ กมาใช้ ง านคื อ การที่ ค อนกรี ต นั้ น สามารถทนต่อแรงกดอัด (Compression) ได้ สู ง มาก และยั ง สามารถทำ�ให้ อ ยู่ ใ น รูปร่างที่หลากหลายได้ตามลักษณะของ แม่พมิ พ์ทใี่ ช้ เราจึงเห็นการประยุกต์ใช้งาน คอนกรีตได้มากมาย ในอดีตมนุษย์นำ�หิน มาสร้างที่พักอาศัยเพราะมีความแข็งแรง แต่ เ มื่ อ เกิ ด การพั ฒ นาเรื่ อ ยมา มนุ ษ ย์ ต้องการความแข็งแรง ทนทาน อายุการ ใช้งานยาวนาน คอนกรีตจึงถูกคิดค้นและ ผลิตมาเพือ่ ทดแทนการใช้งานหินธรรมดา ในการก่อสร้าง

May-June 2020

21


คอนกรีตเป็นโครงสร้างหลัก เป็นวัสดุหลักของงาน ก่อสร้าง ตั้งแต่บ้านเดี่ยวขนาดเล็ก บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ อาคารขนาดเล็กจนกระทั่งคอนโดสูงระฟ้า 30-40 ชั้น ตลอดจนทางยกระดับ สะพาน เขื่อน อุโมงค์ ต่างก็ต้องใช้ คอนกรีตในการก่อสร้าง สิ่ ง ก่ อ สร้ า งเหล่ า นี้ ทุ ก ประเภทตั้ ง แต่ เ ล็ ก จนใหญ่ ไม่ เ พี ย งแต่ ต้ อ งรับแรงกดที่สูงได้ดีเ ท่ านั้น แต่ยังต้ องมี ความสามารถในการทนต่อแรงดึงด้วย (Tension) แต่ว่า คอนกรีตล้วนๆ นั้นมีความแข็ง (Hardness) ที่ดีมาก แต่ไม่มีคุณสมบัติที่ทนต่อแรงดึง ผู้ออกแบบอาคารอย่าง

วิศวกรโยธาและนักวัสดุศาสตร์จึงกลบข้อด้อยข้อนี้ของวัสดุคอนกรีต ด้วยการเสริมเหล็กเส้นทีท่ ำ�หน้าทีเ่ ป็นวัสดุเสริมแรง (Reinforcement) เข้าไปเมื่อทำ�การก่อสร้างจริงเพื่อให้อาคารที่ถูกสร้างนั้นมีความ แข็งแรง คงทน สร้างความมั่นใจสำ�หรับผู้อยู่อาศัยได้ ปัจจุบนั อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการวิจยั พัฒนาคอนกรีตใน รูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น อิฐมวลเบา ผนังเบามอร์ตา้ ร์ ผสมโฟม เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในการจัดการในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการลดต้นทุน ด้านโครงสร้าง ปริมาณ และเวลา หรือแม้แต่ปญ ั หาด้านการขาดแคลน แรงงาน

เอกสารอ้างอิง (1) Website : World Of Technology Interesting Technologies Around The World - http://mytechnologyworld9. blogspot.com/2015/11/ships-made-of-concrete.html (2) ยุทธวงษ์ วงษ์ทอง, 2545 : การเดินทางของก้อนหิน, นิตยสารสารคดี ปีที่ 17 ฉบับที่ 212 เดือนตุลาคม 2545 22

May-June 2020


สาระน่ารู้

สาระน่ า รู ้ “คอนกรีตทำ�อะไร

ได้มากกว่าที่คิด”

ดี บุ ก เป็ น แร่ ที่ มี ค วามสำ�คั ญ ทาง เศรษฐกิ จ ของประเทศไทยและมี ค วาม เป็ น มายาวนานที่ ย้ อ นไปได้ ถึ ง สมั ย กรุงศรีอยุธยา การทำ�เหมืองแร่ดบี กุ เริม่ ต้น ขึ้ น ด้ ว ยวิ ธี เ หมื อ งหาบ ต่ อ มาก็ มี ช าว ต่างชาตินำ�เทคโนโลยีการทำ�เหมืองเรือขุด มาใช้ ทำ�ให้สามารถเพิม่ ปริมาณผลผลิตได้ มากขึน้ ทัง้ ยังลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก หลายท่านคงมีโอกาสได้เห็นการทำ� เหมืองแร่ดีบุกด้วยเรือขุด หรือหากได้ดู หนังเรือ่ ง “มหาลัยเหมืองแร่” ซึง่ ประพันธ์ ขึ้ น โดยคุ ณ อาจิ น ต์ ปั ญ จพรรค์ แล้ ว ก็คงจะนึกภาพของเรือขุดแร่ออก ซึ่งโดย ทั่วไปแล้วเรือขุดแร่ก็มักจะทำ�ด้วยเหล็ก หลายท่านคงเคยเห็นซากโครงสร้าง เรือขุดแร่ดีบุกที่ยังสร้างไม่เสร็จ ทิ้งไว้ใน บริ เ วณที่ ตั้ ง ของหน่ ว ยพิ ทั ก ษ์ อุ ท ยาน แห่ ง ชาติ ที่ ลป.๓ (ปาง) เขาลำ�ปี หาด ท้ายเหมือง จังหวัดพังงา กันมาบ้างแล้ว ที่ แ ปลกในความรู้ สึ ก และไม่ คิ ด ว่ า จะ เป็ น ไปได้ ก็ คื อ เรื อลำ�นี้ทำ�ด้ วยคอนกรี ต สภาพเรือยังสร้างไม่เสร็จ น่าเสียดายที่ เจ้าของสัมปทานได้ยกเลิกการทำ�เหมืองแร่

ภาพเรือขุดแร่ดีบุกของบริษัท ซีทรานส์ ไมนิ่ง จำ�กัด

ไปเสียก่อน เหลือไว้แต่ซากโครงสร้างเรือและซากเฟืองยักษ์ทตี่ งั้ อยูใ่ นบริเวณใกล้เคียง หลายท่านเห็นโครงสร้างเรือที่เป็นแท่งคอนกรีตตันๆ ก็คงมีคำ�ถามในใจว่า ถ้าสร้าง เสร็จแล้ว เรือจะลอยน้ำ�ได้จริงหรือ? คนสร้างสติเฟื่องหรือเปล่า? คำ�ถามนี้ก็ไม่ต่าง จากคำ�ถามของคนในยุ ค ที่ เ ริ่ ม มี ค วามพยายามสร้ า งเรื อด้ ว ยเหล็ ก ขึ้ น มาใช้ ง าน คำ�ถามของคนที่คุ้นเคยกับเรือไม้ในยุคนั้นก็คือ เหล็กจะไปลอยอยู่ในน้ำ�ได้อย่างไร? คนที่คิดจะทำ�เรือด้วยเหล็กสติเฟื่องหรือเปล่า? การทีเ่ รือทัง้ ทีท่ ำ�ด้วยเหล็กและคอนกรีตลอยน้ำ�อยูไ่ ด้ ก็เป็นเพราะแรงพยุงหรือ แรงลอยตัว (Buoyancy) ตามกฎของอาร์คิมิดีส ซึ่งเป็นในลักษณะเดียวกันกับการ ที่เราเห็นตุ่มน้ำ�ขนาดใหญ่ลอยน้ำ�ได้เมื่อเกิดน้ำ�ท่วม May-June 2020

