Autumn_in_Sydney

Page 1

SYDNEY 38 วัน ฉัน ซิดนีย์ บันทึกทางไกล ปลายฤดูใบไม้ร่วง

เปสโลภิกขุ




เรื่องและภาพ เปสโลภิกขุ ภาพปก ตลาดแพดดิงตั้น ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ออกแบบปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club พิสูจน์อักษร มานี มีตา คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com จัดพิมพ์เป็นของขวัญธรรมะครั้งแรก กรกฎาคม 2555 จ�ำนวน หนึ่งพันห้าร้อยเล่มอร่าม สงวนลิขสิทธิ์ 2012 © Dhamma Design Club สงสัยเปสโลภิกขุ peslo123 @ yahoo.co.th สืบจากแท็บเล็ต www.issuu.com/dhammavalley พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 02-433-0026-7

แด่...การเจริญเติบโต


ค�ำน�ำ


38


8

วัน ฉัน ซิดนีย์ Autumn in Sydney

เปสโลภิกขุ



วันแรก โบยบินจากอากาศร้อนระบมจนไม่อยากปรายตามองเทอร์โมมิเตอร์ มาสูส่ บิ สององศาเซลเซียสของท่าอากาศยานซิดนีย ์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ใช้เวลาเฉียดเก้าชัว่ โมงแต่กเ็ ร็วกว่านัง่ รถไฟจาก อุบลราชธานีไปกรุงเทพฯ ด่านตรวจคนเข้าเมืองของที่นี่ไม่ได้เข้มข้น เคร่งครัดอย่างที่ล�่ำลือกัน ที่เราต้องท�ำก็เพียงแต่เข้าตามตรอกออก ตามประตูออสซี่ ถ้ามีอาหารมาด้วยเราก็กรอกลงในแบบฟอร์มว่ามี อาหาร มีสมุนไพรก็แจ้งว่ามีสมุนไพร ข้าวของชิ้นใดเอาเข้าประเทศ ได้หรือไม่ได้ก็ว่ากันไปตามกฏระเบียบ เจ้าหน้าที่ของสนามบินต่าง ก็อ�ำนวยความสะดวกให้ผู้มาเยือนอย่างขะมักเขม้นเต็มอกเต็มใจ หลังจากที่ฉันเปิดกระเป๋าให้ตรวจ เจ้าหน้าที่สุภาพสตรีผู้หนึ่งถึงกับ ออกปากเชยชมครีมทาส้นเท้า 99.40% Natural  ที่ฉันพกมา อย่างอารมณ์ดีว่า Very good! ซิดนีย์ต้อนรับฉันมื้อแรกด้วยโดนัทกับชาผสมเครื่องเทศ ตาม ด้วยอาหารไทยง่ายๆสไตส์โฮมเมด จากนั้นญาติโยมก็ขับรถพามาที่ บ้านพักตากอากาศริมทะเลชานเมืองเล็กๆที่ชื่อ Culburra ซึ่งอยู่ ห่างจากย่านคิงส์ฟอร์ดของซิดนีย์ลงมาทางใต้ประมาณสามชั่วโมง ระหว่างทางเราพบซากจิงโจ้ถูกรถกระทืบกองอยู่ข้างทางหนึ่งตัว โยมฝรัง่ ทีก่ ำ� ลังขับรถบอกว่าเนือ้ จิงโจ้เอาไปท�ำสเต็กได้  แต่นา่ รักน่าชัง


ขนาดนี ้ แม้ฉนั จะไม่ใช่นกั มังสวิรตั กิ ย็ งั ยอมรับอย่างหน้าชืน่ ว่ากลืนไม่ลง ฉันไม่รสู้ กึ ตืน่ เต้นกับการเดินทางครัง้ นีม้ ากนัก อาจจะเป็นเพราะ เพิ่งกลับมาจากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อกลาง เดือนธันวาคมปีที่แล้ว บ้านเมือง ร้านรวง ผู้คน ถนนหนทาง ของ ฝรั่งชาวออสซี่กับชาวอเมริกันก็คล้ายๆกัน แต่ความประทับใจชั่วฟ้า ดินสลายทีฉ่ นั เทคะแนนให้ฝรัง่ ทัง้ สองเชือ้ ชาติเกินห้าดาวก็คอื ความ เงียบสงบ สวยงาม และสะอาดจนน่าประหลาดใจของหมู่บ้านใน ชนบท หวังใจว่าชาตินี้หรือชาติถัดไปๆ  คงจะปรากฏในบ้านเกิด เมืองนอนของตัวเองบ้าง บ้านพักตากอารมณ์ Sand-Sea-Sun สามห้องนอน สองห้องน�้ำ หนึง่ ห้องนัง่ เล่นหลังนีเ้ ปิดให้เช่าทางอินเทอร์เน็ตในราคาคืนละสามร้อย ออสเตรเลียดอลล่าร์  เมื่อเดินทางมาถึงในตอนบ่ายแก่ๆ ฉันเห็น นักเล่นกระดานโต้คลื่นอยู่เพียงสองคน อาจจะเป็นเพราะอากาศ หนาวและชายหาดละแวกนีค้ ลืน่ ก้อนไม่โตเหมือนทีเ่ ห็นในภาพยนตร์ สารคดีจากฮาวายเรื่อง Fiberglass & Mega Pixel แต่ถึงกระนั้น เสียงคลื่นก็ยังกังวานพอที่จะกล่อมให้ฉันและญาติโยมที่มาด้วยกัน หลับไหลในคืนอันเหนื่อยล้าจากการเดินทาง และหมายมั่นปั้นใจ ว่าคลื่นทะเลอารมณ์ดีสัก 2-3 ก้อน จะปลุกเราให้ตื่นขึ้นมาทันงาน ส�ำคัญในวันพรุ่งนี้


วันพิเศษ ฉันลืมตาตื่นด้วยเสียงปลุกจากคลื่นก้อนโตกว่าเมื่อวาน อาหาร เช้ามื้อนี้มีทั้งข้าวสวย แกงเขียวหวาน ทอดมันปลากราย ทอดไก่ นึ่ง มะระ ผักสด ผลไม้ ขนมปัง และน�้ำอัลมอนต์  ฝรั่งคนหนึ่งซึ่งคุ้นเคย กับอาหารไทย บังเอิญมาเห็นฉันก�ำลังจ้วงช้อนตักแกงเขียวหวานถึงกับ อุทานว่า It’s too spicy for morning! หลังจากอุ่นกระเพาะกันแล้ว ทุกคนก็เตรียมตัวกันอย่างสนุกสนานกับงานส�ำคัญทีจ่ ะมีขนึ้ ในเวลา สิบเอ็ดนาฬิกาเศษๆ เราเดินจากบ้านพักไปยังบ้านทีใ่ ช้จดั งานซึง่ ห่าง กันไม่กนี่ าทีและยังคงอยูร่ มิ ทะเล บุคคลทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ ในงานนีค้ งไม่มี ใครเกินเจ้าบ่าวชาวออสซีก่ บั เจ้าสาวซึง่ ก็คอื น้องสาวคนเล็กของฉันเอง เมื่อสาวเท้าเข้าไปในงานฉันรู้สึกเขินด้วยหลายกรณี  หนึ่งคือ ฉันเป็นพระเพียงรูปเดียวในงาน สองคือผู้คนที่มาร่วมงานถ้าเป็น ชาวไทยก็คงสงสัยว่าพระมาเดี่ยวได้ยังไง เพราะวันนี้ไม่มีการเจริญ พระพุทธมนต์ และสามคือถ้าเป็นฝรั่งที่ไม่ใช่ชาวพุทธคงสงสัยว่า งานนี้ไม่ใช่ปาร์ตี้แฟนซีแต่ท�ำไมหมอนี่แต่งตัวประหลาดเกินหน้า เกินตา แต่โชคดีที่น้องสาวนิมนต์ให้ฉันไปนั่งที่ระเบียงชั้นสองของ บ้าน ซึ่งสามารถมองลงมายังงานพิธีด้านล่างได้  อากาศและผู้คน ณ วินาทีนี้สดชื่นแจ่มใส เป็นพิธีเล็กๆน่ารักที่มีแขกเหรื่อมาร่วมงาน ประมาณหกสิบคน อุปกรณ์ข้าวของเก๋ไก๋ที่น�ำมาใช้ประดับตกแต่ง


ในงานจะใช้สีขาวเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นซุ้มประตู เต้นท์ โบว์ ลูกโป่ง ธงทิว แม้กระทั่งเด็กน้อยที่มาร่วมงานก็ยังสวมชุดกระโปรง บานสีขาวฟ่องฟู  มีสงิ่ หนึง่ ทีแ่ ม้แต่นกั บวชอย่างฉันก็ยงั รูส้ กึ ปลาบปลืม้ จนน�้ำตาแทบไหล นั่นก็คือสุนทรพจน์ภาคภาษาอังกฤษที่น�ำมา กล่าวก่อนสวมแหวนแต่งงาน ช่างหวานชืน่ และทรงธรรมเสียนีก่ ระไร หากคู่รักใดท�ำได้ความสุขคงโปรยปรายไม่รู้โรยรา หลายวันถัดมา ฉันจึงขอให้เจ้าสาวช่วยเลือกสุนทรพจน์สว่ นทีเ่ ธอประทับใจ มาถวาย สักหนึ่งย่อหน้า แล้วลงมือแปลแบบขลุกขลิกด้วยตัวของฉันเอง The Art of Marriage It is not looking for perfection in each other. It is cultivating flexibility, patience, understanding, and a sense of humor. It is having the capacity to forgive and forget. It is giving each other an atmosphere in which each can grow. It is finding room for the things of the spirit. It is the common search for the good and the beautiful. It is the establishing of a relationship in which the independence is equal, the dependence is mutual, and the obligation is reciprocal.


And finally, it is not only marrying the right partner, it is being the right partner. ศิลปะการแต่งงาน มิใช่การมองหาความสมบูรณ์แบบของกันและกัน มันคือการรู้จักยืดหยุ่น อดทน เข้าใจ และมีอารมณ์ขัน มันคือความสามารถในการให้อภัย มันคือการหยิบยื่นบรรยากาศเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้เติบโต มันคือการค้นพบที่อยู่ของจิตวิญญาณ มันคือการค้นหาความดีและความงาม มันคือการสร้างความสัมพันธ์ ความเท่าเทียม และความผูกพันอย่างเป็นอิสระ และท้ายที่สุด มันมิใช่เพียงการได้แต่งงานกับคนที่ใช่ แต่มันคือการเป็นใครคนนั้น หลังจากเสร็จงานพิธแี ละถ่ายรูปกันชุดใหญ่ ทัง้ กับคนในครอบครัว และมิตรสหายของเจ้าบ่าวเจ้าสาว ฉันก็ขอตัวเดินเปลือยเท้าเรียบ ชายหาดกลับมายังบ้านพักตามล�ำพัง อย่างมีความสุขกับการใช้ ชีวิตโดดเดี่ยว


วันทะเล เมื่อปรับตัวเข้ากับกระแสเวลาของที่นี่ได้แล้ว ฉันก็เริ่มท�ำกิจวัตร ประจ�ำวันของพระป่า คือการตืน่ ขึน้ มานัง่ สมาธิภาวนาในตอนเช้ามืด หลังจากนั้นก็เป็นเวลาอาหารเช้า อันประกอบด้วยขนมปังทาแยม น�ำ้ อัลมอนต์ น�ำ้ ชา และทีพ่ เิ ศษก็คอื เค้กแต่งงานจากเมือ่ วาน อากาศ เช้านี้หนาวสบาย แดดสดใส และคลื่นก้อนโต ฉันจึงไปเดินออก ก�ำลังกายกับโยมพ่อโยมแม่บนชายหาด ผู้สูงอายุหลายคู่พาสุนัข ออกมาวิ่งเล่น ส่วนคนหนุ่มสาวก็ออกมาเล่นเซิร์ฟ เมื่อวานพบเด็ก ผู้ชายอายุประมาณสิบสามขวบคนหนึ่ง เขาบอกว่ามาเล่นเซิร์ฟทุก สุดสัปดาห์ ส่วนคุณตาอายุหกสิบสามปีบอกว่า เด็กๆทีอ่ ยูร่ มิ ทะเลจะ ตื่นแต่เช้ามาเล่นเซิร์ฟก่อนไปโรงเรียน กลับจากโรงเรียนในตอนเย็น ก็มาเล่นอีก ชายหาดที่นี่สวยและเงียบสงบตลอดทั้งวัน  ผู้คนไม่พลุกพล่าน เกินกว่าฝูงนกนางนวล ช่วงเย็นของเมือ่ วานฉันออกไปเดินตามล�ำพัง ประมาณหนึ่งชั่วโมง การเดินบนชายหาดจะช้ากว่าปรกติเล็กน้อย เพราะทรายดูดเท้าเอาไว้ แต่ฝรั่งบางคนก็เลือกที่วิ่งจ๊อกกิงบนพื้น ทราย  ซึ่งคงท�ำให้กล้ามเนื้อที่น่องล�่ำสันเร็วกว่าวิ่งบนพื้นราบ เรียบตามปรกติ  ช่วงบ่ายฉันออกไปดูน้องชายหัดเล่นเซิร์ฟ  โดยมี น้องชายของน้องเขยคอยให้ค�ำแนะน�ำอยู่ใกล้ๆ น้องสาวถ่ายรูป


มือใหม่หัดเซิร์ฟหกขะเมนตีลังกาหัวคะม�ำขาชี้ฟ้ามาได้หลายภาพ ช่วงกลางคืนฉันจ�ำวัดได้ประมาณ 1 ชัว่ โมงก็รสู้ กึ ตัวตืน่  จากนัน้ ก็ ไม่หลับอีกเลย จึงเดินลงมายังชัน้ ล่างของบ้านแล้วคว้าน�ำ้ อุน่ หนึง่ แก้ว ไปนั่งจิบที่ห้องนั่งเล่น  จากนั้นกดรีโมทเปิดทีวีดูรายงานพยากรณ์ อากาศ  ตามด้วยสารคดีเกี่ยวกับหน่วยกู้ภัยประจ�ำหาด Bondi (อ่านว่า “บอนได”) ทีช่ ว่ ยชีวติ เด็กหนุม่ คนหนึง่ ซึง่ ประสบอุบตั เิ หตุจาก การเล่นเซิร์ฟ ไม่มีใครทราบว่าเขาจมอยู่ในน�้ำนานเพียงใดกว่าจะมี นักท่องเทีย่ วมาพบ บ่อยครัง้ ทีค่ วามสนุกสนานมักจะมาคูก่ บั อันตราย

วันคืนสู่ป่าคอนกรีต หลังอาหารเช้าเวลาเดิมคือเจ็ดนาฬิกา เราก็เก็บกระเป๋าเตรียมตัว เดินทางกลับเข้าไปในเมืองซิดนีย์ ก่อนเดินทางเราแวะร�ำ่ ลาพ่อกับแม่ ของเจ้าบ่าว ทีบ่ า้ นพักตากอากาศริมทะเลหลังทีใ่ ช้จดั งานเมือ่ วานซืน พ่อของเจ้าบ่าวบอกว่าพบกันใหม่วันพรุ่งนี้ เพราะเขาก�ำลังจะไปที่ ซิดนีย์เหมือนกัน เมื่อนั่งรถมาได้ประมาณสองชั่วโมง เราก็แวะพัก ณ จุดทีเ่ รียกว่า The Blow Hole ในเมือง Kiama เมือ่ เดินชมรอบบริเวณ และถ่ายรูปได้สกั ครูใ่ หญ่ๆ เราก็มารวมตัวกันพิจารณาอาหารกลางวัน บนสนามหญ้าริมทะเล อาหารเรียบง่ายและเป็นทีน่ ยิ มของผูค้ นแถบนี้ ก็คือ ปลาทอดชิ้นมหึมากับมันฝรั่งและน�้ำจิ้มหลากชนิด  หลังจาก


อิ่มหน�ำกันถ้วนหน้าเราก็ออกเดินทางกันต่อ ฉันนั่งคุยกับคนขับ สลับหลับๆตื่นๆเกือบตลอดทาง เพราะเมื่อคืนจ�ำวัดดึกไปหน่อย ระหว่างทางคนขับชี้ชวนให้ดูซากสัตว์ชนิดหนึ่ง มันคือ Wombat สัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมคล้ายหนูตวั โตหรือหมีตวั เล็ก แล้วฉัน ก็สะดุดตาสะดุดใจกับป้ายริมทางซึ่งอ่านได้ว่า Rubbish Dumping is a Crime – ทิ้งขยะริมทางหลวงคือการก่ออาชญากรรม!

วันแลนด์มาร์ค หลังอาหารเช้า คณะของเราซึ่งประกอบด้วยโยมพ่อ โยมแม่ ฉัน น้องชาย และน้องสาวอีกสองคน ก็เดินทางออกจากที่พักในเวลา เก้านาฬิกาเศษๆ โดยนั่งรถประจ�ำทางไปที่สวนสาธารณะ Hyde Park ทีน่ มี่ ปี ระติมากรรมประดับน�ำ้ พุทบี่ อกได้คำ� เดียวว่าประติมากร ศึกษา Anatomy มาอย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะประติมากรรม นักรบเปลือยถือดาบคว้าเขาสัตว์ประหลาดหัววัว ซึง่ แสดงกล้ามเนือ้ และพละก�ำลังมหาศาลได้อย่างมีชีวิตชีวา  จากนั้นทั้งคณะก็เดิน ข้ามถนนเข้าไปชมโบสถ์โบราณของชาวคริสต์  ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ สวนสาธารณะ แล้วตามด้วย  Australian Museum  ที่นี่บรรจุ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม พืชพันธุ์ สัตว์ และ ไดโนเสาร์ ได้อย่างน่าตืน่ เต้น แต่ฉนั ก็เดินดูเพียงผ่านๆเพราะเคยเห็น พิพิธภัณฑ์ประมาณนี้ที่แซนแฟรนซิสโกมาแล้ว ขณะที่ก�ำลังแวะ


เข้าซอกนั้นซอยนี้ ฉันก็ปะทะกับจักจั่นกราฟิกสีส้มบนภาพถ่าย ต้นยูคาลิปตัส จึงรีบคว้ากล้องบันทึกภาพทันควัน เพราะคาดว่า น่าจะน�ำไปประยุกต์ใช้กับงานหนังสือได้ จากพิพิธภัณฑ์เราก็ยกขบวนเดินย้อนกลับมาที่สวนสาธารณะ Hyde Park แล้วตัดข้ามไปทีห่ า้ งสรรพสินค้าใจกลางเมืองเพือ่ พิจารณา อาหารกลางวันแบบออร์แกนิก จากนั้นก็เดินเท้าต่อไปถึง Queen Victoria Building / Sydney Town Hall / Darling Harbour / Paddy Market แล้วนั่งรถประจ�ำทางไปย่านตลาดเก่า The Rocks ลัดเลาะ มาชมวิว Sydney Opera House อาบแสงแดดยามเย็น เรียกได้ว่า วันนีเ้ ราได้กระทบไหล่สญ ั ลักษณ์อนั โดดเด่นของซิดนีย์เกือบทัง้ หมด

วันฟาร์ม ก่อนเจ็ดนาฬิกาสามสิบนาทีเพียงเล็กน้อย น้องสาวก็โทรเรียก รถตู้มารับพวกเราไปส่งที่สถานีรถไฟ รายการของวันนี้ก็คือ เดินทางไปเยี่ยมฟาร์มของครอบครัวมาร์ติน เหตุที่ครอบครัวของ ชาวอุบลราชธานีรู้จักมักจี่กับครอบครัวของชาวออสซี่ก็เนื่องมาจาก เมือ่ ประมาณยีส่ บิ ปีทแี่ ล้ว ลูกสาวของครอบครัวมาร์ตนิ เป็นนักเรียน แลกเปลี่ยน เดินทางไปหาประสบการณ์ที่ประเทศไทย โยมแม่ ของฉันซึ่งเป็นครูในโรงเรียนประจ�ำจังหวัด  ได้รับมาพักที่บ้าน


