เมืองใต้นิวส์เดือนกันยายน 2560

Page 1

แจกฟ

รี

www.issuu.com/meuangtainews

ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

สัมภาษณ์หน้า 5 เฉลิมพล บุรินทร์พงษ์ ผู้อำ�นวยการกองแผนงานและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

อ่านต่อหน้า 10

สภาเทศบาลผ่านงบฯ 1,128 ล้านบาท

ผู้ว่าฯ เชิญประชุมคณะกรรมการจัดงาน สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35

อ่านต่อหน้า 6

อ่านต่อหน้า 10

สภาอบจ.ตัด 20 ล้าน เหลืองบ 1,261 ล้าน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน

อ่านต่อหน้า 8

บริษัท มิตซูสุราษฎร์ จำ�กัด ผู้จำ�หน่ายรถยนต์มิตซูบิชิในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมศูนย์บริการมาตรฐาน อะไหล่แท้ ศูนย์เคาะพ่นสีและตัวถัง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

สำ�นักงานใหญ่ (บางกุ้ง) 077- 285038, สาขาเกาะสมุย 077- 418898 สาขาธราธิบดี (แยกวัดมะปริง) 077- 269268


2

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

เทยี่ วไป.. ..เชียร์ไป

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

เที่ยวสุพรรณบุรี เชียร์สุพรรณบุรี เอฟซี โดยพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ

ผมได้ เข้ า ร่ ว มโครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค ลากรที่ เกี่ยวข้องในการจัดทำ�แผนพัฒนาท้องถิ่น ที่กองวิชาการ และแผนงาน เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จัดขึ้นเพื่อเสริม สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องทิศทางการพัฒนาประเทศยุค 4.0 การจัดทำ�แผนพัฒนาท้องถิ่นและการติดตามประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่น และไปศึกษาดูงานที่จังหวัดสุพรรณบุรี นครสวรรค์ และนนทบุรี ช่วงนัน้ มีการแข่งขันฟุตบอลคิงส์คพั นัดชิงชนะเลิศพอดี ผมจึงเดินทางไปล่วงหน้าเพือ่ ชมเกมส์ดงั กล่าว และไปร่วมกับ คณะทีจ่ งั หวัดสุพรรณบุรี เพือ่ ไปเก็บข้อมูลมาเขียนคอลัมน์นี้ ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกัน ส่วนเรื่องการไปศึกษาดูงานนั้น คงจะติดตามได้จากวารสารเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี การเดิ น ทางไปสุ พ รรณบุ รี เ ดิ น ทางได้ ห ลายวิ ธี แต่ สะดวกสุดคงเป็นการขึน้ รถตูโ้ ดยสาร ผมก็ใช้บริการรถตู้ ท่าน สามารถขึ้นได้ทุกสถานีไม่ว่าจะเป็นหมอชิต เอกมัย และปิ่น เกล้า ผมเช็คดูแล้วหมอชิตมีรถมากที่สุดจึงไปขึ้นรถตู้ที่นั่น ครัง้ นีเ้ ป็นครัง้ แรกในชีวติ ทีผ่ มได้มาใช้บริการหมอชิต 2 ด้วยความที่ไม่เคยมาจึงมาสำ�รวจก่อนหนึ่งวันและถือโอกาส เที่ยวตลาดนัดสวนจตุจักรด้วย หมอชิตใหม่พื้นที่กว้างขวาง มาก มีร้านอาหารบริการหลากหลาย ร้านขายของก็มากมาย และยังเป็นต้นทางรถเมล์หลายสาย ผมนั่งรถไฟฟ้าแล้วมาต่อรถเมล์ประหยัดและรวดเร็ว มาก ผมซื้อตั๋วแล้วนั่งรอไม่นานคนขับรถก็มาเรียกให้ไปขึ้น รถตูท้ ชี่ านชาลา เพียงชัว่ โมงกว่าผมก็มาถึงจังหวัดสุพรรณบุรี แล้ว ผมลงรถตูแ้ ล้วเดินข้ามถนนก็ถงึ ทีพ่ กั โรงแรมสองพันบุรี เอาของเข้าไปเก็บแล้วจึงเริ่มเดินทางท่องเที่ยว ผมเดินลงมาข้างล่างเห็นหอการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี จึง เดินเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ จึงทราบว่าประธานหอการค้า เป็นหุ้นส่วนของที่นี่จึงใช้เป็นสำ�นักงาน ผมเลยทำ�หน้าที่ฝ่าย ประชาสัมพันธ์การจัดงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศที่จะ จัดที่สุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน เชิญท่าน

ประธานและสมาชิกมาร่วมงาน เพราะผมเคยประชุมร่วมกับ ท่านประธานหลายครั้งแล้ว ผมตั้งใจว่ามาสุพรรณครั้งนี้ต้องไปทานสาลี่สุพรรณที่ ร้านเอกชัยให้ได้ ตอนแรกตั้งใจเช่ารถมอเตอร์ไซค์เพื่อขับ เที่ยวแต่สอบถามแล้วไม่มีให้เช่า จึงใช้บริการรถสองแถวซึ่ง สะดวกมาก เพราะเส้นทางเดินรถเป็นวงกลมผ่านสถานที่ ท่องเที่ยวสำ�คัญๆ ทุกแห่งในตัวเมือง ที่สำ�คัญผ่านร้านสาลี่เอกชัยร้านดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ ตลาดผมจึงได้ทานสมใจอยาก เสร็จแล้วผมนั่งรถเมล์ต่อไป ที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหารเพื่อไหว้หลวงพ่อโต ไหว้พระขอพร เสร็จแล้วจึงเดินเทีย่ วรอบๆ วัด วัดนีใ้ หญ่โตมากมีบา้ นขุนช้าง ศาลครูสุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่ง และพระอุโบสถ หลังใหม่ที่กำ�ลังดำ�เนินการก่อสร้าง ออกจากวัดผมนั่งรถเมล์ต่อไปสนามกีฬากลางจังหวัด สุพรรณบุรี เพื่อชมสนามเหย้าของทีมสุพรรณบุรี เอฟซี มา ครั้งนี้ไม่ได้ชมเกมส์แต่ผมเคยมาดูฟุตบอลที่สนามแห่งนี้ครั้ง หนึ่ง บรรยากาศเชียร์สุดยอดไม่แพ้ที่อื่นมาวันนี้ได้เดินชม รอบๆ สนามและร้านค้าที่ระลึกของสโมสรที่เปิดจำ�หน่าย ติดกันเป็นโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีผมเห็นแล้ว ใหญ่มากของบ้านเราเทียบกันไม่ได้เลย และตรงข้ามเป็น โรงแรมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งครั้งที่แล้วผมมานอนที่นี่ เพราะเดินทางมาทั่วประเทศแล้วยังไม่เคยเจอที่พักแบบนี้ โรงแรมนีด้ ตี รงทีม่ หี อ้ งให้เลือกหลายประเภท 2 เตียง 3 เตียง

4 เตียง ก็มี ราคาก็ไม่แพงแถมห้องยังสว่างและมีตู้แบ่งแยก ให้คนพักใช้ได้เป็นส่วนตัวไม่ต้องใช้ร่วมกัน ผลงานของทีมสุพรรณบุรีปีนี้ย่ำ�แย่หน่อยในลีกอันดับ ไม่ค่อยดี ส่วนบอลถ้วยก็พลาด ผมได้ดูเกมส์โตโยต้าลีกคัพ ที่สุพรรณมาเยือนประจวบและแพ้ในช่วงต่อเวลา ดูแล้วปีนี้ คงต้องปรับกันอีกมากและน่าเสียดายที่สุพรรณมีสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ มากมายแต่ไม่ได้สร้างสนามฟุตบอลจริงสักสนาม รถเมล์รอบเมืองสิน้ สุดทีส่ นามกีฬา ผมจึงนัง่ รถเมล์กลับ ไปทีศ่ าลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี การมาเทีย่ ววันธรรมดา คนน้อยทำ�ให้ได้ชมสิ่งต่างๆ อย่างสบายๆ บริเวณด้านหน้า ศาลหลักเมืองได้สร้างหมู่บ้านมังกรสววรค์เป็นร้านค้าและ ร้านอาหาร ด้านข้างมีพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ส่วนด้านหน้ากำ�ลังก่อสร้างอนุสาวรีย์ฯ พณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ผู้มีคุณูปการแห่งการ สร้างสรรค์จังหวัดสุพรรณบุรี และทดแทนคุณประเทศชาติ ด้วยสัจจะ-กตัญญูของท่านบรรหาร “ถ้าหากว่าผมจาก สุ พ รรณบุ รี ไปอยู่ ก รุ ง เทพฯ ได้ ทำ � งานมี ค วามเจริ ญ รุง่ เรืองและมีฐานะดี มีชอื่ เสียง จะกลับมาสร้างศาลถวาย เจ้าพ่อหลักเมืองให้ใหญ่โต สวยสง่า มีราศี และจะไม่ลืม สุพรรณฯ บ้านเกิดเป็นอันขาด” สถานที่แห่งนี้จึงเป็นไป ตามที่ท่านบรรหารได้ให้สัจจะไว้ สุดท้ายผมนัง่ รถสองแถวกลับเข้ามาตัวเมืองเพือ่ ไปสวน เฉลิมภัทรราชินเี พือ่ ชมหอคอย น่าเสียดายทีม่ าเทีย่ ววันจันทร์ ส่วนใหญ่ที่เที่ยวต่างๆ จะหยุดทำ�การจึงไม่ได้เข้าชม ผมจึง เดินชมเมืองเก่าสุพรรณแล้วเดินกลับโรงแรม การเทีย่ วตัวเมืองสุพรรณด้วยการนัง่ รถสองแถวสะดวก มากค่ า รถก็ ไ ม่ เ เพงที่ สำ � คั ญ รอรถไม่ น าน สถานที่ เ ที่ ย ว สวยงามบ้านเมืองสะอาดโดยเฉพาะการจัดสวนบนเกาะกลาง ถนน ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดในประเทศทีเดียว


เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

งานประชุมสัมมนาตระกูลลิ้มภูมิภาค ภาคใต้

ในประวัติศาสตร์จีน ที่ใช้แซ่มีมากกว่า 24,000 แซ่ แต่ปัจจุบันมีแซ่ที่ชาวจีนเหลือใช้กันอยู่ประมาณ 4,000 แซ่ โดยแซ่ที่ชาวจีนยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่สืบทอดมา จากบรรพบุรุษมาเป็นเวลานับร้อยนับพันปี ทำ�ให้สกุลแซ่ มีประวัตศิ าสตร์การสืบทอดวงศ์ตระกูลจากรุน่ สูร่ นุ่ ทีย่ าวนาน ในประเทศไทย 5 อันดับสกุลแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุด คือ 1. แซ่ตั้ง (เฉิน) 2. แซ่ลิ้ม (หลิน) 3. แซ่หลี (หลี่) 4. แซ่อึ๊ง (หวง) และ 5. แซ่โง้ว (อู๋) แซ่ “หลิม” (สำ�เนียงฮกเกี้ยน) “หลิน” (สำ�เนียงจีน กลาง) หรือ “แซ่ลมิ้ ” (สำ�เนียงแต้จวิ๋ ) มีความหมายหรือแปล ว่า (1) ป่าไม้ (2) การชุมนุม (3) ชนบท (4) ความรุ่งเรือง (5) นามสกุล (แซ่) แซ่นี้เก็บอยู่ใน “ทำ�เนียบร้อยแซ่” และ มีสมาคมมีชื่อว่า “สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย” ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ที่ 1930/24 ถนนเจริญนคร กรุงเทพฯ แซ่ลิ้ม มีที่มา 3 ทาง 1. บรรพชนถือกำ�เนิดมาแต่สมัยราชวงศ์ซาง (16001100 ปี ก่อน ค.ศ.) โจ้วอ๋อง แห่งราชวงศ์อิน สั่งให้แหวะอก ปีก้ นั ขุนนางผูซ้ อื่ สัตย์ ลูกๆ ของปีก้ นั จึงหนีตายไปอยูบ่ นภูเขา ฉางหลินซาน ดังนั้น จึงใช้ “หลิน” เป็นแซ่ 2. มาจากสมัยชุนชิว (770-476 ปี ก่อน ค.ศ.) โจวผิง อ๋อง มีโอรสซึ่งเกิดแต่นางสนมคนหนึ่ง ชื่อหลินไค ผู้สืบเชื้อ สายรุ่นหลัง จึงใช้ “หลิน” เป็นแซ่ 3. ตระกูลชิวหลิน ซึ่งเป็นแซ่หลายพยางค์ในถิ่นแคว้น ใต้ทางเหนือ เปลีย่ นแซ่ของตนให้เหลือ “หลิน” พยางค์เดียว จังหวัดสุราษฎร์ธานีกม็ กี ารรวมตัวกันของคนแซ่ลมิ้ และได้กอ่ ตั้งเป็น “สมาคมตระกูลลิ้มสุราษฎร์ธานี” ปัจจุบันมีนาย ฉลวย ลิ้มพัฒนะศิริ เป็นนายกสมาคม เมื่ อ วั น 18-20 สิ งหาคม 2560 สมาคมตระกูลลิ้ม

เมืองใต้นิวส์

ครั้งที่ 14

3

สุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ งานประชุมสัมมนา สัมพันธ์อนั ดีแก่ลกู หลานของตระกูลลิม้ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตระกูลลิ้มภูมิภาค ภาคใต้ ครั้งที่ 14 โดยมีสมาชิกตระกูลลิ้ม และทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี จากภาคใต้ และทัว่ ประเทศไทยมาร่วมงานกว่า 500 คน และ ในโอกาสเดียวกันจึงได้เลี้ยงฉลองเปิดสำ�นักงาน สมาคม ตระกูลลิ้มสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ถนนกาญจนวิถี ก่อนข้าม สะพานท่าทองด้วยในคราวเดียวกัน สำ�หรับที่ทำ�การสมาคมตระกูลลิ้มสุราษฎร์ธานี เป็น อาคาร 2 ชั้น ด้านล่างเป็นสำ�นักงานของสมาคม ด้านบน ประดิษฐานเทพเจ้าเชื้อสายตระกูลลิ้ม 3 องค์ ได้แก่ เจ้าแม่ ทับทิม หลวงปู่ไต่ฮงกง และเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เพื่อเป็นสิริ มงคลแก่ลูกหลานของตระกูลลิ้มในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และในวันที่ 19 สิงหาคม 2560 ได้มีงานเลี้ยงสังสรรค์ ณ ห้องศรีวิชัย โรงแรมวังใต้ โดยมีนายจิรศักดิ์ ชัยฤทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกล่าว เปิดงาน โดยมีนายเกรียงศักดิ์ ศรีสุคนธ์ ประธานการจัด งาน กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี พร้อมด้วยนายฉลวย ลิ้มพัฒนะศิริ นายกสมาคมตระกูลลิ้มสุราษฎร์ธานี มีนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวต้อนรับ นายสมาน ลิ่มทองแท่ง นายกสมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย และนายธวัชชัย เสียงแจ้ว ผู้ตรวจการ สำ�นักงานอัยการสูงสุด กล่าวแสดง ความรู้ สึ ก ภายในงานมี ก ารแสดงของลู ก หลานแซ่ ลิ้ ม ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และตัวแทนสมาคมตระกูลลิม้ ได้มอบ ของที่ระลึกและเงินสนับสนุนให้แก่ทางสมาคมตระกูลลิ้ม สุราษฎร์ธานี และมีการส่งมอบเจ้าภาพในการประชุมสัมมนา ตระกูลลิ้มภูมิภาค ภาคใต้ ครั้งที่ 15 ณ จังหวัดสงขลา นอกจากนีย้ งั สมาคมองค์กรภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาร่วมแสดงความยินดีแก่สมาคมตระกูลลิม้ สุราษฎร์ธานี นับ ได้ว่าเป็นอีกสมาคมตระกูลแซ่อีกตระกูลหนึ่ง ที่ยังคงความ

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายเดือน สำ�นักงานเลขที่ 157 ถนนชนเกษม ตำ�บลตลาด อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

บรรณาธิการบริหาร/ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา : ชยุตม์ เชาวน์ณัฐเศวตกุล E-mail : chayutkok@gmail.com, Facebook : หนังสือพิมพ์เมืองใต้นิวส์

ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

www.issuu.com/meuangtainews

ติดต่อลงโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 081-9783401, 089-7258911


4

เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

สังคม...เมืองคนดี อินทรีย์ บ้านดอน

ธีระกิจ หวังมุทิตากุล

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 นายอวยชัย อินทร์นาค ผู้ว่า ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธมี หามงคลเจริญพระพุทธ มนต์ ถวายพระราชกุ ศ ลพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร และถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ณ ศาลาการเปรียญ วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 นายวิชวุทย์ จินโต รอง ผวจ. สุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมข้าวหอมมะลิและ อาหารปลอดภัยนครชัยบุรินทร์” โดยความร่วมมือของพาณิชย์ จังหวัดบุรรี ยั ม์ และพาณิชย์จงั หวัดสุราษฎร์ธานี ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560 นายสุฟ้าง แซ่หว่อง รองนายก เทศมนตรี น ครสุ ร าษฎร์ ธ านี เป็ น ประธานเปิ ด งานเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี ออกหน่วยเคลื่อนที่พบชุมชน ประจำ�ปีงบประมาณ 2560 ในเขตพัฒนาชุมชนที่ 4 ณ วัดกลางใหม่

เมือ่ วันที่ 20 สิงหาคม 2560 คุณสมพงษ์ เงยยะถิระกุล กรรมการ ชมรมตระกูลเกียง ลือ คู สุราษฎร์ธานี รับมอบเงินบริจาคเนื่องในงาน บำ�เพ็ญกุศลศพคุณวรศักดิ์ สุรัฐชนานนท์ (แซ่หลือ) จากคณะเจ้าภาพ ณ ศาลาเอนกประสงค์ วัดกลาง (บ้านดอน)

