เมืองใต้นิวส์เดือนมิถุนายน 2559

Page 1

ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

แจกฟ

รี

www.issuu.com/meuangtainews

สัมภาษณ์หน้า 5 นายอรชุน ธิวรรณลักษณ์ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

อ่านต่อหน้า 10

แนวทางการดำ�เนินงานสานพลังประชารัฐเพื่อจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี

MOU 1 หอการค้า 1 สหกรณ์

อ่านต่อหน้า 6

เที่ยวบ้านไร่ไออุ่น เชียร์เพชรบูรณ์ เอฟซี

อ่านต่อหน้า 2

บริษัท มิตซูสุราษฎร์ จำ�กัด ผู้จำ�หน่ายรถยนต์มิตซูบิชิในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมศูนย์บริการมาตรฐาน อะไหล่แท้ ศูนย์เคาะพ่นสีและตัวถัง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

สำ�นักงานใหญ่ (บางกุ้ง) 077- 285038, สาขาเกาะสมุย 077- 418898 สาขาธราธิบดี (แยกวัดมะปริง) 077- 269268


2

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

เทยี่ วไป.. ..เชียร์ไป

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

เที่ยวบ้านไร่ไออุ่น เชียร์เพชรบูรณ์ เอฟซี โดยพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ

ผมเขียนคอลัมน์นี้ครบ 2 ปี พอดี แต่ไม่เคยพาท่าน ไปเที่ยวภาคเหนือเลย ครั้งนี้จึงเป็นความตั้งใจอย่างยิ่งที่ จะพาท่านไปเที่ยวบ้านไร่ไออุ่น ที่อยู่อำ�เภอเขาค้อ จังหวัด เพชรบูรณ์ ผมออกเดินทางจากกรุงเทพ 9 โมงเช้า เพราะ ตั้งใจว่าจะให้ถึงเที่ยงที่อำ�เภอวิเชียรบุรี วั น นั้ น ผมออกจากคอนโดที่ บ างจาก ขึ้ น ทางด่ ว น รามอินทราแล้วต่อไปออกอำ�เภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา วิ่ง ผ่านสระบุรี ตรงไปตามถนนสาย 21 ไปถึงอำ�เภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี แล้วตรงไปอีกหน่อยก็เข้าเขตเพชรบูรณ์ ซึง่ เป็น จังหวัดภาคเหนือแล้วครับ อำ�เภอศรีเทพ เป็นอำ�เภอแรกมีแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง คือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งถือเป็นเมืองเก่าของที่นี่ มาถึงแล้วเดินชมห้องจัดแสดง จะทำ�ให้ทราบถึงประวัตคิ วาม เป็นมา เสร็จแล้วจะมีรถไฟฟ้าพาไปชมปรางค์ศรีเทพ และ ปรางค์ต่างๆ ที่ผมตั้งใจไปให้ถึงเที่ยง เพื่อจะได้ทานไก่ย่างวิเชียรบุรี ซึ่ ง มี ร้ า นชื่ อ ดั ง คื อ ไก่ ย่ า งตาแปะ ที่ เ ป็ น ต้ น ตำ � รั บ ไก่ ย่ า ง วิเชียรบุรี แต่เดี๋ยวนี้คนส่วนใหญ่จะแวะทานร้านบัวตองกัน มาก เพราะมีร้านอยู่ฝั่งที่จะไปเพชรบูรณ์ ทีเด็ดอยู่ที่น้ำ�จิ้ม ที่ใช้มะขามเป็นส่วนประกอบ และข้าวเหนียวที่นี่จะมีทั้งขาว และดำ�ปนกันมา นอกจากจะติดใจรสชาติอาหารแล้ว ผมติดใจห้องน้ำ� ของร้าน ที่มีห้องพิเศษสำ�หรับเพศทางเลือก ส่วนในห้อง ปัสสาวะของผู้ชายยังทำ�ที่ล้างมือไว้บนโถเวลาฉี่เสร็จเปิดน้ำ� ล้างมือ น้ำ�นี่จะล้างโถปัสสาวะไปด้วยซึ่งเป็นแนวคิดที่เหมาะ กับปัจจุบันที่เกิดภัยแล้ง ได้ทานไก่ยา่ งทีว่ เิ ชียรบุรี ถือได้วา่ มาถึงเพชรบูรณ์แล้ว จากนั้นผมมุ่งหน้าเข้าสู่นครบาลเพชรบูรณ์ ที่มีชื่อนี้เพราะว่า สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก

พระราชกำ�หนดย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เพชรบูรณ์ เพราะ เห็นว่าเพชรบูรณ์เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม อากาศดี อยู่ใจกลาง ประเทศ มีภูเขาล้อมรอบและมีทางเข้าออกเพียงทางเดียว และได้ดำ�เนินการอพยพราษฎรพร้อมย้ายที่ทำ�การรัฐบาล ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆ มาด้วย แต่ต่อมาสภาผู้แทนราษฏรลงมติ ไม่อนุมัติให้พระราช กำ � หนดระเบี ย บราชการบริ ห ารนครบาลเพชรบู ร ณ์ เ ป็ น พระราชบัญญัติ ด้วยคะเเนนเสียง 48 ต่อ 36 ด้วยเหตุผลที่ ว่าเพชรบูรณ์เป็นดินแดนกันดาร มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่า เขาและมีไข้ปา่ ชุกชุม การสร้างเมืองหลวงใหม่จงึ ถูกยกเลิกไป ถ้าขับรถเข้ามาในตัวเมืองเพชรบูรณ์ จะเห็นป้ายนครบาล เพชรบูรณ์อยู่หลายแห่ง ผมเองเคยทำ�งานเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการ ที่แมคโคร ชลบุรี พอรู้ว่าเพื่อนที่เคยทำ�งานด้วยกันมาเป็นผู้จัดการ ทั่วไปที่แมคโครเพชรบูรณ์ ผมจึงแวะเข้าไปเยี่ยมคุณขวัญใจ สุทธิบุตร ไม่น่าเชื่อว่าเราจากกันมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ออกจากแมคโคร ผมตรงขึ้นเขาค้อ ช่วงนี้ถนนกำ�ลัง ขยายให้ใหญ่ขนึ้ เขาค้อเปลีย่ นไปมากมีทพี่ กั สวยๆ มากมาย แต่ที่กำ�ลังมาแรงต้องที่นี่ครับ บ้านไร่ไออุ่น แหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรผสมผสาน ปลูกสตรอเบอร์รี่ปลอดสาร และไม้ผล เมืองหนาว ผมมาที่นี่ตั้งแต่เริ่มก่อร่างสร้างตัวเมื่อสิบปีที่แล้ว ผม เห็นความมุง่ มัน่ ของคน 2 คน ทีจ่ บการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท เคยทำ�งานในเมืองหลวงอย่างสุขสบายมา ตลอดชีวิต วันหนึ่งทั้ง 2 คน หักเหชีวิตมาเป็นเกษตรกร คนหนึ่งมาจากอีสาน อีกคนมาจากปักษ์ใต้ มาก่อร่างสร้างตัวที่เขาค้อ จากเคยอยู่บ้านหลังใหญ่ ต้องมาสร้างกระต็อบอยูก่ ลางนา มีชวี ติ อยูล่ �ำ บากยากเข็ญแต่ เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ 2 คน ต้องการ ผมมาครั้งนั้นเพราะ

