เมืองใต้นิวส์เดือนตุลาคม2559

Page 1

www.issuu.com/meuangtainews

รี

สัมภาษณ์หน้า 5

แจกฟ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

นายวีระชัย วิเศษแสง กำ�นันตำ�บลคลองฉนาก

อ่านต่อหน้า 5 อ่านต่อหน้า 3

รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม พระอารามหลวง

ภารกิจหอการค้า

เวทีสภาพลเมืองระดับชาติ

เที่ยวศรีราชา เชียร์ราชนาวี เอฟซี อ่านต่อหน้า 6 อ่านต่อหน้า 2

บริษัท มิตซูสุราษฎร์ จำ�กัด ผู้จำ�หน่ายรถยนต์มิตซูบิชิในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมศูนย์บริการมาตรฐาน อะไหล่แท้ ศูนย์เคาะพ่นสีและตัวถัง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

สำ�นักงานใหญ่ (บางกุ้ง) 077- 285038, สาขาเกาะสมุย 077- 418898 สาขาธราธิบดี (แยกวัดมะปริง) 077- 269268


2

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

เทยี่ วไป.. ..เชียร์ไป

ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

เที่ยวศรีราชา เชียร์ราชนาวี เอฟซี

โดยพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ

อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นอำ�เภอที่ใหญ่และ เจริญที่สุดของชลบุรีก็ว่าได้ เพราะมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ หลายแห่ง ทำ�ให้มีคนต่างชาติมาอาศัยอยู่จำ�นวนมาก จนได้ ชื่อว่า มินิเจแปน คือเมืองญี่ปุ่นเล็กๆ นั่นเอง อำ�เภอนี้จึงมีอะไรเกี่ยวกับญี่ปุ่นมากที่ดังที่สุดเห็นจะ เป็น เจ.พาร์ค คอมมูนนิตี้มอลล์สไตล์ญี่ปุ่น ที่ใครมาศรีราชา แล้วไม่แวะเทีย่ วถือว่ามาไม่ถงึ เลยทีเดียว ห้างนีม้ รี า้ นอาหาร ญีป่ นุ่ เยอะมาก แต่ละร้านอร่อยเหมือนต้นตำ�รับทีญ ่ ปี่ นุ่ สินค้า ญี่ปุ่นหรือหนังสือก็หาซื้อได้จากที่นี่ เวลามาเดินเที่ยวจะรู้สึก เหมือนเดินที่ญี่ปุ่นใครที่ไม่เคยไปญี่ปุ่นก็มาเที่ยวที่นี่ก่อน นอกจากนี้ยังมีสวนเสือที่ไม่ควรพลาด ส่วนคนที่ชอบ ทะเลมีวัดเกาะลอยให้กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งของไทยและ จีน หรือถ้าจะไปเที่ยวเกาะสีชังก็ขึ้นเรือได้เลย ผมเองมา ศรีราชาบ่อย เพราะตอนลูกยังเล็กผมชอบพาลูกมาดูปเู่ ต่าและ ให้อาหารเต่าที่เกาะลอย ที่ศรีราชาเคยมีทีมฟุตบอลที่โด่งดังมากคือ ศรีราชา เอฟซี ที่ สำ � คั ญ ยั ง มี ส นามหญ้ า เที ย มที่ ส วยมากๆ อยู่ ใ น โรงเรียนของเทศบาลเมืองศรีราชา แล้วยังมีรา้ นค้าขายของที่ ระลึกตั้งอยู่ริมทะเล และยังมีสมาคมกีฬาของอำ�เภอ อีกทั้งมี สมาคมฟุตบอลของอำ�เภออีกด้วย จนผมต้องมาดูงานแล้วเคย จะไปทำ�กับทีมสุราษฎร์ฯ บ้าง แต่ทำ�ไม่สำ�เร็จ ผมจึงวางมือ จากการทำ�ทีมแล้วเดินทางเพื่อเชียร์ฟุตบอลทั่วประเทศ ศรีราชายังมีเรือ่ งทีเ่ หลือเชือ่ อีกอย่างหนึง่ คือ เป็นอำ�เภอ เดียวในประเทศไทย ทีม่ เี ทศบาลนครถึง 2 แห่ง ทัง้ ประเทศมี เทศบาลนครเพียง 30 แห่ง มีจังหวัดที่มีเทศบาลนคร 2 แห่ง อยู่ไม่กี่จังหวัด เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็มี 2 แห่ง คือ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และเทศบาลนครเกาะสมุย แต่ที่ศรีราชามีเทศบาลนครถึง 2 แห่ง คือ เทศบาลนคร แหลมฉบัง ทีม่ พี นื้ ทีส่ ว่ นใหญ่อยูอ่ �ำ เภอศรีราชา แต่มพี นื้ ทีอ่ กี ส่วนอยู่อำ�เภอบางละมุง และเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ที่เป็นเทศบาลที่มีพื้นที่มากที่สุดอีกด้วย แล้วยังมีเทศบาล เมืองศรีราชาอีกแห่ง ใครที่ผ่านมาผ่านไปที่ศรีราชา ผมขอแนะนำ�ให้ไปพัก ที่ภัทรา ปาร์ค เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ ที่เพิ่งเปิดใหม่ ของ เฮียล้าน พี่ชายผม คุณวรงค์ โพธิครูประเสริฐ และพี่สะใภ้ ซ้อใหญ่คุณภัทราวดี สุวรรณโอภาส ผมไปพักมาแล้วพร้อม ครอบครัว ห้องใหญ่สวยมาก มีสระว่ายน้ำ� ฟิตเนส แล้ว มีอาหารไทย ญี่ปุ่น บริการอีกด้วย สนใจติดต่อได้ที่โทร. 081-7196359 เมื่อทีมฟุตบอลศรีราชาไม่มีแล้ว ผมจึงต้องไปเชียร์ ราชนาวี เอฟซี ผมต้องเดินทางต่อไปทีอ่ �ำ เภอสัตหีบ แต่กอ่ น

ถึงต้องผ่านอำ�เภอบางละมุง ที่มีที่เที่ยวสำ�คัญคือ พัทยา และ ยังมีทมี พัทยา ยูไนเต็ด ทีใ่ ช้สนามของเทศบาลเมืองหนองปรือ สนามปรับปรุงใหม่สวยทีเดียว ที่เที่ยวตามเส้นทางนี่มีมากจนเขียนกันไม่หมด ผมขอ ผ่านไปเที่ยวสัตหีบดีกว่า ที่จริงแล้วสัตหีบมีที่เที่ยวเยอะมาก แต่ด้วยอยู่ใกล้พัทยา คนจึงคิดว่าเที่ยวพัทยาเพราะเป็นรอย ต่อระหว่างอำ�เภอ สำ�หรับผมแล้วสิ่งแรกที่มาสัตหีบต้องไป ไหว้หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ แล้วจึงเริ่มเที่ยวที่ต่างๆ ด้วยที่นี่เป็นที่ตั้งของทหารเรือหลายหน่วยงาน ทำ�ให้ ที่เที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในเขตทหาร แต่สามารถเข้าชมได้แล้ว ปลอดภัยดีด้วย ใครที่มาที่สัตหีบแล้วผมแนะนำ�ว่าต้องไป ชมเรือบรรทุกเครื่องบินลำ�แรกและลำ�เดียวของประเทศไทย คือ เรือจักรีนฤเบศร ซึ่งเปิดให้ชมทุกวัน ทางขึ้นเรืออาจจะ เดินลำ�บากสักนิดสำ�หรับผู้สูงวัย แต่ขึ้นไปแล้วหายเหนื่อย กับความสวยงามของทะเลสัตหีบ ที่จริงแล้วผมได้เดินทางไปเชียร์ฟุตบอลหลายแห่ง แต่ ที่ต้องพาไปเชียร์ราชนาวีก่อน เพราะอยู่ในกลุ่มท้ายตารางที่ ยังต้องลุน้ หนีตาย และผมไม่เคยมาดูฟตุ บอลทีส่ นามนีม้ าก่อน อยูๆ่ ลูกสาวมาชวนไปดูฟตุ บอล ผมดีใจมากเลยทีไ่ ด้พาลูกๆ มาดูกีฬา สนามฟุตบอลของราชนาวีก็อยู่ในเขตทหารเรือและ ทราบมาว่ า เป็ น สโมสรฟุ ต บอลที่ เ ก่ า แก่ ที ม หนึ่ ง ของ ประเทศไทย เมื่อก่ อนเคยยิ่ งใหญ่แต่ช่ วงหลังเริ่ มอาการ ไม่ค่อยดีปีที่แล้วต้องลุ้นตกชั้น มาปีนี้ก็ยังต้องลุ้นอีกเช่นเคย สนามแห่งนี้มีที่นั่งชม 3 ด้าน แต่ที่แปลกกว่าสนามอื่น คือมีหลังคาคลุมทั้งหมด และสร้างหลังคาคล้ายๆ รูปคลื่น ทะเล มีร้านขายสินค้าที่ระลึกอยู่ด้านนอก ผมเข้าไปดูแล้ว ไม่ชอบเสือ้ ว่าจะซือ้ หมวกมาใส่กไ็ ม่มขี าย แต่มหี มวกกันน็อค

