Th redcross issue 34

Page 1

ปีที่ 13 ฉบับที่ 34

ประจำ�เดือน มกราคม - มิถุนายน 2560


สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร องค์ราชูปถัมภกของสภากาชาดไทย สภากาชาดไทยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อประเทศชาติ และพสกนิกรชาวไทยมาตลอดรัชสมัย ทรงอุทิศพระวรกายทรงงานมากมายเริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ยังดำ�รงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ พระอนุชาธิราชภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชดำ�เนินตามสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชทรงออกเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ด้วยพระเมตตาและห่วงใยประชาชนเป็นอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีมากมายจนไม่สามารถกล่าวถึงได้หมดเพราะ พระองค์ทรงงานตลอด 70 ปี ทรงติดตามสภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง ทรงมีพระราชดำ�ริและพระบรมราโชวาท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ด้วยความรัก ความผูกพัน ความเข้าพระทัย การเข้าถึงและการพัฒนา เห็นได้จากมีโครงการในพระราชดำ�ริด้านสาธารณสุขและการสังคมสงเคราะห์ โครงการ ด้านพัฒนาการศึกษา โครงการทำ�นุบำ�รุงศาสนา โครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรม โครงการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาการ เกษตร และโครงการด้านการกีฬา ฯลฯ มากกว่าสี่พันโครงการ ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยและประเทศชาติ ทรงพัฒนา ทั่วผืนแผ่นดินไทยด้วยพระวิริยะอุตสาหะและสายพระเนตรอันยาวไกล จนเป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และ ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลจากองค์กรต่าง ๆ มากมาย เพราะซาบซึ้งในพระปรีชาสามารถของพระองค์ 2


ประจำ�เดือน มกราคม - มิถุนายน 2560

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช องค์ราชูปถัมภกของสภากาชาดไทย ที่ทรงมีต่อสภากาชาดไทย

ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณกุศลระดับชาติ ดำ�เนินการเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากล เป็นที่พึ่งของประชาชนโดยเฉพาะผู้ด้อย โอกาสให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีภารกิจหลักสำ�คัญ 4 ด้าน คือการบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ ประสบภัยพิบัติ การบริการโลหิต และการสังคมสงเคราะห์และส่งเสริมคุณภาพชีวิตได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นเช่นกัน

เริ่มตั้งแต่ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2481 โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 พร้อมด้วยสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเยี่ยมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ในการนี้สภากาชาดไทยได้ ทูลเกล้าฯ ถวายเข็มเครื่องหมายองค์พระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สมเด็จพระอนุชาธิราชภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เสด็จฯ ทรงเยี่ยมโรง พยาบาลจุฬาลงกรณ์ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และสมเด็จพระอนุชาธิราชภูมิพล อดุลยเดช เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเยี่ยมสำ�เพ็ง ครั้งนั้น ชาวจีน ในสำ�เพ็งร่วมกันบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นจำ�นวน เงิน 13,000.-บาท รัชกาลที่ 8 ทรงตั้งเป็น “ทุนพ่อค้าหลวง” พระราชทานแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2489 เป็นการเริ่มต้นเพื่อนำ�ดอกผลมาใช้รักษาผู้ยากไร้และ การบรรเทาทุกข์ ต่อมาได้รับเงินเพิ่มเติมที่เหลือจากการบำ�เพ็ญ พระราชกุศลน้อมเกล้าฯ ถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระ ปรเมทรมหาอนันทมหิดล องค์อุปถัมภกของสภากาชาดไทย เมื่อ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2491 ซึ่งรัชกาลที่ 8 ทรงพระราชทาน ทุนก่อตั้งไว้ก่อนเสด็จสวรรคต ทุนนี้มีจำ�นวนเงินรวมทั้งสิ้น 18,441.45 บาท 3


วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล พระบรมราชูปถัมภกของสภากาชาดไทย เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำ�รงตำ�แหน่ง พระบรมราชูปถัมภกของสภากาชาดไทย ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2489


ประจำ�เดือน มกราคม - มิถุนายน 2560

วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2491 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ดำ�รงตำ�แหน่งอุปนายกผู้อำ�นวยการสภากาชาดไทยแทนพันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

