สารสองล้อ มกราคม 2557

Page 1






สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารสองล้อ ฉบับที่ 271 / มกราคม 2557 ISSN 1513-6051

08 10 12 14 16 18 19 20 24 26 28 30 32 34 36 38 40 42 44

อวยพรปีใหม่จากใจนายกฯ แวดวงสองล้อ ทริปเดือนมกราคม ทริปเดือนกุมภาพันธ์ ปฎิทินทริป ปั่นรัก (ษ์) พิทักษ์โลก จ.น่าน ซ่อมจักรยานเพื่อน้อง “ล้อ เรียน โลก” ปั่นสองเดือนเที่ยวยูนนาน 3 จักรยานรีไซเคิลจากเหล็กข้างเตียงผูป้ ว่ ย หนาวนี้ที่ Chocolate Ville นักปั่นน้อย..วัยน่ารัก จักรยานส�ำหรับเด็ก Bike to Work TOKYOBIKE IN THAILAND จักรยานรับใช้เราได้เสมอ จักรยาน vs. การวิ่ง เมื่อฝันอยากมีจักรยานฯ 3 ชุมชนชาวจักรยาน สินค้าสมาคมฯ

บทบรรณาธิการ

เมื่อมีผู้สนใจใช้จักรยานกันมากขึ้น อาจจะเริ่มต้นด้วยการปั่นเพื่อ ออกก�ำลังกาย หมายที่จะบ�ำรุงรักษาสุขภาพ ให้มีความแข็งแรง หรือ เพื่อ “รักษา” อาการป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่นิยมเป็นกันตามวัย แต่เมื่อได้มีโอกาสขี่ปั่นจักรยานบ่อยๆ เข้า สิ่งที่เกิดตามขึ้นมาคือความ ชื่นชอบ ล่วงเลยไปสู่การปั่นจักรยานเพื่อพิสูจน์ใจ วัดความเร็ว และ ความแข็งแกร่ง ตลอดจนการสะสม “ระยะทาง” ซึ่งนั่นหมายถึงความ สามารถอันน่าภาคภูมิใจ ที่ร่างกายและจิตใจของตนเองนั้น สามารถ ท�ำได้อย่างน่าทึ่ง สิ่งที่ตามมาหลังจากเหตุข้างต้น คือ.. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ในการปั่นจักรยานรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จักรยาน เดินทาง ไม่วา่ จะเป็นระยะทางรอบๆ ถิน่ อาศัย หรือปัน่ ไกลไปสูเ่ ส้นทาง ต่างจังหวัด ไต่ขนึ้ ภูเขา ลัดเลาะชนบท ฯลฯ เรือ่ งราวและภาพแห่งความ ทรงจ�ำของกิจกรรมปั่นจักรยานเหล่านี้ ถูกบันทึกถูกถ่ายทอดออกมา มากหลากหลายขึ้น และด้วยความช่วยเหลือของสื่อสังคมออนไลน์ ทีฉ่ บั ไว ได้การโต้ตอบแบบหลายทาง ท�ำให้ความภาคภูมใิ จจากประสบการณ์ เดินทางเคียงคู่กับจักรยานมากมาย กลายเป็นที่รับรู้ของผู้คนมากขึ้น เรื่อยๆ เมือ่ เป็นเช่นนีแ้ ล้ว.. หากใครฝันถึงประสบการณ์เดินทางกับจักรยาน แต่ยงั ไม่ได้มโี อกาสเริม่ ขอบอกผ่านทางหน้านีเ้ ลยนะครับว่า... ไม่ตอ้ งรอช้า.. จับจักรยานของคุณออกปั่นตามฝันกันได้แล้วละครับ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพที่สมบูรณ์ เพิ่มพูนระยะทางบนเรือนไมล์ จักรยานได้นับพันตลอดปี 2557 นี้ทุกท่าน บรรณาธิการสารสองล้อ วัตถุประสงค์ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 1. ส่งเสริมการใช้จักรยานในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น เพื่อสุขภาพและพลานามัย การคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนันทนาการ 2. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการใช้จักรยานทั่วประเทศ 3. เป็นองค์กรประสานงานระหว่างผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศและในระดับสากล 4. อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ 6. เป็นศูนย์กลางในการสือ่ สาร ส่งเสริมความสัมพันธ์อนั ดี ยกย่อง ให้กำ� ลังใจ และให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ที่ประกอบคุณงามความดี ช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม 7. ไม่ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมือง เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ ก�ำพล ยุทธไตร, ศักดิ์รพงค์ เกรียงพิชิตชัย, สุปรียา จันทะเหลา พิสูจน์อักษร วีณา ยุกตเวทย์ บัญชี วิภาดา กิรานุชิตพงษ์ การเงิน วีณา ยุกตเวทย์ ส่วนทะเบียน เรืออากาศตรีลิขิต กุลสันเทียะ ฝ่ายโฆษณา กัญญพัฒน์ บัณฑุกุล พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-214-4660, 02-214-4370 โทรสาร 02-612-4509 ส�ำนักงาน สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนน นราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและ รับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี 200 บาท ( ต�่ำกว่า 15 ปี 80 บาท ) สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท ติดต่อได้ที่ โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member

น้องจ๊ะจ๋า และน้องอิง ภาพโดย schantalao

ขอบคุณฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก f0nt.com


สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 7


สวัสดีปใี หม่ 2557 ตลอดปีที่ผ่านมา สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยได้มี กิจกรรมและโครงการใหม่ๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริม ให้เกิดกระแสการใช้จกั รยานในประเทศไทยหลายต่อหลายกิจกรรม โดยมีทงั้ โครงการต่อเนือ่ งเช่นกิจกรรมการปัน่ จักรยานเพือ่ สุขภาพ และการท่องเที่ยว ทั้งระยะทางใกล้และระยะทางไกล โครงการ รีไซเคิ้ลจักรยานอันเป็นกิจกรรมที่ท�ำมาอย่างต่อเนื่อง โดยมี จุดประสงค์ในการส่งเสริมและให้โอกาสกับเยาวชนในจังหวัด ต่างๆ ได้มีจักรยานใช้งาน อันเป็นผลพวงมาจากการบริจาคจักรยาน ตลอดจนอะไหล่ต่าง เพื่อน�ำมาซ่อมบ�ำรุงให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง หรือแม้แต่โครงการที่ ร่วมมือกับองค์กรเอกชนในการพัฒนาให้เกิดนักปั่นจักรยานหน้าใหม่อย่างถูกวิธีและปลอดภัย นอกจากนีย้ งั มีกจิ กรรมอีกหลายอย่างทีส่ มาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ได้รว่ มมือกับภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมรณรงค์การปัน่ จักรยานครัง้ ใหญ่ นัน่ คืองาน CAR FREE DAY 2013 โดยมีหน่วยงาน กลุม่ จักรยาน และชมรมจักรยานต่างๆ ให้ความร่วมมือจัด กิจกรรมดังกล่าวไปทัว่ ประเทศ ท�ำให้จกั รยานกลายเป็นกระแสแห่งความ นิยมที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในประเทศไทย ทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้.. ล้วนเกิดขึ้นจากความร่วมแรงรวมใจกัน ของคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร ทัง้ ทีเ่ ป็นสมาชิกอยูใ่ นสมาคม จักรยานเพื่อสุขภาพไทย และทั้งที่เป็นมวลหมู่ชาวจักรยานจากทั่ว ประเทศ ท�ำให้ข้าพเจ้าเกิดความประทับและปลื้มปิติต่อแวดวงคน รักจักรยานเป็นอย่างมาก และในโอกาสวาระดิถีขึ้นปี 2557 นี้ ข้าพเจ้าในฐานะของ นายกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ขออ�ำนวยอวยพรให้กับ สมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยทุกท่าน ตลอดจนชาว จักรยานทุกๆ คน มีสขุ ภาพกายและสุขภาพใจทีแ่ ข็งแรง ตลอดปี และตลอดไป

นาย พิชิต เอื้อสกุลเกียรติ นายกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย 8 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)


สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 9


แวดวงสองล้อ

สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589

Bike Fair@สวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทาได้กอ่ ตัง้ ชมรมจักรยานขึน้ ในเดือนพฤศจิกายน 2556 โดยมีการเปิดตัว ชมรมด้วยกิจกรรม Bike Fair บริเวณลานคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยได้รับ เชิญเข้าร่วมงาน ในช่วงเช้ามีการปั่นจักรยานไปวัดโพธิ์ น�ำโดยคณะกรรมการจากสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพ ไทย และในช่วงบ่ายคุณเรวัต ดวงประชา กรรมการสมาคมฯ ขึน้ เวทีพดู คุยให้ความรูเ้ รือ่ งการเตรียมตัวก่อนปัน่ จักรยาน จบงานนี้แล้วน้องๆ เริ่มมีแรงบันดาลใจในการปั่นจักรยานมากขึ้น ท�ำให้เห็นว่าหนุ่มสาวสมัยนี้หันมา สนใจการออกก�ำลังกายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย “ฮั ก ถี บ ” เทศกาลรถถี บ เชียงใหม่ 14-16 กุมภาพันธ์ 2557 ขอ เชิญร่วมงานเทศกาลรถถีบเชียงใหม่ 2557 (Chiang Mai Bike Festival 2014) ในธีมงานว่า “ฮัก ถีบ” Love Bike ตั้งแต่เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ สโมสรยิมคาน่าเชียงใหม่ ...กิจกรรมหลัก ในงานประกอบด้วย นิทรรศการ การ เสวนา ร้านค้าจ�ำหน่ายจักรยานและ สินค้าที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมบันเทิง ดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ฯ

10 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

บิดบิดเบี้ยวเบี้ยว...ขอเป็นมดเขียว V.3 เสื้อจักรยาน MASKED RIDER V.1 , V.3 & KIKI ของแท้ ทุกตัว ราคา 1550 บ. โปรดสังเกต สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม 3D logo TIGA ที่ป้ายราคา และเครื่องหมายลิขสิทธิ์ของ Ishimori Production Inc. and TOEI COMPANY, LTD. และ โลโก้ BOMBBIKE ที่พิมพ์ลงบนคอเสื้อด้านในทุกตัว ผลิตด้วยผ้า AIR Passpro รุ่นใหม่ชื่อ RAIN-TEX สั่งตรงจาก Italy เนื้อผ้านุ่ม บางเบา ระบายอากาศได้ดีเยี่ยม เหงื่อแห้งเร็ว สามารถกันรังสี UV จากแสงแดดได้ พิมพ์และตัดเย็บด้วยมาตราฐานการผลิตของ SOBIKE BOMBBIKE ได้รับอนุญาตจากทางบริษัท TIGA ให้ผลิตเสื้อ จักรยาน และจ�ำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย


สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 11


TCHA ช่วนปั่นฯ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

TCHA ชวนปั่นและร่วมกิจกรรมเดือน มกราคม 2557 ปั่นรัก(ษ์) พิทักษ์โลก ปี 2 จากความส� ำ เร็ จ ของ “Bike Passion ปั่น รัก(ษ์)พิทักษ์โลก” ซึ่งเป็น กิจกรรมครัง้ แรกในปีทผี่ า่ นมา ซึ่ ง จั ด โดย ไทยพี บี เ อส ร่วมกับ ส�ำนักงานกองทุน สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) และ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ในครั้งนั้นจัดขึ้น ด้วยกัน ๔ จังหวัดคือ เชียงใหม่ เชียงราย อุบลราชธานี และเพชรบูรณ์ เป็นการส่งเสริมการออกก�ำลังกาย สร้างเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และส่งเสริม ความรูด้ า้ นการท่องเทีย่ ว จนท�ำให้กจิ กรรมดังกล่าว ได้รับรางวัลรายการโทรทัศน์เพื่อนันทนาการดีเด่น ปี ๒๕๕๖ โดยกรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬามาแล้ว ปีนกี้ ระทรวงท่องเทีย่ วและกีฬา ร่วมกับสถานีไทยพีบเี อส และสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย จัดกิจกรรมขึน้ อีกครัง้ เป็นปีที่ 2 โดยมีเป้าหมายกิจกรรมใน 5 จังหวัด โดยจัดไปแล้ว 2 ครั้งคือที่จังหวัดน่านและบุรีรัมย์ ส�ำหรับในครั้งต่อไปอีก 3 จังหวัดคือ วันที่ 19 มกราคม 2557 ที่จังหวัดแพร่ วันที่ 26 มกราคม 2557 ที่จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่จังหวัดล�ำปาง สมาชิกและชาวจักรยานท่านใดสนใจร่วมกิจกรรมดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย

ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด กิจกรรมชวนปั่นที่จะน�ำพาสมาชิกชาวจักรยานใช้สองน่องไปท่องตลาดชื่อดังถึง 12 แห่งตลอดปี 2557 ซึ่งสามารถ ปัน่ จักรยานไปท่องเทีย่ วได้ภายใน 1 วัน โดยจะประเดิมเริม่ กันทีต่ ลาด “ตลาดริมน�ำ้ วัดมะขามวัดศาลเจ้า” จังหวัดปทุมธานี และมีแผนส�ำหรับกิจกรรมปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด เบื้องต้นดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 - ตลาดริมน�้ำวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 - ตลาดน�ำ้ คลองลัดมะยม เขตตลิ่งชัน วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2557 - ตลาดวัดประยงค์ ส�ำหรับชาวจักรยานทีช่ นื่ ชอบกิจกรรมปัน่ จักรยานท่องเทีย่ ว ชมตลาด และหาของกินอร่อยชื่อดัง ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง สอบถามรายละเอียดและการนัดหมายพร้อมก�ำหนดการได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 12 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)


สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 13


TCHA ช่วนปั่นฯ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

TCHA ชวนปัน่ และร่วมกิจกรรมเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 ปั่นสองน่องท่องริมโขง : 25-26 มกราคม 2557 อี ก หนึ่ ง ทริ ป จั ก รยานในฝั น ของนั ก ปั ่ น หลายๆ ท่าน นั่นคือการได้มีโอกาสปั่นจักรยาน ชื่นชมธรรมชาติเลาะริมฝั่งแม่น�้ำโขง โดยครั้งนี้ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานจังหวัดเลย และสมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทยจะน� ำ พา ปั่นท่องริมโขงตามเส้นทาง เลย-เชียงคาน และ ปากชม ด้วยการปั่นจักรยานข้ามพรมแดนเยือน เมื อ งแก้ ว ท้ า ว แวะชมบ้ า นไม้ โ บราณอายุ ก ว่ า 100 ปี วัดศรีภูมิ แล้วจับจ่ายสินค้าปลอดภาษีใน สปป.ลาว อีกวันไปกราบนมัสการองค์พระธาตุสจั จะ ปั่นจักรยานไปชมแก่งโตน นอกจากนี้ยังเข้าร่วม กิจกรรมท้องถิ่นที่น่าประทับใจ เช่น งานพาแลง กิจกรรมลอยผาสาด ฯลฯ ออกเดินทางวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557 เวลา 18.30 โดยรถโค้ชปรับอากาศ รับจ�ำนวน จ�ำกัดเพียง 60 ท่าน ติ ด ตามรายละเอี ย ดได้ ท่ี www.thai cycling.com หรือโทรศัพท์สอบถามได้ทสี่ มาคมฯ ทริปผ้าป่าสามัคคี กรุงเทพฯ - พะเยา : 14 - 17 กุมภาพันธ์ 2557 จากความส�ำเร็จในกิจกรรมทริปจักรยาน “ผ้าป่า การศึกษา 2556” อันเป็นโครงการสนับสนุนส่งเสริม การจัดการเรียนการสอนสาระศิลปศึกษา (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) โรงเรียนบ้านโพธิท์ อง หมูท่ ี่ 2 ต�ำบลคือ เวียง อ�ำเภอดอกค�ำใต้ จังหวัดพะเยา สมาคมจักรยาน เพื่ อ สุ ข ภาพไทยจะขอน� ำ ท่ า นไปร่ ว มกิ จ กรรมปั ่ น จักรยานทริปผ้าป่าสามัคคีเส้นทาง กรุงเทพฯ - พะเยา กันอีกครั้ง เตรียมตัวให้พร้อมไปร่วมปัน่ จักรยานท�ำบุญด้วย กันอีกครั้ง ด้วยเส้นทางขุนเขา รวมระยะทางประมาณ 330 กม. รับผู้ร่วมทริปจ�ำนวนจ�ำกัด เดินทางด้วย รถบัสปรับอากาศ พร้อมรถบริการน�ำ้ ดืม่ และผลไม้ตาม ฤดูกาล ตลอดเส้นทาง ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling. com หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่สมาคมฯ 14 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)


ป นจักรยานมา

ลดราคาพิเศษ! ราน DD Pharmacy สถานที่ตั้ง จากแยกอังรีดูนังค เขามาทางถนนสุรวงศ เลยทางเขาถนนธนิยะมาประมาณ 20 เมตร โทรศัพท 089-898-5260 สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 15


ปฏิทินทริป

ปฏิทินทริป เดือนมกราคม มีนาคม 2557 อาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2557 ทริปจักรยานประเพณี กรุงเทพฯ - หัวหิน Sunday 12 January 2014 Cycling trip to Hua-Hin with Suanthon Gold City Cycling Club. อาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 ปั่นรัก(ษ์) พิทักษ์โลก ปี 2 จังหวัดแพร่ Sunday 19 January 2014 Bike Passion at Phrae. อาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดริมน�้ำ วัดศาลเจ้า Sunday 19 January 2014 One day cycling trip to Wat San Jao floating market. 25 - 26 มกราคม 2557 ปั่นสองน่องท่องริมโขง เลย เชียงคาน - ปากชม 25 - 26 January 2014 Cycling trip along the Mekong River, Loei Chiang Khan - Pak Chom. อาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557 ปั่นรัก(ษ์) พิทักษ์โลก ปี 2 จังหวัดกาญจนบุรี 16 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

รายการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ สอบถามรายละเอียดหรือสมัคร ร่วมทริปได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย โทร. 0-2678-5470 email: tchathaicycling@gmail.com หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com, Facebook.com/TCHAthaicycling Trips can be changed as appropriate English information, call Bob Tel. 08-1555-2901 email: bobusher@ksc.th.com

Sunday 26 January 2014 Bike Passion at Kanchanaburi. อาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557 Learn to Ride 2 สอนมือใหม่ หัดขี่จักรยาน ครั้งที่ 2 Sunday 26 January 2014 Learn to Ride #2 วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดน�้ำ คลองลัดมะยม Sunday 9 Febuary 2014 One day cycling trip to Khlong Lat Mayom Floating Market. 14 - 17 กุมภาพันธ์ 2557 ทริปผ้าป่าสามัคคี กรุงเทพฯ - พะเยา 14 - 17 Febuary 2014 Cycling trip to offering robes to Buddhist priests at monastrey from Bangkok to Phayao. 22 - 23 กุมภาพันธ์ 2557 กิจกรรมรีไซเคิล มอบจักรยาน จังหวัดนครนายก 22 - 23 Febuary 2014 Recycle trip to Nakhonnayok.

23 มีนาคม 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด วัดประยงค์ 23 March 2014 One day cycling trip to Watprayong‎ Old Market. 30 มีนาคม 2557 ชวนปั่น 1 5 9 ตามรอย ราชวงศ์จักรี 30 March 2014 Cycling to honor King Rama I, King Rama V and King Rama IX. 20 เมษายน 2557 ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 20 April 2014 TCHA annual general meeting 2014. 26 เมษายน 2557 รวมพลซ่อมจักรยาน ณ ไปรษณีย์ไทย ส�ำนักงานใหญ่ 26 April 2014 Repair bicycles at Post Office Headquarters. 27 เมษายน 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดน�้ำ ขวัญเรียม 27 April 2014 One day cycling trip to Kuanriam Floating Market.


สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 17


สรุปทริป

ปั่นรัก (ษ์) พิทักษ์โลก จ.น่าน กิจกรรมแรลลี่ส่งเสริม การปั ่ น จั ก รยานพร้ อ มกั บ ชูนโยบายเที่ยวไทยเกิดขึ้น อีกครัง้ จากความร่วมมือของ หลายๆ ฝ่าย โดยมี Thai PBS เป็นโต้โผใหญ่ ในวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคมทีผ่ า่ นมา ลมหนาว

บวกกับกิจกรรมทีส่ นุกสนาน ท�ำให้คนท้องถิน่ และนักท่องเที่ยวที่ผ่านมาพบเห็นได้ยิ้ม แย้มมีความสุข แต่ละฐาน กิ จ กรรมจะปั ่ น จั ก รยานไป ตามวัดทีม่ ชี อื่ เสียงของจังหวัด น่าน ระยะทางห่างกันเพียง

3-6 กม. และไปปิดท้ายที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ น่าน โดยมีการแสดงท้องถิ่น ให้ได้ชม….ติดตามกิจกรรมได้ ทางสถานี Thai PBS ในช่วง เดือนมีนาคม 2557

เกาะติดกระแสจักรยานกันจริงๆ ยุคนี้ ต้นคริสต์มาสยังกลายพันธุ์ ออกใบเป็นจักรยาน!! ต้ น นี้ ง อก เอ๊ ย !! ตั้ ง อยู ่ ที่ ส กายวอล์ ก แยก นราธิวาสฯ ใกล้ๆ สมาคมฯ เรานี่เอง ตอนนี้ คงถูกถอนทิ้งไปเป็นที่เรียบร้อย...


Bike for Life

เรื่อง/ภาพ schantalao

ซ่อมจักรยานเพื่อน้อง

“ล้อ เรียน โลก”

วมพลซ่ อ มจั ก รยานในโครงการ “ล้อ เรียน โลก” Bike for Life เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา... โครงการ “ล้อ เรียน โลก” ถือก�ำเนิดมาจาก โครงการรีไซเคิลจักรยานเพือ่ น้อง ของสมาคม จักรยานเพื่อสุขภาพไทย โดยโครงการนี้ได้รับ ความร่วมมือจากบริษัทไปรษณีย์ไทย จ�ำกัด เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการขนส่งจักรยาน และ อ� ำ นวยความสะดวกมอบพื้ น ที่ ส ่ ว นหนึ่ ง ใน บริเวณลานจอดรถของส�ำนักงานใหญ่ ถนน แจ้งวัฒนะ ให้เป็นพืน้ ทีเ่ ก็บอุปกรณ์อะไหล่และ เป็นจุดรวมพลนัดซ่อม ที่ท�ำการไปรษณีย์ไทยกว่า 120 แห่งทั่ว ประเทศเปิดเป็นจุดรับบริจาคจักรยานก่อนน�ำ มาที่แจ้งวัฒนะ เพื่อเตรียมพร้อมส�ำหรับการ ซ่อมซึ่งจะจัดอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน โดยมี การประชาสัมพันธ์ให้ทราบผ่านทางสมาคม จักรยานเพื่อสุขภาพไทย และไปรษณีย์ทั่ว ทุกแห่ง รวมถึง Social Media ซึ่งเผยแพร่ได้ รวดเร็วและได้รับการตอบรับอย่างดีมาก

สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 19


เรื่องเล่าชาวสองล้อ เรื่อง/ภาพ จารึก หลังสวน

ปั่นสองเดือน

ตอนท

ี่ 3

เที่ยวยูนนาน หมดหมื่นกว่า ผมนึกถึงความหลังให้เกิดความอยากปั่น จักรยานเที่ยวจีน โดยที่ในปี 2000 ผมผู้ก�ำลัง หลงใหลในการซ้ อ มวิ่ ง และการลงวิ่ ง มาราธอน ติ ด ตามข่ า วผลการคั ด เลื อ กประเทศผู ้ ข อเป็ น เจ้าภาพการจัดกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อนปี 2008 ซึ่ง ผลการสรรหาครั้งนั้น เมืองปักกิ่งได้รับคัดเลือก ให้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิค ปี 2008 20 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)


