Spring Talk

Page 1

Spring Talk บทสัมภาษณ์แห่งฤดูกาล

เปสโลภิกขุ


PRINGTAL ESALOBHIKKH


แด่...ความเปลี่ยนไป


คำนำ ข้อปฏิบตั อิ ย่างหนึง่ ในช่วง Winter Retreat (มกราคมมีนาคม) ของวัดป่าอภัยคีรกี ค็ อื ท่านพระอาจารย์ปสันโน และท่านพระอาจารย์อมโรซึ่งเป็น Co-Abbot ของที่นี่ จะเปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรผลัดเปลี่ยนกันเข้า พบเพื่อปรึกษาปัญหาเป็นการส่วนตัว ในช่วงนี้เองที่ ข้าพเจ้าได้สนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์อมโรแบบ ยาวๆเป็นครั้งแรก ไม่นานเดือนถัดมาท่านพระอาจารย์อมโรก็เตรียมตัว เดินทางไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอมราวดี สำนัก สาขาของวัดหนองป่าพงที่ประเทศอังกฤษ ข้าพเจ้าจึง รีบฉวยโอกาสกราบลาท่านแบบยาวๆ ด้วยเห็นว่าคงหา ฤดูกาลที่เหมาะสมไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เปสโลภิกขุ


SPRING

บ ท สั ม ภ า ษ ณ์ แ ห่ ง ฤ ดู ก า ล

TALK


ค ว า ม เ ป น ม า


1. ท่านพระอาจารย์อมโร มีชื่อเดิมว่า Jeremy Charles Julian Horner เกิดเมื่อปี ค.ศ.1956 ที่เมือง Tenterden ประเทศอั ง กฤษ จบการศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ด้านจิตวิทยาและสรีระวิทยาที่ University of London ในปี ค.ศ.1977 เหตุทที่ า่ นตัดสินใจเลือกเรียนสาขานีเ้ พราะ “เมื่ออายุ 12-13 ขวบ เกิดความสงสัยว่าจิตคืออะไร? จิตของตัวเองเป็นอย่างไร? คิดว่าจิตวิทยาให้คำตอบได้ แต่พอไปเรียนอาจารย์กลับให้ศึกษาจิตของหนูหรือกบ เป็นวิชาที่ศึกษาว่านักจิตวิทยาเขาคิดอะไร มากกว่า จะศึกษาว่าจิตของเราเป็นอย่างไร หนำซ้ำนักจิตวิทยา ยังบอกอีกว่าการศึกษาจิตของตัวเองเป็นเรื่องต้องห้าม แม้จะเรียนต่อไปอีก 50 ปี จนเป็นศาสตราจารย์ก็คง จะไม่เข้าใจจิตของตัวเอง จึงเกิดความเบือ่ หน่าย แต่กท็ น เรียนจนจบ เมือ่ จบแล้วก็คดิ ว่าพอแล้วสำหรับการศึกษา แบบนี้” 2. ปี 1960 เป็นยุครุ่งเรืองของฮิปปี้ การศึกษาปรัชญา ตะวันออกเป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวในสมัยนั้น เพราะ เบื่อหน่ายวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตกที่ต้องแข่งขันกัน ทำงาน เพื่อความร่ำรวยหรือความมีชื่อเสียงในสังคม คนหนุ่มสาวเห็นว่ามุมมองชีวิตที่แนบชิดกับธรรมชาติ 5

