Stories from Switzerland

Page 1

สวิตเซอร์แลนด์ กังวาน ถึงโพธิญาณ รวมบทความคัดสรรจากคอลัมน์ Stories from Aboard นิตยสารซีเคร็ต

เปสโลภิกขุ



1


2

โยม: พระ: โยม: พระ:

หลวงพี่จะไปท�ำอะไรที่สวิสตั้งหกเดือน ไปสอนสมาธิภาวนา สอนทั้งหกเดือนเลยเหรอครับ สอนด้วยค�ำพูด...สอนเป็นครั้งคราว สอนด้วยการท�ำให้ดู...สอนทุกวัน


3

สวิตเซอร์แลนด์ กังวานถึงโพธิญาณ ร่าเริงในธรรมท่ามกลาง การปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรม

เรื่องและภาพ เปสโลภิกขุ ปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club พิสูจน์อักษร มานี มีตา ฟอนต์ 9 our KING ไพโรจน์ ธีระประภา คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com ผลิตเป็นธรรมทานครั้งแรก มิถุนายน 2565 สงวนลิขสิทธิ์ 2022 © Dhamma Design Club อีบุ๊คส์ www.issuu.com/dhammavalley อีกหนึ่ง www.issuu.com/pesalocation อีเมล์ dhammadesign@hotmail.com


I wish you well with your project Ajahn Khemasiri The guiding elder monk 13 June 2022 Kandersteg Switzerland


ค�ำน�ำจากไทยแลนด์

5

“หลวงพี่จะไปท�ำอะไรที่สวิสตัง้ หกเดือน” เจ้าหน้าที่ฯขมวดคิว้ ฉัน งันวูบแล้วโพล่งว่า “ไปสอนสมาธิภาวนา” ฉันเดินทางไปปฏิบตั ศิ าสนกิจ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาแล้วถึงสามครัง้ คือในปี 2557 (สามเดือน) 2558 - 2559 และ 2562 - 2563 (คราวละสิบสองเดือน) แม้ตา่ งกรรม ต่างวาระแต่ส่งิ ที่สมั ผัสได้เสมอมาคือความตรงต่อเวลา ความสง่างาม ของธรรมชาติ และความเป็ นมิตร เรือ่ งราวในเล่มนีบ้ นั ทึกไว้เมื่อคราวพ�ำนักอยูใ่ นดินแดนแห่งเนยแข็ง และช็อกโกแลตครัง้ ที่ 2 ส่วนครัง้ ที่ 3 ฉันหยุดร่ายบทความเพราะรูส้ กึ “พุงกาง” กับงานเขียนประเภทนี ้ อีกทัง้ ความตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจในการ ไปเยือนสารพันสถานที่ได้ลดลงอย่างฮวบฮาบ แลนด์มาร์คหลายแห่งซึง่ ผูค้ นประทับตราว่า “ถ้าไม่ไปเยี่ยมชมที่น่ีถือว่ายังมาไม่ถงึ สวิตเซอร์แลนด์” ฉันก็เพียงชายตามอง ใกล้เที่ยงวันหนึง่ ระหว่างรอขบวนรถที่เมือง Montreux (ม๊องเทร่อ) ฉันเดินไปหา “เฟรดดี ้ เมอร์คิวรี่” อดีตนักร้องน�ำวง “ควีน” ผูล้ ว่ งลับ ซึง่ บัดนีก้ ลายร่างเป็ นประติมากรรมปราดเปรียวผินหน้าสูท่ ะเลสาบเจนีวา ขณะบทเพลง Bohemian Rhapsody สั่นสะเทือนในความรับรู ้ หนึง่ ประโยค พลันดีดผาง! “เงินแค่ฟรังค์เดียวนายก็เอาติดตัวไปด้วยไม่ได้” ฉันกระชับ จีวรแล้วย้อนกลับไปสถานีรถไฟ เปสโลภิกขุ 27 พฤษภาคม 2565 ชานเมือง ชลบุรี


6

สารบัญ

10 16 24 32 42 50 58 66 74

อรุ ณสวัสดิซ์ ูริค ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 196 วันที่ 26 สิงหาคม 2559

สหายธรรมชาวสวิส-เยอรมัน

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 197 วันที่ 10 กันยายน 2559

ยลทะเลสาบยามบ่าย

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 198 วันที่ 26 กันยายน 2559

สวัสดีชาวพุทธ

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 199 วันที่ 10 ตุลาคม 2559

ภาวนาฝ่ าฤดูหนาว

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 200 วันที่ 26 ตุลาคม 2559

เขาและหล่อนเกิดมาเพือ่ เป็ นสุนัขลากเลื่อน ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 201 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559

เขียนถึงย่าจากศูนย์องศา

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 202 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2559

กว่าจะเป็ นเจ้าอาวาส (ภาคแรก)

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 203 วันที่ 10 ธันวาคม 2559

กว่าจะเป็ นเจ้าอาวาส (ภาคหลัง)

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 204 วันที่ 26 ธันวาคม 2559


82 90 98 106 114 122 130 138 146 154

7 เกษียณอายุเจ้าอาวาส ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 211 วันที่ 10 เมษายน 2560

เดินเล่นเห็นอะไร

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 213 วันที่ 10 พฤษภาคม 2560

ภาวนาสุดสัปดาห์ (ภาคแรก)

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 214 วันที่ 26 พฤษภาคม 2560

ภาวนาสุดสัปดาห์ (ภาคหลัง)

ปี ท่ี 9 ฉบับที่ 215 วันที่ 10 มิถนุ ายน 2560

เรียนรู้ธรรมะจาก “ไฮดี” หนูน้อยดีงาม ปี ท่ี 10 ฉบับที่ 220 วันที่ 26 สิงหาคม 2560

วิทยาศาสตร์ประหลาดรู้

ปี ท่ี 10 ฉบับที่ 221 วันที่ 10 กันยายน 2560

มรณสติกลางหุบเขา

ปี ท่ี 10 ฉบับที่ 222 วันที่ 26 กันยายน 2560

บิณฑบาตประหลาดใจ BERN ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

บิณฑบาตประหลาดใจ THUN ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

สถานการณ์ภกิ ขาจาร ปี ท่ี 10 ฉบับที่ 224 วันที่ 26 ตุลาคม 2560


8

162 170 178 186 194

บิณฑบาตประหลาดใจ BRIG ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

บิณฑบาตประหลาดใจ INTERLAKEN ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

พิธีกรรมท�ำไม

ปี ท่ี 10 ฉบับที่ 225 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2560

วิสาขบูชา ณ กรุ งเบิรน์ ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

ศีลผูกพันปั ญญา

ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

ภาคผนวก

202 212 220

เถรวาทฉบับพระป่ า อะไร? อย่างไร? ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

ก่อนจะเป็ นสมณะ (ภาคแรก) ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน

ก่อนจะเป็ นสมณะ (ภาคหลัง) ไม่เคยเผยแพร่ท่ีใดมาก่อน


9

แด่...การผจญภัยครั้งถัดไป



อรุณสวัสดิ์ซูริค


12 พระป่ าจะด�ำเนินชีวติ อยูใ่ นประเทศทีผ่ คู้ นไม่รู้จกั พุทธศาสนา ได้อย่างไร เราจะปฏิบตั ิตามพระวินยั ให้เคร่งครัดเหมือนครัง้ อยูเ่ มืองไทย ได้อย่างไร ใครจะถวายบิณฑบาต เหล่านีล้ ว้ นเป็ นค�ำถามที่เกิดขึน้ เมื่อคณะสงฆ์ชาวต่างชาติ ได้รบั ค�ำสั่งจากพระเดชพระคุณ พระโพธิญาณเถร หรือหลวงพ่อชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่ าพง จังหวัดอุบลราชธานี ให้เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนายังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ ตามค�ำอาราธนานิมนต์ของมูลนิธิสงฆ์แห่งอังกฤษ (English Sangha Thrust) เช่นเดียวกับสจ๊วร์ดและแอร์โฮเตสของสายการบินแห่งชาติ ที่อตุ สาหะแวะเวียนเปลี่ยนหน้ามาสนทนากับพระหนุ่มถึงที่น่ งั ชัน้ ประหยัดด้วยประเด็นข้างต้น ณ ระดับความสูงหลายพันเมตร ซึ่งฉันก็ได้ทยอยเฉลยไปตามล�ำดับสลับสลัดง่วงเหงาหาวนอน น่านฟ้าเหนือทวีปยุโรปต้นฤดูหนาวในห้วงเวลานีม้ ืดสนิท ขับเน้น ดวงดาวให้พราวระยับไปโดยปริยาย ครัน้ แอร์โฮเตสน�ำอาหารเช้า มาบริการผูโ้ ดยสารฉันก็ได้แต่แย้มยิม้ ปฏิเสธ เนื่องจากพระวินยั


อรุณสวัสดิ์ซูริค

13

ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า พระภิกษุสามเณรจะขบฉันอาหารได้ก็ตอ่ เมื่อ แสงทองทาบทาขอบฟ้าแล้วเท่านัน้ ไม่นานเกินหิว เครือ่ งบินก็รอ่ นลง สนามบินซูรคิ ในเวลาประมาณเจ็ดนาฬิกา หลังจากเข้าสูต่ วั อาคาร แล้วก็ขนึ ้ รถไฟดิ่งไปยังจุดตรวจเอกสาร พระหนุม่ จากไทยแลนด์พลัน ได้รบั เชิญให้ไปนั่งลุน้ ระทึกอยูใ่ นห้องที่จดั ไว้เป็ นการเฉพาะ เนื่องจาก วีซา่ ของฉันเป็ นประเภท “พ�ำนักระยะยาว” ซึง่ เป็ นเหตุการณ์ผดิ ปรกติ หลังจากเจ้าหน้าที่ของสนามบินตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว ก็นำ� หนังสือเดินทางมาส่งคืนพร้อมพูดสัน้ ๆว่า “เป็ นกรณีพิเศษ” ฉันคล้องเป้ สะพายย่าม แล้วลากกระเป๋ าติดล้อสองใบตรงไป ยังจุดนัดพบ เหตุท่ีฉนั มิได้ใช้บริการรถเข็นของทางสนามบินก็เพราะ ไม่มีปัจจัยติดตัวเลยแม้แต่บาทเดียว เนื่องจากพระวินยั (อีกแล้ว) ไม่อนุญาตให้พระสะสมเงินทองหรือสิ่งของมากมูลค่า ฉันจึงได้แต่ ส่งยิม้ เหงาๆเศร้าง่วงๆให้รถเข็นของสนามบินซูรคิ ซึง่ จะใช้การได้ ก็ต่อเมื่อถูกกระตุน้ ด้วยเหรียญ ต่างจากรถเข็นของสนามบิน สุวรรณภูมิซง่ึ ใครก็ตามที่เข้าสูต่ วั อาคารมีสทิ ธิ์ใช้สอยได้โดยไม่เสีย ค่าบริการ สิ่งนีแ้ สดงถึงนิสยั ของผูค้ นในท้องถิ่นหรือไม่ ค�ำตอบอาจ ปรากฏอยูใ่ นบทถัดไป ฉันนั่งรอญาติโยมเพียงครึง่ ชั่วโมง เขาก็โผล่พรวดมาในชุดกันหนาว


14 ชนิดจัดเต็มพร้อมเป้ใบเขื่อง เราทักทายกันครูใ่ หญ่ จากนัน้ ก็ชว่ ยกัน ลากกระเป๋ าไปยังสถานีรถไฟชัน้ ใต้ดินซึง่ อยู่ห่างออกไปเพียงไม่ก่ี ก้าว รถไฟเข้าเทียบชานชาลาในเวลา ๐๘.๓๐ น. เหตุท่ีฉนั สามารถ ระบุช่ วั โมงและนาทีได้ชดั เจนเห็นปานนี ้ ก็เนื่องจากขบวนรถไฟ มาถึงตรงตามเวลานัน้ จริงๆ ไม่คลาดเคลื่อนเลยแม้แต่นาทีเดียว เหตุการณ์นีแ้ สดงถึงนิสยั ของผูค้ นในท้องถิ่นหรือไม่ ค�ำตอบอาจ ปรากฏอยูใ่ นบทถัดไป เมื่อหาที่น่ งั ได้พอเหมาะโยมก็ถวายอาหารเช้า ส�ำหรับวันนี ้ คือแซนด์วิช สมูต้ ที ถั่วหลากชนิด และช็อกโกแลตร้อนๆจากร้าน กาแฟที่อยู่ถดั ไปอีกสองโบกี ้ เมื่อพิจารณาอาหารเช้าแล้วเสร็จ ฉันพยายามถ่ายภาพวิวจากฝั่งที่น่ งั อยู่ แต่แสงสะท้อนจากกระจก ท�ำให้ภาพถ่ายแปลกแปร่งกว่าปรกติ โยมบอกว่าที่เมือง “Thun-ทูน" มีทะสาบขนาดใหญ่ช่ือ “Thunersee-ทูเนอร์เซ" วัดระยะทางตาม แนวยาวได้ถงึ ๑๗ กิโลเมตร ฉันจึงวางกล้องลงบนโต๊ะขนาดเล็ก ตรงหน้าแล้วอดใจรอโอกาสนัน้ ประมาณหนึง่ ชั่วโมงถัดมาเราก็ลง รถไฟที่สถานี “Bern-เบิรน์ " เมืองหลวงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แล้วช่วยกันย้ายกระเป๋ าไปขึน้ รถไฟอีกขบวนหนึง่ ซึง่ จะน�ำเราไปยัง จุดหมายที่หมูบ่ า้ น “Kandersteg-คันเดอร์สเตก"


อรุณสวัสดิ์ซูริค

15

รถไฟแล่นผ่านทะเลสาบทูเนอร์เซซึง่ ทอประกายอยูท่ า่ มกลาง แสงแดดอุน่ ละไม ฉันเก็บภาพได้อย่างที่ตงั้ ใจ แต่เมื่อถึงสถานีรถไฟ ใจกลางเมืองทูนฉันก็ตอ้ งใจหาย เพราะโยมที่มารับขอลงที่สถานีนี ้ เพื่อขึน้ รถไฟกลับบ้านที่เจนีวา ก่อนแยกย้ายกันโยมบอกว่าอีก ๔๑ นาที จะถึงจุดหมายซึง่ ก็เป็ นไปตามนัน้ เมื่อได้ยินเสียงประกาศภาษา เยอรมันควบภาษาอังกฤษบนรถไฟว่าถึงสถานีคนั เดอร์สเตกแล้ว ฉันก็หอบหิว้ สัมภาระเดินลงไปสัมผัสอากาศหนาวสบายอยู่บน ชานชาลา ยังไม่ทนั ได้นกึ ว่า "ใครหนอจะมารับ" อนาคาริก (นาค หรือผูช้ ายเตรียมบวช) ก็เดินเข้ามาทักทายพร้อมรอยยิม้ อุน่ ละมุน แล้วช่วยลากกระเป๋ าไปยังรถเข็นของทางวัด ราวสิบห้านาทีจากนัน้ เราเดินสนทนากันอย่างสบายอารมณ์ ไปจนถึงวัดในเวลาประมาณสิบเอ็ดนาฬิกา ซึ่งอาหารกลางวัน ตระเตรียมไว้พร้อมแล้ว ห้องพักที่คณะสงฆ์จดั ไว้สำ� หรับอาคันตุกะ อยูบ่ นชัน้ สามของตัวอาคาร ฉันน�ำบาตรออกจากกระเป๋ าเดินทาง ห่มจีวรแล้วลงไปตักอาหารที่เรียงรายอยู่บนโต๊ะตามขนบบุฟเฟต์ พระรูปหนึง่ บอกว่า “ญาติโยมเตรียมข้าวเหนียวมะม่วงไว้รอท่าน” ประโยคนีแ้ สดงถึงนิสยั ของผูค้ นในท้องถิ่นหรือไม่ ค�ำตอบอาจ ปรากฏอยูใ่ นบทถัดไป


สหายธรรม ชาวสวิส-เยอรมัน



18 “ถ้าผู้หญิงฝรั่งยืน่ มือมาขอเชคแฮนด์ พระจะท�ำยังไง" มิใช่เรือ่ งง่ายที่พระภิกษุสามเณรจะปฏิบตั ศิ าสนกิจอยูใ่ นท้องถิ่น ซึง่ วิถีชีวิตและทัศนคติของผูค้ นแตกต่างจากวัฒนธรรมพุทธอย่าง สิน้ เชิง ในสถานการณ์ขา้ งต้นหากพระยื่นมือออกไปสัมผัสกับ อิสสตรีก็จะเป็ นเหตุให้สมุ่ เสี่ยงต่อการต้องอาบัตสิ งั ฆาทิเสส แต่หาก ปฏิเสธเพราะต้องการรักษาพระวินยั อย่างเคร่งครัด ก็จะไม่สามารถ สร้างความคุน้ เคยกับผูค้ นในท้องถิ่นนัน้ ได้ ซึง่ จะเป็ นอุปสรรคแก่งาน เผยแผ่พระศาสนาอย่างใหญ่หลวง ฉะนัน้ การแก้ปัญหาที่สอดคล้อง กับสถานการณ์นีก้ ็คือ “พระควรพนมมือไว้ท่ีหน้าอก แล้วบอกผูห้ ญิง ฝรั่งให้รูว้ ่าชาวพุทธทักทายกันแบบนี”้ นี่เป็ นตัวอย่างหนึ่งในการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยพระภิกษุผคู้ นุ้ เคยกับวัฒนธรรมในบ้านเกิด เมืองนอนของตน อันเป็ นสาเหตุสำ� คัญที่ทำ� ให้การประกาศพระศาสนา ในต่างแดนประสบความส�ำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ ซึง่ "วัดธรรมปาละ" ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่ าพงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่บริหาร กิจการภายในวัดโดยคณะสงฆ์ทอ้ งถิ่นนับเป็ นแบบอย่างของความ ส�ำเร็จอันชัดเจน หลังจากพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิรต์ สุเมโธ) ก่อตัง้ วัดป่ า จิตตวิเวกในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และวัดอมราวดีในปี พ.ศ. ๒๕๒๗


สหายธรรมชาวสวิส-เยอรมัน

19

ที่ประเทศอังกฤษ ผูส้ นใจการเจริญสมาธิภาวนาจากทั่วโลกจึง เดินทางมาปฏิบตั ิธรรมที่วดั ป่ าทัง้ สองแห่ง นอกจากนีพ้ ระเถระ จากวัดป่ าจิตตวิเวกและวัดอมราวดี ยังได้รบั นิมนต์ไปสอนวิปัสนา กรรมฐานในหลายประเทศรวมทัง้ สวิตเซอร์แลนด์ จึงเริม่ มีการปรึกษา หารือถึงความเป็ นไปได้ในการก่อตัง้ วัดป่ าตามแนวทางของหลวงพ่อชา ในดินแดนแห่งเทือกเขาแอลป์ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระอาจารย์ อมโร หรือพระวิเทศพุทธิคณ ุ (เจเรมี อมโร) พระเถระชาวอังกฤษ เจ้าอาวาสวัดอมราวดีในปั จจุบนั ได้เดินทางมาสอนสมาธิภาวนาให้ กับกลุม่ นักปฏิบตั ธิ รรมชาวสวิส-เยอรมันที่เมือง “Bernese-เบอร์นีซ” ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปี ถดั มาพระราชสุเมธาจารย์ได้มอบหมายให้พระอาจารย์ถิรธมฺโม พระเถระชาวแคนาดา ซึ่งขณะนัน้ เป็ นเจ้าอาวาสวัดอรุ ณรัตนคีรี ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่ าพงทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ ให้เดินทางไปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อพิจารณาสถานที่ใน การก่อตัง้ วัดที่เมือง “Konolfingen-โคโนลฟิ งเง็น” ใกล้กรุ งเบิรน์ ตามค�ำอาราธนาของกลุม่ นักปฏิบตั ธิ รรมชาวสวิส-เยอรมัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของสังคมเมืองไม่สอดคล้องกับวิถี ความเป็ นอยู่ของพระป่ า ซึ่งต้องพึงพาสถานที่สงบวิเวกในการ


20 เจริญวิปัสสนากรรมฐาน สองปี ถดั มาคณะสงฆ์จงึ ย้ายจากเมือง โคโนลฟิ งเง็นมายังหมูบ่ า้ นคันเดอร์สเตก ซึง่ ห่างจากกรุงเบิรน์ ลงมา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว ๖๕ กิโลเมตร มูลนิธิวดั ธรรมปาละได้ ตัดสินใจซือ้ โรงแรมร้างสีช่ นั้ ท้ายหมูบ่ า้ นที่ถกู สร้างขึน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ซึง่ ก่อนหน้านีเ้ คยเป็ นที่พกั ของทหารและที่ทำ� การขององค์กรคริสต์ นับตัง้ แต่คณะสงฆ์ยา้ ยมาพ�ำนักยังสถานที่แห่งใหม่นี ้ ตัวอาคาร ซึง่ มีอายุกว่า ๘๐ ปี ก็ได้รบั การปรับปรุงซ่อมแซมอย่างสม�่ำเสมอ ไม่วา่ จะเป็ นพืน้ ที่ชนั้ ๔ อันประกอบด้วยห้องสวดมนต์ ห้องสมุด ห้องพัก ส�ำหรับอุบาสก พืน้ ที่ชนั้ ๓ ประกอบด้วยห้องพักส�ำหรับพระภิกษุ ห้องประชุมสงฆ์ ห้องพัสดุภณ ั ฑ์ พืน้ ที่ชนั้ ๒ ประกอบด้วยห้อง พักส�ำหรับอุบาสิกา ห้องท�ำงานเอกสาร ชัน้ ล่างแบ่งเป็ นห้องฉัน ภัตตาหาร ห้องครัว ห้องซักล้าง ชัน้ ใต้ดินเป็ นห้องเก็บของ ห้อง ท�ำงานช่าง นอกจากนีย้ งั มีหอ้ งน�ำ้ อยูใ่ นทุกชัน้ ของตัวอาคาร และที่ ส�ำคัญก็คือเมื่อวัดธรรมปาละท�ำพิธีเปิ ดอย่างเป็ นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระมหากรุณาธิคณ ุ บริจาคพระราชทรัพย์ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ ๙๐ พรรษา เป็ นทุนในการก่อตัง้ วัดด้วย ในระยะแรกพระอาจารย์ถิรธมฺโม ได้อบรมธรรมะแก่ญาติโยม ด้วยภาษาอังกฤษและภาษาไทย เนื่องจากมีผสู้ นใจการปฏิบตั ธิ รรม


สหายธรรมชาวสวิส-เยอรมัน

21

ทัง้ จากยุโรป อเมริกา และเอเชีย ต่อมาพระภิกษุสามเณรและ ญาติโยมที่มาพ�ำนัก ณ วัดธรรมปาละส่วนใหญ่เป็ นชาวเยอรมัน คณะสงฆ์จงึ ปรึกษากันว่าควรจะอบรมธรรมะด้วยภาษาเยอรมัน เป็ นหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ พระอาจารย์ถิรธมฺโมซึ่งบริหารวัด ธรรมปาละมานานถึง ๑๗ ปี จึงมอบหมายให้พระอาจารย์เขมะสิริ พระเถระชาวเยอรมันท�ำหน้าที่เจ้าอาวาสสืบต่อไป ส่วนตัวท่านเอง เดินทางไปรับหน้าที่ประธานสงฆ์ท่ีวดั โพธิญาณราม ส�ำนักสาขา ของวัดหนองป่ าพงอีกแห่งหนึง่ ในประเทศนิวซีแลนด์ ปั จจุบนั พระอาจารย์ถิรธมฺโมปลีกวิเวกอยู่ทางภาคอีสานของ ประเทศไทย ท่านได้ฝากข้อสังเกตจากประสบการณ์อนั ยาวนานใน การปฏิบตั ศิ าสนกิจ ร่วมกับพุทธศาสนิกชนหลากหลายเชือ้ ชาติไว้ ว่า "ผูใ้ ห้การสนับสนุนวัดส่วนใหญ่เป็ นชาวเอเชียเช่นไทย ลาว เขมร พม่า ศรีลงั กา มาเลเชีย ซึง่ จะมาวัดเพื่อท�ำบุญตามประเพณี แต่ฝรั่ง ซึง่ ยังไม่คอ่ ยรูจ้ กั พุทธศาสนาจะมาวัดเพื่อฝึ กสมาธิภาวนา เราอยาก สนับสนุนให้ชาวเอเชียสนใจฝึ กสมาธิภาวนา สนับสนุนฝรั่งให้สนใจ การถวายทานและรักษาศีล เมื่อก่อนมันแยกกันเด็ดขาด แต่ตอนนี ้ ก็ดีขนึ ้ บ้าง" วัดธรรมปาละมีเสนาสนะรองรับผูป้ ฏิบตั ิธรรมในปริมาณที่


22 ค่อนข้างจ�ำกัด พระภิกษุสามเณรสามารถเข้าพักได้ตามจ�ำนวน ห้องเพียง ๕ รูป อุบาสก ๖ ท่าน และอุบาสิกา ๒๒ ท่าน ห้องพัก ส�ำหรับอุบาสกประกอบด้วยเตียงสองชัน้ จ�ำนวน ๑ เตียง ส่วนห้อง พักส�ำหรับอุบาสิกาประกอบด้วยเตียงสองชัน้ จ�ำนวน ๒ เตียง นับว่า แตกต่างอย่างลิบลับจากวัดป่ าที่เมืองไทย ซึง่ ผูป้ ฏิบตั ธิ รรมสามารถ เข้าพักในกุฏิท่ีอยูห่ า่ งกันและเป็ นเอกเทศได้ ทัง้ นีก้ ็เนื่องจากวัดป่ า ในประเทศไทยมีเนือ้ ที่กว้างขวางตัง้ แต่นบั สิบไร่จนถึงนับพันไร่ อีกทัง้ ยังสามารถด�ำเนินการก่อสร้างเสนาสนะได้อย่างคล่องตัว เพราะข้อกฏหมายและทางบ้านเมืองอ�ำนวยความสะดวก ด้วยเหตุขา้ งต้น "กายวิเวก" คือความสงบอันเกิดจากการ หลีกเร้นอยูใ่ นสิ่งแวดล้อมที่สงัดจากอารมณ์ จึงเกิดขึน้ กับผูป้ ฏิบตั ิ ธรรมในวัดป่ าที่เมืองไทยได้งา่ ยกว่า แต่ถงึ กระนัน้ พระภิกษุสามเณร ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาที่เดินทางมาพ�ำนักยังวัดธรรมปาละ ก็ยงั สามารถฝึ กฝนคุณธรรมประการอื่นได้เช่นความส�ำรวมระวัง การมีสติสมั ปชัญญะ หรือความเอือ้ เฟื ้ อเผื่อแผ่ฯ การได้มาปฏิบตั ิ ศาสนกิจที่น่ีทำ� ให้ฉนั ตระหนักถึงสุภาษิต "คับที่อยูไ่ ด้ คับใจอยูย่ าก" ซึง่ เกิดจากพุทธิปัญญาของบรรพบุรุษไทย แต่กลับเป็ นข้อเท็จจริง ที่อยูเ่ หนือความแตกต่างทางเชือ้ ชาติและกาลเวลา




ยลทะเลสาบยามบ่าย


26 “บ่ออกจากบ้าน บ่ฮหู้ อ่ มทางเทียว บ่เฮียนวิชา ห่อนสิมคี วามฮู"้ “ไม่ทอ่ งเที่ยวเสียบ้างก็ไม่รูจ้ กั ทิศทาง ไม่ขวนขวายใฝ่ ศกึ ษาก็ไม่มี วิชาความรู"้ สุภาษิตอีสานบทนีแ้ สดงความจริงซึง่ ด�ำเนินมาตัง้ แต่อดีตจนถึง ปั จจุบนั ได้อย่างไร้ขอ้ กังขา เนื่องจากฉันยื่นเอกสารขอวีซา่ ประเภท พ�ำนักระยะยาว จึงต้องมีขนั้ ตอนในการเก็บอัตลักษณ์บคุ คลคือ ลายนิว้ มือ ภาพถ่าย และลายเซ็นเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เป็ นเหตุให้ ต้องเดินทางมายังกองตรวจคนเข้าเมืองประจ�ำเมืองทูนในบ่ายวันหนึง่ เพียง ๔๕ นาทีเราก็ถงึ ปลายทาง เมื่ออุบาสกจอดรถบริเวณด้านหน้า กองตรวจคนเข้าเมือง ยังคงมีเวลาเหลืออีกครูใ่ หญ่ก่อนจะถึงชั่วโมง นัดหมาย พระอาจารย์ท่ีมาด้วยกันจึงขอตัวไปท�ำธุระ อีกไม่นาน ก็จะถึงวันคริสต์มาส ร้านรวงที่เราเดินผ่านจึงตกแต่งด้วยสิ่งของ สารพันชนิดทัง้ ต้นไม้ หลอดไฟ ระฆัง โบว์ ลูกบอล ตุ๊กตา แม้กระทั่ง ท่อนฟื น แต่ละห้างร้านน�ำสินค้าออกมาวางจ�ำหน่าย รวมทัง้ ติดป้าย บนตูก้ ระจกว่าลดราคากระหน�่ำ ผูค้ นจึงเพลิดเพลินกับการจับจ่าย ระหว่างเดินหลบชาวบ้านฉันถามพระอาจารย์วา่ "ที่วดั มีอะไรพิเศษ ในวันคริสต์มาสไหม" ท่านตอบว่า "พวกเราเฉยๆกับเทศกาลนี ้ ชาวสแกนดิเนเวียค่อนข้างใกล้ชิดกับครอบครัวอยูแ่ ล้ว ซึง่ แตกต่าง จากชาวอเมริกนั " เมื่อถามอุบาสกที่มาด้วยกันว่า "โยมจะกลับไป


ยลทะเลสาบยามบ่าย

27

ฉลองคริสต์มาสที่บา้ นไหม" เขาตอบด้วยใบหน้ายิม้ แย้มว่า "ผม อยากอยูป่ ฏิบตั ธิ รรมที่วดั มากกว่า" ครัน้ ถึงเวลานัดหมายเราก็เดินย้อนกลับมาที่กองตรวจคน เข้าเมือง อาคารชัน้ ล่างโอ่โถงโล่งกว้าง มีเจ้าหน้าที่อยูเ่ พียงสองคน และหนึ่งในนัน้ เป็ นลูกศิษย์ของวัดธรรมปาละ หลังจากรับบัตรคิว ซึง่ ฉันเป็ นคนแรกและคนเดียวที่มาติดต่อในช่วงนี ้ เจ้าหน้าที่ทา่ ทาง ใจดีก็นิมนต์เข้าไปในห้องท�ำงาน เขาทักทายด้วยภาษาเยอรมัน แต่เมื่อฉันตอบรับด้วยภาษาอังกฤษ เขาก็เปลี่ยนมาอธิบายด้วย ภาษาทางการของชาวโลกอย่างกระตือรือร้นว่า คุณต้องเปิ ดม่าน เข้าไปในห้องที่อยู่ทางขวา จากนัน้ เซ็นชื่อลงบนจอคอมพิวเตอร์ สแกนลายนิว้ มือทัง้ สองข้าง มองตรงไปที่กล้องถ่ายภาพ ยิม้ ได้ นิดหน่อยแต่หา้ มแยกเขีย้ วยิงฟั นก็เป็ นอันเสร็จสิน้ นับตัง้ แต่เดิน เข้ามาในตัวอาคารจนกระทั่งโบกมือลาเจ้าหน้าที่ เข็มนาฬกิ าเคลื่อน ไปเพียงสิบนาทีเท่านัน้ สะดวกกว่านีไ้ ม่มีอีกแล้ว แม้ดวงตะวันจะวาดแสงอุ่นฉาบอาคารบ้านเรือน ซึ่งเหมาะ แก่การออกมาตัง้ ชุดโต๊ะเก้าอีน้ ่ งั รับประทานอาหารละเลียดเครื่อง ดื่มพลางชมหงส์แหวกว่ายอยู่ในล�ำคลอง ทว่าส�ำหรับชาวเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้อย่างฉันยังคงสั่นสะท้าน ฤดูใบไม้ผลิคราวหนึ่ง


28 มีพระผูใ้ หญ่ฝ่ายปกครองจากเมืองไทยเดินทางไปเยี่ยมส�ำนักสาขา ของวัดหนองป่ าพงในต่างแดน คณะสงฆ์เจ้าถิ่นให้การต้อนรับอย่าง สมเกียรติและสมภูมิอากาศ ด้วยการตระเตรียมอุปกรณ์กนั หนาว ไว้ถวาย แต่พระผูใ้ หญ่ไม่ยอมใช้เพราะเห็นว่าเป็ นเครือ่ งนุง่ ห่มของ คฤหัสถ์ นอกจากนีย้ งั เคยมีพระฝ่ ายปกครองติเตียนว่า "ลูกศิษย์ ของหลวงพ่อชาใส่เสือ้ กันหนาวเหมือนญาติโยม" หลังจากปฏิบตั ิ ศาสนกิจจนกระทั่งครบก�ำหนด ก่อนเดินทางกลับพระฝ่ ายปกครอง รูปนัน้ ยื่นแขนซึง่ ถลอกปอกเปิ กให้คณะสงฆ์ทศั นาพร้อมพูดอย่าง อารมณ์ดีวา่ "ผมจะเอาไปอวดพระผูใ้ หญ่ท่ีเมืองไทย" พุทธศาสนาก่อก�ำเนิดในชมพูทวีปแล้วเคลื่อนย้ายถ่ายเทสู่ สุวรรณภูมิ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ ประเพณี วัฒนธรรมใกล้ เคียงกัน การปฏิบตั พิ ระวินยั จึงสอดรับขับประสานได้อย่างกลมกลืน แต่เมื่อหลั่งไหลมาสูท่ วีปยุโรปซึ่งมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ตลอดจนวิถีชีวิตของผูค้ นแตกต่างกันลิบลับ การรักษาพระวินยั จึง จ�ำเป็ นต้องเขยือ้ นขยับในบางแง่มมุ เพื่อด�ำรงแก่นแท้คอื ธรรมะเอาไว้ เมื่อครัง้ พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิรต์ สุเมโธ) ก่อตัง้ "พุทธวิหาร แฮมสเตด" ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่ าพงแห่งแรกในกรุงลอนดอน ก่อนที่จะย้ายไปยังวัดป่ าจิตตวิเวกและวัดอมราวดีตามล�ำดับ ท่านยังคงรักษาพระวินยั และข้อวัตรเช่นเดียวกับเมื่อครัง้ อยู่ท่ี


ยลทะเลสาบยามบ่าย

29

วัดหนองป่ าพง อาทิการเดินบิณฑบาตด้วยเท้าเปล่าบนหิมะ ซึง่ ภายหลังญาติโยมได้ขอร้องให้สวมรองเท้า คณะสงฆ์จงึ ประชุม กันจนได้ขอ้ ยุติว่า “คงมีแต่คนโง่กบั คนบ้าเท่านัน้ ที่เดินเท้าเปล่า บนหิมะ” การสรุปเช่นนีม้ ิได้ทกึ ทักเอาตามใจหรือถือความสะดวก สบายของตนเองเป็ นที่ตงั้ ทว่ามีท่ีมาจาก “มหาปเทสสี่" ซึง่ เกิดขึน้ โดยอนาคตังสญาณของพระพุทธองค์ ๑. สิ่งใดมิได้ทรงห้ามไว้วา่ ไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่เป็ นอกัปปิ ยะ (ไม่ควร) ขัดต่อสิ่งเป็ นกัปปิ ยะ(ควร) สิ่งนัน้ ไม่ควร ๒. สิ่งใดมิได้ทรงห้ามไว้วา่ ไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่เป็ นกัปปิ ยะ (ควร) ขัดต่อสิ่งเป็ นอกัปปิ ยะ(ไม่ควร) สิ่งนัน้ ควร ๓. สิ่งใดมิได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่เป็ น อกัปปิ ยะ(ไม่ควร) ขัดต่อสิ่งเป็ นกัปปิ ยะ(ควร) สิ่งนัน้ ไม่ควร ๔. สิ่งใดมิได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่เป็ น กัปปิ ยะ(ควร) ขัดต่อสิ่งเป็ นอกัปปิ ยะ(ไม่ควร) สิ่งนัน้ ควร รถแล่นไปบนถนนคดเคีย้ วเลาะเลีย้ วทะเลสาบทูเนอร์เซ อีก ฝั่งหนึง่ ของถนนแน่นขนัดไปด้วยที่พกั อาศัยและร้านอาหาร ซึง่ ต่างก็ มีทศั นียภาพของภูเขาสูงตระหง่านรายล้อมด้วยผืนน�ำ้ ครามใสเป็ น จุดขาย เมื่อรถจอดบริเวณห่างไกลผูค้ นบนเนินเขา เราก็ลงเดินไป


30 ยังพิกดั ชมวิวบนสะพานซึง่ เป็ นแผ่นโลหะเจาะรู บางเบาทอดยาว ระหว่างหน้าผาสองแห่ง และออกแบบให้แคบเพียงคนเดินสวนกัน ได้ แสงแดดโรยราส่งผลให้อากาศยะเยือก เมื่อเราเดินมาถึงปลาย สะพานอีกด้านหนึ่งก็พบผูเ้ ฒ่าท้องถิ่นที่ทำ� ให้เราหนาวสะท้านไป ทัง้ ตัว เพราะเขายัดเยียดตั๋วค่าเดินข้ามสะพานราคาใบละ ๘ ฟรังค์ หรือประมาณ ๓๐๐ บาทใส่มือเราโดยละม่อม นับว่าแปลกทีเดียว เพราะทัศนียภาพบนเนินเขาก่อนข้ามสะพานมิได้แตกต่างจาก จุดที่เราก�ำลังยืนอยูน่ ีเ้ ลย ฉันพยายามมองต่างมุมว่าเป็ นการท�ำนุ บ�ำรุงท้องถิ่น เนื่องจากงบประมาณในการก่อสร้างสะพานมาจาก เงินบริจาคของชาวบ้านที่อยู่ในชุมชน ครัน้ กลับมาถึงวัดแล้วเล่า เรื่องนีใ้ ห้พระรูปหนึ่งฟั งพร้อมอวดภาพถ่ายแสนงาม แต่ทา่ นกลับ บอกว่า "สะพานก็สวยดีอยู่หรอก แต่ถา้ ต้องจ่ายค่าตั๋วแพงขนาด นัน้ ผมไม่ไปดีกว่า"



สวัสดีชาวพุทธ



34 “พระอาจารย์คะ ดิฉันอยากมาปฏิบตั ธิ รรมทีว่ ัด เมือ่ ไหร่ จะได้ฤกษ์ดเี จ้าคะ" “มาถึงวัดเมื่อไหร่ก็ฤกษ์ดีเมื่อนัน้ หลังจากรับนิมนต์จากญาติโยมชาวไทยที่มีถ่ินอาศัยอยู่ใน “Grenchen-เกรนเชน” เมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ หนึง่ สัปดาห์ถดั มาฉันกับอนาคาริกชาวฮอลแลนด์ ก็ได้ฤกษ์หอบบริขารและสังขารไปยังสถานีรถไฟคันเดอร์สเตก ซึง่ เป็ นเมืองที่อยูท่ างทิศตะวันออกเฉียงใต้ของดินแดนอันอิ่มอุดม ไปด้วยเทือกเขาเคลือบหิมะ วัว เนยแข็ง และช็อกโกแลต แรกได้รบั ตั๋วรถไฟทัง้ เที่ยวไปและกลับที่ญาติโยมส่งมาให้ทางไปรษณียเ์ ราถึง กับสะดุง้ โหยง! เนื่องจากราคาระดับนีส้ ามารถส�ำรองที่น่ งั ไป-กลับ จากกรุ งเทพฯถึงอุบลฯด้วยบริการของสายการบินแห่งชาติ และ ยังเหลือไว้พจิ ารณากาแฟระดับไฮเอนด์ได้อีกถึงหกแก้ว ทว่าเช้านีเ้ รา มิได้ให้คา่ กาเฟอีนเกินกว่าทิวทัศน์สองข้างทาง หน้าต่างบานใหญ่ ของรถไฟท�ำให้บา้ นเรือน แมกไม้ และทะเลสาบที่ฉาบประกายแดด ยามเช้าปรากฏชัดถนัดตา ฉันกับอนาคาริกสนทนากันหลายเรือ่ ง ที่นา่ สนใจก็คอื ประสบการณ์ ปฏิบตั ธิ รรมเป็ นเวลาถึง ๔ ปี กบั วัดฝ่ ายมหายานจากเวียดนามใน