ระยะยาว ปัจจุบันเด็กนักเรียนแลกเปลี่ยนคนนี้มีลูกสาวแก้มแดง วัยซนสองคน เมื่อวานเราไปเยี่ยมบ้านของเธอด้วย ฉันบอกเธอว่า ดูผอมไปเยอะ และยังจ�ำภาพเด็กฝรั่งตัวอ้วนขี่จักรยานได้ติดตา เธอเอามือปิดหน้าหัวเราะขวยเขิน รถไฟเคลื่อนออกจากสถานีในเวลา 08:30 น. โดยแล่นไปอย่าง ราบเรียบเรื่อยๆ ไม่มีเสียงฉึกฉักกัมปนาท ส่งผลให้นิทานชาดก จากไอพอดชัดเจนกว่าที่ฉันเคยนั่งฟังในรถยนต์ หลายเรื่องสนุก น่าติดตาม บางเรื่องกล่อมฉันหลับสบายอุรา ฉันตื่นขึ้นมาพิจารณา อาหารกลางวันบนขบวนรถไฟ เมื่ออิ่มแล้วก็ลงที่สถานี Lithgow ใน เวลา 11:15 น. ช่วงนี้มีการซ่อมบ�ำรุงเส้นทางรถไฟในสถานีถัดๆไป เราจึงต้องโดยสารรถบัสคันใหญ่  ที่ทางสถานีรถไฟจัดไว้ไปกันต่อ นิทานชาดกยังท�ำงานได้ผล ฉันรู้สึกตัวตื่นอีกทีก็มาถึงจุดหมายที่ เมือง Bathurst ในเวลา 12:25 น. รถยนต์สองคันของครอบครัว มาร์ตินจอดรอเราอยู่ก่อนแล้ว พวกเรานั่งรถจากสถานีรถไฟมาถึง ฟาร์มในเวลา 13:00 น. ระหว่างทางเป็นทุ่งปศุสัตว์ขนาดใหญ่ มี บ้านปลูกอยูเ่ พียงไม่กหี่ ลังคาเรือน ฟาร์มของครอบครัวมาร์ตนิ มีพนื้ ที่ ประมาณ 800 เอเคอร์ ปรากฏล�ำธารขนาดกลางไหลย้อยอ้อยอิ่ง เพราะเป็นตอนปลายฤดูใบไม้ร่วง ที่ฟาร์มแห่งนี้เลี้ยงวัวฝูงใหญ่ไว้ จ�ำหน่าย เมือ่ พวกเราย้ายสัมภาระเข้าไปเก็บในทีพ่ กั โยมพ่อก็เปลีย่ น ชุดเป็นชาวไร่  ออกไปช่วยครอบครัวมาร์ตินต้อนวัวกลับเข้าคอก โดยมีลูกสะใภ้ของครอบครัวมาร์ตินขี่ม้าเข้าร่วมวงด้วย หล่อนเป็น


คาวเกิร์ลที่ทะมัดทะแมงเอาเรื่องทีเดียว นอกจากบ้านหลังใหญ่ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของครัวมาร์ตินแล้ว ยังมี Cottage หรือกระท่อมสองห้องนอน หนึ่งห้องน�้ำ หนึ่งห้อง นั่งเล่น และหนึ่งห้องครัว ส�ำหรับให้นักเดินทางมาพักแบบ Home Stay ในอัตราสองคืนต่อสามร้อยออสเตรเลียดอลล่าร์ หรือถ้าพัก ยาวหนึ่งสัปดาห์ก็คิดราคาเพียงห้าร้อยเหรียญ คืนนี้ฉันพักอยู่ที่ห้อง นั่งเล่นของกระท่อมหลังนี้ ขณะที่คนอื่นๆก�ำลังยืนย่างเนื้อส�ำหรับ สอดไส้แฮมเบอร์เกอร์อยู่นอกบ้าน ฉันก็ก�ำลังนั่งเขียนบันทึกอยู่ใน กระท่อม โดยมีกลิ่นหอมอ่อนๆของลาร์เวนเดอร์  ระคนอุ่นจากเครื่อง ท�ำความร้อนแบบโบราณ อบอวลอยู่ในโพรงจมูกอย่างน่าอิจฉา

วันจิงโจ้ ช่วงสายคุณตามาร์ตินหกสิบสามกะรัต พาพวกเรานั่งรถขึ้น เนินเขาไปชมบริเวณไร่ ซึ่งฤดูนี้เต็มไปด้วยดอกหญ้าแห้ง มีแอ่งน�้ำ ธรรมชาติกระจายอยู่เป็นระยะๆ คุณตามาร์ตินชี้ชวนให้พวกเรา ชมเป็ดป่าฝูงหนึ่งก�ำลังไซ้ขนอยู่ริมหนองน�้ำเล็กๆ ฉันถามคุณตา มาร์ตินว่าคนแถวนี้ยิงเป็ดป่าไปกินกันบ้างไหม? คุณตาตอบว่า ออสเตรเลียมีกฏหมายให้ยิงได้เฉพาะฤดูล่าสัตว์  ซึ่งไม่ใช่ช่วงนี้ แต่รสชาติของเป็ดป่าไม่น่าอภิรมย์  ว่ากันว่าถ้าอยากกินให้อร่อย ต้องน�ำเป็ดป่าไปต้มพร้อมรองเท้า (ซึ่งท�ำจากหนังสัตว์) เมื่อน�้ำเดือด


ก็หมั่นตรวจดูว่ารองเท้านุ่มดีหรือยัง ถ้าพบว่ารองเท้านุ่มนิ่มดีก็ให้ เอาเป็ดขึ้นมาจากหม้อแล้วโยนทิ้ง จากนั้นก็กินรองเท้าจะอร่อยกว่า (ไม่ฮาก็ให้มันรู้ไป) ระหว่างที่รถแล่นอยู่ในทุ่งหญ้าฉันก็ได้พบสัตว์ที่เป็นเป้าหมาย นัน่ ก็คอื จิงโจ้  ไม่ใช่เพียงตัวเดียวแต่มากันเป็นฝูงประมาณสิบกว่าตัว กระโดดดึ๋งดั๋งอยู่บนเนินเขาน่าตื่นตาตื่นใจกว่าที่เคยเห็นในหนัง สารคดี ในประเทศออสเตรเลีย จิงโจ้เป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถพบเห็น ได้ทวั่ ไป ผูท้ ตี่ อ้ งการเล่นเกมไล่ลา่ จึงสามารถท�ำได้โดยไม่จำ� กัดฤดูกาล และสถานที ่ ชาวไร่ไม่ชอบจิงโจ้นกั เพราะมันกินจุเท่ากับแกะหนึง่ ตัว ในประเทศออสเตรเลียมีโรงงานที่น�ำเนื้อของจิงโจ้มาท�ำเป็นอาหาร ส�ำหรับหมาและแมวด้วย วันพรุ่งนี้คุณตาและคุณยายมาร์ตินจะต้องเดินทาง  ไปงาน ฌาปนกิจคุณแม่ของคุณตามาร์ตนิ ทีเ่ มืองแห่งหนึง่   ซึง่ ต้องขับรถยาว นานถึงสิบห้าชั่วโมง แต่ไม่ใช่เรื่องหนักหนาส�ำหรับคุณตาและ คุณยายเพราะ Caravan รถกระบะพ่วงตู้นอนมีเครื่องอ�ำนวยความ สะดวกพร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็นเตียงนอนนุ่มหนา ทีวีจอเบิ้ม ชุดโต๊ะ เก้าอี้ เคาน์เตอร์ส�ำหรับท�ำอาหาร เตาแก๊สพร้อมเครื่องดูดควัน อ่าง ล้างจาน ตู้เย็น ห้องสุขา เรียกได้ว่าง่วงที่ไหนก็จอดนอนที่นั่น หิว ที่ไหนก็จอดกินที่นั่น คืนนี้คุณตาและคุณยายจึงเลี้ยงบาบีคิวรอบ กองไฟร�่ำลาแขกผู้มาเยือน ส่วนฉันก็นั่งดูข่าวและสารคดีอยู่หน้า


เตาผิงในห้องนั่งเล่นของกระท่อม  มีสารคดีสั้นเรื่องหนึ่งซึ่งถ่ายท�ำ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์  แต่ก็เป็นปัญหาใหญ่ของทุกประเทศทั่วโลก นั่นก็คือ Drink - Driving เมาแล้วขับ

วันภูเขา เมื่อแแดดอุ่นก�ำลังดี  ทั้งสองครอบครัวซึ่งเตรียมสัมภาระขึ้นรถ เรียบร้อยแล้ว ก็ออกมาถ่ายรูปร่วมกัน จากนั้นรถยนต์สามคันก็ แล่นสู่ Blue Mountain ใช้เวลาในการเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมง กับสี่สิบห้านาที  ที่นี่เป็นจุดท่องเที่ยวส�ำคัญอีกแห่งหนึ่งของซิดนีย์ เหตุที่เทือกเขาบริเวณนี้กลายเป็นสีฟ้าสมฉายา  Blue Mountain เพราะถูกปกคลุมด้วยไอระเหยจากต้นกัมหรือยูคาลิปตัส ต้นไม้อัน เป็นสัญลักษณ์ของออสเตรเลีย  การทัศนศึกษาในอาณาบริเวณ Blue Mountain สามารถท�ำได้หลายทางคือเดินเท้า กระเช้าไฟฟ้า และรถราง เราเลือกแบบที่สองเพราะมีเวลาไม่มาก กระเช้าไฟฟ้า เลื่อนลอยอยู่ระหว่างหน้าผาหินสองแห่ง ฝั่งขวามือเป็นแท่งหินโด่เด่ สามใบเถาเรียกว่า Three Sister ส่วนฝั่งซ้ายมือเป็นน�้ำตกสูงชัน เจ้าหน้าที่ควบคุมกระเช้าเล่าว่าจากต�ำแหน่งสูงสุดของกระเช้าดิ่งลง สู่พื้นเบื้องล่างคิดเป็นระยะทางประมาณสี่ร้อยกิโลเมตร ส่วนกลาง ของกระเช้าถูกออกแบบให้ใช้กระจกอย่างหนาเป็นพื้น ผู้โดยสารจึง สามารถขึน้ ไปยืนชืน่ ชมยอดไม้เบือ้ งล่าง ให้ความรูส้ กึ ราวกับว่าก�ำลัง


เหาะเหินเดินอากาศ เพิ่มความหวาดเสียวได้อีกเล็กน้อย จาก Blue Mountain เข้าไปในเมืองซิดนีย์ใช้เวลาประมาณหนึ่ง ชั่วโมงครึ่ง  ค�่ำนี้น้องชายกับน้องสาวคนโตของฉันต้องเก็บกระเป๋า ข้าวของ เพราะพรุง่ นีต้ อ้ งเดินทางกลับเมืองไทย ส่วนโยมพ่อ โยมแม่ และฉันจะอยูซ่ ดิ นียต์ อ่ ไปอีกระยะหนึง่ โดยมีนอ้ งสาวคนเล็กและสามี จะเป็นผูค้ อยดูแล คืนนีเ้ ราพักกันทีบ่ า้ นของอดีตนักเรียนแลกเปลีย่ น ชาวออสซี่ เป็นบ้านหลังใหญ่ที่มีมนุษย์ประจ�ำอยู่สี่ชีวิตคือพ่อ แม่ และลูกสาวสองคน นอกจากนี้ยังมีสรรพสัตว์อีกหลายชีวิตเช่นปลา หมา แมว กระต่าย และ Guinea Pig (อ่านว่า “กินีพิก”) หนูขนยาว ชนิดหนึ่งตัวโตขนาดแมวตัวอ้วนๆ


KOALAS


วันเดิน ทุกเช้าวันเสาร์ที่บ้านนี้ิ  คุณพ่อจะท�ำแพนเค้กราดเมเปิลไซรัป ส�ำหรับทุกคนในครอบครัว ฉันจึงได้รบั อานิสงส์นนั้ ด้วย เมือ่ กระเพาะ อุ่นได้ที่เราจึงยกขบวนไปยืดเส้นยืดสายกันที่ Cumberland State Forest สวนพฤษศาสตร์ซึ่งอุดมไปด้วยต้นกัมหรือยูคาลิปตัสนานา พันธุ์ เมื่อเดินทัศนารอบบริเวณแล้วเราจึงเข้าไปชมห้องนิทรรศการ ขณะทีฉ่ นั ก�ำลังอ่านข้อมูลต่างๆ เด็กชาวจีนคนหนึง่ ซึง่ มากับแม่กเ็ อา ปัจจัยมาถวาย ๕๐ ออสเตรเลียดอลล่าร์ ฉันยิ้มอนุโมทนาแล้วบอก เขาว่าโยมแม่ของฉันจะรับไว้พิจารณา ขณะที่เดินกลับไปขึ้นรถ พ่อ ของลูกสาวแก้มแดงก็ถามว่า พระไทยกับพระจีนต่างกันอย่างไร? ฉันนึกไปถึงความเป็นมาของพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน แต่มนั คงจะใช้เวลานานเกินไปในการอธิบาย โดยเฉพาะอธิบายด้วยภาษา ที่ฉันไม่ถนัด ฉันจึงเลือกที่จะตอบเพียงสั้นๆว่า “พระไทยไม่ฝึกกังฟู” เมื่อเวลาอาหารกลางวันมาถึง  เราจึงไปลองลิ้มชิมรสกันที่ Paddington Markets (เลขที่ 379) ซึง่ เป็นตลาดนัดวันเสาร์ในซิดนีย์ อาหารที่นี่มีราคาไม่ต่างจากที่อื่นมากนัก มีร้านจ�ำหน่ายอาหารไทย อยู่ด้วยหนึ่งร้าน แต่เราเลือกที่จะพิจารณาอาหารแบบพื้นเมืองของ ชาวออสซี่ ส่วนเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับในตลาด แพดดิงตั้นจะมีราคาสูงกว่าที่อื่นพอสมควร เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่


อุดมไปด้วยความ Unique หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นรองเท้า บู้ทท�ำมือส�ำหรับคุณผู้หญิงซึ่งผลิตจากหนังจิงโจ้  คนขายที่ร้านนี้ ถามน้องสาวของฉันด้วยความสนใจในชีวิตพระ ท้ายที่สุดก็ยิง ค�ำถามมาถึงฉันว่า คุณเป็นพระเฉพาะช่วงประกอบพิธกี รรมหรือเป็น พระตลอดเวลา? ฉันตอบว่า (พยายาม) เป็นพระแบบ “Full Time” เดินออกมาไม่ไกลจากตลาดแพดดิงตั้นก็พบกับ Australian Centre for Photography (เลขที่ 257) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งต�ำแหน่งที่ เราเล็งเอาไว้ ช่วงนี้มีนิทรรศการเกี่ยวกับภาพถ่ายบุคคล Head On Portrait Prize สามารถเข้าชมได้ฟรีและไม่แออัด แม้วา่ Every picture tells a story แต่ภาพถ่าย Landscape ก็มีเรื่องราวมากกว่าและดู ได้นานกว่า เราจึงใช้เวลากับภาพถ่าย Portrait  เพียงสั้นๆแล้วเดิน ต่อไปที่ร้านหนังสืออีกสองแห่ง (เลขที่ 42 และ 19 ตามล�ำดับ) พรุ่งนี้ เป็นวันแม่ของชาวออสซี่ ทั้งที่ร้านหนังสือและตลาดแพดดิงตั้นจึง จัดโปรโมชั่นพิเศษส�ำหรับโอกาสนี้--Happy mothers day dude!!

วันเบาๆ วันนีเ้ ราตกลงกันว่าจะพักผ่อน เพราะเดินทางไปโน่นนั่นนีต่ ดิ ต่อ กันมาหลายวันแล้ว และน้องสาวคนเล็กซึ่งเป็นเจ้าถิ่นจะได้มีเวลา ผ่อนคลายด้วย เพราะในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะ


เตรียมการเกี่ยวกับงานแต่งงานของตัวเองแล้ว ยังต้องดูแลเพื่อนๆ และคนในครอบครัว แต่การจัดงานแต่งงานอย่างนีก้ น็ า่ รักดี นอกจาก จะสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว เจ้าบ่าวเจ้าสาวก็ ไม่เหนื่อยมาก และยังมีเวลาให้กับญาติสนิทมิตรสหายสายโลหิต ซึ่งนานๆจะได้พบกันสักที เนื่องจากต่างคนต่างก็มีกิจการงานที่ต้อง รับผิดชอบ และด�ำเนินชีวิตอยู่ในต่างดินแดน ช่วงเย็นโยมพ่อ โยมแม่ และน้องสาว มอบให้ฉันเป็นผู้ตัดสินใจ ว่าพรุ่งนี้จะไปทัศนศึกษาที่ไหน  เราพร้อมใจกันโยนอควาเรียม และสวนสรรพสัตว์ออกไปจากโปรแกรมเพราะเห็นกันมาเยอะแล้ว แม้บางใครจะบอกว่าอยากไปจับหูหมีโคอาล่าก็ตามที แต่เมื่อใกล้ จะเอนตัวลงที่นอนฉันก็ยังนึกไม่ออกว่าจะใช้เวลาสามวัน  ก่อน โยมพ่อโยมแม่จะเดินทางกลับเมืองไทยอย่างไรดี

วันว่าง จนแล้วจนรอดเราก็ยงั ไม่มวี แี่ ววว่าจะย้ายก้นกันไปทีไ่ หน โยมแม่ เสนอ Royal National Park ซึ่งต้องนั่งรถออกไปจากเมืองซิดนีย์ ประมาณ 40 กิโลเมตร ฉันลืมเล่าไปว่าที่ออสเตรเลียนอกจากรถจะ วิ่งชิดซ้ายแล้ว ยังใช้หน่วยวัดระยะทางเป็นกิโลเมตร และหน่วยวัด อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสเหมือนที่เมืองไทย ซึ่งท�ำให้เราสามารถ


สื่อสารกับชาวออสซี่ได้อย่างสะดวก ช่วงสายน้องสาวพาโยมแม่ออกไปซือ้ ของขบเคีย้ วทีซ่ ปุ เปอร์มาร์เก็ต ใกล้ๆที่พัก โยมพ่อจึงท�ำสุกี้ยากี้ถวายก่อนเที่ยง พระที่เมืองไทยเคย ถามว่าท�ำไมพระป่าที่อยู่ต่างประเทศจึงฉันสองมื้อ ทั้งๆที่ตอนอยู่ เมืองไทยก็ฉันเพียงมื้อเดียว? ค�ำตอบก็คือเพราะอากาศหนาวจัด ร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าอยู่เมืองร้อน เมื่อฉันพิมพ์ค�ำว่า “ร้อน” เสร็จก็ตรงกับเวลา 13:30 น. พอดี อุณหภูมขิ ณะนีค้ อื 18 องศา เซลเซียส แดดที่เมืองหนาวส่งผลให้ให้อุณหภูมิขยับขึ้นมาเพียงเล็ก น้อย จนแทบไม่แตกต่างจากตอนที่ไม่มีแดด อีกค�ำถามหนึ่งที่ฉัน ได้ยินบ่อยพอๆกันก็คือ ท�ำไมพระที่อยู่ต่างประเทศต้องสวมหมวก ใส่เสื้อกันหนาวและผ้าพันคอ? ถ้าผู้ถามได้มาสัมผัสด้วยตัวเองก็จะ ซาบซึ้งถึงรูขุมขน และเป็นกระบอกเสียงให้พระที่ปฏิบัติศาสนกิจ อยู่ในต่างแดนได้อีกหนึ่งแรง ประมาณสีโ่ มงเย็นโยมแม่กบั น้องสาวก็กลับมาทีพ่ กั ถามได้ความ ว่ารุน่ พีค่ นไทยพาไปซือ้ ของแล้วแวะชิมก๋วยเตีย๋ วรสเด็ดทีร่ า้ นอาหาร ไทย เห็นเมนูเก๋ไก๋ทโี่ ยมแม่ถอื ติดมือมาแล้วก็ตอ้ งส่งข่าวข้ามมหาสมุทร ไปบอกคนไทยทีก่ ำ� ลังบ่นร้อนตับแตกว่า อย่างน้อยเราก็ได้กนิ ปลากริม ไข่เต่าถ้วยละไม่กี่บาท แถมยังกินได้หลายถ้วย (สมัยที่ฉันเป็นเด็ก คนขายหาบมาส่งถึงหน้าบ้าน) ในขณะที่ชาวซิดนีย์ต้องกินปลากริม ไข่เต่าถ้วยเล็กๆในราคาหกออสเตรเลียดอลล่าร์หรือร้อยแปดสิบ


บาท ถ้าชาวออสซีท่ ไี่ ม่เคยไปเมืองไทยรูเ้ รือ่ งนีเ้ ข้า คงอิจฉาชาวสยาม ประเทศจนหายหนาว