Talk


แบบชาวตะวันออก ให้คำตอบกับชีวิต และความ เป็นอิสระมากกว่า เพียงห้าวันหลังงานฉลองวันเกิด ครบรอบ 21 ปี ฮิปปี้หนุ่ม Jeremy ซึ่งเริ่มเบื่อหน่ายกับ การสูบกัญชาก็ลาพ่อแม่เดินทางมาประเทศไทย 3. เมื่อเดินทางมาสำราญใจที่ภูเก็ตได้ 1 เดือน ฮิปปี้หนุ่ม ก็เกิดความคิดว่า “เรามาประเทศไทยแต่ยังไม่รู้จัก ประเทศไทยเพราะมั ว แต่ ข ลุ ก อยู่ กั บ ฝรั่ ง ด้ ว ยกั น ถึงเวลาต้องออกเดินทางไปสัมผัสประเทศไทยจริงๆ เสียที” ฮิปปี้หนุ่มได้พบกับนายแพทย์ผู้หนึ่งซึ่งขณะนั้น มาพักฟื้นอยู่ที่ภูเก็ต นายแพทย์ผู้นั้นแนะนำว่าควร จะไปอีสาน เพราะคนทีน่ นั่ จิตใจดีมคี วามเป็นอยูเ่ รียบง่าย แบบดั้งเดิม จากนั้นนายแพทย์ก็ให้ที่อยู่ของเพื่อนฝรั่ง ทีท่ ำงานอยูใ่ นคลินกิ ของศูนย์ผอู้ พยพจังหวัดอุบลราชธานี 4. ฮิปปี้หนุ่มเดินทางมาพำนักที่บ้านนายแพทย์ฝรั่งได้ ไม่นานก็เริ่มเบื่อ จนกระทั่งวันหนึ่งนายแพทย์ฝรั่งชวน ไปเยี่ยมวัดป่านานาชาติ ฮิปปี้หนุ่มตอบตกลงทั้งๆที่ใจ ไม่ชอบเพราะรู้มาว่าที่วัดมีกฏระเบียบเยอะ แต่ด้วย ความเบือ่ จึงคิดว่าน่าจะไปเปลีย่ นบรรยากาศสัก 2-3 วัน เมื่อเดินทางมาถึงวัดป่านานาชาติ ฮิปปี้หนุ่มเกิดความ 6

Spring


ประทับใจในความเมตตาของพระอาจารย์ปภากโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น เมื่อถึงเวลาบ่ายสามโมงฮิปปี้หนุ่มก็ได้เห็นพระภิกษุ สามเณรร่วมกันตักน้ำหาบน้ำใส่ตุ่ม ทำให้ฮิปปี้หนุ่ม เกิดความประทับใจมากยิ่งขึ้น เพราะไม่เคยเห็นสังคม แบบนี้มาก่อน 5. ฮิปปี้หนุ่มพักอยู่ที่วัดได้เพียง 3 สัปดาห์ก็ตัดสินใจบวช เป็นอนาคาริก (ปะขาวหรือผู้ชายเตรียมบวช) มีอยู่ ช่วงหนึ่งหลวงปู่ชาเดินทางมาพำนักที่วัดป่านานาชาติ เป็นเวลาหลายวัน ปะขาวหนุ่มได้รับมอบหมายให้ทำ หน้าที่อุปัฏฐากทั้งหลวงปู่ชาและพระอาจารย์ปภากโร เช้าวันหนึ่งปะขาวหนุ่มตื่นสายจึงรีบวิ่งกระหืดกระหอบ มาทีศ่ าลา ปรากฏว่าอีก 5 นาทีจะได้เวลาออกบิณฑบาต ปะขาวหนุม่ พยายามระงับความลุกลีล้ กุ ลนแล้วเรียกสติ เตรียมบาตรและจีวร ก่อนออกบิณฑบาตหลวงปู่ชาพูด กับปะขาวหนุ่มด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า “นอนแซ่บอีหลี” เหตุการณ์นี้ทำให้ปะขาวหนุ่มเกิดความประทับใจในตัว หลวงปู่ชา เพราะถ้าอยู่ที่บ้านหากทำผิดก็จะโดนพ่อดุ หรือถ้าอยู่ที่โรงเรียนก็ต้องโดนคุณครูลงโทษ แต่อยู่ที่วัด แม้จะทำผิดพลาดหลวงปูช่ าก็ยงั ให้ความเมตตา ปะขาว หนุ่มประทับใจในความเป็นผู้ใหญ่ของหลวงปู่ 7