สวัสดีชาวพุทธ

35

ประเทศเยอรมนี เขาเล่าผ่านเลนส์แว่นตาคูน่ นั้ ว่าที่น่ นั เน้นเรือ่ งสติ ความมีเมตตาแล้วเสริมด้วยจิตวิทยา แต่นอ้ ยครัง้ ที่จะสอน "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ซึง่ เป็ นหัวใจของพระพุทธศาสนา จึงเป็ นเหตุให้เขา เดินทางมายังวัดธรรมปาละ และตัง้ ใจจะบวชเป็ นพระเพื่อศึกษา ให้ลกึ ซึง้ ถึงแก่นธรรม เราลงรถไฟที่กรุงเบิรน์ แล้วเปลี่ยนขบวนไปยังสถานี “Biel-บีล” จากนัน้ ก็สลับขบวนอีกครัง้ เพื่อไปลงสถานีเกรนเชน ขณะลากกระเป๋ า เราเพ่งมองไปยังผูช้ ายหนวดเครายาวซึง่ ตกเป็ นผูต้ อ้ งสงสัยว่าจะ เป็ นสารถี เนื่องจากโยมที่ประสานงานเกี่ยวกับการเดินทางเที่ยวนี ้ แจ้งว่าสามีของเธอจะมารับพวกเราที่สถานี แต่เมื่อสาวเท้าเข้าไป ใกล้ ลุงซานต้ากลับจ้องเราเขม็งราวกับเห็นสัตว์ประหลาดจาก ต่างดาว กระทั่งล่วงเลยไปถึงช่องจ�ำหน่ายตั๋วเราจึงโล่งใจ เพราะ เห็นอุบาสิกาหน้าตาเอเชียผูห้ นึง่ นั่งพนมมือรออยู่ “Bhavana Zentrum Grenchen” หรือศูนย์ภาวนาเกรนเชน คือบ้านสามชัน้ ของสามีภรรยาชาวไทยคูห่ นึ่ง ซึง่ เป็ นผูร้ เิ ริม่ นิมนต์ พระภิกษุและแม่ชีมาสอนสมาธิภาวนาด้วยภาษาไทยและเยอรมัน ให้กบั พุทธศาสนิกชนแดนไกลมาเป็ นระยะเวลาร่วม ๕ ปี แล้ว อาคาร หลังนีจ้ ดั แบ่งพืน้ ที่ใช้สอยได้อย่างลงตัว ชัน้ ล่างเป็ นห้องรับแขก


36 ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร ห้องน�ำ้ ชัน้ สองเป็ นที่พกั ของญาติโยม พร้อมห้องน�ำ้ ขนาดใหญ่ ชัน้ สามเป็ นห้องพักส�ำหรับพระและห้อง สวดมนต์ซง่ึ จุผปู้ ฏิบตั ิธรรมได้ประมาณ ๑๕ ท่าน หลังจากเราน�ำ กระเป๋ าไปเก็บในห้องพักก็ถงึ เวลาภัตตาหาร จากนัน้ ฉัน อนาคาริก และอุบาสิกา ๘ ท่านก็ขนึ ้ รถโดยสารประจ�ำทางชนิดพ่วงไปบนภูเขา ชื่อยูรา-ชแตร์นวาร์เทอ (Jara-Sternwarte) ซึง่ เป็ นเส้นทางยอดนิยม ส�ำหรับต้อนรับอาคันตุกะ ฉันประเมินคร่าวๆว่าระยะทางจากเชิงเขา ถึงป้ายสุดท้ายบนยอดเขา รวมทัง้ ความลดเลีย้ วเคีย้ วคดใกล้เคียง กับดอยสุเทพของเชียงใหม่ ทว่าแต่รถโดยสารประจ�ำทางของที่น่ี ช่างกว้างขวางและอุน่ สบาย จนไม่น่าเชื่อว่าจะพบเห็นในการไต่ระดับ ความสูงถึงเพียงนี ้ หมอกปกคลุมไปทั่วเมืองตัง้ แต่ลงรถไฟที่สถานีเกรนเชน แต่ เมื่อขึน้ มาถึงยอดเขากลับสว่างสดใส ในวันหยุดสุดสัปดาห์เช่นนี ้ มีนกั ท่องเที่ยวมาเดินออกก�ำลังกายกันพอสมควรแต่ไม่ถงึ กับแน่นขนัด อาจจะเป็ นเพราะเกรนเชนเป็ นแหล่งผลิตนาฬิกา ภายในเมืองจึง ประกอบด้วยโรงงานและที่พกั ของพนักงานเป็ นส่วนใหญ่ เมื่อลง จากรถประจ�ำทางเราก็เดินย�่ำเนินหญ้าแล้วเลาะเลีย้ วไปตามหน้าผา ฉันสังเกตเห็นกรอบรูป ตะเกียง ตุ๊กตา ช่อดอกไม้ พวงหรีด วางอยู่ เป็ นระยะ ท�ำให้พอจะอนุมานได้ว่าคงมีใครคิดสัน้ หรือประสบ


สวัสดีชาวพุทธ

37

อุบตั ิเหตุพลัดหล่นจากหน้าผาซึง่ ทอดยาวหลายกิโลเมตร ครูใ่ หญ่ ผ่านไปญาติโยมก็ได้ทำ� เลเหมาะจึงปูเสื่อนั่งท�ำสมาธิ ส่วนฉันกับ อนาคาริกขอดุม่ เดินต่อไป โดยนัดหมายกันว่าทุกคนควรพบกันที่ ร้านอาหารด้านล่าง แล้วกลับด้วยรถประจ�ำทางเที่ยวสุดท้าย แม้อากาศบนภูเขาจะเยียบเย็นแต่เมื่อสาวท้าวเร็วขึน้ ร่างกาย ก็อบอุ่น ฉันกับอนาคาริกเดินมาถึงกังหันท�ำมือขนาดเล็กซึ่ง ด้านล่างมีเทียนไขและตุ๊กตาวางอยู่ ส่วนหางของกังหันมีตวั อักษร Du fehlst uns! ซึง่ แปลเป็ นไทยได้วา่ “พวกเราคิดถึงคุณ!" หาก กังหันนีอ้ ทุ ิศให้กบั ผูท้ ่ีประสบอุบตั เิ หตุคงเป็ นเรือ่ งสุดวิสยั เนื่องจาก ตลอดระยะทางที่ผา่ นมาไม่มีรวั้ กัน้ ระหว่างทางเดินกับหน้าผาแม้แต่ จุดเดียว แต่ถา้ สิ่งนีเ้ ป็ นอนุสรณ์ของความคิดสัน้ ก็นา่ สังเวชใจ เพราะ ผูค้ นจ�ำนวนมากจากประเทศก�ำลังพัฒนาต่างขวนขวายเดินทาง มาเยือนดินแดนอันงดงามปานสรวงสวรรค์ ทว่าประชากรในท้อง ถิ่นซึง่ รัฐบาลประคบประหงมราวเทพบุตรเทพธิดา กลับโบกมือลา โลกนีไ้ ปก่อนกาลอันควร หลังจากเดินและนั่งสมาธิ กันจนอิ่มหน�ำ เราก็ยา้ ยมาดื่ม ช็อกโกแลตดับความหนาวที่รา้ นอาหาร จากนัน้ โดยสารรถประจ�ำทาง เที่ยวสุดท้ายลงมาจากยอดเขา เมื่อช�ำระร่างกายแล้วฉันก็นำ�


38 ญาติโยมสวดมนต์พร้อมเจริญสมาธิภาวนา ตามโปรแกรมส�ำหรับ คืนนีฉ้ นั จะต้องแสดงพระธรรมเทศนา แต่รูส้ กึ เมื่อยล้าจึงขอเปลี่ยน เป็ นการสนทนาธรรม ซึง่ ท�ำให้ปะทะกับประเด็นเล็กน้อยแต่นา่ สนใจ อันได้แก่ “ลูกสาวของญาติโยมผูห้ นึง่ อยากเลีย้ งสุนขั แต่ตดิ ขัดตรงที่ แม่ซง่ึ ถือศีลห้าไม่ตอ้ งการก�ำจัดเห็บ” ฉันให้แง่คิดส�ำหรับการพิจารณาว่า พุทธศาสนาให้เราศึกษา ความจริงแล้วปฏิบตั ติ อ่ ความจริงนัน้ อย่างสมเหตุสมผล ความจริง ในที่นีก้ ็คือ “การท�ำปาณาติบาตเป็ นบาป” เพราะฉะนัน้ ต้องงดเว้น โดยผูเ้ ป็ นแม่อาจเก็บเห็บไปทิง้ ถังขยะ แต่ถา้ ไม่สามารถเลี่ยงการใช้ ยาก�ำจัดเห็บได้ ก็มีความจริงอีกชัน้ หนึง่ ว่า “การฆ่าสัตว์มีคณ ุ น้อยบาปน้อย การฆ่าสัตว์มีคณ ุ มาก-บาปมาก” แต่การฆ่าสัตว์ก็ยงั บาป น้อยกว่าการฆ่ามนุษย์ “การประหารมนุษย์ท่ีไม่มีศีล-บาปน้อย การประหารมนุษย์ท่ีมีศีล-บาปมาก” ส่วนการประหารพระอรหันต์ “บาปมากที่สดุ ” และจัดเป็ นอนันตริยกรรมเพราะท่านเป็ นผูท้ ่ีสร้าง คุณประโยชน์แก่โลกมหาศาล อุปมาดังเศรษฐี ผหู้ นึง่ น�ำกองคาราวาน บรรทุกอาหารและเภสัชไปช่วยเหลือชาวบ้านหลายร้อยครอบครัว ซึง่ ก�ำลังได้รบั ทุกข์ทรมานจากโรคร้าย แต่กองคาราวานของเศรษฐี กลับถูกโจรป่ าดักปล้นและท�ำร้าย เมื่อชาวบ้านในชนบทห่างไกล ไม่ได้รบั ความช่วยเหลือจึงทยอยเสียชีวิตในที่สดุ พฤติกรรมของ


สวัสดีชาวพุทธ

39

โจรป่ าจึงเป็ นการท�ำลายประโยชน์ของหมูช่ นเป็ นอันมาก เช้าตรูว่ นั อาทิตย์ ฉันน�ำญาติโยมสวดมนต์และเจริญสมาธิภาวนา จากนัน้ ก็พจิ ารณาอาหารเช้าเบาๆ แล้วนั่งสมาธิรว่ มกันอีกหนึง่ ชั่วโมง จนกระทั่งถึงเวลาท�ำภัตกิจ หลังอาหารกลางวันญาติโยมขอโอกาส สนทนาธรรมก่อนที่ฉันจะเดินทางกลับวัด ซึ่งยังคงมีประเด็นที่ น่าสนใจอันได้แก่ “จริงหรือไม่ท่กี ระดูกของผูม้ คี ณ ุ ธรรมสูงจะกลายเป็ น พระธาตุ” ฉันอมยิม้ แก้มตุย่ แล้วเล่าเหตุการณ์ตอ่ ไปนี ้ เหตุการณ์แรก ชายผูห้ นึง่ น�ำพระธาตุมาอวดหลวงพ่อชาพลางรับประกันว่าเป็ นของจริง เขาพูดด้วยดวงตาเป็ นประกายว่า “พระธาตุแท้ตอ้ งลอยน�ำ้ ” จากนัน้ ก็นำ� แก้วบรรจุนำ้� มาหนึ่งใบแล้วเริม่ ท�ำการทดสอบแต่หลวงพ่อชา ได้หา้ มเอาไว้ ทว่าชายผูน้ นั้ ก็ยงั ดือ้ รัน้ เมื่อเขาหย่อนพระธาตุลงไป ในน�ำ้ ใบหน้าของเขาก็ถึงกับซีดเผือด เพราะวัตถุชิน้ น้อยจมลงสู่ ก้นแก้วอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ท่ีสอง ชายอีกผูห้ นึง่ บรรจุวตั ถุขนาดเล็กซึง่ เขาเชื่อว่า เป็ นพระธาตุลงในกล่องใสปิ ดผนึก แล้วถวายแก่พระอาจารย์ชาว ต่างประเทศ พระอาจารย์ได้นำ� กล่องนีไ้ ปมอบให้โยมแม่ซ่งึ เป็ น ชาวคริสต์ เมื่อท่านเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดในภายหลัง โยมแม่ ได้นำ� กล่องใบนัน้ มาให้ท่านดูพร้อมกับเล่าด้วยความตื่นเต้นว่า วัตถุในกล่องมีจำ� นวนเพิ่มขึน้ อย่างน่าอัศจรรย์ สองเหตุการณ์นีใ้ ห้


40 บทเรียนว่า พระธาตุจะเป็ นของแท้หรือไม่ มิใช่ประเด็นใหญ่ สิง่ ส�ำคัญ ก็คือเราวางท่าทีตอ่ วัตถุนนั้ อย่างไร ถ้าเราเห็นว่า “พระธาตุ” มีสว่ น ท�ำให้ระลึกถึงครูบาอาจารย์ผปู้ ระพฤติดีปฏิบตั ชิ อบ ซึง่ ส่งผลให้เรา เกิดพลังในการละอกุศลธรรมและบ�ำเพ็ญกุศลธรรม เพียงเท่านีก้ ็ นับว่าส�ำเร็จประโยชน์แล้ว นี่คือท่าทีท่ีถกู ต้องของพุทธศาสนิกชน




ภาวนาฝ่าฤดูหนาว


44 “ปฏิบตั ทิ ำ� ไม ปฏิบตั อิ ย่างไร ปฏิบตั แิ ล้วได้อะไร” “กินข้าวท�ำไม กินข้าวอย่างไร กินข้าวแล้วได้อะไร” ชาวต่างประเทศผูห้ นึ่งกราบเรียนถามปั ญหาหลวงพ่อชา และได้รบั ค�ำตอบแบบฉับพลัน ครัน้ ผูถ้ ามแสดงความไม่พอใจใน ค�ำเฉลย หลวงพ่อชาจึงอธิบายว่า “การปฏิบตั ธิ รรมก็เหมือนการกินข้าว กินข้าวท�ำไม เรากินข้าวเพราะเราหิว ปฏิบตั ทิ ำ� ไม เราปฏิบตั ธิ รรม เพราะจิตใจของเราหิวธรรมะ กินข้าวอย่างไร เราก็เอาช้อนตักข้าว ใส่ปาก ปฏิบตั อิ ย่างไร เราปฏิบตั ธิ รรมด้วยการเอาธรรมะใส่เข้าไป ในจิตใจ กินข้าวแล้วได้อะไร กินข้าวแล้วเราก็ได้ความอิ่ม ปฏิบตั ิ แล้วได้อะไร ปฏิบตั ธิ รรมแล้วเราก็ได้ความสงบสุข" เรียบง่าย ลึกซึง้ ตรงเข้าสูห่ วั ใจของผูถ้ าม ผลก็คอื ชาวต่างประเทศ ผูน้ นั้ เกิดศรัทธาเลือ่ มใสในแนวทางของหลวงพ่อชา ซึง่ จะเป็ นประโยชน์ แก่ตวั เขาเองในภายภาคหน้า ช่วงฤดูหนาวของทุกปี ส�ำนักสาขาของ วัดหนองป่ าพงกว่าสิบแห่งที่กระจายอยูใ่ นหลายทวีปทั่วโลก ทัง้ ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย จะจัดให้มีการปฏิบตั กิ รรมฐานอย่างเข้มข้น เป็ นเวลาสามเดือน เพราะอุณภูมิในช่วงเวลานีไ้ ม่เอือ้ อ�ำนวยต่อการ ท�ำกิจกรรมนอกตัวอาคาร เนื่องจากวัดธรรมปาละตัง้ อยูใ่ นภูมปิ ระเทศ ที่เป็ นหุบเขาเหนือระดับน�ำ้ ทะเลกว่าพันเมตร บางวันอุณหภูมิจงึ


ภาวนาฝ่าฤดูหนาว

45

ดิ่งลงถึง -๑๕ องศาเซลเซียส ช่วงนีท้ างวัดจะงดรับญาติโยมที่มา พ�ำนักระยะสัน้ แต่จะรับเฉพาะผูม้ ีศรัทธามาปฏิบตั ิธรรมร่วมกับ พระภิกษุสามเณรเป็ นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือน เพื่อให้การ การเจริญสมณธรรมของคณะสงฆ์ดำ� เนินไปอย่างต่อเนื่องเต็มเม็ด เต็มหน่วย ครัง้ หนึ่งมีญาติโยมถามฉันว่า "วัดป่ าสมัยก่อนเป็ นสถานที่ ส�ำหรับปฏิบตั ิธรรม แต่ระยะหลังมีการพัฒนาสิ่งปลูกสร้างภายใน วัดมากขึน้ มีญาติโยมมาวัดมากขึน้ จะเป็ นการรบกวนหรือท�ำให้ พระสงฆ์มีเวลาปฏิบตั ธิ รรมน้อยลงไหม" นับเป็ นค�ำถามที่แสดงถึง ความห่วงใยและสอดคล้องกับสถานการณ์ของวัดป่ าในปั จจุบนั ฉันชี แ้ จงประเด็นนี ว้ ่า "โดยปรกติวัดป่ าจมีการแบ่งเขตแดน ‘เขตพุทธาวาส’ หมายถึงบริเวณที่ญาติโยมมาท�ำบุญและฟั งธรรม ส่วน ‘เขตสังฆาวาส’ หมายถึงบริเวณที่พกั และปฏิบตั ิธรรมของ พระสงฆ์ ถ้าไปวัดป่ าแล้วเห็นป้าย ‘แดนวิเวก ไม่สมควรเข้า’ ก็อย่า รุกล�ำ้ เข้าไป” เพราะการปลีกวิเวกเป็ นความจ�ำเป็ นส�ำหรับพระสงฆ์ แม้วา่ เราสามารถปฏิบตั ธิ รรมได้ในทุกกิจกรรมของสังคม แต่สงั คม ยุคใหม่มีกิจกรรมจ�ำนวนมหาศาล ซึง่ อาจฉุดกระชากลากพระภิกษุ สามเณรออกนอกลูน่ อกทางได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งที่เรียกว่า “เทคโนโลยี”


46 “Winter Retreat” หรือการเข้ากรรมฐานช่วงฤดูหนาว เป็ นการ กลับไปหารากเหง้าของความเป็ นสมณ เช่นเดียวกับครัง้ พุทธกาล ในช่วงนีท้ างวัดธรรมปาละจะปิ ดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็ นเวลา สองเดือน แต่พระจะผลัดเปลี่ยนกันตรวจดูขอ้ ความในโทรศัพท์ เนื่องจากบางวันอาจมีญาติโยมแจ้งว่าก�ำลังขับรถฝ่ าหิมะมาถวาย ภัตตาหาร พระผูท้ ำ� หน้าที่รบั โทรศัพท์จะได้บอกให้พ่อครัวหรือ แม่ครัวทราบ เพื่อจะได้จดั เตรียมอาหารให้พอดีสำ� หรับวันนัน้ แม้เทคโนโลยีจมีคณ ุ อนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ "สถาบันวิจยั ความสุข" หรือ Happiness Research Institute แห่ง ประเทศเดนมาร์ค ได้ทดลองกับกลุม่ ตัวอย่างชาวเดนมาร์กจ�ำนวน ๑,๐๙๕ คน โดยกลุม่ แรกใช้งานเฟซบุก๊ ตามปรกติ กลุม่ ที่สองงดใช้งาน อย่างสิน้ เชิงเป็ นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ผลการวิจยั พบว่า กลุม่ ที่งดใช้ งานเฟซบุ๊กโกรธน้อยลง เศร้าน้อยลง วิตกกังวลน้อยลง เหงาน้อย ลง เครียดน้อยลง กระตือรือร้นมากขึน้ ตัดสินใจได้ดีขนึ ้ มีความสุข และสนุกกับชีวติ มากขึน้ เหตุท่ีเป็ นเช่นนีก้ ็เนื่องจากการเห็นชีวติ ของ คนอื่นน้อยลง ท�ำให้ลดการเปรียบเทียบและลดความอิจฉา อีกทัง้ ผูร้ ว่ มทดลองในกลุม่ นีย้ งั ระบุอีกว่าเฟซบุ๊กท�ำให้พวกเขาสนใจใน สิ่งที่คนอื่นมี มากกว่าจะสนใจความต้องการที่แท้จริงของตนเอง


ภาวนาฝ่าฤดูหนาว

47

จากผลการวิจยั ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การท�ำตัวห่างเหินจาก เทคโนโลยีในบางช่วงเวลา ท�ำให้มนุษย์มีโอกาสส�ำรวจตรวจดูตนเอง ว่าต้องการมอบสิ่งใดให้เป็ นของขวัญล�ำ้ ค่าแก่ชีวิต ซึง่ ค�ำตอบก็มกั ลงเอยที่คำ� ว่า "ความสุข" ทว่าจะมีสกั กี่คนที่ได้พบความสงบสุขอัน แท้จริง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ "มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่" หรือ New Economics Foundation แห่งประเทศอังกฤษ ได้ตพี มิ พ์ผลการวิจยั เกี่ยวกับปั จจัย ๖ ประการที่จะท�ำให้มนุษย์มีความสุขทัง้ ด้านร่างกายและจิตใจ อันได้แก่ (๑) การมีความสัมพันธ์อนั ดีกบั คนรอบข้าง (๒) การบริหาร ร่างกายอย่างสม�่ำเสมอ (๓) การมีสติสมั ปชัญญะ (๔) การเรียนรู ้ อยูเ่ ป็ นนิจ (๕) การแบ่งปั น (๖) หมวดอื่นๆเช่นการบริโภคอาหาร ที่มีประโยชน์ตอ่ ร่างกาย การอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ การท�ำงาน ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ นอกจากวัดป่ าจะอุดมไปด้วยปั จจัยใน ๖ หมวดข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหมวดหนึง่ ซึง่ ส�ำคัญที่สดุ เพราะ จะน�ำไปสูป่ ั จจัยทัง้ หลายที่กล่าวมา นั่นก็คือ "กัลยาณมิตร" “กัลยาณมิตร” หมายถึงบุคคลที่สามารถแนะน�ำในสิ่งที่ดีงาม เป็ นประโยชน์ ไม่วา่ จะเป็ นเด็กหรือผูใ้ หญ่ก็ตาม ในช่วงเข้ากรรมฐาน ฤดูหนาว พระอาจารย์จะน�ำพระสูตรซึง่ ได้แก่พระธรรมเทศนาหรือ ธรรมกถาในพระสุตตันตปิ ฎกอันแสดงเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน มาอ่าน ให้พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาน�ำไปพิจารณาดังตัวอย่างนี ้


48 ขณะพราหมณ์ผหู้ นึง่ เดินอยูร่ มิ ถนน บังเอิญเห็นแพะตัวหนึง่ ก�ำลัง ก้มหัว พราหมณ์คดิ ว่าแพะแสดงความเคารพตนจึงโค้งค�ำนับตอบ ทันใดนัน้ แพะพุ่งเข้าชนพราหมณ์เต็มแรง จนผูร้ ู เ้ ท่าไม่ถึงการณ์ สิน้ ชีวติ พระอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมว่า พระสูตรนีแ้ สดงให้เห็นโทษ ของการ "บูชาบุคคลที่ไม่ควรบูชา" บางครัง้ พระอาจารย์ได้นำ� ถ้อย ธรรมค�ำสอน ประวัติ ตลอดจนประสบการณ์ท่ีเคยร่วมปฏิบตั ธิ รรม กับหลวงพ่อชามาเล่าสูก่ นั ฟั งเช่นเรือ่ งต่อไปนี ้ พระชาวต่างชาติมกั จะมีพลาสเตอร์ปิดแผลอยู่ท่ีเท้าหลายแผ่น เนื่องจากเดินสะดุด รากไม้และก้อนหินอยู่เป็ นประจ�ำ จนกระทั่งวันหนึ่งหลวงพ่อชา สังเกตเห็นจึงพูดขึน้ ว่า “ฝรั่งฉลาด แต่ตีนโง่" การท�ำความเพียรติดต่อกันหลายชั่วโมงในหนึง่ วัน รวมทัง้ งดพูด คุยตลอดระยะเวลาสามเดือน ท�ำให้บรรยากาศภายในวัดเคร่งขรึม จนบางขณะถึงกับเคร่งเครียด โดยเฉพาะในวันพระซึ่งมีการถือ ธุดงควัตร "เนสัชชิก" นั่นก็คอื การปรารภความเพียรตัง้ แต่หวั ค�่ำจนถึง รุง่ เช้าในสามอิรยิ าบถคือยืน เดิน นั่ง งดเว้นอิรยิ าบถนอน ท�ำให้ ผูฝ้ ึ กตนจ�ำนวนหนึ่งรู ส้ กึ อึดอัด พระอาจารย์ท่ีเป็ นผูน้ ำ� การปฏิบตั ิ ธรรมจึงต้องคอยสังเกต เพื่อจะได้สอดแทรก "อารมณ์ขนั " ในบาง ช่วงเวลา ซึง่ จะท�ำให้บรรยากาศผ่อนคลายหายเกร็ง นี่คืออานิสงส์ ของการเจริญกรรมฐานร่วมกับกัลยาณมิตรที่มีช่ วั โมงบินสูง




เขาและหล่อน เกิดมาเพื่อเป็น สุนัขลากเลื่อน


52 ท่ามกลางเสียงเห่าหอนของกองคาราวานสุนัขลากเลื่อน ที่ยกโขยงมาตัง้ อยูบ่ นลานน�ำ้ แข็งตรงข้ามกับวัดธรรมปาละ พุทธศาสน สุภาษิ ตบทหนึ่งก็ผดุ ขึน้ มาในใจฉัน “กมฺมนุ า วตฺตตี โลโก สัตว์ โลกย่อมเป็ นไปตามกรรม” ทุกๆสองปี ในสัปดาห์สดุ ท้ายของเดือน กุมภาพันธ์ท่ีหมู่บา้ นคันเดอร์สเตก จะจัดแข่งขันสุนขั ลากเลื่อน ระดับนานาชาติหรือ World Championships Sled Dog Races หลายวันก่อนหน้านีฉ้ นั เห็นฝรั่งร่างท้วมคนหนึ่งพาสุนขั นับสิบตัว มาฝึ กวิ่งแทบทุกวัน ส�ำหรับชาวพุทธอย่างเรามักจะคิดว่าเป็ นการ ทรมานสัตว์ แต่พระเจ้าถิ่นชีแ้ จงว่าสุนขั ทัง้ ๔ สายพันธุค์ อื Samoyed, Gronlandshund, Siberian Husky, Alaskan Malamute ถือก�ำเนิด ขึน้ มาเพื่อการนีโ้ ดยเฉพาะ เท่าที่ฉนั ได้สงั เกตก็ดเู หมือนจะเป็ นเช่น นัน้ เพราะฝูงสุนขั ต่างพากันแสดงอาการลิง (สุนขั ) โลด เมื่อรูว้ า่ ตน จะได้ลากเลื่อนให้ผเู้ ป็ นนาย รวมทัง้ กระโดดเด้งดึ๋งดีใจสุดขีดเมื่อ ได้รบั เศษเนือ้ เป็ นของก�ำนัลหลังจากสิน้ สุดการฝึ กฝนในแต่ละวัน ข้อความในตอนท้ายของบทสวดมนต์ "อภิณหปั จจเวกขณะ" แสดง ความจริงตามธรรมชาติซง่ึ สอดคล้องกับเทศกาลนีอ้ ย่างบังเอิญ “เรามีกรรมเป็ นของตน มีกรรมเป็ นผูใ้ ห้ผล มีกรรมเป็ นแดนเกิด มีกรรมเป็ นผูต้ ิดตาม มีกรรมเป็ นที่พ่งึ อาศัย เราท�ำกรรมอันใดไว้ เป็ นบุญหรือเป็ นบาป เราจะเป็ นทายาท คือว่าเราจะต้องได้รบั ผล


เขาและหล่อนเกิดมาเพื่อเป็นสุนัขลากเลื่อน

53

ของกรรมนัน้ ๆสืบไป” นอกจากนีห้ ลวงพ่อชายังได้แสดงอุปมาสัน้ ๆแต่ครอบคลุม ข้อความข้างต้นว่า "ปลาอยู่ในทะเล ท�ำไมมันจึงไม่แสบตา” ขยายความได้วา่ เพราะกรรมสร้างปลามาอย่างนัน้ และต้องมีวถิ ีชีวติ เช่นนัน้ จวบจนสิน้ อายุขยั ส่วนมนุษย์ซง่ึ เป็ นสัตว์ท่ีมีศกั ยภาพเหนือ กว่าปลาจึงสามารถ "แก้กรรม" ได้ดว้ ยตนเอง กรรมเป็ นค�ำที่มีรสชาติ กลางๆซึง่ หมายถึง "การกระท�ำประกอบด้วยเจตนา" เราสามารถ แก้กรรมได้ดว้ ยการสร้างและรักษาเจตนาที่เป็ นกุศล รวมทัง้ ก�ำจัด และป้องกันเจตนาที่เป็ นอกุศล กรณีหนึง่ ที่นา่ สนใจเกี่ยวกับเรือ่ งกรรมก็คอื เด็กสาวในครอบครัว ชาวอเมริกนั อยากไปเที่ยวกลางคืนกับกลุม่ เพื่อน แต่พอ่ เป็ นห่วงจึง ไม่อนุญาต แม้เธอจะอ้อนวอนเพียงใดก็ตาม ในที่สดุ เธอหมดความ อดทนจึงเงือ้ มือขวาขึน้ หมายจะตบพ่อแต่ยงั้ ไว้ได้ทนั เมื่อผูเ้ ป็ นพ่อ เห็นว่าลูกของตนห้ามไม่ฟังจึงปล่อยไปตามยถากรรม หลังจาก ได้เที่ยวกลางคืนกับเพื่อนสมใจอยาก ช่วงกลางดึกเด็กสาวก็กลับ มาที่บา้ น ทว่าเช้าวันรุ ง่ ขึน้ เธอไม่สามารถยกแขนข้างขวาขึน้ ได้ พ่อกับแม่จงึ พาไปโรงพยาบาล แพทย์วนิ ิจฉัยแล้วก็ยงั ไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาเธอจึงไปพบจิตแพทย์ซง่ึ ท�ำให้ได้รบั ค�ำอธิบายว่า อาการยกแขน


54 ไม่ขนึ ้ เป็ นผลจากการท�ำงานของจิตใต้สำ� นึก แม้จิตส�ำนึกซึง่ เปรียบ เหมือนยอดแหลมของภูเขาน�ำ้ แข็งจะบอกว่า "ตนไม่ผดิ " แต่จติ ใต้สำ� นึก ซึง่ เปรียบได้กบั ฐานมหึมาของภูเขาน�ำ้ แข็งกลับบอกว่า สิ่งที่ตนท�ำ ลงไปคือการเงือ้ มือหมายจะตบพ่อนัน้ เป็ น “ความผิดอย่างมหันต์" จิตใต้สำ� นึกจึงสั่งให้รา่ งกายยกแขนข้างขวาไม่ขนึ ้ ด้วยจุดประสงค์ สองประการคือ หนึง่ เพื่อลงโทษให้สาสมกับความผิด และสองเพื่อ ให้ผเู้ ป็ นพ่อสงสารเห็นใจแล้วให้อภัย อีกกรณีหนึง่ ที่คล้ายกันเกิดขึน้ ในประเทศไทย โยมเพื่อนรุน่ น้อง คนหนึ่งเล่าให้ฉนั ฟั งว่า ช่วงวันสงกรานต์ผคู้ นหลากเพศหลายวัย ต่างพากันไปสรงน�ำ้ พระประธานคูบ่ า้ นคูเ่ มืองที่วดั ประจ�ำจังหวัด หลังจากสรงน�ำ้ พระประธานเสร็จแล้ว ขณะก�ำลังเดินออกมาจาก โบถส์ เพื่อนหนุม่ คนหนึง่ ก็หนั ไปจ้องพระพักตร์ของพระประธานแล้ว พูดด้วยความคึกคะนองว่า "มึงมองหน้ากูทำ� ไมว่ะ” จากนัน้ ก็หวั เราะ กันอย่างสนุกสนาน รุง่ เช้าปากของเพื่อนหนุม่ คนนัน้ ก็บวมเป่ งโดย ไม่สามารถอธิบายได้ดว้ ยเหตุผลทางการแพทย์ เมื่อพ่อกับแม่ซกั ไซ้ ไล่เลียงแล้วทราบว่าอาการเจ็บป่ วยมีตน้ เหตุมาจาก “มิจฉาวาจา” จึงน�ำตัวเด็กหนุ่มพร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาพระประธานที่ วัดแห่งนัน้ อาจด้วยพืน้ ฐานทางวัฒนธรรมที่ถกู ปลูกฝังให้เชื่อและ เคารพในสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ตงั้ แต่เยาว์วยั เมื่อได้ฟังเรือ่ งนีจ้ งึ ท�ำให้ฉนั คิดว่า


55

นานมาแล้วนักศึกษาไทยคนหนึ่งซึ่งมีแม่เป็ นชาวไทยและ พ่อเป็ นฝรั่ง ได้สนทนาธรรมกับฉันเกี่ยวกับเรื่องกรรม เธอเริม่ เปิ ด ประเด็นด้วยเหตุการณ์ท่ีโรงเรียน ครัง้ หนึง่ เธออธิบายให้เพื่อนฝรั่ง ฟั งว่าการฆ่าสัตว์นนั้ เป็ นบาป และผูฆ้ า่ ต้องชดใช้กรรมด้วยการไป เกิดเป็ นสัตว์ชนิดนัน้ แล้วถูกฆ่าอีกครัง้ แล้วครัง้ เล่า แม้จะพยายาม อธิบายเพียงใดแต่เพื่อนฝรั่งก็ดเู หมือนจะไม่เข้าใจ ฉันได้แต่อมยิม้ ด้วยความเอ็นดูเพราะฉันเองก็ไม่เข้าใจเช่นกัน จากนัน้ ฉันได้อธิบาย เรือ่ งกรรมในแง่ท่ีเป็ นเหตุผลจับต้องได้ เธอก็แสดงสีหน้าไม่เข้าใจว่า เหตุใดค�ำอธิบายของฉันจึงขัดแย้งสิ่งที่เธอเชื่อมานมนาน นับเป็ นสถานการณ์ปรกติสำ� หรับผูค้ ลุกคลีอยูใ่ นวัฒนธรรมแห่ง ความเชื่อและเคารพสิ่งศักดิส์ ทิ ธิ์ มักพึงพอใจที่จะได้ยินค�ำอธิบาย ซึ่งไม่อยู่ในกรอบของเหตุผลเช่น “บุคคลผูห้ นึ่งประสบอุบตั ิเหตุ ทางรถยนต์แล้วขาหัก เนื่องจากเมื่อครัง้ วัยรุน่ เคยหักขากบ" ส่วน ค�ำอธิบายที่สมเหตุสมผลและไม่ยอกย้อนซ่อนปม แต่มกั ไม่ได้

เขาและหล่อนเกิดมาเพื่อเป็นสุนัขลากเลื่อน

เทวดาที่รกั ษาพระอุโบสถคงจะลงทัณฑ์เด็กหนุม่ ให้หลาบจ�ำ ส่วน เรื่องลูกสาวเงือ้ มือจะตบพ่อนัน้ หากตัดค�ำอธิบายของจิตแพทย์ ออกไป ชาวสยามประเทศที่เกิดและเติบโตในวัฒนธรรมเดียวกับ ฉันก็คงคิดว่า นี่เป็ นการให้บทเรียนโดยผีบา้ นผีเรือน


56 รับความนิยมในประชาชนกลุม่ ข้างต้นก็คือ "บุคคลผูห้ นึ่งประสบ อุบตั เิ หตุทางรถยนต์แล้วขาหัก เนื่องจากก่อนขับรถ เขาหรือหล่อน ดื่มหนักถึงระดับมึนเมาขาดสติ" เป็ นเรื่องแปลกแต่จริงที่เราชอบฟั งและชอบเชื่อในสิ่งเร้นลับ แต่เมื่อใครหาเหตุผลมาอธิบายเพื่อให้เกิดความรุง่ เรืองทางปั ญญา เรากลับกลบเกลื่อนด้วยประโยคคลาสสิกฝังใจว่า "ไม่เชื่ออย่าลบหลู"่ ทัง้ ที่ความจริงแล้วผูอ้ ธิบายมิได้มีเจตนาจะลบหลูเ่ พียงแต่เขาอยาก "เรียนรู "้ พระฝรั่งรู ปหนึ่งซึ่งนิยมชมชอบเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย ์ เล่าให้ฉนั ฟั งว่า วัดของท่านซึง่ รายล้อมด้วยภูเขาเคยเป็ นเมืองบาดาล ของพญานาคมาก่อน แต่ปัจจุบนั เมืองนีไ้ ด้ยา้ ยออกไปแล้ว เมื่อท่าน เล่าจบฉันก็เกิดปฏิกิรยิ าตอบสนองทันควันว่า “Climate Change คงจะเป็ นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”




เขียนถึงย่า จากศูนย์องศา


60 หิมะโปรยปรายบนยอดเขาราวสองวัน จากนัน้ จึงเคลื่อน ลงมายังเชิงเขาซึง่ เป็ นที่ตงั้ ของวัดธรรมปาละ หลังจากล้างภาชนะ ส�ำหรับอาหารมือ้ เช้า พระเจ้าถิ่นผูท้ ำ� หน้าที่รบั โทรศัพท์ก็แจ้งว่ามี ข้อความฝากถึงฉัน “วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ เวลา ๗ โมงเช้าของเมืองไทย ย่าสิน้ อายุขยั แล้ว” ฉันเดินกลับมายังห้องพัก นั่งปลงสังเวชอยูค่ รูห่ นึง่ แล้วติดต่อไปยังบ้านเกิดที่จงั หวัดอุบลราชธานี ย่าอายุ ๙๙ ปี ๑๐ เดือน ๑๘ วัน นอกจากความแก่เฒ่าแล้ว ก็ไม่มีโรคประจ�ำตัวอย่างอื่น ย่ามาป่ วยด้วยโรคชราอยูท่ ่ีบา้ นโยม พ่อโยมแม่ของฉันเป็ นเวลาเกือบสิบปี บ้านหลังนีม้ ีญาติผใู้ หญ่ ถึงแก่กรรมแล้ว ๔ คน คนแรกคือ “พี่สาวของยาย” ตอนนัน้ ฉันยัง เป็ นเด็ก ต่อมาก็ “ตา” แล้วตามด้วย “ยาย” ตอนที่ฉนั เป็ นวัยรุน่ และ ล่าสุดก็คือ “ย่า” ขณะนีฉ้ นั ล่วงเข้าวัยกลางคน ฉันร�ำลึกถึงนิทาน โบราณขึน้ มาฉับพลัน มหาเศรษฐี ผหู้ นึ่งเดินทางไปท�ำบุญวันเกิด ที่วดั เซน และได้ขอให้หลวงพ่อซึง่ มีช่ือเสียงในการเขียนตัวอักษร จารึกสิ่งที่เป็ นศิรมิ งคลแก่ชีวิตลงบนกระดาษเพื่อจะได้นำ� ไปแขวน ประดับบ้าน หลวงพ่อนั่งนิ่งอยูค่ รูห่ นึง่ แล้วตวัดพูก่ นั เทพเป็ นตัวอักษร ค�ำว่า “ปู่ ยา่ ตายายตาย พ่อแม่ตาย ตัวเองตาย ลูกตาย หลานตาย เหลนตาย” เศรษฐี รบั มาอ่านแล้วถึงกับเป็ นลมล้มพับ เมื่อฟื ้ นคืนสติ เศรษฐี ก็ตอ่ ว่าหลวงพ่อเป็ นการใหญ่ “ท�ำไมจึงเขียนสิง่ ที่เป็ นอัปมงคล


เขียนถึงย่าจากศูนย์องศา

61

แบบนี”้ หลวงพ่ออรรถาธิบายอย่างใจเย็นว่า “คนเกิดก่อน ตายก่อน คนเกิดทีหลัง ตายทีหลัง ชีวิตของใครได้อย่างนีก้ ็นบั ว่าดีท่ีสดุ แล้ว แต่ส่งิ ที่เกิดขึน้ กับมนุษย์หาได้เป็ นเช่นนัน้ บางครัง้ คนเกิดก่อนตาย ทีหลัง บางคราวคนเกิดทีหลังตายก่อน” เศรษฐี ได้ฟังดังนัน้ ก็แสดง ความคารวะหลวงพ่อด้วยความเลื่อมใสในภูมิจิตภูมิธรรม ย่าใจบุญสุนทานตามประสาคนโบราณซึง่ คงได้รบั การถ่ายทอด มาจากคนรุน่ ก่อน โยมพ่อเล่าให้ฟังว่า เมื่อครัง้ เป็ นเด็กเคยพักอยูบ่ า้ น ตึกใกล้สถานีรถไฟในจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อรถไฟเข้าเทียบชานชาลา ในช่วงใกล้ค่ำ� ได้สกั ครูใ่ หญ่ ย่าจะบอกให้โยมพ่อขึน้ ไปบนดาดฟ้า เพื่อนับกลดของพระธุดงค์บริเวณละเมาะ จากนัน้ ย่าจะชงโอเลีย้ ง ตามจ�ำนวนกลดที่โยมพ่อนับได้ แล้วให้นำ� ไปถวายพระ ย่าเป็ นเพื่อนสนิทกับยาย ย่ามีรูปร่างผอมเพรียวและพูดน้อย ส่วนยายมีรูปร่างท้วมและพูดคุยสนุก ใครๆมักจะเห็นย่ากับยายไป ท�ำบุญที่วดั ด้วยกันอยูเ่ สมอ ยายเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อชาเคยบอก ให้ยายไปอุปัฏฐากวัดเล็กๆ เพราะวัดหนองป่ าพงมีญาติโยมมา อุปถัมภ์เยอะแล้ว นับตัง้ แต่นนั้ ยายจึงชักชวนย่าไปท�ำบุญที่สำ� นัก สาขาของวัดหนองป่ าพงแห่งหนึง่ ซึง่ ตัง้ อยูร่ มิ แม่นำ้� มูลเป็ นประจ�ำ ยายจากย่าไปสูส่ มั ปรายภพด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุ ๖๖ ปี ฉันเคย