ในปีพ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำ�นวน 500,000.-บาท เพื่อใช้สร้าง อาคารในบริเวณสถานเสาวภาสำ�หรับใช้ในกิจการทางด้านวิทยาศาสตร์และการผลิตวัคซีนบี.ซี.จี. และพระราชทานนามว่า ตึกมหิดล วงศานุสรณ์ ตึกนี้ได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเสด็จฯ ทรงเปิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2496 วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2496 ตรงกับวันประสูติของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทรงเปิดศาลาภาณุรังษี ซึ่งทายาทราชสกุลภาณุพันธ์ ประทานเงิน 189,000.-บาท ให้สภากาชาดไทยสร้างเป็นที่รับแขกของนางพยาบาล ในบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องในการฉลองสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระ สังฆราชทรงหายประชวร บรรดาผู้ที่เคารพนับถือในสมเด็จพระ สังฆราช ได้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินสร้างตึกสำ�หรับพระ ภิกษุสามเณรอาพาธเป็นตึกสองชั้น บรรจุเตียงคนไข้ได้ 33 เตียง ในบริเวณโรงพยาบาลจุฬาฯ เรียกว่า ตึกสามัคคีพยาบาร ทั้งสอง พระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิดตึกเมื่อวันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ในปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงินซึ่งได้จากการฉาย ภาพยนตร์ส่วนพระองค์และเงินของผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล รวมทั้งสิ้นจำ�นวน 561,474.50บาท แก่สภากาชาดไทยเพื่อสร้าง ตึกรักษาพยาบาลสำ�หรับเด็กกำ�พร้าในโรงพยาบาลจุฬาฯ

และเสด็จฯ ทรงเปิด ตึกวชิราลงกรณ์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2497 ปัจจุบันคือ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย 5


ปีที่ 13 ฉบับที่ 34

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิดตึกรังสิตานุสรณ์ ในบริเวณสถานเสาวภา ทายาทใน ราชสกุลรังสิตบริจาคเงิน 300,000.-บาท สร้างตึกสำ�หรับให้ บริการโลหิตและเป็นอนุสรณ์ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเยี่ยม โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน 225,550 บาท (สองแสนสองหมื่นห้าพันห้าร้อย ห้าสิบบาทถ้วน) สมทบกับเงินที่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรม ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานไว้เพื่อต่อเติม “ตึกพระพันวัสสา”

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2497 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิดตึกบริพัตร ซึ่งทายาทในราชสกุลบริพัตรบริจาคเงิน 700,000.- บาท สร้างตึกอำ�นวยการสภากาชาดไทย (ตึกบริพัตร) อุทิศเป็นอนุสรณ์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกสภากาชาดไทยคนแรก 6


ประจำ�เดือน มกราคม - มิถุนายน 2560

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีพระราชทาน เรือยนต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น หลวงพระราชทาน เรือเวชพาหน์ ณ ท่าวาสุกรี ซึ่งบริษัทอู่ต่อเรือ ผู้นำ�ในการบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก กรุงเทพฯจำ�กัดต่อเรือขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยมี และส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันบริจาคเพื่อช่วยเหลือซึ่งกัน วัตถุประสงค์ตามข้อความที่เขียนติดไว้ด้านข้างเรือ 2 ด้าน ความว่า และกัน ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และของผู้บริจาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระราชทานเรือลำ�นี้เมื่อ ที่ถวายสมทบทุนเพื่อก่อสร้างตึกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ.2498 เพื่อใช้บรรเทาทุกข์และรักษาประชาชนโดยไม่คิด และเสด็จฯทรงเปิดตึกต่างๆเพื่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน มูลค่าใด ๆ ทั้งสิ้น สภากาชาดไทยใช้เรือยนต์หลวงพระราชทาน โรงพยาบาลจุฬาฯ หลายต่อหลายครั้ง เป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริม คลองและสองฝั่งแม่น้ำ�เจ้าพระยา เพราะพระราชปรารภว่า ราษฎร ที่ตั้งบ้านเรือนตามลำ�แม่น้ำ�ในหลายตำ�บลตั้งอยู่โดดเดี่ยวยังไม่มี ทางหลวงเชื่อมต่อจังหวัด แม้ว่าจะมีการคมนาคมติดต่อกับจังหวัด ทางน้ำ�ได้ก็ห่างไกลโรงพยาบาลประจำ�จังหวัดมาก ถ้าเจ็บป่วยก็ต้อง รักษาพยาบาลแผนโบราณ ซึ่งไม่ค่อยได้ผลในโรคหลายอย่าง จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือยนต์ขึ้นและให้กองสุขศึกษา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับสภากาชาดไทยจัด เจ้าหน้าที่ประจำ�เรือเพื่อศึกษาสภาพการอนามัยในท้องที่ต่าง ๆ (เรือเวชพาหน์มีความยาว 15.19 เมตร กว้าง3.81 เมตร กินน้ำ�ลึก 0.85 เมตร) เป็นเรือลำ�แรกและลำ�เดียวในโลกที่ยังคงออกปฎิบัติ งานเป็นเวลากว่า 60 ปี จนถึงปัจจุบันที่ยังคงให้บริการตรวจรักษา ประชาชนตามพระราชประสงค์ มีการตรวจรักษาโรคทั่วไป มีการ ฝังเข็มประยุกต์ ตรวจรักษาทางทันตกรรมให้บริการถอนฟัน อุด ฟัน ขูดหินปูน ให้บริการสุขศึกษา ให้วัคซีนภูมิคุ้มกันโรคและการ สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสตลอดจนการช่วยเหลือผู้ประสบ ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯทรงเปิด ตึกนายจรูญและนางกิมลี้ อุทกภัย อัคคีภัยด้วย กิจจาทร เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2499 ณ โรงพยาบาลจุฬาฯ 7


