รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุมฯ

Page 1



รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายแก้ไขปัญหาการ ทาประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม การค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ พ.ศ. 2559 จัดทาโดย ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย


รายชื่อคณะวิจัย ที่ปรึกษาและนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ ดร. สุภางค์ จันทวานิช ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชียสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาริต ติงศภัทิย์ ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.วี ร ะสิ ท ธิ์ สิ ท ธิ ไ ตรย์ ที่ ป รึ ก ษายุ ท ธศาสตร์ ก ารวิ จั ย คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นักวิจัย นายพศกร โยธินนีรนาท นางผจงรักษ์ กุยแก้ว นางสาวไพรินทร์ มากเจริญ

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ นครปฐม นางสาวครองธรรม นีละไพจิตร ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อมูลการติดต่อ ศูนย์ยุ โ รปศึก ษาแห่ ง จุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารเฉลิมราชกุม ารี 60 พรรษา ชั้น 16 ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-2218-3922 ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-ราไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-22187462


สารบัญ หน้า 1. ความเป็นมาของปัญหาและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.1 ความเป็นมาของปัญหาและผลการวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย 1.4 ระยะเวลาดาเนินการศึกษา

1 2 2 3

2. สถานการณ์ในด้านปัญหาการทาประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 2.1 สถานการณ์ก่อนปี พ.ศ. 2558 2.2 สถานการณ์หลังปี พ.ศ. 2558

4 22

3. สถานการณ์ในด้านปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ 3.1 สถานการณ์กอ่ นปี พ.ศ. 2558 3.2 สถานการณ์หลังปี พ.ศ. 2558

29 33

4. ข้อเสนอแนะ 4.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาหรับการแก้ไขปัญหา 4.1.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก้ไขปัญหาการทาประมง IUU 4.1.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก้ไขปัญหาการจ้างแรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ 4.2 ข้อเสนอแนะในภาพรวม 4.3 คาแถลงเชิงนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรณานุกรม

41 41 50 56 56 123


Content Page 1. Background of the problem 1.1 Background 1.2 Objectives 1.3 Research methodology 1.4 Duration of implementation

58 59 60 61

2. Results of a Study to Develop a Policy to Address the Problem of Illegal Fishing 2.1 Situation before 2015 2.2 Situation after 2015

62 81

3. Status of Forced Labor and Human Trafficking in Thai Fisheries 3.1 Situation before in 2015 3.2 Situation after 2015

88 94

4. Recommendations 4.1 Policy recommendations 4.1.1 Recommendations to address IUU 4.1.2 Recommendations to improve the system of hiring non-Thai labor in the fisheries 4.2 Overall recommendations 4.3 Policy announcement by the Minister of Agriculture and Agricultural Cooperatives References

103 103 114 120 121 123


1

บทที่ 1 ความเป็นมาของปัญหาและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.1 ความเป็นมาของปัญหาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากประเทศไทยถูกจัดอันดับในเรื่องความพยายามต่อการแก้ไขปัญหาการค้า มนุษย์อยู่ที่ระดับต่าสุดเป็นระดับ 3 ในปีพ.ศ. 2557 และ 2558 (ค.ศ. 2014-2015) จากการรายงาน ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสาเหตุข้ อหนึ่งนั้นมีความเกี่ย วกับปั ญหาการใช้ แรงงานบังคับในกิจการประมงทะเล ประกอบกับการที่สหภาพยุโรปประกาศคงสถานะใบเหลือง เนื่องด้วยการแก้ไขปัญหาการทาประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU: Illegal, unreported and unregulated fishing) ของประเทศไทยยังไม่ได้รับการตอบสนองได้ดี เท่าที่ควรระหว่างช่วงต้นปีพ.ศ. 2558 - เมษายน พ.ศ. 2559 จึงแสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องการค้า มนุษย์และประมง IUU ในไทยนั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่มีแนวโน้มส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้ในอนาคต แม้ว่า จากความพยายามของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยคาสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2558 ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาประมง ผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ขึ้นเป็นศูนย์เฉพาะกิจ โดยขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีร่วมกับศูนย์ประสานการ ปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมประมง กรมเจ้าท่า กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วก็ตามแต่สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจากมาตรการต่างๆ ประกาศ ตลอดจนคาสั่งอย่ า งเร่งด่ว นก็ ดี นั้น ได้ส่ง ผลกระทบต่อ ภาคกิจ การประมงและส่ว นที่ เกี่ยวข้องต่างๆทั้งสิ้น เช่น มาตรการจัดระเบียบการทาประมงอย่างเข้มงวดโดยรัฐขาดการทาความ เข้าใจกับผู้ประกอบการประมง ความขัดแย้งระหว่างภาคเอกชนในกลุ่มสินค้าประมงทะเล หรือ ปัญหาความเดือดร้อนจากการทากินของภาคประมงพื้นบ้าน ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านั้นล้วนแต่กาลังรอ การแก้ไข โดยสภาพข้อเท็จจริงของการทาการประมงในบางกรณีนั้นอาจนาไปสู่ปัญหาอื่น ได้แก่ ปัญหาแรงงานบังคับ ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้จาเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว และทันท่วงที จากสภาพความเป็นจริงดังกล่าว คณะทางานอันประกอบด้วย ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่ง เอเชีย ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั ย และคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ สาขา สังคมวิทยา โดยงบประมาณสนับสนุนจากสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ตลอดจนการศึกษานี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ได้แก่ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.), กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กรมประมง กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของ ชาติทางทะเล (ศรชล.) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ภาคเอกชนประมงทะเล ได้แก่ สมาคมการประมงนอกน่านน้า สมาคม การประมงแห่งประเทศไทย สมาคมรั กษ์ทะเลไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และผู้เชี่ยวชาญ ด้านประมงทะเลในภาคเอกชน ภาคประชาสังคมประกอบด้วย มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิต แรงงาน (LPN) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กลุ่มสหภาพลูกเรือประมงทะเลไทยและข้าม


2

ชาติ (Thai and Migrant Fisher Union Group: TMFU) ได้ร่วมความพยายามศึกษาเพื่อแสวงหา แนวทางสู่การแก้ปัญหาร่วมกันทั้งด้านการค้ามนุษย์และการทาประมง IUU โดยผ่านกระบวนการ ศึกษาวิจัยเพื่อทาการวิเคราะห์ข้อจากัดและปัญหาต่างๆอย่างรอบด้านเพื่อนาเสนอแนวทางการ แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยคานึงถึงบริบทการทาประมงของไทยและการนาไปสู่แนวปฏิบัติที่สามารถ แก้ไขปัญหาได้โดยแท้จริงและยั่งยืน 1.2 วัตถุประสงค์ 1. ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคและข้อจากัดในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และ IUU ที่ผ่านมา 2. สังเคราะห์ข้อค้นพบจากการวิจัยเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และ IUU ในกิจการประมง ทะเลที่ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศได้ค้นพบและ นามาประกอบการพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและปัญหาใดบ้างที่ไม่มีการแก้ไขอย่างเพียงพอ เช่น ขบวนการนายหน้าหลอกลวงบังคับแรงงานลงเรือ แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ 3. ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และ IUU ในกิจการประมง ทะเลและกิจการต่อเนื่องประมงทะเลอย่างยั่งยืน 1.3 ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย วิธี ก ารศึก ษาการศึ ก ษาครั้ งนี้ ใ ช้วิ ธี ก ารวิ จั ย เชิ งคุ ณภาพในลัก ษณะของการวิ จั ย เชิ ง นโยบายโดยใช้หลักการทางานด้วยกันกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรูปแบบของการปรึกษาหารือ เพื่อให้ได้ขอยุติร่วมกัน หลังจากที่แต่ละฝุายได้มีเวลาตรึกตรองอย่างรอบคอบตามวิถีประชาธิปไตย deliberative democracy) การเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 วิธีหลัก คือ 1. การศึกษาข้อมูลเอกสาร คณะผู้ศึกษาได้ประมวลข้อค้นพบจากงานวิจัย ช่วงก่อนหน้า ปี 2557 ที่ได้มีผู้ศึกษาวิจัยเอาไว้ ข้อสังเกตของกรรมาธิการยุโรปว่าด้วยการแจ้งให้ประเทศที่สาม รับทราบความเป็นไปได้ที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่สามที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทา ประมงที่ผิดกฎหมายประมง ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(COMMISSION DECISION on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting Illegal, Unreported and Unregulated Fishing - IUU) ในกรณีที่ให้ ใบเหลืองแก่ประเทศไทย ตลอดจนข้อเสนอแนวทางแก้ไข พระราชกาหนด และกฎกระทรวงต่าง ที่ ได้มีการจัดทาขึ้นในระหว่างปี 2557 ถึง 2559 เพื่อรวบรวมให้เห็นสภาพปัญหาที่ได้มีการศึกษาและ ระบุเอาไว้แต่เดิมเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสาหรับนาเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง 2. ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้นมี 3 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดม ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและ ข้อจากัด ที่เกิดขึ้นในการทาประมง จนนาไปสู่ การทาประมงที่ผิดกฎหมายและการใช้แรงงานที่บางส่วนมีลักษณะเป็นแรงงานบังคับ


3

และเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชา สังคม การประชุมครั้งที่ 2 ทาในลักษณะของการหารือเป็นกลุ่มเล็กเป็นรายบุคคล ได้แก่บุคคลที่เป็น ผู้มี บ ทบาทหลั ก ในการ บริ ห ารจั ด การ ภาคประมงทะเล ของประเทศไทยและฝุ า ยผู้ ป ฏิ บั ติ ประกอบด้วย ศูนย์อานวยการ (ศปมผ) กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองต่อต้า นการค้ามนุษย์กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญด้า นการ ประมงทะเล นายกสมาคมประมงพาณิชย์แห่งประเทศไทยและนายกสมาคมประมงนอกน่านน้าไทย มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 เป็นการนา ข้อ วิเคราะห์ และสรุป ผลการดาเนินงานตามนโยบายที่รัฐบาล ได้ขับเคลื่อนในช่วงปี 2557 ถึง 2558 ทั้ ง ในเรื่ อ งของการแก้ ปั ญ หาประมงทะเลผิ ด กฎหมายและการใช้ แ รงงานบั ง คั บ และการเกิ ด ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นผลของการระดม ความคิดจากทุกๆฝุายร่วมกัน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปรึ กษารัฐมนตรี และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ร่วมแสดงความคิดเห็น 3 การสัมภาษณ์ ประกอบด้ว ยการสัมภาษณ์ผู้ให้ ข้ อ มูลสาคัญ (key informant interview) ที่เชี่ ย วชาญในด้ า นการทาประมงทะเลเชิง พาณิ ชย์ ทั้งในประเทศและในน่า นน้ า ต่างประเทศและการทาประมงพื้นบ้าน 1.4 ระยะเวลาการดาเนินการศึกษา ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือน กันยายน 2559 กิจกรรม 1. ประชุมระดมความเห็นจากวิทยากรรับเชิญจาก ภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ รั บ ทราบอุ ป สรรคและ ปัญหาจากการดาเนินงานตามนโยบายรัฐบาล 2. ประชุมร่วมระหว่างคณะทางานและวิทยากรรับ เชิ ญ จากภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ ก าหนดและ วิ เ คราะห์ ปั ญ หาแนวทางนโยบายที่ ไ ด้ รั บ การ ตอบสนองอย่างเข้มข้น 3. เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ ข้อมูลสาคัญระดับ บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ 4. ประชุมนาเสนอการพัฒนาข้อเสนอแนะนโยบาย การแก้ไ ขปั ญหาค้า มนุษ ย์แ ละการทาประมง IUU อย่างยั่งยืนต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน


4

บทที่ 2 สถานการณ์ในด้านปัญหาการทาประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 2.1 สถานการณ์ก่อนปีพ.ศ. 2558 นับตั้งแต่สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้กฎระเบียบการปูองกัน ยับยั้งและขจัดการทาประมง ที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 นั้น สหภาพยุโรปได้กาหนดให้ประเทศที่ จะส่งออกสินค้าประมงไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องจัดทาระบบเพื่อปูองกัน ยับยั้ง และขจัดการทาประมงแบบIUU อีกทั้งจะต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบที่มาของสินค้าประมงได้ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางและมีใบรับรองการจับสัตว์น้า (Catch Certificate) ประกอบการ ส่งออกสัตว์น้าไปยังสหภาพยุโรปทุกครั้ง เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มาจากการทาประมง IUU ประเทศไทยถูกจับตามองและได้รับสัญญาณเตือนจากสหภาพยุโรปให้ยกระดับการทา อุตสาหกรรมอาหารทะเลตั้งแต่ปีแรกที่ประกาศใช้กฎระเบียบดังกล่าวทั้งนี้สหภาพยุโรปได้ส่งคณะ ผู้แทนมาประเมินผลการติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลความคืบหน้าการดาเนินการของประเทศ ไทยในการแก้ไขปัญหาการทาการประมงที่ผิดกฎหมายและการดาเนินการภายใต้กฎระเบียบ IUU อย่างต่อเนื่องประจาทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2557 กรมประมงภายใต้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานหลักพยายามแก้ไขปัญหาและดาเนินมาตรการต่างๆ ในการควบคุม การทาการประมงของเรือประมงไทยเพื่อมิให้ทาการประมง IUU เช่น การจัดวางระบบการออก ใบรับรองการจับสัตว์น้าและระบบการตรวจสอบย้อนกลับ การเสนอร่างพระราชบัญญัติการประมง ฉบับใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ IUU โครงการจัดทาระบบติดตามเรือประมงไทย (Vessel Monitoring System Program) และการร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยจะดาเนินการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปมากแล้ว แต่ผลการประเมิน ในการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย หรือการประมง IUU ของไทยยังไม่สอดคล้องกฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปจึงออกประกาศอย่างเป็นทางการให้ประเทศไทยรับทราบความ เป็นไปได้ที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทาประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU) เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยสหภาพยุโรปได้เสนอแนะให้ไทยปรับปรุงแก้ไขการดาเนินการแก้ไข ปัญหาการประมง IUU กล่าวคือ (1) ปรับปรุงสาระพระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่ของไทย ให้มีความสอดคล้องกับ มาตรการบริหารจัดการสากล และควรกาหนดบทลงโทษอย่างเหมาะสมและรุนแรงเพียงพอ (2) ปรับปรุงร่างแผนระดับชาติในการปูองกัน ยับยั้งและขจัดการทาการประมง IUU (Thailand National Plan of Action to Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: Thailand NPOA-IUU) เพื่อให้เหมาะสมกับการทา ประมงของไทยและสอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการประมงสากล


5

(3) เร่งรัดการติดตั้งระบบติดตามตาแหน่งเรือประมง (Vessel Monitoring System: VMS) โดยเร็ว โดยเฉพาะเรือประมงนอกน่านน้า (4) เพิ่มความเข้มงวดในระบบการตรวจสอบย้อนกลับตลอดสายการผลิต อย่างเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้สหภาพยุโรปได้ติดตามผลการดาเนินงานแก้ไขปัญหาการทาประมงผิดกฎหมายของ รัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด โดยจะส่งคณะผู้แทนจากสหภาพยุโรปให้เดินทางลงพื้นที่ทุกๆ 6 เดือน เพื่อ ตรวจสอบความคื บ หน้ า และเข้ า พบกั บ ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของประเทศเพื่ อ รั บ ฟั ง รายงาน ความก้าวหน้าและทิศทางการดาเนินนโยบายของรัฐบาลต่อกรณีดังกล่าว ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสาคัญในการรักษาทรัพยากรทางทะเลและการแก้ไข ปัญหาการประมงแบบIUU มากขึ้นนับตั้งแต่ได้รับคาเตือน “ใบเหลือง” ดังกล่าว โดยประกาศให้ เป็นวาระสาคัญระดับชาติที่ ควรแก้ไขโดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องได้แก่กระทรวง เกษตรและสหกรณ์กรมเจ้าท่ากรมการปกครองกองบังคับการตารวจน้ากองทัพเรือศูนย์ประสานการ ปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมศุลกากรกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นอกจากนี้คณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศจัดตั้ง“ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาการประมงผิด กฎหมาย (Command Center for Combating Illegal Fishing; CCCIF)”เรียกโดยย่อว่า ศปมผ. ในวันที่ 29 เมษายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถเร่งดาเนินการแก้ปัญหาให้การ ทาการประมงสามารถดาเนินการได้อย่างยั่งยืนและเป็นระบบและยกระดับมาตรฐานการประมงของ ประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ ประมงอุตสาหกรรมต่อเนื่องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรมประมงภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานหลักได้เป็นผู้นาใน การบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องโดยจัดทาแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการ ประมง IUU ของไทยขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดาเนินงานที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ ร่วมแก้ไขปัญหาการประมง IUU และปลด “ใบเหลือง” ของสหภาพยุโรปในกรอบระยะเวลาที่ กาหนด อันประกอบด้วยแผนงานหลัก 6 แผนงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องได้แก่ (1) การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมงและกฎหมายลาดับรอง (2) การจัดทาแผนระดับชาติในการปูองกันยับยั้งและขจัดการทาประมง IUU (NOPAIUU) (3) การเร่งจดทะเบียนเรือประมงและออกใบอนุญาตทาการประมง (4) การพัฒนาระบบควบคุมและเฝูาระวังการทาประมงโดยเฉพาะการควบคุมการเข้า ออกท่าของเรือประมง (5) การจัดทาระบบติดตามตาแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System - VMS) (6) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) จากแผนงานหลักดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากรมประมงได้รวมแผนงานการแก้ไขปัญหาเรื่อง การจดทะเบียนเรือประมงและออกใบอนุญาตทาการประมง และการควบคุมและเฝูาระวังการทา


6

ประมง ซึ่งเป็นปัญหาสาคัญที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการประมง IUU โดยตรง ไว้ในแผนงานเพิ่มเติม จากที่สหภาพยุโรปเสนอแนะไว้ด้วย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทาประมง IUU ของไทยครบถ้วน สมบูรณ์อย่างเป็นระบบ โดยแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวทั้ง 6 ข้ อ จะสามารถครอบคลุมการแก้ไข ปัญหาและการปูองกันการทาประมง IUU ของเรือประมงไทยทั้งภายในน่านน้าไทยและน่านน้า ต่างประเทศ รวมทั้งการปูองกันสินค้าสัตว์น้า IUU จากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย รัฐบาลได้เร่งรัดการดาเนินการตามแผนงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและรอบด้านรวมทั้งได้ บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมแม้ผลการ ดาเนินการมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาประมงไทย นั้นยืดเยื้อเป็นระยะเวลานานและเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ดังนั้นมาตรการต่างๆ ที่เร่งบังคั บใช้ เพื่อมุ่งแก้สถานการณ์ “ใบเหลือง” ของภาครัฐอาจเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด อีกทั้งหลายมาตรา ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจประมงในระดับที่แตกต่างกัน ในการนี้คณะทางานวิจัยฯจึงได้ ทาการวิเคราะห์และสรุปปัญหาในประเด็นที่สาคัญของการทาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยอ้างอิงจากแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการประมง IUU ของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์โดยสรุปได้ 4 ประเด็นหลักอันได้แก่ 2.1.1 การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ 2.1.2 การขึ้นทะเบียนเรือประมงและการออกใบอนุญาตทาการประมง 2.1.3 การเพิ่มประสิทธิภ าพของการควบคุมและเฝูาระวังการทาประมงและระบบ ติดตามตาแหน่งเรือ 2.1.4 การปรับปรุงพระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2.1.1 การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถควบคุมและ ลดปั ญหาข้ อสงสัย จากการทาประมงผิดกฎหมายได้เนื่อ งจากสินค้าประมงที่สามารถตรวจสอบ ย้อนกลับได้ตั้งแต่กระบวนการจับจนถึงการแปรรูปและส่งออกขายต่อผู้บริโภคนั้นย่อมเป็นตัวบ่งชี้ถึง คุณภาพสินค้าและมาตรฐานการทาประมง ดังนั้นปัญหาระบบการตรวจสอบย้อนกลับจึงเป็นปัญหา สาคัญประการหนึ่งที่คณะกรรมาธิการยุโรปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เห็นได้จากมาตรการการ นาเข้าสินค้าประมงไปยังสหภาพยุโรปซึ่งกาหนดให้มีใบรับรองการจับสัตว์น้าที่ออกโดยหน่วยงานที่ รับผิดชอบของประเทศเจ้าของสัญชาติ (ประเทศเจ้าของธง) ของเรือประมงที่ใช้จับสัตว์น้ากากับมา ด้วย เพื่อรับรองว่าการจับสัตว์น้าดังกล่าวได้กระทาถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการ การอนุรักษ์และการบริหารจัดการระดับนานาชาติ นับตั้งแต่คณะกรรมาธิการยุโรปเดินทางมาประเมินการทาประมงของประเทศไทยตั้งแต่ ปีพ.ศ.2554 นั้น คณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้ให้รัฐบาลไทยเห็นข้อบกพร่องของระบบการตรวจสอบ ย้อนกลับในหลายประเด็น ซึ่งทางการไทยได้ตระหนักถึงข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นและพยายามแก้ไข ปัญหาดังกล่าว โดยเสนอแผนปฏิบัติการปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ รวมทั้งพัฒนาการ ตรวจสอบย้อนกลับขึ้นหลายรูปแบบ เพื่อเฝูาระวังและควบคุมผลิตภัณฑ์ประมงจากประเทศที่สามที่


7

ส่งเข้ามายังท่าเทียบเรือในประเทศไทยเพื่อการแปรรูปและการส่งต่อออกไปยังต่างประเทศ อย่างไร ก็ดีระบบการตรวจสอบสินค้าประมงไทยยังไม่สามารถนาเสนอเส้นทางการได้มาของสินค้าได้อย่าง ชัดเจนและถูกต้อง ดังปรากฏในคาวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาสาคัญ 2 ประการดังนี้ (1) ระบบการตรวจสอบย้อนกลับของประเทศไทยยังขาดประสิทธิภาพ จากคาวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการฯ ข้อ 45 ระบุว่า ระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่ รัฐบาลไทยพัฒนาขึ้น ไม่มีความเชื่อมโยงกับระบบการลงบัญชีของบริษัทเอกชน ดังนั้นจึงไม่ อาจ แน่ ใ จได้ ว่า ข้ อ มู ล จะมี ค วามครบถ้ ว นสมบู รณ์ แ ละเป็ นที่ เ ชื่อ ถื อ ได้ 1กล่ า วคือ ข้ อ มู ล ที่บั น ทึก โดย หน่วยงานของรัฐและข้อมูลที่บันทึกไว้ในระบบบัญชีและการผลิตของบริษัทเอกชนไม่มีการเชื่อมโยง กัน นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนระบบการตรวจสอบย้อนกลับของหน่วยงานของ รัฐยังเป็นข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ประกอบกับเอกสารสาคัญในสายการผลิต (supply chain) อย่า ง เอกสารการนาเข้าสินค้าไม่มีการบันทึกข้อมูลที่สาคัญ(เช่น ชื่อของเรือแม่หรือเรือขนส่ง ปริมาณรวม สุทธิที่แท้จริงที่บริษัทแปรรูปรับซื้อมา เป็นต้น) สิ่งที่เกิดขึ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบ การตรวจสอบย้อนกลับทั้งระบบ2 (2) การดาเนินการที่ล่าช้าและขาดเสถียรภาพของข้อมูลสาหรับการออกใบรับรองการ จับสัตว์นา(catch certification) ใบรับรองการจับสัตว์น้ามีความสาคัญต่อการนาเข้าและส่งออกสินค้าประมงเป็นอย่าง มาก ซึ่งจะครอบคลุมสินค้าประมงทั้ งหมดทั้งสินค้าแปรรูปและไม่แปรรูป (ยกเว้นสัตว์น้าจืด ปลา สวยงาม สินค้าสัตว์น้าที่มาจากการเพาะเลี้ยงซึ่งเกิดจากลูกสัตว์น้าหรือตัวอ่อน หรือหอยสองฝาบาง ชนิด) จากการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการยุโรปพบว่า การออกใบรับรองการจับสัตว์น้าของ ประเทศไทยยังมีความล่าช้า โดยยกกรณีการนาเข้าสินค้าซึ่งใบรับรองฯ จะส่งมาถึงหลังจากสินค้า ประมงถูกนาเข้ามายังประเทศไทยแล้วหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน อีกทั้งความเชื่อมโยงกันของ จานวนในใบอนุญาตนาเข้ากับจานวนในใบรับรองการจับสัตว์น้ามีความยุ่งยากมากในการสืบค้นและ ทาให้การตรวจสอบย้อนกลับยิ่งทาได้ยากกว่า3นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจประมงการมีการบันทึก ปริมาณปลานาเข้าอย่างไม่ถูกต้องกล่าวคือผู้ประกอบการฯ กรอกข้อมูลบัญชีด้วยปริมาณเต็มจานวน

1

คณะกรรมาธิการยุโรป (2558). คาวินิจฉัยคณะกรรมาธิการยุโรปวันที่ 21 เมษายนพ.ศ. 2885 ว่าด้วยการแจ้ง ให้ประเทศที่สามรับทราบความเป็นไปได้ที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่สามที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้าน การทาประมงผิดกฎหมายประมงขาดการรายงานและไร้การควบคุม . (แปลจาก COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a noncooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing) โดยวิชาญศิริชัย เอกวัฒน์และคณะ (2558, กันยายน). 2 อ้างแล้ว. 3 อ้างแล้ว.


8

ตามที่ป รากฏในใบรับ รองการจับ สัตว์น้า ซึ่งตรงข้า มกับปริมาณที่มีการซื้อ -ขายจริง4รวมถึงการ บั นทึก จ านวนสิน ค้า ประมงที่จั บ จากน่า นน้าไทยยังไม่ส อดคล้อ งกันหรื อ มีความสับ สนของการ รายงานข้อมูลดังกล่าวในใบรับรองการจับสัตว์น้า จากคาวิ นิจ ฉั ย และข้ อ ชี้ แ นะจากคณะกรรมาธิ ก ารยุ โ รป รัฐ บาลไทยได้ ก ารดาเนิ น มาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้ อนกลับให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น หน่วยงานหลัก นาโดยกรมประมงได้พยายามปรับปรุงโครงสร้างของระบบการตรวจสอบ ย้อนกลับและพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นแนวทางเดียวกันและ เกิดผลสัมฤทธิ์สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นน้าถึงปลายน้าการดาเนินมาตรการของกรม ประมงเป็นไปในหลายรูปแบบ เช่น การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมการตรวจสอบย้อนกลับ การปรับปรุงระเบียบ ขั้ นตอน และวิธีการปฏิบั ติงานให้สามารถตรวจพบความเกี่ย วข้องกับการ ประมงที่ ผิ ด กฎหมาย การจั ด หาอั ต ราก าลั ง เพิ่ ม เติ ม การจั ด จ้ า งและด าเนิ น การระบบงาน อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการจัดระบบฐานข้อมูลภายในกรมประมง เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความรู้แก่ เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการธุรกิจ ประมง และผู้ควบคุมเรือประมงเกี่ยวกับการจัดทาบันทึกการทา ประมง (Fishing Logbook) เอกสารการซื้อขายสัตว์น้า (MCPD) และ/หรือเอกสารการขนถ่ายสัตว์ น้า (MCTD) ตลอดจนเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสัตว์น้าขึ้นท่า รวมทั้งพัฒนาด่านตรวจสัตว์นา้ ให้มีศักยภาพในการตรวจเรือประมงต่างชาติตามมาตรการของรัฐเจ้าของท่าด้วย การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ก. การออกกฎหมาย พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558(มาตรา 50) โดยกาหนดให้ผู้ที่ทาการ ประมงนอกน่านน้าไทยจะต้องมีผู้สังเกตการณ์ประจาอยู่ในเรือประมงตามหลักเกณฑ์ของรัฐชายฝั่ง หรื อ ขององค์ ก ารระหว่ า งประเทศที่ มี เ ขตอ านาจเหนื อ พื้ น ที่ ที่ ต นเข้ า ไปท าการประมง เพื่ อ สังเกตการณ์การจับสัตว์น้า การคัดสรร แปรรูป รวบรวมและบันทึกข้อมูลด้านชีววิทยา รวมทั้งจัดทา รายงานสรุปผลการดาเนินการส่งให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อเรือประมงเทียบท่าหรือเมื่อผู้สังเกตการณ์ขึ้นฝั่ง ข. การออกกฎหมาย พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 (มาตรา 90) ให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการ สืบค้นความชอบด้วยกฎหมายของสัตว์น้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้าที่ได้จากการประมง หมายถึง (1) การกาหนดให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมง/เรือขนถ่ายสัตว์น้าและเก็บรักษาสัตว์น้าจะต้องจัดทา สมุ ด บั น ทึ ก การท าประมงพร้ อ มรายงานต่ อ กรมประมง (2) เจ้ า ของท่ า เที ย บเรื อ ประมงหรื อ ผู้ประกอบการแพปลาต้องจัดทาและกรอบข้อมูลในหนังสือกากับการซื้อขายสัตว์น้าให้แก่ผู้ซื้อพร้อม สาเนาให้กรมประมง (3) ผู้ผลิตสินค้าประมงหรือแปรรูปสัตว์น้าก็เช่นเดียวกันจะต้องจัดทาหลักฐาน เพื่อการสืบค้น ตลอดจนผู้นาเข้า ส่งออก หรือนาผ่านสัตว์น้า/สินค้าสัตว์น้าจะต้องมีใบรับรองการจับ สัตว์น้าที่แสดงถึงที่มาซึ่งเป็นการประมงที่ชอบด้วยกฎหมาย (4) การกาหนดหลักเกณฑ์และแนวทาง ให้ผู้ประกอบการถือปฏิบัติ โดยออกระเบียบว่าด้วยการยื่นคาขอหนังสืออนุญาตนาเข้าสัตว์น้าบาง ชนิดเข้ า มาในประเทศเพื่อ ผลิตส่งออกไปสหภาพยุโ รป พ.ศ.2558 (5) การจั ดอบรมความรู้แ ก่ เจ้าหน้าที่ในการสุ่มตรวจสัตว์น้าขึ้นท่า การตรวจสอบข้อมูลการบันทึกการทาประมง (Logbook) 4

อ้างแล้ว.


9

และเอกสารกากับการซื้อขายสัตว์น้า (Marine Catch Purchasing Document: MCPD) (6) การ พัฒนาวิธีการตรวจนับสัตว์น้า ณ ท่าเทียบเรือประมงโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “ตราชั่งอัจฉริยะ” มาใช้ในการระบุน้าหนักของสัตว์น้าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยา จุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข อย่า งไรก็ดีก ารดาเนินการตามมาตรการต่า งๆ ของภาครัฐยังจุ ดอ่อ นที่ต้องได้รับ การ ปรับปรุงแก้ไขซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ก. ขาดการเชื่อมโยงของระบบ logbook หรือ MCTD กับกรมประมงโดยตรงจึงส่งผลให้ การดาเนินการตามมาตรการเกี่ยวกับการจัดทาและกรอกข้อมูลในเอกสารกากับการซื้อขายสัตว์น้า (MCPD) ให้แก่ผู้ซื้อยังมีความล้าช้าอันเกิดจากความแออัดของปริมาณเรือที่เข้าเทียบท่าซึ่งมีมาก และยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างการบันทึกข้อมูลการทาประมง (Logbook) จึงทาให้การ ตรวจสอบข้อมูลจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ ข. ระบบการจัดเก็บข้อมูลการทาประมง การซื้อ-ขาย ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนยังขาด การบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ ค. การรายงานผลการบันทึกข้อมูล Logbook และการออกเอกสาร MCPD มีปัญหาด้าน การเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เรือประมง ท่าเทียบเรือประมง/แพปลา กรม ประมง) เกิดความสับสน ล้าช้า และยุ่งยากในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นการ จัดเก็บข้อมูลด้วยเอกสารที่มีจานวนมาก ง. ระยะเวลาการออกใบรับรองการจับสัตว์น้า (Catch Certificate: CC) ขึ้นอยู่กับข้อมูล การซื้อขายสัตว์น้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยเฉพาะผู้ซื้อที่ซื้อจากผู้ขายจากต่างประเทศเพื่อนามา ผลิตหรือแปรรูปในประเทศ ดังนั้นผู้ซื้อจะต้องแสดงข้อมูลถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้อย่างชัดเจนจึง อาจเป็นอุปสรรคในด้านระยะเวลาการออกใบรับรองการจับสัตว์น้า จ. มาตรการตรวจสอบโดยผู้สังเกตการณ์บนเรือประมงยังไม่มีศักยภาพการตรวจสอบได้ อย่า งเพีย งพอการมีผู้สังเกตการณ์บ นเรือ ประมงที่ก าหนดตามประกาศกรมฯ5ยั งมีปั ญ หาและ อุปสรรคในทางปฏิบัติหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ และการ หาบุคลากรที่เหมาะสมไปเป็นผู้สังเกตการณ์บนเรือ เป็นต้น ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคเอกชนและประชาสังคม ผู้ประกอบการธุรกิจประมงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะปรับปรุง ระบบภายในของตนและปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับการดาเนิ นการแก้ไขปัญหา ของภาครัฐ อย่างไรก็ดีจากคาวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการยุโรป จะเห็นได้ว่าข้อบกพร่องของระบบ การตรวจสอบย้อนกลับไม่ใช่เพียงการขาดระบบที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หากแต่ยังชี้ให้เห็นถึงการ 5ประกาศกรมประมง เรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ประจาอยู่บนเรือประมงสาหรับผู้ได้รับ ใบอนุญาตให้ทาการประมงนอกน่านน้าไทย พ.ศ. 2558


10

นาระบบไปใช้อย่างไม่ถูกต้องของผู้ประกอบการธุรกิจประมง 6 ซึ่งตรวจพบว่ามีการบันทึกปริมาณ ปลานาเข้าไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับข้อมูลในใบรับรองการจับสัตว์น้า (Catch certificate) แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการสามารถลักลอบนาปลาที่จับโดยวิธีผิดกฎหมายมาสวมสิทธิ์ได้ อีกทั้ง คณะกรรมาธิก ารฯ ได้รายงานผลการตรวจในปี พ .ศ. 2555 ซึ่ง พบว่า การนาเข้ า ปลาทูน่า มายัง ประเทศไทยไม่ผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร 7 และโรงงานแปรรูปปลาทูน่าหลายแห่งยังมี ข้อบกพร่องเรื่อ งความโปร่งใสและการตรวจสอบย้อนกลับ 8ทั้งนี้ ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายก สมาคมอุตสาหกรรมปลาทูน่าไทยชี้แจงว่าปลาทูน่าที่ทาการผลิตในประเทศไทย ร้อยละ 989 เป็น การนาเข้าจากต่างประเทศ โดยเรือที่ทาการจับนั้นได้ผ่านมาตรฐานของ Western & Central Pacific Fisheries Commission (WCPFC) และซื้อปลาทูน่าจากเรือเหล่านี้ ซึ่งมีหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน เกาหลี ปาปัวนิวกินี รวมถึงสหรัฐอเมริกา และเมื่อปลาทูน่ามาถึ งท่าเทียบเรือเพื่อทาการขน ถ่ายสินค้าก็ต้องผ่านการตรวจจากกรมประมงอีกครั้งหนึ่งขณะที่อีกร้อยละ 2 ซึ่งเป็นปลาทูน่าใน ประเทศสามารถตรวจสอบได้ตลอดสายการผลิต (Supply Chains) ได้เช่นเดียวกัน เนื่องเพราะการ ซื้อขายปลาทูน่าต้องมีเอกสารที่เรียกว่า หนังสือกากับการซื้อขายสินค้าสัตว์น้า (Marine Catch Purchasing Document: MCPD) ที่ออกโดยกรมประมง ซึ่งจะมีรายละเอียดของเรือ รายละเอียด ของผู้ทาประมงที่ชัดเจน และรวมถึงเอกสารที่เรียกว่าบันทึกการทาประมง ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึง แหล่งที่มาของทูน่าที่จับมาได้ จุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข นอกจากนี้ยังมีข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการธุรกิจประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ ต่างๆ ของภาครัฐซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. (ผู้ประกอบการธุรกิจประมงรายใหญ่) การทาระบบตรวจสอบย้อนกลับ ต้องทาทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นโดยเริ่มจากเรือประมงที่จับปลาจนถึงผู้บริโภค ซึ่งต่อมาได้ออก พ.ร.ก. ประมง 2558 บังคับ ใช้โดยให้มีระบบตรวจสอบใหม่ที่เริ่มตั้งแต่เรือที่จับปลามานั้น ยังมีข้อบกพร่องของระบบคือไม่มี การ ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ถูกส่งมาถูกต้องหรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่ได้มานี้จะมีผลกระทบต่อการคานวณค่า MSY

6

คณะกรรมาธิการยุโรป (2558). คาวินิจฉัยคณะกรรมาธิการยุโรปวันที่ 21 เมษายนพ.ศ. 2885 ว่าด้วยการแจ้ง ให้ประเทศที่สามรับทราบความเป็นไปได้ที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่สามที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้าน การทาประมงผิดกฎหมายประมงขาดการรายงานและไร้การควบคุม . (แปลจาก COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a noncooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing) โดยวิชาญศิริชัย เอกวัฒน์และคณะ (2558, กันยายน). 7 อ้างแล้ว. 8 อ้างแล้ว. 9 ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย (2559).Supply Chains in Thailand Tuna Industry (บทสัมภาษณ์ดร. ชนินทร์ ชลิศราพงศ์)ในThailand Anti-Trafficking Outlook Vol.2 (หน้า 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.