62 ได้ยนิ ย่าบ่นคิดถึงยายอยูบ่ อ่ ยๆว่า “เสียดาย...ไม่นา่ อายุสนั้ ” หลังจาก ยายถึงแก่กรรม ย่าก็ยงั คงไปท�ำบุญที่วดั แห่งนัน้ อย่างสม�่ำเสมอ บางวัน ที่ลกู หลานไม่สะดวกไปส่ง ย่าจะนั่งรถเมล์ไปลงปากทางเข้าวัด แล้วใช้ ไม้คานหาบอาหารหวานคาวเดินไปจนถึงวัดป่ าริมฝั่งแม่นำ้� มูล ซึง่ เป็ น ระยะทางราว ๒ กิโลเมตร บางครัง้ ก็มีชาวบ้านจอดรถจักรยานยนต์ รับย่าไปด้วย การสื่อสารและคมนาคมในอดีตนัน้ เชื่องช้า คนรุน่ ย่าจึงไม่รูจ้ กั พุทธศาสนานิกายอื่น เมื่อได้ยินค�ำว่า “พระ” ย่อมหมายถึง “พระ” เท่านัน้ ไม่มีพระเถรวาท พระมหายาน พระธิเบต พระเซน ซึง่ นับว่า เป็ นบุญประการหนึ่งเพราะไม่ตอ้ งปวดขมับสับสน ต่างกับคนรุ น่ ปั จจุบนั ซึง่ นับถือสารพันและช่างขยันสรรหา ไม่วา่ จะเป็ นกวนอิม พิฆเนศ กาลี ไสบาบา หรือแม้กระทั่งมนุษย์ตา่ งดาว นอกจากนีค้ วาม หลากหลายหรือทางเลือก ความคิดต่างหรือนอกกรอบ ไม่สำ� คัญ กับคนรุน่ ย่าเท่ากับความถูกต้องดีงามตามพระธรรมวินยั ช่วงที่ย่าป่ วยด้วยโรคชราอยู่ท่ีจงั หวัดอุบลราชธานี ฉันเคยไป เยี่ยมหลายครัง้ และทุกครัง้ ที่พบกันย่ามักถามว่า “พระสบายดีไหม?” เมื่อฉันตอบว่า “สบายดีตามประสาพระ” ย่าก็จะพูดต่อไปว่า “สบายดี ก็อยูไ่ ปเรือ่ ยๆ” บทสนทนาระหว่างฉันกับย่าส่วนใหญ่ไม่เกินไปจากนี ้


เขียนถึงย่าจากศูนย์องศา

63

ในช่วงปี ทา้ ยๆย่ารับประทานอาหารหยาบไม่ได้ นอกจากของเหลว จ�ำพวกเครือ่ งดื่มธัญพืชและน�ำ้ ย่าเดินไม่ได้เพราะเส้นเอ็นที่ขาหด เกร็ง อิรยิ าบถทัง้ หมดของย่าคือนอนกับนั่งซึง่ ต้องมีคนช่วยเหลือ ย่าจ�ำใครไม่ได้ ฉันอาจเป็ นหลานคนสุดท้ายในความทรงจ�ำของ ย่า เพราะใช้เครือ่ งนุง่ ห่มแตกต่างจากหลานคนอื่นๆ และเมื่อฉันไป เยี่ยมย่าก็ยงั คงยกมือไหว้ผา้ กาสาวพัสตร์อยูเ่ สมอ ยามบ่ายอันเงียบสงบวันหนึง่ ก่อนเดินทางมาสวิตเซอร์แลนด์ ฉัน นั่งลงข้างเตียงด้วยหมายพิจารณาธาตุขนั ธ์ของย่า ผมขาวโพลนราว หิมะถูกตัดให้สนั้ เพื่อดูแลง่าย ใบหน้าเต็มไปด้วยรอยยับย่นปรากฏ แผลที่ยา่ เกาบ่อยจนไม่ยอมหาย ฟั นไม่เหลือแม้แต่ซ่ีเดียว หูของย่า ยาวและใหญ่ กระดูกท่อนแขนปูดโปนอย่างเห็นได้ชดั เพราะมีเพียง หนังบางๆหุม้ อยู่ ขาหดงอรัง้ หัวเข่าเข้ามาจนเกือบชนหน้าท้อง เมื่อ ผูด้ แู ลจับขาของย่าเหยียดออกเพื่อท�ำกายบริหาร ย่าจะร้องด้วย ความเจ็บปวด ฉันร�่ำลาย่าในวันนัน้ ด้วยความรู ท้ ่ีวา่ “วันหนึ่งฉัน จะเป็ นเหมือนย่า” ย่ามีลกู ๗ คน เสียชีวิตในช่วงวัยรุน่ ด้วยโรคประจ�ำตัวหนึง่ คน อีก ๖ คนที่เหลือต่างผลัดเปลี่ยนกันมาพยาบาลผูเ้ ป็ นมารดาอย่าง สุดความสามารถ การดูแลผูเ้ ฒ่าหรือเด็กทารกไม่ใช่เรื่องง่ายและ


64 แทบไม่แตกต่างกัน เนื่องจากต้องตามประกบแทบตลอด ๒๔ ชั่วโมง สิ่งที่ผิดแผกกันก็คือวันหนึ่งเด็กทารกจะเติบโตและดูแลตัวเองได้ ส่วนหน้าที่ของลูกหลานจะยุตกิ ็ตอ่ เมื่อผูเ้ ฒ่าสิน้ ลมหายใจ ในระยะยี่สบิ กว่าปี มานี ้ เมื่อผูค้ นทราบว่าญาติสนิทมิตรสหาย ของเพื่อนพ้องน้องพี่มีอนั เป็ นไป ก็มกั เอ่ยค�ำว่า “ขอแสดงความ เสียใจด้วยนะ” ฉันอนุมานว่าประโยคนีค้ งผ่องถ่ายมาจากวัฒนธรรม ฮอลลีวดู้ เพราะคนรุ น่ ก่อนหน้านีน้ ิยมพูดกันว่า “ขอให้ไปสู่สตุ ิ” “ขอให้ไปสูภ่ พภูมิท่ีดี” หรือภาษาปากที่เราคุน้ เคยกันก็คือ “ขอให้ ไปสูท่ ่ีชอบๆ” นี่เป็ นวัฒนธรรมของชาวพุทธโดยแท้ แม้แต่พระฝรั่ง ที่พำ� นักอยูว่ ดั ธรรมปาละด้วยกัน เมื่อทราบข่าวการจากไปของย่า ก็ไม่มีแม้แต่รูปเดียวที่กล่าวค�ำว่า “I’m sorry” ส่วนค�ำว่า “ชอบ” ในประโยค “ขอให้ไปสูท่ ่ีชอบๆ” มิได้หมายถึงสถานที่ซง่ึ บุคคลนัน้ พึง พอใจ แต่มีความหมายเป็ นอันหนึง่ อันเดียวเหมือนกับค�ำว่า “ชอบ” ในมรรคมีองค์แปดเช่น “สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ” ซึง่ หมายถึง ความถูกต้องดีงาม เช่นเดียวกับค�ำว่า “สังเวช” ที่มิได้แปลว่า “ความ สลดหดหูใ่ จ” แต่คำ� นีม้ าจาก “สังเวค” ซึง่ แปลว่า “ท�ำให้มีกำ� ลัง” เช่น สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่อนั ยังให้เกิดพลังเร้ากุศล ท�ำให้ ตระหนักถึงความดี ความจริง และความไม่ประมาท


เขียนถึงย่าจากศูนย์องศา

65

งานฌาปนกิจจัดขึน้ หลังจากย่าถึงแก่กรรมได้สามวัน ฉันมิได้ เดินทางไปร่วมงานนีเ้ พราะยังมีศาสนกิจที่ตอ้ งปฏิบตั ิในประเทศส วิตเซอร์แลนด์เป็ นระยะเวลาอีกหลายเดือน อีกทัง้ วีซา่ ประเภทพ�ำนัก ระยะยาวของฉันก็เป็ นชนิด “ไปไม่กลับ” หรือ Single Entry ถ้าออก จากประเทศนีไ้ ปแล้วก็ตอ้ งยื่นเอกสารขอวีซ่ากันใหม่ ซึ่งขัน้ ตอน ส�ำหรับพระภิกษุซบั ซ้อนกว่าชาวบ้านทั่วไป แต่ส่งิ หนึง่ ที่ฉนั สามารถ ท�ำได้ในขณะที่ปยุ หิมะพร่างพรูก็คือร�ำลึกถึงคุณงามความดีท่ียา่ ได้ บ�ำเพ็ญมาตลอดชั่วอายุขยั ซึง่ เป็ นมรดกตกทอดมาถึงรุน่ ลูกรุน่ หลาน


กว่าจะเป็นเจ้าอาวาส (ภาคแรก)



68 “เปิ ดดูหวั ใจของเจ้าอาวาสจะเห็นแต่นรก!” เนิ่นนานมาแล้ว ที่หลวงพ่อชาปรารภเรือ่ งนีก้ บั พระภิกษุสามเณร ในขณะที่พระป่ า รูปหนึ่งซึง่ ก�ำลังมีความสุขกับการเจริญสมณธรรม เดินธุดงค์หรือ ปลีกวิเวกอยูใ่ นสถานที่รน่ื รมย์ตามล�ำพัง อาศัยเพียงบาตร จีวร และ บริขารเท่าที่จำ� เป็ น เต็มเปี่ ยมด้วยอิสระเช่นเดียวกับนกซึง่ มีเพียงปี ก และจะงอยปากบินไปในนภากาศ แต่แล้ววันหนึง่ ก็มีเหตุให้ตอ้ งมา ด�ำเนินกิจวัตรอยูใ่ นสถานที่อนั จ�ำเจ รับผิดชอบงานก่อสร้างกุฏิ วิหาร โรงครัว ห้องสุขา ระบบน�ำ้ ระบบไฟฟ้า ดูแลพระภิกษุสามเณร อบรม ญาติโยม ไปร่วมงานทอดกฐิ น ผ้าป่ า มุทติ าสักการะ เททองหล่อพระ ฝังลูกนิมิต ฌาปนกิจ เยี่ยมผูป้ ่ วย ประสานงานกับวัดฝ่ ายปกครอง หากวัดป่ าแห่งใดมีสำ� นักชีก็จะเพิ่มความปวดเศียรเวียนกระหม่อม ให้แก่เจ้าอาวาสอีกเท่าทวี นี่คือวิถีกรรมของผูร้ งั้ ต�ำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่ าในประเทศไทย ส่วนในท้องถิ่นซึง่ การด�ำเนินชีวติ แตกต่างจาก วัฒนธรรมพุทธจะเป็ นเช่นไร บุคคลากรที่คลุกวงในเท่านัน้ จึงจะ สามารถไขข้อสงสัยนีไ้ ด้อย่างถึงเนือ้ ถึงหนัง บ่ายวันหนึ่งฉันจึงขอ โอกาสสนทนากับ “พระอาจารย์เขมะสิร”ิ ผูด้ ำ� รงต�ำแหน่งเจ้าอาวาส วัดธรรมปาละ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ พระอาจารย์เขมะสิริ เป็ นชาวเยอรมันโดยก�ำเนิด ท่านรูจ้ กั พุทธ ศาสนาครัง้ แรกเมื่ออายุ ๒๗ ปี โดยการชักชวนของเพื่อนสนิทให้


กว่าจะเป็นเจ้าอาวาส ภาคแรก

69

เข้าร่วมพิธีกรรม ณ ส�ำนักพุทธของธิเบตในกรุงเบอร์ลนิ ราวปี พ.ศ. ๒๕๑๐ แม้ส่งิ ที่ได้จากวันนัน้ คือความงุนงงล้วนๆ แต่ก็จดุ ประกาย ความสนใจให้เกิดขึน้ ในเวลาต่อมา ภายหลังท่านได้อ่านหนังสือ พุทธศาสนาของธิเบตและกลับไปยังส�ำนักแห่งนัน้ อีกครัง้ ท�ำให้ มีโอกาสได้ฝึกนั่งสมาธิพร้อมทัง้ ถูกสอนให้ “เชื่อ” ตามแนวการ ปฏิบตั ขิ องพุทธศาสนาฝ่ ายธิเบตเช่น หากสวดมนต์บทนีส้ ามพันครัง้ จะถือว่า ปฏิบตั ไิ ด้ถงึ ขัน้ นี ้ ทว่าภายในจิตใจของท่านขณะนัน้ มิได้ตอ้ งการระบบความเชื่อ แบบใหม่ ซึง่ เป็ นไปในทิศทางเดียวกับศาสนาดัง้ เดิมที่บรรพบุรุษ ของท่านเคยนับถือ ต่อมาไม่นานพระธิเบตที่สำ� นักแห่งนัน้ ก็เดิน ทางออกจากกรุ งเบอร์ลิน แต่นกั ปฏิบตั ิธรรมมือใหม่ยงั ต้องการ ค�ำแนะน�ำจากครูบาอาจารย์ ท่านจึงเดินทางไปยังตอนเหนือของ ประเทศอังกฤษ เนื่องจากที่น่ นั มีวดั ธิเบตอีกแห่งหนึ่งซึง่ อยูต่ ิดกับ ชายแดนของประเทศสกอตแลนด์ แต่ก่อนจะถึงวัดธิเบตต้องแวะ ที่กรุงลอนดอน เป็ นเหตุให้ได้เข้าร่วมการอบรมภาวนากับอาจารย์ ฝ่ ายฆราวาสที่ศนู ย์ฝึกสมาธิซง่ึ ดูแลโดยครอบครัวชาวพม่า ท่านจึง ได้รูจ้ กั กับลูกศิษย์ชาวต่างประเทศรูปแรกของหลวงพ่อชา นั่นก็คือ พระอาจารย์โรเบิรต์ สุเมโธ (ปั จจุบนั คือพระราชสุเมธาจารย์หรือ หลวงพ่อสุเมโธ) ซึง่ ขณะนัน้ เพิ่งก่อตัง้ ส�ำนักสงฆ์ขนาดกะทัดรัดที่


70 ชื่อว่า “พุทธวิหารแฮมสเตด” ในกรุงลอนดอน ก่อนเดินทางไปยังส�ำนักพุทธของธิเบต นักปฏิบตั ธิ รรมมือใหม่ ชาวเยอรมันได้พำ� นักอยูท่ ่พี ทุ ธวิหารแฮมสเตดเป็ นเวลาหนึง่ สัปดาห์ ท�ำให้ เกิดความประทับใจในข้อวัตรปฏิบตั ขิ องคณะสงฆ์จากวัดหนองป่ าพง เมื่อเดินทางกลับจากชายแดนของประเทศสกอตแลนด์จงึ แวะพัก ที่วิหารแฮมสเตดอีกหนึง่ สัปดาห์ ทางคณะสงฆ์ก็ประทับใจในฝี มือ การปรุงอาหารของท่าน เนื่องจากท่านเคยเป็ นพ่อครัวมือฉมังประจ�ำ ร้านอาหารมังสวิรตั ิมาก่อน เมื่อนักปฏิบตั ิธรรมมือใหม่ทราบว่า พระอาจารย์สเุ มโธจะสอนวิปัสสนากรรมฐานทุกสามเดือน ที่ศนู ย์ ปฏิบตั ธิ รรมซึง่ ดูแลโดยครอบครัวชาวพม่า จึงสมัครเข้าฝึ กอบรมด้วย แม้การปฏิบตั ธิ รรมอย่าเข้มข้นในครัง้ นัน้ จะไม่ใช่เรือ่ งง่าย แต่ก็ทำ� ให้ เกิดแรงบันดาลใจอย่างยิ่งยวด พระอาจารย์เขมะสิรอิ ปุ มาความรูส้ กึ ในขณะนัน้ อย่างอารมณ์ดีวา่ “I licked the Dhamma like a thirsty dog. - ผมลิม้ เลียธรรมะราวกับสุนขั กระหายน�ำ้ ” ขณะนัน้ พระอาจารย์ สุเมโธเพิ่งจากเมืองไทยมาได้เพียงหนึง่ ปี ประสบการณ์นบั สิบปี ท่ีได้ ปฏิบตั ธิ รรมกับหลวงพ่อชา ซึง่ ท่านน�ำมาสอนในช่วงเวลานัน้ จึงยัง สดใหม่ ท�ำให้ผเู้ ข้าร่วมอบรมสัมผัสได้ถงึ ความพิเศษของหลวงพ่อชา นับแต่นนั้ มานักปฏิบตั ิธรรมมือใหม่ชาวเยอรมันก็เดินทางจาก


กว่าจะเป็นเจ้าอาวาส ภาคแรก

71

กรุงเบอร์ลนิ ไปเข้าร่วมอบรมวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์สเุ มโธ ที่กรุงลอนดอนทุกสามเดือน และเริม่ รูส้ กึ ว่าไม่เพียงพอ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงย้ายไปท�ำงานในร้านจ�ำหน่ายอาหารออร์แกนิคที่ประเทศอังกฤษ เป็ นเวลา ๔ ปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้ตดั สินใจถือเพศอนาคาริก ที่วดั อมราวดีซง่ึ เพิ่งเปิ ดท�ำการได้เพียงไม่ก่ีสปั ดาห์ สองปี ถดั มาจึง อุปสมบทโดยมีพระอาจารย์สเุ มโธเป็ นพระอุปัชฌาย์ เมื่อกราบเรียนถามถึงธรรมะของหลวงพ่อชาที่พระอาจารย์เขมะสิริ ประทับใจเป็ นพิเศษ ค�ำตอบที่ได้รบั ก็คอื “พูดเจาะจงล�ำบากเพราะมี เยอะมาก” ท่านขยายความต่อไปว่าการแสดงธรรมของหลวงพ่อชา ไม่ได้มาในรูปแบบของค�ำพูดเท่านัน้ บ่อยครัง้ ที่มาจากการดูแลวัด หรือเกี่ยวข้องกับลูกศิษย์ หลวงพ่อชาสามารถแสดงธรรมได้ในทุก สถานการณ์ เราสามารถซึมซับได้โดยไม่จำ� เป็ นต้องรอให้ท่านขึน้ ธรรมาสน์ หลวงพ่อชาจะสังเกตว่าพระรูปใดก�ำลังเป็ นทุกข์และเป็ น ทุกข์เพราะอะไร จากนัน้ ท่านจะเลือกโอกาสในการแสดงธรรม เช่น เมื่อครัง้ พระอาจารย์สเุ มโธยังอยูท่ ่ีวดั หนองป่ าพง ท่านไม่ชอบกวาด ใบไม้ เพราะคิดว่าเป็ นงานที่นา่ เบื่อแต่ก็ตอ้ งท�ำทุกวัน ยิ่งในฤดูแล้ง ฝุ่ นจะฟุง้ กระจายมากกว่าปรกติ กระทั่งวันหนึ่งหลวงพ่อชาสังเกต เห็นพระอาจารย์สเุ มโธกวาดใบไม้ดว้ ยสีหน้าบึง้ ตึงจึงเดินเข้าไปหา แล้วตัง้ ค�ำถามว่า “ความทุกข์อยูท่ ่ีไหน อยูท่ ่ีไม้กวาดหรืออยูท่ ่ีใบไม้”


72 เมื่อเล่าเรือ่ งนีจ้ บพระอาจารย์เขมะสิรหิ วั เราะร่วนแล้วพูดว่า “I really like the kind of practical down-to-earth wisdom. - อุบายติดดิน ที่เอาไปใช้ได้จริงแบบนี ้ ผมชอบมาก” พระอาจารย์เขมะสิริเล่าสืบไปว่า ค�ำสอนของหลวงพ่อชาที่ ประทับใจอีกบทหนึง่ ซึง่ เป็ นที่รูจ้ กั กันดีก็คือ “Still, flowing water” หลวงพ่อชาถามว่า “คุณเคยเห็นน�ำ้ ไหลไหม” ผูฟ้ ั งตอบว่า “เคยเห็นสิ” จากนัน้ หลวงพ่อชาก็ถามว่า “คุณเคยเห็นน�ำ้ นิ่งไหม” ผูฟ้ ั งตอบว่า “เคยเห็นสิ ก็อยูใ่ นสระนั่นไง” ตอนนีผ้ ฟู้ ั งเริม่ คิดกันว่า “ท�ำไมหลวงพ่อ ถามแบบนี ้ ฉันไม่ได้โง่น่ี ท�ำไมฉันจะไม่รูจ้ กั น�ำ้ ไหลกับน�ำ้ นิ่ง” แล้ว หลวงพ่อชาก็ถามอีกว่า “คุณเคยเห็นน�ำ้ ไหลนิ่งไหม” ถึงตอนนีผ้ ฟู้ ั ง ชักจะงุนงงเพราะค�ำถามทัง้ หมดเป็ นปริศนาธรรม ซึง่ เป็ นเรื่องน่า พิจารณาว่าความหมายที่แท้จริงของ “น�ำ้ ไหลนิ่ง” คืออะไร ภายใน จิตใจของเราจะมีบางความคิด บางความรูส้ กึ บางกิจกรรม บางความ เคลื่อนไหวอยูเ่ สมอ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสงบนิ่งปรากฏอยู่ เสมอเช่นกัน อุปมาของ “น�ำ้ ไหลนิ่ง” ก็คือจิตของเราสามารถสงบได้ เราสามารถเชื่อมโยงกับความสงบนัน้ ได้ แม้วา่ จะมีความคิด ความรูส้ กึ กิจกรรม หรือความเคลื่อนไหว แต่เราก็สามารถวางได้ มันไม่ได้เป็ น ปั ญหา เพราะเราตัง้ มั่นอยู่ในความสงบ “ผมไม่ทราบว่าหลังจาก ยกอุปมา ‘น�ำ้ ไหลนิ่ง’ แล้ว หลวงพ่อชาอธิบายอะไรเพิ่มเติม แต่ผม


กว่าจะเป็นเจ้าอาวาส ภาคแรก

พิจารณาของผมได้อย่างนี ้ ซึง่ ผูฟ้ ั งท่านอื่นอาจพิจารณาแตกต่าง ออกไป” พระอาจารย์เขมะสิรสิ รุปปิ ดท้าย

73



กว่าจะเป็นเจ้าอาวาส (ภาคหลัง)


76 “เจ้าอาวาสต้องท�ำตัวเหมือนถังขยะก้นรั่ว” อุปมาอันแยบคายของหลวงพ่อชา คงไม่มีผใู้ ดเข้าใจได้ลกึ ซึง้ ถึงกระดูกเท่ากับบุคคลที่ตกอยูใ่ นสถานการณ์เช่นนัน้ พระอาจารย์ เขมะสิรจิ บั พลัดจับผลูมาอยูใ่ นต�ำแหน่งนีไ้ ด้อย่างไร การเป็ นถังขยะ ก้นรั่วในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตอ้ งปฏิบตั ติ นเช่นไร และจะส�ำเร็จ ประโยชน์หรือไม่ เชิญผูอ้ า่ นคุย้ เขี่ยด้วยความหฤหรรษ์ ณ บัดนี ้ หลังจากพระอาจารย์ถริ ธมฺโม พระเถระชาวแคนาดา ปฐมเจ้าอาวาส ของวัดธรรมปาละ ผูค้ รองต�ำแหน่งนีย้ าวนานถึง ๑๗ ปี ได้ลาออก เพื่อเดินทางไปดูแลวัดโพธิญาณราม ส�ำนักสาขาอีกแห่งหนึ่งของ วัดหนองป่ าพง ในประเทศนิวซีแลนด์ พระอาจารย์เขมะสิรซิ ง่ึ ขณะนัน้ บวชเป็ นพระได้ ๒๐ พรรษา จึงน�ำประเด็นการว่างลงของต�ำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดธรรมปาละ เสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ชาวยุโรปสายวัด หนองป่ าพงในอังกฤษ แม้มปิ รารถนาต�ำแหน่งเจ้าอาวาส แต่เนื่องจาก พระอาจารย์เขมะสิรพิ ำ� นักอยูท่ ่ีวดั ธรรมปาละมาเป็ นเวลานานและมี พรรษาสูงสุด ท่านจึงกลายเป็ นเจ้าอาวาสไปโดยปริยาย แต่กอ่ นที่จะรับ ต�ำแหน่งนีพ้ ระอาจารย์เขมะสิรไิ ด้เสนอต่อที่ประชุมว่า “วัดธรรมปาละ เป็ นของคณะสงฆ์ ไม่ใช่ของผม ถ้าคณะสงฆ์ตอ้ งการให้ผมท�ำหน้าที่ ประธานสงฆ์ ผมก็จะขอลองดูสกั สองปี หลังจากนัน้ ค่อยพิจารณากัน


กว่าจะเป็นเจ้าอาวาส ภาคหลัง

77

ว่าจะเอาอย่างไร ถ้ามันพอไปได้ก็อาจจะท�ำต่อ แต่ถา้ มันไม่ไหวก็ควร จะให้พระรูปอื่นมารับหน้าที่นี”้ แม้ในระยะแรกที่เข้ามาบริหารงาน วัดธรรมปาละ พระอาจารย์เขมะสิรจิ ะต้องเผชิญปั ญหานานัปการ แต่กิจการภายในวัดก็ยงั พอด�ำเนินไปได้ อีกทัง้ ท่านยังถูกจริตกับการ ปฏิบตั ธิ รรม ณ สถานที่แห่งนี ้ จากนัน้ คณะสงฆ์สายวัดหนองป่ าพง ในประเทศอังกฤษก็พจิ ารณากันทุกปี วา่ จะด�ำเนินการอย่างไรต่อไป ในที่สดุ พระอาจารย์เขมะสิรกิ ็กลายเป็ นเจ้าอาวาสของวัดธรรมปาละ อย่างเต็มตัวและหัวใจ การเทศนาสั่งสอนเป็ นอีกกิจกรรมหนึง่ ที่หลบหลีกได้ยากส�ำหรับ ผูม้ ีตำ� แหน่งเจ้าอาวาส เมื่อถามถึงหัวข้อธรรมที่พระอาจารย์เขมะ สิรนิ ำ� มาปรารภกับญาติโยมชาวสยามประเทศบ่อยครัง้ ที่สดุ ก็ได้ รับค�ำตอบว่า “ผมไม่คอ่ ยได้สอนคนไทยมากนัก เคยให้คำ� แนะน�ำ กับเพียงบางคน หัวข้อที่นำ� มาสอนก็ขนึ ้ อยูก่ บั ว่าในขณะนัน้ ผูเ้ ข้าร่วม การปฏิบตั ธิ รรมสนใจเรือ่ งใด แต่โดยปรกติก็จะสอนเรือ่ งสติปัฏฐาน สอนให้เขามีประสบการณ์ตรงเรือ่ งอริยสัจ ๔ การสอนฝรั่งกับสอน คนไทยไม่แตกต่างกัน เพราะทุกคนก็มีความทุกข์เหมือนกัน แต่ บางครัง้ ผมก็พยายามสังเกตเหมือนว่าฝรั่งกับคนไทยสนใจธรรมะ หัวข้อใดเป็ นพิเศษ”


78 การสื่อสารด้วยสมมติภาษานับเป็ นอีกหนึ่งปั ญหาส�ำหรับการ เผยแผ่ธรรมะในต่างแดน พระอาจารย์เขมะสิรกิ ล่าวถึงเรื่องนีว้ ่า “ผมไม่ได้พดู ภาษาไทย ส�ำหรับญาติโยมชาวไทยที่ตอ้ งการสนทนา ธรรมด้วยภาษาดัง้ เดิมของตนเองไม่สามารถท�ำได้ท่ีน่ี บ่อยครัง้ ญาติโยมพบว่ามันไม่งา่ ยที่จะสนทนาธรรมด้วยการแปลจากภาษา ไทยเป็ นภาษาอังกฤษหรือเยอรมัน นอกจากนีภ้ รรยาชาวไทยยังไม่ สามารถเล่าให้สามีชาวสวิสทราบว่าพระพุทธศาสนาคืออะไร เพราะ ภรรยาพูดภาษาเยอรมันด้วยส�ำเนียงแปลกๆ สามีได้ยินคงร�ำคาญ เลยตัดบทว่า ฉันไม่สนใจพุทธศาสนา ปล่อยฉันไปตามเรื่องเถอะ แต่เมื่อผมอธิบายด้วยภาษาเยอรมันว่า อะไรอยูเ่ บือ้ งหลังพระพุทธรูป พิธีกรรม การท�ำบุญ การกราบไหว้ อะไรคือเนือ้ หาสาระของพระพุทธ ศาสนา สามีก็เข้าใจและแสดงความสนใจ” พระอาจารย์เขมะสิรสิ อนธรรมะด้วยสองภาษาคืออังกฤษและ เยอรมัน ซึง่ ท�ำให้ท่านพบว่า “อันที่จริงไม่ได้แตกต่างกัน แต่บาง ครัง้ การสอนด้วยภาษาอังกฤษก็ง่ายกว่า เพราะผมเติบโตในทาง ธรรมด้วยภาษาอังกฤษ พระอาจารย์ของผมก็พดู ภาษาอังกฤษ สิ่งแวดล้อมภายในวัดซึง่ ช่วยในการเรียนรูเ้ มื่อครัง้ ที่ผมเริม่ ปฏิบตั ิ ธรรมก็เป็ นภาษาอังกฤษ หลังจากกลับมาอยูใ่ นวัฒนธรรมดัง้ เดิม ของผมซึง่ ใช้ภาษาเยอรมันเป็ นหลัก ในระหว่างการแสดงธรรมผม


กว่าจะเป็นเจ้าอาวาส ภาคหลัง

79

ต้องแปลจากภาษาอังกฤษเป็ นภาษาเยอรมัน ระยะแรกก็มีสะดุดุ บ้าง แต่ตอนนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งใหญ่” หากเอ่ยถึงการท�ำบุญ ความเอือ้ เฟื ้ อเผื่อแผ่ ความมีนำ้� ใจ ชาว สยามประเทศมักมีช่ือเสียงอันดับต้นๆของโลก พระอาจารย์เขมะ สิรแิ สดงทัศนะในเรือ่ งนีว้ า่ “พุทธศาสนามีทงั้ ทาน ศีล ภาวนา แต่ คนไทยมักท�ำแค่ทานกับศีล ผมจึงชักชวนให้เขาภาวนามากยิ่งขึน้ ภาวนาในที่นีห้ มายถึงการฝึ กสมาธิ การปฏิบตั ธิ รรม ซึง่ จะเชื่อมโยง ไปถึงการด�ำเนินชีวิต” “อะไรคือสิ่งที่ยากที่สดุ ส�ำหรับการเป็ นเจ้าอาวาสในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์” ฉันถามพระอาจารย์เขมะสิรติ รงๆซึง่ ได้รบั ค�ำตอบว่า “สิ่งท้าทายมันเปลี่ยนอยูต่ ลอดเวลา  บางครัง้ สมาชิกภายในวัดก็ ดือ้ รัน้ บางคนดือ้ ตลอดเวลา บางคนดือ้ เป็ นบางเวลา ผมต้องเกี่ยวข้อง กับเรือ่ งต่างๆตลอดทัง้ ปี บางครัง้ ไม่มีใครช่วย บางคนอยากช่วยแต่ ไม่มีความช�ำนาญ แล้วเรือ่ งเหล่านัน้ ก็จะย้อนกลับมาหาผม เพราะ ผมเป็ นเจ้าอาวาสที่น่ี สิ่งเหล่านีเ้ กิดขึน้ เป็ นบางปี แต่มนั ก็มีความ เปลี่ยนแปลงเพราะสมาชิกภายในวัดเปลี่ยนหน้าอยู่เสมอ ผูท้ ่ีมา ใหม่ก็เข้ามาถามผมอยูต่ ลอด อันนีท้ ำ� ยังไง อันนัน้ ท�ำยังไง แต่ปีนีก้ ็ เบาขึน้ เพราะเราปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ และยกเลิกการผลิตจดหมาย


80 ข่าวซึง่ แต่ละฉบับใช้เวลาจัดท�ำนานถึง ๓ เดือน แง่ดีอย่างหนึง่ ของ ชีวิตพระป่ าในยุโรปก็คือ พุทธศาสนายังสดใหม่ เราไม่มีภาระต้อง เกี่ยวข้องกับโลกภายนอกมากนัก บรรยากาศแบบนีใ้ กล้เคียงกับ พระในครัง้ พุทธกาลซึง่ มีงานหลักคือการภาวนา” เนื่องจากต้องปฏิสมั พันธ์กบั พระภิกษุสามเณรและญาติโยมไม่ เว้นแต่ละวัน เจ้าอาวาสจึงต้องประสบกับสารพันปั ญหาซึง่ ประเด ประดังเข้ามาไม่ขาดสาย ไม่วา่ จะเป็ นเหตุการณ์หยุมหยิมเช่นปั จจัย ในตูบ้ ริจาคถูกขโมย หรือเรื่องคอขาดบาดตายเช่นส้วมเต็ม วัด ป่ าในต่างแดนบางแห่งถูกกลุม่ วัยรุน่ เจ้าถิ่นขโมยป้ายชื่อวัด ขว้าง กระจกหน้าต่าง หรือถึงขัน้ ทุบท�ำลายหัวบันไดทางขึน้ เจดีย ์ เมื่อ เผชิญกับสถานการณ์เหล่านีต้ อ่ เนื่องเป็ นแรมวัน แรมเดือน แรมปี “ขยะ” ภายในจิตใจของผูท้ ำ� หน้าที่บริหารกิจการภายในวัดจึงถูก หมมหมัก ถึงขนาดทะลักล้นส่งกลิ่นคลื่นเหียนก่อความเดือดร้อน ให้แก่ทงั้ ตนเองและผูอ้ ยูใ่ กล้ชิด นี่คือเหตุผลที่เจ้าอาวาสต้องฝึ กตน ให้เป็ นถังขยะก้นรั่วขนาดใหญ่ซง่ึ ไม่มีวนั เติมเต็ม



เกษียณอายุเจ้าอาวาส



84 เอโกว มจฺโจ อจฺเจติ เอโกว ชายเต กุเล สโํ ยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณิน ํ จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทงั้ หลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะข้องเกีย่ ว กันเท่านัน้ นับเป็ นเรือ่ งปรกติสำ� หรับพุทธบริษัทชาวไทย หากใครผูห้ นึง่ บวช เป็ นพระตัง้ แต่วยั หนุม่ บ�ำเพ็ญสมณธรรมจนถึงพร้อมด้วยคุณวุฒิ และวัยวุฒิ จนกระทั่งได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็ นเจ้าอาวาส ซึง่ มีทงั้ ประเภท สมัครใจและจ�ำใจต้องปฏิบตั ติ ามค�ำสั่งของครูบาอาจารย์ จากนัน้ ก็ อยูบ่ ริหารกิจการภายในวัดจวบจนสิน้ อายุขยั ทว่าส�ำหรับคณะสงฆ์ ชาวตะวันตกกลับมีทางเลือกอื่นที่แตกต่างออกไป ดังเช่นพระอาจารย์ เขมสิรซิ ง่ึ รับหน้าที่เจ้าอาวาสวัดธรรมปาละมาตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ อยู่ในระหว่างการเตรียมตัวสละต�ำแหน่งอันทรงเกียรติในเวลา อันใกล้นี ้ ซึง่ พระเถระที่จะมาบริหารกิจการภายในวัดรู ปถัดไปได้ ถูกวางตัวไว้แล้ว อะไรคือสิ่งที่อยู่เบือ้ งหลังแนวคิด “เกษี ยณอายุ เจ้าอาวาส” ฉันเองก็อยากทราบเช่นกัน พระอาจารย์เขมะสิรขิ ยายความถึงประเด็นนีว้ า่ “ผมไม่ปรารถนา จะด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสจนกระทั่งถูกน�ำไปฝั งที่สสุ าน ผมเคย


เกษียณอายุเจ้าอาวาส

85

สนทนากับเจ้าอาวาสชาวตะวันตกรูปหนึง่ ถึงประเด็นนีว้ า่ ท�ำไมเรา จะต้องอยูใ่ นต�ำแหน่งเจ้าอาวาสไปจนตาย การเป็ นเจ้าอาวาสต่อ ไปเรือ่ ยๆมันดีไหม เราต้องการเป็ นเจ้าอาวาสต่อไปไหม คณะสงฆ์ รูส้ กึ นึกคิดอย่างไรที่เราจะเป็ นผูน้ ำ� ต่อไปเรื่อยๆ คณะสงฆ์อาจจะ รูส้ กึ ร�ำคาญกับการบริหารงานของเจ้าอาวาสก็ได้ วัดบางแห่งมีพระ หรือญาติโยมน้อยลงเรื่อยๆเพราะเจ้าอาวาสมีพฤติกรรมแปลกๆ ในยุโรปเราไม่จำ� เป็ นต้องเป็ นเจ้าอาวาสไปจนตาย เพียงเพราะว่า นี่เป็ นวัดที่เราสร้างขึน้ มา” ยาวุปปฺ ตฺติ นิมสิ ฺสติ ตตฺราปิ สรตี วโย วัยย่อมเสือ่ มลงเรือ่ ยไป ทุกหลับตา ทุกลืมตา ก่อนหน้านีม้ ีพระเถระชาวตะวันตกหลายรูปที่เกษี ยณจากการ เป็ นเจ้าอาวาส หนึ่งในนัน้ คือพระพรหมวชิรญาณหรือหลวงพ่อ โรเบิรต์ สุเมโธ ผูบ้ กุ เบิกพุทธวิหารแฮมสเตด วัดป่ าจิตตวิเวก และ วัดอมราวดี ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่ าพงในประเทศอังกฤษ หลวงพ่อสุเมโธลาออกจากการเป็ นเจ้าอาวาสวัดอมราวดีเมื่ออายุ ๗๖ ปี ภายหลังท่านได้พบกับพระอาจารย์เขมะสิรจิ งึ ถามว่า “ท่าน จะเป็ นเจ้าอาวาสอีกนานไหม” พระอาจารย์เขมสิรติ อบว่า “ผมคง เป็ นไม่นานเท่าหลวงพ่อ” พระอาจารย์เขมะสิรเิ ล่าสืบไปว่า “สิ่งที่อยู่


86 เบือ้ งหลังการเกษียณคือก�ำลังที่ลดน้อยถอยลงและความเหนื่อยล้า ซึ่งอาจเป็ นสาเหตุท่ีทำ� ให้คณะสงฆ์เกิดความรู ส้ ึกในแง่ลบกับ เจ้าอาวาส ถ้าเป็ นอย่างนัน้ ท�ำไมเราไม่ถอยออกมาในขณะที่ทกุ อย่าง ก�ำลังด�ำเนินไปด้วยดี อีกอย่างผมไม่ได้คดิ ว่าจะต้องนั่งอยูใ่ นห้องที่ แสนสบายอย่างนีไ้ ปจนตาย นี่ไม่ใช่แนวคิดของพระในพุทธศาสนา” เมื่อถามถึงอนาคตหลังการเกษียณ พระอาจารย์เขมะสิรปิ รารภ ว่า “อันที่จริงยังไม่คอ่ ยได้คดิ เกี่ยวกับเรือ่ งนีม้ ากนัก เพียงแต่วางแผน คร่าวๆว่าจะปลีกวิเวกอย่างน้อยหนึ่งปี เพื่อให้เจ้าอาวาสรู ปใหม่ บริหารวัดได้อย่างเต็มที่ ในบัน้ ปลายชีวิตอยากจะอยู่รว่ มปฏิบตั ิ ธรรมกับคณะสงฆ์ในยุโรป ไม่อยากเดินทางมากนัก อาจจะไป ประเทศไทยบ้างนานๆครัง้ แต่ผมก็ไม่คอ่ ยรูจ้ กั ใครที่น่นั ถ้าเป็ นไปได้ ก็อยากจะกลับมาอยูท่ ่ีวดั ธรรมปาละ แต่ไม่ได้บริหารงานคณะสงฆ์ ผมมีปฏิสมั พันธ์กบั พระภิกษุและญาติโยมที่น่ีมานาน ซึง่ ญาติโยมใน สวิตเซอร์แลนด์ก็ให้การสนับสนุนด้วยดีเสมอมา ส่วนเรือ่ งการปลีก วิเวก ผมเคยพยายามไม่ตดิ ต่อกับผูค้ น ซึง่ ในยุคนีม้ นั เป็ นไปได้ยาก แต่อนั ที่จริงก็คงไม่ตอ้ งท�ำถึงขนาดนัน้ ผมยินดีท่ีจะสอนธรรมะตราบ เท่าที่ผคู้ นต้องการให้ผมสอน แต่ถา้ วันหนึ่งผมท�ำอะไรไม่สมเหตุ สมผลแล้วมีคนบอกว่า ‘นิมนต์พระอาจารย์ตามสบาย’ ถ้าเวลานัน้ มาถึงผมก็จะหยุด”


เกษียณอายุเจ้าอาวาส

87

หลังจากพระเถระชาวตะวันตกเกษี ยณอายุเจ้าอาวาส บางรูป มีญาติโยมถวายที่ดินแปลงเล็กแล้วปลูกกุฏิให้ท่านได้ปลีกวิเวก เพื่อเป็ นการสนองพระคุณครู บาอาจารย์ท่ีตรากตร�ำท�ำงานเพื่อ พระพุทธศาสนามายาวนาน บางรูปก่อร่างสร้างวัดแห่งใหม่ในท�ำเลที่ถกู อัธยาศัย บางรูปเดินทางไปเยี่ยมเยียนส�ำนักสาขาของวัดหนองป่ าพง ที่กระจายอยู่ท่ วั ทุกมุมโลก ส่วนบางรู ปก็เลือกที่จะอยู่วดั แห่งเดิม เพียงแต่มอบหมายงานบริหารให้แก่คณะสงฆ์รุน่ ถัดไป ปั จจัยส�ำคัญที่ทำ� ให้พระเถระชาวตะวันตกสามารถเลือกเกษียณ อายุเจ้าอาวาสได้ในวันเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากระบบบริหาร กิจการภายในวัด มิได้รวมศูนย์อำ� นาจไว้ท่ีประธานสงฆ์แต่เพียง ผูเ้ ดียว ทว่าได้มีการเฉลี่ยอ�ำนาจการตัดสินใจไปสูพ่ ระรูปอื่น อีกทัง้ ยังมีการประชุมกันอย่างสม�่ำเสมอ ท�ำให้คณะสงฆ์องค์รวมได้เรียนรู ้ ปั ญหาตลอดจนความเป็ นไปต่างๆภายในวัด เมื่อถึงจุดที่เจ้าอาวาส

