Dhammascapes

Page 1

DHAMMASCAPES ๛ ธรรมะสังเขป ๛

หนังสือธรรมะอานงาย ดีไซนสวย รุมรวยอารมณขัน




ชื่อหนังสือ  :  Dhammascapes ธรรมะสังเขป ลิขสิทธิ์  :  บริษัท พาบุญมา จำ�กัด พิมพ์ครั้งแรก  :  มีนาคม 2553 แจกเป็นธรรมทานผ่านอีบุ๊คส์ครั้งแรก : มิถุนายน 2556 จำ�นวน  :  3,000 เล่ม ISBN  :  978-616-7238-09-8 จำ�นวน  :  140 หน้า  ราคา  :  129 บาท รหัสสินค้า  :  BASCAP-1002-014 บรรณาธิการ  :  เปสโลภิกขุ  กราฟิกดีไซเนอร์  :  ชัชวัสส์  ลีนิล  พิสูจน์อักษร  : ขวัญ จันทรเกษม  การตลาด  :  เสรณี  ตั้งสุขสันต์  บรรณาธิการบริหาร  : ทัศนียา  ถึงอินทร์ ประธานที่ปรึกษา  :  อรุณี  กองบุญมา, อาริยา  สุวรรณไพรพัฒนะ จัดจำ�หน่ายโดย  :  บริษัท พาบุญมา จำ�กัด (Pa Boon Ma Publications) 699 อาคารกองบุญมา ชั้น 4 ห้อง 401 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500  โทร. 0 2635 3339 แฟกซ์ 0 2237 1977  พิมพ์ที่  :  บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำ�กัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data   เปสโลภิกขุ. Dhammascapes ธรรมะสังเขป.-- กรุงเทพฯ : พาบุญมา, 2553. 140 หน้า. 1. ธรรมะ. l.ชื่อเรื่อง.   294.315 ISBN  978-616-7238-09-8 กรณีต้องการซื้อเป็นจำ�นวนมาก กรุณาติดต่อที่บริษัทฯ ห้องสมุดหรือสถาบันการศึกษาสามารถติดต่อซื้อได้โดยตรงที่บริษัทฯ ในราคาพิเศษ เนือ้ หาในหนังสือนี้ ได้รบั การคุม้ ครองตามกฎหมายลิขสิทธิท์ เ่ี กีย่ วข้อง การผลิต และลอกเลียน ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของ


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ สิ่งท้าทายหนึ่งของการสื่อสารธรรมะ คือ ทำ�อย่างไรที่จะไม่ทำ�ให้เกิด การสูญเสียสาระและปัญญาแห่งพุทธศาสนา หากในขณะเดียวกันก็ทำ�ให้ง่าย สำ�หรับผู้เริ่มต้น ในการเห็นคุณค่า ศรัทธา และเข้าใจ น่ า ยิ น ดี ที่ ค นรุ่นใหม่ยุค นี้ไ ด้รับการปลูก ฝังให้ รั บฟั ง ด้ ว ยจิ ตที่ เ ปิ ดกว้ า ง คนที่ฉลาดจะไม่เชื่อคำ�สอนใด ๆ เพียงแค่เพราะว่ามาจากอาจารย์ชื่อดัง แต่ใช้ ความเข้าใจของตัวเองเป็นบรรทัดฐาน พยายามวิเคราะห์คน้ หาคำ�ตอบ คิดและ ฝึกจิตให้แข็งแกร่งตามแบบฉบับของตน “ศาสนา” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นคำ�ที่เข้าถึงยาก มาวันนี้จึงกลายเป็นแรง บันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ไปแล้ว แต่ก็อีกนั่นแหละ คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์คิดได้เช่นนี้ก็มีอยู่ไม่น้อย หนังสือเล่มนี้จึงเกิดขึ้นด้วยเป้าหมายที่จะส่งต่อไม้แก่คนรุ่นใหม่ ให้หันมา เหลียวดูว่ามีบทเรียนอะไรที่เขาสามารถเรียนรู้ได้จากธรรมะ โดยสร้ า งสรรค์ ก ารเรี ย นรู้ ธ รรมะให้ ก ลายเป็ น เรื่ อ งมี แ นว ดี ไ ซน์ ส วย แทรกมุกตลก ไม่ใช่เพียงเพื่อให้จดจำ�ได้ง่ายเท่านั้น หากจะนำ�ไปสู่การค้นคว้า หาพระธรรมคำ�สอนหลักของพุทธองค์ สื่อคำ�ชี้แนะที่นำ�ไปสู่ความสุขที่แท้จริง ในชีวิตเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ต้องรอให้แก่ก็มีจิตเป็นอุเบกขาได้ สำ�นักพิมพ์พาบุญมา


คำ�นำ�บรรณาธิการ Dhamma Design Issue 1&2 หนั ง สื อ ธรรมะแนวทดลองที่ ชื่ อ Dhamma Design Issue 1 : Experimental และ Issue 2 : Evolution ถูกผลิตขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑ เพื่อแจกเป็นธรรมทานตามลำ�ดับ โดยการผนึกกำ�ลังเฉพาะกิจระหว่าง นักบวช นักปฏิบัติธรรม ช่างพื้นบ้าน อาจารย์สอนศิลปะ และศิลปินอิสระ เราใช้ชื่อกลุ่มในปฏิบัติการครั้งนั้นว่า คณะสหายธรรมหนุ่ม (Dhamma Design Club) กั ง วานคอนเซปต์ ใ นขณะนั้ น ก็ คื อ จั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ ธรรมะอ่ า นง่ า ย ดีไซน์สวย รุ่มรวยอารมณ์ขัน เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับเยาวชนคนหนุ่มสาว หนังสือธรรมะสะดวกอ่านที่ชื่อ Dhammascapes เป็นการคัดสรร คอลั ม น์ ที่ มี ค วามโดดเด่ น เฉพาะตั ว จากบุ๊ ก กาซี น Dhamma Design ทั้งสองเล่มมาพิมพ์ซ้ำ�อีกครั้งเพื่อการเผยแพร่ในวงกว้าง เหตุผลเดียวที่พอ จะอธิ บ ายปฏิ บั ติ ก ารฮึ ก เหิ ม ในครั้ ง นี้ ไ ด้ ก็ คื อ เราพบเพื่ อ นที่ มี ใ จตรงกั น และเราต่างก็ทำ�อะไร ๆ ตามคำ�เรียกร้องของหัวใจอยู่เสมอ เปสโลภิกขุ E-mail: peslo123@yahoo.co.th Blog: http://fearlessdiary.exteen.com


Dhammascapes ๛ ธรรมะสังเขป ๛

๐๑  ตื่นก่อนนอนทีหลัง ๐๒  The Art of Now ๐๓  ธรรมะปะทะฟิสิกส์ ๐๔  The Ten Perfections of Character ๐๕  การผจญภัยของตดน้อย ๐๖  สนทนาในป่าช้า ๐๗  Café del Dhamma: Part ๑ ๐๘  Café del Dhamma: Part ๒ ๐๙  เมษายนอีกหนหนึ่ง ๑๐  Pesalocation ๑๑  แผ่นดินแห่งความสุข ๑๒  คิดถึงเธอจากเวอร์จิเนีย

๖ ๑๔ ๒๘ ๔๖ ๕๘ ๗๔ ๘๒ ๙๔ ๑๐๖ ๑๑๒ ๑๒๐ ๑๒๘

แนะนำ�บรรณาธิการ

๑๓๘


๐๑ ตื่นก่อนนอนทีหลัง


เรื่อง เปสโลภิกขุ / ภาพ รมศิลป์  สุขประเสริฐ ๑. คำ�ถามจากเพื่อนชาวต่างประเทศที่สร้างความงวยงงและเขินอาย ให้กับนักศึกษาไทยเป็นอันดับต้น ๆ คือ What do Buddhists believe in? ๒. เพื่อแสดงออกถึงภูมิปัญญาระดับสูง จึงถือเป็นแฟชั่นอย่างกว้างขวางของนักศึกษาฟิสิกส์ในประเทศเยอรมนี ที่จะนำ�ปรัชญาทางพุทธศาสนามาอ้างอิงในการทำ�วิทยานิพนธ์ ๓. บริษัทประกันชีวิตจะลดค่าเบี้ยประกันให้กับผู้ทำ�ประกันที่พิสูจน์ได้ว่า มีผู้แผ่เมตตาให้เป็นประจำ� เนื่องจากมีรายงานการวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้ที่ได้รับการแผ่เมตตาจากผู้อื่นเป็นประจำ� ไม่ว่าบุคคลนั้น จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม มีโอกาสประสบอุบัติเหตุและเกิดโรคภัยไข้เจ็บน้อยกว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการแผ่เมตตาจากใครเลย ๔. ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อช่วงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาสมัยหนึ่ง มีผู้ถามองค์ทะไลลามะว่า ใครจะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ? ท่านตอบว่า “ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์กว่าจะเป็นผู้ชนะ” ตื่นก่อนนอนทีหลัง | 7


๕. สามเณรชาวตะวันตกรูปหนึ่งมีความเห็นว่า “สวรรค์แท้จริงนั้นอยู่ในอก นรกชัด ๆ ก็อยู่ในใจ” หลังจากอุปสมบทและปฏิบัติธรรมผ่านไปหลายปี ท่านเชื่อว่าเป็นแดนที่มีอยู่จริง ! ๖. ชาวนาอเมริกันโทรศัพท์แจ้งตำ�รวจว่า มีแรงงานต่างด้าวชาวเอเชียถูกทอดทิ้ง ไม่มีแม้เสื้อผ้าจะใส่ ต้องใช้ผ้าปูโต๊ะแทนเครื่องนุ่งห่ม ขณะนี้เดินเปลือยเท้าขออาหารอยู่ตามถนน เมื่อตำ�รวจทราบดังนั้นจึงรีบรุดมายังที่เกิดเหตุ ญาติโยมที่เข้าใจต้องอธิบายเป็นการใหญ่ว่า พระในพุทธศาสนากำ�ลังออกบิณฑบาต ๗. โยมถาม : ท่านเป็นพระอรหันต์หรือยัง ? ท่านถึงขั้นไหนแล้ว ? พระตอบ : เราถึงขั้นที่จะถึงขั้นนั้นได้ด้วยความพยายาม ๘. หมอดูสามีภรรยาคู่หนึ่งทำ�นายอนาคตของบุตรชายว่า จะสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ เมื่อผู้เป็นพ่อบอกดังนั้น เด็กหนุ่มจึงเอาแต่เที่ยวเตร่เฮฮาไม่สนใจอ่านตำ�ราเตรียมตัวสอบ ผลลัพธ์จึงออกมาตรงข้ามกับคำ�ทำ�นาย 8 | Dhammascapes


๙. ขณะที่พระหนุ่มกำ�ลังเดาคำ�ศัพท์ใน Section การ์ตูนของ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษอย่างเพลิดเพลิน พระอาจารย์เดินผ่านมาพบเข้า จึงพูดขึ้นว่า “เป็นส่วนที่ไว้ใจได้ที่สุดในหนังสือพิมพ์” ๑๐. นิยามใหม่ : บ้านคือที่เก็บของ ในขณะที่เรากำ�ลังไปหาของ ๑๑. ถ้าเห็นแขกชาวอินเดียขี่จักรยานยนต์คันใหม่ก็พอจะเดาได้ว่า เขามีเงินฝากในธนาคารอย่างน้อยหนึ่งแสนบาท ถ้าเห็นคนไทยขับรถยนต์คันใหม่ก็พอจะเดาได้ว่า เขาติดหนี้ธนาคารอย่างน้อยหนึ่งแสนบาท ๑๒. โยมถาม : ท่านมีความสุขทุกวันไหม ? พระตอบ : สุขบ้างทุกข์บ้าง แต่สุขมากขึ้นทุกข์น้อยลง ๑๓. ญาติโยมชาวไทยร่วมกันหล่อพระพุทธรูปเพื่อนำ�ไปประดิษฐาน ยังประเทศอูกันดา ทวีปแอฟริกา โดยออกแบบพระพักตร์ ให้ละม้ายหน้าตาของประชากรในท้องถิ่นนั้น

ตื่นก่อนนอนทีหลัง | 9


๑๔. มีผู้ถามองค์ทะไลลามะว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงจะง่ายที่สุด ? ได้ผลเร็วที่สุด ?  ท่านนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วร้องไห้เป็นเวลานาน ก่อนพูดด้วยน้ำ�เสียงเปี่ยมกรุณาว่า “ไม่มีความคิดใดจะเลวร้ายไปกว่านี้อีกแล้ว” ๑๕. โยมถาม : นิพพานคืออะไร? พระอาจารย์ตอบ : นิพพานไม่คืออะไร ๑๖. นิพพานเป็นคำ�ศัพท์ที่ใช้กันในชีวิตประจำ�วัน ของชาวอินเดียโบราณ มีความหมายว่าเย็นลง เช่น “รอให้ข้าวนิพพานก่อนแล้วจึงรับประทาน” ๑๗. พระน้อย : ออกพรรษาแล้วท่านจะไปไหน ? พระนิด : ไม่มีใครไป ไม่มีใครมา ๑๘. หนุ่มใหญ่วัยฉกรรจ์มาเยี่ยมเพื่อน ซึ่งบวชเป็นพระในวัดป่าแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน ระหว่างเดินไปหาที่กุฏิเขาถูกยุงกัดและแมลงไต่ตอม จึงรำ�พึงขึ้นว่า “ชาตินี้คงจะบวชไม่ได้ ยุงวัดป่าชุมเหลือเกิน” 10 | Dhammascapes


๑๙. พระภิกษุสองรูปกลับจากการเดินธุดงค์ด้วยกันท่านเล่าให้ฟังว่า “บางครั้งก็หลงทาง แต่ส่วนใหญ่จะหลงอารมณ์” ๒๐. โยม : ผมตั้งใจจะรักษาสุขภาพให้ดี เพื่อจะมีชีวิตอยู่ถึง ๑๒๐ ปี พระอาจารย์ : ถ้าอย่างนั้น โยมคงต้องมางานฌาปนกิจของอาตมา ๒๑. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่กลับมีความอ่อนน้อมถ่อมตัวเป็นอย่างมาก ถ้าบังเอิญมีผู้ที่ไม่รู้จักถามถึงอาชีพ ไอน์สไตน์จะตอบว่า “ผมเป็นนักศึกษาฟิสิกส์” ๒๒. พระน้อย : ผมเคยเห็นผีเห็นเทวดา ท่านอยากเห็นบ้างไหม ? พระนิด : ผมอยากเห็นจิตของตัวเองสม่ำ�เสมอ ๒๓. พระภิกษุสองรูปออกเดินธุดงค์ด้วยกัน ตอนเช้าไปในหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ฉันเสร็จแล้วเก็บบริขารออกเดินทาง ตกค่ำ�หาที่พักปักกลด กิจวัตรประจำ�วันเป็นไปอย่างเรียบง่าย เรื่องตื่นเต้นเร้าใจที่สุดในการเดินทางครั้งนั้นก็คือ รองเท้าข้างหนึ่งหลุดลอยไปกับสายน้ำ� ตื่นก่อนนอนทีหลัง | 11


๒๔. โยม : หลวงพ่อขอ “ของดี” ให้ลูกด้วยเจ้าค่ะ หลวงพ่อ : กายดี วาจาดี ใจดี ดีสามอย่างดีหมด ๒๕. ลูกศิษย์ของพระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) นำ�ภาพขององค์ท่านไปอัดขยายที่ร้านแห่งหนึ่งในต่างประเทศ เมื่อไปรับภาพเจ้าของร้านถามว่าใครคือบุคคลในภาพนี้ ? ขณะที่ผมทำ�งานยุ่งวุ่นวายตลอดทั้งวัน เมื่อมองดูภาพนี้แล้วจิตใจรู้สึกสงบอย่างประหลาด ๒๖. พระน้อย : ถ้าท่านอธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์ท่านจะได้ไปสวรรค์ชั้นนี้ ถ้าท่านเจริญเมตตาภาวนาท่านจะได้ไปสวรรค์ชั้นนั้น สนใจไหม ? พระนิด : ผมสนใจปัจจุบัน ๒๗. สตรีในอดีตไม่ได้รับสิทธิ์ในการศึกษาเล่าเรียนเช่นบุรุษ หลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการให้สตรีได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ และถ่ายทอดภูมิปัญญาไว้แก่อนุชนรุ่นหลังคือ พระไตรปิฎกหัวข้อเถรีคาถา ๒๘. โยมถาม : ท่านจะบวชไปเรื่อย ๆ ไม่สึกหรือ ? พระตอบ : วันนี้คงจะไม่สึก ช่วงบ่ายต้องกวาดลานวัด 12 | Dhammascapes


๒๙. รถยนต์แล่นผ่านชาวไทยภูเขาครอบครัวหนึ่ง พ่อแบกเข่งใส่ฟืนสูบกล้องยาเดินนำ�หน้า แม่มีลูกน้อยในห่อผ้าเดินตามมาข้างหลัง เด็กชายชาวเมืองซึ่งนั่งอยู่ในรถคันนั้นถามแม่ของเขาว่า เรามาอยู่กันแบบนี้ไม่ได้หรือแม่ ? ๓๐. บาทหลวงกับพระภิกษุเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งบาทหลวงนำ�สุนัขท้องแก่มามอบให้พระภิกษุ เพราะรู้ว่าเพื่อนชอบเลี้ยงสุนัข ไม่นานสุนัขตัวนั้นก็คลอดลูก เมื่อบาทหลวงทราบจึงแวะไปเยี่ยม แรกเห็นลูกสุนัขที่พึ่งคลอดใหม่บาทหลวงก็ถามขึ้นว่า ลูกสุนัขเหล่านี้เป็นชาวคริสต์หรือชาวพุทธ ? พระภิกษุตอบว่าเป็นชาวคริสต์ ได้ทราบคำ�ตอบดังนั้นแล้ว บาทหลวงก็ยิ้มพอใจ หลายเดือนผ่านไป บาทหลวงเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนที่วัดอีก เมื่อมองเห็นลูกสุนัขกำ�ลังวิ่งเล่นกันอยู่จึงถามขึ้นว่า ลูกสุนัขชาวคริสต์สบายดีกันทุกตัวไหม ? พระภิกษุตอบว่า อ๋อ ! ตอนนี้พวกลูกสุนัขเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธกันหมดแล้ว อ้าว ! ทำ�ไมล่ะ ? บาทหลวงถามด้วยใบหน้างุนงง พระภิกษุยิ้มอย่างอารมณ์ดีก่อนตอบว่า “เพราะมันลืมตา” ตีพมิ พ์ครัง้ แรก > Dhamma Design Issue 2 / ตีพมิ พ์ครัง้ ทีส่ อง > พ็อกเกตบุก๊ ชือ่ หนึง่ ร้อย / ตีพิมพ์ครั้งที่สาม > ที่นี่


๐๒ The Art of Now


เรื่องและภาพ Andrew  Binkley พุทธศาสนิกชนควรตัง้ คำ�ถามไว้ในใจสามประการคือ หนึง่ เรามีความทุกข์ หรือไม่ ? สอง อะไรเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ? และสาม เราจะขจัดความทุกข์นั้น ได้อย่างไร ? หากเราต้องการขจัดความทุกข์ เราจะพบว่าสิ่งสำ�คัญไม่ได้ขึ้น อยู่ กั บ ว่ า จะต้ อ งทำ � อย่ า งไร หากแต่ เ ป็ น การใช้ ชี วิ ต อย่ า งสงบ มี ค วามสุ ข และพึงพอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ หากเราต้องการดำ�เนินไปตามหนทางแห่งการ ดับทุกข์ การฝึกฝนก็คือการเป็นอยู่กับปัจจุบัน หากศิลปินมุ่งให้ความสำ�คัญกับ ผลงานศิลปะมากเกินไป จนกระทัง่ หมกมุน่ ครุน่ คิดถึงแต่ตวั ผลงานว่าจะออกมา ในรูปแบบใด โดยมิได้ใส่ใจถึงวิธีการและสิ่งที่กำ�ลังทำ�อยู่ในปัจจุบัน ท้ายที่สุด

หากคำ�นึงถึงจุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว เราอาจพลาดประสบการณ์ดี ๆ ในระหว่าง การเดินทางไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อผลงานชิ้นนั้นไม่สำ�เร็จตามที่คาดหวังหรือผิดเพี้ยนไปจากความตั้งใจใน ครั้งแรก ศิลปินก็จะเกิดความผิดหวังอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับการเดินทาง หาก คำ�นึงถึงจุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว เราอาจพลาดประสบการณ์ดี ๆ ใน ระหว่างการเดินทางไปอย่างน่าเสียดาย แต่เมื่อเปิดหัวใจให้กับสิ่งที่กำ�ลังทำ�อยู่ ในปัจจุบัน เราจะพบว่าผลงานทุกชิ้นให้อะไรแก่เรามากมาย นี่คือการใช้ศิลปะ เพื่อฝึกฝนกับการอยู่ในปัจจุบัน The Art of Now | 15


เมื่อเราไม่พะวงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่คำ�นึงว่าผลงานชิ้นนั้น จะทำ�ให้เราโด่งดังหรือเปล่า ไม่กังวลว่างานศิลปะชิ้นนี้จะเป็นผลงานชิ้นเอก ทีเ่ ราเฝ้ารอคอยมาตลอดชีวติ หรือจะกลายเป็นเพียงเศษขยะไร้คา่ เมือ่ ไม่ยดึ ติด กับอดีตและอนาคตเราจะมองเห็นสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแท้จริง จาก ประสบการณ์ ผมได้ค้นพบประโยชน์สูงสุดจากการฝึกฝนทางศิลปะอย่าง มากมาย ซึ่งหลายคนอาจจะมองข้ามไป ในขณะที่เรียนวิชาวาดภาพเหมือนผม ได้เรียนรู้ว่า เราจะต้องละความคิดว่าร่างกายนั้นมีลักษณะอย่างไร สิ่งที่ต้องทำ� ก็คือ สังเกตให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เรามองเห็นนั้นเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับ ที่เรามักจะนึกถึงสีน้ำ�ตาลของต้นไม้หรือสีเขียวของใบไม้ แต่เมื่อเราพิจารณา ดูให้ดี จริง ๆ แล้วต้นไม้ที่เราเห็นเป็นสีอะไรกันแน่

เราจะพบว่าทุกขณะจิตมีค่าต่อ การเจริญสติ เพราะทุกสิ่งกำ�ลัง เกิดขึ้นในปัจจุบัน การฝึกฝนทางศิลปะเริ่มจากการเรียนรู้ลักษณะ รูปร่าง ลายเส้น แสงเงา สี และองค์ประกอบต่าง ๆ เมื่อเราเกิดความเข้าใจในศิลปะเราจะรับรู้ถึงสิ่ง ต่าง ๆ ที่ทำ�อยู่ในทุกขณะจิต ไม่ว่าจะเป็นสายลมที่กระทบเส้นขนบนหลังมือ กลิ่นสีที่ผ่านเข้ามาทางรูจมูก เสียงพู่กันที่กระทบผืนผ้าใบ รวมถึงการรับรู้ใน ลมหายใจเข้าลมหายใจออก และความคิดที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป สิ่งสำ�คัญใน การฝึกตนสำ�หรับนักบวชก็คอื การมีสติอยูท่ กุ ขณะจิต ไม่วา่ จะนัง่ สมาธิ เดินจงกรม ขบฉันอาหาร หรือแม้แต่การล้างห้องน้ำ� เช่นเดียวกับศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นการ จุม่ พูก่ นั ลงไปในจานสี การแกะสลักอย่างประณีต การทำ�ความสะอาดเลนส์กล้อง 16 | Dhammascapes


