Mining Magazine Mar-Apr 2021

Page 1






11

2 เดือนมีนาคม - เมษายน 2564

คณะกรรมการสภาการเหมืองแร่ 1. น.ส.อัญชลี ตระกูลดิษฐ 2. นายยุทธ เอี่ยมสอาด 3. นายดิเรก รัตนวิชช์ 4. นายวัลลภ การวิวัฒน์ 5. นายทวี ทวีสุขเสถียร 6. นายอนุพงศ์ โรจน์สุพจน์ 7. นายศิริชัย มาโนช 8. นายชาญณรงค์ ทองแจ่ม 9. นายศิรสิทธิ์ สืบศิริ 10. นายนวพล พุทธานนท์ 11. นายเสกข์สรร ธีระวาณิชย์ 12. นายสุรพล อุดมพรวิรัตน์ 13. นายยงยุทธ รัตนสิริ 14. นายณรงค์ จ�ำปาศักดิ ์ 15. นายอภิชาติ สายะสิญจน์ 16. นายสุเทพ สุนทรารัณย์ 17. นายอับดุลลาเต๊ะ ยากัด 18. นายตติกร บูรณธนานุกิจ

ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่

ผูประกอบการ ทำเหมืองแร ดีบุก-ชีไลต และโรงงานแตงแร ดีบุก ชีไลต และวูลแฟรม

เลขาธิการ สภาการเหมืองแร่ นายสุรพล อุดมพรวิรตั น์ (ท�ำการแทน)

ผูช้ ว่ ยเลขาธิการ สภาการเหมืองแร่ นางอรพิณ เปรือ่ งการ

ทีอ่ ยู่ สภาการเหมืองแร่

222/2 ซอยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2275-7684-6 แฟกซ์ 0-2692-3321 E-mail Contact : miningthai@miningthai.org Website : www.miningthai.org ID LINE : @ulc4210x ที่ปรึกษา : น.ส.อัญชลี ตระกูลดิษฐ ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ วัลลภ การวิวัฒน์ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ และประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ บรรณาธิการ : สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล กองบรรณาธิการ : ทัศนีย์ เรืองติก / อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ / ชุติภา จริตพันธ์ ฝ่ายโฆษณา : ศิริภรณ์ กลิ่นขจร / กษิรา เหมบัณฑิตย์ / กัลยา ทรัพย์ภิรมย์ / วีระวรรณ พุทธโอวาท / พรเพ็ชร โตกทองค�ำ จัดท�ำโดย : บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด เลขที่ 471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2354-5333 แฟกซ์ 0-2640-4260

บริษัท เชียงใหม ทิน-ทังสเตน จำกัด 79 หมูที่ 2 ต.สันพระเนตร อ.สันทราย จ.เชียงใหม

โทร. 0-5349-2783 โทรสาร 0-5349-2698 E-mail : cm_tin@cmtintungsten.co.th

**วารสารเหมืองแร่ จัดท�ำขึน้ เพือ่ ให้ขอ้ มูลข่าวสารทีเ่ ป็นประโยชน์แก่สมาชิกสภาการเหมืองแร่ ประชาสัมพันธ์การด�ำเนินงานและกิจการของสภาฯ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทัง้ นีบ้ ทความต่างๆ ใน วารสารเหมืองแร่ นีเ้ ป็นดุลพินจิ ของกองบรรณาธิการ โดยจะออกทุกๆ 2 เดือน


Contents ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 ประจำ�เดือนมีนาคม – เมษายน 2564

10

8 แวดวงชาวเหมือง 9 การประชุมคณะกรรมการแร่

การประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 3/2564 และการประชุมคณะกรรมการแร่จังหวัด

10 Cover Story ชนะ ภูมี ผูบ้ ริหารกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ ก่อสรา้ ง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) กับบทบาทผูน้ ำ�ใน “การฟื้นฟูสภาพเหมืองหินปูน” สภาการเหมืองแร่

16 18

CSR

ผู้ช่วย รมว.ทส. ลงพื้นที่ “ขุมเหมืองแม่ทาน” บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด กักเก็บน้ำ�ไดห้ ลายล้านลูกบาศก์เมตร แแกป้ ัญหาภัยแล้ง กองบรรณาธิการ

กพร. จัดสัมมนาโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม เหมืองแรแ่ ละอุตสาหกรรมพื้นฐาน ให้มีมาตรฐาน ความรับผิดชอบตอ่ สังคม (CSR-DPIM) ประจำ�ปี 2564 พร้อมมอบรางวัล CSR-DPIM ประจำ�ปี 2563 กองบรรณาธิการ

19 ไขข้อข้องใจกฎหมายแร่

“เขตแหล่งแรเ่ พื่อการทำ�เหมือง” ผลพวงจากพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 สุรพล อุดมพรวิรัตน์

23 บทความ สถานการณ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปี พ.ศ. 2563 และแนวโนม้ ปี พ.ศ. 2564 วา่ ที่ ร.ต.ทศพร สุวรรณโณ

25 เหมืองแรส่ ีเขียว

กพร. ออกมาตรการสง่ เสริมโรงงานหลอมเศษโลหะ ยกระดับคุณภาพอากาศของไทย-ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กองบรรณาธิการ

27 In Trend แนวโน้มการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแรข่ องโลก ปี พ.ศ. 2564 บุญญวัฒน์ ขุนอินทร์

32 สาระนา่ รู้

แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออน... แบตเตอรี่แห่งอนาคต ณฐิกา หนูนวล

35 News


แวดวงชาวเหมือง การประชุมคณะท�ำงานพิจารณา

คัดเลือกอุตสาหกรรมดีเด่น ประจ�ำปี พ.ศ. 2564

ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน 30 มีนาคม 2564

อดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ ประธานคณะทำ�งานพิจารณาคัดเลือก อุตสาหกรรมดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. 2564 ประเภทเศรษฐกิจ หมุนเวียน พร้อมด้วยคณะทำ�งาน ได้จัดประชุมต่อเนื่อง 2 วัน เพื่อรับฟังผลการดำ�เนินงานและคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการ คัดเลือกอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมี ผูป้ ระกอบการสนใจสมัครจำ�นวน 20 ราย ณ ห้องศูนย์เผยแพร่ ความรู้และให้บริการ ชั้น 1 กพร. สำ�หรั บ องค์ ก รที่ ผ่ า นการคั ด เลื อ กในรอบนี้ จะมี ก าร ไปตรวจประเมินที่สถานประกอบการ เพื่อสรรหาผู้ที่จะได้รับ รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น และรับมอบรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ต่อไป

8

March-April 2021

อดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่


การประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 3/2564 และการประชุมคณะกรรมการแร่จังหวัด

อัญชลี ตระกูลดิษฐ ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ ได้มอบหมายให้ผแู้ ทนสภาการเหมืองแร่เข้าประชุมคณะกรรมการแร่ และคณะกรรมการแร่จังหวัด ดังนี้

การประชุมคณะกรรมการแร่

มอบหมายให้ ทวี ทวีสุขเสถียร รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ เข้าประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 3/2564 เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2564 คณะกรรมการแร่ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ

1) คำ�ขอประทานบัตร จำ�นวน 1 ราย รวม 1 แปลง ชื่อผู้ขอ

ตำ�บล

อำ�เภอ

จังหวัด

ชนิดแร่

มีอายุ/ปี

บริษัท ฐาวิตี อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำ�กัด

โคกสลุง

พัฒนานิคม

ลพบุรี

ดินอุตสาหกรรม ชนิดดินซีเมนต์

30

ลำ�ดับ เลขทีค่ �ำ ขอ 2/2560

1

2) คำ�ขอต่ออายุประทานบัตร จำ�นวน 3 ราย รวม 3 แปลง ลำ�ดับ

เลขทีค่ �ำ ขอ

ชื่อผู้ขอ

ตำ�บล

1/2561 ปาดังเบซาร์ (27664/15949) บริษัท เขาแดงคอนสตรัคชั่น จำ�กัด 1/2561 ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด หัวเสือ (30403/15322) โรงโม่หินชัยประภารุ่งเรือง 1/2559 บริษัท ปฐมวัฒนพานิชย์การแร่ บ้านบึง (21067/15823) จำ�กัด

1 2 3

อำ�เภอ

จังหวัด

ชนิดแร่

มีอายุ/ปี

สะเดา

สงขลา

โดโลไมต์

20

แม่ทะ

ลำ�ปาง

หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

10

บ้านคา

ราชบุรี

เฟลด์สปาร์

20

สรุปผลการอนุญาตสิทธิส�ำ รวจและทำ�เหมืองแร่ จากการประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 1-3/2564 มีจ�ำ นวนทั้งสิ้น ดังนี้ การอนุญาต

ที่

1/2564

2/2564

3/2564 (แปลง)

(แปลง)

(แปลง)

(แปลง)

รวม

1

ประทานบัตร

5

4

1

10

2

ต่ออายุประทานบัตร

2

1

3

6

3

โอนประทานบัตร

3

1

0

4

4

อาชญาบัตรพิเศษ

0

0

0

0

10

6

4

20

รวม

การประชุมคณะกรรมการแร่จังหวัดฉะเชิงเทรา

มอบหมายให้ โกสุม อยู่ค ง ที่ป รึก ษากรรมการสภาการเหมืองแร่ เป็น ผู้แทนเข้าประชุมคณะกรรมการแร่จังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 คณะกรรมการแร่จังหวัดฉะเชิงเทรา พิจารณาเห็นชอบคำ�ขอประทานบัตรทำ�เหมืองแร่ประเภทที่ 1 ชนิดแร่ทรายแก้ว ของบริษัท พี.บี.บี.คอนกรีต จำ�กัด ระยะเวลา 30 ปี

March-April 2021

9


Cover Story l

สภาการเหมืองแร่

บริษทั ปูนซิเมนต์ ไทย จำ�กัด (มหาชน) กับบทบาทผู้นำ�ใน

การฟื้นฟูสภาพ เหมืองหินปูน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 สภาการเหมื อ งแร่ ร่ ว มกั บ บริ ษั ท ปู น ซิ เ มนต์ ไ ทย จำ�กั ด (มหาชน) จั ด ประชุ ม สั ม มนาเรื่ อ ง “การฟื้ น ฟู ส ภาพ เหมืองแร่” ขึ้น ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร การประชุมดังกล่าวได้ รับเกียรติจาก วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมี อัญชลี ตระกูลดิษฐ ประธานกรรมการสภาการ เหมืองแร่ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ ในการจัดประชุม มีผู้เข้าร่วมการประชุม เป็ น ข้ า ราชการจำ�นวน 34 คน และ ผู้ประกอบการจำ�นวน 121 คน การประชุ ม สั ม มนาครั้ ง นี้ บริ ษั ท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) ได้ให้การ สนั บ สนุ นวิ ท ยากรหลั ก ในการบรรยาย และต้ น ฉบั บ หนั ง สื อ การฟื้ น ฟู เ หมื อ ง หิ น ปู น รวมทั้ ง สนั บ สนุ น งบประมาณ ในการจั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อดั ง กล่ า วจำ�นวน 100 เล่ ม เพื่ อ นำ�มาใช้ เ ป็ น เอกสาร ประกอบในการประชุม 10

March-April 2021

นอกจากนี้ การประชุมฯ ยังได้รบั การสนับสนุนวิทยากรจากกองกฎหมาย กรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ที่มาบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง กฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูเหมือง และ หจก. ชุติวรรณและโรงโม่หินบริษัท นครรัตนศิลา จำ�กัด โดย ยงยุทธ รัตนสิริ และผู้รับผิดชอบงานฟื้นฟูสภาพเหมืองของบริษัทฯ ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการฟืน้ ฟูสภาพเหมืองหินปูนของบริษทั ฯ เป็นแนวทาง ให้ผู้เข้าประชุมได้นำ�ไปปฏิบัติ


ชนะ ภูมี

ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง SCG

สวัสดีค่ะคุณชนะ ภูมี ภาพลักษณ์ ของบริ ษั ท ปู น ซิ เ มนต์ ไ ทย จำ � กั ด (มหาชน) ในสายตาคนทั่วไป มองว่าเป็น บริษัทฯ ขนาดใหญ่ที่มั่นคง มีการพัฒนา อย่างยั่งยืนและมีการบริหารงานอย่างมี ธรรมาภิบาล ช่วยเล่าความเป็นมาหรือ ภูมิหลังของบริษัทฯ ให้เราได้ทราบหน่อย นะคะ การฟื้นฟูขุมเหมืองถ่านหิน จ.ล�ำปาง ให้เป็นแหล่งเก็บน�้ำให้ชุมชน