อำ�พนธ์ เพชรชู

ภูวดล กระแสอินทร์

สมศักดิ ์ โต๊ะหมัด

ไชยวัฒน์ โต๊ะหลาง

เอี่ยวลี่ แซ่โค้ว

เมืองใต้นวิ ส์ฉบับประจำ�เดือนกันยายน คงเหลือระยะเวลาอีกร้อยกว่าวัน ปี 2560 ก็จะก้าวผ่านไปสู่ ปี 2561 ต้องถือว่า เวลาที่ยังคงเหลืออีกร้อยกว่าวัน คงต้องประคับประครองให้อยู่รอดในยุคเศรษฐกิจที่มีอุปสรรคกับราคาพืชผลทางเกษตร อย่าง ยางพารา ปาล์มน้ำ�มัน พืชเกษตรหลักของคนภาคใต้บ้านเรา ราคาที่ทำ�ให้เกษตรกรต้องเผชิญกับรายได้ที่สูญหาย ไป แบบชนิดที่ต้องลุ้นกันแบบหืดขึ้นคอในยุคเศรษฐกิจฝืดๆๆ อืดๆๆ แบบโอนไปเอนมา หลังจากเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีคำ�สั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 35/2560 (คสช.) โดยพล เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (บิ๊กตู่) ท่านนายกรัฐมนตรีได้ใช้ มาตรา 44 สั่ง “ระงับการปฏิบัติหน้าที่” ของ อำ�พนธ์ เพชร ชู นายกเทศมนตรีต�ำ บลท่าทองใหม่ ทำ�ให้บรรยากาศการเมืองใน “ทำ�เนียบท่าทองใหม่” เริม่ มีสสี นั มากขึน้ ทำ�ให้อณ ุ หภูมิ ทางการเมืองใน “ทำ�เนียบท่าทองใหม่ถิ่นห่อหมกซีฟู้ด” มีรสชาติทำ�ให้เซียนคอการเมือง สภากาแฟคอการเมืองต่างได้ ขยายปอดเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์ถึงแนวโน้มในอนาคตจะออกมาอย่างไร หลังจากที่ อำ�พนธ์ เพชรชู (นายกโหร่ง) ชนะการเลือกตั้งมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ตลอด เวลาที่นั่งเก้าอี้ในตำ�แหน่งนายกเทศมนตรีตำ�บลท่าทองใหม่ (ทำ�เนียบท่าทองใหม่) แบบอึดอัด แน่นอกพอสมควร ทำ�งาน บริหารที่ผ่านมาเปรียบดังเล่นดนตรีกันคนละจังหวะ หรือเล่นกีฬาเป็นทีมเวิร์ค ไม่ดีเท่าที่ควร มีอุปสรรคแบบทั้งคลุกวงใน และวงนอกพอสมควร จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามสำ�หรับทิศทางบรรยากาศการเมืองใน “ทำ�เนียบท่าทองใหม่” ต่อจากนี้ไป จะมีสูตรลับแบบน้ำ�นิ่งๆ ที่กำ�ลังไหลรวมเหล่าบรรดาขุนพลที่สนใจจะจับขั้วกันเป็นกลุ่มใดทีมไหนที่จะก่อกำ�เนิดขึ้น โดยใน “ทีมพัฒนาท่าทองใหม่” ของ อำ�พนธ์ เพชรชู (นายกโหร่ง) ผูร้ ว่ มทีมบริหารของทีมต้องถือว่ามีเครดิตในด้าน ฐานคะแนนในสายคะแนนของตนพอสมควร ไม่ว่าจะขุมคะแนนของ สมนึก เหมประพันธ์ หรือขุมคะแนนของ เกรียงไกร กลับวิหค และขุมคะแนนของ เอี่ยวลี่ แซ่โค้ว ฉะนั้น นับต่อจากนี้ไปเมื่อบรรยากาศ อุณหภูมิการเมืองใน “ทำ�เนียบ ท่าทองใหม่” มีการแปรเปลีย่ นไปคงต้องติดตามดูกนั ว่า “จะมีการจับขัว้ กลุม่ หรือทีมกัน” เป็นอย่างไรจะมีกนั กีก่ ลุม่ หรือ ทีม เป็นขั้วขึ้นแบบที่เซียนคอการเมืองท่าทองใหม่จะได้ขยายปอดวิเคระห์กันพร้อมกับซดกาแฟโกปี้แบบมีรสชาติ มาขุมคะแนนอีกสายของ ไชยวัฒน์ โต๊ะหลาง ต้องถือว่าเป็นอีกล่องสายขุมคะแนนอีกเช่นกัน ที่มีเครือญาติในสาย ขุมคะแนนที่อาจเป็นคะแนนบวกอย่าง สมศักดิ์ โต๊ะหมัด ประชา โต๊ะหมัด และ วีระ โซ่โดบ โดยเฉพาะแต่ละท่านจะมี คะแนนดิบส่วนตัวของใครของตนแล้ว ก็จะมีคะแนนแบบฉบับเฉพาะตัวของแต่ละท่านที่จะมีกลยุทธ์ในการเสาะหาคะแนน ในการได้เสียงจากพีน่ อ้ งประชาชนทีเ่ ข้าคูหาแล้วหยดน้�ำ หมึกลงทำ�เครือ่ งหมายกากบาทเป็นคะแนนให้ ต้องถือว่า คงจะมีขวั้ กลุ่มหรือทีมการเมือง ทีมใดทีมหนึ่งหมายปองเพื่อร่วมทีมด้วยกัน เซียนคอการเมืองสภากาแฟท่าทองใหม่ คงต้องติดตาม ความเคลื่อนไหวแบบอย่างน่าสนใจ ส่วนบรรยากาศการเมืองของ “ทำ�เนียบบ้านดอน” เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยหลังจากบริหารแบบรักษา การ (แบบฉบับ คสช.) ของ ธีระกิจ หวังมุทิตากุล (เฮียเป้าแห่งคุ้มวังศุขเจริญ) ในระยะเวลาช่วงหลังๆ งัดเอาสูตรเด็ด เคล็ดลับด้วยท่วงท่าการเคลือ่ นตัวแบบเนิบนาบ ช้าๆ แต่ขอชัวร์ๆๆ ขอเคลียร์กบั ฝ่ายทำ�เนียบสภาบ้านดอน แบบบรรยากาศ “ราดหน้าเส้นใหญ่รวมมิตรทะเล” แบบเปิดอกเคลียร์ใจต่อใจต่อฝ่ายทำ�เนียบบ้านดอน โดยเฉพาะผู้ที่โชว์ความเก๋าด้วยคารม ด้วยมาด “นายหัว” อย่าง รักพงษ์ แซ่ตั้ง ผู้มากด้วยประสบการณ์ อัธยาศัยที่ เป็นทีไ่ ว้วางใจหลายๆ วาระช่วยอธิบายถึงเหตุและผลของการทีจ่ ะต้องให้เหล่าบรรดาสมาชิกสภาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี สมาชิกผู้ทรงเกียรติท่านทั้งหลายได้มีมติ ชูมือช่วยสนับสนุน นโยบายต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารได้เสนอกันใน “ทำ�เนียบสภา บ้านดอน” เพื่อประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประชาชนในเขตของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ส่วนด้านของ “ทีมคนดี” (ต้องซื่อสัตย์) ของ ธีระกิจ หวังมุทินากุล ณ วินาทีนี้ โดยข่าววงในเเว่วๆ ว่ากำ�ลังสานต่อ ของทีมคนดี โดยใช้บริการผูท้ จี่ ะเป็นกุนซือของทีมคนดีทเ่ี ป็น “กุนซือแบบฉบับบางกอก กับกุนซือแบบฉบับบ้านดอน” สองสูตร ลับ ลวง พราง แบบเรียงอักษรว่าจะเอาสูตร อ. พ. ท. ส. หรือจะจัดสูตร อ. ส. ร. พ. แต่จะออกสูตรไหนอย่างไรคง ต้องติดตามกันอย่างน่าสนใจสำ�หรับสภากาแฟคอการเมือง “ทำ�เนียบบ้านดอน” มาอีกข่าวที่ทีมข่าว เมืองใต้นิวส์ ต้องขออวยพรให้สุขภาพแข็งแรง เนื่องในโอกาสวันครบรอบแซยิดของท่าน พล.ต.ต.ภูวดล กระแสอินทร์ เป็นวันครบรอบแซยิดครบ 6 รอบ 72 ปี ในฐานะเป็นทีป่ รึกษานายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี ดังนั้น งานครบรอบแซยิดในครั้งนี้ทีมข่าวเมืองใต้นิวส์ ขอให้บารมีศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี พระธาตุศรีสุราษฎร์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อำ�นวยอวยพรให้ท่านมีสุขภาพแข็งแรง มาข่าวคราวของแวดวงวิทยุสมัครเล่น โดย สุทนิ ทองมาก ผูอ้ �ำ นวยการ กสทช. เขต 13 ได้รบั มอบหมายจากสำ�นักงาน กสทช.และสำ�นักงาน กสทช.ภาค 4 ได้ร่วมกันประชุมวางแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การเตรียมความพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564 )และแผนผนึกกำ�ลังและทรัพยากรเพือ่ การป้องกันประเทศไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ นพืน้ ทีภ่ าคใต้ เป็นการพัฒนา และเสริมสร้างการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถูกต้องตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และ การจัดตั้งข่ายสื่อสารในกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติน้ำ�ท่วม ซึ่งได้มีการประชุมเมือเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา


ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

เฉลิมพล บุรินทร์พงษ์

5

ผู้อำ�นวยการกองแผนงานและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สวัสดี... ท่านผู้อ่านทุกท่าน องค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบุคลากรมากมายหลายกองงาน ยิ่ง ในช่วงที่มีการนำ�งบประมาณเข้าสู่สภาฯ ท่านผู้นี้คือคนที่ จะต้องดำ�เนินการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อจัดทำ�แผนของ อบจ.สุราษฎร์ธานี ก่อนจะมาเป็นข้อบัญญัติเพื่อเข้าสู่สภาฯ เฉลิ ม พล บุ ริ น ทร์ พ งษ์ ผู้ อำ � นวยการกองแผนงานและ งบประมาณ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาติดตามกันดีกว่าว่ากองนี้มีหน้าที่อย่างไร อย่างแรกคงต้องถามถึงประวัติส่วนตัวกันก่อนนะ ครับ ? ผมเองเป็ น คนสุ ร าษฎร์ ธ านี โ ดยกำ � เนิ ด ย่ า นตลาด ในเมืองบ้านดอน เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเทพมิตรศึกษา แล้ ว ต่ อ ไปในระดั บ มั ธ ยมต้ น และมั ธ ยมปลายที่ โรงเรี ย น สุราษฎร์ธานี สมัยนั้นยังเป็นชายล้วน ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 – 2528 แล้ ว ไปเรี ย นต่ อ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย รามคำ � แหง คณะนิติศาสตร์ เมื่อจบแล้วก็เข้าได้ทำ�งานในบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ ในเวลาเดียวกันก็ได้เรียนต่อในระดับปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ด้วย ต่อมาเริ่มเป็นทนายความ ทำ�งานได้ระยะหนึ่งกรมการ ปกครองเปิดสอบ ตำ�แหน่ง นิติกร ก็สอบได้โดยบรรจุครั้ง แรกในตำ�แหน่ง นิติกร 3 บรรจุที่เทศบาลตำ�บลห้วยยอด 2 ปี แล้วย้ายไปเทศบาลเมืองหลังสวน 1 ปีครึ่ง พอเข้าปี 2545 ก็ขอโอนย้ายมาที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในตำ�แหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