แม้แต่การได้รับคำ�ยกย่องสรรเสริญหรือคำ�วิพากษ์วิจารณ์ติเตียนผลงาน เรา จะพบว่าทุกขณะจิตมีค่าต่อการเจริญสติเพราะทุกสิ่งกำ�ลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ศิลปินทุ่มเทให้กับงานจนเวลาไม่ใช่สิ่งสำ�คัญอีกต่อไป งานศิลปะ ชิ้นนั้นได้กลายเป็นหัวใจของเขาไปแล้ว เมื่อเปิดใจให้กว้างดั่งเช่นท้องฟ้าซึ่งมีทั้งวันที่แดดทอแสงเป็นประกายและ วันที่พายุฝนกระหน่ำ� เราจะสามารถมองเห็นและชื่นชมในสิ่งที่เป็นอยู่อย่างที่ เขาเป็น สิ่งต่าง ๆ เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีการจำ�แนกถึงความอัปลักษณ์ ความ สวยงาม ความบกพร่อง ความสมบูรณ์แบบ มันเป็นอยู่อย่างที่เป็นเท่านั้นเอง เมื่อศิลปินเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง อิสรภาพที่แท้จริงจึงจะเกิดขึ้น ณ ขณะจิต ในปัจจุบัน

ตีพิมพ์ครั้งแรก > Dhamma Design Issue 1 / ตีพิมพ์ครั้งที่สอง > ที่นี่


18 | Dhammascapes


The Art of Now | 19


20 | Dhammascapes


The Art of Now | 21


22 | Dhammascapes


The Art of Now | 23


24 | Dhammascapes


The Art of Now | 25


26 | Dhammascapes


The Art of Now | 27


๐๓ ธรรมะปะทะฟิสิกส์ 28 | Dhammascapes


เรื่อง ภิกขุกัมมันตรังสี / ภาพ รมศิลป์  สุขประเสริฐ • เกิด พ.ศ. ๒๕๑๑ ที่ประเทศเยอรมนี • จบการศึกษาระดับ Stateexam (เทียบเท่าปริญญาโท) ด้านฟิสิกส์ จาก Free University กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี • อุ ป สมบท พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ วั ด หนองป่ า พง จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี โดยมี พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธฺมโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ • ปัจจุบันพำ�นัก ณ วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลข้างต้นคือประวัตอิ ย่างย่นของพระภิกษุชาวต่างประเทศผูไ้ ม่ประสงค์ จะออกนาม ซึ่งเราได้อาราธนาบทสัมภาษณ์มาประทับบนหลายหน้ากระดาษ ต่อไปนี้

ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 29


30 | Dhammascapes


ก่อนบวชมีเป้าหมายอะไรในชีวติ ทีท่ �ำ ให้ตดั สินใจเลือกเรียนคณิตศาสตร์  และฟิสิกส์ มีหลายอย่าง ส่วนหนึ่งก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ก็อยากจะรู้ เรื่องความลึกลับของธรรมชาติ มีอะไรบ้างที่เรารู้ได้โดยภาษาวิทยาศาสตร์ โดยการทดลองทฤษฎี อ ะไรต่ า ง ๆ มั น เรี ย กว่ า Theory of Knowladge สนใจเรื่องลึกลับที่เขากำ�หนดไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่เขาอ้างว่าเขาทำ�ได้ ไม่ได้ไปทางเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ ชอบดูกฎแห่งธรรมชาติว่ามีอะไรบ้าง แต่ ว่ า ส่ ว นตั ว อยากจะเล่ น ดนตรี ม ากกว่ า แต่ พ่ อ แม่ บ อกว่ า ไม่ ใ ช่ อ าชี พ เป็นงานอดิเรก แต่ว่าทำ�ได้ถ้ามีเวลาเพิ่ม แต่นักดนตรีอาชีพก็มีเยอะ มีเยอะ แต่ที่จริงก็ดีใจที่ไม่ได้เรียนดนตรี เพราะมีการแข่งขันกันมากเหมือนกัน คือว่าอุดมการณ์ไม่ตรงกับความจริง ช่วยขยายความประโยคที่ว่า อุดมการณ์ไม่ตรงกับความจริง ศิ ล ปิ น มี อุ ด มการณ์ สู ง อยากจะแก้ ปั ญ หาสั ง คม อยากจะเพิ่ ม สั น ติ สุ ข สันติภาพในโลก แต่ว่าก็ต้องมีการแข่งขันกันด้วย ต้องมีที่หนึ่ง ต้องมีอัตตา ตัวตนแสดงออกอย่างสูง ก็ดีที่ไม่ได้ทำ� (หัวเราะ) อะไรเป็นแรงจูงใจให้สนใจพุทธศาสนา ผมมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยมานานแล้ว เพราะเคยอยู่ประเทศไทย ตอนเป็นเด็ก แต่ตอนนั้นยังไม่รู้จักภาษาไทย ยังไม่รู้อะไรมาก แต่พอเห็น ประเทศไทยแล้วก็ชอบ ชอบความเป็นอยู่แบบชนบทเรียบง่าย ประทับใจกับ วั ด ต่ า ง ๆ เมื่ อ ก่ อ นผมนั บ ถื อ ศาสนาคริ ส ต์ เคยเข้ า โบสถ์ เ ยอะ เคยสนใจ แต่พอเรียนจบมัธยมก็ห่างเหินเพราะเริ่มที่จะไม่ยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ พอดี ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 31


มีประสบการณ์ที่ประเทศไทย เคยเห็นพระ แม้แต่พระในกรุงเทพฯ ในความ วุ่นวายก็รู้สึกว่ามีเสน่ห์ มีความสงบดี ก็นึกอยู่ว่าอยากลองปฏิบัติดูบ้าง ตอบ ได้หลายแง่ อุดมการณ์ของชีวิตก็มีเยอะ อยากจะช่วยเหลือคนตามที่คริสต์ ศาสนาได้ปลูกฝังไว้แล้ว อยากจะช่วยเหลือคนแต่ได้เจอปัญหาในลักษณะ ที่ว่ากำ�ลังของตัวเองไม่พอ ก็คิดว่าถ้าได้ Meditation ได้นั่งสมาธิ ก็คงจะช่วย ให้เกิดกำ�ลัง ไม่ต้องท้อแท้ เคยทำ�งานด้านอาสาสมัครด้วย ครั บ ที่ เ ยอรมนี เ รามี สิ ท ธิ์ ที่ จ ะปฏิ เ สธการเป็ น ทหาร ผู้ ที่ เ ป็ น ชาวคริ ส ต์ ที่ เอาจริงเอาจัง เป็นนักการศาสนา หรือมีอดุ มการณ์ชวี ติ ทีต่ รงข้ามกับอุดมการณ์ ของทหาร เขาสามารถปฏิเสธได้ แต่ต้อ งทำ�งานช่วยเหลื อสั ง คมแทนการ เป็ น ทหาร ตอนนั้ น เป็ น เวลาประมาณ ๒ ปี ที่ ไ ด้ ทำ � หน้ า ที่ ช่ ว ยเหลื อ สั ง คม ทำ�งานกับเด็กปัญญาอ่อน เป็นเวลาทีม่ คี วามสุขมากในชีวติ มากกว่าทีโ่ รงเรียน มากกว่าเรียนหนังสือ มีความสนใจที่จะเป็นครูสอนฟิสิกส์ ผมได้คิดในอุดมการณ์นี้ว่า สมมุติว่าเราเป็นครูด้านฟิสิกส์ที่มีมุมมองกว้างก็ จะมีทางเข้าถึงเด็กได้ดี ในลักษณะที่ว่าเราไม่ได้เน้นในแง่วิทยาศาสตร์มาก เกินไป แต่เน้นในแง่ของความรู้เรื่องธรรมชาติ ในแง่นี้ฟิสิกส์ก็ดีมาก เพราะเขา ให้ สั ง เกตเองและตั้ ง สมมุ ติ ฐ านขึ้ น มาเอง แล้ ว ก็ ต รวจสอบทฤษฎี ว่ า ตรง กับประสบการณ์หรือเปล่า มันใกล้เคียงกับวิธีที่เราเพิ่มความรู้ส่วนตัวที่เรา แน่ใจว่ามันถูก เพราะเราเปรียบเทียบกับประสบการณ์ เคยคิดอย่างนั้น ไอน์สไตน์ก็พูดถึงพุทธศาสนาบ่อยเหมือนกัน คงจะเป็นลักษณะว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเหตุผลเข้ากับวิทยาศาสตร์ 32 | Dhammascapes


วัตถุที่เป็นที่สนใจของวิทยาศาสตร์ กับวัตถุที่เป็นที่สนใจของศาสนา มันคนละอย่างกัน ได้ในแง่หนึ่ง พูดในแง่นี้พุทธศาสนาไม่ได้หลงทางหรือเชื่อง่ายครับ แล้วเขาก็ บอกว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ผมเองคิดว่าวัตถุที่เป็นที่สนใจของ วิทยาศาสตร์กับวัตถุที่เป็นที่สนใจของศาสนามันคนละอย่างกัน วิทยาศาสตร์ เขาดู ธ รรมชาติ เ ฉย ๆ อยากรู้ อ ยากเห็ น แต่ ว่ า ศาสนาของเราอยากจะละ กิเลสด้วย ในแง่ของปรัชญาเราเข้าใจเรื่องกฎแห่งอนิจจัง อันนี้เปรียบเทียบ กั บ วิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้ แต่ ว่ า ถ้ า เราย้ อ นถึ ง ตั ว เองว่ า ความโลภ ความโกรธ ความหลง มั น เกิ ด ขึ้ น ที่ ไ หน เราไม่ จำ � เป็ น จะต้ อ งดู แ บบตั้ ง ทฤษฎี ท าง วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์สอนเรื่องปรมาณูได้ แต่สอนเรื่องการละกิเลสไม่ได้ มีโยมพูดว่า “พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์” จากนั้นครูบาอาจารย์ท่าน  หนึ่งก็บอกว่า อย่ายกย่องวิทยาศาสตร์มากเกินไป (หั ว เราะ) ใช่ มี ค วามเชื่ อ ทางพุ ท ธศาสนาอั น หนึ่ ง ที่ เ กิ ด ตอนเป็ น พระว่ า พระธรรมนี่สมบูรณ์จริง ๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนสิ่งที่เป็นส่วนเกิน แต่ทาง วิทยาศาสตร์เขาไปหลายแง่ครับ บางครั้งตั้งคำ�ถามไม่ถูก อย่างเช่น อุปมาแห่ง ลู ก ศร มี บุ ค คลหนึ่ ง ถู ก ยิ ง ด้ ว ยลู ก ศรแล้ ว เขาบอกว่ า ผมจะไม่ ถ อนลู ก ศร ออกจากอกจนกว่ า จะรู้ ว่ า ใครเป็ น ผู้ ยิ ง ? ทำ � ด้ ว ยวั ส ดุ อ ะไร ? แล้ ว ก็ มี พิ ษ อะไร ? ออกฤทธิอ์ ย่างไร ? อันนีอ้ าจจะเป็นเรือ่ งทางเคมี ทางฟิสกิ ส์อาจจะถามว่า มันบินมาได้อย่างไร ? บินด้วยความเร็วเท่าไหร่ ? (หัวเราะ) อันนี้ผมอ่านเจอ ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 33


34 | Dhammascapes


ช่ ว งที่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษาฟิ สิ ก ส์ จริ ง อยู่ ค รั บ แต่ เ ขาตั้ ง คำ � ถามไม่ ถู ก เราอยาก จะแก้ปัญหาในชีวิตของเรา แต่ว่ามันไปคนละทิศละทาง แต่ในแง่ของสิ่งที่ พิสูจน์ได้ด้วยอายตนะ ๖ ดูละเอียดเห็นในวัตถุสิ่งของอาจจะตรง หรืออย่างที่ ไอน์สไตน์บอกว่า วิธีค้นหาความจริง อันนี้อาจจะเข้ากันได้ ไอน์ ส ไตน์ บ อกว่ า “ถ้ า จะมี ศ าสนาใดซึ่ ง พอเข้ า กั น ได้ กั บ แนวคิ ด ของ  วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศาสนานั้นคือศาสนาพุทธ” ครับผม อันนี้ท่านก็พูดในลักษณะว่าวิทยาศาสตร์ต้องเข้ากับศาสนามากกว่า แสดงว่าไอน์สไตน์ก็ถือว่าศาสนาเลิศสมบูรณ์อยู่แล้วเหมือนกัน แม้แต่ตอน ที่ ผ มเรี ย นฟิ สิ ก ส์ ยั ง ทิ้ ง ปรั ช ญาไม่ ไ ด้ ก็ มี พ วกเมตาฟิ สิ ก ส์ เมตาหมายถึ ง ความเหนือ เหมือนอภิธรรมสูงสุดอะไรอย่างนั้น มีธรรมกับอภิธรรม ฟิสิกส์ คือรูปธรรม เมตาฟิสิกส์คือเหนือซึ่งรูปธรรม ที่เขาอยากจะหาว่าอะไรเป็น บ่อเกิดของจักรวาล พระเจ้าสร้างหรือเปล่า ส่วนมากเขาตั้งปัญหาแบบคริสต์ เหมือนกัน แต่ว่าตอนนี้ก็คงจะไม่ได้คิดในแง่นี้มากเท่าไหร่ แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านก็บอกว่า ไม่ต้องถามก็ได้ว่าใครเป็นผู้สร้างโลก เพียงแต่เอาลูกศรคือ ความทุกข์ออกก็พอ มีอีกคนหนึ่ง สตีเฟน ฮอว์กิงใช่ไหม ที่พยายามอธิบายกำ�เนิดของโลก  หรือจักรวาล ผมเคยคิดอีกแง่หนึ่ง สมมุติว่าเราอยากจะดูว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้ตั้งทฤษฎีใหม่ขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับของหลายคนและมีอยู่ในตำ�รา ถ้าเราอยากจะรู้จริง ๆ เหตุผลอะไรที่จะพูดได้ว่าอันนี้ถูก ทำ�ไมมันถูก ถ้าเรา อยากจะตรวจสอบเองแต่ละวิชา แต่ละส่วน แม้แต่ในฟิสิกส์ ก็คงจะใช้เวลา ประมาณเกินหนึ่งชาติ จึงจะเรียนรู้ว่าสิ่งที่สตีเฟน ฮอว์กิงได้ค้นพบมันจริง หรือเปล่า หลักฐานของท่านมันจริงหรือเปล่า จะมีทางออกอื่นอีกไหม หรือ ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 35


อย่างทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ มันเป็นวิชาหนึ่งต่างหากจากฟิสิกส์ มันละเอียดมาก ก็ต้องฉลาดที่สุดจึงจะเข้าใจได้ ต้องเสียสละอีกชาติหนึ่ง จึงจะสู้กับท่านได้ จึงจะเข้าใจได้ว่าท่านไม่ได้หลอกเรา เขาขายดีเรื่องทฤษฎี ที่ อ ธิ บ ายความเป็ น มาของโลก แต่ ว่ า คนก็ อ่ า นเฉย ๆ เพราะเชื่ อ ว่ า เป็ น วิทยาศาสตร์ แต่ถ้าเราลองดูเหตุผลว่าอะไรเป็นอะไร ปริญญาเอกไม่พอครับ (หัวเราะ) สุดท้ายผมก็เบื่อมาก เพียงแค่เราอยากรู้ส่วนปลีกย่อยนิดเดียวว่า มันถูกหรือผิด มันต้องทำ�จุดนั้นเป็นประเด็นของการเรียนหนังสืออย่างเดียว มุมมองที่กว้างก็หายไปเพราะว่าเราเป็น Specialist (ผู้ชำ�นาญเฉพาะทาง) ในเบื้องต้นผมก็ชอบเรื่องควอนตัม  ตัวปรมาณูเล็ก  ๆ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไอน์สไตน์ ได้ค้นพบเหมือนกัน แต่ว่าท่านก็มีชื่อเสียงเรื่องทฤษฎีของจักรวาลมากกว่า ถ้าจะถามผมเรื่องทฤษฎีของจักรวาลผมก็ต้องบอกว่า ผ่านครับ ไม่รู้เพราะว่า ผมเรียนของเล็ก ๆ น้อย ๆ อันนี้เป็นของใหญ่ ๆ ครับ ต้องเรียนใหม่ครับ ไม่มีที่สิ้นสุด ได้ใช้ความรู้ด้านฟิสิกส์ร่วมกับการปฏิบัติธรรมไหม ความรู้จริง ๆ เรื่องกฎหรือทฤษฎีต่าง ๆ บางสิ่งบางอย่างก็ลืมไปแล้ว คงไม่ค่อย ได้ใช้เท่าไหร่ แต่ว่าวิธีคิดที่จะไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แล้วก็ไม่เชื่อก่อนที่จะได้ ตรวจสอบแต่ละขั้นตอนของกระบวนการของเหตุผล ก็คิดว่าต้องใช้เหมือน กับทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะถ้าเราย้อนกลับมาถึงพระวินัยหรือคำ�สอน บางครั้งก็ต้องใช้สมองด้วยจึงจะรู้ว่าอันนี้เป็นไปได้ไหม แล้ววิธีที่จะคิด คิดว่า ใกล้เคียงกันครับ บรรยากาศทางพุทธศาสนาในช่วงนั้นเป็นอย่างไรสำ�หรับคนหนุ่มสาวใน  มหาวิทยาลัย ที่ จ ริ ง เขาก็ นิ ย มมากครั บ ไม่ ใ ช่ ห มายถึ ง ทุ ก คน แต่ ห ลายคนที่ ส นใจเรื่ อ ง 36 | Dhammascapes


เขาขายดีเรื่องทฤษฎีที่อธิบายความเป็นมา ของโลก แต่ว่าคนก็อ่านเฉย ๆ เพราะเชื่อว่า เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าเราลองดูเหตุผลว่า อะไรเป็นอะไร ปริญญาเอกไม่พอครับ การนั่งสมาธิ เล่นโยคะ คลายความเครียด ล้างสมอง (หัวเราะ) ไม่ต้องคิดมาก แบบปล่อยทิ้งอารมณ์ที่เครียดสักระยะหนึ่ง แล้วเขาก็คิดว่าที่จริงมันไม่ได้ เป็นศาสนาเหมือนศาสนาคริสต์ ที่เขาชักชวนเราให้เชื่ออะไรที่เป็นสันนิษฐาน ที่เราเข้าใจไม่ได้ แต่ว่าให้เราค่อย ๆ ตรวจดูกับตัวเอง แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นแฟชั่น เหมือนกัน พวกนักฟิสิกส์เขาชอบพูดถึงเซน เต๋าของจีน เจอบ่อยที่เขาอ้างถึง โดยเฉพาะถ้าเขาเจออะไรที่มีลักษณะว่าพิสูจน์ไม่ได้เหมือนในทฤษฎีควอนตัม บางส่วนก็เถียงกันมาแต่ไหนแต่ไร ลักษณะของแสงเป็น Particle (อนุภาค) หรือเป็น Wave (คลื่น) เขาเถียงกันไปเถียงกันมา ปรากฏว่าพิสูจน์ได้ว่าพิสูจน์ ไม่ได้ (หัวเราะ) ตัดสินไม่ได้ ถ้าเขาเจอแบบนี้เขาก็จะบอกว่าอันนี้เป็นเหมือน เซน เป็นธรรมชาติ ไม่ขาวไม่ดำ� (หัวเราะ) พุทธศาสนามีหลายนิกายทำ�ไมสนใจเถรวาท ส่ ว นหนึ่ ง เพราะเคยพบพระเถรวาทตอนเป็ น เด็ ก อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ก็ ต อนที่ ม า ประเทศไทย ชอบลักษณะการเลี้ยงชีวิตของพระ อยู่แบบง่าย ๆ ทิ้งชีวิตทางโลก มากกว่านิกายอืน่ เพราะว่าเคยเจอทางมหายาน รูส้ กึ ว่าเขาจะอยูแ่ บบบาทหลวง ทางศาสนาคริสต์มากกว่า คือเขาสอนในสังคม ทางศาสนาคริสต์เขาให้เรามี อคติกับคนที่ปลีกออกจากสังคม เขาบอกว่าหน้าที่ของมนุษย์อยู่ในสังคมต้อง ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 37


38 | Dhammascapes


ช่วยเหลือผู้อื่น ครั้งแรกก็ไม่เข้าใจว่าฝ่ายเถรวาททำ�ไมพระต้องปลีกออกจาก สังคม ทำ�ไมมันมีบทบาทพิเศษในสังคมไทยสำ�หรับพระขนาดนั้น เขายกย่อง พระ เลี้ยงอาหาร สร้างโบสถ์ สร้างวัดอลังการให้ (หัวเราะ) ครั้งแรกไม่ค่อย เข้าใจ แต่พอดีไปเจอสายวัดป่าก็รู้สึกว่า ที่จริงมันเป็นหน้าที่ของพระโดยตรง ที่จะต้องมีชีวิตอย่างเรียบง่ายที่สุด เพื่อจะอยู่ในธรรมชาติโดยไม่ต้องอาศัยใคร แล้วก็มีชีวิตแบบดั้งเดิมเท่าที่จะทำ�ได้ อันนี้ชอบมาก เพราะเบื่อที่จะอยู่ใน สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ป ลอม รู้ สึ ก ว่ า พระสายวั ด ป่ า น่ า จะเป็ น เหมื อ นพระพุ ท ธเจ้ า สมัยโน้น ซึ่งท่านก็อยากให้เรากลับคืนสู่ธรรมชาติด้วยครับ อะไรคือสิ่งแวดล้อมที่ปลอม ถ้ า อยู่ ใ นกรุ ง เทพฯ หรื อ กรุ ง เบอร์ ลิ น จะมี สิ่ ง ที่ บ่ ง บอกถึ ง เจตนาของมนุ ษ ย์ ว่ า มนุ ษ ย์ เ ขาบั ง คั บ ให้ เ ป็ น ไปตามเจตนาของเขาในทุ ก ๆ ที่ อั น นี้ เ ป็ น ของ แปลกปลอม (หัวเราะ) ครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมีมากมายทำ�ไมจึงสนใจหลวงปู่ชา อ่ า นธรรมะของหลวงปู่ ช าแล้ ว ซึ้ ง ใจ รู้ สึ ก ว่ า ท่ า นสอนในลั ก ษณะว่ า ชี้ จุ ด ที่ สะกิดใจจริง ๆ ท่านไม่ได้เอาทฤษฎี ท่านย้อนกลับถึงความทุกข์ทอี่ ยูใ่ นใจของเรา ตลอด ชอบอย่างนี้ แล้วก็ตอนที่เข้ามาแล้ว ในชีวิตประจำ�วันสายหลวงปู่ชาเน้น การอยู่ร่วมกัน รู้สึกว่าท่านเอาหมู่คณะเป็นใหญ่ แล้วอีกส่วนหนึ่งมันมีโอกาส ที่จะปลีกตัวได้ มีทั้งวิเวกทั้งอยู่ในสังคม มันมีสมดุลดี แล้วก็เรื่องระบบพระวินัย รูส้ กึ ว่าถ้าจะบวชเป็นพระต้องอยูใ่ นที่ ๆ มีกฎระเบียบทีช่ ดั เจน แล้วมีมาตรฐานทีด่ ี ก็มีคนแนะนำ�ให้ไปวัดของหลวงปู่ชา ทำ�ไมพระฝรั่งจำ�นวนมากจึงมีศรัทธาในหลวงปู่ชา คงจะเป็ น เพราะว่ า ท่ า นสอนแบบกว้ า งครั บ คื อ ไม่ ไ ด้ ส อนตามทฤษฎี ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 39