ต้องการมาดูหลานชายทีเ่ พิง่ เกิด แต่พอเห็นความเป็นอยูข่ อง น้องสาวและน้องเขยแล้วรู้สึกสงสารเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาเมื่อผลผลิตที่ลงไปเริ่มเก็บเกี่ยวได้ผล ความสุข สบายเริ่มมีมากขึ้น ผมได้มาเยี่ยมอีกครั้งหนึ่งเพราะจะไป เที่ยวภูทับเบิก ซึ่งกำ�ลังเป็นที่เที่ยวใหม่ที่คนไปกันมาก ผม ไปแล้วไม่ชอบและไม่ไปอีกเลย แต่ที่เขาค้อผมยังกลับมา เยือนบ่อยๆ คนเราเมื่ อ มี ค วามศรั ท ธาและมี ค วามรั ก ในสิ่ ง ที่ ทำ � แล้วลงมือทำ�อย่างจริงจัง ความสำ�เร็จก็มาเยือนจนได้ แอ๊ด น้องเขยผม คุณสุทธิพงศ์ พลสยม และน้องสาวผมตุ๊กตา นางอุบลรัตน์ โพธิครูประเสริฐ ได้สร้างบ้านไร่ไออุ่นด้วย ความมุ่งมั่นตั้งใจ วันนี้ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ เป็นที่ที่ต้องไปของเขาค้อ โดยเฉพาะช่วงที่สตรอเบอร์รี่ออกผล นักท่องเที่ยว เข้ามามากจนทำ�ไม่ทัน แต่ถ้าช่วงปกติก็ยังมีข้าวไรซ์เบอร์รี่ ปลอดสารพิษ ข้าวเหนียวลืมผัว ที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และยั ง มี มั ล เบอร์ รี่ หรื อ ลู ก หม่ อ น จำ � หน่ า ยอยู่ ทุ ก วั น ใครที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ โทร. 081-5352348 และ 089-0614373 ผมมาเขาค้อหลายครัง้ ทีน่ มี่ ที เี่ ทีย่ วใหม่ๆ เกิดขึน้ ตลอด ครัง้ นีน้ อ้ งๆ พาผมไปชมพระอาทิตย์ตกทีก่ งั หันไฟฟ้า วิวสวย อากาศดี เสร็จแล้วพาผมไปทานข้าวทีร่ า้ นแทนรักทะเลหมอก ร้านใหญ่ อาหารอร่อย วิวสวยมากครับ ผมนอนบ้านน้องสาว 1 คืน ก็เดินทางกลับ น้องสาวบอกว่า อย่าลืมไปไหว้พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ที่วัดผาซ่อนแก้ว ผมเห็นแล้วสวยมากเลยครับ และน้องสาวย้ำ�อีกว่า ต้องไป จิบกาแฟที่พีโน ลาเต้ โอ้โฮครับ ผมไม่เคยเห็นร้านกาแฟ ที่ไหนสวยเท่านี้มาก่อน ผมสั่งลาเต้ที่เป็นซิกเนเจอร์ของร้าน แก้วละ 75 บาท นัง่ ละเลียดกาแฟหอมกรุน่ พร้อมวิวพาโนรามา บนยอดเขาชีวิตนี้ช่างมีความสุขเสียจริง ผมกลับมาหาที่เชียร์พบป้ายใหญ่โตของทีมเพชรบูรณ์ เอฟซี ซึ่งเตะในลีกดิวิชั่น 2 ของภาคเหนือ ดูตารางคะแนน แล้วน่าจะลำ�บาก ผมจึงแวะไปดูสนามแข่งที่อยู่ตรงข้ามพุทธ อุทยานเพชบุระ แล้วไหว้พระพุทธมหาธรรมราชาจำ�ลอง อุทยานนี้ตั้งอยู่ริมถนนสวยงามทีเดียว แล้วเข้าไปเที่ยวตัวเมืองไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หอ โบราณคดี เ พ็ ช รบู ร ณ์ อิ น ทราชั ย หอวั ฒ นธรรมนครบาล เพชรบูรณ์ และผมตัง้ ใจไปไหว้พระพุทธมหาธรรมราชา พระคู่ บ้านคูเ่ มืองทีอ่ ญ ั เชิญมาประกอบพิธอี มุ้ พระดำ�น้�ำ ทีว่ ดั ไตรภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่ยาวมาก มีที่ท่องเที่ยว ทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สวยงาม มีสินค้าทางการ เกษตรหลากหลายชนิด การเดินทางสะดวกสบายไม่ไกลจาก กรุงเทพ ใครที่ยังไม่เคยไปไปแล้วจะติดใจ เพราะเพชรบูรณ์ เป็นเมืองอยู่สบาย


3

เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

สภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี คปจ.สฎ. ของสภาพัฒนาการเมือง และกองกิจการสภา อบจ.สฎ. ร่วมวางแนวทางการดำ�เนินงานสภาพลเมือง”

หลั ง จากได้ มี ก ารเปิ ด ตั ว “สภาพลเมื อ งจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี” มาแล้ว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา เป็นโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเมืองภาคพลเมือง สู่การจัดตั้ง “สภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดย โครงการนี้ ได้รบั การสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี ได้เล็งเห็นถึงการส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของภาค ประชาชน และได้มอบหมายให้ฝ่ายกองกิจการสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ดำ�เนินกิจกรรมในครั้งนี้ และเมื่ อ วั น ที่ 23 พฤษภาคม 2559 ที่ ผ่ า นมา นายชยุ ต ม์ เชาวน์ ณั ฐ เศวตกุล ประธานสภาพลเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจริญ ยอดมณี คณะทำ�งาน คปจ.สฎ

ของสภาพัฒนาการเมือง นายสุรัติ เพชรพริ้ม ผู้อำ�นวยการ กองกิจการสภา อบจ.สฎ และ นายเฉลิมพล บุรินทร์พงษ์ และผู้ร่วมคณะทำ�งานของสภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะทำ�งานของ คปจ.สฎ ได้ร่วมประชุมหาแนวทางในการ ขับเคลื่อนของสภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ประชุม ได้หารือและเสนอแนวทางการขับเคลื่อนและเครือข่ายภาค ประชาชนต่างๆ ที่ “สภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดยในที่ประชุมมีได้มีการแลกเปลี่ยนและเสนอความ เห็ น ที่ ห ลากหลาย โดยเฉพาะพื้ น ที่ ต่ า งๆ ของจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี มีประชาชนที่เป็นภาคพลเมืองที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองภาคเกษตร ภาคประมงชายฝั่ง ประมง

พื้นบ้าน หรือกลุ่มต่างๆ ที่มีปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับภาค ประชาชน สภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรจะเชิญ กลุ่มภาคประชาชนเหล่านั้นมาร่วมเป็นคณะทำ�งานในแบบ สภาพลเมือง ทีป่ ระชุมจึงมีความเห็นร่วมกันทีจ่ ะจัดโครงการ ส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเมืองภาคพลเมือง สู่การจัดตั้ง สภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานีขนึ้ ในวันที่ 6 มิถนุ ายน 2559 ณ โรงแรมเค พาร์ค จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นการวาง แนวทางการดำ�เนินงานของสภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุจารี แก้วคง อาจารย์ประจำ� มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช พร้อมคณะ จึงขอเชิญ ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

แสดงความยินดี นายเจริ ญ ยอดมณี ประธานคณะทำ � งานเครื อ ข่ า ยภาคประชาสั ง คมจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยคณะกรรมการ นายชยุตม์ เชาวน์ณฐั เศวตกุล ประธานสภาพลเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายโสมนัส พริ้มแก้ว เลขาธิการสภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมคณะกรรมการ และ นายพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ สมาชิกสภาเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี และ นายไชยกฤต เอือ้ กฤดาธิการ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมแสดงความยินดีกับ นายเฉลิมพล บุรินทร์พงษ์ เนื่องในโอกาสได้รับ ตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการกองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมือ่ วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุม ชัน้ 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เมืองใต้นิวส์

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายเดือน สำ�นักงานเลขที่ 157 ถนนชนเกษม ตำ�บลตลาด อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

บรรณาธิการบริหาร/ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา : ชยุตม์ เชาวน์ณัฐเศวตกุล E-mail : chayutkok@gmail.com, Facebook : หนังสือพิมพ์เมืองใต้นิวส์

ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

www.issuu.com/meuangtainews

ติดต่อลงโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 081-9783401, 089-7258911


4

เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

สังคม...เมืองคนดี อินทรีย์ บ้านดอน

จิระวัฒน์ หวังมุทติ ากุล

นายวงศศิ ริ พรหมชนะ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ร่วมประชุมยุทธศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ โรงแรมสุภารอยัลบีช อำ�เภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธาน ในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการเทคนิคทางการแพทย์ ณ ชั้น 1 โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 นายธีระกิจ หวังมุทิตากุล นายกเทศมนตรี น ครสุ ร าษฎร์ ธ านี เป็ น ประธานพิ ธี เ ปิ ด การอบรม ให้ความรู้ “การปฏิบตั ติ วั เพือ่ ลดความเสีย่ ง สูก่ ารเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง” ณ ห้องประชุม ศูนย์บริการสาธารณสุข บึงขุนทะเล

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 นายธีระชัย ศรีโพธิ์ชัย ประธาน หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำ�คณะกรรมการหอการค้าฯ และ นักธุรกิจรุ่นใหม่ (YEC) เข้าร่วมสัมมนาคูปองนวัตกรรม ณ โรงแรม ไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ธีระชัย ศรีโพธิ์ชัย