ความเป็ น มาของการจั ด สั ม มนาในครั้ ง นี้ สื บ เนื่ อ งมาจากการที่ ส ภาการ เหมืองแร่ได้รบั หนังสือการฟืน้ ฟูเหมืองหินปูนซึง่ จัดทำ�ขึน้ โดยคณะทำ�งานฟืน้ ฟูเหมือง และความหลากหลายทางชีวภาพ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) และพบว่าหนังสือดังกล่าวนี้ได้รวบรวมองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการฟื้นฟูเหมืองหินปูนของบริษัทฯ ไว้เป็นอย่างดี และจะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งหากสามารถนำ�มาเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่รายอื่นให้มี ความเข้าใจและดำ�เนินงานฟื้นฟูเหมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาการเหมืองแร่ จึงได้ขอความร่วมมือจากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) ในการ จัดประชุม สัมมนาในครั้งนี้ขึ้น วันนี้เราจะนำ�ท่านมาพบกับ คุณชนะ ภูมี ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และ ผลิตภัณฑ์กอ่ สร้าง SCG เพือ่ ขอทราบแนวความคิดในการดำ�เนินธุรกิจเหมืองแร่และ การฟื้นฟูสภาพเหมืองแร่ของบริษัทฯ กัน (ค่ะ)

ครั บ ก่ อ นอื่ น SCG หรื อ บริ ษั ท ปู น ซิ เ มนต์ ไ ทย จำ�กั ด (มหาชน) ต้ อ ง ขอขอบคุ ณ วารสารเหมื อ งแร่ ที่ ก รุ ณ า ให้เกียรติมาสัมภาษณ์ ช่วยให้เราได้เพิ่ม ช่องทางในการสื่อสารกับสังคมมากขึ้น ต้องขอเล่ าย้อนหลังไปไกลหน่อย เพือ่ ให้เห็นภาพครับ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือปูนซีเมนต์ที่เราใช้ในงานก่อสร้างอยู่ ทั่วๆ ไปในทุกวันนี้ ในอดีต เมื่อร้อยกว่า ปี นั้ น เป็ น การนำ�เข้ า จากต่ า งประเทศ มาใช้งานในประเทศ ในปี พ.ศ. 2456 รั ช ก า ล ที่ 6 พ ร ะ อ ง ค์ ท่ า น ท ร ง มี พระราชดำ�ริ เ ห็ นว่ า ประเทศไทยควรมี อุ ต สาหกรรมปู น ซี เ มนต์ เ ป็ น ของตั ว เอง March-April 2021

11


เพื่อให้ประเทศไทยผลิตปูนซีเมนต์ใช้เอง ลดการพึ่งพา การนำ�เข้าจากต่างประเทศ และนำ�พาประเทศไปสูค่ วามเจริญก้าวหน้า จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ขึ้นใช้ในประเทศ โดยจดทะเบียนเป็นบริษัทจำ�กัด ใช้ชื่อว่า บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำ�กัดสินใช้ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2456 และต่อมา เมื่อบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2518 ก็ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) โรงงานปูนซีเมนต์แห่งแรกของบริษัท อยู่ที่บางซื่อ ในกรุงเทพฯ นี่เองครับ โดยทำ�การขนส่งวัตถุดิบโดยเฉพาะดินมาร์ล ซึ่ง เราใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์ในขณะนั้นมาจากสระบุรีโดยรถไฟ ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของสำ�นักงานใหญ่ ส่วนที่ตั้งโรงงานนั้น เรามีโรงงานปูนซีเมนต์อยู่ทั้งที่ แก่งคอยและเขาวงในจังหวัดสระบุรี ที่ทุ่งสงในจังหวัดนครศรีธรรมราช และที่แจ้ห่ม ในจังหวัดลำ�ปาง ในต่างประเทศเราก็มีโรงงานปูนซีเมนต์อยู่ในประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม และพม่า ครับ ปัจจุบนั บริษทั ฯ มีธรุ กิจหลากหลายมากขึ้น จึงเป็นทีม่ าของชือ่ ทีเ่ รียกในปัจจุบนั ว่า SCG ซึง่ ย่อมาจาก Siam Cement Group ครับ ธุรกิจของบริษัทมีอะไรบ้างคะ ปัจจุบันไปที่ ไหนก็เจอแต่สินค้าและบริการของ เอสซีจีอยู่เต็มไปหมด เริ่มแรกบริษัทฯ เริ่มขยายกิจการจากธุรกิจปูนซีเมนต์ ไปสู่ธุรกิจผลิตวัสดุ ก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ตกแต่งต่างๆ อย่างเช่น ปูน ผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์หลังคา กระเบือ้ งเซรามิก สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ� บล็อกปูถนน ฉนวนกันความร้อน ถังเก็บน้ำ� และ ถังบำ�บัด ต่อมาก็มีการขยายธุรกิจไปในอุตสาหกรรมและบริการอื่นๆ เช่น ธุรกิจ กระดาษ ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ ปัจจุบันบริษัทได้รวบรวมธุรกิจ เหล่ านี้ จั ด ตั้ งเป็น หมวดหมู่ใ ห้ง่ ายต่อ การบริห าร โดยแบ่ ง เป็ นกลุ่ ม ธุ ร กิ จซี เ มนต์ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Cement and Building Material) กลุ่มธุรกิจเคมีคอลล์ (Chemical) กลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ครับ

ทุกเหมืองจะดำ�เนินการ ฟื้ น ฟู เ หมื อ งตามแผนการ ฟื้ น ฟู เ หมื อ งที่ ร ะบุ อ ยู่ ใ น EIA ซึ่งแต่ละเหมืองก็จะมา รายงานความคืบหน้าของ ก า ร ฟื้ น ฟู เ ห มื อ ง ใ ห้ กั บ คณะทำ � งานฟื้ น ฟู เ หมื อ ง และความหลากหลายทาง ชี ว ภาพของบริ ษั ท ฯ เป็ น ประจำ � ทำ � ให้ ทุ ก เหมื อ งมี โ อ ก า ส ไ ด้ แ ล ก เ ป ลี่ ย น ประสบการณ์ ในการฟื้นฟู และนำ�ไปปรับใช้ให้เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่

การฟื้นฟูบ่อเหมืองถ่านหิน ให้เป็นแหล่งเก็บน�้ำส�ำหรับชุมชน อ.ลี้ จ.ล�ำพูน

12

March-April 2021


สำ�หรับธุรกิจเหมืองแร่ของบริษัทฯ จัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจไหนคะ อยู่ในกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างครับ ซึ่งก็เป็นการทำ�เหมือง เพื่ อ ผลิ ต วั ต ถุ ดิบป้อ นให้กับอุต สาหกรรมการผลิ ต ของบริ ษั ท เองครั บ อย่ า งเช่ น การทำ�เหมืองหินปูน เหมืองแร่ยิปซัม และเหมืองถ่ านหินสำ�หรับใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมซีเมนต์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ปัจจุบันเหมืองถ่านหินได้ปิดตัวลง แล้ว เพราะปริมาณสำ�รองหมดลง นอกจากนี้ก็มีเหมืองดินอุตสาหกรรมทั้งชนิดที่ใช้ ในอุตสาหกรรมซีเมนต์และอุตสาหกรรมเซรามิก และเหมืองแร่ไพโรฟิลไลท์ (ดิกไคต์) ซึ่งใช้สำ�หรับอุตสาหกรรมเซรามิกเช่นกันครับ

เป็ น การใช้ ป ระโยชน์ จ ากทรั พ ยากร ธรรมชาติ ซึง่ ถือเป็นสมบัตขิ องชาติ เราจะ ทำ�อย่างไรให้เกิดความยั่ง ยืน ให้ชุมชน ให้การยอมรับและอนุญาตให้เราทำ�เหมือง หรื อ มี โ รงงานอุ ต สาหกรรมอยู่ ใ นพื้ น ที่ ที่เราเรียกว่า License to operate ครับ

ธุรกิจเหมืองแร่และโรงงานปูนซีเมนต์ของบริษทั ปูนซิเมนต์ ไทย จำ�กัด (มหาชน) ได้รบั รางวัลด้านสิง่ แวดล้อมหลายรางวัลและหลายหน่วยงาน ช่วยสรุปให้ทราบ หน่อยนะคะว่าเป็นอะไรบ้าง และอะไรเป็นแรงจูงใจให้บริษัทฯ มุ่งมั่นประกอบธุรกิจจน ได้รับการยอมรับในด้านนี้ บริ ษั ท ฯ ได้ รั บ รางวั ล Green Mining Award และ CSR DPIM จาก กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ ซึง่ เหมืองของทุกโรงงานได้รบั ทัง้ หมดครับ แล้วก็รางวัล EIA Award ของสำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ในส่วนของโรงงานปูนซีเมนต์ก็มีรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ของกระทรวงอุตสาหกรรมครับ สำ�หรับการทำ�เหมืองและโรงงานปูนซีเมนต์ บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญในการ ป้องกัน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อยู่ข้างเคียง โดยมีการ กำ�หนดนโยบายด้านนี้อย่างชัดเจนครับ ซึ่งพี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่ดูแลในทุกเหมืองก็ ช่วยกันดูในเรือ่ งนีอ้ ย่างดีครับ โดยทุกคนเข้าใจตรงกันว่าการทีพ่ วกเราเข้ามาทำ�เหมือง

ระบบสระพวง ของชุมชนบ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ล�ำปาง เพื่อใช้น�้ำในหน้าแล้ง โดยเก็บน�้ำที่สระแม่ และส่งต่อไปยังสระลูก และสระหลาน

March-April 2021

13


การติดตั้ง Solar Floating ส�ำหรับปั๊มน�้ำเพื่อสูบน�้ำให้ชุมชน

ในด้านการฟื้นฟูสภาพเหมืองแร่แต่ละเหมืองบริษัทฯ ได้ดำ�เนินการอย่างไร และมีหลักการดำ�เนินการอย่างไรคะ ทุกเหมืองจะดำ�เนินการฟื้นฟูเหมืองตามแผนการฟื้นฟูเหมืองที่ระบุอยู่ใน EIA ครับ ซึ่งแต่ละเหมืองก็จะมารายงานความคืบหน้าของการฟื้นฟูเหมืองให้กับ คณะทำ�งานฟื้นฟูเหมืองและความหลากหลายทางชีวภาพของบริษัทฯ เป็นประจำ� ครับ คณะทำ�งานนีป้ ระกอบด้วยผูจ้ ดั การเหมืองของแต่ละโรงงานครับ ทำ�ให้ทกุ เหมือง มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการฟื้นฟูของแต่ละที่ และนำ�ไปปรับใช้ให้ เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ครับ ซึ่งคู่มือการฟื้นฟูเหมืองหินปูนของบริษัทฯ ที่จัดทำ�ขึ้น ก็จัดทำ�ขึ้นมาจากคณะทำ�งานชุดนี้ครับ เรานำ�ประสบการณ์ในการฟื้นฟูของพื้นที่ ต่างๆ มารวบรวมไว้ และเผยแพร่ให้เกิดต่อยอดในด้านการฟื้นฟูเหมืองของประเทศ ครับ นอกจากนี้ คณะทำ�งานชุดนี้ยังมีหน้าที่ในการแสวงหาความรู้หรือความร่วมมือ กับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาช่วยพัฒนาองค์ความรู้ในการฟื้นฟูเหมืองครับ หลักในการดำ�เนินการในเรื่องของการฟื้นฟูเหมือง เราเน้นในเรื่องของการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องครับ ขอขยายความในเรื่องนี้คือ เราต้องดูว่า ภาพสุดท้ายของเหมืองจะเป็นอย่างไร ที่เราเรียกว่า Mine Closer Plan ครับ เหมืองแต่ละที่จะมีภาพสุดท้ายของเหมืองแตกต่างกันตามแต่ลักษณะของการทำ� เหมืองและชนิดของพืน้ ทีค่ รับ อย่างเช่น ถ้าเราทำ�เหมืองเป็นบ่อลึกลงไปและสามารถ เก็บน้ำ�ได้ ชุมชนอาจต้องการให้เราพัฒนาพื้นที่บริเวณบ่อเหมืองให้เป็นแหล่งเก็บน้ำ� ให้ชาวบ้านใช้ครับ บ่อเหมืองนีก้ จ็ ะเป็นประโยชน์ในระยะยาว ซึง่ การฟืน้ ฟูตามหลักการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนี้ก็จะได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย การดำ�เนินกิจการเหมืองแร่และโรงงานปูนซีเมนต์ของบริษัทฯ ไม่เคยมีข่าวว่า ถูกต่อต้านจากชุมชน บริษัทฯ มีหลักในการดำ�เนินการอย่างไรบ้าง ครับ ตามที่ได้กล่าวแล้วทั้งเรื่องของการให้ความสำ�คัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและ ชุมชน ตลอดจนถึงเรือ่ งของการฟืน้ ฟูเหมือง เราต้องให้ความสำ�คัญกับการมีสว่ นร่วม ของชุมชนครับ ทีผ่ า่ นมาเราเปิดให้ชมุ ชนเข้ามาเยีย่ มชมการทำ�งานของเราได้ครับ หรือ