ร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ ใ นลั ก ษณะที่ อ้ า งคั ม ภี ร์ แต่ ว่ า ท่ า นอ้ า งอิ ง กั บ ประสบการณ์ เอาความเข้าใจตามธรรมชาติมากกว่าจะเอาความเข้าใจตามตำ�รา อีกอย่าง อุปมาอุปไมยท่านเลือกดีครับ มุมมองของท่านรู้สึกว่ากว้างมากครับ ถ้าจะพูด ถึงธรรมะที่เป็นทฤษฎีชั้นสูง หรือคำ�สอนที่เข้าใจยากที่ต้องผ่านระบบการศึกษา ระดับปริญญาโท ปริญญาเอก (หัวเราะ) ก็ผ่านมาแล้ว ถ้ามีใครสอนแบบ เข้าใจง่ายแล้วก็สูงด้วยก็ยิ่งดีครับ ช่วยยกตัวอย่างคำ�สอนของหลวงปู่ชาที่ท่านประทับใจ ท่านเอาหัวข้อง่าย ๆ มาใช้ตรวจสอบประสบการณ์ตลอด เป็นต้นว่า “ไม่แน่” ครับ ถ้าเราเอาตัวนี้มาเก็บไว้ในใจ มันเหมือนอยู่กับกรรมฐานตลอดเวลา คนเยอรมนี ช อบอะไรที่ “แน่ ” เช่ น รถเมล์ ต้ อ งมาตรงเวลา แต่ มั น ไม่ แ น่ ถ้าเรารอรถเมล์ เรามีประสบการณ์แล้วว่า เมือ่ วานนีเ้ ขามาสาย วันนีม้ าสายไม่ได้ เพราะมีกำ�หนดการอย่างนี้ ถ้าเราคิดถึงคำ�ว่า “ไม่แน่ ไม่แน่” เราก็ทำ�ใจได้ โยมพ่อโยมแม่คิดอย่างไรที่ลูกชายมาบวช ผมโชคดีที่พ่อแม่เข้าใจวัฒนธรรมไทยเพราะเคยอยู่ประเทศไทย ก็เลยรู้ว่าลูก ไม่ได้อยู่ในลัทธิแปลก ๆ ไม่มีใครชักชวนไปในทางที่ผิด แต่ว่าส่วนตัวเขาคงจะ ไม่เปลี่ยนศาสนา แต่เขาก็อ่านหนังสือที่ผมส่งไปให้ (หัวเราะ) ก็อ่านด้วย ความสนใจ แต่ไม่ใช่วา่ จะเปลีย่ นทิศทางชีวติ ซึง่ อันนีไ้ ม่ตอ้ งก็ได้ เพราะเพียงแต่ ให้เขาเข้าใจว่า ลูกมีความสุขทางนีแ้ ล้ว ทีจ่ ริงแม่กบ็ อกว่าเห็นอยูว่ า่ ลูกมีความสุข มาอยู่ที่ภาคอีสานปรับตัวอย่างไรบ้าง ข้าวเหนียวส้มตำ�อร่อยหรือยัง (หัวเราะ) ก็คุ้นเคยแล้ว อาหารเรียบง่ายตามธรรมชาติ มีครั้งหนึ่งเกือบตาย เพราะฉันตั๊กแตนทอดที่ถูกพ่นยาฆ่าแมลง ต้องเข้าโรงพยาบาล (หัวเราะ) แต่ว่าถ้าเอาธรรมชาติจริง ๆ ก็ข้าวเหนียวครับ ข้าวเหนียวตำ�บักหุ่ง แต่มัน 40 | Dhammascapes


หลวงพ่อชาท่านสอนโดยเอาความเข้าใจ ตามธรรมชาติ มากกว่าจะเอาความเข้าใจ ตามตำ�รา ง่วงง่ายครับ อยู่กับคนอีสานก็อบอุ่นดีครับ ไม่ถือตัว อ่อนน้อมถ่อมตัว แล้วเขาก็ ไม่คอ่ ยว่าถ้าผมทำ�อะไรแปลก ๆ (หัวเราะ) คนอีสานมีใจเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ ชอบครับ มาถึงวันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจบ้าง (หัวเราะ) คงจะเปลี่ยนทุกวัน ทีละเล็กละน้อย คงจะเปลี่ยนในแง่ดีบ้างในแง่ ไม่ดีบ้าง หมายถึงจิตใจมีการพัฒนาอย่างไรบ้าง พัฒนาการอดทนบ้าง (หัวเราะ) อดทนต่อสิ่งที่ยังไม่พัฒนา (หัวเราะ) พูดยาก เพราะว่าแต่ละวัน ๆ ก็มีความท้าทายอยู่ จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง (หัวเราะ) ความขี้เกียจก็ยังมีเยอะอยู่ (หัวเราะ) มีโครงการจะกลับไปทำ�งานเผยแพร่ที่ประเทศบ้านเกิดไหม ยังไม่มีวัด  ฝ่ายเถรวาทที่นั่น ครับ ยังไม่มี คือว่าต้องดูตัวเองด้วย ดูทางโน้นด้วย ถ้าจะไปอยากให้เป็น ลักษณะว่าไปเป็นหมู่คณะ ไม่ใช่ไปรูปเดียว เพราะเท่าที่สังเกตดูในชุมชนพุทธ จะมีอาจารย์ที่ดีเด่นเป็นตัวบุคคลครับ แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของฝ่ายเถรวาท คือคณะสงฆ์ แบบนี้ยังไม่มี ถ้าไปกับหมู่คณะคิดว่าได้ครับ คิดว่ามันดีครับ ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 41


42 | Dhammascapes


ถ้ า จะมี ค ณะสงฆ์ ส ายเถรวาทที่ โ น่ น อยู่ ด้ ว ยกั น เป็ น หมู่ ค ณะตามพระวิ นั ย ใครก็มาได้ เข้าร่วมได้ เห็นได้ แต่ว่ารักษาเอกลักษณ์ของเรา ที่โน่นมีสายทิเบตไหม สายทิเบตก็เยอะ ญี่ปุ่นก็เยอะ สายทิเบตตามที่ได้สัมผัสมาคนจะเข้าถึงง่าย เพราะว่าพระมีเมตตามาก ผู้นำ�คือองค์ทะไลลามะ ท่านก็เป็นตัวอย่างที่ดี สำ�หรับสังคมทุกระดับ พูดถึงคำ�สอนรู้สึกว่าถ้าจะเข้าถึงวัดทิเบตจริง ๆ มัน ปวดหัวครับ เพราะว่ามันละเอียดมาก พิสดารมาก เน้นเรือ่ งการศึกษาเยอะมาก และเราต้องรับประเพณีจากทิเบตซึ่งรู้สึกว่ามีเยอะมาก อาจจะมากกว่าสาย เถรวาทในประเทศไทยด้วยซ้ำ� ส่วนหนึ่งก็ต้องตามวัฒนธรรม แต่ว่าอย่างน้อย เราก็มีหลักพระวินัยซึ่งเป็นของโบราณครับ รู้สึกว่าส่วนนี้สายทิเบตน้อยกว่า สายเถรวาท แล้วก็ส่วนที่เป็นวัฒนธรรมสายทิเบตจะมากกว่า พวกประเพณีของไทยก็มีเยอะ มีหลายครั้งที่คิดว่ามันเป็นประเพณี แต่ทีหลังก็ได้เจอในพระวินัยว่ามันมีอยู่ จริง ๆ ถ้าเราไม่ทำ�อย่างนี้ก็เป็นอาบัติ (หัวเราะ) มันมีมานานแล้วคงจะกลมกลืน ครับกลมกลืน แต่มันมีบางส่วนที่คิดอยู่ว่า ถ้าพระไทยได้มีโอกาสศึกษากับ พระสายทิเบต สายศรีลังกา สายญี่ปุ่นบ้าง จะรู้ว่าอันไหนเป็นเกณฑ์ อันไหน เป็นวัฒนธรรม ซึ่งก็ดีเหมือนกัน เมื่อได้ยินคำ�ต่อไปนี้ท่านรู้สึกนึกคิดอย่างไร ผี : มีอยู่ในโทรทัศน์ครับ (หัวเราะ) บางครั้งรู้สึกเหมือนกันว่ามันมีบรรยากาศ ที่ น่ า กลั ว ครั บ แต่ ไ ม่ ถึ ง กั บ ว่ า จะเห็ น ผี เป็ น โครงกระดู ก หรื อ มี หั ว ลอยมา ธรรมะปะทะฟิสิกส์ | 43


จินตนาการของผมไม่ถึงขนาดนั้นครับ (หัวเราะ) แต่ว่าบรรยากาศแบบน่ากลัว ก็มี เหมือนกับที่หลวงพ่อบอกว่าเป็นอาการของความไม่คุ้นเคย ถ้าเราไปอยู่ ในสถานที่ แ บบนั้ น คงจะอาศั ย การสวดมนต์ ค รั บ สร้ า งบรรยากาศแบบ ไม่เบียดเบียนใคร อบอุ่น ผิวขาว : มันเป็นสิ่งภายนอกจริง ๆ เรื่องผิวขาวผิวดำ�ในวัยของผมก็เริ่มตัดทิ้ง เพราะเขาคิ ด ว่ า มั น เป็ น ความคิ ด แบบดู ถู ก เผ่ า พั น ธุ์ ต ามลั ก ษณะภายนอก แต่มันก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเด็กวัยรุ่น ไปห้ามเขาไม่ได้ มันเป็นลักษณะของ กระแสความหลง น่าสงสาร (หัวเราะ) แต่งงาน : สำ�หรับตัวเองหรือสำ�หรับผู้อื่น (หัวเราะ) โชคดีที่ไม่ได้แต่งงาน เพราะถ้ า แต่ ง งานแล้ ว ต้ อ งมี ลู ก มี ค รอบครั ว ต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบทางโลก ตอนนี้ ยั ง มี ค วามเป็ น อิ ส ระ คื อ แก้ ปั ญ หาของตั ว เองได้ เ พราะว่ า ไม่ ต้ อ ง แก้ปัญหาของแฟนหรือของลูก แล้วก็มีโอกาสที่จะทำ�ความเกี่ยวข้องกับชีวิต ได้ชัดเจนกว่า ดูสภาพของตัวเองได้ง่ายกว่า สำ�หรับทางโลก สำ�หรับพี่น้อง เป็นต้น เขาก็มีครอบครัว เริ่มที่จะมีลูกซึ่งผมก็ไม่ค่อยได้เจอ บางคนก็เกิดตอน ที่บวชแล้วแต่ยังไม่ได้เจอ คือมันมีความหมายสำ�หรับเขา มันอาจจะได้ความ รู้สึกที่ดีในการอยู่ร่วมกัน เพราะว่าถ้าอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น มีการเลี้ยงลูกที่ดี มันเป็นทางที่ใช้ได้สำ�หรับโลกหรือสังคม เพราะคริสต์ศาสนาเขาสอนอย่างนี้ มาก ๆ ให้ครอบครัวมีคุณธรรม มีคุณภาพ แล้วก็น่าจะอนุรักษ์ความสัมพันธ์ ระหว่างปูย่ า่ ตายายกับลูกหลานทีม่ มี าแต่ไหนแต่ไร แต่ในประเทศไทยมันพังหมด ต่างคนต่างไปทางความสำ�เร็จ ทางโลก ทางธุรกิจ การเกี่ยวข้องกันแบบดั้งเดิม ของมนุษย์มนั บกพร่อง อันนีท้ างภาคอีสานก็เห็นปัญหา ลูกอยูก่ รุงเทพฯ กันหมด ทิ้งปู่ย่าตายายให้เหงาอยู่ที่บ้าน บางครั้งเขาก็ส่งเงินมาให้ บางครั้งกลับมา มีรถปิกอัปคันใหม่เขาก็ภูมิใจกันมาก แต่ว่าแต่ละวัน ๆ การอยู่ด้วยกันแบบ 44 | Dhammascapes


อบอุ่นเหมือนเมื่อก่อนมันหายไป เยอรมนีผ่านสิ่งเหล่านี้มาแล้ว ถ้าอยู่ในสังคม มันก็เป็นสิง่ ทีด่ ที จี่ ะรักษาเอาไว้ การเป็นอยูแ่ บบครอบครัว แบบอบอุน่ ช่วยเหลือ กัน มีเมตตาต่อกัน แต่ว่าส่วนตัวทางออกจากโลกก็ต้องไปคนเดียวครับ ลาสิกขา : (หัวเราะ) ก็มีพระฝรั่งที่เจอตอนนี้หลายรูปแล้ว บางรูปบวชได้ ๑๐ พรรษา ๒๐ พรรษา ๓๐ พรรษา ที่ น่ า เลื่ อ มใสก็ มี ที่ ไ ม่ เ รี ย บร้ อ ยก็ มี มีทกุ รูปแบบ ตัวเองก็ไม่คอ่ ยได้คดิ ถึงเรือ่ งนีม้ ากนัก แต่เอาแบบทีห่ ลวงปูบ่ อกว่า “ไม่แน่” ดีกว่า ทุกวันนี้มีความสุขอยู่ในปัจจุบันครับ พระไทย : อารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสไม่เครียด พระฝรัง่ : (หัวเราะ) ตอบตรงกันข้าม ส่วนมากเครียดง่ายครับ (หัวเราะ) คือคิดมาก จะต้องเปลี่ยนมารับอารมณ์สบาย ๆ แบบคนไทยบ้าง (หัวเราะ) แต่ว่าส่วนดี ของเราอาจจะเป็นความตั้งใจที่สูงครับ พูดยากเหมือนกัน หาความสมดุลยาก แรงบันดาลใจ : เราต้องหาทุกวัน ๆ คือถ้าให้มนั ก่อตัวชุดเดียวตอนทีบ่ วชใหม่ ๆ รู้สึกว่าไม่พอ แต่ทุกวันเราจะเจอในลักษณะที่ว่า พอใจความเป็นอยู่ในป่า แค่นี้ ก็ รู้ สึ ก ว่ า ได้ แ รงบันดาลใจเพราะมันมีค วามพอใจกั บชี วิ ต เมื่ อได้ เ จอเพื่ อน สหธรรมิกที่เป็นที่ประทับใจก็จะเกิดความรู้สึกว่าโชคดีที่เราได้มาอยู่ในสังคม แบบนี้ เรามีตัวอย่างที่ดี ไม่ต้องพูดถึงระดับครูบาอาจารย์ อันนี้ก็เข้าใจกัน อยูแ่ ล้วว่าเป็นแรงบันดาลใจอย่างสูง แต่แรงบันดาลใจในชีวติ ประจำ�วันก็มเี ยอะ เหมือนกัน อย่างเช่นมีใครขอโทษเพราะว่าเคยทำ�อะไรผิด เราก็นึกอยู่ว่าแค่นี้ก็ เพียงพอสำ�หรับการครองเพศนักบวช เพราะเรามีวัฒนธรรมแบบนี้ มันสวยงาม มันให้แรงบันดาลใจมากที่จะอยู่ต่อไป เพราะมันเป็นความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ ตีพิมพ์ครั้งแรก > Dhamma Design Issue 2 / ตีพิมพ์ครั้งที่สอง > ที่นี่


๐๔ The Ten Perfections of Character 46 | Dhammascapes


เรื่อง เปสโลภิกขุกับเพื่อนหนุ่ม / ภาพ อรรถวิท  บุญวรรณ

ทาน อุปมาดั่งเหยือกที่คว่ำ�เพื่อปล่อยน้ำ�ให้ไหลออกจนหมด และไม่ย้อนกลับคืนฉันใด การเสียสละอันประเสริฐ ย่อม ปราศจากความเสียดายแม้เพียงน้อยนิดต่อสิ่งที่สละไปแล้ว The Ten Perfections of Character | 47


ศีล อุปมาดั่งจามรี เมื่อพวงหางอันยาวเฟื้อยของมันพลาดไปเกี่ยวกับ กิ่งไม้ มันจะไม่ออกแรงฉุดกระชาก แต่จะพยายามปลดออกอย่าง ระมัดระวัง หากการกระทำ�เช่นนั้นไม่สัมฤทธิ์ผล มันจะยอมตายเสีย ดีกว่าจะฉุดดึงเพื่อให้พ้นจากพันธนาการ ฉันใดก็ฉันนั้น ความประพฤติอันประเสริฐย่อม ทำ�ให้บุคคลรอบคอบอยู่เป็นนิจในการเกี่ยวข้อง กับโลก และเขาจะยอมจากไปด้วยมือเปล่า ดีกว่าการได้มาอย่างผิดทำ�นองคลองธรรม

48 | Dhammascapes


เนกขัมมะ อุปมาดั่งนักโทษผู้ไม่ปรารถนาสิ่ง ใดยิ่งไปกว่าการเป็นอิสระจากที่คุมขัง ฉันใดก็ฉันนั้น การออกบวชอัน ประเสริฐย่อมเป็นไปเพื่อความ หลุดพ้นจากกรงขังแห่งอนิจจัง

The Ten Perfections of Character | 49


ปัญญา อุปมาดั่งภิกษุผู้ออกภิกขาจาร สู่ทุกเรือนชานอย่างเสมอกัน ฉันใดก็ฉันนั้น ความรอบรู้ อันประเสริฐย่อมประกอบด้วย การไม่เพิกเฉยในทุกโอกาส แต่พร้อมที่จะเรียนรู้จากผู้มีปัญญา อยู่เสมอ แม้บุคคลนั้นจะอ่อนวัย กว่าตนก็ตาม

50 | Dhammascapes


วิริยะ อุปมาดั่งพญาราชสีห์ ผู้น่าเกรงขามในทุกอิริยาบถ ฉันใดก็ฉันนั้น ความเพียรอันประเสริฐ ย่อมประกอบด้วยความมุ่งมั่น ในการทวนกระแสอารมณ์ เพื่อขับเคี่ยวตนเอง ในทุกสถานการณ์ อันเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ตนแข็งแกร่ง กว่ากิเลสทั้งปวง

The Ten Perfections of Character | 51


ขันติ อุปมาดั่งแผ่นดินอันกว้างใหญ่ รองรับได้แม้สิ่งปฏิกูล ฉันใดก็ฉันนั้น ความอดทนอันประเสริฐ ย่อมประกอบด้วยความไม่หวั่นไหว ในคำ�กล่าวร้ายหรือความเสื่อม แห่งลาภยศ หากแต่อดทนและ ปล่อยให้มันผ่านไป

52 | Dhammascapes


สัจจะ อุปมาดั่งดาวเคราะห์ที่หมุนรอบตัวเองอยู่ชั่วนาตาปี ฉันใดก็ฉันนั้น ความจริงอันประเสริฐ ย่อมประกอบด้วยการไม่โป้ปด แม้เพียงน้อยนิดในทุกโอกาส แม้ตนเองจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ หรือกระทั่งถูกคุกคาม ด้วยความตาย

The Ten Perfections of Character | 53


อธิษฐาน อุปมาดั่งขุนเขาที่ตั้งตระหง่านอย่างมั่นคง แม้พายุก็ไม่อาจทำ�ให้ สั่นสะเทือนได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ความตั้งใจแน่วแน่อันประเสริฐ ย่อมประกอบด้วยความหนักแน่นในคุณธรรมและไม่ไขว้เขว แม้จะมีสิ่งใดมาโน้มน้าวก็ตาม 54 | Dhammascapes


เมตตา อุปมาดั่งสายฝนที่นำ�ความชุ่มฉ่ำ� มาสู่ทุกชีวิตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ฉันใดก็ฉันนั้น ความรักอันประเสิฐ ย่อมเผื่อแผ่ไปสู่มิตรและศัตรูโดย เสมอกัน

The Ten Perfections of Character | 55


อุเบกขา อุปมาดั่งปฐพีอันยิ่งใหญ่ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งสูงค่าหรือ ปฏิกูลที่ผู้คนหว่านโปรยลงไป ฉันใดก็ฉันนั้น การวางใจ เป็นกลางอันประเสริฐย่อม ประกอบด้วยการเผชิญหน้ากับ อุปสรรคอันหนักหน่วงหรือ โชคอันไพศาล โดยปราศจาก การผลักไสหรือเหนี่ยวรั้ง หากแต่ทำ�ใจให้ราบเรียบ สม่ำ�เสมอ

56 | Dhammascapes


ตีพิมพ์ครั้งแรก > Dhamma Design Issue 1 / ตีพิมพ์ครั้งที่สอง > ที่นี่


๐๕ การผจญภัยของตดน้อย 58 | Dhammascapes


เรื่องและภาพ วิสิฐ  จันมา

การผจญภัยของตดน้อย | 59


60 | Dhammascapes


การผจญภัยของตดน้อย | 61


62 | Dhammascapes


การผจญภัยของตดน้อย | 63


64 | Dhammascapes


การผจญภัยของตดน้อย | 65


66 | Dhammascapes


การผจญภัยของตดน้อย | 67


68 | Dhammascapes


การผจญภัยของตดน้อย | 69


70 | Dhammascapes


การผจญภัยของตดน้อย | 71


72 | Dhammascapes


การผจญภัยของตดน้อย | 73


๐๖ สนทนาในป่าช้า 74 | Dhammascapes


เรื่อง เปสโลภิกขุ / ภาพ กรกฤช  เจียรพินิจนันท์

สนทนาในป่าช้า | 75


ความมืดเคี้ยวแดดเม็ดสุดท้าย เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา หมู่แมลงขะมักเขม้น ขับขานกังวานวังเวง สุนัขหอนโหยหวนอยู่ไม่ใกล้ ยางสูงใหญ่ยืนต้านกระแสชราในป่าช้าโบราณ บุรุษ : กราบนมัสการครับ ภิกษุ : เจริญพร บุรุษ : คืนนี้อากาศเย็นนะครับ ภิกษุ : ฝนตกติดต่อกันมาหลายวันแล้ว บุรุษ : บรรยากาศแบบนี้น่าเล่าเรื่องเหวอ ๆ ไหมครับ ? ภิกษุ : มีอยู่เรื่องหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าจะใช่อย่างที่อยากฟังหรือเปล่า บุรุษ : สักครู่นะครับ ขอผมเปลี่ยนเทียนไขก่อน... ภิกษุ : ณ วัดป่าแห่งหนึง่ ซึง่ ตัง้ อยูไ่ ม่ไกลจากหมูบ่ า้ นชาวกะเหรีย่ ง ในชนบทของ อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ บุรุษ : ไปไกลถึงโน่นเลยนะครับ ภิกษุ : วันนัน้ เป็นวันธรรมดา ๆ วันหนึง่ ในฤดูรอ้ น ใครเลยจะคาดคิดว่าเหตุการณ์นี้ จะเกิดขึ้น ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า แม่อุ๊ยอายุประมาณ ๕๐ ปีทะเลาะกับ ลู ก ชายเรื่ อ งแม่ ผั ว ลู ก สะใภ้ กิ น ข้ า วเช้ า เสร็ จ แล้ ว แม่ อุ๊ ย บอกกั บ คน ที่บ้านว่า จะไปบ้านญาติซึ่งอยู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง แม่อุ๊ยเดินลัดเข้ามา ในป่ า ท้ า ยวั ด พอตกเย็ น ก็ ยั ง ไม่ ก ลั บ มา ลู ก ชายเป็ น ห่ ว งจึ ง ไปตาม ที่บ้านญาติแต่ก็ไม่เจอ คนทั้งหมู่บ้านจึงช่วยกันออกตามหา ประกาศ เสี ย งตามสายด้ ว ย แต่ เ ป็ น ภาษากะเหรี่ ย งอาตมาฟั ง ไม่ เ ข้ า ใจ น่าจะประมาณว่า แม่อุ๊ย กลับบ้านด่วน ลูก ๆ ให้อภัยแล้ว 76 | Dhammascapes