สุวรรณา ทรัพย์มี

เฉลิมพล บุรินทร์พงษ์

ยงชัย โพธิครูประเสริฐ

รังสรรค์ มธุระเมธาวี

เมืองใต้นิวส์ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี ของปี 2559 ควันหลงของเทศกาลเปิดเทอมของ บรรดาลูกๆ หลานๆ หลายครอบครัว คงต้องเผชิญกับ “ค่าใช้จา่ ยด้านการศึกษา” ไม่วา่ จะเป็นค่าเล่าเรียน ค่ากวดวิชาตาม สถาบันต่างๆ จนกระทัง่ ถึงค่ากวดวิชากับท่านคุณครูประจำ�วิชาในโรงเรียนทีบ่ ตุ รหลานกำ�ลังศึกษาอยู่ ซึง่ หลายๆ ครอบครัว คงต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายในการศึกษากับสภาวะปัญหาเศรษฐกิจทางการเกษตรราคายางพาราที่ตกต่ำ� และกับสภาพของ ความแห้งแล้งที่ยาวนาน เสร็จสิ้นกันไปเรียบร้อยสำ�หรับการจัดงานมหากุศลเก็บศพไร้ญาติ (ล้างป่าช้า) ครั้งที่ 4 ของมูลนิธิมุทิตาจิตธรรม สถาน (เม่งเหมียวเซี่ยงตั้ว) จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเริ่มงานมาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมาจนมาสิ้นสุดงานเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา “จิระวัฒน์ (เสี่ยตั่วตี่) หวังมุทิตากุล” ประธานมูลนิธิมุทิตาจิตธรรมสถาน ฝากขอบคุณมายัง องค์กรต่างๆ และประชาชนที่มีจิตศรัทธาร่วมงานบุญในครั้งนี้ จนงานมหาบุญในครั้งนี้ได้สำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ในช่วงระยะเวลานี้ เซียนคอการเมืองสภากาแฟ คงเปล่งลมปากวิเคราะห์ เกีย่ วกับ “การลงประชามติรา่ งรัฐธรรมนูญ” โดยเฉพาะกกต. ได้แถลงแล้วว่า “แบบ Six yes Eight no” คือ 6 ข้อ ทำ�ได้ 8 ข้อ ทำ�ไม่ได้ โดย 6 ข้อ ที่ทำ�ได้ มี แนวทางต่อไปนี้ 1. การแสดงความเห็นของ “บุคคลโดยแท้จริง” 2. การแสดงความเห็นโดย “สุภาพ” 3. การแสดงความเห็นที่ “เป็นข้อมูลชัดเจน” 4. การแสดงความเห็นที่ “อ้างอิงผลการศึกษาวิจัย” 5. การแสดงความเห็นที่ “ผ่านสื่อโดยมีเหตุผลประกอบ” 6. การนำ�เข้าหรือการโพสต์ข้อความโดย “ไม่มีความเห็นเพิ่มเติมเข้าไป” ส่วน 8 ข้อ ที่ “ไม่ควรทำ�” 1. การสัมภาษณ์ “ผ่านสื่อ” 2. การนำ�เข้าข้อมูล “ผ่านเว็บไซต์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การกดแชร์ และการกดไลค์ ที่เป็นเท็จ” 3. การทำ�สัญลักษณ์ “รณรงค์” เชิญชวน 4. การเปิด “เวทีสัมมนา-อภิปราย” โดยไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรตามกฎหมายกำ�หนด 5. การ “ชักชวน” ใส่เสือ้ ติดป้าย เข็มกลัด ปักธง โชว์รบิ บิน้ อันเป็น “เครือ่ งหมายหรือแสดงสัญลักษณ์” รวมถึง “การแจกจ่ายและขายสิ่งของ” ในลักษณะ “รณรงค์” ทั่วไป 6. การแจกจ่ายเอกสารที่มี “ข้อความเป็นเท็จ” นำ�ไปสู่เหตุ “วุ่นวายและการชุมนุม” 7. การรายงาน “ข่าวของสื่อมวลชน” ซึ่งนำ�ไปสู่ “การปลุกระดม” 8. การ “รณรงค์” เพื่อให้เกิด “การคล้อยตาม” ความคิดเห็นของสังคม เพื่อออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ปลุก ระดมหรือขัดขวาง นี่คือ “กติกาแบบ Six yes Eight no” มาแวดวงคนของหน่วยงานปกครองท้องถิ่นอย่าง “องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี” อินทรีย์ บ้านดอน ต้องขอแสดงความยินดีกับ “คุณเฉลิมพล บุรินทร์พงษ์” ที่ได้รับตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการกองแผนและงบประมาณ คนหนุ่มไฟแรงต้องสนับสนุนและแสดงความยินดีไว้ ณ โอกาสนี้ มาอี ก แวดวงของ “หอการค้ า จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ” กั บ ข่ า วเกี่ ย วกั บ “สร้ า งที่ ทำ �การหอการค้ า จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี” เพราะด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นเวลา 32 ปี มีประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาถึง 10 ท่าน ด้วยกัน และมีความพยายามที่จะสร้างที่ทำ�การหอการค้าฯ มาโดยตลอด มาสมัยของ “คุณธีระชัย (เสี่ยจี๊ดแห่งบิ๊กโต) ศรีโพธิ์ชัย” ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีคนปัจจุบัน มอบหมายให้ “พงษ์ศักดิ์ (เสี่ยลก) โพธิครูประเสริฐ” รองประธานหอการค้าฯ และ “ไชยกฤต (เสี่ยเก้า) เอื้อกฤดาธิการ” เลขาธิการหอการค้าฯ ดำ�เนินการประสานงาน ปรึกษากับสุวรรณา ทรัพย์มี ธนารักษ์พื้นที่สุราษฎร์ธานี ได้ข้อสรุปแล้วว่า จะให้พื้นที่เช่า สร้างที่ทำ�การหอการค้าจังหวัด สุราษฎร์ธานี ถือว่าเป็นการฉลองครบรอบ 33 ปี หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างลงตัว หลังจากมีความพยายามมา แล้วหลายครั้งที่ผ่านมา มาข่าวคราววงการกีฬาฟุตบอลลีก ดิวิชั่น 2 ของทีมสุราษฎร์ รู้สเตอร์ (Rooster Suratthani) ผลงานในฤดูกาลเลก แรกในฤดูกาลนีต้ อ้ งถือว่า ผลงานเยีย่ ม รัง้ ตำ�แหน่งอันดับต้นๆ ของตาราง จะรักษาผลงานได้ตลอดฤดูกาลหรือไม่ แฟนคลับ คงต้องฝากการทำ�ทีมกับ “รังสรรค์ มธุระเมธาวี” ฝากข่าวจาก ยงชัย โพธิครูประเสริฐ ประธานชมรมตระกูล เกียง ลือ คู สุราษฎร์ธานี ขอเชิญ สมาชิกชมรมตระกูล เกียง ลือ คู สุราษฎร์ธานี ร่วมต้อนรับ นายธเนศ คูวินิชกุล นายกสมาคมสกุลคูสงเคราะห์และคณะ วันเสาร์ ที่ 9 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00 น. ร่วมไหว้ เกียง ไท่ กง ณ ศาลเจ้าแม่กวนอิม ถนนท่าทอง เวลา18.00 น. ร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ ประจำ�ปี ณ ห้องอาหารมณเฑียร ติดต่อสอบถาม โทร. 098-2677244 ข่าวฝากประชาสัมพันธ์อีกข่าวจากสุเมธ ประเสริฐศิริพงศ์ ประธานชมรมลูกหลานแต้จิ๋ว จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงสมาชิกชมรมลูกหลานแต้จวิ๋ สุราษฎร์ธานีทกุ ๆ ท่าน หลังจากว่างเว้นงานพบปะสังสรรค์มา 2 เดือน เพือ่ ให้สมาชิกชมรมฯ ได้มีโอกาสไปร่วมงานมหาบุญล้างป่าช้า ของมูลนิธิมุทิตาจิตธรรมสถาน ซึ่งงานดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว ทางชมรมฯ จึงขอ แจ้งสมาชิกทุกท่านว่า งานพบปะสังสรรค์ ประจำ�เดือนนี้จัดวันที่ 14 มิถุนายน ณ มูลนิธิธรรมนุรักษ์ เช่นเดิม


ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

5 นายอรชุน ธิวรรณลักษณ์

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สวัสดีครับทุกท่าน ฉบับนี้ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ บุคคลท่านหนึ่ง ที่จะมาเล่าเรื่องประชารัฐทั้ง 12 คณะว่ามี คณะอะไรบ้าง และใครเป็นหัวหน้าคณะ ทั้งของภาครัฐและ ภาคเอกชนในส่วนกลาง และท่านยังมาบอกถึงนโยบายบริษทั ประชารัฐ รักสามัคคี สุราษฎร์ธานีว่าเป็นอย่างไร ท่านนั้นคือ นายอรชุน ธิวรรณลักษณ์ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี “ประชารัฐ” เป็นวลีที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบ (คสช.) หยิบยกมากล่าวถึงอยูบ่ อ่ ยๆ โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพทิ กั ษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นแม่ทัพในการเชื่อมโยง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้มีการทำ�งานร่วม กัน โดยมีหัวหน้าคณะทำ�งานภาคเอกชนรายใหญ่ๆ ทำ�งาน ประกบคู่กับรัฐมนตรีในทุกคณะ รวม 24 คน 12 คณะ โดยมี นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ � กั ด (มหาชน) เอกชนรายใหญ่ ข อง ประเทศ ในคณะทำ�งานชุดที่ 5 ที่เรียกว่า คณะทำ�งานด้าน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ในฐานะหัวหน้า ทีมภาคเอกชน ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ได้รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล และแต่งตั้งคณะทำ�งานขับ เคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ (Public-Private Steering Committee) รวมทั้งคณะกรรมการบริหารและ คณะทำ�งาน จำ�นวน 12 ชุด โดยคณะทำ�งานการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย (พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา) เป็นหัวหน้าทีม ภาครัฐ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชน ซึ่งหัวหน้า ทีมภาครัฐ มุ่งเน้นให้กระทรวงมหาดไทยใช้กลไกประชารัฐ ในพื้นที่ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมทุก ระดับ บูรณาการความร่วมมือขับเคลือ่ นการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากในระดั บ พื้ น ที่ ยึ ด ความต้ อ งการของประชาชน ในพื้นที่ และน้อมนำ�หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้าง การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามเป้าหมายของรัฐบาล คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย 1. คณะทำ�งานด้านการยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพ หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี กานต์ ตระกูลฮุน จาก บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เป็นหัวหน้า ทีมภาคเอกชน 2. คณะทำ�งานด้านการดึงดูดการลงทุนและการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หัวหน้าทีมภาครัฐคือ รมว. คลัง ส่วนหัวหน้าทีมภาคเอกชน ชาติศริ ิ โสภณพนิช (บมจ.

ธนาคารกรุงเทพ) 3. คณะทำ�งานด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมและวิสาหกิจเริ่มต้น (SMEs & Start-up) หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมช.พาณิชย์ หัวหน้าทีมภาคเอกชน สุพนั ธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4. คณะทำ � งานด้ า นการยกระดั บ คุ ณ ภาพวิ ช าชี พ หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.ศึกษาธิการ หัวหน้าทีมภาค เอกชน รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) 5. คณะทำ�งานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและ ประชารัฐ หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.มหาดไทย หัวหน้าทีม ภาคเอกชน ฐาปน สิริวัฒนภักดี (บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ) 6. คณะทำ � งานด้ า นการส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วและ MICE หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา หัวหน้าทีมภาคเอกชน กลินท์ สารสิน (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) 7. คณะทำ�งานด้านการส่งเสริมการส่งออกและการ ลงทุนในต่างประเทศ หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.พาณิชย์ หัวหน้าทีมภาคเอกชน สนั่น อังอุบลกุล (บมจ.ศรีไทยซุป เปอร์แวร์) 8. คณะทำ�งานด้านพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรม แห่งอนาคต หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.อุตสาหกรรม หัวหน้า ทีมภาคเอกชน ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (บมจ.พีทที ี โกลบอล เคมิคอล) 9. คณะทำ�งานด้านการปรับแก้กฎหมายและกลไก ภาครั ฐ หั ว หน้ า ที ม ภาครั ฐ คื อ ดร.วิ ษ ณุ เครื อ งาม รองนายกฯ หัวหน้าทีมภาคเอกชน กานต์ ตระกูลฮุน (บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย) 10. คณะทำ�งานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.เกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าทีม ภาคเอกชน อิสระ ว่องกุศลกิจ (บจก.น้ำ�ตาลมิตรผล) 11. คณะทำ�งานด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนา ผู้นำ�หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.ศึกษาธิการ หัวหน้าทีมภาค เอกชน ศุภชัย เจียรวนนท์ (บมจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์) 12. คณะทำ�งานด้านการสร้างรายได้และการกระตุน้ การ ใช้จ่ายของประเทศ หัวหน้าทีมภาครัฐ คือ รมว.คลัง หัวหน้า ทีมภาคเอกชน ทศ จิราธิวัฒน์ (บจก.กลุ่มเซ็นทรัล) ในส่ ว นของจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ได้ ขั บ เคลื่ อ น เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ โดยการเข้ารับมอบนโยบาย และแนวทางการดำ � เนิ น งานสานพลั ง ประชารั ฐ นำ � โดย ท่านวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอรชุน ธิ ว รรณลั ก ษณ์ พั ฒ นาการจั ง หวั ด นายพงษ์ ศั ก ดิ์

โพธิครูประเสริฐ รองประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในนามภาคเอกชน และ นายเอกลั ก ษณ์ จั น ทร์ อุ ด ม นายกสมาคมเครือข่ายสวัสดิการชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้แทนภาคประชาชน เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559 ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำ�เนียบรัฐบาล โดยมีนายก รัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้ได้นำ�มาขับเคลื่อนในส่วนของ จังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อไป เป้าหมายสำ�คัญของประชารัฐ คือ การสร้างรายได้ ให้ ชุ ม ชน สร้ า งชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง และมี ค วามสุ ข อย่ า งยั่ ง ยื น ดำ�เนินการในการส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน ตัง้ แต่ตน้ ทางถึง ปลายทาง ทำ�ให้ชุมชนเข้าถึงปัจจัยปลายทางใน 3 เรื่อง ได้แก่ การเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่อง เทีย่ วชุมชน โดยใช้กระบวนการให้มกี ารเข้าถึงปัจจัยการผลิต การสร้างองค์ความรู้ การตลาด การสื่อสารเพื่อการรับรู้ เพื่อ ความยั่งยืน และการบริหารจัดการ โดยนโยบายจะให้มีการ จัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) และประชา รัฐรักสามัคคีของทุกจังหวัด ในรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) การดำ � เนิ น งานของวิ ส าหกิ จ เพื่ อ สั ง คม (Social Enterprise) มีเป้าหมายเพื่อสังคมไม่ใช่เพื่อกำ�ไรสูงสุดเป็น รูปแบบธุรกิจทีร่ บั รายได้หลักมาจากการขายสินค้าและบริการ ไม่ใช่เงินจากรัฐหรือเงินบริจาค กำ�ไรต้องนำ�ไปขยายผล ไม่ใช่ เพื่อปันผลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว บริหารจัดการตามหลัก ธรรมาภิบาลและจดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท โดยการ ดำ�เนินการในระยะที่ 1 เริ่มจาก 5 จังหวัด ใน 4 ภูมิภาคได้แก่ จังหวัดภูเก็ต เพชรบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรรี มั ย์ ทัง้ นีไ้ ด้ กำ�หนดที่จะดำ�เนินการให้ครบทั่วทั้ง 76 จังหวัดต่อไป ฉบับนี้ต้องขอขอบคุณ ท่านอรชุน ธิวรรณลักษณ์ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทีไ่ ด้ให้โอกาสผมและทีมงาน เมืองใต้นิวส์ สัมภาษณ์ท่าน และฉบับหน้าทางทีมงานจะนำ� บุคคลที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ สวัสดีครับ