ความคิดอยากปัน่ จักรยานจึงผุดขึน้ อยากปัน่ จักรยานไปจีนไปกรุงปักกิง่ ครัง้ นัน้ ด้ ว ยความอยากไปร่ ว มกี ฬ าโอลิ ม ปิ ค ฤดูรอ้ นปี 2008 อยากเป็นหนึง่ ในคนทัว่ โลก นับหลายล้านทีม่ โี อกาสมีสว่ นร่วมใกล้ชดิ กับมหกรรมการแข่งขันกีฬาทีย่ งิ่ ใหญ่ของ มวลมนุษยชาติ ให้สมกับที่เราติดการวิ่ง มาราธอน กีฬาที่เป็นหลักหัวใจของการ จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคแต่เริ่มต้น ครับทัง้ หมดทีว่ า่ นีน้ บั เป็นแรงจูงใจ ให้ผมหัดปั่นเที่ยวโดยใช้จักรยาน เทียบเวลากับการสรรหาคัดเลือกประเทศเจ้าภาพ เขาประกาศผลการสรรหาก่อนงานแปดปี เพือ่ ให้เวลา ประเทศเจ้าภาพมีเวลาเตรียมตัว ผมก็หดั ปัน่ เทีย่ วนับ แต่ปี 2000 หลังจากนั้น หวังเต็มที่ไปแน่... จะปั่นไป เทีย่ วปักกิง่ ในช่วงทีเ่ ขาจะมีงานกีฬาโอลิมปิค ปี 2008 การขอวีซา่ เข้าจีนก่อนปี 2008 ขอได้งา่ ยมากครับ จีนอยากได้เงินเข้าประเทศ และในส่วนหนึ่งของการ เตรียมตัวปั่นไปเที่ยวจีนของผม ผมก็ได้ลองหัดปั่น เที่ยวจีนครั้งหรือสองครั้งโดยไปกับคณะกลุ่มไม้ค�้ำตะวัน โดยผมปั่นไปถึงเชียงรุ้งในครั้งแรก ครั้งที่สองปั่นผ่าน เชียงรุง้ ถึงคุนหมิงจนวนกลับออกจากด่านจีนทีเ่ หอโคว เรื่องท�ำวีซ่าเข้าจีนผมจึงเห็นเป็นของง่ายมาก ไม่เคย เจอปัญหาที่เขาจะไม่ให้วีซ่า การเตรียมตัวจะปัน่ ไปจีนไปเทีย่ วปักกิง่ ในช่วงที่ เขาจะมีงานกีฬาโอลิมปิค ปี 2008 คราวนัน้ ก็เลยเกิด ความชะล่าใจ กะไปท�ำวีซ่าก่อนเดินทางปั่นออกจาก บ้านซักสองสัปดาห์ แบบขอวันนี้ก็น่าจะได้ในสามวัน ตามหลักเกณฑ์ปรกติ แล้วปั่นออกจากบ้านในวัน สองวันหลังจากนั้น กะใช้เวลาปั่นสองเดือน คาดว่า ไปถึงปักกิ่งทันถมถืดก่อนถึงวันที่จีนจะเปิดพิธีปักกิ่ง โอลิมปิคเกมส์ แห้วรับประทานครับในงวดนัน้ โดยจีนประกาศ โครมให้ทุกสถานทูตของเขาทั่วโลก เข้มงวดการออก วีซา่ ช่วงก่อนงานกีฬาโอลิมปิคประมาณสามเดือนและ

ระหว่างงานโอลิมปิค ท�ำนองคัดกรองเกรดและเป็น มาตรการจ�ำกัดจ�ำนวนนักท่องเที่ยวซ�ำเหมาไม่ให้ไป เกะกะล้นเมืองปักกิ่งเขา ผมไปท�ำวีซ่าช้ากว่าประกาศนี้แค่สองสัปดาห์ จากแผนที่คิดไว้ เลยไม่ได้ปั่นไปปักกิ่งในครั้งนั้น ช่วงนัน้ นัง่ เซ็งอยูก่ ะบ้าน ว่างๆ ก็เปิดเน็ตติดตาม อ่ า นข่ า ววงการปั ่ น เที่ ย วของเพื่ อ นๆ พอหายเซ็ ง อ้าววว...อ่านเจอคุณมุก อยุธยา เขียนส่งข่าวก�ำลังปัน่ ไปเทีย่ วปักกิง่ โอลิมปิค ภายหลังเจอคุณมุกหลังกลับมา ผมถามก็ได้ความว่าคุณมุกท�ำวีซา่ เข้าจีนก่อนการเข้มงวด โธ่…ผมสุดเสียดายครัง้ นัน้ ทีไ่ ม่ได้ปน่ั ไปเทีย่ วจีน ครับ…หลังจากนัน้ เมือ่ จบโอลิมปิคทีป่ กั กิง่ จีนก็ ผ่อนคลายความเข้มงวดในเรือ่ งการขอวีซา่ จะไปเทีย่ ว จีนก็ขอวีซ่าเข้าจีนได้ง่ายเหมือนเก่า ทีนี้เมื่อประมาณต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ ผม เกิดๆ อยากๆ ดิกๆ …อยากไปจีน เพราะไปอ่านเรื่อง เขียนเล่าการปั่นเที่ยวของคุณวุด บางสีส้ม เล่าเรื่อง ปั่นเดี่ยวเที่ยวคนเดียว ปั่นจากไทยไปเที่ยวจีนถึงต้าลี่ ลี่เจียง และแชงกริล่า สนุกนักหนา ผมอ่านแล้ว...ก็อยากไปยิกๆ อีกแล้วผมเจอปัญหาเรื่องขอวีซ่าเข้าจีนซ�้ำรอย อีกแล้ว ช่วงที่ผมไปขอก็ไปเจอมาตรการเข้มงวดของ สถานฑูตจีนอีกแล้ว ประมาณว่าจีนยุคนีเ้ ป็นประเทศ ที่มีกะตังค์ซะแล้ว นักท่องเที่ยวขี้หมาประเภทแบก สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 21


22 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)


เต็นท์เข้าไปร่อนเร่พเนจรดูเหมือนจีนไม่อยากได้ ถึง ก�ำหนดมาตรการให้มนั ยุง่ ยากขึน้ มาในการขอวีซา่ เข้า จีนวันนี้ นักท่องเที่ยวที่จีนอยากได้ ต้องเป็นพวกจอง ตั๋วเครื่องบินหรือยานพาหนะในการเดินทาง ทั้งต้อง บุ๊คโรงแรมที่พักในจีนล่วงหน้าก่อนการเดินทาง แล้ว เอาหลักฐานเหล่านี้พร้อมส�ำเนาเสตจเม้นท์เงินฝาก ในธนาคารไปให้เขาดูพร้อมการของวีซ่าว่าเป็นคนมี กะตังค์เข้าไปพอใช้แน่ เขาถึงจะให้วีซ่าเข้าเมืองจีน ผมผูอ้ ยากไปจีนยิกๆ …เจอมาตรการนีต้ อนแรก ก็มึน เพื่อนหลายคนรู้ปัญหาผมก็แนะผมให้จ้างมือ อาชีพ ก็จา้ งพวกท�ำทัวร์ไปท�ำวีซา่ ให้เรา เสียเงินค่าจ้าง ท�ำซักหน่อย ก็จะได้วีซ่ามาตรฐานที่เขาให้อยู่ในจีน 30 วัน แน่นอนครับ แต่วิธีนี้ ผมรู้สึกหากผมท�ำตามเพื่อนแนะจะ เสียเหลี่ยมลูกก�ำนัน แถมจะไม่มีเรื่องโม้ให้เพื่อนฟัง ก็ลองไปท�ำวีซา่ ด้วยตนเอง เอาความจริงเขียนเป็น จดหมายเล่าให้เขาฟัง ส่วนส�ำเนาเงินฝากที่เขาอยาก ดูแนบเรื่องขอวีซ่า ก็หยิบยืมเงินของเพื่อนใส่ในบัญชี ถ่ายส�ำเนาเสร็จก็ถอนเงินออก เอาเงินไปคืนเพื่อน ผมท�ำจดหมายและเอกสารเพิม่ เติมรายละเอียด แนบไปกับฟอร์มขอวีซ่าปรกติของสถานฑูต หวังว่า เขาจะพิจารณาแทนและดูท่าจะขลังกว่าการอธิบาย ด้วยปากเปล่าตอนไปยื่นขอ ในส่วนของจดหมาย ผมเขียนบอกเขาตามตรง ว่าจะไปปั่นจักรยาน เริ่มจากชายแดนจีนเข้าไป หวัง เที่ยวในมณฑลยูนนาน จึงไม่ตั๋วเครื่องบินแนบให้ดู ส่วนเรือ่ งการจองทีพ่ กั ก็สดุ ปัญญาทีจ่ ะจองไว้ลว่ งหน้า ท�ำได้แค่แนบแผนปั่นแต่ละวันจะปั่นไปพักที่เมืองใด ทั้งการปั่นเที่ยวครั้งนี้ตั้งใจไปเกินกว่า 50 วัน ผมลงท้ายจดหมายว่าใคร่ขอท่านโปรดอนุมัติ วีซา่ ให้อยูใ่ นเมืองจีนได้ถงึ 60 วันด้วยเถิด เพือ่ ข้าพเจ้า

จะได้ปั่นเที่ยวตามแผนการปั่นและการพักในแต่ละ เมืองที่แนบมา จะขอบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง ประมาณนั้นครับที่เขียนไป เล่าให้ฟังแบบนี้ ท่านอาจถามผมเขียนแผน รายวั น ยั ง ไงล่ ะ ไม่ รู ้ จั ก เส้ น ทาง ไม่ รู ้ จั ก ชื่ อ เมื อ ง ซักกะเมือง โธ่ถัง มันจะล�ำบากอะไรครับ ผมก็เปิดแผนที่ดู ในกูเกิล้ ไล่ชอื่ เมืองไปทีละเมือง ให้แต่ละเมืองมันห่าง กันซักห้าหกสิบกิโลเมตร ก็เป็นการเดินทางแต่ละวัน พอได้วีซ่ามา เราไปจริงจะปั่นไปทางไหน เขา ไม่ได้ตดิ GPS ติดตามตัวเรานีค่ รับ ก็ไม่จำ� เป็นต้องปัน่ ตามแผนที่เขียนขอ ผมเสียดายหลังได้วีซ่า ที่ตอนยื่นขอผมมักน้อย ขอแค่ 60 วัน พอยืน่ แล้วเขาให้ตามขอ เสียดายแทบตายน่าจะ ขอซะ 90 วัน เอาให้สดุ ๆ ตามหลักเกณฑ์การให้วซี า่ แบบ นักท่องเที่ยวประเภทเข้าและออกหนึ่งครั้งของจีน เขาอาจจะพิจารณาให้เราอยูเ่ ทีย่ วในจีนได้นาน 1 เดือน ถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับการระบุขอของเราและจากการ พิจารณาของเขา โดยเสียค่าธรรมเนียมจ�ำนวนเงิน หนึ่งพันบาทเท่ากัน ได้วีซ่าแล้วไปปั่นจริงก็รู้ทันที วีซ่าจีนที่ขอและ ได้ 60 วันนั้นไม่พอ ส่วนเหตุที่ไม่พอ เพราะพอผมปั่นเที่ยวได้ซัก สิบวัน ก็จบั เค้าวิธปี น่ั เทีย่ วในจีนได้ครับ ว่าใช้เงินเฉลีย่ วันละไม่ถึงสองร้อยบาท จากเดิมนึกว่าเงินที่แลกไปห้าพันหยวน กังวล สุดๆ ว่าจะอยูไ่ ด้ไม่ถงึ เดือน กลายเป็นอยูจ่ นวีซา่ เกือบ หมดต้องรีบกลับ ขืนไม่กลับเป็นได้อยู่ฟรี ทางจีนเขา คงเลี้ยงดูด้วยข้อหา อยู่ในเมืองเขาเกินที่เขาอนุญาต ครับ วิธีปั่นเที่ยวในจีนโดยใช้เงินเฉลี่ยวันละไม่ เกิน 200 บาทนี่คงจะได้เล่าให้ฟังต่อในโอกาสหน้า นะครับ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 23