บุรุษ : อย่างนั้นเลยหรือครับ ภิกษุ : ตอนนั้นพระอาจารย์ที่เป็นเจ้าอาวาส ท่านไปทำ�ธุระที่จังหวัดลำ�พูน มีแต่พระหนุ่ม ๆ น้อย ๆ อยู่กัน ช่วงค่ำ�ขณะกำ�ลังสวดมนต์ทำ�วัตรกันอยู่ ชาวบ้านก็ยกโขยงมาที่ศาลาถามหาแม่อุ๊ยที่หายตัวไป พระก็ไม่มีใครรู้ เพราะไม่ค่อยมีใครผ่านไปทางป่าแถบนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ค่อนข้าง แน่ ใ จว่ า แม่ อุ๊ ย คงจะแขวนอยู่ บ นต้ น ไม้ ต้ น ใดต้ น หนึ่ ง ในป่ า ท้ า ยวั ด แต่เขาไม่กล้าเข้าไปดู พอชาวบ้านลากลับพระก็แยกย้ายกันกลับกุฏิ บุรุษ : กลัวไหมครับ ? ภิกษุ : ตอนนั้ น มั น ยั ง ไม่ ชั ด เจนว่ า เขาหายไปไหน พอตอนเช้ า กลั บ จาก บิณฑบาต ชาวบ้านก็วิ่งแจ้นมาบอกว่าเจอแล้ว ๆ อยู่ที่ท้ายวัด พวกเรา ก็เดินไปดู ระหว่างที่เดินไปอาตมาก็สงสัยว่าทำ�ไมมาทางกุฏิที่เราพักอยู่ พอเดินพ้นกุฏิไปสักสองร้อยเมตร ก็พบร่างผู้หญิงผมยาวแขวนอยู่บน ต้ น ไม้ สู ง ร่ า งนั้ น หั น หลั ง ออกมาทางชาวบ้ า นที่ นั่ ง ล้ อ มวงดื่ ม เหล้ า ย้อมใจกันอยู่ห่าง ๆ ไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้ แต่พระเราก็เดินอ้อมเข้า ไปดู ศพมี ใ บหน้ า เขี ย วคล้ำ � แต่ ลิ้ น ยั ง ไม่ จุ ก ปาก ตายั ง ไม่ ถ ลน พอตำ�รวจมาถึง ชาวบ้านจึงช่วยกันเอาศพลงมา ตำ�รวจเขาชันสูตรศพ พร้อมตรวจดูบริเวณที่เกิดเหตุแล้วบอกว่า แม่อุ๊ยเสียชีวิตตั้งแต่เมื่อวาน ตอนประมาณบ่ายสองโมง คือตั้งแต่ออกจากบ้านตอนเช้าจนถึงเวลา บ่ายสองโมง แม่อุ๊ยเขากำ�ลังตัดสินใจว่าจะอยู่หรือไป เพราะเห็นมี ร่องรอยนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ทั่วบริเวณนั้น บุรุษ : พอรู้ชัดแล้วทำ�ยังไงครับ ? ภิกษุ : เมื่อรู้ชัดเจนละเอียดลออกับตาถึงขนาดนี้ พระหนุ่มที่อยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓ รู ป ก็ เ กิ ด มี ธุ ร ะขึ้ น มาพร้ อ มกั น กะทั น หั น พยายามจะไปทำ � ธุ ร ะที่ อำ�เภอนั้นจังหวัดนี้แต่ไม่มีรถพาไป จึงจำ�ใจต้องก้มหน้าทำ�วิปัสสนาธุระ ของตัวเองอย่างหนักหน่วงในคืนนั้น สนทนาในป่าช้า | 77


บุรุษ : ยังไงบ้างครับ ? ภิกษุ : อาตมามีเวลาเตรียมตัวหลายชั่วโมงกว่าจะถึงกลางคืน ก็เลยกลับกุฏิ ไปเดิ น จงกรมทำ � ความคุ้ น เคยกั บ บรรยากาศซะตั้ ง แต่ ต อนกลางวั น ซึง่ ตอนนีม้ นั ไม่เหมือนเดิมแล้ว พอชาวบ้านเขาเอาศพไป ท่านพระอาจารย์ เจ้ า อาวาสกั บ รองเจ้ า อาวาสก็ ก ลั บ มา เราสวดมนต์ ทำ � วั ต รเย็ น กั น ตามปรกติ จากนั้นพระรูปหนึ่งก็เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้พระอาจารย์ กับหมู่คณะฟัง ในตอนนั้นมีพระมาเพิ่มอีก ๕-๖ รูป เมื่อได้ฟังเหตุการณ์ ตั้งแต่ต้นจนจบพวกเราก็วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานา ตามมาด้วย เรื่องสารพัดผีอีกพะเรอเกวียน อาตมาเห็นว่าแค่เรื่องของวันนี้เรื่องเดียว ก็อยู่แล้ว เลยขอตัวกลับกุฏิ บุรุษ : คืนนั้นนอนหลับไหมครับ ? ภิกษุ : ตอนเดินกลับกุฏิ หนังผีที่เคยดู เรื่องผีที่เคยฟังมาตั้งแต่เล็กจนโตประเด ประดั ง เข้ า มาไม่ ข าดสาย จนอดคิ ด ไม่ ไ ด้ ว่ า ทำ � ไมกุ ฏิ มั น อยู่ ไ กลจั ง เหมือนระยะทางมันห่างออกไป ระหว่างนั้นก็คิดขึ้นมาว่า พระสายวัดป่า ครูบาอาจารย์ท่านให้ฝึกไปเยี่ยมป่าช้า ดีเหมือนกันเราไม่ต้องแบกบาตร แบกกลดไปป่าช้าให้ล�ำ บาก บรรยากาศของป่าช้ามาเยีย่ มถึงกุฏเิ ลย พอ คิดในแง่นี้ก็ค่อยยังชั่ว แต่พอไปถึงกุฏิก็ใช่ว่าจะสบาย อารมณ์ที่พึ่งผ่าน ไปหยก ๆ ก็กลับมากลุม้ รุมอีก ถึงเวลาจำ�วัดก็หลับ ๆ ตืน่ ๆ หลับเหมือนตืน่ ตืน่ เหมือนหลับ อธิบายไม่ถกู ความง่วงเหงาหาวนอนไม่รมู้ ันหายไปไหน บุรุษ : น่าลุ้นจริง ๆ ครับ ภิกษุ : ใช่ นอกจากน่าลุ้นแล้วช่วงนั้นยังเป็นหน้าร้อนด้วย ปรกติอาตมาจะปิด หน้ า ต่ า งด้ า นหั ว นอนเอาไว้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น ลมโกรก เดี๋ ย วจะไม่ ส บาย แต่หน้าต่างนอกนั้นจะเปิดหมด ช่วงที่ยังไม่หลับก็กำ�ไฟฉายไว้แน่น พลางประกาศกร้าวอยู่ในใจว่า ผีโผล่มาที่หน้าต่างเมื่อไหร่จะส่องดูหน้า มันเลย ดีเหมือนกันจะได้รู้ว่าผีมีจริง ตั้งแต่นี้ต่อไปถ้าจะกลัวจะได้กลัว 78 | Dhammascapes


แบบมีหลักฐาน บุรุษ : แล้วมีจริงไหมครับ ? ภิกษุ : คืนนั้นฝนตกหนัก ช่วงใกล้สางจึงหยุด พอฝนหยุดก็ได้ยินเสียงเหมือนมี ใครใส่รองเท้าแตะมาเดินอยู่หน้ากุฏิ เสียงดังแต๊บ ๆ ๆ กลับไปกลับมา เหมือนเดินจงกรม อาตมาก็พยายามนึกถึงความเป็นไปได้อื่น ๆ ของ แหล่งกำ�เนิดเสียง แต่นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก ก็มันเป็นเสียงรองเท้าแตะ ให้ได้ยินกันอยู่ชัด ๆ ก็เลยพิจารณาว่าผีที่ไหนจะมาเดินจงกรม ถ้า แม่อุ๊ยแกรู้จักเดินจงกรม รู้จักภาวนา คงไม่ต้องลงเอยแบบนี้ พอจวน จะตีห้าซึ่งเป็นเวลาของการทำ�กิจวัตรปัดกวาดศาลา อาตมาจึงเก็บ บริขารลุกออกจากกุฏิ ก็ปรากฏว่าเสียงลากรองเท้าแตะแต๊บ ๆ ๆ ที่เรา ได้ ยิ น เป็ น เสี ย งน้ำ � จากหลั ง คาที่ ห ยดลงมากระทบใบไม้ ใ บใหญ่ ๆ จนทำ�ให้เกิดเสียงดัง ไม่ใช่ผีสางที่ไหน บุรุษ : เฮ้อ ! ผมก็ลุ้นสุดตัวนึกว่าจะได้เจอผี ภิกษุ : หลังจากงานศพของแม่อุ๊ยผ่านไปได้ไม่นาน อยู่มาวันหนึ่งตอนกลางวัน แสก ๆ ลูกสาวของแม่อุ๊ยก็เข้ามาเก็บฟืนในป่าแถว ๆ กุฏิ คงจะเป็น ลู ก สาวคนโต เพราะคะเนดู อ ายุ แ ล้ ว ไม่ ห่ า งกั น มาก แล้ ว หน้ า ตาก็ เหมือนกันยังกับแกะ เห็นทีแรกนึกว่าใช่ หลังจากเดินทางออกจาก วั ด แห่ ง นั้ น มาได้ สั ก พั ก ใหญ่ อ าตมาก็ เ อะใจว่ า แม่ อุ๊ ย แกมี ลู ก สาว หรือเปล่า ? เพราะตลอดเวลาที่อยู่ที่นั่นไม่เคยได้ยินใครพูดถึงเลย บุรุษ : จบแบบทิ้งเป็นปริศนาเหมือนหนังฝรั่งเลยนะครับ ภิกษุ : Based on a true story…สร้างจากเรื่องจริง บุรุษ : งานศพของชาวกะเหรี่ยงเป็นยังไงบ้างครับ ? ภิกษุ : ทั้งโศกเศร้าและรื่นเริง เป็นโอกาสที่คนหนุ่มสาวจากต่างหมู่บ้านจะได้ มาเจอกัน เพราะเพลงสวดในงานศพที่เรียกว่าเพลงซอ ต้องให้ผู้หญิง จากหมู่บ้านอื่นที่ยังไม่แต่งงานมาทำ�หน้าที่ขับร้องเสียงประสาน งานนี้ สนทนาในป่าช้า | 79


พระไม่เกี่ยว ชาวกะเหรี่ยงเขามีประเพณีอย่างหนึ่งว่า ต้นไม้ต้นไหนที่ เคยมี ค นไปผู ก คอตายต้ อ งโค่ น ทิ้ ง ชาวบ้ า นเขาเล่ า ให้ ฟั ง ด้ ว ยว่ า เคยมีเจ้าของสวนนึกเสียดายต้นไม้จึงไม่ยอมให้ตัดและแกก็เห็นว่าเป็น เรื่องงมงายด้วย ไม่กี่เดือนต่อมาตัวแกเองก็ขึ้นไปห้อยต่องแต่งอยู่บน ต้นไม้ต้นนั้น เมื่อชาวบ้านมาขอตัดต้นไม้ ท่านพระอาจารย์เจ้าอาวาสก็ อนุโลมตามประเพณีของเขา น่าจะเป็นเพราะท่านเห็นว่าเราพึง่ มาอยูก่ บั ชาวบ้านได้ไม่นาน เขายังไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็น ประโยชน์ตามแนวทางของพุทธศาสนา ถ้าจะถือเอาแต่ของเราก็จะเป็น การหักหาญน้ำ�ใจกันเปล่า ๆ อีกอย่างเราก็ยังต้องเกี่ยวข้องกับเขาอยู่อีก ไม่น้อย บุรุษ : ตกลงต้องโค่นต้นไม้ทิ้งเลยหรือครับ ? ภิกษุ : ใช่ พอชาวบ้านเขาโค่นต้นไม้ลงแล้ว ท่านพระอาจารย์เจ้าอาวาสเห็นว่า ลำ �ต้นมีขนาดใหญ่พอจะนำ �มาใช้ประโยชน์ไ ด้ ท่านก็เอามาทำ �เป็น ตู้เก็บของ ยังใช้กันมาอยู่จนทุกวันนี้ แต่ท่านพระอาจารย์รองเจ้าอาวาส กลั บ ไม่ เ ห็ น ด้ ว ย ท่านเสนอให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศเสี ยงตามสายให้ ลูกบ้านทราบทั่วกันว่า ถ้าใครจะผูกคอตายครั้งต่อไปให้มาขออนุญาต ก่ อ น เพราะต้ น ไม้ ใ หญ่ ใ นวั ด มี น้ อ ย เสี ย ดาย เดี๋ ย วต้ อ งโค่ น กั น อี ก ถ้าจำ�เป็นต้องทำ�กันจริง ๆ ก็ให้ไปเลือกต้นไม้ในป่าบนภูเขาต้นใหญ่ ๆ งาม ๆ พอเสร็จธุระแล้วให้พากันโค่นตามประเพณี แล้วช่วยกันขนย้าย มาถวายวัด จะเอามาสร้างกุฏิให้พระเณรอยู่ บุรุษ : ถ้ารู้ที่มาที่ไปของกุฏิแล้วจะมีใครกล้าเข้าไปอยู่เหรอครับ ? ภิกษุ : บางคนเขาบอกว่าเอาของแบบนี้มาทำ�เป็นที่พักอาศัยมันไม่เป็นมงคล แต่อาตมาเห็นว่า ถ้าพระทีไ่ ปพักท่านเอาใจใส่ในข้อวัตรปฏิบตั ิ เสนาสนะ นั้น สถานที่นั้นมันก็เป็นมงคลขึ้นมาเอง บุรุษ : แต่มันน่าหวาดเสียวนะครับ 80 | Dhammascapes


ภิกษุ : พระฝรั่งท่านกล้าฝึกกล้าหัดนะ กุฏิหลังไหนที่มีคนผูกคอตายท่านจะเข้า ไปอยู่ อยู่ทั้ง ๆ ที่รู้นะไม่ใช่ไม่รู้ แล้วก็ไม่ใช่ไม่กลัว พึ่งจะย้ายศพออกไป ได้ไม่นานด้วย ท่านเล่าให้ฟังว่าก่อนจะจำ�วัดต้องมองดูเพดาน ดูว่ามี ตัวอะไรห้อยอยู่หรือเปล่า ผ้าที่เราเรียกกันว่าผ้าบังสุกุล ท่านก็ไปชัก บังสุกุลมาจากศพจริง ๆ เป็นผ้าด้ายดิบที่เขาใช้ห่อศพ เอามาซัก ตัด เย็บ ย้อมด้วยน้�ำ ฝาดแก่นขนุน แล้วก็เอามานุง่ ห่ม ท่านอยากรูว้ า่ มันจะส่งผล ต่อจิตของท่าน ต่อการปฏิบัติของท่านอย่างไร บุรุษ : น่าขนลุกนะครับ แล้วถ้าเจ้าของตามมาทวงคืนละครับจะทำ�ยังไง ? ภิกษุ : หุ หุ หุ ตัวใครตัวมัน

คลื่นเมฆทะมึนเคลื่อนมากระหน่ำ� ฝนห่าใหญ่พึ่งผ่านไปได้ไม่นาน ก้อนทรงกลมกลางอากาศสะอาด สะท้อนแสงแรงร้อนกลับเห็นเป็นนวลเย็นตา แมลงน้อยใหญ่บรรเลงเพลงไพรต่อเนื่อง มิรู้เหนื่อยล้า ไร้เสียงสุนัขหอนเห่า กบหนุ่มสาวร้องระงมระเริง ป่าช้าร่ายระบำ�บันเทิง ตีพิมพ์ครั้งแรก > Dhamma Design Issue 2 / ตีพิมพ์ครั้งที่สองและสาม > พ็อกเกตบุ๊กชื่อ แดนสนทนา / ตีพิมพ์ครั้งที่สี่ > ที่นี่ สนทนาในป่าช้า | 81


๐๗ Café del Dhamma: Part ๑ 82 | Dhammascapes


เรื่องและภาพ พุทธพร  สุวรรณกูล เดินทางจากเมืองไทยมาอยู่ ณ เมืองทีห่ ลายคนบอกว่า เป็นเมืองทีส่ วยและ น่าอยู่แห่งหนึ่งของโลก หนึ่งปีเต็มสามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำ�เลยว่า ออสเตรเลียน่าอยู่จริง ๆ อากาศแปรปรวนบ้างเป็นครั้งคราว แต่เวลาที่อากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟา้ แจ่มมาก ทีบ่ า้ นเราถ้าอยากเห็นท้องฟ้าสีฟา้ ต้องนัง่ รถลงมาจาก ที่ราบสูงไปแถบที่เขามีน้ำ�ทะเลกันโน่น ๘-๙ ชั่วโมงจึงจะได้นั่งชมฟ้าใสและ เกลี ย วคลื่ น อยู่ ที่ นี่ ถ้ า ว่ า งเมื่ อ ไหร่ ก็ เ ดิ น ไป Circular Quay (ออกเสี ย งว่ า “เซอร์คลู า คีย”์ นักท่องเทีย่ วนิยมออกเสียง “คีย”์ เป็น “เคว” จึงถามทางไปไม่คอ่ ย จะถึงเท่าไหร่) เป็นท่าเรือปากอ่าว เดิน ๑๐ นาทีจากใจกลางเมืองทีม่ ี Town Hall และ QVB หรือ Queen Victoria Building กว่าจะรู้ทิศรู้ทางในเมืองก็เล่นเอา ปวดหัวเหมือนกัน เพราะช่วงสามเดือนแรกเราเรียนอยู่ที่มหา’ลัยนอกเมือง บรรยากาศน่าจะประมาณศาลายาบ้านเรา เพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียนมาจากหลายทิศหลายทาง คุยกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่อง บ้าง เพราะต่างคนต่างต้องการมาเรียนภาษาอังกฤษ เป็นโอกาสดีเพราะทุกคน ชอบฝึกพูดภาษาอังกฤษกันทัง้ นัน้ แต่กไ็ ม่คอ่ ยพบในห้องเรียนสักเท่าไหร่ ยิง่ ถ้า มีเพื่อนสัญชาติเดียวกันอยู่ร่วมห้องแล้วล่ะก็ เป็นได้แอบกระซิบเป็นภาษาไทย บ้างเล็กน้อยพอไม่ให้ลมื โชคดีทใี่ นห้องมีเพือ่ นคนไทยอยูไ่ ม่กคี่ น เข้าเรียนวันแรก คุณครูถามถึงชื่อและอีกคำ�ถามหนึ่งก็คือ ทำ�ไมผู้หญิงไทยส่วนใหญ่มีส่วนหนึ่ง ของชื่อว่า PORN ซึ่งความหมายในภาษาอังกฤษและภาษาไทยต่างกันลิบลับ ภาษาอังกฤษแปลว่า ลามก เช่นเดียวกับ PORNO หรือ PORNOGRAPHY ส่วนภาษาไทยคงไม่ต้องแปลให้ฟัง เพราะมีความหมายลึกซึ้งถึงพระพุทธ ขอแนะนำ�ชื่ออันไพเราะของเราอย่างชื่นใจว่า พุทธพร เป็นชื่อที่หวานหยดย้อย แปลเป็นภาษาไทยก็คอื พรของผูร้ ู้ ผูต้ นื่ ผูเ้ บิกบานด้วยธรรม หลายเดือนผ่านไป Café del Dhamma: Part ๑ | 83


เมื่อได้รู้จักเพื่อนที่มาจากแถบอเมริกาใต้จึงทราบว่า คำ�ว่า PUTTA ในภาษา ของเขาแปลว่า BITCH เป็นคำ�ด่าผูห้ ญิงของฝรัง่ ดี ๆ นีเ่ อง แปลเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ก็คือ สุนัขตัวเมีย เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ถอนหายใจยาว ๆ อยากจะเปลี่ยนชื่อ ในพาสสปอร์ตและเอกสารทุกชนิดที่เป็นภาษาอังกฤษ เพียงแค่คิดก็ดูยุ่งยาก วุ่นวายเหลือเกิน สมัยอยู่เมืองไทยสงสัยอยู่เสมอว่า ทำ�อย่างไรจะสามารถพูดภาษาอังกฤษ ได้ เ หมื อ นกำ � ลั ง พู ด ภาษาไทย เวลามองดู พี่ ส าวพู ด ภาษาอั ง กฤษแล้ ว รู้ สึ ก อิจฉาเล็ก ๆ เกิดกำ�ลังทำ�ให้ลุกขึ้นมาอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษได้บ้างเป็น ครั้งคราว การงานที่ทำ�ในขณะนั้นก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษอยู่ตลอด เมื่ออ่าน รายงานภาษาอังกฤษก็เบลอร์กับความหมายจริง ๆ พอถึงคราวที่ต้องเขียน รายงานส่งกลับไป โหย...กินไม่ได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ขาดความมัน่ ใจ ไปชั่วขณะ ด้วยความอึดอัดในขณะทำ�งานวันละ ๘ ชั่วโมง สัปดาห์ละ ๕ วัน เมื่ อ เวลาผ่ า นไป ๑ รอบปี จึ ง ตั ด สิ น ใจพาตั ว เองไปพั ฒ นาภาษาอั ง กฤษ ยังต่างประเทศ ในที่สุดนกน้อยก็บินออกจากรังด้วยแผนการที่วางไว้ล่วงหน้า เพียง ๓ เดือน จากวันนั้นเวลาก็ได้ล่วงเลยมา ๑ ขวบปี แต่นกน้อยตัวนี้ก็ยังไม่มี แผนการจะบินกลับแต่อย่างใด ช่วงแรกที่มาอยู่ที่นี่จำ�เป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษเป็นเวลา ๑๐ สัปดาห์ แต่ก็ถือว่าโชคดีที่เลือกเรียนในมหา’ลัยที่มีอุปกรณ์ช่วยเหลืออย่างเหลือเฟือ เพือ่ นร่วมชัน้ เรียนมีทงั้ หมด ๑๒ คน ส่วนใหญ่เป็นชาวญีป่ นุ่ และเกาหลี มีบางส่วน ที่มาจากตุรกีและเวเนซุเอลา ขอบอกว่าการเรียนภาษาโดยไม่มีเพื่อนร่วมชาติ อยูใ่ นชัน้ เดียวกันนัน้ ได้ผลดีทเี ดียว เมือ่ จบการศึกษาภาคภาษาอังกฤษก็ตอ้ งย้าย โรงเรียนมาอยูย่ า่ นไชน่าทาวน์ใจกลางเมืองซิดนีย์ คงไม่ตอ้ งบอกว่าแตกต่างกัน เพียงใดกับสถานที่เรียนก่อนหน้านี้ เดินอยู่ตามถนนแถวโรงเรียนก็จะเห็นคน 84 | Dhammascapes