วันของฝาก เราเริ่มต้นวันใหม่กับแดดสดใสด้วยการออกมาเดินเล่นกันที่ Centennial Park สวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางชุมชน ผูัคนที่ เห็นในสวนวันนีส้ ว่ นใหญ่อยูใ่ นวัยกลางคน ซึง่ มาพร้อมกับรถเข็นเด็ก หรือไม่กเ็ ป็นผูส้ งู อายุกบั เพือ่ นวัยเดียวกันหรือสุนขั ตัวโปรด บ้างก็เดิน บ้างก็วิ่ง บ้างก็ปั่นจักรยาน บ้างก็นั่งอาบแดด สวนแห่งนี้เน้นสนาม หญ้ามากกว่าดอกไม้ มีต้นไม้ขนาดใหญ่และบึงกระจายอยู่ทั่วไป จากนั้นโยมพ่อ โยมแม่ ฉัน และน้องสาวก็เดินออกมาขึ้นรถ โดยสารประจ�ำทาง บริเวณด้านหน้าตลาดแพดดิงตัน้ ซึง่ วันนีป้ ราศจาก ร้านค้าเพราะไม่ตรงกับวันเสาร์ เราลงรถบริเวณด้านหน้าสวนสาธารณะ Hyde Park แล้วเดินผ่าน Queen Victoria Building หนึง่ ในสัญลักษณ์ ส�ำคัญของซิดนีย์ QVB เป็นอาคารโบราณขนาดมหึมาอายุรอ้ ยกว่าปี ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางตึกระฟ้าทันสมัย ปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยน ให้เป็นห้างสรรพสินค้าสุดแคลสสิค ญาติโยมได้ของฝากจากทีน่ เี่ ป็น ส่วนใหญ่มีของเล่นเป็นอาทิ ส่วนฉันได้โปสการ์ดขนาดพิเศษที่ถูก ออกแบบและตัดให้เป็นรูปหมีโคอาล่ามาหนึ่งใบ จากร้านจ�ำหน่าย


ของที่ระลึกย่าน Darling Harbour  ตั้งใจว่าจะส่งไปแสดงความ ยินดีกับสามเณรสองรูปที่วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเขาจะบวชเป็นพระในเดือนหน้า ซึ่งมันก็ น่าแสดงความยินดีจริงๆ เพราะกว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ต้องบวชเป็น ผ้าขาว (อนาคาริกหรือผู้ชายเตรียมบวช) หนึ่งปี และสามเณรอีก หนึ่งปี ฉันเข้าใจความรู้สึกนี้ดี ฉันสังเกตเห็นตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าไปในตัวเมืองซิดนีย์ แล้วว่า ที่นี่มีชาวเอเชียอยู่เยอะ ประมาณ 30-40% ของประชากร ที่ฉันพบเห็นตามท้องถนนเลยทีเดียว ฉันเข้าไปในเมือง 2 ครั้ง พบ คนไทยทั้งหมด 5 ครั้ง มีญาติโยมเข้ามาทักทาย 3 ครั้ง หนึ่งในนั้นพบ กันบนรถประจ�ำทางและถวายปัจจัยด้วย ส่วนอีก 2 ครัง้ ไม่ได้ทกั ทาย แต่ได้ยินเขาพูดภาษาไทยกับเพื่อนที่มาด้วยกัน

วันเก็บกระเป๋า เช้านี้ฉันประเดิมด้วยเมี่ยงค�ำจากพี่คนไทยชาวซิดนีย์  ฉันเพิ่ง สังเกตว่าเมี่ยงค�ำเป็นของว่างที่บ่งบอกถึงนิสัยใจกว้างของคนไทย ได้เป็นอย่างเด่น ในส�ำรับอันประกอบด้วยมะพร้าวคั่ว มะนาว พริก ขิง กุ้งแห้ง ใบชะพลู และน�้ำปลาหวาน แยกกันเป็นสัดส่วน ใคร ใคร่เปรี้ยว เผ็ด หวาน เค็ม มัน อย่างไร ก็จัดสรรเองได้ตามอัธยาศัย


ไม่มกี ารจุกจิกจูจ้ บี้ งั คับให้หยิบนัน่ เติมนี่ แต่ให้อสิ ระในการใช้ปญ ั ญา สอดส่องให้พอเหมาะพอดีกับสภาพร่างกายของตนเอง ครั้งหนึ่ง ครูบาอาจารย์ชี้ให้ฉันดูต้นพริกที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติแล้วปรารภว่า “พริกที่เกิดอยู่ตามป่ามันงาม เพราะไม่มีใครเจ้ากี้เจ้าการ” ก่อนเที่ยงวันในร้านไอศกรีมสไตล์ญี่ปุ่นกับ Banana Waffle เราก็ยังวนเวียนอยู่กับการเสาะหาของฝาก ก่อนที่จะเข้าไปในร้าน จ�ำหน่ายสินค้าต่างๆจะมีสติก๊ เกอร์แปะอยูห่ น้าประตูแจ้งว่า  ในร้าน มีกล้องวงจรปิดติดตั้งอยู่ ผู้ที่เข้าไปในร้านจะถูกบันทึกภาพเอาไว้ แม้แต่บนรถประจ�ำทางหรือแท๊กซี่ เราก็จะพบสติก๊ เกอร์แปะข้อความ ประมาณนี้  SECURITY CAMERA OPERATING : YOU WILL BE PHOTOGRAPHED - CONVERSATION MAY BE RECORDED ถ้าเปลี่ยนข้อความนี้เป็น BIG BROTHER IS WASHING YOU ซิดนีย์ก็จะกลายเป็นโลกในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง 1984 ในทันที ญาติโยมใช้เวลาส่วนใหญ่ในร้านจ�ำหน่ายของเล่นขนาดมโหฬารที่มี สาขากระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เมื่อเห็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ก�ำลังเล่นแท่งพลาสติกสีชมพูขนาดยาวพอๆกับไม้เท้า ตรงปลายมี หัวตุ๊กตาม้าสีน�้ำตาลนุ่มนิ่มประดับแผงคอสีขาวฟูฟ่อง ก็ท�ำให้ฉัน นึกถึงม้าก้านกล้วยสีเขียวนวลที่เคยเล่นตอนเป็นเด็ก โยมพ่อกับโยมแม่จัดกระเป๋าเดินทางแบบหลวมๆเตรียมไว้แล้ว ตั้งแต่เมื่อวาน และวันนี้คงจะเอาจริง  เพราะพรุ่งนี้ต้องไปเช็คอินที่


สนามบินในเวลาแปดโมงเช้า ส่วนฉันก็ต้องเก็บกระเป๋าเหมือนกัน เพราะตามแผนที่วางไว้ก็คือจะย้ายไปพักที่วัดพุทธรังสี  เมือง Standmore ประมาณ 4-5 วัน เพือ่ รอท่านเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธธรรม เมือง Wisemans Ferry มารับในวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งขณะนี้ท่าน อยูใ่ นระหว่างการเดินทางไปเยีย่ มโยมพ่อโยมแม่ทมี่ ลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

วันเก่าๆ เมืองสแตนมอร์อยูห่ า่ งจากทีพ่ กั ของน้องสาวย่านคิงส์ฟอร์ดเพียง สามสิบนาที วัดพุทธรังสีเป็นบ้านเก่าแก่ทรงสูงสองชั้นที่ถูกปรับปรุง ให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2518 ด้านหลังอาคารทรงสูงมีสนามหญ้าเล็กๆและอาคารชั้นเดียว อีกหนึ่งหลังที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อสามปีที่แล้ว ใช้เป็นสถานที่ส�ำหรับ สวดมนต์ นัง่ สมาธิ และสนทนาธรรมในวันหยุดสุดสัปดาห์ วัดพุทธรังสี เป็นวัดสายธรรมยุตมีพระอยู่ประจ�ำสามรูป น้องสาวของฉันเคยมา ท�ำบุญทีน่ หี่ ลายครัง้ หลังจากโยมพ่อกับโยมแม่เดินทางกลับเมืองไทย เมื่อเช้านี้ จึงติดต่อให้ฉันมาพักที่นี่เพราะสะดวกหลายอย่าง หลังเที่ยงวันแดดอุ่นก�ำลังดี ฉันจึงขออนุญาตพระอาจารย์ผู้เป็น ประธานสงฆ์ออกไปเดินย่อยอาหาร พระอาจารย์บอกว่าก�ำลังจะออก


ไปเดินเหมือนกัน อุบาสกคนหนึ่งจะไปด้วยแต่เขาก�ำลังกินข้าว อยู่ ไม่นานนาทีถัดมา เราก็เริ่มออกเดิน บ้านส่วนใหญ่ในละแวกนี้ น่าจะมีอายุรุ่นราวเดียวกับอาคารของวัดพุทธรังสี วัสดุที่ใช้มักจะ เป็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ มีเหล็กหล่อลายเถาวัลย์ประดับอยู่ที่รั้วและ ระเบียงบ้านแทบทุกหลัง บ้านบางหลังได้รบั การตกแต่งใหม่จนหวาน หยาดเยิ้ม แต่บางหลังก็คงสภาพเดิมๆ ไม่ไกลจากวัดมีร้านขายของ เก่า 2-3 แห่ง ร้านหนึ่งปิดกิจการไปแล้ว ฉันแอบมองผ่านกระจก หน้าต่างเห็นสินค้าน่าสนใจประเภทเครื่องแก้ว วางระเกะระเกะอยู่ ตามโต๊ะและชั้นวางของ ส่วนอีกร้านหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าแต่ยังเปิด ท�ำการ เราจึงแวะเข้าไปดู ฉันนึกชอบกระป๋องรดน�ำ้ ต้นไม้สงั กะสีสแี ดง ราคาไม่แพงแต่คงไม่สนุกถ้าต้องหอบกลับเมืองไทย ถ้าวัดในซิดนีย์ ตกแต่งแบบ Junk Style คงเพลินดี เพราะมีของแนวนี้ให้เลือกเยอะ เดินผ่านด้านข้างโบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งซึ่งมีเนื้อที่เว้นว่างไว้ให้ ปลูกผัก เห็นฝรั่ง 4-5 คนก�ำลังย่างบาบีคิวกันอยู่ บริเวณนั้นแขวน ป้ายไวนิลแผ่นใหญ่อ่านได้ว่า  Community BBQ & Garden คงจะเป็นโครงการน่ารักเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน ผ่านจุดนี้ไปไม่ไกล เราก็แวะเข้าไปในร้านขายของเก่าอีกแห่งหนึ่ง ขณะทีฉ่ นั ก�ำลังพลิกดูหนังสือมือสองก็มคี นไทยเข้ามาทักทาย ฟังจาก ส�ำเนียงแล้ว หล่อนเป็นคนอีสานบ้านเดียวกัน หล่อนเล่าว่ามาเรียน เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ขากลับเราพบร้านกาแฟซ่อนตัวอยู่ในตึก เก่าข้างสวนสาธารณะเล็กๆ นอกจากเคาน์เตอร์จ�ำหน่ายกาแฟและ


ชุดโต๊ะเก้าอีเ้ พียงไม่กตี่ วั ทัง้ ร้านก็ประดับด้วยหนังสือเต็มชัน้ เจ้าของ ร้านยืนอยู่หลังเคาน์เตอร์ส่งยิ้มพร้อมโบกมือทักทาย ฉันจึงโต้ตอบ ด้วยอากัปกิริยาเดียวกัน

วันเก่ากว่า มาอยู่ซิดนีย์เต็มสองสัปดาห์ ฉันเพิ่งได้สวดมนต์ท�ำวัตรเช้าร่วม กับพระภิกษุก็วันนี้เอง หลังจากนั่งสมาธิภาวนาเสร็จแล้วก็ไม่จ�ำเป็น ต้องลุกไปไหน เมื่อลืมตาขึ้นก็จะมีญาติโยมยกถาดอาหารเช้ามา ถวายถึงที่นั่งในเวลาเจ็ดนาฬิกา หลังอาหารเช้าฉันนั่งอ่านหนังสือ ประวัติ “หลวงปู่ศรี มหาวีโร” ลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของ “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” เมื่ออ่านไปถึงข้อความที่ว่า “ภูเขา ถ�้ำ เงื้อมผา ป่าช้า เป็น สง่าของพระกรรมฐาน” ฉันก็อยากเดินทางไปสู่สถานที่เช่นนั้นใน เร็ววัน ก่อนสิบเอ็ดนาฬิกา น้องสาวของฉันน�ำอาหาร ชา และโลชั่นมา ถวาย โดยนั่งรถเมล์แล้วต่อรถไฟมาจากที่พักย่านคิงส์ฟอร์ด สถานี รถไฟอยู่ไม่ไกลจากสวนสาธารณะที่ฉันเดินผ่านเมื่อวาน อาหารมื้อ หนักที่วัดพุทธรังสีมีรสชาติจัดจ้านแบบไทยแท้เต็มสูตร จนท�ำให้ฉัน ลืมการบริโภคอาหารแบบ “ธรรมชาติบ�ำบัด” ที่ฝึกหัดมาตลอดสาม เดือน เอาไว้กลับไปถึงเมืองไทยค่อยตั้งหลักกันใหม่ หลังอาหารเพล


ซึ่งมีต้มข่าไก่เป็นพระเอก พระอาจารย์ผู้เป็นประธานสงฆ์ก็ชวนฉัน กับอุบาสกคนเดิมออกไปเดินย่อยอาหารกันอีก วันนีเ้ ราเจริญอาหาร กันดี จึงออกเดินตั้งแต่เที่ยงครึ่งจนเกือบถึงบ่ายสี่โมง โดยเริ่มจาก แหล่งที่อยู่อาศัยไปสู่ย่านชุมชน ผ่านโบสถ์คริสต์เก่าแก่หลายแห่ง แวะร้านขายของเก่า 4-5 ร้าน ทักทายคนไทยที่พบกันระหว่างทาง โดยบังเอิญ 2 คน แลัวพักพิจารณาเครื่องดื่มที่ร้านอาหารไทยแห่ง หนึ่ง  ไม่ไกลจากร้านอาหารไทยมีร้านจ�ำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เก่า  ฉัน สะดุดใจกับโซฟาบุหนังสีแดงตอกหมุด ซึ่งทางร้านให้ข้อมูลว่าเป็น สไตล์ที่นิยมในปี ค.ศ.1920 หลังจากสวดมนต์ท�ำวัตรเย็นก็เป็นไปตามที่ฉันคาดไว้คือ นั่ง สมาธิภาวนาด้วยความโงกง่วงมหากาฬ สาเหตุก็ไม่ใช่อะไรอื่น เป็น เพราะตืน่ แต่เช้าตรูแ่ ล้วไม่ได้งบี กลางวัน แถมยังเดินเกือบตลอดบ่าย ฉันสัปหงกนับครัง้ ไม่ถว้ นแต่กฝ็ นื นัง่ ไปเรือ่ ยๆ จนกระทัง่ ความง่วงเหงา หาวนอนม่อยหลับ ฉันจึงกลับคืนสูค่ วามเป็นปรกติและรูส้ กึ ราวกับว่า วันนี้เป็นเพียงวันธรรมดาๆวันหนึ่งเท่านั้นเอง

วันบวก ลบ คูณ หาร หลังอาหารมื้อหนักก่อนเที่ยงวัน ฉันก็เตรียมตัวออกเดินอย่าง ที่เคยท�ำมา วันนี้กะว่าจะเดินใกล้ๆและไปกับกล้องสองตัวคือ G11


และ LOMO Action Sampler ขณะที่ฉันก�ำลังห่มจีวรก็มีโยมมา เคาะประตูเรียก เมื่อฉันเปิดประตูโยมก็แจ้งว่าจะพาไปนั่งรถชม เมืองและล่องเรือ ฉันคว้าย่ามแล้วเดินตามอย่างว่าง่าย โยมน�ำฉัน มาที่วัดพุทธรังสี เมือง Anadele ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดพุทธรังสี เมือง Stanmore ยามสายของวันเสาร์ที่ Anadale คึกคักพอสมควร โยม บอกว่าหนุ่มสาวชาวไทยในซิดนีย์มักจะมาท�ำบุญกันที่นี่  ในเวลา ต่อมาโยมก็แวะที่ตลาดแพดดี้เพื่อซื้อของฝากเพื่อนๆ เพราะจะบิน กลับเมืองไทยในวันพรุ่งนี้ ขณะทีน่ งั่ รถโยมเล่าเรือ่ งสนุกๆในซิดนียใ์ ห้ฉนั ฟังหลายเรือ่ ง และ เล่าโดยใช้ภาษาไทยสลับกับภาษาอังกฤษชนิดที่ไม่ได้ตั้งใจจะอวด แต่เป็นไปตามความเคยชินเพราะอยู่มานาน เช่นเมื่อพูดว่า “แค่ นั้นแหละ” ก็จะใช้ค�ำว่า “That’s it” แทน โยมถามฉันว่า “ท�ำไมฉัน ภัตตาหารเสร็จแล้ว ครูบาอาจารย์สายวัดหนองป่าพงจึงไล่พระใหม่ กลับกุฏิ ไม่ให้คยุ กับญาติโยม?” ฉันตอบว่า “ท่านต้องการให้พระใหม่ กลับไปเดินจงกรม นั่งสมาธิ ท�ำความเพียร เพราะพระใหม่ยังมี คุณธรรมน้อย และญาติโยมก็มักจะเอาแต่เรื่องทางโลกมาพูดคุย เดี๋ยวพระใหม่ก็จะถูกดึงออกไป ขนาดพระผู้ใหญ่เองบางครั้งก็ยัง พลาด” เมื่อสิ้นค�ำว่า “พลาด” โยมก็เอามือตบพวงมาลัยฉาดพร้อม หัวเราะลั่น เพราะก่อนหน้านี้โยมได้เล่าถึงเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่ง ในออสเตรเลียที่ลาสิกขาเพราะมาตุคาม ฉันพิจารณาต่อไปว่า ถ้า ชายผู้หนึ่งบวชเมื่ออายุยี่สิบปีแล้วเป็นเจ้าอาวาสในพรรษาที่สิบ ซึ่ง


ขณะนั้นเขาจะมีอายุสามสิบปี ก็เท่ากับว่าเขาจะมีเวลาให้กับตัวเอง เพียงสิบปี เพราะหลังจากนั้นอีก 30-40 ปีหรือจนกว่าจะสิ้นอายุขัย จะเป็นเรื่องการบริหารวัด ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนมากมาย เนื่อง จากหน้าที่หลักของเจ้าอาวาสคือการอนุเคราะห์โลก โยมขับรถพาฉันมาส่งขึ้นเรือที่ท่า Circular Quay (อ่านว่า “เซอร์กูล่าคีย์”) วันนี้มีชาวอะบอริจิน 2-3 คนมาเล่นเครื่องดนตรี พื้นเมือง Dijeridoo อวดนักท่องเที่ยวด้วย โยมให้ฉันขึ้นเรือไปกับ โยมอีกคนหนึ่งแล้วบอกว่าจะขับรถไปรอที่ท่า Manly เมื่อเรือสองชั้น ล�ำใหญ่เคลื่อนตัวออกจากท่าได้ไม่นานก็ผ่าน  Opera House สถานที่แสดงดนตรีรูปทรงใบปาล์มอันโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ของ ซิดนีย์และทวีปออสเตรเลีย สถาปัตยกรรมแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1973 ฉันคว้าทั้งกล้องดิจิทัลและกล้องฟิล์มออกมาบันทึกภาพไว้ หลายๆมุม จู่ๆประโยคโลกๆในคู่มือท่องเที่ยวออสเตรเลียด้วยตัวเอง ก็ล่องลอยหลอกหลอนอยู่เหนือยอดแหลมของตัวอาคาร--ถ้าไม่มี รูปถ่ายตัวเองกับซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์ ก็เหมือนมาไม่ถึงซิดนีย์ เวลาผ่านไปสามสิบนาทีเรือก็แล่นเข้าเทียบท่า Manly เมื่อฉัน เดินลงจากท่าเรือมาถึงบริเวณร้านค้าก็พบโยมยืนรออยู่แล้ว โยม บอกว่ามาถึงก่อนประมาณยีส่ บิ นาที Manly เป็นเมืองทีข่ นึ้ ชือ่ ในเรือ่ ง การเล่นเซิรฟ์ จึงปรากฏร้านอาหารสลับร้านเช่าเซิรฟ์ บอร์ดขนาบทะเล เป็นระยะยาว บรรยากาศไม่ไกลจากภูเก็ตหรือบางแสน โยมบอก