Talk


6. พระอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ปะขาวหนุ่มให้ความเคารพ เลื่อมใสในความเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็คือ พระอาจารย์ปสันโน ครั้งหนึ่งปะขาวหนุ่มถกเถียงกับ เพือ่ นร่วมวัดเพราะความไม่รวู้ า่ พระพุทธเจ้าเป็นชาวจีน เพราะเคยเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่มีใบหน้าคล้าย ชาวจีน แต่เพื่อนก็ยืนยันว่าพระพุทธเจ้าเกิดที่ประเทศ เนปาล ประติมากรรมที่มีใบหน้าคล้ายชาวจีนเรียกว่า พระโพธิสัตว์ ภายหลังพระอาจารย์ปสันโนซึ่งขณะนั้น ยังเป็นพระหนุ่ม ได้บอกปะขาวบวชใหม่ผู้ไม่เคยศึกษา พุทธศาสนามาก่อนว่า ถ้าเป็นแบบนีจ้ ะอยูไ่ ด้นานเพราะ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในข้อมูลหรือความรู้ที่ตนเคย ศึกษามาก่อน หลายคนที่มาวัดป่านานาชาติอยู่ได้ ไม่นานเพราะรู้มากเกินไป พอมาพบความจริงซึ่งไม่ สอดคล้องกับหนังสือที่ตัวเองเคยอ่านก็ทนไม่ได้ 7. พระอาจารย์อมโรบอกว่าพุทธศาสนาแบบเถรวาทไม่ได้ เหมาะกับทุกคน “เหมือนคนอีสานชอบกินเผ็ด พอมากิน อาหารฝรัง่ แม้จะเป็นร้านทีอ่ ร่อยทีส่ ดุ ก็มกั จะบอกว่าไม่มี รสชาติ บางคนอาจจะถูกจริตกับแบบธิเบต หรือแบบ เซน ซึ่งเป็นเพียงรูปแบบภายนอก แต่แก่นแท้คือการ เข้าถึงความดับทุกข์นั้นเหมือนกัน เราอาจจะฟังพระ 8

Spring


ฝ่ายมหายานเทศน์แต่ก็ได้ความรู้ความเข้าใจในธรรมะ แต่โดยส่วนตัวผมประทับใจในความเป็นอยู่ของพระ ฝ่ายเถรวาทมากกว่า เพราะมีการรักษาพระวินัยอย่าง เคร่งครัด ซึ่งช่วยสนับสนุนการปฏิบัติของเรา ทางฝ่าย ธิเบตหรือเซนมักจะสอนธรรมะชั้นสูง บ่อยครั้งที่พูดถึง ความว่างหรือการปล่อยวาง แต่จะมีสักกี่คนที่ทำได้ เขาก็ยังมีลูกมีเมียเหมือนชาวบ้านทั่วไป คือมันพูดง่าย แต่ทำยาก แต่ผมก็เคยพบพระฝ่ายธิเบตหรือเซนของ ญี่ปุ่นที่มีคุณธรรมสูง ซึ่งท่านก็รักษาพรหมจรรย์และ พระวินัย แต่พระแบบนี้มีจำนวนน้อย” 8. หกเดือนถัดมาปะขาวหนุม่ ก็บรรพชาเป็นสามเณรและอยู่ จำพรรษาแรกที่วัดป่านานาชาติ หลังจากนั้นเก้าเดือน คือในปี ค.ศ.1979 สามเณรหนุ่มก็เข้าอุปสมบทที่วัด หนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนการอุปสมบท สามเณรหนุ่มได้เขียนจดหมายขออนุญาตจากโยมพ่อ โยมแม่ แม้วา่ ท่านทัง้ สองจะอนุญาตแต่กย็ งั มีความกังวลใจ เพราะยังไม่เข้าใจวิถีชีวิตหรืออุดมการณ์ของพระใน พุทธศาสนา สามเณรหนุม่ พิจารณาเรือ่ งนีว้ า่ “ถ้าโยมพ่อ โยมแม่เห็นเรามีความสุขกับการเป็นพระ ท่านคงจะ กังวลใจน้อยกว่าการเห็นเราทำงานในบริษัทแล้วหา 9