Café del Dhamma: Part ๑ | 85


86 | Dhammascapes


หน้าตาผิวพรรณคล้ายกับเราเพียงแต่พูดต่างภาษา  พอเข้าไปในโรงเรียนยัง นึกว่าอยูส่ ยามเซ็นเตอร์ นักเรียนไทยทีน่ กี่ ย็ วั้ เยีย้ ไปหมด แทบทุกคนทีม่ าเรียนต้อง ทำ�งานควบคูก่ นั ไปด้วยเพือ่ จ่ายค่าเทอมและค่าเช่าห้อง กฎหมายของทีน่ คี่ วบคุม ไม่ให้นักเรียนทำ�งานเกินสัปดาห์ละ ๒๐ ชั่วโมง แต่คนไทยซะอย่าง เรามีวิธี หางานทำ�ให้ได้มากกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว ถ้าไม่ทำ�อย่างนั้นก็จะไม่มีตังค์เหลือเก็บ กลับเมืองไทย แต่บางคนก็เผลอทำ�งานหนัก ๆ เพื่อให้มีเงินเก็บเยอะ ๆ เรา พยายามตั้งคำ�ถามกับตัวเองอยู่เสมอว่ามาทำ�อะไรที่นี่ ? ตอนนี้เหลือเวลาเรียน ด้าน Hospitality อีกเพียงเดือนเศษ ๆ ตอนแรกทีไ่ ด้ยนิ ชือ่ สาขานีก้ ต็ กใจว่า ตัวเอง จะไปเป็นพยาบาลหรือยังไง จริง ๆ แล้ว Hospitality หมายถึงการจัดการใน ร้านอาหาร ตัง้ แต่ผจู้ ดั การ พนักงานต้อนรับไปจนถึงเด็กเสิรฟ์ ขึน้ อยูก่ บั ว่าเรียนมา สูงแค่ไหน และมีประสบการณ์หรือเปล่า งานแบบนี้ที่เมืองไทยไม่เห็นต้องเรียน เพราะจัดว่าเป็นประเทศที่มีการบริการดีอยู่แล้ว พอเรียนใกล้จะจบจึงรู้ว่า สิ่งสำ�คัญของที่นี่คือประสบการณ์ในการทำ�งาน ซึ่งเราคงหมดหวัง ถ้าอย่างนั้น ขอเปลี่ยนไปเรียนอย่างอื่นแทนก็แล้วกัน

กฎหมายของที่นี่ควบคุมไม่ให้นักเรียนทำ�งาน เกินสัปดาห์ละ ๒๐ ชั่วโมง แต่คนไทยซะอย่าง เรามีวิธีหางานทำ�ให้ได้มากกว่าเกณฑ์อยู่แล้ว ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มอี ะไรให้ท�ำ หลายอย่าง แต่กต็ อ้ งคำ�นวณค่าใช้จา่ ย ซะก่อน เราได้ทำ�งานเป็นคนทำ�ความสะอาดสำ�นักงานหรือ Cleaner งานนี้ แตกต่างจากการทำ�งานในร้านอาหารที่เคยทำ�ลิบลับ เพราะเป็นงานที่ต้องทำ� Café del Dhamma: Part ๑ | 87


คนเดียวหลังจากทีท่ กุ คนเลิกงานแล้ว Cleaner แต่ละคนก็จะรับผิดชอบกันเป็น ชัน้ ๆ ไป บางครัง้ ก็สนุก บางคราวก็สยอง เพราะกว่างานจะเสร็จก็ปาเข้าไปเกือบ สามทุ่ม บางวันมีงานที่ต้องทำ�เป็นพิเศษก็จะดึกไปเรื่อย ๆ ข้อดีของงานนี้ก็คือ ใช้เวลาทำ�งานน้อยกว่าที่ทำ�ในร้านอาหารแต่ได้ค่าตอบแทนเท่ากัน และถ้า ไม่ชอปปิงมากนักก็จะพอมีตังค์เหลือเก็บสำ�หรับการเดินทางท่องเที่ยวบ้าง เราวางแผนการเดินทางคนเดียวครั้งแรกว่าจะไปเยี่ยมวัดที่เมือง Bundanoon ซึง่ ต้องนัง่ รถออกไปทางตอนใต้ของซิดนียเ์ ป็นเวลาประมาณ ๓ ชัว่ โมง ค่าใช้จา่ ย สำ�หรับการเดินทางในออสเตรเลียไม่ถูกเหมือนบ้านเรา และราคาก็จะแตกต่าง กันระหว่างพลเมืองกับนักท่องเที่ยว ยานพาหนะที่จ่ายค่าโดยสารถูกที่สุดก็คือ รถไฟ และยังเป็นการเดินทางที่ได้กินลมชมวิวนานคุ้มค่าจริง ๆ รถไฟในเมือง จะจอดทุก ๆ ๒ นาที แต่คราวนี้เป็นขบวนระยะไกลหวังว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เราเลือกนั่งรถไฟสาย Country link เพราะเน้นผู้โดยสารที่จะไปต่างเมือง สถานี ไ หนไม่ มี ค นขึ้ น -ลงก็ จ ะไม่ จ อด เมื่ อ โทร.ไปจองตั๋ ว จึ ง ทำ � ให้ ท ราบว่ า ความหวังอันสูงสุดที่จะได้นั่งรถไฟแบบเพลิน ๆ เป็นอันต้องสลาย เพราะสุด สัปดาห์นี้รถไฟเหลือแต่ราง แต่การรถไฟก็ยังให้บริการด้วยการนำ�รถทัวร์ขนาด ใหญ่หรือที่เรียกกันว่ารถ Coach มารับ-ส่งผู้โดยสาร โดยมีกำ�หนดการเดินรถ ตามตารางรถไฟแต่แล่นไปตามถนน และแวะจอดที่สถานีรถไฟตามปรกติ และแล้วเช้าวันเสาร์ก็มาถึง เราตื่นเต้นจนตื่นนอนก่อนนาฬิกาปลุก เตรียม ข้าวของแล้วจึงเปลีย่ นเสือ้ ผ้า ถึงแม้วา่ ฤดูหนาวจะผ่านไปแล้ว แต่คนไทยอีสาน อย่างเราก็ยังคงไม่แตะน้ำ�ในยามเช้า เราเดินทางไปยังสถานี Central station ซึ่งเป็นศูนย์รวมรถไฟสายต่าง ๆ ต้องไปให้ถึงสถานีก่อน ๖ โมงครึ่งเพื่อรับตั๋ว บรรยากาศยามเช้าไม่ว่าบ้านไหนเมืองไหนก็ให้ความรู้สึกสดชื่นเย็นสบาย ในเมืองซิดนีย์เช้านี้มีกลุ่มวัยรุ่นเดินเป๋อยู่ตามถนน ไม่ได้จะไปไหนกันหรอก เพิ่งเดินออกจากผับกลับบ้าน แต่เรากำ�ลังจะไปวัด เมื่อมาถึงสถานีต้องจ่าย 88 | Dhammascapes


ค่ า โดยสาร ๕๒.๘๐ ดอลลาร์ อ อสเตรเลี ย คิ ด เป็ น เงิ น ไทย ๑,๕๘๔ บาท เป็นราคาสำ�หรับตั๋วไป-กลับ อยู่ที่นี่ต้องพยายามระงับความคิดที่จะแปลง ค่าใช้จา่ ยต่าง ๆ เป็นเงินไทย มิฉะนัน้ จะไม่อยากทำ�อะไรทัง้ สิน้ นอกจากทำ�งาน ทั้งวันทั้งคืนเพื่อเก็บตังค์ ไปวัดคราวนี้เราไม่ได้ทำ�อาหารไปด้วย เพราะเท่าที่ ทราบมาพระที่วัดเป็นฝรั่ง ท่านรับเฉพาะอาหารมังสวิรัติ อีกอย่างก็ไม่ไว้ใจฝีมือ ทำ�อาหารของตัวเองด้วย ทางที่ดีก็คือซื้ออาหารสดไปจะดีกว่า เพื่อความ ปลอดภัยของพระและญาติโยม เมื่อได้ตั๋วเราก็เดินไปขึ้นรถแล้วเลือกที่นั่ง ด้านหน้าถัดจากคนขับ เพราะตั้งใจว่าจะถ่ายรูประหว่างทาง แต่พอรถออกจาก สถานีได้ไม่ถงึ ครึง่ ชัว่ โมง ตาก็เริม่ ลาย ปากเริม่ เผยอ น้�ำ ลายซึมออกมาโดยไม่รตู้ วั เป็นสัญญาณเตือนว่าควรจะหลับพักผ่อนอย่างเป็นทางการสัก ๑ ชั่วโมง

ในเมืองซิดนีย์เช้านี้มีกลุ่มวัยรุ่น เดินเป๋อยู่ตามถนน ไม่ได้จะไปไหนกันหรอก เพิ่งเดินออกจากผับกลับบ้าน แต่เรากำ�ลังจะไปวัด หลังจากพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม พอตื่นขึ้นมาก็เห็นสองข้างทางเต็มไปด้วย ต้นไม้ดอกไม้หลากสี นี่เป็นข้อดีของการเดินทางในช่วงต่อระหว่าง Winter กับ Spring สีสันจากสองฟากถนนทำ�ให้เราเพลิดเพลินกับการนั่งรถจนรู้สึกว่าเวลา ๓ ชั่วโมงไม่นานอย่างที่คิด เมื่อรถแล่นมาถึง Bundanoon ซึ่งเร็วกว่ากำ�หนด ๕ นาที เราก็ออกเดินเล่นบนถนนสายสำ�คัญของ Suburb แห่งนี้ ซึ่งมีขนาด ไม่ตา่ งจากหมูบ่ า้ นในชนบทของเมืองไทย Bundanoon มีถนนสายหลักหนึง่ สาย เป็นที่ตั้งของร้านขายของชำ� ร้านอาหาร ร้านหนังสือ ร้านดอกไม้ และไปรษณีย์ Café del Dhamma: Part ๑ | 89


อย่างละ ๑ แห่ง ดูน่ารักและอบอุ่น สิ่งที่น่ารักของวัฒนธรรมที่นี่ก็คือเวลา พบกันจะทักทายกันด้วยคำ�ว่า สวัสดีสบายดีหรือเปล่า ? วันนี้เป็นไงบ้าง ? แม้แต่การไปจ่ายตังค์ในซูเปอร์มาเกตก็ยงั ได้ฝกึ ภาษาสัน้ ๆ ด้วยการตอบคำ�ถาม คนเก็บตังค์ว่า Good, thanks and you? ตอนแรกเราตั้งใจว่าจะเดินไปที่วัด แต่พอทราบว่าใช้เวลาเดิน ๔๕ นาที จึงเปลี่ยนใจ ขอใช้บริการรถมารับจะดีกว่า โชคดีที่ติดต่อเอาไว้ล่วงหน้า ทางวัด จึงส่งโยมผูห้ ญิงมารับ เธอชือ่ Nathacha เป็นครูสอนศิลปะเด็กทีโ่ รงเรียนในเมือง ที่อยู่ติดกัน เมื่อไปถึงวัด Natch แนะนำ�ให้รู้จักแม่ชี ปะขาว และโยมที่มาปฏิบัติ ธรรมที่วัด  จากนั้นก็พาเดินชมสถานที่  กุฏิสำ�หรับโยมอยู่ไม่ห่างจากศาลานัก เรียกว่าศาลาแต่มีลักษณะเป็นบ้านสองชั้น  ชั้นล่างแบ่งเป็นหลายห้อง  มีห้อง ทำ�งานซึ่งกำ�ลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง ห้องโถงสำ�หรับญาติโยม และห้องครัว ที่สะอาดเป็นระเบียบ มีป้ายเขียนบอกไว้ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร เหมือนสมัยที่ เมืองไทยนิยม ๕ ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) ในสำ�นักงานมาดูชั้นบนกันบ้าง ศาลาชั้นบนแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหน้า เป็ น ห้ อ งสวดมนต์ ทำ � วั ต รและฟั ง พระธรรมเทศนา ส่ ว นหลั ง เป็ น บริ เ วณที่ พระนั่ ง ฉั น ภั ต ตาหาร ผนังของศาลาใช้วัส ดุที่เป็นกระจกและอิ ฐเพื่ อรั กษา ความอบอุ่น วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่รอบ ๆ เป็นเนินเขาและป่า มีต้นไม้ประดับอยู่ทุกระดับสายตา ตั้งแต่ต้นไม้ใหญ่สูงลิบเรื่อยไปถึงดอกไม้ป่า ตามพืน้ เป็นพุม่ ๆ ระยะทางระหว่างศาลากับกุฏสิ �ำ หรับโยมอยูห่ า่ งกันประมาณ ๑ หอบ ไม่ถือว่าไกลแต่ที่หอบเพราะเป็นเนินเขา กุฏิเป็นรูปทรง ๖ เหลี่ยม ภายในโอ่โถง ประตูเป็นกระจกสามารถมองเห็นวิวด้านนอกได้อย่างชัดเจน ส่วนกุฏหิ ลังอืน่ ก็ตงั้ อยูไ่ ม่ไกลนัก กลางวันก็ดสู งบร่มรืน่ แต่กลางคืนนีส่ ยิ งั ไม่แน่ใจ ว่าจะเป็นยังไง บรื๋ออออ 90 | Dhammascapes


ที่วัดมีพระฝรั่ง ๓ รูป ปะขาวหรือผู้ชายเตรียมบวช ๒ คน แม่ชี ๓ ท่าน และโยมที่มาปฏิบัติธรรมอีก ๒ ท่าน ส่วนใหญ่เป็นชาวออสซี ที่นี่จะรับอาหาร ๒ รอบคือ ๗ โมงเช้ากับ ๑๑ โมง รอบแรกจะเป็นอาหารเช้าแบบฝรั่ง อาทิเช่น Cereal ข้าวโอ๊ต ผลไม้ นม กาแฟ และน้ำ�ผลไม้ ในการถวายอาหาร พระจะรับ ประเคนแล้ววางไว้บนโต๊ะ จากนั้นจึงจะเดินตักใส่ลงในบาตร การถวายอาหาร รอบที่สองก็จะทำ�แบบเดียวกัน แต่อาหารจะหนักขึ้นมาหน่อยเช่น ซุปผัก ซุปถั่ว รวมมิตร สลัด และขนมปัง อาหารมีอยู่ไม่กี่ชนิดแต่มั่นใจได้ว่าครบทุกหมู่ ก่อนรับอาหารทุกคนจะมานั่งรวมกันเพื่อรับพร เมื่อทานอาหารเสร็จแล้ว ทุกคน จะช่วยกันเก็บจาน ล้างจาน ตามวัฒนธรรมของที่นี่ หลังอาหารจะเป็นน้ำ�ชา กาแฟ หรือน้ำ�ผลไม้ ซึ่งก็ทำ�ให้อิ่มยิ่งขึ้น ทุกเย็นวันเสาร์จะมีการสวดมนต์ ทำ�วัตร ฟังพระธรรมเทศนา และนั่งสมาธิ เรารู้สึกเขินนิด ๆ เพราะไม่ได้นั่งสมาธิ อย่างเป็นทางการมานานแล้ว เมื่อได้สวดมนต์แปลบาลี-อังกฤษ รู้สึกแปลก แต่ก็ทำ�ให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น

ชีวิตคนรุ่นใหม่มีหลายทางเลือก มีหลายสิ่งผ่านเข้ามาในชีวิตจนทำ�ให้ไม่รู้ว่า ขณะนี้เกิดอะไรขึ้น บางครั้งพวกเขาก็ลืมว่า กำ�ลังทำ�อะไรอยู่ เป็นเรื่องโชคดีที่เลือกเดินทางไปวัดในช่วงสุดสัปดาห์นี้ เพราะงาน Katina หรืองานกฐินของทางวัดตรงกับวันอาทิตย์พอดี  เราเองรู้สึกตื่นเต้นเพราะ แม่ ชี บ อกว่ า ปี ที่ แ ล้ ว มี ค นมาร่ ว มงานเยอะ ประมาณ ๕๐ คนเห็ น จะได้ ก่อนวันงาน ทั้งพระและญาติโยมต้องช่วยกันทำ�ความสะอาดจัดเตรียมสถานที่ เพื่ อ ต้ อ นรั บ พุ ท ธศาสนิ ก ชน เรากั บ ปะขาวชาวซิ ด นี ย์ วั ย ๑๘ ปี ชื่ อ David Café del Dhamma: Part ๑ | 91


ได้รับมอบหมายให้ปัดกวาดบริเวณหน้าศาลาและจัดรองเท้าให้เป็นระเบียบ จึงเป็นโอกาสให้เราได้พูดคุยถึงความเป็นมาเป็นไปในพุทธศาสนาของเขาด้วย สมัยเรียนชั้นมัธยม David สนใจเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณ (Spiritual) หลังจากอ่านหนังสือและศึกษามาระยะหนึ่งก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่ค้นหา เมื่อ David เข้าไปค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดชาวพุทธที่ซิดนีย์ ก็รู้สึกเหมือนได้ค้น พบบางสิ่งที่ขาดหายไปและกำ�ลังตามหาอยู่ ตอนอายุ ๑๔ ปี David ได้ข้อมูล ของวัดแห่งนี้จึงเดินทางมาปฏิบัติธรรม David เล่าถึงการปฏิบัติของที่นี่ว่า “ท่านอาจารย์ให้อิสระในการฝึกฝนตนเอง เหมือนที่ท่านอาจารย์ชาบอกไว้ว่า พระพุทธเจ้าชี้ทางให้แล้ว เราต้องเดินตามทางนั้นด้วยตัวเอง” ในช่วง Vassa หรือเข้าพรรษามีเวลาฝึกสมาธิถึงวันละ ๖-๘ ชั่วโมง เมื่อถามถึงการนั่งสมาธิ David บอกว่า “ตัวเองเปลี่ยนไป จากที่เมื่อก่อนรู้สึกเหมือนวิ่งตามสิ่งต่าง ๆ และมีความทุกข์กับสิ่งรอบตัว เมื่อฝึกสมาธิแล้วได้เรียนรู้ถึงความไม่แน่นอน ความไม่ยงั่ ยืน และสมาธิกท็ �ำ ให้เกิดสติ สติท�ำ ให้เรามองเห็นสิง่ ต่าง ๆ เป็นส่วน ๆ และสามารถปล่อยมันไปได้ ชีวิตคนรุ่นใหม่มีหลายทางเลือก มีหลายสิ่งผ่าน เข้ามาในชีวิตจนทำ�ให้ไม่รู้ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้น บางครั้งพวกเขาก็ลืมว่ากำ�ลัง ทำ�อะไรอยู่ พวกเขาติดยึดกับสิ่งที่กำ�ลังทำ� การรู้จักตัวเองเป็นสิ่งสำ�คัญ ถ้าเรา ไม่ได้ฝึกสติบางครั้งเราก็ทำ�ร้ายคนอื่นโดยไม่รู้ตัว การฝึกสติเพียง ๕ นาทีก็ยัง ดีกว่าไม่ได้สงบสติอารมณ์เลยตลอดวัน” คนส่วนใหญ่คิดว่าการนั่งสมาธิจะทำ�ให้ความสนุกสนานในชีวิตประจำ� วันลดลง จากประสบการณ์ของคนที่ฝึกสมาธิมา ๔ ปีอธิบายว่า “ความสนุก สนานในชีวิตประจำ�วันจะเปลี่ยนไปในแต่ละวัน และต้องการเงื่อนไขมากขึ้น ความสุขแบบนี้จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันเรากลับ ต้องการรักษามันให้คงอยู่ ความสุขแบบทีว่ า่ นีจ้ งึ กลายเป็นความทุกข์ เพราะเรา 92 | Dhammascapes


เข้าไปผูกพันมากเกินไป ส่วนความสนุกที่เกิดจากการนั่งสมาธิ คือความสนุก กับการฝึกปลดปล่อยสิ่งต่าง ๆ ที่เรายึดเอาไว้ออกไปจากจิตใจ อาจจะเป็นการ ยากสำ � หรั บ วั ย รุ่ น ที่ จ ะมองเห็ น ประโยชน์ จ ากการฝึ ก ปฏิ บั ติ ใ นพุ ท ธศาสนา เพราะพุทธศาสนาเต็มไปด้วยขนบธรรมเนียม จนบางครั้งกลายเป็นกำ�แพงกั้น พวกเขาเอาไว้อีกฝั่งหนึ่ง คนภายนอกมองว่าพุทธศาสนาดูเหมือนเป็นเรื่อง เกีย่ วกับพิธกี ารทางศาสนา อยากให้มกี ารอธิบายว่านัน่ เป็นเพียงส่วนหนึง่ เท่านัน้ เป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของชาวตะวันตก เพราะถ้าใครสนใจพุทธศาสนา จะต้ อ งพยายามขวนขวายหาข้ อ มู ล ด้ ว ยตนเอง ท่ า นอาจารย์ ช าพู ด ไว้ ว่ า “ศาสนาพุทธในโลกตะวันตกเหมือนต้นไม้เล็กที่กำ�ลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนศาสนาพุทธในเมืองไทยเหมือนต้นไม้ใหญ่สูงอายุที่เต็มไปด้วยส่วนที่กำ�ลัง จะตาย” David กล่าวทิ้งท้ายพร้อมเปิดเผยถึงความมุ่งมั่นที่จะบวชเป็นพระ ในอีก ๕ เดือนข้างหน้า จากการที่ได้พูดคุยกับชาวต่างชาติเกี่ยวกับพุทธศาสนาทำ�ให้เรารู้สึก เขินอายอีกรอบ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเกิดและโตมากับวัดกับวา ตอนเป็นเด็กเวลาเล่น เป็นพระก็สวดให้ศีลให้พรพร้อมทำ�เสียงอย่างกับหลวงตามาเอง แต่บ่อยครั้งที่ ไม่เข้าใจหรือสามารถนำ�คำ�สั่งสอนเหล่านั้นมาใช้กับชีวิตประจำ�วันได้ เรารู้สึก เหมือนได้รับการเตือนสติแรง ๆ อีกครั้งหนึ่งว่า เราก็เป็นชาวพุทธ