เกษียณอายุเจ้าอาวาส

ยถา วาริวโห ปูโร คจฺฉํ น ปริวตฺตติ เอวมายุ มนุสฺสาน ํ คจฺฉ ํ น ปริวตฺตติ แม่นำ้� เต็มฝั่งไม่ไหลทวนขึน้ ทีส่ ูงฉันใด อายุของมนุษย์ทงั้ หลายย่อมไม่เวียนกลับมาสูว่ ยั เด็กอีกฉันนัน้


88 เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าตามอายุขยั จึงมีบคุ ลากรเข้ามาทดแทนได้ ทันท่วงที ส่วนระบบบริหารกิจการภายในวัดที่นิยมด�ำเนินงานใน ประเทศไทยเป็ นแบบรวมศูนย์อำ� นาจ การตัดสินใจในเรือ่ งต่างๆล้วน มาจากเจ้าอาวาสทัง้ สิน้ ข้อดีก็คือไม่เป็ นภาระให้พระน้อยเณรหนุม่ ต้องกลัดกลุม้ แบกหาม ท�ำให้ลดความวิตกกังวลและมุง่ มั่นปฏิบตั ิ ธรรมได้อย่างเต็มเวลา ทว่าเมื่อครูบาอาจารย์ไม่อยูใ่ ห้พง่ึ พาบารมี วัดที่มีบรรยากาศเช่นนีน้ า่ ลุน้ ระทึกว่าจะกลายเป็ นอาวาสร้างหรือไม่ ตสฺมา อิธ ชีวติ เสเส กิจฺจกโร สิยา นโร น จ มชฺเช เพราะฉะนัน้ ในชีวติ ทีเ่ หลืออยูน่ ี ้ ทุกคนควรท �ำกิจหน้าทีแ่ ละไม่พงึ ประมาท




เดินเล่นเห็นอะไร


92 Anicca! ฉันแทบไม่เชื่อหูตวั เอง เมื่อเลขานุการของวัดธรรมปาละ ท�ำแว่นกันแดดหล่น แล้วอุทานเป็ นภาษาบาลีสำ� เนียงสวิสว่าอนิจจา! หูของฉันไม่ฝาดแน่ ใบหน้าเปื ้อนยิม้ ของคณะสงฆ์เป็ นพยานใน เหตุการณ์นีไ้ ด้ ถือเป็ นธรรมเนียมปฏิบตั ขิ องทุกปี ครัน้ สิน้ สุดการเข้ากรรมฐาน ฤดูหนาวในปลายเดือนมีนาคม คณะสงฆ์จะเลือกสถานที่แห่งหนึง่ เพื่อไปนันทนาการร่วมกัน วันเช่นนีม้ ีช่ือเรียกในภาษาเยอรมันว่า “Wandertag-วันเดอร์ทาก” ค�ำว่า Wander มีความหมายคลับคล้าย “การเดินป่ า” ส่วน Tag แปลว่า “วัน” หากเทียบเคียงกับวัฒนธรรมไทย ก็คงใกล้เคียงกับการไป “กินข้าวป่ า” หรือ “ปิ กนิก” ในวัฒนธรรมตะวัน ตก เมืองที่ทำ� การต้อนรับคณะสงฆ์อย่างสมเกียรติในแวนเดอร์ทาก คราวนีช้ ่ือ “Spiez-ชปี ซ” ซึง่ อยูห่ า่ งจากวัดธรรมปาละราวหนึง่ ชั่วโมง หลังอาหารเช้าเราต่างจัดเตรียมมือ้ กลางวันตามอัธยาศัย โดยใช้ กระเพาะของแต่ละบุคคลเป็ นเกณฑ์ ฉันห่อขนมปั งทาแยม เนยถั่ว นมถั่วเหลือง ถั่วชนิดต่างๆ แท่งธัญพืชอบแห้ง ส้ม และกล้วยหอม บรรจุลงในเป้ขนาดย่อมพร้อมน�ำ้ ดื่มและสิ่งของจ�ำเป็ น เราแบ่งสมาชิกออกเป็ นสองทีม โดยทีมแรกใช้บริการรถไฟ เพราะมีบตั รโดยสารครึง่ ราคา อีกทีมหนึ่งพึ่งพายานพาหนะของ


เดินเล่นเห็นอะไร

93

เลขานุการ การเดินทางสูจ่ ดุ หมายเรียบง่ายไร้อปุ สรรค สิ่งหนึ่งที่ ฉันสะดุดตาเมื่อรถแล่นเข้าสูต่ วั เมืองชปี ซก็คือ ร้านค้าต่างๆเริม่ น�ำ ดอกไม้หลายหลากพันธุอ์ อกมาวางจ�ำหน่ายต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ อาคาริกที่น่งั อยูเ่ บาะข้างกันให้ขอ้ มูลว่า เนื่องจากเป็ นกติกาภายใน หมูบ่ า้ นคันเดอร์สเตก คณะสงฆ์และชาวบ้านต้องจัดหาดอกไม้ใส่ กระถางแล้วเอาออกไปวางริมระเบียง หากเคหะสถานใดเพิกเฉย ถือว่าผิดมารยาทเลยทีเดียว จุดนัดพบของเราคือสถานีรถไฟใจกลางเมืองชปี ซอันโดดเด่น ด้วยทัศนียภาพของปราสาทโบราณ ซึง่ มีทะเลสาบและภูเขาที่เริม่ ผลิดอกออกสีเขียวขจีเป็ นฉากหลัง เมื่อสมาชิกพร้อมหน้าเราก็เริม่ ออกเดิน ท้องฟ้าวันนีม้ ีเมฆเบาบางสลับแดดกระจ่างใสเพียงพอ จะท�ำให้ SPF 30 ไม่นอ้ ยใจ เราไต่ลงเนินดินด้วยอารมณ์ละไม ดอกไม้ซง่ึ เป็ นวัชพืชหลากสีสนั ทัง้ เหลือง ม่วง ชมพู แทรกซึมอยูต่ าม กอหญ้าตลอดทาง ฝั่ งซ้ายคือทะเลสาบสีนำ้� เงินชื่อทูเนอร์เซ ส่วน ฝั่งขวาคือขุนเขาสูงตระหง่าน เมื่อย�่ำไปได้ราวครึง่ หนึง่ ของเส้นทาง ก็ปรากฏที่พกั อาศัยไต่อยูต่ ามเนินเขา ฉันถามอนาคาริกว่า “ถ้ามี บ้านริมทะเลสาบแบบนีจ้ ะมีความสุขไหม” เขาตอบว่า “ผมเคยมีบา้ น ริมทะเลสาบแต่ขายไปแล้วและไม่ได้คดิ ถึงมันอีก” แม้การเอกเขนก อาบแดดชื่นชมความงดงามของผืนน�ำ้ ครามใสในวันที่อากาศเป็ นใจ


94 จัดเป็ นกิจกรรมที่นำ� ความสบายมาสูผ่ เู้ ป็ นเจ้าของบ้าน แต่ส่ิงนีก้ ็ มิได้เป็ นใบรับประกันว่าบุคคลนัน้ จะมีความสุขอย่างแท้จริง จนกว่า จะสามารถขจัด “สิ่งกวนใจ” ได้อย่างสิน้ เชิง สวนสาธารณะใกล้ท่าเรือ “Faulense-เฟาเลนเซ” คือจุดพัก พิจารณาอาหารกลางวันท่ามกลางแดดอุน่ เลขานุการถวายช็อกโกแลต แก่คณะสงฆ์เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของเธอ ซึง่ ฉันก็อวยพรไปตาม ธรรมเนียมนิยมของพระว่า “Good health, long life and happiness. - อายุ วณฺโณ สุข ํ พลํ” เมื่อพลังเพิ่มขึน้ เราก็เก็บขยะไปทิง้ ลงถัง ฉัน รูส้ กึ ละอายใจเพราะเป็ นเพียงผูเ้ ดียวที่ใช้ถงุ พลาสติกบรรจุอาหาร ส่วนสมาชิกที่เหลือต่างใช้กล่องพลาสติก เมื่อกลับถึงวัดก็เพียงแต่ เช็ดล้างท�ำความสะอาดแล้วเก็บไว้ใช้ในคราวต่อไป นับว่าเป็ นการ ลดปริมาณขยะได้อย่างง่ายดาย อีกเหตุการณ์หนึง่ ที่ทำ� ให้ฉนั หน้า ม้านเพราะจวนเจียนทิง้ ถุงพลาสติกลงในถังส�ำหรับเก็บมูลสุนขั ซึง่ ตัง้ อยูเ่ คียงข้างถังขยะทั่วไปและปรากฏอยูต่ ลอดระยะทาง เมื่อสุนขั ถ่ายอุจจาระ ผูเ้ ป็ นเจ้าของต้องใช้ถงุ พลาสติกห่อหุม้ มือ แล้วกอบโกย ก้อนยาวย้วยที่หลุดออกจากก้นของสัตว์เลีย้ งแสนรัก จากนัน้ มัด ปากถุงให้เรียบร้อยแล้วน�ำไปทิง้ ลงถังที่ทางเทศบาลจัดไว้ให้เป็ นการ เฉพาะ สิ่งมีชีวิตสองชนิดนีช้ า่ งเหมาะสมกันราวกิ่งทองใบหยกดัง ส�ำนวนคลาสสิก “Man’s best friend” สุนขั เป็ นเพื่อนที่ดีท่ีสดุ ของ


เดินเล่นเห็นอะไร

95

มนุษย์ และมนุษย์ก็เป็ นเพื่อนที่ดีท่ีสดุ ของสุนขั เราเดินเลียบทะเลสาบกันต่อพอหัวปากหอมคอ แล้วก็ยอ้ น กลับมาหย่อนก้นบนเก้าอีร้ มิ ระเบียงร้านกาแฟใกล้ทา่ เรือเฟาเลนเซ ไม่ทนั ไรเลขานุการก็กระเซ้าว่า “ขอดูตงั ค์ในกระเป๋ าก่อนนะ ถ้าไม่พอ ดิฉนั คงต้องท�ำงานในร้านอาหาร” บ่ายนีแ้ สงแดดยังคงผลุบๆโผล่ๆ นกน�ำ้ นานาชนิดทัง้ หัวเขียวหัวแดงส่งเสียงเจือ้ ยแจ้วว่ายผ่านเรา ไปอย่างระเริงใจ ทะเลสาบใสกระจ่างจนมองเห็นเป็ ดน�ำ้ ด�ำดิ่งลง สูพ่ ืน้ ดินเบือ้ งล่าง บทสนทนาภาษาเยอรมันท�ำให้ฉนั เพลิดเพลิน กับธรรมชาติรอบตัวเพราะไม่เข้าใจเลยแม้แต่คำ� เดียว จุดขายอย่าง หนึง่ ของร้านกาแฟแห่งนีค้ ือป้ายที่ตดิ อยูบ่ ริเวณทางเข้าว่า “English Spoken - บริกรของเราพูดภาษาอังกฤษ” ฉันจึงสามารถสั่งน�ำ้ ส้ม ด้วยประโยค “Orange juice, please.” ได้อย่างเป็ นตัวของตัวเอง เมื่อเครื่องดื่มหมดถ้วยถ้วนหน้า คณะสงฆ์ก็ถามฉันว่าจะเดินเท้า หรือนั่งเรือกลับไปยังสถานีรถไฟ ซึง่ เหตุผลที่ทกุ คนยกให้ฉนั ตัดสินใจ ก็เพราะ “You are our guest. - ท่านเป็ นแขกของเรา” ฉันนิ่งงันอยู่ ครูห่ นึง่ เพราะยังสนุกกับการยืดเส้นยืดสาย แต่ขณะเดียวกันก็สงสัย ว่าสหธรรมิกจะเหน็ดเหนื่อยหรือเปล่า ระหว่างที่กำ� ลังชั่งใจอยูน่ นั้ สมาชิกสูงวัยท่านหนึ่งก็โพล่งขึน้ มาว่า “กลับทางเรือละกัน” เฮ้อ! โล่งอกไปที เมื่อใกล้จะถึงเวลาเรือโดยสารเข้าเทียบท่า เลขานุการ


96 ก็เรียกบริกรมาเก็บค่าน�ำ้ ชากาแฟ ซึง่ วันนีเ้ ธอขอเป็ นเจ้าภาพเนื่อง ในวันคล้ายวันเกิด นอกจากจะใจดีแล้วยังอารมณ์ดี เธอหันมาทาง ฉันแล้วพูดว่า “Thai style - ธรรมเนียมไทยๆ (ที่เจ้าภาพต้องจ่าย)” เพียงสิบสองนาทีบนเรือโดยสารสองชัน้ สีขาว เราก็เดินทางมาถึง ท่าเรือชปี ซ ซึง่ ไม่นา่ แปลกใจว่าระหว่างทางคณะสงฆ์จะโดนจับจ้อง ด้วยสายตางุนงงจากทัง้ นักท่องเที่ยวและเจ้าถิ่น หากเปลี่ยนกระแส จิตที่พงุ่ มาเป็ นค�ำถามก็พอจะจับใจความได้ว่า มนุษย์ท่ีแต่งตัวแบบ นีค้ ือเผ่าพันธุใ์ ด มีวิถีชีวิตและความเชื่อเช่นไร แต่สำ� หรับชาวเอเชีย ที่เราพบประปรายบนเรือเมื่อมองเห็นพระกลับเฉยๆ ส่วนฉันชาชิน แล้วกับสถานการณ์นี ้ เพราะเคยปฏิบตั ิศาสนกิจในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษมาก่อน พระอาจารย์ฝรั่งท่านหนึง่ ตัง้ ข้อสังเกตว่า “ชาว อเมริกนั หรืออังกฤษ ถ้าเกิดความสงสัยก็จะเข้ามาไต่ถาม ส่วนชาว สวิสเพียงแต่มองด้วยสายตาแปลกๆ” พระอุปัชฌาย์ของฉันเคย ให้คำ� แนะน�ำง่ายๆในการปฏิบตั ิตวั เมื่อจ�ำเป็ นต้องมีปฏิสมั พันธ์ กับญาติโยมว่า “ถ้าเขาไม่สนใจเรา เราก็ไม่ตอ้ งไปสนใจเขา” ซึง่ สอดคล้องกับค�ำสอนของพระบรมพระศาสดา “เธอจงท�ำไว้ในใจว่า เราจะไม่ชงู วงเข้าสูส่ กุล” ซึง่ หมายถึงหากพระถือตัวว่าตนเป็ นผูม้ ีศีล และต้องได้รบั การกราบไหว้บชู าจากผูค้ น ครัน้ ญาติโยมไม่ทกั ทาย


เดินเล่นเห็นอะไร

97

หรือไม่ให้การต้อนรับก็เกิดอารมณ์ขนุ่ ข้องหมองใจ จนเป็ นเหตุให้ เกิดความฟุ้งซ่านร�ำคาญ ฉันน้อมน�ำหลักธรรมนีม้ าฝึ กฝนทัง้ บน แผ่นดินและแผ่นน�ำ้ ด้วยความมั่นใจ เพราะเคยสัมผัสอานิสงส์คือ ความปลอดโปร่งมานับไม่ถว้ นครัง้


ภาวนาสุดสัปดาห์ (ภาคแรก)



100 “การภาวนาคือการลดความโง่ของตัวเอง” พระเถระรูปหนึง่ กล่าวสืบไปว่า “ผูท้ ่ีอา้ งว่าตนไม่มีเวลาภาวนาก็ เท่ากับบอกว่าไม่มเี วลาลดความโง่ของตัวเอง” คณะสงฆ์วดั ธรรมปาละ มีการจัดคอร์สปฏิบตั ธิ รรมทัง้ ระยะสัน้ และระยะยาวอย่างสม�่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูรอ้ น ซึง่ บรรยากาศรายรอบก�ำลัง สดชื่นเบิกบาน ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม นักบวชที่เป็ น ผูน้ ำ� ในการภาวนาจึงต้องระบุผา่ นเว็บไซต์ของวัดว่าจะใช้ภาษาใดใน การสื่อสาร ซึง่ มีทงั้ เยอรมัน อังกฤษ และไทย แต่เนื่องจากคณะสงฆ์ วัดธรรมปาละไม่มีพระที่พดู ภาษาไทยได้แคล่วคล่อง จึงต้องนิมนต์ ภิกษุชาวสยามประเทศจากส�ำนักสาขาของวัดหนองป่ าพงในทวีป ยุโรปมาเป็ นผูด้ ำ� เนินกิจกรรมนี ้ เมื่อฉันพ�ำนักอยู่ท่ีวดั ธรรมปาละ ในช่วงเวลาที่ทางคณะสงฆ์ตอ้ งการ จึงจ�ำเป็ นต้องรับหน้าที่นีไ้ ป โดยปริยาย “Thai Weekend Retreat” เริ่มต้นในช่วงเย็นย�่ำของวันศุกร์ เมื่อผูส้ นใจใฝ่ ธรรมจ�ำนวนสิบแปดท่าน น�ำสัมภาระเข้าสูห่ อ้ งพัก ก็ได้เวลารวมตัวเพื่อรับทราบกฎ กติกา มารยาทขัน้ พืน้ ฐานในการ อยูร่ ว่ มกัน เช่นงดสูบบุหรีภ่ ายในบริเวณวัด ห้ามจุดธูปเทียนหรือน�ำ อาหารไปรับประทานในห้องพัก ระหว่างการเดินจงกรมห้ามรุกล�ำ้


ภาวนาสุดสัปดาห์ ภาคแรก

101

เข้าไปในเขตของเพื่อนบ้าน กรณีท่ีเกิดไฟไหม้สญ ั ญาณเตือนภัย จะดังขึน้ ทุกคนต้องมารวมกันบริเวณสนามด้านหน้าอาคารโดย เร็วที่สดุ จากนัน้ ฉันได้มอบหมายหน้าที่ตา่ งๆเช่นการให้สญ ั ญาณ ระฆัง ท�ำอาหาร ท�ำความสะอาดห้องรับประทานอาหารและห้องน�ำ้ ล้างชาม เตรียมน�ำ้ ชา เป็ นต้น ก่อนหน้านีร้ าวสองสัปดาห์่ทางวัดเพิ่งจัดอบรมสมาธิภาวนา ด้วยภาษาเยอรมัน ระหว่างนัน้ มีผปู้ ฏิบตั ิธรรมร้องขอ Earplugs ี นถึงสี่ทา่ น หรือที่อดุ หู เนื่องจากผูเ้ ข้าอบรมต้องพักอยูใ่ นห้องเดิยวกั ซึง่ บางท่านก็นอนกรนเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เมื่อการอบรมสมาธิ ภาวนาด้วยภาษาไทยเวียนมาถึง คณะสงฆ์จงึ เตรียมอุปกรณ์ชนิดนี ้ ไว้แจก ฉันแนะน�ำวิธีใช้แก่ผปู้ ฏิบตั ิธรรมว่า “ให้นำ� ไปอุดหูตวั เอง ไม่ใช่อดุ จมูกคนที่นอนกรน” เราเริม่ กิจกรรมในค�่ำคืนนัน้ ด้วยการสมาทานศีลแปด ฉันอธิบาย ความหมายและวัตถุประสงค์ของศีลว่า “ศีล” หมายถึงปรกติ มนุษย์ ปรกติตอ้ งมีศีลห้าประการคืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในคูค่ รอง พูดโกหก และเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ส่วน ศีลแปดมีช่ือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วัตร” หมายถึง “ข้อปฏิบตั ิเพื่อ ขัดเกลากิเลส” อันได้แก่งดเว้นจากการบริโภคอาหารหลังเที่ยงวัน


102 เพื่อให้รา่ งกายปลอดโปร่งโล่งเบาเหมาะแก่การเจริญสมาธิภาวนา งดเว้นจากความบันเทิงและเครือ่ งหอมเพื่อมิให้จิตใจฟุง้ งซ่าน งดเว้น จากที่นอนสะดวกสบายเพื่อลดความเกียจคร้าน ฉันเห็นว่าญาติโยม เพิ่งเดินทางมาถึงคงก�ำลังเหน็ดเหนื่อย จึงน�ำสวดมนต์ทำ� วัตรแปล บาลี-ไทยราวครึง่ ชั่วโมง เพื่อเตรียมจิตและสร้างบรรยากาศในการ ปฏิบตั ธิ รรม จากนัน้ ก็น่ งั สมาธิรว่ มกันจนกระทั่งถึงเวลาอันสมควร เช้าวันเสาร์มีการสวดมนต์รบั อรุณในเวลาห้านาฬกิ าสามสิบนาที ตามด้วยการเจริญสมาธิภาวนา หลังจากอาหารเช้าเราลงไปเดิน จงกรมรับแสงแดดอุ่นบนพืน้ ที่ราบรอบบริเวณวัด จากนัน้ ฉันได้ แสดงพระธรรมเทศนาในหัวข้อ “ศีล สมาธิ ปั ญญา” เพื่อทบทวน วัตถุประสงค์และแนวทางที่ถกู ต้องของพระพุทธศาสนา ในภาคบ่าย เริม่ ต้นด้วยการเดินจงกรมเพื่อย่อยอาหารกลางวัน นั่งสมาธิภาวนา สี่สบิ ห้านาทีแล้วสนทนาธรรม ซึง่ ฉันสัมผัสได้วา่ เป็ นช่วงเวลาอันเปี่ ยม ด้วยสีสนั และมิตรภาพ ค�ำถามหนึง่ ที่ฉนั สะดุดุ ใจก็คือ “สามีเสียชีวติ มาหนึง่ ปี แล้วแต่ยงั ท�ำใจไม่ได้ นึกถึงขึน้ มาทีไรก็ทำ� ให้รอ้ งไห้เหมือน เขาเพิ่งจากไป” อันที่จริงฉันเคยผ่านค�ำถามที่เชื่อมโยงกับความตาย มาพอสมควร แต่เหตุท่ีใจสะดุดก็เนื่องจากเจ้าของค�ำถามร้องไห้ขนึ ้ ในขณะนัน้ นั่นย่อมแสดงว่าอารมณ์เศร้าโศกก�ำลังคุกรุน่ อย่างรุนแรง หลังจากสวดมนต์สง่ สนธยาฉันจึงยก “อุรคชาดก” มาสาธยาย


ภาวนาสุดสัปดาห์ ภาคแรก

103

สมาชิกในครอบครัวหนึง่ ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ลูกสะใภ้ และคนรับใช้ ทุกคนเจริญมรณสติคอื การระลึกถึงความตาย อยูต่ ลอดเวลา เพื่อให้เกิดความไม่ประมาทในการด�ำเนินชีวติ กิจวัตร ที่คนในครอบครัวปฏิบตั ิอยูเ่ ป็ นประจ�ำก็คือ เมื่อผูห้ นึ่งผูใ้ ดต้องไป ท�ำกิจการงาน จะให้โอวาทแก่ผทู้ ่ีอยูบ่ า้ นแล้วจึงออกเดินทาง อยูม่ า วันหนึง่ พ่อกับลูกชายไปท�ำไร่ไถนา ลูกชายเห็นหญ้าและใบไม้แห้ง กองสุมกันอยูจ่ งึ จุดไฟเผา งูเห่าซึง่ อาศัยอยูใ่ นที่นนั้ เลือ้ ยหนีไฟแล้ว ฉกลูกชายจนถึงแก่ความตาย ผูเ้ ป็ นพ่อได้ฝากความไปกับบุรุษผูห้ นึง่ ซึง่ เดินผ่านมาว่า “โปรดบอกภรรยาของข้าพเจ้าให้อาบน�ำ้ นุง่ ผ้าขาว แล้วน�ำอาหารส�ำหรับบริโภคเพียงผูเ้ ดียว พร้อมดอกไม้และเครือ่ ง หอม เดินทางมาพบข้าพเจ้ายังที่นาด้วย” เมื่อภรรยาทราบข่าวจาก บุรุษนัน้ ก็แจ้งแก่ใจว่าลูกชายได้เสียชีวิตด้วยเหตุอนั ใดอันหนึ่ง จึง ด�ำเนินการตามที่ผเู้ ป็ นสามีบอก ครัน้ สมาชิกในครอบครัวเดินทางมา ถึงสถานที่เกิดเหตุก็นำ� ศพของผูว้ ายชนม์วางบนเชิงตะกอนแล้วจุด ไฟเผา จากนัน้ ยืนพิจารณาซากศพด้วยอาการสงบ ท้าวสักกเทวราช ทราบเหตุกาณ์ท่ีเกิดขึน้ จึงเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ แล้วแปลงเป็ น พราหมณ์เดินทางมายังบริเวณพิธีฌาปนกิจแล้วถามขึน้ ว่า “คนที่ตายเป็ นศัตรูของพวกท่านหรือ ท�ำไมจึงไม่เศร้าโศกเสียใจ” “มิใช่ดงั นัน้ เขาเป็ นบุตรชายที่รกั ของข้าพเจ้า แต่เหตุท่ีขา้ พเจ้า


104 ไม่เศร้าโศกเพราะลูกของข้าพเจ้าได้ทิง้ ร่างกายอันเก่าคร�่ำคร่าเช่น เดียวกับงูลอกคราบ เมื่อร่างกายไม่อาจใช้สอยได้ ศพนีย้ อ่ มไม่รบั รูว้ า่ พวกญาติรอ้ งไห้คร�่ำครวญ ด้วยเหตุนีข้ า้ พเจ้าจึงไม่เศร้าโศกเสียใจ เขาเคยท�ำกรรมอันใดไว้ยอ่ มเป็ นไปตามกรรมของเขา”ผูเ้ ป็ นพ่อให้ ค�ำตอบแก่พราหมณ์ “มิได้เป็ นเช่นนัน้ เขาเป็ นบุตรชายที่รกั ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอุม้ ท้อง มานานถึงเก้าเดือน ให้ด่มื น�ำ้ นม ประคบประหงมจนกระทั่งเติบใหญ่ แต่เหตุท่ีไม่รอ้ งไห้ก็เพราะฉันไม่ได้เชือ้ เชิญเขามาเกิดในท้องของฉัน เขามาของเขาเอง และเมื่อจากโลกนีไ้ ปฉันก็มิได้อนุญาต เขาไป ของเขาเอง ศพของเขาถูกเผาอยูย่ อ่ มไม่รูส้ กึ อะไร ท�ำไมฉันจะต้อง ร้องไห้ดว้ ยเล่า” ผูเ้ ป็ นแม่ให้เหตุผล “ถ้าฉันเอาแต่รอ้ งไห้เสียใจก็จะผ่ายผอม แล้วฉันจะได้ประโยชน์ อะไรจากร่างกายอันซูบเซียว มิหน�ำซ�ำ้ พวกญาติก็จะพลอยเป็ น กังวลไปด้วย พี่ชายของฉันถูกเผาอยูย่ อ่ มไม่รบั รูถ้ งึ ความเศร้าโศก ของฉัน เพราะฉะนัน้ ฉันจึงไม่หลั่งน�ำ้ ตา” ผูเ้ ป็ นน้องสาวเล่าถึงสิ่ง ที่ตนพิจารณา “ผูใ้ ดเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้วก็ไม่ตา่ งจากเด็กร้องไห้ขอ พระจันทร์ท่ีลอยอยูก่ ลางอากาศ ซึง่ ไม่มีวนั สมหวัง สามีของฉันที่ ก�ำลังถูกไฟเผาอยู่ย่อมไม่รบั รู ถ้ ึงการคร�่ำครวญของฉันและญาติ ทัง้ หลาย ด้วยเหตุนีฉ้ นั จึงไม่ร่ำ� ไห้” ผูเ้ ป็ นภรรยาเผยความในใจ


ภาวนาสุดสัปดาห์ ภาคแรก

105

“ข้าพเจ้าไม่รอ้ งไห้เสียใจเพราะคิดว่า หม้อน�ำ้ ที่แตกแล้วจะน�ำ มาประสานให้มีลกั ษณะดังเดิม ย่อมเป็ นไปไม่ได้” คนรับใช้ตอบ โดยไม่ลงั เล ท้าวสักกเทวราชทรงสดับดังนัน้ แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงเนรมิต ทรัพย์สมบัตเิ ป็ นอันมากแก่ทกุ คนแล้วให้ โอวาทว่า “ท่านทัง้ หลายจง อย่าประมาทในการด�ำเนินชีวิต จงพากเพียรบ�ำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนาให้ย่ิงๆขึน้ ไป”



ภาวนาสุดสัปดาห์ (ภาคหลัง)


108 อาปูรติ ธีโร ปุญญ ฺ สฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ ธีรชนสร้างความดีทลี ะน้อย ก็เต็มเปี่ ยมไปด้วยความดี แม้จะมีเวลาจ�ำกัดเพียงสองวันสองคืน แต่พทุ ธศาสนสุภาษิ ต ข้างต้นก็เป็ นดั่งน�ำ้ ทิพย์ชโลมใจ ให้ผปู้ ฏิบตั ิธรรมด�ำเนินกิจกรรม ตามตารางปรกติดว้ ยความขะมักเขม้นอันได้แก่ สวดมนต์ทำ� วัตรเช้า นั่งสมาธิภาวนา รับประทานอาหารเช้า เดินจงกรม และฟั งพระ ธรรมเทศนา ส�ำหรับวันส่งท้ายฉันได้แสดงธรรมหัวข้อ “นิวรณ์” ซึง่ หมายถึงสิ่งกีดขวางความเจริญก้าวหน้าในการบรรลุธรรม เทคโนโลยีครัง้ โบราณยังไม่สามารถผลิตกระจกเงาได้ หาก ต้องการตรวจดูสวิ ฝ้าหรือแต่งหน้าทาปาก ชาวบ้านจะตักน�ำ้ ใส่ขนั กะลาหรือกระโหลกแล้วชะโงกดูเงา น�ำ้ ใสที่อยูใ่ นภาชนะเหล่านัน้ จึงถูกน�ำมาเปรียบกับนิวรณ์ทงั้ ห้าประการดังต่อไปนี ้ “กามฉันท์” อุปมาดั่งน�ำ้ เจือสี อันได้แก่ความรักใคร่อยากครอบครอง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่นา่ พึงพอใจ “พยาบาท” อุปมาดั่งน�ำ้ เดือด อันได้แก่ ความขัดเคือง แค้นใจ อาฆาต พยาบาท เบียดเบียน หงุดหงิด ฉุนเฉียว มองโลกในแง่รา้ ย เห็นคนอื่นเป็ นศัตรู “ถีนมิทธะ” อุปมา ดั่งน�ำ้ มีจอกแหน อันได้แก่ความหดหู่ เซื่องซึม หงอยเหงา ท้อแท้ อืดอาด “อุทธัจจกุกกุจจะ” อุปมาดั่งน�ำ้ ถูกลมพัด อันได้แก่ความ


ภาวนาสุดสัปดาห์ ภาคหลัง

109

ฟุง้ ซ่าน ร�ำคาญ ระแวง กังวล กลัดกลุม้ “วิจิกิจฉา” อุปมาดั่งน�ำ้ มี ตะกอน อันได้แก่ความลังเลสงสัย ไม่ม่นั ใจ ไม่แน่ใจเกี่ยวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากนัน้ ฉันได้แนะน�ำอุบายวิธีเท่าที่เวลาจะเอือ้ อ�ำนวย เหตุท่ีฉนั ยกเรือ่ งนีม้ าอธิบายในวันที่สองเพราะต้องการให้ ผูป้ ฏิบตั ิธรรมมีประสบการณ์ตรงในการเผชิญหน้ากับนิวรณ์ทงั้ ห้า ด้วยตนเอง เพื่อกระตุน้ ให้เกิดความกระหายใคร่รูว้ า่ เราจะก�ำจัด นิวรณ์เหล่านัน้ อย่างไร เมื่อเกิดค�ำถามย่อมน�ำไปสู่การแสวงหา ค�ำตอบ อีกทัง้ ยังเป็ นการรักษาปฏิปทาของหลวงพ่อชาคือ “เรียนรู ้ ด้วยการลงมือกระท�ำ” ก่อนอาหารกลางวันฉันน�ำเสนอการปฏิบตั ติ วั ก่อนเดินทางกลับ ภูมลิ ำ� เนาแก่อบุ าสกและอุบาสิกา ตามที่ ทางคณะสงฆ์ได้วางหลักเกณฑ์ เอาไว้ เช่นท�ำความสะอาดห้องพักและห้องน�ำ้ น�ำผ้าปูนอนและ ปลอกหมอนไปที่หอ้ งซักรีด ตรวจตราของใช้สว่ นตัวตามซอกมุม ต่างๆแล้วน�ำกลับไปให้ครบถ้วน รวมทัง้ อนุโมทนาที่ทกุ คนเสียสละ แรงกายประกอบกิจวัตรต่างๆ ซึง่ ท�ำให้การปฏิบตั ธิ รรมครัง้ นีด้ ำ� เนิน ไปอย่างราบรืน่ หลังจากนัน้ ก็ตามด้วยพิธีขอขมา อันเป็ นธรรมเนียม ปฏิบตั หิ ลังจากพุทธบริษัทได้ดำ� เนินกิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากแต่ละ บุคคลยังมีกิเลสและอยูใ่ นระหว่างการฝึ กตน การล่วงละเมิดทางกาย วาจา ใจ จึงเกิดขึน้ ได้ทกุ ขณะ อานิสงส์ของการขอขมาก็คอื ช่วยก�ำจัด


110 นิวรณ์ท่ีช่ือ “พยาบาท” ซึง่ เป็ นอุปสรรคในการปฏิบตั ธิ รรมภายหลัง จรจากกันไป หลังอาหารมือ้ ใหญ่ฉนั ให้อิสระในการตัดสินใจแก่ทกุ คน ใคร ใคร่จะกลับเคหสถานหรือใคร่จะสนทนาธรรมก็สามารถเลือกได้ตาม อัธยาศัย ต่อไปนีค้ ือส่วนหนึ่งของค�ำถามและค�ำตอบอันน่าเร้าใจ จากธัมมสากัจฉาในภาคบ่าย ซึง่ แทบจะรวบยอดบรรยากาศและ แนวทางปฏิบตั ธิ รรมในครัง้ นีไ้ ว้อย่างครบครัน “ค�ำว่า ‘พระผูม้ ีพระภาค’ หมายถึงอะไร ใช่การ ‘อวตาร’ หรือ เปล่า” ฉันเฉลยว่านีเ้ ป็ นเรือ่ งของค�ำศัพท์ในภาษาบาลี ถ้าโยมสนใจ ก็สามารถค้นคว้าเพิ่มได้จากธรรมบรรยายเรือ่ ง “เล่าเรือ่ งให้โยมฟั ง” ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ซึง่ อธิบายไว้ ละเอียดเกี่ยวกับพุทธคุณทัง้ เก้าประการคือ อรหัง-สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสัมปั นโน - สุคโต - โลกวิท-ู อนุตตโร ปุรสิ ทัมมสารถิ สัตถา เทวมนุสสานัง - พุทโธ- ภควา ส่วนในแง่ของการปฏิบตั เิ รา ไม่ได้แปลศัพท์อย่างละออละเอียด แต่อาจทราบโดยสังเขปเพียง พระบริสทุ ธิคณ ุ - พระปั ญญาธิคณ ุ - พระกรุณาธิคณ ุ ค�ำสอนของ หลวงพ่อชานัน้ เรียบง่ายและด้นสดออกมาจากจิต ซึ่งได้รสชาติ และตรงเข้าสูห่ วั ใจของผูฟ้ ั ง ลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาเป็ นบุคคลจาก


ภาวนาสุดสัปดาห์ ภาคหลัง

111

ระดับต่างๆในสังคม มีทงั้ ชาวไร่ ชาวนา นักศึกษา ด็อกเตอร์ฯ หลวง พ่อชาจะใช้อปุ มาอุปไมยเกี่ยวกับวิถีชีวติ ความเป็ นอยูใ่ นชนบทเช่น การจับปลา ขุดดิน เลื่อยไม้ฯ การอธิบายเรือ่ งยากด้วยความง่ายเช่นนี ้ สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทกุ สาชาอาชีพ แม้แต่นกั วิทยาศาสตร์ก็ยงั ทึง่ เมื่อครัง้ ที่หลวงพ่อชาก�ำลังปฏิบตั ศิ าสนกิจในต่างแดน ขณะที่ทา่ น อยูบ่ นเรือโดยสาร บังเอิญได้ยินนักวิทยาศาสตร์สองคนสนทนากัน เรือ่ งน�ำ้ ท่านเกิดความสนใจจึงวานให้ลกู ศิษย์ฝรั่งเป็ นล่ามแปล “อะไรคือน�ำ้ ” หลวงพ่อชาถามนักวิทยาศาสตร์ผหู้ นึง่ “ไฮโดรเจนสองตัวกับออกซิเจนหนึง่ ตัว” “อะไรคือไฮโดรเจน อะไรคือออกซิเจน” นักวิทยาศาสตร์อธิบายแยกย่อยไปเรือ่ ยๆ หลวงพ่อชาก็ถามรุก ไปเรือ่ ยๆ ท้ายที่สดุ นักวิทยาศาสตร์ก็จนมุม เพราะไม่สามารถแบ่ง องค์ประกอบที่เล็กที่สดุ ของน�ำ้ ได้อีก เมื่อเห็นนักวิทยาศาสตร์น่ิงงัน หลวงพ่อชาจึงสรุปให้ทางสว่างว่า “เขาเรียกว่าน�ำ้ เราก็วา่ น�ำ้ ก็แล้วกัน” (อย่าไปติดสมมติ แต่จงใช้สมมติให้เป็ น - ผูเ้ ขียน) นอกจากนีท้ า่ น ยังเคยอุปมาไว้วา่ “ถ้าจะเดินข้ามภูเขา เราไม่จำ� เป็ นต้องโค่นต้นไม้ ทัง้ หมด เอาแค่เป็ นทางเดินไปได้ก็พอ” อุปมาของหลวงพ่อชา สามารถน�ำมาเทียบเคียงกับแนวปฏิบตั ิในการศึกษาพระไตรปิ ฎก


112 ซึง่ พระอาจารย์สามท่านได้แสดงทัศนะไว้แตกต่างกันดังนี ้ พระอาจารย์ ท่านแรกกล่าวว่า “ต้องศึกษาพระไตรปิ ฎกให้แตกฉานก่อนปฏิบตั ิ ธรรม มันจึงจะรูเ้ รือ่ ง” พระอาจารย์ทา่ นที่สองชีแ้ จงว่า “ไม่ตอ้ งอ่าน พระไตรปิ ฎก ลงมือปฏิบตั ไิ ปเลย เดี๋ยวมันก็รูข้ นึ ้ มาในจิตของตัวเอง” พระอาจารย์ทา่ นที่สามบอกว่า “พระไตรปิ ฎกก็เอามาดูบา้ ง แต่ไม่ถงึ ขนาดต้องเป็ นผูแ้ ตกฉาน เอาแค่พน้ ทุกข์ได้ก็พอ” จากนัน้ ฉันได้อปุ ไมยเพิ่มความชัดเจนอีกว่า บุคคลแรกศึกษา แผนที่ตลอดจนสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ จ�ำนวนประชากร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมของดินแดนแห่งหนึ่งอย่าง จริงจังแต่ไม่เคยเดินทางไปไหนเลย บุคคลที่สองออกเดินทางไป สัมผัสดินแดนแห่งนัน้ ด้วยตนเอง แต่เนื่องจากเขามิได้ศกึ ษาแผนที่ และองค์ประกอบอื่น จึงมีความเป็ นไปได้สงู ที่อาจไปผิดเป้าหมาย แล้วทึกทักเอาว่านั่นคือความส�ำเร็จที่ตนต้องการ ส่วนบุคคลที่สาม ศึกษาแผนที่ตลอดจนความรูด้ า้ นอื่นอย่างเพียงพอแล้วจึงออกเดินทาง ซึง่ ในระหว่างนัน้ ได้มกี ารสังเกตเทียบเคียงประสบการณ์ของตนกับสิง่ ที่ ได้เรียนรูจ้ ากภาคทฤษฎี เมื่อน�ำบุคคลทัง้ สามประเภทมาเปรียบเทียบ กันก็จะพบว่า บุคคลประเภทสุดท้ายมีโอกาสเดินทางไปถึงจุดหมาย ที่ถกู ต้อง และเต็มเปี่ ยมไปด้วยชีวิตชีวาเพราะมิได้หมกมุ่นอยู่กบั ต�ำราแต่เพียงอย่างเดียว