ขาย เพราะเพิ่งได้สปอนเซอร์รายใหม่เข้ามาสนับสนุนทีม เวลาไปดูทีมฟุตบอลของกองทัพมักจะเห็นกองเชียร์ที่ เป็นทหารมาร่วมเชียร์ และรักษาความปลอดภัยเป็นทหารดู แล้วรับรองปลอดภัย แต่แฟนคลับของราชนาวีกม็ ที กุ วัยเชียร์ กันเรียบร้อยเหมือนสุภาพบุรุษทหารเรือ ถึงผมจะไม่ใช่แฟน คลับทีมราชนาวี แต่ขอเอาใจช่วยให้ทีมรอดพ้นการตกชั้น นะครับ


เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

ชวนคิด ชวนคุย เรื่องสภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ณ โรงแรมเคพาร์ค อำ�เภอ เมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิวัฒน์ สรรพา รองนายก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี เป็ น ประธาน ในพิ ธี เ ปิ ด โครงการฯ โดยองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ได้จัดโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งทางการ เมื อ งภาคพลเมื อ งสู่ ก ารจั ด ตั้ ง “สภาพลเมื อ งจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุน การเมื อ งแนวใหม่ ที่ ภ าคประชาชนจะมี บ ทบาทในการ ตัดสินใจในทางการเมืองมากขึ้นในรูปแบบ “สภาเมือง” ส่งเสริมสนับสนุนภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ “พัฒนาท้องถิ่น” และเพื่อสนับสนุน หลักการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตยที่มี “หลักการอำ�นาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย” โดยโครงการฯ นี้ได้จัด “เวที ชวนคิ ด ชวนคุ ย ” เรื่ อ งความเป็ น มาของสภาพลเมื อ ง ในจังหวัดต่างๆ พร้อมตัวอย่างสภาพลเมือง ที่เกิดขึ้นใน ประเทศไทย และทีม่ าของ “สภาพลเมืองทีเ่ กิดขึน้ ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี” โดยดร.สมนึก จงมีวศิน อาจารย์ประจำ� และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (หลักสูตร นานาชาติ ) วิ ท ยาลั ย นานาชาติ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร เป็นวิทยากร โดยเวที “ชวนคิด ชวนคุย เวทีสภาพลเมือง” ในครั้งนี้ ดร.สมนึก จงมีวศิน ได้กล่าวถึง ประสบการณ์ ทำ�งานร่วมกับบุคคลในหลากหลายกลุม่ ทัง้ ในระดับผูบ้ ริหาร ในภาครัฐและภาคเอกชน จนไปถึงชุมชนในระดับรากหญ้า และการลงไปทำ�งานในด้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหา ของความขัดแย้งด้านมลพิษชุมชนอ่าวอุดม โดยสามารถ เป็น “ต้นแบบ” ของ “ธรรมนูญอ่าวอุดม” ซึ่งเป็นพื้นที่ ส่วนหนึ่งของ เทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ ยังได้นำ�เสนอข้อคิดและแนวทางในด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมใน เชิงยุทธศาสตร์ การบริหาร การจัดการ ภูมิทัศน์ วัฒนธรรม ของชุมชน และการพัฒนาในด้านการท่องเที่ยวแบบชุมชน และการนำ�เสนอแนวทางและให้ความรูใ้ นการขับเคลือ่ นเครือ

3

ข่ายภาคประชาสังคม สำ�หรับเวที “ชวนคิด ชวนคุย” เรื่องสภาพลเมือง ในโครงการฯ นี้ มี เ ครื อ ข่ า ยภาคประชาชนในจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ร่วมเวทีในครั้งนี้ เช่น กลุ่มสภาองค์กรชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี คปจ.สฎ. กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำ�ตาปี พุ ม ดวง กลุ่ ม ลุ่ ม น้ำ � คลองยั น เครื อ ข่ า ยกลุ่ ม อนุ รั ก ษ์ อ่ า ว บ้านดอน กลุ่มเครือข่าย อสม.เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี กลุ่มเครือข่ายชุมชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี กลุ่มเครือ ข่ายภาคประชาชน ทั้ง 19 อำ�เภอ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ ในการจั ด เวที ค รั้ ง นี้ ยั ง ได้ จั ด กิ จ กรรมกลุ่ ม (Work Shop) เพื่ อ ให้ ผู้ เข้ า ร่ ว มโครงการฯ ในครั้ ง นี้ ได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนของ “สภาพลเมืองจังหวัด สุราษฎร์ธานี” โดยภาคประชาชนได้มีการเสนอแนวทาง ขั บ เคลื่ อ นในหลากหลายประเด็ น ไม่ ว่ า ประเด็ น พื้ น ที่ สีเขียวในสังคมเมือง ด้านคุณภาพชีวติ ประเด็นในสิง่ แวดล้อม ประเด็ น สถานที่ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ (Landmark) ของ จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ประเด็ น เศรษฐกิ จ การศึ ก ษา การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาคประชาชนชาวจังหวัด สุราษฎร์ธานี มีการแสดงความคิดเห็นและมีแนวทางทีเ่ ห็นว่า “สภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี” ควรจะขับเคลื่อน เพื่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เวทีสภาพลเมืองระดับชาติ เมื่ อ วั น พฤหั ส บดี ที่ 8 กั น ยายน พ.ศ. 2559 สภาพัฒนาการเมืองได้จัด “เวทีสภาพลเมืองระดับชาติ” ณ ห้องวายุภักษ์ ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ช่วงเช้าเป็นพิธีเปิดเวทีสภาพลเมือง ระดับชาติ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง จากนั้ น เป็ น การแนะนำ � สภาพลเมื อ งทุ ก จั ง หวั ด ทัว่ ประเทศ แล้วผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สุจารี แก้วคง สมาชิก สภาพัฒนาการเมือง ได้สรุปภาพรวมการจัดตั้งและการขับ เคลื่อนสภาพลเมืองทุกจังหวัดทั่วประเทศ และผู้แทนสภา พลเมืองทั้ง 4 ภูมิภาค ได้สรุปภาพรวมการขับเคลื่อนสภา พลเมืองในแต่ละภูมิภาค ตามด้ ว ยการเสวนาแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ส ภา พลเมืองรูปแบบต่างๆ ดำ�เนินรายการโดย นางสุจติ รา สุทธิ พงศ์ สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ซึ่งแบ่งสภาพลเมืองเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. สภาพลเมืองรูปแบบธรรมชาติ มีนายวุฒพิ งษ์ เหลืองอุดมชัย ผู้แทนสภาพลเมืองในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ 2. สภาพลเมืองรูปแบบโครงสร้าง มีนายสนอง เนียมเหลี่ยม ผู้แทนสภาพลเมืองในจังหวัด พิษณุโลก และ นายธวัฒน์ คล้ายรุ่ง ผู้แทนสภาพลเมือง ในจังหวัดชุมพร ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ 3. สภา พลเมืองรูปแบบกึ่งโครงสร้าง ได้ว่าที่ร้อยตรี อภิชัย รุ่งพึ่ง ผู้ แ ทนสภาพลเมื อ งในจั ง หวั ด ชั ย นาท เป็ น ผู้ ถ่ า ยทอด