Café del Dhamma: Part ๑ | 93


๐๘ Café del Dhamma: Part ๒ 94 | Dhammascapes


ก่อนออกพรรษา มีชายหนุ่มอายุ ๒๗ ปีชาวออสซีเชื้อสายจีนคนหนึ่ง มาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดเป็นเวลา ๓ สัปดาห์ และยังไม่มีกำ �หนดการกลับที่ แน่ น อน เพราะอยู่ ใ นช่ ว งว่ า งหลั ง ลาออกจากบริ ษั ท แห่ ง หนึ่ ง ในตำ � แหน่ ง ผู้จัดการฝ่ายขาย ประชากรชาวเอเชียในเมืองซิดนีย์ส่วนใหญ่จะเป็นคนจีน ตอนที่เรามาถึงที่นี่ใหม่ ๆ กำ�ลังร้อนงาน จึงลองไปสมัครตามร้านอาหารใน ฟู ด คอร์ ต ของห้ า งสรรพสิ น ค้ า ใกล้ บ้ า น ซึ่ ง ไม่ มี ร้ า นอาหารไทยอยู่ เ ลย แต่ อย่างน้อยมีร้านอาหารเอเชียก็ยังพอได้ลุ้น ทว่าคุณสมบัติสำ�คัญของผู้ที่จะ เข้ามาทำ�งานในร้านอาหารย่านนี้ก็คือ ต้องพูดภาษาจีนได้ งงค่ะ ! รู้อย่างนี้ เรียนภาษาจีนก่อนจะมาที่นี่ก็คงดี ขอกลับเข้าวัดเพื่อเล่าถึงเพื่อนร่วมศาสนา ชาวจีนคนนี้ สิง่ แรกทีเ่ ราสงสัยคือเขามาปฏิบตั ธิ รรมได้อย่างไร ? Lionel เล่าว่า “เป็นเรือ่ ง ซับซ้อน เริ่มจากความสนใจด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คิดว่าเป็นสิ่งที่ควร ได้ รั บ การดู แ ล จึงเลือ กเรีย นวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้ อม พอเรี ยนไปเรื่ อย ๆ ก็เริ่มรู้สึกว่าเป็นคอร์สที่ดี แต่คนส่วนใหญ่ในสาขานี้เมื่อพบเห็นคนอื่นทำ�ลาย สิ่ ง แวดล้ อ ม จะมองว่ า เขาเหล่ า นั้ น เป็ น คนร้ า ย และจะโกรธเกลี ย ดชั ง อยู่ ตลอดเวลา จึงทำ�ให้ตัวเองรู้สึกไม่เข้าใจและพยายามหนีออกมาจากกลุ่มคน กลุม่ นัน้ จากนัน้ ได้เรียนด้าน Organic Gardening ซึง่ วิชานีส้ อนว่า การทีจ่ ะเป็น คนจัดสวนที่ดี คุณต้องดูแลและควบคุมจิตใจของตัวเองให้ดีเสียก่อน พัฒนา ตนเองแล้วจึงไปพัฒนาชุมชน เพราะทุกสิง่ มีความเกีย่ วเนือ่ งสัมพันธ์กนั ไป ไม่ใช่ การสร้างโครงการต่าง ๆ ให้กบั รัฐบาลเพือ่ แก้ปญ ั หา แต่เป็นการแก้ปญ ั หาให้กบั ตัวเองก่อน คุณจึงจะสามารถช่วยเหลือคนรอบข้างได้ แล้วสังคมจึงจะพัฒนา หลายสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวิชานี้ตรงกับคำ�สอนของศาสนาพุทธ จึงเป็นเหตุให้สนใจ ศาสนาพุทธ เหมือนที่พระอาจารย์ที่วัดนี้บอกว่า เรามาวัดไม่ใช่เพื่อมุ่งที่จะมา นั่งสมาธิเป็นสิ่งสำ�คัญ  แต่มาเพื่อฝึกมองความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ใน Café del Dhamma: Part ๒ | 95


96 | Dhammascapes


มุมมองที่แตกต่างออกไป หลังจากนั้นจึงตัดสินใจเปลี่ยนไปเรียนการแพทย์ แผนจีน เพราะคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน รวมทั้งได้ข้อมูลจากชมรม ชาวพุทธในมหาวิทยาลัย และได้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมเป็นเวลา ๗ วัน ได้ฝึก สมาธิอย่างเต็มที่และสนทนาธรรม ทำ�ให้รู้สึกดีมาก ๆ” เมื่อถามถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ Lionel บอกว่า “สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ความโกรธลดลง เมื่อก่อนรู้สึกว่าตัวเองเป็น คนขี้โกรธและมักจะพูดจาไม่ดีออกไป แต่ตอนนี้รู้สึกว่าไม่รู้จะโกรธไปเพื่ออะไร รู้สึกโง่ที่จะโกรธ การทำ�สมาธิจำ�เป็นสำ�หรับทุกคน ยิ่งเราได้รับความกดดันมาก ผลกระทบต่อจิตใจก็จะมากตามไปด้วย การฝึกสมาธิท�ำ ให้ใจของเรานิง่ สิง่ ทีม่ า กระทบจิตใจจะต้องมีก�ำ ลังมากพอทีจ่ ะทำ�ให้เกิดปฏิกริ ยิ ากับจิต บางครัง้ คนเรา ก็ตอบโต้ออกไปโดยทีไ่ ม่รตู้ วั และกลายเป็นปฏิกริ ยิ าอัตโนมัติ จนไม่รวู้ า่ มีสาเหตุ อะไรที่ตอบโต้ออกไปเช่นนั้น สุดท้ายกลายเป็นการวิ่งตามไปเรื่อย ๆ เราจะไม่มี วันได้พบความสุขทีแ่ ท้จริง หากเราไม่รวู้ า่ เราคือใคร ทำ�อะไร และต้องการอะไร” การปฏิบัติสมาธิภาวนาทำ�ให้ความสนุกสนานในวัยหนุ่มสาวลดลงหรือ เปล่า ? เราถามออกไปตรง ๆ Lionel ตอบจากประสบการณ์ว่า “เราจะรู้สึกว่า ความสนุกสนานลดลงในช่วงสั้น ๆ เพราะเมื่อก่อนเรามีขอบเขตของความสุข ที่แน่นอนแต่ตื้นเขิน จึงต้องการตัวกระตุ้นความสุขตลอดเวลา คล้ายกับเรา ได้สนุกกับปาร์ตี แต่เมื่อจบงานปาร์ตีเราก็เริ่มรู้สึกเบื่อ จริง ๆ แล้วความสุขมี หลายระดับ เพียงแค่ทดลองดู ไม่ตอ้ งเชือ่ คำ�พูดของพระพุทธเจ้าหรือศาสนาใด ๆ ไม่ต้องฟังความคิดเห็นของเขาหรือของใคร ๆ ขอแค่ให้ลองศึกษาและลงมือ ปฏิ บั ติ ด้ ว ยตั ว เราเอง ทุ ก คนมี ส มองและความคิ ด เป็ น ของตนเองอยู่ แ ล้ ว ” Lionel เชื่อว่า ทุกคนที่ได้ลองปฏิบัติจะพบบทสรุปที่คล้ายกัน เป็นอีกหนึ่ง ความเห็ น ของผู้ ที่ ฝึ ก ปฏิ บั ติ ส มาธิ ภ าวนามาเป็ น เวลา ๘ ปี แรกฝึ ก สมาธิ Café del Dhamma: Part ๒ | 97


เขาก็ยังไม่มั่นใจว่ามันใช่หรือเปล่า แต่ก็พยายามฝึกควบคู่ไปกับการหาความรู้ เพิม่ เติมจากแหล่งอืน่ ๆ Lionel มีความคิดทีจ่ ะบวชเป็นพระ เพราะอยากรูถ้ งึ ผล ของการปฏิบัติว่าจะแตกต่างกันอย่างไร และเราจะได้อะไรบ้างจากการใช้ชีวิต แบบพระ ๆ ซึ่งคงจะทำ�ให้ตัดสินใจได้ว่าอยากทำ�อะไรกับชีวิตต่อไปในอนาคต บ่ายวันเสาร์ ผู้คนเริ่มทยอยมาที่วัดเพื่อฝึกปฏิบัติและฟังธรรมในช่วง กลางคืน ส่วนใหญ่จะมาจากซิดนีย์และแคนเบอร์รา เพราะทั้งสองเมืองนี้ อยู่ห่างจากวัดพอ ๆ กัน เราได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่เดินทางมาจากซิดนีย์แต่คนละ เที่ยวรถ Palle บอกด้วยน้ำ�เสียงเหน่อ ๆ แบบชาวสแกนดิเนเวียว่า กำ�ลังจะ สำ�เร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในซิดนีย์ สาขา Film and Media เราเองรู้สึก ตื่ น เต้ น และฟั ง ไม่ เ ข้ า ใจอยู่ บ้ า ง เมื่ อ ภาษาอั ง กฤษสำ � เนี ย งไทยมาเจอกั บ ภาษาอังกฤษสำ�เนียงเดนนีช ผลจะเป็นอย่างไรโปรดติดตาม...ตอนนี้แหละ

เรามีขอบเขตของความสุขที่แน่นอนแต่ตื้นเขิน จึงต้องการตัวกระตุ้นความสุขตลอดเวลา คล้ายกับเราได้สนุกกับปาร์ตี แต่เมื่อจบงานปาร์ตีเราก็เริ่มรู้สึกเบื่อ เมื่อเพื่อนสนิทของ Palle บอกว่า มีสถานที่ที่สามารถฝึกสมาธิและสนทนา ธรรมได้ Palle จึงเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ และนี่เป็นครั้งแรกที่มาคนเดียว Palle เคยฝึกปฏิบัติมาบ้างที่กัวลาลัมเปอร์ รวมทั้งในมหา’ลัยก็มีชมรมชาวพุทธ ด้วย มีสมาชิกของชมรมอยู่ประมาณ ๘๐ คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาศิลปะ เนื่องจากในหลักสูตรมีวิชาที่ต้องเรียนหนึ่งวิชาคือพุทธศาสนา เราเองจำ�ได้ว่า 98 | Dhammascapes


Café del Dhamma: Part ๒ | 99


100 | Dhammascapes


สมั ย เรี ย นมหา’ลั ย มี วิ ช าเกี่ ย วกั บ พุ ท ธศาสนาหลายวิ ช า ซึ่ ง เป็ น วิ ช าเลื อ ก ยอดนิยมของนักศึกษา เพราะเรียนทีไรเกรดออกมาสวยงามกันทุกคน เรียกว่า เรียนสนุกลุกนั่งสบาย Palle ขยายความต่อไปว่า “เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ของนักเขียนชาวอเมริกันชื่อ Jack  Karoac เป็นเหตุให้เริ่มสนใจพุทธศาสนา เมื่อย้ายมาเรียนที่ออสเตรเลียก็ได้รู้จักเพื่อนหลายคนในชมรมชาวพุทธ จึงมี โอกาสได้ศึกษามากขึ้น ตอนนี้ ฝึกสมาธิติดต่อกันมา ๖ เดือนแล้ว” เมื่อถามถึง ผลของการฝึกสมาธิ Palle บอกว่า “บางครั้งไม่ประสบความสำ�เร็จ แต่ก็รู้สึก ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของจิตใจในแต่ละครั้งที่นั่งสมาธิ บางครั้งรู้สึกเหมือน ได้ ป ลดปล่ อ ยความคิ ด จนกระทั่ ง ไม่ คิ ด อะไรเลย เหมื อ นตั ว เองไปอยู่ ใ น อีกที่หนึ่ง ตั้งใจว่าจะฝึกสมาธิต่อไปเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ�วัน เพราะหลังจากนั่งสมาธิ (ครั้งที่สำ�เร็จ) รู้สึกว่าจิตใจมีพลังมากขึ้น การนั่งสมาธิ มีประโยชน์มากสำ�หรับคนรุ่นใหม่ เพราะปัจจุบันเราจะวิ่งตามสิ่งต่าง ๆ และยุ่ง วุ่นวาย” Palle ฝากบอกทุกคนว่า “แต่ละคนควรศึกษาและทำ�ความเข้าใจ พุทธศาสนาในรูปแบบของตัวเองเพราะบางครั้ง ตัวเองก็ยังรู้สึกว่าศาสนาพุทธ เป็นปรัชญาและห่างไกลจากชีวิตจริง มีเหมือนกันที่เพื่อนถามเกี่ยวกับคำ�สอน ทางพุทธศาสนา บ่อยครั้งที่ตัวเองตอบว่าไม่รู้ แต่ถึงอย่างไรก็ยังรู้สึกว่าการ ฝึกสมาธิมีประโยชน์กับชีวิตประจำ�วันของตัวเอง” ช่วงสายวันอาทิตย์ เริ่มมีผู้คนเดินทางมาพร้อมกับข้าวหม้อแกงหม้อเพื่อ ถวายพระและแจกญาติโยม ต้องยอมรับว่าผูค้ นทีน่ หี่ ลากหลายจริง ๆ เท่าทีเ่ ห็น ก็มชี าวฝรัง่ เศส อินเดีย จีน เวียดนาม มาเลเซีย เมือ่ ได้เวลาอันสมควรทุกคนก็ไป นัง่ รวมกันบนศาลาเพือ่ สวดมนต์ วันนี้ ทางโรงครัวของวัดได้หงุ ข้าวแล้วตักใส่จาน แจกทุกคนเพื่อให้มีโอกาสได้ทำ�บุญตักบาตร เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เราได้เห็น ภิกษุณจี ากทิเบตออกรับบิณฑบาต ท่านใส่จวี รสีแดงเข้มดูเท่ดี วันนีม้ อี าหารจาก หลายชาติเลยทีเดียว ทีข่ าดไม่ได้กค็ อื อาหารไทยจากร้านอาหารในเมือง Bowral Café del Dhamma: Part ๒ | 101


ซึง่ อยูไ่ ม่ไกลจาก Bundanoon เท่าทีส่ งั เกตมีครอบครัวคนไทยมาร่วมงาน อยู่ ๓ ครอบครัว หนึง่ ในจำ�นวนนัน้ คือครอบครัวของแม่อดู๊ เจ้าของร้านอาหารไทยทีท่ �ำ แกงเขียวหวานมาถวายพระ เพราะรูว้ า่ เป็นของโปรดของชาวต่างชาติ แม่อดู๊ เป็น ครูสอนภาษาอังกฤษตอนอยู่เมืองไทย มาอยู่ที่นี่ไม่ต่ำ�กว่าสิบปีแล้ว แม่อู๊ดเปิด ร้านอาหารไทยซึ่งมีอยู่เพียงร้านเดียวในเมือง Bowral ตอนนี้มีลูกชายสองคน ช่วยกันดูแลกิจการ และนี่คือ Anthony ชายหนุ่มอายุ ๒๖ ปี ลูกชายคนโตของ แม่อู๊ด Anthony เล่าความหลังเมื่อครั้งอยู่เมืองไทยว่า “จริง ๆ แล้วไม่เคยรู้ ความหมายของการไปวัด หรือการเป็นชาวพุทธสักเท่าไหร่ แต่ไปวัดเพื่อทำ�บุญ ตามปรกติกม็ คี วามสุขแล้ว เคยบวชมาแล้ว ๒ ครัง้ เพราะฝันว่าอยากเป็นสามเณร ใจสิงห์ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ คิดเพียงว่าศาสนาพุทธก็เหมือนศาสนาอื่น ๆ คนจะ เข้าสู่ศาสนาเมื่อมีความทุกข์เท่านั้น” Anthony เปรียบพุทธศาสนาว่า “เหมือน แสงเทียนตอนกลางวันที่เราไม่เคยมองเห็น ต่อเมื่อชีวิตตกอยู่ในความมืดเรา จึงจะมองเห็นแสงเทียนนั้น” 102 | Dhammascapes


แม่อดู๊ เท้าความหลังเพิม่ เติมว่า “คนโบราณไปวัดเพือ่ นำ�อาหารไปถวายพระ แต่ไม่เคยสนทนาธรรมหรือปรารภถึงคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า” Anthony เล่าต่อไปว่า “เมือ่ มาอยูท่ นี่ จี่ ะมีโอกาสได้เจอคนต่างเชือ้ ชาติตา่ งศาสนา ทำ�ให้รวู้ า่ เพื่อนต่างศาสนาคิดอย่างไรกับชีวิต กับศาสนาของเรา สิ่งหนึ่งที่รู้ก็คือศาสนา พุทธไม่ได้สร้างความเชื่อให้กับคนที่นับถือ แต่ศาสนาพุทธสร้างความเข้าใจ ทำ�ให้เราอยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากศาสนาอื่น” Anthony เคยมา อยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ในช่วงเข้าพรรษา ได้ฝึกสมาธิภาวนา ในถ้ำ�และอยู่กับสัมภาระที่จำ�เป็นเพียงเล็กน้อย ทำ�ให้รู้ว่าจริง ๆ แล้วมีเราเพียง คนเดียวเท่านั้นที่จะทำ�ให้ตัวเองมีความสุข และเป็นความสุขที่มาจากด้านใน ของจิตใจ “ผมได้อะไรหลายอย่างจากการนั่งสมาธิ และเริ่มมองสิ่งต่าง ๆ

การนั่งสมาธิมีประโยชน์มากสำ�หรับคนรุ่นใหม่ เพราะปัจจุบันเราจะวิ่งตามสิ่งต่าง ๆ และยุ่งวุ่นวาย แตกต่างออกไป เพราะมีโอกาสได้ไตร่ตรอง รู้สึกเหมือนร่างกายมีแอนติบอดี ความสุขของคนทั่วไปมาจากภายนอกหรือคนรอบข้าง แต่เวลามีสมาธิ มีสติ แล้วเกิดปัญญา ความสุขจะมาจากข้างใน จริงอยูเ่ มือ่ เราออกไปเทีย่ วกับเพือ่ น ๆ ความสนุกสนานจะลดลงบ้าง เพราะเราจะมองอย่างระมัดระวังและไม่ยึดติด กับสิ่งเหล่านั้น คนรอบข้างอาจจะมองว่าเราเปลี่ยนไปหรือดูเฉยเมยเหมือน ไม่มีความสุข จริง ๆ แล้วเราก็ยังเป็นคนเดิม เพียงแต่แง่มุมของความคิด เปลี่ยนไป ในบางครั้งผมก็นึกถึงสิ่งที่เคยทำ�ผ่านมา เวลามีความทุกข์ก็มัก Café del Dhamma: Part ๒ | 103



จะไปเที่ยวดื่มกินกับเพื่อนฝูงเพื่อให้ตัวเองลืมความทุกข์ แต่สิ่งหนึ่งที่คิดได้ก็คือ ทุ ก สิ่ ง มี จุ ด สิ้ น สุ ด ไปดื่ ม เหล้ า พอเมาแล้ ว ก็ ก ลั บ บ้ า น ตื่ น ขึ้ น มาทรมานกั บ อาการเมาค้าง แล้วความสุขเมื่อคืนก็หายไป ก็ต้องออกไปเที่ยวดื่มกินอีก หากคิดว่าสิ่งนี้คือความสุข ก็ต้องทำ�อย่างนี้ทุกคืนไม่มีที่สิ้นสุด” เป็นอีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับพุทธศาสนาจากชาวไทยในต่างแดน ที่ใช้ชีวิต คลุกคลีกับวัดวามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งก็ไม่ต่างจากเรามากนัก บางครั้งรู้สึกอยากไป ทำ�บุญ อยากเตรียมของถวายพระ และรู้สึกสบายใจหลังกลับจากทำ�บุญที่วัด แต่เมื่อบอกเพื่อน ๆ ว่าวันนี้เราไปวัดมา ก็มักจะมีเสียงโห่ฮาแล้วตามด้วย คำ�ถามประเภทที่ว่า จริงเหรอ ? ไม่รู้สึกร้อนบ้างเหรอเวลาเข้าวัด ? เราก็ได้แต่ ตอบในใจว่า รู้สึกสงบมากกว่า ที่ต้องตอบในใจก็เพราะถ้าตอบออกไปจริง ๆ คงจะมีคนอ้วกเป็นแน่ คนไทยรู้จักพุทธศาสนามาช้านาน แต่เรามองพุทธศาสนาแตกต่างกัน ออกไป คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงหากเราจะศึกษาคำ�สอนของพระพุทธเจ้าเพื่อ นำ�มาประยุกต์ใช้กับตัวเอง อย่างเราเองไม่ได้อยู่เมืองไทย ไม่ได้ไปวัดทำ�บุญ บ่อยเหมือนเมื่อก่อน ไม่มีใครคอยบอกให้สวดมนต์นั่งสมาธิทุกวัน แต่เมื่อ มีเรือ่ งทุกข์ใจขึน้ มา ไม่วา่ จะด้วยความโกรธ ความเศร้า หรือความสับสน หากได้ ตั้งสติระลึกถึงคำ�สอนของพระพุทธเจ้า ไม่นานเราก็จะพบทางออกจากความ รูส้ กึ ทีไ่ ม่ดเี หล่านัน้ คนเรามีประสบการณ์ชวี ติ ทีแ่ ตกต่างกัน ทำ�ให้มมุ มองทีม่ ตี อ่ ความสุขและความทุกข์แตกต่างกัน  พุทธศาสนาเป็นทางเลือกที่จะนำ�เรา ออกจากความทุกข์ไปสูค่ วามสุขทีแ่ ท้จริงได้ อย่าพึง่ เชือ่ ง่าย ๆ แต่ขอให้ลองพิสจู น์ ด้วยตัวคุณเอง ตีพิมพ์ครั้งแรก > Dhamma Design Issue 1 / ตีพิมพ์ครั้งที่สอง > ที่นี่


๐๙ เมษายนอีกหนหนึ่ง 106 | Dhammascapes


เรื่อง เปสโลภิกขุ / ภาพ รมศิลป์  สุขประเสริฐ

เมษายนอีกหนหนึ่ง | 107


๑. สะพานไม้เก่าคร่ำ�ทอดข้ามหนองน้ำ�สงบนิ่ง ท้องทุ่งหลังฤดูเก็บเกี่ยวอ้างว้างร้างผู้คน แต่เพิงมุงหญ้าหลังน้อยใช่จะเดียวดาย ลอมฟางเพื่อนใหม่พึ่งรู้จักกันได้ไม่นาน ๒. คูนห้อยพวงเหลืองระย้า สีน่าตื่นเต้นที่สุดในงานพอปอาร์ต เฟื่องฟ้าระบัดช่อชมพู ชวนให้ดูว่าใครจะเร้าใจกว่ากัน ๓. ตะแบกบรรจงปลูกไว้เป็นกลุ่ม ช่อสีม่วงสะพรั่งเพลินตา กังวานระฆังจากอีกฟากหนึ่งของหมู่บ้าน เข็ม ชบา ดาวกระจาย ล้วนได้ยิน ๔. ขี้เหล็ก ตำ�ลึง แตกยอดอ่อนอยู่ริมรั้ว มะยม ยอ ลูกดกเต็มต้น กระถิน แค สะเดา จะเก็บกินเมื่อไหร่ก็ได้ หนุ่มสาวไม่พอใจ บ่นว่าอยากกินดีอยู่ดี

108 | Dhammascapes


๕. ว่านสี่ทิศแตกกอเรียงรายอยู่ข้างลำ�ห้วยแห้งผาก ฝนไม่ตกมานานแล้ว แต่รูปทรงแตรงอนสีส้มยังรื่นเริงอยู่ไม่สร่าง ๖. มะม่วงหิมพานต์หล่นลูกสุกแดงบนหลังคาอาศรมอยู่โครมคราม กระเบื้องลอนคู่ยังดูใหม่กว่ากิ่งก้านเก้งก้างที่พาดผ่าน ลูกดิบเขียวเก็บสะสมอาหาร ด้วยใจระทึกและครื้นเครง ๗. ฝนตกหนักตลอดคืน อากาศสดชื่นตั้งแต่ยังไม่ทันอรุณ มาถึงลานวัดด้วยใจเป็นสุข ไม้กวาดในมือก็เบิกบานไม่แพ้กัน ๘. มดตะนอยเรียงแถวกระจัดกระจายบนพื้นดินเปียก กระโดดข้ามสองสามครั้ง ตัวเล็กแต่กัดเจ็บไม่ใช่เล่น พลาดจนได้