11

2. (ผู้ประกอบการธุรกิจประมงรายใหญ่) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีการตรวจสอบความ ถูกต้องของเอกสารที่ได้มา แม้จะมีเอกสารระบุแหล่งที่มาชัดเจน เช่น เอกสารยืนยันการจับปลาจาก เรือ ก แต่ไม่มีการยืนยันว่าเป็นเรือ ก จริงหรือไม่ เพราะเรือนาเข้าทูน่ามาส่งไม่ใช่เรือที่จับปลาเองแต่ เป็นเรือแม่ที่ถ่ายปลาทูน่ามาจากเรือกลางทะเล 3. (ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ ประมงรายใหญ่ ) ระบบใหม่ เ ป็ น การเพิ่ ม ภาระให้ กั บ ท่ า เรื อ โดยเฉพาะท่าเอกชนเพื่อให้จัดทารายงานตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งในความเป็นจริงเจ้าของท่าเทียบ เรือให้เช่าท่าเพื่อขึ้นสินค่าเท่านั้น หน้าที่จริงๆต้องอยู่ที่เจ้าของเรือหรือแพปลา ในการทาข้อมูลว่า ขายให้ใคร อย่างไรบ้าง จึงแสดงให้เห็นว่ากฎระเบียบกับวิธปี ฏิบัติไม่สอดคล้องกัน แม้ว่าท่าเทียบเรือ จะมีข้อมูลอยู่บ้างแต่ก็ไม่ใช้หน้าที่ของท่าเทียบเรือ ยกเว้นปลาที่เข้าโรงงาน อีกทั้งกฎระเบียบของ กรมประมงมุ่งแต่จ ะแก้ในจุดที่อียูเสนอ ไม่ได้แก้ไขระบบทั้งหมดและไม่ได้ว างระบบตรวจสอบ ย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ 4. (ผู้ป ระกอบการธุรกิจ ประมงรายใหญ่ ) ปั ญ หาเรื่ อ งการทางานของท่า เทีย บเรือ ที่ไ ม่ สอดคล้องกับกิจการประมง เพราะเจ้าหน้าที่ทาแค่ในเวลาราชการเท่านั้น และถ้าให้ท่าเทียบเรือทา ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญและมีข้อมูลเพียงพอ อีกทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องมี ทหาร/ตารวจเข้ามาคุ้มครองเจ้าหน้าที่ 2.1.2 การขึ้นทะเบียนเรือประมงและการออกใบอนุญาตทาการประมง ปัญหาสาคัญอีกประการหนึ่งของประมงไทยคือการทาประมงเกินขีดความสามารถการผลิตของ ทรัพยากร (Over Fishing) จากการเพิ่มขึ้นทั้งจานวนและประสิทธิภาพของเรือ เครื่องมือ และ วิธีก ารทาประมง หากพิจารณาข้ อมูลการสารวจเรือ ประมงไทยปี พ.ศ. 2558 จะพบว่า จานวน เรือประมงมีมากถึง 42,512 ลา10โดยเรือประมงพาณิชย์มีจานวน 9,370 ลา คิดเป็น 22% ขณะที่ เรือประมงพื้นบ้านมีจานวน33,205 ลา คิดเป็น 78% ของเรือประมงทั้งหมด ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้ เห็นถึงความไม่สัมพันธ์กับค่าผลการจับสัตว์น้าสูงสุดที่ยั่งยืน (Maximum Sustainable Yield : MSY) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจจาเพาะของไทยที่สามารถทาประมงในน่านน้าได้มีทั้งหมดเพีย ง 420,280 ตารางกิโลเมตร ผลผลิตการจับสัตว์น้ารวมจึงแสดงให้เห็ นภาวะการทาประมงเกินขี ด ความสามารถของประเทศไทยอย่างชัดเจนประกอบกับเครื่องมือประมงบางชนิดของไทยมีศักยภาพ ในการทาลายทรัพยากรสูง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลทั้งสิ้น

10

กรมประมง (2558). รายงานแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทยปี 2558-2562. กรุงเทพฯ: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.


12

ปัญหาสาคัญที่ค้นพบจากการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการยุโรปมีดังนี้ (1) กฎระเบียบของไทยเกี่ยวกับจดทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ ใบอนุญาตทา การประมง (อาชญาบัตร) และระบบการขึนทะเบียนเรือ การออกใบอนุญาตประมง และการออก อาชญาบัตรไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ข้อ 68 (2) เรือประมงไทยมีจานวนมาก อีกทังส่วนใหญ่ไม่ได้ขึนทะเบียนและยังมีการ สวมทะเบียน รวมถึงการนาเรือที่มีอาชญาบัตรที่ไม่ตรงตามเครื่องมือทาการประมงไปทาการประมง ในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 2553 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีการส่งเสริมและสนับสนุนการจดทะเบียน เรืออย่างจริงจัง ทาให้ข้อมูลจานวนเรือไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง แต่เมื่อคณะกรรมาธิการ ยุโรปเริ่มเข้ามาตรวจสอบ กรมประมงและกรมเจ้าท่าจึงได้ประสานความร่วมมือในการจดทะเบี ยน เรือมากขึ้น ทาให้ข้อมูลจานวนเรือที่มาจดทะเบียนมีจานวนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัวในปีพ.ศ. 2554 11ซึ่ง นาไปสู่ข้อบ่งชี้การทาประมงเกินขนาด (Over fishing)

11

คณะกรรมาธิการยุโรป (2558). คาวินิจฉัยคณะกรรมาธิการยุโรปวันที่ 21 เมษายนพ.ศ. 2885 ว่าด้วยการ แจ้งให้ประเทศที่สามรับทราบความเป็นไปได้ที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่สามที่ไม่ให้ความร่วมมือในการ ต่อต้านการทาประมงผิดกฎหมายประมงขาดการรายงานและไร้การควบคุม . (แปลจาก COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing) โดยวิชาญศิริ ชัยเอกวัฒน์และคณะ (2558, กันยายน).


13

(3) ขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจดทะเบียนเรือ และ การออกใบอนุญาต จากคาวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการยุ โรปข้อ 3612 พบว่า หน่วยงานหลัก 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมเจ้าท่าและกรมประมงขาดความร่วมมือระหว่างกันในการดาเนินการจด ทะเบียนเรือ อีกทั้งยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบและครบถ้วน ข้อมูลจานวนเรือประมงของทั้ง 2 หน่วยงานจึงแตกต่างกัน ทาให้การตรวจสอบขนาดเรือ (ตันกรอส) และการควบคุมศักยภาพของ เรือประมงไทยไม่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดช่องว่างที่ผู้ประกอบการธุรกิจประมงจะนาเรือประมงที่ ผิดกฎหมาย (เรือที่ไม่จดทะเบียนหรือไม่มีอาชญาบัตร) และเรือสวมทะเบียนมาทาการประมงเป็น จานวนมาก ดัง นั้น กรมประมง กรมเจ้ า ท่า กรมการปกครอง และศปมผ. จึ ง ร่ ว มกัน บู รณาการ ปฏิบั ติงานเพื่อ เป็ นการแก้ไขปั ญ หาเรื่อ งเรือ ประมงและเครื่อ งมือ ทาการประมงให้ ถู ก ต้อ งตาม กฎหมาย โดยดาเนินการร่วมกันในการจดทะเบียนเรือและการออกใบอนุญาตทาการประมงให้กับ เรือประมงของไทยทุกลารวมทั้งร่วมกันจดทะเบียนเรือประมงเพิ่มเติมและออกใบอนุญาตทาการ ประมงให้ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมายที่กาหนด ผ่านการดาเนินการโดยหน่วยเคลื่อนที่เบ็ดเสร็จ ในระดับอาเภอ รวมทั้งสิ้น 112 หน่วยครอบคลุมพื้นที่ใน 23 จังหวัดชายทะเล อีกทั้งยังทาการสารวจ เรือประมงที่จดทะเบียนเรือแล้วและมีเรืออยู่จริง13 การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของของภาครัฐ 1. ศปมผ. กรมประมง และกรมเจ้าท่า ร่วมกันรับจดทะเบียนเรือ การให้ใบอนุญาตใช้เรือ และการให้ใบอนุญาตทาการประมง (อาชญาบัตร) ซึ่งจัดทาในระบบแบบออนไลน์ และ E-License ควบคุมโดยมี QR code กากับในเรือแต่ละลาและการทาเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์สาหรับ เรือประมง (Unique Vessel Identifier – UVI) เพื่อให้เรือประมงทุกลาเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง ตลอดจนออกหน่วยให้บริการเคลื่อนที่แบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดยแต่ละหน่วยจะ ประกาศให้ เรือประมงทุก ประเภทมาจดแจ้ งแสดงความประสงค์ก ารใช้เครื่อ งมือประมงของตน พร้อมทั้งสารวจและลงพิกัดตาแหน่งท่าเทียบเรือที่เรือประมงไทยนาสัตว์น้าขึ้นท่าด้วย เพื่อรวบรวม ข้อมูลเรือ ประมงทุก ประเภท และท่าเทียบเรือสาคัญ สาหรับใช้ในการจั ดระเบีย บเรือ ประมงให้ เหมาะสม และวางแผนการควบคุมการทาประมง IUU ณ ท่าเทียบเรือต่อไป14 2. กรมเจ้าท่าเปิดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรนายท้ายเรือและคนใช้เครื่องยนต์ เพื่อ แก้ปั ญหาให้ แ ก่ช าวประมงที่ไ ม่มี ใบอนุญ าตนายท้ า ยเรื อ ประมงซึ่ งกรมเจ้ า ท่า จะสามารถออก ใบอนุญาตให้ได้ในวันเดียวหลังผ่านการอบรม และสามารถนาใบนายท้ายเรือไปแจ้งยังศูน ย์ควบคุม การแจ้งเรือเข้าออก (Port In – Port Out Center: PIPO) ในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะมีอาชญาบัตร

12

อ้างแล้ว. กรมประมง (2558). สรุปรายงานความก้าวหน้าการดาเนินการแก้ไขปัญหาการประมง IUU ของไทย. กรุงเทพฯ: กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 14 อ้างแล้ว. 13


14

3. กรมประมงยกเลิกทะเบียนเรือและเพิกถอนใบอนุญาตเรือประมงที่ทาการประมงอย่าง ผิดกฎหมาย และมีมาตรการการจัดทาแผนกองเรือประมง โดยใช้วิธีทาสีล็อคและปิดผนึก (Seal) ตัว เรือ เพื่อแก้ไขกรณีเรือเถื่อนที่ไม่ได้มาขึ้นทะเบียนเรือและไม่มีใบอนุญาตทาการประมง โดยจะทาลง พื้นที่ตรวจสอบทุกเดือน อีกทั้งยังสร้างเครือข่ายเฝูาระวัง โดยร่วมมือกับกลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อ ปูองกันไม่ให้มีการลักลอบนาเรือผิดกฎหมายเหล่านี้ไปใช้ 4. กรมประมงออกกฎกระทรวงเรื่ อ งการขออนุญ าตและการอนุญ าตให้ ทาการประมง พื้นบ้านและประมงพาณิชย์ โดยกาหนดว่าการออกใบอนุญาตต้องระบุประเภท ชนิด ขนาด และ จานวนของเครื่องมือทาการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทาการประมง พื้นที่ในการทาการประมง รวมทั้งปริมาณสัตว์น้าสูงสุดที่อนุญาตให้ทาการประมงได้ หรือห้วงเวลาที่อนุญาตให้ทาการประมงได้ แล้วแต่กรณี ไว้ในใบอนุญาตด้วย 5. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเยียวยาเรือประมงที่ไม่ได้รับโควตาขึ้น ทะเบียน เช่น การอนุญาตให้นาเรือไปใช้ทางด้านการท่องเที่ยว การให้สินเชื่อแก่ชาวประมงเพื่อใช้ เป็นทุนสร้างรายได้ในแบบอื่นๆเป็นต้น ทั้งนี้มาตรการต่างๆ ที่ออกมาเป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นเพื่อจัดระเบียน เรื อ ประมงที่ มีจ านวนมากและก าจั ด การใช้ เรื อ ประมงเถื่ อ นหรื อ เรือ สวมทะเบี ย น อย่ า งไรก็ ดี มาตรการที่ประกาศใช้ ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการที่เร่งรัดให้ปฏิบัติในเวลาอันรวดเร็วทั้งสิ้น เนื่องจาก เงื่อนไขเรื่องการตรวจความก้าวหน้าของสหภาพยุโรปที่จะมาทาการประเมินทุกๆ 6 เดือน ทาให้ ภาครัฐต้องใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด จุดอ่อนและสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ตามการดาเนินการในช่วงนั้นยังมีจุดอ่อนและสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขดังต่อไปนี้ 1. ระยะเวลาการอนุญ าตในเรื่องทะเบีย นเรือประมงและอาญาบัตรเครื่อ งมือ ประมงไม่ สัมพันธ์จึงกระทบต่อการประกอบธุรกิจประมง เช่น บางกรณีใบทะเบียนเรือฯหมดอายุแต่อาญา บัตรเครื่องมือฯยังไม่หมดก็ไม่สามารถทาการประมงต่อได้ จึงทาให้ต้องกลับมาต่อใบอนุ ญาตทั้งเรือ หรือเครื่องมือซึ่งในแต่ละรอบต้องใช้เวลาดาเนินการทาให้สูญเสียโอกาสในการทาธุรกิจ เป็นต้น กรมเจ้าท่าจดทะเบียนเรือไม่มีหมดอายุ แต่ใบอนุญาตใช้เรือที่ต้องต่ออายุทุกปี การออก ใบอนุญาตทาการประมงต้องใช้ใบอนุญาตใช้เรืออายุเกิน 30 วัน จึงยังไม่เห็นปัญหาส่วนนี้ แต่ตรงที่ เป็นปั ญหาคือเวลาที่เร่งทาอย่า งรวดเร็ว (ข้ อ ข.) เพราะมีการเปลี่ย นแปลงข้ อกาหนดขนาดเรือ เครื่องมือการทาประมงชาวประมงจึงอาจจะทาไม่ทัน อีกทั้ง ไม่มีชาวประมงที่ไม่ได้รับการอนุญาต แต่ชาวประมงเหล่านั้นไม่ได้ขอใบอนุญาต กรมประมงให้ ใบอนุญ าตทั้งหมดกับเรือที่ขอและรัฐก็ พยายามหามาตรการเยียวยาเรือที่ไม่มีใบอนุญาตอยู่ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือทั้งหมดได้ อีกทั้งกรม ประมงยังพยายามสร้างความชัดเจนเรื่องทะเบียนเรือ (บางลามีทะเบียนเรือ แต่เรือจริงๆจมหายไป แล้ว) 2. มาตรการขึ้นทะเบียนเรือประมงและการออกใบอนุญาตทาการประมงของภาครัฐมีผล บังคับใช้ทันทีและมีความเข้มงวด ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจประมงในการ ปรับตัวหรือไม่มีเวลาในการเตรียมความพร้อม


15

3. แนวทางการเยี ย วยาจากผลกระทบเรื่ อ งการขึ้ น ทะเบี ย นเรื อ ประมงและการออก ใบอนุญาตทาการประมงต่อ กลุ่ มที่ไม่ได้รับ การอนุญ าตทาประมงยังไม่ครอบคลุมและสามารถ บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการธุรกิจประมงได้อย่างเพียงพอเช่น กลุ่มที่มีการขึ้นทะเบียน เรือฯถูกต้องตามกฎหมายแต่เครื่องมือประมงไม่ถูกต้อง กลุ่มเรืออวนรุนซึ่งเคยได้รับอนุญาตอย่างถูก กฎหมายแต่ถูกคาสั่งให้ย กเลิก กลุ่มเรือประมงที่ถูกยกเลิกทะเบียนเรือฯเพราะไม่ได้เข้ามารับการ สารวจเรือภายในระยะเวลากาหนด เป็นต้น 4. รัฐออกมาตรการยกเลิกเครื่องมือประมงซึ่งส่งผลกระทบต่อการทาประมงบางกลุ่มโดย ขาดการศึกษาอย่างเพียงพอ เช่น กลุ่มเรืออวนรุนพื้นบ้าน เป็นต้น 5. มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและอากรเครื่องมือระหว่างประมงพื้นบ้านและประมง พาณิชย์ยังขาดการพิจารณาหลักเกณฑ์อย่างเหมาะสม 6. มาตรฐานเรือ ประมงในปั จ จุบั นยังไม่ได้รับ การปรับ ปรุงให้ มีสภาพเหมาะสมกับ การ ทางานและการดารงชีพตามหลักการสากล 7. อานาจตามกฎหมายที่มอบให้แต่ละหน่วยงานเป็นสาเหตุให้เกิดช่อ งว่างทางการปฏิบัติ โดยต่างฝุายต่างทางานในส่วนของตนโดยที่ไม่ได้แบ่งปันข้อมูล หรือรับทราบกระบวนการทางาน ระหว่างหน่วยงานอื่น การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคเอกชนและประชาสังคม จากมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐประกาศบังคับใช้ เอกชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็ขานรับ นโยบายและพยายามปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เอกชนส่วน ใหญ่เห็ นด้วยกับรัฐบาลที่ให้มีการจัดระเบียบชาวประมงเพราะในระยะยาวจะเกิดผลดีต่อธุรกิจ ประมงและทรัพยากรทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับจดทะเบียนเรือออกใบอนุญาตและการ ทาบันทึกข้อมูลการทาประมง (Logbook) กับเรือทุกชนิดแม้แต่เรือประมงขนาดเล็กด้วย เพราะการ รายงานข้อมูลการจับปลาของเรือประมงทุกประเภทต่อกรมประมงนั้น จะเป็นผลดีต่อการประเมิน ค่าผลการจับสัตว์น้าสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY)ด้วย เนื่อ งจากการเรือประมงขนาดเล็กเองก็มีผลต่อค่า ดังกล่าวเช่นกัน ไม่ใช่แค่เรือ ประมงพาณิชย์ห รือเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจาก เรือประมงเล็กจะทาประมงใกล้ฝั่งซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตัวอ่ อนทั้งนี้ห ากไม่มีการทาข้อมูล ประมงชายใกล้ฝั่งก็จะไม่ได้ค่าผลการจับสัตว์น้าสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) ที่แท้จริง และจะทาให้การ คานวณขีดความสามารถการผลิตของทรัพยากรไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง จุดอ่อนและสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ดีบางมาตรการที่ออกมาบังคับใช้ส่งผลกระทบต่อภาคเอกชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นมีผลบังคับใช้ทันทีและบางมาตรการยังไม่สอดคล้องกับสภาพประมงของไทย ทาให้ ผูป้ ระกอบการธุรกิจประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งใน ความคิดเห็นของภาคเอกชนนั้นมาตรการต่างๆ มีจุดอ่อนและควรต้องปรับปรุงในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. การจัดทาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ E-license หรือ E-logbook ไม่เหมาะสม กับชาวประมงไทย เพราะเรือประมงส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ อีกทั้งไต๋ก๋งเรือไม่ได้มีการศึกษา


16

สูง ทาให้ไม่มีความรู้เรื่องระบบอิเล็กทรอนิกส์แม้จะได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม อาจทา ให้ต้องจ้างคนมาจัดทาบันทึกข้อมูลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ภาคเอกชน 2. ภาคเอกชนยังไม่เข้าใจกฎระเบียบการขึ้นทะเบียนเรือและการออกอาชญาบัตรอย่าง ชัดเจน จนอาจทาให้ยังเรือที่ติดธงไทยออกไปลักลอบทาการประมงในน่านน้าของประเทศอื่น โดยไม่ มีอาชญาบัตร ไม่มีอุปกรณ์ติดตามเรือ และไม่มีบันทึกข้อมูลการทาประมง (Logbook) 3. ตาม พ.ร.ก. ในมาตรา 10 ซึ่งห้ามเรือไร้สัญชาติทาการประมงนั้น ส่งผลทาให้ผู้ที่ใช้เรือ ทาการประมงแบบหาอยู่หากินหรือทาการประมงเพื่อบริโภคในครัวเรือน ไม่สามารถทาประมงได้อีก ต่อไป 4. ชาวประมงที่ไม่มีทะเบียนเรือ หรือมีทะเบียนเรือ แต่มีเครื่องมือทาการประมงที่ไม่ตรง กับใบอนุญาตทาประมงไม่สามารถทาการประมงได้ รวมทั้งชาวประมงพื้นบ้านบางส่วนที่ใช้เครื่องมือ ผิดกฎหมายก็ไม่สามารถออกเรือได้อีกทั้งยังไม่มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระบทอย่างเป็นรูปธรรม 5. การยกเลิกการใช้เครื่องมือประมงบางประเภทซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลทางวิชาการว่าเป็น เครื่องมือที่มีศักยภาพทาลายล้างสูง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจในหลายส่วน 2.1.3

การเพิ่มประสิทธิภาพของการควบคุมและเฝ้าระวังการทาประมงและระบบติดตาม ตาแหน่งเรือ ในอดี ตที่ผ่ า นมา รั ฐบาลไทยยัง ไม่เ คยมี มาตรการควบคุม อย่า งจริ งจั ง ในการเข้ า มา ประกอบกิจการประมงไม่มีการควบคุมกาลังการผลิตสินค้าประมง (Fishing capacity) อย่าง เหมาะสมกับสภาพทรัพยากรทางทะเลและการทาประมงอย่างผิดกฎหมายรวมทั้งยังไม่มีการนา ระบบติดตามตาแหน่งเรือแบบสากลมาใช้ ทาให้การดาเนินกิจการประมงไทยประสบปัญหาต่างๆ อันเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้าที่ลดน้อยลงส่งผลให้เรือประมงไทยจาเป็นต้อง ออกทาการประมงไกลฝั่งมากและนานขึ้นจนกระทั่งกระจายไปทั่วทั้งภูมิภาค ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามมาต่อธุรกิจการประมงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ Vessel Monitoring System (VMS) คือ ระบบติดตามเรือที่ประมงทั่วโลกนามาใช้ควบคุม และเฝูาระวังการทาประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) โดยการนาเอาเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต จุดพิกัดดาวเทียม (GPS) และเครือข่าย ของโทรศัพท์มือถือ (Global Service Mobile : GSM) มาทางานร่วมกันเพื่อให้ทราบถึงพิกัด เรือประมง (Vessel Positioning System : VPS) ได้แบบ Real time ผ่านระบบ Application ออนไลน์ รวมทั้งยังสามารถเช็คประวัติการเดินเรือประมงได้ย้อนหลัง ทาให้สามารถนาข้อมูลการ เดินเรือมาวิเคราะห์พฤติกรรมได้ ว่าเรือประมงดังกล่าวมีแนวโน้มเข้าข่าย IUU Fishing หรือไม่ แม้รัฐบาลจะตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างดีและได้พยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่จากการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการยุโรประหว่างปีพ.ศ. 2554 – 2557 พบว่าการดาเนินการ ของภาครัฐในการควบคุมและเฝูา ระวังการทาประมงผิดกฎหมายยังไม่มีป ระสิทธิภ าพ และไม่ สอดคล้องกับหลักสากลตามบทบัญญั ติของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS) ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง 2 ประเด็นสาคัญ กล่าวคือ


17

(1) ประเทศไทยไม่ มี ก ฎหมายบั ง คั บ ในการใช้ ร ะบบติ ด ตามเรื อ ประมง (Vessel Monitoring System: VMS) และการติดตังระบบฯ ยังไม่ครอบคลุม จากคาวินิจฉัยคณะกรรมาธิการยุโรป 15 ระบุอย่างชัดเจนว่า เรือประมงไทยไม่ถูกบังคับ ให้ติดตั้งระบบติดตามเรือ (VMS) เพราะไม่ได้ถูกระบุไว้ในกฎหมาย แม้รัฐบาลจะพยายามแก้ไข ปัญหาดังกล่าวโดยกรมประมงนาเสนอการโครงการนาร่องติดตั้งระบบติดตามเรือประมงในปี พ.ศ. 2554 และดาเนินการติดตั้งในเรือประมงบางส่วนในปี พ.ศ. 2557 แต่ระบบดังกล่าวยังไม่เป็นไปตาม มาตรฐานสากลและยังไม่สามารถบังคับใช้ในเรือประมงพาณิชย์ทั้งหมดได้ นอกจากนี้ปัญหาเรื่องการ ไม่มีระบบติดตามเรือประมง (VMS) ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่า งประเทศ โดยยกกรณี เรือประมงไทย 5 ลา ที่ถูกจับเนื่องจากการทาประมงผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจาเพาะปาปัวกีนี ซึ่งการไม่มีระบบและไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเรือ ทาให้รัฐบาลไทยไม่มีข้อมูลการทาประมงของ เรือดังกล่าวเหตุการณ์นี้แสดงจุดอ่อนในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศของไทย และแสดงให้ถึง ความเสี่ยงในการทาการประมงแบบ IUU อย่างกว้างขวาง16 เพราะเรือประมงไทยมีการกระจายตัว ไปนอกน่านน้าในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดียตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2554-2557 (2) ระบบการควบคุมและเฝ้าระวังการทาประมงผิดกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาเรื่องการขาดระบบติดตามเรือประมงไทยเพื่อใช้ตรวจสอบแหล่งประมงส่งผล กระทบต่อกระบวนการออกใบรับรองการจับสัตว์น้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มียังไม่มีระบบ ควบคุมและเฝูาระวังการทาประมงแบบ IUU ที่มีประสิทธิภาพและสามารถบังคับใช้ได้จริง17 เห็นได้ จากการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมาธิการยุโรปพบว่า เรือ ประมงไทยบางลาไม่มีการบั นทึกและ รายงานการเข้าออก18 การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสาคัญกับการแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็ นอย่างมาก โดยกรมประมง ร่วมกับ ศปมผ. ได้เร่งรัดดาเนินมาตรการต่างๆ เพื่อวางระบบการติดตาม ควบคุมและเฝูาระวัง (Monitoring, Control and Surveillance: MSC) รวมถึงออกกฎหมายบังคับเรือประมงพาณิชย์ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไปต้องติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (VMS) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การควบคุม กากับ ดูแลแหล่งทาประมงของเรือประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทาระบบ 15

คณะกรรมาธิการยุโรป (2558). คาวินิจฉัยคณะกรรมาธิการยุโรปวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2885 ว่าด้วยการ แจ้งให้ประเทศที่สามรับทราบความเป็นไปได้ที่จะถูก ระบุว่าเป็นประเทศที่สามที่ไม่ให้ความร่วมมือในการ ต่อต้านการทาประมงผิดกฎหมายประมงขาดการรายงานและไร้การควบคุม . (แปลจาก COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing) โดยวิชาญศิริ ชัย เอกวัฒน์และคณะ (2558, กันยายน). 16 อ้างแล้ว. 17 อ้างแล้ว. 18 อ้างแล้ว.


18

เชื่อมโยงศูนย์ควบคุมVMS กับเรือตรวจการประมงเพื่อให้มีความเชื่อมโยงการปฏิบัติงานและข้อมูล ระหว่างเรือตรวจการประมง ศูนย์ VMS และท่าเรือมาตรการที่ออกมาบังคับใช้มีดังนี้ 1. การออกกฎหมาย พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 เพื่อจัดระเบียบการประมงในประเทศ ไทยและน่านน้าทั่วไป ปูองกันการทาประมงผิดกฎหมาย รักษาทรัพยากรสัตว์น้าอย่างยั่งยืน และ รักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามแนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ ตลอดจนคุ้มครองสวัสดิภาพคนประจาเรือและปูองกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคประมง โดยเฉพาะการตั้งศูนย์ควบคุมการเข้า -ออกเรือ หรือที่เรียกว่า Port In – Port Out (PIPO) เพื่อ กากับดูแลเรือที่ออกทาการประมงจะต้องแสดงข้อมูลเรือให้ทางเจ้าหน้าที่ได้รับทราบและตรวจสอบ ทั้งออกจากท่าและกลับเข้าท่า โดยออกประกาศกรมประมงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ 2. จัดตั้งศูนย์ควบคุมการเข้า -ออกเรือเพิ่มจากเดิม 28 ศูนย์ เป็น 32 ศูนย์ กระจายตาม จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมตรวจสอบ 3. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า (Forward Inspector Point หรือ FIP) ประจาอยู่ที่ท่า เทียบเรือ 12 แห่ง เพื่อสนับสนุนการทางานของศูนย์ PIPO ในตรวจสอบตามสภาพความเป็นจริง 4. การเปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานใหม่เฉพาะกลุ่มแรงงานประมงทะเลที่ยังไม่มีเอกสาร ประจาตัวและใบอนุญาตทางานเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน จุดอ่อนและสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข 1. รัฐยังไม่มีมาตรการเพื่อความควบคุมจานวนเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ ขนาด 10 – 30 ตันกรอสอย่างชัดเจน พบว่าปัจจุบันรัฐสามารถควบคุมทรัพยากรประมงได้เพียง 25% ซึ่งเป็นจานวนของเรือประมงพาณิชย์ที่มีขนาดมากกว่า 30 ตันกรอสขึ้นเท่านั้น แต่ส่วนที่เหลือ ยังไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจากเป็นสัดส่วนของเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ขนาดต่า กว่า 30 ตันกรอส นอกจากนี้ยังไม่มีการกาหนดนิยามของประมงพื้นบ้านยังไม่ชัดเจนยังไม่มี การ จาแนกประเภทเรือประมงพื้นบ้านอย่างชัดเจน 2. การพิจ ารณาแก้ไขปั ญ หาต่างๆของภาครัฐยังขาดการมีส่ว นร่ว มในการพิจ ารณากับ ภาคเอกชนและประชาสังคม เช่น มาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆยังขาดการรับฟังความ คิดเห็นจากภาคเอกชนหรือภาคที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 3. ศูนย์ PIPO บางพื้นที่มีปริมาณงานมากเกินขีดความสามารถในบางเวลาโดยอาจมีผลต่อ ประสิทธิภาพในการตรวจสอบการแจ้งเรือเข้า-ออก 4. ศูนย์ PIPO มีข้อจากัดด้านสภาพที่ตั้งจึงไม่สามารถตรวจสอบสภาพความเป็นจริงของเรือ ที่แจ้งเข้า-ออก 5. ขาดแคลนงบประมาณในการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ PIPO และศูนย์ FIP แห่งใหม่ 6. การทางานของระบบติดตามตาแหน่งเรือ (VMS) ยังมีขีดความสามารถไม่เพียงพอต่อ การรองรับจานวนเรือที่มีมาก 7. ขาดความร่วมมือในระดับภูมิภาคหรือประเทศใกล้เคียงต่อควบคุมและเฝูาระวังการทา ประมงที่อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน


19

8. ราคา VMS ทั้งค่าติดตั้งและค่าบริการรายเดือนมีราคาสูง 9. ระบบการติดตั้ง VMS ในเรือไทยยังมีปัญหา เช่น เรื่องไฟตก ทาให้ VMS ขัดข้อง นามา ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับระบบการตรวจสอบข้อเท็จจริง ยกตัวอย่างกรณีที่ VMS ของเรือหายจากจอเรดาร์ กรมประมงก็แจ้งความจับเรือประมงเลยโดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลเพราะอาจจะเป็นความบกพร่อง ของระบบในกรมประมงเองก็เป็นได้ 10. ได้เสนอให้รัฐพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะให้กลุ่มเรือประมงพาณิชย์ขนาด 20-30 ตัน กรอสจะต้องติดระบบติดตามเรือ Pelagic Data Systems (PDS) ซึ่งมีราคาที่เหมาะสมสาหรับเรือ พาณิชย์ขนาดเล็กและเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบความถี่ของตาแหน่งเรือได้อย่างต่อเนื่องและ เมื่อเรือออกไประยะไกลกว่าสัญญาณจะแสดงผลระบบจะจัดเก็บข้อมูลตาแหน่งเรือไว้บนฐานข้อมูล ส่วนกลางที่สามารถนามาตรวจสอบได้ภายหลัง ทั้งนี้ระบบดังกล่าวยังมี censor ตัวการทาการ ประมงได้จากการนาอวนลงสัมผัสกับผื่นน้าเพื่อบ่งบอกจานวนครั้งการทาประมงของเรือลานั้นๆได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สาหรับการวิเคราะห์ชั่วโมงการทางานชองลูกเรือได้อีกด้วย การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคเอกชนและประชาสังคม การดาเนินการตามข้อกาหนดเรื่องติดตั้งระบบติดตามเรือของภาครัฐในช่วงแรกยังมี ความสับสน เช่น ไม่มีการระบุให้ชัดเจนว่าจะต้องติดอุปกรณ์ VMS เฉพาะเรือประมงที่ใช้งานหรือไม่ เพราะในข้อเท็จจริงมีเรือบางลาอยู่ระหว่างซ่อมบารุง หรือบางลาอยู่ระหว่างขอใบอนุญาต จึงถอด สัญญาณ VMS ออกเพื่อไม่ให้เสียค่าบริการรายเดือนระบบตรวจสอบ VMS ชาวประมงไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ VMS จนอาจมีการตีความและดาเนิ นการผิดบ้าง เป็นต้น ในส่วนของ ราคาการติดตั้งระบบ VMS แม้ว่าต่อมาได้มีการปรับลดราคาให้ถูกลดลงแล้วก็ตามแต่ในมุมมองของ ภาคเอกชนนั้นยังเป็นราคาที่สูงอยู่สาหรับเรือประมงพาณิชย์ขนาดเล็ก และยังชี้ให้เห็นว่าข้อบังคับ ดังกล่าวซึ่งไม่ครอบคลุมเรือประมงทุกประเภทมีผลทาให้ รัฐขาดการควบคุมการทาประมงชายฝั่ง เนื่องจากเรือประมงชายฝั่งที่ไม่ต้องติดระบบ VMS จึงสามารถลักลอบออกทาการนอกระยะทางที่ กฎหมายกาหนดได้ 2.1.4

การปรับปรุงพระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ก่อ นปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยยังใช้พ ระราชบั ญญั ติการประมง พ.ศ. 2490 เป็ น เครื่องมือในการบริหารจัดการการประมงของประเทศแต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวประกาศใช้มา เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 50 ปี ทาให้สาระสาคัญของกฎหมายในหลายๆ เรื่องไม่สอดคล้องกับ สภาวการณ์ของการประมงในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการ ดาเนินการแก้ไขปัญหาประมงไทยระหว่างการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมาธิการยุโรปจึงพบประเด็น ปัญหาที่เกิดจากกฎหมายฉบับดังกล่าว ดังนี้ (1) กรอบกฎหมาย การบริหารจัดการประมง และบทลงโทษ ไม่เป็นไปตามหลักสากลและ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ตาม UNCLOS