23


กฎของอาร์ คิ มิ ดี ส อธิ บ ายเรื่ อ ง แรงพยุงหรือแรงลอยตัวไว้วา่ “วัตถุทจี่ มลง หรือมีบางส่วนจมอยู่ในของไหลจะมีแรง ลอยตัวยกวัตถุชิ้นนั้นขึ้น โดยที่ขนาดของ แรงดังกล่าวจะมีขนาดเท่ากับน้ำ�หนักของ ของไหลในปริมาตรเท่ากับปริมาตรวัตถุ ส่วนทีจ่ มลงหรือถูกแทนที”่ การสร้างเรือด้วย คอนกรีตก็ใช้หลักการเดียวกันกับเรือเหล็ก ตามธรรมชาติคอนกรีตมีความหนาแน่น มากกว่ า น้ำ� ทะเลหลายเท่ า แต่ ม นุ ษ ย์ นำ�กฎของอาร์คิมิดีสมาประยุกต์ใช้ โดย การลดความหนาแน่นของคอนกรีตลงด้วย การทำ�ให้รูปทรงของเรือมีลักษณะกลวง ข้างในให้มีพื้นที่ว่างสำ�หรับอากาศ ส่งผล ให้ เ รื อ มี ป ริ ม าตรเพิ่ ม ขึ้ น ขณะที่ มี ม วล เท่าเดิม เรือคอนกรีตจึงมีความหนาแน่น น้อยลงเมือ่ เทียบกับแท่งคอนกรีตตัน การ เพิ่ ม พื้ น ที่ ผิ ว สั ม ผั ส ของเรื อ กั บ น้ำ� ทะเล ก็มีส่วนช่วยให้เกิดแรงพยุงที่มากขึ้นตาม ไปด้วย ทำ�ให้เรือคอนกรีตลอยตัวในน้ำ�ได้ การสร้างเรือด้วยคอนกรีตซึ่งเสริม โครงสร้ า งเหล็ ก เพื่ อ ความแข็ ง แรงไม่ ใ ช่ เรื่องแปลกใหม่ โจเซฟ หลุยส์ ลอมโบ (Joseph-Louis Lambot) ชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่ริเริ่มสร้างเรือด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กขึ้นมาในปี พ.ศ. 2398 และ

ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ขาดแคลน เหล็ก ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็มีการสร้างเรือด้วยคอนกรีตขึ้นมาใช้งาน ทางด้านการทหาร อย่างไรก็ดี การสร้างเรือด้วยคอนกรีตไม่ได้รับความนิยม แม้ว่าค่าวัสดุในการ ก่อสร้างจะต่ำ�กว่าเหล็ก แต่ก็มีค่าแรงงานสูงกว่า ทั้งความหนาของคอนกรีตก็ทำ�ให้ เหลือพื้นที่ระวางสินค้าน้อยลง น้ำ�หนักที่มากของคอนกรีตก็ส่งผลให้ต้องใช้เชื้อเพลิง ในการขับเคลื่อนสูงกว่า และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เรือก็อับปางลงเร็วกว่าเรือที่ทำ�ด้วย เหล็กหรือไม้ แต่ในกรณีของเรือขุดแร่ซึ่งเป็นการใช้งานในพื้นที่แคบๆ ไม่มีการ เคลื่อนตัวมากนัก การเกิดอุบัติเหตุต่อลำ�เรือแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น ทั้งการ ขับเคลื่ อนก็ ใ ช้ ลวดสลิ ง ลากให้ เ คลื่ อนตั ว ไปได้ การสร้า งเรื อขุ ด แร่ ด้ ว ยคอนกรีต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีป่ ระหยัดค่าวัสดุกอ่ สร้างทีใ่ ช้ลงได้มาก ทัง้ ยังมีความแข็งแรง และทนทานในสภาพการใช้งานเช่นนี้

ซากโครงสร้างเรือขุดแร่ดีบุกที่ท�ำ ด้วยคอนกรีต ในบริเวณที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลป.๓ (ปาง) เขาลำ�ปี หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

ภาพเรือที่ท�ำ จากคอนกรีตเสริมเหล็ก จาก Website : World Of Technology Interesting Technologies Around The World - http://mytechnologyworld9.blogspot.com/2015/11/ships-made-of-concrete.html

24

May-June 2020


ทุ่นคอนกรีตลอยน้ำ� บ้านลอยน้ำ� และที่จอดรถลอยน�้ำ ปัจจุบันมีการนำ�คอนกรีตมาประยุกต์ทำ�เป็นทุ่นคอนกรีตลอยน้ำ� สำ�หรับงานท่าเรือขนาดเล็ก บ้านลอยน้ำ�และที่จอดรถ ลอยน้ำ� ซึ่งเหมาะสำ�หรับใช้ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำ�ท่วมบ่อย อันเป็นการช่วยลดความเสียหายต่อทรัพย์สิน โดยเมื่อน้ำ�ท่วม บ้านและที่จอดรถจะลอยตัวขึ้นลงตามระดับน้ำ� ตัวทุ่นทำ�จากคอนกรีตเสริมใยเหล็ก ผิวนอกมีความหนา แข็งแรง ไม่อมน้ำ� ภายใน อัดด้วยโฟมโพลีสไตรีนจนเต็มแน่น มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ต้องการการบำ�รุงรักษามาก

คอนกรีตเสริมใยเหล็ก

โฟมโพ

ลีสไตร

ีน

(ข้อมูลและภาพจาก Website ของบริษัท เอสอี โซลูชั่นส์ จำ�กัด (http://www.tantusmarina.com/index.php) May-June 2020

25


โครงการอุโมงค์รถยนต์ ใต้น้ำ�แบบลอยแห่งแรกของโลก ประเทศนอร์เวย์ เตรียมแผนดำ�เนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ใต้นำ�้ แบบลอยแห่งแรกของโลก โดยจะเชื่อมต่อระหว่าง เมือง Kristiansand ทีอ่ ยูท่ างใต้ไปยังเมือง Trondheim ทีอ่ ยูท่ างเหนือ ทีป่ จั จุบนั ต้องใช้วธิ เี ดินทางโดยทางเรือเฟอร์รดี่ ว้ ยระยะเวลา 21 ชั่วโมง แต่อุโมงค์ที่จะสร้างขึ้นนี้จะช่วยให้การเดินทางลดลงเหลือเพียง 11 ชั่วโมง โครงสร้างของอุโมงค์จะเป็นท่อคอนกรีต เชื่อมต่อกับทุ่นลอยน้ำ�ที่จะรักษาระดับของอุโมงค์ให้ลอยอยู่คงที่ โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2578 ด้วยเงินลงทุน 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบ 9 แสนล้านบาท

(ข้อมูลและภาพจาก Website : https://www.terrabkk.com/news

26

May-June 2020


EEC

l

ฝ่ายสื่อสาร แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ�

อ่างเก็บน้ำ�ประแกด

นัชี้ภาคบริ กวิกจารและชุ ัย มชน

ในพื้นที่ EEC ใช้น�้ำ มาก ไม่แพ้ภาคอุตสาหกรรม แนะเตรียมแผนรองรับ ก่อนเกิดปัญหาขาดแคลนน�้ำ