6

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

บอกเก้า

เล่าสิบ

โดย.....เลขาเก้า

สวัสดีครับ คอลัมน์บอกเก้าเล่าสิบก็ได้มาพบกันอีก สำ � หรั บ เดื อ นนี้ จ ะนำ � เรื่ อ งต่ า งๆ ที่ ท างหอการค้ า จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ได้ไปทำ�มาซึง่ มีมากมาย แต่ทางบอกเก้าเล่าสิบ จะนำ�มาเฉพาะบางเรื่องครับ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม แก้วสมุย อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการประชุม ร่วมกันของสถาบันภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือเรียกย่อว่า กกร.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัด สุราษฎร์ธานี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชมรม ธนาคารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ตกลงให้มีการจัดประชุม ร่วมกันโดยหมุนเวียนเป็นประธานในการจัดประชุม ซึ่ง จะจั ด ในทุ ก วั น ที่ 15 ของเดื อ นคี่ โดยครั้ ง ที่ 1 และ 2 หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานจัดประชุมใน เดือนพฤศจิกายน และเดือนมกราคม ครั้งที่ 3 และ 4 สภา อุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานจัดประชุม ในเดือนมีนาคม และเดือนพฤษภาคม และครั้งที่ 5 และ 6 ชมรมธนาคารจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานจัดประชุมใน เดือนกรกฎาคม และเดือนกันยายน ในครั้ ง นี้ เ ป็ น ครั้ ง ที่ 4 สภาอุ ต สาหกรรมจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการจัดประชุม ซึ่งมีวาระการ ประชุมต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ ก่อนการประชุมนายธีระชัย ศรีโพธิ์ชัย ประธานหอการค้า จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ได้ เชิ ญ เกษตรและสหกรณ์ จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี คณะกรรมการสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ คณะกรรมการชมรมธนาคารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มาร่วม เป็นสักขีพยานในการบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือที่ ทำ�ขึ้นระหว่างหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับ สหกรณ์ การเกษตรบ้านนาสาร การลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยความร่ ว มมื อ โครงการ 1 หอการค้า 1 สหกรณ์ โดยมีนายธีระชัย ศรีโพธิช์ ยั ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นายพีรเดช ลำ�พูน รองประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จำ�กัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ โครงการฉบับดังกล่าว นายเกษม สมัยแก้ว เกษตรและ สหกรณ์จงั หวัดสุราษฎร์ธานี นายไชยกฤต เอือ้ กฤดาธิการ เลขาธิ ก ารหอการค้ า จั งหวัดสุร าษฎร์ธานี นายสุข สัน ต์ ภู่วัฒนา ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จำ�กัด นายนันทวัฒน์ แก้วอำ�ดี สหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นพยาน การลงนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยความร่ ว มมื อ โครงการ 1 หอการค้า 1 สหกรณ์การเกษตร ที่ทำ�ขึ้นมี วัตถุประสงค์ในการดำ�เนินการมี 2 ข้อดังนี้ 1. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดกล้วยหอมทอง กล้วย แปรรูป และเงาะโรงเรียนบ้านนาสารของสหกรณ์ 2. เพือ่ พัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์กล้วยหอมทอง กล้วยแปรรูป และเงาะโรงเรียนบ้านนาสารของสหกรณ์ กรอบแนวทางความร่วมมือมี 5 ข้อดังนี้ 1. ประชุมหารือร่วมกันระหว่างหอการค้าและสหกรณ์ เพื่ อ กำ � หนดแผนการดำ � เนิ น การเพิ่ ม ช่ อ งทางการตลาด และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 2. ประสานผูเ้ ชีย่ วชาญในการออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์สนิ ค้า กล้วยหอมทอง และกล้วยแปรรูป 3. ประชาสัมพันธ์สนิ ค้าของสหกรณ์ให้หน่วยงานทีเ่ ป็น เครือข่ายของหอการค้ารับรู้

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

MOU 1 หอการค้า 1 สหกรณ์

4. ประสานลู่ทางการตลาดกับเครือข่ายของหอการค้า เพื่อจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 5. ประสานร่ ว มกั บ บริ ษั ท ประชารั ฐ รั ก สามั ค คี สุ ร าษฎร์ ธ านี จำ � กั ด เพื่ อ ส่ ง เสริ ม สิ น ค้ า กล้ ว ยหอมทอง กล้วยแปรรูป และเงาะโรงเรียนบ้านนาสาร

หลังจากลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ โครงการ 1 หอการค้า 1 สหกรณ์การเกษตร เรียบร้อย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี หอการค้าจังหวัด สุราษฎร์ธานี ชมรมธนาคารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุม กกร.จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ในการประชุ ม ครั้ ง นี้ สภา อุ ต สาหกรรม ประกอบด้ ว ย 1. นายดุ สิ ต น่ ว มนวล

เลขาธิการ รับมอบจากประธาน 2. นายเพชร ศรีหล่มสัก รองประธาน 3. นายธนินท์รัฐ เมธีวัชรรัตน์ รองประธาน 4. นางสาวปิยนุช เพชรกลับ ผู้จัดการ หอการค้ า จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ประกอบด้ ว ย 1. นายธีระชัย ศรีโพธิ์ชัย ประธาน 2. นายไชยกฤต เอือ้ กฤดาธิการ เลขาธิการ 3. นายพงษ์ศกั ดิ์ โพธิค์ รูประเสริฐ รองประธาน 4. นายโชคชัย จันทร์สุวรรณ รองประธาน 5. นายวัชรพล ถาวรพงศ์สถิต ผู้จัดการ ชมรมธนาคารจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ประกอบด้ ว ย 1. นายพงศ์พันธ์ อริยสุนทร ประธาน 2. นายสุรินทร์ สุนทรไพบูลณ์กุล รองประธาน เรื่องที่พิจารณามีดังนี้ 1. การจัดทำ�ผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย กกร.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องการสอบถามความคืบหน้าของ การทำ�ผังเมืองรวม ในที่ประชุมให้ทำ�หนังสือถึงสำ�นักงาน โยธาธิการและผังเมืองถึงความคืบหน้า 2. ปัญหารถแท็กซี่มี 3 ประเด็น ดังนี้ 2.1 การนำ�รถส่วนตัวมาใช้บริการรับส่งผู้โดยสาร แทนรถแท็กซี่มิเตอร์ 2.2 การไม่ตรงต่อเวลา ทำ�ให้ผู้โดยสารไม่สามารถ เดินทางได้ตามเวลาที่กำ�หนด 2.3 ควรให้รถแท็กซี่ มีมาตรการกำ�หนดราคาที่ ชัดเจนและติดป้ายบอกให้ผู้โดยสารรับทราบ ในที่ประชุม ประสานไปยังสำ�นักงานขนส่งเพื่อชี้แจงในประเด็นร้องเรียน ดังกล่าว 3. การปรับปรุงคลองบางใหญ่ 4. การหลีกเลี่ยงเส้นทางของรถขนแร่ ถนนสุราษฎร์ นาสาร 5. การขนส่ง (รถไฟรางคู่ เส้นทางสุราษฎร์-แหลมฉบัง) ซึ่งทั้ง 5 เรื่อง ถ้าประเด็นไหนได้รับความชัดเจนก็จะแจ้ง ให้ 5 คณะกรรมการ กกร.จังหวัดสุราษฎร์ธานี รับทราบ แต่ถ้าประเด็นไหนไม่ชัดเจน คณะกรรมการ กกร.จังหวัด สุราษฎร์ธานี จะนำ�เสนอ กรอ.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพือ่ ผลักดัน ต่อไป สำ�หรับฉบับนี้คอลัมน์บอกเก้าเล่าสิบ ก็ได้นำ�เรื่องราว ต่างๆ ของหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาให้ทุกท่านได้ รับทราบ ฉบับหน้ามีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจของหอการค้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางผมจะนำ�มาบอกเก้าเล่าสิบให้ท่าน ได้อ่านกัน ขอให้ทุกท่านโชคดี


ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

7

ตารางการแข่งขัน AIS ฟุตซอลไทยแลนด์ ลีก 2016 ของทีมสุราษฎร์ธานี ฟุตซอล ฤดูกาลแรก

+ - รักคณิตศาสตร์ x -


8

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

หลากเรื่อง เมืองคนดี โดย..ส.ท.ลก พงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ

เสร็จสิ้นลงไปแล้วอย่างยิ่งใหญ่ สำ�หรับงานมหากุศล เก็บศพไร้ญาติ (ล้างป่าช้า) ครั้งที่ 4 ของมูลนิธิมุทิตาจิต ธรรมสถาน ที่ จั ด ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ 14 มี น าคม ถึ ง 16 พฤษภาคม 2559 รวม 64 วัน ผมเองเข้าออกงานนีเ้ ป็นช่วงๆ เท่าที่มีเวลาอยู่สุราษฎร์ธานี ผมเองได้เห็นตั้งแต่เปิดงานวันแรก ที่มีคนมาร่วมงาน จากทั่วประเทศ แล้วหายไปสักพัก กลับมาร่วมช่วงปิดงาน ได้ยนิ ได้ฟงั เสียงคนทัว่ ไป และเสียงของคนทำ�งานตามประสา คนหาข่าว งานนี้ได้รับคำ�ชมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคุณจิระวัฒน์ หวังมุทติ ากุล ประธานมูลนิธิ มุทติ าจิตธรรมสถาน ทีท่ มุ่ เทแรงกายแรงใจและยังบริจาคเงิน อีกกว่า 1 ล้านบาท เพื่องานนี้ ผมจึงไม่แปลกใจว่าทำ�ไม งานนี้จึงสำ�เร็จตามความประสงค์ เพราะได้ผู้นำ�ที่ดี ทำ�ให้ผู้ ที่มาช่วยงานในฝ่ายต่างๆ จึงทำ�กันเต็มที่ ทีจ่ ริงแล้วกว่าจะถึงวันงาน ผมก็เห็นท่านประธานเข้ามา ที่วัดไทรเพื่อเตรียมสถานที่ เพราะต้องสร้างปะรำ�พิธีและจัด เตรียมงานต่างๆ มากมาย ถ้าใครเคยเห็นวัดไทรก่อนจัดงาน จะเห็ น ได้ ว่ า หลั ง จั ด งานเสร็ จ วั ด ไทรเปลี่ ย นโฉมไป จนจำ�ไม่ได้เลย ผมเองวิ่งเล่นที่วัดไทรมาตั้งแต่เด็ก จนมาบวชที่วัดนี้ แล้วยังเข้ามาช่วยงานต่างๆ ในฐานะศิษย์วัดไทร ผมเอง ยอมรั บ เลยว่ า ยั ง ทำ � ให้ วั ด ได้ ไ ม่ ถึ ง เสี้ ย วที่ ท่ า นประธาน จิระวัฒน์ มาทำ�ให้วัดในครั้งนี้ ผมเองมีส่วนเล็กน้อยใน การประสานงานต่างๆ ระหว่างวัดกับมูลนิธิ