ฉันว่าก่อนกลับวัดขออาราธนานิมนต์พระคุณเจ้า ไปเยี่ยมเพื่อนที่ ป่วยเป็นมะเร็ง ฉันนึกหวั่นไหวเล็กน้อยเพราะพูดปลอบใจคนป่วย ไม่เป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร สมัยเป็นนักศึกษาเคยไปเยี่ยมเพื่อนที่ ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนที่โรงพยาบาลก็ได้แต่นั่งดูเฉยๆ ปล่อย ให้เพื่อนคนอื่นๆพูดคุยให้ก�ำลังใจกันไป สมัยที่บวชได้หนึ่งพรรษา เคยไปเยีย่ มโยมยายทีโ่ รงพยาบาล ฉันก็พดู แต่เพียงว่า “อย่าลืมพุทโธ นะยาย” That’s it! โยมขับรถพาฉันมาที่ Nursing Home แห่งหนึง่ ทีน่ ี่ จัดสรรไว้สำ� หรับดูแลผูส้ งู อายุทชี่ ว่ ยเหลือตัวเองไม่ได้  และผูป้ ว่ ยระยะ สุดท้าย โยมเล่าว่าเคยมีเพือ่ นคนหนึง่ เสียชีวติ ทีส่ ถานพยาบาลแห่งนี้ โยมเอาหนังสือมาฝากเพื่อนแล้วต่อโทรศัพท์ทางไกลให้เพื่อนคุย กับพระที่เพื่อนคุ้นเคย ฉันรู้สึกโล่งอกที่ไม่ต้องสรรหาถ้อยค�ำท�ำนอง ว่า “หายไวไวหรือท�ำใจดีๆ” เมื่อเราเดินออกจากห้อง ผู้ป่วยก็ยังคุย โทรศัพท์อยู่ ฉันรู้สึกอกโล่งอีกครั้งที่ไม่ต้องสรรหาถ้อยค�ำอ�ำลา ขณะนั่งรถกลับไปที่วัดพุทธรังสี เมืองสแตนมอร์ ฉันระลึกถึง พระธรรมเทศนาภาษาอีสานของพระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ซึ่งถอดความเป็นภาษาไทยได้ประมาณว่า “ไปตลาดได้เห็นวิธีบวกกับวิธีคูณ เพราะคนเพลิดเพลินสนุกสนาน กันอยู่ที่นั่น ไปโรงพยาบาลได้เห็นวิธีลบกับวิธีหาร เพราะเขาเอาคน ป่วย คนแก่ คนใกล้ตายไปทิ้งไว้ที่นั่น” บ่ายวันนี้นับว่าฉันได้ “ตาม รอยโพธิญาณ” ด้วยความบังเอิญ


วันฝนพร�ำ มาอยูท่ นี่ ี่ 3-4 วัน ฉันรูส้ กึ ยินดีพอใจทีจ่ ะตืน่ เช้า แปรงฟันล้างหน้า แล้วลงไปนัง่ สมาธิภาวนาทีห่ อ้ งสวดมนต์ดา้ นล่าง สงบบ้างไม่สงบบ้าง แต่กด็ ใี จทีไ่ ด้ทำ� อากาศหนาวอย่างนีน้ า่ นัง่ สมาธิมากกว่าท�ำอย่างอืน่ หลังอาหารเช้าพระก็ท�ำกิจวัตรปัดกวาดเช็ดถูตามปรกติ  ประมาณ สิบนาฬิกามีฝนตกพร�ำ วันนีต้ รงกับวันพระและวันอาทิตย์ มีญาติโยม หลั่งไหลมาท�ำบุญกันประมาณห้าสิบคน ส่วนใหญ่เป็นคนไทย มี ฝรั่งอยู่เพียง 2-3 คน หนึ่งในนั้นคือน้องเขยซึ่งมากับน้องสาวคนเล็ก ของฉัน วันนี้ท่านพระอาจารย์ประธานสงฆ์เทศน์เรื่องฆราวาสธรรม (สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ) หลังจากญาติโยมรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ฉันก็นงั่ สนทนากับ น้องๆเกี่ยวกับแผนการเดินทางไปวัดป่าพุทธธรรม เมือง Wisemans Ferry ในวันมะรืน  ญาติโยมที่เคยไปบ่อยๆเล่าให้ฟังว่า  จากวัด พุทธรังสีไปวัดป่าพุทธธรรมใช้เวลาบนทางราบประมาณหนึ่งชั่วโมง แล้วขับรถขึน้ เรือเฟอร์รขี่ า้ มแม่น�้ำ จากนัน้ ก็ขบั รถขึน้ ภูเขาอีกประมาณ หนึ่งชั่วโมง ควรจะไปให้ถึงวัดก่อนมืดค�่ำเพราะ Wallaby (อ่านว่า “วัลลาบี”) สัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายจิงโจ้แต่ตัวเล็กกว่า มักจะกระโดดมา เล่นกับแสงไฟหน้ารถ ท�ำให้ขบั ล�ำบาก และคนขับต้องช�ำนาญ เคยมี ชาวเวียดนามขับรถแฉลบลงข้างทางมาแล้ว


ขณะที่ฉันก�ำลังจะงีบหลับช่วงบ่าย พระอาจารย์ก็มาเคาะประตู เรียกแล้วชวนนั่งรถไปตลาดนัดเพื่อพิจารณาต้นไม้มาปลูกที่วัด เมื่อ รถหยุดรอไฟเขียวบริเวณสี่แยกไม่ไกลจากวัด ฉันสังเกตเห็นตึกแถว หลังหนึ่งด้านซ้ายมือ มีตัวเลขปูนปั้นนูนต�่ำประดับอยู่ใต้หน้าจั่ว ระบุว่าสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1884 เมื่อรถแล่นมาจอดที่ลานตลาดนัด ก็ปรากฏว่าร้านค้าต่างๆเก็บข้าวของกลับบ้านกันเกือบหมด มีเพียง ร้านขายต้นไม้ของชาวจีนที่ยืนหยัดไม่ยอมแพ้กระแสฝน ซึ่งก็มีผู้คน ที่นิยมความชุ่มฉ�่ำแวะเวียนมาชื่นชมอยู่เนืองๆ บ่ายนี้เราจึงอุดหนุน ความเพียรของเขาด้วยดอกหน้าวัวสีขาวหลายต้น เวลาประมาณบ่ายสามโมง มีญาติโยมมาร่วมสวดมนต์ที่ศาลา หลังเล็กประมาณสิบคน  กิจกรรมนี้ด�ำเนินกันเป็นประจ�ำทุกวัน อาทิตย์ เราสวดมนต์ด้วยภาษาบาลีล้วนๆเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงกับ สิบนาที ระหว่างนั้นพระหนุ่มใจดีก็ชงโกโก้ร้อนๆมาถวาย หกโมงครึ่ง มีการสวดมนต์ทำ� วัตรและนัง่ สมาธิตามปรกติ  มีญาติโยมไม่ยอมแพ้ กระแสฝนมาร่วมด้วยจ�ำนวนห้าคน



วันพักผ่อน ฉันเตรียมตัวส�ำหรับการเดินทางในวันพรุ่งนี้  ซึ่งไม่ได้ยุ่งยาก มากนัก เนื่องจากฉันใช้บาตรใบเล็ก  เมื่อเก็บบาตรลงในกระเป๋า ขนาดยี่สิบนิ้วแล้ว ก็ยังมีเนื้อที่เหลือเฟือส�ำหรับสัมภาระอื่นๆ วันนี้ น้องสาวกับพี่ๆเพื่อนๆชาวซิดนีย์ 3-4 คนมาท�ำบุญที่วัด เมื่อวานนี้ น้องสาวถามว่าควรจะฝากอะไรไปที่วัดป่าพุทธธรรม? ฉันจึงแนะน�ำ ให้เข้าไปดูในเว็บไซต์ของทางวัด คาดว่าน่าจะมี Dana List หรือ รายการสิ่งของที่ทางวัดจ�ำเป็นต้องใช้ ซึ่งวิธีนี้มันดีกว่าจะสุ่มซื้อไป แล้วกลายเป็นของเหลือใช้  อีกอย่างระยะทางจากในเมืองไปถึงวัดก็ ไม่ใช่ใกล้ๆ แต่หลังจากน้องสาวเข้าไปดูในเว็บไซต์แล้วก็พบว่ามีแต่ “ของหนัก” เช่นข้าวสารและเครื่องมือช่าง น้องสาวจึงเสนอว่าถวาย เป็นปัจจัยดีกว่า นับว่าเป็นความคิดที่ประเสริฐสุดๆ เพราะพรุ่งนี้โยม ที่จะขับรถไปส่งที่วัดป่าพุทธธรรม จะได้น�ำปัจจัยที่น้องสาวและพี่ๆ เพื่อนๆถวายไปพิจารณาได้โดยสะดวก หลังอาหารมื้อกลางวันฉันไม่ได้ออกไปเดินเล่นที่ไหน เพียงแต่ นั่งพลิกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอยู่ในห้อง แต่ไม่มีข่าวใดๆกระตุ้นความ สนใจให้ฝึกภาษา จนกระทั่งค้นพบฟรีก็อปปี้เล่มหนึ่งซึ่งแถมมากับ หนังสือพิมพ์ มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับ Life Style ของชาวซิดนีย์ ทีมท�ำ หนังสือออกแบบปกและรูปเล่มได้กิ๊บเก๋เทรนดี้ถึงใจ ฉันจึงหยิบยืม


ลูกเล่นเล็กๆน้อยๆมาใส่ในหนังสือของตัวเอง  เพราะเท่าที่ท�ำไว้ ก่อนจะออกเดินทางจากเมืองไทย รู้สึกว่ามันแข็งไปหน่อย ขณะที่ ก�ำลังพิมพ์มาถึงบรรทัดนี้เป็นเวลาสิบแปดนาฬิกาเศษๆ คุณตาใจดี ที่อยู่ประจ�ำอาราม น�ำน�้ำส้มคั้นสดๆมาถวายถึงห้อง เปรี้ยวจิ๊ดถึงใจ ประหนึ่ง Life Style ของชาวซิดนีย์

วันนัดพบ แล้วเสร็จจากการสวดมนต์ท�ำวัตรเช้า ฉันก็กราบลาพระผู้ใหญ่ ที่วัดพุทธรังสี ประมาณ 08:30 น. ท่านเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธธรรมที่ เพิ่งเหาะมาจากลอสแซนเจลิสก็มารับ คุณยายใจดีที่มาวัดพุทธรังสี ประจ�ำถวายปัจจัยบ�ำรุงวัดป่าพุทธธรรมด้วย เราเดินทางมาฉันเพลกัน แถบชานเมือง Fish & Chips กลายเป็นอาหารจานโปรดของฉันอย่าง ไม่ทันตั้งตัว จากนั้นเราก็แวะที่ร้านจ�ำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือ ก่อสร้าง ซึ่งบอกได้ค�ำเดียวว่ามโหฬารและมีให้เลือกหลากหลาย ขนาดที่ว่าฉันไม่สันทัดงานช่าง ก็ยังถูกยั่วยวนให้ไปเดินลูบๆคล�ำๆ ระหว่างนั้นก็มีภาพเฟอร์นิเจอร์แปลกๆปรากฏอยู่ในหัว เมือ่ ได้วัสดุอปุ กรณ์ตามทีต่ อ้ งการแล้วโยมก็ขบั รถออกนอกเมือง ฉันพยายามฝืนตาปรือๆให้ลอบมองสองข้างทาง เห็นบ้านสไตล์คนั ทรี แต่ละหลังมีขนาดมหึมาและเนื้อที่มโหฬาร สนามหญ้าเขียวขจีทอด


ยาวจากรั้วริมถนนไปถึงตัวบ้านเลยทีเดียว ฉันทัศนาได้เพียงเท่านี้ก็ ผล็อยหลับ ความรู้สึกสุดท้ายก็คือถนนค่อนข้างโค้งและโยมขับรถ เร็วมาก ฉันรู้สึกตัวอีกทีรถก็จอดนิ่งอยู่หน้าที่ท�ำการไปรษณีย์ประจ�ำ หมู่บ้าน Wisemans Ferry แล้ว ฝั่งตรงข้ามกับที่ท�ำการไปรษณีย์มี ร้านอาหารประดับภูเขาเป็นฉากหลัง และมีแม่น�้ำสายหนึ่งไหลเอื่อย อยูร่ ะหว่างกลางด้วย ถ้าไม่ใช่คนขับ ข้อดีอย่างหนึง่ ของนัง่ หลับบนรถ ก็คือท�ำให้ระยะทางสั้นลง (ฮา) จากจุดนีไ้ ปไม่ไกลรถของเราก็แล่นไปจอดต่อท้ายรถสิบล้อบนแพ ขนาดใหญ่ ถามท่านเจ้าอาวาสได้ความว่าแพเฟอร์รบี่ ริการฟรีตลอด ยี่สิบสี่ชั่วโมง ใช้เวลาลอยข้ามแม่น�้ำไม่น่าจะเกินสิบห้านาที ทั้งนิ่ม และนิ่งจนแทบไม่รู้สึกตัว ฉันไม่ใช่คนแรกที่สงสัยว่าท�ำไมชาวบ้าน ไม่สร้างสะพาน? เจ้าอาวาสเฉลยว่าใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ในการเจาะภูเขา เมื่อถึงฝั่งแล้วนั่งรถต่อไปอีกสี่กิโลเมตรก็ถึงทาง แยกลูกรังฝั่งซ้ายมือ มีป้ายเล็กๆประดับตัวอักษร WBD ซึ่งย่อมา จาก Wat Buddha Dhamma แขวนไว้สูงกว่าระดับสายตา จุดนี้มี ประตูเหล็กกั้นเพราะเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ต้องใช้เลขรหัสสี่ตัว เปิดกุญแจเข้าไป จากนัน้ ก็ขบั รถขึน้ ภูเขาต่อไปอีกประมาณสีส่ บิ นาที แม้รถยนต์ธรรมดาก็ขบั ขึน้ ไปได้อย่างสบาย ถนนกว้างขวางมีแนวต้นไม้ กั้นตลอดระยะทาง ไม่น่าหวาดเสียวเหมือนถนนขึ้นภูเขาในจังหวัด ทางภาคเหนือของประเทศไทยบางสาย  ซึง่ ฉันเคยอาศัยรถชาวบ้าน ขึ้นไป ระยะห่างระหว่างขอบล้อกับขอบเหวเหลือไม่ถึงหนึ่งฟุต


เมื่อมาถึงวัดป่าพุทธธรรม สิ่งแรกที่ฉันสะดุดใจคือความเงียบ สงัด ตามด้วยหนังสือเล่มหนึง่ บนชัน้ ทีช่ อื่ ว่า Wat Buddha Dhamma Cook Book หรือ ต�ำราท�ำอาหารต�ำรับวัดป่าพุทธธรรม มีข้อความ แปะไว้ในบริเวณนั้นด้วยว่า Almost Famous in the Dhamma World ฉันตั้งใจว่าจะหนีบกลับเมืองไทยเพราะราคาเพียงเล่มละ ยี่สิบห้าออสเตรเลียดอลล่าร์ และรายได้ทั้งหมดก็น�ำไปสนับสนุน กิจการภายในวัดโดยไม่หกั ภาษี ณ ทีจ่ า่ ย หลังจากจิบน�ำ้ ชาแก้หนาว ท่านละหนึ่งถ้วย เราก็ขนสัมภาระขึ้นรถขับเคลื่อนสี่ล้อแล้วนั่งต่อไป อีกประมาณหนึง่ กิโลเมตรก็ถงึ เขตสงฆ์ พระฝรัง่ ทีอ่ ยูป่ ระจ�ำน�ำฉันไป ที่กุฏิแล้วแนะน�ำการใช้เครื่องท�ำความร้อนชนิดฟืน จากนั้นก็พาไป ดูห้องน�้ำ ห้องสรงน�้ำ ที่ซักผ้า ที่ฉันน�้ำปานะ และอื่นๆครบถ้วนตาม อาวาสิกวัตร คือข้อวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่น ฉันสรงน�ำ้ ซักผ้า แล้วเดินถ่ายภาพบริเวณรอบๆก่อนแดดบ่ายจะ หายหด จากนัน้ ก็มาฉันน�ำ้ ชาร่วมกับพระฝรัง่ ทีน่ มี่ พี ระอยูป่ ระจ�ำเพียง สองรูป ท่านเจ้าอาวาสขอตัวไปพักผ่อนเพราะเหน็ดเหนื่อยจากการ เดินทางไกล พระฝรั่งเล่าที่มาที่ไปของวัดป่าพุทธธรรมให้ฟังคร่าวๆ ซึ่งน่าสนใจทีเดียว ฉันจึงวางแผนว่าจะสัมภาษณ์ท่านเจ้าอาวาส เกี่ยวกับประวัติของวัดในวันหลัง เวลาหนึ่งทุ่มตรงเรารวมสวดมนต์ ท�ำวัตรกันที่ศาลาหลังใหญ่ มีอุบาสกมาร่วมด้วยสองคน เมื่อถึง สามทุ่มก็กราบพระแล้วแยกย้ายกันกลับที่พัก


วันชมวัด ในคืนที่ผ่านมาฉันใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมงในการจุดเครื่องท�ำ ความร้อน เพื่อเพิ่มความอบอุ่นภายในกุฏิ แรกเดินเข้าไปในกุฏิ อุณหภูมิอยู่ที่สิบสี่องศาเซลเซียส หลังจากจุดเครื่องท�ำความร้อน ได้สักครู่ใหญ่ๆอุณหภูมิก็เพิ่มขึ้นอีก 3-4 องศา เมื่อผนวกกับผ้าห่ม นุ่มหนา ฉันคาดว่าคงจะผ่านค�่ำคืนอันเหน็บหนาวไปได้ไม่ยากเย็น แล้วฉันก็หลับไปพร้อมกับเงาของเปลวไฟร่ายระบ�ำบนผนัง กับกรุ่น หอมอ่อนๆของควัน เราสวดมนต์ท�ำวัตรเช้าเสร็จในเวลาประมาณ 06:15 น. จากนั้น ก็เป็นเวลาน�้ำชากาแฟ แล้วประชุมแบ่งงานกันในเวลา 07:15 น. งานของฉันส�ำหรับเช้านีก้ ค็ อื การเดินชมบริเวณวัดกับท่านเจ้าอาวาส โดยเริ่มจากบริเวณหมู่บ้าน เหตุที่เรียกว่าหมู่บ้านเพราะมีบ้านหลาย หลังของหลายครอบครัวกระจายอยู่ห่างๆกัน ในยุครุ่งเรืองที่นี่เคย เป็นชุมชนใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงสี่สิบชีวิต มีโรงเรียนส�ำหรับ เด็กๆและมีวัดเป็นศูนย์กลาง แต่ยี่สิบกว่าปีให้หลังชุมชนในอุดมคติ แห่งนี้ก็ล่มสลาย (ค.ศ.1978-2002) ชุมชนเนื้อที่กว่าสองร้อยยี่สิบ เอเคอร์หรือประมาณห้าร้อยห้าสิบไร่แห่งนี้ ก่อตัง้ ขึน้ ก่อนจะประกาศ เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ Dharug ซึ่งเชื่อมกับอุทยานแห่งชาติอีก สองแห่งคือ Yengo และ Wollemi เมือ่ น�ำพืน้ ทีข่ องทัง้ สามอุทยานมา


รวมกันก็จะได้ตัวเลข 200,000 เอเคอร์หรือ 500,000 ไร่  ในผืนป่าอัน กว้างใหญ่ไพศาลแห่งนี้ ทางรัฐบาลอนุญาตให้มนุษย์สามารถเข้ามา ปลูกสร้างและอยูอ่ าศัยได้ เฉพาะเขตทีเ่ ป็นวัดป่าพุทธธรรมในปัจจุบนั เมื่อเดินชมหมู่บ้านจนทั่ว ฉันก็พบว่าบ้านแต่ละหลังได้รับการ ปรับปรุงดูแลเป็นอย่างดี  มีเตียงและเครือ่ งท�ำความร้อนชนิดฟืนจัดไว้ พร้อมสรรพ  จากนั้นท่านเจ้าอาวาสก็น�ำฉันไต่ขึ้นไปชมกุฏิของพระ ซึ่งมีทั้งหมดหกหลัง ตั้งอยู่บนภูเขาในระดับที่แตกต่างกัน ประมาณ 10:00 น.  เป็นเวลาท�ำภัตกิจ  อาหารประกอบขึ้นอย่างง่ายๆแต่มี ผลไม้สดก็ถอื ว่าใช้ได้ ล้างบาตรเสร็จแล้วเราก็แยกย้ายกัน อาจจะพบ กันอีกทีในเวลาน�ำ้ ชากาแฟที่ Sangha House หรือศาลาเอนกประสงค์ ส�ำหรับพระสงฆ์ที่ตั้งอยู่ด้านบน เหตุที่ใช้ค�ำว่า “อาจจะพบ” เพราะ เวลาในการฉันน�้ำปานะของที่นี่ไม่มีจ�ำกัด ประมาณ 17:00 น. ฉันกับพระฝรัง่ มานั่งจิบฮ็อตช็อกโกแลตลอย มาร์ชแมลโลว์ด้วยกันโดยบังเอิญ พระฝรั่งบอกว่าอยากเรียนภาษา ไทยเพื่อจะได้เข้าใจค�ำสอนของครูบาอาจารย์ ฉันเสนอว่าทุกวันนี้ อาจจะไม่จ�ำเป็นมากนัก เพราะมีครูบาอาจารย์ฝรั่งเยอะแล้ว พระ ฝรั่งสาวต่อไปว่ามันไม่เหมือนกัน ในค�ำสอนของครูบาอาจารย์ฝรั่ง จะมีเรือ่ งจิตวิทยาปนอยูเ่ ยอะ ส่วนค�ำสอนของครูบาอาจารย์ชาวไทย จะมาจากการปฏิบัติและผลที่เกิดจากการปฏิบัติของท่านโดยตรง ฉันฟังหูไว้หูแล้วลื่นมาร์ชแมลโลว์ไหลลงล�ำคอ