เมษายนอีกหนหนึ่ง | 109


๙. เขียวขุ่นของบึงขับเน้นบัวขาวให้ดูโดดเด่น ยามแดดเช้าทอประกายระยับบนผิวน้ำ� ฝูงปลาก็แหวกว่ายให้รู้ว่า ตื่นนอนตั้งนานแล้ว ๑๐. อโศกอินเดียสองข้างทางคอนกรีตฝังด้วยกรวดแม่น้ำ�คะเนว่าห้าสิบต้น ซอง ออฟ จาไมกา สุดปลายทางเดินต้นหนึ่ง ปลูกไว้เหมือนไม่ได้ตั้งใจ แต่เขียวของทั้งคู่ก็เข้ากันได้เป็นอย่างดี ๑๑. ตุ๊กแกหลับตาพริ้มบนต้นไม้ที่จักจั่นร้องเพลงอยู่ไม่ไกล ดวงตาแห่งวันแผดรังสีเผาไหม้สรรพสิ่งพ้นรัศมีแห่งเงา บ่ายอันเนิบเนือยจึงควรค่าแก่การพักผ่อน ๑๒. ผีเสื้อสองตัวบินหยอกล้อเหนือใบไม้ที่กองทับถมกันนานนับปี แดดหลีกเร้นในม่านเมฆ ลมรำ�เพยแผ่วเบา ลีลาวดีสลัดกลีบประดับทางทอดยาวสู่อาศรม

110 | Dhammascapes


๑๓. ไผ่เขียวสดทอดลำ�สลับสล้างกลางอากาศ หลังคาอาศรมมุงด้วยหญ้าซีดเก่าดูกลมกลืน กระเบื้องดินเผานับพันเรียงตัวบนผนังอวดความดิบ แผ่นป้ายดีไซน์อย่างเซนเขียนไว้ชัดเจนว่า “พุทโธ” ๑๔. จิ้งจกบนผนังส่งเสียงร้องดังกว่าวันก่อน อากาศเย็นค่อนจะหนาวอาจทำ�ให้มันเหงาสุดหัวใจ แมงมุมไม่รู้จะปลอบอย่างไรได้แต่ชักใยไปพลางฮัมเพลงพลาง ๑๕. พระจันทร์แจ่มกระจ่าง แมลงกลางคืนขับกล่อม นกยูงบินขึ้นยอดยางตั้งแต่หัวค่ำ� สาธยายมนต์ก่อนนิทรา

ตีพิมพ์ครั้งแรก > Dhamma Design Issue 2 / ตีพิมพ์ครั้งที่สอง > ที่นี่


๑๐ Pesalocation 112 | Dhammascapes


เรื่อง เปสโลภิกขุกับเพื่อนหนุ่ม / ภาพ กรกฤช  เจียรพินิจนันท์

Depend on You ในช่ ว งสามปี ที่ ผ่ า นมา ข้ า ฯ พบเจอผู้ ค นแสดงความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ พุทธศาสนาตามสื่อต่าง ๆ มากมายหลายกระจุก จึงเกิดอารมณ์คันอยาก นำ�เสนอมุมมองของผู้ที่อยู่ในแวดวงนี้บ้าง ส่วนจะผิดชอบชั่วดีถี่ห่างอย่างไร เชิญกรองกันเองตามอัธยาศัย ความเห็นจากสื่อ : การห้อยพระเครื่องจะทำ�ให้แคล้วคลาดจากอุบัติภัย ความเห็นจากข้าฯ : เป็นความเห็นของผู้ที่นิยมพระเครื่องแต่ละคน ๆ ไป ผู้ที่ ห้ อ ยพระเครื่ อ งเพื่ อ ให้ เ กิ ด สั ง ฆานุ ส ติ คื อ การระลึ ก ถึ ง ครู บ าอาจารย์ ห รื อ พระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็มีอยู่มาก แต่มันก็เป็นเรื่องสำ�หรับคนที่ยัง เด็กอยู่ ที่ต้องอาศัยวัตถุมาล่อสักหน่อยหนึ่ง ส่วนคนที่โตแล้วเขาไม่ต้องห้อย ก็ได้ เพราะเขามีที่พึ่งอยู่ในใจให้ระลึกถึงได้ตลอดเวลา ความเห็นจากสื่อ : สวดมนต์ภาษาบาลี ฟังไม่ออก แปลไม่ได้สักคำ� ความเห็นจากข้าฯ : วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีและสำ�นักสาขา เกือบสามร้อยแห่งทัว่ ประเทศ มีการสวดมนต์แปลบาลี-ไทยมาไม่ต�่ำ กว่ายีส่ บิ ปี นอกจากนี้ วั ด ป่ า นานาชาติ แ ละสำ � นั ก สาขาของวั ด หนองป่ า พง อี ก เกื อ บ ยี่สิบแห่งในต่างประเทศ ยังมีการสวดมนต์แปลบาลี-อังกฤษด้วย และนี่คือ ตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ

Pesalocation | 113


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง Homage to the Blessed, Noble and Perfectly Enlighten One.

ความเห็นจากสื่อ : การกรวดน้ำ�อุทิศส่วนกุศลไม่มีเหตุผล ความเห็นจากข้าฯ : เมือ่ ไปกิจนิมนต์ในบ้าน ถ้าโยมเขาไม่ได้เตรียมทีก่ รวดน้�ำ ไว้ ท่านพระอาจารย์ก็จะบอกว่า ไม่เป็นไร กรวดน้ำ�ธรรมในใจก็ได้ ทำ�จิตระลึก ถึงคนที่เราต้องการอุทิศส่วนกุศลให้แก่เขา การกรวดน้ำ�เป็นอุบายอย่างหนึ่ง จู่ ๆ จะให้ตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลทันทีบางคนเขายังไม่ถนัด พอมีกิจกรรมตรงนี้ มั น ก็ ตั้ ง ใจขึ้ น คนที่ กำ �ลังทำ�กิจกรรมอย่างอื่นอยู่หรือ คุยกั นอยู่ ก็จะได้ หยุ ด แล้ววิ่งมาต่อแขนกัน (ฮา) เมื่อมีการเพ่งจุดสนใจไปในที่เดียวกัน บรรยากาศ โดยรวมก็สงบขึ้น เมื่อบรรยากาศสงบ ก่อนกรวดน้ำ�รับพรท่านพระอาจารย์ อาจจะแสดงธรรม เพือ่ เป็นข้อคิดในการดำ�เนินชีวติ ถ้าผูฟ้ งั นำ�ไปประพฤติปฏิบตั ิ มันก็เป็นมงคลกับผู้อยู่อาศัย กับบ้าน กับสถานที่นั้น ความเห็ น จากสื่ อ  : สามี ภ รรยาชาวไทยคู่ ห นึ่ ง จบจากเมื อ งนอกระดั บ รองศาสตราจารย์ สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยชื่อดังในกรุงเทพฯ ให้สัมภาษณ์ว่า ทั้งคู่เปลี่ยนจากศาสนาพุทธมานับถืออีกศาสนาหนึ่ง เพราะต้องการคำ�สอน ในระดับชีวิตประจำ�วัน ไม่ต้องการจะหนีจากโลกหรือไปพระนิพพาน ความเห็นจากข้าฯ : คำ�สอนทางพุทธศาสนาในระดับชาวบ้านก็มีอยู่ เช่น ในหมวดฆราวาสธรรมหรือ ในส่วนของคิหิปฏิบัติ ซึ่งเป็ นข้ อปฏิ บัติสำ� หรั บ ผู้ ค รองเรื อ น พระพุ ท ธองค์ ท รงมี พ ระมหาปั ญ ญาธิ คุ ณ ท่ า นรู้ ว่ า ทางโลก ต้องแบ่งเวลาสำ�หรับครอบครัวหรือการทำ�มาหากิน ท่านก็ให้ปฏิบัติอยู่ใน ระดับทาน ศีล ภาวนา ส่วนนักบวชไม่มีภาระตรงนั้นจึงสามารถปฏิบัติได้เต็มที่ 114 | Dhammascapes


ก็ขยับขึ้นมาเป็นระดับศีล สมาธิ ปัญญา ความเห็นจากสื่อ : ถ้าคนมาบวชกันหมด พุทธบริษัทจะไม่ครบ เกรงว่าจะขาด คนทำ�หน้าที่ใส่บาตร ความเห็นจากข้าฯ : พุทธศาสนาดำ�รงอยู่มากว่าสองพันห้าร้อยปี คงจะมีคน พูดประโยคนี้เป็นแสน ๆ ล้าน ๆ ครั้ง ขนาดว่าข้าฯ บวชมาเพียงสิบปีเศษก็ยัง ได้ยินคำ�พูดทำ�นองนี้มานับครั้งไม่ถ้วน แต่เหตุการณ์นี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นตลอด สองพั น กว่ า ปี และข้ า ฯ เชื่ อ แน่ ว่ า จะไม่ เ กิ ด ขึ้ น ชั่ ว กั ล ปาวสาน ต่ อ ไปภาย ภาคหน้าจะไม่มีพระให้ใส่บาตร จะเหลือเพียงคนใส่บาตรด้วยซ้ำ� ผ่านวัน เข้าพรรษามาได้ยังไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ พระบวชใหม่ก็หาฤกษ์สึกออกไปเป็นคน ใส่ บ าตรกั น แล้ ว (สึ ก ไปแล้ ว ก็ ไ ม่ รู้ ว่ า ทำ � กั น หรื อ เปล่ า ) ทั้ ง ๆ ที่ มี เ วลากว่ า สามเดือนที่จะประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม ให้สมควรกับการเป็นผู้ที่ญาติโยม เคารพกราบไหว้ แ ละใส่ บ าตร พระอาจารย์ รู ป หนึ่ ง ท่ า นบอกว่ า คำ � พู ด นี้ เป็ น เพี ย งคำ � พู ด ลอย ๆ พอ ๆ กั บ พู ด ว่ า “ถ้ า ทุ ก คนเป็ น คนขั บ รถกั น หมด แล้วใครจะเป็นผู้โดยสาร”

Collection นมนานมาแล้ว โยมเพื่อนสมัยเป็นนักศึกษาแวะมาเยี่ยมและพักค้างคืน ทีว่ ดั ในวันจะกลับเขาใส่เสือ้ ยืดสกรีนรูปท่านประธานมิกกีเหมา (รูปเหมาเจ๋อตุง มีหแู บบมิกกีเมาส์) ข้าฯ หัวร่องอหายจนน้�ำ ลายฟูมปาก ช่างเป็นรูปทีฮ่ าเหลือทน จนต้องบอกโยมเพือ่ นให้สแกนส่งมาให้ ก่อนหน้านีไ้ ม่นานข้าฯ อ่านพบบทความ ในหนังสือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจ ผู้เขียนแนะนำ�ไว้ว่าให้หา รู ป หรื อ หนั ง ตลกเก็ บ สะสมเอาไว้ เมื่ อ ใดที่ อ ยู่ ใ นภาวะยิ้ ม ไม่ ไ ด้ ขำ � ไม่ อ อก ก็ให้เอาของพวกนี้ออกมาดู ข้าฯ ดูรูปท่านประธานมิกกีเหมาอยู่หลายวัน Pesalocation | 115


แรก ๆ ก็ก๊าก วันถัดไปคริคริ หลายวันเข้าเหลือเพียงหึหึ ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ ก็รู้สึกเฉย ๆ ก่อนหน้านี้ข้าฯ เคยคิดจะสะสมหนังขาวดำ�คลาสสิกของ Charlie Chaplin กับ Buster Keaton อยู่เหมือนกัน แต่เมื่อเทียบเคียงเหตุการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ รู ป ท่ า นประธานมิ ก กี เ หมาแล้ ว ข้ า ฯ ก็ เ ปลี่ ย นใจ ทุ ก วั น นี้ ข้ า ฯ ขะมักเขม้นสะสมอยูเ่ พียงอย่างเดียวคือ ความคิดเห็นทีจ่ ะนำ�ไปสูค่ วามพ้นทุกข์

Wing โยม : ทำ�ไมโยมฝึกภาวนามาตั้งนานแล้ว ไม่เคยเห็นแสงวิ้ง ๆ อย่างคนอื่น เขาสักที เห็นคนโน้นคนนี้คุยกัน มีวิ้ง ๆ อย่างนั้น วิ้ง ๆ อย่างนี้ จริง ๆ แล้วมัน ต้องมีไหมคะ ? พระอาจารย์เคยวิ้ง ๆ ไหมคะ ? เปสโลภิกขุ : แค่อยากเห็นแสงวิง้ ๆ ไม่เห็นต้องฝึกภาวนากันให้ลำ�บาก อาตมา เองก็เห็นอยูเ่ กือบทุกวัน วิง้ มีอยูส่ องแบบคือ วิง้ แบบ Mac กับวิง้ แบบ Windows คงต้องทบทวนเป้าหมายของการภาวนาอยู่บ่อย ๆ ว่า เราภาวนากันไปทำ�ไม ? จะได้ตัดสิ่งที่ไม่ใช่เป้าหมายออกไปเพราะมันทำ�ให้เสียเวลา

ถังเหลืองเปลืองใจ ชาวพุทธผู้หวังประโยชน์แก่พระศาสนากลุ่มหนึ่ง อยู่ในระหว่างดำ�เนินการ จัดพิมพ์หนังสือซึง่ มีเนือ้ หาอธิบายถึงการถวายสังฆทาน โดยได้ตงั้ ชือ่ หนังสือว่า “สังฆทาน vs ถังเหลือง” ข้าฯ เห็นว่าชื่อหนังสือยังไม่ชวนอ่านจึงเสนอเข้าชิง อีก ๔ ชื่อดังนี้ ๑. ถังเหลืองเปลืองใจ ๒. สังฆทานรีเทิร์น (Begin / Forever / Dark Knight) ๓. สังฆทานท่านได้แต่ใดมา 116 | Dhammascapes


๔. สังฆทานบานตะไท

แล้วตามด้วยวิธีแก้ปัญหาเครื่องสังฆทานล้นเกินอีกสองวิธีคือ ๑. ปวารณาด้วยปัจจัยสี่แก่พระสงฆ์ ๒. หย่อนปัจจัยลงในตู้บริจาค แล้วถวายใบปวารณาแก่พระสงฆ์

วิธีแรก ก็เพียงแต่คลานเข้าไปหาพระแล้วบอกว่า โยมมีศรัทธาจะถวาย ปัจจัยเป็นจำ�นวน...บาท ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์สงิ่ ใดก็บอกโยมได้ หรือโยมเป็น เภสัชกร ถ้าพระคุณเจ้าต้องการยารักษาโรคก็บอกโยมได้ อาจจะกำ�หนด ระยะเวลาไว้ด้วยว่า พระคุณเจ้าบอกโยมได้ภายในช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน ส่วนจะมากหรือน้อยกว่านัน้ ก็แล้วแต่กำ�ลังของญาติโยม ตามพระวินยั หากโยมที่ ปวารณาปัจจัยสี่ไม่ได้กำ�หนดระยะเวลาในการปวารณา พระจะขอได้ไม่เกิน ๔ เดือน ข้าฯ เคยสงสัยเหมือนกันว่าทำ�ไมต้อง ๔ เดือน ครูบาอาจารย์ท่าน ให้เหตุผลว่า เพราะศรัทธาของคนเปลี่ยนได้ ช่วงเวลา ๔ เดือนก็รู้แล้วว่า อะไรเป็นอะไร วิธีนี้ ญาติโยมต้องเป็นผู้มีสติปัญญาในการเลือกพระที่จะ ปวารณาสักหน่อย ขืนสุ่มสี่สุ่มห้าไปปวารณาพระที่ไม่รู้จักประมาณในการขอ อาจจะหมดเนื้อหมดตัวเอาได้ วัดในสายของวัดหนองป่าพงไม่สู้จะมีปัญหา ในเรื่องนี้ เพราะหลวงพ่อชาและครูบาอาจารย์ชั้นหลังท่านเตือนอยู่เสมอว่า ถ้ามีญาติโยมมาปวารณาปัจจัยสีใ่ ห้กลัวเอาไว้กอ่ น อย่าพึง่ ไปขอเขา ดู ๆ กันไป ก่ อ นว่ า เขามี ศ รั ท ธาจริ ง หรื อ เปล่ า เรามี บิ ณ ฑบาตพอได้ ฉั น มี กุ ฏิ พ อได้ พักบำ�เพ็ญภาวนา แค่นี้ก็พอแล้ว วิธีที่สอง ถ้าญาติโยมมาได้ยินพระแนะนำ�ให้หย่อนปัจจัยลงในตู้บริจาค อาจจะคิดว่าพระเห็นแก่ได้ แต่หากพิจารณากันให้ลึก ๆ ก็จะเห็นแง่มุมที่อยู่ ลึก ๆ ๆ เข้าไป  เงินเป็นตัวกลางที่สามารถนำ�ไปแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งต่าง ๆ ได้ Pesalocation | 117


อย่างสะดวก เช่น ค่าน้ำ�ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ค่าวัสดุอุปกรณ์ซ่อมแซมกุฏิวิหารฯ หากมนุษย์ไม่ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่าเงิน ขึ้นมา โลกของเราคงทุลักทุเลน่าดูชม พระคงต้องแบกเทียนจำ�นำ�พรรษาหรือ หลอดไฟไปคลินิกเพื่อเป็นค่าขูดหินปูน ทันตแพทย์อาจต้องถือหลอดตะเกียบ ไปจ่ายค่าก๋วยเตี๋ยว และแม่ค้าน่าจะทอนด้วยสบู่หอมนกแก้วครึ่งก้อน วัด ในสายของวัดหนองป่าพงมีข้อกติกาอยู่ว่า ปัจจัยเงินทองที่มาจากการบริจาค ของญาติโยม มิได้ตกเป็นของพระภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึง่ หากแต่เป็นสมบัติ ของคณะสงฆ์ เมือ่ พระหนุม่ เณรน้อยรูปใดมีเหตุจ�ำ เป็นต้องใช้ ก็ให้มากราบเรียน ครูบาอาจารย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ เพื่อที่ท่านจะได้พิจารณาตามสมควรแก่กรณี แม้ทงั้ สองวิธนี ไี้ ม่อาจทำ�ให้ถงั เหลืองสูญพันธุไ์ ปจากเมืองไทย แต่กค็ งจะมี ส่วนช่วยให้ปัจจัยเงินทองที่ญาติโยมสู้อุตส่าห์แสวงหากันมาด้วยความเหนื่อย ยากตรากตรำ� เกิดประโยชน์คุ้มค่าอย่างที่ควรจะเป็น

R U Vegetarian? เมื่อไก่ย่างห้าดาวและข้าวเหนียวหมูปิ้งหายหน้าไปหลายวัน ข้าฯ ก็ชัก จะคิดถึงขึ้นมาตงิด ๆ คงจะเป็นเพราะอยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ ข้าฯ เคยบอก กับโยมคนหนึง่ ว่า “ถ้าอาตมาจะฉันมังสวิรตั กิ ค็ งจะเป็นเหตุผลด้านสุขภาพ และ คงจะทำ�อย่างสม่ำ�เสมอไม่เลือกเทศกาล” เพราะเรื่องสุขภาพต้องดูแลเอาใจใส่ กั น ตลอดทั้ ง ปี มี พ ระอาจารย์ ท่ า นหนึ่ ง เป็ น นั ก มั ง สวิ รั ติ ที่ เ คร่ ง ครั ด ตั้ ง แต่ ก่อนจะบวช จนกระทัง่ พรรษาทีส่ ามสิบกว่า ๆ ก็เกิดปัญหาด้านสุขภาพ หลังจาก คุณหมอตรวจดูอาการแล้วก็แนะนำ�ให้ท่านฉันเนื้อปลา ท่านจึงปฏิบัติตาม คำ�แนะนำ�นั้นด้วยดี เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า พระอาจารย์ท่านให้ความสำ�คัญกับ การดูแลสุขภาพมากกว่าที่จะยึดมั่นถือมั่นในเรื่องอาหารการกิน หากเรามี 118 | Dhammascapes


สุขภาพดีย่อมทำ�ให้มีกำ�ลังในการบำ�เพ็ญคุณงามความดีได้ยาวนานยิ่งขึ้น ข้าฯ ไม่ได้กลัวอายุสั้นแต่เบื่อที่จะต้องมาเกิดอีก เพราะกว่าจะหัดพลิกคว่ำ� พลิกหงาย หัดคลาน หัดเดิน หัดวิง่ มันใช้เวลามากจริง ๆ ไหน ๆ ชาตินกี้ ม็ โี อกาส ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ขอใช้ให้คุ้มค่าหน่อยก็แล้วกัน

ที่ตั้งของกำ�ลังใจ โยม : อาการโยมแม่ของท่านพระอาจารย์โดยรวมถือว่าทรงตัวดี พูดคุยได้ ความจำ � ดี หากแต่ อ่ อ นเพลี ย เล็ ก น้ อ ยเพราะฤทธิ์ ย า คงจะเป็ น เพราะได้ กำ�ลังใจจากการคอยดูแลอย่างใกล้ชิดของท่านพระอาจารย์ กำ�ลังใจเป็น สิ่งสำ�คัญในยามเจ็บไข้ ตัวของโยมเองลูกอยู่ไกลถึงต่างประเทศ คงต้องใช้ ภาษิต “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เมื่อเวลานั้นมาถึง เปสโลภิกขุ : มีอยู่คราวหนึ่งท่านพระอาจารย์เดินทางไปจำ�พรรษาที่จันทบุรี พวกเราก็อยู่กันเองที่ชลบุรี ช่วงกลางพรรษาอาตมาเดินทางไปกราบหลวงพ่อ ที่ วั ด หนองป่ า พง เพราะท่ า นเรี ย กประชุ ม พระที่ ท่ า นเคยบวชให้ ท่ า นถาม อาตมาว่าอาจารย์มาเยี่ยมบ้างหรือเปล่า ? อาตมาก็ตอบไปตามที่เขานิยม พู ด กั น ...พระอาจารย์ ม าเยี่ ย มให้ กำ � ลั ง ใจเหมื อ นกั น ครั บ หลวงพ่ อ พู ด ว่ า “หึ้ยย...ให้กำ�ลังใจยังไง ท่านแค่มาถามข่าวคราว กำ�ลังใจมันอยู่ที่เราต่างหาก”

ตีพิมพ์ครั้งแรก > ที่นี่


๑๑ แผ่นดินแห่งความสุข


เรื่อง บุญถนอม  ภูริภาคย์วงศ์ / ภาพ จาคิโนภิกขุ สมัยยังเด็กหากมีใครถามว่า อยากไปเที่ยวภาคไหนของประเทศไทย ? ฉันจะตอบทันทีว่าภาคเหนือ แล้วเสริมด้วยภาคใต้ แต่ภาคที่ไม่เคยคิดอยากจะไปเลยสักนิดก็คือภาคอีสาน ทำ�ไมน่ะเหรอ คำ�ตอบง่าย ๆ ก็คือว่า ตอนนั้นยังโง่อยู่ ฟังแต่คนพูด อ่านหนังสือ แล้วก็ดูหนังไทยอีกหลาย ๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่อง ลูกอีสาน โอ้โห!...แผ่นดินอะไรก็ไม่รู้ แห้งแล้ง กันดาร ชีวิตความเป็นอยู่ก็แปลกพิกล อะไรที่ไม่น่าจะกินกันได้ก็กินกัน คนก็เช้ย เชย ภาษาพูดก็ตาโล้ก ตลก ตอนนั้นหัวสมองมันคิดได้เท่านี้จริง ๆ จึงบอกว่ายังโง่อยู่ เวลาผ่านไป เมื่อโตขึ้น มีพัฒนาการทางสมองมากขึ้น แผ่นดินที่เคยปฏิเสธแบบหัวชนฝา กลับเป็นแผ่นดินที่เราไปเยือนบ่อยครั้งที่สุด เรื่องราวที่เคยรับรู้เมื่อยังเด็กกับความจริงที่ได้สัมผัส แม้ส่วนมากที่เป็นอย่างที่เคยรู้มา ทั้งเรื่องความแห้งแล้ง ความกันดาร ความลำ�บาก และความยากจน แต่สิ่งเหล่านี้กลับหลอมรวมให้แผ่นดินอีสานมีเสน่ห์อย่างน่าประทับใจ แม้แต่ภาคตะวันออกแผ่นดินถิ่นเกิดของฉัน ก็ยังไม่อาจจะมีเสน่ห์ได้เท่านี้ แผ่นดินแห่งความสุข | 121