รศ. ดร.บัญชา ขวัญยืน หัวหน้ากลุ่มวิจัยแผนงาน การพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ�ในพื้นที่ EEC

การจะบริหารจัดการเพือ่ สร้างสมดุลการใช้นำ�้ ในพืน้ ที่ EEC โดยเฉพาะ การวางแผนสำ�หรับอนาคตใน 20 ปี ข้างหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ของชาติ นั้ น ไม่ ง่ า ย นั กวิ จั ย “โครงการวิ จั ย เพื่ อ จั ด ทำ�ข้ อ เสนอแนะสมดุ ล น้ำ� และมาตรการลดการใช้ น้ำ�เพื่ อ การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ในการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” เผยมุมมองภาคอุตสาหกรรม ทีเ่ คยเป็นตัวร้ายถูกมองเป็นผูใ้ ช้นำ�้ มาก ปัจจุบนั ปรับตัวและพัฒนาไปมาก แล้ว ส่วนที่นา่ ห่วงคือ ความต้องการใช้น้ำ�ของภาคบริการ ท่องเที่ยว และ การอุปโภค-บริโภคของชุมชนและเมืองทีเ่ ติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ คาดว่าจะต้องการ ใช้นำ�้ จำ�นวนมากพอๆ กับภาคอุตสาหกรรม หากไม่มีการเตรียมการที่ดี จะเป็นจุดตายของ EEC รศ. ดร.บัญชา ขวัญยืน จากภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ�แพงแสน ใน ฐานะหั ว หน้ า โครงการวิ จั ย “เพื่ อ จั ด ทำ�ข้ อ เสนอแนะสมดุ ล น้ำ� และ มาตรการลดการใช้น้ำ�เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” และหัวหน้ากลุ่มวิจัยแผนงานการ พัฒนาการบริหารจัดการน้ำ�ในพื้นที่ EEC ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนการบริหารจัดการน้ำ� ที่ได้รับ การสนับสนุนจากสำ�นักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำ�นักงานคณะ กรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงความ ก้าวหน้าของผลการศึกษาฯ ว่า เมื่อพูดถึงเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก หรือ EEC สปอตไลต์มกั จับไปทีภ่ าคอุตสาหกรรม ตัวการสำ�คัญ ที่ใช้น้ำ�เป็นจำ�นวนมหาศาล ในความเป็ น จริ ง เขตอุ ต สาหกรรมใหม่ แ ห่ ง นี้ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย 3 จั ง หวั ด คื อ ระยอง ชลบุ รี และฉะเชิ ง เทรา มี ทั้ ง ภาคเกษตร ภาคอุ ต สาหกรรม ภาคการบริ ก าร การท่ อ งเที่ ยว รวมทั้ ง ภาคชุ ม ชน ล้วนต้องการน้ำ�ในทุกภาคส่วนและเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเมือง โดย สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก ประมาณการความ ต้องการใช้นำ�้ ในปี พ.ศ. 2580 อยูท่ ่ี 3,089 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพิม่ ขึน้ ประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น ในการศึกษาของโครงการฯ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนการ บริหารจัดการน้ำ�ที่มีเป้าหมายลดการใช้น้ำ�ลง 15% ในทุกภาคส่วน May-June 2020

27


“โจทย์ของ EEC ต่างกับโจทย์ในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ของ ประเทศค่อนข้างชัดเจน ซึง่ การใช้น�้ำ เกือบ 80% เป็น เรื่องภาคเกษตร แต่ EEC ไม่ใช่ เพราะพื้นที่ EEC มี 3 จังหวัด และมีสภาพการใช้น้ำ�แตกต่างกันอย่าง มาก” รศ. ดร.บัญชา กล่าว จากการจำ�แนกการใช้น้ำ�ในพื้นที่ EEC พบว่า “จังหวัดระยอง” มีการใช้นำ�้ ในภาคอุตสาหกรรม มากกว่า 50% โดยพึ่งพาการใช้นำ�้ จากภาครัฐและ บริษัทน้ำ�เอกชนค่อนข้างมาก หากไม่ลดการใช้น้ำ�ลง ต่อไปจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ จังหวัดระยองอย่างแน่นอน ส่วน “จังหวัดชลบุรี” ภาคการใช้ นำ�้ หลั ก อยู่ ที่ ชุ ม ชน นอกจากน้ำ� เพื่ อ การอุ ป โภคบริ โ ภค แล้ ว ยั ง รวมถึ ง กลุ่ ม ท่ อ งเที่ ย ว โรงแรม/ที่พักรีสอร์ต และการบริการอีกด้วย รศ. ดร.บัญชา ยังให้ข้อสังเกตว่า ระยองแม้จะ เป็นเมืองที่มีการอพยพโยกย้ายของแรงงานมาก แต่ประชากรจำ�นวนหนึ่งที่ทำ�งานในจังหวัดระยอง กลับเลือกพักอาศัยทีจ่ งั หวัดชลบุรี รวมถึงชาวต่างชาติ เนื่องจากใกล้แหล่งพักผ่อน และยังเป็นศูนย์กลาง ด้านโลจิสติกส์ ซึ่งในอนาคตเมื่อโครงการพัฒนา สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินแล้วเสร็จ จะ ยิ่ ง เป็ น แม่ เ หล็ ก ดึ ง ดู ด ให้ ท วี ค วามหนาแน่ น ของ ประชากรยิ่งขึ้น

อ่างเก็บน้ำ�หนองปลาไหล

28

May-June 2020

น้ำ�เสียในระบบบำ�บัดนำ�มาหมุนเวียนใช้ใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ

ขณะที่ “จังหวัดฉะเชิงเทรา” การใช้น้ำ�ส่วนใหญ่มากกว่า 80% เป็นการใช้น้ำ�เพือ่ การเกษตร และเป็นเกษตรแบบไม่มฤี ดูกาลมีการใช้น้ำ� ตลอดทั้งปี ในปีที่แล้งจึงมีผลกระทบมาก ถือเป็นยาขมหม้อใหญ่ของ การบริหารจัดการน้ำ� ขณะทีใ่ นภาคอุตสาหกรรมของฉะเชิงเทราส่วนใหญ่ เป็นการใช้น้ำ�สำ�รองที่ดึงจากแม่นำ�้ บางปะกงมาเก็บไว้