Talk


ความสุขไม่ได้เลย” หลั ง พิ ธี อุ ป สมบทสามเณรหนุ่ ม อยู่ ป ฏิ บั ติ ธ รรมที่ วัดหนองป่าพงเป็นเวลา 4 เดือน จากนั้นจึงเดินทาง ไปจำพรรษาที่วัดพรหมประทาน สำนักสาขาของ วัดหนองป่าพงที่จังหวัดร้อยเอ็ด 9. เมื่อถามพระอาจารย์อมโรว่า พระภิกษุสามเณรยุค ปัจจุบนั กับยุคทีห่ ลวงปูช่ ายังมีชวี ติ อยูเ่ หมือนหรือต่างกัน อย่างไร? ท่านตอบว่า “อาจจะต่างกันในแง่ความสะดวก สบายด้านเทคโนโลยี แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ผู้ปฏิบัติ ที่มุ่งมาทางนี้ ไม่ว่าจะยุคสมัยใดก็พุ่งความสนใจไปที่ ความพ้นทุกข์ ไม่มีใครให้ความสำคัญกับเรื่องการมีชื่อ เสียงหรือลาภสักการะ” 10. หลังจากออกพรรษา อมโรภิกขุทราบข่าวจากทางบ้านว่า โยมพ่อป่วยหนัก จึงกราบขออนุญาต จากหลวงปู่ชา เพื่อเดินทางไปเยี่ยมโยมพ่อ ก่อนเดินทางหลวงปู่ให้ โอวาทว่า ไปเยี่ยมโยมพ่อแล้วจะกลับมาเมืองไทยหรือ จะไปอยู่กับท่านสุเมโธก็ได้ ไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องนี้ แต่ให้ใช้สติปญ ั ญาไตร่ตรองพิจารณา ขณะนัน้ พระอาจารย์ สุเมโธหรือที่ได้รับสมณศักดิ์ในภายหลังว่าพระราช 10

Spring


สุเมธาจารย์ กำลังบุกเบิกวัดจิตตวิเวกที่ประเทศอังกฤษ อมโรภิกขุตัดสินใจที่จะอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้และ สำนักสาขาอื่นๆ ในประเทศอังกฤษเป็นเวลากว่า 10 ปี

11

Talk


ก า ร บ ร� ห า ร วั ด


1. วัดป่าอภัยคีรมี กี ารบริหารกิจการภายในวัดแบบทีเ่ รียกว่า Co-Abbot หรือการเป็นเจ้าอาวาสร่วมกัน ซึ่งต่างจาก วัดทั่วไปที่มีเจ้าอาวาสเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องต่างๆแต่เพียง รูปเดียว โดยมีรองเจ้าอาวาสเป็นผู้รับคำสั่งหรือให้การ สนับสนุน ที่มาของเรื่องนี้ก็คือ พระอาจารย์อมโร ซึ่ง ขณะนั้นปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ มีโอกาสเดินทางมาสอนธรรมะแก่ญาติโยมที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาหลายครั้ง โดยเฉพาะที่แซนแฟรนซิสโก มูลนิธสิ งั ฆปาละซึง่ มีความเลือ่ มใสในแนวทางการปฏิบตั ิ ของวัดป่าสายหลวงปู่ชา จึงนิมนต์พระอาจารย์อมโรจัด หาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อสร้างวัดฝ่ายเถรวาทขึ้นที่นี่ 2. ขณะนัน้ พระอาจารย์ปสันโน ซึง่ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่านานาชาติกำลังปลีกวิเวกอยู่ที่วัดจิตตวิเวก ซึ่งอยู่ ห่างจากวัดอมราวดีประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง (เดินทาง โดยรถยนต์) พระอาจารย์ปสันโนทราบข่าวว่าพระอาจารย์ อมโรมีโครงการทีจ่ ะบุกเบิกวัดแห่งใหม่ในประเทศสหรัฐ อเมริกา จึงปรึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะอยู่ดูแลวัด ร่วมกัน เนื่องจากขณะนั้นพระอาจารย์ปสันโนมีความ ประสงค์ที่จะลาออก จากการเป็นเจ้าอาวาสวัดป่านานา ชาติซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาเป็นระยะเวลาถึง 13