122 | Dhammascapes


แผ่นดินแห่งความสุข | 123


124 | Dhammascapes


แผ่นดินแห่งความสุข | 125


แผ่นดินที่แสนจะกันดาร แต่ความศรัทธาในพระพุทธศาสนากลับหยั่งรากลึก ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบส่วนใหญ่ล้วนแต่ถือกำ�เนิดในแดนดินถิ่นนี้ คนอีสานโชคดีจัง... ได้มีโอกาสกราบไหว้ ฟังเทศน์ฟังธรรม ได้พบเห็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ ความยากจนอันเป็นที่ร่ำ�ลือไปทั่วนั้น กลับทำ�ให้คนอีสานน่ารัก น่าคบหาในสายตาของฉัน เพราะความยากจนนี่แหละที่เป็นตัววัดน้ำ�จิตน้ำ�ใจ ซึ่งหาได้ยากในคนเมืองผู้เจริญแล้ว ข้าวเหนียวในกระติบเล็ก ๆ ถูกหยิบใส่บาตรทุกเช้า ปลาแห้งตัวผอม ๆ ถูกส่งตามไปถวายที่วัด ถึงจะยากจนแต่ไม่เคยบกพร่องในการทำ�บุญให้ทาน เพราะความไม่เจริญนี่แหละ ที่ทำ�ให้วิถีชีวิตของคนอีสานเป็นไปอย่างเรียบง่าย สงบ สมถะ ความซื่อก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของคนอีสาน เพราะความซื่อนี่เอง ที่บางครั้งทำ�ให้คนในถิ่นอื่นคิดว่าคนอีสานโง่ ความกตัญญู ความนอบน้อมก็เป็นคุณธรรมสำ�คัญที่มีอยู่ในคนอีสาน คำ�พูดคำ�จาอาจจะไม่หวานไม่น่ารักเหมือนคนภาคเหนือ หรือห้าว ห้วน เข้มแข็ง แบบคนภาคใต้ แต่เมื่อได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ กลับรู้สึกว่าไพเราะ ทุกครั้งที่เห็นเขาคุยกัน ฉันอดไม่ได้ที่จะเข้าไปเสนอหน้านั่งฟังด้วย 126 | Dhammascapes


อย่างเช่นคำ�ว่า “ข้าน้อย” เป็นสรรพนามที่คนแก่ใช้แทนตัวเองเมื่อพูดกับพระ ฟังแล้วน่ารัก ยิ่งเห็นเขานั่งลงกับพื้นพร้อมพนมมือขณะพูดด้วยแล้ว ฉันอดยิ้มไม่ได้ ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา อีสานจึงเป็นดินแดนที่ฉันมีเรื่องราวมาเล่าให้ใครต่อใครฟังมากที่สุด ที่เคยเรียกคนอีสานว่าลาว หรือเมื่อเห็นใครเชย ๆ ก็เรียกว่าลาวนั้น ฉันขอถอนคำ�พูด พร้อมกับอยากให้คนอื่น ๆ เลิกพูดเสียที การที่เราตัดสินคนอื่นด้วยการยึดเอาตัวเราเป็นที่ตั้ง ฉันเห็นว่าไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ประสบการณ์ สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ทำ�ให้คนเราแตกต่างกันได้ การที่ใครสักคนทำ�ตัวแตกต่างไปจากที่เราคิดว่าควรจะเป็น ไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจหรือผิดทำ�นองคลองธรรมใด ๆ อ่านมาถึงตรงนี้ คุณอยากจะไปเยือนอีสานสักครั้งไหม ?

ตีพิมพ์ครั้งแรก > ที่นี่


๑๒ คิดถึงเธอจากเวอร์จิเนีย 128 | Dhammascapes


เรื่อง ธีรปัญโญภิกขุ / ภาพ ธีรปัญโญภิกขุและเขมรัตนะภิกขุ ขอเล่าเกี่ยวกับเมืองที่มาพำ�นักไว้สักหน่อย เมืองไฮวิวนี้เป็นเมืองเมือง หนึ่งในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ซึ่งจัดว่าเป็นรัฐที่ยากจนที่สุดรัฐหนึ่ง ของประเทศ สหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของวัดอยู่ห่างจากเมืองที่ใกล้ที่สุดคือเมืองวินเชสเตอร์ ถ้าขับรถไปก็ประมาณ ๔๐ นาที รอบ ๆ วัดมีสภาพเป็นป่าและมีบรรยากาศ ของชนบทที่เงียบสงบมาก ยกเว้นในฤดูล่ากวางจะได้ยินเสียงปืนดังอยู่เป็น ระยะ ๆ ผืนป่ามีหบุ เขาล้อมรอบและมีล�ำ ธารไหลผ่านทำ�ให้พบเห็นสัตว์ตา่ ง ๆ ลง มากินน้ำ�อยู่เสมอ บางทีสัตว์จำ�พวกเก้ง กวาง กระต่าย กระรอก เต่า ก็เข้ามา กินดอกไม้ใบไม้ที่อยู่ภายในวัดเพราะมันรู้ว่าไม่มีอันตราย ถ้ า ใครรู้ จั ก John Denver นั ก ร้ อ งเพลงคั น ทรี ชื่ อ ก้ อ ง เขาก็ เ ป็ น ชาว เวสต์เวอร์จิเนียนี่แหละ เพลง Take Me Home, Country Roads อันโด่งดัง ของเขาจะมีท่อนหนึ่งที่ร้องว่า “Country roads take me home to the place I belong…... West Virginia…” ส่วน Blue Ridge Mountains ในบทเพลง เป็นเทือกเขาที่เห็นอยู่ไกล ๆ ช่วงฤดูร้อนบางทีเราก็จะไปเดินออกกำ�ลังกัน ที่มีสภาพธรรมชาติยังงดงามอยู่มาก ภาวนาสมาคมเป็นวัดป่าและสถานปฏิบัติธรรมซึ่งมีท่านเจ้าอาวาสคือ ภันเต เฮเนโพลา คุณารัตนา พระมหาเถระชาวศรีลังกา แต่ท่านมาอยู่ที่อเมริกา หลายสิบปีแล้ว เมื่อมาตั้งวัดใหม่ ๆ ก็มีอุปสรรคอยู่พอสมควร เพราะชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ ท่านเล่าให้ฟังว่าช่วงแรก ๆ มีคนนำ�อุจจาระมาใส่ใน ตู้ไปรษณีย์หน้าวัด บางทีก็มาขีดเติมชื่อวัดบนป้ายหน้าวัดให้เป็นคำ�หยาบ บ้าง ก็เอาแตรมาเป่าเพื่อรบกวนการนั่งสมาธิ บ้างก็ยิงปืนขึ้นฟ้า ครั้งหลังสุดมีคนมา ขโมยเอาป้ายชื่อวัดที่ทำ�ด้วยไม้ไปทั้งอัน ทำ�ให้ต้องสั่งทำ�ใหม่โดยเปลี่ยนวัสดุ คิดถึงเธอจากเวอร์จิเนีย | 129


เป็นหินโบกคอนกรีต คราวนีค้ งไม่มใี ครมาขโมยไปอีก แต่บรรยากาศในปีหลัง ๆ ก็ดีขึ้น เพื่อนบ้านก็ดูเป็นมิตรขึ้น คนที่เคยมาทำ�ความรบกวนก็เข้ามาขอโทษ เพราะเขาเข้าใจผิดคิดว่าพระเป็นพวกกินเด็ก ช่วงที่ผู้เขียนมาอยู่ใหม่ได้พยายามทำ�ความคุ้นเคยกับชาวบ้านที่นี่โดย การออกบิณฑบาตทุกเช้า พระที่ท่านอยู่มาก่อนเตือนว่าห้ามเดินเข้าไปในซอย เพราะเป็ น ที่ ส่ ว นบุ ค คล แต่ ถ้ า เดิ น บิ ณ ฑบาตตามถนนก็ ค งไม่ ไ ด้ อ ะไร เพราะบ้านส่วนใหญ่อยู่ในซอย ผู้เขียนก็ได้แต่โบกไม้โบกมือทักทายคนที่ขับรถ ผ่านไปมา ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าเรามาทำ�อะไร สุดท้ายก็ใช้วิธีหยุดยืนแผ่เมตตา ประมาณ ๕ นาที เพราะเป็นที่ส่วนบุคคล พอดีวันหนึ่งมีคนออกมาหย่อน จดหมายที่ตู้ไปรษณีย์หน้าปากซอยเข้ามาถาม ผู้เขียนจึงขออนุญาตเขาเข้าไป เดินบิณฑบาตในซอยแบบเงียบ ๆ ซึ่งเขาก็อนุญาต ตั้งแต่นั้นมาก็สามารถ เข้าไปเดินในซอยได้ ผ่านไป ๔ เดือนจึงมีคนออกมาใส่บาตร เมื่อครั้งไปบิณฑบาตที่กรุงวอชิงตัน มีเด็ก ๆ อุตส่าห์เป็นห่วงเข้ามาถามไถ่ เพราะเห็นพระไม่ใส่รองเท้า แม้ไม่มีอาหารจะใส่บาตร แต่หลังจากซักถามว่า พระไปโรงเรียนหรือเปล่า ? เขาก็นำ�ปากกามาใส่บาตรแทน นอกจากนี้ผู้เขียน ยั ง ได้ เ ข้ า ร่ ว มฟั ง องค์ ท ะไลลามะแสดงธรรมที่ ส นามกี ฬ า มี ค นมาฟั ง เกื อ บ สองหมื่ น คน ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนหนุ่ ม สาวด้ ว ย แม้ แ ต่ พ วกคนจรจั ด พอเห็ น พระเดินผ่านก็ยังยกมือขึ้นพนมไว้ที่หน้าอก แสดงว่าเขารู้จักพระ บางทีกำ�ลัง บิณฑบาตอยู่ก็มีคนเข้ามาถาม บ้างถึงกับจอดรถลงมาถาม เขาอยากเรียนรู้ Meditation หรือการนั่งสมาธิ ไปบิณฑบาตผ่านโรงแรมหรือรีสอร์ตก็มีวัยรุ่น เข้ามาทักทายไต่ถามเรื่องพุทธศาสนา ได้อ่านข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า มีการสำ�รวจความคิดเห็นของเด็กนักเรียน ชั้นมัธยมในประเทศสวีเดน ผลปรากฏว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ของเด็กนักเรียน 130 | Dhammascapes


คิดถึงเธอจากเวอร์จิเนีย | 131


132 | Dhammascapes


บอกว่า ถ้าให้เลือกนับถือศาสนาเขาจะเลือกนับถือศาสนาพุทธ เรื่องนี้ทำ�ให้ นึกถึงสภาพพุทธศาสนาในบ้านเราที่มีแต่ผู้สูงอายุที่เข้าวัด พวกวัยรุ่นก็หาได้ ยากที่จะสนใจกันจริง ๆ จัง ๆ อย่าประมาทไป ดูอย่างอินเดียสิ ทุกวันนี้ไม่มี พุทธศาสนาเหลืออยู่ในใจแล้ว มีแต่ซากสังเวชนียสถาน ถ้าคนไทยยังไม่ใส่ใจ อีกหน่อยบ้านเราอาจจะเหลือเพียงซากโบสถ์วิหารร้างก็ได้ ช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสติดตามภันเต โยคาวจร ราหุลา พระเถระชาวอเมริกันซึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสของที่นี่ ไปสอนกรรมฐานที่โบสถ์ ชาวคริสต์นิกายยูนิทาเรียน (Unitarian) ในเมืองเวลลิงตันใกล้กรุงวอชิงตัน ชาวคริสต์ที่นี่ใจกว้างถึงขนาดยอมให้พระภิกษุเข้าไปสอนกรรมฐานในโบสถ์ ได้ มีผู้สนใจเข้าฟังประมาณสิบกว่าคน ความเป็นมาของศาสนาคริสต์นิกายนี้มีอยู่ว่า เมื่อประมาณ ค.ศ. ๑๕๐๐ มี ป ระเทศเล็ ก ๆ แถบยุ โ รปตะวั น ออกประเทศหนึ่ ง ชื่ อ ทรานสวาเนี ย น (Transvanian) มี พ รมแดนติ ด ต่ อ กั บ อาณาจั ก รเปอร์ เ ซี ย ซึ่ ง นั บ ถื อ ศาสนา อิสลาม ช่วงนั้นในยุโรปแบ่งคริสต์ศาสนาออกเป็น ๒ นิกายคือโรมันคาทอลิก กับโปรเตสแตนต์ โดยที่กษัตริย์ทุกประเทศในยุโรปต้องเลือกนับถือนิกายใด นิกายหนึ่ง จากนั้นก็ต้องฆ่าคนต่างนิกายทิ้ง ในประเทศทรานสวาเนียนมี ประชาชนนับถือหลากหลายนิกาย กษัตริยจ์ งึ ถามผูน้ ำ�ของแต่ละนิกายว่า ถ้าตน เลือกนับถือนิกายนั้น ๆ แล้วจะต้องปฏิบัติต่อผู้ที่นับถือนิกายอื่นอย่างไร ? ผู้นำ� ของอิสลามบอกว่าต้องฆ่าพวกคริสต์ให้หมด ผู้นำ�ของพวกคริสต์โรมันคาทอลิก ก็บอกว่าต้องฆ่าพวกอิสลามกับพวกโปรเตสแตนต์ ส่วนผู้นำ�ของพวกคริสต์ โปรเตสแตนต์ ก็ บ อกว่ า ต้ อ งฆ่ า พวกอิ ส ลามและพวกโรมั น คาทอลิ ก แต่ มี ศาสนาคริสต์นิกายเล็ก ๆ นิกายหนึ่งชื่อยูนิทาเรียน สามารถยอมรับความ แตกต่ า งทางความคิ ด เห็ น และบอกว่ า ไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งฆ่ า กั น แต่ ใ ห้ เ รี ย นรู้ คิดถึงเธอจากเวอร์จิเนีย | 133


จากกั น และกั น กษั ต ริ ย์ ท รานสวาเนี ย นเกิ ด ความเลื่ อ มใสจึ ง เลื อ กนั บ ถื อ ศาสนาคริสต์นิกายนี้ ชาวพุทธเราได้ฟังแล้วคงแปลกใจและสังเวชใจ ในเรื่อง การฆ่าคนที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ปั จ จุ บั น นี้ พุ ท ธศาสนาได้ รั บ ความสนใจอย่ า งกว้ า งขวางและมี อั ต รา การเติบโตที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในหมู่ปัญญาชนชาวอเมริกัน น่าจะเป็น เพราะการเปิดใจกว้างและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนความมี เหตุผลของหลักธรรมคำ�สอน ซึ่งไม่ได้บังคับให้เชื่ออย่างงมงาย แต่กลับเชิญ ชวนให้มาพิสจู น์เพือ่ ทีจ่ ะได้รเู้ ห็นด้วยตนเอง แม้ชาวอเมริกนั ส่วนใหญ่ยงั ไม่กล้า ประกาศตัวว่าเป็นชาวพุทธ เพราะเกรงจะถูกตัดขาดจากคนในครอบครัวซึ่ง นับถือคริสต์อย่างเคร่งครัด  (ชาวคริสต์เชือ่ ว่าผูท้ ไี่ ม่นบั ถือพระเยซูแม้จะบำ�เพ็ญ คุณงามความดีสักเพียงใด เมื่อละจากโลกนี้ไปก็ต้องตกนรก!!)  แต่ชาวพุทธ อเมริกนั ทีว่ า่ นีก้ ต็ งั้ ใจศึกษาและปฏิบตั สิ มาธิภาวนาอย่างต่อเนือ่ งเอาจริงเอาจัง มีครอบครัวหนึ่งภรรยาเป็นชาวไทยสามีเป็นชาวอเมริกัน ภรรยาจะมาทำ�บุญ ถวายภัตตาหารที่วัดเฉพาะเช้าวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ส่วนสามีจะมาสวดมนต์ ทำ�วัตรในตอนเย็น ปฏิบัติสมาธิภาวนา และอยู่สนทนาธรรมกับพระทุกวัน เมื่อผู้เขียนถามผู้เป็นสามีว่าทำ�ไมภรรยาไม่มาด้วย ? เขาตอบว่าภรรยาติดดู ละครทีวี ได้ยินอย่างนี้แล้วอายแทนคนไทยที่นี่ไปเลย ชาวอเมริกันบางคนมา ฝึกสมาธิเพราะจิตแพทย์ประจำ�ตัวสัง่ ให้มา กลุม่ นีจ้ ะเอาแต่นงั่ สมาธิอย่างเดียว ต่อเมื่อจิตได้รับความสุขที่เกิดจากความสงบจึงจะหันมาสนใจพุทธศาสนาใน มุมมองที่กว้างขึ้น พุทธศาสนาฝังรากลึกบนแผ่นดินไทยมาช้านาน จนกลายเป็นวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม เป็นพื้นฐานด้านจริยธรรมอันแน่นหนาให้แก่พวกเรา ถึงเวลา ต้องศึกษาแก่นแท้ของความเป็นพุทธกันอย่างจริงจัง เพื่อนำ �ไปแก้ปัญหา 134 | Dhammascapes


คิดถึงเธอจากเวอร์จิเนีย | 135


136 | Dhammascapes


ของตัวเองและสังคมไทย จะได้เป็นแบบอย่างแก่ประชาคมโลก ก่อนที่จะถูก กระแสวัตถุนิยมดูดกลืนความเป็นอิสระจากจิตใจไปจนหมดสิ้น ไม่รู้ว่าชาตินี้ จะมีทางเป็นไปได้ไหม ?

ธรรมชาติที่นี่น่าชมนัก กระต่ายน้อยน่ารักบนเนินหญ้า นกโรบินน่าเอ็นดูอยู่ชายคา ลูกกวางป่าริมลำ�ธารนั้นน่าชัง เป็นเวลาเร้นหลีกปลีกวิเวก หมายปลุกเสกขวัญล้าให้กล้าขลัง มองนอกในชัดเจนอนิจจัง สติตั้งพาตนพ้นทุกข์เอย

ตีพิมพ์ครั้งแรก > Dhamma Design Issue 2 / ตีพิมพ์ครั้งที่สอง > ที่นี่


แนะนำ�บรรณาธิการ เปสโลภิกขุ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ใช้ชีวิตวัยเด็กแถบชานเมืองวารินชำ�ราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นเดินทางเข้าสู่ตัวจังหวัดเพื่อศึกษาต่อชั้นมัธยมต้นและปลายที่โรงเรียนเบ็ญจะมะ มหาราช ขยันอย่างยอดเยี่ยมจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ เคว้งคว้างอยู่ระยะหนึ่ง จึง เนรเทศตัวเองไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ทนเหงา อยู่สองเทอมก่อนตัดสินใจย้ายที่เรียน นั่งรถไฟไปทดลองใช้ชีวิตนักศึกษาศิลปะที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โน่นนั่นนี่อยู่สองปีครึ่งจึงหนีเพื่อน ๆ มาบวชที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ อีกสิบปีถัดมาได้ชักชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตก่อตั้ง คณะสหายธรรมหนุ่ม (Dhamma Design Club) เพื่อผลิตหนังสือธรรมะแนวทดลอง หลากหลายรูปแบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือวัยแสวงหา หนังสือลำ�ดับที่ ๕ ของเปสโลภิกขุที่ชื่อ เรื่องของเรา ถูกจัดอยู่ในชั้น “หนังสือน่าอ่าน” ประจำ�ร้านหนังสือแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี--เท่านี้ก็ดีใจ ต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เปสโลภิกขุเดินทางไปประจำ�การทีว่ ดั ป่าอภัยคีรี แคลิฟอร์เนีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา สำ�นักสาขาในต่างประเทศของวัดหนองป่าพง เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของ ตัวเองและผู้คนที่นั่น (ซึ่งว่ากันว่าเปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม) เปสโล ภิกขุตั้งปณิธานอย่างแน่นหนาว่า จะถ่ายทอดประสบการณ์ผ่าน Blog ให้ได้เดือนละครั้ง ผลงานเดี่ยวไฉไล : บทกวีในที่ว่าง / แดนสนทนา / เรื่องเป็นเรื่อง / หนึ่งร้อย / Pesalocation ผลงานสมรู้ร่วมคิด : บุ๊กกาซีน Dhamma Design Issue 1&2 (บรรณาธิการ) / เรื่องของเรา (+ปัญญาวุฒโฑภิกขุ) / เสียงฝนบนภูเขา (+เจหวาน) / Poems on the Road (+Andrew Binkley)


อนุโมทนามหาศาล พระมหากีรติ  ธีรปัญโญ พระอนุภาส  อมโร ครอบครัวสุวรรณกูล คุณวิสิฐ  จันมา คุณอรรถวิท บุญวรรณ คุณกรกฤช  เจียรพินิจนันท์ คุณรมศิลป์  สุขประเสริฐ คุณแอนดรูว์  บลิงคลีย์ คุณชลลดา  เตียวสุวรรณ คุณกิตติพงค์  ทุมนัส คุณธานินทร์  เฮงจิตตระกูล


สำ�นักพิมพ์พาบุญมา www.paboonma.com

140 | Dhammascapes



ความเชื่อหนึ่งที่ดูเหมือนจะเชื่อ ๆ ตอ ๆ กันมาและคงจะเชื่อ ๆ ตอ ๆ กันไปก็คือวา “ธรรมะเปนเรื่องยากจะเขาใจและหางไกลตัว” ทั้ง ๆ ที่ธรรมะนั้นวาดวย การหาเหตุแหงทุกขและหนทางขจัดทุกข ซึ่งทุกขนั้นก็ไมไดอยูหางไกลที่ไหน หากแตอยูในชีวิตประจําวัน ประจําเดือน ประจําปของเรานี่เอง เรื่องยาก ๆ อยางสูตรเคมี ตรีโกณมิติ ทฤษฎีสัมพันธภาพ หรือวิชายาก ๆ ทั้งหลาย เราก็ยังสูอุตสาหะบากบั่นอานเขียนเรียนรูกันได แลวจะเกี่ยงไปไยกับวิชาธรรมะ เพลงดาบแมนํารอยสาย : นักเขียน นักเดินทาง

Pa Boon Ma ISBN 978-616-7238-09-8 978-616-7238-03-6 หมวดธรรมะ ราคา 149 บาท

จัดจําหนายโดย บริษัท พาบุญมา จํากัด Tel : 0 2635 3339 Fax : 0 2237 1977 www.paboonma.com


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.