เรียนรู้ธรรมะจาก "ไฮดี" หนูน้อยดีงาม



116 “ผู้มคี วามสุขจากภายในจะท�ำให้ผู้ทอี่ ยูใ่ กล้พลอยมีความ สุขไปด้วย" นีค้ ือสาระส�ำคัญของวรรณกรรมคลาสสิกระดับโลกจากสวิต เซอร์แลนด์เรื่อง Heidi โดยผูเ้ ขียนเชือ้ ชาติเดียวกันคือ Johanna Spyri ฉันอ่านหนังสือเล่มนีจ้ ากฉบับที่จัดพิมพ์ขึน้ เพื่อผูเ้ รียน ภาษาอังกฤษระดับ Pre-intermediate ท่ามกลางเหน็บหนาวและ ขาวโพลนของหุบเขาแอลป์ จึงท�ำให้ซมึ ซับบรรยากาศในท้องเรือ่ ง ได้อย่างลึกซึง้ ถึงกระดูก "ไฮดี" ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๘๘๐ อีก ๔ ปี ตอ่ มาจึงมีการแปลเป็ น ภาษาอังกฤษ จึงท�ำให้ผลงานชิน้ นีไ้ ด้รบั ความนิยมตราบจนปั จจุบนั โยฮันนา สไปรี แต่งนิยายเรือ่ งนีห้ ลังสงคราม Franco-Prussian ที่ เกิดขึน้ ในปี ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๘๗๑ เพื่อน�ำรายได้จากการจ�ำหน่าย หนังสือไปช่วยเหลือทหารบาดเจ็บจากสมรภูมิ เพียงทราบความ เป็ นมาของหนังสือก็ทำ� ให้ฉนั เกิดปี ตลิ น้ พ้น หลังจากพ่อแม่เสียชีวิต ไฮดีจำ� เป็ นต้องย้ายไปอยูก่ บั คุณตาที่ กระท่อมบนภูเขา เนื่องจากน้าสาวต้องไปท�ำงานในประเทศเยอรมนี ขณะที่ไฮดีกำ� ลังมีความสุขกับสัตว์เลีย้ ง เสียงนกขับขาน ต้นไม้


เรียนรู้ธรรมะจาก "ไฮดี" หนูน้อยดีงาม

117

ปลิวไสว เพื่อนบ้าน และอาหารออร์แกนิคส์ ท่ามกลางธรรมชาติ อันงดงามบริสทุ ธิ์ วันหนึง่ น้าสาวก็กลับมารับตัวไฮดีไปใช้ชีวิตที่แฟ รงก์เฟิ รต์ เมืองอันพลุกพล่านของประเทศเยอรมนี เพราะต้องการ ให้ไฮดีมีอนาคตสดใส เป็ นเหตุนำ� มาซึง่ สถานการณ์อนั เปลี่ยวเหงา เศร้าสร้อย แปลกประหลาด ขบขัน อบอุน่ ไม่วา่ ไฮดีจะรูต้ วั หรือไม่ ก็ตาม แต่ในทุกแห่งหนและทุกผูค้ นที่เกี่ยวกับข้องกับหนูนอ้ ยผูน้ ี ้ ล้วนประสบสิ่งที่เรียกว่า "ความสุข" การมีความสุขอยูภ่ ายในตัวเองมิใช่เรื่องง่ายส�ำหรับมนุษย์ยคุ ปั จจุบนั เนื่องจากความสุขที่เราแสวงหานัน้ ขึน้ ต่อการเสพบริโภควัตถุ อย่างเต็มขัน้ จนกระทั่งเกิดการท�ำลายธรรมชาติอย่างอลังการ เพื่อ น�ำทรัพยากรเหล่านัน้ มาแปรเปลี่ยนเป็ นวัตถุสนองความเพลิดเพลิน ทางเนือ้ หนัง แต่เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีปริมาณจ�ำกัด สวนทางกับความต้องการของมนุษย์ท่ีมีไม่จำ� กัด การแย่งชิงจึงเกิดขึน้ ท�ำให้มนุษย์มองเพื่อนร่วมโลกเป็ นศัตรู นี่เป็ นต้นเหตุของความ โกลาหลแทบทุกพืน้ ที่บนโลกใบนี ้ แม้การสังสรรค์ระหว่าง "ตา หู จมูก ลิน้ กาย" กับ "รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส" อันน่ารักใคร่จะเป็ นเหตุให้เกิดความสุข ทว่าความ สุขชนิดนีน้ อกจากจะน�ำอันตรายใหญ่หลวงมาสูส่ วัสดิภาพของผูม้ ี


118 ไว้ในครอบครองแล้ว ยังมิอาจสร้างความอิ่มเอมใจให้แก่มนุษย์ได้ ในระยะยาว เนื่องจากถูกบีบคัน้ ด้วยกฎของธรรมชาติคือ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" พระพุทธศาสนาจึงเสนอทางเลือกที่ช่ือว่า “บุญ" ให้แก่ผทู้ ่ีตอ้ งการความปลอดโปร่งและปลอดภัย สุขสฺเสต ํ ภิกฺขเว อธิวจน ํ ฯเปฯ ยทิท ํ ปุญฺญานิ ค �ำว่าบุญเป็ นชือ่ ของความสุข สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย การสัง่ สมบุญน �ำความสุขมาให้ สย ํ กตานิ ปุญฺญานิ ต ํ เว อาเวณิย ํ ธน ํ บุญทีท่ �ำไว้เป็ นทรัพย์เฉพาะตน ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ บุญโจรลักเอาไปไม่ได้ การสร้างความสุขหรือบุญให้เกิดขึน้ ภายในตนเรียกว่า “บุญ กิรยิ าวัตถุ” มีสามประการคือ (๑) ทาน หมายถึงการให้ เผื่อแผ่ แบ่งปั น (๒) ศีล หมายถึงการประพฤติสจุ ริต มีความสัมพันธ์ท่ีดี


เรียนรู้ธรรมะจาก "ไฮดี" หนูน้อยดีงาม

119

ไม่เบียดเบียนกัน (๓) ภาวนา หมายถึงการฝึ กอบรมพัฒนาจิตใจ และเจริญปั ญญา นอกจากนีก้ ารบ�ำเพ็ญบุญยังสามารถกระท�ำได้ โดยไม่จำ� กัดภูมปิ ระเทศหรือภูมอิ ากาศ ดังตัวอย่างของโยฮันนา เมื่อ เธอได้คา่ ลิขสิทธิ์จากการเขียนหนังสือ ก็นำ� มาช่วยเหลือทหารที่ได้ รับบาดเจ็บจากสงครามด้วยจิตเกือ้ กูลต่อเพื่อนมนุษย์ ดังนีเ้ รียกว่า "ทาน" การท�ำงานด้วยความซื่อสัตย์สจุ ริต ถูกต้องตามหน้าที่และ รักษาจรรยาบรรณในอาชีพเรียกว่า "ศีล" ขณะท�ำงานมีความเพียร สติ สมาธิ ปั ญญา สามารถรักษาเจตนาดีของตนเอาไว้ได้ แม้จะมี อุปสรรคมาบั่นทอนเรียกว่า "ภาวนา" "บุญ" เป็ นเครือ่ งมือช�ำระจิตใจให้บริสทุ ธิ์และก่อก�ำเนิดสภาวะอัน น่าบูชา เมื่อน้าสาวมาน�ำตัวไฮดีไปยังเมืองแฟรงก์เฟิ รต์ แต่หนูนอ้ ย ซึง่ ก�ำลังมีความสุขกับสายลมแสงแดดไม่ตอ้ งการพลัดพรากจาก กระท่อมบนเทือกเขาแอลป์ อีกทัง้ คุณยายสายตาพิการซึ่งเป็ น เพื่อนบ้านและรักไฮดีสดุ หัวใจ ก็ไม่ตอ้ งการให้หนูนอ้ ยจากไปเช่นกัน ครัน้ เผชิญกับสถานการณ์นีน้ า้ สาวจึงบอกไฮดีวา่ “ตอนกลับมาที่น่ี หนูจะเอาขนมปั งนุม่ ๆมาฝากคุณยายก็ได้” เมื่อระลึกถึงประโยชน์ ที่ผอู้ ่ืนจะได้รบั ไฮดีจงึ ยอมสละความสุขของตัวเอง นับเป็ นการยก ระดับจิตใจของตนให้ใสบริสทุ ธิ์ได้อย่างน่าเชิดชูบชู า เหตุการณ์นี ้ แสดงให้เห็นเป็ นประจักษ์วา่ "บุญ" เกิดขึน้ ได้แม้กระทั่งกับเด็กผูห้ ญิง


120 ตัวเล็กๆซึง่ ด�ำเนินชีวิตอยู่ตามบ้านนอกคอกนา สมดังพุทธศาสน สุภาษิตที่มาในขุทฺทกนิกาย สุตตนิบาต ความว่า น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ กมฺมนุ า วสโล โหติ กมฺมนุ า โหติ พฺราหฺมโณ คนจะเลวเพราะชาติก�ำเนิดก็หาไม่ คนจะประเสริฐเพราะชาติ ก�ำเนิดก็หาไม่ คนจะเลวก็เพราะการกระท �ำ คนจะประเสริฐก็เพราะการกระท �ำ




วิทยาศาสตร์ประหลาดรู้


124 “We have learnt that the exploration of the external world by the methods of physical science leads not to a concrete reality but to a shadow world of symbols.” “เราได้เรียนรู แ้ ล้วว่า การส�ำรวจโลกภายนอกด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ของฟิ สกิ ส์ จะไม่สามารถน�ำมนุษย์บรรลุถงึ ตัวความจริง หรือสัจจภาวะได้โดยตรง แต่จะเข้าถึงได้ก็เพียงโลกแห่งสัญลักษณ์ (สมการทางคณิตศาสตร์) ที่เป็ นเพียงเงาเท่านัน้ " “Science cannot solve the ultimate mystery of nature.” “วิทยาศาสตร์ไม่สามารถไขความลีล้ บั ขัน้ สุดท้ายของธรรมชาติได้" ทัศนะของเซอร์ อาเธอร์ เอ็ดดิงตัน (Sir Arthur Stanley Eddington) นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาธรรมชาติชาวอังกฤษ ผูพ้ ิสจู น์ทฤษฎีสมั พัทธภาพของไอน์สไตน์ได้เป็ นคนแรก ตามด้วย ความเห็นของแมกซ์ แพลงค์ (Max Planck) นักฟิ สกิ ส์ชาวเยอรมัน ผูไ้ ด้รบั รางวัลโนเบลสาขาฟิ สกิ ส์ประจ�ำปี ค.ศ. ๑๙๑๘ แสดงให้เห็น ถึงการยอมรับว่าวิทยาศาสตร์มีขอ้ จ�ำกัดในการน�ำพามนุษย์เข้าถึง ความจริงของโลกและชีวิต ราวสองพันห้าร้อยปี ท่ผี า่ นมา พระพุทธองค์ทรงแสดง “อจินติตสูตร"


วิทยาศาสตร์ประหลาดรู้

125

ซึง่ เป็ นพระสูตรที่วา่ ด้วยสิง่ ที่ไม่อาจส�ำเร็จได้ดว้ ยการคิด ๔ ประการคือ ๑. พุทธวิสยั หมายถึงความสามารถของพระพุทธเจ้า ผูท้ ่ีมิใช่ พระพุทธเจ้าแม้จะพยายามใช้ความนึกคิดตริตรองเพียงใดก็ไม่อาจ เข้าใจในพุทธวิสยั เช่น อานุภาพของพุทธคุณและสัพพัญญุตญาณ อันได้แก่ญาณหยั่งรูส้ ่งิ ที่เป็ นอดีต ปั จจุบนั และอนาคต ๒. ฌานวิสยั หมายถึงความสามารถของผูท้ ่ีได้ฌาน ผูท้ ่ีมิได้ ฌานแม้จะพยายามใช้ความนึกคิดไตร่ตรองเพียงใดก็ไม่อาจเข้าใจ ได้วา่ เหตุใดผูท้ ่ีปฏิบตั จิ นเกิดคุณวิเศษที่เรียกว่า "ฌาน" จึงสามารถ แสดงฤทธิ์และมีอินทรียค์ มชัดเช่นหูทิพย์ ตาทิพย์ได้ ๓. กัมมวิบาก หมายถึงผลของกรรม ผูค้ นทั่วไปย่อมไม่สามารถ รูไ้ ด้วา่ ผลของกรรมที่ตนหรือสัตว์อ่ืนได้รบั ในปั จจุบนั เกิดจากการ กระท�ำใดหรือครัง้ ใดในอดีต ๔. โลกจินดา หมายถึงความคิดเกี่ยวกับโลกเช่นใครสร้าง พระจันทร์ พระอาทิตย์ ทะเล แม่นำ้� ต้นไม้ ภูเขาฯ อจินไตยทัง้ สี่ประการนีแ้ ม้บางบุคคลจะคิดว่าตนสามารถรูไ้ ด้ ด้วยการค้นคว้าข้อมูล แต่ก็เป็ นเพียงความรูอ้ นั จ�ำกัดในวิสยั ของตน เท่านัน้ ไม่สามารถเทียบได้กบั ความรูข้ องพระพุทธองค์ ด้วยเหตุนี ้ พระผูม้ ีพระภาคเจ้าจึงทรงตรัสเตือนว่า ไม่ควรน�ำสิ่งที่เป็ นอจินไตย มาขบคิดเพราะจะท�ำให้เสียสติ ได้รบั ความล�ำบากโดยไม่เกิด


126 ประโยชน์อนั ใด ทว่าพุทธวิสยั มิใช่คณ ุ สมบัตทิ ่ีสงวนไว้เฉพาะบุคคล หากผูใ้ ดต้องการพิสจู น์ก็สามารถกระท�ำได้ดว้ ยการสั่งสมบารมีจน เสมอพุทธเจ้า ซึง่ ใช้เวลาถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ ปั จจุบนั องค์การวิจยั นิวเคลียร์ยโุ รป (European Organization for Nuclear Research) หรือ CERN มีสำ� นักงานใหญ่อยู่ท่ี กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทดลองติดตัง้ เครือ่ งเร่งอนุภาค ขนาดใหญ่ซ่งึ ให้พลังงานสูงสุดเท่าที่มนุษย์เคยประดิษฐ์ขนึ ้ เพื่อ ทดสอบทฤษฎีท่ีมีอยูใ่ นปั จจุบนั เกี่ยวกับอนุภาคมูลฐาน รวมทัง้ ค้นหา หลักฐานต่างๆเพื่อสร้างทฤษฎีใหม่ในการไขความลับของจักรวาล การทดลองนีเ้ สมือนการสร้างจักรวาลในหลอดแก้ว ช่วงปี ค.ศ. ๒๐๑๐ เซิรน์ ประสบความส�ำเร็จในการจ�ำลองสภาพใกล้เคียงกับ Big Bang อันเป็ นจุดก�ำเนิดจักรวาล ซึง่ สสารและพลังงานถูกปล่อยออกมาจน น�ำไปสูก่ ารก่อตัวของกลุม่ ดาวและก�ำเนิดชีวติ ในท้ายที่สดุ นอกจากนี ้ ยังเป็ นการพิสจู น์ทฤษฎีอนุภาคพระเจ้าที่เรียกว่า God Particle หรือ Higgs Boson อีกด้วย ระหว่างที่เซิรน์ ก�ำลังคร�่ำเคร่งกับการ ไขความลับของจักรวาล ภิกษุหนุ่มอดีตนักศึกษาปริญญาโททาง ฟิ สกิ ส์ชาวเยอรมัน ซึง่ พ�ำนักอยูท่ ่ีวดั ธรรมปาละ กลับขะมักเขม้นใน การไขความลับของธรรมชาติตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็ นสถานการณ์ท่ีนา่ ลุน้ อยูไ่ ม่นอ้ ยว่าผูใ้ ดจะบรรลุถงึ จุดหมาย


วิทยาศาสตร์ประหลาดรู้

127

ก่อนกัน และความรูช้ นิดใดจะน�ำผูค้ น้ คว้ารวมทัง้ สังคมมนุษย์ไปสู่ ความสงบสุขอย่างแท้จริง ทว่าชีวติ ของมนุษย์มเี วลาอันจ�ำกัด เราไม่อาจรอให้นกั วิทยาศาสตร์ ค้นพบจุดก�ำเนิดของจักรวาลแล้วรายงานความรูท้ ่ีคน้ พบนัน้ พร้อมทัง้ เสนอค�ำแนะน�ำว่ามนุษย์ควรด�ำเนินชีวิตเช่นไร สมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโฺ ต) จ�ำแนก "ความรูใ้ นความจริง" ออกเป็ น สองประเภทคือ ๑. ความจริงที่มีประโยชน์ คือความรูอ้ นั จ�ำเป็ นส�ำหรับการด�ำเนิน ชีวิตที่ดีงาม ซึง่ มนุษย์แต่ละคนสามารถเข้าถึงได้ภายในชีวิตนี ้ ๒. ความจริงที่ไม่เป็ นประโยชน์ คือความรูท้ ่ีไม่จำ� เป็ นซึง่ ยังพิสจู น์ ไม่ได้ หากผูใ้ ดสนใจใคร่คน้ คว้าก็ทำ� การพิสจู น์กนั ต่อไป การเข้าถึง ความดีงามสูงสุดไม่ขนึ ้ ต่อความรูป้ ระเภทนีแ้ ละไม่ตอ้ งรอค�ำตอบ พระภิกษุชาวเยอรมัน อดีตนักศึกษาปริญญาโททางฟิ สิกส์ได้ เสนอมุมมองซึง่ สอดคล้องกับ "ความรูใ้ นความจริง" ทัง้ สองประเภท ข้างต้นได้อย่างน่าพิเคราะห์ดงั ต่อไปนี ้ “ความรู ท้ างพุทธศาสนา อันหนึง่ ซึง่ เกิดขึน้ กับผมหลังจากบวชแล้วก็คือ พระธรรมนี่สมบูรณ์ จริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนสิ่งที่เป็ นส่วนเกิน แต่ทางวิทยาศาสตร์ เขาไปหลายแง่ บางครัง้ ตัง้ ค�ำถามไม่ถกู เช่นอุปมาแห่งลูกศร บุคคล


128 หนึ่งถูกยิงด้วยลูกศรแล้วบอกว่า ผมจะไม่ถอนลูกศรออกจากอก จนกว่าจะรูว้ า่ ใครเป็ นผูย้ ิง วัสดุทำ� ด้วยอะไร มีพิษอะไร ออกฤทธิ์ อย่างไร ในทางฟิ สกิ ส์อาจจะถามว่ามันพุง่ มาได้อย่างไร พุง่ มาด้วย ความเร็วเท่าไหร่ ถึงแม้มนั จะเป็ นเรือ่ งที่เกิดขึน้ จริง แต่เขาตัง้ ค�ำถาม ไม่ถกู เราอยากจะแก้ปัญหาในชีวิตของเรา แต่ตงั้ ค�ำถามไปคนละ ทาง แม้แต่ตอนที่ผมเรียนฟิ สกิ ส์ยงั ทิง้ ปรัชญาไม่ได้ ก็จะมีพวกเมตา ฟิ สกิ ส์ เมตาหมายถึงสิ่งสูงสุดเหมือนอภิธรรม มีธรรมกับอภิธรรม ฟิ สกิ ส์คือรูปธรรม เมตาฟิ สกิ ส์คือเหนือซึง่ รูปธรรม เขาอยากจะหา ว่าอะไรเป็ นบ่อเกิดของจักรวาล พระเจ้าสร้างหรือเปล่า ส่วนมากเขา ตัง้ ปั ญหาแบบคริสต์ แต่พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ตอ้ งถามก็ได้วา่ ใคร เป็ นผูส้ ร้างโลก เพียงแต่เอาลูกศรคือความทุกข์ออกก็พอ" ครัง้ อดีตเราคุน้ เคยกับค�ำว่า “ความงมงายในสิ่งศักดิส์ ทิ ธิ์" ทว่า ขณะโลกยุคปั จจุบนั ก�ำลังตื่นเต้นกับหลากนวัตกรรมล�ำ้ สมัยอัน เป็ นผลพวงของวิทยาศาสตร์กลับมี "ความงมงายในวิทยาศาสตร์" เกิดขึน้ คู่ขนานกัน ตัวอย่างส�ำหรับกรณีนีค้ ือค�ำอธิบายเกี่ยวกับ เทหวัตถุในอวกาศที่เรียกว่าหลุมด�ำ (Black Hole) นักวิทยาศาสตร์ อธิบายถึงคุณสมบัตขิ องหลุมด�ำไว้วา่ “มวลสารและพลังงานในหลุมด�ำ จะผนึกแน่นจนเทียบได้กบั ตึกเอ็มไพร์สเตท (ตึกระฟ้าสูง ๑๐๒ ชัน้ ในมหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึง่ ถูกรีดเอาช่องว่างในตึก


วิทยาศาสตร์ประหลาดรู้

129

ออกทัง้ หมดแล้วอัดแน่นจนมีเนือ้ สารเท่าเข็มเย็บผ้าเล่มหนึง่ โดยที่ เข็มเย็บผ้าเล่มนีย้ งั คงมีนำ้� หนักเท่ากับตึกเอ็มไพร์สเตท นอกจาก นีห้ ลุมด�ำยังมีแรงโน้มถ่วงสูงจนกระทั่งไม่มีส่งิ ใดสามารถเล็ดลอด ออกมาได้แม้กระทั่งแสง” ค�ำอธิบายเหล่านีเ้ กินขอบเขตความรูข้ อง มนุษย์ท่วั ไป แต่ดว้ ยศรัทธาที่มีตอ่ นักวิทยาศาสตร์เป็ นทุนเดิม เราจึง เชื่อทัง้ ๆที่ยงั กังขา บทสนทนาระหว่างอัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ นักฟิ สกิ ส์ ผูย้ ่ิงใหญ่ กับชาร์ลี แชปปลิน ผูก้ ำ� กับและนักแสดงภาพยนตร์เงียบ ชื่อก้องโลก คงพอจะเปิ ดเผยความในใจที่ชาวบ้านอย่างเราๆท่านๆ มีตอ่ นักวิทยาศาสตร์ได้ Einstein: What I most admire about your art, is your universality. You don’t say a word, yet the world understands you! Chaplin: True. But your glory is even greater! The whole world admires you, even though they don’t understand a word of what you say. ไอน์สไตน์: ผมชื่นชมการแสดงของคุณจากใจจริง สิง่ ที่คณ ุ ท�ำมัน เป็ นสากลอย่างยิ่ง คุณไม่จำ� เป็ นต้องพูดอะไร แต่คนทัง้ โลกก็เข้าใจ แชปลิน: มันก็จริงอยูห่ รอก แต่คณ ุ สิยอดเยี่ยมยิ่งกว่า คนทัง้ โลก ชื่นชมคุณ ทัง้ ๆที่ไม่มีใครเข้าใจในสิ่งที่คณ ุ พูดเลย



มรณสติกลางหุบเขา


132 “มจฺจุนาพฺภหโต โลโก ชราย ปริวาริโต สัตว์โลกถูกมฤตยูหำ้� หัน่ ถูกชราปิ ดล้อม" วัดธรรมปาละถูกโอบล้อมด้วยวงแหวนภูเขา มียอดสูงสุดชื่อ “Balmhorn-บาล์มฮอร์น” โดดเด่นอยูเ่ หนือระดับน�ำ้ ทะเลถึง ๓,๖๙๙ เมตร ไม่วา่ ใครก็ตามที่ออกไปยืนอยูท่ า่ มกลางภูผาเหล่านัน้ จะรูส้ กึ ราวกับว่าตนเองถูกสาปให้กลายเป็ นมดแล้วถูกบดขยีด้ ว้ ยความมหึมา อย่างไร้เมตตาปรานี สถานการณ์นีส้ อดคล้องกับคาถาประพันธ์ ซึง่ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในปั พพโตปมสูตรที่ ๕ ความว่า ภูเขาใหญ่แล้วด้วยศิลาจรดท้องฟ้า กลิง้ บดสัตว์มาโดยรอบทัง้ สีท่ ศิ แม้ฉนั ใด ชราและมรณะก็ฉนั นัน้ ย่อมครอบง�ำสัตว์ทงั้ หลาย คือพวกกษัตริย ์ พวกพราหมณ์ พวกแพศย์ พวกศูทร พวกจัณฑาล และคนเท ขยะมูลฝอย ไม่เว้นใครๆไว้เลย ย่อมย�่ำยีเสียสิน้ ณ ที่นนั้ ไม่มียทุ ธภูมิสำ� หรับ พลช้าง พลม้า ไม่มียทุ ธภูมิสำ� หรับพลรถ ไม่มียทุ ธภูมิสำ� หรับพลราบ และไม่ อาจเอาชนะด้วยการรบ เวทมนตร์หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนัน้ บุรุษผูเ้ ป็ นบัณฑิต มีปัญญา


มรณสติกลางหุบเขา

133

เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงตัง้ ศรัทธาไว้ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผูใ้ ดมีปรกติประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทัง้ หลายย่อมสรรเสริญผูน้ นั้ ในโลกนี ้ เมื่อละโลกนีไ้ ป เขาย่อมบันเทิงในสวรรค์ ในโอกาสที่หลวงพ่อชาเดินทางไปต่างประเทศเป็ นครัง้ แรก ท่านเขียนบันทึกไว้เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เกี่ยวกับ อุบตั เิ หตุกลางอากาศโดยมีใจความย่นย่อว่า ส่วนล้อของเครือ่ งบิน เกิดการระเบิดผูโ้ ดยสารต่างตื่นตระหนก ครัน้ คนเหล่านัน้ นึกขึน้ ได้ ว่ามีพระโดยสารมาด้วยจึงพากันวิงวอนให้ท่านช่วย หลวงพ่อชาตัง้ สัจอธิษฐานมอบกายถวายชีวติ แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว ก�ำหนดจิตให้อยูใ่ น "สถานที่อนั สมควร" เมื่อเครือ่ งบินร่อนลงจอดยัง สนามบินได้อย่างปลอดภัย มีผโู้ ดยสารเพียงคนเดียวที่ยกมือไหว้ หลวงพ่อ ที่เหลือนอกนัน้ ไหว้แอร์โฮสเตสกันหมด หลวงพ่อปิ ดท้าย บันทึกตอนนีว้ า่ "นับเป็ นสิ่งที่แปลก" เหตุการณ์นีบ้ ง่ ชีว้ า่ ผูท้ ่ีอบรมตนมาอย่างดีเยี่ยมย่อมไม่หวั่นไหว ต่อความตาย ตรงข้ามกับผูท้ ่ีขาดการฝึ กฝนเมื่อตกอยูใ่ นสถานการณ์ หน้าสิ่วหน้าขวาน ย่อมไม่สามารถท�ำตนให้เป็ นที่พ่ึงของตนได้


134 พระพุทธองค์ตรัสไว้ในโยธาชีววรรคที่ ๔ ถึงสาเหตุท่ีทำ� ให้คนกลัวตาย ๔ ประการอันได้แก่ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี ้ เป็ นผูย้ งั ไม่ปราศจากความก�ำหนัด พอใจ รักใคร่ กระหาย เร่าร้อน ทะยานอยาก ในกาม คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่ารืน่ เริงใจ เมื่อโรคภัยเบียดเบียนคุกคามแสน สาหัสก็เกิดความวิตกกังวลว่า กามอันเป็ นที่รกั ต้องจากเราไป และ เราจักต้องจากกามอันเป็ นที่รกั เหล่านัน้ ไป จึงเกิดความเศร้าโศก คร�่ำครวญ กระวนกระวาย และหวาดสะดุง้ ต่อความตาย ๒. บุคคลบางคนในโลกนี ้ เป็ นผูย้ งั ไม่ปราศจากความก�ำหนัด พอใจ รักใคร่ กระหาย เร่าร้อน ทะยานอยาก ในกาย เมื่อโรคภัย เบียดเบียนคุกคามแสนสาหัสก็เกิดความวิตกกังวลว่า กายอันเป็ นที่รกั ต้องจากเราไป และเราจักต้องจากกายอันเป็ นที่รกั นีไ้ ป จึงเกิดความ เศร้าโศก คร�่ำครวญ กระวนกระวาย และหวาดสะดุง้ ต่อความตาย ๓. บุคคลบางคนในโลกนี ้ เป็ นผูม้ ไิ ด้ทำ� กรรมดี มิได้สร้างบุญกุศล เอาไว้เป็ นที่พง่ึ แต่เป็ นผูท้ ำ� กรรมชั่ว สร้างบาปอกุศลไว้เป็ นอันมาก เมื่อโรคภัยเบียดเบียนคุกคามแสนสาหัสก็เกิดความวิตกกังวลว่า เราไม่ได้ทำ� กรรมดีเอาไว้ ไม่ได้สร้างบุญกุศลเอาไว้ ปลายทางของ บุคคลที่ส่งั สมความชั่วและบาปอกุศลเช่นเราคือทุคติ จึงเกิดความ เศร้าโศก คร�่ำครวญ กระวนกระวาย และหวาดสะดุง้ ต่อความตาย


มรณสติกลางหุบเขา

135

๔. บุคคลบางคนในโลกนี ้ เป็ นผูม้ ีความเคลือบแคลงสงสัย ในพระสัทธรรม คือความจริงและความถูกต้องดีงาม เมื่อโรคภัย เบียดเบียนคุกคามแสนสาหัสก็เกิดความวิตกกังวลว่า เราเป็ นผูท้ ่ี เคลือบแคลงสงสัยในพระสัทธรรม จึงเกิดความเศร้าโศก คร�ำ่ ครวญ กระวนกระวาย และหวาดสะดุง้ ต่อความตาย บ่อยครัง้ ที่เราได้ยินผูค้ นปรักปร�ำว่าพระพุทธศาสนามองโลกใน แง่รา้ ย เพราะอ้างถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก จากบุคคลและสิ่งอันเป็ นที่รกั ซึ่งรวมเรียกว่า “ทุกข์" ดังปรากฏ หลักฐานอยูใ่ น Encyclopedia Britannica ความว่า "The Buddha based his entire teaching on the fact of human suffering and ultimately dissatisfying character of human life. Existence is painful" แต่เมื่อพิจารณาให้ลกึ ซึง้ ก็จะพบว่า พระพุทธองค์ตรัส สอนทัง้ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบตั ิเพื่อถึง ความดับทุกข์ เหตุท่ีพระพุทธองค์ทรงยกอริยสัจจ์ขอ้ ที่หนึง่ คือ "ทุกข์" ขึน้ มาแสดงเป็ นอันดับแรก เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้สตั ว์โลก ได้มองเห็นว่า ชีวิตของตนมีปัญหาหรือความทุกข์บีบคัน้ ไม่อาจ นิ่งนอนใจอยูไ่ ด้ เมื่อบุคคลเห็นอย่างถนัดชัดเจนก็จะเกิดแรงกระตุน้ ในการขวนขวายหาวิธีแก้ปัญหา ครัน้ พระพุทธองค์ทรงหยั่งรู ว้ า่ บุคคลนัน้ เกิดความกระตือรือล้นจึงแสดง "เหตุเกิดแห่งทุกข์" เพื่อ


136 ให้มองเห็นรายละเอียดของสิ่งที่ตอ้ งแก้ไข จากนัน้ ก็กา้ วไปต่อไปยัง "ความดับทุกข์" หมายถึงสภาวะอันเป็ นสุขเมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ และสุดท้ายคือ "ข้อปฏิบตั เิ พื่อถึงความดับทุกข์" เพื่อให้เริม่ ลงมือกระท�ำ อุปมาเช่นในช่วงฤดูหนาวที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์คือตัง้ แต่ กลางเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมีนาคม อุณภูมิจะอยูร่ ะหว่าง -๓ องศาเซลเซียสถึง ๖ องศาเซลเซียส ส่วนเขตเทือกเขาสูงเช่น วัดธรรมปาละ บางวันอุณภูมิจะลดลงถึง -๑๕ องศาเซลเซียส การที่มนุษย์ตอ้ งเผชิญกับสภาพอากาศอันหฤโหดเช่นนีค้ อื "ทุกข์" การ ปราศจากเครือ่ งป้องกันความเหน็บหนาวคือ "เหตุให้เกิดทุกข์" ความ อบอุน่ สบายคือ "ความดับทุกข์" การสวมใส่เครือ่ งนุง่ ห่มคุณภาพดี การอาศัยอยูใ่ นอาคารที่ติดตัง้ อุปกรณ์ผลิตความร้อน รวมทัง้ การ บริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงคือ “ข้อปฏิบตั เิ พื่อถึงความดับทุกข์" การระลึกถึงความตายโดยไม่แยบคายยังให้เกิดความหดหู่ เศร้าหมอง หวาดหวั่น พรั่นพรึง จึงสงเคราะห์เข้าเป็ น "การมองโลกใน แง่รา้ ย" ส่วนการเจริญมรณสติจะส่งผลให้เกิดความไม่ประมาทใน การด�ำเนินชีวติ สภาวะเช่นนีเ้ รียกว่า "การมองโลกตามความเป็ นจริง"




บิณฑบาตประหลาดใจ BERN


140 “เราไม่ได้บณ ิ ฑบาตเอาอาหาร แต่เราบิณฑบาตเอาคน” หลวงพ่อชาปรารภประโยคนีเ้ มื่อครัง้ น�ำพระภิกษุออกบิณฑบาต ในกรุงลอนดอน แต่เนื่องจากประเทศอังกฤษมีกฎหมายห้ามขอทาน เรีย่ ไร ผลที่ได้รบั คือต�ำรวจรีบรุดมาสอบสวนทันควัน ทว่าเมื่อดอกบัว พันธุเ์ ถรวาทจากอุบลราชธานีส่งกลิ่นหอมขจรขจายทั่วสหราช อาณาจักร การภิกขาจารของคณะสงฆ์สายวัดหนองป่ าพงก็ดำ� เนิน ไปด้วยความละมุนละไมราวกับจิบน�ำ้ ชาแกล้มบิสกิตยามบ่าย ฉันเคยปฏิบตั ิกิจวัตรนีท้ งั้ ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อเดินทางมาประเทศสวิตเซอร์แลนด์จึงอยากทดลองดูบา้ ง หลังจากลงอุโบสถในเช้าวันหนึ่งจึงน�ำเรื่องนีข้ ึน้ สู่ท่ีประชุมสงฆ์ ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนอย่างล้นหลามด้วยข้อสรุปว่า ทุกเช้าวันเสาร์ ในช่วงเข้าพรรษาพระภิกษุหรือสามเณรจ�ำนวนสองรูปจะนั่งรถไฟ ไปบิณฑบาตยังกรุ งเบิรน์ หรือเมืองทูน ซึง่ อยู่หา่ งจากวัดราวหนึ่ง ชั่วโมงและสี่สบิ ห้านาทีตามล�ำดับ เนื่องจากฉันเป็ นผูน้ ำ� เสนอจึงต้อง ประเดิมเป็ นชุดแรก เราไปถึงสถานีรถไฟใจกลางกรุงเบิรน์ ในเวลา สิบนาฬิกาเศษๆ จากนัน้ ก็ซอกแซกไปตามสวนสาธารณะสู่ Federal Palace หรืออาคารรัฐสภาแห่งสมาพันธรัฐสวิส โดยตัง้ ใจว่าถ้าได้ อาหารบิณฑบาตเพียงพอเราจะมาปฏิสงั ขาโยกันที่น่ี


บิณฑบาตประหลาดใจ: BERN

141

เมื่อผ่านด้านหลังอาคารแล้วทะลุออกมายืนบริเวณซุ​ุม้ ประตู ขนาดใหญ่ลมโชยเย็นสบาย ฉันก็ลว้ งบาตรออกจากเป้สอดเข้า ไหล่ขวาแล้วมองหาท�ำเลทอง ทุกเช้าวันเสาร์บริเวณลานโล่งกว้าง ด้านหน้าเฟเดรัลพาเลซจะแปลงร่างเป็ นตลาดจ�ำหน่ายผักผลไม้สด ทัง้ ชนิดออร์แกนิคซึ่งมีการรับรองมาตรฐานและประเภทเคลือบ สารเคมี รังสีแห่งคิมหันตฤดูชา่ งแรงร้อน เราจึงหลบใต้เงาตึกแล้ว ปั กหลักอยูท่ ่ีน่นั เสียงแซกโซโฟนประสานดับเบิล้ เบสเพลง Just the way you are (แน่ะ! ยังจ�ำได้) โดยนักดนตรีเปิ ดหมวกกังวานไปทั่ว บริเวณ ต�ำรวจจ้องมาที่เราด้วยสายตาสงสัยขณะขับรถผ่าน ราว สิบนาทีมีหนุม่ ไทยร่างยักษ์สองคนน�ำแอปริคอทสองถุงมาใส่บาตร พวกเขาบอกว่าท�ำงานแถวนีบ้ งั เอิญเห็นพระจึงอยากท�ำบุญ ไม่ก่ีอดึ ใจ ชายฝรั่งสูงวัยก็ย่องมาวางเหรียญห้าฟรังค์ไว้บนฝาบาตรของฉัน ยังไม่ทนั อธิบายว่า “เราไม่รบั ปั จจัย เรารับเฉพาะอาหารที่พร้อม บริโภคได้ทนั ที” เขาก็เดินจากไปอย่างรวดเร็ว ฉันหันไปยิม้ กับ พระฝรั่งพลางหยิบวัตถุกลมเกลีย้ งอิงไว้ขา้ งก�ำแพง โดยตัง้ ใจว่าจะ มอบให้เด็กคนแรกที่เข้ามาทักทาย หากใครสงสัยว่าระหว่างยืนอยู่นนั้ ฉันคิดอะไร ค�ำตอบคือ แผ่เมตตาและเตรียมรอยยิม้ ให้พร้อมสรรพส�ำหรับทุกคนที่เข้า มาไต่ถาม ฉันไม่กังวลแม้แต่นอ้ ยว่าญาติโยมจะน�ำอาหารมา


142 ถวายเพียงพอหรือไม่ เพราะอาหารเช้าชุดใหญ่ลงไปส�ำรวมอยู่ ในพุงตัง้ แต่ก่อนออกเดินทางแล้ว (ฮา) อีกอย่างพวกเราเคย ฝึ กอดอาหารกันมาก่อนเพราะเชื่อตามที่หลวงพ่อชาแนะน�ำว่า “ในโอกาสที่เดินทางไกล บางวันอาจไม่มีอาหารบิณฑบาต พระที่ เคยฝึ กอดอาหารกับพระที่ไม่เคยฝึ กเลย ความอดทนมันต่างกัน” ครูใ่ หญ่ผา่ นไปแม่บา้ นชาวไทยอนงค์หนึง่ ลากกระเป๋ าติดล้อมา นั่งยองพนมมือไหว้ เธอบอกว่ามาจ่ายตลาดแล้วพบพระโดยบังเอิญ จึงอยากนิมนต์ไปที่รา้ นอาหาร ฉันปรึกษากับพระฝรั่งแล้วให้แม่บา้ น ตัดสินใจเลือกร้าน โดยไม่ลืมวานให้เธอหยิบเหรียญห้าฟรังค์ขา้ ง ก�ำแพงไปหย่อนลงในกล่องบริจาคของนักดนตรี จากนัน้ เธอเดิน น�ำเราขึน้ ไปยังชัน้ สองของอาคารแห่งหนึ่ง ภายในแบ่งเขตแดน ชัดเจนส�ำหรับอาหารฝรั่งและเอเชีย ฉันสนใจอาหารไทยซึง่ เมนูของ ทางร้านมีหลากหลายรายการเช่นผัดไท แกงเขียวหวาน ต้มย�ำกุง้ ฯ แต่ดว้ ยความไม่ม่ นั ใจในฝี มือเพราะมิใช่รา้ นอาหารไทยโดยตรง จึงมอบให้แม่บา้ นซึง่ พ�ำนักอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์มานานกว่าสิบปี เป็ นผูพ้ ิจารณา หลังจากสั่งอาหารได้ครู น่ อ้ ยพ่อบ้านฝรั่งของเธอ ก็ตามมาสมทบ เราเข้ากันได้ดเี พราะเขาเคยไปเมืองไทยมาหลายหน จึงทราบว่าบุคคลที่ใช้เครือ่ งนุง่ ห่มสีกรักคือใคร เขายินดีเป็ นอย่างยิ่ง เมื่อทราบว่าคณะสงฆ์วดั ธรรมปาละจัดคอร์สอบรมสมาธิภาวนา


บิณฑบาตประหลาดใจ: BERN

143

ในวันหยุดสุดสัปดาห์เฉลี่ยเดือนละครัง้ เพื่อเปิ ดโอกาสให้ผคู้ นได้ เรียนรูว้ ธิ ีปล่อยวางความเคร่งเครียด ซึง่ มีสาเหตุมาจากการเผชิญหน้า กับความหนักหน่วงในชีวิตประจ�ำวัน อาหารตามสั่งถูกล�ำเลียงมาวางประดับบนโต๊ะแล้วปิ ดท้ายด้วย ไอศกรีม หลังจากอิ่มหน�ำกันถ้วนหน้า พระก็ให้พรด้วยบทคลาสสิก “อายุ วณฺโณ สุข ํ พลํ - Good health, long life & happiness” จากนัน้ พระฝรั่งก็ชวนฉันไปเดินชมแม่นำ้� สีเทอควอยซ์ช่ือ “Aareอาเรอ” ซึง่ ไหลผ่านย่านเมืองเก่า เราแช่เท้าในน�ำ้ เย็นผ่อนคลาย ความปวดเมื่อยแล้วเดินข้ามสะพานไปยังหอนาฬิกาดาราศาสตร์ “Zytglogge-ไซท์ลอ็ ค” ซึง่ มีนกั ท่องเที่ยวยืนมุงแน่นขนัด เนื่องจาก ทุกชั่วโมงจะมีตกุ๊ ตากลสิงโต ไก่ หมี อัศวิน และตัวตลก ออกมาแสดง ท่าทางและส่งเสียงประหลาด ฉันเพิ่งเห็นความแตกต่างอย่างหยาบ ระหว่างสามดินแดนต่อไปนี ้ “อังกฤษ” อุดมด้วยวัตถุและสถานที่ทาง ประวัตศิ าสตร์ “อเมริกา” เต็มไปด้วยสถาปั ตยกรรมและนวัตกรรม ล�ำ้ สมัย “สวิตเซอร์แลนด์” ผสมผสานสองแนวทางคืออนุรกั ษ์ส่งิ เก่า และพัฒนาสิ่งใหม่ ขบวนรถรางดีไซน์สดุ ล�ำ้ ที่กำ� ลังวิ่งผ่านอาคาร โบราณสนับสนุนข้อสังเกตนีไ้ ด้เป็ นอย่างเด่น เราเดินผ่านน�ำ้ พุเชิงสะพานที่ประติมากรพิเรนทร์ประดิษฐ์เป็ น