สังกัดส่วนอำ�นวย ปัจจุบันก็คือสำ�นักปลัด มีโอกาสร่วมทำ�ให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และได้รับรางวัลธรรมภิบาลใน สมัยแรกๆ ถือได้วา่ เป็นการมีสว่ นร่วมในผลงานดังกล่าวเป็น อย่างมาก และได้ยา้ ยไปสังกัดกองกิจการสภา และล่าสุดมาอยู่ ในตำ � แหน่ ง ผู้ อำ � นวยการกองแผนงานและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน หน้ า ที่ ห รื อ ภารกิ จ ของกองแผนงานและงบ ประมาณ ? กองแผนงานและงบประมาณถือได้ว่าเป็นหน่วยงาน ภายในทีเ่ กิดขึน้ มาในยุคแรกๆ พร้อมกับ องค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีหน้าที่หลัก 3 ส่วนสำ�คัญ ได้แก่ 1. นโยบายและแผน เกี่ยวเนื่องกับนโยบายของทั้ง ผู้บริหาร ส่วนจากรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง การจัดทำ�แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สนองตอบในความต้องการของพี่น้องประชาชนได้อย่าง สอดคล้องและลงตัว 2. งบประมาณ เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ การจั ด ทำ � วิ ธี ก ารงบ ประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการตัง้ งบประมาณ ที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ�มัน ของยานพาหนะ ที่มีข้อกำ�หนดไว้เรียบร้อย 3. ติดตามและประเมินผลแผนงานและโครงการ คือ เมื่อมีการดำ�เนินการตามโครงการต่างๆ แล้ว จำ�เป็นต้องมี

การติดตาม และประเมินผล ว่าเราสามารถดำ�เนินการได้ตาม เป้าหมายของโครงการทีเ่ ราตัง้ ไว้หรือไม่ ตอบโจทย์ของพีน่ อ้ ง ประชาชนได้หรือไม่ เพื่อนำ�มาประเมินผลการทำ�งานตาม โครงการได้ มีแนวทางในการบริหารอย่างไรบ้าง ? ผมเองวางแนวทางการบริหารงานไว้แบบการมีสว่ นร่วม เพราะในการทำ�งานนั้นจะสำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็ต้องมี ผู้ร่วมงาน ภายในกองแผนงานและงบประมาณเราทำ�งาน กันเป็นทีม ร่วมคิด ร่วมทำ� เพื่อให้การทำ�งานออกมาดีที่สุด ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนที่สุด เพื่อที่จะบรรลุ ผลของงานไปด้วยกัน อันจะนำ�มาซึ่งความสามัคคีในการ ทำ�งาน อีกทั้งการต้องติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงย่อม นำ�มาซึง่ ผลการทำ�งานตามแผนงานต่างๆ ทีเ่ ราได้วางไว้ดว้ ย สุดท้ายจะฝากอะไรกับท่านผู้อ่านเมืองใต้นิวส์ ? ก็ขอขอบคุณทางหนังสือพิมพ์เมืองใต้นิวส์ ที่ให้เกียรติ และโอกาสในครัง้ นี้ และขอฝากถึงพีน่ อ้ งทุกคนว่าท่านก็มสี ว่ น ร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านการประชาคมในระดับต่างๆ ที่เรา จัดขึน้ เพือ่ สนองตอบความต้องการของพีน่ อ้ งประชาชนอย่าง แท้จริง และนีค่ อื บทสัมภาษณ์ของ คุณเฉลิมพล บุรนิ ทร์พงษ์ ผู้อำ�นวยการกองแผนงานและงบประมาณ


6

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

บอกเก้า

เล่าสิบ

โดย.....เลขาเก้า

สวัสดีครับเป็นประจำ�ทุกเดือนทีค่ อลัมน์บอกเก้าเล่าสิบ จะนำ�เรื่องราวต่างๆ ของหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี มา เล่าให้ผอู้ า่ นได้รบั ทราบกัน สำ�หรับในเดือนนีก้ จ็ ะนำ�เรือ่ งการ เตรียมตัวในการจัดสัมมนาหอการค้าทัว่ ประเทศ ครัง้ ที่ 35 ที่ จะมีขึ้นในวันที่ 17- 19 พฤศจิกายน 2560 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 นายอวยชัย อินทร์นาค ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ได้ เชิ ญ คณะกรรมการ จัดการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 มาประชุม กันเป็นครั้งที่ 1/2560 ณ ห้องศรีวิชัย โรงแรมวังใต้ โดยท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีคำ�สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการ สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 ตามคำ�สั่งจังหวัด สุราษฎร์ธานี เลขที่ 2583/2560 ซึ่งมีทั้งหมด 13 ฝ่าย ดังนี้ 1. คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย แม่ทัพภาค ที่ 4 ผู้บัญชาการตำ�รวจภูธรภาค 8 ผู้บัญชาการมณฑล ทหารบกที่ 45 ที่ปรึกษาคณะกรรมการหอการค้าจังหวัด สุราษฎร์ธานี ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ ภาคใต้ หอการค้าไทย ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาค ใต้ฝั่งอ่าวไทย และผู้อำ�นวยการกองจัดทำ�งบประมาณ เขต พื้นที่ 4 2. คณะกรรมการฝ่ายอำ�นวยการ ประกอบด้วย ผู้ว่า ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกรรมการ ประธาน หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ พาณิ ช ย์ จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี , หั ว หน้ า สำ � นั ก งานจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม นายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ (เลขาธิการหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) ผู้อำ�นวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนา จังหวัด สำ�นักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและผู้ ช่วยเลขานุการ 3. คณะกรรมการฝ่ า ยพิ ธี ก ารและรายการบนเวที ประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุ่ม ภารกิจด้านสังคม) เป็นประธานกรรมการ ผู้อำ�นวยการกลุ่ม งานอำ�นวยการ สำ�นักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการ และเลขานุการ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักวิชาการวัฒนธรรมชำ�นาญการพิเศษ สำ�นักงานวัฒนธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นางนิภา ช่อผกาพันธ์ (รองประธาน หอการค้ า จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ) นั ก จั ด การงานทั่ ว ไป ชำ � นาญการ กลุ่ ม งานอำ � นวยการสำ � นั ก งานจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 4. คณะกรรมการฝ่ายจัดเลี้ยงต้อนรับ ประกอบด้วย รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุม่ ภารกิจด้านสังคม) เป็นประธานกรรมการ ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษา สุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ นายสมชาย สินมา (รองประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 5. คณะกรรมการฝ่ายสถานที่สัมมนา ที่พัก และลง ทะเบียนผูเ้ ข้าร่วมงานสัมมนา ประกอบด้วย รองผูว้ า่ ราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุ่มภารกิจด้านความมั่นคงและด้าน บริหารจัดการ) เป็นประธานกรรมการ จ่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ นายธีระพล ตันโชติกุล (รอง ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการและผู้ ช่วยเลขานุการ 6. คณะกรรมการฝ่ายจัดการเดินทาง ประกอบด้วย รองผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี (กลุ่ ม ภารกิ จ ด้ า น

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

ผู้ว่าฯ เชิญประชุมคณะกรรมการจัดงาน สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 เศรษฐกิจ) เป็นประธานกรรมการ ขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ นายโชคชัย จันทร์สุวรรณ (รองประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ 7. คณะกรรมการฝ่ายการเงินและจัดหาทุน ประกอบด้วย รองผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี (กลุ่ ม ภารกิ จ ด้ า น ความมั่นคงและด้านบริหารจัดการ) เป็นประธานกรรมการ นายจำ�รัส รัตนลือรุ่งโรจน์ (เหรัญญิกหอการค้าจังหวัด สุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการและเลขานุการ 8. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย รอง ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุม่ ภารกิจด้านสังคม) เป็น ประธานกรรมการ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็น กรรมการและเลขานุการ นายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ (เลขาธิการหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ 9. คณะกรรมการฝ่ายจัดการท่องเที่ยวและสันทนาการ ประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุ่ม ภารกิจด้านเศรษฐกิจ) เป็นประธานกรรมการ ท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ อำ � นวยการการท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทยสำ � นั ก งาน สุราษฎร์ธานี และนางลัฐกิ า ศรีสวัสดิส์ วุ รรณ (รองประธาน หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการและผู้ช่วย เลขานุการ 10. คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและการ จราจร ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำ�รวจภูธรภาค 8 เป็น ประธานกรรมการ ผูก้ �ำ กับสถานีต�ำ รวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ นายสุทัศน์ ตันติษัณสกุล (กรรมการที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 11. คณะกรรมการฝ่ายการแพทย์และรักษาพยาบาล ประกอบด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็น ประธานกรรมการ นายวัฒนา พงศ์มานะวุฒิ (กรรมการ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการและ เลขานุการ 12. คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ ประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กลุ่ม ภารกิจด้านเศรษฐกิจ) เป็นประธานกรรมการ ท้องถิน่ จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ ปลัดเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานีและนายธิติ พานวัน (รองประธานหอการค้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 13. คณะกรรมการฝ่ า ยจั ด หาของที่ ร ะลึ ก และบู ธ จำ � หน่ า ยสิ น ค้ า ประกอบด้ ว ย รองผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด

สุราษฎร์ธานี (กลุม่ ภารกิจด้านสังคม) เป็นประธานกรรมการ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ นายนภดล ศรี ภั ท รา (รองประธานหอการค้ า จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ การประชุ ม ในครั้ ง แรกมี น ายอวยชั ย อิ น ทร์ น าค ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธานการประชุม โดย มีนายจิรศักดิ์ ชัยฤทธิ์ รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวุฒิชัย วงษ์นาคเพ็ชร์ พาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายธี ร ะชั ย ศรี โ พธิ์ ชั ย ประธานหอการค้ า จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานีร่วมเป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ โดยให้ แต่ ล ะฝ่ า ยนำ � เสนอรายละเอี ย ดต่ า งๆ ให้ ที่ ป ระชุ ม ได้ รั บ ทราบ ซึ่งนายธีระชัย ศรีโพธิ์ชัย ประธานหอการค้าจังหวัด สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงการจัดสัมมนาหอการค้าทัว่ ประเทศ ครั้งที่ 35 ว่าในครั้งนี้เป็นวาระของภาคใต้ในการจัดประชุม หอการค้าทั่วประเทศ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยเป็นเจ้า ภาพจัดมาครั้งหนึ่งแล้ว และเมื่อปี 2558 หอการค้าภาคใต้ ได้มีมติให้หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นเจ้าภาพ และ หอการค้าไทยก็ยินดีให้หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น เจ้าภาพในการจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 ในวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 ในการจั ด สั ม มนาหอการค้ า ทั่ ว ประเทศในครั้ ง นี้ หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะจัดเลี้ยงต้อนรับผู้คนที่เข้า มาร่วมงานในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งฝ่ายพิธีการ และรายการบนเวทีจะใช้แนวคิด “อารยธรรมลุ่มน้ำ�ตา ปี เมืองคนดีศรีวิชัย” ซึ่งมีการแต่งกายแบบย้อนยุค ฝ่าย จัดเลี้ยงต้อนรับ มีการจัดอาหารทะเลมาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ รับประทานกัน ฝ่ายสถานที่สัมมนา ที่พักและลงทะเบียนผู้ เข้าร่วมสัมมนา ได้ประสานโรงแรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไว้แล้ว อาทิเช่น โรงแรมไดมอนด์ โรงแรมวังใต้ โรงแรมร้อย เกาะ โรงแรม CBD2 และที่อื่นๆ อีกเพื่อรองรับผู้คนที่เข้ามา ร่วมงานและมาท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฝ่ายจัดการ เดิ น ทาง ได้ มี ก ารประสานงานในเรื่ อ งรถรั บ ส่ ง ผู้ เข้ า ร่ ว ม งานและท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ฝ่ายการเงินและจัดหาทุน ได้มีการขอสนับสนุนจากภาคราชการและภาคเอกชน เพื่อ ใช้ในการจัดงานครั้งนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้มีการเตรียม ประชาสัมพันธ์ทั้งทางสื่อออนไลน์และสื่อวิทยุเพื่อในชาว สุ ร าษฎร์ ธ านี ไ ด้ รั บ ทราบกั น ฝ่ า ยจั ด การท่ อ งเที่ ย วและ สันทนาการ ได้มีการจัดทำ�ทริปท่องเที่ยวต่างๆ ให้ผู้ติดตาม ได้เที่ยวกัน และฝ่ายอื่นๆ ก็มีการพูดคุยกัน ซึ่งทีมงานบอก เก้าเล่าสิบจะนำ�รายละเอียดต่างๆ มาเล่าให้ทกุ ท่านได้อา่ นกัน สำ�หรับเดือนนีท้ มี งานคอลัมน์บอกเก้าเล่าสิบ ก็ขอลาไปก่อน พบกันใหม่ในเดือนหน้า ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ


ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

+ - รักคณิตศาสตร์ x -

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

7


8

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

หลากเรื่อง เมืองคนดี โดย..ส.ท.ลก พงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ประจำ�ปี 2560 จัด โดย สำ�นักงานการท่องเทีย่ วและกีฬาจังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ผมเข้าร่วมในนามอาสาสมัครด้านท่องเที่ยวเทศบาลเมือง ประจวบคีรีขันธ์ เวลาที่ ผ มไปช่ ว ยงานที่ ศู น ย์ ข้ อ มู ล ท่ อ งเที่ ย วของ เทศบาลเมื อ งประจวบคี รี ขั น ธ์ ที่ ตั้ ง อยู่ ริ ม ทะเลอ่ า ว ประจวบคีรีขันธ์ เยื้องๆ กับสะพานสราญวิถี ซึ่งจะมีนักท่อง เที่ยวต่างชาติเข้ามาสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ส่วนใหญ่จะสอบถามถึงแหล่งท่องเที่ยวหลักๆ และ ถามถึงการเดินทางต่อไปจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะเกาะสมุย และเกาะภูเก็ต ซึ่งไม่เป็นปัญหาสำ�หรับผมเพราะผมไปตาม ที่ต่างๆ บ่อยๆ จนอธิบายได้ไม่ยาก แต่พักหลังๆ จะถูกถาม ถึงแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนต่างๆ มากขึ้น ผมเองจึงต้อง ศึกษาเพิ่มเติม ประจวบกับคุณธนศร ดอกเดื่อ ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านมีนโยบายที่จะส่งเสริมการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อนำ� ชุมชนท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ จำ�นวน 6 แห่ง ที่ผ่านการ ประเมินเบื้องต้นมาแล้วไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชุมพร ออกเดินทางกันแต่เช้าของวันที่ 15 สิงหาคม ชุมชนที่ อยู่ด้านเหนือก็มาขึ้นรถรวมกันที่หน้าสำ�นักงาน มี 3 อำ�เภอ คือ ชุมชนป่าละอู อำ�เภอหัวหิน ชุมชนสามร้อยยอด อำ�เภอ สามร้อยยอด และ ชุมชนช้างป่ากุยบุรี อำ�เภอกุยบุรี ซึ่งที่นี้ เพิ่งไปรับรางวัลมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยมาสดๆ ร้อนๆ เมื่อโซนเหนือมาครบแล้วนางสาววิภาดา พวงคำ� หัวหน้าฝ่ายท่องเทีย่ ว และนายธนิษฐ์ชน บุญญโสไชยบูรณ์ ก็ได้น�ำ คณะออกเดินทางระหว่างทางแวะรับอีก 3 ชุมชนของ อำ�เภอบางสะพาน คือ ชุมชนทางสาย ชุมชนถ้ำ�ม้าร้อง และ ชุมชุนห้วยเกรียบ เมื่อครบแล้วคุณธนศร ดอกเดื่อ หัวหน้าคณะครั้ง นี้ก็ได้มาพบปะพูดคุยกับสมาชิกทั้งหมดที่ร่วมเดินทางไป แลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ ชร์ประสบการณ์การท่องเทีย่ วโดยชุมชน และบ้านพักโฮมสเตย์ จุดแรกที่ไปเยี่ยมชมที่บ้านทอน-อม โฮมสเตย์ อำ�เภอทุ่งตะโก ที่นี้เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำ�ริ “วิถีจินตนาหนึ่งไร่พอเพียง” ดำ�เนินการโดยคุณจินตนา ไพบูลย์ คุณจินตนา เป็นคนที่บรรยายเก่งมากแล้วยังให้หลัก ในการดำ�เนินการ 3 น้ำ� คือ น้ำ�เย็น หมายถึงการต้อนรับ ครั้งแรก น้ำ�คำ� คือ การดูแลคนที่มาเที่ยวด้วยการพูดคุยที่ ดี และ น้ำ�ใจ คือการเอาใจใส่ทุกคนด้วยความจริงใจ ซึ่งที่นี้ ได้รับรางวัลทั้งมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย และรางวัลกินรีหรือ รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เสร็จแล้วเดินทางต่อไปที่บ้านธรรมชาติวรรณภัสสรณ์

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน

โฮมสเตย์ มีคุณเจี๊ยบ วรรณภัสสร เป็นเจ้าของ ประวัติไม่ ธรรมดาจบจากออสเตรเลีย แล้วจึงมาเริม่ ดำ�เนินโดยเน้นการ สอนการทำ�น้ำ�ยาต่างๆ จากธรรมชาติ ที่นี่จึงมีผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เป็นของทีร่ ะลึกพร้อมกับเปิดบ้านรับนักท่องเทีย่ วด้วย และยังได้รับรางวัลทั้งสองอย่างด้วย แต่คุณเจี๊ยบ กลับให้ข้อคิดว่ารางวัลไม่ใช่สิ่งสำ�คัญมี คนมาเที่ยวเป็นสิ่งสำ�คัญกว่า การจำ�หน่ายของฝากเป็นสิ่งที่ ต้องทำ�เพราะอาจจะไม่มคี นมาพักทุกวันแต่ของทีร่ ะลึกขายได้ ทุกวัน และได้ให้ข้อสรุปว่า ต้องยิ้มแย้มกับผู้มาเยือน อาหาร ต้องอร่อย และต้องมีแหล่งท่องเที่ยวรองรับด้วย จุ ด หมายปลายทางวั น นี้ อ ยู่ ที่ เ กาะพิ ทั ก ษ์ อำ � เภอ หลังสวน ที่เป็นทั้งที่พักและที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของการมา ดูงานครั้งนี้ เพราะที่นี่เป็นต้นแบบในหลายๆ เรื่องของโฮม สเตย์และการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผมเองครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่ ไ ด้ ม านอนโฮมเสตย์ จึ ง อดกั ง วลว่ า จะไม่ ค่ อ ยสะดวกสั ก เท่าไหร่ แต่พอถึงที่พักที่เกาะพิทักษ์ โฮมเสตย์ ได้เห็นความ สวยงามของท้องทะเลและได้ทานอาหารทะเลที่อร่อย ส่วน ที่พักก็สบายดีใครอยากนอนตรงไหนก็เอาที่นอนมาตั้งแล้ว เอามุงครอบมาด้วยก็นอนได้ตามใจ หรืออยากส่วนตัวก็เข้าไป นอนในห้องก็ได้ จะมีปญ ั หาหน่อยตรงทีต่ อ้ งใช้หอ้ งน้�ำ ร่วมกัน ภาพรวมๆ แล้วดีกว่าที่ผมคาดหวังไว้มากทีเดียว ทีน่ เี่ ป็นโฮมสเตย์แห่งแรกของเกาะพิทกั ษ์ ซึง่ ก่อตัง้ โดย ผูใ้ หญ่หรัง่ หรือ คุณอำ�พล ธานีครุฑ โดยผูใ้ หญ่ได้เล่าให้ฟงั ว่าเกาะนี้ที่จริงชื่อว่าเกาะผีทัก แต่ฟังแล้วไม่ดีจึงเปลี่ยนใหม่ เริ่มทำ�โฮมสเตย์ตั้งแต่ปี 2538 เพราะทั้งเกาะกำ�ลังล่มสลาย มีหนี้ถึง 29 ล้านบาท ใช้เวลาถึง 7 ปี กว่าจะพลิกฟื้นขึ้นมาได้ สิ่งที่สำ�คัญในการดำ�เนินการ คือ อย่ากลัว มุ่งมั่นทำ�ให้ สำ�เร็จ ตอนมาทำ�ใหม่ๆ ใครๆ ก็ว่าไม่น่าทำ�ได้แต่ก็ตั้งใจทำ� จนสำ�เร็จขึ้นมาได้ วันนี้มีตำ�แหน่งต่างๆ มากมายและยินดีที่ จะช่วยทุกท่านที่มาในวันนี้ ดีใจที่ท่านมาแต่จะเสียใจมากถ้า ท่านกลับไปแล้วไม่ทำ�เพราะกลัวโน่นกลัวนี่