อ่างเก็บน้ำ�พะวาใหญ่ อยู่ในระหว่างก่อสร้าง

ในเบื้ อ งต้ น เพื่ อ ให้ เ ห็ น ความชั ด เจนของการ ลดการใช้นำ�้ ได้จริง การศึกษาวิจัยจึงเน้นไปที่ภาค อุตสาหกรรมเป็นหลัก เพราะมองว่ามีความพร้อม มากทีส่ ดุ ในการปรับตัว และการศึกษาทีผ่ า่ นมายังไม่มี ใครรูว้ า่ ภาคอุตสาหกรรมมีนำ�้ ต้นทุนทีไ่ หนบ้างอย่างไร นอกจากตัวเลขการรับน้ำ�จากกรมชลประทานและ อีสท์วอเตอร์ ทำ�ให้การศึกษาวิจัยนี้จึงเป็นครั้งแรก ที่ มี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล ต้ น ทุ น น้ำ� ทั้ ง หมด พร้ อ มกั บ นำ� เทคโนโลยีเข้าไปจับในกระบวนการผลิต เพือ่ ทราบว่า สุดท้ายแล้วจะลดการใช้น้ำ�อย่างไร” รศ. ดร.บัญชา กล่าวว่า แม้จะมีมาตรการลด การใช้น้ำ�ในทุกภาคส่วน กระนั้นก็ต้องพิจารณาถึง สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งภาคอุตสาหกรรม ลดการใช้น้ำ�ลงแล้วในระดับหนึ่ง จากการลงพื้นที่ เก็บข้อมูล คณะวิจัยได้สร้างความเข้าใจ พร้อมนำ� ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปเป็นที่ปรึกษา แนะนำ�กระบวนการ ลดการใช้น้ำ�ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบทั้ง 15 โรงงาน และอีก 2 นิคมอุตสาหกรรม พบว่า อุ ต สาหกรรมหลายแห่ ง มี ก ารดำ�เนิ น การอยู่ แ ล้ ว ทัง้ มาตรการประหยัดน้ำ� มีแหล่งน้ำ�ต้นทุนของตนเอง มีระบบบำ�บัดน้ำ�เสีย และนำ�น้ำ�เสียกลับมาใช้ใหม่ “ปัจจัยที่เป็นตัวเร่ง คือภาคอุตสาหกรรมที่เคย ผ่านวิกฤตเมื่อปี พ.ศ. 2548 มีการปรับตัวไปมาก แต่บางส่วนที่ไม่เคยเจอวิกฤตก็ยังไม่ได้ปรับ เพราะ ในปี พ.ศ. 2558 ทีเ่ กิดวิกฤตขาดแคลนน้�ำ ทัว่ ประเทศ แต่ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด ภาวะขาดแคลนน้ำ �ในภาคตะวัน ออก

จึงยังไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งหลังจากที่ได้รับคำ�แนะนำ�ในการปรับเปลี่ยน เพือ่ ลดการใช้น�้ำ ได้ผลเป็นทีน่ า่ พอใจ สำ�หรับผูท้ เี่ คยทำ�อยูแ่ ล้วหลังนำ�งาน วิ จั ย เข้ า ไปเสริ ม ข้ อ มู ล ความรู้ ใ ห้ ผู้ ป ระกอบการอุ ต สาหกรรมสามารถ วางแผนบริหารจัดการน้ำ�ได้มากขึ้นภายใน 6 เดือน เห็น ผลแล้วว่าเรา ทำ�ได้” รศ. ดร.บัญชา กล่าว ขณะที่ ภ าคอุ ป โภคบริ โ ภคยั ง ไม่ เ คยเกิ ด ผลกระทบ เช่ น เดี ยวกั บ ทางด้านภาคการท่องเที่ยว ในปี พ.ศ 2548 ยังไม่เติบโตมาก และจำ�นวน ประชากรที่เคลื่อนย้ายเข้ามายังไม่มากนัก เช่น จังหวัดชลบุรีขณะนั้น มีประชากรไม่ถึง 2 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีประชากรกว่า 2.5 ล้านคน ส่วนการพัฒนาการท่องเที่ยวเติบโตมากกว่าปี พ.ศ. 2548 ถึงเท่าตัว รศ. ดร.บัญชา กล่าวว่า โจทย์คอื ขณะนีภ้ าคอุตสาหกรรมเติบโตมาก การท่องเที่ยวเติบโตมาก ภาคเกษตรกรรมเองก็มีพืชเศรษฐกิจสำ�คัญ โดยเฉพาะทุเรียน สร้างรายได้ดี ทำ�ให้เกษตรกรจำ�นวนมากโค่นต้นยาง หันมาปลูกทุเรียนกันมากขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ ทุเรียนเป็นพืชทีใ่ ช้นำ�้ มาก จึงมีความ น่าเป็นห่วงว่าน้ำ�จะเพียงพออยู่อีกหรือไม่ วันนี้มาตรการลดการใช้นำ�้ ในทุกภาคส่วนจึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเรามองในอีก 20 ปีข้างหน้า จำ�นวนประชากรในเขต EEC จะมีไม่ต่ำ�กว่า 6 ล้านคน ซึ่ง EEC ถือเป็น พื้นที่เดียวของประเทศไทยที่ปริมาณของประชากรจะเติบโตมากขึ้น และ จะเพิ่ ม ขึ้ น อี ก เป็ น ล้ า นคน เนื่ อ งจากการเติ บ โตของอุ ต สาหกรรมและ การท่องเที่ยว วันนี้ ภาคอุตสาหกรรมมีความน่าห่วงระดับปานกลาง เพราะมีการ ปรับตัวและพัฒนาไปมาก และทิศทางอุตสาหกรรมในอนาคตจะเป็น อุตสาหกรรมทันสมัย เน้นเทคโนโลยีนวัตกรรม สิ่งที่น่าห่วงคือ ความ ต้องการใช้น้ำ�ของภาคบริการ ท่องเที่ยว และการอุปโภคบริโภคของ ชุมชนของเมืองทีเ่ ติบโต ทีค่ าดว่าจะต้องการใช้นำ�้ มากพอๆ กับอุตสาหกรรม ดังนั้น หากไม่มีการเตรียมการที่ดี จะเป็นจุดตายของ EEC May-June 2020

29


CSR l

กองบรรณาธิการ

สมาชิกเครือข่าย

CSR-DPIM ร่วมบริจาคเงิน สมทบทุนให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี

ภายใต้โครงการป้องกันและช่วยเหลือ สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 วิษณุ ทับเทีย่ ง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน และการเหมื อ งแร่ พร้ อ มด้ ว ย อนุ กัลลประวิทย์ ผู้อำ�นวยการกองบริหาร สิง่ แวดล้อม ทินกร ก๊กเครือ และ สราวุฒิ ลาภงามชนะ ผูแ้ ทนจากสมาชิกเครือข่าย CSR-DPIM ภายใต้กรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมส่งมอบ กำ�ลั ง ใจและบริ จ าคเงิ น สมทบทุ น จาก สมาชิกเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคม ของสถานประกอบการเหมื อ งแร่ เพื่ อ สนับสนุนมูลนิธริ ามาธิบดี ภายใต้โครงการ ป้ อ งกั น และช่ ว ยเหลื อ สถานการณ์ แ พร่ ระบาดของ COVID-19 โดยมี ศ.นพ.พรชัย สิ ม ะโรจน์ ผู้ ช่ ว ยคณบดี ฝ่ า ยกิ จ กรรม พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี เป็นผู้รับมอบ ณ โรงพยาบาล รามาธิบดี

ทวี ทวีสุขเสถียร

ศิลาสากลพัฒนา ปลูกหญ้าแฝกรอบเหมือง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 บริษทั ศิลาสากลพัฒนา จำ�กัด นำ�ทีม โดย ทวี ทวีสุขเสถียร ผู้จัดการทั่วไป รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรม ย่อยหินไทย นำ�พนักงานร่วมกิจกรรม ปลูกหญ้าแฝก เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ณ เหมื อ งศิ ล าสากลพั ฒนา ตำ�บล หนองน้ำ�แดง อำ�เภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา

30

May-June 2020


กพร. ร่วมแบ่งปันสิ่งของ กับตู้อุตสาหกรรมปันสุข “ใส่ตู้อุ่นใจ หยิบไปอิ่มท้อง” เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 วิษณุ ทับเทีย่ ง อธิบดีกรมอุตสาหกรรม พื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ (กพร.) พร้ อ มด้ ว ย อดิ ทั ต วะสี น นท์ รอง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่ คณะผู้บริหาร กพร. และเจ้าหน้าที่ กพร. ร่วมกันนำ�อาหาร แห้ ง และสิ่ ง ของที่ มี ค วามจำ�เป็ น ต่ อ การดำ�รงชี พ ใส่ ตู้ อุ ต สาหกรรม ปั น สุ ข เพื่ อ แบ่ ง ปั น สิ่ ง ของให้ กั บ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในพื้นที่ โดยรอบกระทรวงอุตสาหกรรม ใน ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ตู้ อุ ต สาหกรรมปั น สุ ข บริ เ วณ ด้านหน้ากระทรวงอุตสาหกรรม

เทศบาลตำ�บลสุนทรภู่ ร่วมกับกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ประกอบการเหมืองแร่ทรายแก้ว จ.ระยอง

จัดซื้อถุงยังชีพแจกจ่ายให้ประชาชนกว่า 3,700 ครัวเรือน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563 เทศบาลตำ�บลสุนทรภู่ ร่วมกับ กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ประกอบการเหมืองแร่ทรายแก้ว จังหวัดระยอง โดยดำ�ริ ของนายกเทศมนตรีเห็นว่าภายในตำ�บลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแหลมแม่พิมพ์มี โรงแรมและชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการระบาดของเชื้อ COVID-19 ทำ�ให้มีการเลิกจ้างงาน จึงจัดการประชุมและขอการสนับสนุนจากเหมืองแร่ ที่มีเงินกองทุนเฝ้าระวังภาวะสุขภาพและกองทุนดูแลพื้นที่รอบหมู่เหมืองที่ แต่ละเหมืองต้องนำ�เงินเข้ากองทุนปีละ 700,000 บาท โดยขออนุมัติเบิกเงิน ออกมาเหมืองละ 330,000 บาท เพื่อจัดซื้อถุงยังชีพที่ประกอบด้วยข้าวสาร 1 ถัง ไข่ไก่ 1 ถาด น้ำ�มันพืช เป็นต้น เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั้งหมดกว่า 3,700 ครัวเรือนในเขตเทศบาลตำ�บลสุนทรภู่ อำ�เภอแกลง จังหวัดระยอง สำ�หรับผู้ประกอบการเหมืองแร่ทรายแก้วที่สนับสนุนการจัดซื้อถุงยังชีพ ในครัง้ นี้ ประกอบด้วย บริษทั ธรรมชาติทรายแก้ว จำ�กัด หจก.โกมลประนอม บริการ บริษัท ทิพย์สิงห์ ซัพพลายไมนิ่ง จำ�กัด บริษัท ตะวันออกพัฒนา จำ�กัด และ บริษัท ธรรมชาติตะวันออก จำ�กัด สนับสนุนงบประมาณรายละ 330,000 บาท ส่วนบริษัท เจียฮะฮวด จำ�กัด และกำ�นันณรงค์ แจ่มใส สนับสนุนงบประมาณ 80,000 บาท และ 50,000 บาท ตามลำ�ดับ

May-June 2020

31


ไขข้อข้องใจกฎหมายแร่

ไขข้อข้องใจ

กฎหมายแร่

วั ส ดี ค รั บ ท่ า นผู้ อ่ า นวารสาร “เหมื อ งแร่ ” ทุ ก ท่ า น ฉบั บ นี้ เ ราเริ่ ม คอลั ม น์ ใ หม่ “ไขข้ อ ข้องใจกฎหมายแร่” ก็ด้วยเหตุที่เราพบว่า กฎหมายที่ เกี่ยวกับการทำ�เหมืองแร่และธุรกิจแร่นั้นมีอยู่ม ากมาย หลายระดับ มีทั้งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ที่เป็น กฎหมายแม่บท แล้วยังมีอนุบัญญัติที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งประกอบด้วย ประกาศ คณะกรรมการแร่ กฎ ประกาศ ระเบียบและข้อบังคับ กระทรวงอุ ต สาหกรรม ประกาศและระเบี ย บกรม อุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ สภาการเหมืองแร่ จึงได้รวบรวมและจัดพิมพ์กฎหมายเหล่านีไ้ ว้เป็นหมวดหมู่ ให้ง่ายต่อการสืบค้น โดยได้รับความอนุเคราะห์ต้นฉบับ จากกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ ขณะนีก้ าร จัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นหนังสือปกแข็ง กระดาษ ถนอมสายตา ความหนา 464 หน้า สภาการเหมืองแร่จะ แจกจ่ายให้แก่สมาชิกฯ ผู้เข้าประชุมสามัญประจำ�ปี พ.ศ. 2563 ทุกท่าน ซึ่งกำ�หนดจะจัดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 8.30 น.-15.30 น. ณ โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร 32

May-June 2020

อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่สามารถลงรายละเอียดไว้ได้ทงั้ หมด หลายกรณีต้องอาศัยความกระจ่างและการชี้แนะแนวปฏิบัติจาก หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และบางครั้งหน่วยงานเหล่านั้นก็ยัง ต้องหารือในการตีความข้อกฎหมายไปยังสำ�นักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา ในส่วนของการปฏิบตั ติ ามกฎหมายแร่ มีหลายกรณีทผ่ี ปู้ ระกอบการ ไม่ทราบว่าจะต้องดำ�เนินการอย่างไร อุตสาหกรรมจังหวัดในแต่ละ จั ง หวั ด ก็ อ าจให้ คำ�แนะนำ�ที่ แ ตกต่ า งกั น ไป ดั ง นั้ น หากสมาชิ ก ฯ ท่านใดที่มีข้อข้องใจในแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายแร่ในเรื่องใด คอลัมน์นอี้ าสาเป็นสือ่ กลางในการประสานงานกับกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อความ กระจ่างในแนวปฏิบัติ พร้อมทั้งตีพิมพ์ข้อหารือในคอลัมน์นี้เพื่อ ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกฯ ท่านอื่นได้รับทราบด้วย สมาชิกฯ สามารถส่งประเด็นคำ�ถามถึงคณะผู้จัดทำ�วารสาร “เหมืองแร่” ได้ทางช่องทางด้านล่างนี้

E-mail : miningthai22@gmail.com Line ID : @ulc4210x Tel : 0-2275-7684-6


ฉบั บ นี้ ขอเริ่ ม ด้ ว ยแนวปฏิ บั ติ ใ นการขนส่ ง แร่ ที่ ไ ม่ ไ ด้ อยู่ในการควบคุมฯ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งมี ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทรายแก้วหารือผ่านมาทางคุณวัลลภ การวิวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาแร่ทรายแก้ว ควอตซ์ และแร่เซรามิก ของสภาการเหมืองแร่

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการนำ�แร่ที่ ไม่อยู่ในความควบคุม การขนแร่ ไปประกอบธุรกิจ

มาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 บัญญัติ ไว้ว่า “การซื้อแร่ การขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ ที่อยู่ในความควบคุมตามมาตรา 98 ต้องได้รับ ใบอนุญาตจากอธิบดี” ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำ�หนดชนิดแร่ ปริมาณแร่ สภาพ และพื้นที่ที่อยู่ในความควบคุมเกี่ยวกับการ ซื้อแร่ การขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ พ.ศ. 2560 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 98 แห่ง พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กำ�หนดชนิดแร่และปริมาณแร่ ที่อยู่ในความควบคุมฯ ไว้ดังนี้ (1) แร่ทองคำ� ไม่ว่าจะมีปริมาณเท่าใด (2) แร่ดีบุก แร่เหล็ก แร่ทองแดง แร่สังกะสี แร่พลวง แร่ตะกั่ว แร่แมงกานีส แร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ แร่อิลเมไนต์ และแร่โมนาไซต์ ที่มีน้ำ�หนักเกินสิบกิโลกรัมขึ้นไป สภาการเหมืองแร่ได้รับการหารือจากผู้ประกอบการแร่ ทรายแก้วซึ่งไม่ได้เป็นแร่ที่อยู่ในความควบคุมตามประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรมฯ ดังกล่าวข้างต้น ในประเด็นที่ผู้ซื้อแร่ ทรายแก้วยังต้องการหนังสือรับรองการขนแร่ทรายแก้ว ซึ่ง ออกให้โดยสำ�นักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจากผู้ประกอบการ ส่ ง ผลให้ ผู้ ป ระกอบการมี ภ าระที่ ไ ม่ จำ�เป็ น ในด้ า นค่ า ใช้ จ่ า ย เกี่ ย วกั บ บุ ค ลากรและเวลาในการขอรั บ ใบรั บ รองดั ง กล่ า ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงปัจจุบนั ทีม่ ดี า่ นกักกันโรคระบาดไวรัส โควิด-19 สภาการเหมืองแร่จึงได้หารือถึงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การขนแร่ทรายแก้วไปยังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่ ซึ่งกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้มี หนังสือที่ อก 0504/2070 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2563 ให้ ความกระจ่างถึงแนวปฏิบตั ใิ นการขนแร่ทไี่ ม่อยูใ่ นความควบคุม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำ�หนดชนิดแร่ ปริมาณแร่ สภาพ และพื้นที่ที่อยู่ในความควบคุมเกี่ยวกับการ ซื้อแร่ การขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ พ.ศ. 2560 ดังนี้

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดภาระที่ไม่จำ�เป็นในการออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรอง ต่างๆ ผู้ประกอบการจึงไม่จำ�เป็นต้องร้องขอต่อสำ�นักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดเพื่อออกหนังสือรับรองการขนแร่ หรือ หนังสือรับรองการชำ�ระค่าภาคหลวงแร่สำ�หรับแร่ทไี่ ม่ได้อยูใ่ น ความควบคุม ซึ่งได้ชำ�ระค่าภาคหลวงแร่ไว้แล้วแต่อย่างใด และได้ให้แนวปฏิบตั เิ กีย่ วกับการขนแร่ทไี่ ม่อยูใ่ นความควบคุม ไว้ดังนี้ (1) แร่ที่ไม่อยู่ในความควบคุมตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรือ่ ง กำ�หนดชนิดแร่ ปริมาณแร่ สภาพ และพืน้ ที่ ที่ อ ยู่ ใ นความควบคุ ม เกี่ ย วกั บ การซื้ อ แร่ การขายแร่ การ ครอบครองแร่ การเก็บแร่ หรือการขนแร่ พ.ศ. 2560 เมื่อได้มี การชำ�ระค่าภาคหลวงตามหมวด 11 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 แล้ว ผูม้ สี ทิ ธิในแร่สามารถทำ�การซือ้ ขาย ครอบครอง เก็บ หรือขนได้ ตามนัยมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 (2) แร่ที่ไม่อยู่ในความควบคุมตามประกาศตามข้อ (1) ทีย่ งั ไม่สามารถประเมินค่าภาคหลวงแร่ทตี่ อ้ งชำ�ระได้จนกว่าแร่ นั้นจะทำ�การแต่งแร่แล้วเสร็จ เช่น แร่ทรายแก้ว แร่ดินขาว หรือ แร่ชนิดอื่น เมื่อผู้มีสิทธิในแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่วางเงิน ประกันหรือให้ธนาคารที่อธิบดีเห็นชอบเป็น ผู้ค้ำ�ประกันการ ชำ�ระค่าภาคหลวงแร่ตามมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ประกอบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการจัดการค่าภาคหลวงแร่ การกำ�หนดราคา ตลาดแร่ การตรวจสอบการชำ�ระค่ า ภาคหลวงแร่ แ ละการ ประเมิ น การชำ�ระค่ า ภาคหลวง พ.ศ. 2560 แล้ ว ผู้ มี สิ ท ธิ ในแร่สามารถนำ�แร่ไปทำ�การแต่งแร่โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ขนแร่ หรือหนังสือรับรองการขนแร่แต่อย่างใด (3) แร่ตามข้อ (2) เมื่อได้มีการแจ้งผลการแต่งแร่ ไม่ว่า บางส่ ว นหรื อ ครบตามจำ�นวนแร่ ที่ นำ�ไปแต่ ง หรื อ ไม่ ก็ ต าม ผู้มีสิทธิในแร่ต้องชำ�ระค่าภาคหลวงแร่ตามจำ�นวนดังกล่าวให้ ครบถ้วนตามมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ประกอบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ การกำ�หนดราคาตลาดแร่ การ ตรวจสอบการชำ�ระค่าภาคหลวงแร่ และการประเมินการชำ�ระ ค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2560 จึงจะสามารถนำ�ไปประกอบธุรกิจ แร่ได้ โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตขนแร่หรือหนังสือรับรองการ ขนแร่แต่อย่างใด