เมืองใต้นิวส์

ประสบการณ์ ช่ ว งบ่ า ยได้ เ ปิ ด การประชุ ม สมั ช ชาสภาพลเมื อ ง ระดับชาติ ครั้งที่ 1/2559 ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม ประธานกรรมการเสริม สร้างและพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สภาพัฒนาการเมือง เป็นเลขานุการดำ�เนินการประชุม ซึ่งดร.สุวันชัย ได้กล่าวว่า สภาพลเมือง คือ องค์การ ของพลเมือง หรือ เวทีกลางของพลเมือง ซึ่งพลเมืองมาร่วม กันช่วยขับเคลือ่ นงานด้วยความเป็นพลเมืองผ่านเวทีนี้ ไม่ใช่ แค่มาแต่เพียงประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดย เฉพาะ ทั้งนี้สภาพลเมืองอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปตาม บริบทและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยอาจแบ่งเบื้อง ต้นได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. สภาพลเมืองรูปแบบธรรมชาติ เป็นสภาพลเมืองที่มี การขับเคลือ่ นเป็นไปตามธรรมชาติ เมือ่ มีประเด็นปัญหาหรือ ความต้องการทีเ่ ป็นประโยชน์สาธารณะในพืน้ ที่ คนจากภาค ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ก็มาร่วมประชุมปรึกษาหารือ กันเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ โดยองค์ ประกอบและโครงสร้างของสภาพลเมืองเป็นไปตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ปรึกษาหารือกันในแต่ละครั้ง ซึ่งประธาน ในที่ ป ระชุ ม แต่ ล ะครั้ ง อาจถู ก เลื อ กจากบุ ค คลซึ่ ง เป็ น ที่ ยอมรับที่มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นนั้นๆ และผู้เข้าร่วม ประชุมแต่ละครั้งก็ขึ้นอยู่กับประเด็นนั้นๆ ไม่มีการกำ�หนด

แน่นอนตายตัว 2. สภาพลเมืองรูปแบบที่มีโครงสร้างชัดเจน เป็นสภา พลเมืองทีม่ กี ารขับเคลือ่ นโดยมีการกำ�หนดองค์ประกอบและ โครงสร้างทีแ่ น่นอนชัดเจน มีการกำ�หนดทีม่ าและจำ�นวนของ ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ที่จะมาร่วมเป็นองค์ประกอบของ สภาพลเมือง และมีการเลือกประธานสภาพลเมืองและตำ�แหน่ งอื่นๆ ให้ดำ�รงตำ�แหน่งโดยมีระยะเวลาของวาระที่แน่นอน รวมทัง้ มีการกำ�หนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบตั ทิ แี่ น่นอนชัดเจน 3. สภาพลเมื อ งรู ป แบบกึ่ ง โครงสร้ า ง เป็ น สภา พลเมื อ งที่ มี ก ารขั บ เคลื่ อ นในลั ก ษณะผสมผสานของ 2 รูปแบบ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และทีป่ ระชุมสมัชชาสภาพลเมืองระดับชาติ ได้พจิ ารณา ประเด็นสาธารณะร่วมที่สภาพลเมืองทุกจังหวัดจะช่วยกัน และแนวทางการดำ � เนิ น การเพื่ อ ให้ ส มั ช ชาสภาพลเมื อ ง ระดับชาติได้มีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อนึ่ ง การประชุ ม สมั ช ชาสภาพลเมื อ งระดั บ ชาติ ในครัง้ นี้ สภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รว่ มประชุมด้วย 4 ท่าน คือ นายพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ รองประธาน สภาพลเมื อ งจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี นายลำ � ยอง บุ ญ ลพ นายวิ โรจน์ ทองเกษม และ ดร.กนกพร สี ด อกไม้ ที่ปรึกษาสภาพลเมือง และนายเจริญ ยอดมณี สมาชิกสภา พัฒนาการเมือง

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายเดือน สำ�นักงานเลขที่ 157 ถนนชนเกษม ตำ�บลตลาด อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

บรรณาธิการบริหาร/ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา : ชยุตม์ เชาวน์ณัฐเศวตกุล E-mail : chayutkok@gmail.com, Facebook : หนังสือพิมพ์เมืองใต้นิวส์

ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

www.issuu.com/meuangtainews

ติดต่อลงโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 081-9783401, 089-7258911


4

เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

สังคม...เมืองคนดี อินทรีย์ บ้านดอน

ธานี เทือกสุบรรณ

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติเป็นประธานเปิด กิจกรรม “ปั่นเพื่อน้อง คนดีศรีวิชัย” ณ โรงเรียนวัดเขาศรีวิชัย เพื่อ หารายได้สมทบทุนสร้างอาคารอเนกประสงค์ให้แก่น้องๆ โรงเรียนวัด เขาศรีวิชัย

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 นายวิวัฒน์ สรรพา รองนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการ ส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเมืองภาคพลเมืองสูก่ ารจัดตัง้ สภาพลเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ โรงแรมเคปาร์ค อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 โรงเรียนเทศบาล ๕ จัดการแข่งขัน กีฬาสี “สกุณาเกมส์” ครั้งที่ 12 ประจำ�ปี 2559 โดยมีนายธีระกิจ หวังมุทิตากุล นายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี เป็นประธานพิธีเปิด มีคณะผู้บริหาร พนักงานเทศบาล เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครอง นักเรียนเข้าร่วม ณ สนามกีฬากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ สมาชิกสภาเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี ได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการของโรงเรียนองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 (บ้านนา) ทีม่ าจัดแสดงในงานเวทีทอ้ งถิน่ ไทย เมือ่ วันที่ 8 กันยายน 2559 โดยมีนายเมธี ฮ่งภู่ ผูอ้ �ำ นวยการสถานศึกษา ให้การตัอนรับ