การเริ่มทำ�ต้องเก็บข้อมูลให้ชัดเจนถูกต้อง สร้างกฎ ระเบียบให้ชัดเจน ทำ�บัญชีชุมชนให้ดี สร้างกลุ่มหรือเครือ ข่ายซึง่ จะช่วยส่งเสริมกัน ผูใ้ หญ่หรัง่ ท่านเก่งมากได้ให้ขอ้ คิด ต่างๆ มากมาย คืนนั้นนั่งพูดคุยกันจนเกือบเที่ยงคืน จึงได้ แยกย้ายกันไปนอน เช้าวันใหม่ผมเดินไปไหว้ศาลพ่อตาพิทักษ์และศาลพ่อ ปู่เดช เเละเดินสำ�รวจรอบเกาะระยะทาง 3.5 กิโลเมตร จุด สุดท้ายที่ไปดูงานที่บ้านท้องตมใหญ่ อำ�เภอสวี ผมเคยผ่าน หลายครั้งแต่ไม่ได้แวะพอแวะแล้วรู้สึกชอบมาก คุณไก่ เจ้าของโฮมสเตย์เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดดี มาก ได้ให้หวั ใจของการทำ�งานว่า ต้องสะอาด ปลอดภัย และ อัธยาศัยดี ทีส่ �ำ คัญต้องใช้การท่องเทีย่ วให้เป็นเครือ่ งมือรักษา สิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ ด้วยการหลอกเงินให้นักท่องเที่ยวมาใช้ จ่ายในชุมชนด้วยการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง หลอกแรงด้วย การจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม และหลอกภูมิด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ผมเองไม่เคยนอนโฮมสเตย์และไม่เคยไปท่องเทีย่ วโดย ชุมชน ไม่เคยแลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ บบนีม้ าก่อน ครัง้ นีท้ �ำ ให้ผม เข้าใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากขึ้นและได้ประสบการณ์ ท่ อ งเที่ ย วที่ แ ปลกใหม่ แ ต่ เ ก๋ ไ ก๋ ส ไตล์ ลึ ก ซึ้ ง ต้ อ งขอบคุ ณ สำ�นักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่จัด โครงการดีๆ เช่นนี้ และขอบคุณกองท่องเที่ยว เทศบาลเมือง ประจวบคีรีขันธ์ ที่ส่งผมเข้าร่วมโครงการนี้


ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

พลังประชาชน สุราษฎร์ธานี

โดย.. ฉัตรวรุณธ์ คูเศรษฐวัฒน์

เมืองใต้นิวส์

พระเมตตา

ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

9

ของพระปิยมหาราช ต่อวัดกลาง (บ้านดอน)

ย้อนหลังกลับไปในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวที่เสด็จประพาส หั ว เมื อ งแหลมมลายู และมี กำ � หนดเสด็ จ ประพาสเมื อ ง กาญจนดิฐ บ้านดอนในปัจจุบันระหว่างวันที่ 6 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2432 วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2432 เสด็จประทับแรมทีเ่ มืองไชยา วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2432 เสด็จประทับแรมที่เมือง กาญจนดิฐ (เมืองบ้านดอนในปัจจุบนั ) หลวงพิพธิ สุพรรณภูมิ พ่อค้า กรมการเมืองและราษฎร มีความยินดีที่พระมหา กษัตริย์เสด็จมาเป็นครั้งแรก ถือเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและ เมืองกาญจนดิฐ จึงจัดรับเสด็จเหมือนหนึง่ ว่ารับเสด็จประทับ แรม โดยสร้างพลับพลา มีทอ้ งพระโรง โต๊ะ เก้าอี้ ห้องบรรทม พระแท่น ห้องสรง ตลอดจนของใช้อย่างครบครัน สร้างเรือน รับรองหลังพลับพลาอีก 2 หลัง มีชานกลางติดต่อกัน สร้าง โรงหลังยาวไว้หลังเรือนรับรองไว้เลี้ยงอาหาร ข้างพลับพลา มีโรงหนังและโรงมโนราห์ข้างละโรง เพื่อแสดงถวาย เวลา บ่าย 2 โมง เรือจึงถึงตัวเมืองกาญจนดิฐ พอมาถึงพลับพลา ท้องฟ้ามืดมัวไปหมด มีพายุฝนอย่างรุนแรง จะเสด็จทอด พระเนตรบ้านเมืองก็คงไม่เห็นอะไรเท่าที่ควร ทรงอุส่าห์ทน ลำ�บากมาจนถึงได้แล้ว ถ้าเสด็จกลับโดยไม่ได้ทอดพระเนตร ความเป็นไปของบ้านเมืองบ้างก็เท่ากับทรงเหนือ่ ยเปล่า และ

เช้าตรูข่ องวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2432 เสด็จดำ�เนินทาง เรือเยีย่ มราษฎรย่านการค้า เมือ่ เสด็จมาถึงท่าน้�ำ หน้าวัดกลาง พระครูสวุ รรณรังษี เจ้าอาวาสวัดกลาง เจ้าคณะเมืองกาญจนดิฐ นำ�พระภิกษุสงฆ์รับเสด็จ และได้ทรงเสด็จมาที่วัดกลาง ทรง ถวายปัจจัยในการบูรณะเสนาสนะเป็นเงินจำ�นวน 40 บาท ดั่งที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 20 หน้า 719 128 ปี นับจากวันนั้น ยังคงนำ�มาซึ่งความปลื้มปิติ และเป็นสิริมงคลยิ่งแก่วัดกลาง เข้าสู่สมัยของพระครูอดุล สีลานุวตั ร เจ้าอาวาสวัดกลางรูปปัจจุบนั จึงได้ด�ำ ริทจี่ ะจัดงาน บวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 เพือ่ รำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ อันหาทีส่ ดุ มิได้ทพี่ ระองค์ได้ ทรงพระราชทานเงินเพื่อสร้างวัดแห่งนี้ และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560 พระครูอดุล สี ล านุ วั ต ร เจ้ า อาวาสวั ด กลาง เป็ น ประธานฝ่ า ยสงฆ์ พลโทโกศล ประทุมชาติ ทีป่ รึกษารัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ทรงสงสารคนกรรเชียงเรือทีต่ อ้ งทำ�งานหนักทัง้ วัน ครัน้ เสด็จ ศึกษาธิการ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ประกอบพิธีบวงสรวง ขึน้ พลับพลาใหญ่และหมูเ่ รือนทีจ่ ดั ไว้รบั เสด็จ ก็ทรงยินดีและ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 ณ ลาน ได้ประทับแรมที่เมืองกาญจนดิฐเหมือนดังที่ชาวกาญจนดิฐ หน้าอุโบสถวัดกลาง คาดคิดและเตรียมไว้ โดยมีแขกผูม้ เี กียรติจากหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน

พระครูอดุลสีลานุวัตร

มาร่วมงานกันอย่างมากมาย อาทิ คุณประเวศ ไทยประยูร ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณพิพศิ น์ วัฒนาวีรชัย รองนายก เทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี คุณประเสริฐ บุญประสพ อดีต รองนายกเทศมนตรี กลุ่มอาสามูลนิธิมุทิตาจิตธรรมสถาน พร้อมด้วยชาวบ้านต่างเดินทางมาร่วมงานอย่างคับคัง่ และที่ สำ�คัญหัวเรือใหญ่ของงานนี้ คุณภานุ ศรีบศุ ยกาญจน์ อดีต รองนายกเทศมนตรี คอยประสานงานในเรื่องต่างๆ ของการ จัดงานเพื่อให้สำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หลังจากเสร็จพิธีบวงสรวงแล้วจึงได้มีพิธีทักษิณานุ ปาทาน เพื่อถวายแก่อดีตเจ้าอาวาสของวัดกลางทุกรูป และ พลโทโกศล ประทุมชาติ ทีป่ รึกษารัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและคณะได้มอบเงิน บริจาคเพื่อทำ�นุบำ�รุงเสนาสนะของวัดกลางด้วย งานนีเ้ กิดขึน้ ได้ดว้ ยความสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระเจ้ า แผ่ น ดิ น ในอดี ต ที่ ท รงพระเมตตาแก่ วั ด กลาง อีกทั้งยังเป็นงานสำ�คัญที่ทำ�ให้ชาวบ้านดอน ได้ทราบถึง ความเป็นมาของประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของบ้านดอน ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในอดีตที่ผ่านมาด้วย