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

บทสรุปงานมหากุศล เก็บศพไร้ญาติ ช่วยงานทุกคนมีความสุขที่ได้มาร่วมทำ�บุญในครั้งนี้ แม้จะ ไม่ได้บริจาคเป็นเงินก็ตาม ส่วนจำ�นวนศพทีม่ กี ารเก็บในครัง้ นี้ เป็นผูช้ าย 706 ศพ ผู้หญิง 315 ศพ เด็ก 110 ศพ รวม 1,131 ศพ และยังมีการ อัญเชิญวิญญาณ อีก 59,116 ดวง แยกเป็นชาย 19,066 ดวง หญิง 17,897 ดวง และ เด็ก 22,153 ดวง ผมเองเสียดายวันทีจ่ ดั พิธมี หาประชุมเพลิงอัฐผิ ไู้ ร้ญาติ ไม่ได้รว่ มงาน แต่กอ่ นหน้านัน้ ผมได้ดกู ารก่อสร้างเตาเผาและ เห็นการเรียงอัฐิแบบใกล้ชิด เห็นแล้วทึ่งในสิ่งที่กรรมการได้ ดำ�เนินการ และผมได้ตามไปดูสุสานมุทิตานุสรณ์ ที่ใช้เป็นที่ บรรจุอัฐิธาตุแล้วสร้างได้สวยงามจริงๆ ครับ ในความคิดของผมทีไ่ ด้เห็นงาน ตัง้ แต่เตรียมการ จนถึง ช่วงดำ�เนินงานและมาถึงช่วงงานเสร็จสิ้น ผมเองได้พบคน จากที่ต่างๆ มากมาย ได้มีโอกาสพูดคุยกับคนจำ�นวนมาก ทั้งคนที่มาเปิดงาน คนที่มาทำ�งาน คนที่มาบริจาคเงินและ สิ่งของ รวมทั้งคนทำ�งานทุกฝ่าย ผมสรุปได้วา่ งานมหากุศลครัง้ นีส้ �ำ เร็จลงตามเป้าหมาย ที่วางไว้ทุกประการ สมกับที่รอคอยกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี และไม่ตอ้ งรออีก 10 ปี กว่าจะถึงงานมหากุศลเช่นนี้ เพราะว่า แต่บุคคลที่มีส่วนสำ�คัญในการตัดสินใจเกือบทั้งหมด ปีหน้า ในวันที่ 8 เมษายน 2560 มูลนิธิกุศลศรัทธาจะจัดงาน อยู่ที่ศิษย์วัดไทรรุ่นพี่ผม นั่นคือ คุณธีระกิจ หวังมุทิตากุล ล้างป่าช้า ดังนั้นใครที่พลาดงานนี้อีกไม่นานก็ไปร่วมทำ�บุญ นายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี และอดีตประธานมูลนิธิ กันได้อีก มุทิตาจิต เมื่อท่านมีส่วนเกี่ยวพันทั้ง 3 ส่วน ทำ�ให้มองงาน ได้ทะลุปรุโปร่ง จึงทำ�ให้งานนี้สำ�เร็จลงอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งก่อนหน้านั้น นายกเป้าเคยสร้างบุญใหญ่ด้วยการ สร้างเจ้าแม่กวนอิม จนทำ�ให้ผลบุญส่งให้ชนะเลือกตัง้ มาเป็น นายกเทศมนตรี มาครั้งนี้พอคิดจะทำ�งานล้างป่าช้า ขณะที่ วาระดำ�รงตำ�แหน่งนายกใกล้จะหมดลง จูๆ่ ก็มคี �ำ สัง่ ให้ปฏิบตั ิ หน้าที่นายกเทศมนตรีต่อนี่ก็อยู่มาร่วมปีแล้ว ยิง่ นายกเป้าถือศีลกินเจตลอดงานล้างป่าช้าครัง้ นี้ เกือบ 70 วัน ผลบุญคงยิง่ หนุนส่งทำ�ให้คแู่ ข่งทางการเมืองทีเ่ ป็นเสีย่ ใหญ่ทำ�ถ้าว่าจะไม่ลงแข่งซะแล้ว ส่วนคู่ปรับเก่าก็ไม่อยากจะ สู้อีก เพราะดูแล้วไม่น่าจะเอาชนะได้ ดีไม่ดีถ้ามีเลือกตั้งอาจ จะไม่มีคู่แข่งก็ได้ งานนี้แม้ผมดูกระดานรายชื่อผู้บริจาคเงินแล้ว หาชื่อ นายกเป้าไม่เจอ แต่มีชื่อนายบุ่นปั้ง แซ่เฮ้ง บริจาคเงิน 2,100,000 บาท ถ้าใครทีร่ จู้ กั ประวัตมิ ลู นิธคิ งจะทราบว่าท่าน เป็นผู้ก่อตั้งและยังเป็นประธานมูลนิธิอีกด้วย ท่านยังเป็นพี่ชายของประธานมูลนิธิคนปัจจุบัน และ ที่สำ�คัญท่านเป็นบิดาของนายกเป้า ผมจึงไม่แปลกใจที่หา ชื่ อ นายกเป้ า ไม่ เจอ ส่ ว นอี ก ครอบครั ว หนึ่ ง ที่ บ ริ จ าคเงิ น 1 ล้านบาท คือ ครอบครัวยอดพินจิ ซึง่ เกีย่ วดองเป็นเครือญาติ กันด้วย หลายท่านคงรู้จักเสี่ยหนุ่ม คุณเอกพจน์ ยอดพินิจ รองนายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี นั่นเองครับ ผมเองได้ยินมาว่า ยอดบริจาคที่เป็นเงินได้มากถึง 23 ล้านบาท แต่ถา้ รวมกับคนทีม่ าบริจาคของ เช่น เลขาเก้า คุณ ไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ ที่บริจาคขนมเปี๊ยะที่อร่อยมาก ตลอดงาน หรือครอบครัวของผมที่ร่วมบริจาคเส้นก๋วยเตี๋ยว ตลอดงานเช่นกัน แล้วยังมีท่านอื่นที่บริจาคของต่างๆ อีก ที่ผมไม่ทราบ แล้วยังมีคนที่มาช่วยงานต่างๆ โดยไม่รับค่าตอบแทน ผม ยังเห็นพนักงานเทศบาลหลายท่าน ที่ซื้อน้ำ�มาให้แล้วยังมา ช่วยทำ�ความสะอาดวัดตลอดงาน ผมได้พูดคุยกับคนที่มา


ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

พลังประชาชน สุราษฎร์ธานี

โดย.. ฐณะวัฒน์ คูเศรษฐวัฒน์ ปีใหม่สากล ปีใหม่จนี และปีใหม่ไทย ผ่านพ้นกันไปจน ถึงวสันตฤดู เข้าสูก่ ารเพาะปลูกทำ�มาหากินของพีน่ อ้ งชาวไร่ ชาวนา แต่ปนี หี้ ลายทีน่ �้ำ ท่าไม่ดี แล้งหนักจนผลหมากรากไม้ ที่เคยปลูกไว้ยืนต้นตายกันมาก ทำ�ให้ขวัญและกำ�ลังใจของ ชาวไร่ชาวสวนหดหายกันไปตามๆ กัน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็น เครือ่ งยึดเหนีย่ วจิตใจให้กบั ใครหลายๆ ได้พงึ่ พาสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ คือ หลวงพ่อพัฒน์ นารโท แห่งวัดพัฒนาราม พระอาราม หลวง สวัสดีครับท่านผู้อ่านเมืองใต้นิวส์ทุกท่าน ฉบับนี้ผมยัง คงนำ�เสนอเรือ่ งราวทีเ่ กีย่ วกับโครงการ “ไหว้สงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ๕ ศาลเจ้า ๙ วัด Plus ๔” ที่ผมได้นำ�เสนอมาอย่างต่อเนื่อง เกริ่นไว้ถึงวัดพัฒนาราม พระอารามหลวง แล้ว ก็อย่าให้เสีย พื้นที่ ต้องรีบว่ากันเลย วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง หรือทีช่ าวบ้านเรียกกัน ติดปากว่า “วัดใหม่” เป็นหนึ่งใน 9 วัด ในโครงการ “ไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๕ ศาลเจ้า ๙ วัด Plus ๔” ที่หลายหน่วยงาน ได้ร่วมกันจัดขึ้น วัดแห่งนี้มีอดีตสมภารเจ้า คือ หลวงพ่อพัฒน์ นารโท เป็นผู้ริเริ่มก่อร่างสร้างวัดขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2439 มาจนถึง พ.ศ. 2559 ปัจจุบันนี้ วัดแห่งนี้อายุรวม 120 ปี แต่เดิมวัดแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ถือน้ำ�พระพิพัฒน์สัตยา ของทางราชการ เพือ่ ให้เจ้าครองเมืองได้กระทำ�การสาบานตน ว่าจะทำ�หน้าที่ในการปกครองให้ดี เกิดประโยชน์ต่อแผ่นดิน โดยกระทำ�ต่อหน้าหลวงพ่อหน้าโรง องค์พระประธานของ โบสถ์ ทีเ่ ป็นพระพุทธรูปปางมารวิชยั ฉลองพระองค์ทรงเครือ่ ง ขัตติยราชแบบกษัตริย์ ตัง้ แต่วดั เริม่ สร้างเสร็จ มาจนถึง พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้ยกเลิกพิธีการ ดังกล่าวไป รวมถึงเคยเป็นสถานทีป่ ระกอบพิธกี รรมสำ�คัญๆ ของสุราษฎร์ธานีอีกด้วย โบสถ์ ข องวั ด ใหม่ นี้ เป็ น โบสถ์ ห ลั ง เดี ย วในจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ทีม่ รี ปู ยักษ์และแขกยามยืนเฝ้าประตูโบสถ์อย่าง ที่เห็นในปัจจุบัน อยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร ตามที่ ได้เคยขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ สำ�หรับหลวงพ่อพัฒน์ นารโท นั้น ท่านบวชเรียนมา ก่อนที่วัดพระโยค แล้วจึงออกมาปฎิบัติธรรมบริเวณที่ดิน ป่าช้าของวัดพระโยค แล้วจึงมีการก่อรากสร้างฐาน กุฏิ อาคารต่ า งๆ ขึ้ น มาเป็ น ลำ � ดั บ สร้ า งความศรั ท ธาให้ แ ก่ ศิษยานุศิษย์เป็นจำ�นวนมาก ตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อพัฒน์ท่านยังมีชีวิตอยู่ จะมีการ แสดงมุทิตาจิต รดน้ำ�หลวงพ่อพัฒน์ เป็นประจำ�ทุกปี และ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพลง ท่านได้ให้ช่างปั้น มาปั้นองค์ หลวงพ่อ เพือ่ นำ�ไปทำ�เป็นรูปหล่อ เพือ่ ให้ศษิ ยานุศษิ ย์เคารพ สักการะกัน ดังที่ตั้งอยู่บนมณฑปในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ท่านมรณภาพลงในท่านัง่ สมาธิ มี การบรรจุศพของท่านไว้จนปี พ.ศ. 2491 เจ้าอาวาสในขณะนัน้

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

9

“หลวงพ่อพัฒน์ นารโท ศรัทธาที่ไม่เคยเลือนหาย”

หลวงพ่อหน้าโรง นิมิตว่า หลวงพ่อพัฒน์ แจ้งว่ามีแมลงมารบกวนสังขารท่าน ขอให้ทำ�การย้ายที่เก็บศพใหม่ จึงได้มีการเปิดโลงที่บรรจุ สังขารท่านไว้ ปรากฎว่า สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย แม้ว่า ท่านมรณภาพลงไปหลายปีแล้วก็ตาม จึงได้น�ำ สังขารของท่านมาไว้ใต้รปู หล่อบนมณฑป แล้ว แต่สงิ่ ทีเ่ ราได้เห็น คือ พลังของชาวบ้าน พลังของประชาชนที่ ติดกระจกใสไว้ให้ญาติโยมได้มองเห็น แต่ด้วยศรัทธาอันแรง ยิ่งใหญ่ ที่มีต่อหลวงพ่อพัฒน์ นารโท กล้าและความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพัฒน์ เมื่อ ผู้คนที่บนบาน ขอบารมีหลวงพ่อแล้วประสบความสำ�เร็จ ต่างก็น�ำ ทองคำ�เปลวมาติดทีอ่ งค์รปู หล่อหลวงพ่อ พร้อมฐาน และกระจกที่เคยมองเห็นสังขารของหลวงพ่อพัฒน์มากขึ้น มากขึน้ จนปัจจุบนั นี้ ไม่สามารถมองเห็นสังขารของท่านผ่าน กระจกบานนั้นได้แล้ว และเมื่อเข้าสู่วันขึ้น 7 ค่ำ� เดือน 5 ทางวัดพัฒนาราม ก็จะจัดงานประเพณี สรงน้ำ�รูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ นารโท ขึ้นเป็นประจำ�ทุกปี ตั้งแต่หลวงพ่อมรณภาพลง เพื่อเป็นการ แสดงมุทิตาจิต ต่อหลวงพ่อพัฒน์ เสมือนในสมัยที่หลวงพ่อ ยังมีชีวิตอยู่ พอเข้ามามาจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 5 ก็จะ เป็นวันสรงน้ำ�รูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ จะมีการสวดมนต์ตาม ธรรมเนียมปฏิบัติ และพระสงฆ์ของวัดจะได้รับบิณฑบาต น้ำ � อบ น้ำ � หอม จากชาวบ้ า น เพื่ อ นำ � ไปสรงน้ำ � รู ป หล่ อ หลวงพ่อพัฒน์ นารโท ก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นจะ เปิดให้ชาวบ้าน ได้สรงนำ�รูปหล่อหลวงพ่อเป็นลำ�ดับต่อมา เรือ่ ยไปจนถึงเวลาเทีย่ งคืน ก็จะปิดการสรงน้�ำ และมีการห่มผ้า รูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ นารโท ดังที่เห็นเป็นปัจจุบัน ความเชือ่ ความศรัทธาต่อหลวงพ่อพัฒน์ นารโท มีมา ตัง้ แต่รนุ่ ปู่ ย่า ตา ทวด ถ่ายทอดผ่านคนรุน่ หนึง่ ไปอีกรุน่ หนึง่


10

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

แนวทางการดำ�เนินงานสานพลังประชารัฐเพื่อจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี

ตามที่ ค ณะทำ � งานการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ฐานราก และประชารัฐ ซึ่งมี พลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และมี นายฐาปน สิ ริ วั ฒ นภั ก ดี เป็ น หั ว หน้ า ที ม ภาคเอกชน ได้รายงานความคืบหน้าการดำ�เนินงานการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากและประชารัฐต่อนายกรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ 18 เมษายน 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นั้น เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะทำ�งานการพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากและประชารัฐส่วนกลาง จึงได้กำ�หนดกิจกรรมการ มอบนโยบายและแนวทางการดำ�เนินงานสานพลังประชารัฐ ในวันศุกร์ ที่ 29 เมษายน 2559 เวลา 07.30 น. ณ ตึกสันติ ไมตรีหลังนอก ทำ�เนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็น ประธาน การประชุมครัง้ นี้ มีตวั แทนแต่ละจังหวัดเข้าร่วมประชุม จำ�นวน 4 คน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำ�โดย นายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายอรชุน ธิ ว รรณลั ก ษณ์ พั ฒ นาการจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี นาย เอกลักษณ์ จันทร์อุดม นายกสมาคมเครือข่ายกองทุน สวัสดิการชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ รองประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าประชุมแทน นายธีระชัย ศรีโพธิ์ชัย ประธานหอการค้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศ บรรยากาศทีต่ กึ สันติไมตรีเป็นไปอย่างคึกคักตัง้ แต่เช้า ตัวแทนจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ลงทะเบียนรับเอกสาร