144 รูปปี ศาจกินเด็ก ช่างยั่วแย้งกับความเบิกบานของดอกไม้ในกระถาง และวารีเย็นใสอุดมไปด้วยแร่ธาตุถงึ ขนาดสามารถรองดื่มได้ จากจุดนี ้ อีกไม่ไกลจะถึงสถานีรถไฟ เมื่อพ้นสะพานพระเจ้าถิ่นชีช้ วนให้ดฝู รั่ง ๕-๖ คนยืนเกาะกลุม่ อยูบ่ นฟุตปาธหน้าบ้านหลังหนึง่ ท่านอธิบาย ว่าหนุม่ สาวเหล่านัน้ มารอรับยาเสพติดอย่างถูกกฎหมาย แต่ละครัง้ จะมีการบันทึกข้อมูลประจ�ำตัวและปริมาณสารเสพติดที่พวกเขาใช้ หลายเดือนก่อนฉันวิวาทะถึงประเด็นนีก้ บั พระฝรั่งซึง่ ท่านยืนยันว่า รัฐบาลท�ำถูกต้อง ถึงแม้ประชาชนต้องเจียดภาษี ให้แก่กิจกรรมนี ้ แต่เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สนิ จึงเป็ นสิ่งที่ยอมรับได้ แม้ฟังดูดีมีเหตุผลทว่านี่เป็ นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ส่วนการ แก้ไขชนิดขุดรากถอนโคนนัน้ ง่ายดายนั่นคือ “จงเปลี่ยนมุมมองที่มี ต่อความสุข” สิ่งที่ผเู้ สพยาทัง้ ประเภทถูกและผิดกฎหมายต้องการก็ คือ “สุขเวทนา” หากเราสามารถชีใ้ ห้ผคู้ นเห็นว่าสุขเวทนาเป็ นสภาวะ ที่ไม่แน่นอน เกิดขึน้ ชั่วคราวแล้วก็เสื่อมสลายไป แต่ส่งิ ที่หลงเหลือ จากนัน้ คือ “ทุกขเวทนา” ซึ่งน�ำความบีบคัน้ นานัปการมาสู่ชีวิต อันที่จริงพวกเขาคงทราบเรือ่ งเหล่านีจ้ ากประสบการณ์ตรงอยูแ่ ล้ว เพียงแต่ความมุง่ มั่นในการเปลี่ยนแปลงตัวเองยังไม่เข้มข้น ผูเ้ ป็ น บัณฑิตจึงมอบอุบายเสริมก�ำลังใจให้กล้าแข็งด้วยประโยคที่ว่า “ถ้ามันอดไม่ได้ก็ทำ� แต่นอ้ ยและอย่าท�ำบ่อย”



บิณฑบาตประหลาดใจ THUN



148 “ชาวนาอเมริกันโทรศัพท์แจ้งต�ำรวจว่า แรงงานต่างด้าว ชาวเอเชียถูกทอดทิง้ ไม่มีแม้เสือ้ ผ้าจะใส่ ต้องใช้ผา้ ปูโต๊ะแทนเครือ่ ง นุง่ ห่ม ขณะนีก้ ำ� ลังเดินเปลือยเท้าขออาหารอยูต่ ามถนน เมื่อต�ำรวจ รีบรุ ดมาสอบสวน ญาติโยมชาวไทยจึงแจ้งให้ทราบว่าพระก�ำลัง ออกรับบิณฑบาต” ความเข้าใจผิดเช่นนีเ้ กิดขึน้ ได้เสมอ เมื่อพระป่ าจากสยามประเทศ ออกปฏิบตั ศิ าสนกิจด้วยการภิกขาจารในท้องถิ่นที่มีความเหลื่อมล�ำ้ ทางวัฒนธรรม หลังจากทดลองบิณฑบาตที่กรุงเบิรน์ เราก็ยา้ ยมา Thun เมืองซึง่ อยูห่ า่ งจากวัดธรรมปาละด้วยการโดยสารรถไฟเพียง ๔๐ นาที พระฝรั่งให้ขอ้ มูลว่า Thun มีประชากรไทยอาศัยอยูเ่ ป็ น จ�ำนวนมาก จากการสอบถามญาติโยมท�ำให้ทราบว่าที่น่ีอดุ มไปด้วย ร้านอาหารไทยและร้านนวดแผนโบราณ เราเดินจากสถานีรถไฟ ไปยังถนน “Balliz-บัลลิซ” ซึง่ ตัดผ่านเกาะขนาดย่อมกลางแม่นำ้� เออเร่ แม้จะได้ช่ือว่าเกาะแต่อยู่หา่ งจากฝั่ งเพียงไม่ก่ีเมตร เราจึง สามารถข้ามสะพานทัง้ ชนิดไม้และคอนกรีตได้หลายจุด ขณะที่ พระหนุม่ สองรูปก�ำลังมองหาท�ำเลทอง ผูห้ ญิงฝรั่งก็เข้ามาขอถ่ายรูป โดยแนะน�ำตัวว่าเป็ นศิลปิ นวาดภาพลายเส้นด้วยดินสอ ประโยค สะดุดหูก็คือหล่อนบอกว่า “ดิฉนั เคารพในวิถีชีวิตของพระ”


บิณฑบาตประหลาดใจ: THUN

149

เราข้ามสะพานคอนกรีตซึง่ วณิพกก�ำลังนั่งเล่นแอคคอเดียนอยู่ บนฟุตปาธ ว่ากันตามตรงแล้วการแสวงหา ปั จจัยยังชีพตามวิถีของ นักบวชนับว่าสะดวกกว่านักดนตรีผนู้ นั้ สิ่งที่เราต้องท�ำก็เพียงยืน อุม้ บาตรด้วยความส�ำรวม จากนัน้ ญาติโยมผูม้ ีจิตศรัทธาจะน้อมน�ำ มาอาหารมาถวาย โดยที่เราไม่จำ� เป็ นต้องซ้อมดนตรีให้เมื่อยตุม้ แต่อีกมุมหนึ่งหากเรามิได้อยู่บนเส้นทางแห่งการฝึ กตนเพื่อความ หลุดพ้นตามอริยวิถี ไฉนเลยชาวบ้านผูม้ ีสติปัญญาจะมาเฉียดใกล้ เมื่อเรามาถึงอีกฟากหนึง่ ของสะพานก็พบชิงช้าสวรรค์และร้าน อาหารซึง่ แน่นขนัดไปด้วยผูค้ น คุณป้าชาวไทยเดินสวนทางพลาง ยกมือไหว้ ฉันทักทายด้วยค�ำว่า “เจริญพร” เราเดินทะลุตรอกแคบ มายังบริเวณลานด้านหน้าปราสาท จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่า ทุกวันเสาร์และวันพุธจะมีตลาดนัด ฉันส�ำรวจต�ำแหน่งอันเหมาะสม ในที่สดุ ก็ตดั สินใจปั กหลักข้างเสาหินขนาดใหญ่ซง่ึ อยูร่ ะหว่างบาน กระจกขนาดใหญ่ของร้านหนังสือ การเลือกพิกดั เป็ นสิ่งส�ำคัญ อันดับต้นๆ เนื่องจากเคยมีพระยืนรอรับบิณฑบาตอยู่หน้าร้าน จ�ำหน่ายสินค้า ผูเ้ ป็ นเจ้าของเกรงว่าลูกค้าจะไม่กล้าเข้ามาจับจ่าย จึงขอร้องให้ทา่ นย้ายไปที่อ่ืน ทัง้ ที่ไม่แน่ใจว่าจะมี “คนใจดี” มาใส่บาตรหรือไม่แต่เราก็อยาก


150 เสี่ยงดู ตรงข้ามกับที่เรายืนอยูเ่ ป็ นลานน�ำ้ พุโล่งกว้างมีรา้ นรวงราวสิบ แห่งเช่น ร้านจ�ำหน่ายปลาเทราท์ ขนมปั ง เนยแข็ง ผัก ผลไม้ ดอกไม้ แยม น�ำ้ ผลไม้ฯ จ�ำนวนลูกค้ายังมีไม่มากนัก เราจึงตกลงกันว่า จะยืนอยู่ท่ีน่ีสกั ๒๐ นาทีแล้วย้ายไปยังละแวกถนนบัลลิซ เพียง สิบห้านาทีผ่านไปผูห้ ญิงวัยกลางคนก็มายืนยิม้ อยู่เบือ้ งหน้าแล้ว ถามว่า “ท่านต้องการอะไร” เมื่อเราตอบว่า “อาหารที่พร้อมจะ บริโภคได้ทนั ที” หล่อนก็หายไปครึง่ ชั่วโมงแล้วกลับมาพร้อมขนมปั ง โยเกิรต์ เชอร์ร่ี และสามี จากนัน้ ไม่นานชายหนวดเคราเฟิ ้ มก็นำ� มะเขือมาใส่บาตร ฉันทราบจากพระฝรั่งว่าเขาเคยเข้าคอร์สปฏิบตั ิ ธรรมที่วดั ธรรมปาละ ต่อมาสุภาพสตรีซ่ึงเป็ นทัง้ ครู สอนโยคะและแฟนคลับของ ดาไล ลามะก็ถวายแอบเปิ ลสองผล เมื่อเห็นว่าพิกดั นีไ้ ด้นำ้� ได้เนือ้ พอสมควรเราจึงตัดสินใจปฏิบตั ิศาสนกิจต่อไป รายสุดท้ายเป็ น ลูกสาวกับคุณแม่สงู วัยเดินเข้ามาสนทนาโดยแนะน�ำตัวว่ารู จ้ กั พระสายธิเบต พระฝรั่งจึงบอกว่าเราเป็ นสายเถรวาท ครัน้ ทัง้ คูท่ ราบว่า เรามารับภิกขาจารจึงขอตัวไปซือ้ ขนมปั งก้อนใหญ่ เนยแข็ง และผลไม้ มาใส่บาตร ลูกสาวบอกเราว่า “วันนีเ้ ป็ นวันเกิดของคุณแม่” เราจึง ให้พรด้วยภาษาบาลีแล้วปิ ดท้ายด้วยวลีสามัญประจ�ำวัด “Good health, long life & happiness” ขณะร�่ำลากันลูกสาวก็โอบกอด


บิณฑบาตประหลาดใจ: THUN

151

คุณแม่ซง่ึ ยิม้ แย้มทัง้ น�ำ้ ตาด้วยใบหน้าเปี่ ยมสุข หลังจากได้รบั ปั จจัยยังชีพเพียงพอ เราก็เดินย้อนกลับไปยังสวน สาธารณะเยือ้ งสถานีรถไฟแล้วนั่งพิจารณาอาหารบนสนามหญ้า เมื่ออ่านฉลากบนหีบห่อผลไม้และโยเกิรต์ พบว่าล้วนเป็ นผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิค ส่วนขนมปั งกับเนยแข็งเป็ นประเภทโฮมเมด นับว่าทรง คุณภาพและเหมาะแก่อตั ภาพของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็ นส่วนหนึง่ ของธรรมชาติจงึ ต้องการน�ำ้ อาหาร อากาศที่สะอาดบริสทุ ธิ์ ทว่า ในปั จจุบนั ปั จจัยซึง่ จ�ำเป็ นแก่การด�ำรงชีพของเรากลับถูกเจือปน ด้วยอุจจาระวิทยาศาสตร์ นับว่าเป็ นสถานการณ์น่าประหวั่นพรั่น พรึงมิใช่นอ้ ย ปวงชนชาวไทยพึงตระหนักว่า การถือก�ำเนิดและด�ำเนินชีวติ อยู่ บนผืนแผ่นดินอันอุดมที่เรียกว่า "สุวรรณภูมิ" เป็ นสิ่งที่นา่ อิจฉาและ น่าอนุโมทนาในคราวเดียวกัน ไม่วา่ จะเดินทางไปแห่งหนต�ำบลใด หรือฤดูกาลใดก็มีขา้ วปลาอาหารสดใหม่ให้ประทังชีวติ เมื่อโยมน้อง สาวของฉันจะท�ำอาหารเลีย้ งลูกน้อย ก็เพียงแต่ตม้ ข้าวแล้วเดินจาก ครัวสิบก้าวไปเก็บยอดต�ำลึงริมรัว้ ครัน้ โยมน้องชายของฉันจะรับ ประทานอาหารกลางวัน ก็เพียงแต่เหยาะน�ำ้ ปลาพลางบีบมะนาว ใส่ถว้ ย แล้วผละออกจากครัวเพียงห้าก้าวไปเด็ดพริกขีห้ นูขา้ งบ้าน


152 ทว่าสวิตเซอร์แลนด์ตอ้ งสั่งน�ำเข้าแอปเปิ ลจากฝรั่งเศส ส้มจากสเปน กล้วยหอมจากปานามาฯ ซึง่ รับประกันได้เลยว่าประพรมด้วยสารเคมี ทัง้ นัน้ ส่วนอาหารชนิดอื่นที่สามารถเก็บไว้ในห้องใต้ดนิ นานเป็ นแรมปี แทบทัง้ หมดผ่านการเติมสารกันบูด แต่งกลิ่นและเจือสีสงั เคราะห์ สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิ สิกส์ชนั้ แนวหน้าให้สมั ภาษณ์ก่อนการ บรรยายเรือ่ งหลุมด�ำ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ว่า โลก ของเรามีโอกาสถูกท�ำลายล้างสูงด้วยเทคโนโลยีซง่ึ คิดค้นโดยมนุษย์ เช่นอาวุธนิวเคลียร์และไวรัสที่ถกู ตัดแต่งพันธุกรรม หลังจาก "การ ปฏิวตั สิ ีเขียว" ซึง่ น�ำเทคโนโลยีเข้ามามีสว่ นร่วมในการผลิตอาหาร ผ่านไปหลายทศวรรษ มนุษย์รวมทัง้ สิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงนี ้ ก็ประสบกับปั ญหานานัปการ ไม่วา่ จะเป็ นการบุกรุกท�ำลายป่ าจน ส่งผลให้สภาพอากาศวิปริต การเสื่อมคุณภาพของดินถึงกับพืช ไม่อาจเจริญเติบโต สารเคมีเจือปนในน�ำ้ กระทั่งไม่สามารถน�ำมา บริโภคใช้สอย ส่วนเทคโนโลยีนอ้ งใหม่ท่ีกำ� ลังมาแรงแซงหายนะชนิด อื่นก็คือการตัดแต่งพันธุกรรมหรือ GMO ซึง่ ขณะนีส้ หภาพยุโรปได้ สั่งห้ามการน�ำเข้าผลผลิตที่มีการตัดแต่ง พันธุกรรมแล้ว เนื่องจาก ไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัย ราชอาณาจักรไทยสามารถผลิตอาหารหล่อเลีย้ งผูค้ นได้เกินเพียงพอ


บิณฑบาตประหลาดใจ: THUN

153

ไม่จำ� เป็ นต้องตื่นตูมตามกระแส GMO ที่แม้กระทั่งประชาชนใน ประเทศซึง่ คิดค้นเทคโนโลยีเหล่านีย้ งั หวาดระแวงกังวล นอกจากนัน้ เรามีหลัก "เศรษฐกิจพอเพียง" ไว้ฝึกฝนความสันโดษในปั จจัยสี่ เพื่อ พัฒนาชีวิตด้านอื่นให้รน่ื รมย์ย่ิงๆขึน้ ไป


สถานการณ์ภิกขาจาร



156 หลังจากพระภิกษุสามเณรวัดธรรมปาละสลับสับเปลี่ยนกันออก บิณฑบาตเป็ นประจ�ำทุกเช้าวันเสาร์รวมสี่ครัง้ โดยในวันเสาร์ท่ี ๑ และ ๒ ของเดือนจะเดินทางไปที่กรุงเบิรน์ ส่วนวันเสาร์ท่ี ๓ และ ๔ ย้ายมายังเมืองทูน ระหว่างพิจารณาอาหารเช้าวันหนึง่ คณะสงฆ์ได้ น�ำประสบการณ์นา่ รักน่าลุน้ มาเล่าสูก่ นั ฟั ง เหตุการณ์ท่ี ๑ ขณะที่พระก�ำลังเดินผ่านรถยนต์ซ่ึงจอดรอ สัญญาณไฟจราจร เด็กหญิงตัวน้อยที่น่ งั อยู่เบาะด้านหลังก็เปิ ด กระจกแล้วยื่นมือออกมาพยายามเชคแฮนด์กบั พระ แต่ส่ิงที่พระ ท�ำได้ก็เพียงโบกมือทักทายแล้วเอ่ยค�ำว่า “สวัสดี” เหตุการณ์ท่ี ๒ ระหว่างที่พระเดินผ่านแผงจ�ำหน่ายผลไม้ ชายหนุม่ เจ้าของร้านก็ตะโกนถามว่า “เฮ้! นายจะเอาแตงโมไหม?” เมื่อพระตอบว่า “เอาสิ!” เขาก็คว้าแตงโมใบเขื่องโยนเป็ นวิถีโค้งส่ง มาให้ทนั ที! เดชะบุญที่พระเป็ นอดีตนักฟุตบอลระดับนานาชาติ จึงสามารถรับลูกแตงโมได้ทนั ควัน เหตุการณ์ท่ี ๓ สตรีฝรั่งวัยกลางคนเห็นกลุม่ ญาติโยมชาวไทย ก�ำลังใส่บาตรด้วยความกระตือรือร้น หล่อนนั่งมองเงียบๆด้วยความ สงสัยอยูค่ รูใ่ หญ่ จากนัน้ ก็ถือถุงขนมเดินตรงมาที่พระแล้วถามว่า


สถานการณ์ภิกขาจาร

157

“ฉันให้ส่งิ นีแ้ ก่คณ ุ ได้ไหม” เหตุการณ์ท่ี ๔ สุภาพบุรุษฝรั่งเดินตรงเข้ามาหาพระแล้วถามว่า “พวกคุณก�ำลังท�ำอะไร” เมื่อพระตอบว่า “เรามารับอาหารบิณบาต” เขาพลันอุทานว่า “พวกคุณนี่นะ่ เหรอมารับอาหาร!” แล้วเดินจากไป ั นพระไทยงวยงงเพราะภาษาที่ใช้ใน พร้อมเสียงหัวเราะ พระฝร่งเห็ การสนทนาคือเยอรมัน จึงขยายความว่า “เหตุท่ีฝรั่งคนนัน้ หัวเราะ เพราะเขาเห็นพวกเรายังหนุ่มแน่นและแข็งแรง สามารถท�ำงาน หาเลีย้ งตัวเองได้ ไม่อยูใ่ นสภาพที่จะมาเที่ยวขออาหารจากคนอื่น” เหตุการณ์ท่ี ๕ ฝรั่งท่าทางคล่องแคล่วตรงเข้ามาหาพระ วางเหรียญ ลงบนฝาบาตรแล้วจากไปอย่างรวดเร็ว พระจึงรีบอธิบายตามหลังว่า “เราไม่รบั ปั จจัย เรารับเฉพาะอาหาร” เขาเดินกลับมาแล้วบอกว่า “เอาไปเหอะ ไม่มีใครเห็นหรอกน่า” ฉันค�ำนวณอย่างหยาบได้ว่า ญาติโยมที่แวะมาทักทายและ ใส่บาตรเป็ นฝรั่งราว ๘๐เปอร์เซนต์ ซึ่งไม่รูจ้ กั พระสายเถรวาท ส่วนใหญ่จะรูจ้ กั พระสายธิเบต ทว่าเมื่อเราอธิบายถึงพุทธศาสนา เถรวาทซึง่ เกี่ยวพันกับความเป็ น “อนุรกั ษนิยม” ด้วยค�ำศัพท์คลาสสิก “Conservative” หรือศัพท์แสงฮิพฮอพ “Old school” พวกเขาก็เข้าใจ


158 และยินดีถวายขนมปั ง เนยแข็ง โยเกิรต์ ผลไม้ ฯลฯ ส่วนญาติโยม อีก ๒๐ เปอร์เซนต์ท่ีเป็ นชาวไทยนัน้ หายห่วง เพราะจัดเต็มทัง้ อาหาร บิณฑบาตและกิรยิ ามารยาทอันอ่อนช้อยงดงาม คณะสงฆ์ประเมินสถานการณ์แล้วตกลงกันว่าเราควรจะบิณฑบาต ต่อไปจนถึงวันปวารณาออกพรรษา แต่เมื่อการบิณฑบาตครัง้ ที่หา้ ณ กรุ งเบิรน์ เวียนมาบรรจบก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝั น เนื่องจาก ญาติโยมชาวไทยผูม้ ีจิตศรัทธาและผูกพันกับพุทธศาสนาเป็ นทุน เดิม ต่างตระเตรียมอาหารรวมทัง้ เครือ่ งสังฆทานมาถวายเป็ นจ�ำนวน มาก จนกระทั่งพระไม่สามารถหิว้ ขึน้ รถไฟกลับไปที่วดั ได้ เป็ นเหตุ ต้องรบกวนญาติโยมให้ช่วยเคลื่อนย้ายปั จจัยไทยทานเหล่านัน้ ไปส่งที่วดั ด้วยรถยนต์สว่ นบุคคล ในการประชุมระหว่างอาหารเช้าครัง้ ถัดมาซึ่งตรงกับวันพุธ ประเด็นนีจ้ งึ ถูกหยิบยกขึน้ สูก่ ารพิจารณาจนได้ขอ้ สรุปหมาดใหม่วา่ “การบิณฑบาตครัง้ ถัดไป คณะสงฆ์จะไม่แจ้งให้ญาติโยมทราบ ล่วงหน้าว่าที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพื่อเปิ ดโอกาสให้ฝรั่งได้มปี ฏิสมั พันธ์ กับพระ และเพื่อให้พระได้เผชิญกับสถานการณ์ท่ีไม่คาดฝันเพราะ ฉะนัน้ วันเสาร์ท่ีจะถึงนี ้ พระจะงดไปบิณฑบาตที่กรุงเบิรน์ ”


สถานการณ์ภิกขาจาร

159

ฉันกระจายมติของคณะสงฆ์แก่ญาติโยมเพื่อจะได้นำ� ไปบอก ต่อๆกัน จนกระทั่งก่อนการประชุมครัง้ ใหม่ในวันเสาร์ถดั มา ซึง่ ทาง คณะสงฆ์ได้กำ� หนดไว้แล้วว่าจะทดลองไปบิณฑบาตยังเมืองอื่น จู่ๆญาติโยมท่านหนึ่งก็แจ้งมาที่ฉนั ว่า “ศรัทธาไทยจ�ำนวนหนึ่งยัง ไม่ทราบว่า วันเสาร์นีพ้ ระได้ยกเลิกการบิณฑบาตที่กรุงเบิรน์ แล้ว จึงเตรียมอาหารมาถวายด้วยใจจดจ่อ” ฉันน�ำเรือ่ งนีเ้ ข้าสูว่ าระประชุม เป็ นการด่วนพร้อมเสนอว่า “เพื่อถนอมศรัทธาและรักษาความตัง้ ใจดี ของญาติโยม วันนีเ้ ราควรจะไปบิณฑบาตที่กรุงเบิรน์ แล้วแจ้งให้ ญาติโยมทราบถึงมติของที่ประชุมสงฆ์ดว้ ยตัวเอง” ข่าวล่ามาแรง ถูกส่งไปถึงญาติโยมราวหนึง่ ชั่วโมงก่อนที่พระหนุม่ เณรน้อยจะสะพาย บาตรออกจากวัดไปขึน้ รถไฟในหมูบ่ า้ นคันเดอร์สเตก ความฉุกละหุกอันเกิดจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็ นเหตุให้ สองกระแสปะทุตามมา นั่นก็คือกระแสสุขใจที่ได้ทำ� บุญ และกระแส ขุ่นเคืองใจเพราะเตรียมตัวไปถวายอาหารบิณฑบาตไม่ทนั ทว่า พุทธศาสนิกชนมืออาชีพย่อมพลิกวิกฤตให้เป็ นกุศลได้ทกุ โอกาส เมื่อ จังหวะไม่เอือ้ ต่อการสั่งสมบุญด้วย “ทานมัย” คือการท�ำบุญด้วยการ แบ่งปั นสิ่งของ เราก็ยงั บ�ำเพ็ญบุญได้ดว้ ย “ปั ตตานุโมทนามัย” คือ การท�ำบุญด้วยการยินดีในคุณงามความดีของผูอ้ ่ืน อีกทัง้ ชาวพุทธ


160 ยังสามารถพอกพูนบุญได้อีกหลากหลายวิธีดงั ปรากฏอยู่ใน “บุญกิรยิ าวัตถุสิบประการ” นอกจากสองข้อข้างต้นแล้วยังมีอีก แปดข้ออันได้แก่ “สีลมัย-การรักษาศีล” “ภาวนามัย-การเจริญภาวนา” “อปจายนมัย-การประพฤติออ่ นน้อม” “เวยยาวัจจมัย-การขวนขวาย ช่วยเหลือในกิจการงานที่ดีงาม” “ปั ตติทานมัย-การเฉลี่ยส่วนแห่ง ความดีให้ผอู้ ่ืน” “ธัมมัสสวนมัย-การฟั งธรรม” “ธัมมเทสนามัยการสั่งสอนธรรม” “ทิฏฐุชกุ มั ม์-การท�ำความเห็นให้ถกู ต้องตามธรรม” หากผูบ้ ำ� เพ็ญบุญกิรยิ าวัตถุสบิ ประการเกิดความสงสัยว่า ตน จะได้รบั บุญมากหรือน้อยเพียงใด พึงน�ำการกระท�ำของตนมาเทียบ เคียงกับประโยคเฉียบคมเข้มขลังของหลวงพ่อชาที่วา่ “บุญนีเ้ พื่อ ช�ำระกิเลส” ขยายความได้ว่า ถ้าท�ำบุญแล้วกิเลสของตนลดลง มาก ย่อมแสดงว่าได้รบั บุญมาก ถ้าท�ำบุญแล้วกิเลสของตนลดลง เพียงเล็กน้อย ย่อมแสดงว่าได้รบั บุญเพียงเล็กน้อย แต่ถา้ ท�ำบุญแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลงของตนกลับเพิ่มขึน้ นั่นแสดงว่าเดิน ผิดทาง เพราะมิใช่วถิ ีของบุคคลผูด้ ำ� เนินไปสูค่ วามรู ้ ตื่น และเบิกบาน



บิณฑบาตประหลาดใจ BRIG



164 Brig เป็ นเมืองขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างจากวัดธรรมปาละไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว ๔๕ นาทีดว้ ยการโดยสารรถไฟ ที่น่ีเป็ น ชุมชนของชาวคริสต์นิกายโรมันแคทอลิกซึง่ ไม่เคยมีพระไปบิณฑบาต มาก่อน เมื่อวาระภิกขาจารซึง่ ตรงกับวันเสาร์มาถึง เราจึงกระตือรือ ล้นจะไปทดลอง ฉันกับพระฝรั่งเข้าเทียบชานชาลาของสถานีรถไฟ ประจ�ำเมืองก่อนเวลาสิบนาฬิกา เราถือโอกาสเดินส�ำรวจไปตาม เส้นทางสายหลักสูป่ ราสาทอันโดดเด่นอันเป็ นแลนด์มาร์คของที่น่ี วันหยุดสุดสัปดาห์มีนกั ท่องเที่ยวพลุกพล่านและเป็ นไปตามความ คาดหมายคือสตรีสงู วัยชาวเยอรมันคูห่ นึง่ เข้ามาขอถ่ายรูป หล่อน ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างพระแล้วท�ำท่าจะโอบกอด แต่เราแสดง ไมตรีจิตด้วยการห้ามเอาไว้ ครัน้ ได้เวลาพอสมควรเราเดินย้อนกลับไปยังตลาดกลางแจ้ง ซึง่ ปรากฏร้านค้าประเภทแผงลอยอยูร่ าว ๕-๖ แห่งเช่นร้านจ�ำหน่าย ขนมปั ง ผักสด ไส้กรอก เนยแข็ง ส่วนบริเวณโดยรอบเป็ นร้านอาหาร เราเลือกท�ำเลหน้าโบสถ์คริสต์ซง่ึ ตัง้ อยูร่ ะหว่างแผงผักกับโต๊ะจ�ำหน่าย แยมสารพัดชนิด พนักงานเสิรฟ์ ในร้านข้างโบสถ์เป็ นคนแรกที่ทกั ทาย เราโดยถามว่า “คุณต้องการจะดื่มอะไรไหม” เราไม่แน่ใจว่าจะตอบ อย่างไร ถ้า “YES” อาจต้องขยับไปนั่งในร้าน เมื่อดื่มแล้วจะออก มายืนรอรับบิณฑบาตก็กระไรอยู่ ผูค้ นคงคลางแคลงว่าพระมีเงิน


บิณฑบาตประหลาดใจ: BRIG

165

มากพอส�ำหรับยังชีพ แต่เหตุใดยังมาขออาหารกับชาวบ้าน แต่ถา้ “NO” จะเป็ นการท�ำลายความตัง้ ใจดีของพนักงานหนุม่ เราจึงบอก เขาเพียงว่า “พระมารับอาหารบิณฑบาต” ครูห่ นึง่ ผ่านไปชายสูงวัยกับภรรยาจากร้านแห่งนัน้ มาสนทนาด้วย เพราะรูว้ า่ เราเป็ นภิกษุในพุทธศาสนา เนื่องจากเขาเคยเดินทางไป พักผ่อนที่ประเทศไทย ครูใ่ หญ่เขาก็เดินกลับไปที่โต๊ะ จากนัน้ คุณป้า ท่านหนึง่ ได้นำ� เหรียญมายื่นให้ เมื่อเราบอกว่า “คุณใจดีมากแต่เรา ไม่รบั เงิน เรารับเฉพาะอาหารที่พร้อมจะฉันได้เลย” คุณป้ารีบรุดไป ที่รา้ นจ�ำหน่ายเบเกอรี่แล้วซือ้ ขนมปั งขนาดหนึ่งฝ่ ามือมาใส่บาตร ฉันกับพระฝรั่งยืนอยูห่ น้าโบสถ์อกี ราวหนึง่ ชั่วโมง มีผคู้ นเข้ามาถามไถ่ มากมายแล้วเดินจากไป เมื่อเห็นว่าคงจได้อาหารบิณฑบาตเพียงเท่านี ้ เราจึงตัดสินใจกลับวัด ฉันไม่รูส้ กึ หิวเลยแม้แต่นอ้ ยเพราะอาหารเช้า ที่วดั ยังไม่ทนั ย่อย ขณะที่เราก�ำลังผละจากพิกดั นัน้ คุณยายฝรั่ง สองคนก็ปราดเข้ามาพร้อมเหรียญในมือ ซึ่งเราก็ใช้คำ� อธิบาย ชุดเดียวกับคุณป้าข้างต้น ฝนท�ำท่าจะลงเม็ด คุณลุงเจ้าของโต๊ะ จ�ำหน่ายแยมจึงทยอยเก็บสินค้า ลีลาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของ คุณลุงมีสีสนั กว่าเจ้าอื่นๆ คุณลุงทักทายผูค้ นที่เดินผ่านพร้อมยื่น ถาดขนมปั งทาแยมขนาดพอค�ำชักชวนให้ชิม คุณยายฝรั่งทัง้ สอง กระวีกระวาดส�ำรวจร้านต่างๆแต่ไม่เจอสิ่งถูกใจ ท้ายที่สดุ จึงเข้าไป


166 เจรจากับคุณลุงเพื่อขอซือ้ ขนมปั งในถาดที่ทาแยมไว้แล้ว ฉันไม่แน่ใจ ว่าคุณลุงให้ฟรีหรือคุณยายจ่ายฟรังค์ แต่ขนมปั งเหล่านัน้ ก็มากลิง้ อยูใ่ นบาตรของเราสิบสองชิน้ นอกจากนีย้ งั มีสามีภรรยาชาวเยอรมัน อีกสองคู่นำ� แครอทสองแท่งมาถวาย เรากล่าวอนุโมทนาแล้วเร่ง ฝี เท้าฝ่ าปรอยฝนกลับไปยังปราสาท ขออนุญาตนั่งบนม้ายาวกับ ครอบครัวที่มีลกู ชายช่างเจรจาสองคน ซึง่ ก�ำลังรับประทานอาหาร กลางวันที่เป็ นเพียงขนมปั งแห้งๆคนละก้อนเท่านัน้ เอง หลังเสร็จภัตกิจฝนก็หยุดตก พระฝรั่งแจ้งว่าไม่ไกลจากจุดนีม้ ี โบสถ์คริสต์ซง่ึ น�ำกระโหลกของมนุษย์มาก่อเป็ นก�ำแพง เราน่าจะไป ทัศนาเพราะกว่ารถไฟจะเทียบชานชาลาก็อีกนาน ฉันตอบตกลงแล้ว เสนอให้เปลี่ยนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงความจอแจย่านชุมชน เราลัด เลาะเลียบล�ำธาร ข้ามสะพาน ทะลุถงึ หมูบ่ า้ นโบราณที่สร้างหยาบๆ จากท่อนซุง แม้มิได้เก็บรายละเอียดทุกกระเบียดเหมือนเรือนไทย แต่ก็สวยดิบตรงไปตรงมา เราเดินมาถึงโบสถ์ซง่ึ ชัน้ ใต้ดินมีการน�ำ กระโหลกนับหมื่นมาร้อยเรียงเป็ นก�ำแพง ทว่าที่ซุกอยู่ดา้ นหลัง ยังมีอกี จ�ำนวนมาก จนเหลือวิสยั จะสืบทราบตัวเลขที่ถกู ต้องเนื่องจาก สะสมมาหลายชั่วอายุคน บนคานไม้เหนือกระโหลกเหล่านัน้ สลัก ตัวอักษร Was ibr feid / das waren Was wir find / das werdet ibr อ่านออกเสียงอย่างไรไม่รู ้ แต่พระฝรั่งเอือ้ เฟื ้ อแปลเป็ นภาษา


บิณฑบาตประหลาดใจ: BRIG

167

อังกฤษซึ่งถอดความเป็ นไทยได้ว่า “ก่อนนีเ้ ราเคยเป็ นอย่างท่าน อีกไม่นานท่านก็จะเป็ นอย่างเรา” ใครจะน้อมไปสูก่ ารเจริญมรณสติ ก็ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิ ตา นปิ พนฺธวา อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา เมือ่ ถูกพญามัจจุราชครอบง �ำ ไม่วา่ บุตร ไม่วา่ บิดา ไม่วา่ ญาติ พวกพ้อง ถึงจะมีกช็ ว่ ยต้านทานไม่ได้ จะหาทีป่ กป้องในหมูญ ่ าติเป็ นอันไม่มี เราโบกมือลากระโหลกเหล่านัน้ ไปสูโ่ บสถ์อนั ยิ่งใหญ่ตระการตา อีกแห่งหนึ่ง ภายในเป็ นระเบียบและเงียบสงบ สิ่งที่กระทบความ สนใจของฉันกับพระฝรั่งคือห้องสารภาพบาปทรงกล่องสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยประตูสองบานส�ำหรับบาทหลวงและคนบาป เหนือประตู ทางเข้าห้องคนบาปมีหลอดไฟขนาดเล็กสีแดงกับสีเขียว เมื่อคน แบกบาปเข้าไปด้านในไฟสีแดงจะสว่างวาบ หลังจากสารภาพบาป จนสิน้ ไส้พงุ ไฟสีเขียวจะเปล่งประกายซึง่ หมายถึงบุคคลนัน้ สมควร กลับไปด�ำเนินชีวิตตามปรกติ บ้านละแวกนีม้ ีพืน้ ที่ไม่มากนัก แต่แทบทุกครอบครัวปลูกพืชพันธุ์


168 ไว้หลายชนิดเช่นผักต่างๆ ฟั กทอง มะเขือเทศ ฉันสังเกตเห็นเคหสถาน บางแห่งมีธงมนตราแบบธิเบต รวมทัง้ พระพุทธรูปประดิษฐานอยูด่ ว้ ย ทั่วทัง้ หมูบ่ า้ นเงียบสงัดแทบไม่มีความเคลื่อนไหว เราจึงย�่ำไปบน ถนนปูดว้ ยก้อนอิฐเข้าตรอกนีท้ ะลุซอยโน้นได้อย่างสะดวก ท้องฟ้า ปกคลุมด้วยเมฆหมอกหนุนเนื่องให้เกิดบรรยากาศของนิยายเขย่าขวัญ ระหว่างทางปรากฏภาพจิตรกรรมเปรต ผี ปี ศาจ จัดวางในกรอบ สแตนเลสพร้อมไฟสาดส่องล่องลอยหลอกหลอนอยูเ่ ป็ นระยะ นับว่า เป็ นไอเดียประหลาดที่นา่ น�ำไปปรับใช้กบั การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะนั่งรถไฟกลับวัดธรรมปาละ พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อชา ซึง่ เกี่ยวพันกับการบิณฑบาตก็ผดุ พรายขึน้ มา ในยุคที่หลวงพ่อชายัง แข็งแรงท่านน�ำคณะศิษย์ออกเดินธุดงค์ จ�ำนวนนีม้ ีพระจากภาคกลาง ร่วมเดินทางไปด้วย อาหารบิณฑบาตทางภาคอีสานส่วนใหญ่เป็ น ข้าวเหนียว ซึง่ ยังความล�ำบากให้พระพอประมาณ โดยเฉพาะพระ ที่มาจากท้องถิ่นอันอุดมด้วยข้าวปลาอาหาร หลวงพ่อชาจึงปลอบ ลูกศิษย์วา่ “วันนีเ้ สวยชาติเป็ นสุนขั ฉันข้าวเปล่าๆก็แล้วกัน” ทว่าครัน้ ถึงโมงยามท�ำสมาธิภาวนา คณะธุดงค์กลับเจริญกรรมฐานได้อย่าง ดีเยี่ยม เนื่องจากไม่มกี บั ข้าวจึงฉันอาหารได้เพียงเล็กน้อย เมื่อกายเบา ก็สง่ ผลให้จิตแช่มชื่นเบิกบาน




บิณฑบาตประหลาดใจ INTERLAKEN


172 ตามทีค่ ณะสงฆ์ตกลงกันไว้วา่ ทุกเช้าวันเสาร์ในช่วงเข้าพรรษา จะทดลองออกบิณฑบาตตามเมืองต่างๆ สัปดาห์นีญ ้ าติโยมจึงนิมนต์ ไปภิกขาจารที่ Interlaken พลันได้รบั ตั๋วรถไฟที่ญาติโยมส่งมาถวายฉัน ถึงกับร้องโฮก! เพราะเห็นตัวเลข ๕๐ ฟรังค์หรือประมาณ ๑,๘๐๐ บาท ยิม้ เผล่อยูบ่ นนัน้ นี่คอื ราคาตั๋วไป-กลับส�ำหรับพระหนึง่ รูป หลังจากฉัน กับพระฝรั่งยืนสัมผัสยะเยือกของอุณหภูมติ น้ ฤดูใบไม้รว่ ง ณ ชานชาลา สถานีอนิ เทอร์ลาเคนได้เพียงครูน่ อ้ ย ญาติโยมชาวไทยก็พรวดพราด มานั่งยองพนมมือไหว้พลางรายงานโปรแกรมส�ำหรับวันนี ้ เครือ่ งหมาย ค�ำถามจากผูค้ นที่เกร่อยูล่ ะแวกนัน้ พลันพวยพุง่ ล�ำพังเครือ่ งนุง่ ห่ม สีกรักของพระป่ าก็เป็ นเป้าสายตาอยูแ่ ล้ว ครัน้ ผสานกิรยิ าอ่อนน้อม ของอุบาสิกาท่ามกลางบรรยากาศแห่งความเท่าเทียมที่แพร่ระบาด ไปทั่วโลก ยิ่งท�ำให้พทุ ธบริษัทโดดเด่นเป็ นเท่าทวี หลังจากทักทาย กันพออบอุน่ เราก็ผละจากฝูงชนไปขึน้ รถยนต์สว่ นบุคคล จากนัน้ ญาติโยมก็ขบั รถวนรอบเมืองเพื่อให้พระพิจารณาพิกดั ในการออกรับ บิณฑบาต เราน�ำสัมภาระไปฝากไว้ท่ีรา้ นนวดแผนไทยบนชัน้ สามของ อาคารแห่งหนึ่ง จากนัน้ สะพายบาตรเดินอาบแดดอ่อนอุ่นมายัง ซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ หลายครอบครัวเมียงมองด้วยสายตา ฉงน ฉันโบกมือทักทายเด็กน้อยที่มากับพ่อแม่ เหตุท่ีตอ้ งท�ำเช่นนี ้