20

กรอบกฎหมายและการบริหารจัดการสาหรับการจัดการประมงจาเป็นต้องได้รับการ ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน เช่นไม่มีพัฒนาการของแผนการตรวจสอบ ควบคุม ตรวจสอบ และเฝูาระวัง (MCS) และพัฒนาการลงโทษที่สอดรับและยับยั้งได้ (2) ประเทศไทยมีบทลงโทษตามพ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 (ยกเลิกไปแล้ว ) และพรบ. การประมง พ.ศ. 2558 (ยกเลิกไปแล้ว) มีอัตราโทษต่า ประเทศไทยมีบทลงโทษตามพ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 (ยกเลิกไปแล้ว) และพ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2558 (ยกเลิกไปแล้ว) มีอัตราโทษต่า (3) กฎหมาย/กฎระเบียบ/ข้อบังคับเกี่ยวกับการประมงมีจานวนมากและมีความทับซ้อน พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. ประมง ฉบับเก่า มีหลายบทบัญญัติที่ไม่สามารถระบุรายละเอียด ภายในฉบับนั้นได้ จึงต้องอาศัยการออกกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อกาหนดรายละเอียดตาม บทบัญญัติ เช่น กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และคาสั่งต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันข้อบังคับเหล่านั้นยังมี ผลบังคับใช้อยู่และขัดกับกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ถูกกาหนดขึ้นในเวลาต่อมา กรมประมงเล็งเห็นถึ งปั ญหาดังกล่า วเป็นอย่า งดี จึงได้เร่งจัดทาพระราชบัญ ญั ติก าร ประมงฉบั บ ใหม่ให้ แ ล้ว เสร็จ และประกาศใช้ในวันที่ 13 พฤศจิ ก ายน พ.ศ. 2558 อย่า งไรก็ พระราชบั ญ ญั ติ ก ารประมง พ.ศ. 2558 ถู ก ยกร่ า งขึ้ น เป็ น เวลาหลายปี ก่ อ นการประกาศใช้ กฎระเบียบ IUU เนื้อหาของกฎหมายจึงไม่สอดคล้องกับหลักสากลและมาตรการ IUU อีกทั้งเนื้อหา ค่อนข้างเป็นการจัดการในภาพกว้างที่กล่าวถึงการบริหารการจัดการ กล่าวคือ ยังขาดมาตรการ ติดตาม ควบคุม และเฝูาระวังการทาการประมงในน่านน้าไทยและนอกน่านน้าไทยและเพื่อปูองกันมิ ให้มีการทาการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งยังขาดการบริหารจัดการการทาการประมง ให้สอดคล้องกับการผลิตสูงสุดของธรรมชาติให้สามารถทาการประมงได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งปัญหานี้ เป็นปัญหาที่จาเป็นควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพราะอาจมีผลกระทบต่อการบริหารจั ดการประมงของ ไทย รัฐบาลจึ งประกาศใช้พระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็ นกรณีฉุ กเฉินที่จาเป็ น เร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเนื้อหาใน พระราชกาหนดฉบับนี้ ได้เพิ่มมาตรการในการควบคุม เฝูาระวัง สืบค้นและตรวจสอบการประมง อันเป็ นการปูอ งกัน ยับยั้ง และขจัดการทาการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล และกาหนดแนวทางในการอนุรักษ์และบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรประมงและ สัตว์น้าให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน การดาเนินการแก้ไขปัญหาภาครัฐ 1. กรมประมงปรับปรุงและประกาศใช้ พ.ร.ก. การประมง 2558 เพื่อ ให้ สอดคล้อ งกับ สถานการณ์ประมงไทยในปัจจุบันและตรงตามมาตรฐานสากล 2. กรมประมงการกาหนดบทลงโทษใน พ.ร.ก. การประมง 2558ตั้งแต่มาตรา 121 เป็นต้น ไป โดยให้มีผลทางอาญาซึ่งมีโทษปรับสูงสุด30 ล้านบาท หรือปรับจานวน 5 เท่ าของมูลค่าสัตว์น้าที่ จับได้


21

3. กรมประมงมีการจัดทาบันทึกข้อมูลผู้กระทาผิด โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่ม ที่อยู่ระหว่างการดาเนินคดี (2) กลุ่มที่ตัดสินคดีแล้ว และ (3) กลุ่มที่ถูกตัดสินยกฟูอง ซึ่งผู้ที่ตกอยู่ใน กลุ่มที่ 2 นี้จะมีผลต่อการพิจารณาให้อนุญาตทาการประมงครั้งต่อไปโดยอาจจะพิจารณาอย่า ง เข้มงวดมากเป็นพิเศษ 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมประมงได้ออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการทาประมงเพื่อใช้ประกอบ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 เช่น กฎกระทวง ประกาศ กระทรวง คาสั่งกระทรวง เป็นต้น รวมทั้งยังบังคั บใช้กฎหมายอื่น และประกาศเก่าที่ไม่ขัด พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 จุดอ่อนและสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข 1. บทเฉพาะกาลของ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 กาหนดให้ใช้กฎหมายลูกที่ออกโดย พ.ร.บ การประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ การประมง พ.ศ. 2490 ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งบางฉบับขาด การทบทวนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2. คาจากัดความของเรือประมงพื้นบ้านยังไม่ชัดเจนจึงยังไม่สามารถมีมาตรการควบคุม เรือประมงพื้นบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การบั งคับ กฎหมายยังไม่ครอบคลุมเรือประมงพาณิชย์ข นาดตั้งแต่ 10-30 ตันกรอส เพราะปัจจุบันกฎหมายบังคับเรื่องการจดทะเบียนและการขอใบอนุญาตเท่านั้น แต่ไม่ต้องรายงาน ผ่านศูนย์ PIPO และติด ตั้งระบบติดตามเรือจึงอาจเป็นช่องโหว่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจประมง พาณิชย์ลดขนาดเรือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย การดาเนินการแก้ไขปัญหาภาคเอกชน กรมประมงทราบดีถึงปัญหา ข้อจากัด และความเร่งรัดของ พ.ร.ก. แต่มีความจาเป็นต้อง ออกกฎหมายในรูปแบบของ พ.ร.ก. เพราะเรื่องนี้มีความสาคัญมากและต้องการให้มีการดาเนินการ อย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดีเข้าใจเรื่องปัญหาเชิงเทคนิคและพยายามแก้ไขอยู่ พ.ร.ก. การประมง 2558 ยังต้องรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนเพิ่มเติ มโดยเฉพาะกลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อนามาปรับปรุง แก้ไข ผู้ประกอบการและชาวประมงพยายามทาตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆให้ได้มากที่สุดอีก ทั้งยังเห็นด้วยกับการปรับตามมูลค่าปลา เช่นปรับ 5 เท่าของมูลค่าที่จับได้ จุดอ่อน/สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข 1. ผู้ประกอบการและชาวประมงปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และพยายามทาตาม กฎหมายและข้อบังคับต่างๆให้ได้มากที่สุด 2. พ.ร.ก. การ ประมง 2558 มีความทันสมัยมากเมื่อเทียบกับกม. อื่นๆ ของประเทศ ทั้งใน เรื่องการมีเจตนารมณ์ของกม.ในแต่ละหมวด และมีความยืดหยุ่นให้ออกกฎหมายรองมาประกอบ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของ พ.ร.ก. ประมง 3. พ.ร.ก. การประมง 2558 มีข้ อบกพร่อ งหลายอย่า ง โดยเฉพาะอย่า งยิ่งความเร่งรัด ของพ.ร.ก. ที่ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ เ ลยทั น ที ที่ ป ระกาศใช้ น ามาซึ่ ง ปั ญ หาต่ า งมากมาย เช่ น การที่


22

กฎกระทรวงเกษตรฯ หรือประกาศกรมประมงออกมาประกาศบังคับใช้ไม่ ทันกับพ.ร.ก. ที่ออกมา แล้ว เพราะพ.ร.ก. เป็นมาตรการคร่าวๆ ที่ต้องอาศัยกฎหมายลูกต่างๆมาช่วย เห็นด้วยกับการแก้ไข พ.ร.ก. และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อพ.ร.บ. ฉบับใหม่ รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาให้ เหมาะสมและกากับดูแลหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมง 4. พ.ร.ก. ฉบั บ นี้ เป็ นกฎหมายที่ อ ยู่ เหนื อ กฎหมายอื่ นในระดับ เดีย วกั นและให้ อ านาจ พนักงานเจ้าหน้าที่มากมายซึ่งเป็นพนักงานที่ไม่มีความรู้แม้แต่น้อย พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีคุณสมบัติ โดยสิ้นเชิง เช่น ให้อานาจหัวหน้าสถานีวิทยุประมงยึดปลาจากเรือที่ผิดกฎหมาย 5. ผู้ร่างกฎหมายขาดความรู้ความเข้ าใจเกี่ยวกับการประมง ก่อ ให้เกิดผลกระทบต่างๆ มากมาย เพราะกฎหมายไม่สอดคล้องกับวิถีการทาประมง การประมงทะเลของไทยค่ อ นข้ า งซั บ ซ้ อ น เนื่ อ งจากใช้ เ ครื่ อ งมื อ หลายชนิ ด และ เรือประมงมี ขนาดแตกต่างกัน นอกจากนั้นสัตว์น้าที่จับได้มีหลากหลายชนิด (Multi-species) การ ประกอบกิจการประมง สามารถแยกได้เป็นการประมงพาณิชย์และการประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการ แยกตามชนิดของเครื่องมือประมง บริเวณทาการประมงและสภาพสังคมเศรษฐกิจ การที่การประมง ทะเลค่อนข้างมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และ เกี่ยวโยงกับกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกันเป็นจานวนมาก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ทั้งที่ เกิดจากการใช้ทรัพยากรประมงภายในประเทศเอง และที่เกิดจากผลกระทบจากภายนอกประเทศ 2.2 สถานการณ์หลังปีพ.ศ. 2558 ภายหลังจากการที่ป ระเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแจ้ งเตือ น (ใบเหลือ ง) ของ สหภาพยุโรปทางรัฐบาลได้ตั้งเปูาหมายเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาปลดใบเหลืองให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตราพระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 เพื่อปรับปรุงมาตรการ ต่างๆด้านการทาประมงในอดีตให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยมุมเน้นแก้ไขปัญหา ใน 4 ประเด็นซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.2.1 การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ 1. ให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการสืบค้นความชอบด้วยกฎหมายของสัตว์น้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์ น้าที่ได้จากการประมง (traceability) โดยกาหนดให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมง/เรือขนถ่าย สัตว์น้าและเก็บรักษาสัตว์น้า จะต้องจัดทาสมุดบันทึกการทาประมงพร้อมรายงานต่อกรมประมง และเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบการแพปลา ต้องจัดทาและกรอบข้อมูลในหนังสือ กากับการซื้อขายสัตว์น้าให้แก่ผู้ซื้อพร้อมสาเนาให้กรมประมง และผู้ผลิตสินค้าประมงหรือแปรรูป สัตว์น้าก็เช่นเดียวกันจะต้องจัดทาหลังฐานเพื่อการสืบค้น ตลอดจนผู้นาเข้า ส่งออก หรือนาผ่านสัตว์ น้า/สินค้า สัตว์น้าจะต้อ งมีใบรับรองการจั บ สัตว์น้าที่แ สดงถึ งที่มาซึ่งเป็ นการประมงที่ชอบด้ว ย กฎหมาย


23

2. ออกระเบียบว่าด้วยการยื่นคาขอหนังสืออนุญาตนาเข้าสัตว์น้าบางชนิดเข้ามาในประเทศ เพื่อผลิตส่งออกไปสหภาพยุโรป พ.ศ. 2558 เพื่อกาหนดหลักเกณฑ์และแนวทางให้ผู้ประกอบการถือ ปฏิบัติ 3. ให้ ก ารอบรมความรู้แ ก่เ จ้ า หน้า ที่จ านวน 3 ครั้ง ในการสุ่ม ตรวจสัตว์น้ าขึ้ นท่า การ ตรวจสอบข้อ มูลการบันทึกการทาประมง (Fishing Logbook) และเอกสารการซื้อขายสัตว์น้า (Marine Catch Purchasing Document: MCPD) อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าการปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับยังทาได้ อย่างไม่เต็มที่ในกลุ่มเรือประมงพื้นบ้านหรือในกลุ่มเรือประมงพาณิชย์ขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอสบางส่วน ซึ่งมีข้อจากัดในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกการทาประมงในเอกสาร Logbook เนื่องจากเป็นมาตรการใหม่ที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อนจึงต้องอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้และปรับตัว ขณะที่แนวคิดของภาครัฐที่ต้องการให้มีการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลของวัตถุดิบที่ได้จากการ ประมง ณ ท่าเทียบเรือประมง ตามมาตรา 85 นั้นได้ทาให้ภาคธุรกิจท่าเทียบเรือที่ต้องการให้บริการ แก่เรือประมงจะต้องขึ้นทะเบีย นกับกรมประมงและมีหน้าที่ต้อ งบันทึกข้อ มูลของวัตถุดิบเพื่อให้ พนัก งานที่หน้าที่สามารถตรวจสอบได้ซึ่งเป็ นภาระกับภาคธุรกิจ ท่าเทีย บเรือและสิ่งที่เป็นหั วใจ สาคัญในระบบการตรวจสอบย้อยกลับทั้งหมดคือความเที่ยงตรงในข้อมูล ความมีเสถียรภาพในทาง ปฏิบัติและความรวดเร็วในการรายงานและตรวจสอบ ซึ่งเป็นโจทย์และข้อท้าทายที่ ควรแก้ไขใน ปัจจุบัน สาหรับด้านการจัดให้มีผู้สังเกตการณ์บนเรือประมงที่ทาการประมงนอกน่านน้าเพื่อทา หน้าที่สังเกตการณ์การทาประมงและรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆเพื่อรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 51 ซึ่งโดยหลักการถือว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีแต่ควรต้องคานึงถึงประสิทธิภาพในทาง ปฏิบัติว่าสามารถทาการสังเกตการณ์ได้อย่างเต็มทีและคลอบคลุมทั้งด้านระยะเวลาการสังเกตในเรือ แต่ละลาหรือจานวนผู้สังเกตการณ์มีเพียงพอต่อจานวนเรือประมงและเรือขนถ่ายหรือไม่อย่างไร 2.2.2 การขึ้นทะเบียนเรือประมงและการออกใบอนุญาตทาการประมง 1. รับจดทะเบียนเรือ การให้ใบอนุญาตใช้เรือ และการให้ใบอนุญาตทาการประมง (อาชญา บัตร) ซึ่งจัดทาในระบบแบบออนไลน์ และ E-License ควบคุมโดยมี QR code กากับในเรือแต่ละ ลาและการทาเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์สาหรับเรือประมง (Unique Vessel Identifier – UVI) เพื่อให้เรือประมงทุกลาเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง ตลอดจนออกหน่วยให้บริการเคลื่อนที่แบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) 2. อบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรนายท้ายเรือและคนใช้เครื่องยนต์ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่ ชาวประมงที่ไม่มีใบอนุญาตนายท้ายเรือประมงซึ่งกรมเจ้าท่าจะสามารถออกใบอนุญาตให้ได้ในวัน เดียวหลังผ่านการอบรม และสามารถนาใบนายท้ายเรือไปแจ้งยังศูนย์ PIPO ในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะ มีอาชญาบัตร 3. ยกเลิกทะเบียนเรือและเพิกถอนใบอนุญาตเรือประมงที่ทาการประมงอย่างผิดกฎหมาย และมีมาตรการการจัดทาแผนกองเรือประมง โดยใช้วิธีทาสีล็อคและปิดผนึก (Seal) ตัวเรือ เพื่อ แก้ไขกรณีเรือเถื่อนที่ไม่ได้มาขึ้นทะเบียนเรือและไม่มีใบอนุญาตทาการประมง โดยจะทาลงพื้นที่


24

ตรวจสอบทุกเดือน อีกทั้งยังสร้างเครือข่ายเฝูาระวัง โดยร่ วมมือกับกลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อปูองกัน ไม่ให้มีการลักลอบนาเรือผิดกฎหมายเหล่านี้ไปใช้ 4. ออกกฎกระทรวงเรื่อ งการขออนุญ าตและการอนุญ าตให้ทาการประมงพื้นบ้า นและ ประมงพาณิชย์ โดยกาหนดว่าการออกใบอนุญาตต้องระบุประเภท ชนิด ขนาด และจานวนของ เครื่องมือทาการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทาการประมง พื้นที่ในการทาการประมง รวมทั้งปริมาณ สัตว์น้าสูงสุดที่อนุญาตให้ทาการประมงได้ หรือห้วงเวลาที่อนุญาตให้ทาการประมงได้แล้วแต่กรณี ไว้ในใบอนุญาตด้วย 5. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเยียวยาเรือประมงที่ไม่ได้รับโควตาขึ้น ทะเบียน เช่น การอนุญาตให้นาเรือไปใช้ทางด้านการท่องเที่ยว การให้สินเชื่อแก่ชาวประมงเพื่อใช้ เป็นทุนสร้างรายได้ในแบบอื่นๆเป็นต้น การเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนเรือประมงครั้งใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดและจากัดจานวน เรือประมงให้อยู่ในหลักเกณฑ์ด้าน Maximum Sustainable Yield (MSY) ตามที่รัฐยึดถือเป็น มาตรวัดสาหรับ จ านวนเรือ ให้ เหมาะสมกับจ านวนทรัพ ยากรทางทะเล แม้ว่า กระบวนการและ ขั้นตอนต่างๆในด้านการขึ้นทะเบียนเรือประมงของภาครัฐซึ่งดาเนินการในช่วงที่ผ่านมาจะไม่ประสบ ปั ญ หาในแง่ ก ารให้ บ ริ ก ารมากนั ก แต่ น โยบายการลดและจ ากั ด จ านวนเรื อ ประมงนี้ ไ ด้ ส ร้ า ง ผลกระทบต่อภาคกิจการประมงอย่างใหญ่หลวง ตัวอย่างเช่น ปัญหาเรือที่เคยออกทาการประมงได้ ในอดีตแต่ปัจจุบันกลับไม่สามารถออกทาประมงได้อันเนื่องมาจากการกาหนดพื้นที่ห้ามทาประมง การยกเลิกเครื่องมือประมงบางชนิด หรือแม้แต่เป็นเรือประมงที่ตกสารวจก็ดี (มาขึ้นทะเบียนไม่ทั น ตามที่รัฐกาหนดทั้งที่ถือครองเรือและเครื่องมือประมงอย่างถูกกฎหมาย) ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อ รายได้และการทากินของชาวประมง โดยที่รัฐมีความอ่อนแอทางด้านการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว อันได้แก่ (1) มาตรการซื้อเรือคืนจากชาวประมงที่ไม่ประสงค์ จะทาประมงต่อไปหรือไม่สามารถปรับปรุงเรือหรือเครื่องมือประมงให้เหมาะสมตามที่รัฐกาหนดได้ นั้น รัฐเองก็ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อคืนได้ทั้งหมด แม้กระทั่งเป็นสื่อกลางในการประสานให้ มีการซื้อเรือระหว่างเอกชนก็ไม่สามารถทาทาให้ได้อย่างทั่วถึงเพราะมีบางรายก็ไม่ ได้รับการติดต่อ ซื้อเรือ และกรณีที่รัฐจ่ายเงินเยียวยาให้กับกลุ่มที่เป็นเรือตกสารวจก็เป็นจานวนที่ไม่เพียงพอต่อการ ขาดรายได้จ ากการทางานของชาวประมง (2) รัฐขาดแคลนแหล่งทุนช่ว ยเหลือ หรือ ส่งเสริมให้ ชาวประมงที่ได้รับ ผลกระทบจาก (1) สามารถเปลี่ยนอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ในด้านอื่ น และ (3) หลักเกณฑ์ด้าน MSY ที่รัฐนามาใช้เป็นเกณฑ์วัดความเหมาะสมและบ่งชี้ลักษณะการ over fishing ซึ่งยังขาดการอภิปรายทางวิชาการอย่างกว้างขวางและจริงจังถึงความเหมาะสมในเชิงข้อเท็จจริงต่อ การนามาใช้กับสภาพแวดล้อมทางทะเลไทยที่มีความหลากหลายของสัตว์น้า 2.2.3 การเพิ่ ม ประสิท ธิ ภ าพของการควบคุม และเฝ้า ระวั ง การท าประมงและระบบติด ตาม ตาแหน่งเรือ 1. ออกกฎหมาย พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 เพื่อจัดระเบียบการประมงในประเทศไทย และน่านน้าทั่วไป ปูองกันการทาประมงผิดกฎหมาย รักษาทรัพยากรสัตว์น้าอย่างยั่งยืน และรักษา


25

สภาพแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามแนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ ตลอดจน คุ้มครองสวัสดิภาพคนประจาเรือและปูองกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคประมง โดยเฉพาะ การตั้งศูนย์ควบคุมการเข้า-ออกเรือ หรือที่เรียกว่า Port In – Port Out (PIPO) เพื่อกากับดูแลเรือ ที่ออกทาการประมงจะต้องแสดงข้อมูลเรือให้ทางเจ้าหน้าที่ได้รับทราบและตรวจสอบทั้งออกจากท่า และกลับเข้าท่า โดยออกประกาศกรมประมงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้า ออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ 2. จัดตั้งศูนย์ควบคุมการเข้า -ออกเรือเพิ่มจากเดิม 28 ศูนย์ เป็น 32 ศูนย์ กระจายตาม จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมตรวจสอบ 3. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า (Forward Inspector Point หรือ FIP) ประจาอยู่ที่ท่า เทียบเรือ 12 แห่ง เพื่อสนับสนุนการทางานของศูนย์ PIPO ในตรวจสอบตามสภาพความเป็นจริง 4. เปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานใหม่เฉพาะกลุ่มแรงงานประมงทะเลที่ยังไม่มีเอกสาร ประจาตัวและใบอนุญาตทางานเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน สาหรับการดาเนินการเพื่อเสริมศักยภาพในด้านการควบคุมและเฝูาระวังการทาประมง ผิดกฎหมายซึ่งรัฐได้ว่างมาตรการอย่างเข้มงวดรัดกุม โดยจัดให้เรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป จะต้ อ งติด ตั้ง ระบบติ ดตามเรื อ VMS พร้ อ มทั้ง มีก ารแจ้ ง เข้ า -ออกท าการประมงตามที่ ก าหนด อย่ า งไรก็ ต ามการด าเนิ น การตามมาตรการเหล่ า นั้ น ยั ง คงมี อุ ป สรรคที่ ไ ม่ เ อื้ อ ในทางปฏิ บั ติ ตัวอย่างเช่น ศูนย์ PIPO อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือทาให้การเดินเพื่อติดต่อค่อนข้างใช้เวลานาน หรือ ในเรือประมงบางประเภทที่ออกทาการประมงทุกวันในลักษณะไป-กลับภายใน 24 ชั่วโมง ก็ทาให้ เกิดความยุ่งยากในลักษณะที่ต้องไปมาติดต่อทุกวัน รวมถึงเรื่องให้ติดระบบติดตามเรือนั้นก็ยังทา ไม่ได้อย่างครอบคลุม กล่าวคือ การติดตั้งบังคับเฉพาะแก่เรือขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไปซึ่งยังมีกลุ่ม ขนาดต่ากว่า 30 ตันกรอสลงไปทาการประมงในลักษณะเชิงพาณิชย์ด้วย และการติดตั้งระบบ VMS นี้ก็ เ ป็ น ส่ ว นที่ ชาวประมงต้ อ งแบกรั บ ค่ า ใช้ จ่ า ยทั้ งการตั ว อุ ป กรณ์ ค่า บริก ารรายเดื อ นและค่ า บารุงรักษา ในอีกแง่มุมหนึ่งมาตรการควบคุมจานวนเรือประมงพื้นบ้านก็เป็นสิ่งจาเป็นที่ต้องคานึงถึง และมีความสาคัญในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันมีมาตรการควบคุมเรือประมงพาณิชย์ทุกขนาดอย่าง เข้มงวดจึงมีโอกาสที่เรือประมงพาณิชย์จะกลายเป็นเรือประมงพื้นบ้านเพื่อหลบเลี่ยงมาตรการของ เรือ ประมงพาณิชย์โดยไม่มีวิถีทางการทาประมงแบบพื้นบ้านแต่อย่างใด จึ งควรจะต้องกาหนด มาตรการปูองกันแนวโน้มที่อาจจะมีขึ้นด้วยการควบคุมเรือประมงพื้นบ้านให้มีลักษณะเป็นการทา ประมงด้วยวิถีทางของพื้นบ้านอย่างแท้จริงซึ่งยังมีไม่แนวทางในการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม 2.2.4 การปรับปรุงพระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 1. ปรับปรุงและประกาศใช้ พ.ร.ก. การประมง 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ประมงไทยในปัจจุบันและตรงตามมาตรฐานสากล 2. กาหนดบทลงโทษใน พ.ร.ก. การประมง 2558 ตั้งแต่มาตรา 121 เป็นต้นไป โดยให้มีผล ทางอาญาซึ่งมีโทษปรับสูงสุด 30 ล้านบาท หรือปรับจานวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้าที่จับได้


26

3. มีการจั ดทาบันทึกข้ อมูลผู้กระทาผิด โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่มที่อ ยู่ ระหว่างการดาเนินคดี (2) กลุ่มที่ตัดสินคดีแล้ว และ (3) กลุ่มที่ถูกตัดสินยกฟูอง ซึ่งผู้ที่ตกอยู่ในกลุ่ม ที่ 2 นี้จะมีผลต่อการพิจารณาให้อนุญาตทาการประมงครั้งต่อไปโดยอาจจะพิจารณาอย่างเข้มงวด มากเป็นพิเศษ 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมประมงได้ออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการทาประมงเพื่อใช้ประกอบ พ.ร.ก. การประมง 2558 เช่น กฎกระทวง ประกาศกระทรวง คาสั่งกระทรวง เป็นต้น รวมทั้งยังบังคับใช้กฎหมายอื่น และประกาศเก่าที่ไม่ขัด พ.ร.ก. การประมง 2558 อย่างไรก็ตามการตรา พ.ร.ก.การประมง 2558 ถึงบังคับใช้อย่างเร่งด่วนนั้นจึงมีปัญหา เรื่องการขาดการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นการออกกฎหมายในคราวนี้ จึง เปรียบเสมือน “ยาแรง” สาหรับการจัดการต่อปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบทลงโทษที่มี อัตราสูงเพื่อหวังเป็นการปูองปรามการฝุาฝืนซึ่งโดยหลักการนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมดีแล้ว ทว่าในด้าน บทนิย ามของเรือ ประมงพื้นบ้ านของ พ.ร.ก.การประมง 2558 ฉบับ นี้ยังไม่มีความสมบู รณ์ห รือ ชัดเจน และอีกด้านหนึ่งการจัดการอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆไม่ใช่เฉพาะด้านกฎหมายนั้นมีข้อท้า ทายอย่างมาก เนื่องจากผู้เข้าอบรมมักมาเข้าร่วมน้อยเพราะจากจะต้องทาการประมงหาเลี้ยงชีพจึง ไม่มีเวลามาเข้าร่วม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการอบรมผ่านผู้แทนกลุ่ม เช่น กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน กลุ่มสมาคมประมงต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อไม่สามารถอบรมกับผู้ทาประมงได้โดยตรงประสิทธิผล ของการจัดอบรมจึงไม่เป็นไปตามที่ต้องการเท่าที่ควร จากการนาเสนอผลการศึกษาสถานการณ์ช่วงหลังปี พ.ศ. 2558 ทาให้ ทราบถึงสิ่งที่ จะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไปในแต่ละด้าน ซึ่งสามารถสรุปแบบตารางแสดงลาดับความสาคัญได้ดังนี้

ประเด็นสาคัญในการแก้ไขปัญหาการทาประมงผิดกฎหมาย ประเด็นที่ 1 : การ ประเด็นที่ 2 : การ ประเด็ น ที่ 3 : การ ประเด็ น ที่ 4 : การ ปรั บ ปรุ ง ระบบการ ขึ้ น ท ะ เ บี ย น เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภา พ ป รั บ ป รุ ง พ ร ะ ร า ช ตรวจสอบย้อนกลับ เรื อประมงและการ ของการควบคุมและ ก าหนดการประมง ออกใบอนุ ญ าตท า เ ฝ้ า ร ะ วั ง ก า ร ท า พ . ศ . 2 5 5 8 แ ล ะ การประมง ป ระ ม ง แ ล ะร ะบ บ ก ฎ ร ะ เ บี ย บ ที่ ติดตามตาแหน่งเรือ เกี่ยวข้อง 1) การเปิ ด โอกาสให้ 1) จั ด ระเบี ย บเพื่ อ 1) อ อ ก ม า ต ร ก า ร 1) แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม การ หน่ว ยงานที่เกี่ย วข้ อ ง ควบคุ ม เรื อ ประมง จ า กั ด จ า น ว น แ ล ะ ให้ นิ ย ามความหมาย ไ ด้ ร่ ว ม ก า ห น ด พื้นบ้าน ควบคุมการทาประมง ข อ ง ก า ร ป ร ะ ม ง แนวทางในการแก้ ไ ข พื้นบ้านให้ชัดเจน พื้ น บ้ า น ใ ห้ มี มี ปั ญ หา ตลอดจนเพิ่ ม ความหมายชัดเจนและ


27

โอกาสในการหารื อ พูดคุยและรับฟังความ คิ ด เ ห็ นโ ดย เ ฉ พ า ะ ภ า ค รั ฐ แ ล ะ ภาคเอกชนโดยอาจมี สื่ อ กลางในการร่ ว ม หารือกัน 2 ) ก า ร จั ด ร ะ บ บ ตรวจสอบย้อยกลับให้ เ ป็ น ใ น รู ป แ บ บ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ค ส์ แ บบ ค ร บ ว ง จ ร ตั้ ง แ ต่ ขั้นตอนการจับถึงการ ออกใบรับ รองการจั บ สัตว์น้า 3) ทบทวนมาตรการที่ เป็ น การเพิ่ ม บทบาท หน้าที่ของท่าเทียบเรือ ตาม ม.85 ในพ.ร.ก. การประมง 2558

4) มาตรการบั ง คั บ สาหรับสาหรับประมง พื้นบ้านจะต้องเริ่มการ ก ว ด ขั น ใ ห้ ม า ก ขึ้ น หลังจากช่วงแรกมีการ ผ่อนปรนไปบ้างระยะ

เป็ น ไปตามหลั ก การ สากล

2) พิ จ า ร ณา เรื่ อ ง 2) การขยายมาตรการ ความเหมาะสมของ ควบคุมและเฝูา ระวั ง หลัก MSY ใ ห้ ค ร อ บ ค ลุ ม ถึ ง เรื อ ประมงพาณิ ช ย์ ขนาดต่ากว่า 30 – 10 ตั น ก รอ ส เช่ น ก า ร รายงานการเข้า -ออก เป็นต้น 3) ทบทวนเครื่องมือ 3) สร้ า งเครื อ ข่ า ย การทาประมงต่างๆที่ ความร่ว มมือ ระหว่า ง เสี่ ย งต่ อ การท าลาย ภู มิ ภ าคให้ เ กิ ด แนว ล้ า ง ตั ว อย่ า งเช่ น ปฏิบั ติที่เป็ นเอกภาพ อวนลากหน้าดิน เรือ ที่ ยึ ด ถื อ ตามภารกิ จ ปั่นไฟ เป็นต้น ความรับ ผิ ด ชอบของ รั ฐ เจ้ า ของธงและรั ฐ ชายฝั่ง

4) พั ฒ นารู ป ลั ก ษณ์ ของเรื อ ประมงไทย ใ ห้ เ ห ม า ะ ส ม ต่ อ สภาพความเป็ น อยู่ ของคนทางาน

4) พิ จ า รณา คว า ม คุ้ ม ค่ า เกี่ ย วกั บ การ ด าเนิ น นโยบายเพื่ อ แก้ไขปัญหา IUU ใน เ ชิ ง ข อ ง ห ลั ก เศรษฐศาสตร์ เช่ น

2) พิ จ ารณาทบทวน ก ฎ ร ะ เ บี ย บ ต า ม ก ฎ ห ม า ย เ ก่ า ฉ บั บ ต่ า ง ๆ ซึ่ ง มี ปั ญ ห า ใ น ท า ง ป ฏิ บั ติ ห รื อ ขั ด แ ย้ ง กั บ พ . ร . ก . ประมง 2558 3) การประชาสัมพันธ์ ใ ห้ ห น่ ว ย ง า น ที่ เกี่ยวข้องในทางบังคับ ใ ช้ ม า ต ร ก า ร ต า ม กฎหมายที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่ อ ให้ ก ารบั ง คั บ ใช้ เป็ น ไปอย่ า งถู ก ต้ อ ง ตลอดจนการ ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่ม ผู้ประกอบการประมง ห รื อ ชา ว ป ระ มงไ ด้ รั บ ทราบแนวปฏิ บั ติ เหล่านั้นอย่างทั่วถึง


28

หนึ่งแล้ว

การตั้งศูนย์ PIPO มี ค ว า ม คุ้ ม ค่ า ต่ อ งบประมาณที่ลงไปกับ ผลลัพธ์ที่ได้มานั้นเป็น อย่างไร 5 ) แ ก้ ก ฎ ห ม า ย ก า ห น ด ใ ห้ ก า ร อนุ ญ าตท าประมง แ ล ะ อ า ช ญ า บั ต ร เครื่องมือให้ตรงกัน


29

บทที่ 3 สถานการณ์ในด้านปัญหาแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล จากการที่สหภาพยุโรป หรือ EU ได้พิจารณาออกใบเตือน (ใบเหลือง) ให้ประเทศไทย เนื่ อ งจากการท าประมงที่ ผิ ดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้ ก ารควบคุ ม ( IUU: Illegal, unreported and unregulated fishing) ที่ประเทศไทยมีความบกพร่องอยู่หลายด้าน ประกอบ กับประเทศไทยถูกจัดอันดับในเรื่องความพยายามในการต่อต้านการค้ามนุษย์อยู่ที่ระดับต่าสุดเป็น ระดับ 3 โดยมีสาเหตุข้อหนึ่ง เกี่ย วกับ ปัญหาการใช้แ รงงานบั งคับ ในกิจ การประมงทะเล จาก ประเด็นดังกล่าวเพื่อการแก้ไขปัญหาการประมง IUU รวมถึงแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ใน กิจการประมงทางคณะทางานวิจัยฯ ได้ประมวลสถานการณ์ปัญหา จุดอ่อน และการดาเนินการเพื่อ นาไปสู่แนวทางการแก้ไขอันมีลักษณะเป็นการพัฒนาประมงทะเลไทยบนพื้นฐานของเปูาหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ และเน้นการกาหนดบทบาทที่เหมาะสมของประเทศไทยในภูมิภาค และประชาคมโลก 3.1 สถานการณ์ก่อนปี พ.ศ. 2558 จากการที่สหภาพยุโรป หรือ EU ได้พิจารณาออกใบเตือน (ให้ใบเหลือง) ประเทศไทย เกี่ยวกับการกาหนดมาตรการเพื่อปูองกันและขจัดการทาประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ที่ ประเทศไทยมีความบกพร่องอยู่หลายด้าน ประเด็นดังกล่าวมีส่วนที่เกี่ยวโยงถึงแรงงานบังคับและ การค้ า มนุ ษ ย์ ใ นกิ จ การประมงทะเลด้ ว ย จากการศึ ก ษาเอกสารผลงานวิ จั ย ที่ ผ่ า นมาพบว่ า มี สถานการณ์ประเด็นปัญหาด้านแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ซึ่งได้จาแนก เป็นประเด็นปัญหาตามตัวชี้วัดภาวะแรงงานบังคับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้ 3.1.1 ด้านการละเมิดอันเนื่องมาจากความเปราะบางของแรงงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (1) การคุ้มครองสิทธิแรงงานของลูกเรือเมื่ออยู่กลางทะเลและการรักษาความเป็นธรรม ไต้ก๋งเรือ (นายเรือ) ส่วนใหญ่บอกว่าเป็นไปได้ยากเพราะไม่รู้จะคุ้มครองอย่างไร ไต้ก๋งเรือไม่ได้รับ การอบรมใดๆ ในเรื่องสิทธิแรงงาน และกฎหมายต่างๆ ในด้านการประกอบการประมง ความรู้เรื่อง สิทธิแรงงานของไต้ก๋งเรือจึงเป็นเรื่องที่มีข้อจากัดมาก อีกทั้งโครงการให้ความรู้เรื่องสิทธิแรงงานก็ไม่ ถึงตัวไต้ก๋งทาให้ไต้ก๋งทางานโดยขาดความรู้ด้านสิทธิแรงงาน ซึ่งไต้ก๋งเป็นผู้ที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแล ทุกอย่างบนเรือ แม้กระทั่งในเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทนต่างๆ ที่ได้รับจากการหาปลามาได้ ดังนั้นทุก ชีวิตบนเรือจึงขึ้นอยู่กับไต้ก๋งเรือเพียงคนเดียว หากไต้ก๋งเรือขาดคุณธรรมก็จะส่งผลต่อลูกเรือทั้งหมด (2) ในเรื่องความเปราะบางจากผลการศึกษาของศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชียและ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศเรื่องสภาพการจ้างงานในภาคกิจการประมงทะเลไทย เมื่อปี พ.ศ. 2555 พบว่าแรงงานอายุต่ากว่า 18 ปี จานวน 33 คน ในจานวนนี้เป็นแรงงานเด็ก (อายุต่ากว่า 15 ปี) จานวน 7 คน ในเรือประมง แรงงานร้อยละ 94 ไม่มีสัญญาจ้างงาน แรงงานไม่รู้สภาพการทางาน