14

March-April 2021

หลักในการดำ�เนินการ ในเรือ่ งของการฟืน้ ฟูเหมือง เราเน้ น ในเรื่ อ งของการมี ส่ ว นร่ ว มของทุ ก ภาคส่ ว น ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น ถ้าเรา ทำ � เหมื อ งเป็ น บ่ อ ลึ ก ลงไป และสามารถเก็บน�ำ้ ได้ ชุมชน อาจต้องการให้เราพัฒนา พืน้ ทีบ่ ริเวณบ่อเหมืองให้เป็น แหล่ งเก็ บน้ำ � ให้ ช าวบ้านใช้ บ่อเหมืองนีก้ จ็ ะเป็นประโยชน์ ในระยะยาว


วันปลูกต้นไม้ประจ�ำปี 2563 ที่เหมืองหินปูน จ.ล�ำปาง

ที่เรียกว่า Open House ชุมชนจะได้เห็นสิ่งที่เราทำ�อย่างชัดเจน หากมีข้อสงสัยหรือ คำ�แนะนำ�อะไรชุมชนก็จะสอบถามและให้คำ�แนะนำ�เราได้โดยตรงครับ และเรายังมี การเชิญชาวบ้านมาร่วมปลูกต้นไม้ในเหมืองในโอกาสต่างๆ ทำ�ให้ชาวบ้านมีความ เข้าใจว่าเราให้ความสำ�คัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมครับ นอกจากนี้ บริษทั ฯ ได้ให้ความสำ�คัญกับการทำ� CSR กับชุมชนรอบพืน้ ทีค่ รับ ปัจจุบนั เราจะเน้นเรือ่ งของการมีสว่ นร่วมครับ คือเราจะไปสอบถามถึงความต้องการ ของชุมชน และร่วมกันทำ� ตัวอย่างเช่น ทีล่ ำ�ปาง ชุมชนมีปญ ั หาของการขาดแคลนน้ำ� ในการทำ�เกษตร เราจะไปชักชวนชาวบ้านมาร่วมกันทำ�ฝ่ายชะลอน้ำ� เพื่อกักเก็บน้ำ� ที่มีมากในหน้าฝน และส่งน้ำ�ไปกักเก็บในบ่อน้ำ�ขนาดเล็กของชาวบ้าน ที่เราเรียก สระพวง ทำ�ให้ชาวบ้านมีน้ำ�ใช้ในการเกษตรช่วงหน้าแล้งครับ สุดท้ายนี้ ทางบริษัทฯ ขอขอบคุณทางสภาการเหมืองแร่อีกครั้งหนึ่ง ที่ให้ โอกาสในการสั ม ภาษณ์ ใ นครั้ ง นี้ และยิ น ดี อ ย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล การดำ�เนินการต่างๆ ทางด้านเหมืองแร่กับสมาชิกของสภาการเหมืองแร่ ทั้ง ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเหมือง เพื่อช่วยกันพัฒนา อุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของการช่วย พัฒนาประเทศต่อไปครับ March-April 2021

15


CSR l

กองบรรณาธิการ

ผู้ช่วย รมว.ทส. ลงพื้นที่

“ขุมเหมืองแม่ทาน” บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด

กักเก็บน�ำ้ ได้หลายล้านลูกบาศก์เมตร แก้ปัญหาภัยแล้ง

นพดล พลเสน ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำ�กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

16

March-April 2021

“ขุมเหมืองแม่ทาน” ของบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด

ผูช้ ว่ ยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม พร้อมด้วย คณะทำ�งานด้านยุทธศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เดินทางลงพื้นที่อำ�เภอแม่ทะ จังหวัดลำ�ปาง เพื่อเข้า เยี่ยมชมการดำ�เนินงานบริหารจัดการน้ำ� “ขุมเหมืองแม่ทาน” ของบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด และร่วมศึกษานวัตกรรมต้นแบบเรื่องการผันน้ำ� จากแหล่งน้ำ�ในขุมเหมืองขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำ� ไปพัฒนาต่อยอดใช้กับขุมเหมืองอื่นๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อจะได้เป็นแหล่งน้ำ�สำ�รองสำ�หรับไว้ช่วยเหลือประชาชนบรรเทาปัญหา การขาดแคลนน้ำ�ใช้ในช่วงหน้าแล้ง สำ�หรับการลงพืน้ ทีใ่ นครัง้ นี้ มีนายอำ�เภอแม่ทะ นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดลำ�ปาง ได้ร่วมกันเป็นตัวแทนในนามจังหวัด นำ�ทีมคณะ ผูบ้ ริหารและเจ้าหน้าทีจ่ ากหน่วยงานส่วนราชการทีเ่ กีย่ วข้อง ตลอดจนทีม ผู้ บ ริ ห าร พนั ก งาน และเจ้ า หน้ า ที่ ข องบริ ษั ท เอสซี จี ซิ เ มนต์ จำ�กั ด ร่ ว มให้ ก ารต้ อ นรั บ พร้ อ มกั บ นำ�เสนอข้ อ มู ล รายละเอี ย ดในประเด็ น ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นพดล พลเสน ผูช้ ว่ ยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การผันน้ำ�จากแหล่งขุมเหมืองเก่าขึ้นมาใช้ ประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตภัยแล้งถือเป็น แนวทางที่ดี เพราะน้ำ�ใต้ดินถือเป็นแหล่งน้ำ�ขนาดใหญ่ที่พอจะหาได้หาก ต้องเผชิญกับสภาวการณ์ในยามวิกฤต โดยเหมืองแม่ทานจะเป็นต้นแบบ ที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้นำ�ไปพัฒนา ต่อยอดใช้ในพื้นที่ขุมเหมืองเก่าอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้าง ประโยชน์พัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่พี่น้องประชาชน และยังเป็นแนวทาง ในการที่จะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งให้เกิดความยั่งยืนได้อีกทางหนึ่งด้วย


““ขุมเหมืองแม่ทาน” แต่เดิมเคยเป็นขุมเหมืองลิกไนต์และเหมืองแร่ บอลเคลย์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะหมดอายุประทานบัตรในปี พ.ศ. 2575 และ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2562 ทางเหมืองฯ ได้เริ่มทยอยหยุดการทำ�งานของ เครือ่ งจักร ทำ�ให้พนื้ ทีภ่ ายในบริเวณเหมืองกลายเป็นแหล่งกักเก็บน้�ำ ขนาด ใหญ่ ซึ่งทางบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด ได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยกรมทรั พ ยากรธรณี กรมป่ า ไม้ และ สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมดำ�เนินการ พั ฒนาระบบการบริ ห ารจั ด การน้ำ � ภายในขุ ม เหมื อ ง ภายใต้ โ ครงการ “เหมืองแร่แก้ภัยแล้ง” ทำ�การลงทุนติดตั้งระบบ Solar Pump ด้วย งบประมาณกว่ า 20 ล้ า นบาท และทำ � การผั น น้ำ � จากแหล่ ง น้ำ � ใน ขุมเหมืองขึ้นมาใช้ประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาบรรเทาผลกระทบจากการ ขาดแคลนน้ำ�ใช้ ทั้งเพื่อการอุปโภคและเพื่อการเกษตร ของชาวบ้าน ในชุมชนรอบพื้นที่” การผั น น้ำ� จากขุ ม เหมื อ งแม่ ท านขึ้ น มาใช้ นี้ ถื อ เป็ น งานต้ น แบบ ทีส่ ามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้จริง ซึง่ เหมืองแม่ทานเพียงแห่งเดียวสามารถ ที่จะกักเก็บน้ำ�ได้หลายล้านลูกบาศก์เมตร หากมีการกักเก็บน้ำ�ไว้อย่าง ต่อเนื่องให้เต็มความจุก็จะสามารถกักเก็บน้ำ�ได้มากถึง 50,000,000 ลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับการสร้างอ่างกักเก็บน้ำ�ขนาดกลางไว้ในพื้นที่ แม้ว่าปัจจุบันในช่วงระยะนี้จะเป็นช่วงหน้าแล้ง แต่เหมืองแม่ทานก็ยังมี น้ำ�กักเก็บไว้อยู่เป็นจำ�นวนมาก ซึ่งนับตั้งแต่ที่ได้มีการเริ่มกักเก็บเมื่อปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้เหมืองแม่ทานมีปริมาณน้ำ�กักเก็บ รวมแล้วกว่า 4,000,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ เนื่องจากภายในขุมเหมือง จะมี น้ำ� ใต้ ดิ น ผุ ด ขึ้ น มาเติ ม เต็ ม อยู่ ต ลอดเวลา ในขณะที่ ใ นพื้ น ที่ ท าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ�เป็นระยะๆ อย่าง ต่อเนื่อง และทำ�การสูบน้ำ�ขึ้นมาใช้สำ�หรับช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง แก่ชมุ ชนในบริเวณพืน้ ทีใ่ กล้เคียงถึงวันละกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตร ทำ�ให้ ในช่วงหน้าแล้งนีช้ าวบ้านในพืน้ ทีท่ งั้ ชุมชนบ้านแม่ทานและชุมชนใกล้เคียง กว่า 260 หลังคาเรือน และพื้นที่ทำ�การเกษตรอีกกว่า 700 ไร่ ไม่ต้อง ประสบกับปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำ�ใช้

March-April 2021

17


CSR l

กองบรรณาธิการ

กพร. จัดสัมมนา (Kick off)

โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมพื้นฐาน

ให้มีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ประจำ�ปี 2564 พร้อมมอบรางวัล CSR-DPIM ประจำ�ปี 2563 วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เป็นประธานในพิธีเปิด งานสัมมนา (Kick off) โครงการส่งเสริม อุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้มีมาตรฐานความ รับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ประจำ�ปี 2564 และพิธีมอบรางวัล ให้แก่สถานประกอบการทีผ่ า่ นเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) ประจำ�ปี 2563 ณ ห้องศูนย์เผยแพร่ความรูแ้ ละให้บริการ ชัน้ 1 กพร. กระทรวงอุตสาหกรรม สำ�หรับกิจกรรมช่วงเช้าเป็นงานสัมมนาในหัวข้อ ความรับผิดชอบ ต่อสังคมของผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) และการชีแ้ จง รายละเอียดแผนงาน/โครงการฯ หลักเกณฑ์การคัดเลือก การสมัคร เข้าร่วมโครงการ ส่วนกิจกรรมในช่วงบ่ายเป็น พิธีมอบเกียรติบัตรแก่ ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานให้ มี ม าตรฐานความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม (CSR-DPIM) ประจำ�ปี 2563 จัดโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่ ร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ในโอกาสนี้ บริษัท รัตนศิลา จำ�กัด ได้รับรางวัลโล่ทอง 100 คะแนนเต็ม และ หจก. ชุติวรรณ ได้รับรางวัลชมเชย

วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)

18

March-April 2021


ไขข้อข้องใจกฎหมายแร่ l

สุรพล อุดมพรวิรัตน์

“เขตแหล่งแร่ เพื่อการทำ�เหมือง”

ผลพวงจากพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง อัตราการเพิ่มขึ้น ของประชากรในประเทศไทยมี ม ากขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว ความ ต้องการในการดำ�รงชีวิตเพื่อความอยู่รอดที่เพิ่มมากขึ้นตาม ลำ�ดับ เป็นเหตุให้มกี ารบุกรุกทำ�ลายพืน้ ทีป่ า่ เพือ่ เปลีย่ นสภาพ เป็นไร่นาเพื่อการเพาะปลูก ประกอบกับความเจริญเติบโต ทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มี การทำ�ลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น การตัดไม้ทำ�ลายป่าและการล่าสัตว์อย่างไม่มขี อบเขตจำ�กัด รัฐบาลตระหนักถึงความสำ�คัญของการสงวนและคุม้ ครองรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่า จึงมีการ ดำ�เนินการจัดตั้งสวนรุกขชาติ วนอุทยาน และอุทยานแห่งชาติ ขึน้ โดยเมือ่ ปี พ.ศ. 2468 ได้จดั ตัง้ ป่าภูกระดึงขึน้ เป็นวนอุทยาน แห่งแรก และต่อมาได้มกี ารตราพระราชบัญญัตอิ ทุ ยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ขึ้น จากนั้นก็ได้มีการทยอยจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ เพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนกระทั่งครอบคลุมเนื้อที่ 43.86 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 13.68 ของเนื้อที่ประเทศ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดังกล่าวนี้ ไม่อนุญาตให้มีการทำ�เหมืองโดยเด็ดขาด ต่ อ มาในปี พ.ศ. 2526-2534 ได้ มี ก ารจำ�แนกชั้ น ความสำ�คั ญของพื้ นที่ ในเขตลุ่ มน้ำ� เพื่อ กำ�หนดแนวทางการ ใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น ของแต่ ล ะพื้ น ที่ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม โดยในพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำ� ชั้น 1 หลังจากวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 เป็นต้นมา รัฐบาล ไม่อนุญาตให้มีการสำ�รวจแร่หรือทำ�เหมืองแร่รายใหม่เกิดขึ้น