ธีระกิจ หวังมุทิตากุล

อวยชัย อินทร์นาค

อำ�พนธ์ เพชรชู

ประกิต ประสิทธิ์ศุภผล

นงเยาว์ จ่าแก้ว

เมืองใต้นวิ ส์ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม เข้าสูช่ ว่ งงานประเพณีชกั พระ ทอดผ้าป่าและแข่งเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานฯ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำ�ปี 2559 โดยปีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 - 21 ตุลาคม 2559 ณ บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำ� ตาปี และบริเวณสะพานนริศ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ในรูปแบบ สโลแกน “เที่ยวเมืองร้อยเกาะเลาะคลองร้อยสาย ไหว้พระร้อยวัด มหัศจรรย์วันเดียว” มาติดตามบรรยากาศ “วันครบรอบ 5 ขวบ” ของทีมคนดี (สีฟ้าต้องซื่อสัตย์) ของธีระกิจ หวังมุทิตากุล (เสี่ยเป้า แห่งคุม้ วังศุขเจริญ) ทีมข่าวอินทรียบ์ า้ นดอนโฉบเฉีย่ วเกาะติดบรรยากาศในงาน บรรดานักการเมืองระดับท้องถิน่ หรือระดับ ชาติ มาร่วมแสดงความยินดี กับทีมคนดี (สีฟ้าต้องซื่อสัตย์) ไม่ว่า อดีต ส.ส. ประชาธิปัตย์ ธานี เทือกสุบรรณ (กำ�นันเล็ก แห่งคุ้มบ้านมะขาม ท่าแขก) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองสุราษฎร์ธานี ภาสกร จรูญรัตน์ และสุณิสา วงศ์เจริญ โดยเฉพาะ วาทกรรม ประโยคเด็ด “4 ปี ปริญญาตรี อีก 2 ปี ที่เหมือนได้ปริญญาโท หลังจากครบวาระของการบริหารแต่บุญ หล่นทับให้รักษาการต่อไปอีก อาจจะได้ปริญญาเอก” ถือเป็นวาทกรรมที่บ่งบอกนัยสำ�คัญ การเมืองอย่างทำ�เนียบ “บ้านดอน” สนามเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ส่วนอีกวาทกรรมของธีระกิจ หวังมุทิตากุล (เสี่ยเป้าแห่งคุ้มวังศุขเจริญ) ที่พูดอย่างเปิดอกจากลูกผู้ชายอกสาม ศอก ถึงตลอดระยะเวลาที่นั่งเก้าอี้บริหารงานมาตลอด 4 ขวบปี กับอีก 1 ขวบปี แม้จะมีอุปสรรคบ้างไม่น้อยหรือไม่มาก ก็ ยึดการบริหารแบบฉบับ “แบบพี่ แบบน้อง แบบเพื่อน ไม่บริหารแบบมีการเมือง” จะเป็นการเมืองแบบเต็มตัวก็ต่อเมื่อ “ลงต่อสู้ในสนามเลือกตั้งเท่านั้น” แต่เมื่อประชาชนได้ตัดสินใจเลือกมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทีมไหน กลุ่มไหน มุ้งไหน ค่าย ไหน ก๊วนไหน ก็ล้วนแต่ทำ�งานให้แก่ประชาชน มาในส่วนกลุ่มสุราษฎร์ก้าวหน้า (สีชมพูของคุ้มวังมะขามเตี้ย) ของหญิงแกร่ง “สมบูรณ์ (ป้าบูรณ์) สุรรณบุตร” กระแสคลืน่ ความเคลือ่ นไหว แบบน้�ำ นิง่ แต่มคี วามเคลือ่ นไหวของการจัดทัพเพือ่ เตรียมตัวลงสูศ้ กึ เลือกตัง้ ท้องถิน่ “ทำ�เนียบ บ้านดอน” อย่างเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะ กระแสความเคลือ่ นไหวของ “แม่ทพั ใหญ่” ล่าสุด สุดล่า ยังคงปรากฎ ชื่อเสียงเรียงนามอย่าง ประกิต ประสิทธิ์ศุภผล (เสี่ยหลีกูรูโลจิสติกส์แห่งลุ่มน้ำ�ตาปี) ติดโผแคนดิเดต แบบยังคงเป็นโผใน “แม่ทัพใหญ่” ของกลุ่มสีชมพูสุราษฎร์ก้าวหน้า แต่กระแสของการเมืองท้องถิ่นย่อมมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ได้ตลอดเวลาจนกว่าจะตีระฆังเริ่มเปิดศึกเลือกตั้งกัน มาอีกแวดวงสำ�หรับการได้รับตำ�แหน่ง “พ่อเมือง” ในตำ�แหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านใหม่ “อวยชัย อินทร์นาค” อินทรีย์ บ้านดอน ขอแสดงความยินดีกับท่าน“พ่อเมืองคนดี” ใว้ ณ โอกาสนี้ด้วย โดยเฉพาะได้ผ่านการ ทำ�งานในพื้นที่มาแล้ว ในบทบาทของรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ผ่านมา กลับมาโฉบเฉี่ยวกับกระแสข่าวความเคลื่อนไหวของขั้วการเมืองท้องถิ่นอย่าง “ทำ�เนียบวัดประดู่” อย่างเทศบาล ตำ�บลวัดประดู่ ต้องถือว่าพื้นที่เขตนี้เป็นสนามการเมืองที่มีอนาคตน่าสนใจเป็นพื้นที่ที่ขยายตัวด้านความเจริญของท้องถิ่น ที่ยังมีพื้นที่รอให้กับผู้ที่สนใจจะอาสาเข้าพัฒนาโดยเฉพาะกับกระแสความเคลื่อนไหวในทางการเมืองในพื้นที่ของ“คุ้มวัง ท่ากูบ” วรภรณ์ คงอุดหนุน (เสีย่ เล็กรถดัม้ และ แห่งสระลานชล ) ยังคงเป็น แคนดิเดต “แม่ทพั ” ทีจ่ ะลงสูศ้ กึ สนาม “ทำ�เนียบ วัดประดู”่ ส่วนจะมีแคนดิเดตของคนใน “คุม้ วังมะขามเตีย้ ” ทีก่ อ่ นหน้านีไ้ ด้ประกาศถึงแรงปรารถนาทีส่ นใจจะลงสนาม สูศ้ กึ เลือกตัง้ หรือไม่ คงต้องเกาะติดตามความเคลือ่ นไหวต่อไป เพราะกระแสทางการเมืองย่อมมีการเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะสนามการเมืองท้องถิ่นอย่าง “ทำ�เนียบวัดประดู่” แห่งนี้ในอดีตเป็นศึกเลือกตั้งแบบศึกสายเลือดของ “ตระกูลการเมืองทวิชสังข์” ขั้วการเมืองในครั้งนี้ จึงน่าสนใจว่า จะมีทายาทในตระกูลการเมืองอย่าง “ทวิชสังข์” จะไป ร่วมกับ “คุ้มท่ากูบ” แห่งสระลานชลหรือไม่ น่าติดตาม หรืออาจจะปรากฎทายาทในตระกูล “ทวิชสังข์” ร่วมทีมอยู่ด้วย กับ คุม้ วังมะขามเตีย้ ทีม่ กี ระแสของความปรารถนาทีจ่ ะลงสูศ้ กึ เลือกตัง้ ใน “ทำ�เนียบวัดประดู”่ ถือว่าเป็นอีกสนามการเมือง ท้องถิ่นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ “ผู้สนับสนุนที่อยู่เบื้องหลัง” แบบมีนัยทางการเมืองที่น่าติดตาม มาอีกสนามการเมืองท้องถิ่นที่น่าสนใจอีกสนามหนึ่งอย่าง “ทำ�เนียบท่าทองใหม่” หลังจากมีกระแสของความ เคลื่อนไหวของการจัดขั้วการเมืองขึ้นของผู้ที่ปรารถนานามอักษรย่อ “ส” จะอาสาลงสู้ศึก “ทำ�เนียบท่าทองใหม่” อีกทั้ง ผู้สนับสนุนก็มีอักษรย่อ “ส” อีกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการจับขั้วระหว่างอดีตนักการเมืองท้องถิ่นในอดีตของ “ทำ�เนียบ ท่าทองใหม่” เพื่อจัดตั้งกลุ่มหรือทีมขึ้น ส่วน “อำ�พนธ์ เพชรชู” (นายกฯ โหร่ง) เจ้าของตำ�แหน่งแชมป์ คงต้องป้องกัน แชมป์ด้วยศักดิ์ศรี มาอีกท่านหญิงแกร่ง “นงเยาว์ จ่าแก้ว” สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำ�เภอกาญจนดิษฐ์ เขต 2 ก็เกิดอาการสนใจสนามการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำ�เภอกาญจนดิษฐ์ เช่นกัน จะเป็นสนามใด เซียนการเมืองในท้องที่ คงจะทราบกันแล้วพอสมควร โดยเฉพาะหากเป็นพื้นที่ในท้องถิ่นบ้านเกิดของ สจ.นงเยาว์ จ่าแก้ว ส่วนจะมีคู่แข่งหรือไม่ คงต้องติดตามกัน มาแวดวงธุรกิจจากหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ใน “งานเสวนา ทำ�ธุรกิจให้เติบโตและมี กำ�ไรอย่างยัง่ ยืน” โดยงานนี้ หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีรว่ มกับตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Mai) และบริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำ�กัด โดยงานเสวนาจัดขึ้น ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2559 เวลา 9.30 - 14.00 น. ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี งานเสวนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพือ่ ให้ความรูเ้ รือ่ งการสร้างการเติบโตอย่างยัง่ ยืนและสามารถแลกเปลีย่ นมุมมองกับผูบ้ ริหารทีป่ ระสบความสำ�เร็จในการทำ� ธุรกิจ และข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ�ธุรกิจ


ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

5

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

คุณวีระชัย วิเศษแสง กำ�นันตำ�บลคลองฉลาก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าสู่เดือนตุลาคมกันแล้ว ปีนี้ในงานเดือน 11 บ้านเราจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมงาน มากิน มาใช้จ่ายในบ้านเรามากขึ้นกว่าทุกปีแน่นอน เมื่อ พูดถึงการท่องเท่ียว ฉบับนี้ผมมีโอกาสลงพื้นที่ดูหิ่งห้อย ในคลองร้อยสาย โดยท่านกำ�นัน วีระชัย วิเศษแสง กำ�นัน แห่งตำ�บลคลองฉลาก จึงถือโอกาสสัมภาษณ์ถึงเรื่องการ ท่องเทีย่ วชุมชนทีท่ า่ นกำ�ลังดำ�เนินการอยูเ่ พือ่ ประชาสัมพันธ์ ให้ทุกท่านได้รับทราบกัน อย่างแรก คงต้องทักทายกันและรูจ้ กั ประวัตสิ ว่ นตัว กันก่อน? ผมเองเป็นคนตำ�บลคลองฉนากมาแต่ก�ำ เนิด พ่อมีลกู 9 คน สมัยก่อนการเลีย้ งลูกนัน้ ค่อนข้างจะลำ�บากตามสภาพ พอ เรียนจบโรงเรียนสุราษฎร์ธานี สมัยนั้นก็มศ.3 พอจบออกมา ก็มาช่วยครอบครัวออกทะเล ทำ�ประมงเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว แล้วเกิดความเปลีย่ นแปลงอย่างไรถึงมาเป็นกำ�นัน ในปัจจุบัน?