30

เมื่อ เกิ ดปั ญหาการเอาผิดกับ นายหน้ า และนายจ้ า งทาได้ย าก เพราะมีอิ ทธิพ ลเข้ า มาเกี่ย วข้ อ ง แรงงานไม่มีหลักฐานว่าใครคือผู้ละเมิดสิทธิของตน (3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมง ในปัจจุบันเรือประมงพาณิชย์ส่วนใหญ่จะใช้ ลูกเรือประมงเป็นแรงงานข้ามชาติซึ่งแรงงานประมงข้ามชาตินับเป็นกลุ่มแรงงานที่เปราะบางมาก ที่สุดในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ การเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ ลูกเรือทางานภายใต้เงื่อนไขที่ ไม่มีความมั่นคงเนื่องจากเป็ นแรงงานข้ า มชาติที่ไม่มีเอกสารถู กต้อง ไม่ได้จดทะเบีย น อีก ทั้งยัง เปราะบางต่อ การถูก เอารัดเอาเปรีย บเนื่องจากสภาพการทางานที่ไต้ก๋งเรือมีอานาจเด็ดขาด มี เรื่องราวที่ไต้ก๋งเรือโหดร้ายทารุณต่อลูกเรือ (4) แรงงานในไทยปัจจุบันไม่ประสงค์ที่จะทางานในกิจการประมง จึงทาให้กระบวนการ เกิดนายหน้าและรูปแบบการบังคับและล่อลวงหลากหลายรูปแบบที่นายหน้าและนายจ้างใช้เพื่อให้ แรงงานข้ามชาติทางานบนเรือประมง ชายพม่าและกัมพูชาเป็นคนกลุ่มหลักที่ถูกค้ามนุษย์เพื่อนาไป บังคับใช้แรงงานในเรือประมงไทย ประกอบกับนโยบายสาหรับการจ้างแรงงานข้ามชาติอย่างถูก กฎหมายในกิจการประมงยังมีจุดอ่อน อีกทั้งเจ้าหน้าที่บางคนก็เป็นผู้ที่ ร่วมมือให้ความสะดวกใน การเปิดทางหรือเป็นผู้ดาเนินการในการค้ามนุษย์ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามจากประเด็นปัญหาจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยได้มีข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปัญหาไว้ดังนี้  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ย วข้อ งของรัฐ และ/หรือ สมาคมประมงของแต่ละจังหวัดควรเปิ ดการ ฝึกอบรมให้กับให้กับเจ้าของเรือ ไต้ก๋ง และลูกเรือเรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงานและ กฎหมายที่ เ กี่ ย วกั บ การประมง ลู ก เรื อ ประมงควรได้ รั บ สิ ท ธิ และค่ า ตอบแทนที่ สมเหตุสมผล และควรได้จดทะเบียนแรงงานเพื่อเป็นหลักประกันให้ลูกเรือได้รับสิทธิ ต่างๆ เมื่อเรือเข้าฝั่ง อีกทั้งในการกระทาต่างๆ ต่อลูกเรือของไต้ก๋งบนเรือประมงขณะหา ปลา เช่ น การทาทารุณกรรม หรือให้ สวัสดิการที่ไม่ดีต่อลูก เรือ จนทาให้ ลูกเรือได้รับ ความเจ็บปุวยหรือทุพพลภาพหรือเสียชีวิตเจ้าของเรือควรมีส่วนรับผิดชอบด้วยในเชิง กฎหมาย  ต้องตรวจสอบไม่ให้มีแรงงานเด็กอายุต่ากว่า 18 ปีในอาชีพ ประมงทะเล และเร่งรัด ปรับ ปรุงการตรวจแรงงานประมงควบคู่ไปกับ การตรวจสอบเรือ ประมง โดยผู้ตรวจ แรงงานที่ใช้คู่มือการตรวจแรงงานที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ขององค์กรแรงงาน ระหว่างประเทศ พิจารณาจัดตั้ง “ผู้ตรวจแรงงานสมทบ” เพื่อให้มีจานวนเพียงพอต่อ การตรวจและสามารถตรวจได้อย่างยั่งยืน ให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการตรวจ เรือประมง และกาหนดเวลาที่เรือประมงจะออกไปแต่ละครั้งไม่เกิน 6 เดือน 3.1.2 การหลอกลวง พบว่ามีการหลอกลวงผ่านนายหน้าจัดหาแรงงาน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทลูกเรือที่ถูก หลอกลวงได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่นายหน้าพามาส่งให้ ส่วนมากเป็นแรงงานข้ามชาติ จากประเทศพม่า อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นแรงงานที่ถูกอ้างว่าติดหนี้ร้านคาราโอเกะและถูกพามาลงเรือเพื่อ


31

ใช้หนี้ และจากงานวิจัยพบว่าในจานวนแรงงาน 32 ราย พบว่า 17 คนเป็นผู้ที่ถูกหลอกหรือถู ก บังคับจากนายหน้าในประเทศต้นทาง 9 คน ถูกหลอกหรือบังคับจากนายหน้าในประเทศไทย และ ส่วนอีก 6 คน ถูกบังคับจากคนในครอบครัว และพบว่าร้อยละ 5.4 (32 คน) ถูกหลอกลวงหรือไม่ได้ ตั้งใจจะมาทางานประเภทนี้ (พบมากในกลุ่มประมงน้าลึก) 19 ซึ่งการถูกหลอกโดยนายหน้าทาให้ตก เป็ นแรงงานบังคับ ถื อว่า การหลอกหลวงเป็นองค์ป ระกอบหลัก ของการใช้แ รงงานบั งคับ (ตาม ข้อเสนอแนะของ ILO ตาม ILO C. 29 Recommendation R. 203) สาหรับข้อแสนอแนะจากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการถู กหลอกลวงเพื่อมาทางานใน กิจการประมงทะเลได้มีข้อเสนอแนะไว้ดังนี้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อขบวนการการค้ามนุษย์ รัฐจึงควร มีมาตรการด้านการประชาสัมพันธ์ (ทั้งแบบปูายประชาสัมพันธ์ และการประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่) เพื่อให้ความรู้และวิธีปูองกันการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์แก่ผู้หางาน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ตาม สถานีขนส่งต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์ต่อผู้ประกอบการ พนักงานตรวจของกระทรวงแรงงานควรมี การตรวจตราและประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างรับรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ถูกต้อง และให้มีการรณรงค์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการให้ความรู้และตระหนักถึงภัยและรู้เท่าทันเพื่อลด โอกาสที่ผู้หางานจะตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์และควรเพิ่มเติมเรื่องการหลอกลวงโดย นายหน้าในกรณีแรงงานบังคับในนิยามสาหรับการคัดแยกและควรจัดให้มีช่องทางการร้องเรียนที่ แรงงานประมงสามารถเข้ าถึงได้ด้วยตนเอง หรือภาครัฐประสานงานกับ ภาคประชาสังคม หรือ องค์การพัฒนาเอกชนเพื่อให้การช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างใกล้ชิด  เนื่องจากงานประมงทะเลเป็นงานหนัก สกปรกและยากลาบาก ทาให้ไม่เป็นที่นิยมและ เกิดการขาดแคลนแรงงาน จึ งทาให้เกิดเป็นช่องทางของการหลอกลวงและแสวงหา ประโยชน์เกิดขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานคนโดยใช้ การศึกษาบทเรีย นหรือแนวการปฏิบัติที่ดีจากต่างประเทศ ในส่วนของนายหน้าที่ทา หน้าที่จั ดหาแรงงาน เพื่อ ตัดเส้นทางของกระบวนการค้ามนุษย์ จึงควรมีการควบคุม นายหน้าจัดหางาน โดยควรให้มีการจัดตั้งเป็นบริษัทนายหน้าจัดหางานที่ถูกต้องตาม กฎหมาย และให้แรงงานที่ต้องการทางานไปลงทะเบียนกับบริษัทเหล่านี้ ทั้งนี้ควรขยาย ความร่วมมือระดับในประเทศโดยการทา MOU ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น จากเดิม และเพิ่มภาคประชาสังคมโดยเฉพาะ NGO และสหภาพแรงงานที่จะช่วยมี บทบาทในการคุ้มครองและการดาเนินคดีดาเนินการร่วมมือตาม MOU ที่ลงนามไว้อย่าง จริงจัง 3.1.3 การถูกโดดเดี่ยวจากสังคมและการจากัดเสรีภาพในการเดินทาง จากรายงานสถานการณ์แรงงานข้ามชาติและแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรม ต่อเนื่องประมงพื้นที่อาเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร พบว่ามีแรงงานเด็กอายุ 13 ปี ตามไปทางานกับ พ่อในเรือประมง แรงงานเด็กรู้สึกว่าทางานในเรือประมงมีเวลาพักผ่อนแต่ไม่สามารถไปเที่ยวเล่นได้ 19

ARCM and ILO. (2013). Employment practices and working conditions in Thailand’s fishing sector.


32

และยังอยากเรียนหนังสือมากกว่าไปทางาน อย่างไรก็ตามได้มีข้อเสนอแนะให้มีการรณรงค์เพื่อสร้าง ความตระหนัก ต่อ หน้ า ที่ต ามกฎหมายของบิ ด ามารดา และผู้ป กครองของเด็ก ข้ า มชาติไ ม่อ าจ หลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เช่น สนับสนุนให้เด็กเข้าถึงการศึกษา นอกจากนี้ควรตระหนัก ถึงสิทธิของเด็กและให้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก และในประเด็นการจากัดเสรีภาพในการ เดินทางพบว่าจากรายงานผลการดาเนินงานปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจาปี 2557 พบว่ามีคดีที่ผู้จัดการเรือรายหนึ่งได้กักขังผู้เสียหายอย่างน้อย 14 คน กลับไม่ได้รับ การลงโทษในข้อหามีส่วนร่วมในการค้ามนุษย์ แต่กลับได้รับการตัดสินลงโทษจาคุก 3 ปี ในข้อหาให้ ที่พักพิงแก่แรงงานต่างชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย 3.1.4 ความรุนแรงต่อร่างกายและความรุนแรงทางเพศการขู่เข็ญและการข่มขู่ จากผลการศึกษาเรื่องกระบวนการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของลูกเรือประมงทะเลไทย ศึกษากรณีเหยื่ออาชญากรรมในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ (ชาย) จังหวัดปทุมธานี พบว่ามี แรงงานประมงที่ระบุว่าตนเองถูกไต้ก๋งเรือละเมิดสิทธิ ทาร้ายทุบตี ใช้กาลังข่มขู่ บีบบั งตับให้ทางาน จนได้รับบาดเจ็บทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และจากงานการศึกษาเรื่องสภาพการจ้างงานและ การทางานในภาคประมงทะเลของไทย พบว่าร้อยละ 17 เข้าข่ายแรงงานบังคับโดยไม่สามารถออก จากงานได้แรงงานประมงร้อยละ 4.9 ถูกข่มขู่ว่าจะแจ้งเจ้าหน้าที่ และร้อยละ 25 โดยเฉพาะที่เป็น แรงงานทางานในกลุ่มประมงน้าลึกเข้าข่ายเป็นแรงงานบังคับ 3.1.5 การไม่จ่ายค่าจ้างและแรงงานขัดหนี้ การศึกษาเรื่องสภาพการจ้างงานและการทางานในภาคประมงทะเลของไทย พบแรงงาน รับรายได้เฉลี่ย 6,480 บาทต่อเดือนซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรการกาหนดค่าแรงงานขั้นต่า แรงงาน ประมงร้อยละ 12 จะถูกริบค่าจ้างหรือไม่จ่ายค่าจ้างทั้งหมด ร้อยละ 42 ถูกหักค่าจ้าง ซึ่งในจานวนผู้ ที่ถูกหักค่าจ้างทั้งหมดพบว่าร้อยละ 40 ไม่ทราบว่าถูกหักเพื่อสิ่งใดอย่างไรก็ตามได้มีข้อเสนอแนะ จากงานวิจั ยในด้า นกฎหมายควรมีก ารออกบทบั ญ ญัติเพื่อ คุ้มครองสิทธิแก่แ รงงานที่ชัดเจนต่อ แรงงานประมงทะเล รวมทั้งควรเข้ าเพิ่มบทบัญ ญัติข้อ กฎหมายที่คุมครองและดูแลเรื่องการจั ด สวัสดิการต่างๆ อาทิ การรักษาพยาบาล การทาประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพ การมีเงินค่า เยี่ยวยากรณีที่มีแรงงานเสียชีวิต และควรมีการจัดอบรมความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ให้แก่ บุคลากรและผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดาเนินการและให้ความช่วยเหลือเหยื่อได้ อย่างเท่าทันสถานการณ์ 3.1.6 สภาพการทางานและสภาพการดารงชีพที่เลวร้าย จากงานวิจัย เรื่องกระบวนการตกเป็ นเหยื่อการค้ามนุษย์ของลูกเรือประมงทะเลไทย ศึกษากรณีเหยื่อ อาชญากรรมในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ (ชาย) จังหวัดปทุมธานี พบว่า แรงงานประมงที่เป็นตัวอย่างการศึกษา ระบุว่า การทางานในห้องปลาไก่ ซึ่งเป็นห้องที่ใช้สาหรับ บรรจุปลาที่ถูกคัดทิ้ง ไม่ได้มาตรฐาน ใกล้เน่า โดยจะนาปลาเหล่านี้ไปหมักไว้ในน้าแข็ง นั้นต้องเสี่ยง กับกลิ่นแก๊สที่ฟุูงกระจายออกมา และขณะทางานมีอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้จากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ถูกตะขอที่เกี่ยวรอกดึงอวนฟาด อย่างไรก็ตามได้มีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเพื่อปรับปรุงสภาพ การทางานในเรือประมงโดยให้มีการตรวจสอบด้านอาชีวอนามัยภายในเรือประมง เช่น สุขลักษณะ


33

ภายในเรือประมง อาหารและน้าดื่มสาหรับอุปโภคบริโภค มีการจัดทาประกันสุขภาพให้แก่ลูกเรือ และตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และมีค่าชดเชยทดแทนตามสิทธิของกฎหมาย อีกทั้งเปิดโอกาสให้ แรงงานประมงสามารถจัดตั้งสมาคมซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของแรงงานประมงและสามารถ เจรจากับนายจ้างได้ โดยรัฐบาลควรดาเนินแผนการเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการ สมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว พ.ศ. 2491 (ฉบับที่ 87) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิใน การรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง พ.ศ. 2492 (ฉบับที่ 98) และขยายสิทธิดังกล่าวให้กับแรงงาน ประมงทั้งไทยและต่างชาติ 3.1.7 ชั่วโมงการทางานล่วงเวลาที่ยาวนาน พบว่าแรงงานประมงร้อยละ 28 แรงงานทางาน 17-24 ชั่วโมงต่อวัน (26.3% ระบุว่า เวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ) แรงงานมีชั่วโมงการทางานที่ยาวนาน บางรายได้นอนหลับพักผ่อนเพียง 23 ชั่วโมงต่อวันซึ่งจากงานวิจัยได้มีข้อเสนอแนะให้ในขณะทางานแรงงานควรมีกาหนดการพักผ่อนที่ เพียงพอ ดังนั้นจึงควรมีการจัดระบบการทางาน กล่าวคือ มีการจัดเวร จัดกะ ในการทางาน มีการ สับเปลี่ยนแรงงานในการทางาน 3.2 สถานการณ์หลังปี พ.ศ. 2558 จากการที่สหภาพยุโรปได้ป ระกาศใช้ก ฎระเบี ยบการปู องกัน ยับ ยั้งและขจัดการทา ประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ IUU fishing (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ซึ่งรวมไปถึงประเด็นเรื่องแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการ ประมงด้วย รัฐบาลจึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาการประมงผิดกฎหมาย หรือ ศปมผ. (Command Center for Combating Illegal Fishing; CCCIF)” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ แก้ไขปัญหาการทาการประมงผิด กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม สาหรับใน ประเด็นเกี่ยวกับแรงงานและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ศปมผ. มีคณะกรรมการนโยบาย แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทาประมงผิดกฎหมายซึ่งจัดตั้งขึ้นตามคาสั่งสานักนายกรัฐมนตรี 52/2558 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ทาหน้า ที่ก าหนดนโยบายและแนวทางปฏิบั ติในระดับ รัฐบาล และกองทัพเรือและศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศร ชล.) ทาหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของ ศปมผ. ในการปฏิบัติการทางทะเลและชายฝั่ง และปฏิบัติงาน ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่สาคัญก็คือ คาสั่ งกาหนดให้มีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า ออก (Port In - Port Out Controlling Center) และให้มีการตรวจแรงงานประมง อีกทั้งมีศูนย์ ให้บริการและอานวยความสะดวกแก่เรือประมงแบบเบ็ดเสร็จ (Fishing One Stop Service) ประจาในแต่ละจังหวัดชายทะเลตามที่ ศปมผ. ประกาศกาหนด นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประมงที่ยั่งยืนในประเทศ ภาครัฐได้มีเปูาหมายโดย การให้ความสาคัญเร่งด่วนกับ “ประมงพืนบ้าน”และ “การพ้นจากข้อกล่าวหาของ EU” เพื่อการ


34

นาไปสู่การทาประมงที่ยั่งยืนในระยะยาว 20 ซึ่งในการนี้คณะทางานศึกษาวิจัยได้ทาการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นที่สาคัญด้านแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลที่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้ดาเนินการแก้ไขปัญหาแล้ว รวมถึงจุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยสรุปได้ 4 ประเด็นหลักอันได้แก่ 3.2.1 การพัฒนาปรับปรุงระบบการจ้างแรงงานประมงทะเล 3.2.2 การตรวจแรงงานประมงทะเล และการสังเกตการณ์บนเรือเพื่อค้นหาแรงงาน บังคับและเหยื่อค้ามนุษย์ 3.2.3 การคุ้มครองแรงงานประมงทะเล 3.2.4 การคัดแยกแรงงานประมงที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์และการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 3.2.1 การพัฒนาปรับปรุงระบบการจ้างแรงงานประมงทะเล การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ก. รัฐได้มีการออกกฎหมายและแก้ไขกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานประมงทะเล ได้แก่ กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ห้ามนายจ้างจ้างลูกจ้างที่มีอายุ ต่ากว่า 18 ปีทางานในเรือประมง (ข้อ 4) และเพิ่มโทษการใช้แรงงานเด็ก , มี พ.ร.ก. การนาคนต่าง ด้าวมาทางานกับนายจ้างในประเทศฉบับใหม่ พ.ศ. 2559 เพื่อตัดวงจรการหลอกลวงของนายหน้า , มี พ.ร.ก.ประมง พ.ศ.2558 ห้า มจ้างแรงงานต่า งด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการ ทางานของคนต่างด้าว (มาตรา 11) และมีบทลงโทษเจ้าของเรือที่ใช้คนประจาเรือโดยไม่มีหนังสือ คนประจาเรือหรือไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา 153) ร่าง พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปรามค้ามนุษย์ ฉบับ ที่ 3 พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มเติมบทนิยามคาว่า “แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” เพื่อให้มีความหมาย ครอบคลุมถึงการปฏิบัติต่อบุคคลในลักษณะคล้ายทาส และการแสวงหาประโยชน์ประการอื่นโดยมิ ชอบในทานองเดียวกัน ข. กระทรวงแรงงานร่วมมือกับ ILO ได้จัดทาคู่มือเรื่องแรงงานประมงนอกน่านน้า โดยเน้น การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ ค. กระทรวงแรงงานได้จัดทาแผนแม่บทด้านแรงงาน (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมียุทธศาสตร์ การบริหารจัดการด้านแรงงานระหว่างประเทศด้วยในปี พ.ศ. 2559 จุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ดีการดาเนินการตามมาตรการต่างๆ ของภาครัฐยังมีจุดอ่อนที่ต้องได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

20

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ กล่าวไว้ในการประชุมนาเสนอร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนและแก้ไขปัญหาประมง IUU แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพุธที่ 28 กันยายน 2559


35

ก. แรงงานประมงทะเลยั ง ไม่ เ ข้ า สู่ ร ะบบการควบคุ ม ทั้ ง หมด จากการตรวจของ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมายใน ศปมผ. ยังมีแรงงานประมงที่ เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ถูกจับกุมดาเนินคดีจานวนหนึ่ง และยังมีแรงงานประมงทะเลต่าง ด้าวที่ไม่มาขอรับการผ่อนผันขออนุญาตทางานโดยถูกกฎหมายโดยไม่มีใบอนุญาตทางานภายใน เวลาที่กาหนด (กระทรวงแรงงานระบุ ว่ามีแ รงงานประมงทะเลที่มาขอผ่อนผันให้ทางานโดยถู ก กฎหมายจานวนประมาณ 140,000 คน) ข. ยังไม่มีบริษัทจัดหางานมาขอจดทะเบียนตาม พ.ร.ก. การนาคนต่างด้าวมาทางานกับ นายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 อาจเป็นเพราะข้อจากัดในการวางเงินประกันของบริษัทเอกชนที่ ต้องการจดทะเบียนที่ต้องวางเงินประกันจานวน 5 ล้านบาทตามกฎหมายกาหนด นอกจากชมรมผู้ นาเข้าแรงงานต่างด้าวให้ข้อเสนอลดเงินประกันเป็น 3 แสนบาท โดยเก็บจากทั้งบริษัทจัดหางาน และจากนายจ้างในอัตราที่เท่ากัน ค. แรงงานนาเข้ าตามข้ อตกลงความร่วมมือ ระหว่า งประเทศไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้า น (MOU) ยังมีจานวนน้อย เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านยังต้องการรายละเอียดที่สาคัญในการจ้าง แรงงาน เช่น เงื่อนไขการจ้าง อย่างไรก็ดีได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาโดยภาคเอกชนได้ไปเจรจา กับกระทรวงแรงงานของประเทศพม่าและจะมีการนาเข้าแรงงานประมงตาม MOU เพิ่มขึ้นในเร็ว วันนี้ ง. ในการปรับปรุงระบบการจ้างแรงงานประมงทะเลนั้นมีความข้องเกี่ยวอย่างแยกไม่ออก กับจานวนเรือประมง ปัญหาจากจานวนเรือประมงที่มีจานวนมากเกินไปซึ่งมีทั้งเรือที่ถูกกฎหมาย และผิด กฎหมายได้ โ ยงไปถึ งปั ญ หาแรงงานประมงที่ผิดกฎหมายด้ว ย ดังนั้ นประเด็นการการ ปรับปรุงระบบการจ้างแรงงานประมงทะเลจึงมิใช่เฉพาะหน้าที่ของกระทรวงแรงงานเท่านั้น หากแต่ ยังเกี่ยวข้องกับการดาเนินการของ ศปมผ. และกรมเจ้าท่า ฯลฯ อีกด้วย การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคเอกชนและประชาสังคม ก. ภาคเอกชนได้มีการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการเรือประมงให้เป็นสมาชิกสมาคมการประมง แห่งใดแห่ งหนึ่ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบเรือ และรายชื่อลูกเรือในเรือ ได้ ซึ่งแสดงให้ เห็ นความ พยายามจ้างแรงงานที่มีเอกสารถูกต้อง ข. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานซึ่งมีข้อเสนอเรื่ อง การจัดระบบและคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในปี พ.ศ. 2559 3.2.2 การตรวจแรงงานประมงทะเล และการสังเกตการณ์บนเรือเพื่อค้นหาแรงงานบังคับและ เหยื่อค้ามนุษย์ การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ก. มี พ.ร.ก. ประมง พ.ศ. 2558 กาหนดให้มีการตรวจแรงงานก่อนออกจากท่าเทียบเรือ โดยต้องตรวจเอกสารจานวนรายชื่อ และหนังสือคนประจ าเรือของลูกเรือ ที่จ ะออกไปพร้อมกับ เรือประมง (มาตรา 82)


36

ข. รัฐได้ตั้งคณะอนุกรรมการด้านแรงงานประมงขึ้นใน ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทา การประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เพื่อรับผิดชอบเรื่องแรงงานประมง ค. มีการตรวจแรงงานที่ท่าเรือ โดยตรวจระบบการจ่ายค่าจ้าง, ระยะเวลาที่ออกเรือ และ สัญญาจ้างงานก่อนเรือออกและกลับเข้าท่าโดยศูนย์ PIPO ง. กระทรวงแรงงานดาเนินการปรับ ปรุงให้ มีก ารตรวจแรงงานประมงควบคู่ไปกับ การ ตรวจสอบเรือประมงโดย มอบอานาจให้ข้าราชการจากหน่วยงานอื่น ได้แก่ ตารวจ ทหารเรือ กรม เจ้าท่า เป็นพนักงานตรวจแรงงาน โดยมีการฝึกอบรมตามหลักสูตรของ ILO ร่วมกับกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน จุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ดีการดาเนินการตามมาตรการต่างๆ ของภาครัฐยังมี จุดอ่อนที่ต้องได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ก. เจ้าหน้าที่ตรวจเหยื่อค้ามนุษย์ในภาคประมงทะเลยังมีจานวนไม่ครอบคลุมครบทั้ง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล และยังไม่ครอบคลุมประมงนอกน่านน้าเพราะอยู่ในระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ข. เจ้ า หน้า ที่ตรวจเหยื่อ การค้ามนุษ ย์ยังไม่ ได้รับ การฝึก ภาคปฏิบั ติให้ ทางานได้อ ย่า งมี ประสิทธิภาพ ค. จานวนพนักงานตรวจยังไม่เพียงพอกับจานวนแรงงานประมงทะเลที่ได้รับการผ่อนผัน แล้วจานวนประมาณ 140,000 คน ง. ปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจสอบแรงงานบนเรือประมงขณะทาการประมงในทะเลได้ เช่น การตรวจว่ามีขู่เข็ญบังคับให้ทางาน การประทุษร้าย การทาร้ายร่างกาย การยึดเอกสารประจาตัว การเอาคนเป็นทาส และสภาพการดารงชีพที่เลวร้ายหรือไม่ เป็นต้น จ. ศูนย์ PIPO ยังขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการคัดแยกแรงงานที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ ฉ. ทีมสหวิชาชีพคัดแยกเหยื่อค้ามนุษย์ในภาคประมงทะเลยังขาดการมีส่วนร่วมจากภาค ประชาสังคมและตัวแทนสหภาพแรงงาน การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคเอกชนและประชาสังคม ก. ภาคเอกชนโดยสมาคมประมงนอกน่านน้าได้มีการลงนามร่วมกับกรมประมง สมาคม อุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ในการติดตั้งระบบติดตามเรือหรือที่ เรียกว่า VMS เพื่อสามารถตรวจสอบติดตามพฤติกรรมเรือเกี่ยวกับการลักลอบขนถ่ายแรงงานกลาง ทะเล 3.2.3 การคุ้มครองแรงงานประมงทะเล การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ก. กระทรวงแรงงานได้ดาเนินการออกกฎกระทรวงว่า ด้ว ยการคุ้มครองแรงงานในงาน ประมงทะเล พ.ศ.2557 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับอนุสัญญา 188 ว่าด้วย การทางานในภาคประมง ตามคาแนะนาของกรรมาธิการสหภาพยุโรป เช่น (ข้อ 6) ให้นายจ้างจัดทาสัญญาจ้างเป็นหนังสือ และให้นายจ้างนาลูกจ้างไปรายงานตัวต่อพนักงานตรวจแรงงานปีละหนึ่งครั้ง นับแต่วันทาสัญญา


37

จ้าง (ข้อ 10) ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างและค่าทางานในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกาหนดเวลา (ข้อ 16) ให้นายจ้างจัดให้มีอาหารและน้าดื่มที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ห้องส้วม เวชภัณฑ์ และยา (ข้อ 17) ให้นายจ้างให้ความรู้แก่ลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการทางาน การใช้เครื่องมือ สุขภาพอนามัยสภาพความ เป็นอยู่บนเรือ และอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ ก่อนการทางาน ข. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่าง พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 โดยปรับบทนิยามคาว่า “การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมถึงการทาให้บุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ , การหลอกลวง ฉ้อฉน ใช้กาลังบังคับ, การกักขังหน่วงเหนี่ยว, การใช้กาลังประทุษร้าย, การขืนใจให้มาทางานโดย การยึดเอกสารสาคัญประจาตัวของบุคคลนั้นไว้ หรือโดยการนาภาระหนี้ของบุคคลนั้นหรือของผู้ อื่น มาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ ซึ่งทาให้แรงงานบังคับเข้าข่ายการเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ชัดเจนขึ้น เจ้าหน้าที่ จะสามารถปฏิบัติงานคัดแยกได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุ้มครองได้ดีขึ้น ค. กรมประมงได้มีการกาหนดไว้ใน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 ว่าด้วยการกาหนดให้ ก่อนนาเรือออกจากท่าต้องส่งเอกสารเกี่ยวกับการจัดระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิ ภาพในการท างานของคนประจ าเรื อ ตามที่ ก าหนดไว้ (มาตรา 82) กรมประมงจั ด อบรมผู้ สังเกตการณ์บนเรือประมงเพื่อติดตามการดาเนินการด้านต่างๆบนเรือประมงที่เกี่ยวกับการจับสัตว์ น้า จุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ก. ยังไม่มีระบบการประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุที่เหมาะสมกับสภาพการทางาน ของแรงงานประมงทะเล ข. แรงงานประมงทะเลยังไม่รู้สิทธิของตนและไม่รู้ว่าถูกละเมิดสิทธิ ตลอดจนการเข้าถึง กลไกการร้องเรียนและถูกละเมิดสิทธิ ค. ยังไม่มีกลไกการร้องเรียนที่ทันการสาหรับแรงงานที่ถูกละเมิดสิทธิบนเรือประมง ง. กฎกระทรวงกาหนดให้แรงงานต้องมารายงานตัวที่ศูนย์ PIPO ทุกปี ไม่สอดคล้องกับ ลักษณะการทาประมงนอกน่านน้าที่ออกเรืออย่างน้อย 3 ปี ขึ้นไปจึงกลับเข้าฝั่ง จ. ผู้สังเกตการณ์บนเรือยังไม่มีภารกิจในการช่วยตรวจแรงงานเพื่อให้การคุ้มครองแรงงาน บังคับและเหยื่อค้ามนุษย์ ฉ. ระบบการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกเรือประมงทะเลทุกเดือนและแสดงเอกสารการจ่ายเงินให้ แรงงานรับทราบตามกฎของกระทรวงฯ ยังไม่สอดคล้องกับสภาพการทางานของเรือประมงนอก น่านน้า ซึ่งออกไปกับเรือเป็นเวลานานและนายจ้างยังไม่สามารถจัดแสดงเอกสารหลักฐานการจ่ าย ค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างได้เป็นรายเดือน ช. แรงงานประมงที่ทางานคัดแยกปลาในเรือเป็นงานยากลาบาก เพราะแรงงานต้องทางาน ในห้องแช่ปลาที่มีอุณหภูมิต่ากว่า 0 องศา โดยขาดชุดทางานที่เหมาะสม


38

การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาคเอกชนและประชาสังคม ก. ภาคเอกชนโดยสมาคมการประมงนอกน่านน้าไทยมีการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการมีการ เร่งดาเนินการตามกฎหมายโดยเร็ว ทั้งในประเด็นเรื่องสัญญาจ้างและปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย แรงงาน ข. การร่วมงานกับภาครัฐในการช่วยเหลือลูกเรือและสมาชิกให้เกิดความเป็นธรรมในเรื่อง สวัสดิภาพการจ้างงาน เช่น กรณีลูกเรือบางส่วนที่ตกทุกข์ได้ยากบนเกาะอัมบนซึ่งมีทั้ง 2 กรณีที่เกิด ขึ้นไม่ว่าจะเป็นลูกเรือที่เกเรและลูกเรือที่ได้รับค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค. ภาคประชาสังคมโดยมูลนิธิเครือข่ ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานได้มีโ ครงการศูนย์ fisherman center เพื่อช่วยเหลือแรงงานประมงที่ถูกละเมิดและถูกหลอกลวงตั้งอยู่ 28 จังหวัด ชายฝั่งทะเล และได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือแรงงานประมง (MAST) จุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ก. ในการปฏิบัติจริงยังคงมีช่องว่างที่ยังทาให้แรงงานประมงถูกละเมิดได้ ข. การจ่ายค่าจ้างยังไม่เป็นไปตามกฎกระทรวงฯ และยังมีจุดอ่อนที่เจ้าหน้าที่จะสามารถ ตรวจสอบว่ามีการจ่ายค่าจ้างจริงตามสัญญาจ้าง 3.2.4 การคัดแยกแรงงานประมงที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์และการเข้าสู่กระบวนการยุติธ รรม การดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ก. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่าง พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปราม ค้ามนุษย์ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของการกระทาความผิดฐานค้ามนุษย์ ให้ ครอบคลุ ม ถึ ง การใช้ อ านาจครอบง าบุ ค คลด้ ว ยเหตุ ที่ อ ยู่ ใ นภาวะอ่ อ นด้ อ ยทางร่ า งกาย จิ ต ใจ การศึกษาหรือทางอื่นโดยมิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบหรือโดยให้เงิน หรือผลประโยชน์ทางอื่น ฯลฯ ข. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีการตรวจร่างกายและเยียวยาด้าน จิตใจให้แก่แรงงานประมงที่เป็นแรงงานบังคับโดยมีนักจิตวิท ยาประจาสถานคุ้มครองผู้เสียหายจาก การค้ามนุษย์ ตามพ.ร.บ. ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (มาตรา 33,39) ค. มีการตราพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และศาลอาญาแผนกคดีค้ามนุษย์ขึ้น ง. สานัก งานปู อ งกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สามารถสั่งอายัดทรัพ ย์ข อง นายจ้างที่ถูกดาเนินคดีค้ามนุษย์ได้หากได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงานในระหว่างการดาเนินคดี จ. กระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ร่วมกันทา gap analysis เพื่อบูรณาการคัดแยกเหยื่อค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานประมง จุดอ่อนที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ก. แรงงานประมงที่เป็นเหยื่อในการค้ามนุษย์ไม่กล้าแสดงตน หรือไม่กล้าร้องเรียนขณะที่ ถูกตรวจบนเรือประมง ข. เจ้าหน้าที่ของกระทรวง พม. มีจานวนไม่เพียงพอที่จะเข้าร่วมการตรวจแรงงาน