วันสะอาด กิจวัตรประจ�ำวันยังคงด�ำเนินไปตามปรกติ วันนีฉ้ นั กับเจ้าอาวาส ร่วมกันท�ำความสะอาดในศาลาซึ่งใช้เป็นทั้งที่ฉันอาหาร ส�ำนักงาน และห้องสมุด ในคืนที่ผ่านมาแม้อุณหภูมิจะอยู่ที่ระดับ 14 องศา เซลเซียส แต่ฉนั ทดลองไม่จดุ เครือ่ งท�ำความร้อนซึง่ ก็พอเอาตัวรอดมาได้ หลังจากฉันภัตตาหารฝนตกพรึมพร�ำ เมือ่ กลับมาถึงกุฏอิ ณ ุ หภูมลิ ดลง มาที่ 8-10 องศาเซลเซียส ฉันจึงจ�ำเป็นต้องจุดฟืนก่อไฟทีเ่ ครือ่ งท�ำความ ร้อน ฉันใช้ไม้ขีดเพียงสองก้าน ไฟก็ลุกท่วมฟืน ง่ายกว่าที่ท�ำครั้งแรก วัดป่าพุทธธรรมก่อตั้งมา 30 กว่าปีแล้ว เสนาสนะต่างๆไม่ว่าจะ เป็นศาลา กุฏิ ห้องน�ำ้ ห้องครัว บ้านพักส�ำหรับญาติโยม จึงเป็นอาคาร ดัง้ เดิมทีถ่ กู ปรับปรุงใหม่  ซึง่ นับว่าท�ำได้ดมี าก  ด้วยเหตุทกี่ ระแสไฟ จากในเมืองมาไม่ถึงวัด จึงต้องใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อคืน ฉันตรวจต้นฉบับที่บันทึกไว้ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงซิดนีย์ จนแบตเตอรี่ เหลือเพียง 20% ตั้งใจว่าจะชาร์ตใหม่ในวันพรุ่งนี้  แต่วันนี้ไม่มีแดด จึงยังชาร์ตแบตเตอร์รี่ไม่ได้  ส่วนพยากรณ์อากาศจากอินเทอร์เน็ต ผ่านดาวเทียมก็คือ พรุ่งนี้มีโอกาสเกิดฝน 90%


วันบ่นๆ ก่อนเที่ยงวันมีแดดเยี่ยมหน้าออกมาจากหลืบเมฆ ฉันจึงสวม รองเท้าบูท้ Made in Australia ออกไปเดินส�ำรวจหมูบ่ า้ นและบริเวณ ถนนหน้าวัด ไม่ไกลจากเขตวัดมีสนามส�ำหรับตั้งแค้มป์อยู่ด้วย หลัง จากถามพระเจ้าถิน่ แล้วก็ได้ความว่า ในฤดูรอ้ นคือเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มจักรยานเสือภูเขานิยมมาตั้งแคมป์กันที่นี่ หลายวันมานี้ฉันรู้สึกว่าจิตของตัวเองขี้บ่นและบ่นได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นข้อวัตรปฏิบัติที่ไม่ได้ดังใจ พระภิกษุสามเณรขี้เกียจ เครื่องท�ำความร้อนจุดติดยาก อากาศหนาวหรือร้อนเกินไป ระบบ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในเมืองไทย พรุ่งนี้จะมีพลังงานแสง อาทิตย์เพียงพอส�ำหรับชาร์ตแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊คไหม ฯลฯ หลังจาก สวดมนต์และนัง่ สมาธิภาวนาในตอนค�ำ่ ฉันรูส้ กึ เบือ่ หน่ายกับจิตขีบ้ น่ ดวงนี้เหลือเกิน--จิตคือใคร? ค�ำถามบนป้ายธรรมะจากต้นไม้บริเวณ ประตูทางเข้าวัดหนองป่าพง

วันประหลาดใจ “ไม่มีอะไรจะท�ำอันตรายเราได้นอกจากจิตที่เห็นผิด” ฉันตื่นขึ้น


มาพร้อมถ้อยธรรมค�ำสอนของหลวงพ่อชา เมื่อสวดมนต์นั่งสมาธิ ภาวนาในตอนเช้าและฉันน�้ำชากาแฟแล้ว เราก็เดินจาก Sangha House ลงไปที่ส�ำนักงานด้านล่างเพื่อประชุมแบ่งงาน แล้วฉันก็ ต้องประหลาดใจเมื่อท่านเจ้าอาวาสบอกว่า อุบาสกผู้หนึ่งซึ่งอยู่ที่นี่ มากว่าครึ่งปีและตั้งใจจะบวชเป็นพระ ก�ำลังเก็บของกลับบ้านใน เช้านี้ ประเด็นทีพ่ ระสามรูปคุยกันถัดมาก็คอื ใครจะเป็นคนท�ำอาหาร? ตอนนี้ที่วัดเหลืออุบาสกที่มาอยู่ชั่วคราวสองคน และอุบาสิกาที่มา อยู่ปฏิบัติธรรมในวันหยุดสุดสัปดาห์อีกสองคน เราพักประเด็นนี้ไว้ แล้วช่วยกันขนฟืนไปเก็บตามบ้านพักและกุฏิ หลังจากฉันมังสวิรตั มิ าสีว่ นั อุบาสิกาฝรัง่ ผูห้ นึง่ ก็ทำ� อาหารพิเศษ ถวายนัน่ ก็คอื เนือ้ ปลาอบซอส วันนีแ้ ดดสวยฉันจึงแบกโน๊ตบุค๊ ลงจาก กุฏิมาชาร์ทแบตเตอร์รี่ที่ส�ำนักงานด้วย และตั้งใจว่าจะออกไปเดิน ส�ำรวจบริเวณวัดสักหนึง่ รอบ แต่เมือ่ เชือ่ มโน๊ตบุค๊ เข้ากับอินเตอร์เน็ต ผ่านดาวเทียม ฉันก็สาละวนอยู่กับการตอบอีเมล์จนเวลาล่วงเลยไป เกือบบ่าย จึงตัดสินใจกลับกุฏิ ตื่นขึ้นมาบ่ายแก่ๆ ฉันหอบชุดกันหนาวและอุปกรณ์ไปสรงน�้ำที่ Sangha House พบวัลลาบีตัวหนึ่งกระโดดเหยงๆก่อนจะหยุดยืน สองขาหันกลับมามองพระ นี่อาจเป็นโอกาสเดียวที่จะได้เห็นสัตว์ ชนิดนี ้ ฉันจึงวางบริขารแล้วจ�ำ้ กลับกุฏคิ ว้ากล้องมาบันทึกภาพเก็บไว้ วัลลาบีใจดียืนอยู่ต�ำแหน่งเดิมให้ถ่ายรูปแล้วจึงกระโดดดึ๋งดั๋งเข้าไป


ในป่าละเมาะ วันนีต้ รงกับวันเสาร์ ช่วงบ่ายมีอบุ าสิกามาปฏิบตั ธิ รรม ที่วัดเพิ่มอีกหนึ่งคน คืนนี้ท่านเจ้าอาวาสเทศน์เรื่อง “กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา” เมือ่ กลับไปถึงกุฏิ ฉันก็จดุ ไฟทีเ่ ครือ่ งท�ำความ ร้อน หลายครั้งที่ผ่านมาฉันจะใส่ฟืนเพียงรอบเดียว แต่คืนนี้เป็น ครั้งแรกที่ฉันเติมฟืนสองรอบและเรียนรู้ที่จะควบคุมระดับอ๊อกซิเจน เพือ่ ชะลอการลุกไหม้ดว้ ยการปรับขนาดของรูทฝี่ าปิดเตา ขณะเอนหลัง ลงที่นอนอุณหภูมิจึงขยับจากยะเยือกขึ้นมาเป็น 25 องศาเซลเซียส

วันส�ำรวจ ยามสายมีครอบครัวของชาวศรีลังกามาถวายภัตตาหาร กลิ่น เครื่องเทศจึงหอมคลุ้งไปทั้งครัว ฉันอาหารเสร็จแล้วเขาก็เข้ามา สนทนาธรรมกับท่านเจ้าอาวาสเรื่องการท�ำสมาธิภาวนา ส่วนฉัน คว้ากล้องกับน�ำ้ หนึง่ ขวดออกเดินส�ำรวจเส้นทางรอบวัด ระหว่างทาง พบกลุ่มจักรยานเสือภูเขา เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน แต่ละคัน จึงพุ่งมาอย่างรวดเร็วรุนแรง  แต่กระนั้นก็ยังได้แย้มยิ้ม Say hi! โบกมือทักทายกันพอให้อุ่น ฉันเดินท�ำประทักษิณตามเส้นทางลุ่มๆดอนๆไปเรื่อยๆ  ด้าน ซ้ายมือเป็นหุบเหวและผาหิน บางจุดเป็นป่าโปร่ง แสงแดดร้อนจน ต้องถอดหมวกกับผ้าพันคอ ส่วนบางจุดเป็นป่าทึบจนรู้สึกหนาว


ยะเยือกขึ้นมาในทันทีที่ล่วงล�้ำเข้าไป ถ้ามองจากมุมของผู้ที่เคย ผ่านป่าทั้งในและต่างประเทศมาสิบหกปี ก็ต้องบอกกันตามตรงว่า ป่าที่นี่ไม่สวย ถ่ายรูปออกมาก็ดูงั้นๆ แม้จะพยายามหาเหลี่ยมงามๆ แล้วก็ตาม อาจจะเป็นเพราะต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นสนและยูคาลิปตัส ขาดความหลากหลายทางพืชพันธุเ์ หมือนป่าในเมืองไทยหรือแคลิฟอร์เนีย แต่ถ้ามุ่งความสงบสงัดตามแบบฉบับของสมณวิสัย ก็ต้องพูดให้ฟัง ดังๆว่า Two thumbs up! ยกให้เลยสองนิ้วโป้ง พระเจ้าถิ่นบอกว่า ใช้เวลาเดินโดยรอบสองชั่วโมง  แต่ฉันใช้เวลาเกินไปครึ่งชั่วโมง เพราะเดินแบบสบายๆไม่รีบร้อน และหลงทางบ้างเล็กน้อย

วันอิสระ ญาติโยมมีวันหยุดสุดสัปดาห์ฉันใด พระก็ต้องมี “Free Day” ฉันนั้น ทุกวันจันทร์ทั้งพระและญาติโยมที่อยู่ปฏิบัติธรรม ณ วัดป่า พุทธธรรมจะหยุดกิจกรรมต่างๆที่ท�ำกันมาตลอดทั้งสัปดาห์ ไม่ว่า จะเป็นการท�ำงานหรือร่วมสวดมนต์ท�ำวัตรเช้าและเย็น แต่ก็ยัง มีการฉันอาหารตามเวลาปรกติคือ 10:00 น. ขณะนี้ทั้งวัดมีพระ สามรูปและอุบาสกสองคน อุบาสกใจดีผู้หนึ่งขออาสาเป็นพ่อครัว ในวันนี้ หลังท�ำภัตกิจฉันออกไปเดินส�ำรวจพื้นที่ป่าภายในบริเวณ วัด พระเจ้าถิ่นชี้เส้นทางในแผนที่ให้ดูแล้วบอกว่ามีชะง่อนผาอยู่ หลังวัดด้วย แต่ต้องเดินออกนอกเส้นทาง ถ้าสนใจท่านจะพาไปดู


วันนี้ฉันอยากเดินส�ำรวจตามล�ำพังจึงบอกพระฝรั่งว่า จะไปตาม เส้นทางที่ระบุไว้ในแผนที่ เมื่อเดินไปได้ประมาณ 15-20 นาทีฉันก็ ไปพบกับทีร่ าบลุม่ น�ำ้ ท่วมขัง พยายามหอบท่อนไม้มาท�ำเป็นสะพาน แต่ก็ข้ามไปได้ไม่ไกล  ฉันเพิ่งได้สังเกตวันนี้ว่ามีล�ำธารเล็กๆไหล อ้อยอิ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของวัด  ฉันตัดสินใจย้อนกลับมาที่ออฟฟิศ เก็บบริขารแล้วเดินกลับกุฏิ หลังจากพักผ่อนในช่วงกลางวัน ฉันก็ตื่นขึ้นมาสรงน�้ำ จิบฮอต ช็อกโกแลตแล้วล้างคอด้วยชาเปปเปอร์มินท์ ขณะก�ำลังจะจิบชา อึกสุดท้าย ท่านเจ้าอาวาสก็เดินเข้ามาที่ Sangha House เพื่อฉัน น�้ำชากาแฟ ฉันถามว่า วันนี้เราสนทนากันแบบยาวๆเกี่ยวกับความ เป็นมาเป็นไปของวัดได้ไหม? เพราะเป็น Free Day ไม่มีการรวม สวดมนต์ท�ำวัตรเย็น เมื่อท่านเจ้าอาวาสตอบตกลง ฉันจึงกลับไป เอาเครื่องบันทึกเสียงที่กุฏิ แล้วเราก็สนทนากันด้วยสามภาษาคือ อังกฤษ ไทย และบาลี เป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง

วันไร้แดด ฝนตกพร�ำตั้งแต่เมื่อคืนและเช้านี้ก็ไม่มีแดด  แต่เราก็ยังท�ำ กิจวัตรกันตามปรกติ ในคืนทีผ่ า่ นมาฉันใช้โน๊ตบุค๊ เรียบเรียงบทสนทนา จนแบตเตอรี่แทบเกลี้ยง แต่วันนี้ก็ยังชาร์ทไม่ได้เพราะพลังงาน


ไฟฟ้าที่มีอยู่ภายในวัดไม่เพียงพอ ตกบ่ายฉันจึงย้อนอดีตกลับไปใช้ อุปกรณ์ในยุคเริ่มต้นท�ำหนังสือ นั่นก็คือกระดาษ ดินสอ และเครื่อง บันทึกเสียง ซึ่งก็ให้อารมณ์ Retro พอประมาณ ในขณะเดียวกันนั้น ช่างเพียงคนเดียวในวัดก็ก�ำลังปรับปรุงชั้นล่างของ Sangha House ให้เป็นห้องเย็บผ้า ท่านเจ้าอาวาสบอกว่าค่าจ้างค่อนข้างแพงคือ สิบห้าออสเตรเลียดอลล่าร์ต่อหนึ่งชั่วโมง และวัดก็มีปัจจัยว่าจ้างได้ เพียงหนึ่งเดือน ช่วงสวดมนต์ท�ำวัตรเย็นซึ่งเริ่มต้นในเวลาสิบเก้านาฬิกา เป็น ครั้งแรกที่ฉันได้สวด The Fire Sermon หรือ Adittapariyaya Sutta ภาคภาษาอังกฤษ อันที่จริงไม่ใช่การสวดแต่มันคือการอ่านออก เสียงพร้อมกัน พระสูตรนี้ *พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ หนึ่งพันรูป มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น ซึ่งเคยเป็นชฎิลบูชาไฟมาก่อน ว่าด้วยอายตนะทั้งหกที่ร้อนติดไฟลุกทั่วด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และ ไฟโมหะ ตลอดจนร้อนด้วยทุกข์ มีชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ท�ำให้ ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล หลังจากสวดอาทิตตปริยายสูตรจบ โยมฝรั่งที่นั่งสวดอยู่ด้วยถึงกับอุทานขึ้นว่า Free! ท่านเจ้าอาวาส อุทานตอบทันทีว่า “ถ้าอยาก Free ก็ต้องเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ จนถึงสามทุ่ม” *พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า 540 โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)


วัลลาบี ขณะที่ฉันเดินจากกุฏิไปสวดมนต์ท�ำวัตรเช้าที่ศาลาตอนเช้ามืด ก็เห็นทุ่งดวงดาวพราวระยับเต็มท้องฟ้า  ฉันดีใจเพราะจะได้ชาร์ท แบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค  แต่เมื่อลุกออกจากศาลาในเวลาประมาณ หกนาฬิกาสิบห้านาทีก็ปรากฏว่า มีเมฆหมอกทมึนปกคลุมเต็มไป หมด ในช่วงท�ำงานระหว่าง 07.30-10:00 น. ของวันนี้ พระสามรูป ช่วยกันทาสีกุฏิหลังใหม่ ต�ำแหน่งที่ตั้งของกุฏิเร้าใจมิใช่น้อยเพราะ ยื่นออกไปจากโขดหิน  แต่ก็สามารถชมวิวภูเขาเบื้องหน้าได้ถึง ร้อยแปดสิบองศา หลังจากฉันอาหารอิ่มหมีดีแล้ว มีแดดแพลมออกมาจากหลืบ เมฆเล็กน้อย ฉันจึงคว้าเสื้อกันหนาวมีฮู้ดมาสวมแล้วออกไปเดินบน เส้นทางที่ชื่อว่า Simpson Track ซึ่งฉันยังไม่เคยไปมาก่อน ตั้งใจ เพียงว่าจะเดินไปสามสิบนาทีแล้วก็เดินกลับสามสิบนาที ขาไปมี วัลลาบีสเี ทาหางยาวตัวหนึง่ กระโดดตัดหน้า เป็นเรือ่ งน่าตืน่ เต้นทีส่ ดุ ในการออกมาเดินเล่นครั้งนี้ ช่วงเย็นฉันขนฟืนมาตุนไว้ที่กุฏิ เพราะ เมื่อคืนอัดเชื้อเพลิงเข้าไปเต็มที่อุณหภูมิจึงกระฉูดถึง 27 องศา เซลเซียส ต้องรีบเปิดหน้าต่างที่มีอยู่สามบานเพื่อระบายความร้อน ออกโดยเร็ว ก่อนที่กุฏิจะกลายเป็นห้องซาวน่า


วันน�้ำพริกเผา บรรยากาศวันนี้คล้ายเมื่อวาน คือมีเมฆปกคลุมเป็นส่วนมาก ท�ำให้ฉันยังชาร์ตแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊คไม่ได้ แต่บทสนทนากับท่าน เจ้าอาวาสเมื่อหลายวันก่อน ก็เรียบเรียบลงบนกระดาษทั้งหมดแล้ว สิ่งพิเศษส�ำหรับฉันในวันนี้ก็คือน�้ำพริกเผาจากไทยแลนด์ ซึ่งระบุไว้ บนฉลากข้างซองอย่างชัดเจนว่า “ส�ำหรับทาขนมปัง” เมือ่ พระเจ้าถิน่ เห็นฉันท�ำตามค�ำสั่งบนฉลากอย่างว่าง่ายก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ช่วงบ่ายมีรถสิบล้อจากร้านวัสดุกอ่ สร้าง ซึง่ อยูห่ า่ งจากวัดประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง ขนไม้และอุปกรณ์อื่นๆมาส่งที่ Sanhga House โดย คิดค่าขนส่งเพียงหนึง่ ร้อยยีส่ บิ เหรียญ ซึง่ นับว่าน่าทึง่ มากเพราะต้อง ขับรถขึ้นภูเขาสูง และลุยโคลนในบางช่วงเข้ามาในเขตอุทยานแห่ง ชาติ ท่านเจ้าอาวาสเล่าว่าบางร้านมาแล้วไม่มาอีกเลย ส่วนบางร้าน คิดค่าขนส่งแพงถึงสามร้อยห้าสิบเหรียญ ช่วงนี้ที่วัดป่าพุทธธรรม ก�ำลังปรับปรุงบริเวณชั้นล่างของ Sangha House ให้มีพื้นที่ในการ ใช้ท�ำกิจกรรมต่างๆได้มากขึ้น ระหว่างที่จิบน�้ำชาในตอนเย็นท่านเจ้าอาวาสบอกฉันว่า โยม ผู้หนึ่ง (คนที่อุทานว่า Free!) ซึ่งแต่เดิมตั้งใจว่าจะอยู่ที่นี่ 1-2 เดือน แต่เปลี่ยนใจจะกลับภายใน 2-3 วัน เขาเคยศึกษาพุทธศาสนาแบบ


ธิเบตมาก่อน หลังจากมาอยู่ที่วัดป่าพุทธธรรมในระยะสั้นๆเขาก็ พบว่าชอบแบบธิเบตมากกว่าเถรวาท อันที่จริงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ก็ ส่อเค้าแล้ว เพราะฉันได้ยินเขาถกเถียงกับพระเสียงดังลั่นออฟฟิศ ในประเด็นทีว่ า่ “ท�ำไมพระเถรวาทต้องให้โยมท�ำอาหารถวาย? ท�ำไม ไม่ท�ำเอง? พระธิเบตยังท�ำเองได้เลย!”