จากนั้นจึงเยี่ยมชมนิทรรศการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี... (จังหวัด) จำ�กัด ซึ่งได้จัดตั้งแล้ว 5 จังหวัด คือ ภูเก็ต ที่ จดทะเบี ย นเป็ น บริ ษั ท เรี ย บร้ อ ยแล้ ว เป็ น แห่ ง แรกของ ประเทศไทย ส่วนอีก 4 จังหวัด เพชรบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ ได้ลงนามจัดตั้งบริษัทในวันนี้ โดยมีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย และ คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นสักขีพยาน ซึ่งนิทรรศการของทั้ง 5 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นการ แนะนำ�แหล่งท่องเทีย่ ว และนำ�ผลิตภัณฑ์ส�ำ คัญๆ ของจังหวัด มาจัดแสดง แต่ละจังหวัดได้จัดนิทรรศการอย่างสวยงาม บริเวณโถงส่วนกลางที่เป็นส่วนเชื่อมต่อของตึกสันติไมตรี หลังในกับตึกสันติไมตรีหลังนอก เวลา 09.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี เดินทางมาถึงตึกสันติไมตรีหลังนอก ที่ใช้เป็นห้อง ประชุม ซึ่งจัดที่นั่งเป็น 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นของผู้ว่าราชการ จังหวัดและพัฒนาชุมชน อีกด้านเป็นของหอการค้าจังหวัด และภาคประชาสังคมจังหวัด โดยเรียงลำ�ดับตามตัวอักษร กิจกรรมเริ่มด้วยการฉาย VDO presentation การ ขับเคลื่อนพลังประชารัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และ การจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) จากนั้น นายฐาปน สิรวิ ฒ ั นภักดี หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำ�งาน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ กล่าวรายงาน ความเป็นมา ต่อมาเป็นการลงนามการจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรัก สามัคคีประเทศไทย จำ�กัด โดยมีผู้ประกอบการภาคเอกชน

นำ�โดย นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานหอการค้าไทย ตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วม เป็นสักขีพยาน หลังจากถ่ายภาพร่วมกันแล้ว นายกรัฐมนตรี ได้มอบ นโยบายและแนวทางการดำ�เนินการสานพลังประชารัฐ เพื่อ ขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับพื้นที่ แก่คณะ กรรมการ ผูว้ า่ ราชการจังหวัด และภาคประชาชน ภาคประชา สังคม จากทุกจังหวัดของประเทศไทย เมื่อให้นโยบายเสร็จ นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมนิทรรศการของทั้ง 5 จังหวัด จากนั้ น จึ ง เป็ น การชี้ แ จงแนวทางการขั บ เคลื่ อ น เศรษฐกิ จ ฐานรากและประชารั ฐ โดย พลเอกอนุ พ งษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง การขับเคลื่อน Social Enterprise นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย พูดถึงการอำ�นวยการและประสาน พลังประชารัฐส่วนกลาง และจังหวัด และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี ได้อธิบายโครงสร้าง รู ป แบบการบริ ห ารจั ด การบริ ษั ท ประชารั ฐ รั ก สามั ค คี ประเทศไทย จำ�กัด และ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี... (จังหวัด) จำ�กัด ว่าเพื่อให้สามารถลงมือปฏิบัติได้อย่างถูก ต้องและแม่นยำ� ทั้งในระดับพื้นที่จังหวัด และระดับประเทศ เพือ่ ไปสูเ่ ป้าหมายสูงสุด นัน่ ก็คอื การอยูด่ กี นิ ดีของประชาชน เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขและมีรายได้ เพิ่มขึ้น ภาคบ่ า ย เป็ น การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร โดยปลั ด กระทรวงมหาดไทย กล่าวเปิดงาน จากนั้นจึงเป็นการเสนอ ตัวอย่างการจัดตั้งบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำ�กัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายฐาปน สิริวัฒนภักดี และตัวแทนจังหวัดภูเก็ต จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มทีมจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม จังหวัด เพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดตั้ง บริษัท ประชา รัฐรักสามัคคี...(จังหวัด) จำ�กัด โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ 6 ประกอบด้วย จังหวัด ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี รวม 4 จังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร เป็นตัวแทนของกลุ่มจังหวัดที่ต้อง ดำ�เนินการจัดตั้งบริษัทให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2559 ส่วนจังหวัดที่เหลือให้ดำ�เนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ธันวาคม 2559 และสุดท้ายของการประชุมครั้งนี้เป็นการนำ�เสนอโดย ตัวแทนกลุ่มจังหวัด 3 จังหวัด จากทั้งหมด 18 กลุ่มจังหวัด หลังจากนำ�เสนอเสร็จปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวสรุป ปิดงาน แล้วแยกย้ายกันเดินทางกลับเพื่อไปดำ�เนินงานสาน พลังประชารัฐจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีของจังหวัด ตนเองต่อไป


เมืองใต้นิวส์

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

กำ�หนดการ

บำ�เพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระสุธรรมาธิบดี (แสง ชุตินฺธโร)

อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชา ณ วัดธรรมบูชา อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ ๒๓ - ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙

เวลา ๑๔.๐๐ น. เวลา ๑๖.๓๐ น. เวลา ๑๙.๐๐ น.

-

พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดมาติกา-บังสุกุล พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พระสงฆ์ ๔ รูป สวดธรรมคาถา สวดพระอภิธรรม

วันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙

เวลา เวลา เวลา เวลา

๑๐.๓๐ น. ๑๑.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. ๑๙.๐๐ น.

-

พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ-สามเณร ๒๐๐ รูป พระสงฆ์ ๑๐๓ รูป สวดมาติกา-บังสุกุล แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พระสงฆ์ ๔ รูป สวดธรรมคาถา สวดพระอภิธรรม

วันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙

เวลา เวลา เวลา เวลา เวลา

๑๐.๓๐ น. ๑๑.๐๐ น. ๑๔.๐๐ น. ๑๖.๐๐ น. ๑๗.๐๐ น.

- พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ - ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ-สามเณร ๓๐๐ รูป - พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดมาติกา-บังสุกุล - เชิญโกศศพขึ้นรถวอจัตุรมุขจากศาลากรรมฐาน วัดธรรมบูชา ไปยังเมรุวัดธรรมบูชา - หยุดรถเชิญ โกศศพแห่เวียนเมรุแล้วเชิญขึ้นตั้งบนจิตกาธาน - มอบทุนการศึกษา - ทอดผ้าไตร (ขอรับพระราชทานผ้าไตร) - พระราชทานเพลิงศพ - พระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระอภิธรรม

วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙

เวลา เวลา เวลา เวลา เวลา

๐๗.๐๐ น. ๐๘.๐๐ น. ๑๐.๓๐ น. ๑๑.๐๐ น. ๑๒.๓๐ น.

-

พิธีสามหาบในการเก็บอัฐิ เชิญอัฐิมายังศาลากรรมฐาน วัดธรรมบูชา พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ฉลองอัฐิ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ-สามเณร ๑๐๐ รูป พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดมาติกา-บังสุกุล เป็นอันเสร็จพิธี

11


12

เมืองใต้นิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 48 ประจำ�เดือนมิถุนายน 2559

ฉบับประจำ�เดือนมิถุนายน

เอทีเอ็ม ทรัพย์เจริญ 2 หมู่ที่ 3 ต.บางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

ขอเชิญ

สมาชิกชมรมตระกูล เกียง ลือ คู สุราษฎร์ธานี

ร่วมต้อนรับ นายธเนศ คูวินิชกุล นายกสมาคมสกุลคูสงเคราะห์และคณะ

วันเสาร์ ที่ 9 กรกฎาคม 2559 09.00 น. ร่วมไหว้ เกียง ไท่ กง ณ ศาลเจ้าแม่กวนอิม ถนนท่าทอง 18.00 น. ร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำ�ปี ณ ห้องอาหารมณเฑียร ติดต่อสอบถาม โทร. 098-2677244

โรงแรมบรรจงบุรี ม่ ห ใ ง ุ ร ป ง ั ร ป ก ั พ ห้ อ ง ชุ ม ะ ร ป ง อ ้ ห ม พ ร้ อ สวย ่ ญ ห ใ ด า น ข ง จั ด เ ลี้ ย ร์ ฎ ษ า ร ุ ส น ใ ด ุ ทั น ส มั ย ที่ ส ึง ถ ้ ด ไ า ้ ค ก ู ล บ ั ร ง สามารถรอ ี่จอดรถ ท ม อ ้ ร พ น ค 0 0 5,0 สะดวกสบาย

คุณธรรมนูญ จันทร์เมือง (นูญ) คุณกรรณิการ์ จันทร์เมือง (แอ)

มือถือ 081 - 6065349 FAX. 077 - 292906

ซื้อ - ขาย

จัดไฟแนนซ์ แลกเปลี่ยน จำ�นำ� ไถ่ถอนรถยนต์

เอสที

กาแฟชุมพร ST Chumphon Coffee

มีจำ�หน่ายที่ร้าน

์ ณ ร ภ า อ วิไล

สนใจติดต่อ ฝ่ายขาย 077-264888, 077-489111, 086-4754710

โทร. 077-273352, 081-978 3401


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.