บิณฑบาตประหลาดใจ: INTERLAKEN

173

ก็เนื่องจากพระอาจารย์รูปหนึง่ ซึง่ ปฏิบตั ศิ าสนกิจอยูใ่ นภาคพืน้ ยุโรป มาเนิ่นนานชีแ้ จงว่า “ส�ำหรับบ้านเมืองที่ไม่คนุ้ เคยกับวัฒนธรรมพุทธ หากพระเอาแต่ยืนส�ำรวมก้มหน้า ชาวบ้านจะไม่รูว้ า่ เรามาท�ำอะไร ถ้าผูค้ นที่เดินขวักไขว่แสดงความสนใจใคร่รู ้ เราต้องมีปฏิกิรยิ าตอบ สนองด้วยความเป็ นมิตร เช่นกล่าวอรุณสวัสดิห์ รือยิม้ แย้มแจ่มใส แต่คงไม่ถึงขนาดต้องท�ำอย่างนัน้ กับทุกคน” เมื่อเราปฏิบตั ิตาม ค�ำแนะน�ำก็ได้ผลลัพธ์อนั น่าทึง่ คุณตาท่าทางใจดีเดินมาโอภาปราศรัยแล้วใส่บาตรด้วยเนยแข็ง หนึ่งก้อนพร้อมผลไม้ ตามด้วยคุณป้ากับน�ำ้ ส้มสองกล่อง การยืน รับบิณฑบาตอยูด่ า้ นหน้าซุปเปอร์มาเก็ตในวันนี ้ แตกต่างจากตลาดสด ที่กรุ งเบิรน์ และเมืองทูน เนื่องจากย่านนัน้ มีผคู้ นทัง้ ฝรั่งและไทย เข้ามาไตร่ถามพร้อมควักปั จจัยถวาย แต่หลังจากเราแจ้งให้ทราบว่า “พระรับเฉพาะอาหารที่พร้อมจะฉันได้ทนั ที” ญาติโยมก็กลุ ีกจุ อไป ซือ้ แซนวิซหรือผลิตภัณฑ์อ่ืนมาใส่บาตร แถมบางครัง้ ยังถามด้วยว่า “ท่านฉันมังวิรตั ไิ หม” ทว่าเช้านีท้ งั้ คุณตาและคุณป้าเดินทางมายัง ซุปเปอร์มาเก็ตเพื่อจับจ่ายสินค้าส�ำหรับตนเองและครอบครัว ครัน้ พบพระสองรูปโดยบังเอิญก็ตรงดิ่งมาสนทนา หลังจากทราบ วัตถุประสงค์ของการบิณฑบาตก็ถวายเครือ่ งบริโภคเหล่านัน้ แล้วเดิน จากไป โดยมิได้หวนคืนสูซ่ ปุ เปอร์มาเก็ต ถัดจากคุณตาและคุณป้า


174 ก็มีอีกหนึง่ หญิงสองชายสูงวัยแวะมาพูดคุยด้วย จากนัน้ ก็เข้าไปซือ้ อาหารในซุปเปอร์มาเก็ตแล้วน�ำมาถวายชุดใหญ่ เมื่อเราเห็นว่าปั จจัย ยังชีพเพียงพอแก่อตั ภาพจึงเดินย้อนกลับไปยังร้านนวดแผนไทย ซึง่ ญาติโยมที่น่นั ได้เตรียมอาหารคาวหวานไว้ถวายอย่างพรั่งพร้อม หลังภัตกิจลุลว่ งราบรืน่ ญาติโยมน�ำพระสองรูปเดินทัศนศึกษา ชานเมืองอินเทอร์ลาเคน ซึง่ มีองค์ประกอบทางภูมิทศั น์ครบถ้วน ไม่วา่ จะเป็ นภูเขา ทะเลสาบ แม่นำ้� ล�ำธาร สะพาน และงานศิลปะ ที่ตดิ ตัง้ อยูแ่ ทบทุกซอกมุม นอกจากนีย้ งั มีอาคารบ้านเรือนโบราณ สอดประสานสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่กระจัดกระจายอยูท่ ่วั ไป อากาศ บ่ายนีเ้ ย็นสบายตลอดครึง่ ทาง กระทั่งมาถึงริมทะเลสาบลมกลับ โบกสะบัดจนฉันถึงกับน�ำ้ มูกไหลพราก เราเดินห่มอากาศหนาว ชื่นใจมาถึงร้านนวดแผนไทยในเวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา หลังจาก จิบชาสมุนไพรพระสองรูปก็ร่ำ� ลา ครัน้ กระโจนขึน้ รถไฟแล้วหย่อน ก้นลงเบาะได้ไม่นาน สุภาพบุรุษฝรั่งอายุราวห้าสิบปี สามคนกับ อีกหนึง่ สุภาพสตรีก็กระวีกระวาดมานั่งใกล้ๆแล้วทักทายว่า “สวัสดี ครับอาจารย์” หลังจากพูดคุยกันครูห่ นึง่ ฉันจึงรูว้ า่ พวกเขาเคยบวช และจ�ำพรรษาอยูท่ ่ีวดั ป่ านานาชาติ ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่ าพง ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึง่ หลวงพ่อชาร่วมกับคณะศิษย์ชาวต่างชาติ ก่อตัง้ ขึน้ เพื่อผูใ้ ช้ภาษาอังกฤษที่เดินทางมาจากทั่วทุกมุมโลก


บิณฑบาตประหลาดใจ: INTERLAKEN

175

ฉันคลับคล้ายว่าเคยรูจ้ กั สุภาพบุรุษผูห้ นึง่ แต่ไม่แน่ใจ เนื่องจากผม เผ้าของเขารุงรัง หนวดเครารกครึม้ และใบหน้าอิ่มอ้วน จนกระทั่ง บทสนทนาสืบเนื่อง “อาจารย์ไปไหนมาครับ” “มาบิณฑบาตที่อินเทอร์ลาเคนตัง้ แต่เช้า” “มีคนใส่บาตรไหมครับ” “มีหา้ คน เป็ นฝรั่งทัง้ หมด” “เป็ นคนที่น่ีหรือนักท่องเที่ยว” “ท่าทางจะเป็ นคนที่น่ี” เพื่อปลดระวางความสงสัยฉันจึงถาม กลับไปว่า “โยมชื่อ...ใช่ไหม” “ใช่ครับ” “ถึงว่าหน้าคุน้ ๆ หลายปี มาแล้วโยมเคยเป็ น*พระอนุสาวนาจารย์ ของอาตมา” *ผูเ้ ป็ นประธานในพิธีอปุ สมบทเรียกว่า “พระอุปัชฌาย์” พระคูส่ วดซึง่ ท�ำ หน้าที่ซกั ถามนาค (ผูข้ ออุปสมบท) เพื่อประกาศท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์วา่ บุคคลนีถ้ งึ พร้อมด้วยคุณสมบัตแิ ละศรัทธาในการถือเพศบรรพชิต พระคูส่ วด ซึง่ มีพรรษามากกว่าเรียกว่า “พระกรรมวาจา” ส่วนพระคูส่ วดที่มีพรรษาน้อย กว่าเรียกว่า “พระอนุสาวนาจารย์”


176 “จริงหรือครับ! ผมจ�ำไม่ได้” “ตอนที่สกึ โยมบวชได้ก่ีพรรษา” “สิบเจ็ดครับ อาจารย์บวชมากี่พรรษาแล้วครับ” “ยี่สบิ เอ็ด” “ถ้าอย่างนัน้ ก็ปลอดภัยแล้ว” “ยังหรอก...ยังมีงานต้องท�ำอีกเยอะ” “แต่การที่พระอนุสาวนาจารย์สกึ มันก็ไม่ใช่เรื่องแย่สำ� หรับ อาจารย์นะครับ” เขาพูดพลางหัวเราะ “ญาติโยมไปไหนกันมา” ฉันหัวเราะพลางพูด “เราเพิ่งกลับจากสอนกรรมฐานครับ” “มีคนเข้าคอร์สเยอะไหม” “ประมาณหกสิบคน เป็ นคอร์สหนึ่งสัปดาห์ พวกเราช่วยกัน สอนครับ” “คนที่น่ีเขาสนใจหัวข้ออะไร” “ความสุข” พลันได้ยินค�ำนี ้ ทัง้ นักบวชและผูค้ รองเรือนต่างยิม้ แย้มแจ่มใสโดยมิได้นดั หมาย




พิธีกรรมท�ำไม


180 "ท�ำไมศาสนาต้องมีพธิ ีกรรมมากมาย" "หากพิธีกรรมไม่ใช่แก่นของศาสนา เรายังต้องยึดถือกันอยูไ่ หม" "งานบุญ งานบวช งานแต่ง งานศพ เจิมรถ เจิมป้าย จ�ำเป็ นกับ พุทธศาสนาไหม" "การรดน�ำ้ มนต์ การสะเดาะเคราะห์ ช่วยได้จริงไหม" “การกรวดน�ำ้ อุทิศส่วนกุศลดูเหมือนไม่มีเหตุผล" เหล่านีล้ ว้ นเป็ นค�ำถามและการตัง้ ข้อสังเกตของหนุม่ สาวยุคใหม่ ในเมืองไทย ส่วนวัยรุน่ ในสวิตเซอร์แลนด์ก็คงเห็นกิจกรรมข้างต้นเป็ น เรือ่ งแปลกประหลาดน่าขบขัน ทว่าสุดสัปดาห์คราหนึง่ คูส่ ามีภรรยา ชาวสวิส-เยอรมัน ซึง่ เป็ นสมาชิกร่วมบุกเบิกวัดธรรมปาละ กลับน�ำ ลูกน้อยกลอยใจมาประกอบพิธี "Baby Blessing” ขัน้ ตอนโดยทั่วไป คือคณะสงฆ์สวดพระปริตร พระอาจารย์ผกู ข้อมือเด็กด้วยด้าย สายสิญจน์ ประพรมน�ำ้ พระพุทธมนต์ กล่าวสัมโมทนียกถา ญาติโยม กรวดน�ำ้ รับพร เป็ นอันเสร็จพิธี เพียงเท่านีก้ ็ยงั ความปลาบปลืม้ ชื่นใจมาสูผ่ เู้ ป็ นบิดามารดา พุทธศาสนาเป็ นศาสนาส�ำหรับชนหมู่มาก ซึ่งล้วนมีพืน้ เพ ภูมิหลังและจริตนิสยั แตกต่างกัน การจะให้บคุ คลผูม้ ีพฒ ั นาการ ด้านไม่เท่าเทียมกันทัง้ ในด้านศีล สมาธิ ปั ญญา ได้ประโยชน์จาก


พิธีกรรมท�ำไม

181

พระศาสนาจึงต้องมีอบุ ายที่เรียกว่า "พิธีกรรม" แม้จะถูกปรามาส ว่าเป็ นเพียงเปลือก แต่กลับมีคณ ุ ปู การต่อสาระที่ซกุ ซ่อนอยูภ่ ายใน อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ขอยกสถานการณ์เพื่อการพิจารณาร่วมกัน สักสองตัวอย่าง สถานการณ์แรกได้แก่การกรวดน�ำ้ อุทิศส่วนกุศล เมื่อพระสงฆ์เดินทางไปเจริญพระพุทธมนต์ยงั เคหสถานของญาติโยม หลังจากสวดพระปริตรและประกอบพิธีกรรมตามล�ำดับแล้ว ขัน้ ตอน สุดท้ายคือการกรวดน�ำ้ อุทิศส่วนกุศล เมื่อประธานฝ่ ายสงฆ์บอกให้ ญาติโยมเตรียมกรวดน�ำ้ รับพร ผูค้ นที่มาร่วมงานต่างหยุดท�ำกิจกรรม อย่างอื่นแล้วพุง่ ความสนใจไปยังการกรวดน�ำ้ ส่งผลให้บรรยากาศ โดยรวมเกิดความสงบเหมาะแก่การกล่าวสัมโมทนียกถา ประธาน ฝ่ ายสงฆ์จงึ ใช้โอกาสนีแ้ สดงธรรมเพื่อให้ขอ้ คิดในการด�ำเนินชีวิต หากผูฟ้ ั งน�ำไปปฏิบตั ิก็จะเป็ นสิรมิ งคลแก่ตนเอง ครอบครัว และ สังคม สถานการณ์ท่ีสองได้แก่การเจิมรถ ญาติโยมชาวไทยครอบครัว หนึง่ น�ำรถยนต์ใหม่เอี่ยมมาให้พระฝรั่งท�ำพิธีเจิม ท่านปฏิเสธหลาย ครัง้ เพราะไม่เคยท�ำ แต่ญาติโยมก็ยงั คะยัน้ คะยอ ท่านจึงใช้นิว้ จุม่ แป้งเจิมแล้ววาดเส้นยึกยือลงไปบนตัวรถพลางก�ำชับญาติโยมว่า "จงตัง้ มั่นในศีลและขับรถด้วยความมีสติ" "พิธี" แผลงมาจากค�ำว่า "วิธี" หมายถึงปฏิบตั ิการอันน�ำไปสู่ เป้าหมาย ส่วน "กรรม" แปลว่าการกระท�ำประกอบด้วยเจตนา บ่อยครัง้


182 ที่พิธีกรรมถูกลดทอนให้เหลือเพียงความขรึมขลังศักดิส์ ิทธิ์ไม่ตา่ ง จากกล้วยที่มีเพียงเปลือก การบริโภคเปลือกกล้วยไม่อาจท�ำให้ ร่างกายได้รบั วิตามินและเกลือแร่อย่างเต็มประสิทธิภาพฉันใด การประกอบพิธีกรรมซึ่งปราศจากเนือ้ หาสาระก็ไม่อาจน�ำสังคม ไปสู่ความเจริญงอกงามได้ฉันนัน้ ปั ญหานีเ้ กิดจากความเขลา หรือความไม่รูข้ องผูป้ ระกอบพิธีกรรม ดังเหตุการณ์ท่ีปรากฏใน สิงคาลกสูตร ความว่า มหาเศรษฐี ผหู้ นึ่งเลื่อมใสในพระพุทธองค์ เป็ นอันมาก เขามีบุตรชายชื่อสิงคาลกะซึ่งปฏิเสธการเข้าวัด ฟั งธรรมมาโดยตลอด แม้ผเู้ ป็ นบิดามารดาจะพร�ำ่ สอนหรืออ้อนวอน สักปานใดก็ตาม ทัง้ นีเ้ นื่องจากสิงคาลกะเห็นว่าการไปวัดท�ำให้ ปวดเมื่อยเพราะต้องนั่งเป็ นเวลานาน เมื่อรูจ้ กั คุน้ เคยกับพระพุทธองค์ และพระสงฆ์สาวกก็ตอ้ งนิมนต์มารับจีวรหรือบิณฑบาตที่บา้ น ท�ำให้ สิน้ เปลืองเวลาและทรัพย์โดยใช่เหตุ สถานการณ์ดำ� เนินไปเช่นนี ้ จนกระทั่งเศรษฐี ผเู้ ป็ นบิดาล้มป่ วย ก่อนสิน้ ลมหายใจเศรษฐี จึง ออกอุบายโดยสั่งให้สงิ คาลกะช�ำระร่างกายให้สะอาด แล้วเดินทาง ไปนอกพระนครเพื่อไหว้ทิศทัง้ หกในเวลาเช้าของทุกวัน สิงคาลกะ ยอมปฏิบตั ิตามเพราะถือว่าค�ำสั่งสุดท้ายของบิดาเป็ นสิ่งส�ำคัญ กระทั่งวันหนึง่ พระพุทธองค์เสด็จมาพบสิงคาลกะขณะก�ำลังไหว้ทิศ จึงตรัสถาม


พิธีกรรมท�ำไม

183

“เธอประคองอัญชลีนอบน้อมต่อทิศทัง้ หกเพื่อประโยชน์อนั ใด" “ข้าแต่ทา่ นผูเ้ จริญ ก่อนบิดาอันเป็ นที่เคารพของข้าพเจ้าจะสิน้ ลมหายใจได้ส่งั ไว้วา่ ให้ขา้ พเจ้าไหว้ทิศเบือ้ งหน้า ทิศเบือ้ งขวา ทิศ เบือ้ งซ้าย ทิศเบือ้ งหลัง ทิศเบือ้ งบน และทิศเบือ้ งล่าง" “การไหว้ทศิ อย่างที่เธอก�ำลังท�ำอยู่ มิใช่การกระท�ำตามแบบแผน ของอริยชน" “ข้าแต่ทา่ นผูเ้ จริญ ถ้าเช่นนัน้ การไหว้ทศิ ตามแบบแผนของอริยชน คือเช่นไร" “ทิศเบือ้ งหน้าคือบิดามารดา ทิศเบือ้ งขวาคือครูบาอาจารย์ ทิศ เบือ้ งหลังคือภรรยา ทิศเบือ้ งซ้ายคือมิตร ทิศเบือ้ งล่างคือคนรับใช้ ทิศเบือ้ งบนคือพระสงฆ์" พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงไว้ในพระไตรปิ ฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สิงคาลกสูตร ความว่า จากนัน้ พระพุทธองค์ทรงอธิบายการปฏิบตั ิ ต่อทิศทัง้ หก ฉันจึงขอยกตัวอย่างการไหว้ทศิ เบือ้ งหน้าคือบิดามารดา มาแสดง ณ ที่นีเ้ พื่อให้สอดคล้องกับพิธี Baby Blessing ที่อา้ งถึง ข้างต้น บุตรธิดาพึงบ�ำรุงบิดามารดาด้วยหลัก ๕ ประการโดยตัง้ ใจว่า (๑) ท่านเลีย้ งเรามา เราจักเลีย้ งท่านตอบ (๒) จักช่วยเหลือกิจการ งานต่างๆของท่าน (๓) จักด�ำรงวงศ์ตระกูลให้ม่นั คง (๔) จักปฏิบตั ติ น ให้สมกับความเป็ นทายาท (๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วจักท�ำบุญ


184 อุทิศให้ทา่ น ครัน้ บิดามารดาได้รบั การปรนนิบตั ิจากบุตรธิดาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์บตุ รธิดาด้วยหลัก ๕ ประการอันได้แก่ (๑) ห้ามจาก ความชั่ว (๒) ให้ตงั้ อยูใ่ นความดี (๓) ให้รบั การศึกษาเล่าเรียน (๔) เลือกคูค่ รองที่สมควรให้ (๕) มอบทรัพย์ให้ในเวลาอันเหมาะสม พิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนาคือปฏิบตั กิ ารอันน�ำไปสูเ่ ป้าหมาย ด้วยเจตนาดีงาม และเชื่อมโยงความจริงที่ปรากฏอยูต่ ามธรรมชาติ หากด�ำเนินการอย่างเหมาะสม จนส่งผลให้ผเู้ ข้าร่วมพิธีกรรมเกิด ความเลื่อมใสศรัทธา ซึง่ จิตที่ประกอบด้วยศรัทธาจะเป็ นเหตุให้กศุ ล ธรรมเจริญได้โดยง่าย ปลายเดือนธันวาคมของทุกปี วัดธรรมปาละ ได้จดั อบรมวิปัสสนากรรมฐานด้วยภาษาเยอรมัน เป็ นเวลาหนึ่ง สัปดาห์เรียกว่า New Year Retreat ในแต่ละวันจะมีการเดินจงกรม นั่งสมาธิ ฟั งธรรม และสนทนาธรรม ซึง่ ญาติโยมทัง้ ฝรั่งและไทย ต่างให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจนเต็มจ�ำนวนที่พกั คือ ๒๗ ท่าน ครัน้ ใกล้เที่ยงคืนของวันที่ ๓๑ ธันวาคม คณะสงฆ์จงึ เจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็ นสิริมงคล จากนัน้ ทุกคนเดินไปรวมตัวกันบริเวณ สนามหญ้าหน้าวัดแล้วปล่อยโคมขึน้ สูท่ อ้ งฟ้า โดยโคมแต่ละอัน ประดับค�ำอธิษฐาน ซึง่ เป็ นสิ่งที่ผปู้ ฏิบตั ธิ รรมตัง้ ใจว่าจะน�ำไปปฏิบตั ิ อย่างจริงจัง เพื่อความเจริญงอกงามของกาย วาจา ใจ และนี่คือ ข้อความที่จารึกอยูบ่ นโคมของฉัน


พิธีกรรมท�ำไม

หิมะขาวพราวพรู อยูช่ นั้ ฟ้า ละลิ่วมาห่มหทัยไฟแผดเผา ความอดทนอดกลัน้ นัน้ เปลีย่ นเรา เคยร้อนเร่ากลับเยือกเย็นเห็นตัวเอง

185



วิสาขบูชา ณ กรุงเบิร์น


188 แม้วนั วิสาขบูชาที่ปรากฏอยู่ในปฏิทินไทยจะล่วงเลยไปแล้ว หนึ่งสัปดาห์ แต่คณะสงฆ์วดั ธรรมปาละเพิ่งได้ฤกษ์สะดวกใน การประกอบพิธี เพราะเดือนนีม้ เี พียงวันเดียวที่หอประชุม “Kipferhausคิปเฟอร์ฮสั ” ว่างตรงกับวันอาทิตย์ เหตุท่ีเราต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ประดามีอาทิโต๊ะหมูบ่ ชู าไปจัดงานวิสาบูชาชานกรุงเบิรน์ เนื่องจาก สถานที่ของวัดธรรมปาละมีความจุไม่เพียงพอส�ำหรับพุทธศาสนิกชน จ�ำนวนเกินร้อย ฝนตกหนักปานกลางตัง้ แต่รถเคลื่อนตัวออกจากวัด ทว่าเมื่อ ดัน้ ด้นถึงจุดหมายก็พบว่าผูค้ นมิได้แสดงอาการย่นระย่อ แต่กลับ เปี่ ยมด้วยความแช่มชื่นเบิกบาน พิธีกรรมเริม่ ต้นอย่างเรียบง่ายโดย ประธานฝ่ ายฆราวาสคือเอกราชทูตไทยประจ�ำกรุงเบิรน์ จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย จากนัน้ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ รับบิณฑบาต ฉันภัตตาหาร พระอาจารย์ผเู้ ป็ นเจ้าอาวาสกล่าวแนะน�ำคณะสงฆ์ แสดงพระธรรมเทศนา ถวายผ้าป่ า รับพร และเวียนเทียน ซึง่ วันนีเ้ รา ต้องท�ำประทักษิณภายในตัวอาคารเพราะฝนพร�ำลงมาไม่ขาดสาย ส่วนขัน้ ตอนสุดท้ายที่ขาดเสียมิได้ก็คอื การประพรมน�ำ้ พระพุทธมนต์ วิสาขบูชาเกี่ยวโยงกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงเพราะเป็ น วันประสูติ ตรัสรู ้ และปรินิพพาน ระหว่างเดินออกก�ำลังกายบนภูเขา


วิสาขบูชา ณ กรุงเบิร์น

189

ก่อนหน้านีห้ ลายวัน ฉันได้ฟังธรรมบรรยายเกี่ยวกับพุทธคุณเก้า ประการจากเครื่องเล่นเสียงชนิดพกพา แม้เนือ้ หาในแต่ละหมวด จะมีประเด็นปลีกย่อยยุบยับ ดังบุคคลากรวงในประทับตราว่า “ฟั่ นเฝื อ” แต่ก็มีบางประเด็นที่ฉนั สะดุดใจอย่างแรงกล้า จนต้องน�ำ มาแสดงไว้ ณ โอกาสนี ้ “อรหัง” ค�ำว่า “อะระ” หรือ “อริ” แปลว่าศัตรู ส่วนค�ำว่า “ห” มาจาก “หะนะ” แปลว่าเอาชนะ ฉะนัน้ ค�ำว่า “อรหัง” จึงหมายถึง พระพุทธองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการเอาชนะศัตรู มิใช่ดว้ ย ศาสตราแต่ทรงใช้ธรรมาวุธมีชยั เหนือผูค้ ิดประทุษร้ายดังเรื่องใน พระสูตรต่อไปนี ้ พราหมณ์ผเู้ ฒ่าเจ็บแค้นที่ลกู ศิษย์สว่ นหนึ่งละทิง้ ลัทธิของตนเพื่อเปลี่ยนไปนับถือพระพุทธศาสนา จึงตัดสินใจเดิน ทางไปยังส�ำนักของพระพุทธองค์ดว้ ยหมายจะก่นด่าให้หน�ำใจ “เจ้าเป็ นคนไม่ได้ผดุ ไม่ได้เกิด!” “ที่ท่านพูดก็มีส่วนถูก...เราหักกงล้อแห่งสังสารวัฏได้แล้ว จึงไม่ตอ้ งมาเกิดอีก” “เจ้าเป็ นคนไม่มีท่ีซกุ หัวนอน!” “ที่ท่านพูดก็มีส่วนถูก...เราเที่ยวจาริกสั่งสอนผูค้ น มิได้อยู่ ที่หนึง่ ที่ใดเป็ นประจ�ำ”


190

ไม่ว่าพราหมณ์ผเู้ ฒ่าจะด่าทอด้วยถ้อยค�ำหยาบคายเพียงใด พระพุทธองค์ก็ทรงเปลี่ยนให้เป็ นธรรมะ ซึง่ สอดคล้องกับประโยคเด็ด ของพระอาจารย์ทา่ นหนึง่ ที่วา่ “คนใจดี...ใครปาขีม้ าให้ก็กลายเป็ น ดอกไม้” แต่การจะเป็ น “คนใจดี” ได้นนั้ ต้องผ่านการฝึ กฝนอย่างหนัก ฉันเคยปฏิบตั ิธรรมในส�ำนักของพระมหาเถระซึง่ เป็ นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อชา ช่างน่าอัศจรรย์ท่ีทา่ นสามารถยิม้ ได้กบั ทุกเรือ่ ง คนชมว่า วัดสวย...ท่านก็ยิม้ คนพูดว่าไม่ศรัทธาวัดนี.้ ..ท่านก็ยิม้ สอดคล้อง กับนิยามที่ฉนั เคยพบพานเมื่อนานมาแล้ว “รอยยิม้ หมายถึงเส้นโค้ง น้อยๆที่พลิกผลันสถานการณ์” ฉันเกิดความสงสัยว่าพระมหาเถระ ยิม้ ให้กบั ทุกสถานการณ์ได้อย่างไร หลายเรื่องที่เป็ นเหตุให้เรา หงุดหงิดงุน่ ง่านแต่ทา่ นกลับแจ่มใส ยิ่งไปกว่านัน้ ก็คือท่านสามารถ รักษา “อารมณ์ดี” ได้ตงั้ แต่ต่ืนยันหลับ แล้วในวันหนึง่ ฉันก็ได้รบั ค�ำ ตอบว่าเกิดจาก “การตัง้ จิตไว้ดี” นั่นเอง หากจิตของเราตัง้ ไว้ดี ไม่วา่ ร้ายหรือดีมากระทบ มันก็ดีทงั้ นัน้ แต่ถา้ จิตของเราตัง้ ไว้ไม่ดี ได้ยิน หรือได้เห็นสิ่งใดก็ขวางหูขวางตาไปทัง้ หมด พุทธคุณอีกข้อหนึง่ ที่ทำ� ให้ฉนั รูส้ กึ ทึง่ คือ “สุคโต” หมายถึงการ เป็ นผูเ้ สด็จไปด้วยดี หากศึกษาพุทธประวัตจิ ะพบว่า พระพุทธองค์ ทรงจาริกไปแสดงธรรมในท้องถิ่นต่างๆอย่างสม�่ำเสมอ อาจขนาน


วิสาขบูชา ณ กรุงเบิร์น

191

พระนามได้วา่ ทรงเป็ นนักเดินทางตัวจริง การเดินทางครัง้ แรกภายหลัง ตรัสรูอ้ นุตรสัมมาสัมโพธิญาณคือจากพุทธคยาสูส่ ารนารถ ซึง่ ปั จจุบนั อยูใ่ นอาณาเขตของประเทศอินเดีย Google Maps ท�ำการค�ำนวณ ระยะทางได้ ๒๔๓ กิโลเมตร โดยปรกติพระพุทธองค์จะเสด็จวันละ หนึง่ โยชน์หรือ ๑๖ กิโลเมตร เพราะฉะนัน้ จึงใช้เวลาเดินเท้าสิริ ๑๕ วัน ชมพูทวีปในอดีตหฤโหดกว่าปั จจุบนั ไม่วา่ จะเป็ นถนน สภาพอากาศ ไข้ป่า มหาโจร สัตว์รา้ ย รวมทัง้ ความยากล�ำบากในการแสวงหา อาหารบิณฑบาต ทว่าพระพุทธองค์ก็ยงั เสด็จไปเพราะเล็งเห็น ประโยชน์ท่ีจะเกิดแก่ชนเป็ นอันมาก นมนานมาแล้วพระใหม่รูปหนึ่งถามฉันว่า “การเดินธุดงค์ จ�ำเป็ นไหมส�ำหรับพระป่ ายุคนี”้ ฉันเฉลยว่า “จ�ำเป็ นส�ำหรับบางรูป” พระมหาเถระผูท้ รงธรรมในอดีตคือท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) หรือ ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ เคยวางแผนออกเดิน ธุดงค์ดว้ ยการเตรียมกลดและบริขารที่จำ� เป็ นไว้อย่างพร้อมพรั่งแต่ สุดท้ายท่านก็เปลี่ยนใจกลับมาด�ำเนินกิจวัตรตามปรกติคือ ตอนเช้า เดินจากกุฏิไปสวดมนต์น่งั สมาธิภาวนาที่โบสถ์ จนถึงเวลาอันสมควร ก็กลับกุฏิ ท่านไม่ได้ออกบิณฑบาตแต่มีญาติโยมจัดอาหารมังสวิรตั ิ มาถวายถึงที่พำ� นัก ตกเย็นท่านก็เดินจากกุฏิไปสวดมนต์น่ งั สมาธิ ภาวนาที่โบสถ์ เสร็จจากศาสนกิจก็กลับกุฏิ หาญาติโยมมีธรุ ะหรือ


192 ประสงค์จะสนทนาธรรมต้องมาดักรอระหว่างทาง ท่านไม่อนุญาตให้ ผูใ้ ดเข้าไปคลุกคลีภายในกุฏิ ซึง่ มีทงั้ โลงศพและโครงกระดูกมนุษย์ซง่ึ เป็ นอุปกรณ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อชามักหยิบยก ปฏิปทานีม้ าเป็ นตัวอย่าง เมื่อพระหนุม่ มากราบลาออกเดินธุดงค์ การเดินธุดงค์มีประโยชน์ในบางกรณี หากลูกศิษย์อยาก ลาสิกขาหรือฟุง้ ซ่านร�ำคาญอย่างหนักหน่วง ครูบาอาจารย์ท่ีสขุ ภาพ แข็งแรงมักจะเป็ นผูน้ ำ� ออกจาริกธุดงค์ เมื่อครัง้ บวชได้เพียงสามพรรษา ฉันเคยติดตามพระอาจารย์ท่านหนึ่งรอนแรมไปตามสถานที่ต่างๆ กระทั่งมาพักแรมที่ศาลาวัดในหมูบ่ า้ นทางภาคอีสานตอนบน ระยะนัน้ ภายในวัดก�ำลังมีบรู ณปฏิสงั ขรณ์พระอุโบสถ จึงมีเพิงของคนงาน ก่อสร้างปลูกอยูไ่ ม่ไกลจากศาลา ขณะใกล้จะเคลิม้ หลับ สามีภรรยา คู่หนึ่งก็ทะเลาะกันควันโขมงต่อเนื่องยาวนานหลายชั่วโมง แม้ อ่อนเพลียแทบจะขาดใจแต่เมื่อได้ยินผรุสวาทเหล่านัน้ ฉันก็แทบใจ จะขาด ถึงขนาดร�ำพึงกับตัวเองด้วยความสังเวชว่า “เป็ นบุญแท้ๆ ที่รอดปากเหยี่ยวปากกามาได้”



ศีลผูกพันปัญญา



196 I undertake the precept to refrain from taking the life of any living creature. I undertake the precept to refrain from taking that which is not given. I undertake the precept to refrain from any kind of sexual activity. I undertake the precept to refrain from false and harmful speech. I undertake the precept to refrain from consuming intoxicating drink and drugs which lead to carelessness. บทสมาทานเบญจศีลผ่านภาษาราชการของชาวโลก คงกระตุน้ ความสนใจของผูเ้ พรียกหาความร่วมสมัยได้บา้ ง ระหว่างการประชุม พุทธศาสนิกสัมพันธ์ระดับนานาชาติคราวหนึง่ พระเถระชาวอังกฤษ ซึง่ เป็ นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาเดินทางไปร่วมกิจกรรมนีด้ ว้ ย ผูจ้ ดั งาน แบ่งสมาชิกออกเป็ นหลายกลุม่ ในกลุม่ ของพระเถระปรากฏคูส่ ามี ภรรยาศีรษะเกลีย้ งเกลานุ่งห่มจีวรคล้ายพระเข้าร่วมเสวนาด้วย หัวข้อการประชุมส�ำหรับคณะนีค้ ือ ปั จจุบนั ประชาชนจ�ำนวนมาก ประกาศตนว่าเป็ นชาวพุทธ เราควรใช้หลักเกณฑ์ใดวินิจฉัยว่า บุคคลนัน้ เป็ นชาวพุทธจริงหรือไม่ พระเถระเสนอว่าควรน�ำ "ศีลห้า"


ศีลผูกพันปัญญา

197

มาเป็ นเกณฑ์ในการพิจารณา สามีภรรยาคูน่ นั้ โวยวายขึน้ ทันทีว่า "รุนแรงเกินไป! ไม่ใช่ทางสายกลาง!” พุทธศาสนามิใช่ศาสนาประเภทบังคับศรัทธา แต่สง่ เสริมให้ผคู้ น ใช้สติปัญญาพิจารณาความจริงในแง่มมุ ต่างๆด้วยตนเอง การรักษา ศีลตามรูปแบบของชาวพุทธก็เช่นกัน ศีลมิใช่ขอ้ ห้ามหรือการบังคับ ทว่าเป็ นสิง่ ที่แต่ละบุคคลพึงลงมือปฏิบตั ิ เพื่อให้เกิดการเทียบเคียงว่า กาย วาจา ใจของตนแตกต่างอย่างไรระหว่างก่อนและหลังการ รักษาศีล เมื่อผูใ้ ดเห็นชัดเจนว่าศีลก่อให้เกิดประโยชน์ทงั้ แก่ตนเอง และสังคม การรักษาศีลของผูน้ นั้ จะแนบแน่นยิ่งขึน้ พุทธศาสนาคือ ระบบการฝึ กฝนเพื่อน�ำบุคคลเข้าถึงความจริง และสามารถตัดสินใจ ได้สอดคล้องกับความจริงนัน้ ขอยกให้เห็นจะแจ้งสักหนึง่ ตัวอย่าง เนื่องจากเป็ นธรรมชาติของวัดป่ าที่ตอ้ งตัง้ อยู่ห่างไกลชุมชนเพื่อ ความสงัดวิเวก อาจเป็ นเวลาหลายวันต่อสัปดาห์ท่ีไม่มีโยมมาถวาย ภัตตาหาร วัดในต่างประเทศจึงจ�ำเป็ นต้องมีหอ้ งเย็นส�ำหรับเก็บวัตถุดบิ ในการปรุงอาหาร ครัง้ หนึง่ แมลงสาบจ�ำนวนอสงไขยเข้าไปเพ่นพ่าน ทัง้ บนพืน้ ผนัง เพดาน และซอกมุมต่างๆในห้องนัน้ แม้คณะสงฆ์ สรรหามาตรการมาแก้ไขหลากหลายวิธีเช่นอุดรอยรั่วภายในห้อง ใช้สารเคมีปอ้ งกัน แม้กระทั่งเจริญพระพุทธมนต์ แต่ไม่อาจต้านทาน การจูโ่ จมของกองทัพแมลงสาบได้ ท้ายที่สดุ จึงเรียกใช้บริการของ


198 บริษัทก�ำจัดแมลง ทัง้ นีค้ ณะสงฆ์ยอมรับโดยดุษฎีว่าเป็ นการท�ำ ปาณาติบาต ทว่าหากไม่ตดั สินใจเช่นนี ้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐมา ตรวจพบ สิ่งที่ตามคือวัดถูกสั่งปิ ด เนื่องจากเป็ นแหล่งเพาะพันธุ์ เชือ้ โรค ด้วยเหตุนีค้ ณะสงฆ์จงึ จ�ำเป็ นและจ�ำใจต้องเลือกระหว่าง “ได้นอ้ ยเสียมาก" กับ "ได้มากเสียน้อย" สมัยหนึง่ พระพุทธองค์เสด็จจาริกภายในแคว้นอังคะพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมูใ่ หญ่ ขณะประทับ ณ ริมฝั่งสระน�ำ้ คัคครา นครจัมปา โสณทัณฑะพราหมณ์ซง่ึ เป็ นพราหมณ์ผใู้ หญ่และปกครองนครจัมปา สมบูรณ์ดว้ ยลักษณะของพราหมณ์ชนั้ สูง ประสงค์จะเฝ้ารับเสด็จ พระพุทธองค์แต่พราหมณ์ทงั้ หลายทัดทานไว้ ทว่าในที่สดุ โสณทัณฑะ พราหมณ์กไ็ ด้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์พร้อมผูต้ ดิ ตามจ�ำนวนมาก ขณะนัน้ โสณทัณฑะพราหมณ์เกิดความวิตกด้วยหนักใจว่า ตนจะทูลตอบ ปั ญหาได้ไม่ได้ดสี มเป็ นพราหมณ์ระดับอาจารย์และอาจถูกปรามาส ว่าโง่เขลา พระพุทธองค์ทรงหยั่งรูค้ วามคิดนัน้ จึงตรัสถามปั ญหาแก่ โสณทัณฑะพราหมณ์วา่ “บุคคลประกอบด้วยคุณสมบัติใด จึงสามารถบัญญัติวา่ เป็ น พราหมณ์และควรเรียกตนว่าเป็ นพราหมณ์" "คุณสมบัติของผูเ้ ป็ นพราหมณ์มีหา้ ประการคือ (๑) มีชาติดี


ศีลผูกพันปัญญา

199

คือถือก�ำเนิดจากมารดาบิดาที่เป็ นพราหมณ์สืบเชือ้ สายมาเจ็ดชั่ว บรรพบุรุษ (๒) ท่องจ�ำมนต์ในพระเวทได้ (๓) มีรูปงาม (๔) มีศีล (๕) เป็ นผูฉ้ ลาดมีปัญญา" "ถ้าต้องลดเหลือ ๔ ข้อ จะตัดข้อใดออก” พระพุทธองค์ตรัส ถามสืบไป "ตัดข้อ 'มีผิวพรรณดี' ออก" "ถ้าต้องลดเหลือ ๓ ข้อ จะตัดข้อใดออก" "ตัดข้อ 'ท่องจ�ำมนต์' ออก" "ถ้าต้องลดเหลือ ๒ ข้อ จะตัดข้อใดออก" "ตัดข้อ 'มีชาติกำ� เนิดดี' ออก" ครัน้ ถึงข้อนีบ้ รรดาพราหมณ์ผตู้ ดิ ตามต่างคัดค้านอย่างหนักหน่วง โสณทัณฑพราหมณ์จงึ ชีแ้ จงว่า หลานชายของตนคืออังคกะมาณพ ซึง่ นั่งอยูใ่ นที่นี ้ เป็ นผูม้ ีผิวพรรณดี ท่องจ�ำมนต์ได้ดี มีชาติกำ� เนิดดี แต่กลับฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน�ำ้ เมา ดังนัน้ ผิวพรรณ มนต์ ชาติ จึงมิได้มีสาระอันใด แต่เมื่อใดที่พราหมณ์ ประกอบด้วยคุณสมบัตสิ องประการคือมีศลี และปั ญญา จึงสามารถ บัญญัติได้วา่ เป็ นพราหมณ์และผูน้ นั้ ควรเรียกตนว่าเป็ นพราหมณ์ พระพุทธองค์สดับดังนัน้ แล้วตรัสถามว่า


200 "ถ้าต้องลดเหลือ ๑ ข้อ จะตัดข้อใดออก และผูน้ นั้ ยังคงคุณสมบัติ ความเป็ นพราหมณ์อยูห่ รือไม่" "ตัดอีกไม่ได้ เพราะศีลช�ำระปั ญญา ปั ญญาช�ำระศีล ที่ใดมีศีล ที่น่ นั มีปัญญา ที่ใดมีปัญญาที่น่ นั มีศีล ศีลกับปั ญญาเป็ นยอดใน โลก เปรียบเหมือนใช้มือล้างมือ ใช้เท้าล้างเท้า ศีลกับปั ญญาต้อง ช�ำระกันและกัน” แม้เห็นอย่างเด่นชัดว่าการรักษาศีลเป็ นประโยชน์แก่ชีวิต แต่ บุคคลมักถดถอยตัง้ แต่ยงั ไม่เริม่ ลงมือ อาจด้วยเห็นว่าศีลขัน้ พืน้ ฐาน มีจำ� นวนมากถึงห้าประการ บรรพบุรุษของชาวสยามแต่โบราณจึง ออกอุบายว่า ถ้าเช่นนัน้ จงปฏิบตั ิเพียงประการเดียวคือ "เอาใจเขา มาใส่ใจเรา" หากด�ำเนินตามนีไ้ ด้เท่ากับเป็ นการรักษาศีลห้าข้อไป โดยปริยาย เพราะสัตว์ทงั้ หลายรวมทัง้ ตัวเราเองล้วนไม่ปรารถนา ให้ผใู้ ดมาเบียดเบียนชีวิต ทรัพย์สนิ บุคคลอันเป็ นที่รกั ไม่ตอ้ งการ เผชิญวาจาโกหกหลอกลวง ไม่อยากปฏิสมั พันธ์กบั คนขาดสติซง่ึ ปราศจากความรับผิดชอบในการกระท�ำหรือค�ำพูดของตน นี่คือ ภูมิปัญญาล�ำ้ ลึกของบรรพบุรุษไทยผูเ้ ข้าถึงแก่นแห่งพุทธศาสนา ซึง่ ร่วมสมัยล่วงหน้ามากว่าสองพันห้าร้อยปี




(ภาคผนวก) เถรวาทฉบับพระป่า อะไร? อย่างไร?