วันปลอดภัยไว้ก่อน น่าจะเป็นครั้งที่สองหรือสามที่ฉันได้ผ่าฟืนแบบฝรั่งเต็มรูปแบบ หลายใครอาจจะคุ้นเคยกับภาพเคลื่อนไหวในหนังฮอลลีวูด  ฝรั่ง กล้ามโตจ้วงขวานด้ามยาวสับฟืนท่อนกลม ทีต่ งั้ อยูบ่ นตอไม้กระจาย ออกเป็นเสี่ยงๆ แต่เมื่อได้ลองจ้วงจริงจึงรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แถมยัง อันตรายอีกด้วย เพราะสันขวานอาจกระเด้งมากระแทกหน้า หรือ คมอาจแฉลบไปเฉาะหลังเท้า  บังเอิญมีเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่ง ชาติกลุ่มหนึ่งอยู่ในบริเวณนั้น ท่านเจ้าอาวาสบอกฉันว่าเขามาฝึก ใช้เลื่อยยนต์  คนหนึ่งในกลุ่มท่าทางจะเป็นหัวหน้าเดินเข้ามาหา พระสามรูป ซึ่งก�ำลังจ้วงขวานผ่าฟืนแบบผิดๆถูกๆไปตามประสา โดยเฉพาะพระที่มาจากไทยแลนด์ดูน่าสมเพชกว่าใครๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ฯเดินมาถึงก็บอกว่า ผมขอสาธิตวิธีผ่าฟืนได้ไหม? จากนัน้ พระสามรูปก็ยนื ฟังอย่างตัง้ ใจ เจ้าหน้าทีฯ่ เหลือบไปเห็นถุงเท้า กับรองเท้าฟองน�้ำส�ำหรับเดินป่าที่ฉันใส่อยู่จึงถามขึ้นว่า รองเท้าบู้ท ส�ำหรับใส่ท�ำงานไม่มีเหรอ? ค�ำตอบก็คือมี  แต่ไม่คิดว่าวันนี้จะต้อง มาผ่าฟืน ฉันรับรู้เรื่องอย่างนี้มานานแล้วว่า ฝรั่งจะให้ความส�ำคัญ กับเรื่อง “Safety First” หรือ “ปลอดภัยไว้ก่อน” เสมอ แม้แต่บริเวณ ตีระฆังให้สญ ั ญาณประกอบกิจกรรมภายในวัด  ก็ยงั มีอปุ กรณ์ปอ้ งกัน หูแขวนเอาไว้ให้ผู้ตีระฆังได้ใช้  เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้แหล่งก�ำเนิด


เสียงทีส่ ดุ   ความรูใ้ หม่อกี อย่างหนึง่ ทีฉ่ นั ได้รบั ในวันนีก้ ค็ อื  เจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติของทีน่ เี่ ป็นมิตรกับพระสงฆ์  ซึง่ ต่างจากบางประเทศ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเทียบกันไม่ได้เลย

วันแก่เฒ่า แม้ฝนจะตกปรอยๆ  แต่กิจวัตรประจ�ำวันภายในวัดก็ยังด�ำเนิน ไปตามปรกติ งานของพระสามรูปในวันนี้คือการท�ำความสะอาด ศาลาและล้างห้องน�้ำ  ฉันพบว่าถุงเท้าที่ใช้มาร่วมสองปีทะลุไปแล้ว หนึ่งคู่ ส่วนถุงเท้าอีกสองคู่ หมวกกันหนาว  และถุงมือซึ่งแก่เฒ่า พอๆกันก็ตกอยู่ในอาการขั้นโคม่า ก่อนเที่ยงวันฉันจึงขอเบิกถุงเท้า คู่ใหม่ที่เรือนคลังสงฆ์ ค้นคว้าในกล่องแล้วพบถุงเท้าคุณภาพดี สีน�้ำตาลอ่อนคู่หนึ่ง ดูจากสรรพคุณบนฉลากแล้วน่าสนใจ เพราะ มาจากร้านทีอ่ อกแบบผลิตภัณฑ์เพือ่ การใช้ชวี ติ กลางแจ้งโดยเฉพาะ ก่อนกลับเมืองไทยฉันกะว่าจะหาเวลาไปเยี่ยมชม และอุดหนุนสัก เล็กน้อย อุปกรณ์ Outdoors กับพระธุดงค์และทะลุดงไปกันได้ อย่างสนิทสนมกลมกล่อมอยูแ่ ล้ว เย็นวันนีท้ า่ นเจ้าอาวาสเทศน์เรือ่ ง “การรอคอย”


วันโกน เนื่องจากฝนตกตลอดเวลา  วันนี้พระจึงต้องท�ำงานในร่มโดย การท�ำความสะอาดบ้านพักโยมสองหลัง ช่วงสายมีครอบครัวชาว เวียดนามมาท�ำบุญ อาหารจึงเป็นอาหารเวียดนาม ขณะรอสัญญาณ ระฆังถวายอาหาร ฉันอ่านการ์ตนู ในปฏิทนิ ทีแ่ ถมมากับหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น เรื่องราวโดยรวมมีอยู่ว่า พ่อกับลูกชายยืนอยู่บนหาดทราย พ่อยื่นเปลือกหอยให้ลูกชาย ลูกชายรับเปลือกหอยจากพ่อแล้วน�ำ ไปประกบหู พ่อแย้มยิ้มถามลูกชายว่า “ลูกได้ยินเสียงอะไรบ้าง?” ลูกชายตอบด้วยสีหน้าขุ่นเคืองว่า “ปลาวาฬถูกล่า ปลาทูน่าถูกฆ่าฯ เอาไอพอดของผมคืนมา” (ฮา) หลังภัตกิจฉันตรวจดูสภาพอากาศทางอินเทอร์เน็ตพบว่า ฝน จะตกไปเรื่อยๆตลอดทั้งสัปดาห์ ฉันรู้สึกเสียดายอยู่บ้างที่ไม่ได้เอา กล้องฟิล์มไปถ่ายภาพบรรยากาศภายในวัดเก็บไว้ มีเพียงภาพจาก กล้องดิจิทัลที่บันทึกเอาไว้ตั้งแต่ช่วงแรกๆที่มาถึง ก่อนกลับกุฏิโยม ชาวเวียดนามเห็นฉันสวมใส่เสื้อกันหนาว พร้อมเอาฮู้ดคลุมหัวจึง ถามขึ้นว่า “อาจารย์หนาวเหรอ? ต้องมาช่วงฤดูร้อนอากาศจึงจะดี” ฉันยิ้มกว้างแล้วตอบว่า “ช่วงนั้นอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ร้อน กว่าเมืองไทยอีก”


เมื่อตื่นขึ้นในตอนบ่ายแก่ๆ ฉันก็ปลงผมและสรงน�้ำให้ตัวเอง จากนัน้ ก็ไปชงเครือ่ งดืม่ ร้อน เวลาสิบเก้านาฬิกาก็ไปรวมสวดมนต์ทำ� สมาธิภาวนาตามปรกติ ค�ำ่ นีม้ อี บุ าสิกาชาวศรีลงั กามาร่วมด้วยสองคน เธอนัง่ สมาธิได้นานพอๆกับพระ คือประมาณหนึง่ ชัว่ โมงสีส่ บิ ห้านาที

วันวิสาขบูชา วันนี้เป็นวันแรกที่อากาศสดใส หลังจากมืดฟ้ามัวดินมาตลอด ทั้งสัปดาห์ ฉันอาหารเสร็จแล้วญาติโยมจึงอาสาพาพระสามรูป ไปทัศนศึกษาที่ Wisemans Ferry เมืองเล็กๆแต่ครบครันด้วยร้าน อาหาร ร้านกาแฟ โรงแรม ร้านขายของที่ระลึก ปั๊มน�้ำมัน และ ไปรษณีย์ ท่านเจ้าอาวาสใจดีให้ฉันเลือกและช่วยเลือกโปสการ์ด ส่งกลับเมืองไทย หลังจากนั้นเราก็ไปเดินชมความโบราณของ The Old Great North Road ถนนที่สร้างด้วยการระเบิดหินจากภูเขา แล้วน�ำมาเรียงโดยใช้แรงงานนักโทษ เริ่มต้นจาก Wisemans Ferry สู่ Mt. Manning (ค.ศ. 1827-1832) จากหมู่บ้านกลับไปที่วัด ต้อง ขับรถขึ้นภูเขาโดยใช้เวลาประมาณ 40-50 นาที ระหว่างทางเกิด ปัญหาเล็กน้อยเพราะผิวถนนเละเป็นโคลน เนื่องจากฝนตกติดต่อ กันมาหลายวัน และคนขับไม่ช�ำนาญในการขับรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ท�ำให้รถไถลเข้าข้างทาง เราต้องลงจากรถแล้วช่วยกันน�ำก้อนหิน มาหนุนล้อจึงผ่านไปได้  แต่ก็ต้องลุ้นกันสนุกสนานอีกหลายจุด


กว่าจะถึงวัด แม้จะมีพระเพียงสามรูปและโยมเพียงสามท่าน แต่ในวันพิเศษ เช่นนีเ้ ราก็อยูป่ ฏิบตั ธิ รรมกันตัง้ แต่มดื ค�ำ่ ยันสว่าง ตามรูปแบบทีเ่ รียก ว่าเนสัชชิกหรือ All night sit เพือ่ เป็นพุทธบูชา อากาศคืนนีห้ นาวมาก และในศาลาก็ไม่มีเครื่องท�ำความร้อน ไม่ว่าจะนั่งสมาธิอยู่ในศาลา หรือออกมาเดินจงกรมข้างนอก ก็ให้ความรู้สึกเหน็บหนาวพอๆกัน ท้องฟ้าปลอดโปร่งมาตั้งแต่เมื่อวาน คืนนี้จึงเห็นพระจันทร์เต็มดวง ฉันชาร์ตแบตเตอร์รโี่ น๊ตบุค๊ ไว้จนเต็มตัง้ แต่ชว่ งกลางวัน โดยตัง้ ใจว่า เมือ่ แสงเงินแสงทองของวันใหม่มาถึง จะเรียบเรียงต้นฉบับรออาหาร มื้อหนักตอนสิบโมงเช้า

วันหลังวันพระ เอาเข้าจริงฉันก็จัดการกับต้นฉบับไปได้เพียงหนึ่งชั่วโมงเศษๆ แม้ไม่ง่วงเหงาหาวนอนแต่ก็รู้สึกเบลอๆ ฉันจึงวางงานหนังสือแล้ว ออกไปเดินอาบแดดตุนเอาไว้ก่อน  เพราะตามพยากรณ์อากาศ บอกว่าบ่ายนี้จะมีทั้งลมและฝน ก่อนอาหารมื้อหนักตอนสิบโมงเช้า ท่านเจ้าอาวาสถวายหนังสือ Wat Buddha Dhamma Cook Book ไว้เป็นที่ระทึก เพราะพรุ่งนี้ฉันจะเดินทางกลับไปซิดนีย์  เพื่อรอขึ้น เครือ่ งบินกลับเมืองไทย ฉันถามท่านเจ้าอาวาสว่าอะไรเป็นเมนูโปรด


ของท่าน? ค�ำตอบก็คือ Impossible Pie ใครอยากรู้ว่าอิมพอสซิเบิ้ล ยังไงก็ต้องลองเอาไปท�ำดู ไข่ 4 ฟอง แป้ง ½ ถ้วย เนยเหลว ½ ถ้วย น�้ำตาล 1 ถ้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ถ้วย นม 1 ถ้วย วนิลาสกัด 2 ช้อนชา น�ำส่วนผสมทั้งหมดลงในเครื่องปั่นแล้วปั่นจนเข้ากัน หรือจะใส่ ลงในถ้วยแล้วตีก็ได้ จากนั้นปูกระดาษรองอบ (ฺBaking Paper) ลง ในถาดท�ำขนมเค้กทรงสีเ่ หลีย่ ม อบด้วยอุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้จนเย็นแล้วตัดเป็นสี่เหลี่ยม หลังจากสรงน�้ำในตอนเย็นแล้ว ฉันก็มาพิจารณาเครื่องดื่มร้อน ที่ Sangha House ได้สนทนากับท่านเจ้าอาวาสเล็กน้อยถึงการ เดินทางในวันพรุ่งนี้ ฉันให้ท่านเจ้าอาวาสดูภาพถ่ายที่บันทึกไว้ใน ช่วงที่อยู่วัดป่าพุทธธรรม มีหลายภาพที่ท่านชอบและขอเก็บไว้เพื่อ จะน�ำไปลงในเว็บไซต์ของวัด ฉันได้ยินท่านเจ้าอาวาสพูดโทรศัพท์ กับพระรูปหนึ่งซึ่งจะเดินทางมาที่นี่ในวันพรุ่งนี้ ท่านบอกพระรูปนั้น


ว่าช่วงเช้ามืดเมื่อวานนี้อุณหภูมิอยู่ที่ 4-5 องศาเซลเซียส

วันบอกลา งานของฉันวันนีค้ อื การปัดกวาดเช็ดถูกฏุ แิ ละจัดกระเป๋า ช่วงสาย มีโยมชาวไทยมาท�ำบุญสองคนและจะอยู่ค้างที่วัดด้วย ช่วงบ่ายมี โยมชาวอินโดนีเชียสามคน มาส่งพระที่จะมาอยู่จ�ำพรรษาที่นี่ ท่าน เจ้าอาวาสจึงจัดให้ฉันอาศัยรถของเขากลับเข้าไปในเมืองซิดนีย์ ฉัน บอกลาพระทั้งสามรูปด้วยประโยคสุดแคลสสิคว่า “Have a good vassa” ฝนลงเม็ดตัง้ แต่ยงั ไม่ออกจากวัดป่าพุทธธรรม อากาศวันนีอ้ ทุ าน ได้เลยว่า Freeze! ขณะที่รถเก๋งวิ่งลงจากภูเขาเราก็พบว่าถนนบาง จุดแหลกเหลวเละ เป็นเหตุให้โคลนหนับหนึบอยู่ที่ผิวหน้าของยาง ท�ำให้ล้อด้านหลังลากเลื้อยไถล แต่ 2-3 ชั่วโมงถัดมา เราก็ลุถึงตัว เมืองซิดนีย์ ระหว่างที่รถหยุดอยู่บนถนนที่เจิ่งนองด้วยน�้ำและคับคั่ง ด้วยการจราจร ฉันรู้สึกมึนงงเล็กน้อย เพราะ 2-3 ชั่วโมงที่แล้ว ฉัน เพิง่ คลุกคลีอยูก่ บั เงียบสงัดของป่าเขาล�ำเนาไพร แล้วก็ตอ้ งมาประจัญ กับแสงสีวบู วาบฉาบศิวไิ ลซ์  แต่คนื นีฉ้ นั ไม่ตอ้ งก่อไฟไล่ความเหน็บ หนาว เพราะเปิดประตูเข้าไปในห้องพักปูพรมสีขนุ่ ครีมของวัดพุทธรังสี เมืองสแตนมอร์ เครือ่ งท�ำความร้อนก็กระจายไออุน่ ไปทัว่ ห้องรออยูแ่ ล้ว


วันเดิม “อยู่ในที่วุ่นวายกลับสงบ อยู่ในที่สงบกลับวุ่นวาย”  ฉันประสบ กับสถานการณ์ประมาณนี้ไม่น้อยครั้ง ในช่วงสิบหกปีของชีวิตการ เป็นพระ เวลากว่าห้าสัปดาห์ในซิดนีย์ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้สัมผัส กับประสบการณ์นี้  พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งอธิบายไว้ในหนังสือของ ท่านว่า “เป็นเพราะเรามีความสันโดษ” หลังอาหารเพลทีว่ ดั พุทธรังสี เมืองสแตนมอร์ ซึง่ ยังคงรักษารสชาติ แบบไทยแท้เต็มสูตรได้อย่างคงเส้นคงวา ฉันก็ออกไปนั่งอาบแดดที่ สวนหย่อมเล็กๆหน้าวัด ด้วยรู้สึกว่าร่างกายชุ่มไปด้วยน�้ำ เพราะฝน ตกเกือบตลอดสองสัปดาห์ในช่วงที่อยู่วัดป่าพุทธธรรม นั่งได้สักพัก ฉันก็เปลี่ยนใจออกไปเดินตามเส้นทางเดิมเลียบถนนหน้าวัด ผ่าน ร้านกาแฟข้างสวนสาธารณะร้านเดิม ซึ่งอยู่ติดกับร้านขายของเก่า ร้านเดิม ฉันแวะเข้าไปทักทายบัวรดน�้ำสังกะสี​ีสีแดงอันเดิมซึ่งวาง อยู่ที่เดิม แต่ไม่ลืมที่จะเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกถึงวันเดิมๆ ฉันเดินแค่ หอมปากหอมคอหอมแข้งหอมขา แล้วก็กลับมาทีว่ ดั ในเวลาประมาณ บ่ายสองโมงเศษๆ อากาศหนาวสบายทั้งขาไปและขากลับ


วันบ้านๆ หลังมื้อเพลฉันออกไปเดินทอดน่องเพื่อร�่ำลาเมืองสแตนมอร์ เข้าซอยนั้นออกซอยนี้ไปเรื่อยๆ ให้สมกับเป็นพระทะลุดง พบ สวนสาธารณะเขียวครึม้ ซุกซ่อนตัวอยูต่ ามมุมต่างๆ 2-3 แห่ง ท้องฟ้า วันนี้มีแดดสลับกับเมฆก้อนโต  ผู้คนในย่านสแตนมอร์ยังคงนิยม เหล็กหล่อลวดลายเถาวัลย์ซับซ้อนซ่อนกลฉงนฉงายแบบ Victorian ประดับตามระเบียงบ้าน บ้านส่วนใหญ่เงียบเชียบ บางหลังก็วังเวง เหมือนมีตัวอะไรสักอย่างสิงอยู่ในนั้น  บางหลังก็เปิดไฟสีนวล อบอุ่นโรแมนติก บางหลังก็ฉายอารมณ์สนุกสนานด้วยการใช้ตุ๊กตา ประดับบานประตู บางหลังก็รุงรังด้วยดอกไม้สีสันสดใส ประมาณ หนึง่ ชัว่ โมงฉันก็กลับมาทีว่ ดั เพือ่ เก็บกระเป๋า เตรียมตัวย้ายไปพักย่าน คิงส์ฟอร์ด สิบเก้านาฬิกาเศษๆ น้องสาวและน้องเขยชาวออสซี่ก็มารับ เมื่อเก็บข้าวของเข้าที่พักเรียบร้อยแล้ว ฉันก็นั่งสนทนากับพวกเขา ที่ห้องนั่งเล่น น้องเขยถามฉันเป็นเชิงสัพยอกภรรยาคนสวยว่า “ที่ เมืองไทยภรรยาจะไหว้สามีก่อนนอนทุกคืน ท�ำไมภรรยาของผม ไม่เห็นท�ำอย่างนั้นบ้าง?” ฉันตอบว่า “ก่อนแต่งงาน ผู้ชายไทย จะบวชอย่างน้อยสามเดือน เพื่อศึกษาค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ว่า การเป็นสามีที่ดีต้องท�ำอย่างไร เมื่อผู้ชายคนนั้นเป็นสามีที่


ดีแล้วจึงสมควรได้รับการกราบไหว้จากภรรยา” น้องเขยชาวออสซี่ พูดด้วยสีหน้ามั่นใจว่า “ผมจะหาโอกาสไปบวชที่เมืองไทย”

วันก่อนเก่า กว่าครึ่งหนึ่งของกิจกรรมในวันนี้ฉันเป็นผู้ออกแบบเอง ช่วงเช้า เป็นการเสาะหาของฝากส�ำหรับพระที่เมืองไทย ช่วงเที่ยงเราจึง เดินทางไป Rozelle Markets ตลาดสินค้ามือสองและของเก่า ขนาดใหญ่ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดในซิดนีย์ เมื่อไปถึงก็ไม่ผิดหวังในความ เก่า แต่จะมีใครผิดหวังว่ามันเก่าจนไม่รู้จะเอาไปท�ำอะไรหรือไม่ อันนี้ฉันไม่แน่ใจ กล้องถ่ายรูปเก่าๆ รถเข็นเด็กเก่าๆ ตุ๊กตาเก่าๆ ถ้วยโถโอชามเก่าๆ ช้อนสเตนเลสเก่าๆ สิ่งที่พอจะคบหาได้ก็คือ โปสเตอร์เก่าที่น�ำเอามาพิมพ์ใหม่ ถ้าน�ำไปใส่กรอบแขวนในร้าน กาแฟหรือร้านเฟอร์นิเจอร์แนว Retro ก็คงจะโก้ดีเหมือนกัน (ค�ำว่า “โก้” ก็เก่า) หลังจากน้องๆอิ่มแฮมเบอร์เกอร์และฉันอิ่มน�้ำอ้อยสด จากร้านของชาวเวียดนามแล้ว เราก็ยกโขยงไปร้านขายข้าวของ Outdoors ที่ Kent Street ซึ่งสะดวกดีในแง่ของการตามหาสินค้า ที่เราต้องการ และสอดคล้องกับงบประมาณในกระเป๋า เนื่องจาก ถนนสายนี้มีร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังว่า มาชุมนุมให้นักผจญภัย เปรียบเทียบคุณภาพและราคาเกือบสิบร้าน ช่วงนี้แต่ละร้านก�ำลัง แข่งขันกันลดราคารับฤดูหนาว ได้ทราบจากน้องสาวว่าในเดือน


มิถุนายนของทุกปีจะเป็นเช่นนี้ เมื่อกลับมาถึงที่พักในช่วงเย็น ฉันก็จัดแจงบรรจุสัมภาระ มากมายลงในกระเป๋า ซึ่งท�ำให้พบว่ากระเป๋าสองใบที่พามาจาก เมืองไทยมีขนาดใหญ่เกินไป หรือมองอีกแง่หนึ่งก็คืิอมีข้าวของที่จะ น�ำกลับเมืองไทยน้อยเกินไป สรงน�้ำเสร็จฉันก็เขียนโปสการ์ดหนึ่ง ใบร่อนไปหาคุณตาและคุณยายมาร์ตินที่ฟาร์มชานเมือง Bathurst จากนัน้ ก็โทรศัพท์ไป Say goodbye ครอบครัวของนักเรียนแลกเปลีย่ น ชาวออสซี่ ฉันเล่าให้เธอฟังว่าที่เมือง Wisemans Ferry อุณหภูมิใน ตอนเช้าประมาณห้าองศาเซลเซียส เธอพูดเสียงยิ้มแย้มว่าที่เมือง Bathurst อุณหภูมิติดลบห้าองศาเซลเซียส

วันกลับบ้าน 06:25 น. 06:40 น. 06:55 น. 07:25 น. 07:50 น. 09:50 น.