ช่างคิดช่างประดิษฐ์

เรื่อง/ภาพ โอเล่ย์ ช่างใต้ดิน กลุ่มเฟสบุ๊คจักรยานแนวๆ

จักรยานรีไซเคิล จากเหล็กข้างเตียงผูป ้ ว่ ย

จั

กรยานรีไซเคิลจากเหล็กข้างเตียงผู้ป่วย โดย นายประเสริฐพล พรมชาติ อาชีพรับราชการ โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งต�ำแหน่ง ช่าง ปรับซ่อมครุภัณฑ์ประจ�ำส�ำนักงาน หน้าที่ซ่อมบ�ำรุง เครื่องมือแพทย์ เช่นเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค ไฟผ่าตัด เตียงผ่าตัด รวมไปจนถึงเตียงผู้ป่วย งานที่ท�ำแต่ละวันก็จะมีเครื่องมือแพทย์ส่งมา ซ่อมเป็นประจ�ำ แต่ที่มีแนวคิดจะสร้างจักรยานนั้น ก็มเี ตียงผูป้ ว่ ยส่งมาซ่อมด้วยอาการเหล็กข้างเตียงหัก ช�ำรุดจนซ่อมไม่ได้ ส่วนใหญ่ถา้ ซ่อมไม่ได้กก็ องทิง้ เป็น เศษเหล็ก เดิมทีเป็นคนชอบจักรยานมาตัง้ แต่เด็กแล้ว ที่บ้านต่างจังหวัดคุณพ่อเปิดร้านซ่อมจักรยาน ก็ได้ วิชาการซ่อมจักรยานมาบ้าง เห็นเหล็กข้างเตียงหักๆ นอนกองอยู่ เสียดาย น่าจะเอามาท�ำจักรยานได้ และ น่าจะทนด้วยเพราะเป็นสแตนเลส ไม่เป็นสนิม ถ้าท�ำ จักรยานขึน้ จะท�ำแนวแปลกๆ เท่หๆ์ ปัน่ แล้วไม่อายใคร

24 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

และมองเห็นตามท้องถนนไม่ค่อยมีสักเท่าไร ก็คิด ท�ำไว้หลายคันอยู่ แต่คันนี้จะเป็นทรงแนวชอปเปอร์ ส่วนประกอบของจักรยาน ตัวเฟรมรถ มาจาก เหล็กข้างเตียงผู้ป่วย และเสาที่แขวนน�้ำเกลือ มีโช้ค หน้าไว้รับแรงกระแทก มาจากโช้คมอเตอร์ไซค์ที่เสีย แล้วเพราะจะยุบตัวได้ด,ี ดันโซ่ มาจากม้วนด้ายเย็บผ้า และท่อพีวีซีอัดลูกปืนเข้าไปด้านใน ลูกปืนดันโซ่และ ลูกปืนคอรถ มาจากลูกปืนล้อเตียงผู้ป่วย, ไฟหน้า มา จากไฟฉุกเฉินทีต่ ดิ ตามตึกมาดัดแปลงใส่หลอดไฟ LED เข้าไป ถังน�ำ้ มันจ�ำลอง มาจากเสารัว้ บ้านทีต่ า่ งจังหวัด กระโหลกบันได เบรก อาน มาจากจักรยานเก่าๆ ของ คุณศักดิ์ธงชัย รพีดีมงคล ผู้ที่สนับสนุนมาโดยตลอด ที่ต้องเสียเงินซื้อก็จะมีแต่ กระจกมองหลัง กระดิ่ง ล้ออลูมิเนียม เกียร์ดุม คันนี้อะไหล่ก็ตกอยู่ประมาณ 3,000 บาท


ขั้นตอนการประกอบ ก็ไม่มีอะไรมาก ครับ ของผมจะเป็นแบบบ้านๆ นะครับ ดูวสั ดุ จากเหล็กข้างเตียง ที่มีรูปร่างส่วนโค้ง และ พอทีจ่ ะมาท�ำส่วนไหนของจักรยานได้ วาดรูป จ�ำลองบนสมุดโน้ตบ้าง ฝากล่องกระดาษบ้าง กับพื้นปูนก็มี ขีดๆ เขียนๆ เอาเหล็กข้างเตียง มาวางกับพื้น แล้วยืนเล็งๆ วัดๆ ดูว่ามุมไหน ดี สวย เท่ห์ พอได้รูปร่างแล้วก็ท�ำการเชื่อม การเชื่ อ มที่ ผ มใช้ จ ะมี ส องแบบครั บ มีแบบเชื่อมไฟฟ้า และแบบเชื่อมอาร์ก้อน ซึง่ การเชือ่ มนีก้ ม็ าฝึกเอาเอง เพราะผมจบช่าง อิเล็คทรอนิคมา ไม่เกีย่ วกันสักเท่าไร เชือ่ มได้ นิดหน่อยก็หมดเวลาพักเที่ยงละ ก็ท�ำวันละ นิดละหน่อย ท�ำตอนเลิกงานบ้าง ระหว่าง รอลูกชายกลับจากโรงเรียน ก็ท�ำแบบนี้กว่า จะเสร็จแต่ละคันก็ใช้เวลาหลายเดือนอยูค่ รับ คันชอปเปอร์นี้ก็ประมาณ 6-7 เดือน การใช้งาน ส่วนใหญ่จะเป็นวันอาทิตย์ นานๆ ครัง้ ก็จะปัน่ ไปกินไปเทีย่ วกับพีๆ่ เพือ่ นๆ ไม่ไกลมากนัก แต่ทไี่ กลๆ ก็จะเป็น คาร์ฟรีเดย์ 2011, 2012, 2013 มีคนชมและขอถ่ายรูปบ้าง ก็ภูมิใจที่เราท�ำจักรยานขึ้นมามีคนชอบ มี อยู่วันหนึ่งเป็นวันอาทิตย์ ก็ชวนกันไปปั่นกิน ก๋วยเตี๋ยวผักหวาน แถวถนนเพิ่มสินสายไหม มีรถเมล์บีบแตร ปี้นๆๆ ไอ้เราก็โบกมือให้ รถเมล์ไปก่อน กลัวเขาจะร�ำคาญว่าไปกีดขวาง

ทางเขา รถเมล์เคลื่อนมาเรื่อยๆ จนถึงจักรยานของผม แล้ว เขาก็บีบแตรอีก ปี้นๆๆ ผมก็เอ๊ะอะไรกันก็เราหลบให้แล้วนะ มองไปทีค่ นขับ ทีไ่ หนได้เข้ายิม้ ให้แล้วยกนิว้ ให้ พีๆ่ จักรยานเท่ห์ นะพี่

สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 25


สรุปทริป : Friday Night Ride เรื่อง/ภาพ ปัญจพล จิตติฉันท์

หนาวนี้ที่

Chocolate Ville Q: อากาศหนาวอย่างนี้ไปปั่น จักรยานที่ไหนกันดี... A: Chocolate Ville

Chocolate Ville น่ า จะเป็ น ค�ำตอบที่ลงตัวกับการปั่นรับลมหนาวที่ ปีนี้มีกลิ่นไอความหนาวมาให้สัมผัสกัน เร็ ว กว่ า ปกติ ร้ า นช็ อ กโกแลต วิ ล ล์ (Chocolate Ville) เป็ น ร้ า นอาหาร ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2554 ตั้งอยู่บนถนน เกษตร-นวมินทร์ ใกล้กับแยกนวมินทร์ ด้วยการตกแต่งร้านที่ไม่ได้เพียงแต่นั่ง รับประทานอาหารอย่างเดียว แต่ตกแต่ง ในสไตล์ Park ที่ให้ผู้มาเยี่ยมเยือนได้ ถ่ายรูปลง Facebook และ IG กันอย่าง สนุกสนาน แม้ไม่ได้มารับประทานอาหาร ที่ร้านแต่ทางร้านก็ยินดีให้เข้ามาถ่ายรูป เก็บความงามไปชื่นชมกันได้ เส้นทางการปั่นจักรยานเริ่มต้นที่ จุดนัดพบประจ�ำที่โลตัส พระราม 3 กับ ทีมงานผู้ดูแลความปลอดภัย ในการปั่น ตลอดเส้นทางกับ Coffee Bike Club น�ำโดยเฮียม้อซึ่งทริปนี้มีผู้ร่วมปั่น 25 คน ในนี้มีผู้กล้าที่เป็นสตรีถึง 5 คนที่ไม่กลัว การปั่นเส้นทางยาวๆ โดยยังไม่รู้ว่าวันนี้ จะปั่นเป็นระยะทางเท่าไหร่ พวกเราออกจากโลตัสใช้เส้นทาง นราธิวาสฯ มุง่ หน้าไปถนนสาทร วันนีร้ ถยนต์ ไม่เยอะมากเหมือนทุกศุกร์ เราปั่นเลียบ 26 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)


เลนจักรยานบนถนนสาทร ผ่านสวนลุมฯ ตรงไปยังถนน วิทยุ แบบสบายๆ โดยใช้ความเร็วได้ดพี อควร ปัน่ มาเรือ่ ยๆ ก็มาเลาะเลียบถนนก�ำแพงเพชร 7 ที่เป็นถนนเลียบทาง รถไฟสายตะวันออกฝัง่ เหนือขนานกับถนน เพชรบุรตี ดั ใหม่ ซึง่ เส้นทางนีข้ อบอกว่ามืดมาก ต้องขอเตือนนักปัน่ ทุกท่าน ให้ตดิ ไฟหน้า-หลังเพือ่ ความสว่างและความปลอดภัย สุดถนน ก�ำแพงเพชร 7 เราก็จะเลีย้ วซ้ายเข้าถนนอโศก-ดินแดง และ ตรงไปใช้เส้นทางบนถนนรัชดาภิเษก ยาวไปจนถึงแยกรัชโยธิน บนถนนรัชดาภิเษกนีท้ ำ� ให้เราได้สมั ผัสบรรยากาศ ฤดูหนาวกันอย่างแท้จริง เพราะบนถนน เส้นนี้ถูกประดับ ประดาไปด้วยต้นคริสต์มาสและไฟหลากสี ให้ได้ชมกัน อย่างหายเหนือ่ ยเลยทีเดียว หลังจากเลีย้ วขวา แยกรัชโยธิน เราก็ ห ยุ ด พั ก เติ ม แรงกั น ที่ แ ยกเกษตร ด้ ว ยระยะทาง

21 กม. ใช้เวลาไป 1.30 ชม. “ไปครับ ไปครับ!!...” เสียงเฮียม้อส่งสัญญาณให้ สมาชิกเตรียมพร้อมปัน่ ต่อไปยังจุดหมายแบบรวดเดียวจบ บนถนนเกษตร-นวมินทร์ ถนนทีม่ เี สน่หด์ งึ ดูดนักปัน่ จักรยาน ทัง้ มือใหม่และมือเก่า มาออกก�ำลังกายเผาผลาญ ไขมันกัน ระยะทางอีก 11 กม. พาให้เรามาถึง Chocolate Ville รวมแล้วจากจุดเริ่มต้นมาก็เป็นระยะทาง 32 กม. ว้าว!!...ภาพที่เราได้เห็นอยู่ตรงหน้าก็ไม่ท�ำให้เรา ผิดหวังกันจริงๆ กับการตกแต่งสถานทีป่ ระดับประดาด้วยไฟ ได้บรรยากาศใกล้วันคริสต์มาส ด้วยแสงไฟหลากสี แดง ส้ม เขียว ฟ้า ที่สวยงามเหมือนอยู่เมืองนอกยังไงยังงั้น พวกเราหยุดใช้เวลาเกือบชั่วโมง ในการชมความสวยงาม สไตล์ยุโรป และบ้านชนบทของอเมริกา พร้อมกับถ่ายรูป เป็นทีร่ ะลึกมาฝากสมาชิกทีพ่ ลาด ไม่ได้มากับเราในครัง้ นี้ ให้ได้เสียดายกันอย่างทั่วถึง …ดึกมากแล้ว อากาศเย็นลงเรือ่ ยๆ ยิง่ ท�ำให้เราอยาก ปัน่ ไปทัง้ คืนเลยก็วา่ ได้ แต่งานเลีย้ งต้องมีวนั เลิกรา ขากลับ ใช้เส้นทางลัดเลาะถนนลาดพร้าว-วังหิน มาโผล่โชคชัย 4 และปัน่ ต่อบนถนนลาดพร้าว เพือ่ เข้ามาใช้เส้นทางรัชดาภิเษก เป็นทางกลับเหมือนเดิม ทริปนี้ได้เผาผลาญไขมันกันอย่างทั่วถึงด้วยระยะ ทางรวมทั้งสิ้น 64.5 กม. ใช้ระยะเวลาในการปั่น 3.10 ชั่วโมง (ไม่รวมการหยุดพักระหว่างทริป) สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 27