Talk


15 ปี โดยพระอาจารย์ปสันโนให้เหตุผลว่า พระผู้ใหญ่ ที่เมืองไทยมีกิจธุระมาก มีภาระต้องรับผิดชอบมาก โดยเฉพาะวัดที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและระดับโลก อย่างวัดป่านานาชาติ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการ ดำเนินชีวิตแบบพระป่า เมื่อได้ทราบเจตนารมณ์ของ พระอาจารย์ปสันโนดังนั้น พระอาจารย์อมโรซึ่งมีความ เลื่อมใสในตัวพระอาจารย์ปสันโนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึง ตอบตกลงทันที 3. พระอาจารย์ทั้งสองได้ปรึกษากันว่าควรจะอยู่ร่วมกันใน รูปแบบใด นานมาแล้วพระอาจารย์อมโรเคยอ่านหนังสือ เล่มหนึ่งมีเนื้อหาย่อๆว่า ในประเทศจีนสมัยโบราณ เคย มีพระเถระที่เป็นเจ้าอาวาสร่วมกัน ซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะในสมัยนั้นพระภิกษุชาวจีน ต่างต้องการเป็นใหญ่ ภายในวัดแต่เพียงผู้เดียว พระอาจารย์อมโรจึงเสนอว่า น่าจะลองทำแบบนีด้ ู และได้เพิม่ เติมอีกว่าการนับถือกัน ตามลำดับพรรษาก็ให้เป็นไปตามพระวินัย ส่วนการ บริหารวัดก็แบ่งกันคนละครึ่ง คือให้มีการปรึกษากัน หรือตัดสินใจร่วมกัน 4. การที่เสือสองตัวจะอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ 14

Spring


ง่ายๆ การที่พระผู้ใหญ่สองรูปจะอยู่ร่วมวัดเดียวกัน และอยู่ในฐานะผู้นำด้วยกันทั้งคู่จึงเป็นกรณีที่น่าศึกษา “อันที่จริงผมและพระอาจารย์ปสันโนมีหลายอย่างที่ แตกต่างกัน ผมมีนิสัยช่างพูดมาตั้งแต่เด็ก แม้แต่พี่สาว สองคนก็ยังบ่นว่าน้องชายพูดมาก จะให้ผมพูดทั้งวัน หรือพบปะกับผู้คนทั้งวันก็ได้ ส่วนพระอาจารย์ปสันโน ท่านจะชอบอยู่เงียบๆ หรือในการวินิจฉัยพระวินัย บางอย่างก็มีความเห็นไม่ตรงกัน แต่นั่นไม่เป็นปัญหา ถ้าพระวินัยข้อใดที่ได้ปรึกษาหารือกันแล้วแต่ยังตกลง กั น ไม่ ไ ด้ ก็ พั ก เอาไว้ ก่ อ น จะไม่ มี ก ารบ่ น ติ เ ตี ย น หรือบังคับให้อีกฝ่ายหนึง่ ทำตาม แต่สงิ่ จำเป็นอย่างยิง่ ที่ ต้องเห็นไปในทิศทางเดียวกันก็ คือเรือ่ งการปฏิบตั ธิ รรม” 5. ท่านพระอาจารย์อมโรอุปมาถึงการเป็นเจ้าอาวาสร่วมกันว่า “เหมือนกับเราจะยกของหนัก ถ้าเรายกคนเดียวมันก็ตอ้ ง รับน้ำหนัก 100% แต่ถ้ามีเพื่อนช่วยมันให้ความรู้สึกว่า หนักน้อยกว่า 50% หรือในโอกาสทีต่ อ้ งเดินทางออกจาก วัดนานเป็นแรมเดือน ก็ไม่ต้องกังวลว่าวัดจะเสื่อม เพราะมีเจ้าอาวาสอีกรูปหนึ่งคอยดูแลอยู่ หากเกิด ปัญหาขึน้ ภายในวัดก็สามารถตัดสินใจได้ทนั ต่อเหตุการณ์”