204 “มหายานกับหินยานอะไรเกิดก่อนกัน” เป็ นค�ำถามที่ตอ้ งอาศัยไหวพริบในการตอบ ซึ่งค�ำตอบคือ "มหายานเกิดก่อน" ส�ำหรับผูท้ ่ีมีความรู พ้ ืน้ ฐานทางพุทธศาสนา อาจถึงกับงงงัน เพราะตามประวัตศิ าสตร์ "หินยาน" เป็ นค�ำสั่งสอน ที่มีมาแต่เดิม หมายถึงพระธรรมวินยั ซึ่งพระอริยสาวกสงฆ์อนั มี พระมหากัสสปะเป็ นประธาน ท�ำการประชุมสังคายนาครัง้ แรกโดยการ รวบรวมพระธรรมวินยั ไว้เป็ นแบบแผนแก่อนุชนรุน่ หลัง เหตุการณ์นี ้ เกิดขึน้ หลังจากพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินพิ พาน อีก ๑๐๐ ปี ถัดมาภิกษุ วชั ชีบุตรได้ปรารภวัตถุ ๑๐ ประการอันขัดต่อหลัก พระธรรมวินยั เช่น ภิกษุสามารถรับเงินและทองได้ การประพฤติตาม อาจารย์แม้จะผิดพระธรรมวินยั ซึง่ เรียกว่า “อาจาริยวาท” นับเป็ น สิ่งสมควรฯ พระเถระผูม้ ีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปพิจารณา เห็นว่า หากปล่อยไว้เนิ่นนานหายนะจะเกิดขึน้ แก่พระศาสนา จึงรวบรวมพระอริยสาวกสงฆ์จดั ประชุมท�ำสังคายนาครัง้ ที่ ๒ ส่วนกลุม่ ที่ถือตามภิกษุวชั ชีบตุ รต่อมาได้พฒ ั นาเป็ น "มหายาน" ซึง่ เป็ นค�ำศัพท์ท่ีประดิษฐ์ขนึ ้ เพื่อเรียกกลุม่ ของตัวเอง เกิดขึน้ ราว พ.ศ. ๖๐๐ รวมทัง้ ให้นิยามว่า "ยานพาหนะยิ่งใหญ่มีคณ ุ ภาพสูง


เถรวาทฉบับพระป่า อะไร? อย่างไร?

205

สามารถรือ้ ขนสัตว์ออกจากสังสารวัฏได้เป็ นจ�ำนวนมาก" และเรียก กลุม่ ที่มีอยูก่ อ่ นว่า "หินยาน" หมายถึง "ยานพาหนะด้อยคุณภาพที่รอื ้ ขนสัตว์ออกจากสังสารวัฏได้จำ� นวนน้อย" หลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (World Fellowship of Buddhists) ซึง่ ริเริม่ โดยชาวพุทธในประเทศศรีลงั กาเห็นว่า "หินยาน" เป็ นค�ำเรียกที่ไม่ถกู ต้องจึงเสนอให้เรียกว่า "เถรวาท" ซึง่ เป็ นค�ำที่มี มาแต่เดิมอันหมายถึง "พระธรรมวินยั ที่รวบรวมไว้เป็ นหลักการโดย พระเถระที่มาประชุมกันในการท�ำสังคายนาครัง้ ที่ ๑” การที่ระบุวา่ "เถรวาท" เป็ นพุทธศาสนาแบบ "ดัง้ เดิม" คือระบบ สืบทอดพระธรรมวินยั ตามพุทธพจน์ของเดิมเท่าที่รวบรวมไว้ใน พระไตรปิ ฎกภาษาบาลี และถือปฏิบตั ติ ามพระวินยั ซึง่ เป็ นพุทธบัญญัติ เดิมให้ครบถ้วนเท่าที่จะเป็ นไปได้ ประการเหล่านีม้ ิใช่เพื่อยกตน ข่มท่าน แม้แต่เนือ้ ความใน A Popular Dictionary of Buddhism โดย อดีตนายกพุทธสมาคมของอังกฤษคือ Mr. Christmas Humphreys ก็ยงั ได้สนับสนุนดังปรากฏอยูใ่ นหน้า 172 ความว่า "พระสูตรทัง้ หลาย ของเถรวาทนัน้ ท่านแสดงไว้โดยเป็ นพระธรรมเทศนาที่แท้จริงของ พระพุทธเจ้า ส่วนพระสูตรทัง้ หลายของมหายาน พูดกันตรงไป ตรงมาก็คือค�ำนิพนธ์ยคุ หลังที่บรรจุเข้าในพระโอษฐ์" ซึง่ สอดคล้อง กับเนือ้ หาในหนังสือ Buddhist Sutras: Origin, Development,


206 Transmission โดย Dr. Koken Mizuno นักปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้สรุ ปว่า  "ในบรรดาพุทธศาสนาทุกนิกาย เถรวาทเป็ นเพียง พุทธศาสนานิกายเดียวที่มีพระไตรปิ ฎกครบถ้วนบริบรู ณ์อยูใ่ นภาษา เดียว" นอกจากนีย้ งั ได้อา้ งถึงค�ำกล่าวของ Dr. Murakami ด้วยว่า "ด็อกเตอร์มรู ากามิกล่าวว่า 'พระศากยมุนี' เป็ นพระพุทธเจ้าที่มีอยู่ เพียงพระองค์เดียวในประวัตศิ าสตร์ ส่วน ‘พระอมิตาภพุทธะ' ไม่เคย มีอยู่จริง ค�ำกล่าวที่ว่าพระศากยมุนีมิได้ตรัสแสดงค�ำสอนของ มหายานนัน้ สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์อย่างแจ้งชัด" พุทธศาสนาเถรวาทเข้าสูป่ ระเทศไทยราว ๘๐๐ ปี ท่ีแล้ว ผ่านยุค รุง่ เรืองและเสื่อมถอยมาโดยล�ำดับ จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๔ ทรงตระหนักว่า พระภิกษุสามเณร ปฏิบตั ิคลาดเคลื่อนจากพระธรรมวินยั การปฏิบตั ิศาสนกิจสักแต่ ว่าท�ำตามกันมามิได้เข้าถึงความหมายและจุดมุง่ หมายอันแท้จริง ของพระพุทธศาสนา จึงไม่เป็ นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชน เมื่อ พระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาทรงผนวชเป็ นพระภิกษุตามราชประเพณี และทรงปฏิบตั กิ ิจในพระศาสนาอยูถ่ งึ ๒๗ พรรษาจึงทรงลาสิกขา แล้วเสด็จขึน้ ครองราชย์ ระหว่างที่ครองเพศบรรพชิตทรงก่อตัง้ "ธรรมยุติกนิกาย" อันเป็ นคณะพระภิกษุสามเณรที่ปฏิบตั ิถกู ต้อง ตามพระธรรมวินยั อย่างเคร่งครัดทัง้ ด้านคันถธุระและวิปัสนาธุระ


เถรวาทฉบับพระป่า อะไร? อย่างไร?

207

โดยมีศนู ย์กลางอยูท่ ่ีวดั บวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึง่ ต่อมา ได้รบั ความศรัทธาเลื่อมใสจากประชาชนเป็ นอันมาก และถือเป็ นต้น ก�ำเนิดของ "พระป่ า" พระเถระองค์สำ� คัญที่ทำ� ให้วถิ ีชีวติ ของ “พระป่ า” เป็ นที่ยอมรับ และรู จ้ กั กันอย่างแพร่หลายในปั จจุบนั คือ "หลวงปู่ มั่น ภูรทิ ตั โต" ท่านถือก�ำเนิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ที่อำ� เภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๒ ปี ท่านได้เรียนกรรมฐานกับ "หลวงปู่ เสาร์ กนฺตสีโร" แล้วออกแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อเจริญสมถวิปัสสนา กรรมฐานจนกลายมาเป็ น "พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ" ซึง่ มีพระภิกษุสามเณรเจริญรอยตามแนวทางการปฏิบตั ิของท่าน เป็ นจ�ำนวนมาก หนึง่ ในนัน้ คือ "พระโพธิญาณเถร" หรือ "หลวงพ่อชา สุภทฺโท” แห่งวัดหนองป่ าพง อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศาสนาในประเทศไทยจ�ำแนกออกเป็ น ๒ นิกายใหญ่คือ "มหานิกาย" และ "ธรรมยุตกิ นิกาย" โดยทั่วไปพระภิกษุสามเณรที่ สังกัด "มหานิกาย" จะมุง่ ศึกษาด้านคันถธุระหรือปริยตั ิ ส่วนพระภิกษุ สามเณรที่สงั กัด "ธรรมยุติกนิกาย" จะมุ่งศึกษาด้านวิปั​ัสนาธุระ หรือธรรมปฏิบตั ิ ทว่าในยุคปั จจุบนั เป็ นการยากที่จะระบุเช่นนัน้ เนื่องจาก "พระป่ า" ซึง่ มุง่ ปฏิบตั ธิ รรมเพื่อความพ้นทุกข์มีทงั้ สังกัด


208 "มหานิกาย" และ "ธรรมยุติกนิกาย" ยกตัวอย่างเช่นหลวงพ่อชา เป็ นพระป่ าที่สงั กัด "มหานิกาย" ต่อมาท่านได้รบั การแต่งตัง้ เป็ น พระอุปัชฌาย์ ผูท้ ่ีมาอุปสมบทกับหลวงพ่อชาจึงเป็ นพระในสังกัด "มหานิกาย" ตามพระอุปัชฌาย์โดยปริยาย ส่วนพระที่ม่งุ ศึกษา ด้านคันถธุระหรือปริยตั ิซง่ึ เรียกขานกันทั่วไปว่า "พระวัดบ้าน" ก็มี ทัง้ ที่สงั กัด "มหานิกาย" และ "ธรรมยุตกิ นิกาย" หากต้องการทราบว่าพระภิกษุสามเณรรู ปนัน้ เป็ น "พระป่ า" หรือไม่ สามารถสังเกตได้จากการถือ "ธุดงควัตร" ซึ่งหมายถึง "ข้อปฏิบตั อิ ย่างเข้มข้นเพื่อขัดเกลากิเลส" มีทงั้ หมด ๑๓ ข้อดังนี ้ ๑. ถือการนุง่ ห่มผ้าบังสุกลุ เป็ นวัตร ๒. ถือการนุง่ ห่มผ้าสามผืนเป็ นวัตร ๓. ถือการบิณฑบาตเป็ นวัตร ๔. ถือการบิณฑบาตไปโดยล�ำดับแถวเป็ นวัตร ๕. ถือการฉันจังหันมือ้ เดียวเป็ นวัตร ๖. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือบาตรเป็ นวัตร ๗. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขาน�ำมาถวายภายหลังเป็ นวัตร ๘. ถือการอยูป่ ่ าเป็ นวัตร ๙. ถือการอยูโ่ คนไม้เป็ นวัตร


เถรวาทฉบับพระป่า อะไร? อย่างไร?

209

๑๐. ถือการอยูใ่ นที่แจ้งเป็ นวัตร ๑๑. ถือการอยูป่ ่ าช้าเป็ นวัตร ๑๒. ถือการอยูใ่ นเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็ นวัตร ๑๓. ถือเนสัชชิกธุดงค์คือการไม่นอนเป็ นวัตร ธุดงควัตรทัง้ ๑๓ ข้อนีเ้ ป็ นสิ่งที่ปฏิบตั ไิ ด้ยากแต่มีอานิสงส์ทำ� ให้ ผูป้ ฏิบตั ิอดทนอดกลัน้ มักน้อยสันโดษ ปลอดโปร่ง ซึง่ อ�ำนวยแก่ การบ�ำเพ็ญสมถวิปัสสนา อันเป็ นเครื่องน�ำสูค่ วามพ้นทุกข์ไปโดย ล�ำดับ แม้มีคณ ุ อนันต์เห็นปานนนัน้ ทว่าผูม้ ีกิเลสหนาปั ญญาหยาบ ยากจะปฏิบตั ติ ามได้ ดังธุดงควัตรข้อที่ ๖ "การฉันในภาชนะเดียว" ซึง่ ถือเป็ นข้อวัตรปรกติของพระป่ าที่จะน�ำอาหารคาวหวานใส่รวมกัน ในบาตร เพื่อมิให้ตดิ ในรสชาติของอาหารและรูจ้ กั ประมาณในการ บริโภค “มหายานกับหินยานอะไรเกิดก่อนกัน” เป็ นค�ำถามที่ตอ้ ง อาศัยไหวพริบในการตอบ ซึง่ ค�ำตอบคือ “มหายานเกิดก่อน" หาก ปราศจากแนวทางปฏิบตั ิท่ีแตกต่างจากธรรมวินยั ดัง้ เดิม ย่อม ปราศจากการก่อก�ำเนิดของชื่อและนิยามค�ำว่า “มหายาน” แต่ไม่วา่ จะเป็ นหินยาน-มหายาน เถรวาท-อาจาริยวาท ธรรมยุติกนิกายมหานิกาย วัดป่ า-วัดบ้าน สิ่งส�ำคัญซึง่ พระพุทธองค์แสดงไว้เป็ น


210 เกณฑ์ชีว้ ดั ความเจริญของมนุษย์คอื หลักการง่ายๆผ่านสองประโยคว่า “กุศลธรรมต้องเพิ่มขึน้ อกุศลธรรมต้องลดลง” สิ่งนีค้ ือเป้าหมาย ร่วมกันของพุทธศาสนิกชนในทุกพืน้ ที่ของโลกใบนี ้



ก่อนจะเป็นสมณะ (ภาคแรก)



214 “บวชง่าย สึกง่าย บวชยาก สึกยาก" เพียง ๘ วลีแต่บง่ บอกถึงปฏิปทาหรือแนวทางในการคัดเลือก ผูเ้ ข้ารับการอุปสมบทของหลวงพ่อชาได้อย่างชัดเจน ในยุคต้น ของวัดหนองป่ าพงมิใช่ผใู้ ดนึกอยากเป็ นพระก็หอบบาตรและจีวร มาขออุปสมบทได้ตามใจปรารถนา ทว่าต้องผ่านการคัดกรองอย่าง พิถีพิถนั ส่วนผูท้ ่ีจะตัดสินว่าบุคคลนัน้ สมควรได้รบั การอุปสมบท หรือไม่ มิใช่ครู บาอาจารย์แต่เป็ นตัวของเขาเอง เมื่อพ่อแม่หรือ ผูป้ กครองน�ำกุลบุตรเข้าไปกราบหลวงพ่อชา บ่อยครัง้ ที่คำ� ตอบท�ำให้ คนทัง้ ครอบครัวถึงกับขวัญกระเจิง “หน้าอย่างนีห้ รือจะมาบวช" “ที่น่ีไม่ได้บวชกันเล่นๆ เขาบวชกันจนตาย" “ทิง้ (ไอ้หนุม่ ) ไว้น่ นั แหละ” เพียงบททดสอบแรกก็ทำ� ให้กลุ บุตรจ�ำนวนไม่นอ้ ยเปลี่ยนใจ หากผ่านไปได้หลวงพ่อชาจะให้หนุม่ น้อยค้างคืนที่ธรรมศาลา เพื่อ สังเกตกิจกรรมที่เกิดขึน้ ภายในวัดแล้วปรับตัวให้สอดคล้อง แต่ท่ีน่นั มี โครงกระดูกขาวโพลนแขวนไว้ในตูก้ ระจก หลังจากคณะสงฆ์รว่ มกัน สวดมนต์น่ งั สมาธิในช่วงค�่ำ พระภิกษุ สามเณรจะแยกย้ายกัน


ก่อนจะเป็นสมณะ ภาคแรก

215

กลับกุฏิ จึงเป็ นโอกาสให้ผูม้ าใหม่ได้ประลองก�ำลังกับความ เงียบสงัดของราตรี หลายรายเตลิดหนีก่อนรุง่ สางโดยไม่กราบลา ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะผูม้ กั พร�่ำพรรณนาว่าเบื่อโลก กิจวัตรประจ�ำวันของวัดหนองป่ าพงและส�ำนักสาขามีดงั ต่อไปนี ้ ๐๓.๐๐ สัญญาณระฆัง ๐๓.๑๕ สวดมนต์ / นั่งสมาธิภาวนาหรือเดินจงกรมร่วมกัน ณ ธรรมศาลา ๐๕.๐๐ จัดหอฉัน ๐๕.๓๐ ออกบิณฑบาต ๐๘.๐๐ ฉันภัตตาหาร / แยกย้ายกันกลับไปท�ำความเพียรที่กฏุ ิ ๑๕.๐๐ ปั ดกวานลานวัด ๑๖.๓๐ ฉันน�ำ้ ปานะ (น�ำ้ ผลไม้และเภสัชอื่น) ๑๘.๐๐ สัญญาณระฆัง ๑๙.๐๐ สวดมนต์ / นั่งสมาธิภาวนาหรือเดินจงกรม / ฟั งธรรม ณ ธรรมศาลา ๒๑.๐๐ แยกย้ายกันกลับไปท�ำความเพียรที่กฏุ ิ เมื่อกุลบุตรสามารถปรับตัวเข้ากับกิจวัตรและปฏิบตั ิศีล ๕ ได้อย่างสม�่ำเสมอ ซึง่ อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ถงึ หลายเดือน


216 หลวงพ่อชาจึงอนุญาตให้บวชเป็ นปะขาวหรืออนาคาริกซึง่ หมายถึง ผูป้ ราศจากเหย้าเรือน โดยเปลี่ยนมานุ่งห่มสบง(ผ้านุ่ง) อังสะ (ผ้าสไบ) และใช้บริขารเช่นผ้าปูน่งั ย่ามฯ เป็ นสีขาวทัง้ หมด นอกจากนี ้ ยังต้องฉันภัตตาหารในภาชนะเพียงใบเดียวคือกาละมังขนาดย่อม รวมทัง้ สมาทานศีล ๘ อันได้แก่ (๑) งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ (๒) งดเว้นจากการลักทรัพย์ (๓) งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ (๔) งดเว้นจากการพูดโกหก (๕) งดเว้นจากการดื่มสุราและเสพของ มึนเมา (๖) งดเว้นจากการบริโภคอาหารหลังเที่ยงวัน (๗) งดเว้น จากสิ่งบันเทิงเช่นดูหนังฟั งเพลง และงดเว้นจากการใช้นำ้� หอมหรือ เครือ่ งส�ำอางค์ (๘) งดเว้นจากการนั่งหรือนอนบนที่นอนอันหรูหรา ทัง้ หมดนีเ้ พื่อความเป็ นผูม้ กั น้อยสันโดษอันจะส่งผลดีตอ่ การเจริญ สมาธิภาวนา หลังเปลี่ยนสถานภาพจากอุบาสกเป็ นอนาคาริก หากผูน้ นั้ ยัง รักษาความมุ่งมั่นของตนเองไว้ได้ หลวงพ่อชาจึงให้บรรพชาเป็ น สามเณร ซึง่ ต้องครองจีวรย้อมด้วยน�ำ้ ฝาดแก่นขนุนรวมทัง้ ใช้บาตร และบริขารเช่นเดียวกับพระ นอกจากนีย้ งั ต้องรักษาศีล ๑๐ ซึง่ ข้อที่ เพิ่มเข้ามาจากศีล ๕ คือ (๗) งดเว้นจากสิ่งบันเทิงเช่นดูหนังฟั งเพลง (๘) งดเว้นจากการใช้นำ้� หอมหรือเครือ่ งส�ำอางค์ (๙) งดเว้นจากการ นอนบนที่นอนอันหรูหรา (๑๐) งดเว้นจากากรรับเงินและทอง รวม


ก่อนจะเป็นสมณะ ภาคแรก

217

ทัง้ ฝึ กฝนเสขิยวัตรอันหมายถึงมารยาทในการขบฉัน การบิณฑบาต การแสดงธรรมฯ หากพิจารณาจากพฤติกรรมของเยาวชนยุคปั จจุบนั จะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับข้อวัตรปฏิบตั ขิ องวัดป่ าหลายประการเช่น นอนดึกแล้วตื่นสาย เสพติดความบันเทิงและอบายมุขฯ สิ่งเหล่านี ้ ขัดต่อวิถีชีวิตที่ดำ� เนินไปสูค่ วามสงบ กุลบุตรจ�ำนวนมากจึงเลือก จบชีวิตสมณะไว้เพียงสามเณร ทว่าหากผูใ้ ดผ่านตะแกรงคัดกรองจึงจะเข้าสูพ่ ิธีอปุ สมบทเป็ น พระภิกษุอย่างเต็มภาคภูมิ นับระยะเวลาตัง้ แต่กา้ วเข้าประตูวดั จน ล่วงสูป่ ระตูโบถส์ไม่ต่ำ� กว่า ๒ ปี จึงพอรับประกันได้วา่ ผูน้ นั้ ประกอบ ด้วยศรัทธา วิรยิ ะ สติ สมาธิ ปั ญญา ซึง่ เป็ นปั จจัยสูค่ วามเจริญใน การปฏิบตั ธิ รรมและความงอกงามแก่พระศาสนาสืบไป เหตุการณ์ ทัง้ หมดเคยเกิดขึน้ ย้อนไปไกลกว่า ๔๐ ปี แต่สถานการณ์ปัจจุบนั แตกต่างอย่างลิบลับ เนื่องจากกุลบุตรรุน่ ใหม่มีศรัทธาน้อยลงและ เหตุผลของการบวชแตกต่างกันออกไป นอกจากนีห้ น่วยงานราชการ ยังอนุญาตให้ลาบวชระยะสัน้ เพียง ๓-๔ เดือน จึงมีทงั้ ประเภทมุง่ มั่น ปฏิบตั ศิ าสนกิจและตัง้ ใจมาพักผ่อนโดยเฉพาะ ปั จจัยเหล่านีส้ ง่ ผล ให้ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาถูกกัดกร่อนทีละเล็กทีละน้อย การคัดกรองบุคคลก่อนให้การอุปสมบทตามแนวทางของ


218 หลวงพ่อชาเป็ นวิธีธำ� รงรักษาพระศาสนาอย่างยั่งยืน เนื่องจาก สามารถตรวจสอบคุณสมบัติของกุลบุตรได้อย่างใกล้ชิดและค่อย เป็ นค่อยไป แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ในประเทศไทยแตกต่างจากอดีตดังที่กล่าว วิธีเลือกเฟ้นผูเ้ ข้ามา ฝึ กตนตามแบบอย่างโบราณจารย์จึงสามารถกระท�ำได้เฉพาะ บางท้องถิ่นเช่นในทวีปยุโรป สาเหตุหนึ่งที่วดั ป่ าในต่างแดนยังคง รักษาปฏิปทานีเ้ อาไว้ได้ เพราะชาวยุโรปยังไม่คนุ้ เคยกับวัฒนธรรม พุทธ จึงต้องใช้เวลาปรับตัวปรับใจมากกว่าชาวเอเชีย




ก่อนจะเป็นสมณะ (ภาคหลัง)


222 "พุทธศาสนาในตะวันตกเหมือนต้นไม้เล็กๆทีก่ ำ� ลังเจริญ งอกงาม ส่วนพุทธศาสนาในเมืองไทยเหมือนต้นไม้สูงอายุ ซึง่ เต็มไปด้วยส่วนทีก่ ำ� ลังจะตาย" หลวงพ่อชาปรารภเรือ่ งนีก้ บั ลูกศิษย์ไว้นานมาแล้ว แม้พระภิกษุ สามเณรจะมี "วินยั " เป็ นเครือ่ งก�ำกับความประพฤติมิให้ออกนอกลู่ นอกทาง และมี "ธรรมะ" เป็ นอุปกรณ์ในการฝึ กจิต แต่เนื่องจาก "กิเลส" มีกำ� ลังมาก แม้ระมัดระวังเพียงใดก็ยงั เผลอไผล เพื่อส่งเสริมการปฏิบตั ิ ตามพระธรรมวินยั ให้รดั กุมยิ่งขึน้ ในวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อชาจึงประกาศ "ข้อกติกาสงฆ์" ส�ำหรับพระภิกษุสามเณร ในสังกัดของวัดหนองป่ าพงและส�ำนักสาขาทัง้ ในและต่างประเทศ จ�ำนวน ๑๕ ข้อ กฎกติกาเหล่านีห้ ากผูใ้ ดฝ่ าฝื น คณะสงฆ์วดั หนองป่ าพง มีอำ� นาจในการบริหารได้อย่างเต็มที่ ๑. ห้ามพระภิกษุสามเณรขอของจากคนมิใช่ญาติ มิใช่ปวารณา ห้ามติดต่อกับคฤหัสถ์และนักบวชที่เป็ น วิสภาค (เข้ากันไม่ได้ ขัดกัน ไม่ถกู กัน) กับพระพุทธศาสนา ๒. ห้ามบอกหรือเรียนดิรจั ฉานวิชา บอกเลข ท�ำน�ำ้ มนต์ หมอยา หมอดู ๓. พระผูม้ ีพรรษาหย่อนห้าพรรษา ห้ามเที่ยวไปแต่ลำ� พังตนเอง


ก่อนจะเป็นสมณะ ภาคหลัง

223

เว้นไว้แต่มีเหตุจำ� เป็ นหรือมีอาจารย์ ผูส้ มควรติดตามไปด้วย ๔. เมื่อจะท�ำอะไรให้ปรึกษาสงฆ์หรือผูเ้ ป็ นประธานสงฆ์เสียก่อน เมื่อเห็นว่าเป็ นธรรม เป็ นวินยั แล้วจึงท�ำ อย่าท�ำตามอ�ำนาจของตน ๕. ให้ยินดีในเสนาสนะที่สงฆ์จดั ให้ และท�ำความสะอาด เก็บกวาดกุฏิ รวมทัง้ ถนนที่เข้าออกให้สะดวก ๖. เมื่อกิจสงฆ์เกิดขึน้ ให้พร้อมกันท�ำ เมื่อเลิกให้พร้อมกันเลิก อย่าท�ำตนให้เป็ นที่รงั เกียจของหมู่คณะ คือเป็ นผูม้ ีมารยาสาไถย หลีกเลี่ยงแก้ตวั ๗. เมื่อบิณฑบาต เก็บบาตร ล้างบาตร กวาดลานวัด ตักน�ำ้ สรงน�ำ้ จัดโรงฉัน ย้อมผ้า ฟั งเทศน์ เหล่านี ้ ห้ามคุยกัน พึงตัง้ ใจท�ำกิจนัน้ จริงๆ ๘.เมื่อฉันเสร็จแล้วให้พร้อมกันเก็บกวาดโรงฉันเสียก่อน จากนัน้ จึงกราบพระพร้อมกันแล้วน�ำบริขารของตนกลับกุฏิโดยความสงบ ๙. ให้ทำ� ตนเป็ นผูม้ กั น้อยในการกิน นอน พูด ร่าเริง จงเป็ นผูต้ ่นื อยู่ ด้วยความเพียร และจงช่วยกันพยาบาลภิกษุสามเณรป่ วยไข้ดว้ ย ความเมตตา ๑๐. ห้ามรับเงินและทอง ห้ามผูอ้ ่ืนเก็บไว้เพื่อตน ห้ามซือ้ ขาย แลกเปลี่ยน ๑๑. เมื่อเอกลาภเกิดขึน้ ในหมูส่ งฆ์ให้เก็บไว้เป็ นกองกลาง เมื่อผูใ้ ด ต้องการ ให้สงฆ์อนุมตั แิ ก่ผนู้ นั้ ตามสมควร ๑๒. ห้ามคุยกันเป็ นกลุม่ ก้อนทัง้ กลางวันและกลางคืน ในที่ท่วั ไป


224 หรือในกุฏิเว้นแต่มีเหตุจำ� เป็ น ถึงกระนัน้ ก็อย่าให้เป็ นผูค้ ลุกคลีหรือ เอิกเกริกเฮฮา ๑๓. การรับและส่งจดหมาย เอกสารหรือวัตถุตา่ งๆภายนอก ต้องแจ้งต่อสงฆ์หรือผูเ้ ป็ นประธานสงฆ์ให้ทราบ เมื่อท่านเห็นสมควรแล้ว จึงรับส่งได้ ๑๔. พระภิกษุสามเณรผูม้ ่งุ เข้ามาปฏิบตั ิในส�ำนักนี ้ เบือ้ งต้น ต้องได้รบั ใบฝากจากอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ของตน และย้ายหนังสือ สุทธิมาให้ถกู ต้องเสียก่อนจึงจะใช้ได้ ๑๕. พระภิกษุสามเณรที่เป็ นอาคันตุกะมาพักอาศัยต้องน�ำ หนังสือสุทธิแจ้งสงฆ์ หรือผูเ้ ป็ นประธานสงฆ์ในคืนแรก และมีกำ� หนด ให้พกั ได้ไม่เกิน ๓ คืน เว้นแต่มีเหตุจำ� เป็ น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริยแ์ ห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึง่ พระองค์ทรงตัง้ ปณิธานไว้ดงั ปรากฏในนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดงว่า "ตัง้ ใจจะอุปถัมภก ยอยก พระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี" ในส่วนกิจการพระศาสนาพระองค์ทรงตรา "กฎพระสงฆ์" รวม ๑๐ ฉบับ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๔๔ ดังปรากฏอยูใ่ น "กฏหมายตราสามดวง" โดยมีพระราชประสงค์เพื่อให้พระภิกษุสามเณรปฏิบตั ติ นเคร่งครัดตาม พระธรรมวินยั และเพื่อให้พระราชาคณะ เจ้าหมูเ่ จ้าคณะ เจ้าอธิการ


ก่อนจะเป็นสมณะ ภาคหลัง

225

กรมการเมือง ท�ำการก�ำกับดูแลตลอดจนลงโทษผูท้ ่ีประพฤติผิด พระธรรมวินยั ตามสมควรแก่โทษหนักเบาที่สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี ้ กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๓ ทรงปรารภภิกษุผเู้ ป็ นพระอุปัชฌาย์ เมื่อให้การอุปสมบทแก่กลุ บุตรแล้วปล่อยปละละเลย ไม่ให้การ อบรมสั่งสอนแต่กลับปล่อยให้ไปเที่ยวตามอ�ำเภอใจ จนเกิดการ ตัง้ ตนเป็ นผูว้ ิเศษอวดอิทธิฤทธิ์โกหกหลอกลวงประชาชน ซ่องสุม ก�ำลังเพื่อก่อการร้าย จึงมีพระบรมราชโองการสั่งว่า ให้พระราชาคณะ แต่งตัง้ ภิกษุเป็ นเจ้าอธิการดูแลทัง้ ในกรุงและหัวเมือง หากภิกษุรูปใด ต้องการย้ายไปศึกษายังส�ำนักอื่น ให้เจ้าอธิการออกหนังสือรับรองภิกษุ รูปนัน้ พร้อมทัง้ ประทับตราประจ�ำต�ำแหน่งไว้ดว้ ย หากพระราชาคณะ เจ้าหมู่ เจ้าคณะ เจ้าอธิการและกรมการเมืองละเว้นการปฏิบตั หิ น้าที่ ถือว่ามีโทษร่วมกับพวกโกหกหลอกลวงเหล่านัน้ ด้วย กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๕ ทรงปรารภภิกษุบางรูปต้องอาบัตปิ าราชิก ข้อเสพเมถุน บางรูปต้องอาบัตปิ าราชิกข้ออทินนาทาน จึงมีพระบรม ราชโองการสั่งว่า ภิกษุตอ้ งอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึง่ ใน ๔ ข้อคือ (๑) มีเพศสัมพันธ์ (๒) ลักทรัพย์ (๓) ฆ่ามนุษย์ (๔) อวดคุณวิเศษ ที่ไม่มีในตน ต้องแจ้งให้คณะสงฆ์ทราบภายใน ๑๕ วัน ถ้าปกปิ ด


226 ไว้และยังร่วมท�ำสังฆกรรมกับภิกษุอ่ืน เมื่อสงฆ์ทราบภายหลังแล้ว พิจารณาเห็นว่า ภิกษุนนั้ ต้องอาบัติปาราชิกจริง ให้นำ� ตัวภิกษุท่ี ต้องอาบัติปาราชิกมาประหารชีวิต และลงโทษญาติโยมของภิกษุ รูปนัน้ ด้วยการเฆี่ยนตี กฎพระสงฆ์ฉบับที่ ๖ ทรงปรารภภิกษุสามเณรแสวงหาลาภ สักการะด้วยการเป็ นหมอนวด หมอดู หมอยา และรับใช้ฆราวาส จึงมีพระบรมราชโองการสั่งว่า ห้ามภิกษุสามเณรสงเคราะห์ฆราวาส ด้วยการให้ส่ิงของ ห้ามเรี่ยไรบอกบุญแก่ผมู้ ิใช่ญาติ ห้ามเป็ น หมอนวด หมอดู หมอยา ห้ามมิให้เป็ นทูตน�ำข่าวสารของฆราวาส ส่วนฆราวาสห้ามถวายเงิน ทอง แก้ว แหวน และสิ่งอันไม่สมควร แก่สมณะ ห้ามใช้สอยพระภิกษุสามเณรท�ำกิจการงานเพื่อตน ผูใ้ ด ฝ่ าฝื นให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีตามโทษหนักเบา "กฎพระสงฆ์" ที่ตราขึน้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ "ข้อกติกาสงฆ์" ที่ตงั้ ขึน้ ในยุคของ หลวงพ่อชา แม้หา่ งไกลกันเกือบ ๒๐๐ ปี แต่มีความสอดคล้องกัน อย่างสมเหตุสมผล เนื่องจากท่านผูม้ ีอำ� นาจในการก�ำหนดกติกา รูช้ ดั เจนว่า กฎที่มนุษย์ตงั้ ขึน้ ต้องสอดคล้องกับความจริงที่ปรากฏ อยูต่ ามธรรมชาติ จึงจะสามารถด�ำรงไว้ซง่ึ ความถูกต้องดีงาม หาก


ก่อนจะเป็นสมณะ ภาคหลัง

227

มนุษย์กำ� หนดกติกาขึน้ มาเพียงเพื่อสนองตัณหา มานะ ทิฐิของตน ก็รงั แต่จะเร่งหายนะให้มาเยือนต้นไม้ชรา


228 บรรณานุกรม กองต�ำราธรรมทาน. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ: การพิมพ์ พระนคร, 2517 คณะศิษยานุศิษย์. อุปลมณี. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2535 คณะศิษย์วดั ป่ ารัตนวัน. ธรรมปรากฏ. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์, 2557 คณะสงฆ์วดั ธรรมปาละ. จดหมายข่าวจากวัดธรรมปาละ. ม.ป.ท. 2557 ทีมงานวัดป่ าอัมพวัน ชลบุร.ี กิง่ ก้านแห่งโพธิญาณ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. 2555 ประยุทธ์ ปยุตฺโต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. ก้าวไปในบุญ. กรุงเทพฯ: ผลิธมั ม์, 2557 เปสโลภิกขุ. อเมริกาประสาหนุ่ม. กรุงเทพฯ: โพสต์ พับลิชชิ่ง, 2557 ศูนย์เผยแผ่มรดกธรรมพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). คูม่ อื ท�ำวัตรสวดมนต์แปล. ม.ป.ค. กรุงเทพฯ: คิวทีพี จ�ำกัด, 2556 ศูนย์เผยแผ่มรดกธรรมพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). ธรรมะจาก ต้นไม้. พิมพ์ครัง้ ที่ 10. นนทบุร:ี มาตาการพิมพ์, 2556 อดิศกั ดิ์ จันดวง. ใครๆก็ไปเทีย่ วสวิตเซอร์แลนด์. พิมพ์ครัง้ ที่ 5. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2558 ชา สุภทฺโท, พระโพธิญาณเถร. ความยึดมั่นถือมั่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.luangta.com/salawatpa/thamma/ slp_thamma_talk_text_print.php?ID=201. (วันที่คน้ ข้อมูล: 13 ธันวาคม 2558) ประยุทธ์ ปยุตฺโต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. กรรม-นรกสวรรค์


229 ส�ำหรับคนรุน่ ใหม่. [ดาวน์โหลด]. เข้าถึงได้จาก: http://www. watnyanaves.net/th/book_detail/15. (วันที่คน้ ข้อมูล 1 มีนาคม 2559) ประยุทธ์ ปยุตฺโต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. คนไทย ใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs ลัทธิอาจารย์. [ดาวน์โหลด]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.watnyanaves.net/th/book_detail/530. (วันที่คน้ ข้อมูล: 2 ธันวาคม 2558) ประยุทธ์ ปยุตโฺ ต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. พิธกี รรมใครว่าไม่สำ� คัญ. [ดาวน์โหลด]. เข้าถึงได้จาก: http://www.watnyanaves.net/ th/book_detail/299. (วันที่คน้ ข้อมูล 31 ธันวาคม 2558) ประยุทธ์ ปยุตฺโต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. พุทธธรรม. [ดาวน์โหลด]. เข้าถึงได้จาก: http://www.watnyanaves.net/ th/book_detail/583. (วันที่คน้ ข้อมูล 11 พฤษภาคม 2559) ประยุทธ์ ปยุตโฺ ต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. พุทธศาสนาในฐานะ เป็ นรากฐานของวิทยาศาสตร์. [ดาวน์โหลด]. เข้าถึงได้จาก: http://www.watnyanaves.net/th/book_detail/318. (วันที่คน้ ข้อมูล 7 มกราคม 2559) ประยุทธ์ ปยุตโฺ ต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. อมฤตพจนา. [ดาวน์โหลด]. เข้าถึงได้จาก http://www.watnyanaves.net/ uploads/File/books/pdf/a-ma-rit-pojjana_words_of_ wisdom_in_buddhism.pdf. (วันที่คน้ ข้อมูล 22 มีนาคม 2559)


230 เปสโลภิกขุ เกิด วารินช�ำราบ อุบลราชธานี ปี 2516 เรียน คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ไม่จบ บวช วัดหนองป่ าพง อุบลราชธานี ปี 2539 ปฏิบตั ศิ าสนกิจ สหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมระยะเวลา 5 ปี หนังสือเล่มผลิตเป็นธรรมทาน 2550 Dhamma Design Issue 1: Experimental / บทกวีในทีว่ า่ ง 2551 Dhamma Design Issue 2: Evolution / แดนสนทนา 2552 เรือ่ งเป็ นเรือ่ ง / หนึง่ ร้อย / เรือ่ งของเรา / เสียงฝนบนภูเขา / Poems on the Road 2553 Pesalocation 2554 Fearless Diary + Spring Talk / To be Awake + Enchanted Hiking 2555 สามสิบแปดวัน ฉัน ซิดนีย ์ + จุดชมวิว 2556 สาส์นจากความเงียบ 2557 Keep Calm & Carry On / ทูตยามวิกาล


231 หนังสือเล่มผลิตเพื่อจัดจ�ำหน่าย 2553 Dhammascape (พาบุญมา) 2556 อะไรเป็ นอะไร (โพสต์บ๊คุ ส์) 2557 เมื่อเกรียนไปเรียนธรรม (อมรินทร์ธรรมะ) / สัตว์สอนธรรม (ฟี ลกูด้ ) / อเมริกาประสาหนุม่ (โพสต์บ๊คุ ส์) อีบุ๊คส์ผลิตเป็นธรรมทาน 2556 บทกวีในที่อ่ืน 2557 ยุโรปสบตาหนุม่ 2558 ของว่าง / จิง้ จอกเร้นกาย / หัวใจของเธอ / เอเลี่ยนล่านิพพาน 2559 โลกสวยจริง หมายเลข 1 / โลกสวยจริง หมายเลข 2 / หัวดือ้ / อสาตมนตร์ 2564 สิงห์สงั เวียน 2565 นมัสเตเยติ / สหายเอ๋ย / สวิตเซอร์แลนด์กงั วานถึงโพธิญาณ


232 รางวัลและอื่นๆ 2559 “เมื่อเกรียนไปเรียนธรรม” ได้รบั รางวัลหนังสือแนะน�ำ ประเภทวรรณกรรมส�ำหรับเยาวชน จากการประกวด เซเว่นบุ๊คส์อวอร์ด ครัง้ ที่ 13 2560 “สาส์นจากความเงียบ” เป็ นหนึ่งใน 38 ผลงานที่ผ่าน เข้ารอบเข้มข้น (Short List) จากต้นฉบับ 721 ชิน้ ในโครงการ ประกวดต้นฉบับ Amarin Readers Choice Award ครัง้ ที่ 1 2561 “แม่ขอร้อง” ได้รบั รางวัลรองชนะเลิศ จากโครงการประกวด เรือ่ งสัน้ ส่งเสริมคุณธรรม รางวัลเบญจวาช ครัง้ ที่ 1 2562 “ต๊กโตเจ้ากรรม” เรือ่ งสัน้ ที่ถกู น�ำไปดัดแปลงเป็ นภาพยนตร์ อนิเมชั่นเผยแพร่ทาง Youtube 2563 “เมล็ดครอบจักรวาล” เป็ นหนึ่งใน 353 ผลงานที่ผ่าน เข้ารอบคัดเลือก (Long List) จากต้นฉบับ 2,338 ชิน้ ใน โครงการประกวดเรื่องสัน้ โดยหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย


233




ผลิตเป็นธรรมทาน มิใช่เพื่อการค้า


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.