เว้นแต่กรณีทมี่ เี หตุผลและความจำ�เป็นทางด้านความมัน่ คง และ ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ และต้องสอดคล้องกับ นโยบายรัฐ และในกรณีที่รัฐบาลมีข้อผูกพันกับประชาชนหรือ เอกชนไว้ก่อนแล้ว อาทิ รับอนุญาตอาชญาบัตรสำ�รวจหรือ ประทานบั ต รไว้ ก่ อนหน้า แล้ ว และในกรณี นี้การขอต่ออายุ ประทานบัตรและการขอต่ออายุประทานบัตรเดิม หรือการขอ ประทานบัตรใหม่ซ้ำ�ในพืน้ ทีป่ ระทานบัตรเดิมจะต้องได้รบั ความ เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายๆ ไป ผลจากนโยบายอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิง่ แวดล้อมของภาครัฐดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้แหล่งแร่ทสี่ ำ�คัญ ซึ่งมีคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ แหล่ง แร่ดีบุก-ทังสเตน ที่ตำ�บลปิล็อก อำ�เภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี และแหล่งแร่ชีไลต์ดอยหมอก อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ถูกจำ�กัดการพัฒนาโดยสิ้นเชิง ในช่วงปี พ.ศ. 2548 กรมทรัพยากรธรณี กรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่ และพวกเราชาวเหมืองเคยร่วมกัน ผลักดันให้มกี ารกำ�หนด “เขตศักยภาพแร่เพือ่ การทำ�เหมืองแร่” ที่เปิดโอกาสให้มีสำ�รวจแร่และการพัฒนาเหมืองแร่ขึ้นในพื้นที่ ลุ่มน้ำ�ชั้น 1 และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (ยกเว้นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า) โดยไม่ต้อง ขอผ่ อ นผั น จากคณะรั ฐ มนตรี เ ป็ น รายๆ ไป ด้ ว ยเหตุ ผ ลที่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ก็มีความสำ�คัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากิจการอื่นๆ สามารถทำ�รายได้

March-April 2021

19


ทั้งจากการทำ�เหมืองโดยตรงและจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ให้แก่ประเทศในขณะนั้นถึงปีละประมาณ 200,000 ล้านบาท ทั้งพื้นที่ที่ขอให้มีการกำ�หนดเป็น “เขตศักยภาพแร่เพื่อการ ทำ�เหมืองแร่” ก็ครอบคลุมเนื้อที่เพียงประมาณ 22,750,000 ไร่ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 7 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ และพื้นที่ ภายหลังการทำ�เหมือง ก็สามารถฟืน้ ฟูให้กลับสูส่ ภาพทีใ่ กล้เคียง สภาพเดิมหรือดีกว่าเดิมได้ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ก็ได้มมี ติให้ความเห็นชอบในหลักการดังกล่าว นี้แล้ว แต่เมื่อรัฐบาลในขณะนั้นหมดอำ�นาจลงอันเนื่องจาก การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 หลักการดังกล่าวก็ค่อยๆ ถูกลืมและเลือนหายไปในที่สุด ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เหมืองแร่ก็ได้แต่ยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ โดยทำ�การสำ�รวจและ ทำ�เหมืองแร่แต่เฉพาะในพื้นที่นอกเขตหวงห้ามของภาครัฐ ซึง่ ได้แก่ เขตป่าเศรษฐกิจ เขตปฏิรปู ทีด่ นิ เพือ่ เกษตรกรรมทีต่ อ้ ง ขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่อหน่วยราชการเป็นรายๆ ไป รวมทั้งในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ต้องเจรจา ขอซือ้ ทีด่ นิ จากผูถ้ อื กรรมสิทธิเ์ ป็นรายๆ ไป ถ้าเจ้าของทีด่ นิ รายใด เรียกราคาที่ดินจนสูงเกินความคุ้มทุนของโครงการหรือไม่ยอม ขายที่ดินให้ หากเป็นส่วนที่สำ�คัญของโครงการ โครงการนั้น ก็เป็นอันต้องล้มเลิกไป ส่วนการทำ�เหมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำ�ชั้น 1 เมือ่ ประทานบัตรสิน้ อายุลง การขอต่ออายุประทานบัตรในแต่ละ ครั้ง ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการขออนุญาต ผ่อนผันจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายๆ ไป

20

March-April 2021

จนกระทั่งในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2557-2559 เมื่อ กระแสอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มรุ น แรง มากขึ้น มีการคัดค้านและต่อต้านการทำ�เหมืองมากขึ้น สภา นิติบัญญัติแห่งชาติจึงได้เสนอและผ่านร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ขึ้ น มาใช้ แ ทนพระราชบั ญ ญั ติ แ ร่ พ.ศ. 2510 ภายใต้หลักการให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการแร่ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด แก่ ป ระเทศชาติ แ ละประชาชน โดย คำ�นึงถึงดุลยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบ ต่อคุณภาพสิง่ แวดล้อมและสุขภาพของประชาชนอย่างรอบด้าน รวมทั้งการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างรัฐ ผู้ประกอบการ และ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ ทำ�เหมื อ งและพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบอย่างเป็นธรรม (มาตรา 7) พร้อมทั้งได้กำ�หนดให้มี คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ซึ่งมีนายก รัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีทไี่ ด้รบั มอบหมายเป็นประธานฯ มีกรมทรัพยากรธรณีเป็นเลขานุการและกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐาน และการเหมืองแร่เป็นเลขานุการร่วม (มาตรา 8) ทำ�หน้าที่ ในการจัดทำ�แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ซึ่งจะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนประกาศใช้ และจะต้อง ทำ�การปรับปรุงทุกๆ ห้าปี ในแผนแม่บทฯ ดังกล่าวจะต้องมีการ กำ�หนดพืน้ ทีท่ มี่ แี หล่งแร่อดุ มสมบูรณ์และมีมลู ค่าทางเศรษฐกิจ สูงให้เป็น “เขตแหล่งแร่เพื่อการทำ�เหมือง” ซึ่งต้องไม่ใช่พื้นที่ ในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา่ เขตโบราณสถาน ทีไ่ ด้ขนึ้ ทะเบียนไว้ เขตพืน้ ทีท่ มี่ กี ฎหมายห้ามการเข้าใช้ประโยชน์


โดยเด็ดขาด พื้นที่เขตปลอดภัยและความมั่นคงแห่งชาติ หรือ พื้นที่แหล่งต้นน้ำ�หรือป่าน้ำ�ซับซึม (มาตรา 17) และในการ อนุญาตให้ทำ�เหมืองได้ ให้พิจารณาอนุญาตได้เฉพาะในพื้นที่ ที่แผนแม่บทบริหารจัดการแร่กำ�หนดให้เป็น “เขตแหล่งแร่เพื่อ การทำ�เหมือง” เท่านั้น (มาตรา 19) สรุปได้ว่า ภายใต้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ฉบับ ปัจจุบนั นี้ ผูป้ ระกอบการจะยืน่ คำ�ขอประทานบัตรได้กแ็ ต่เฉพาะ ในพื้ น ที่ ที่ รั ฐ เลื อ กมาให้ แ ล้ ว และได้ รั บ การกำ�หนดให้ เ ป็ น “เขตแหล่งแร่เพื่อการทำ�เหมือง” เท่านั้น ส่วนการยื่นคำ�ขอ อาชญาบั ต รเพื่ อ ทำ�การสำ�รวจแร่ ถ้ า ไม่ ใ ช่ ใ นพื้ น ที่ ที่ มี ก าร หวงห้ามไว้ สามารถยื่นได้ทุกที่ แต่เมื่อสำ�รวจพบแหล่งแร่แล้ว ก่อนการยืน่ คำ�ขอประทานบัตรจะต้องยืน่ เรือ่ งให้คณะกรรมการ นโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติกำ�หนดให้เป็น “เขตแหล่งแร่ เพื่อการทำ�เหมือง” ไว้ในแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ก่อน ในแผนแม่บทบริหารจัดการแร่ ฉบับแรก (พ.ศ. 25602564) ซึง่ เป็นระยะเปลีย่ นผ่าน ได้มกี ารกำ�หนด “เขตแหล่งแร่ เพื่อการทำ�เหมือง” ขึ้นโดยใช้คำ�นิยามโดยอนุโลมเพื่อมิให้เกิด ความไม่ต่อเนื่องในการทำ�เหมืองอันจะส่งผลต่อการขาดแคลน วัตถุดบิ ทีจ่ ะป้อนให้แก่อตุ สาหกรรมทีต่ อ่ เนือ่ ง พืน้ ที่ “เขตแหล่งแร่ เพื่อการทำ�เหมือง” ดังกล่าวนี้ ได้แก่ พื้นที่ประทานบัตร พื้นที่ คำ�ขอต่ออายุประทานบัตร และคำ�ขอประทานบัตร ที่ได้รับ อนุญาตหรือยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ และพื้นที่อาชญาบัตรที่ได้รับอนุญาตก่อนวันที่

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ รวมถึงพื้นที่ “แหล่ ง หิ น อุ ต สาหกรรมเพื่ อ การก่ อ สร้ า ง” และพื้ น ที่ ที่ ดิ น กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสำ�หรับการทำ�เหมืองประเภท ที่ 1 และเหมืองหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง สำ�หรับ “เขตแหล่งแร่เพื่อการทำ�เหมือง” ในแผนแม่บท บริหารจัดการแร่ ฉบับถัดไป (พ.ศ. 2565-2569) จะถูกกำ�หนด ขึ้นในเชิงพื้นที่ ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านกำ�หนดหลักเกณฑ์ การจำ�แนกทรัพยากรแร่และการกำ�หนดเขตแหล่งแร่เพื่อการ ทำ�เหมื อ ง ภายใต้ ค ณะกรรมการนโยบายบริ ห ารจั ด การแร่ แห่งชาติ กำ�ลังดำ�เนินการอยู่ โดยใช้ข้อมูลทั้งที่ภาครัฐมีอยู่และ ทีไ่ ด้รบั จากภาคเอกชนตามทีค่ ณะอนุกรรมการฯ ได้ประสานงาน ผ่านทางสภาการเหมืองแร่ขอให้ผู้ประกอบการส่งข้อมูลการ สำ�รวจแร่หรือข้อมูลแหล่งแร่ของตนไปยังกรมอุตสาหกรรม พื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ ซึ่ ง เป็ น ประธานร่ ว มในคณะ อนุกรรมการฯ เพื่อจะได้พิจารณาก่อนจะรวบรวมส่งต่อให้ คณะอนุ ก รรมการฯ เพื่ อ นำ�ไปใช้ ใ นการพิ จ ารณากำ�หนด “เขตแหล่ ง แร่ เ พื่ อ การทำ�เหมื อ ง” ต่ อ ไป ที่ สำ�คั ญ ข้ อ มู ล ฯ ดั ง กล่ า วจะต้ อ งแสดงปริ ม าณสำ�รองแร่ มิ เ ช่ น นั้ น คณะ อนุ ก รรมการฯ ไม่ ส ามารถนำ�ไปประเมิ น มู ล ค่ า แหล่ ง แร่ ใ น พื้นที่ได้ สภาการเหมืองแร่จึงขอความร่วมมือจากสมาชิกใน การจัดส่งข้อมูลฯ ดังกล่าวไปยังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่ เพื่อประโยชน์ของท่านเองและต่ออุตสาหกรรม เหมืองแร่โดยรวม

March-April 2021

21


แผนภาพเชิงมโนทัศน์แสดงกรอบแนวคิดการกำ�หนดเขตแหล่งแร่เพื่อการทำ�เหมือง (ภาพจากเอกสารการประชุมคณะอนุกรรมการด้านกำ�หนดหลักเกณฑ์การจำ�แนกทรัพยากรแร่และการกำ�หนดเขตแหล่งแร่ เพื่อการทำ�เหมือง ภายใต้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ)

22

March-April 2021


บทความ

l

ว่าที่ ร.ต.ทศพร สุวรรณโณ

สถานการณ์ อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ ปี พ.ศ. 2563 และแนวโน้ม ปี พ.ศ. 2564