แพนเค้กกับกล้วยหอมและสตรอว์เบอร์รี่ ราดเมเปิล ไซรัปประดับวิปครีม ซุปฟักทองกับขนมปังกระเทียม กีวีสีทอง ลูกพลัม และส้มเขียวหวาน เดินทางออกจากที่พัก เช็คอินที่ท่าอากาศยานซิดนีย์ ขึ้นเครื่อง


10:25 น. 10:55 น. 16:20 น.

เครื่องบินทะยานขึ้นฟ้า กัปตันทองสุขประกาศว่า ใช้เวลาประมาณแปดชั่วโมงสามสิบนาที  ก็จะถึง สนามบินสุวรรณภูมิ แกงเผ็ดไก่กับหน่อไม้ราดข้าวหอมมะลิ ถึงสนามบินสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ


Action Sampler


1 Farm in Bathrust 2-6 Culberra Beach 7 Hyde Park 8 Harbour Bridge 9-10 Opera House 11 Sydney Downtown 12 Darling Harbour 13 Paddington Markets 14-15 Rozelle Markets 16 Tree at Stanmore






















































Bush &Buddhism


บทสนทนาระหว่างเปสโลภิกขุกับเขมวโรภิกขุ ณ วัดป่าพุทธธรรม หมู่บ้านไวส์แมนเฟอร์รี่ เมืองซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555




เขมวโรภิกขุ

• ชื่อเดิม Paul นามสกุล Ngo • เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1966 ที่เมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม • เมือ่ อายุได้ 9 ขวบย้ายตามครอบครัวไปอยูท่ ปี่ ระเทศสหรัฐอเมริกา • ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านปรัชญา จาก Claremont McKenna Collage, Southern California, USA • ปี ค.ศ. 1989เดินทางไปเป็นอาสาสมัครเพื่อสันติภาพที่ประเทศ ไนจีเรีย • ปี ค.ศ. 1990-1998 ท�ำงานด้านการธนาคารที่บริษัทแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย • ปี ค.ศ. 1999 ถือเพศอนาคาริกะ (ปะขาวหรือผู้ชายเตรียมบวช) ที่วัดป่านานาชาติ อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี • ปี ค.ศ. 2000 อุปสมบทที่วัดหนองป่าพง อ�ำเภอวารินช�ำราบ

จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) เป็นพระอุปชั ฌาย์ ได้รบั ฉายาว่า “เขมวโร” แปลว่า “ผูม้ ที พี่ งึ่ อันเกษม” • นับจากปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ท�ำหน้าที่ผู้น�ำการปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานหลายครั้ง ทั้งในประเทศสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ และออสเตรเลีย • ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธธรรม หมูบ่ า้ นไวส์แมนส์ เฟอร์รี่ เมืองซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย


เปสโลภิกขุ

You guys work very hard to run the monastery

We have no choice.

เขมวโรภิกขุ


เปสโลภิกขุ : วัดป่าพุทธธรรมมีความเป็นมาอย่างไร เขมวโรภิกขุ : มีรายละเอียดอยูใ่ นจดหมายข่าวของวัดในยุคนัน้ พรุ่งนี้ผมจะเอาให้ท่านดู ช่วงที่ก่อตั้งผมไม่ได้อยู่ด้วย แต่ตามความ เข้าใจของผม ‘จารย์โย่ง* (นามสมมติ) พระฝรั่งชาวออสเตรเลีย ที่บวชมาจากวัดในกรุงเทพฯ ตอนนั้นท่านอยู่ที่วัดพุทธรังสี เมือง สแตนมอร์ ได้ประมาณหนึง่ ปี ภิกษุณอี ยาเขมะได้พบท่านทีน่ ี่ ภิกษุณี ท่านนีต้ อ้ งการซือ้ ทีด่ นิ เพือ่ จะสร้างเป็นวัดป่า พวกเขาจึงชักชวนกันมา ดูที่นี่และก็ชอบ เมื่อสามสิบปีที่แล้วมันไกลมาก พวกเขาไม่สามารถ หาทีท่ มี่ นั ใกล้กว่านีไ้ ด้ แต่พวกเขาก็ชอบทีน่ เี่ พราะความวิเวกและชอบ ป่าสนด้วย เพราะมันสามารถน�ำมาใช้ในการก่อสร้างเสนาสนะได้ ใน วันนั้นท่านเจ้าคุณพระราชสีลาภรณ์ (หลวงพ่อมหาสมัย สุขสมิทฺโท) ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ในออสเตรเลียก็มาดูด้วย ท่านบอกว่ามันอยู่ไกล เกินไป แต่ในที่สุดพวกเขาก็ซื้อที่ดินแห่งนี้ แล้วถวายให้เป็นวัดป่า เปสโลภิกขุ : ตอนทีซ่ อื้ ทีด่ นิ โยมผูห้ ญิงบวชเป็นภิกษุณหี รือยัง? เขมวโรภิกขุ : ยังเป็นโยมอยู่ เปสโลภิกขุ : มีฐานะดี เขมวโรภิกขุ : ได้รับมรดกจากพ่อ เปสโลภิกขุ : หลังจากซื้อที่ดินแล้วก็บวชเป็นภิกษุณี *ทางภาคอีสาน พระทีบ่ วชได้ไม่นานแล้วลาสิกขาจะเรียกว่าทิด ส่วนพระทีบ่ วช มานานแล้วลาสิกขาจะเรียกว่า ‘จารย์ เป็นการเรียกเพือ่ ให้เกียรติ และแสดงถึง คุณธรรมความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้น


เขมวโรภิกขุ : ใช่ เดินทางไปบวชที่ศรีลังกา แล้วก็กลับมาอยู่ ที่นี่แต่อยู่เพียง 1-2 ปีก็ไปสร้างส�ำนักภิกษุณีที่ศรีลังกา แต่ไม่ประสบ ความส�ำเร็จเพราะชาวบ้านไม่ชอบที่ผู้หญิงมาอยู่กันเองตามล�ำพัง เปสโลภิกขุ : แต่ที่ศรีลังกาก็มีวัดของภิกษุณีอยู่เยอะ เขมวโรภิกขุ : ประมาณต้นปี 1980 ภิกษุณีอาจจะยังไม่เป็น ที่รู้จัก อีกอย่างภิกษุณีอยาเขมะก็เป็นชาวต่างชาติด้วย ชาวบ้านจึง ไม่ยอมรับ เปสโลภิกขุ : ช่วงที่พวกเขาเริ่มก่อตั้งวัดแห่งนี้คือประมาณปี 1978 เขมวโรภิกขุ : ใช่ วันวิสาขบูชาปี 1978 เปสโลภิกขุ : วิสาขบูชาที่จะถึงนี้ครบรอบกี่ปี เขมวโรภิกขุ : ปีนี้ 2012 ก็ครบ 34ปี เปสโลภิกขุ : ในระยะนั้นมีใครมาช่วยสร้างวัดบ้าง เขมวโรภิกขุ : ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ‘จารย์โย่งมาจากวัดที่มี ชือ่ เสียงในกรุงเทพฯ และทีน่ กี่ เ็ ป็นวัดป่าแห่งแรกๆในประเทศตะวันตก จึงมีคนอยากช่วยเยอะเพราะต้องการเผยแผ่พุทธศาสนาไปสู่ต่าง ประเทศ นอกจากนี้ปลายปี 1970 กลุ่มชาวเอเชียในซิดนีย์ก็ยังไม่มี วัด มีเพียงวัดไทยกับวัดเวียดนามอย่างละหนึ่งแห่ง แต่ชาวลาว พม่า ศรีลงั กา ยังไม่มีวัด พวกเขาจึงมาช่วยกันสร้างวัดเถรวาทขึน้ ทีน่ ี่ อีกอย่างหนึ่ง ’จารย์โย่งก็เทศน์เก่งด้วย เปสโลภิกขุ : ตอนนั้นท่านบวชได้กี่พรรษา เขมวโรภิกขุ : น่าจะใกล้ๆยี่สิบ


เปสโลภิกขุ : มีพระไทยที่อยู่กับท่านเจ้าคุณฯมาอยู่ที่นี่ไหม เขมวโรภิกขุ : ไม่มี เขาบอกว่ามันไกล เขาอยากจะอยูใ่ กล้เมือง หน่อย เปสโลภิกขุ : ชาวเอเชียที่มาช่วยสร้างวัดไม่ได้อยู่ที่นี่ประจ�ำ เขมวโรภิกขุ : ใช่ เปสโลภิกขุ : ชุมชนที่นี่เริ่มต้นยังไง เขมวโรภิกขุ : ‘จารย์โย่งมีกิจนิมนต์เดินทางไปสอนกรรมฐาน หลายแห่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ท่านมีชื่อ เสียงมาก ในช่วงปี 1970 เป็นยุคของฮิปปี้ พวกฮิปปี้ต้องการเข้าไป อยูใ่ นป่า ป่ากับพุทธศาสนา สมบูรณ์แบบสุดๆ ช่วงนั้นมีคนมาอยูท่ นี่ ี่ ประมาณ 40 คน อยู่แบบครอบครัว เคยมีเด็กๆและโรงเรียนที่นี่ด้วย เปสโลภิกขุ : คูร่ กั จากในเมืองมาอยูท่ นี่ ี่ แล้วก็มีลูกด้วยกันทีน่ ี่ เขมวโรภิกขุ : ใช่ ช่วงแรกๆ ’จารย์โย่งให้ฮิปปี้รักษาศีลแปด แต่มันยากส�ำหรับพวกเขา ท่านจึงแบ่งวัดออกเป็นสองเขตคือเขต หมู่บ้านกับเขตสงฆ์ โดยให้คนที่อยู่ในหมู่บ้านรักษาศีลห้า ส่วนคนที่ รักษาศีลแปดให้ขนึ้ มาอยูด่ า้ นบนคือบริเวณทีเ่ ป็นเขตสงฆ์ในปัจจุบนั เพราะฉะนั้นถ้าคู่รักที่มาจากในเมืองหรือมาพบกันที่นี่ เมื่อมีลูก ด้วยกันก็ต้องลงไปอยู่ในหมู่บ้านด้านล่าง เปสโลภิกขุ : รักษาศีลแปดมีลูกไม่ได้ (หัวเราะ) เขมวโรภิกขุ : ใช่ ต้องเปลี่ยนไปรักษาศีลห้า เปสโลภิกขุ : มีพระอยู่เพียงรูปเดียว เขมวโรภิกขุ : ส่วนใหญ่มรี ปู เดียว บางคนเมือ่ บวชเป็นสามเณร


พวกฮิปปีต้ อ้ งการ เข้าไปอยูใ่ นป่า ป่ากับพุทธศาสนา สมบูรณ์แบบสุดๆ


แล้วก็เดินทางไปเมืองไทย มีพระชาวออสเตรเลียหลายรูปที่เริ่มต้น จากที่นี่ เปสโลภิกขุ : พวกเขามีกิจวัตรประจ�ำวันเหมือนเราไหม เช่น ตื่นสวดมนต์นั่งสมาธิในตอนเช้า ท�ำงาน กินข้าว พักผ่อน ดื่มน�้ำชา กาแฟ แล้วมารวมสวดมนต์นั่งสมาธิในตอนเย็น เขมวโรภิกขุ : มีเหมือนกัน เปสโลภิกขุ : มันน่าจะไปได้สวย เขมวโรภิกขุ : ในช่วงแรกๆมันดีมาก มันให้แรงบันดาลใจ และ พวกเขาก็เก่งมาก ท่านเห็นศาลาหลังเก่าไหม ฝาผนังไม่มีฉนวนกัน ความหนาว มีแต่ช่องเต็มไปหมด พวกเขาไปรวมนั่งสมาธิด้วยกัน ทีน่ นั่ ทุกเช้า และ ’จารย์โย่งก็เดินเท้าเปล่าจากเขตสงฆ์ลงไปรับอาหาร บิณฑบาตในหมู่บ้านทุกวัน เปสโลภิกขุ : ชุมชนที่นี่เลี้ยงตัวเองยังไง เขมวโรภิกขุ : พวกเขาพยายามท�ำหลายอย่างเช่นท�ำเทียน ขาย บางคนไปท�ำงานที่แพเฟอร์รี่ แล้วก็ปลูกพืชผัก แต่การดูแลสวน ก็ไม่ง่าย ตอนกลางคืนจะมีตัว Possum (อ่านว่า “พอสซั่ม” เป็นสัตว์ ชนิดหนึ่งคล้ายหนูหรือกระรอกตัวโตๆ) มากินผัก พวกเขาต้องท�ำรั้ว ขนาดใหญ่กั้น น�้ำก็เป็นปัญหาส�ำหรับที่นี่ บางครั้งก็ไม่มีน�้ำ เปสโลภิกขุ : วันนี้ผมเห็นล�ำธารเล็กๆ เขมวโรภิกขุ : บางครั้งมันก็มีน�ำ้อยู่เต็ม บางครั้งก็ไม่มีน�้ำ มัน ไม่ได้ไหลทั้งปี ที่ตอนนี้ยังเห็นมันไหลอยู่เพราะปีที่แล้วฝนตกเยอะ เปสโลภิกขุ : ใช้ดื่มได้ไหม


เขมวโรภิกขุ : คงต้องใช้เครื่องกรอง เปสโลภิกขุ : หลังจากนัน้ มีคนจากข้างล่างมาเข้าร่วมในชุมชน มากขึ้น เขมวโรภิกขุ : ใช่ เพราะมีวัดเถรวาทในซิดนีย์เพียงไม่กี่แห่ง เปสโลภิกขุ : หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้น เขมวโรภิกขุ : ประมาณปี ค.ศ. 1990 ไม่มีใครอยู่ประจ�ำ คน จากข้างล่างก็ไปๆมาๆ พระจากในเมืองก็ไม่มา พระจากเมืองไทยก็ ไม่มา และช่วงนั้นมีผู้หญิงอยู่เยอะ ‘จารย์โย่งจึงให้บวชเป็นสามเณรี ต่อมาท่านก็สนิทกับสามเณรีรูปหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นเหตุให้กลุ่มชาว พุทธเถรวาทไม่พอใจ เนื่องจากการกระท�ำบางอย่างขัดต่อพระวินัย ญาติโยมจากในเมืองจึงเริ่มไม่มาวัด ต่อมาญาติโยมที่มาวัดก็พบ ว่า ’จารย์โย่งสนใจด้านปริยัติมากกว่าการปฏิบัติ ประมาณปี ค.ศ. 1980 มีศนู ย์ฝกึ สมาธิแห่งใหม่ที่ Blue Mountain อาจารย์คอื Joseph Goldstein เป็นอาจารย์ฝ่ายฆราวาสที่มีชื่อเสียง ผู้คนจึงหลั่งไหลกัน ไปที่นั่น เปสโลภิกขุ : ‘จารย์โย่งสนใจพุทธศาสนาแบบธิเบตด้วย เขมวโรภิกขุ : ใช่ หลังจากที่ท่านออกจากที่นี่ไปแล้ว ท่านให้ ความเห็นเพื่อตีพิมพ์ลงในจดหมายข่าวของวัดว่า ท่านไม่เคยคิดว่า ตัวเองเป็นพระเถรวาท แต่คิดอยู่เสมอว่าตัวเองเป็นพระธิเบต เหตุที่ ท่านบวชในสายเถรวาทเพราะขณะนั้นเป็นเพียงตัวเลือกเดียว และ เมื่อบวชแล้วก็รู้สึกว่าไม่สบายเลย เปสโลภิกขุ : ช่วงที่ผมอยู่วัดป่าอภัยคีรีก็มีพระสายมหายาน


มาปฏิบัติร่วมกับเราเหมือนกัน ท่านก็รู้สึกว่าไม่สบาย ท่านเป็นพระ ที่ดีแต่อาจจะไม่ใช่ส�ำหรับเถรวาท เขมวโรภิกขุ : ใช่ ประมาณต้นปี 1990 ‘จารย์โย่งสนใจสาย ธิเบตมากขึ้น สามเณรีแนะน�ำให้ ’จารย์โย่งรู้จักกับอาจารย์ฝ่าย ฆราวาสชาวธิเบตท่านหนึ่ง ต่อมา ’จารย์โย่งก็เดินทางไปเข้าคอร์ส กรรมฐานกับอาจารย์ท่านนี้ที่อเมริกาแล้วพบว่า ถ้าจะเป็นอาจารย์ สอนกรรมฐานมันไม่จ�ำเป็นต้องเป็นพระก็ได้ ท่านจึงลาสิกขา แต่ ท่านก็ยงั อยูท่ วี่ ดั พุทธธรรมและต้องการให้ทนี่ เี่ ป็นศูนย์ของสายธิเบต ตอนนั้นภิกษุณีอยาเขมะ ซึ่งมีศูนย์ฝึกสมาธิอยู่ที่ประเทศเยอรมนีรู้ เรื่องนี้เข้าก็ไม่สบายใจ เพราะตั้งใจแต่แรกว่าจะมอบสถานที่แห่งนี้ ให้เป็นวัดของสายเถรวาท ช่วงนั้นคณะกรรมการจึงมีการขัดแย้งกัน ระหว่างฝ่ายทีส่ นับสนุนธิเบตกับเถรวาท แต่หลังจาก ’จารย์โย่งออกไป จากทีน่ แี่ ล้ว ก็มกี ารขัดแย้งกันในประเด็นใหม่ ระหว่างกลุม่ ทีอ่ ยากให้ มีอาจารย์เป็นพระกับกลุม่ ทีอ่ ยากให้มอี าจารย์เป็นฆราวาส ต่อมากลุม่ ที่สนับสนุนพระก็นิมนต์พระชาวเยอรมันสายเถรวาทมาอยู่ แต่ท่าน ไม่ทำ� ให้ญาติโยมเกิดแรงบันดาลใจ เมือ่ อยูไ่ ด้เพียงสองปีคณะกรรมการ จึงนิมนต์ทา่ นออกไป เพราะข้อวัตรปฏิบตั ขิ องท่านเป็นแบบพระทีอ่ ยู่ ในเมืองและท่านก็ไม่ชอบที่นี่ด้วย เปสโลภิกขุ : มิน่าญาติโยมจึงไม่เกิดแรงบันดาลใจ (หัวเราะ) เขมวโรภิกขุ : ใช่ (หัวเราะ) วัดจึงกลายเป็นศูนย์ฝึกสมาธิไป โดยปริยายเพราะไม่มีพระอยู่ประจ�ำ เปสโลภิกขุ : คณะกรรมการสอนเอง