May-June 2020

33


แร่น่ารู้ l

มยุรี ปาลวงศ์

“ทองแดง” โลหะทีเ่ ปีย่ มไปด้วยคุณค่า “ทองแดง” เป็นโลหะชนิดแรกๆ ที่มนุษย์รู้จักและนำ�มาใช้งาน จากหลักฐานพบว่า ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รู้จักการถลุง ทองแดงมาใช้ทำ�เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ แม้วา่ ทองแดงจะมีปริมาณ น้อยมากในเปลือกโลก (เพียง 0.0001%) เมือ่ เทียบกับโลหะอืน่ อย่าง เหล็ก (5%) หรืออะลูมินัม (8%) แต่ทองแดงเป็นโลหะ ซึ่งสามารถ พบได้ทั้งในรูปอิสระและในรูปสารประกอบ ซึ่งสามารถถลุงออกมา เป็นโลหะได้ง่าย โดยทั่วไปโลหะจะถูกเรียกว่า “ทองแดง” ก็ต่อเมื่อ โลหะนั้นเป็นทองแดงเกือบบริสุทธิ์ คือมีสิ่งแปลกปลอมอื่น ผสมอยู่ ไม่เกิน 0.5% โดยน้ำ�หนัก แร่ทองแดงมักอยูใ่ นรูปของซัลไฟด์ ออกไซด์ คาร์บอเนต ซัลเฟต ซิลิเกต แต่ส่วนใหญ่จะเป็นซัลไฟด์ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ แร่ทองแดงคาลไซด์ มีสีเทาดำ� และแร่คาลดีโพไรต์ มีสีเหลือง ทองแดงเกิดขึ้นตามธรรมชาติในรูปของทองแดงบริสุทธิ์หรือ สินแร่ โดยรวมตัวอยู่กับหิน ทราย ดิน หรือดินเหนียว สินแร่ทองแดง แบ่งออกเป็นจำ�พวกใหญ่ๆ 3 จำ�พวกด้วยกัน คือ 1. ทองแดงบริสทุ ธิต์ ามธรรมชาติซงึ่ มีทองแดงอยูถ่ งึ ร้อยละ 99 2. แร่ซัลไฟด์ (Sulfide Ores) ทองแดงรวมตัวกับกำ�มะถันเป็น ทองแดงซัลไฟด์ ในแร่บางชนิดอาจมีธาตุอนื่ เช่น ดีบกุ หรือเหล็ก ปน อยูด่ ว้ ย สินแร่ทองแดงในรูปของซัลไฟด์ทสี่ ำ�คัญๆ ได้แก่ คาลโคไพไรต์ (Chalcopyrite) โคเวลไลต์ (Covellite) อีนาร์ไจต์ (Enargite) 34

May-June 2020

เททราฮีไดรต์ (Tetrahedrite) และบอร์ไนต์ (Bornite) เป็นต้น แร่เหล่านี้มีทองแดงอยู่ร้อยละ 40-80 3. แร่ออกไซด์ (Oxide Ores) ทองแดงรวมตัวกับ ออกซิเจนอยู่ในรูปของออกไซด์ แร่เหล่านี้ได้แก่ คิวไพรต์ (Cuprite) เทนอไรต์ (Tenorite) อะซู ไ รต์ (Azurite) บรอคาไนต์ (Brochanite) ฯลฯ ซึ่งมีทองแดงอยู่ร้อยละ 45-89

> วิวัฒนาการ

ทองแดง ถือกำ�เนิดขึน้ มานานกว่า 10,000 ปีมาแล้ว โดยมนุษย์ยุคหินใช้โลหะชนิดนี้เพื่อทำ�อาวุธ เนื่องจากมี คุณสมบัติทางด้านความเหนียว สามารถขึ้นรูปได้โดย ไม่เสี่ยงต่อการแตกหัก และยังมีคุณสมบัติเด่นด้านความ ทนทานต่อการกัดกร่อน โดยเฉพาะน้ำ�ทะเลและกรดได้ เป็นอย่างดี แต่มีจุดอ่อนที่มีความแข็งแรงต่ำ� จึงทำ�ให้การ ใช้งานทองแดงมีคอ่ นข้างจำ�กัด ส่วนการปรับปรุงคุณสมบัติ ในด้านความแข็งแรง ไม่นิยมใช้กรรมวิธีทางความร้อน แต่ทำ�โดยการขึ้นรูปเย็น หรือการผสมธาตุอื่นลงไป ทำ�ให้ เกิดโลหะผสมทองแดงหลายกลุม่ ได้แก่ “นาก” ซึง่ เป็นการ ผสมระหว่ า งทองแดงบริ สุ ท ธิ์ กั บ ทองคำ� ในอั ต ราส่ ว น


3 : 1 “ทองเหลือง” เกิดจากการผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และ “ทองสำ�ริด” (ทองบรอนซ์) เป็นการผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอืน่ นอกจากสังกะสี เช่น ทองแดงผสมดีบกุ ซึง่ จัดเป็นโลหะทองแดงผสม ประเภทแรก ทีม่ นุษย์เริม่ รูจ้ กั วิธกี ารหล่อหลอม และนำ�มาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังมีทองแดงผสมอะลูมเิ นียม ซึง่ สามารถขึน้ รูปขณะร้อนได้ และมีความต้านทานการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี

> แหล่งแร่

แหล่งแร่ทองแดงที่สำ�คัญๆ ของโลก ได้แก่ เทือกเขาร็อกกี (Rocky) ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวลาดด้านตะวันตกของภูเขา แอนดีส (Andes) ในประเทศชิลีและเปรู เทือกเขาในทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศคองโก ตอนเหนือของประเทศโรดีเซียและประเทศ แคนาดา แหล่ ง แร่ สำ�คั ญ เหล่ า นี้ มี แ ร่ ท องแดงรวมกั น ประมาณ ร้อยละ 90 ของทองแดงทั่วโลก แหล่งแร่ทองแดงที่นับว่าใหญ่ที่สุด อยู่ในประเทศชิลี นอกจากนี้ ยังมีในบางแห่งของทวีปยุโรป ประเทศ ออสเตรเลียและแอฟริกาใต้ สำ�หรับประเทศไทย พบแร่ทองแดง ที่อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลย และจังหวัดขอนแก่น แต่มีปริมาณ น้อย จึงไม่เพียงพอต่อการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม

ทองแดงเป็นโลหะที่ใช้ประโยชน์ และมีความสำ�คัญในด้าน อุตสาหกรรมเป็นที่ 2 รองจากเหล็ก เนื่องจากเป็นวัสดุที่เป็นตัว นำ�ความร้อนที่ดี จึงใช้ท�ำ อุปกรณ์ เครื่องถ่ายเทความร้อน เช่น ทำ�เครื่องควบแน่น (Condenser) หอกลั่น จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง ของทองแดงก็คือ ทนต่อการกัดกร่อน ได้ดีมาก แม้ในสภาวะกัดกร่อน อย่างรุนแรง เช่น ในน้ำ�ทะเล

May-June 2020

35


> การถลุง

การถลุงทองแดงจากแร่ ขัน้ แรกคือการแยกแร่ทต่ี อ้ งการออกจาก สิ่งเจือปนหรือกากแร่ อาจใช้วิธีการลอยแร่ (Flotation) โดยนำ�แร่ ที่บดละเอียดแล้ว ผสมกับน้ำ� น้ำ�ยาลอยแร่ ประกอบด้วย น้ำ�ยา เคลือบผิวให้ผิวแห้ง และน้ำ�ยาทำ�ให้เกิดฟองอากาศ แร่ที่ผิวแห้งแล้ว จะเกาะที่ฟองอากาศลอยขึ้นเหนือเซลล์ลอยแร่ ใบพัดจะกวาดแร่ที่ ลอยขึน้ มาให้ตกลงและไหลไปตามราง จากนัน้ นำ�ไปทำ�ให้ตกตะกอน และแยกน้ำ�ออก นำ�ไปผ่านกระบวนการกรองแร่ (Filter) และเข้าสู่ กระบวนการเผาเพื่ อ เอากำ�มะถั น ออก จะได้ ท องแดงออกไซด์ จากนั้นนำ�ไปถลุงด้วยความร้อน โดยใช้ถ่านโค้กเป็นเชื้อเพลิง และ ใช้หินปูนเป็นฟลักซ์ (Flux) โลหะทองแดงที่ได้จ ากการถลุงด้วย ความร้ อ นจะมี ป ริ ม าณโลหะทองแดงประมาณร้ อ ยละ 80-95 จากนั้นนำ�ไปแยกด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrophoresis) อีกครั้ง เพื่อ ให้ได้ทองแดงที่มีความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ 99