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ นับว่ามีความ สำ�คั ญ ต่ อ การก้ า วหน้ า ทางเศรษฐกิ จ ของ ประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากปูนซีเมนต์ เป็ น วั ต ถุ ดิ บ สำ�คั ญ ในการก่ อ สร้ า งระบบ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ หรื อ การก่ อ สร้ า งอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ข องภาค เอกชน นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม กั บ ทรั พ ยากรที่ ใ ช้ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ ในการผลิ ต ปูนซีเมนต์ ไม่ว่าจะเป็นหินปูน หินดินดาน ยิปซัม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ภายใน ประเทศ ภาพรวมของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์โลก ในปี พ.ศ. 2563 มี ป ริ ม าณการผลิ ต อยู่ ที่ ประมาณ 4,370 ล้ า นตั น โดยจี น มี กำ�ลั ง การผลิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกที่ประมาณ 2,200 ล้านตัน รองลงมาคืออินเดียประมาณ 340 ล้านตัน เวียดนามประมาณ 96 ล้านตัน สหรัฐอเมริกาประมาณ 90 ล้านตัน อินโดนีเซีย ประมาณ 73 ล้านตัน เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่า การผลิตปูนซีเมนต์จะสูงขึ้นถึง 4,830 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2573 ขณะที่การจัดอันดับบริษัท ปูนซีเมนต์ 10 อันดับแรกของโลก เรียงจาก ปริมาณที่ผลิตได้ ดังนี้

01 02 03 04 05 06 07 08 09

LafargeHolcim สวิตเซอร์แลนด์

10

Votorantim Group บราซิล

ปริมาณการผลิตต่อปี 286.6 ล้านตัน

Anhui Conch Cement จีน ปริมาณการผลิตต่อปี 217.2 ล้านตัน

CNBM จีน

ปริมาณการผลิตต่อปี 176.22 ล้านตัน

Heidelberg Cement เยอรมนี ปริมาณการผลิตต่อปี 121.11 ล้านตัน

Cemex เม็กซิโก

ปริมาณการผลิตต่อปี 87.09 ล้านตัน

Italcementi อิตาลี

ปริมาณการผลิตต่อปี 76.62 ล้านตัน

China Resources Cement จีน ปริมาณการผลิตต่อปี 71.02 ล้านตัน

Taiwan Cement ไต้หวัน

ปริมาณการผลิตต่อปี 63.72 ล้านตัน

Eurocement รัสเซีย

ปริมาณการผลิตต่อปี 45.18 ล้านตัน

ปริมาณการผลิตต่อปี 45.02 ล้านตัน

March-April 2021

23


ภาพรวมของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทย (ไม่รวมปูนเม็ด) ในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการผลิต 39.87 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.62 จากการได้รับ ผลกระทบภาวะเศรษฐกิจทีย่ งั ไม่ฟนื้ ตัวอันเนือ่ งมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัส COVID-19 ขณะที่การจำ�หน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีปริมาณ 35.39 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 2.08 จากการขยายตัว ของการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการเร่งดาเนินโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในพื้นที่ต่างๆ ขณะที่การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 271.91 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปีกอ่ นร้อยละ 20.23 เป็นผลจากความไม่มน่ั ใจทางเศรษฐกิจ ของผู้บริโภคอันเนื่องจากการระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยังไม่หมดไป โดยเฉพาะ ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของประเทศไทย ส่วนการนำ�เข้ามีมูลค่า 90.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 21.17 สืบเนื่องจากตลาด ในประเทศยังมีการผลิตส่วนเกินอยู่อีกมาก สำ�หรับบริษัทในประเทศไทยที่มีการ ผลิตปูนซีเมนต์ จำ�นวน 7 บริษัท ดังนี้

1 2 3 4 5 6 7

บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ - ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำ�กัด บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ปูนซีเมนต์ ตราลูกโลก จำ�กัด บริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ภูมิใจไทยซีเมนต์ จำ�กัด

สำ�หรั บ แนวโน้ ม อุ ต สาหกรรมปู น ซี เ มนต์ ปี พ.ศ. 2564 (ไม่ ร วมปู น เม็ ด ) สำ�นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดว่าจะขยายเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยจาก การเร่งขยายสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของรัฐบาลทั้งโครงการเดิมและโครงการ ใหม่ๆ และธนาคารกรุงศรีอยุธยาคาดว่าแนวโน้มในปี พ.ศ. 2564-2566 มูลค่า การลงทุนก่อสร้างภาครัฐจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6-7 ต่อปี ตามโครงการต่อเนื่อง และโครงการใหม่ที่คาดว่าจะทยอยก่อสร้าง เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย และ สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และมูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนคาดว่า จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5-2 ต่อปี อานิสงส์จากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ของภาคเอกชน ทั้งบ้านจัดสรร อาคารสำ�นักงานให้เช่า โรงแรม และศูนย์การค้า ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สนับสนุนให้เกิดการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน แต่การจำ�หน่าย ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากในภาคอสังหาริมทรัพย์ ในปี พ.ศ. 2563 ยังคงมีสต็อกคงค้างอยู่มาก ประกอบกับความไม่มั่นใจในภาวะ เศรษฐกิจอันเนื่องจากผลกระทบของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังไม่หมดไป

24

March-April 2021

อ้างอิง • รายงานภาวะเศรษฐกิ จ อุตสาหกรรมไทย ปี 2563 และ แนวโน้ม ปี 2564 โดยสำ�นักงาน เศรษฐกิ จ อุ ต สาหกรรม (สศอ.) http://www.oie.go.th/assets/ portals/1/fileups/2/files/Industry %20conditions/annual2020 trends2021.pdf • สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไทย http://thaicma.or.th/cms/ plant-location/ • แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรม ไทย ปี 2564-2566 https://www. krungsri.com/th/research/ industry/Industry-Horizon/ industry-summary-outlook2021-2023 • Top 10 cement companies in the world in 2020 https:// datis-inc.com/blog/top-10cement-companies-in-the-worldin-2020/ • What is the largest Cement producer in the World? https:// datis-inc.com/blog/what-isthe-largest-cement-producerin-the-world/ • Major countries in worldwide cement production from 2010 to 2020 https://www. statista.com/statistics/267364/ world-cement-productionby-country/


เหมืองแร่สีเขียว l

กองบรรณาธิการ

อดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)

กพร. ออกมาตรการ

ส่งเสริมโรงงาน หลอมเศษโลหะ ยกระดับคุณภาพ อากาศของไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ (กพร.) กระทรวง อุตสาหกรรม ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) จั ด งาน “รี ไ ซเคิ ล ดี ไม่ มี U-POPs” ดั น ผู้ ป ระกอบการรี ไ ซเคิ ล ปรั บ ปรุ ง กระบวนการผลิต ลดมลพิษทางอากาศ อดิทตั วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนา “รีไซเคิลดี ไม่มี U-POPs” ซึ่ง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) เพือ่ ผลักดัน ให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลปรับปรุงกระบวนการผลิต ลดมลพิษทางอากาศ อดิทัต วะสีนนท์ กล่าวว่า กพร. ได้ดำ�เนินโครงการ Green Scrap Metal Thailand หรือโครงการจัดการเศษโลหะอย่างยั่งยืน ร่วมกับองค์การ พัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) มาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะปรับปรุงโรงงาน ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกำ�หนดมาตรการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรม ของไทยให้ปฏิบัติตามข้อกำ�หนดของอนุสัญญาสต็อกโฮล์ม ว่าด้วยสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants: POPs) และตอบสนอง ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เนื่องจากกระบวนการผลิต จากภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ประเภทที่ปลดปล่อยโดยไม่จงใจ ที่เรียกว่า U-POPs รวมถึงฝุน่ ละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เป็นต้น ซึง่ อาจส่งผลกระทบ ต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพอนามัยของประชาชน March-April 2021

25


สิ่ ง สำ � คั ญ ที่ สุ ด ที่ เ รามุ่ ง เน้ น คื อ การสร้ า งความตระหนั ก และความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับแนวทางการจัดการ เศษโลหะอย่างยั่งยืน ซึ่งการนำ�แนวทาง เทคนิ ค ที่ ดี ที่ สุ ด และแนวปฏิ บั ติ ด้ า น สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ดี ที่ สุ ด (BAT/BEP) มา ประยุกต์ ใช้ นอกจากจะช่วยลดมลพิษ ทางอากาศแล้ว ยังช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการผลิตด้วย โดยมาตรการระยะสัน้ ทีจ่ ะดำ�เนินการ ในปีนี้ คือการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ ผ่ า นโรงงานต้ น แบบ การมอบรางวั ล ให้แก่โรงงานที่ปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม การออก มาตรการทางการเงินร่วมกับสถาบันการเงิน ในการออกสิ น เชื่ อ ดอกเบี้ ย ต่ำ� สำ�หรั บ สถานประกอบการที่ จ ะลงทุ น ปรั บ ปรุ ง กระบวนการส่วนมาตรการระยะยาวที่จะ ดำ�เนิ น การต่ อ ไป คื อ การลดหย่ อ นภาษี สำ�หรับผู้ประกอบการที่นำ�แนวทางเทคนิค ทีด่ ที สี่ ดุ และแนวปฏิบตั ดิ า้ นสิง่ แวดล้อมทีด่ ี ที่สุด (Best Available Techniques and Best Environmental Practices : BAT/ BEP) มาประยุกต์ใช้การกำ�หนดค่ามาตรฐาน ไดออกซินและฟิวแรน ซึ่งเป็นสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดย ไม่จงใจ (U-POPs) จากโรงงานหลอมเศษ โลหะ การจัดตั้งกองทุนพัฒนา BAT/BEP สำ�หรั บ อุ ต สาหกรรมรี ไ ซเคิ ล เศษโลหะ และการกำ�หนดเงื่อนไขการอนุญาตด้าน

26

March-April 2021

สิ่ ง แวดล้ อ มหรื อ เทคโนโลยี ก ารผลิ ต สำ�หรั บ โรงงานตั้ ง ใหม่ ห รื อ ขยายกำ�ลั ง การผลิต โดยคาดว่าจะสามารถส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิล เศษโลหะให้มีการนำ�เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดมลพิษจากการ ผลิตได้มากกว่า 2,000 ราย และช่วยลดการปลดปล่อย U-POPs จากโรงงาน ได้มากกว่าร้อยละ 20 สำ�หรับกิจกรรมหลักภายในงาน ประกอบด้วย การสรุปผลการดำ�เนิน โครงการฯ การสำ�รวจและจัดทำ�ฐานข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ การจัดทำ�คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ภาครัฐ การเสวนาเกีย่ วกับบทบาทของ BAT/BEP ในการช่วยยกระดับคุณภาพ อากาศสำ�หรับประเทศไทย การรับชมภาพยนตร์สนั้ และแลกเปลีย่ นความคิดเห็น ด้ า นสิ่ งแวดล้ อมจากโครงการโลกป่ วยเราต้ องเปลี่ ย นโดยได้ รับเกียรติจ าก แขกรับเชิญพิเศษอย่าง ฮิวโก้-จุลจักร จักรพงษ์ และ มารีญา พูลเลิศลาภ มาเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม “สิ่งสำ�คัญที่สุดที่เรามุ่งเน้นคือ การสร้างความตระหนักและความรู้ความ เข้าใจเกีย่ วกับแนวทางการจัดการเศษโลหะอย่างยัง่ ยืน ซึง่ การนำ�แนวทางเทคนิค ที่ดีที่สุดและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BAT/BEP) มาประยุกต์ใช้ นอกจากจะช่วยลดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพและลดต้นทุน ในการผลิตด้วย ไม่เพียงเฉพาะผู้ประกอบการเท่านั้น เราทุกคนมีส่วนช่วย แก้ปญ ั หามลพิษเหล่านีไ้ ด้ เริม่ จากการคัดเเยกขยะอย่างถูกวิธตี งั้ แต่ตน้ ทางเพือ่ ลดการปนเปือ้ นก่อนเข้าสูก่ ระบวนการรีไซเคิล ผมหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าองค์ความรู้ ต่างๆ ที่เรามีจะขยายผลไปสู่วงกว้างได้มากยิ่งขึ้น” อดิทัต กล่าวทิ้งท้าย


In Trend

l

บุญญวัฒน์ ขุนอินทร์

แนวโน้ม การลงทุน

ในอุตสาหกรรม เหมืองแร่ของโลก ปี พ.ศ. 2564 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี พ.ศ. 2563 ที่ทำ�ให้เศรษฐกิจโลกและ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ตอ้ งพบกับความยาก ลำ�บาก หลังจากทีเ่ ดิมทีมกี ารคาดการณ์กนั ว่าในปี พ.ศ. 2563 อุตสาหกรรมเหมืองแร่ จะมีการใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 จากปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็น แนวโน้ ม ของการลงทุ น ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น อย่ า ง ต่อเนือ่ ง ตามการฟืน้ ตัวของตลาดนับตัง้ แต่ สถานการณ์ราคาโลหะตกต่ำ�ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาด ของ COVID-19 ทีท่ ำ�ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) ของโลก ซึ่งเป็น ปัจจัยชี้นำ�ที่สำ�คัญของการใช้จ่ายเพื่อการ

ลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่หดตัว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณการว่า GDP ของโลก ในปี พ.ศ. 2563 จะหดตัวร้อยละ 4.9 ทำ�ให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการเลือกที่จะถือเงินสดเอา ไว้ในมือมากขึ้น โดยเลื่อนการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน และระงับหรือชะลอ กิจกรรมในโครงการต่างๆ ในปี พ.ศ. 2563 เอาไว้ก่อน จากการสำ�รวจข้อมูลของ Industrial Info พบว่า ณ สิน้ ปี พ.ศ. 2563 มี โ ครงการเหมื อ งแร่ แ ละโลหะที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการแพร่ ร ะบาด ของ COVID-19 มากกว่า 1,600 โครงการ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 212 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจำ�นวนโครงการประมาณร้อยละ 66 เป็น โครงการเหมืองแร่ ส่วนที่เหลือเป็นโครงการเกี่ยวกับการแต่งแร่และ ถลุงโลหะ ทำ�ให้การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ในปี พ.ศ. 2563 ลดลงประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังถือได้ว่ามีสถานการณ์ที่ดี กว่าสาขาอื่น เช่น การท่องเที่ยว การผลิตน้ำ�มันและปิโตรเลียม และ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังพอมีสัญญาณที่ดีว่าโครงการส่วนใหญ่เป็นเพียง การชะลอโครงการออกไปมากกว่ายกเลิกโครงการ โดยคาดว่าจะมีการ พัฒนาโครงการล่าช้าออกไปประมาณ 3-18 เดือน ซึ่งจะทำ�ให้มีโครงการ จำ�นวนมากถูกผลักดันให้เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565

March-April 2021

27


รูปที่ 1 การใช้เทคโนโลยีควบคุมจากระยะไกลและระบบอัตโนมัติในการทำ�เหมือง ที่มา : https://copperbeltkatangamining.com/covid-19-and-the-new-normal-put-the-spotlight-on-digitisation/

นอกจากผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ กับการลงทุนแล้ว ผูป้ ระกอบการ ยั ง ได้ เ รี ย นรู้ แ ละปรั บ ตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ในการประกอบธุ ร กิ จ ให้มีความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น การทำ�งานแบบเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หรื อ การควบคุ ม จากระยะไกล ทำ�ให้ ต้ อ งนำ� เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ เครื่องจักร อุ ป กรณ์ ต่ า งๆ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพแวดล้ อ มในปั จ จุ บั น ซึ่งทำ�ให้เกิดโอกาสกับบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับ ระบบอัตโนมัติ ระบบดิจทิ ลั ระบบควบคุมการทำ�งานระยะไกล ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่อีกด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้ปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาจะเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ�จน ทำ�ให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่พบกับความยากลำ�บาก แต่ก็ยังมี โอกาสที่ท้าทายสำ�หรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่รออยู่ในปี พ.ศ. 2564 และในปีถัดๆ ไป

ปัจจัยชี้นำ�สำ�คัญที่จะปรับตัวดีขึ้นในปี พ.ศ. 2564

1

การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลหลาย ประเทศ และการฟืน้ ตัวกลับมาได้เร็วและแข็งแกร่ง ของจีน ช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาด ของ COVID-19 และน่าจะช่วยทำ�ให้เศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2564 ดีขึ้น โดย IMF คาดการณ์ว่า GDP ของโลกในปี พ.ศ. 2564 จะขยายตัวได้ร้อยละ 5.4 ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำ�หรับ การขยายตัวของการใช้จา่ ยเกีย่ วกับการลงทุน ซึง่ Industrial Info ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการเหมืองแร่และคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2564 การใช้ จ่ า ยเกี่ ยวกั บ การลงทุ น จะเพิ่ ม ขึ้ น อย่างน้อยร้อยละ 10-15 ราคาทองคำ�ปรั บ ตั ว เพิ่ ม ขึ้ น จนสู ง ที่ สุ ด เป็ น ประวัติการณ์ในปี พ.ศ. 2563 จนมากกว่าระดับ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ได้เป็นครัง้ แรก ซึง่ สภาวะของ ตลาดที่ราคาอยู่ในแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นนี้จะกระตุ้นให้เกิดการ

2

28

March-April 2021

ลงทุนทำ�เหมืองแร่ทองคำ�เพื่อเพิ่มการผลิตทองคำ�ให้มากขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลของ Industrial Info พบว่า มีโครงการ เหมื อ งแร่ ท องคำ�มากกว่ า 2,000 โครงการ คิ ด เป็ น มู ล ค่ า โครงการประมาณ 170,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาโลหะชนิดอืน่ ๆ ปรับตัวดีขนึ้ โดยราคาทองแดง และแร่เหล็กในปี พ.ศ. 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจน สูงที่สุดในรอบ 7 ปี ซึ่งสภาวะตลาดที่ราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะจูงใจให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ เช่น การขยายตัวของประชากร การ ขยายตัวของเมือง ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำ�ให้อุปสงค์ของแร่และโลหะยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดัน ให้เกิดการลงทุนต่อไปในระยะยาวอีกด้วย จากฐานข้อมูลของ Industrial Info พบว่า ปัจจุบัน มี ก ารลงทุ น พั ฒ นาในโครงการเหมื อ งแร่ ที่ ยั ง มี สถานะดำ�เนินการอยูม่ ากกว่า 13,000 โครงการ คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 1.18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบ่งออกเป็น โครงการในขั้นการสำ�รวจ (Exploration) ขั้นกำ�หนดขอบเขต/ ศึกษาความเป็นไปได้ (Scoping/Feasibility) ขั้นการวางแผน ล่วงหน้า/การอนุญาต (Advance Planning/ Permitting) ขั้ น อนุ มั ติ / วิ ศ วกรรม (Approval/Engineering) จนถึ ง ขั้นก่อสร้าง (Construction) และยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของ จำ�นวนโครงการที่อยู่ขั้นศึกษาความเป็นไปได้ ขั้นการอนุมัติ/ วิศวกรรม และขั้นก่อสร้าง อย่ า งไรก็ ต าม ในปี พ.ศ. 2563 มี จำ�นวนเหมื อ งแร่ เปิดใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำ�นวนที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ Industrial Info เริ่มเก็บข้อมูลมา โดยมีเหมืองเปิดใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 240 เหมือง เมื่อเทียบกับจำ�นวนเหมืองเปิดใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก ถึง 520 เหมือง ในปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากแหล่งทรัพยากรแร่ ที่ เ ข้ า ถึ ง ได้ ไ ม่ ย ากลดน้ อ ยลง ทำ�ให้ เ หมื อ งใหม่ มั ก จะอยู่ ใ น พื้นที่ห่างไกล มีต้นทุนที่สูงขึ้น และยากต่อการได้รับอนุญาต

3 4


ผู้ประกอบการจึงพยายามหาความเป็นไปได้ที่จะขยายอายุของ เหมืองเดิม หรือทำ�เหมืองใต้ดนิ ในพืน้ ทีเ่ ดิมแทนการเปิดเหมือง ในพื้นที่ใหม่ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้สินทรัพย์ที่ลงทุนไปแล้วในการเปิดเหมืองใหม่ที่เกิดขึ้น จากการเติบโตของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

ให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อน ทำ�ให้ในปี พ.ศ. 2563 สัดส่วนของ จำ�นวนการก่อสร้างเหมืองใหม่ทั้งในพื้นที่ที่พัฒนาแล้วและ พื้นที่ใหม่ มีเพียงร้อยละ 20 จากโครงการเหมืองแร่ทั้งหมด ในปัจจุบัน ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 80 เป็นโครงการที่ขยายและ เพิ่มกำ�ลังการผลิต ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย ทำ�ระบบ อัตโนมัติ บูรณะ และบำ�รุงรักษา

รูปที่ 2 จำ�นวนและมูลค่าของโครงการเหมืองแร่จ�ำ แนกตามลักษณะการลงทุน ที่มา : https://www.e-mj.com/features/2021-global-mining-investment-outlook

กระแสการใช้พลังงานที่ ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี พ.ศ. 2563 จะถูกชดเชยด้วยกระแสการใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิด คาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ซึ่งจะนำ�ไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของยานยนต์ไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น บริษัท General Motors วางแผนทีจ่ ะลงทุน 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพือ่ ปรับเปลีย่ นโรงงานผลิตรถยนต์ทร่ี ฐั เทนเนสซี ให้เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ ไฟฟ้า ซึ่งในระยะยาวจะทำ�ให้ความต้องการแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น และทำ�ให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์โลหะ ทีเ่ ป็นวัตถุดบิ ในการผลิตแบตเตอรี่ เช่น ลิเทียม โคบอลต์ กราไฟต์ นิกเกิล อะลูมเิ นียม รวมถึงปริมาณการใช้ทองแดงเป็นส่วนประกอบ ในยานยนต์ไฟฟ้าที่คาดว่าจะต้องใช้ทองแดงมากกว่ายานยนต์แบบเดิมถึง 4 เท่า ถึงแม้วา่ อุปสงค์ของยานยนต์ไฟฟ้าจะขยายตัวเพิม่ ขึน้ แต่ราคาวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ผลิตแบตเตอรีก่ ลับมีแนวโน้มลดลงในระยะยาว เช่น การลดลงของราคาโลหะลิเทียม เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ. 2561-2562 มีการขยายกำ�ลังการผลิตลิเทียมได้มากกว่าความต้องการ ของตลาด หลังจากทีร่ าคาลิเทียมเคยพุง่ สูงขึน้ ในช่วงปี พ.ศ. 2559-2560 สำ�หรับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เพิม่ แรงกดดัน ต่อราคาลิเทียมในปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากทำ�ให้กำ�ลังการผลิตบางส่วนต้องหยุดทำ�งาน และแผนขยายกำ�ลังการผลิตต้องถูกเลื่อน ออกไป อย่างไรก็ตาม ยังมีโครงการเหมืองแร่ลิเทียมจำ�นวนมากที่อยู่ในขั้นการสำ�รวจและขั้นวางแผนล่วงหน้า ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการเหมืองแร่เองก็มีการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าหรือจัดหาจากแหล่งภายนอกเพื่อใช้กับโครงการของ ตัวเอง โดยโรงไฟฟ้าเหล่านี้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือแบบไฮบริด ควบคู่ไปกับ March-April 2021

29


การกักเก็บลงในแบตเตอรี่ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง ฟอสซิล จากการรวบรวมข้อมูลของ Industrial Info พบว่ามี โครงการผลิตไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการเหมืองแร่ประมาณ 870 โครงการ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเหล็กกล้าในประเทศจีน ซึง่ เป็น ผู้ บ ริ โ ภคแร่ เ หล็ ก รายใหญ่ ข องโลกกำ�ลั ง อยู่ ท่ า มกลางความ วุ่นวายจากมาตรการย้ายที่ตั้งโรงงานและสร้างโรงงานทดแทน ของรัฐบาล ซึ่งทำ�ให้โรงงานผลิตเหล็กกล้าของจีนที่มีอยู่แล้ว ตามชายฝั่ ง ต้ อ งสร้ า งโรงงานใหม่ ที่ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ก ารผลิ ต ที่ ทันสมัย เพือ่ ปรับปรุงกำ�ลังการผลิตและต้องลดการปล่อยมลพิษ ทดแทนโรงงานที่ล้าสมัย โดยที่โครงการผลิตเหล็กกล้าของจีน ทั้งหมดมีมูลค่าประมาณ 153,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ คิดเป็นร้อยละ 45 ของโครงการผลิตเหล็กกล้าทั่วโลก นอกจากนี้ หลายประเทศได้เริ่มใช้มาตรการส่งเสริมการ จัดหาแร่ทมี่ คี วามสำ�คัญยิง่ ยวด (Critical Minerals) จากภายใน ประเทศ เช่น แร่โลหะหายาก โดยรัฐบาลของรัสเซียเพิง่ ประกาศ แผนการลงทุนสำ�หรับแร่โลหะหายากจำ�นวน 11 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจากการรวบรวม ข้อมูลของ Industrial Info พบว่ า โครงการเหมืองแร่โลหะ หายากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์