15

Talk


6. หลังจากพระอาจารย์อมโรได้บริหารวัดป่าอภัยคีรีร่วม กับพระอาจารย์ปสันโนมาเป็นเวลา 14 ปี อนิจจัง ครัง้ ใหญ่กเ็ กิดขึน้ เมือ่ พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ซึง่ เป็นเจ้าอาวาสวัดอมราวดีและ เป็นครูบาอาจารย์ของ พระอาจารย์อมโร ได้นิมนต์พระอาจารย์อมโรเดินทาง ไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดอมราวดีในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พระอาจารย์อมโรได้เขียนอธิบายถึงเรื่องนี้ ในจดหมายข่าว ของวัดป่าอภัยคีรี ฉบับประจำฤดูร้อนปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ว่า “หลวงพ่อสุเมโธได้เป็นผูน้ ำวัดป่านานาชาติ วัดอมราวดี วัดแฮมสเตด รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 35 ปี หลวงพ่อดำริว่าถึงเวลาที่ต้องมอบหมายงานนี้ให้ผู้อื่น รับผิดชอบเสียที อีกทั้งหลวงพ่อเห็นว่าการเที่ยวไป เพียงลำพังซึ่งแม้จะเป็นวิถีชีวิตของนักบวช แต่ท่านยัง ไม่เคยได้ปฏิบัติเลยนับตั้งแต่บวชเป็นพระ เพราะมักจะ ถูกหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเหนี่ยวรั้ง อาตมาซึ่งเป็น ลูกศิษย์ของท่านและได้รำลึกถึงพระคุณของท่านอยูเ่ สมอ จึงรูส้ กึ ยินดีทจี่ ะได้ชว่ ยให้ความปรารถนาของท่านเป็นจริง แม้การตัดใจจากวัดป่าอภัยคีรีครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ ยากยิ่ง เพราะอาตมาเกิดความคาดหวังโดยไม่รู้ตัวว่า จะได้อยู่ที่วัดแห่งนี้ไปจนแก่เฒ่า”

16

Spring


7. พระราชสุเมธาจารย์หรือหลวงพ่อสุเมโธซึ่งเป็นลูกศิษย์ พระฝรั่งรูปแรกของหลวงปู่ชา มองเห็นคุณธรรมข้อใด ในตัวพระอาจารย์อมโร จึงได้นิมนต์พระอาจารย์อมโร ให้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอมราวดีต่อจากท่าน พระอาจารย์อมโรให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “พระ ที่จะเป็นผู้นำวัดอมราวดีต้องมีขันติและมีใจกว้าง เพราะที่นั่นเป็นวัดใหญ่ หากขับรถจากใจกลางกรุง ลอนดอนก็ใช้เวลาเพียง 45 นาที มีผู้คนต่างเชื้อชาติ เดินทางมาจากทัว่ ทุกสารทิศ ผูท้ อี่ ยูป่ ระจำก็มที งั้ นักบวช ผูช้ ายและนักบวชผูห้ ญิง ซึง่ มีความคิดเห็นทีห่ ลากหลาย เจ้าอาวาสต้องรับอารมณ์เยอะ ต้องรู้จักปรับตัว รู้จัก ปล่อยวาง หลวงปู่ชาเคยเปรียบเทียบไว้ว่า เจ้าอาวาส เหมือนถังขยะที่ผู้คนมักจะเอาเศษขยะมาทิ้ง เจ้าอาวาส วัดอมราวดีต้องเป็นถังขยะที่ใหญ่มากๆ”