> การใช้ประโยชน์

ทองแดงเป็ น โลหะที่ ใ ช้ ป ระโยชน์ แ ละมี ค วามสำ�คั ญ ในด้ า น อุตสาหกรรมเป็นที่ 2 รองจากเหล็ก เนื่องจากเป็นวัสดุที่เป็นตัวนำ� ความร้ อ นที่ ดี จึ ง ใช้ ทำ�อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งถ่ า ยเทความร้ อ น เช่ น ทำ� เครือ่ งควบแน่น (Condenser) หอกลัน่ นอกจากนี้ ทองแดงเป็นโลหะ ที่นำ�ไฟฟ้าได้ดีเป็นอันดับ 2 รองจากเงิน ทองแดงจึงเป็นสื่อไฟฟ้า อย่างดี แต่ราคาถูกกว่าเงิน ประโยชน์ของทองแดงที่เราคุ้นเคยกันดี คือ การนำ�มาใช้ทำ�ลวดส่งกระแสไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ สามารถช่วยลดพลังงานที่สูญเสียไป ในรูปของความร้อน ขณะที่ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสายไฟ และยังช่วยป้องกันอันตรายจากการไหม้ ของสายไฟอีกด้วย นอกจากนั้น ทองแดงยังเป็นส่วนผสมสำ�คัญ ของโลหะผสมหลายชนิด เช่น ทองเหลือง (ทองแดงผสมกับสังกะสี) สำ�ริด (ทองแดงผสมกับดีบุก) โมเนล (ทองแดง นิกเกิล เหล็ก และ แมงกานีส) รวมทั้งยังใช้ผสมในเงินและทอง เพื่อเพิ่มความแข็งของ โลหะมีค่าเหล่านี้ สำ�หรับใช้ทำ�เครื่องประดับและเหรียญตราต่างๆ จุดเด่นอีกอย่างหนึง่ ของทองแดงก็คอื ทนต่อการกัดกร่อนได้ ดีมาก แม้ในสภาวะกัดกร่อนอย่างรุนแรง เช่น ในน้ำ�ทะเล จากการ สำ�รวจซากเรือทีจ่ มอยูใ่ ต้ทะเล ตัง้ แต่ศตวรรษที่ 16 พบว่ารอก (Pulley) ทีท่ ำ�จากทองแดง ยังสามารถใช้งานได้ดี คุณสมบัตพิ เิ ศษอีกอย่างหนึง่ คือ ทองแดงเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตเล็กๆ หลายชนิด จึงถูกนำ�มาใช้ เป็นปลอกหุ้มแผ่นไม้ที่ใช้ต่อเรือเดินทะเล เพื่อป้องกันไม่ให้แมลง หรือเพรียงทำ�ลายไม้ รวมทัง้ ทำ�เป็นท่อส่งน้ำ�ดืม่ สารประกอบทองแดง

อ้างอิง

บางชนิด เช่น จุนสี (Blue Vitriol) นอกจากนี้ยังใช้เป็น ยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราในแหล่งน้ำ� ซึ่งการใช้ทองแดงใน การกำ�จัดสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในแหล่งน้ำ�จะไม่เป็นอันตราย ต่อมนุษย์แต่อย่างใด ถ้าหากร่างกายไม่ได้รับทองแดง ในปริมาณมากจนเกินกว่าที่จะขับออกได้ทัน

Cr ภาพ https.siamrath.co.th

ประโยชน์ของทองแดงที่เห็นได้ชัด เช่น วัสดุที่ทำ� มาจากโลหะผสมของทองแดง คื อ เหรี ย ญกษาปณ์ ปัจจุบนั เหรียญกษาปณ์ของไทยมี 2 ชนิด คือชนิดสีเหลือง ได้แก่ เหรียญ 25 และ 50 สตางค์ และบริเวณส่วนกลาง ของเหรียญ 10 บาท อีกชนิดหนึ่ง คือ ชนิดสีเงิน ได้แก่ เหรียญบาท เหรียญ 5 บาท และบริเวณขอบด้านนอกของ เหรียญ 10 บาท การผลิตเหรียญโดยกองกษาปณ์ ใช้วิธี นำ�แผ่นโลหะที่ผ่านการรีด มาทุบขึ้นรูป แผ่นโลหะที่ใช้ ได้แก่ ทองแดงผสมนิกเกิล หรือเรียกว่า “คิวโปรนิกเกิล” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำ�คัญในการผลิตเหรียญชนิดสีเงิน ที่ใช้ ในระดับสากล เนื่องจากมีความต้านทานการกัดกร่อนสูง โดยเติมนิกเกิลเพียงร้อยละ 10-15 เพื่อทำ�ให้สีของโลหะ ผสม เปลี่ยนเป็นสีของนิกเกิลเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ยังมีการใช้ทองเหลืองผสมกับสังกะสีไม่เกินร้อยละ 5 หรือ ใช้ เ หล็ ก กล้ า เคลื อ บทองแดงในการผลิ ต เหรี ย ญเพื่ อ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการแพ้นิกเกิลของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ทองแดงเป็ น โลหะที่ ส ามารถนำ�มา รีไซเคิลได้ซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า โดยไม่ทำ�ให้คุณสมบัติเปลี่ยนไป อีกทั้งมีการใช้งานที่เป็นไปได้หลากหลาย ทั้งในรูปของ โลหะบริสุทธิ์และโลหะผสม ทองแดงจึงกลายเป็นโลหะ อีกชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำ�คัญไม่แพ้โลหะชนิดอื่นๆ

• มนัส สถิรจินดา, โลหะนอกกลุม่ เหล็ก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วารสารเทคโนโลยีวสั ดุ, ปีท่ี 2 ฉบับ 25 ธันวาคม 2544 • สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, เคมีวิทยา เล่ม 2 : หลักทฤษฎีและสมบัติของสสาร • http://innovations.copper.org • http://environment.copper.org/g_recycl.htm • http://60centuries.copper.org/right0.htm 36

May-June 2020




สภาการเหมืองแร

ขอเชิญประชุมสามัญประจำป 2563 พรอมรับฟ�งการบรรยายพ�เศษ

เร�่อง “การใชอากาศยานไรคนขับ (Drone) ในงานรังวัดเหมืองแร” วันศุกรที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 8.30-15.00 น. ณ หองบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ภาคบาย-เปนวาระการเลือกตั้งกรรมการสภาการเหมืองแร

สภาการเหมืองแรไดจัดพ�มพหนังสือ “พระราชบัญญัติแร พ.ศ. 2560 และอนุบัญญัติ ออกตามความในพระราชบัญญัติแร พ.ศ. 2560” เปนหนังสือปกแข็ง กระดาษถนอมสายตา ความหนา 464 หนา และจะแจกจายใหแกสมาชิกฯ ผูเขาประชุมสามัญประจำป พ.ศ. 2563 ทุกทาน เพ�่อใชเปนแนวทางในการประกอบกิจการ ธุรกิจเหมืองแร และธุรกิจแร ตามที่กฎหมายกำหนด



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.