ก็ด้วยว่าในสมัยก่อนเวลามีประชุมของหมู่บ้าน ผมเอง ก็จะไปร่วมรับฟังการประชุมทุกครั้ง และฝันไว้ว่าสักวันหนึ่ง เราจะต้องเป็นผู้นำ�ชุมชนให้ได้ ด้วยความรู้ที่ได้เล่าเรียนมา จึงได้เป็นประธาน อช. อยู่ 2 ปี และเป็นสารวัตรกำ�นัน อีก 8 ปี จึงได้ลงรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านครั้งแรก แต่ก็หลีกทาง ให้ผู้อาวุโสที่เคารพกันมา จึงขอถอนตัว ต่อมาครั้งที่ 2 จึงลง รับสมัครเลือกตัง้ ผูใ้ หญ่บา้ นสมัยแรก และได้รบั ความไว้วางใจ ได้รับเลือกตั้งมา ต่อมาจึงมีการเลือกกำ�นันตำ�บลคลองฉลากจากผู้ใหญ่ บ้านทั้ง 8 หมู่ คะแนนเสียงเท่ากันจึงใช้วิธีจับฉลาก ผล ปรากฏว่าได้ผม จึงได้เป็นกำ�นันสมัยแรก และด้วยความทุม่ เท แรงกาย แรงใจ ให้กับหน้าที่การงาน จึงได้รับความไว้วางใจ ให้ดำ�รงตำ�แหน่งกำ�นันตำ�บลคลองฉลากมาในสมัยที่ 2 แล้วแนวความคิดท่องเทีย่ วชุมชนคลองฉนากเกิด ขึ้นได้อย่างไร? จริ ง ๆ แล้ ว ตำ � บลคลองฉนากของเรามี ท รั พ ยากร ธรรมชาติ อ ยู่ อ ย่ า งมากมาย ทางกระทรวงทรั พ ยากร ธรรมชาติฯ เคยมาศึกษาและทำ�เป็นสารานุกรมไว้สำ�หรับ การเรียนรู้ ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ทำ�ให้มหี งิ่ ห้อยตามต้นลำ�พูมากมาย ทีท่ า่ นผูอ้ า่ นเคยได้ยนิ ว่า ชมหิ่งห้อยในบาง ก็คือพื้นที่ในคลองฉนากบ้านผมเอง และด้วยพื้นที่ของตำ�บลอื่นๆ เช่น ตำ�บลคลองน้อย ตำ�บลลีเล็ด ตำ�บลบางใบไม้ ที่เขาประสบความสำ�เร็จเรื่อง การท่องเทีย่ วชุมชน เมือ่ เพือ่ นทำ�ได้ แล้วทำ�ไมเราจะทำ�ไม่ได้ จึงเกิดเป็นแนวคิดในเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนคลองฉนาก ขึ้นมา ต่อมาได้มีนักศึกษาในหลายสถาบัน ทั้งจากส่วนกลาง

และส่วนภูมิภาค เข้ามาศึกษาดูงาน เรียนรู้ในพื้นที่คลอง ฉนาก ผมจึงใช้บ้านผมเองเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนคลองฉนาก ขึ้น เพื่อรองรับเรื่องดังกล่าว โดยได้รับงบประมาณจากทาง หน่วยงานภาครัฐบ้างตามสมควร แล้วนำ�ความคิดมาต่อยอดได้อย่างไร? ผมก็เริ่มนำ�แนวความคิดนี้ไปขายให้กับคนในชุมชน และผู้นำ�ทุกหมู่บ้านในตำ�บลคลองฉนาก เพื่อหาแนวร่วม ในการดำ�เนินการท่องเที่ยวชุมชน มีชาวบ้านที่เข้าใจและ ร่วมศึกษา วางแผนการเดินทาง เรียนรู้การจัดและแนะนำ� การท่ อ งเที่ ย วในชุ ม ชน ซึ่ ง ถื อ ได้ ว่ า ประสบความสำ � เร็ จ ในขั้นแรก เริ่มมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการแบบโฮมสเตย์ พักแรม ออกทะเล นำ�กุง้ หอย ปู ปลาทีห่ ามาได้ประกอบอาหาร กิน ไปชมหิง่ ห้อย เรียนรูก้ ารใช้ชวี ติ ของชาวชุมชนคลองฉนาก ชมสะพานศรีสรุ าษฎร์ สะพานทีส่ งู ทีส่ ดุ ในภาคใต้ ในยามราตรี ที่สวยงาม เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ในการลอดใต้ สะพานยามค่ำ�คืน ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กับคลองฉนาก ไปชมหลาพ่อตาเป็นที่มาของคลองฉนาก เรียนรู้การต่อเรือ ของชาวบ้าน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ คือสิ่งที่เราอยากถ่ายทอด และต่อยอดให้กับคนในชุมชนได้มีอาชีพ มีการจ้างงาน และ ที่สำ�คัญมีรายได้กลับคืนมาในชุมชนด้วย สุดท้ายคงต้องฝากท่านผูอ้ า่ นหากใครสนใจในเรือ่ งการ ท่องเทีย่ วชุมชนแล้ว ขอให้นกึ ถึงตำ�บลคลองฉนาก เรายังมีดี อีกหลายอย่างให้ท่านได้ชมกัน หรือโทร. 08-1958-2126 ติดต่อสอบถามกันมาก่อนผมยินดีให้บริการ ทางทีมงานหนังสือพิมพ์เมืองใต้นิวส์ขอขอบพระคุณ คุณวีระชัย วิเศษแสง กำ�นันตำ�บลคลองฉนาก ไว้เป็นอย่าง สูงที่ให้เกียรติสัมภาษณ์ในครั้งนี้

รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม พระอารามหลวง ตามทีป่ ระชุมมหาเถรสมาคม ครัง้ ที่ 14/2559 เมือ่ วันพฤหัสบดี ที่ 30 มิถนุ ายน 2559 ได้มีการอนุมัติแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำ�รงตำ�แหน่งต่างๆ นั้น ในการนี้ ได้มีการแต่งตั้ง พระมหาอรุณ อรุโณ ป.ธ. ๖ น.ธ. เอก รบ. ให้ดำ�รงตำ�แหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพัฒนา ราม ฝ่ายศาสนศึกษา และพระมหาประเสริฐศักดิ์ ปุญฺญพฑฺฒโน ป.ธ. ๓ น.ธ. เอก ร.ม. ให้ดำ�รงตำ�แหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม ฝ่ายสาธารณูปการ และเข้ารับพระบัญชา สมเด็จพระสังฆราช จากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผูป้ ฏิบตั หิ น้าทีส่ มเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 31 สิงหาคม 2559 ณ วัดปากน้ำ� ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครแล้วนั้น ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 2559 นายสุฟ้าง แซ่หว่อง รองนายกเทศมนตรีนคร สุราษฎร์ธานี ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในการรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช พร้อม ด้วยศิษยานุศิษย์มาร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีแก่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสใหม่ทั้ง 2 รูป ณ วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง

โดยพิธกี ารเริม่ ขึน้ ประมาณ 17.00 น. อัญเชิญพระบัญชาเข้าสูบ่ ริเวณพิธ ี เริม่ ประกอบ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ อ่านพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยนายสุฟ้าง แซ่หว่อง รองนายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี ประธานฝ่ายฆราวาส ต่ อ มาพระมหาอรุ ณ อรุ โ ณ และพระมหาประเสริ ฐ ศั ก ดิ์ ปุ ญฺ ญ พฑฺ ฒ โน ได้ แ สดงมุ ทิ ต าสั ก การะ แก่ พ ระเดชพระคุ ณ พระเทพพิ พั ฒ นาภรณ์ เจ้ า คณะจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี เจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม พระอารามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสทุกรูป และ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ทุกรูปที่มาร่วมงาน พระคุณพระเทพพิพัฒนาภรณ์ กล่าวให้ โอวาสแก่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ทั้งสองรูป เป็นอันเสร็จพิธี หลังจากเสร็จพิธแี ล้วพระมหาอรุณ อรุโณ และพระมหาประเสริฐศักดิ์ ปุญญ ฺ พฑฺฒโน ได้มอบวัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ นารโท แก่ศิษยานุศิษย์ที่มาร่วมงานทุกคนเพื่อความเป็น สิริมงคล


6

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

บอกเก้า

เล่าสิบ

โดย.....เลขาเก้า

สวัสดีครับ..ฉบับนี้ก็เป็นฉบับที่ 10 ประจำ�ปี 2559 ที่คอลัมน์บอกเก้าเล่าสิบได้นำ�เรื่องราวต่างๆ ของหอการค้า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมาบอกกล่าวให้ทุกท่านได้อ่านกันเช่น เดิม ในเดือนตุลาคม 2559 นีท้ างทีมงานคอลัมน์บอกเก้าเล่า สิบจะนำ�เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาบอกกัน เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2559 คณะกรรมการหอการค้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมแสดงความยินดีกับนักกีฬา โอลิมปิคที่เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันกีฬาเทควัน โด ที่ประเทศบราซิล ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีนักกีฬา ที่ได้นำ�เหรียญทองแดงมาให้ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ ดีใจ นักกีฬาท่านนั้นคือ นางสาวพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ (น้องเทนนิส) ซึ่งน้องเทนนิส เป็นเลือดเนื้อชาวจังหวัด สุราษฎร์ธานีโดยกำ�เนิดและมีเชื้อสายจีนอีกด้วย ซึ่งคณะ กรรมการหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำ�โดยนายธีระชัย ศรี โ พธิ์ ชั ย ได้ แจ้ ง ให้ ค ณะกรรมการหอการค้ า จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ร่วมแสดงความยินดีและได้ซื้อของรางวัลมา มอบให้แก่น้องเทนนิส ซึ่งได้มอบให้นายพงษ์ศักดิ์ โพธิครู ประเสริฐ รองประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำ� ทีมคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมแสดง ความยินดีและมอบของรางวัลให้แก่น้องเทนนิส ณ จวนผู้ ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้นำ�ความสุขมาให้ชาว จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ชนื่ ชม ทีมงานเมืองใต้นวิ ส์กข็ อแสดง ความยินดีกับน้องเทนนิสด้วย ที่ได้นำ�เหรียญทองแดงมาให้ ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ชื่นชมครับ นายประภาส กิตติวัฒนาวงศ์ กรรมการหอการค้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานพิธีเปิดการ อบรมโครงการ Chula Mini MBA SURAT THANI ณ ห้องท่าวัง โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในปีนี้ก็ เป็นรุ่นที่ 2 ในการเปิดการอบรม ซึ่งก็มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมการ อบรมจำ�นวนหนึ่ง เมือ่ วันที่ 7 กันยายน 2559 ได้มกี ารประชุมคณะทำ�งาน พิจารณาดำ�เนินการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง ระหว่างเมืองสุรฐั สาธารณรัฐอินเดีย และจังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะทำ�งานด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์เพื่อการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยก่อนหน้านีน้ ายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประชุม ร่วมกันและได้แบ่งคณะการทำ�งานออกเป็น 3 คณะดังนี้ คณะที่ 1 คณะทำ � งานด้ า นการแลกเปลี่ ย นทาง วัฒนธรรมและการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมอบหมาย รองผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี (กลุ่ ม ภารกิ จ ด้ า น สังคม) นายวิชวุทย์ จินโต เป็นประธานคณะทำ�งาน และ วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีและท่องเทีย่ วและกีฬาจังหวัด

ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

ภารกิจหอการค้า

สุราษฎร์ธานี เป็นเลขานุการ คณะที่ 2 คณะทำ�งานด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยมอบ หมายรองผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุม่ ภารกิจด้าน เศรษฐกิจ) นายศุภวัชร ศักดา เป็นประธานคณะทำ�งาน และพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเลขานุการ คณะที่ 3 คณะทำ�งานด้านการขยายการศึกษา การแลก เปลี่ยนนักเรียนและการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือ ในโครงการวิจัยร่วมกัน โดยมอบหมายรองผู้ว่าราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุ่มภารกิจด้านความมั่นคงและด้าน บริหารจัดการ) นายอวยชัย อินทร์นาค เป็นประธานคณะ ทำ�งาน และศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเลขานุการ ในการประชุ ม มี เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ นำ � มาพิ จ ารณาคื อ ทาง สาธารณรัฐอินเดีย ได้ทำ�บันทึกความเข้าใจการสถาปนา ความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องระหว่างเมืองสุรัฐ อินเดีย และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทยขึ้นมา 1 ฉบับ ซึ่งเนื้อหามี ดังนี้ เรือ่ งแรก การแลกเปลีย่ นทางวัฒนธรรมและการส่งเสริม การท่องเที่ยว เรื่องที่ 2 การเสริมสร้างความสัมพันธ์เพื่อการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้าและธุรกิจของทั้ง 2 เมือง เรื่อง ที่ 3 การขยายการศึกษาและการแลกเปลี่ยนนักเรียน ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่ง เป็นคณะที่ 2 คณะทำ�งานด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยมอบ หมายรองผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุม่ ภารกิจด้าน เศรษฐกิจ) นายศุภวัชร ศักดา เป็นประธานคณะทำ�งาน และพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเลขานุการ ทางคณะ ทำ�งานได้พิจารณาถึงบันทึกความเข้าใจการสถาปนาความ สัมพันธ์บา้ นพีเ่ มืองน้องระหว่างเมืองสุรฐั อินเดีย และจังหวัด

สุราษฎร์ธานี ประเทศไทย โดยมีเนื้อหาดังนี้ “ทั้งสองเมือง จะส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องเกี่ยวกับนวัตกรรมใน ทางธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอำ�นวยความสะดวกในการติดต่อระหว่างบริษัท ใหญ่ ๆ ทั้ ง สองเมื อ ง เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความสั ม พั น ธ์ ท าง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม รวมทัง้ การ พัฒนาธุรกิจ ทั้งสองเมืองจะสนับสนุนการพัฒนาความ เชื่อมโยงทางธุรกิจระหว่างบริษัทต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในเมือง สุรฐั และบริษทั ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทั้งสองเมืองจะส่งเสริมและสนับสนุนการดำ�เนินการ ที่จะนำ�มาซึ่งลู่ทางการเข้าสู่ตลาดใหม่ของบริษัทด้าน เทคโนโลยี” ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าประเด็น แรก ควรจะตัดคำ�ว่า บริษัทใหญ่ๆ ออก ให้เหลือเพียงคำ� ว่า บริษัท และประเด็นที่ 2 เรื่องการเข้าออกของทั้ง 2 เมือง ควรจะมีการเข้าออกได้สะดวก โดยเน้นคนที่ไปจากจังหวัด สุราษฎร์ธานี และเมืองสุรัฐในการติดต่อค้าขายกัน และอีกหนึง่ เรือ่ งทางเมืองสุรฐั สาธารณรัฐอินเดียได้เชิญ ผูแ้ ทนไทยเข้าร่วมงานแสดงหัตถกรรมและการแสดงพืน้ บ้าน Kala Vaarso ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 29 พฤศจิกายน 2559 โดยกำ�หนดให้ผู้เข้าร่วมงานเป็นศิลปินและ/หรือชาว บ้านผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรม เพื่อออกร้านจำ�หน่ายและสาธิต ผลิตภัณฑ์ และเชิญนักแสดงจากประเทศไทยหรือชุมชนไทย ในอินเดียร่วมแสดงทางวัฒนธรรมด้วย ซึง่ หอการค้าแห่งเมือง สุรัฐ ยินดีสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน อีกหนึง่ ข่าวทีท่ มี งานบอกเก้าเล่าสิบจะนำ�มาให้ทกุ ท่าน ได้อ่านกันนั่นคือ การประชุมหอการค้าทั่วประเทศที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าภาพในปี 2559 นั้น ได้กำ�หนด ในวันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2559 และในปีนหี้ อการค้าจังหวัด สุราษฎร์ธานี ต้องไปรับธงเจ้าภาพในปี 2560 การเตรียม การของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำ�เนินการไปบางส่วนแล้ว เช่ น มี ก ารแต่ ง ตั้ ง คณะทำ � งานของหอการค้ า จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ออกเป็น 12 คณะ ส่วนของสำ�นักงานหอการค้าแห่งใหม่ที่กำ�ลังจะดำ�เนิน การสร้ า งขึ้ น ในขณะนี้ ไ ด้ แ บบแปลนและใบอนุ ญ าตจาก เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะมีการปรับ พื้นที่และตอกเสาเข็มและสร้างสำ�นักงานหอการค้าแห่งใหม่ ตามลำ�ดับต่อไป ฉบับนี้คอลัมน์บอกเก้าเล่าสิบนำ�มาบอกเล่าให้ทุกท่าน ได้อา่ นกันเท่านีก้ อ่ น ฉบับหน้ามีเรือ่ งต่างๆ มาเล่าให้ทกุ ท่าน ได้อ่านกันใหม่ ขอให้ทุกท่านโชคดี สวัสดีครับ


ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

+ - รักคณิตศาสตร์ x -

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

7


8

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

หลากเรื่อง เมืองคนดี

ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

หอฉันและโรงครัว วัดไทร บ้านดอน

โดย..ส.ท.ลก พงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ ในสมัยผมเด็กๆ จำ�ได้ว่าวัดไทรเป็นวัดที่สำ�คัญมีคน ทำ�บุญกันมากมาย เพราะมีหลวงพ่อฉุยเป็นเจ้าอาวาส ท่าน เป็นพระนักพัฒนาองค์สำ�คัญของสุราษฎร์ธานี ท่านเนรมิต วัดไทรขึ้นมาใหม่ด้วยการสร้างถาวรวัตถุมากมาย ทำ�ให้วัด ไทรจากวัดร้างทีไ่ ม่มอี ะไรเลยกลายมาเป็นวัดทีส่ มบูรณ์เพียบ พร้อมด้วยถาวรวัตถุ ถ้าไล่เรียงช่วงเวลาการสร้างจะเห็นว่าสิง่ ก่อสร้างต่างๆ มีอายุกว่า 80 ปี ขึ้นไป ทำ�ให้สภาพในปัจจุบันเริ่มชำ�รุดทรุด โทรมไปตามกาลเวลา ได้เวลาที่ต้องเริ่มบูรณะฟื้นฟูให้กลับ มาดีดังเดิม หรือไม่ก็ต้องรื้อถอนเพื่อสร้างขึ้นใหม่ตามกำ�ลัง ศรัทธาของพุทธบริษัทวัดไทร ผมเองได้สนองงานรับใช้เจ้าอาวาสวัดไทรมาโดยตลอด ด้วยว่าเป็นศิษย์ที่หลวงพ่อฉุยได้รักษาอาการป่วยไข้ไม่ สบายจนมีชวี ติ มาได้ทกุ วันนี้ ผมจึงรำ�ลึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ ฉุยมาตลอดจนได้จดั งานวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อฉุย ทุกปี ในวันที่ 2 กันยายน ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2559 เป็นปีที่ 43 ที่ หลวงพ่อได้มรณภาพไปเมือ่ ปี 2516 ปีนมี้ คี วามพิเศษ เพราะได้ มีการรื้อหอฉันและโรงครัวที่หลวงพ่อฉุยท่านได้สร้างเมื่อปี 2476 ซึ่งมีความกว้าง 12 เมตร ยาว 17 เมตร มีชานประกอบ ราวระเบียงด้านหน้า กว้าง 3 เมตร ยาว 17 เมตร มีบันไดขึ้น ลงก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในหอฉันสร้างอาสนะสูง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ตอนกลางระหว่างหอฉันและโรงครัว สร้างถังคอนกรีตเก็บ น้ำ � ฝน สู ง พ้ น จากดิ น 2 เมตรครึ่ ง ลึ ก ลงไปในดิ น 50 เซนติเมตร กว้าง 6 เมตร ยาว 14 เมตรครึง่ ติดตัง้ เครือ่ งสูบน้�ำ 1 เครื่อง รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นเงินสมัยนั้นประมาณ 8,106 บาท สาเหตุที่ต้องรื้อหอฉันและโรงครัว เพราะมีสภาพทรุด โทรมยากต่อการบูรณะให้กลับมาดังเดิม ประกอบกับเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 19 ตุลาคม 2557 คุณพิพิศน์ วัฒนาวีรชัย รองนายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี ได้เป็นเจ้าภาพทอด กฐิน เพื่อหาเงินมาสร้างหอฉันและโรงครัวของวัดไทร

หลังจากวันนั้นก็ได้เริ่มออกแบบที่จะสร้างโดยการรื้อ ของเดิมออกแล้วสร้างใหม่บนที่เดิม แต่ด้วยค่าก่อสร้างต้อง ใช้เงินประมาณ 3 ล้านบาท จึงยังไม่ได้ด�ำ เนินการก่อสร้างจน มาเมื่อต้นปี 2559 มูลนิธิมุทิตาจิตธรรมสถาน ได้ขอใช้พื้นที่ วัดไทรเพื่อจัดงานล้างป่าช้า มูลนิธจิ งึ ได้เข้ามาปรับปรุงสถานทีข่ องวัดไทรเพือ่ ใช้งาน ดังกล่าว โรงครัววัดไทรถูกกำ�หนดให้เป็นโรงทานในการจัด เลี้ยงอาหารเจตลอดงาน แต่ด้วยสภาพโรงครัวไม่สามารถใช้ งานได้แล้ว จึงต้องรือ้ ถอนแล้วสร้างใหม่ตามแบบแปลนทีอ่ อก ไว้แล้ว แต่ด้วยเวลาที่จำ�กัดทำ�ให้โรงครัวที่สร้างใหม่ไม่เสร็จ สมบูรณ์เพียงแต่พอใช้งานได้ มูลนิธิได้ร่วมสมทบเงินในการ ก่อสร้างเป็นเงิน 420,000 บาท รวมกับเงินที่หาได้จากการ ทอดกฐิน 211,900 บาท และเงินที่คุณพิพิศน์หามาเพิ่มเติม รวมกับเงินที่ขายไม้ได้อีก 500,000 บาท รวมเป็นเงินล้าน กว่าบาท ผมเองในฐานะผูร้ ว่ มก่อการสร้างโรงครัว จึงต้องหาเงิน มาสนับสนุนด้วยการหาผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสร้างประตูม้วน ประตูอลูมเิ นียม กรอบหน้าต่าง และพัดลม ประตูมว้ น 6 บาน มีรายชื่อผู้บริจาค ดังนี้ 1. อุบาสก อุบาสิกา วัดไทร 2. คุณเพ็ญจันทร์ เชาวพงษ์ และครอบครัว คุณบุญเรือน จินตวัฒน์ และครอบครัว 3. คุ ณ สุ ธ รรม-คุ ณ สุ ภ ารั ต น์ รั ก บ้ า นแหลม และครอบครัว 4. ร้านอื้อเชียงเส็ง 5. คุ ณ ยงชั ย -คุ ณ จุ พ า โพธิ ค รู ป ระเสริ ฐ และ ครอบครัว 6. คุณสุดใจ (เจ้เน้ย) แสงทับทิม และครอบครัว บานประตูอลูมิเนียม 1 บาน โดย ชมรมตระกูลเกียง ลือ คู สุราษฎร์ธานี กรอบหน้าต่างใหญ่ 2 บาน บริจาค โดย ชมรมลูกหลานแต้จวิ๋ สุราษฎร์ธานี และสภาพลเมือง จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี และกรอบหน้ า ต่ า งเล็ ก 4 บาน บริจาคโดย นางกิ้มฉ้าย วิมลรัชตาภรณ์ และครอบครัว, ครอบครั ว โค้ ว ชู ว งษ์ , นายเกรี ย งไกร-นางกนกพร โพธิครูประเสริฐ, และนายสุชาติ-นางสุนีย์ สุวรรณรัตน์