39

ค. ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนสาหรับการค้นหาและคัดแยกเหยื่อค้ามนุษย์ในแรงงานประมง ทะเลขณะที่อยู่บนเรือ ง. แรงงานประมงต่างด้าวที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์และได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมีข้อจากัด ในการทางานระหว่างการพิจารณาคดี จ. กระบวนการยุติธรรมมีความล่าช้าในการพิจารณาคดีเ กี่ยวกับการค้ามนุษย์ในกิจการ ประมงทะเล สรุปภาพรวม จากภาพรวมของสถานการณ์ด้านแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ทั้งก่อนและหลังปี พ.ศ. 2558 ทาให้สามารถเห็นพัฒนาการที่สาคัญของความพยายามทั้งหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมไทย ในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีขึ้น โดยเพิ่มตระหนักถึงสิทธิความเป็นธรรมด้านแรงงานและความยั่งยืนของทรัพยากรประมงทะเล ในความเป็นจริงแล้ว สถานการณ์ด้านแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมง ทะเลถูกให้ความสาคัญมากขึ้นภายหลังจากประเทศไทยได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุ โรปเนื่องจาก การทาประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) และจากการที่ไทย ถูกจัดอันดับในเรื่องความพยายามในการต่อต้านการค้ามนุษย์อยู่ที่ระดับต่าสุดเป็นระดับ 3 ทั้งนี้ ข้อ ค้นพบจากวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องข่าวสารที่เผยแพร่ รวมไปถึงการบอกเล่าของเหยื่อซึ่งเป็น แรงงานประมงที่ถูกละเมิดสิทธิ์และเอารัดเอาเปรียบได้สะท้อนชัดเจนว่าประเทศไทยช่วงก่อนปี พ.ศ. 2558 ยังเต็มไปด้วยปัญหาด้านแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ทั้งการละเมิด อันเนื่องมาจากความเปราะบางของแรงงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่มักถูกกระทาจากไต้ก๋งที่ขาดการอบรมและการ รับรู้เรื่องสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดจากการหลอกลวงแรงงาน อัน เกิดจากการขาดแคลนแรงงานประมงและสภาพการทางานที่ไม่ว่ าใครก็ไม่อยากทา ดังนั้นการได้มา ซึ่งแรงงานประมงจึงต้องอาศัยนายหน้าและท้ายที่สุดก่อให้เกิดกระบวนการค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงาน ประมงตามมา มากไปกว่านั้น ยังพบว่ามีแรงงานในเรือประมงที่ถูกกักขัง ถูกโดดเดี่ยวจากสังคม และ การจากัดเสรีภาพในการเดินทาง อันเนื่องมาจากการสภาพการทางานในเรือประมงที่มีพื้นที่จากัด และต้องออกทะเลไปเป็นระยะเวลายาวนาน มีกรณีที่แรงงานถูกกระทารุนแรงต่อร่างกายและเพศ ถูกขู่เข็ญและข่มขู่ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาในด้านของสภาพการทางานและที่เกี่ยวข้อง ก็ยังพบว่า มี แรงงานประมงที่ประสบกับปัญหาการไม่ได้รับค่าจ้า งที่เป็นธรรม ต้องเป็นแรงงานขัดหนี้ มีชั่วโมง การทางานล่วงเวลาที่ยาวนานและมีสภาพการดารงชีพที่เลวร้ายบนเรือประมง ผลกระทบต่อสถานการณ์ดังกล่าวได้ทาให้เกิดความกระตือรือร้นขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มผู้มีส่ว นได้ส่วนเสีย ที่เกี่ย วข้อ งในการร่ว มกันเสนอปั ญหาและแก้ไขให้สถานการณ์ด้า น แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลดีขึ้น ซึ่งในช่วงภายหลังปี พ.ศ. 2558 นี้เอง ที่ สามารถเห็นพัฒนาการอันเกิดจากความพยายามของทุกฝุายต่อการขจัดปัญหาต่างๆดังที่ได้กล่าวไป ข้างต้นแล้วให้หมดไปหลายประการ อาทิ ในด้านระบบการจ้างแรงงานประมงทะเล ภาครัฐรัฐได้มี


40

การออกกฎหมายและแก้ไขกฎหมายใหม่หลายฉบับที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานประมงทะเล เพื่ออุด ช่องโหว่และสร้างระบบการจ้างแรงงานเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งความชัดเจนประการหนึ่ง คือ การห้าม มิให้มีการจ้างแรงงานเด็กที่อายุต่ากว่า 18 ปี ในกิจการประมง นอกจากนี้ภาครั ฐและ ILO ยังได้ ร่วมกันจัดทาคู่มือเรื่องแรงงานประมงนอกน่านน้าโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ รวมทั้ง ภาคเอกชนก็ได้มีการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการเรือประมงให้เป็นสมาชิกสมาคมการประมงแห่งใดแห่ง หนึ่ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบเรือและรายชื่อลูกเรือในเรือได้ ในด้านการตรวจแรงงานประมงทะเล และการสังเกตการณ์บนเรือเพื่อค้นหาแรงงานบังคับและเหยื่อค้ามนุษย์ พัฒนาการที่ชัดเจนของ ภาครัฐ คือ การออก พ.ร.ก. ประมง พ.ศ.2558 ซึ่งมีสาระสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการตรวจแรงงานก่อน ออกจากท่าเทียบเรือ ควบคู่ไปกับการตรวจเอกสารประจาตัว สัญญาจ้างและรายละเอียดต่างๆใน สัญญาจ้างเพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานได้รับความเป็นธรรม ไม่ใช่แรงงานที่ผิดกฎหมาย และมิได้เป็นผู้ที่ ถูกบังคับจากการค้ามนุษย์ ในส่วนของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ก็ได้มีการลงนามร่วมกับ กรมประมง สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ในการติดตั้ง ระบบติดตามเรือหรือที่เรียกว่า VMS เพื่อสามารถตรวจสอบพฤติกรรมเรือและข้อมูลเกี่ยวกับลูกเรือ ในด้านการคุ้มครองแรงงานประมงทะเล หน่วยงานภาครัฐทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกรมประมง ได้มีความพยายามแก้ไขและออกกฎหมายเพื่อให้ สามารถคุ้มครองแรงงานประมงได้อ ย่างครอบคลุมในทุกๆด้า น ซึ่งรวมไปถึงการจัดระบบความ ปลอดภัย การดูแลด้านสุขอนามัยและสวัสดิภาพต่างๆของงแรงงานประมงทะเลด้วย นอกจากนี้ ภาคเอกชนโดยสมาคมการประมงนอกน่ า นน้ าไทยก็ มี ก ารรณรงค์ ใ ห้ ผู้ ป ระกอบการมี ก ารเร่ ง ดาเนินการตามกฎหมายโดยเร็ ว รวมไปถึงภาคประชาสังคมก็มีการรวมตัว กันเป็นเครือข่ ายเพื่อ ช่วยเหลือแรงงานประมงที่ถูกละเมิดและถูกหลอกลวง ในด้านการคัดแยกแรงงานประมงที่เป็นเหยื่อ ค้ามนุษย์และการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมภาครัฐโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ได้มีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ปูองกันและปราบปรามค้ามนุษย์ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้ที่ตก เป็นเหยื่อและเพิ่มบทลงโทษผู้กระทาผิดให้มากขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้น ประเทศไทยโดยความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ ประชาสังคม มีความพยายามอย่า งยิ่งในการสร้า งระบบที่สามารถจั ดการต่อ ปัญ หาดั้งเดิมด้า น แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นปัญหาที่ไทยถูกตี ค่าว่าเป็นประเทศที่ ทาประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และขาดความ พยายามในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ดังกล่าวสะท้อนว่าไทยมิได้นิ่งนอนใจและมีความพยายามเพิ่ม มากขึ้นต่อการจัดการปัญหาด้านแรงงานมาเป็นลาดับ แม้ว่าในงานวิจัยนี้จะยังพบว่ามีจุดอ่อนที่ สาคัญหลายประการที่ยังคงมีอยู่ แต่ก็เพราะจุดนี้เป็นการเริ่มต้น ซึ่งเราคงจะสามารถประจักษ์ได้กับ ความก้าวหน้าและผลลัพธ์จากความพยายามต่างๆ ทั้งการออกกฎหมายและแก้ไขระเบียบข้อบังคับ การให้ความร่วมมือและการดาเนินการของภาคเอกชน รวมถึงความร่วมมือร่วมใจจากภาคเอกชน ได้ในไม่ช้า


41

บทที่ 4 ข้อเสนอแนะ จากการบทสถานการณ์ในด้านปัญหาการทาประมงผิดกฎหมายและปัญหาการค้ามนุษย์ และแรงงานบังคับในประมงทะเลที่คณะผู้ศึกษาได้ประมวลมาในบทก่อนหน้านี้จึงสามารถจัดทาเป็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อนาเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาหรับการ แก้ปัญหาการทาประมง IUU และการจ้างแรงงานที่มีลักษณะเป็นแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ เพื่อการพัฒนาการประมงทะเลที่ยั่งยืนของประเทศไทย ข้อ เสนอแนะส่ว นนี้จัดทาขึ้ นโดยคณะ ศึกษาวิจัย ส่วนที่ 2 จะเป็นข้อเสนอแนะในภาพรวมเพื่อให้เห็นแนวทางการดาเนินการ ตามรายละเอียดจาก ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่ว นที่ 3 คื อ นโยบายที่ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงในการประชุ ม เชิ ง ปฏิบัติการครั้งที่ 3 ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการแสดงความเห็น สนับสนุนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่คณะ ศึกษาได้นาเสนอต่อที่ประชุม และอีกส่วนหนึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสาคัญสูงสุด 4.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาหรับการแก้ไขปัญหา 4.1.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก้ไขปัญหาการทาประมง IUU (1) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ประเด็นเรื่อง e-logbook และ e-MCTD  รัฐควรพัฒนา e-logbook และ e-MCTD ให้มีศักยภาพพร้อมนามาใช้รายงานข้อมูลการ ทาประมงได้อย่างสมบูรณ์ทางด้านการจัดเก็บและบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบังคับใช้ให้ครอบคลุมกับเรือประมงทุกขนาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือประมงพาณิชย์โดยเร่งด่วน และควรยกเลิกการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นเอกสารเนื่องจากมีข้อจากัดในการจัดเก็บเอกสาร และมีความล่าช้าทางด้านการสืบค้นข้อมูลเมื่อต้องการเรียกตรวจสอบในภายหลัง อีกทั้งควรศึกษา และหาวิธีการอื่นที่เหมาะสมในการรายงานข้อมูลสาหรับเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ ขนาด 10 ตันกรอสแต่ไม่ถึง 30 ตันกรอสซึ่งอาจมีข้อจากัดทางการใช้งานของ e-logbook สามารถ อนุโลมให้ใช้วิธีการอื่นๆได้แต่วิธีการเหล่านั้นจะต้องมีความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบข้อมูลได้ อย่างแม่นยาและมีประสิทธิภาพ  รัฐควรประกาศใช้และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการประมงเมื่อนามาตรการ elogbook มาบังคับใช้โดยการจัดอบรมวิธีการใช้งานกับนายเรือหรือผู้แทนนายเรือของเรือประมง พาณิชย์หรือเรือขนถ่ายสัตว์น้า (e-MCTD) ว่าจะต้องรายงานการทาประมงด้วยวิธีการ e-logbook อย่างไรเพื่อจัดเก็บข้อมูลเข้าฐานข้อมูลกลางกรมประมงได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้นายเรือหรือ ผู้แทนนายเรืออาจสามารถจัดทาข้อมูลสารองในรูปแบบเอกสารเพื่อใช้ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องของ e-logbook ได้แต่เมื่อขึ้นฝั่งจะต้องสามารถแจ้งข้อมูลเข้าฐานข้อมูลกลางโดยเร่งด่วน


42

 รัฐควรเร่งพัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลใบรับรองการขนถ่ายสัตว์น้าในทะเล (MCTD) ใน รูปแบบอิเลคทรอนิกส์ หรือ e-MCTD (ในทานองคล้ายกับ e-logbook)  รัฐควรศึกษาความเป็ นไปได้ในการนาคุณสมบัติข องระบบ Collecte Localisation Satellites หรือ ระบบ CLS หรือระบบอื่นๆเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าทางด้านต้นทุน ประสิทธิภาพและเสรีภาพให้มีทางเลือกที่หลากหลาย สาหรับการมาใช้เพื่อรายงานข้อมูลการทา ประมงแบบอิเล็กทรอนิคส์ ประเด็นเกี่ยวกับใบรับรองจับสัตว์น้า  รัฐควรเร่งพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต้นทางที่ส่งออกสินค้าหรือ วัตถุดิบในด้านการออกใบรับรองการจับสัตว์น้าเพื่อทราบแหล่งที่มาก่อนนามาแปรรูปในไทยให้มี มาตรฐานมากยิ่งขึ้นสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยา  กลุ่มผู้ผลิตและส่งออกสินค้าทางทะเลควรวางกติกาหรือมาตรการกากับภายในโดยให้ สมาชิกตระหนักถึงผลเสียในการซื้อวัตถุดิบที่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจนทั้งจากภายใน หรือนอกประเทศ โดยอาจกาหนดมาตรการลงโทษสมาชิกที่มีพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อให้มีลักษณะ การปูองปราม ประเด็นเรื่อ งการรายงานข้ อ มูลผ่า นระบบเชื่อ มโยงคาขอกลางและระบบสนับ สนุน ใบอนุญาตและใบรับรองผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมประมง(Fisheries Single Window: FSW)  รัฐควรร่วมมือกับ หน่ว ยงานที่เกี่ย วข้อ งเช่น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่ อ สาร เพื่ อ เร่ ง ด าเนิ น การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและศั ก ยภาพของระบบFSWเพื่ อ แก้ ปั ญ หาการ ตรวจสอบย้อนกลับและความรวดเร็วในการออกใบรับรองการจับสัตว์น้า รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเชื่อมโยงกับระบบNational Single Window (NSW) ซึ่งเป็นระบบการศุลกากรของรัฐ โดยรวม  รัฐควรพัฒนาและเร่งดาเนินการตามระบบ FSW ให้ครอบคลุมผู้ประกอบการธุรกิจสินค้า ประมงที่นาเข้าและส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศทั้งหมด และขยายไปยังผู้ประกอบการธุรกิจสินค้า ประมงประเภทอื่น ได้แก่ ประมงพาณิชย์ในน่านน้า ธุรกิจแปรรูป ธุรกิจปลาปุน เป็นต้น รวมทั้งให้ จัดแผนการดาเนินงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามประเมินผล การพัฒนาและการดาเนินการ  รัฐควรเร่งสร้างความเข้าใจในการใช้ระบบ Fisheries Single Window (FSW) พร้อมทั้ง เสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าประมงให้สามารถ ดาเนินการตามระบบฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้ผู้ประกอบการประมงสามารถส่งข้อมูลการ ซื้อขายสินค้าประมงและข้อมูลการจับปลาในระบบ e-Logbook ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และให้ กรมประมงสามารถออกใบรับรองการจับสัตว์น้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น


43

ประเด็นเกี่ยวกับท่าเรือและแพปลา  รัฐควรพิจารณาทบทวนมาตรการตามมาตรา 85 21 ใน พ.ร.ก. การประมง 2558 ซึ่ง กาหนดให้ท่าเทียบเรือประมงและกิจการแพปลาต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจับสัตว์น้า เพื่อลด ขั้นตอนและความยุ่งยากของผู้ประกอบธุรกิจประมงเนื่องจากการนาระบบ e-logbook หรือ ERS มาบั งคับ ใช้แ ล้ว เจ้ า หน้า ที่สามารถตรวจสอบข้ อ มูลได้จ ากฐานข้ อ มู ลกลางกรมประมง อี ก ทั้ง ผู้ ประกอบกิจการแพปลาหรือผู้ซื้อสินค้าประมงสามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบปริมาณวัตถุดิบ หรือสินค้าประมงได้ระหว่างการซื้อขายซึ่งเป็นไปตามกลไกการซื้อขายตามปกติ ผู้สังเกตการณ์บนเรือ (Observer Onboard)  รัฐควรพิจารณาความเหมาะสมตามประการกรม 22เรื่องการกาหนดให้มีผู้สังเกตการณ์ ประมงลงปฏิบัติการบนเรือประมงที่ไปทาการประมงในเขตนอกน่านน้าไทยเนื่องจากมีข้อจากัด หลายประการ โดยภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือเพื่อให้ระบบผู้สังเกตการณ์บ นเรือมีผลในทาง ปฏิบัติ เช่น ปัญหาการแบกรับค่าใช้จ่ายของภาคเอกชนซึ่งเห็นว่าสูงเกินไปสาหรับอัตราที่รัฐกาหนด จึงต้องสร้างความเข้าใจหรือเจรจากับภาคเอกชนเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน หรือปัญหาเรื่องระยะเวลา การปฏิบัติงานบนเรือของผู้สังเกตการณ์ที่มีลักษณะการตรวจสอบที่สั้นเพียงร้อยละ 5 ของจานวน การลงแรง เป็นต้น (2) การขึ้นทะเบียนเรือประมงและการออกใบอนุญาตทาการประมง  รัฐควรกาหนดระยะเวลาการเปิดขึ้นทะเบียนหรือการออกใบอนุญาตด้านต่างๆ เช่น ทะเบียนเรือ อาญาบัตรประมง โดยจัดให้มีการดาเนินการที่พร้อมเพียงและมีช่วงเวลาที่ยาวนาน เพียงพอสาหรับการเดินทางมาขึ้นทะเบียน/ขออนุญาต รวมถึงติดตามแนวทางการทางานของหน่วย ให้บริการเคลื่อนที่แบบเบ็ดเสร็จ One Stop Services ให้สามารถบริการได้อย่างทั่วถึง  รัฐควรร่วมมือกับภาคเอกชนในการประชาสัมพันธ์และจัดประชุมชี้แจงในพื้นที่เกี่ยวกับ มาตรการต่างๆซึ่งอาจเป็นมาตรการใหม่ที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่คุ้นเคยเพื่อให้ผู้ประกอบการประมงได้ ทราบล่วงหน้าและมีเวลาเตรียมตัวต่อการบังคับใช้มาตรการเหล่านั้น  รัฐควรเร่งออกมาตรการและดาเนินการการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการประมงที่ได้รับ ผลกระทบจัดระเบียบการประมงครั้งใหม่ เช่น กลุ่มเรือตกสารวจ (มาขึ้นทะเบียนไม่ทัน) หรือกลุ่ม ประมงที่ใ ช้เครื่อ งมือ ผิดกฎหมาย (ซึ่งเป็ นประเภทที่เพิ่งยกเลิก ใหม่) ดังนี้ (1) จั ดหาสินเชื่อ ให้ ชาวประมงนาเป็นทุนการปรับเปลี่ยนเครื่องมือให้ถูกต้อง (2) สนับสนุนหาอาชีพอื่นและฝึกอบรม 21

มาตรา 85 เจ้าของท่าเทียบเรือประมงตามมาตรา 84 หรือผู้ประกอบกิจการแพปลาต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ เรือประมงทุ กลาที่เ ข้าใช้ บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้า หรือ นาสัตว์น้าหรื อผลิตภัณฑ์สั ตว์น้ามาขึ้นท่ าเทีย บ เรื อ ประมง และต้ อ งเก็ บ บั น ทึ ก ไว้ เ พื่ อ ให้ พนัก งานเจ้ าหน้ า ที่ ส ามารถตรวจสอบได้ ตามรายการ วิธีก าร และ ระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกาหนด 22 ประกาศกรมประมง เรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ประจาอยู่ในเรือประมงสาหรับผู้ได้รับ ใบอนุญาตให้ทาประมงนอกน่านน้าไทย พ.ศ. 2558


44

วิชาชีพให้แก่ชาวประมงที่ไม่ประสงค์จะทาอาชีพประมงต่อ เช่น อาจเจรจาปรับเงื่อนไขการรับจานา เรือหรือการพักชาระหนี้สินสาหรับชาวประมง (3) จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ช่วยเหลือต่างๆ เช่น การซื้อ เรือคืน เป็นต้น  รัฐควรทบทวนมาตรการยกเลิกเครื่องมือประมงบางชนิดโดยอาศัยข้อบ่งชี้ทางวิชาการที่ ได้จากการศึกษาวิจัยเพื่อแสดงให้เห็นผลการทาลายของเครื่องมือเหล่านั้นอย่างแท้จริงและคานึงถึง สภาพพื้นที่เหล่านั้นด้วยว่าหากยกเลิกเครื่องมือบางประเภทไปแล้วผู้ประกอบการประมงจะสามารถ ใช้เครื่องมือประเภทอื่นทดแทนได้โดยสามารถสร้างผลกาไรได้อย่างเพียงพอซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อ การดาเนินธุรกิจ  รัฐควรพัฒนามาตรฐานเรือประมงให้มีความเหมาะสมต่อการดารงชีพและการทางาน โดยอาจพิจารณาจากแนวทางของ SEAFDEC (3) การเพิ่มประสิ ทธิ ภ าพของการควบคุม และเฝ้า ระวั ง การท าประมงและระบบ ติดตามตาแหน่งเรือ ประเด็นด้านการควบคุมและเฝูาระวัง  รัฐควรออกมาตรการจากัดจานวนเรือประมงพื้นบ้านโดยให้จดทะเบียนในนามบุคคล ธรรมดา และกาหนดโควตาการถือครองเรือให้จดทะเบียนได้ไม่เกินกว่า 1-2 ลาต่อ 1 คน และขณะ ทาการประมงเมื่อ ถูก ตรวจสอบจะต้องเป็นผู้เดียวกันกับที่ได้รับ อนุญ าต (เพราะถ้ ามีจานวนเรือ มากกว่า 1 ลา นั้นอาจส่อเจตนาทาการประมงลัก ษณะพาณิชย์จึ งควรเพิ่มขนาดเรือ แล้วไปจด ทะเบียนเป็นเรือประมงพาณิชย์แทน)  รัฐควรพิจ ารณาหาแนวทางในการควบคุมและเฝูา ระวังเรือ ประมงพื้นบ้ า นและเรือ พาณิชย์ขนาด 10-30 ตันกรอส ขึ้นไป เช่น อาจให้ทุนหรือสิทธิพิเศษสนับสนุนแก่สมาชิกสมาคม ประมงพื้นบ้านและสมาคมประมงพาณิชย์ในน่านน้าเพื่อเป็นการจูงใจให้เรือประมงประเภทต่างๆ รวมกลุ่มอยู่ภายใต้สมาคม เพื่อใช้กลไกภายในของสมาคมควบคุมสมาชิกให้มีแนวทางประกอบการ ประมงเป็ น ไปตามกฎระเบี ย บของรั ฐ อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น แนวทางซึ่ ง ท าให้ เ กิ ด การสอดส่ อ งดู แ ล ผลประโยชน์ส่วนร่วมของกลุ่มเหล่านั้นไม่ให้เกิดความเสียหายอีกทางหนึ่ง เป็นต้น  ควรให้มีจัดตั้งกลไกร่วมภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม เช่น การตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อ พิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยให้มีภาคเอกชนและภาคประชาสังคมได้เข้ามาร่วมกันดาเนินการ อย่างสมานฉันท์เพื่อการทางานที่เป็นเอกภาพรับรู้สภาพการทางานและทาความเข้าใจร่วมกันทุก ภาคส่วน  รัฐควรทบทวนการออกมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาลให้มีการพิจารณา อย่างรอบคอบโดยให้โดยคานึงถึงผลกระทบหรือความเสียหายที่จะมีขึ้นกับภาคส่วนเอกชน ซึ่งอาจมี การเปิดโอกาสให้มีการับฟังความคิดเห็ นจากฝุายที่มีส่ว นได้ส่ว นเสีย รวมถึ งเจ้าหน้าที่ ผู้กาหนด มาตรการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจวิถีการทาประมงอย่างถ่องแท้


45

 รัฐควรทบทวนแนวคิดการเพิ่มศูนย์ควบคุมฯ เช่น ศูนย์ PIPO และศูนย์ FIPโดยพิจารณา ความเป็นไปได้อย่างรอบคอบโดยคานึงถึงความคุ้มค่าและความจาเป็นในระยะยาว เช่น เรื่องการ จัดสรรงบประมาณเพื่อดาเนินการ บุคลากรประจาศูนย์ฯ และสถานที่ตั้งศูนย์ฯ ปริมาณงาน ซึ่งอาจ เป็นต้นทุนที่สูงและไม่คุ้มค่าในระยะยาว ประเด็นด้านติดตามตาแหน่งเรือ  ควรศึก ษาความเป็ น ไปได้ในการนาคุณสมบั ติ ข องระบบ Collecte Localisation Satellites (CLS) หรือระบบอื่นเพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าทั้งด้านค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและ ค่าบริการ ตลอดจนค่าการบารุงรักษากับระบบ VMS ที่ใช้ในปัจจุบัน  รัฐควรเพิ่มการเจรจาเพื่อสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศให้มีมาตรการควบคุมและเฝูา ระวังการทาประมงตามบทบาทหน้าที่ของรัฐเจ้าของธงและรัฐชายฝั่งให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เช่นกรณี เรือไทยไปทาประมงในทะเลของรัฐชายฝั่งจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐชายฝั่งนั้นๆซึ่งจะต้อง ตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์ที่ผ่านการเจรจาระหว่างรัฐ (4) การปรับปรุงพระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง  กรมประมงควรพิจารณาทบทวนยกเลิกกฎระเบียบต่างๆที่ยังมีผลบังคับใช้ตามบทเฉพาะ กาลใน พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 ที่มีความขัดกันกับกฎระเบียบข้ออื่นๆ ให้เหมาะสมสอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบัน  รัฐควรแก้ไขนิยามคาว่า “ประมงพื้นบ้าน” ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยศึกษาจากบท นิยามตามThe Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAOและ นามากาหนดในกฎหมายโดยให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนและสอดคล้องกับสังคมไทย  รัฐควรจัดการอบรมและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ ในปั จ จุ บั น ต่ อ ผู้ ป ระกอบธุ ร กิ จ และเจ้ า หน้ า ที่ ผู้ ใ ช้ ก ฎหมายเพื่ อ เรี ย นรู้ แ ละน าไปปรั บ ปรุ ง การ ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่  รัฐควรกาหนดให้เรือประมงขนาดตั้งแต่ 10-30 ตันกรอส ทุกประเภทเครื่องมือซึ่งถือว่า เป็นเรือประมงพาณิชย์ควรต้องแจ้งรายงานการเข้าออกลักษณะใดลักษณะหนึ่งเพื่อการตรวจสอบ ด้านการทาประมงให้ถูกกฎหมาย ผ่านการรายงาน และมีการควบคุมอย่างเต็มรูปแบบ ประมวลข้อเสนอแนะเร่งด่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาการทาประมง IUU จากข้ อ เสนอแนะที่ ไ ด้ น าเสนอทั้ ง หมด 4 ด้ า นนั้ น สามารถประมวลออกมาเป็ น ข้ อ เสนอแนะเพื่อ การแก้ไขอย่า งเร่ง ด่ว นต่อ การทาประมงในลัก ษณะ IUU ได้ 4 ประเด็นใหญ่ ดังต่อไปนี้


46

(1) พัฒนาแนวทางลดผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ก. สาหรับประมงพาณิชย์ ในน่านน้า  รัฐควรให้ความสาคัญต่อการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการประมงอย่างจริงจังและ แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมแก่กลุ่มผู้ประกอบที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการลดจานวนเรือและ เข้มงวดในการขึ้นทะเบียนเรือ เช่น กลุ่มเรือตกสารวจ กลุ่มที่ไม่สามารถทาประมงได้เนื่องจากใช้ เครื่องมือที่เพิ่งถูกสั่งยกเลิกไป เป็นต้น สาหรับแนวทางการช่วยเหลือ รัฐควรจัดตั้งกองทุนเพื่อการ บรรเทาความเดือดร้อนจากการสูญเสียรายได้เพื่อการดารงชีพ หรือเป็นทุนสาหรับการเปลี่ยนอาชีพ ใหม่และรับซื้อเรือ หรือการพักชาระหนี้ชาวประมง  รัฐร่วมมือกับภาคเอกชนและภาควิชาการนาองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนามา สร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ภาคบริการ หรืออุตสาหกรรมทั้งนี้จะต้อง มีการวิจัยสารวจความต้องการของภาคส่วนเหล่านั้นอย่างชัดเจนก่อนซึ่งอาจจะเป็นตลาดภายในหรือ ภายนอกประเทศก็ได้ นอกน่านน้า  รัฐควรเพิ่มบทบาทในการสนับ สนุนการดาเนินธุรกิจ ของกิจ การประมงพาณิชย์นอก น่านน้าเพื่อส่งเสริมธุรกิจด้านประมงพาณิชย์นอกน่านน้าซึ่งสามารถนาไปสู่การผลประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจของรัฐได้ในทางอ้อม โดยอาจอาศัยกลยุทธ์ในการเจรจาเพื่อเปิดพื้นที่การทาประมงนอก น่า นน้าในกลุ่มประเทศที่ค่า ความเหมาะสมกับ การแบ่ งบั นทรัพ ยากรทางทะเลที่อยู่ในเกณฑ์สูง รวมถึงการให้ความสาคัญต่อการช่วยเหลือกรณีเรือประมงพาณิชย์นอกน่านน้าประสบปัญหาในรัฐ ต่างแดนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาวไทย  รัฐควรเน้นการรับฟังความคิดเห็นและข้อจากัดในการดาเนินงานจากทุกฝุา ยที่เป็นผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียตามสภาพข้อเท็จจริง โดยร่วมกันหาทางออกในการกาหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ต่างๆอย่างสมานฉันท์เพื่อลดความขัดแย้ง ความเป็นปรปักษ์ต่อกันระหว่างรัฐกับเอกชน ข. มาตรการสาหรับประมงพื้นบ้าน  รัฐกาหนดแนวทางในการปฏิบัติเพื่อทาความเข้าใจกับประมงพื้นบ้านถึงความจาเป็นและ ความสาคัญในการจัดระเบียบเพื่อการแก้ไขปัญหาการทาประมงอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะมาตรการ ควบคุมจานวนเรือและยกเลิกเครื่องมือบางประเภทซึ่งไม่เคยบังคับใช้มาก่อน เช่น ควรมีการศึกษา อย่างรอบรอบเกี่ยวกับความเหมาะสมในการยกเลิกเครื่องมือประมงอันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้อง พิจารณาเป็นพื้นที่ๆไปเพื่อให้กลุ่มประมงพื้นบ้านสามารถดารงชีพอยู่ได้ต่อไปอย่างปกติ  รัฐควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงประมงทะเลโดยเฉพาะสัตว์น้าเศรษฐกิจในเขตน่านน้าเพื่อลดปริมาณ สัดส่วนการจับปลาตามธรรมชาติซึ่งเป็นแนวทางคงความสมดุลทางด้านทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน และยังเป็นการสร้างอาชีพของประมงพื้นบ้านได้อีกทางหนึ่ง


47

ค. มาตรการสาหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง  รัฐควรมีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายและมาตรการต่างๆต่อภาค ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น กิจการแพปลา ท่าเทียบเรือ ธุรกิจน้าแข็ง ธุรกิจห้องเย็น ธุรกิจปลาปุน ธุรกิจ แปรรูปอาหารทะเล ซึ่งล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการลดศักยภาพเรือ เป็นต้น ซึ่งอาจได้รับ ผลกระทบจากผลพวงตามมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดในด้านประมง ง. มาตรการสาหรับชุมชนที่พึ่งพาธุรกิจประมง  รัฐควรมีการศึกษาผลกระทบเชิงสังคมที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การดารงเลี้ยงชีพ ชุมชนพื้นบ้านชายทะเล ฯลฯ เพื่อประเมินและ ทบทวนความเหมาะสมสาหรับ กฎหมายและมาตรการเหล่า นั้นที่มีผลบั งคับ ใช้เพื่อ นาไปสู่ก าร เตรียมการรับมือหรือลดผลกระทบที่อาจมีขึ้นในอนาคต (2) การทางานแบบบูรณาการและส่งเสริมธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐ ก. การทางานแบบบูรณาการ  หน่วยงานภาครัฐทั้งสังกัดเดียวกันและต่างสังกัดตลอดจนภาคเอกชนธุรกิจควรมีแนว ทางการทางานอย่างใกล้ชิด โดยเน้นความสาคัญ แก่ทุก ฝุา ยให้ มีส่ว นร่ว มในการเสนอแนะแนว ทางการดาเนินงานตามความเหมาะสม รวมถึงการบูรณาการบริหารจัดการข้อมูลการจัดเก็บและ การเข้ า ถึ ง โดยทุ ก หน่ ว ยงานที่ เ กี่ย วข้ อ งให้ ส ะดวกและมี ป ระสิ ท ธิภ าพเช่ น ควรพั ฒนาและน า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเหลือการดาเนินงานให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นการลดปัญหาความล้าช้า และข้อผิดพลาดในทางปฏิบัติ เป็นต้น ข. การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ  รัฐควรพัฒนาการปลูกจิตสานึกและความรับผิดชอบในภารกิจหน้า ที่ รวมทั้งจิตบริการ (service mind) ต่อผู้รับบริการ เช่น การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์และกิจกรรมปรับกระบวน ทัศน์ในองค์กร อีกทั้งพัฒนาระบบการยกย่องเชิดชู  รัฐควรทบทวนการดาเนินงานในทางปฏิบัติในบางด้านและพัฒนาระบบหรือมาตรการใน การแก้ไขปั ญหาที่ไ ด้ผล เช่น การลดขั้ นตอนที่ ไม่จ าเป็ น เพื่อ ให้ ค วามสะดวกและลดภาระของ ผู้ป ระกอบการธุรกิจ ประมง การเพิ่มประสิทธิภ าพและความโปร่งใสในการตรวจสอบเอกสาร Seaman Book ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ทางานในแรงงานประมง เพิ่มความเข้มงวดกวดขันในการ ลงโทษผู้กระทาผิด รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมมืออย่างเข้มแข็ง (3) การทางานร่วมกันแบบหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จั ด ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการร่ ว มภาครั ฐ ภาคเอกชน และประชาสั ง คมภายใต้ คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ และในบางกรณี อาจมีคณะทางานระดับพื้นที่เพื่อ ร่วมกันรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันและหาทางแก้ไขปั ญหาร่วมกัน ตลอดจนร่วมกันรับผิดชอบ ในการดาเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละฝุาย โดยอาจพิจารณาแยกเป็นคณะอนุกรรมการต่างๆ สาหรับแต่ละประเด็น


48

(4) การทบทวนแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัด การท าประมงที่ผิด กฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม  รัฐควรมีการทบทวนแผนระดับชาติโดยใช้ผลการศึกษาวิจัยฉบับนี้และข้อมูลสถานการณ์ ปั จ จุ บั นประกอบกับ ความคิดเห็ นของผู้มีส่ว นได้ ส่ว นเสีย โดยเฉพาะภาคเอกชนเพื่อ การพัฒนา ปรับปรุง  รัฐควรมีการติดตามการใช้แผนระดับชาติ และการดาเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้ ได้ข้ อ เท็จ จริง และควรจั ดทาข้ อเสนอแนะในการปรับ ปรุงแผนตลอดจนรายงานว่า มีก าร ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะหรือไม่อย่างไร สรุปข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการทาประมง IUU ดังที่สหภาพยุโรปมีจุ ดมุ่งหมายสาคัญ ของการก าหนดมาตรการ IUU เพื่อให้นานา ประเทศยกระดับการจัดการประมงทะเลอย่างยั่งยืน และเพื่อรักษาทรัพยากรและแหล่งอาหารไว้ สาหรับอนาคตอันเป็นผลพวงมาจากปัญหาความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) โดยองค์การ อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization – FAO) ได้กาหนด เป็นปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่ทั่วโลกกาลังเผชิญและต้องสร้างมาตรการรับมือกับความท้าทาย เพื่อความอยู่รอดของประชาคมโลก ดังกรณีปัญหาความมั่นคงทางทรัพยากรอาหารทางทะเลซึ่ง กาลังอยู่ในสภาวะที่ควรพิจารณาวางแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัญหาการประมงในไทยจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อาหารทั้งหมด แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้ นก็ได้สะท้อ นวิก ฤตห่ ว งโซ่อุป ทานของอุตสาหกรรมประมงซึ่งเชื่อมโยงกับ นโยบายประมงโลกอย่างชัดเจน ดังนั้นแนวทางการดาเนินการของไทยด้านการแก้ไขปัญหา IUU กิจการประมงในปัจจุบันจึงเป็นการออกมาตรการแบบมีลักษณะเด็ดขาดและเร่งด่วนเพื่อมุ่งปลด “ใบเหลือง” และให้ความสาคัญกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระยะสั้นของอุตสาหกรรมประมง อาจจะเป็นการแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารได้เพียงผิวเผินเท่านั้น และหากภาครัฐละเลยมิติ การพัฒนาอย่างยั่งยืนในเรื่องการฟื้นฟูท ะเลและทรัพยากรชายฝั่ง รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรม ประมงทะเลของไทยให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน มาตรการและข้อกฎหมายต่างๆ ที่ออกมานั้นจึงไม่ก่อให้ ผลประโยชน์ต่อทรัพยากรทางทะเลของไทยอย่างแท้จริง และอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก ด้วย จากสภาพการณ์ดังกล่าวจึงขอเสนอให้มี การปฏิรูปแนวทางการพัฒนาการจัดการด้านประมง อย่างยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ที่แท้จริงซึ่งมิใช่เพียงการ “ใบเหลือง” แต่เป็นการวางแนวทางเพื่อแก้ไข ปัญหาความมั่นคงทางอาหารอย่างมีกลยุทธ์ โดยอาศัยการศึกษาและวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ว่า มีปั จ จั ย ใดที่เป็ นปั จ จั ย สาคัญ และมีสัดส่ว นความเสีย หายมากที่สุดทั้งระยะสั้นระยะยาวเพื่ อ ประเมิ น แนวทางการแก้ ไ ขปั ญ หาได้ อ ย่ า งตรงจุ ด ตามกรอบแนวคิ ด ดั ง นี้ โดยมุ่ ง ค านึ ง ถึ ง การ


49

ตอบสนองต่อปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารทะเลและความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้นนั้นเป็น หัวใจสาคัญเพื่อได้มาซึ่งผลลัพธ์อย่างยั่งยืน

แรงขับเคลื่อนระดับต่างๆ

แรงกดดันต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรมทางทะเล การลดลงของทรัพยากรประมงทะเลกระทบต่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน ผลกระทบต่อมิติต่างๆ ด้านความมั่นคงของมนุษย์ การตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าวอย่าง เหมาะสม นอกเหนือจากกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางคณะทีมศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะ แก่รัฐควรตระหนักถึงแนวทางดังต่อไปนี้เพื่อเสริมศักยภาพด้านการจัดการประมงและอุตสาหกรรม ประมงไทยในอนาคตให้ มั่นคงระยะยาวเพิ่มเติมในท้า ยของข้ อเสนอแนะด้า นการทาประมงผิด กฎหมาย IUU นี้ประกอบด้าน 4 ข้อดังต่อไปนี้ 1.