ปีที่ 13 ฉบับที่ 34

วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงดำ�รงตำ�แหน่ง สภานายิกาสภากาชาดไทย และโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการสภากาชาดไทยเข้าเฝ้าฯรับพระราชทานเลี้ยง ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2501 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานเงิน10,000.เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 200,000.-บาท) เพื่อซื้อเครื่องมือในการ ผลิตวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค ที่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย เป็นจำ�นวนมาก ด้วยพระมหากรุณาธิคุณทำ�ให้กองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย สามารถผลิตวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและน้ำ� เกลือได้อย่างเพียงพอ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2501 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกราชูปถัมภ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งพระองค์ 8

ได้พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นเงินค่าก่อสร้างจำ�นวน 452,321.50 บาท เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาของนักเรียนพยาบาล สภากาชาดไทย รัชกาลที่ 9 พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ตั้งเป็น ทุนวชิราลงกรณ์ เป็นทุนริเริ่มจำ�นวน 25,000.-บาท เพื่อใช้ จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ทางเวชภัณฑ์ สำ�หรับรักษาเด็กป่วย ยากจนอนาถา บำ�รุงเด็กกำ�พร้าของสภากาชาดไทย และทดลอง ค้นคว้าในแผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ เยือนสันนิบาต สภากาชาดและคณะกรรมการกาชาด ระหว่างประเทศ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


ปีที่ 13 ฉบับที่ 34

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2504 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกพระยามานวราชเสวีและท่านผู้หญิง โรงพยาบาลจุฬาฯ

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกนวมินทราชินี ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2505 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงนำ�สมเด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์กและสมเด็จพระราชินีอินกริด เสด็จฯ เยี่ยมชมกิจการของสภากาชาดไทย และทรงมอบเหรียญกาชาดสรรเสริญแด่สมเด็จพระราชินีอินกริดด้วย

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2506 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ เพื่อใช้เป็นที่ทำ�การรักษาพยาบาลและ ให้การศึกษาเกี่ยวกับโรคทางกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2505 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรง เปิดสถานพักฟื้น ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ว่า สวางคนิวาส ซึ่งนายอื้อจือเหลียง น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำ�นวน 60ไร่ ที่ตำ�บลบางปิ้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วย สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 10 ล้านบาท ใช้เป็น สถานที่พักฟื้นผู้เจ็บป่วย และดำ�เนินกิจการของสภากาชาดไทย วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกธนาคารกรุงเทพ โรงพยาบาลจุฬาฯ 10

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2506 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ร่วมงาน ฉลอง 100 ปีการกาชาด ณ ตึกบริพัตร สภากาชาดไทย


เมื่อมีการจัดงานกาชาด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จฯ พระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1 หน้าพลับพลางานกาชาด ซึ่งมีจำ�นวนคนไม่มาก แต่เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2,3 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์สภา นายิกาสภากาชาดไทย จะเสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานพระราชทานเหรียญที่ตึกอบรมวิชาการของสภากาชาดไทยประมาณ 600-1,000 คน

ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ร่วมงานที่สวนอัมพร มีการแสดง ของนักเต้นรำ�จากต่างประเทศ เช่น ชาวรัสเซีย มาแสดงบัลเล่ต์ มีการ จัดพระราชทานเลี้ยงเพื่อหาเงินจากผู้ที่เข้ามารับพระราชทานเลี้ยงเพื่อ เป็นรายได้ให้กาชาด ครั้งนั้นทั้งสองพระองค์ประทับอยู่จนถึงยามครึ่ง การจัดงานกาชาดเป็นงานประจำ�ปีที่ถือเป็นงานใหญ่ ต้องทำ� กำ�หนดการเป็นรายละเอียด รวมถึงการจัดการแสดงเรื่อง “มโนห์รา” เพราะเป็นเวทีเก่าต้องมีการจัดฉากสวยงาม จัดรายการอาหารให้ผู้ บริจาคที่ร่วมโต๊ะเสวย เมื่อเสวยเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทอดพระเนตรการแสดงบนเวทีเรื่องมโนห์ราด้วย ในงานกาชาดสากล 100 ปี สภากาชาดไทยจัดงานกาชาดเป็น พิเศษ หลังจากเปิดงานกาชาดที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีการเดิน สวนสนามโดยเจ้าหน้าที่จากกองต่าง ๆ ของสภากาชาดไทย พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับยืนเมื่อธงของกอง ต่าง ๆ ผ่านที่ประทับ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นฯ 11


ปีที่ 13 ฉบับที่ 34

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2506 ทั้ง สองพระองค์ เสด็จฯทรงเปิด ตึกสวัสดิ์-ล้อม โอสถานุเคราะห์ โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2507 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯพร้อมด้วยพระราชชนนีศรีสังวาล ทรงเปิด ตึกศรีสังวาล และ ตึกจงกลนีอุทิศ ณ โรงพยาบาล สมเด็จ ณ ศรีราชา

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2507 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกจุมภฎพงษ์ บริพัตร โรงพยาบาลจุฬาฯ ในปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ ส่วนพระองค์ จำ�นวน 50,000.-บาทร่วมกับเงิน ซึ่ง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทูลเกล้าฯ ถวายอีกจำ�นวน 1,000,000.-บาทพระราชทานแก่ สภากาชาดไทยเป็นค่าก่อสร้างตึกผู้ป่วยนอก ตึกมงกุฎ-เพชรรัตน์ เนื่องในวันประสูติครบ 5 รอบ ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และทรงพระ กรุณาประทานเงินซึ่งมีผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล จำ�นวน 274,688.65 บาทเพื่อซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ สำ�หรับตึกมงกุฎ-เพชรรัตน์ โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2508 ทั้ง สองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิดตึกและเปิดใช้ เครื่องโคบอลต์Theratron 80 ของรัฐบาล แคนาดา ณ โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2510 ทั้งสอง พระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม ตำ�บลบางหว้า อำ�เภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2510 ทั้ง สองพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะ กรรมการสภากาชาด นำ�คุณถวิลหวัง ทุติยะโพธิ เฝ้ารับพระราชทานเหรียญฟรอเรนซ์ไนติงเกล วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกมงกุฎ - เพชรรัตน์ โรงพยาบาลจุฬาฯ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคนีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาฯ ทรงบริจาคเงินให้สร้างขึ้นเนื่องในวันประสูติครบ 5 รอบของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2511 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯทรงเปิด ตึกจิรกิติ และ ตึกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ 12


วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2511 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกบรมราชเทวี โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2512 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯทรงเปิดอาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย บริเวณสถานเสาวภา วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน ราชกัญญาฯ ทรงเปิด ตึกหรั่ง กันตารัติ เป็นตึกตรวจโรคผู้ป่วย แผนกสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา และ ตึกคัคณางค์ ซึ่งเป็นตึก ผ่าตัดผู้ป่วยสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2514 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรง เปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า ตึกอัยิกาเจ้า ตึกเมธา นิวาตวงศ์ และ ตึกศรีมิตรา โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2514 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรง เปิดตึกนราธิปพงศ์ประพันธ์ - สุพิณ ตึกประสิทธิ์ - ตุ๊ พร้อม พันธ์ ตึกธนาคารกสิกรไทย และ ตึกจุฬาลัย โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2520 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรง เปิด อาคารอนุสรณ์หม่อมเจ้าจงกลนี วัฒนวงศ์ ณ สถานีกาชาด ที่ 10 หัวหิน 13


วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2520 มีประกาศพระบรมราชโองการแต่ง ตั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงดำ�รง ตำ�แหน่ง อุปนายิกาผู้อำ�นวยการ สภากาชาดไทย วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงเปิด ตึกสิรินธร ตึกอับดุลราฮิม ตึกโปษยานนท์ และ ตึกพานิชภักดี โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2524 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงเปิดการประชุมผู้นำ�สภากาชาดและ สภาเสี้ยววงเดือนแดงกลุ่มประเทศอาเซี่ยน ครั้งที่ 4 ณ โรงแรม มณเฑียร กรุงเทพฯ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2526 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรง เปิด ตึกวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาฯ 14

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเททองหล่อ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ ตึกวชิรญาณวงศ์ในโรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทาน เหรียญฟลอเรนซ์ไนติงเกลแก่นางสาวเสริมสุข ช้างศรและ นางสาวฟองศิริ นาคสังข์ ณ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน


ประจำ�เดือน มกราคม - มิถุนายน 2560

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2529 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ไปทรงเปิดพระบรม ราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และทรงเปิด ตึกอานันทมหิดล และทรงวางศิลาฤกษ์ตึกผู้ป่วย นอกโรงพยาบาลจุฬาฯ และทอดผ้าป่าสามัคคีครั้งแรกเพื่อสร้าง ตึก ภปร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานถวายผ้าป่า และสมเด็จพระญาณสังวรฯทรงพิจารณาผ้าป่า วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดผ้าป่าสร้าง ตึก ภปร.ครั้งที่ 2 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานทอดผ้าป่า และสมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงพิจารณาผ้าป่า วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์เป็นประธานทอดผ้าป่าสามัคคีสร้าง ตึก ภปร ครั้งที่ 3 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงพิจารณาผ้าป่า วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2530 ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงรับการตรวจ การเต้นของพระหทัยที่ตึกอายุรศาสตร์ และเสด็จฯทรงบริหาร พระวรกายที่ ตึกพานิชภักดี ต่อจากนั้นเสด็จฯ ตึกวชิรญาณสามัคคี พยาบาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวรฯ และคณะสงฆ์เฝ้ารับเสด็จฯ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2530 มีการทอดผ้าป่าสามัคคีสร้าง ตึก ภปร ครั้งที่ 4 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธานถวายผ้าป่า และสมเด็จพระญาณ สังวรฯทรงพิจารณาผ้าป่า วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2530 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร และตึกจุฬาภรณ์ ในโรงพยาบาลจุฬาฯ 15


วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2532 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงทอดผ้าป่าสามัคคี ครั้งที่ 5 เพื่อสมทบทุนซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ตึก ภปร. ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวรฯทรงพิจารณาผ้าป่า

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาม บรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานเหรียญฟลอเรนส์ ไนติงเกล แก่ นางนงเยาว์ โชติพานิช หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาล จุฬาฯ และนางอรวรรณ อุทัยเสน อาจารย์ผู้อำ�นวยการวิทยาลัย พยาบาล ซึ่งได้รับเหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกลในปี 2530 ในปี พ.ศ.2532 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ พร้อมด้วย พระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์ ทรงพระกรุณา พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำ�นวน 3,000,000.-บาทให้ สภากาชาดไทยดำ�เนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจาก พายุเกย์ทางภาคใต้ 16

วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2532 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ทรงเปิด ตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2535 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงวางศิลาฤกษ์ตึก สก. ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำ�หรับรักษาพยาบาลผู้ป่วยแผนกกุมารเวชศาสตร์ จัดสร้างขึ้นเพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จองค์สภานายิกา สภากาชาดไทยในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ 17


วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2535 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงบำ�เพ็ญ พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และทรงทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนสร้างตึก สก. โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบำ�เพ็ญ พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และทรงทอด ผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนสร้างตึก สก. โรงพยาบาลจุฬาฯ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำ�เนินถวายผ้าพระกฐินประจำ�ปี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และทรงทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้ ตึกนวมินทราชินี โรงพยาบาลจุฬาฯ พระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อสภากาชาดไทย มิอาจกล่าวได้หมด ที่สำ�คัญอย่างยิ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อ เรือหลวงพระราชทาน เรือเวชพาหน์ เพื่อใช้เป็นเรือบรรเทาทุกข์และ รักษาพยาบาลประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมน้ำ� เป็นเรือหน่วย แพทย์เคลื่อนที่ช่วยบรรเทาทุกข์และรักษาพยาบาลทางลำ�น้ำ�ลำ�แรก ของโลกที่ได้ใช้ปฎิบัติงานมาตราบจนปัจจุบัน วันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2536 ทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ สภากาชาดไทยน้อมสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันหาที่สุดมิได้ พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์จะตราตรึงในความ ทรงร่วมงานสโมสรสันนิบาตในโอกาสครบรอบ 100 ปี ทรงจำ�ชั่วนิรันดร์. สภากาชาดไทย ณ ทำ�เนียบรัฐบาล 18


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ แก่สภากาชาดไทยหาประมาณมิได้ นับเป็นอเนกอนันต์ ตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองราชย์ ในฉบับนี้ กอง บก. ได้รวบรวมพระราชกรณียกิจทั้งมวล ให้สมาชิกและประชาชนที่สนใจได้รับทราบ และร่วมกันน้อมถวายอาลัย และสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ คณะผู้จัดทำ�วารสารฯ

ขา้ พเจา้ ยินดีบริจาคเงินบำ�รุงสภากาชาดไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย” ข้าพเจ้า ชื่อ (นาย/นาง/นางสาว) ........................................................ นามสกุล ......................................................................... อาชีพ....................................... ที่อยู่ ....................................................................................................................................................................................................................................... วัน-เดือน-ปีเกิด .......................................โทรศัพท์ ................................................ โทรสาร ......................................... อีเมล ................................................... 2,000 บาท ร่วมบริจาคเงินจำ�นวน 400 บาท 800 บาท 1,200 บาท (DMR600146) อื่น ๆ ................................ บาท โดยส่งเงินทาง บริจาคเงินออนไลน์ที่ www.redcrossfundraising.org เลขที่การบริจาค.............................................. เช็คสั่งจ่าย “สภากาชาดไทย” ธนาคาร ........................................................................... เลขที่ ........................................................... ธนาณัติ/ตั๋วแลกเงิน ทาง ป.ณ.สั่งจ่าย ปทฝ.จุฬาลงกรณ์ ในนาม “ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย” โอนเงินบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาสุรวงศ์ ชื่อบัญชี “สำ�นักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย” บัญชี “กระแสรายวัน” เลขที่ 023-6-06799-0 โอนเงินบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “สำ�นักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย” บัญชี “ออมทรัพย์” เลขที่ 045-2-62588-8 โอนเงินบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำ�นักสีลม ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย” บัญชี “ออมทรัพย์” เลขที่ 001-2-25888-9 โอนเงินบัญชีธนาคารกรุงเทพ สำ�นักงานใหญ่ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย” บัญชี “ออมทรัพย์” เลขที่ 101-0-11980-6 (NLM 34) บัตรเครดิต AMERICAN EXPRESS MASTER CARD VISA อื่นๆ ................................. หมายเลขบัตร ........................../........................../.........................../........................... ลงนาม ............................................ ผู้บริจาค ชื่อ-นามสกุล (ตามบัตร) ................................................. วันหมดอายุบัตร ........ /........ วันที่ ............................................ *ใบเสร็จรับเงินสามารถลดหย่อนภาษีได้ (กรุณาแนบสำ�เนาใบโอนเงินมาพร้อมด้วย เพื่อดำ�เนินการตรวจสอบรายการบริจาคและออกใบเสร็จรับเงิน)

ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง...จากสำ�นักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย


นวมินทราศิรวาทราชสดุดี

น้อมเกล้าฯ บังคมบาท ครองราชย์เจ็ดสิบปี ทศพิธราชธรรม ร้อยพันสมัญญา คือ “พ่อแห่งแผ่นดิน” ชื่นฉ่ำ�น้ำ�พระทัย อัญเชิญสถิตสวรรค์ สยามหล้าสถาวร

นวราชนฤบดี พระเกียรติก้อง ณ โลกา พระน้อมนำ�ดำ�เนินมา ล้วนโครงการบันดาลชัย คุ้มชีวินนราศัย ทรงกอปรเกื้อประชากร สิริสันติ์นิรันดร ใต้บาทเบื้องพระบารมี

สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า สำ�นักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย (หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง - ร้อยกรอง)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.