เขมวโรภิกขุ : บางครัง้ ก็สอนเอง แต่สว่ นใหญ่จะเชิญอาจารย์มา จากข้างนอก พวกเขาบอกว่าต้องการเพียงจัดการดูแลการเข้าคอร์ส ฝึกกรรมฐาน แต่ไม่ต้องการสอน ต่อมาพวกเขาก็แบ่งพื้นที่ออกเป็น สองส่วนโดยด้านบนเป็นเขตวัด ด้านล่างเป็นศูนย์ฝกึ กรรมฐานส�ำหรับ ญาติโยม พวกเขาอนุญาตให้พระมาปลีกวิเวกได้เป็นครัง้ คราวแต่ตอ้ ง ท�ำตามที่เขาสั่ง (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) อาจารย์ที่เชิญมาสอนมีทั้งพระและ ฆราวาส เขมวโรภิกขุ : ใช่ อาจารย์จะขึ้นมาพักในเขตสงฆ์ด้านบน บาง ครั้งก็เป็นอาจารย์ผู้หญิง แต่ผู้ชายกับผู้หญิงอยู่ในเขตเดียวกันไม่ใช่ เรื่องใหญ่ส�ำหรับชาวตะวันตก แต่มันก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้พระ ไม่อยากมาที่นี่ เพราะต้องอยู่ร่วมอาคารเดียวกันกับผู้หญิง เปสโลภิกขุ : เป็นคอร์สกรรมฐานสั้นๆ 7-10 วัน เขมวโรภิกขุ : ใช่ เปสโลภิกขุ : ประสบความส�ำเร็จไหม เขมวโรภิกขุ : ไม่ เพราะช่วงนั้น Joseph Goldstein ก�ำลังก่อ ตั้งศูนย์กรรมฐานที่ Blue Mountain ซึ่งอยู่ใกล้สถานีรถไฟ พอลง รถไฟแล้วก็เดินไปได้เลย และที่ Blue Moutainก็มศี นู ย์กรรมฐานของ โคเองก้าด้วย ซึ่งเขามีชื่อเสียง ที่นั่นจัดคอร์สกรรมฐานทุกเดือน มี คนมาเข้าคอร์สเยอะเพราะเป็นคอร์สท�ำสมาธิอย่างเดียว ไม่ใช่พุทธ ศาสนา ซึ่งฝรั่งชอบเพราะเขาไม่อยากเกี่ยวข้องกับศาสนา เขาเพียง แต่อยากผ่อนคลาย


ฝรัง่ รับเอา พุทธศาสนา ไปเพียงบางส่วน เขาไม่ตอ้ งการ เอาทัง้ หมด


เปสโลภิกขุ : ช่วงทีผ่ มอยูว่ ดั ป่าอภัยคีรกี ไ็ ด้ยนิ ค�ำว่า Dhamma Light คือเบาๆ ผ่อนคลาย เขมวโรภิกขุ : ใช่ เขารับเอาพุทธศาสนาไปเพียงบางส่วน เขา ไม่ต้องการเอาทั้งหมด เปสโลภิกขุ : หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้น เขมวโรภิกขุ : วัดกลายเป็นศูนย์กรรมฐาน ต้องหาอาสาสมัคร มาช่วยเพราะไม่มใี ครอยูป่ ระจ�ำ ผูจ้ ดั การศูนย์ฯแต่ละคนก็อยูไ่ ม่นาน บางคนมาอยู่ได้ 6 เดือน มาเปลี่ยนกิจวัตรประจ�ำวันทุกอย่างแล้ว ก็ออกไป พอคนใหม่เข้ามาก็เปลี่ยนอีก ท�ำให้ผู้คนสับสน เพราะ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น อีกอย่างระยะทางจากซิดนีย์มาที่วัดก็ไกลด้วย ส่วนใหญ่ที่นี่จึงว่าง ตอนที่ผมมาถึงที่นี่ครั้งแรกเหลืออยู่เพียงสองคน คือผูจ้ ดั การกับอาสาสมัคร เขาเล่าว่าในช่วง 3 ปีทผี่ า่ นมาศูนย์ฯขาดทุน เปสโลภิกขุ : ท�ำไมจึงขาดทุน เขมวโรภิกขุ : ถ้าเป็นศูนย์กรรมฐานญาติโยมจะไม่บริจาคปัจจัย ต้องเก็บเงินจากคนทีม่ าเข้าคอร์ส ต้องซือ้ อาหาร เพราะไม่มใี ครถวาย อาหารซึ่งมันแพงมาก เขาจึงจ�ำเป็นต้องปิดศูนย์แห่งนี้ เปสโลภิกขุ : ปิดปีไหน เขมวโรภิกขุ : ผมมาที่นี่ในปี 2008 ยังมีการจัดคอร์สกรรมฐาน อยู่ แต่ปีนั้นต้องยกเลิกเพราะไม่มีใครมา เนื่องจากมันไกลและมี ศูนย์อื่นที่ใกล้กว่า ตอนนั้นผมอยู่วัดป่าที่เมืองเพิร์ธ ท�ำให้ได้ยินข่าว ว่าที่นี่มีปัญหาปีแล้วปีเล่า โอ...วัดพุทธธรรมมีปัญหาอีกแล้ว แตก ความสามัคคีอีกแล้ว


เปสโลภิกขุ : ท่านอยู่ที่เพิร์ธนานไหม เขมวโรภิกขุ : เจ็ดปี เปสโลภิกขุ : อยูว่ ดั ป่านานาชาติหนึง่ พรรษาแล้วก็ไปอยูท่ เี่ พิรธ์ เจ็ดพรรษา เขมวโรภิกขุ : ใช่ ก่อนหน้านี้เคยมีพระรูปหนึ่งจากเพิร์ธมาอยู่ ที่นี่แล้วก็ลาสิกขา เพราะสนิทสนมกับแม่ครัว เปสโลภิกขุ : แม่ครัวท�ำอาหารเก่ง (หัวเราะ) เขมวโรภิกขุ : แม่ครัวรูว้ า่ ท�ำอาหารยังไงจึงจะได้กนิ พระ (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : ท่านมาที่นี่เมื่อบวชได้แปดพรรษา เขมวโรภิกขุ : ใช่ ตอนนั้นผมก�ำลังจะกลับเมืองไทย ก่อนกลับ ได้ไปเยี่ยมวัดหลายแห่ง มีพระหลายรูปบอกว่าน่าจะลองมาดูที่นี่ ก่อน เมื่อมาเห็นแล้วผมก็ชอบสถานที่ มันเงียบสงบมาก ชอบศาลา ด้วย โยมสองคนที่ดูแลวัดในขณะนั้นบอกว่า ถ้าชอบก็นิมนต์อยู่ได้ เขาเองก็ก�ำลังมองหาพระมาอยู่ประจ�ำ เปสโลภิกขุ : วันนั้นท่านมากับใคร เขมวโรภิกขุ : มารูปเดียว ตอนนัน้ ผมไปเยีย่ มวัดป่าทีบ่ นั ดานูน โยมที่นั่นถวายตั๋วรถไฟ ผมจึงโดยสารมาลงที่สถานี Windsor ซึ่งอยู่ ห่างจากวัดประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง โยมที่เป็นอาสาสมัครก็ขับรถ ไปรับ เปสโลภิกขุ : มาอยู่กี่วัน เขมวโรภิกขุ : ห้าวัน จากนัน้ ผมก็กลับไปทีเ่ พิรท์ แล้วชวนพระชาว มาเลเชีย จากศูนย์กรรมฐานของพม่าในเมืองเพิรธ์ มาอยูจ่ ำ� พรรษาด้วย


เปสโลภิกขุ : ใครท�ำอาหารถวาย เขมวโรภิกขุ : ผู้จัดการกับอาสาสมัคร ผลัดกันคนละวัน เปสโลภิกขุ : พรรษาแรกเป็นยังไงบ้าง เขมวโรภิกขุ : เงียบมาก หลังจากออกพรรษาผมก็เข้าไปสอน กรรมฐานที่ซิดนีย์นิดหน่อย ท�ำให้กลุ่มชาวเวียดนามเริ่มรู้จักและ ให้การสนับสนุน เมือ่ กลุม่ ชาวไทยรูว้ า่ มีพระอยูท่ วี่ ดั ก็ทยอยมาท�ำบุญ ถ้าไม่มีพระอยู่ก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องมา เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) เขมวโรภิกขุ : ตอนนั้นท่านเจ้าคุณฯเป็นเจ้าอาวาสที่นี่ ท่าน ให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก เปสโลภิกขุ : ท่านเจ้าคุณฯมาเป็นเจ้าอาวาสที่นี่ได้ยังไง เขมวโรภิกขุ : ตอนที่ ’จารย์โย่งออกไปแล้วที่นี่ก็ยังเป็นวัดอยู่ จึงต้องการเจ้าอาวาส คณะกรรมการจึงอาราธนานิมนต์ทา่ นเจ้าคุณฯ มาเป็นเจ้าอาวาสที่นี่ ท่านด�ำรงต�ำแหน่งนี้มา 20 ปีแล้ว คือตั้งแต่ปี 1992 ท่านมีวัดที่ต้องดูแลหลายแห่งแต่ก็ยังเมตตามาเยี่ยมที่นี่ปีละ 2-3 ครั้ง เปสโลภิกขุ : ท่านไม่ได้ส่งพระไทยมาอยู่ที่นี่ เขมวโรภิกขุ : ท่านพยายามจะส่งมาเหมือนกัน ท่านเอาตาม ความสมัครใจแต่ไม่มีใครมา (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : กี่ปีที่วัดนี้ว่าง ไม่มีพระ ไม่มีกิจกรรม เขมวโรภิกขุ : ช่วงปี 2005-2008 มีพระและแม่ชจี ากวัดอมราวดี (ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่าพง ประเทศอังกฤษ) มาอยูท่ นี่ เี่ หมือนกัน


แต่อยู่ไม่นานก็ออกไป เปสโลภิกขุ : วัดต้องจ่ายภาษีให้รัฐไหม เขมวโรภิกขุ : ไม่ ในประเทศตะวันตก องค์กรการกุศลไม่ตอ้ งจ่าย ภาษี สิง่ ทีต่ อ้ งจ่ายส�ำหรับวัดก็คอื น�ำ้ มัน แก๊ส และอาหาร ซึง่ อาหารมี ราคาแพงมาก แล้วก็ประกันภัย ถ้าคนมาช่วยงานทีว่ ดั ประสบอุบตั เิ หตุ ได้รบั บาดเจ็บจนต้องไปหาหมอ เราต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เขา ในประเทศตะวันตกค่ารักษาในโรงพยาบาลแพงมาก ตอนที่ยังเป็น ศูนย์กรรมฐานมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 4,000 เหรียญต่อเดือน หรือ 50,000 ต่อปี เปสโลภิกขุ : เป็นเหตุให้ที่นี่ขาดทุน เขมวโรภิกขุ : ใช่ เพราะรายจ่ายมากกว่ารายรับ บางคอร์สมี คนมาหกคน บางคอร์สมีแค่สาม เปสโลภิกขุ : กี่คนจึงจะคุ้ม เขมวโรภิกขุ : ประมาณ 40-50 คน เปสโลภิกขุ : ศูนย์ฯต้องจ่ายค่าอาหาร ค่าน�้ำมัน และอาจารย์ ที่มาสอน เขมวโรภิกขุ : ใช่ การเดินทางล�ำบาก ถ้าใครสักคนจะสร้างศูนย์ กรรมฐานต้องให้แน่ใจว่าอยู่ใกล้สถานีรถไฟ เปสโลภิกขุ : ท่านท�ำอะไรไปแล้วบ้างในช่วงปี 2008-2012 เช่นซ่อมแซมเสนาสนะ เขมวโรภิกขุ : ผมไม่ใช่ช่าง ผมไม่ซ่อมอะไร (หัวเราะ) ผมให้ ญาติโยมที่เป็นอาสาสมัครมาช่วย ช่วงสองปีแรกผมอยู่กับพระชาว


มาเลเซีย งานส่วนใหญ่ที่เราท�ำก็คือการท�ำความสะอาด เปสโลภิกขุ : อาคารที่นี่มีพร้อมแล้วทั้งศาลา โรงครัว ออฟฟิศ Sangha House (อาคารเอนกประสงค์ที่อยู่ในเขตสงฆ์ เป็นที่ส�ำหรับ สรงน�้ำ ซักผ้า เย็บผ้า ฉันน�้ำปานะ และต้อนรับพระเถระ) กุฏิ บ้านพัก โยม เขมวโรภิกขุ : ใช่ นอกจากงานท�ำความสะอาดก็มีอีกงานหนึ่ง คือหาวิธีป้องกันปลวก ที่ออสเตรเลียมีปลวกเยอะมาก เปสโลภิกขุ : ตอนที่พวกเขาก่อสร้างไม่ได้ท�ำไว้เหรอ เขมวโรภิกขุ : ใช่ ผมเองก็สงสัยเหมือนกันว่าท�ำไมไม่ท�ำ กุฏิ บางหลังปลวกกินเกือบหมด ต้องซ่อมใหม่ อีกอย่างที่ท�ำเยอะก็คือ ทาสี เพราะมันยี่สิบปีมาแล้ว เปสโลภิกขุ : ระบบน�้ำล่ะ เขมวโรภิกขุ : ต้องวางระบบน�้ำใหม่ ต้องกลิ้งถังขนาดใหญ่ขึ้น ไปบนภูเขา ใช้เวลาเยอะ นอกนั้นก็อัพเกรดและเพิ่มแผงโซล่าเซลล์ แต่อาคารต่างๆก็มีพร้อมแล้ว ไม่ต้องสร้างอะไรมาก เปสโลภิกขุ : ครั้งแรกที่มาถึงท่านตัดสินใจจะอยู่ที่นี่เลยหรือ แค่ทดลองดูก่อน เขมวโรภิกขุ : แค่ทดลอง คณะกรรมการบอกว่าเราอนุญาต ให้ทา่ นทดลองอยูด่ กู อ่ นสองปี เพือ่ ท�ำให้ทนี่ เี่ ป็นวัดป่า ท่านจะจัดการ อย่างไรก็แล้วแต่ทา่ น หลังจากสองปีแล้วเราจึงพิจารณากันอีกทีวา่ มัน เป็นยังไง ผมตอบตกลง ถ้ามันไปไม่ไหวผมก็กลับเมืองไทย ซึ่งไม่ใช่ เรือ่ งใหญ่ ตอนอยูท่ เี่ พิรท์ ผมได้ยนิ มาว่ามีพระและแม่ชหี ลายท่านมา


ถ้ามันไปไม่ไหว ผมก็กลับเมืองไทย ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งใหญ่


ที่นี่เพื่อจะท�ำให้มันเป็นวัดป่า แต่ไม่ส�ำเร็จ หลังจากผมอยู่ที่นี่สองปี คณะกรรมการก็ชอบเพราะมันพอไปได้ เขาจึงอนุญาตให้ผมอยู่ต่อ เพื่อท�ำให้ที่นี่เป็นวัดป่าโดยสมบูรณ์ อันที่จริงแล้วเขายังอยากให้ที่นี่ เป็นศูนย์กรรมฐาน แต่เขาให้ผมเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนี้ เปสโลภิกขุ : ท่านอยู่ที่นี่มา 4 ปีแล้ว เขมวโรภิกขุ : ใช่ ที่นี่เงียบมาก ผมชอบต้นไม้ ชอบสิ่งแวดล้อม ของที่นี่ และมีเขตสงฆ์ส�ำหรับพระด้วย เปสโลภิกขุ : ตอนนี้มีกรรมการกี่คน เขมวโรภิกขุ : หก ท่านเจ้าคุณฯ ผม และโยมอีก 4 คน เปสโลภิกขุ : โยมฝรั่ง เขมวโรภิกขุ : ใช่ ก่อนหน้านี้มีเก้า มีโยมฝรั่งอีกสามคน แต่เขา ไม่ชอบพระ เมื่อเราท�ำที่นี่ให้เป็นวัดป่า เขาจึงลาออก เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) ที่เหลืออีก 4 คนเป็นยังไง เขมวโรภิกขุ : พอใช้ได้ แต่เขายังไม่เชื่อมั่น เขาอยู่กันในเมือง ไม่ค่อยมาวัด แต่เราก�ำลังจะเปลี่ยนคณะกรรมการใหม่ และหวังว่า เขาจะมาวัดบ่อยขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจอะไรๆได้ดีขึ้น เปสโลภิกขุ : คณะกรรมการเพิ่งโหวตให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ 4 เดือนที่แล้ว เขมวโรภิกขุ : ใช่ เปสโลภิกขุ : ตอนเป็นพระหนุ่ม ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าวัด ต้องมีคณะกรรมการ (หัวเราะ) และเราต้องฟังความคิดเห็นของเขา (หัวเราะ) แต่พอโตขึ้นจึงรู้


เขมวโรภิกขุ : ใช่ เราต้องเรียนรู้ให้เร็วด้วย เปสโลภิกขุ : ปีนี้จะมีพระจากเมืองไทยมาจ�ำพรรษาที่นี่ เขมวโรภิกขุ : ใช่ มาตามความสมัครใจ เปสโลภิกขุ : เป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นโอเปร่าเฮาส์ (หัวเราะ) เขมวโรภิกขุ : (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : ฮิปปี้รุ่นบุกเบิกมาเยี่ยมวัดบ้างไหม เขมวโรภิกขุ : พวกเขาแก่มากแล้ว หัวหน้าช่างที่ควบคุมงาน ก่อสร้างภายในวัดเสียชีวติ เมือ่ ปีทแี่ ล้ว ภิกษุณเี สียชีวติ ด้วยโรคมะเร็ง ตอนอายุ 75 ปี ‘จารย์โย่งอายุเกือบแปดสิบปีและป่วยหนัก ตอนนี้ อยู่ที่เมลเบิร์น บางคนในกลุ่มมาวัดแล้วไม่สบายใจ เขาบ่นว่าเรา ต้องการสร้างที่นี่ให้เป็นวัดส�ำหรับชาวตะวันตก ชาวเอเชียมีวัดเยอะ แล้ว (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) ตอนนี้เรามีพระฝรั่งอยู่ด้วยหนึ่งรูป ผม คิดว่ามีพระไทยหนุม่ ๆหลายรูปทีต่ อ้ งการเดินทางไปหาประสบการณ์ ในต่างประเทศ แต่เขาอายที่จะขออนุญาตจากครูบาอาจารย์ ส่วน ครูบาอาจารย์ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าในต่างประเทศ ถ้าไม่ไปขอ อนุญาตจากท่านโดยตรง ท่านก็มักจะไม่นิมนต์ เขมวโรภิกขุ : ท่านไปวัดป่าอภัยคีรีได้ยังไง เปสโลภิกขุ : ผมขออนุญาตจากครูบาอาจารย์โดยตรง แต่วิธี นี้ไม่ใช่แบบไทย (หัวเราะ) แต่การขอไปเองมันก็ดีเหมือนกัน เพราะ ถ้ามีปัญหาเช่นไม่ถูกจริตกับดินฟ้าอากาศ ข้อวัตร หรือนิสัยใจคอ ของฝรั่ง มันก็ท�ำให้เราย้อนมาดูตัวเอง นี่เป็นเพราะเราขอมาเอง


(หัวเราะ) เราต้องรับผิดชอบในการตัดสินใจของตัวเอง ไม่ตอ้ งไปติเตียน ครูบาอาจารย์ หรือสร้างปัญหาให้กับคณะสงฆ์ เขมวโรภิกขุ : ท่านอยู่ที่นั่นได้นานตามที่ต้องการไหม เปสโลภิกขุ : ใช่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุของวีซ่า เขมวโรภิกขุ : ถ้ามีพระไทยอยู่ด้วย ผมคิดว่ามันดีนะ จะได้มี ความสัมพันธ์กบั ประเทศไทย เพราะตอนนีพ้ ระฝรัง่ เป็นแบบตะวันตก มากๆ เปสโลภิกขุ : เขาเกิดและโตอยู่ที่นั่น เขมวโรภิกขุ : ใช่ ก็เลยไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเมืองไทย พระฝรั่งที่ อยู่ในต่างประเทศตอนนี้ก็ไม่ค่อยอยากจะไปเมืองไทยกันแล้ว เปสโลภิกขุ : แต่มันอาจจะไม่จ�ำเป็นก็ได้นะ เพราะวัดป่าใน ต่างประเทศก็มีทุกอย่างพร้อมแล้ว เขมวโรภิกขุ : มีคนสนับสนุน เปสโลภิกขุ : ใช่ เขมวโรภิกขุ : แต่ครูบาอาจารย์ใหญ่ๆส่วนมากก็อยูท่ เี่ มืองไทย ครูบาอาจารย์ชาวตะวันตกยังมีไม่มาก เปสโลภิกขุ : ถ้าทางวัดป่าพุทธธรรมออกค่าตัว๋ เครือ่ งบินให้กบั พระไทย ทีต่ อ้ งการมาหาประสบการณ์ทนี่ ี่ ท่านควรจะอยูน่ านแค่ไหน เขมวโรภิกขุ : อย่างน้อย 1 หรือ 2 ปี เพราะตั๋วแพงมาก เปสโลภิกขุ : หลังจากที่เรื่องนี้ตีพิมพ์ อาจจะมีพระมาอยู่ที่นี่ เพิ่ม (หัวเราะ) เขมวโรภิกขุ : อาจจะ (หัวเราะ)


Designed by Dhamma Design Club in the Republic of New South Wales


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.