สหรัฐฯ โดยเป็นโครงการเหมืองแร่โลหะหายากในสหรัฐอเมริกา และแคนาดามากถึง 29 โครงการ

ประเทศที่เป็นเป้าหมายของการลงทุน

จากการรวบรวมข้อมูลของ Industrial Info พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 ภูมิภาคที่มีการลงทุนพัฒนาโครงการเหมืองแร่ มากที่สุด คือ • อันดับที่ 1 ภูมภิ าคเอเชีย (เอเชียตะวันตก เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้) มีมลู ค่า ประมาณ 381 พั น ล้ า นดอลลาร์ ส หรั ฐ ฯ คิ ด เป็ น สั ด ส่ ว น ร้อยละ 32 ของทั้งโลก โดยมูลค่าการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ใน ขั้นการวางแผนล่วงหน้า/อนุญาต และขั้นก่อสร้าง คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 37 และ 30 ตามลำ�ดับ (รูปที่ 3) • อันดับที่ 2 คือภูมิภาคอเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ และ แคนาดา) มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 381 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของทั้งโลก โดยมูลค่าการ ลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นการวางแผนล่วงหน้า/อนุญาต และ ขั้นการสำ�รวจ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42 และ 33 ตามลำ�ดับ ส่วนภูมภิ าคทีม่ กี ารลงทุนรองลงมา คือ ลาตินอเมริกา แอฟริกา โอเชียเนีย ยุโรป และรัสเซีย ตามลำ�ดับ

รูปที่ 3 มูลค่าของโครงการเหมืองแร่จ�ำ แนกตามภูมิภาค ที่มา : https://www.e-mj.com/features/2021-global-mining-investment-outlook

30

March-April 2021


รูปที่ 4 จำ�นวนและมูลค่าของโครงการเหมืองแร่จ�ำ แนกตามลักษณะการลงทุน ที่มา : https://www.e-mj.com/features/2021-global-mining-investment-outlook

จากรูปที่ 4 เมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า จีนเป็น ประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนพัฒนาโครงการเหมืองแร่มากที่สุด รองลงมาคือ ออสเตรเลีย อินเดีย แคนาดา อินโดนีเซีย บราซิล และสหรัฐฯ ตามลำ�ดับ ภูมิภาคแอฟริกายังคงเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตของการ ลงทุนจากต่างประเทศในการสำ�รวจแร่และการพัฒนาอื่นๆ เช่นเดียวกับจีนและอินเดีย เพื่อสร้างความมั่นคงของการจัดหา ทรัพยากรในระยะยาว โดยประเทศเป้าหมาย ได้แก่ แอฟริกาใต้ กินี โมซัมบิก คองโก กานา และนามิเบีย สำ�หรับสหรัฐฯ ยังคงมีข้อจำ�กัดด้านกฎระเบียบในการ พัฒนาเหมืองใหม่ ถึงแม้ว่าในช่วง 2-3 ปี ที่ผา่ นมาได้เริ่มมีการ ผ่อนปรนเพือ่ ลดภาระด้านกฎระเบียบสำ�หรับแร่ทมี่ คี วามสำ�คัญ ยิ่งยวด (Critical Minerals) ในพื้นที่กรรมสิทธิ์ของรัฐบาล และ คาดว่าอาจจะมีการเปลีย่ นแปลงนโยบายหลังจากมีรฐั บาลกลาง ชุดใหม่ ซึ่งโครงการลงทุนส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ และแคนาดา จะเป็นแร่สำ�หรับการผลิตปุย๋ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 25 โดยมีจำ�นวนโครงการเหมืองแร่โพแทช ฟอสเฟต 35 โครงการ ในภู มิ ภ าคลาติ น อเมริ ก า นอกจากผลกระทบของ COVID-19 ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังทำ�ให้เกิดปัญหาด้าน การเมืองและสังคมอีกด้วย ส่งผลให้เกิดอุปสรรคสำ�หรับการ พัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในภูมิภาคนี้ เช่น เปรูและเม็กซิโก ซึ่งปกติจะติดอยู่ในอันดับต้นๆ เป็นประจำ�ทุกปี แต่ในปี พ.ศ.

2564 กลับไม่ติดอยู่ใน 20 อันดับแรก บริษัท Codelco ในชิลี จะกลับมาเปิดดำ�เนินการเหมืองทองแดงอีกครั้งที่ El Teniente และ Chuquicamata หลังจากต้องหยุดไปเนือ่ งจากการระบาด ของ COVID-19 ในขณะที่บริษัท Vale ในบราซิลเพิ่งได้รับการ อนุมัติให้ขยายกำ�ลังการผลิตแร่เหล็กของเหมือง Serre Sul ซึ่ง มีเป้าหมายจะเพิม่ กำ�ลังการผลิตจาก 90 เป็น 120 ล้านตันต่อปี ในออสเตรเลีย Industrial Info คาดการณ์วา่ ผูผ้ ลิตถ่านหิน จะลดการลงทุนและชะลอโครงการออกไปก่อนเพื่อรอให้ตลาด ปรับตัวดีขนึ้ เนือ่ งจากบริษทั Glencore ได้ประกาศลดกำ�ลังการ ผลิตถ่านหิน ส่วนบริษัท BHP Billiton ประกาศแผนการขาย สินทรัพย์ของโครงการเหมืองถ่านหิน มีเพียงบริษัท Bravus ทีย่ งั คงเดินหน้าโครงการเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ Carmichael ใน Queensland รวมถึงเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ในพื้นที่อื่น ในขณะทีเ่ หมืองแร่เหล็กในออสเตรเลียยังเติบโตได้อย่างต่อเนือ่ ง เพื่อรองรับการขยายตัวของอุปสงค์จากเอเชีย โดยเฉพาะจีน ที่นำ�เข้าแร่เหล็กจากออสเตรเลียสูงถึงร้อยละ 70 แหล่งข้อมูลอ้างอิง Joseph F. Govreau (2021). 2021 Global Mining Investment Outlook. (https://www.e-mj.com/ features/2021-global-mining-investment-outlook/) March-April 2021

31


สาระน่ารู้ l

ณฐิกา หนูนวล กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาโรงงาน กองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

แบตเตอรี่ โพแทสเซียม ไอออน...

แบตเตอรี่แห่งอนาคต

32

March-April 2021

ในปัจจุบันสังคมของเราอยู่ในยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีต่างๆ ได้ พัฒนาไปอย่างก้าวไกล ทั้งการสื่อสารไร้สาย ซื้อขายออนไลน์ การ ทำ�ธุรกรรมการเงิน ผ่านแอปพลิเคชัน ทำ�ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นปัจจัยสำ�คัญของผู้คนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุก๊ ซึง่ อุปกรณ์เหล่านีล้ ว้ นต้องมีอปุ กรณ์กกั เก็บพลังงาน เพื่อสะสมพลังงาน และอุปกรณ์สำ�รองไฟฟ้าสำ�หรับพกพาก็เป็น สิ่งสำ�คัญที่ขาดไม่ได้ อีกทั้งในด้านของพลังงานไฟฟ้าทดแทน เช่น พลังงานทดแทนจากโซลาร์เซลล์ ยานยนต์ไฟฟ้า-ไฮบริดทีก่ ำ�ลังได้รบั ความสนใจก็ต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน ในการขับเคลื่อน ทำ�ให้ความต้องการของอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน ประสิทธิภาพสูงอย่างแบตเตอรี่จึงได้เพิ่มขึ้นจากการใช้งานของคน ในสังคมมากขึ้นหลายเท่า อุปกรณ์กกั เก็บพลังงานทีน่ ยิ มใช้กนั อย่างแพร่หลายในปัจจุบนั คือ แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน (lithium-ion Battery) ซึ่งมี คุ ณ สมบั ติ เ ด่ น ในหลายด้ า น ได้ แ ก่ มี ค วามหนาแน่ น พลั ง งานสู ง อัตราคายประจุตัวเองต่ำ� อายุการใช้งานยาวนาน แต่ด้วยข้อจำ�กัด ด้านความปลอดภัยทีส่ ามารถระเบิดและติดไฟได้เมือ่ สัมผัสกับอากาศ อีกทั้งแร่ลิเทียมยังมีราคาสูง และแหล่งแร่ที่มีอยู่อย่างจำ�กัด ต้อง นำ�เข้าจากต่างประเทศ จึงมีการคิดค้นแบตเตอรี่ชนิดใหม่เพื่อนำ�มา ทดแทนการใช้งานแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออน เช่น แบตเตอรีอ่ ะลูมเิ นียม ไอออน แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออน เป็นต้น ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดโพแทสเซียมไอออนเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี กักเก็บพลังงานที่น่าสนใจ


แบตเตอรี่ชนิดโพแทสเซียมไอออน

แบตเตอรีช่ นิดโพแทสเซียมไอออน (KIB) ได้ถกู ประดิษฐ์ เป็นต้นแบบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ใช้โลหะโพแทสเซียม เป็นขั้วไฟฟ้าแอโนด วัสดุขั้วไฟฟ้าแคโทด คือ พรัสเซียนบลู (Prussian Blue) ให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีและมีอายุการ ใช้งานมากกว่า 500 รอบ จึงทำ�ให้พรัสเซียนบลูเป็นที่สนใจ ยิ่งขึ้น จนถูกนำ�ไปพัฒนาเป็นวัสดุขั้วไฟฟ้าแคโทดสำ�หรับใช้ ในแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดโพแทสเซียม ไอออนเป็ น อี ก หนึ่ ง เทคโนโลยี กั ก เก็ บ พลั ง งานที่ น่ า สนใจ เนื่องจากมีแร่โพแทชเป็นวัตถุดิบหลักที่มีร าคาถูก การนำ�แร่ มาพัฒนาเป็นแบตเตอรีจ่ ะสามารถเพิม่ มูลค่าให้แก่แร่โพแทชได้ โดยประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทชทีม่ คี วามสมบูรณ์และปริมาณ มาก ทำ�ให้วัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้มีราคาถูกกว่า แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน นอกจากปัจจัยด้านราคา แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออน ยังมีข้อได้เปรียบที่แตกต่างจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและ แบตเตอรี่โซเดียมไอออนหลายประการ เช่น คุณสมบัติด้าน ความต่างศักย์รีดักชันที่ส่งผลให้โพแทสเซียมมีช่วงศักย์ไฟฟ้า กว้างกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับลิเทียมหรือโซเดียม คุณสมบัติ ในการซ่อมแซมการเสือ่ มสภาพทีด่ กี ว่าแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออน และความหนาแน่ น พลั ง งาน (Energy Density) ที่ สู ง กว่ า แบตเตอรี่โซเดียมไอออน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ชนิด โพแทสเซียมไอออนยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัยและ พัฒนาให้มปี ระสิทธิภาพสูงเพียงพอต่อการใช้งานในเชิงพาณิชย์ ในอนาคตแบตเตอรี่ชนิดนี้จะเพิ่มทางเลือกเทคโนโลยีกักเก็บ พลังงานให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน ในปี พ.ศ. 2564 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร่ (กพร.) มีโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ เพื่ อ รองรั บ การพั ฒนาอุ ต สาหกรรมเป้ า หมายของประเทศ โดยได้ทำ�การศึกษาวิจยั วัตถุดบิ ทีส่ ามารถหาได้ในประเทศ อาทิ

แร่โพแทช เพื่อเป็นทางเลือกในการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นการ เพิ่มมูลค่าให้กับแร่ และลดการนำ�เข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ผูท้ สี่ นใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิม่ เติม ได้ ที่ ก องนวั ต กรรมวั ต ถุ ดิ บ และอุ ต สาหกรรมต่ อ เนื่ อ ง กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ หรื อ http:// www5.dpim.go.th

อ้างอิง

1. http://www.securitysystems.in.th/2020/03/ aluminium-ionbattery-vs-lithium-ion-battery/ 2. ณัฐฐา ไชยโพธิ์ และคณะ. (2563). แบตเตอรี่ชนิด โพแทสเซียมไอออน.