เรื่องจากปก

เรื่อง/ภาพ schantalao

นักปั่นน้อย..วัยน่ารัก

น้ อ งจ๊ ะ จ๋ า หรื อ ด.ญ. วั น พุ ธ ตั้งพินิตกุล อายุ 5 ขวบ เรียนอยู่ ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาล สุวาวรรณ … น้องจ๊ะจ๋าได้รบั มรดก เป็นจักรยานคันนีจ้ ากพีส่ าว ไม่ใช่ เพราะพีส่ าวยกให้หรอกนะคะ แต่ น้องจ๊ะจ๋ายึดมาด้วยความทีอ่ ยาก มีเพือ่ นเล่น จักรยานจึงเป็นกิจกรรม เชือ่ มสัมพันธ์ระหว่างพีส่ าวกับน้อง จ๊ะจ๋านัน่ เอง ได้ยนิ แว่วๆ ว่าอยาก จะลองถอดล้อหลังดูแต่กย็ งั ไม่กล้า เราจึ ง ชวนน้ อ งมาร่ ว มกิ จ กรรม Learn to Ride ของสมาคมฯ …​ต้องรอดูต่อไปว่าจักรยานสี่ล้อ คันนี้ จะลดจ�ำนวนลงเหลือแค่สอง หรือเปล่า 28 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

น้องจ๊ะจ๋า


เ ปิดศักราชใหม่ในเดือนแรกขอหยิบยกความน่ารักน่าชังของหนูน้อยนักปั่น กับการเริ่มต้นที่ เชื่อได้ว่า.. ใครๆ ก็คงจะเคยผ่านจุดนี้กันมาแล้ว นั่นคือของขวัญที่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคล ใน ครอบครับ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจจักรยานและน�ำพาหนูน้อยให้รู้จักกับพาหนะสองล้อ จนกลายเป็นที่ติดอกติดใจน้องหนูๆ และชวนให้ใครต่อใครต้องเหลียวมองในความน่ารัก...

น้องอิง

น้องอิง ด.ญ. พีรยา กาญจนจงกล อา ยุ 11 ขวบ เรียนอยู่โรงเรียน สารสาสน์วเิ ทศธนบุร…ี . คุณแม่เล่า ว่าน้องอิงเป็นเด็กกิจกรรมกลางแจ้ง คื อไม่ชอบนั่งนิ่งๆ นั่นเอง เธอ เลือกปั่นจักรยานด้วยตัวเอง หัด ขี่สองล้อด้วยตัวเองและทรงตัว ได้ ตั้ ง แต่ อ ายุ 5 ขวบ ทุ ก วั น นี้ น้ องอิงจะปั่นจักรยานหลัง เลิก เรี ย นและปั ่ น เฉพาะในหมู ่ บ ้ า น เท่านัน้ น้องอิงบอกว่าชวนเพือ่ นๆ มาปัน่ จักรยานด้วยกันเพราะสนุกดี ได้ ค ลายเครี ย ดและสู ด อากาศ บริสทุ ธิห์ ลังเลิกเรียนหรือช่วงทีว่ า่ ง แถ มสุ ข ภาพของหนู ก็ แข็ ง แรง ด้วยค่ะ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 29


เก็บมาฝาก

เรื่อง zangzaew

จักรยานส�ำหรับเด็ก

กราคม… นอกจากจะเป็นเดือนต้นของปีใหม่แล้ว ยังเป็นเดือนที่มีวันพิเศษส�ำหรับเด็กและเยาวชน อีกด้วย ด้วยเพราะวันเสาร์ทสี่ องของเดือนจะเป็น วันเด็กแห่งชาติ และในวันเด็กปี 2557 นี้ เด็กยังได้รบั ค�ำขวัญ จากนายกรัฐมนตรีอีกด้วยว่า “กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง” คราวนี้เมื่อถึงวันเด็กสิ่งหนึ่งที่เด็กๆ มักจะรอคอยก็ คือ “ของขวัญ” ส�ำหรับพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการ ไปเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในงานวันเด็ก ในบรรดา ของรางวัลทัง้ หมดนัน้ มักจะมี “จักรยาน” เข้าไปเป็นหนึง่ ใน สิ่งล่อใจหนูๆ ตัวน้อยๆ เสมอ แต่จะเหมาะสมกับเด็กๆ วัย ไหนอย่างไรบ้างนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และหากคุณพ่อคุณแม่ทตี่ อ้ งการจ�ำเลือกหาจักรยาน ส�ำหรับลูกน้อยสักคัน จะพิจารณาจากอะไรละ.. มีคำ� แนะน�ำ จากบทความของมูลนิธหิ มอชาวบ้าน เกีย่ วกับวิธเี ลือกจักรยาน ให้เหมาะกับลูกน้อยไว้ดังนี้ เด็กกับจักรยานเป็นของคู่กัน.. เด็กคนไหนทีไ่ ม่ชอบจักรยานก็ดแู ปลก พอทีจ่ ะถีบได้ 3 ขวบ พ่อแม่ที่มีสตางค์ ก็จะไปจับจ่ายซื้อจักรยาน 4 ล้อ (ที่มีล้อเล็กอีก 2 ล้อ ข้างล้อหลัง) ให้ลูกเล่น เด็กก็ชอบและ สนุกสนาน ยิง่ ช่วงนีเ้ ป็นหน้าร้อนปราศจากฝน เด็กอาจชอบ ออกก�ำลังกายโดยการถีบจักรยาน 30 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

จะเลือกอย่างไรดี.. การเลือกจักรยานต้องให้เหมาะกับลูก ผิดขนาดอาจ ท�ำให้เกิดอันตรายบาดเจ็บได้ ที่อเมริกา เขาจะมีกฎเกณฑ์ เข้มเข็งมาก และส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติตามกฎระเบียบกันดี กฎข้อหนึง่ ของ คณะกรรมการคุม้ ครองความปลอดภัย ของผู้บริโภคบอกว่า “จักรยานทุกคัน ต้องมีขนาดพอเหมาะกับเด็กทีซ่ อื้ ไปใช้” เป็นกฎง่ายๆ ซึง่ ทางเมืองไทยน่าจะถือเป็นแบบอย่าง ทางสมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน ก็ตอบสนองและให้ข้อ เสนอแนะดังนี้ 1. น�ำลูกคุณไปซือ้ จักรยานด้วย เพือ่ ให้ได้ขนาดพอเหมาะ “ความปลอดภัยมีค่าส�ำคัญยิ่งกว่าราคาของของขวัญ” 2. อย่าซือ้ จักรยานขนาดใหญ่เกินเด็กใช้ คือให้เด็กโต เพื่อใช้จักรยานคันนั้น “จักรยานที่โตเกินขนาดอันตราย” 3. ลองทดสอบขนาดจักรยานดังนี้ 3.1 เมื่อลองนั่งบนอาน มือทั้งสองจับที่แฮนด์ ปลายเท้าต้องจดพื้นได้ทั้งสองข้าง 3.2 เมือ่ ลงมาคร่อมบนแท่งเหล็กกลางจักรยาน เด็กสามารถยืนบนนั้นด้วยเท้าทั้งสอง และเป้ากางเกงต้อง ห่างจากแท่งเหล็กกลางจักรยานประมาณ 1 นิ้ว 3.3 ถ้าจักรยานมีเบรกมือ ให้เด็กลองใช้ดู ลอง บีบเบรกดู ต้องใช้ได้อย่างถนัดมือ และไม่ตอ้ งใช้แรงมากด้วย วิธีทดสอบง่ายๆนี้ ใช้ได้กับจักรยานทุกแบบ ทุกยี่ห้อ


¨Ñ¡ÃÂÒ¹½ƒ¡·Ã§µÑÇ STRIDER ÃØ‹¹ ST-3 ปลอกแฮนดที่พอเหมาะกับมือของเด็ก และมีขอบปองกันอันตราย ตัวปลดเร็วเพื่อการปรับระดับ อยางสะดวก

คอแฮนดสามารถปรับความสูงได

เฟรมที่แข็งแรงและการออกแบบ จุดเชื่อมตอที่มั่นคงปลอดภัย

ยางโพลีเมอรที่ไมตองการเติมลม หลักอานสามารถปรับความสูงได ตั้งแต 11 - 16 นิ้ว

จักรยาน STRIDER จาก bkkstrider.com ที่ผานการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม(มอก. 685-2540)

จักรยานเรียนรู้การทรงตัว มีจักรยานอีกชนิดที่ควรเลือกให้กับเด็กๆ เพื่อเริ่มต้น รูจ้ กั กับจักรยานคือ จักรยานเพือ่ การทรงตัว มีคณ ุ สมบัตดิ งั นี้ 1. มีโครงสร้างเช่นเดียวกับจักรยานรุ่นใหญ่หรือ ใกล้เคียง 2. มีสองล้อแต่ไม่ต้องมีบันไดและชุดขับเคลื่อน 3. ล้อมีขนาดใหญ่เพื่อความมั่นคง

4. คอแฮนด์และหลักอานปรับความสูงได้ 5. มีรูปแบบและสีสันสวยงามดึงดูดใจ จักรยานชนิดนีเ้ ด็กๆ สามารถนัง่ บนเบาะโดยทีส่ ามารถ วางเท้าบนพืน้ เพือ่ ยืนได้พอดี วิธกี ารเรียนรูค้ อื การใช้เท้าเข็น หรือดันจักรยานให้เคลือ่ นทีไ่ ปข้างหน้า โดยทีเ่ ด็กสามารถนัง่ บนเบาะ และสร้างความรูส้ กึ เกีย่ วกับการทรงตัวบนจักรยาน ได้อย่างรวดเร็ว จักรยานฝึกทรงตัว ชนิดไม้ ออกแบบ สวยงามในแบบที่ เด็กๆ ชื่นชอบ

WOOM จักรยานเพื่อเด็กทุกวัย www.woombikes.com

จักรยานเพื่อฝึกทรงตัวของ Giant

เป็นจักรยานที่ผลิตในยุโรปซึ่งเน้นความส�ำคัญที่การเป็นจักรยานที่ปลอดภัยและเหมาะสมเพื่อ เด็กทุกวัย นอกจากเน้นด้านความปลอดภัยแล้ว ยังเน้นเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงสีที่ใช้แบบ ปลอดสารพิษ อีกทัง้ ยังออกแบบจักรยานไล่ตามล�ำดับของอายุ ตัง้ แต่จกั รยานเพือ่ ฝึกการทรงตัว ไปจนถึง จักรยานที่เหมาะสมกับเด็กโต สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 31


Bike to Work

เรื่อง/ภาพ ศานิต นิธิกุลตานนท์ CMDF:Comedyfixed

จักรยาน คือ พาหนะเดียว ที่อยู่ในตัวเลือก

32 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)


จั

กรยานในพจนานุกรมของผม ในยุคสมัยที่รถรามีแต่จะมาก ขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเริ่มหันมา มองทางเลือกอืน่ ในการเดินทาง บ้างก็ หันไปขึน้ รถไฟฟ้า BTS ไม่ก็ MRT บ้างก็ หันไปขับมอเตอร์ไซค์ และจักรยาน ก็ได้กลายมาเป็นอีกทางเลือกหนึง่ ผม คือคนนึงทีเ่ กลียดการขับรถมากๆ เพราะ พอเจอรถติ ด ผมจะง่ ว งนอนทั น ที และชอบหลับในอยู่บ่อยๆ จักรยาน เลยกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไป โดยปริยาย ในยามทีผ่ มเห็นผูค้ นนัง่ อยูใ่ นรถ ก�ำลังเบือ่ หน่าย ง่วงหงาวหาวนอน บางคน ก็ต้องเล่นโทรศัพท์มือถือ บางคนก็ ต้องมายืนเบียดเสียดเยียดยัดอยู่บน รถเมล์ ผมได้มองผ่านพวกเขาไป ผม

กลายเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิตเดียวที่ยังคง โลดแล่นอยู่บนถนน อย่างสนุกสนาน เพราะจักรยานไม่เคยมีคำ� ว่ารถติด ถึงมี ก็ น ้ อ ยมาก ผมปั ่ น ซอกแซกไปตาม ช่องว่างระหว่างรถ ท่ามกลางผู้คนที่ ก�ำลังเบือ่ หน่าย แต่ผมกลับสนุก ขึน้ บน ฟุตบาทอย่างเมามันส์ ทุกวันนีเ้ วลาผม จะเข้าเมืองไปส่งงานลูกค้า จักรยาน คือพาหนะเดียวที่อยู่ในตัวเลือก ถึงแม้วา่ ถนนหนทางในกรุงเทพฯ จะไม่เอือ้ อ�ำนวยนักต่อนักปัน่ หลายๆ เส้นทางมีหลุม มีฝาท่อระบายน�้ำตั้ง แนวขนานกับล้อ มีมอเตอร์ไซค์แว่บ ออกมาปาดหน้าบ่อยๆ แต่สิ่งเหล่านี้ เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากเรามีสติ และมองทางอยูต่ ลอดเวลา ถ้าให้เทียบ กับการที่ต้องรอคอยอยู่ในรถ กับโลด แล่นไปอย่างต่อเนื่อง ผมกลับมองว่า สิง่ เหล่านีค้ อื ความสนุก อยากให้ทกุ คน หันมาลองดู แล้วจะรูว้ า่ การปัน่ ในเมือง ไม่ใช่เรื่องน่าหวาดกลัวอีกต่อไป นอกจากจะปั่นอยู่ในกรุงเทพฯ แล้ว ผมยังควบเจ้าสองล้อนีไ้ ปยังทีต่ า่ งๆ ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ตราด เกาะเสม็ด หัวหิน และอีกหลาย จังหวัด รวมไปถึงนครวัด ประเทศ กัมพูชา และอีกหลายๆ ทีผ่ มก�ำลังจะไป ผมมองว่าจักรยานสามารถพาเราไปได้ ในยังทุกๆที่ หากเพียงแต่คณ ุ มีเวลา และ มีใจรักให้กับมันจริงๆ หากคุณเปิด พจนานุกรมมา จักรยานอาจจะเป็น เพียงพาหนะ ทีม่ สี องล้อ แต่เมือ่ ใดทีค่ ณ ุ เปิดใจและตกหลุมรักมันจริงๆ จักรยาน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเกือบทุกสิ่งให้ กับชีวิตของคุณได้เช่นกันครับ … สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 33


ร้านจักรยาน

TOKYOBIKE ติ ด ต่ อ Tokyobike เลขที่ 20 ซอยอารี ย ์ 2 พหลโยธิ น 7 (ตรงข้ า มส� ำ นั ก เขตพญาไท) โทร. 02-117-1016 ยุ ค นี้ ใ ครๆ ก็ หั น มาขี่ จั ก รยาน แต่ แ บบไหนที่ โดนใจและใช้งานได้ดีล่ะ... สารสองล้อขอเริ่มศักราช ใหม่ด้วยการพาไปพูดคุย กับร้านจักรยานต่างๆ มาดูกันสิคะว่าร้านนี้เค้ามีอะไรดี!! ท�ำไมต้องเป็น TOKYOBIKE จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการเห็นคนไทยหันมาขี่จักรยาน มากขึน้ อยากให้จกั รยานเป็นพาหนะในการเดินทาง Tokyobike จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของจักรยาน Urban Bike ที่เหมาะ ส�ำหรับขีใ่ นเมือง ด้วยดีไซน์ทเี่ น้นความสะดวกสบายในการขี่ ขณะเดียวกันก็ให้ความคล่องตัวและท�ำความเร็วในการเดินทาง ได้อย่างเหมาะสม กระแสของ Tokyobike มาได้อย่างไร ท�ำไมจึงน�ำเข้ามา... จริงๆ แล้วการน�ำเข้า Tokyobike เริ่มต้นจากความ ชอบและไลฟ์สไตล์ในการขีจ่ กั รยานในเมือง เพราะมันท�ำให้ เราได้ไปในที่ๆ ไม่เคยไป ได้เห็นวิถีชีวิตของชุมชนเล็กๆ ในเมืองใหญ่ ได้แวะทานขนมตลอดทางโดยไม่มีอุปสรรค เรือ่ งทีจ่ อดรถ จากนัน้ ก็เริม่ มองหาจักรยานดีๆ สักคัน ที่ขี่สบาย ดีไซน์เรียบและ คลาสสิค จนได้มาเจอ Tokyobike ประกอบกั บ เป็ น 34 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

ช่วงเวลาที่คนไทยเริ่มหันมาขี่จักรยานกันมากขึ้น ไลฟ์สไตล์ ของคนขี่ จั ก รยานก็ ห ลากหลายขึ้ น เราจะพบเห็ น คนขี่ จักรยานในเมืองบ่อยครัง้ จากจุดเริม่ ต้นเล็ๆ ก็คอ่ ยๆ เปลีย่ น มาเรื่อยๆ จนกลายเป็นร้าน Tokyobike Thailand ในวันนี้ คิดว่าการตอบรับของคนไทยเป็นอย่างไร หลายๆ คนรู้จักจักรยาน Tokyobike ก่อนที่จะมี ร้านในเมืองไทยและมีกลุ่มคนที่ชอบและขี่ Tokybike อยู่ ส่วนหนึง่ แต่กไ็ ม่เป็นทีร่ จู้ กั ในวงกว้างเท่าไรนัก ก่อนเปิดร้าน เราเลยเปิดเพจ Facebook Tokyobike Thailand เพื่ อ เริ่ ม แนะน� ำ แต่ ล ะรุ ่ น รวมถึ ง อุ ป กรณ์ ชุ ด แต่ ง ต่างๆ ซึง่ ก็ได้รบั ความสนใจ เป็นอย่างดี Tokyobike เหมาะกับใครบ้าง Tokyobike เป็นจักรยานที่เหมาะกับทุกคน ไม่ว่าจะ เป็นคนทีเ่ พิง่ เริม่ ขีจ่ กั รยานหรือคนทีม่ ปี ระสบการณ์ขมี่ านาน แล้ว ด้วยดีไซน์ที่สวยงามและฟังก์ชั่นที่ใช้งานง่าย เหมาะ ส�ำหรับขี่เที่ยวเล่นหรือการเดินทางในเมือง เพราะจักรยาน แต่ละรุ่นจะมีตั้งแต่เกียร์เบาที่ช่วยผ่อนแรงเวลาขึ้นเนิน ให้ ความคล่องตัวแม้ขี่ในที่ที่พลุกพล่าน นอกจากนี้ล้อขนาด 650C ยังช่วยให้ออกตัวง่ายและเบาขึน้ ซึง่ เหมาะส�ำหรับการ เดินทางและการจราจรในเมืองที่ต้องหยุดและขึ้นลงบ่อยๆ


IN THAILAND

สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 35


บทความ

เรื่อง Rainbow

จั

กรยานแต่ละคัน ถูกผลิตออกมาเพื่อให้ใช้ในภารกิจ หน้าที่ที่แตกต่างกัน เสือหมอบรับใช้ในงานรวดเร็ว ในขณะทีส่ ามารถ น�ำของติดตัวไปได้จ�ำกัดมาก เสือภูเขา เอาไปใช้กบั งานสมบุกสมบันในภูมปิ ระเทศ ผันแปร เหล่านี้เป็นต้น หรือขึน้ อยูก่ บั ผูข้ ปี่ น่ั แต่ละคน ปรารถนาจะให้มบี คุ ลิก ขี่ปั่นในท่วงท่าแบบใด รถก็รับใช้เราได้เสมอ บางทีแม้ใน ผู้ขี่ปั่นคนคนเดียวกัน เราก็อาจสนใจขี่ปั่นในลีลาที่แตกต่าง 36 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

กันไปในการออกทริปแต่ละคราว ผูเ้ ขียนนิยมขีป่ น่ั ท่องไปทางไกล แต่บอ่ ยครัง้ เหมือนกัน ทีต่ อ้ งเข้าไปผจญภัย (ท�ำธุระ) ในกรุงเทพฯ พบว่า รถจักรยาน ที่ตอบสนองความต้องการของเราได้ดีที่สุด ไม่มีรถอะไรจะ เกินรถพับ ตั้งแต่รถไฟโดยสารที่มุ่งหน้าเข้ากรุง ไม่ต้องจ่ายค่า ระวาง เริม่ ลืน่ ไหลตัง้ แต่ชานชานชาลารถไฟ ไปจนถึงเป้าหมาย อีกมุมเมือง โดยรถพับสามารถกันเราออกจากความอลหม่าน ของการจราจร และเสียเวลาเดินทางได้เป็นอย่างดี


ธรรมชาติคู่ตัว อีกอย่างหนึ่ง ของรถจักรยาน ก็คือ จักรยาน ทุกตัวมันมี บุคลิก มีชีวิต ชีวา และมีความ Simplicity เจือ ประสานอยู่ ค่อนข้างมาก

© Cyclingcultures (http://cyclingcultures.org.uk)

แต่ถ้าจะเป็นทริปตะลุยจักรวาล การพับ จักรยานได้กลับสิ้นไร้ความจ�ำเป็นอีกต่อไป รถที่ จะเข้ามาตอบสนองเรา ก็คอื รถทัวริง่ การน�ำรถพับ ออกไปใช้ทางไกล เราต้องเตรียมรับมือกับข้อจ�ำกัด ของมัน ในฐานะที่น�ำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์การ ออกแบบ ส�ำหรับนักปั่นบางท่าน แม้จะรู้ตัวแล้วว่า น�ำรถไปใช้ผดิ ประเภท แต่กย็ งั เลือกทีจ่ ะท�ำเช่นนัน้ ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดแต่อย่างใด ค่าที่รู้ตัวแล้ว

จักรยานรับใช้ เราได้เสมอ

เตรียมตัวรับข้อจ�ำกัดของมันอย่างหน้าชื่น ที่แตกต่างจากผู้ที่ไม่รู้ ที่มี ความเพียรพยายามอย่างไม่ลดละในการอัพรถที่มีข้อจ�ำกัดหนึ่งๆ ให้ ขยายประสิทธิภาพท�ำหน้าทีร่ บั ใช้เราได้ในอีกพืน้ ที่ ทีไ่ ม่เคยได้ถกู ดีไซน์ ขึ้นมาส�ำหรับบางคน นิยามความพยายามเหล่านี้ว่า คือความสนุกกับการแกะ, รื้อ, สลับเปลีย่ น, ถอดออก, ใส่เข้า และใช้เงินละเลงกลัว้ ไปกับความพยายาม เหล่านี้ ก็ไม่วา่ กัน ในแง่นถี้ อื ว่า ตัวรถได้ทำ� หน้าทีข่ องมันเป็นอย่างดีทสี่ ดุ ในการเป็นของเล่น Jigsaw Toy ธรรมชาติคู่ตัวอีกอย่างหนึ่งของรถจักรยานก็คือ จักรยานทุกตัว มันมีบคุ ลิก มีชวี ติ ชีวา และมีความ Simplicity เจือประสานอยูค่ อ่ นข้าง มาก จะเห็นได้วา่ ดีไซน์เนอร์ มักน�ำจักรยานไปเข้าฉากกับเสริมบรรยากาศ ให้นางแบบหรือนายแบบเป็นแบบย้อนยุค หรือเป็นแบบวินเทจ ไม่ว่า จะเป็นสินค้าเสื้อผ้าหรือบ้านจัดสรร จักรยานบางตัวจะมีแนวโน้มบุคลิกทางนีโ้ ดดเด่น จึงมักถูกแต่งหน้า ทาแป้ง ให้เข้าฉาก อยู่ในต�ำแหน่งเหมาะ ชวนให้เป็น Retro ไปหมด บางที จักรยานก็ถกู จับไปไว้ในตูโ้ ชว์หน้าร้าน แทนทีจ่ ะปล่อยให้ มันท�ำหน้าที่อยู่บนถนน มันน่าแปลกก็ตรงที่ แม้สังคมไทย มิได้มีวัฒนธรรมใช้จักรยาน ที่เด่นชัด แต่เรากลับนิยมเอามันไปตกแต่งเพื่อเสริมบรรยากาศให้ดูดี ที่เป็นเช่นนี้เพราะ จักรยานมันได้หลุดจากกรอบวัฒนธรรมนิยมไป เรียบร้อยแล้วต่างหาก จึงท�ำให้เรารู้สึกชื่นชอบที่จะแลเห็นมันมากกว่า ความเป็นประโยชน์จริง ด้วยเหตุน้ี มันจึงอินเทรนด์ ขณะที่พร้อมๆ กัน มันก็ได้ เอาท์ ออฟ เดท ไปด้วย ถ้าหากจักรยานถูกด�ำเนินไปด้วยเหตุผลเช่นนี้ เราจะมองได้หรือไม่ ว่า กระแสที่จักรยานกลับมาได้รับความนิยมอีกในช่วงนี้ แท้จริงแล้วก็ ไม่ได้แตกต่างจากการแห่นยิ มขึน้ มาเป็นคราวๆ แบบครัง้ ก่อนๆ จะวูบเข้า มาสลับฉากแก้เบือ่ ในขณะทีผ่ ดู้ ไี ซน์ยงั คิดจะขายอะไรไม่ออก เดีย๋ วพอ คลื่นลมสงบ เส้นกราฟที่ถูกสะบัดขึ้นลง จะหมดแรงเหวี่ยง เนื้อแท้ จริงๆ จะเข้าสู่สมดุล ตะกอนทีถ่ กู กวนขึน้ มาจาก Critical Mass ทีไ่ ม่ได้ระดับ จะกลับ ไปตกตะกอนอีกครั้ง แล้วตรงนั้น...เราจะได้แน่ใจอีกครั้งว่าจักรยานนั้น... แท้จริงมัน บูมขึ้นเป็นฟองสบู่ หรือมันถึงจังหวะที่เติบโตเป็นหน่ออ่อนตั้งมั่น เป็น เครือข่ายวัฒนธรรมใช้จักรยานในบ้านเมืองกันแน่ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 37