10

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

สภาอบจ.ตัด 20 ล้าน เหลืองบ 1,261 ล้าน

ตามทีน่ ายสมชาติ ประดิษฐพร ประธานสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นัดประชุมสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ประจำ�ปี พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ซึ่ ง นายทนงศั ก ดิ์ ทวี ท อง นายกองค์ ก ารบริ ห าร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เสนอร่างข้อบัญญัติองค์การ บริหารส่วนจังหวัด งบประมาณรายจ่าย ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยอาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา 53 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 จึงตราข้อ บัญญัติงบประมาณรายจ่ายขึ้น โดยความเห็นชอบของสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัด และอนุมตั โิ ดยผูว้ า่ ราชการจังหวัด สุราษฎร์ธานี มีงบประมาณรายจ่ายทั่วไป จ่ายจากรายได้จัดเก็บเอง หมวดภาษีจัดสรร และหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เป็นจำ�นวน รวมทัง้ สิน้ 1,281,904,900 ล้านบาท ซึง่ ทีป่ ระชุมได้รบั หลักการ แห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ในวาระที่หนึ่ง โดยกำ�หนดเวลาเสนอคำ�แปรญัตติ ตั้งแต่วันที่ 16 - 18

สิงหาคม 2560 เวลา 08.30 - 16.30 น. ของแต่ละวัน ซึ่ง นายปรีชา เพชรรัตน์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตอำ�เภอกาญจนดิษฐ์ ได้ขอแปรลด งบประมาณรายจ่ายทั่วไป ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำ�นวน 20,000,000 ล้านบาท วั น ที่ 21 สิ ง หาคม พ.ศ. 2560 ได้ มี ก ารประชุ ม คณะกรรมการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติ โดยมีนายปรีชา เพชรรัตน์ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็น ด้วยตามข้อเสนอแปรลดงบประมาณรายจ่ายในรายละเอียด งบประมาณ หน้าที่ 411 แผนงานงบกลาง ประเภทสำ�รองจ่าย จำ�นวน 20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมาได้มีการประชุมสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยสามัญ สมัยทีส่ อง ครั้งที่ 2 ประจำ�ปี พ.ศ. 2560 ซึ่งสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เห็นด้วยในวาระที่ 2 กับคำ�แปร ญัตติและการแก้ไขทีแ่ ปรลดงบประมาณจำ�นวน 20 ล้านบาท แ ล ะ ส ม า ชิ ก ส ภ า อ ง ค์ ก า ร บ ริ ห า ร ส่ ว น จั ง ห วั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ไ ด้ ล งมติ ใ นวาระที่ ส าม ให้ ร่ า งข้ อ บั ญ ญั ติ

องค์การบริหารส่วนจังหวัด เรือ่ งงบประมาณรายจ่าย ประจำ�ปี งบประมาณ พ.ศ. 2561 ตราเป็นข้อบัญญัติ โดยตัดไป 20 ล้านบาท เหลืองบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น 1,261,904,900 ล้านบาท ซึ่ ง วั น นี้ ยั ง ได้ มี ก ารพิ จ ารณาญั ต ติ ข ออนุ มั ติ โ อนงบ ประมาณรายจ่าย ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 อีก 7 ญัตติ โดยที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติสามญัตติ ส่วนที่เหลืออีก 4 ญัตติ เนื่องจากผู้เสนอไม่อยู่ในที่ประชุม และไม่ได้ทำ�หนังสือมอบ อำ�นาจให้ผู้ใดเป็นผู้เสนอญัตติแทน จึงให้ถอนญัตติทั้งหมด

สภาเทศบาลผ่านงบฯ 1,128 ล้านบาท ตามที่ น ายประเสริ ฐ ทั บ ทิ ม ทอง ประธานสภา เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้เรียกประชุมสภาเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานีสมัยสามัญ สมัยที่ 3 ประจำ�ปี 2560 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยมีระเบียบวาระที่สำ�คัญเรื่องญัตติขอรับความเห็นชอบ ร่ า งเทศบั ญ ญั ติ งบประมาณรายจ่า ยประจำ�ปีง บประมาณ พ.ศ. 2561 นายธี ร ะกิ จ หวั ง มุ ทิ ต ากุ ล นายกเทศมนตรี น คร สุราษฎร์ธานี ได้เป็นผู้เสนอญัตติขอรับความเห็นชอบร่าง เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งได้ชี้แจงว่าโดยที่เป็นการสมควรตั้งงบประมาณราย จ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 อาศัยอำ�นาจตามความ ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง ฉบับที่ 13) มาตรา 65 จึงตราเทศบัญญัติขึ้นไว้โดยความเห็น ชอบของสภาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และโดยอนุมัติของ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นจำ�นวนรวมทั้งสิ้น 1,128,620,140 บาท แบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายทั่วไป จ่ายจากรายได้จัดเก็บเอง หมวด ภาษีจัดสรร และหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เป็นจำ�นวนรวม ทั้งสิ้น 1,088,590,140 บาท และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะ การ จ่ายจากรายได้เป็นจำ�นวนรวมทั้งสิ้น 40,030,000 บาท ซึ่งสภาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้มีมติรับหลักการ แห่งร่างเทศบัญญัตงิ บประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการแปรญัตติร่าง เทศบัญญัตดิ �ำ เนินการรับคำ�แปรญัตติฯ จำ�นวน 3 วัน ระหว่าง วันที่ 14 - 16 สิงหาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.

มีผู้มายื่นคำ�แปรญัตติ จำ�นวน 5 ราย วันที่ 19 สิงหาคม 2560 เวลา 09.00 น. ได้มีการประชุม คณะกรรมการแปรญัตติ โดยมีนายรักพงษ์ แซ่ตั้ง สมาชิก สภาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ในฐานะประธานกรรมการแปร ญัตติรา่ งเทศบัญญัติเป็นประธานทีป่ ระชุม โดยทีป่ ระชุมได้มี มติเห็นควรให้คงไว้ตามร่างเดิม และวันที่ 22 สิงหาคม 2560 เวลา 09.30 น. ได้มีการ ประชุมสภาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี สมัยสามัญ สมัยที่ 3 ครั้ ง ที่ 2 ประจำ � ปี 2560 เพื่ อ พิ จ ารณาเรื่ อ งญั ต ติ ข อรั บ ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ� ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ซึ่งสภา เทศบาลได้มีมติเห็นชอบทั้งสองวาระ ขั้นตอนต่อไปคือ การนำ�เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สุราษฎร์ธานี ลงนามอนุมัติให้ใช้เทศบัญญัตินี้ได้ และจะเริ่ม

ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 จนถึง วันที่ 30 กันยายน 2561 ซึ่งงบประมาณ 1,128 ล้านบาท เป็นงบของเทศบาลเพียง 1,088 ล้านบาท และของสถานธนานุบาล หรือโรงรับจำ�นำ� อีก 40 ล้านบาท


11

เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำ�กลอนประกอบภาพ ผู้ศึกษาค้นคว้า นางจีรพร ไกรสินธุ์ ปีการศึกษา 2559

ชือ่ เรือ่ ง รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ ส มองเป็ น ฐาน เพื่ อ ส่ ง เสริ ม คุ ณ ลั ก ษณะด้ า น จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ผู้ศึกษาค้นคว้า นางจีรพร ไกรสินธุ์ ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการตระหนักรูแ้ ละควบคุมอารมณ์ตนเอง การมีแรงจูงใจในการทำ�งานให้บรรลุผลสำ�เร็จ รูจ้ กั สร้างสัมพันธภาพของผูอ้ นื่ เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การ ศึกษาค้นคว้าครัง้ นีม้ คี วามมุง่ หมายเพือ่ เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมหนังสือนิทานประกอบภาพ และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาความ ฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กชั้น อนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล๓(ตลาดล่าง) สำ�นักการศึกษาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำ�นวน 34 คน จาก 1 ห้อง ได้มาโดยการสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำ�นวน 18 แผน และ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำ�นวน 55 ข้อ ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้ 1. เด็กปฐมวัยชัน้ อนุบาลปีที่ 2 ทีเ่ รียนด้วยหนังสือนิทานคำ�กลอนประกอบภาพมีความ ฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้กบั เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้เป็นอย่างดี เด็กสามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกโกรธได้ สามารถแสดงความรูส้ กึ ดีใจ ชอบใจ ทีไ่ ด้ท�ำ กิจกรรมทีต่ นเองต้องการ มีความเอือ้ เฟือ้ และรูจ้ กั การช่วยเหลือเพื่อนๆ รู้จักการปลอบโยนและให้กำ�ลังใจเพื่อนๆ เมื่อเพื่อนมีปัญหา สามารถ เรียนรู้แบบอย่างที่ดีจากนิทานคำ�กลอนประกอบภาพได้

การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาสภาพปัจจุบนั ของการจัดกิจกรรมประสบการณ์ การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานของครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็น ฐานของครูปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เพือ่ ส่งเสริมคุณลักษณะด้าน จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล ในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำ�นวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของครูเพื่อส่งเสริม คุณลักษณะด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีคา่ เฉลีย่ รวมอยูใ่ นระดับ มาก (= 4.47, = 0.65) ทั้งนี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กรู้จักสิ่งต่างๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น มากกว่าด้านอื่น อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.91, = 0.29) 2. รูปแบบการพัฒนาการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรูโ้ ดยใช้สมองเป็นฐานของ ครูเพือ่ ส่งเสริมคุณลักษณะด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีคา่ เฉลีย่ โดยรวมอยูใ่ นระดับมาก (= 4.32, = 0.58) โดยมีรปู แบบการพัฒนาด้านบุคลากรมากกว่าด้าน อื่น ในระดับมากที่สุด (= 4.81, = 0.38) รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ในระดับมาก (= 4.66, = 0. 56) และการบริหารงบประมาณ ในระดับมาก (= 4.30, = 0.76) ตามลำ�ดับ