และครอบครัว และป้าแดง นางทรงศรี ปานเพชร เห็นว่าโรงครัวใหม่ ใกล้เสร็จแล้วยังไม่มพี ระประธานจึงได้รว่ มกับญาติโยมถวาย พระ 1 องค์ ร่วมกับครอบครัวปลอดภัย ได้รว่ มถวายโต๊ะหมู่ บูชาอีก 1 ชุด ผมจึงได้นดั ทุกท่านทีร่ ว่ มทำ�บุญให้มาร่วมถวาย สิ่งของต่างๆ ในวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา ปีนี้จึงมีคนมา ร่วมงานมากกว่าทุกปี พร้ อ มกั น นี้ ผ มได้ ร วบรวมเงิ น ทำ � บุ ญ ทั้ ง หมดที่ ไ ด้ 24,000 บาท รวมกับที่คุณธีระกิจ หวังมุทิตากุล นายก เทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี ศิษย์วัดไทรเช่นกัน ได้ร่วม ทำ�บุญ 5,000 บาท รวมได้ 29,000 บาท ไปจ่ายค่าธรรมมาสน์ เพื่อไว้ใช้งานที่หอฉันแห่งใหม่ และยังมีผู้ร่วมทำ�บุญพัดลม มาอีก 15,000 บาท ผมได้ไปซื้อพัดลมมาให้เรียบร้อยแล้ว ผนเองในฐานะประธานจัดงานวันคล้ายวันมรณภาพ หลวงพ่อฉุย และผู้ร่วมจัดสร้างหอฉันและโรงครัว วัดไทร ขอขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ม าร่ ว มทำ � บุ ญ และร่ ว มงานในปี นี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปีหน้าโรงครัวและหอฉัน วัดไทรสามารถ ดำ�เนินการได้เสร็จสิ้นคงได้จัดงานที่ยิ่งใหญ่กว่าปีนี้


ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

พลังประชาชน สุราษฎร์ธานี

โดย.. ฉัตรวรุณธ์ คูเศรษฐวัฒน์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน เวลาอีก 2 เดือนข้างหน้า ก็จะครบรอบ 12 เดือน ของ ปี 2559 นี้แล้ว ที่สำ�คัญเข้าช่วง ปลายปีกจ็ ะเป็นช่วงฤดูทอ่ งเทีย่ วของนักท่องเทีย่ วต่างชาติที่ จะไหลเวียนเข้ามาสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแต่ละปีมนี กั ท่องเทีย่ วมาเยือนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีละหลายล้านคน แต่เมือ่ เดือนสิงหาคมทีผ่ า่ นมามีเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรา ทำ�ให้เกิด ผลกระทบต่อขวัญและกำ�ลังใจของพี่น้องชาวสุราษฎร์ธานี แต่ด้วยพลังประชาคม พลังประชาชนอันยิ่งใหญ่ พร้อม ด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำ�นักงานสุราษฎร์ธานี ชมรม จักรยานสุราษฎร์ธานี เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และจังหวัด สุราษฎร์ธานี และพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน จัดกิจกรรม “Stronger Surat Thani สุราษฎร์ฯ เข้มแข็ง รวมพลัง ปั่ น จั ก รยานสร้ า งความเชื่ อ มั่ น การท่ อ งเที่ ย วจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี” เมือ่ วันอาทิตย์ ที่ 28 สิงหาคม 2559 ทีผ่ า่ นมา โดยผู้จัดได้เลือกเส้นทาง ๕ ศาลเจ้า ๙ วัด plus 4 ในเขตเทศบาลนครสุ ราษฎร์ธานี เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ทางด้านการท่องเที่ยวและเสริมสร้างสุขภาพจากการปั่น จักรยานของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์การ ท่องเที่ยว โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต รองผู้ว่าราชการจังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นประธาน พร้อมด้วยนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเอกพจน์ ยอดพิ นิ จ รองนายเทศมนตรี น ครสุ ร าษฎร์ ธ านี มี น าย ประภาส อินทนปสาธน์ ผู้อำ�นวยการการท่องเที่ยวแห่ง

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

9

Stronger Surat Thani สุราษฎร์ฯ เข้มแข็ง

ประเทศไทย สำ�นักงานสุราษฎร์ธานี กล่าวรายงาน โดยมี การแบ่งนักปั่นเป็น 3 กลุ่มสี มีการตั้งขบวนเป็นสีธงชาติ ไทย แล้วหันหน้าไปทางแม่น้ำ�ตาปีเพื่อร่วมร้องเพลงประจำ� จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเริ่มต้นปั่นจากริมเขื่อนแม่น้ำ�ตาปี หน้าจวนผู้ว่า ราชการจังหวัดฯ ไปยังศาลเจ้าปุ่นเถ้ากง วัดกลาง ศาลเจ้า ไหหลำ� ตำ�หนักอ๋องฮกเกี้ยน วัดพัฒนาราม พระโพธิสัตว์ กวนอิม มูลนิธมิ ทุ ติ าจิตธรรมสถาน วัดธรรมบูชา ผ่านวัดไตร ธรรมมาราม ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี และมาจบกิจกรรม ในครัง้ นีท้ ตี่ ลาดนัด ตลาดน้�ำ บ้านดอน เพือ่ ร่วมเลือกซือ้ อาหาร ในตลาดแห่งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง

กิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมเมืองสุราษฎร์ธานีที่ผ่านมา จะประสบความสำ�เร็จลงได้ด้วยพลังของประชาชน พลังของ ประชาสังคม ที่เป็นการรวมพลังอันยิ่งใหญ่ ขอขอบพระคุณ พี่น้องประชาชนชาวสุราษฎร์ธานีทุกท่าน ที่ร่วมมือกันเพื่อ จังหวัดสุราษฎร์ธานีของพวกเราทุกคน


10

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม


ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

11


12

ขอเชิญสมาชิกชมรม

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 52 ประจำ�เดือนตุลาคม 2559

ลูกหลานแต้จิ๋วร่วมงานเลี้ยงประจำ�เดีอน ในวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559

ฉบับประจำ�เดือนตุลาคม

เอทีเอ็ม ทรัพย์เจริญ 2 หมู่ที่ 3 ต.บางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

เวลา 18.00 น.

ณ สมาคมแต้จิ๋วสุราษฎร์ธานี

คุณธรรมนูญ จันทร์เมือง (นูญ) คุณกรรณิการ์ จันทร์เมือง (แอ)

มือถือ 081 - 6065349 FAX. 077 - 292906

ซื้อ - ขาย

จัดไฟแนนซ์ แลกเปลี่ยน จำ�นำ� ไถ่ถอนรถยนต์

ณ ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูม 5 โรงแรมบรรจงบุรี เวลา 18.00 น. สอบถามติดต่อผู้ประสานงานแต่ละห้อง • ม.1/1 ชยุ ต ม์ เชาวน์ ณั ฐ เศวตกุ ล 089-7258911 • ม.1/2 นั น ทวุ ฒิ วุ ฒิ จั น ทร์ (ทนายล้ า น) 081-3973999 ยุทธนัย บุญยัง (โหน่ง) 087-3883994 • ม.1/3 อารีพัฒน์ ประศาสตร์ศิลป์ (จิ๊ก) 081-0844697 • ม.1/4 คงเดช สีริวรจรรยาดี 081-9384129 และโกศล วีรดิษฐกิจ 081-8922245 • ม.1/5 อ๊อฟ ร้านอาหารน้ำ�เพชร 084-6253081 • ม.1/6 สุพจน์ 099-3106554 • ม.1/7 เกษมชัย ธนประโยชน์ศักดิ์ (ร้านรวมศิลป์ 2 ทำ�ป้าย) 081-8943811 • ม.1/8 สมชาติ ไทยมิตร 095-4183958 • ม.1/9 มาโนช ธนอารักษ์ หมู สุราษฎร์ 081-6935039, เริงชัย บุญมี 083-6444401 • ม.1/10 วรพันธ์ ตู้วิเชียร (ผู้ใหญ่วอ เกาะเต่า) 081-8937233, สถาพร บุญชู 081-0786161


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.