แบตเตอรี่ชนิดโพแทสเซียมไอออน เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน ทีน่ า่ สนใจ เนือ่ งจากมีแร่โพแทชเป็นวัตถุดบิ หลักทีม่ รี าคาถูก การนำ�แร่มาพัฒนาเป็น แบตเตอรี่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่แร่โพแทชได้ โดยประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทช ที่มีความสมบูรณ์และปริมาณมาก ทำ�ให้วัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้มีราคา ถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน March-April 2021

33


แบตเตอรี่ชนิดโพแทสเซียมไอออน Potassium-ion Batteries

คุณสมบัติแบตเตอรี่

ตัวอย่างการใช้งานแบตเตอรี่ (KIB) • แบตเตอรี่ยานยนต์ ไฟฟ้าซึ่งอยู่ในขั้นตอน ของการศึกษาวิจัยและพัฒนาให้มี ประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น ให้เพียงพอ ต่อการใช้งานในเชิงพาณิชย์

• อุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้า จากแหล่งพลังงานทดแทนต่างๆ

ความเป็นมาของการพัฒนา เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทชที่มีความสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่อนั ดับต้นๆ ของโลก ซึง่ แร่โพแทชมีองค์ประกอบ ที่ส�ำคัญ เช่น โพแทสเซียม (K) แมกนีเซียม (Mg) และเกลือ (NaCl) จึงมีการน�ำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตปุย๋ และ เคมีภณ ั ฑ์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการศึกษาวิจยั พบว่าโพแทสเซียม ยังมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดี สามารถผลิตเป็นแบตเตอรี่ชนิด โพแทสเซียมไอออน (KIB) ได้ ซึ่งอาจน�ำมาใช้ทดแทนแบตเตอรี่ ชนิ ด ลิ เ ที ย มไอออนที่ มี ร าคาสู ง และต้ อ งน�ำเข้ า วั ต ถุ ดิ บ จาก ต่างประเทศ ปั จ จุ บั น กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ ได้ ด�ำเนิ น โครงการพั ฒ นาเทคโนโลยี ก ารผลิ ต วั ต ถุ ดิ บ เพื่ อ ศึกษาวิจยั การน�ำแร่โพแทชมาใช้ผลิตแบตเตอรีช่ นิดโพแทสเซียม ไอออน ซึง่ เป็นการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั อุตสาหกรรม เหมืองแร่ภายในประเทศ อีกทัง้ ยังเป็นทางเลือกให้กบั อุตสาหกรรม ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ไฟฟ้าในอนาคตได้อีกด้วย

ข้อดี-ข้อเสียของแบตเตอรี่

ข้อดี

ข้อเสีย

» ใช้วัตถุดิบเป็นแร่โพแทชที่มีมากในไทย » ราคาถูก » มีความหนาแน่นพลังงานสูง

» มีขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้น

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาโรงงาน กองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โทร. 0-2202-2002 www.dpim.go.th

34

March-April 2021


News

กฟผ. แม่ เ มาะ ชี้แจงชุมชนในพื้นที่อำ�เภอแม่เมาะ

ยืนยันเน้นความมั่นคงพลังงานเป็นหลัก

พร้อมเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าทดแทนฯ ตามแผน PDP2018

กฟผ. แม่เมาะ เข้ามอบหนังสือชี้แจงต่อกลุ่มผู้น�ำ ชุมชน และผู้แทนภาคประชาชน อำ�เภอแม่เมาะ เพื่อแสดงความ ชั ด เจนในการดำ � เนิ น งานของ กฟผ. แม่ เ มาะ กรณี มี ก าร นำ � เสนอข่ า วกระทรวงพลั ง งานเสนอสั่ ง หยุ ด เดิ น เครื่ อ ง โรงไฟฟ้าแม่เมาะบางหน่วย ในปี พ.ศ. 2572 โดย กฟผ. ยืนยันดำ�เนินงานโดยมุง่ เน้นความมัน่ คงทางพลังงานเป็นหลัก พร้อมเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 8-9 ตาม แผนพัฒนากำ�ลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) พัฒนพงศ์ ขันทา ผู้อำ�นวยการฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้า แม่เมาะ พร้อมด้วย ประกอบ ปะระมะ หัวหน้ากองชุมชน สัมพันธ์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นผู้แทน กฟผ. แม่เมาะ อำ�เภอ แม่ เ มาะ จั ง หวั ด ลำ � ปาง เข้ า มอบหนั ง สื อ ชี้ แ จง ซึ่ ง ลงนาม โดย พลศรี สุวิศิษฏ์อาษา รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า ทำ�การแทน ผู้ว่าการ กฟผ. กรณีที่มีสื่อแหล่งหนึ่งเผยแพร่ข้อมูลอ้างอิงว่า ในการประชุมของกระทรวงพลังงาน ได้มีการเสนอให้สั่งหยุด เดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะบางหน่วย ในปี พ.ศ. 2572 เพื่อ ลดกำ�ลังการผลิตและซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศทดแทน ต่อ ถนอม กุลพินิจมาลา กำ�นันตำ�บลสบป้าด ในฐานะประธาน ชมรมกำ�นันผู้ใหญ่บ้านอำ�เภอแม่เมาะ สมมุติ หาลือ ตัวแทน ภาคประชาชน อำ�เภอแม่เมาะ ซึ่งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กลุ่ม ผู้นำ�ชุมชนและผู้แทนภาคประชาชน อำ�เภอ แม่เมาะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าการ กฟผ. และกระทรวง พลังงาน เพื่อขอความชัดเจนต่อกรณีดังกล่าว เนื่องจากราษฎร ในพื้ น ที่ อำ � เภอแม่ เ มาะบางส่ ว นมี ค วามกั ง วลว่ า จะกระทบ ต่อวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องการจ้างงาน ซึ่งอาจ ส่งผลถึงเศรษฐกิจภาพรวม และราคาค่าไฟฟ้าที่อาจสูงขึ้น จากต้นทุนในการนำ�เข้า กฟผ. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงาน ให้ชี้แจง เพื่ อ คลายความกั ง วลของชุ ม ชนอำ � เภอแม่ เ มาะ และแสดง

ความขอบคุณที่ชุมชนได้ร่วมแสดงความเห็นต่อการดำ�เนินการ ของ กฟผ. แม่เมาะ โดยปัจจุบัน กฟผ. ยังคงดำ�เนินการพัฒนา โรงไฟฟ้ า แม่ เ มาะให้ ส อดคล้ อ งตามแผนพั ฒ นากำ � ลั ง ผลิ ต ไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision1) ซึ่งกำ�หนดให้ปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ บางหน่วยผลิตออกจากระบบตามความเสื่อมสภาพและอายุ การใช้งานที่มากกว่า 30 ปี เพื่อให้มีกำ�ลังผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอ ในการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคเหนือ แผน PDP2018 Revision 1 จึงกำ�หนดให้มีการดำ�เนินโครงการ โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครือ่ งที่ 8-9 (MMRP2) ทีม่ กี �ำ ลังการ ผลิตติดตั้ง 660 เมกะวัตต์ และมีแผนจ่ายไฟเข้าสู่ระบบในปี พ.ศ. 2569 ซึง่ จะสอดคล้องกับปริมาณถ่านหินลิกไนต์ทเ่ี หลืออยู่ เพียงพอสำ�หรับผลิตไฟฟ้าได้อีก 25 ปี ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิง่ แวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยคณะกรรมการผูช้ �ำ นาญการ พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ทัง้ นี้ หลังจากรายงาน EHIA ได้รบั ความเห็นชอบจาก คชก. แล้ว จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้นอีก 1 ครั้ง ราวกลางปี พ.ศ. 2564 โดยคณะกรรมการกำ�กับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก่อนนำ�ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่ได้ไปประกอบรายงานฯ ที่ผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เพื่อนำ�เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการต่อไป อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ไฟฟ้าในปัจจุบันที่ได้รับ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งกระทบ ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศและทั่วโลก ทำ �ให้การใช้ไฟฟ้า ของประเทศลดต่ำ�กว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งกระทรวงพลังงานอยู่ ระหว่างการพิจารณาทบทวนกำ�ลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ให้สอดคล้อง ตามสถานการณ์ด้านพลังงาน และสอดรับกับแนวโน้มของโลก ที่เน้นพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ทั้งนี้ หากได้รับ การอนุมัติโครงการ กฟผ. มีความพร้อมในการดำ�เนินโครงการ โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ทันที March-April 2021

35


ร่กำ�าหนดให้ งกฎกระทรวง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กกล้าแผ่นม้วนรีดร้อน

สำ�หรับงานท่อต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ... คณะรัฐมนตรีมมี ติอนุมตั หิ ลักการร่างกฎกระทรวงกำ�หนด ให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าแผ่นม้วนรีดร้อนสำ �หรับ งานท่ อ ต้ อ งเป็น ไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ... ตามที่ ก ระทรวง อุตสาหกรรมเสนอ และให้สง่ สำ�นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณา แล้วดำ�เนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำ�หนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็ ก กล้ า แผ่ น ม้ ว นรี ด ร้ อ นสำ � หรั บ งานท่ อ ต้ อ งเป็ น ไปตาม มาตรฐาน พ.ศ. ... ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการออก กฎกระทรวงเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และที่แก้ไข

AGE เผย

COVID-19 หนุนราคาถ่านหินพุง่ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ตั้งเป้าปี ’64 กวาดรายได้กว่าหมื่นล้านบาท

พนม ควรสถาพร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำ�กัด (มหาชน) หรือ AGE ผู้จัด จำ�หน่ายถ่านหินบิทูมินัส (ถ่านหินสะอาด) กล่าวว่า ภาพรวม อุตสาหกรรมถ่านหินในปี พ.ศ. 2564 มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน มากขึ้น ตั้งแต่ไตรมาส 4 ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจาก เป็นช่วงไฮซีซั่นของธุร กิจ จากความต้องการสต็อกถ่านหิน เพือ่ สำ�รองใช้ในช่วงฤดูหนาว อีกทัง้ สถานการณ์การแพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19 ทำ�ให้มีข้อจำ�กัดเรื่องการขนส่งถ่านหิน ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ประกอบกับประเทศ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่ประสบ ปัญหาอุทกภัยหลายแห่ง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกถ่านหิน จากปัจจัยดังกล่าวหนุนให้ราคาถ่านหินขยับไปแตะระดับ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทำ�ให้คา่ เฉลีย่ ราคาถ่านหินจากช่วงต้นปี จนถึงปัจจุบนั อยูท่ ร่ี ะดับ 85 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เพิม่ ขึน้ กว่า ร้อยละ 41 เมือ่ เทียบจากค่าเฉลีย่ ราคาถ่านหินจากช่วงปีทผ่ี า่ นมา

36

March-April 2021

เพิม่ เติม โดยปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรเหล็กกล้า แผ่นม้วนรีดร้อน สำ�หรับงานท่อ เพือ่ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน อ้างอิง การพัฒนาเทคโนโลยี การทำ�และการใช้ภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยในการใช้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ ดำ�เนินการรับฟังความคิดเห็นเกีย่ วกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว สาระสำ�คัญของร่างกฎกระทรวงกำ�หนดให้ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเหล็กกล้าแผ่นม้วนรีดร้อนสำ�หรับงานท่อต้องเป็น ไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.1735-2563 ตามประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 5806 (พ.ศ. 2563) ออกตามความ ในพระราชบัญญัตมิ าตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่ อ ง ยกเลิ ก มาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรมเหล็ ก กล้ า คาร์บอนรีดร้อนแผ่นม้วนและแผ่นแถบสำ�หรับงานท่อ และ กำ�หนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าแผ่นม้วน รีดร้อนสำ�หรับงานท่อ ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 โดยให้ มี ผ ลใช้ บั ง คั บ เมื่ อ พ้ น กำ � หนดหนึ่ ง ร้ อ ยแปดสิ บ วั น นั บ แต่ วั น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สำ�หรับทิศทางการเติบโตของบริษทั ฯ AGE ได้วางกลยุทธ์ เพื่อเจาะตลาดถ่านหินในต่างประเทศ เพื่อเตรียมบุกตลาด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น ในส่วนของตลาด ในประเทศ บริษัทฯ มีศักยภาพและความพร้อมในการจัดเก็บ ถ่านหิน เนือ่ งจากคลังของ AGE สามารถรองรับการกองเก็บได้ เฉลี่ยสูงถึง 1 ล้านตัน ขณะเดียวกันบริษัทฯ มีบริการด้าน โลจิสติกส์ที่มีความพร้อมด้านการขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ� จากกลยุทธ์การขยายตลาดในธุรกิจถ่านหิน ทำ�ให้บริษทั ฯ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตยอดขายถ่านหินในปีนี้ไว้ที่ 5.5 ล้านตัน แบ่งเป็นยอดจำ�หน่ายในประเทศ 3.5 ล้านตัน และต่างประเทศ 2 ล้านตัน ปัจจุบนั บริษทั ฯ มียอดคำ�สัง่ ซือ้ ถ่านหินในมือ (Back log) จำ�นวน 1 ล้านตัน ซึ่งจะทยอยส่งมอบทั้งหมดภายใน ครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2564 พนม กล่าวว่า ในส่วนของแผนขยายธุร กิจโลจิสติกส์ ด้านขนส่งนัน้ บริษทั ฯ ยังเดินหน้าขยายธุรกิจโลจิสติกส์ตอ่ เนือ่ ง โดยมีแผนการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายท่าเรือที่ 4 นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมดำ�เนินการในเชิงพาณิชย์ สำ�หรับโรงคัดร่อน แห่งที่ 4 ภายในปลายเดือนมกราคม 2564 ส่งผลให้ AGE มีโรงคัดร่อนรวมทั้งหมด 5 แห่ง ซึ่งจากแผนธุรกิจดังกล่าว แสดงถึ ง ศั ก ยภาพของบริ ษั ท ฯ ในการให้ บ ริ ก ารที่ ค รบวงจร มากยิ่งขึ้น ทำ�ให้บริษัทฯ ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้รวมในปีนี้ แตะระดับ 11,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้






Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.