ประกันภัย รถไม่มี หรือขาดความคุ้มครองประกันภัย พรบ. “โดย พงษ์ศักดิ์ ธงแดง” การประกันภัย รถทุกชนิดที่มีไว้เพื่อใชั ต้องจัดให้การ ประกันภัย ตาม พรบ. คุม้ ครองผูป้ ระสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือเรียกสัน้ ๆ ว่า ประกันภัย พรบ. บังคับใช้ตงั้ แต่ พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2560 ยังมีคำ�เกี่ยวกับ เกิดอุบัติเหตุ มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตแล้ว รถนั้นไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. เมื่อไม่มี ก็คือ “ไม่ม”ี แล้วจะแปลว่า อะไรได้ ไม่ได้ฝากเงินกับธนาคาร หรือ ประกันภัย ความเสียหายไว้กับบริษัทประกันภัย จะไปเบิก เงินธนาคารที่ไหนจะจ่ายเงินให้ หรือบริษัทประกันภัยที่ไหน จะจ่ายให้ ในเมื่อไม่ได้ฝากเงินไว้ ไม่ทำ�ประกันภัย แต่ก็มี คำ�ถามประเภท เห็นแก่ตวั เบีย้ ประกันภัยไม่ยอมจ่าย คำ�ถาม ที่ผู้ถามสร้างและรู้คำ�ตอบเอง ดังตัวอย่างคำ�ถามนี้ “...ผู้ ขั บ ขี่ จั ก ยานยนต์ ไ ม่ มี ป ระกั น ภั ย พ.ร.บ. โรงพยาบาลจะเรียกเก็บเงินจากใครใช้เอกสารอะไรบ้าง และถ้าจ่ายเงินไปแล้ว จะเรียกเงินคืนได้จากใครที่ใดได้ บ้าง…” เอามาตอบก็แล้วกัน เพื่อเป็นการทบทวนไว้สำ�หรับผู้ อ่านทีแ่ สนดีสนับสนุนหนังสือพิมพ์ทอ้ งถิน่ เราฉบับนี้ ดังนีค้ รับ ผู้ประสบภัยจากรถไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. ผู้โดยสาร หรือผู้อยู่นอกที่ถูกรถนั้นชน สามารถไปใช้สิทธิขอรับค่าเสีย หายเบื้องต้นค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพหรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท ได้จากสำ�นักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำ�นักงาน คปภ. หรือสำ�นักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ สำ�หรับค่าพยาบาลผู้โดยสาร หรือผู้อยู่นอกที่ถูกรถนั้น ชน ผู้ประสบภัยเซ็นมอบอำ�นาจให้โรงพยาบาลที่รักษานั้นๆ

เป็นผู้เบิกก็ได้ สำ�หรับเอกสารประกอบที่ต้องใช้ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ และสำ�เนา บั น ทึ ก ประจำ � วั น ของตำ � รวจ สำ � เนาบั ต รประชาชนของ ผู้ประสบภัย เนื่องจากรถไม่มีประกันภัย กองทุนจ่ายค่าเสีย หายเบื้องต้นให้ผู้ประสบภัยไปก่อนแล้วจะไปไล่เบี้ยคืนจาก เจ้าของรถ พร้อมเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมทั้งปรับเจ้าของฐาน ฝ่าฝืนไม่ทำ�ประกันภัย และผู้ขับขี่ฐานนำ�รถที่ไม่มีประกันภัย มาใช้อีกคนละไม่เกิน 10,000 บาท สำ�หรับผู้ขับขี่ ที่เป็น เจ้าของรถเอง และเป็นผูป้ ระสบภัยจากรถนัน้ ด้วย ไม่แน่ใจไม่ ขอตอบว่า จะเซ็นมอบอำ�นาจให้โรงพยาบาลได้หรือไม่ เพราะ ไม่มีประกันภัยก็คือไม่มีอำ�นาจที่จะมอบ อุบัติเหตุจากรถ โรงพยาบาลก็ไม่ให้ใช้สิทธิบัตรทองรักษาด้วย แต่ส่วนใหญ่ จะแก้ปัญหาด้วยการ ให้จ่ายเงินก่อน ออกใบเสร็จรับเงินให้ ส่วนจะเบิกที่ไหนได้หรือไม่ ไม่ทราบ ก่อนใช้รถ หรือจะสตาร์ทรถออกจากเดินทาง ดูให้แน่ใจ ประกันภัยยังคุ้มครองอยู่หรือไม่... เบิกประกันภัย พรบ.ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น “โดย พงษ์ศักดิ์ ธงแดง” ปัญหา หลักฐานการขอเบิกค่าสินไหมทดแทนนอก เหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น มักเกิดขึ้น หากไม่ทราบให้ ละเอียด ดังเช่นจักนำ�มาแนะนำ�ผู้อ่านที่รัก ดังกรณีดังอย่าง ดังนี้ เช่น นาย ก. ขับขี่รถจักรยานยนต์ เฉี่ยวชนรถยนต์ที่ จอดอยู่ข้างถนน รถจักรยานยนต์นั้นล้มลง นาย ก. ได้รับ บาดเจ็บเล็กน้อย นาย ข. เป็นผูซ้ อ้ นท้าย ได้รบั บาดเจ็บสาหัส (ขาหัก) พนักงานสอบสวนไปตรวจสถานที่เกิดเหตุและลง ประจำ�วันไว้ และระบุว่า นาย ก. เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยประมาท แต่มิได้ทำ�การเปรียบเทียบปรับ ต่อมานาย ก. และนาย ข. ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นตามประกันภัย พ.ร.บ. ไปเรียบร้อยแล้ว

แต่ นาย ข. มีความประสงค์ที่จะขอเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบือ้ งต้นเพิม่ เติม เนือ่ งจาก มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำ�นวนมาก พอไปติดต่อ กับบริษัทที่รับประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อขอเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนดังกล่าว ก็ได้รับแจ้งว่า ต้องนำ�หลักฐานที่พนักงาน สอบสวนเปรียบเทียบปรับ นาย ก. ว่าขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยประมาท มาแสดงก่อน จึงจะดำ�เนินการให้ได้ เมื่อไป พบพนักงานสอบสวนเพื่อขอหลักฐานการเปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนก็ไม่ออกให้ กรณีเช่นนี้ นาย ข. ควรจะ ดำ�เนินการอย่างไร จึงจะขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับ บริษัทรับประกันภัยได้…. กรณี ดั ง กล่ า วนั้ น ต้ อ งทำ � ความเข้ า ใจในขั้ น แรกนี้ คื อ ค่าเสียหายเบื้องต้นนั้นเป็นการจ่ายโดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่า ใครเป็นฝ่ายผิด จะเห็นได้จากคำ�ถามนัน้ ทางบริษทั ได้ท�ำ การ จ่ ายให้ไปก่อ น ส่วนค่าเสียหายส่วนเกินจากเบื้อ งต้นนั้น ทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายได้ต่อเมื่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความรับผิดของผู้ขับขี่รถประกันภัย ดังนั้นจากคำ�ถาม นาย ข จะเบิกค่าเสียหายส่วนที่ เกินจากเบื้องต้นนั้นจึงต้องมีเอกสารที่แสดงถึงความผิดของ นาย ก ซึ่งเป็นผู้ขับขี่ตามที่ได้กล่าวข้างต้นให้ทราบแล้ว และ หลักฐานที่สามารถแสดงได้คือ 1. ประจำ�วันที่มีการเปรียบ เทียบปรับแล้ว หรือ 2. บันทึกประจำ�วันที่ไม่มีการเปรียบ เทียบปรับ แต่ผตู้ อ้ งหาให้การสารภาพยอมรับว่าเป็นความผิด เพราะบางคดีนั้นพนักงานสอบสวนไม่มีอำ�นาจเปรียบเทียบ ปรับ หรือ 3. บันทึกยอมรับผิดของผู้ขับขี่รถที่ได้ทำ�ขึ้นกับ ทางบริษัทประกันภัย ทั้งสามกรณี หากมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สามารถนำ�ไปแสดงเพื่อขอรับค่าเสียหายส่วนเกินเบื้องต้น ได้แล้ว..เมื่อเจ้าหน้าที่ตำ�รวจระบุแล้วว่า นาย ก. เป็นผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์โดยประมาท ระบุไว้ในบันทึกประจำ�วันแล้ว นี่เป็นหลักฐานได้ จบเรื่องแล้ว จบ


12

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 63 ประจำ�เดือนกันยายน 2560

ฉบับประจำ�เดือนกันยายน

ระบบหลังรานสำหรับรานออนไลน

EVERYTHING YOU NEED FOR YOUR ONLINE STORE

จัดการออเดอร ครบวงจร ระบบ Stock ที่ถูกตองแมนยำ

อยากรูวาดียังไง เขามาลองใช FREE กันไดเลย

ระบบตัวแทนจำหนาย

ระบบบัญชี รายรับ-รายจาย รายงานสถิติ แบบ REAL TIME

www.shipnity.com เว็บไซตสำเร็จรูป ปรับแตงไดตามใจ 6,500 บาท/ป

พิมพชื่อที่อยู และใบเสร็จอยางมืออาชีพ LINE

เอสที กาแฟชุมพร

ST Chumphon Coffee โฉมใหม่

เอสที

กาแฟชุมพร ST Chumphon Coffee

มีจำ�หน่ายที่ร้าน

์ ณ ร ภ า อ วิไล

มีจำ�หน่ายที่ร้าน

์ ณ ร ภ า อ ล วิไ โทร. 077-273352, 081-978 3401

โทร. 077-273352, 081-978 3401


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.