17

Talk


พุ ท ธ ต า ง ดิ น แ ด น


1. “พุทธศาสนาเข้ามาในอเมริกาได้ประมาณ 20 ปี ถือว่า ยังเป็นของใหม่สำหรับชาวอเมริกัน แต่ที่ประเทศไทย พุทธศาสนาตั้งมั่นมากว่า 800 ปีแล้ว การดำเนินชีวิต ของพระในอเมริกาจึงแตกต่างจากที่เมืองไทย ซึ่งมี ญาติโยมให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี การได้อยู่ใกล้ ครูบาอาจารย์ที่มีคุณธรรมสูงก็ถือว่าเป็นบุญ และเป็น เรื่องสำคัญ แต่ที่อเมริกาไม่มี อยู่ที่นี่ต้องสร้างเกาะหรือ ที่พึ่งให้กับตัวเอง” พระอาจารย์อมโรเล่าถึงบรรยากาศ ของพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยสังเขป 2. พระวินัยเป็นสิ่งที่พระภิกษุฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญ เป็นอย่างมาก เพราะธรรมกับวินัยเป็นเครื่องสนับสนุน ซึง่ กันและกัน หากอยูใ่ นสังคมหรือวัฒนธรรมของชาวพุทธ ก็ไม่สู้กระไร เพราะชาวบ้านล้วนคุ้นเคยกับการดำเนิน ชีวิตประจำวันของพระ แต่เมื่อต้องมาอยู่ในสังคมที่มี ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างสุดขั้วเช่นสังคม อเมริกัน การรักษาพระวินัยและข้อวัตรต่างๆจึงเป็นเรื่อง ท้าทายอย่างยิ่ง พระอาจารย์อมโรพูดถึงเรื่องนี้ว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้หลักมหาประเทศ 4 ไว้แล้ว สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร เราก็พิจารณาไปตามนั้น เมื่อครั้ง ที่หลวงพ่อสุเมโธเพิ่งไปอยู่ที่อังกฤษ ผู้คนต่างก็เสนอให้ 19

Talk


ปรับเปลี่ยนพระวินัยหรือข้อวัตรหลายอย่าง เพื่อให้เข้า กับสภาพสังคมหรือสภาพแวดล้อม แต่ท่านก็ไม่ยอม เปลี่ยน ท่านยังคงปฏิบัติเหมือนครั้งอยู่เมืองไทย เช่น การออกบิณฑบาตโดยไม่ใส่รองเท้า แต่พอถึงฤดูหนาว ต้องเดินเท้าเปล่าบนหิมะ ญาติโยมสงสารท่านจึง ขอร้องให้ท่านใส่รองเท้าเดินบิณฑบาต คณะสงฆ์จึงได้ ประชุมกันว่าอนุญาตให้พระใส่รองเท้าออกบิณฑบาตได้ คือถ้าไม่ทำอย่างนั้นมันก็ดูเป็นคนโง่ ไม่ได้ใช้สติปัญญา พิจารณาว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร แต่ถ้าจะเปลี่ยน พระวินัยหรือข้อวัตรเพียงเพราะความชอบใจหรือ ไม่ชอบใจ อันนีเ้ ราไม่เปลีย่ น หรือในโอกาสทีม่ พี ระผูใ้ หญ่ จากเมืองไทยมาเยี่ยมวัดป่าอภัยคีรี เราก็จะกราบเรียน ท่านว่า ถ้าเห็นสิ่งใดไม่เหมาะสมภายในวัด โปรดเมตตา บอกเราตรงๆด้วย เพือ่ ทีเ่ ราจะได้นำไปพิจารณาปรับปรุง แก้ไข แต่พระผู้ใหญ่ที่เคยมาเยี่ยมท่านก็ไม่ได้ตำหนิ อะไร ท่านเพียงแต่ให้ข้อคิดเห็นเล็กๆน้อยๆ” 3. เมื่อถามถึงหัวข้อธรรมะที่ชาวอเมริกันและชาวไทยใน อเมริกาให้ความสนใจ พระอาจารย์ได้ให้ข้อสังเกตว่า “ชาวอเมริกนั ทีม่ าวัดป่าอภัยคีรจี ะมุง่ มาเพือ่ ศึกษาธรรมะ โดยเฉพาะ เราจึงสามารถสอนเรื่องอริยสัจสี่หรือการ ทำวิปัสสนากรรมฐานได้โดยตรง เพราะไม่มีใครสนใจ 20