รัฐ ควรให้ ค วามส าคั ญ ในการพั ฒ นาการเพาะเลี้ ย งสั ต ว์น้ าให้ ม ากขึ้ น และไม่ พึ่ ง พา ทรัพยากรทางทะเลจากการประมงแต่เพียงอย่างเดียวรวมทั้งพัฒนาศักยภาพการบริหาร จัดการทรัพยากรประมงให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


50

2.

รัฐควรพิจารณาความเหมาะสมความและความถูกต้องขององค์ความรู้ที่จะนาไปใช้ใน การแก้ปั ญหาระดับต่า งๆเช่น หลัก การ MSY ที่ก รมประมงนามาใช้ในการประเมิน ปริมาณสัตว์ที่น้าสูงสุดที่จะจับมาใช้ประโยชน์ยังมีความเข้าใจอย่างจากัดเฉพาะกลุ่มและ ขาดหลักฐานและข้อมูลเชิงประจักษ์ เนื่องจากหลักการ MSY เป็นการประเมินทรัพยากร ประมงหลากหลายชนิดแบบง่าย (Simple Species) ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพทรัพยากร สัตว์น้าของไทยที่มีความหลากหลายมาก และวิถีการประมงที่มีการใช้เครื่องมือประมง หลายชนิดดังนั้นรัฐควรเจรจากับสหภาพยุโรปเรื่องการใช้หลัก MSY เนื่องจากบริบทการ ประมงไทยมีความซับซ้อนและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ และกรมประมงควรพัฒนา หลักการ MSY ให้เข้ากับบริบทและทรัพยากรสัตว์น้าทางทะเลของไทย เพราะประเทศ ไทยมีทรัพยากรสัตว์น้าหลายชนิดและเครื่องมือการประมงที่หลากหลาย

3.

รัฐควรเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่ างๆในการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นธรรมชาติ ของการแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ที่มีผู้เกี่ยวข้องจานวนมากและเป็นปัญหาปากท้องใน หลายระดับมีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบในทางบวก (เสมือน) ไม่ได้รับผลกระทบและได้รับ ผลกระทบในทางลบการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องทาอย่างเป็นระบบมองอย่างครบทุกมิติ และมีการบูรณาการกันอย่างแท้จริงมิเช่นนั้นการแก้ปัญหาอาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของปัญหาอื่นๆเพิ่มขึ้นมาอีกก็ได้

4.

รัฐควรมีนโยบายจัดทาแผนการดาเนินงานระยะยาวเพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวใน กิจการประมงไทย โดยการจัดทาข้อตกลง MOU กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การเจรจา ร่วมกันทาประมงในน่านน้าพม่า เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพและความสามารถของแรงงาน พม่า ในการกลับไปประกอบอาชีพที่ป ระเทศบ้า นเกิด อีก ทั้งต้องเร่งสร้างความมั่นคง ให้กับแรงงานภาคประมงของไทยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาหาแนวทางเพื่อให้ ภาคธุรกิจประมงต้องลดการพึ่งพากาลังแรงงานเข้มข้นในอนาคต โดยอาศัยองค์ความรู้ มาพัฒนาสร้า งนวัตกรรมเพื่อใช้ทดแทนกาลังคนภายในเรือ ให้ น้อ ยลง เพื่อ การแก้ไข ปัญหาให้ธุรกิจประมงสามารถยืนได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

4.1.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุงระบบการจ้างแรงงานประมงทะเล (1) การจ้างงานแรงงานประมงทะเล ประเด็นเรื่องการผ่อนผันการจ้างแรงงานต่างด้าว  นายจ้างควรนาแรงงานต่างด้าวมาขอรับการผ่อนผันตามที่กระทรวงแรงงานเปิดผ่อนผัน ตามวันเวลาที่กาหนดไว้ แทนการขอเปิดรับผ่อนผันทั้งปีโดยอ้างความขาดแคลนแรงงานประมงทะเล  ภาคเอกชนควรได้รับโอกาสเสนอแผนการขอผ่อนผันแรงงานต่า งด้า วประมงทะเลที่ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและเหมาะสมต่อกระทรวงแรงงาน


51

ประเด็นการจัดหาแรงงานถูกกฎหมายมาทางานในภาคประมงทะเลและการขจัดระบบนายหน้า กรมการจัดหางานควรร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ นายจ้าง และภาคประชาสังคมในการ ขจัดระบบนายหน้าจัดหางานและการจัดหาแรงงานถูกกฎหมายมาทางานในภาคประมงทะเล โดยมี มาตรการ/แนวทางต่อไปนี้  กรมการจัดหางานและภาคเอกชนควรร่วมมือกันเพื่อเร่งรัดและส่งเสริมการจดทะเบียน บริษัทจัดหางานแรงงานต่างด้าวตาม พ.ร.ก. การนาคนต่างด้าวมาทางานกั บนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 เพื่อให้ให้มีแรงงานประมงที่ถูกกฎหมายสาหรับการว่าจ้างตาม พ.ร.ก. การนาคนต่างด้าว มาทางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 (มาตรา 4) และหากยังไม่มีบริษัทจัดหางานมาขอจด ทะเบียนควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไข พ.ร.ก. ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และสามารถช่วยขจัด ระบบนายหน้าได้จริง  ในระหว่างที่ พ.ร.ก. ยังไม่ลุล่วงเพราะไม่มีบริษัทจัดหางานเข้ามาจดทะเบียน กระทรวง แรงงานควรพิจารณาเปิดผ่อนผันแรงงานต่างด้าวเฉพาะในกิจการประมงทะเลครั้งใหม่ โดยอาจเปิด ศูนย์แรกรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทางานตามแนวชายแดนที่กระทรวงแรงงานกาลังจัดทาขึ้นใหม่ แล้วให้นายจ้างไปนาตัวแรงงานที่เข้ารับการผ่อนผันจากชายแดนมาทางานในเรือประมง  ภาคประชาสังคมควรมีบทบาทในการรายงานเรื่องระบบนายหน้าและการหลอกลวง แรงงานจนตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ประเด็นการจัดหาแรงงานประมงตาม MOU  กระทรวงแรงงานควรเร่งดาเนินการเจรจาเพื่อให้บรรลุเปูาหมายให้มีแรงงานประมงเข้า มาทางานโดยถูกกฎหมายตามที่ได้ทา MOU ร่วมกับประเทศพม่า และเวียดนาม โดยเฉพาะการ ตอบสนองต่อคาร้องขอของประเทศต้นทาง (2) ข้อเสนอแนะเรื่องการตรวจแรงงานประมงทะเล และการสังเกตการณ์บนเรือเพื่อ ค้นหาแรงงานบังคับและเหยื่อค้ามนุษย์ ประเด็นการตรวจแรงงานประมงในและนอกน่านน้าบนฝั่ง  ในการตรวจเรือของ ศปมผ. ควรมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานและกระทรวงพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมตรวจแรงงานให้ครบ 22 จังหวัดชายทะเล  ควรมีการฝึกอบรมผู้ตรวจแรงงานภาคปฏิบัติโดยคานึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ผู้ตรวจด้วย  การดาเนินงานของ ศปมผ. ตามภารกิจควรเพิ่มเรื่องการตรวจแรงงานที่อาจตกเป็นเหยื่อ ค้ามนุษย์ด้วย และเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ PIPO ให้มีศักยภาพในการตรวจประเด็นการค้ามนุษย์ ในแรงงานประมงทะเลมากขึ้น  กระทรวง พม.ควรพัฒนารายการตรวจสอบ (check list) แรงงานประมงที่ตกเป็นเหยื่อ ค้ามนุษย์ที่ครอบคุลมเนื้อหาตาม พ.ร.บ. ปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฉบับใหม่ เพื่อให้ ศป


52

มผ. ใช้ในการคัดแยกแรงงานประมงทะเลว่าเป็นเหยื่อค้ามนุษย์หรือไม่ เพื่อให้มีศักยภาพและควร จั ดทารายการตรวจสอบนี้ในภาษาที่แ รงงานประมงต่า งด้า วเข้ า ใจและตอบได้ โดยควรพัฒนา แนวทางและแบบรายการตรวจสอบ ร่วมกับกระทรวงแรงงาน  ทีมสหวิชาชีพคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในภาคประมงทะเล ควรมีภาคประชา สังคมและตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานร่วมตรวจด้วย  กระทรวงแรงงานควรมีเปูาหมาย (targeting) ในการตรวจแรงงานที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ที่อาจตกเป็นแรงงานบังคับและเหยื่อค้ามนุษย์ โดยใช้แนวทางและแบบรายงานการตรวจสอบที พัฒนาร่วมกับกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประเด็นการตรวจแรงงานประมงนอกน่านน้าบนเรือขณะทาการประมง  ผู้สังเกตการณ์บนเรือ ควรเพิ่มประเด็นการตรวจแรงงานประมงเพื่อ ตรวจหาแรงงาน บังคับและเหยื่อค้ามนุษย์บนเรือโดยใช้รายการตรวจสอบ (check list) แรงงานประมงที่ตกเป็น เหยื่อการค้ามนุษย์ที่เสนอให้มีการพัฒนาขึ้นโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และใช้ในศูนย์ PIPO (3) ข้อเสนอแนะเรื่องการคุ้มครองแรงงานประมงทะเล ประเด็นการทาประกันสุขภาพและอุบัติเหตุสาหรับแรงงานประมงทะเล  นายจ้างควรทาประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุให้แรงงานประมง โดยใช้บริการของ บริษัทเอกชน นอกจากนี้กระทรวงแรงงานควรเป็นผู้กาหนดมาตรฐานขั้นต่าของเงื่อนไขการประกัน ประเด็นการให้ความรู้เรื่องสิทธิและกลไกการร้องเรียนสาหรับแรงงานประมงทะเล  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร่วมกับองค์กรนายจ้างควรจัดให้มีการอบรมลูกเรือที่ ศูนย์ PIPO ก่อนออกเรือ ให้ความรู้กับเจ้าของเรือ ไต้ก๋ง และลูกเรือเรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.ค้า มนุษ ย์ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการประมง ให้ ทุก ฝุายตระหนัก ถึงความจาเป็นในการ คุ้มครองสิทธิแรงงาน และการปูองกันการค้ามนุษย์ , สิทธิและช่องทางการร้องเรียน โดยแจ้งให้ ลูกเรือทราบว่าสามารถร้องเรียนกับผู้สังเกตการณ์บนเรือได้ด้วย  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ควรร่วมกันจัดให้ แรงงานประมงทะเลสามารถเข้าถึงกลไกการร้องเรียนโดยง่ายและรวดเร็วและสามารถร้องเรียนได้ ขณะอยู่บนเรือประมง และอาจประสานงานกับภาคประชาสังคม หรือองค์การพัฒนาเอกชนเพื่อให้ การช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างทันการและใกล้ชิด


53

ประเด็นการรายงานตัวของแรงงานประมงนอกน่านน้าตามกฎกระทรวง  รัฐควรสร้างระบบการรายงานตัวทางไกลของแรงงานสาหรับเรือประมงนอกน่านน้า โดย การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางไกลแบบ IT ที่ทันสมัยมากขึ้นในการรายงานตัวแรงงานทุกปี และให้ผู้สังเกตการณ์บนเรือประมงมีบทบาทในการตรวจสอบการรายงานตัวของแรงงาน

ประเด็นการคัดแยกเหยื่อค้ามนุษย์บนเรือประมงทะเลโดยผู้สังเกตการณ์บนเรือ  ศปมผ. และกรมประมงควรพิจารณาให้ผู้สังเกตการณ์บนเรือมีภารกิจเพิ่มในการตรวจ แรงงานบนเรือด้วย เพื่อให้คุ้มครองแรงงานที่อาจตกเป็นแรงงานบังคับและเหยื่อค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ผู้ สังเกตการณ์บนเรืออาจใช้รายการตรวจสอบ (check list) แรงงานประมงที่ตกเป็นเหยื่อการค้า มนุษย์เช่นเดียวกับที่ศูนย์ PIPO ประเด็นเรื่องค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้าง  การตรวจสอบการจ่ายค่าจ้างแรงงานในเรือประมงนอกน่านน้าตามกฎหมาย กระทรวง แรงงานควรพิจารณาการผ่อนผันให้เจ้าของเรือนาหลักฐานการโอนเงินค่าจ้างผ่านธนาคารมาแสดง ต่อกรมสวัสดิการสังคมและคุ้มครองแรงงาน หรือตัวแทนของกรมสวัสดิฯ ในจังหวัดทุกเดือน และให้ นายจ้างจัดส่งหลักฐานดังกล่าว ไปให้ลูกเรือรับทราบทุก 3 เดือน และควรมีการศึกษาวิจัยร่วมกับ ภาคเอกชนเกี่ยวกับระบบการจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานประมงทะเลที่เหมาะสม ประเด็นสภาพการทางานที่ยากลาบาก  เจ้าของเรือควรมีชุดกันหนาวให้ลูกเรือเมื่อต้องลงไปทางานในห้องแช่ปลา โดยให้ถือเป็น แนวปฏิบัติ สาหรับเรือทุกลาเพราะในปัจจุบันยังไม่มีในเรือทุกลา (4) ข้อเสนอแนะเรื่องการคัดแยกแรงงานประมงที่เป็นเหยื่ อค้ามนุษย์และการเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม ประเด็นการคัดแยกเหยื่อ  พนักงานตรวจแรงงานและทีมสหวิชาชีพควรใช้แบบรายการตรวจสอบ (check list) แรงงานประมงที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ในการตรวจแรงงานประมงทะเลด้วย  ทีมสหวิช าชี พ ที่คั ดแยกเหยื่อ ค้า มนุษ ย์ที่เ ป็ น แรงงานประมงทะเล ควรมีผู้ แ ทนจาก กระทรวงแรงงานร่วมคัดแยกด้วยเป็นประจา


54

ประเด็ น การขยายความร่ ว มมื อ กับ ภาคประชาสัง คมเพื่ อ การคุ้ม ครองและปู อ งกั นเหยื่ อ ค้ามนุษย์  กระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรจัดให้มี อาสาสมัครแจ้งเบาะแสหรืออาสาสมัครแรงงานทางทะเลเพื่อคอยติดตามสถานการณ์ของแรงงาน ประมงทะเลที่อาจตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ ประเด็นกระบวนการยุติธรรมและการคุ้มครองแรงงานประมงที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์แ ละ เป็นพยาน  กรณีค้นพบแรงงานประมงที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่ต้องดาเนินคดีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานและพ.ร.บ. ค้ามนุษย์ ในลักษณะกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการ คุ้มครองพยานที่เป็นแรงงานประมงทะเลต่างด้าวให้สามารถมีงานทาระหว่างอยู่ในสถานคุ้มครองฯ โดยมีมาตรการปูองกันการหลบหนี  เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาควรเร่งรัดการรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐาน ที่จาเป็นในการดาเนินคดีค้ามนุษย์ในประมงทะเล (5) ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการแรงงานประมงทะเล และการบูรณาการส่งเสริม ธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐ  กระทรวงแรงงานและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรบริหารจัดการแรงงานในกิจการ ประมงทะเลที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ  ควรเพิ่มบทบาทของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการขจัด ปัญหาการค้ามนุษย์ในภาคประมงทะเล ทั้ งในด้านการรณรงค์การให้ความรู้แก่นายจ้างและลูกจ้าง ตลอดจนพัฒนากลไกการคัดแยกและทักษะของผู้ปฏิบัติ  รัฐควรลดขั้นตอนในการดาเนินการผ่อนผันแรงงานต่างด้าวเข้าทางานให้สั้นลงและไม่ ซับซ้อนเพื่อลดช่องทางทุจริตคอรัปชั่น  รัฐควรมีแผนและเปูาหมายที่ชัดเจนเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตในภาคประมงทะเล โดยใช้ กลไกที่มีอยู่ให้ทางานร่วมกัน เช่นคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมาย ร่วมกับคณะอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย หรือคณะอนุกรรมการด้าน กฎหมายของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และเปิดช่องทางให้ แรงงานประมงที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการให้/รับส่วย สามารถแจ้งข้อมูลกับทางราชการได้ เช่น ศูนย์ดารง ธรรม, ศูนย์ประสานงานชายฝั่งของกระทรวงแรงงาน และสายด่วน


55

(6) ข้อเสนอแนะเรื่องการลดผลกระทบจากกฎหมายและมาตรการของรัฐ  ควรมีแผนและกิจกรรมเกี่ยวกับการลดผลกระทบจากกฎหมายและมาตรการของรัฐ โดย มีมาตรการ เช่น ติดตามการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.ก., กฎกระทรวง และศึกษาแนวทางในการ ปรับปรุงแก้ไขกับความเป็นจริงและกติกานานาชาติ ทั้งนี้ โดยให้ครอบคลุมผลกระทบที่เกิดต่อชุมชน , ภาคเอกชน, ประมงพื้นบ้าน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประมงทะเล (7) ข้อเสนอแนะการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการ  รัฐ ร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งควรศึ ก ษาผลกระทบจากกฎหมายพร้ อ ม ข้อเสนอแนะเพื่อลดผลกระทบ ได้แก่ พระราชกาหนดประมงทะเล พ.ศ. 2558, พระราชกาหนดการ นาคนต่างด้าวมาทางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 และกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานใน ประมงทะเล พ.ศ. 2557  รัฐร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรศึกษาและติดตามผลสาเร็จและจุดอ่อนของ การปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกใหม่ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและการนา กฎหมายไปปฏิบัติ ตลอดจนรายงานว่ามีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะหรือไม่อย่างไร  รัฐร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรพยายามลดช่องว่างกฎระเบียบของรัฐกับ การปฏิบัติจริงของภาคเอกชน โดยการหาแนวทางร่วมกันและมีกลไกของการร่วมมืออย่างจริงจัง (8) ข้อเสนอแนะในการจัดตั้งสหภาพแรงงานประมงทะเล  กระทรวงแรงงานควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการสนับสนุนและผ่อนผันให้มีการจัดตั้ง สหภาพแรงงานประมงทะเล โดยเริ่มต้นในจังหวัดที่มีแรงงานประมงทะเลจานวนมาก ให้สหภาพ แรงงานประมงเผยแพร่ข้อ มูลเพื่อ ปูอ งกันการตกเป็ นเหยื่อการค้ามนุษ ย์แ ละเป็ นตัวแทนในการ คุ้มครองแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในภาคประมงทะเล ทั้งนี้โดยพิจารณาภายใต้ข้อกาหนด ของกฎหมาย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518  รัฐควรพิจารณารับรองอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิการร่วมตัว และ สิทธิการเจรจาต่อรองตามหลักสากล และกระทรวงแรงงานควรแก้ไข พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้สอดคล้องกับหลักสากล เพื่อให้แรงงานประมงสามารถจัดตั้ง สหภาพแรงงานประมง มีสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองกับนายจ้างได้ (9) ข้อเสนอแนะในการขจัดปัญหาแรงงานบังคับและค้ามนุษย์ในภาคประมงทะเล ไทยตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควรกาหนดบทบาทที่เหมาะสมของประเทศไทยในภูมิภาคและประชาคมโลก  พิจารณาข้อดีข้อเสียของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) C.188 ว่า ด้วยการทางานในภาคประมงทะเล


56

 ควรใช้เรือต้นแบบของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) เพื่อปรับปรุงสภาพการดารงชีพของแรงงานในเรือประมง  ควรดาเนินการตามเปูาหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 10 ซึ่งว่าด้วยการอานวยความสะดวกให้เกิดการย้าย ถิ่นที่เป็นปกติและปลอดภัย และข้อ 17 ว่าด้วยเรื่องข้อมูล การตรวจสอบ และการรับผิดชอบ และ ข้อ 17.18 ว่าด้วย การสนับสนุนการสร้างศักยภาพด้านขีดความสามารถ เพื่อให้เกิดความพร้อมด้าน ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง ทันเวลา และมีความน่าเชื่อถือตามสถานการณ์การอพยพย้ายถิ่นของประเทศ กาลังพัฒนา  ควรดาเนินการตามกรอบกติกาด้านแรงงานในภูมิภาค คือ ตามกรอบอนุสัญญาอาเซียน ว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ (ASEAN Convention Against Trafficking in Persons) และ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว (ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers) 4.2 ข้อเสนอแนะในภาพรวม จากการข้อเสนอแนะที่คณะศึกษาวิจัยได้ประมวลมาอาจนาไปสู่ข้อเสนอแนะในภาพรวม ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. เรื่องงบประมาณ ควรมีการทางบประมาณเชิงบูรณาการเพื่อการบริหารแบบเร่งด่วน หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงต้องทางบประมาณระยะยาว เพราะในระยะต่อไปเมื่องบปกติหมด จะไม่มีงบประมาณใช้ต่อไประยะยาวและจะมีปัญหา 2. เรื่องการทางานร่วมกัน ควรมีกลไกในการทางานร่วมกันรับผิดชอบร่วม กล่าวคือ ทุก หน่วยงานรับและแบ่งงานอย่างชัดเจน และนาไปสู่ภาคปฏิบัติของแต่ละฝุาย เรื่องเหล่านี้ถ้าไม่มีก็ ต้องลงทุนเพิ่ม 3. การมีหน่วยงานกลางทางวิชาการจะต้องมีหน่วยงานกลาง (ภาควิชาการ) มาตามและ บันทึกผลการดาเนินงานตาม เป็นการรายงานความก้าวหน้า ความสาเร็จ ให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ เพื่อนาไปรายงานในระดับสูง เมื่อรายงานหลักก็นาไปปฏิบัติ (มีหน่วยงานกลางคอยตาม) จนในที่สุด มี management report ที่จะทาให้เห็นถึงจุดอ่อนและสามารถนาไปสู่การแก้ปัญหาต่อไปได้อย่าง ยั่งยืน 4.3 คาแถลงเชิงนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบายและมาตรการเร่งด่วน เปูา หมาย คือ “การให้ความสาคัญผลกระทบที่ของ มาตรการของรัฐต่อประมงพื้นบ้าน” และ “การพ้นจากข้อกล่าวหาของ EU” ได้ดาเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้ 1 การดาเนินการด้านกฎหมายด้วยการออก พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 และใช้ กฎหมายดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการดาเนินการแก้ไขปัญหา 2 การสารวงข้อมูลผลกระทบของมาตรการต่อประมงพื้นบ้าน


57

3 การเสนอปรับโครงสร้างบริหารของกรมประมงด้วยการเพิ่มอัตรากาลังของเจ้าหน้าที่ กว่า 200 อัตรา 4 ภาครัฐได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการตรวจสอบย้อนกลับ โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามา สนับสนุนเรื่องการลงหลักฐานจานวนปลาที่จับได้ให้ตรงกัน เพราะในอดีตการลงหลักฐานเป็นการ ดาเนินการในสมุดปูมเรือ (logbook) เมื่อนาเทคโนโลยีเป็น e-logbook ให้ตรวจสอบได้มีขึ้น 5 ในเรื่ อ งการตรวจสอบย้อ นกลั บ ได้ ม อบหมายให้ ศปมผ. ไปพั ฒ นาแนวทางการ ดาเนินการที่เหมาะสม 6 การปรับปรุงให้ระบบ VMS ให้ทันสมัยด้วยการขอให้ EU เข้ามาแนะนาเชิงเทคนิค นโยบายและมาตรการระยะยาว รัฐบาลมีเปูาหมาย คือ “การทาประมงที่ยั่งยืน” โดยมี มาตรการต่อไปนี้ 1 มุ่งสร้ า งกฎเกณฑ์ที่ ท าให้ เกิ ดความสมบู รณ์ ในอ่ า วไทยและทะเลอั นดามั นและให้ ความสาคัญกับการรักษาทรัพยากรประมงให้ยั่งยืน 2 ดาเนินการเชิงบูรณาการกับทุกภาคส่วนให้เกิดการทางานอย่างกลมกลืนและมุ่งไปสู่ การทาประมงที่ยั่งยืน ข้อท้าทายในการดาเนินการเชิงนโยบาย 1 ขนาดขององค์กรที่เกี่ยวข้องและพันธกิจที่หลากหลายตลอดจนพันธกิจใหม่ๆที่ต้องเข้า มาควบคุมดูแลและเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอและจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ 2 การดาเนินการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายยังล่าช้าอยู่และยังไม่สามารถสร้างความ พอใจและยอมรับได้ทั้งระบบ (ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ และผู้ประกอบการประมง) 3 การแก้ไขปัญหาในภาครัฐไม่ได้ง่ายแบบพลิกฝุามือและจาต้องนึกถึงผลกระทบในทุกๆ มิติ


58

Chapter 1 Background of the problem 1.1 Background In 2014 and 2015 the US State Department classified Thailand as a Tier 3 (low performance) country (US TIP report) for perceived ineffectiveness in combatting human trafficking. One dimension of the problem was alleged to be coerced labor in the Thai fisheries sector (i.e., deep-sea fishing boat crew). Around the same time, Thailand was “yellow-carded� by the EU due to the prevalence of illegal, unreported and unregulated fishing IUU). During early 2015 through April 2016, Thailand still had not done enough to combat these complaints, and this problem threatens to adversely impact on economic security in the years ahead – unless the situation is rectified. The new government under the National Commission for Peace and Order (NCPO) issued a directive (10/2015) to create a Command Center for Combatting Illegal Fishing (CCCIF) to intensify the approach to the problem. The Center reports directly to the Prime Minister, and operates in collaboration with the Center for Protection of National Waters, the Fisheries Department, the Department of Harbors, the Ministry of Labor, and other related agencies. Other measures and directives to combat IUU are disrupting the fisheries sector, such as the order to tighten the registration of fishing boats and new reporting procedures. Part of the problem is that the government was not clear enough about the new directives and how to comply. There was not enough constructive collaboration between the government officials and members of the fisheries industry. Conflict arose among private companies in the fisheries sector, while traditional fishing families faced increased hardship in plying their subsistence trade. Discussions and negotiations are on-going to try to arrive at a consensus approach. In view of the current situation, a Task Force was formed with representatives from the Asian Research Center for Migration, the Center for European Studies of


59

Chulalongkorn University, and the National Research Council – NRC - (Social Sciences). Budget for the Task Force was provided by the NRC and Chulalongkorn University. The Task Force has enjoyed excellent collaboration with public agencies such as the CCCIF, the Ministry of Agriculture, the Departments of the Fisheries and Harbors, the Royal Thai Navy, the Center for Protection of National Waters, the Ministry of Foreign Affairs, the Ministry of Labor, and Ministry of Social Development and Human Security (MSDHS). In the private sector, the Task Force is collaborating with the Thai Overseas Fishery Association, the Thai Fisheries Association, the RakTalay Thai Association, and the Tuna Industry Producers Association. The Task Force also coordinates with experts from the private sector and Civil Society including the Labor Rights Protection Network, the Thai Labor Solidarity Committee, and the Thai and Migrant Fishers Union Group. All these groups are collaborating to define guidelines to address the IUU and human trafficking problems. The Task Force used research methodology to identify limitations and challenges to improving the situation in a comprehensive and sustainable way. 1.2 Objectives 1. To brainstorm about the obstacles and limitations to solving problems of human trafficking and IUU; 2. To synthesize findings from the research on human trafficking and IUU in the fisheries sector from the government, academia, Civil Society, and mass media, both domestically and internationally. To study where there has been inadequate progress in suppression, such as reduction/elimination of employment agents who deceive migrants to join fishing boat crew, or recruit child and coerced labor.


60

3. To improve the recommendations to solve the problem of human trafficking and IUU in the fisheries in a sustainable way. 1.3 Research methodology This was a qualitative research project to study policy and produce recommendations. The research team used a participatory approach with stakeholders and attempted to arrive at a consensus on how best to address the problems (through a deliberative democracy process). The following three methods were used to collect data. 1. Review of existing documents. The research team reviewed results of research prior to 2014. The European Commission issued a COMMISSION DECISION on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting IUU. The team also reviewed the documentation related to Thailand being “yellow-carded,� and the corresponding laws and ministerial regulations issued during 2014-16. Other data were reviewed to obtain a clear picture of the situation as a baseline. 2. Workshops: These meetings were convened three times. The first workshop had the purpose of identifying all the relevant data sources about the problems and limitations in the fisheries sector, and the factors which led to illegal practices (e.g., coerced labor, human trafficking, etc.). Participants included representatives from the public, private and Civil Society sectors. The second workshop was a smaller consultative meeting with key players in the Thailand sea fisheries industry, representatives from the CCCIF, Departments of the Fisheries, Harbors, Labor Welfare and Protection, Division of Anti-Human Trafficking (MSDHS), the President of the Thai Commercial Fisheries Association, and the President of the Thai Overseas Fishery Association, and the Labor Rights Promotion Foundation. The third workshop was convened to present the


61

results of the preliminary analysis and findings, with particular respect to government policy and changes during 2014-15. The findings examined efforts and progress in combatting IUU and the harm caused by human trafficking in the fisheries. The team presented draft policy recommendations from a synthesis of contribution of all participating groups in the research. Participants included top officials of the Ministry of Agriculture and other key stakeholders. 3. Interviews: This included primary data collection by key informant interviews with experts in the Thai commercial fishing industry, overseas fishing operations, and traditional fishing families. 1.4 Duration of implementation (2016) Activity July st 1 workshop to brainstorm on problems and obstacles in the context of government policy and implementation 2nd workshop for sharing between the Task Force and relevant persons from various sectors to analyze the problems, and consider policy guidelines Field data collection from key informants 3rd workshop to present policy recommendations to address the problem of human trafficking in Thai fisheries operations and IUU, and the potential for sustainable solutions.

August

September


62

Chapter 2 Results of a Study to Develop a Policy to Address the Problem of Illegal Fishing 2.1 Situation before 2015 On January 1, 2010, the EU announced a regulation to combat “Illegal, Unreported and Unregulated (IUU) Fishing.” Since then, in order to enforce the IUU policy, the EU has required exporters of seafood to EU member countries to implement a program to prevent IUU. In addition, exporting countries must have a system that allows for the inspection of seafood products from catch to final destination, including a ‘Catch Certificate’ affixed to seafood export containers destined for the EU guaranteeing that the product was not the result of IUU. Thailand has been on a watch list and has received warnings that it needs to raise the level of its fisheries industry ever since the EU announced the anti-IUU policy. During 2011-14, the EU has sent evaluation and inspection teams each year to produce reports on the progress of Thai efforts to address the IUU challenge and comply with EU regulations regarding Thai seafood exports to member countries. The principal Thai agency with responsibility for compliance with the IUU regulations is the Department of Fisheries (DOF) of the Ministry of Agriculture and Agricultural Cooperatives (MOA), which implements various measures to control commercial fishing activities. These measures include issuing permits for commercial fishing boats, inspections and tracing the source of seafood products, proposing new laws to enforce compliance with the EU’s IUU policy, implementing a Vessel Monitoring System (VSM) Program and producing annual implementation plans, among other measures.


63

In spite of these plans and actions, evaluation of Thai compliance with the anti-IUU policy shows that gaps remain and the EU has insisted (in a document dated April 21, 2015) that Thailand formally acknowledge that it knows it is at risk of having its seafood exports banned in EU member countries. The EU has specified the following steps which Thailand needs to take to reduce the risk of a seafood export ban: (1) Improve the content of the latest Thai fisheries law so that it is consistent with international management principles and specifies punishments and the seriousness of the consequences for violating the law; (2) Improve the draft National Plan of Action to Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing (Thailand NPOA-IUU) so that it is consistent with international management principles; (3) Urgently implement the VMS, especially for Thai fishing boats in international waters; (4) Increase inspections and the efficient tracing of the source of seafood export products bound for Europe. The EU has been closely monitoring Thailand’s attempts to comply with the antiIUU policy and has increased the frequency of evaluation visits to every six months. Thailand is well aware of the importance of the conservation of marine life and addressing the problem of IUU. Ever since it was “yellow-carded” by the EU, Thailand has given top national priority to combatting IUU by fishing boats which dock at its harbors. Key agencies are collaborating with the MOA, including the Department of Harbors (DOH), the Marine Police Department, the Thai Navy, the Maritime Enforcement Coordination Center, the Customs Department of the Ministry of Foreign Affairs, the Ministry of Labor and the Ministry of Social


64

Development and Human Security. In addition, on April 29, 2015, the National Council for Peace and Order (NCPO) launched the Command Center for Combating Illegal Fishing (CCCIF) to accelerate and intensify action for an ethical and sustainable fisheries industry which meets international standards. The Command Center also has a mandate to combat hardship faced by workers in the seafood processing sector. The DOF is the focal point for coordination among the relevant public and private agencies and produces comprehensive plans to combat IUU. The purpose of the plan is to inform and coordinate action so that Thailand can improve on its ‘yellow-card’ status within a designated time frame. Under this comprehensive plan are six sub-plans as follows: (1) Improving the law on fisheries and other related laws; (2) A national plan for the prevention and eradication of IUU (NOPAIUU); (3) Accelerated registration of fishing boats and the issuing of permits for commercial fishing; (4) Creating a system of control and surveillance of fisheries, especially harbor arrivals and departures of fishing boats; (5) Implementing the VMS; (6) Improving the traceability of the source of seafood products for export. From the master plan and sub-plans, it can be seen that the DOF is addressing the gap in the registration of fishing boats and issuing permits for commercial fishing. It is also intensifying the surveillance of fishing activities in accordance with recommendations from the EU. These plans and programs include both Thai territorial waters as well as international waters where Thai-registered fishing boats


65

operate. In spite of the plans and coordinated action by government, private business and Civil Society, the problems and violations of the Thai fishing industry go back a long time and involve numerous stakeholders. Thus, it is possible that many (if not all) of the urgent actions being taken are not getting to the root causes of IUU violations. To explore this issue further, the research team analyzed the following dimensions to see what might be a better match between sustainable corrective actions and the actual cause of the problems: 2.1.1 Traceability of the source of seafood products; 2.1.2 Registration of fishing boats and issuing permits for commercial fishing 2.1.3 Efficiency of control and surveillance of commercial fishing activity and VMS; 2.1.4 Fisheries Law of 2015 and other relevant laws 2.1.1 Traceability of the source of seafood products Effective reverse traceability is an important means of controlling and reducing IUU violations since it describes the journey of the seafood product from catch to the point of consumer purchase and, thus, is a measure of quality. The EU gives high priority to traceability, especially when it is combined with a system of product certification that it is in compliance with anti-IUU provisions. The first annual evaluation team visits by EU inspectors revealed serious gaps in the traceability of Thai seafood products for export. Since then, Thailand has tried to address those gaps with plans, strategies and programs. Nevertheless, the traceability system is not yet satisfactoryand suffers primarily from the following two defects: (1) Lack of efficiency: There are missing links in the accounting for private enterprises which makes it difficult to verify whether their


66

information is accurate or complete23. There needs to be a direct link between the traceability database and the accounting systems of seafood exporters. Furthermore, the data in the government’s database is incomplete and some of the key supply chain documents lack essential information, e.g., the name of the boat, the total volume of the catch for processing, etc.; (2) Implementation of the system is tardy and there is lack of stability in the data used for catch certification. Catch certification is vital for the import and export of processed and unprocessed seafood products (with the exception of freshwater aquatic life, decorative fish, farmed fish and some bivalves). There is a delay of weeks or months from the time the seafood product is brought to shore and the time of issuing the certification. Also, the link between the import/export permit and catch certification is rather complex and there is widespread inconsistency between the stated amount in the catch certification, the actual amount purchased/sold and the proportion of catch in and outside Thai territorial waters, among other factors. One effort of the DOF to correct these deficiencies has been to revise the structure of the traceability system and convert more of the information to an electronic format. In addition, the DOF has recruited more staff to help with the traceability effort. There is in-service training of staff as well as fishing boat owners and fishing inspectors. There is a fishing logbook and special documents to record the purchase/sale of marine life (MCPD, and MCTD). The harbors are increasing the inspection of fishing boats not flying the Thai flag but which are in Thai territorial waters.