Fitness Lifestyle 36 เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม

จักรยาน vs. การวิ่ง

อุ

ณหภูมิอากาศเมื่อกลางเดือนธันวาคมปี 56 นี้ ก�ำลังเย็นสบาย ท่ามกลางความร้อนแรงของ การยกระดับการชุมนุมทางการเมืองที่ไม่ใช่ เรื่องของพรรคการเมือง แต่เป็นการแสดงออกของ ประชาชนจ�ำนวนมหาศาลอย่างทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อน ในประเทศไทยและในโลก ในระหว่างการชุมนุม ได้มีการเคลื่อนขบวน เดินเท้าเป็นระยะทางสั้น-ยาวหลายครั้ง ในทุกๆ ครั้ง จะเห็นได้วา่ มีผเู้ ข้าร่วมชุมนุมจูงรถจักรยานเดินไปด้วย เป็นจ�ำนวนไม่น้อย วันนัน้ ได้มโี อกาสคุยกับผูส้ งู อายุทา่ นหนึง่ ซึง่ เดิน จูงจักรยานมาเป็นระยะทางเกือบ 20 กิโลเมตรแล้ว แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเหนื่อยอ่อน ลักษณะท่าทาง คล่องแคล่ว หน้าท้องแบนราบ (กว่าของผู้เขียน) และ ที่น่าสังเกตคืออายุอานาม ไม่น่าจะต�่ำกว่า 60 ปี จึง ขอน�ำบางส่วนมาเล่าสู่กันฟัง หลังจากที่ได้เข้าไปทักทายท�ำความรู้จักและ แนะน�ำตัวกันแล้ว จึงได้ทราบว่าพี่เค้าอายุ 75 ปีแล้ว แต่ดคู ล้ายอายุเพิง่ จะ 60 กว่าๆ เท่านัน้ เอง แม้ผวิ พรรณ จะแสดงถึงการอยู่กลางแดดมามากพอควร แต่ก็เห็น ได้ชัดเจนว่า แม้จะมีริ้วรอยตามวัยที่ร่วงโรย แต่ก็ยัง ดูดีทีเดียว น่าจะเป็นเพราะมีการออกก�ำลังกายเป็น ประจ�ำเป็นแน่แท้ “ท�ำไมพี่ใช้จักรยานคันเล็กนิดเดียว” ผมลอง 38 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

ถามแหย่ดู เห็นพี่เค้าใช้รถพับยี่ห้อดีอยู่ “เล็กๆ รถดี” (พีค่ งติดตลก จะให้เข้าใจว่า เล็กๆ รสดี) “รสดี หมายถึงรสชาติอร่อยดีเหรอครับ” ผม หยอกต่อ “เออ..เออ จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ผิดนะ คือรถมัน คันเล็กๆ แต่ก็ปั่นมัน อร่อยดี” หัวเราะ “รถมันพับได้เล็ก สะดวกดี เอาขึ้นรถไฟฟ้า ใต้ดินได้ ก็เขาอนุญาตเฉพาะรถพับได้เท่านั้น” “น�้ำหนักก็ไม่มาก แบกหนีบสะเอวเวลาเดิน ขึ้นสะพานลอยคนข้ามได้สบายเลย” พี่เล่าอย่าง อารมณ์ดี “ใช้จกั รยานในกรุงเทพ รถแยะไม่อนั ตรายหรือ ครับ” ผมถามต่อ “ก็ตอ้ งระวังหน่อย แต่ยงิ่ รถแยะ รถติด ยิง่ สบาย จักรยาน เราก็ซอกแซกไปเรือ่ ย ขึน้ ฟุตปาธบ้าง จูงข้าม ทางม้าลายบ้าง หลายๆ เส้นทาง จักรยานไปได้เร็วกว่า รถยนต์นะ ขอยืนยัน” พี่เค้าตอบอย่างภูมิใจมาก ผมเลยหยอดค�ำถามต่อ “พี่ครับ ขี่จักรยาน มันดียังไงอีก เปรียบเทียบกับการวิ่ง ส�ำหรับสุขภาพ น่ะครับ” พี่เค้าหันมามองผมแว๊บหนึ่ง คล้ายจะค้นหา ความจริงว่า จะลองภูมิกันไหมเนี่ย ผมก็สบตาแวบ หนึ่งแล้วก็ยิ้มให้อย่างบริสุทธิ์


“นี่เราก็เดินมาจะถึงที่หมายแล้ว แต่ยังมีเวลา นิดหน่อย เอาแบบสั้นๆ ก็แล้วกันนะ” “ครับพี่” ผมตอบ “ตอบแยกเป็นข้อๆ นะ สั้นๆ” “ข้อที่หนึ่ง..ฟิตเร็ว ฟิตยาว - ปั่นจักรยานไม่มี แรงกระแทก ปั่นได้ระยะยาวกว่า ปั่นไปได้นานกว่า จนแก่ ตามองไม่ค่อยเห็นนั่นแหละ” “ส่วนวิ่ง ก็ดีนะ ฟิตเร็วกว่า แต่นานๆ ไป เจ็บ เหมือนกัน เจ็บนาน เจ็บระบม” “ข้อทีส่ อง ปัน่ จักรยานนีส่ ร้างกล้ามเนือ้ นะ glutes quads hamstring ไปเปิดกูเกิ้ลดูค�ำแปลเอาเอง ส่วนพวกที่วิ่งระยะยาวๆ แบบมาราธอน แกร่ง ก็จริง แต่กล้ามเนื้อไม่สวยงามเท่านักปั่น” โห.. พี่ เ ค้ า เล่ น ศั พ ย์ ภ าษาต่ า งประเทศเลย สุดยอด.. “ข้อที่สาม ถ้าพูดถึงการใช้พลังงานน่ะ วิ่งจะ ใช้พลังงานมากกว่าการปั่นจักรยาน 1 เท่า อันนี้แล้ว แต่ความเร็ว แต่เอาเป็นว่า วิ่งใช้พลังงานมากกว่า ลดน�้ ำ หนั ก ตั ว ได้ ดี แต่ ถ ้ า อ้ ว นมากๆ น�้ ำ หนั ก เกิ น แล้วไปวิง่ ข้อเข่าอาจพังก่อน 55..” พีจ่ บประโยคด้วย เสียงหัวเราะอย่างชอบใจ “ข้อสี่ ถ้าชอบความเร็วกับชอบการผจญภัย จักรยานดีกว่านะ ท่องเทีย่ ว หนุกหนาน คนอ้วนก็ขไี่ ด้

แต่คนอ้วนขืนไปวิ่งละก็ ให้ระวัง 4 จุดไว้เลย..คือ ข้อเข่า ข้อเท้า สะโพก และหลัง” “ขอสรุ ป หน่ อ ย จะถึ ง ที่ ห มายแล้ ว ทั้ ง ปั ่ น จักรยานและวิ่ง ต่างก็มีข้อดี-ข้อเสีย ต้องเลือกให้ เหมาะกับร่างกายของเรา ให้เหมาะกับการใช้ชีวิต ประจ�ำวัน และให้เหมาะกับเป้าหมายด้านสุขภาพของ แต่ละคน” “เอาละ พอเข้าใจนะ..” “ครับผม ขอบคุณพี่มากๆ เลยที่ให้ข้อคิดดีๆ” “ค� ำ ถามสุ ด ท้ า ยครั บ พี่ . .พี่ ม าเดิ น ตากแดด มาชุมนุมท�ำไมครับ” ผมอยากรู้จริงๆ “บร๊ะ…! เอาง่ายๆ เลยนะ ต่อต้านคอร์รัปชั่นและการโกงทุกรูปแบบไง.. หากไม่สุจริตแล้ว จะเป็นคนดีได้อย่างไร ทุเรศครับ มีเงินก็ไม่นับถือ ไปให้ไกลๆ เลย” “อย่าเฉยต่อความชั่ว” “แก่ป่านนี้ แยกชั่ว แยกดีเป็นมั๊ย” ตั้งแต่วันนั้น..ส�ำนึกเรื่องการไม่ยอมรับการโกง ของพี่เค้า ยังก้องอยู่ในความคิด...

สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 39


เชิงช่างหนึ่ง เรื่อง ช่างหนึ่ง

เมื่อฝันอยากมีจักรยาน

“เน

ต้องท�ำอย่างไรบ้าง (3)

ปิดอร์” ซีเกมส์ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณเมืองหลวงใหม่ของประเทศพม่า ทัพนักกีฬาไทยได้สร้างชื่อให้ กับประเทศชาติได้อย่างสวยงาม คว้าเหรียญทอง ได้มาเป็นอันดับ 1 ขอแสดงความชื่นชม ยินดีกับ นักกีฬาไทยด้วยนะครับ ฐานะแฟนๆ กีฬาคนหนึ่ง มาเข้าเรื่องเข้าราวเนื้อหา ความเดิม “เมื่อฝันอยากมีจักรยานต้องท�ำอย่างไรบ้าง (3)” จริงๆ เรื่องราวเกี่ยวกับ จักรยานไม่มอี ะไรลงตัวมากนัก เนือ่ งด้วยความต้องการของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน ความแตกต่างใน รสนิยม ก็ไม่เหมือนกัน สิ่งที่ลงตัวที่สุดคือความพอใจ ของเราเอง อืม มีอย่างนึงที่เหมือนกัน ทุกคนจะแข็งแรงมากขึ้น (ฮา) มาเริ่มค�ำถามที่พบบ่อยๆ กันเลย สเปคจักรยานที่ต่างกัน ดีต่างกันอย่างไร? ค�ำถามนี้มักจะมีค�ำตอบหลากหลาย ค่อนข้างกว้างไปส�ำหรับมือใหม่อย่างเรา อุปกรณ์ชนิ้ ส่วนเหล่านี้ อย่างทีเ่ คยกล่าวไป ในชุดขับเคลือ่ นชุดเกียร์ ของแต่ละ ยี่ห้อนั้น จะมีเกรดล�ำดับขั้นของชุดเกียร์ ซึ่งชุดล�ำดับต่างๆ นี้จะน�ำมาใช้งานกับจักรยานหรือตัวถังของแต่ละรุ่น ขอเริ่ม จากการอยากจะมีจักรยานซักคัน มีสองอย่างที่เป็นจุดหลักๆ จะประกอบหรือซื้อเป็นคัน ทีละหัวข้อกันไปเลย ประกอบจักรยาน 1 คัน ตามหัวข้อนี้เลยครับ