Spring


เรือ่ งเครือ่ งรางของขลัง หรือแม้แต่เรือ่ งการเวียนว่ายตาย เกิด ทุกคนตั้งใจมาแก้ไขความทุกข์ที่เกิดขึ้นภายใน จิตใจของตัวเอง ต่างจากคนไทยที่มุ่งมาทำบุญเพื่อให้ สบายใจเพียงอย่างเดียว แต่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาเริ่มมี คนไทยสนใจมาปฏิบัติธรรมที่วัดมากขึ้น สามวันบ้าง ห้าวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง หรือบางทีอยู่นานเป็นเดือนๆ หรือสามเดือนก็มีเหมือนกัน” 4. ในปีที่ผ่านมาการบวชภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้รับการ วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ หากมีชาวอเมริกันถามถึงเรื่องนี้ พระอาจารย์อมโรจะอธิบายให้เขาฟังว่า “เป็นโอกาสให้ เราได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา แต่ที่สำคัญ ทีส่ ดุ ก็คอื ฝ่ายทีเ่ ห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จะต้องไม่ยดึ มัน่ ถือมัน่ ในความคิดเห็นของตัวเอง แต่ควรจะปรึกษากันว่า มีความเป็นไปได้ไหมหรือมีประโยชน์ไหม และควรจะทำ ด้วยความเคารพซึง่ กันและกัน ถ้าทำแบบนีม้ นั จะไม่เป็น ปัญหาใหญ่ แต่ชาวตะวันตกอยากจะเห็นความเสมอภาค ซึ่งเป็นเจตนาที่ดี แต่เจตนาที่ดีบางครั้งก็สอดคล้องกับ ความจริง บางครั้งก็ตรงกันข้าม”

21

Talk


รู สึ ก นึ ก คิ ด


1. การเมือง : หลวงปู่ชาท่านบอกว่าไม่มีความสมบูรณ์ พร้อมในการเมือง เพราะฉะนั้นไม่ต้องเอามาพูดกัน ถ้าสิ่งใดมีความสมบูรณ์พร้อมหรือเป็นไปเพื่อความ หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารจึงควรพูด แต่ถ้าไม่เป็นไป เพื่อสิ่งนี้ก็ไม่ต้องเอามาคุยกัน 2. แฟชั่น : สบายใจมากที่ทุกวันนี้พุทธศาสนากลายเป็น แฟชั่นหรือเป็นที่นิยมของคนยุคนี้ ถ้าคนมีความสนใจ คือมีฉันทะ ก็มีวิริยะ จิตตะ วิมังสา ทำให้จิตใจพัฒนา แต่ถา้ แฟชัน่ ทีไ่ ม่สอดคล้องกับพระธรรมก็ไม่มปี ระโยชน์ และถ้าเราจะสอนธรรมะหรืออธิบายสมมุติ เรื่องแฟชั่น เป็นตัวอย่างที่ดีมาก เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว 3. เทคโนโลยี  : เป็นประโยชน์บ้าง เป็นปัญหาบ้าง ถ้าเรา รู้จักใช้มันก็ช่วยสนับสนุนหรือเป็นอุบายเครื่องส่งเสริม การปฏิบตั ธิ รรม ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราจะตัดอะไรสักอย่าง ก็ต้องหยิบด้ามมีดขึ้นมา ต้องมีสติสัมปชัญญะ แต่ถ้า หยิบมีดด้านทีม่ คี ม มันก็บาดมือ ทำให้เกิดบาดแผล สร้าง ปัญหาหรือนำความทุกข์ยากลำบากมาให้ 23

Talk


4. สิ่งแวดล้อม : เหมือนร่างกายของเราที่ต้องทำความ สะอาดหรือดูแลรักษา ถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพมันก็เสื่อม แต่ถ้าเราฟุ้งซ่านวิตกกังวลหรือเคร่งเครียดเกินไป มันก็ ทำให้เราเป็นทุกข์ สิ่งแวดล้อมก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราช่วย ดูแลรักษาโดยไม่ยดึ มัน่ ถือมัน่ ก็เป็นสิง่ ทีด่ ี แต่สงิ่ แวดล้อม ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 5. วันสิ้นโลก : The body is the origin of the world, the end of the world and the way leading to the end of the world. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า โลกเกิดขึ้นและดับไปในร่างกายนี้ ทางที่จะนำไปสู่ การสิ้นสุดแห่งโลกก็อยู่ในร่างกายนี้ ในคำสอนของ พระสัมมาพระพุทธเจ้า วันสิ้นโลกเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะ โลกคือความทุกข์

24

Spring





Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.