23

COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing


67

Implementation to address the problem in the public sector: A. The 2015 Fisheries Act (Article 50) specifies that Thai fishing boats outside Thai territorial waters must allow an independent observer on board to document fishing practices; B. The 2015 Fisheries Act (Article 90) allows the government to inspect seafood catches to determine the legality of the process. This includes the requirement that the fishing boat/trawler captain keeps a log of fishing activity and submits reports to the DOF; the harbor master or dock manager must fill out forms to control the purchase/sale of the catch and report these to the DOF; the seafood producer or processer must retain evidence for viewing by an inspector, including the importer/exporter, such as a catch certification which attests to the legality of the source of the fish; there must be compliance with the criteria and guidelines for fishing businesses which intend to export to the EU; there must be training for inspectors of the catch in the harbor/dock, including for the use of logbooks and the Marine Catch Purchasing Document (MCPD) documents; there must be improvements in measuring the catch using modern, scientific methods. Weaknesses which need to be addressed: 1. The lack of a direct link between the logbook data or MCTD with the DOF database needs to be addressed. Also, there is a need to eliminate delays in the time of docking in the harbor and the filling out of the MCPD form. The delays are due to the congestion at the relatively small harbors/docks. The lack of conversion of logbook data into electronic format slows data access during inspections; 2. The collection, storage and sharing of purchase/sales data between the public and private sector needs to be more integrated and efficient;


68

3. Producing summary reports of the logbook data and the issuing of the MCPD is hampered by a lack of linkage between relevant agencies (e.g., the fishing boat, the docking harbor and the DOF). This produces confusion, delay and unnecessary complexity in the system; 4. The time taken to issue the catch certification depends on the transaction between the buyer and seller of the seafood. This is especially the case for a buyer who intends to export after processing the catch since this involves proving that the source of the catch is legal; 5. The on-board inspections by observers are not up to standard. The standards defined by the DOF24 are difficult to implement in practice. There is also the cost to the boat owner to accommodate the observers. There is also a shortage of qualified people to serve as observers. Implementation to address the problem by the private sector and Civil Society Many fishing boat owners and related businesses have been trying to improve their internal systems and compliance with regulations. Nevertheless, the EU committee has observed that there are other problems besides deficiencies in the traceability system, including improper or illegal practices.25 For example, the documentation of the number of fish imports is inaccurate and inconsistent with the catch certificate. These inaccuracies are an attempt by the fishermen to disguise illegal fishing practices. The 2012 EU inspection found that Thai tuna imports were not 24DOF announcement on criteria for placing observers on fishing boats (2015) 25

COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing.


69

inspected by customs and the many tuna processing factories displayed a lack of transparency of operations and traceability. Dr. Chanin Chalisarapong, President of the Thai Tuna Fish Producers Association, explained that 98% of tuna processed in Thailand comes from other countries and those countries have passed the standards of the Western & Central Pacific Fisheries Commission (WCPFC). These supplier countries include Taiwan, South Korea, Papua New Guinea and even the USA. When the tuna arrives in Thai docks the DOF conducts an inspection of the fish. The remaining 2% of the tuna processed in Thailand can be inspected through the supply chain because trade in tuna requires a Marine Catch Purchasing Document (MCPD) issued by the DOF and this has details of the fishing boat, boat managers and other details that describe the source of the catch. Weaknesses and areas for improvement The fishing business owners/managers offered the following observations about the impact of government controls: 5. (Large fishing business owner): The system of traceability requires the tracking of fish from point of catch to the consumer. The 2015 Fisheries Act is the mechanism that enforces the system but the data in the system is unstable or incomplete and this disrupts the calculations of the Maximum Sustainable Yield (MSY). 6. (Large fishing business owner): The relevant agencies do not inspect the documents for accuracy. The document might say that a catch was caught by Boat A but there is no confirmation that Boat A was actually the vessel in use. This is further complicated by the fact that the boat that delivers the tuna to the Thai docks is not always the same boat that caught the fish. 7. (Large fishing business owner): The new system is a burden on the harbors, especially private harbors, because of the volume of paperwork that traceability requires. The harbormaster really only


70

has the job of receiving the catch. It should be the boat owner who completes the data on where the fish is from and who they are selling to. So the law is not always consistent with what is happening at sea. The traceability system is inefficient; 8. (Large fishing business owner): One problem is that government harbor masters only work during government hours. Also, in the three southernmost provinces of Thailand you have the police and military patrolling the harbors. 2.1.5 Registering fishing boat and commercial fishing permits Another important problem of Thai fisheries is over-fishing, given the increase in the number of and inefficiency of the boats, equipment and fishing methods. A 2015 survey of Thai fishing boats in Thailand found that the number is at least 42,512 boats,26 including 9,370 commercial boats (22%) and 33,205 traditional fishing boats (78%). This data shows a discrepancy between the MSY and the economic area of Thai territorial waters of 420,280 sq. km. Also, some of the fishing methods are crude and are destroying the marine life resource base and ecosystem.

26

DOF (2015). Report on the Plan to Manage Thai Fishing during 2015-19. Bangkok


71

The following are other problem areas identified by the EU inspection committee: (4) Thai laws and regulations related to fishing boat registration and permits for commercial fishing are not as efficient as they should be. (5) There is a large number of fishing boats in Thailand and most are not registered or are not displaying their registration label. The permits for many boats are inconsistent with the equipment used for fishing. Before 2010, the relevant Thai agencies did not actively support or promote the registration of boats. After the EU inspections started, Thailand got more serious about boat registration. The number doubled between 2010 and 2011.27 (6) There is a lack of adequate cooperation between the relevant agencies for the registration of boats and issuing permits. Item 36 of the EU inspection report found that there is a lack of collaboration between the DOH and DOF28 in boat registration and the data system has gaps and is incompletes. Thus, inspections and control are invariably inaccurate. To address these problems, the DOF, DOH, the Department of Provincial Administration and the CCCIF decided to collaborate to regularize boat status and equipment according to law. These agencies have created 112 one-stop mobile centers to process registration and permits in 23 coastal provinces.29 Implementation to address problems in the government sector 6. The CCCIF, DOF and DOH have created a website for on-line registration and issuing permits (E-License) with a QR code and Unique Vessel Identifier (UVI). Public information campaigns have exhorted fishing boat owners to process the 27

COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing). Wichansirichai Ake-awat et al (2015, September). 28 Ibid. 29 DOF (2015). Summary report on progress in addressing problems in the Thai fisheries industry.


72

registration and permits. GPS has been used to track location of boats in Thai waters30. 7. The DOH has conducted training for relevant personnel (e.g., captains, coxswains) on regulations and resolving irregularities in the Thai fisheries system as part of the process of granting permits. 8. The DOF has revoked fishing boat registration and permits for fishing boats using illegal methods, with enforcement using sea locks and seals to prevent illegal boats from going to sea. The DOF conducts monthly inspections to ensure that illegal boats are apprehended. 9. The DOF has issued ministerial regulations on the authorization of traditional and commercial fishing boats which require boat permits which specify the type, size and number of pieces of equipment approved for use for fishing and the maximum size of catch allowed. 10. The relevant government agencies have facilitated boat owners outside the quota for permits and registration to use their boats for other purposes such as tourism, etc. These measures are important but implementation needs to be accelerated because the EU inspection visits have now increased in frequency from yearly to semi-annually. Weaknesses and areas for improvement 1. The time taken for registration and issuing permits needs to be shortened or streamlined. Boats which have expired permits but valid registrations cannot legally fish and need expedited re-certification. The DOH needs to streamline reregistration and certification when boats change their features or equipment.

30

Ibid.


73

2. Government measures for the registration of fishing boats and the issuing of commercial fishing permits go into force immediately and this does not give some boat owners time to adapt. 3. There are guidelines for easing the situation of boats without proper registration and permits to help them become regularized. This needs to be done more intensively, for example, for boats that are properly registered but use unauthorized equipment. 4. When the government implements new measures which outlaw certain equipment this causes hardship for some boats which need time to adapt. 5. There is a lack of proper consideration when collecting fees or excise taxes on traditional fishing activities. 6. Thai fishing boats need to be refurbished to conform to international standards; 7. The distinct nature of the assigned roles of the relevant agencies can produce gaps in implementation and lack of sharing of data. Implementation to address the problem of the private sector and Civil Society In general, the relevant private sector entities have agreed with government policy and programs to better control the Thai fisheries industry because, in the long-run, this should help make legitimate businesses and the marine resource base more sustainable. Greater compliance with registration, permits and logbook regulations should also help to improve the database on commercial fishing, especially the MSY indicator for smaller, traditional fishing vessels which ply the coastal areas. Coastal fishing is dangerous in that it selectively catches immature fish which reduces the fish population in deeper waters. Weaknesses and areas for improvement That said, some of the newer measures are having an adverse effect on fishing businesses. Partly, this is because of the abruptness of the new measures and their


74

immediate and strict enforcement, without a transition period to adjust and adapt to the new requirements. The impact has been greatest on the traditional fishermen. The private sector has the following recommendations to improve the situation: 6. The electronic databases (e.g., E-license, E-logbook) are not yet appropriate for the current state of Thai fishing operations. Note that most of the crew of the Thai-owned boats are non-Thai and the boat captains have a relatively low level of education. This makes it difficult to learn and apply the electronic data requirements, even after training. In the interim, it might be necessary to hire a third party to help populate the databases until the regular personnel can learn the system – but this will be a cost to private business if the government does not subsidize it; 7. Many of the private fishermen/businesses do not have a good understanding of current laws and regulations on fishing boat registration and issuing permits. This can lead to more boats flying the Thai flag to fish in non-Thai territorial waters and, thus, allowing them to escape the system of controls and data collection; 8. Article 10 of the Fisheries Act forbids non-flagged boats from fishing in Thai waters. This means that many of the household, subsistence fishermen are now fishing illegally and are subject to penalty; 9. Many traditional fishermen are using equipment and methods that are now illegal. There needs to be some effort to help these fishermen become regularized, with proper registration, permits and equipment; 10. New restrictions on some types of fishing equipment which damage the marine ecosystem are having a widespread impact on the fisheries business.


75

2.1.6

Increasing the efficiency of control and surveillance of fisheries and the system of location tracking of boats In the past, the Thai government did not have systematic controls on the fisheries sector. There were no restrictions on fishing capacity to achieve a balance between marine resources and their depletion. Also, there was no system to track the location of fishing boats. This lack of data further widened the opportunity for fishing boats to fish in any location, in spite of the fragility of the marine ecosystems. The depletion of fish near the coast has pushed fishing further out to sea and for longer periods. This is also having repercussions on international relations with neighboring countries which share the same international waters. The VMS is a method of tracking boat locations and is used around the world for control and surveillance to combat IUU fishing. GPS coordinates and the Internet are helping to create a precise system of location identification, including the Global Service Mobile (GSM). Combined, these methods are called the Vessel Positioning System (VPS) which gives real-time data on boat location and boat history. This enables monitors to analyze fishing boat behavior and expose violations. Despite Thai efforts to control its fisheries sector and apply the latest technology, the EU inspection committee visits during 2011-14 still found these efforts to be insufficient and not yet in compliance with the 1982 UNCLOS accord. The following two deficiencies were highlighted by the EU committee: (3) Thailand has no law to require the use of VMS and the current implementation of the system is inadequate. The analysis of the EU committee 31 specified clearly that Thai fishing boats are not yet required to use the VMS since the VMS is not cited in the Fisheries Act. The 31

COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing) by Wichankirichai Ake-awat et al (2015, September).


76

DOF first tried to rectify this situation by implementing a 2011 pilot project for VMS, followed by an expansion of coverage. However, as of 2014, the Thai VMS was not yet up to international standards. This has led to international problems such as the case of five Thai fishing boats being caught in the waters of Papua New Guinea and arrested. If the Thai authorities had a comprehensive VMS, this mishap could have been averted. Until a full and comprehensive VMS is implemented in the Thai fisheries sector, Thailand will continue to run the risk of violating the anti-IUU policy,32 especially as Thai vessels push further and further beyond its territorial waters. (4) The system of control and surveillance of illegal fisheries is inefficient Thai inspection of Thai fishing boats is inefficient. This results in a lower standard of the catch certification process. Without this, Thailand further runs the risk of violating anti-IUU provisions.33 An external review by the EU inspection community found a significant number of unregistered Thai fishing boats or missing data on entry/exit to Thai harbors and docks34. Implementation by the government to address the problem The Thai government is acutely aware of the problems of the deficiencies cited above and the DOF is collaborating with the CCCIF to accelerate implementation of Monitoring, Control and Surveillance (MCS) and issuing new regulations to require commercial fishing boats (30-ton gross) to implement the VMS. The DOF is increasing the efficiency of MCS. There is a system of links and VMS control centers to facilitate inspection of fisheries activity. The following are the highlights of these efforts.

32

Ibid. Ibid. 34 Ibid. 33


77

5. The Thai government issued the 2015 Fisheries Act to further organize the Thai fisheries sector, to eradicate illegal fishing practices and promote a sustainable marine ecosystem and population. The Act also aims to reduce worker welfare violations and the use of illegal labor as crew. The Port-in Port-out (PIPO) system was designed and is implemented to reduce these violations. The boat captain must present documentation to the harbor master to confirm that the boat and crew is in compliance with the law; 6. The number of PIPO centers has increased from 28 to 32 centers and these are distributed among Thai coastal provinces; 7. There are also Forward Inspector Points (or FIP) at 12 harbors/docks to support the PIPO inspections; 8. There is a push to regularize undocumented workers in the fisheries sector and enable it to fill the labor shortage for fishing boat crew through legal employment. Weaknesses and areas for improvement 11. The Thai government still has no clear measures to control the number of traditional fishing boats and smaller commercial fishing boats (10-30-ton gross). The current estimate is that Thailand has control over only 25% of its marine resources and this mostly refers to larger commercial vessels (30-ton gross). Most of the uncontrolled vessels are the smallest, i.e., traditional fishing boats, which are unclearly defined by law and in the surveillance system; 12. There is also a lack of involvement of the private sector and Civil Society in the control effort by government. The government needs to listen more to the opinions and recommendations of the non-government sector; 13. The PIPO centers in some locations have burdensome workloads and they cannot conduct inspections efficiently as a result; 14. Some PIPO centers are not properly located to facilitate inspections and verify boat information;


78

15. The PIPO and FIP centers lack an adequate support budget; 16. The VMS does not yet cover enough boats to have significant impact on anti-IUU events; 17. There is a lack of regional cooperation among neighboring countries for control and surveillance, and the use of the same standards of control; 18. The cost of installing and implementing the VMS is high; 19. The VMS suffers from electrical power brown-outs and, sometimes, this leads to the improper arrest of boats that the VMS has lost track of due to system power failure and not the fault of the boats; 20. The government should consider having fishing boats of the size of 20-30ton gross in which to install the Pelagic Data Systems (PDS) which has a cost that is appropriate for smaller commercial vessels and can provide continuous tracking of the location of these vessels. The system also has a sensor to detect when boats drop their trawling nets into the sea. Implementation to address the problem of the private sector and Civil Society Initially, there was confusion about what equipment was needed for the VMS. Some boats under repair or waiting for their permit removed the VMS so they would not incur monthly fees. Some of the inspectors do not have a good knowledge of the VMS and, thus, they can make mistakes in identifying wrongdoing. There is a feeling in the private sector that the cost of the VMS is excessive, especially for smaller fishing boats. At present, the smallest boats (traditional fishing vessels) are not required to install the VMS. 2.1.7

Improving the 2015 Fisheries Act and other relevant laws and regulations Before 2015, Thailand used the 1947 Fisheries Act as a tool to manage the Thai fishing sector. However, the evolution of traditional and commercial fishing over 50


79

years has meant that the 1947 law cannot possibly be relevant to the situation in 2015. The following are other obstacles to addressing the issues raised by the EU inspections: (4) The framework for Thai law to control and punish violators in the fishing industry does not conform to international principles and is not consistent with the current situation, in accordance with UNCLOS. The Thai framework for fisheries laws needs to be improved and brought upto-date, such as the MCS. (5) Thai fisheries laws (1947 and 2015) had low penalties for violations. (6) Laws and regulations related to the fisheries industry are numerous and often conflicting. Many of the legal provisions in Thai law do not specify adequate detail and, thus, need to be supplemented by ad hoc ministerial regulations and directives. The DOF recognizes these legal challenges and is urgently drafting a new fisheries law to correct some of these deficiencies. The new law is expected to be approved and effective on 13 November 2015. However, the process of drafting the new law began before some of the most recent descriptions of IUU in Thai territorial waters had been published. Thus, any new law may need to be amended to address new deficiencies in Thai fisheries. Any comprehensive monitoring, control and surveillance of Thai fisheries will have to extend beyond Thai territorial waters to include those of neighboring countries and international waters.


80

Implementation to address the problem by the government 5. The DOF developed and announced the 2015 Fisheries Act to update the earlier law so that it is consistent with the prevailing circumstances and international standards. 6. Article 121 of the Act increases the punishment for violations to a maximum fine of 30 million Baht or five times the cash value of the illegal catch; 7. The DOF has tightened the system of recording cases of violations and these can be classified into the following: (1) Cases currently being litigated, (2) Concluded cases awaiting sentencing; and (3) Concluded cases with fines/punishment assessed; 8. The DOF and relevant agencies issue ministerial regulations and directives as needed.

Weaknesses and areas for improvement 4. Some provisions of the 1947 and 2015 laws are still in force despite being obsolete; 5. Enforcement of the Fisheries Act is not being fully applied to boats of 1030 ton gross. Currently the focus is on registration, issuing permits and installing the VMS. The system of reports through PIPO is not yet being enforced for smaller vessels. Thus, larger vessels are downsizing to avoid legal scrutiny. Implementation to address the problem by the private sector The DOF is aware of the problems and limitations. However, because of the high profile nature of this challenge, the DOF feels it has to listen to a wide range of opinions in the public and private sector (especially the traditional fishermen) on how to revise the Fisheries Act and how strictly to enforce its provisions.


81

Weaknesses/areas for improvement 6. Fishing boat owners and the captains and crew need to make a greater effort to adjust to the new legal environment and strive for compliance with the anti-IUU movement; 7. The Thai Fisheries Act of 2015 is a great improvement and seems advanced when compared to some other countries in the region; there is flexibility in a number of the provisions; 8. The 2015 Fisheries Act has numerous flaws and there is conflict and contradiction between ministerial regulations and directives related to the fisheries. The law urgently needs to be revised with input from the relevant segments of the stakeholder population; 9. Some of the staff who are enforcing the provisions of the law are not sufficiently knowledgeable or qualified to take action; 10. The people who drafted the law have a limited understanding of the actual operations of the fisheries and, thus, many provisions of the law have an unnecessarily adverse impact on commercial fishing. The Thai fisheries sector is also complicated by the wide variety of equipment used and the variety of types and sizes of fishing boats. The differences between the numerous traditional fishermen/boats and the commercial fishing boats and the multi-species catch, makes the structure and patterns of the Thai fisheries rather complex. These complexities extend beyond Thai territorial waters into international waters and those of neighboring countries. 2.2 Situation after 2015 After Thailand was “yellow-carded� by the EU for lack of full compliance with antiIUU provisions, the Thai government set itself the goal urgently to improve its fisheries to a more complete compliance with the provisions. The MOA, intent on achieving this goal, has four key components, as described below.


82

2.2.1 Improving the system of traceability 4. Thailand will urgently implement the regulation to monitor compliance of fishing practices through enhanced traceability. Owners/captains of fishing boats or trawlers must keep logbooks of their activities and report details to the DOF and harbormasters where they dock. These business owners/managers must fill out all the required documentation on trade in marine products with copies to the DOF and producers of seafood products or processed marine life. Fishing boats must have the information to provide to inspectors and customs officials, including catch certification which specifies the source of the catch; 5. The government will implement procedures requiring the submission of a request to import marine life to Thailand for processing and export to the EU in order to specify the conditions and guidelines for import/export activity; 6. The Thai government will conduct three rounds of training to increase the knowledge of officials who inspect marine life, the process of filling out the fishing logbook and the MCPD. As noted earlier, the system of traceability has not achieved an adequate coverage of the traditional fishing boats or even the smaller commercial fishing boats (30 ton gross or less). This is because the logbook and other measures are new and the fishing boat captains and owners need time to learn these procedures. Article 85 of the Fisheries Act requires dockside inspections and the recording of data on the catch and vessel. The new regulations are imposing a work burden on both the boat owners/captains and the harbor/dock officials. However, at the heart of the traceability system is the accuracy and consistency of data, speed of reporting and inspection. These are areas for improvement. Article 51 of the Law requires the presence of observers on boats in international waters. However, this provision is difficult to implement in practice.


83

2.2.2 Registration of fishing boats and the issuing of commercial fishing permits 6. Thailand is rapidly expanding fishing boat registration and the issue of permits for commercial fishing using on-line and and E-License control systems to improve convenience and access. There is a QR code for each fishing boat and a Unique Vessel Identifier (UVI) which will eventually cover all Thai fishing vessels. There is a one-stop service center to speed the process of registration. 7. The government will conduct the training of coxswains and machine operators on fishing boats to ensure they are qualified and certified to perform their tasks. The certificates are issued at the completion of the training and the local PIPO is informed. 8. Boats which are found to practice illegal fishing will have their registration and permits revoked. Boats will be branded and sealed to prevent them from heading out to sea. Surveillance systems will ensure that none of these boats will be allowed to leave port until they have resolved their violations. 9. The government is issuing ministerial regulations on requesting approval for the traditional fisheries sector as well as commercial fishing vessels. The applications for permits must specify the size, type and number of pieces of equipment used for fishing and the location of the fishing activity, with specifications of the maximum allowable catch. 10. The government will assist boat owners who are not approved in time before the quota is filled to use their boat for non-fishing purposes, e.g., tourism. The push to register all fishing boats is to help ensure that boats comply with MSY specifications. However, if the government strictly restricts the activity of nonregistered boats and still cannot process the registration in a timely manner, then this will have an adverse effect on the industry. In the interim, the government should consider some measures to relieve the burden on disallowed fishing boats such as purchasing boats that need repair or upgrading. However, the ability of the government to mobilize sufficient budget to purchase all boats of the owners in


84

need is limited. There is also a need to tailor the MSY specifications to Thailand’s diverse marine life ecosystem. 2.2.3 Increasing the efficiency of the control and surveillance of fisheries and the system of monitoring the location of boats 5. The 2015 Fisheries Act specifies monitoring the location of Thai fishing boats in Thai and non-Thai territorial waters to ensure compliance with legal practices and to promote a sustainable marine ecosystem. The law also has provisions for the protection of boat crew welfare and prohibiting the use of illegal labor. The PIPO system is one part of the control process. 6. The number of PIPO centers has increased from 28 to 32 located in coastal provinces. 7. There are Forward Inspector Points (FIP) in 12 docks/harbors to augment the PIPO. 8. There is expedited registration for boat crew who are not yet documented to help address labor shortages. As noted, boats of size 30 ton gross or larger have to have the VMS system installed. Yet there are problems in the implementation and coverage of the VMS. Also, some boats leave the harbor in the morning and return at night, while others go out into to deep waters for days, weeks or months. This complicates the monitoring process. There is also the cost to the boat owner for installing and maintaining the VMS. One concern is that the larger commercial fishing vessels will downsize to fleets of traditional fishing boats in order to avoid surveillance and restrictions on fishing practices. Thus, more effort is needed to expand monitoring to cover all fishing vessels, as soon as possible.


85

2.2.4 Improving the 2015 Fisheries Act and relevant regulations 5. Improve the Thai Fisheries Act so that it is tailored to the Thai context and conforms to international standards. 6. Enforce penalties in the Act (e.g., the maximum 30 million Baht fine and/or fine of five times the value of the illegal catch). 7. The Act and various ministerial regulations need to be aligned and strictly enforced. Future draft revisions to the Act and ministerial regulations need to be reviewed by stakeholders in the public and private sector. There needs to be a clearer definition of the traditional fishing vessel and seaworthiness. There also needs to be better coverage of the training programs for all boat owners and personnel. The following table summarizes key challenges and recommendations. Key issues in addressing the problem of illegal fishing practices Issue 1 : Issue 2: Issue 3: Issue 4: Improving Improving the Registering fishing Increasing the 2015 fisheries system of boat and issuing efficiency of law and other traceability permits for control and relevant commercial surveillance and regulations fishing the VMS 1 ) Create opportunities for relevant agencies to participate in developing guidelines to

1) Create a system to monitor traditional fishing boat activity

1) Issue measures to limit the volume of traditional fishing activity

1) Correct or expand on the definition of traditional fishing activity so that it is accurate and in


86

address the problem and to seek opportunities to hear the opinions of others in the public and private sectors, perhaps through an intermediary 2 ) Computerize 2) Consider the the traceability appropriateness of system, and track MSY the fish from point of catch to certification

3 ) Review measures to increase the role of the fishing boat docks in accordance with Article 85 of the 2015 Fisheries Act

3) Review the tools used in fisheries that pose the threat of extinction of certain species, such as sea bottom net dragging, or electrical methods.

accordance with international definitions

2 ) Expand measures for the control and surveillance of commercial fishing boats in the range of 10 to 30 gross tons including trips to/from the dock 3) Create regional coordination networks to create a unified set of strategies and activities with clear responsibilities for the country the

2) Review the older laws and regulations that are impeding implementation or that conflict with the 2015 Fisheries Act

3) Conduct public relations with relevant agencies in the enforcement of new legal measures and make sure the boat owners and captains know the


87

4) Enforce measures to control traditional fishing activity after an orientation period

4) Improve Thai fishing boats so they are more suitable living environments for the crew

5) Improve laws related to granting approval for commercial fishing and the licensing of related equipment

boat flies under new rules and the coastal penalties government violation authority 4) Consider the cost-effectiveness of implementing a policy to address the problem of IUU in economic terms, for example, the creation of a PIPO center – would that be worthwhile given the cost and expected benefits?

and for


88

Chapter 3 Status of Forced Labor and Human Trafficking in Thai Fisheries The EU “yellow-carded” Thailand for its illegal, unreported and unregulated fishing’ (IUU). Further, the US State Department classified Thailand as a Tier 3 country, indicating poor performance in eradicating coerced labor in the fisheries sector. To shed more light on the challenge for Thailand, the research team conducted an assessment of the situation and an exploration of the deficiencies in the response to informed recommendations for the improvement of working conditions in the fisheries sector. 3.1 Situation in 2015 The review of past research on the Thai fisheries industry focused on the International Labor Organization (ILO) indicators for forced labor and human trafficking, as follows: 3.1.1 Violations of the rights of labor vulnerable to exploitation (1) When Thai fishing boats head out to the deep sea, they are difficult to track and monitor and isolation creates an environment for the easy exploitation of vulnerable crew, especially if they are undocumented migrants from another country. The crew’s fate and welfare depends entirely on the boat captain. The authorities complain that they have no efficient means of controlling the behavior of the boat captain and that many of the captains have not been properly trained in the relevant laws and the labor rights of the crew. Thus, the boat captain is a key to addressing IUU and human trafficking. Education and training programs need to be expanded to cover all Thai fishing boat captains given their pivotal role in the ethical and legal treatment of the crew. (2) The Asian Research Center for Migration (ARCM) and ILO conducted a study of the Thai fisheries sector in 2012 and identified 33 crew members who were under age 18 years old, seven of whom were under 15 years of age. Almost all


89

(94%) of the crew were without an employment contract, and most did not know what to do if there were a work problem. They did not feel that they could appeal to the employment agent or employer or file a grievance. It is very difficult for crew who are victims of abuse to provide any evidence of a violation; they are disenfranchised. (3) Because of the lack of Thais willing to take jobs as deep-sea fishing boat crew at such limited pay, there is a labor shortage for these positions in Thailand. This imbalance is the main driver for the demand for migrant labor from Thailand’s lower-income neighbors. Furthermore, undocumented migrants can be paid less because they are not in a position to negotiate salaries and benefits. Thus, this latter group is perhaps the most vulnerable to exploitation, coercion and human trafficking. What puts them further at risk is the potentially lethal environment in which they work: Crew who fall off fishing boats are likely to drown. (4) As noted, the low demand from Thais for work as deep-sea fishing boat crew has boosted the role of brokers and employment agents who find young men willing to do the job. Usually, these workers are the more desperate members of the labor force and, thus, are vulnerable to deceitful hiring and exploitation by the brokers and bosses, who are often in collusion. Currently, most of the crew on these boats are migrants from Myanmar and Cambodia and it is among these workers that charges of trafficking and coercion have arisen. Also, because Thai law has loopholes and law enforcement has been lax in the fisheries sector, it has been difficult to prosecute violators of labor law. Based on a review of past research, the following are recommendations for addressing this problem:  Personnel of the relevant government agencies and fishery associations should implement training programs for deep-sea fishing boat captains and crew on topics such as labor protection laws, fisheries regulations,


90

worker benefits mandated by law and appropriate wages and compensation. There should be full registration of the labor force to ensure that crew receive their entitlements on returning to shore. Boat captains need to be aware of the penalties they may be subject to if they abuse or deny welfare to their crew or if they are responsible for crew illness, disability or even death.  There need to more inspections to ensure that no crew are under the age of 18 years. Inspectors need to follow the guidelines, issued by the ILO, for detecting cases of human trafficking. There needs to be an increase in the number of personnel so that all boats can be inspected and continue to be inspected on a regular basis over time. Civil Society organizations need to be involved in fishing boat and crew inspections. There needs to be a manifest, up-dated at least every six months, which details the planned movement of fishing boats. 3.1.2 Deceitful/coercive hiring practices Investigations have identified deceitful or coercive hiring practices among brokers/agents who are the go-betweens for the boats and migrant workers. Generally, two types of crew are vulnerable to deception. The first are those workers who are brought to the boat by a broker and most of these are Burmese migrants. The second group are those who have accumulated debts at Karaoke lounges and are sent to the boats to pay off their debt. Research has identified 32 cases of deceitful/coerced hiring of deep-sea fishing boat crew. Of these, 17 were deceived/coerced by brokers in the home country of the migrant, nine were deceived/coerced by brokers in Thailand and the remaining six were coerced by family members. Deceitful hiring seems to be more prevalent in the deep-sea fishing boat crew sector possibly because of the difficulty in recruiting workers for


91

these arduous and dangerous jobs.35 Deceitful hiring is considered a form of forced labor according to ILO C. 29 Recommendation R. 203. One approach in combatting deceitful hiring practices is to have government conduct a mass media campaign (posters, mobile public relations, etc.) to increase awareness of illegal recruitment practices and the ways of preventing oneself from becoming a victim. The campaign should be directed at job-seekers as well as the general public. Media could be posted at mass transit stations. A separate campaign could be directed at the employers of migrant labor and inspectors should conduct face-to-face orientation for employers on the relevant laws and penalties. It needs to be emphasized that deceitful hiring is a form of coerced labor. Fishing boat crew need to have safe channels through which to file grievances. Government should collaborate with Civil Society and NGOs to reach vulnerable groups and increase awareness of these deceitful practices and ways of preventing one from becoming a victim.  Deep-sea fishing boat crew membership is an occupation that is laborintensive, dirty and dangerous. Thus, even low-income migrants shun the job and, consequently, brokers resort to illegal recruitment practices to fill the quotas of boat owners. Modern technology should be employed to monitor labor practices in this sector, as is done in developed countries. The role of broker should be formalized and they should be required to be employed by bona fide companies which are certified for conducting legal practices. There should be more collaboration within Thailand among the relevant agencies, for example, by implementing MOU. There should be an increased role of Civil Society, NGO and labor unions to protect workers’ rights and help to prosecute offenders.

35

ARCM and ILO. (2013). Employment practices and working conditions in Thailand’s fishing sector.


92

3.1.3 Social isolation and restriction of freedom to travel A study of migrant labor and child workers in the seafood processing industry in Samut Sakorn Province found that children aged 13 years old were working with their fathers as boat crew. These children admitted that they did have time for rest but they felt restricted by the lack of freedom to go places in town. They also resented not being able to continue their schooling. In spite of the fact that a parent/guardian was with the child on the boat, this practice is still a violation of Thai labor law and standard international practice. The 2014 report on the Prevention and Suppression of Human Trafficking in Thailand noted that one boat owner had 14 crew who had no freedom of movement outside of work – essentially, they were imprisoned. However, the boat owner was found guilty only of housing migrants who had entered Thailand illegally. 3.1.4 Physical abuse, sexual abuse and threats A study of victims of abuse being housed in a protection center in PathumThani found that some crew were beaten by the boat captain or were physically forced to work until they were injured or had depleted mental health. Another study found that 17% of a sample of boat crew were considered to be forced labor due to a restriction of freedom of movement, 5% had been threatened with being turned over to police if they did not follow the captain’s orders and 25% of deepsea boat crew could be considered to be coerced labor. 3.1.5 Withholding of wages and debt bondage A study of working conditions in the Thai fisheries industry in Thailand found that, on average, workers made 6,480 Baht per month, which is the minimum level. A full 12% of fishing boat crews had their wages withheld or denied and 42% had their wages docked for obscure reasons. Nearly half of those with docked wages had no idea what the deductions were for. It is recommended that there be more intensive protection of the rights of workers in the fisheries sector, including an


93

increase in legislation to protect the welfare of these workers (e.g. provision of health care, accident insurance, workman’s compensation, etc.). There should be training on human trafficking for relevant personnel to ensure prompt assistance to victims. 3.1.6 Living and work conditions The Thailand study of victims of labor offenses being housed in protection centers for males in PathumThani, found that working in the fish sorting room was brutal. The fish were nearly rotten and mixed with other frozen fish. There was a health risk from the noxious gases emitted from the rotting fish. The workers also risked injury from the various hooks and other equipment used for pulling fish nets. One recommendation from the study aimed at improving working conditions is to require inspections of all deep-sea fishing boats to ensure safe living quarters and clean food and water. In addition, all crew should have health insurance and regular health examinations. There should be associations of various entities in the fisheries industry to set and maintain standards. Crew and other laborers should be allowed to organize so that they are able to negotiate for fair working conditions and pay. The Thai government should ratify the 1948 pact granting the right of labor to organize (Vols. 87 and 98) and extend those protections to workers in the fisheries sector. 3.1.7 Working hours and extended overtime A study of fishing boat crew found that 28% worked 17-24 hours for some 24-hour stretches and 26% said rest periods were inadequate to recover from the periods of extended work. Between some shifts, crew were only allowed two to three hours of sleep in a 24-hour period. There need to be standards for the working hours of deep-sea fishing boat crew and guarantees of adequate periods of rest.


94

3.2 Situation after 2015 In response to the EU policy punishing countries with IUU practices, forced labor and human trafficking, Thailand set up the CCCIF in order to intensify the effort to combat IUU, etc. The CCCIF was established on February 18th, 2015 and has a mandate to establish policy and operational guidelines for the government, the Royal Thai Navy and the Coordination Center for the Protection of Thai Waters. In addition to its work related to sea-based and coastal fishery activities, the CCCIF also manages a Port In - Port Out (PIPO) Control system and inspections of fisheries. There is also a One-Stop Fishing Service in each coastal province as mandated by the CCCIF. The Thai government is trying to find sustainable solutions to problems in the fisheries sector and has prioritized action on traditional (subsistence) fishing families and persuading the EU to remove the yellow (warning) card.36 In spite of the action that has taken place in recent years, there remain four areas of the fisheries sector that need improvement: 3.2.1 Improving hiring practices 3.2.2 Intensifying inspections on board fishing boats at sea to identify coerced or trafficked labor 3.2.3 Implementing labor protection 3.2.4 Screening of labor in the fisheries to identify victims of human trafficking and prosecute the perpetrators through the Thai legal system 3.2.1 Improving hiring practices in the fisheries Government ง. The Thai government has revised existing laws and introduced new legislation to improve the situation in the fisheries sector. This includes 36

Recommendation from the Minister of Agriculture (Field Marshal ChatchaiSarikalaya) issued at the September 2016 meeting to present draft policy recommendations relating to sustainable fisheries and eliminating IUU, coerced labor, and human trafficking.


95

the 2014 Ministerial Regulation on Labor in the Fisheries Sector which prohibits the hiring of crew under age 18 years of age and increases the penalty for employing child labor. The law on hiring foreign migrants for work in the fisheries has been tightened (in 2016) to combat deceitful hiring practices. The 2015 Ministerial Regulation on the fisheries prohibits the hiring of crew who do not have work permits or legal status in Thailand or any other undocumented personnel. There is a draft law on the prevention and suppression of human trafficking (2017, Vol 3) which broadens the definition of illegal exploitation to cover workers who are in slave-like conditions or enduring other forms of limited freedom. จ. The Ministry of Labor (MOL) is working with the ILO to prepare a handbook on deep-sea fishing boat labor with the participation of boat owners and management. ฉ. The MOL has produced a master plan on labor (2017-21) which references international strategic action on labor management (2016). Shortcomings that need immediate attention จ. There are serious gaps in the coverage of inspections of the fisheries labor force. While it is assumed that a significant proportion of crew are illegal migrants, it is not known how many. The MOL has reported that 140,000 workers in the fisheries sector have appeared at one-stop service centers to regularize their work and residence status. But it is not known what proportion of the workforce they represent. ฉ. There is no employment agency registered with the government to recruit foreign migrants into the fisheries sector. One obstacle is the requirement for any private agency to place a five million Baht deposit as a guarantee. It has been recommended that the government reduce the amount of the deposit to 300,000 Baht and stipulate that the deposit should be paid equally by the employment agency and the employer.


96

ช. The number of workers coming into Thailand from neighboring countries which have signed MOUs is still small. Part of the reason for this is that the sending countries want details on conditions of hiring, among other information. Recently, the Thai authorities have had discussions with the MOL of Myanmar on how to speed up the processing of laborers for the Thai fisheries sector and the situation is expected to improve. ซ. Another problem which hampers improvement in hiring practices for boat crew is the large number of both legal and illegal fishing boats. There is also an excess of fishing boats. An intermediate step will be to increase the registration of all boats which fish in Thai waters and/or dock at Thai ports. This will require collaboration with the CCCIF and the Department of Harbors, among other relevant groups. The Private sector and Civil Society ค. The private sector has conducted campaigns to recruit fishing boat owners to join one of the branches of the Thai Association of Fisheries. This will help facilitate the inspection of boats and crew and help boat owners to regularize their operations and personnel. ง. In 2016, the Thai Chamber of Commerce proposed guidelines to address ways of systematizing foreign migrant labor and ensuring labor protection. 3.2.2 Inspection of labor in the fisheries sector, both on land and at sea, to identify forced labor and victims of human trafficking Government จ. A 2015 ministerial regulation requires the inspection of boat crews before allowing boats to head out to sea. This includes the inspection of crew documents, name and assigned boat (Article 82). ฉ. There is also the inspection at the port of documentation on the payment of wages to the crew, the duration of time at sea, employment contracts, etc. This is managed by the PIPO Center.


97

ช. The MOL is improving the system of inspection of labor in the fisheries sector by involving other agencies, e.g. the police, the navy and the Department of Harbors. Personnel are trained in the ILO curriculum on inspections, welfare and labor protections.

ช. ซ.

ฌ. ญ. ฎ.

Shortcomings that need immediate attention There is a shortage of inspectors to adequately cover all 23 coastal provinces in Thailand. It is logistically difficult and costly to inspect boats while at sea. This is crucial since most of the abuses probably occur at sea where the crew cannot escape. Some of the inspectors have not been adequately trained to conduct their operations efficiently. The PIPO Center lacks adequate equipment to help identify victims of human trafficking. There is insufficient representation of Civil Society and labor unions in the multi-disciplinary teams trying to identify victims of human trafficking. The Private sector and Civil Society The private sector, i.e. the deep sea fisheries associations, is collaborating with the Department of Fisheries (DOF), the Tuna Industry Association and the Thai Association of Fisheries to install a vessel monitoring system (VMS) to track fishing boats at sea and monitor illegal labor practices.

3.2.3 Labor protection Government ง. The MOL issued a ministerial regulation in 2014 on labor protection in the fisheries sector which is similar to EU Pact 188 (Item 6) which requires boat owners to have a written employment contract for their crew and the presentation of the crew to inspectors at least once a year.


98

Employers are required to pay crew on days off and specify work hours. The employer must provide clean food, water, toilet facilities and first aid supplies for the crew. The employer must train the crew in use of the equipment on the boat and ensure adequate safety for the crew. จ. The Ministry of Social Development and Human Security (MSDHS) has drafted an improved law on the prevention and suppression of human trafficking (No. 3, 2017) by broadening the definition of forced labor or service to include putting a worker in a situation where he cannot protest, deceiving a worker about labor conditions, fraudulent practice, use of force, detention, violence in the workplace, forcing individuals to work by withholding their personal documents or forced labor by debt bondage. ฉ. As part of the 2015 Fisheries Act, the DOF requires fishing boats to submit documents attesting to the safety and welfare of the boat crew before leaving port. The DOF conducts training for inspectors on how to conduct on-board inspections at sea.

ซ. ฌ. ญ. ฎ.

ฏ. ฐ.

Shortcomings that require immediate attention There is no or inadequate health and accident insurance for fishing boat crews. Crews are not fully aware of their rights or when those rights are violated. There are no clear mechanisms or channels for filing a boat crew’s grievances. The requirement of having fishing boats report to PIPO annually is not consistent with the practice of some boats that remain at sea for three years before returning to shore. Inspectors of boats at sea still do not have clear authority/responsibility for screening crews for victims of human trafficking. The requirement to have employers pay boat crews once a month with documentation explaining wages and sums withheld is not consistent


99

with the work pattern of boats which are at sea for many months or years at a time. ฑ. Crew who work in the ice room do not always have appropriate clothing for the sub-zero temperatures they encounter. The Private sector and Civil Society The Thai Association of Deep Sea Fisheries is campaigning to have all its members comply with the latest laws and regulations. ง. The Association tries to assist crew and Association members so that they are treated fairly and to ensure there is welfare for the crew and the fair hiring and payment of crew. จ. The Labor Rights Promotion Network Foundation has a Fishermen’s Center with branches in 28 coastal provinces to help crew members whose rights have been violated or who have suffered abuse. The Foundation has formed spin-off networks to help labor in the fisheries (MAST). Shortcomings that require immediate attention ค. There loopholes remain in actual implementation and this presents the opportunity for violations to occur. ง. The payment of wages to crew is still not always in compliance with ministerial regulations and there are limitations to the system of inspections in verifying that wages are paid in accordance with the employment contract.


100

3.2.4Screening to identify victims of human trafficking and prosecution of perpetrators Government ฉ. The MSDHS draft law (2017) will increase the coverage of vulnerable people by expanding the definition of what constitutes abuse or rights violations. ช. The MSDHS conducts physical examinations and provides mental health care for boat crew who have experienced forced labor. There is a psychiatrist at the Center for the Protection of Victims of Human Trafficking in accordance with the Prevention and Suppression of Human Trafficking Act (Articles 33, 39). ซ. There is the 2016 law for the consideration of cases of human trafficking and the law on criminal cases and the courts to try cases of human trafficking. ฌ. The Anti-Money Laundering Office can order the seizure of the assets of employers who are accused of human trafficking in order to cover the costs and provide compensation during the prosecution. ญ. The MOL and MSDHS have conducted a gap analysis on the screening of victims of human trafficking in the fisheries sector.

ฉ. ช. ซ. ฌ.

Shortcomings that require immediate attention Victims of human trafficking are often reluctant to come forward or file a grievance, especially when inspectors board the fishing boat at sea. There are not enough staff at the MSDHS to conduct inspections of labor conditions. There is a lack of clear guidelines on screening for victims of human trafficking when conducting inspections of boats at sea. Cases of non-Thai crew who are victims of human trafficking are more difficult to prosecute in Thai courts.


101

�. The criminal justice system is too sluggish in processing cases of human trafficking. Summary The review of the situation of forced labor and human trafficking in the Thai fisheries sector, before and after 2015, helps illuminate the efforts of the government, private sector and Civil Society to advocate improvements in working conditions and install a system to sustain fair labor practices in the fisheries. The issue of forced labor and human trafficking in the Thai fisheries has become a high priority since Thailand was yellow-carded by the EU for IUU practices and the US State Department classified Thailand as a Tier 3 country for lack of action in combatting human trafficking in the fisheries sector.The literature on labor conditions in the fisheries and the testimony of victims attest to the fact that abuses were still prevalent in the years leading up to 2015. Especially vulnerable were the undocumented non-Thai migrants who were living and working in Thailand illegally. These workers had no means to protest mistreatment by boat captains, especially when at sea. A number of boat crew were recruited by deceitful hiring practices, in part because of the difficulty of recruiting people into these difficult and dangerous jobs. Thus, some brokers or hiring agents have resorted to human trafficking in collusion with boat owners and captains. When at sea, the crew are isolated from society and have their freedoms curtailed. The boats are not large and the living and working conditions are crowded. The crew are at the mercy of the captain and are vulnerable to physical, sexual and mental abuse by threats. Further, some crew are not paid fair wages or have to work extra hours without compensation. Given these harsh working conditions, the government and stakeholders are taking stronger action to combat abusive and unfair labor practices. Since 2015, the labor situation in the Thai fisheries sector has started to improve. Laws and regulations are now in place as the basis for legal action against violators of human rights.


102

Many of the legal loopholes that allowed past abuse have been closed. Hiring practices are now more transparent and ethical. The hiring of crew under the age of 18 years has been eliminated. The Thai government has collaborated with the ILO to produce a handbook on deep-sea fishing boat crew management and practice. The boat owners and fisheries associations have participated in the development of the handbook. The fisheries associations are campaigning to recruit all boat owners as members so that there can be more formal documentation of the boats and crew. That will greatly facilitate inspections and the eradication of illegal hiring practices. The government is intensifying the inspection of fishing boats while at sea. Boats are inspected before they leave the port, including the inspection of employment contracts with the crew. The private sector and Civil Society are involved, e.g. through the Thai Tuna Industry Association and the Thai Fisheries Association and a VMS is being set up to increase the tracking of boat movement and practices. The MOL, MSDHS and DOF are continuing to increase the protection coverage of labor in the fisheries across all dimensions. They are pushing for compliance with standards of safety, health and the welfare of the crew. The Thai Deep Sea Fisheries Association is urging all members to comply with the new laws and regulations. Civil Society groups are creating and expanding networks to help labor to organize and to eliminate rights violations and deceitful practices. This comprehensive effort by the government, the private sector and Civil Society has the potential to create a sustainable system to eradicate IUU practices, human trafficking and forced labor in the Thai fisheries sector. Thailand seems determined to address this problem effectively and efficiently. In spite of the accomplishments, this research has identified some areas that need improvement. However, these shortcomings are manageable. When the new laws and regulations are in full and complete effect, then Thailand should be near its goal of ensuring safe, fair and legal labor practices in its fisheries sector.


103

Chapter 4 Recommendations Based on the situation analysis of IUU, human trafficking and forced labor in the fisheries sector of Thailand, the research team has synthesized those findings with other relevant information to produce three categories of recommendations, as follows: Section1: Moving towards sustainable Thai fishing practices that are safe, legal and ethical. Section2: Guidelines for implementation Section3: A policy for the Minister of Agriculture and Agricultural Cooperatives as presented at the 3rd Conference (consisting of recommendations from the research team and top government priorities) 4.1 Policy recommendations 4.1.1 Recommendations to address IUU (1) Improving the back-tracking system e-logbook and e-MCTD  The government should improve the logbook and e-MCTD systems so that they are more efficient for reporting data on fishery activities. There needs to be an improvement in data collection and integration among related agencies. There needs to be full coverage of the system for all commercial fishing boats, regardless of size. The government should move from a paper-based to an electronic system. There also need to be systems for tracking and reporting traditional family fishing operations. These smaller fishing boats (and commercial vessels under 30-tons gross) will be given more time to be covered by the electronic system because of the need for certain transmission equipment. In any


104

event, the goal is to have an efficient data entry and retrieval system for inspections and tracking.  The government should announce the introduction of these systems and orient owners of fishing boats in the use of the e-logbook. Boat captains/owners can keep separate paper-based logs as a back-up in case the electronic system fails while at sea but the missing data must be recorded in the system when the boat returns to shore.  The government should accelerate improvements to the system of recording Marine Catch Trans-shipment Document (MCTD) information into the eMCTD system (similar to the e-logbook).  The government should study the feasibility of applying the Collected Localisation Satellites(CLS) or other systems and compare their cost-effectiveness and suitability for the Thai context. Issues related to marine catch verification documentation  The government should accelerate collaboration with exporting countries or those that issue the marine catch documentation so that Thailand knows the source of the marine product before processing it. This will reassure importers of the ethical nature of the catch.  Producers and exporters of marine products should have rules or measures for internal control. Members of the network should be aware of the dangers of not knowing the source of products, both domestic and international. The network should punish its own members who violate the rules. Issue of reporting data to the central database, permits and authorizations through a Fisheries Single Window (FSW)  The government should collaborate more with the Ministry of Information and Communication Technology to increase the efficiency and capacity of the FSW


105

in addressing the need to trace the source of marine products and speed the issuing of certificates.  The government should improve and accelerate implementation of the FSW to cover owners of fisheries, both importers and exporters, including commercial deep-sea enterprises, fishmeal, seafood processing and other related businesses. There should be inter-agency integration in government to provide comprehensive evaluation to improve implementation.  The government should speed up understanding on use of the FSW and build the capacity of government agencies and relevant owners of fisheries so that the owners can enter data on purchases and sales into the e-Logbook as this will speed up the DOF issuance of the marine catch certificate. Ports and fish piers  The government should consider review of the measure according to Article8537 of the 2015 ministerial regulation which specifies that deep-sea fishing boat ports and fish piers must record and report data on the marine catch. This service will reduce the burden on the boat owners and ensure compliance with elogbook and ERS requirements. This will help with inspections and the forwarding of data to the DOF. In addition, the information will allow buyers to inspect and compare the raw marine product.

37

Article 85, Harbor Master for Fisheries, Article 84 or Operator of the Fish Pier must record data about each fishing boat which docks there to transfer marine catch. This information must be kept on file for later inspection.


106

Observers on board fishing boats at sea  The government should consider the appropriateness of the Department announcement38 to assign inspectors to board fishing boats at sea, both in and outside Thai territorial waters. The government and private sector should collaborate in the on-board inspection process and share the costs of for both the inspectors and boat owners. A mutual understanding is needed and negotiations should be held with the private sector to find a solution that works for both. At present, on-board inspections at sea are inadequate. (2) Registration of deep-sea fishing boats and the issue of fishing permits  The government should announce an appropriate time frame for registering fishing boats and issuing permits. There should be mobile one-stop services to improve access and cover all boats.  The government should collaborate with the private sector in public information dissemination and convene meetings to explain various new or upcoming measures so that boat owners are up-to-date and have time to comply.  The government should accelerate the issue of measures and the implementation of assistance to owners of fisheries adversely affected by the urgent order that all boats be registered. Some boats were missed by the survey and, thus, could not register and others had equipment that was suddenly declared illegal. Some smaller fishing families need training in other occupations if they cannot comply with the new regulations. Others, with outstanding debts need assistance in selling their boats and equipment.

38

DOF announcement on the criteria for observers of fishing boats at sea approved for fishing outside Thai territorial waters, 2015


107

 The government should review measures which declare certain fisheries equipment illegal. Governments should help affected boat owners to obtain alternative equipment which is legal.  The government should improve standards for deep-sea fishing boats so that they are consistent with the occupation in keeping with the guidelines of SEAFDEC. (3) Increasing efficiency of the control and surveillance of fisheries and VMS Issues of control and monitoring  The government should detail measures to limit the number of traditional fishing boat operations registered in the name of an individual owner. There should also be a limit on the number of traditional fishing boats registered to an individual not exceeding two boats per person. During inspections, the named owner must be present. Enterprises that want more than one or two fishing vessels should register as commercial fishing businesses.  The government should consider guidelines for the control and surveillance of traditional fishing boats and commercial boats of 10 to 30 tons gross. There could be support by the Association of Traditional Fisheries and the Commercial Fisheries Association to encourage boat owners to join these associations. This would help standardize fishing operations and align boat owners with government regulations.  There should be formal mechanisms for collaboration between the government, private and civil society. For example, a multi-sector committee should be appointed to consider solutions to various problems.  The government should consider ad hoc measures to address urgent problems and minimize their impact on the private sector. There should be consultation with stakeholders and personnel before applying these measures to


108

ensure knowledge, understanding and acceptance of the methods and the potential impact.  The government should consider increasing control centers, such as PIPO and FIP, and weigh the feasibility and cost-effectiveness of doing so, and the longterm needs and budget. Issue: Monitoring the location of fishing boats  There should be consideration of implementing the Collected Localisation Satellites (CLS)or other systems, and comparison of the costeffectiveness of alternatives in terms of set-up and maintenance, as an adjunct to the current VMS.  The government should increase negotiations for collaboration with other countries which have control measures and the surveillance of the fishing vessels sailing under those countries’ flags. There need to be standardized systems among countries who share international waters on monitoring and surveillance when a fishing boat enters another country’s waters. 

(4) Improving the 2015 Fisheries Act and relevant regulations The DOF should consider discontinuing ministerial regulations which

conflict with other provisions of the law so that there is a unified legal framework for enforcement. 

The government should clarify the definition of “traditional fishing”

operations and consider applying the definition of the Food and Agriculture Organization (FAO). 

The government should provide training and increase knowledge and

understanding about laws that are in force, and offer this training to fishing boat owners and law enforcement personnel to aid compliance.


109

 The government should specify the equipment which 10-30-ton gross fishing boats are allowed to use to facilitate compliance and inspection. Summary of recommendations to accelerate resolution of the problem of IUU practices (1) Improve guidelines to reduce the impact of government measures A. For commercial fisheries In Thai territorial waters  The government should give more assistance to owners of fisheries impacted by government decrees to reduce the number of fishing boats and tighten regulations on registering fishing boats. For example, some fishing boats were missed by the survey and could not register after the deadline. Others were using equipment which has been declared illegal. The government should set up a relief fund to help these enterprises to minimize their losses, pay off debts or train them for alternative occupations.  The government should collaborate more with the private sector and technical agencies to apply knowledge and research findings to increase innovation and improve the fishing industry. There should first be a needs assessment to document the priority areas for this sector based on domestic and international market demand. Outside Thai territorial waters  The government should increase its support for Thai commercial fishing outside its territorial waters to help keep this sector competitive. This should be done through negotiation with the other countries which ply these waters.  The government should solicit opinions from all sectors on current problems in this area and jointly develop guidelines to address these problems. The goal is to avoid unnecessary competition within Thai commercial fishing operations and improve public-private cooperation.


110

B.Traditional fishing operations  The government needs to produce guidelines to improve understanding among traditional fishing families of the importance of compliance with regulations and promoting a sustainable fishing environment. There is too little control of the number of traditional fishing vessels and some of the equipment/methods they use are illegal. In the past, there has been lax enforcement of these regulations but the current government is becoming much stricter. There should be a comprehensive study of the appropriateness of outlawing certain fishing equipment/methods and an attempt to find compromise solutions that allow the traditional fishing families to continue their trade.  The government should support related agencies in conducting research on marine life populations as a basis for reducing overfishing of natural stocks and preserving the balance of nature and the sustainability of the resource base. C. Measures for relevant businesses  The government should conduct a study of the adverse impact of laws and measures on relevant businesses, such as fishing piers, fishing boat docks, ice businesses, refrigeration, fishmeal production and seafood processing. Any reduction in fishing boat activity or the number of boats in operation will have a ripple effect throughout the chain of businesses involved in the fisheries. D.Measures for communities which rely on the fishery industry  The government should conduct a study of the social impact of the laws and measures related to the fisheries. For example, this should include changes in lifestyles and occupations, especially of the traditional fishing communities and families. The government could provide assistance to ameliorate the effects of the stricter enforcement of these laws and measures.


111

(2) Integration of the principles of good governance A. Integrated implementation  Government agencies across ministries and the private sector should have guidelines for working more closely together, with the emphasis being on the importance of collaboration in developing these guidelines. There should also be integrated data management with universal access to the data for relevant agencies. There should be greater use of the latest information technology to improve implementation, increase efficiency, reduce inaccuracies and allow the greater application of information to implementation. B. Support good governance in the public sector  The government should improve the sense of service-mindedness and responsibility among government personnel to that they serve their clientele and perform their duties efficiently and ethically. There should be campaigns and public information dissemination to shape the organizational vision and morale.  The government should review implementation and improve systems or measures to resolve challenges. For example, procedures should be streamlined and the paperwork required from boat owners should be reduced. There should be more efficiency and transparency in the inspection of documents and the Seaman’s Book for non-Thais. Labor laws should be strictly enforced. (3) Government and private sector collaboration as in a partnership There should be a sub-committee formed with representatives from the public, private and civil society sectors under the National Fisheries Policy Committee. For some ad hoc issues, a local task force could be formed to investigate and propose collaborative solutions. (4) Review the national plan for combatting IUU practices  The government should review the plan to combat IUU practices and use the results from this research and situation analysis and synthesize these with the


112

opinions of stakeholders, especially from the private sector, to give notice of the next steps.  The government should monitor implementation of the national plan to ensure the continuous implementation and compilation of accurate data in order to make revisions to the plan. Summary of recommendations and guidelines to address the problem of IUU practices The EU issues its warning to countries with IUU practices out of concern for sustainability and the growth of natural marine life in the world’s oceans and seas. This is an important area for food security as endorsed by the FAO. The international community feels that stronger measures are needed to control and eliminate IUU practices. Even though Thailand is only one part of the global fisheries industry, international policy and punishments can have a ripple effect through the entire marine life supply chain. Thus, Thailand has intensified its efforts to put in place laws with stricter enforcement and guidelines for urgent action against IUU practices by Thai fishing boats. The current Thai government clearly recognizes the importance and implications of being yellow-carded by the EU but short-term measures will not suffice since IUU practices can always resurface when the pressure is off. Thus, Thailand needs to take long-term sustainable action to eradicate these practices for good. In order to retain full cooperation and collaboration with the commercial and traditional fishing operations, the government needs to implement and enforce laws and guidelines carefully and it needs to protect industry from excessive harm to the fisheries and related businesses. Thailand must push the guidelines forward and make it clear to fishing enterprises that they must eventually comply – sooner rather than later. This will require a prioritization of actions that are needed in the short, medium and longterm. The following graphic summarizes this sequence of forces and actions:


113

advocacy at different levels

Pressures from fisheries activity

Reduction of natural marine life threatens sustainable development

Impact on different dimensions and human security Appropriate response to the situation In addition to the above mechanisms to address the problem, the research team has the following recommended guidelines for the government: 1. The government should give more importance to restocking marine life and reducing dependence on fishing the natural resource base. 2. The government should consider appropriate information and the accuracy of data when addressing the problem at various levels. For example, the MSY principle which the DOF uses to estimate the maximum number of marine species which can be caught without depleting the resource base has limited applicability and only applies to certain species. The MSY methodology is appropriate for bodies of water with simple species, whereas Thailand’s waters are too diverse to apply this method with any accuracy. Thailand should negotiate with the EU


114

on the use of MSY in the evaluation of Thai fishing practices. At the same time, the DOF should improve upon MSY methodology so that it is more suited to the Thai marine context. 3. The government should encourage more participation by various sectors to help address the problem in order to have a comprehensive view of the situation; this should include stakeholders who are positively impacted and those suffering no impact and those negatively impacted. 4. The government should produce long-term implementation plans to reduce dependence on non-Thai labor in the fisheries sector and create more labor security in that sector. This will require industry to innovate and use less labor-dependent means of fishing. Ultimately, the Thai fishing industry must be self-sufficient with Thai labor. 4.1.2 Recommendations to improve the system of hiring non-Thai labor in the fisheries  Employers should take their undocumented workers to a MOL processing center to be regularized.  The private sector should be allowed to present a plan to legalize their foreign workers.  The Department of Employment should collaborate with other government agencies, employers and civil society to eradicate the system of illegal brokers who recruit illegal labor for fishing boat crews. Only legal measures should be used in the recruitment of labor to the fisheries sector.  The Department of Employment and the private sector should support the legal registration of employment agencies who recruit non-Thais in accordance with the 2016 ministerial regulation (Article 4). Until such employment agencies are registered, the modifying of the ministerial regulation should be considered so that they are more suited to the current situation and this will help to phase out the system of illegal recruitment brokers.


115

 Until ministerial regulation is revised, the MOL should consider implementing an amnesty program for undocumented workers in the fisheries sector. A special processing center could be opened solely for this purpose. Employers would be responsible for bringing their illegal laborers to the center for processing.  Civil society should play a role in reporting on the system of brokers and deceitful hiring practices which lead to human trafficking.  The MOL should speed up the process of MOUs with neighboring countries to increase the flow of workers coming via those agreements to work in the fisheries sector. Recommendations for the inspection of labor in the fisheries and on-board observation at sea  The CCCIF should assign personnel from the MOL and MSDHS to serve as inspectors so that all 22 coastal provinces are covered.  There should be practical training for inspectors of fishing boats and crew, with special consideration being given for the safety of the inspectors.  There should be a priority of inspections to identify suspected cases of human trafficking and the efficiency of the PIPO Centers should be increased to improve screening for human trafficking cases.  The MSDHS should use the inspection check-list for labor in the fisheries sector to help identify cases of human trafficking in accordance with the new law on the prevention and suppression of human trafficking. The inspection should be conducted in the native language of the crew.  The multi-disciplinary team for screening cases of human trafficking in the fisheries sector should include members from civil society and labor unions on the team.


116

 The MOL should have a system of targets for labor inspections in collaboration with the MSDHS.  There should be an expansion of on-board inspections of fishing boats at sea. Recommendations for labor protection in the fisheries sector 

Employers should provide health and accident insurance for all their

workers by purchasing plans in the private sector. The MOL should set minimum standards for those insurance policies.  The Department of Labor Protection and Welfare should collaborate with organizations of employers in the fisheries sector to conduct training for boat owners, captains and crew at the PIPO Center before going out to sea. The training should include information on the labor protection required by law and human trafficking. There should be information on how to file a grievance if workers’ rights are violated. Crew should know that they can file complaints with observers who board the fishing boats while at sea.  The Department of Labor Protection and Welfare and MSDHS should provide boat crews with efficient access to file grievances. Civil Society and NGOs could help provide timely assistance to crew who have been abused.  The government should create a system for long-distance reporting about labor on Thai-owned fishing boats which are outside Thai territorial waters. This system can take advantage of modern information/communication technology. Boats at sea for more than one year would have to report the status of their crew at least once a year and facilitate inspections by on-board observers.  The CCCIF and DOF should consider tasking on-board observers with screening crew on Thai-owned fishing boats which are outside Thai territorial waters


117

to find victims of human trafficking or coerced labor using the same check-list that PIPO Centers use.  There should be inspections of the wages paid for crews of Thai-owned fishing boats that are outside Thai territorial waters to ensure that they are in compliance with Thai labor law. The MOL should consider easing the requirements for fishing boat owners to provide evidence of payment of wages to their crew. There should be flexibility on where and how often boat owners have to present this evidence to branch offices of the Department of Labor Protection and Welfare. There should be a research study, in collaboration with the private sector, to investigate the system of payment of wages to deep-sea fishing boat crew.  All Thai fishing boat owners must provide thermal suits to crew who have to work in the ice room of a boat. Recommendations on screening crew for victims of human trafficking and prosecuting cases  Labor inspectors and multi-disciplinary teams should use the check-list for labor in the fisheries to identify cases of human trafficking.  The multi-disciplinary team includes a representative from the MOL during inspections.  The MOL and MSDHS should recruit volunteers to provide leads or recruit informants to report on the situation of labor on deep-sea fishing boats in cases of suspicion of abuse, coercion or human trafficking.  If cases of human trafficking being identified then the perpetrator must be prosecuted in the criminal court.  The MSDHS should collaborate with the MOL to protect witnesses, especially non-Thais, who are needed to testify in a criminal case of human trafficking. These witnesses should be provided with temporary paid employment while waiting for the case to be tried in order to discourage them from returning to their home country before testifying.


118

 Personnel in the criminal justice system should speed up the collection of evidence and witnesses to accelerate the prosecution of cases of human trafficking of crew on deep-sea fishing boats. Recommendations for managing deep-sea fishing boat crews and good governance  MOL and relevant government agencies should apply the principles of good governance in the efficient monitoring of the situation of fishing boat crews.  The MSDHS should play an increased role in combatting human trafficking in the fisheries sector and should provide more education for Thai boat owners and employers and improve mechanisms for screening victims of abuse.  The government should simplify the process for providing amnesty to illegal foreign labor who work on fishing boats in order to reduce corrupt practices.  The government should have plans and targets to combat corruption in the fisheries sector through existing mechanisms, e.g. the Sub-committee on Human Trafficking and Illegal Labor, the Sub-committee on Inspection and Monitoring of Law Enforcement and the CCCIF. People with knowledge of graft in the fisheries labor sector should be able to report it safely to the appropriate government agency, e.g. the Damrongdhama Center, the Coast Coordination Center or on phone hotlines. Recommendation to minimize the adverse impact from laws and measures  There should be plans and activities to minimize the adverse impact of government laws and measures to combat IUU and human trafficking in the fisheries sector. These include monitoring of the enforcement of ministerial regulations, guidelines to tailor the response to the actual situation and compliance with international rules of conduct. Care should be taken in monitoring and minimizing the impact on communities, the private sector, traditional fishing families and deep-sea fishing enterprises.


119

Recommendation for research on improving the management system  The government and relevant agencies should study the impact of laws and provide recommendations to ameliorate the adverse impact of the 2015 Fisheries Act, the 2016 Alien Employment Act, the 2014 regulation of the MOL on deep-sea fishing and the stricter enforcement of these decrees.  The government and relevant agencies should monitor the progress and shortcomings of implementation of the new laws. They should provide recommendations to improve the laws and promote more efficient and effective application of the laws.  The government and relevant agencies should reduce loop holes in existing regulations and the exploitation of these by the private sector, through improving guidelines and mechanisms of collaboration. Recommendations for fisheries labor unions  The MOL should consider the feasibility of unionizing crews of fishing boats or at least be more lenient on restrictions of labor. Pilot sites could be established in the provinces with large fleets of fishing boats and unions to spread information on human trafficking to help protect both Thai and non-Thai workers in the fisheries. These activities should be in compliance with the 1975 Labor Relations Act.  The government should consider approving ILO Pacts 87 and 98 on the rights of labor to organize and engage in collective bargaining according to international principles. The MOL should revise the 1975 Labor Relations Act so that it conforms to international principles and should allow labor in the fisheries sector to form a union.


120

Recommendations to combat forced labor and human trafficking in the Thai fisheries  Thailand should play an appropriate role in the regional and global community in developing sustainable solutions to forced labor in its fisheries.  Thailand should consider the pros and cons of ILO C.188 on deep-sea fishing.  Thailand should use fishing boats which conform to the specifications of SEADEC to improve the livelihood of Thai fishing enterprises.  Thailand should implement activities according to #10 of the Sustainable Development Goals of the UN which calls for normalizing safe migration, and #17 on data inspection and building the capacity of data systems to product high quality, timely and credible information on migration.  Thailand should implement programs in accordance with the regional framework for labor (i.e., the ASEAN Convention against Trafficking in Persons) and the ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers. 4.2 Overall recommendations 1. Thailand should have an integrated budget to speed up the actions of the responsible agencies. There also needs to be long-term funding for the response so that implementation will not be interrupted. 2. There should be mechanisms for collaborative implementation by all relevant agencies with a clear division of labor and efficient delegation to the point of action. 3. There should be a central technical agency to monitor and report results of implementation and progress toward the goals. These reports should be compiled into a management report to address shortcomings and deficiencies.


121

4.3 Policy announcement by the Minister of Agriculture and Agricultural Cooperatives Regarding the impact of urgent policies and measures on the traditional fisheries sector and the removal of the warning from the EU regarding Thai fisheries practices, the following are relevant actions that have taken place: 1. Issuance of the 2015 Ministerial Regulation and other related laws as the basis for the response to the challenge. 2. Survey of the impact of these measures on the traditional fisheries sector. 3. Proposed reorganization of the management of the DOF and an increase of more than 200 positions in the DOF. 4. The government is collaborating with the private sector to conduct back-tracing using modern technology to obtain evidence of the size and type of the catch and comparing that to the reported catch. In the past, the catch information was entered manually into the logbook, now there is the e-logbook which facilitates inspections. 5. Back-tracing is now the responsibility of the CCCIF. 6. There will be improvements to the VMS with technical assistance from the EU.

The long-term policy and goal of the government is to have sustainable fisheries. The following are relevant actions: 1. Creation and enforcement of regulations to preserve the health of the Gulf of Thailand and Andaman Sea. Promoting and protecting natural marine life forms in a sustainable way. 2. Integrating all the relevant sectors so that implementation is smooth and supportive of sustainable fisheries.


122

Challenges to the implementing of policy 1. The size of the relevant organizations and diversity of their mission makes it a challenge to corral and steer these groups towards a unified response to the problem based on recommendations from this research study. 2. Implementation of programs to combat illegal fishing has been sluggish. There is dissatisfaction and lack of acceptance of the system (by both personnel and the owners of fishing boats). 3. Creating change in government to better implement the response is not easy to achieve and the potential impact needs to be examined across multiple dimensions.


123

บรรณานุกรม กรมประมงและศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาประมงผิดกฎหมาย. (2558). แผนปฏิบัติการ ระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทาการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการ รายงาน และไร้การควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ (Thailand National Plan of Action to Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing 2015 - 2019 หรือ NPOA-IUU) และแผนการบริหารจัดการ ประมงทะเลของประเทศไทย นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการประมงทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ (Marine Fisheries Management Plan of Thailand หรือ FMP). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงการต่างประเทศ. (2559). สรุปการประชุมสัมมนา “ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการทาประมง อย่างยั่งยืน”. วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2559. กรุงเทพฯ. คณะกรรมาธิการยุโรป. (2558). คาวินิจฉัยคณะกรรมาธิการยุโรปวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2885 ว่าด้วยการแจ้งให้ประเทศที่สามรับทราบความเป็นไปได้ที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่สาม ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทาประมงผิดกฎหมายประมง ขาดการรายงาน และ ไร้การควบคุม. (แปลจาก COMMISSION DECISION of 21 April 2015 on notifying a third country of the possibility of being identified as a non-cooperating third country in fighting illegal, unreported and unregulated fishing) โดยวิชาญ ศิริชัย เอกวัฒน์และคณะ (2558, กันยายน). คณะประมง. (2558). บทสรุปและสังเคราะห์ความรู้จากการเสวนา “การบริหารจัดการประมงไทย ภายใต้วิกฤตการณ์ปัจจุบัน”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ทานตะวัน แก้วสม. (2553). กระบวนการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ของลูกเรือประมงทะเลไทย: ศึกษากรณี เหยื่ออาชญากรรมในสถานคุ้ม ครองและพัฒนาอาชีพ (ชาย) จัง หวั ด ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพรินทร์ มากเจริญ. การจ้างเหมาในกิจการต่อเนื่องประมงทะเลและผลกระทบต่อแรงงานเด็ก กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. ศูนย์วิจยั การย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). วิกฤตใบเหลือง อียู: ผลกระทบต่อประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย , ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ. (2559). สรุปการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ไข ปัญหา IUU fishing และการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1. วันศุกร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2559. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


124

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย , ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ. (2559). สรุปการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒ นาแนวทางการแก้ไข ปัญหา IUU fishing และการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2 (ระดม ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ). วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2559. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย , ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ. (2559). สรุปการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ไข ปัญหา IUU fishing และการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 (รับฟัง ความคิดเห็นจากรัฐมนตรีกระทรวง เกษตรและสหกรณ์). วันพุธที่ 28 กันยายน 2559. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย. (2559). Thailand Anti Trafficking Outlook. Vol 2/2559. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สานักงานเลขานุการคณะกรรมการปูองกันและปราบปรามการค้ามนุษย์. (2557). รายงานผลการ ดาเนินงาน ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจาปี 2557. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สมาคมการประมงแห่ งประเทศไทย. (2558). แถลงการณ์ ฉบับ ที่ 1 สมาคมการประมงแห่ ง ประเทศไทยต่อการแก้ไขปัญหาการประมง IUU ของรัฐบาลไทย. วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2558. สุภางค์ จันทวานิชและคณะ. (2555). การศึกษาสภาพการจ้างงานและการทางานในภาคการ ประมงทะเลของไทย. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การสัมภาษณ์หน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม 2559 - 16 กันยายน 2559 (ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาการประมงผิดกฎหมาย สมาคมประมงแห่งประเทศ ไทย สมาคมประมงนอกน่านน้าไทย ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ กระทรวงแรงงงาน)




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.