Specs รายการ

1 Frame ตัวถัง 2 Fork โช็คอัพ / ตะเกียบหน้า 3 Headset ชุดคอ 4 Seatpost หลักอาน 5 Group set ชุดเกียร์ 6 - crank ขาจาน 7 - chan โซ่ 8 - BB ชุดกระโหลก 9 - shipter มือเกียร์ 10 - Cassette เฟือง

o o o o o o o o o o

รายการในตาราง เป็นรายการที่เราจะต้องเตรียม ความพร้อมเพือ่ จะประกอบรถ เริม่ ต้นทีช่ นิ้ ส่วนส�ำคัญคือ เฟรม หรือตัวถัง เลือกประเภทเฟรมที่ต้องการก่อน จะ เป็นเฟรมแบบอลูฯ เหล็ก คาร์บอน ไทเทเนี่ยม ราคานั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราเลือก ก็ไม่ยากอะไรยิ่งเราเลือกเกรดที่ สูงขึ้น ราคาตัวรถของเราก็จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ช่องราคาคือช่องที่เราจะต้องควบคุมราคาที่เรา วางไว้และค่อยๆ ลบราคาไปเรื่อยๆ ตัวเลขลบ ก็แสดงว่า เกินงบหละครับ แต่บอกไว้เลยยังไงประกอบเองก็สูงกว่า 40 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

11 - Rearderailleur ตีนผี 12 - Front derailleur สับจาน 13 - Brakes ชุดเบรก 14 wheel set ล้อ 15 Stem คอแฮนค์ 16 Handlebars แฮนค์ 17 Bar Tape/girps ผ้าพันแฮนค์ /ปลอกแฮนค์ 18 Tire/Tube ยางใน ยางนอก 19 Saddles เบาะ 20 Pedals บันได

o o o o o o o o o o

แน่ๆ อีกอย่าง เอาราคาตัวรถที่จะเลือกแบบประกอบมา แล้วเป็นตัวตั้งก็ได้ เช่นรถทั้งคันรุ่นนี้ ราคา 20,000 บาท ก็ตั้งไว้ที่ 20,000 บาท แล้วลงรายการที่เราจะซื้อ จากนั้น ลบราคาไปเรื่อยๆ ง่ายๆ ครับไม่ยาก ทีนี้รายละเอียดตัวต่อไปที่จะต้องสนใจ เช่น 1. เฟรมทีเ่ ลือก ใช้เบรกแบบไหน ดิสก์เบรก วีเบรก ผีเสื้อ เบรกจาน 2. ชุดคอขนาดอะไร 3. หลักอานขนาดเท่าไร


4. ชุดกระโหลกใช้แบบไหน 5. ชุดเกียร์จ�ำนวนฟันกี่ชั้น 6. ขอบล้อเป็น อลูฯ คาร์บอน เซอรามิค ต้องเลือก ผ้าเบรกให้เหมาะด้วย 7. ใส่โช้คหรือตะเกียบ ต้องมีสตาร์นัทด้วย 8. แหวนรองคออย่าลืมซื้อ 9. เลือกยางขนาดเท่าไร ใช้ยางในต้องดูขอบล้อ ด้วยว่ายางในใช้กับขอบล้อได้หรือไม่ เพราะจุ๊บยางมีสอง แบบที่นิยมใช้กัน ยางใช้ทางเรียบ ใช้ทางลูกรัง เลือกให้ เหมาะสม 10. คอแฮนค์ อันนีบ้ อกยากว่าจะเลือกใช้ความยาว เท่าไร ต้องวัดช่วงแขนและความยาวเฟรม 11. สับจานขนาดเท่าไร ดึงบนดึงล่าง ต้องดูขนาด ของใบจานด้วยเช่น ใช้จาน 42 ฟัน ต้องใช้สับจานที่ใช้กับ 42 ฟัน จะซื้อแบบ 39 ฟันก็น�ำมาใช้ไม่ได้ 12. เฟือง รายละเอียดขึน้ อยูก่ บั การใช้งานเป็นหลัก เราเป็นเด็กดอยขึ้นเขาเยอะใช้เฟืองที่มีขนาดใหญ่หน่อย เป็นขาปั่นถนนเรียบก็ใช้เฟืองที่มีขนาดเล็กได้ เรียงล�ำดับ ทีละฟันตามล�ำดับก็เหมาะสมดี

ค�ำถามต่อไป ดิสก์เบรก วีเบรก ดีแตกต่างกัน อย่างไร จะตอบยังไงดีน้า ผมขอตอบตามยุคสมัยละกัน นะครับ จักรยานที่น�ำมาขายยุคสมัยนี้ส่วนใหญ่ก็จะมา เป็นดิสก์เบรกเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะหมอบ เสือภูเขา แต่วา่ วีเบรก เบรกผีเสือ้ ก็มใี ห้เห็นบ้าง จะว่าเบรกแบบนัน้ ไม่ดกี ใ็ ช่เรือ่ ง ฟิลลิง่ ของเบรกผีเสือ้ และวีเบรกนัน้ มาเทียบ กับดิสก์เบรกไม่ได้หรอกนะครับ ความละเมียดละไมใน การปัน่ การควบคุมเบรก วีเบรกกับผีเสือ้ มันจะให้ฟลิ ลิง่ ที่ แตกต่างคือ จะรู้สึกถึงรสชาติการเบรก เปอร์เซ็นต์ในการ เบรก ความรูส้ กึ มันจะออกตรงนิว้ มือทีบ่ บี เบรก แต่กลับกัน ดิสก์เบรกความละเมียดละไมจะไม่ค่อยรู้สึกได้เท่าวีเบรก และผีเสื้อ มาดูเรื่องความรุนแรงในการใช้งานบ้าง ถ้าเบรก แบบวีเบรกและผีเสื้อ เมื่อเราเบรกบ่อยๆ ความล้าที่เกิด ขึ้นของกล้ามเนื้อแขน Brachioradialis จะท�ำให้เป็น ตระคริว และจะท�ำให้มอื ไม่มแี รงก�ำทีป่ ลอกแฮนด์ มืออาจ จะหลุดออกจากแฮนด์ได้ ดังนั้น ดิสก์เบรกจะลดปัญหา ตรงส่วนนี้ได้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวเราเองแล้วครับว่าชอบ หรือจะเลือกเบรกแบบไหน

ฉบับนีก้ ข็ อละไว้แค่นกี้ อ่ นพบกันฉบับหน้าคร้าบ........^_^ รายละเอียดเยอะขนาดนีต้ อ้ งวางแผนในการซือ้ ด้วย ซื้อที่ไหน ที่ไหนขาย มีของมั้ย ถ้าไม่มีใส่อะไรดี ใส่ด้วยกัน ได้มั้ย อันนี้ต้องปรึกษาร้านหรือช่างผู้ช�ำนาญการด้วยนะ ครับ เพราะอะไหล่ชนิ้ ส่วนระบบขับเคลือ่ น บางรุน่ ใส่ดว้ ย กันได้บางรุ่น ไม่สามารถน�ำมาใช้รวมกันได้ ไม่ว่าชิ้นส่วน ยี่ห้ออะไร แบบไหน หมอบ เขา ฟิกซ์ บีเอ็มเอ๊กซ์ แม่บ้าน ต้องเลือกทั้งนั้น เลือกอะไหล่แต่ละชิ้นมักจะกระทบเรื่อง ราคาเสมอ

ค�ำถามจากทางบ้าน ระหว่าง 7 - 8 - 9 10 - 11 เกียร์ เลือก อะไรดี? ค�ำตอบ.. ตามงบครับ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 41


ชุมชนชาวจักรยาน

ปัจจุบันมีกลุ่มและชมรมของชาวจักรยานเกิดขึ้นมากมาย พื้นที่นี้ขอท�ำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างชาวจักรยาน ขอเชิญส่งข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มหรือชมรมจักรยานมาได้ที่ 02-678-5470 หรือ email: tchathaicycling@gmail.com

ชมรมจักรบ้านรถถีบเมืองน่าน

Facebook.com / บ้านรถถีบเมืองน่าน สาธิต https://www.facebook.com/profile.php?id=100006149555614

ติดต่อ ประธานชมรม นายเมธี เทพเสนา รองประธาน พันโท ฉลอง

วัตถุประสงค์ จุดประสานงานของสมาชิกและผู้สนใจ บริการข้อมูลข่าวสาร ซ่อมบ�ำรุงรักษาจักรยาน ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรม/ทริป ท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดน่าน ทุกวันหยุด (ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์) ทั้งในตัวเมือง น่าน และต่างอ�ำเภอ กิจกรรม จัดทริปปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว (ระยะทาง 50 - 200 กิโลเมตร), ส�ำรวจเส้นทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน และ เข้าร่วมการแข่งขัน จักรยานในรายการต่างๆ ทั้งในจังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ

ผู้ประสานงาน คุณสาธิต พันธุ์แก้ว บ้านรถถีบเมืองน่าน 12 / 3 ถ.รอบก�ำแพง เมืองด้านใต้ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 55000

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ งาช้างด�ำเมืองน่าน (เสือภูเขา)

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=397&t=98535 ติดต่อ ประธานชมรม อ.ปกรณ์ กรองทอง

วัตถุประสงค์ รวมกลุม่ สมาชิกหลายหลายอาชีพ ทัง้ วัยท�ำงานและวัยเกษียณ อายุ ปั่นจักรยานเพื่อส่งเสริมการสร้างสุขภาวะ และสุขภาพ สนับสนุนและ ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว ด้วยจักรยาน และสนับสนุนการแข่งขัน จักรยาน กิจกรรม จัดทริปท่องเที่ยว (50-200 กิโลเมตร) เข้าร่วมการแข่งขันจักรยาน ในรายการต่างๆ ทั้งในจังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ

42 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

นายปัญพล ไชยสีติ๊บ (หนานปัน) (อ�ำเภอแม่จริม) 081-531-6774


บริจาคจักรยาน

โครงการต่อเนือ่ งทีส่ มาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย TCHA จัดขึ้นเพื่อน�ำ จักรยานเก่ามาบูรณะใหม่ และน�ำไป มอบให้กบั น้องๆ เยาวชนตามทีห่ า่ งไกล เพื่อใช้ในการเดินทางสัญจรไปโรงเรียน หรือส�ำหรับภารกิจอื่นๆ ตลอดจนออก ก�ำลังกายในครอบครัวได้ โดยไม่ต้อง พึ่งพาพลังงานสิ้นเปลืองด้านอื่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาค จักรยานทีไ่ ม่ใช้แล้ว และยังอยูใ่ นสภาพ ที่สามารถซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ได้ โดย สมาคมฯ มีกจิ กรรมนัดซ่อมจักรยานเพือ่ น้องทุกๆ เดือน จากบรรดาอาสาสมัคร มาช่วยกันซ่อมบ�ำรุงให้จักรยานที่ได้ รับบริจาคเหล่านี้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ สามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างเช่นปกติ ดังเดิม โดยมีโครงการน�ำจักรยานเหล่านี้ ไปส่งมอบให้กบั เยาวชน ณ โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ฯ ถนนนราธิวาส

ติดตอสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย หรือประสงครวมโครงการรีไซเคิลจักรยานไดที่ รถไฟฟา BTS สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ชองนนทรี ถนนสาทร 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 รถไฟฟา BTS BRT ชองนนทรี (สาธุประดิษฐ 15 แยก 14) สุรศักดิ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี แมคโคร BRT เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-6470 ถนนจันทน รร.เซนยอเซฟฯ โทรสาร 02-678-8589 ซอย 15 นราธิ ว าสฯ 22 ที่ทำการสมาคมฯ BRT ถนนจันทน เวบไซต www.thaicycling.com (นราธิวาส ซอย 22) ถนนสีลม

รถไฟฟา BTS ศาลาแดง

ถนนสาธ

ทางลงสาธุประดิษฐ

ุประดิษฐ

สาธุประดิษฐ 15 แยก 14

ทางดว

โลตัสพระราม 3

ถนนพระราม 3

Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 43


ÊÔ¹¤ŒÒÊÁÒ¤Á¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×èÍÊØ¢ÀÒ¾ä·Â

เปนสินคาที่จำเปนสำหรับผูใชจักรยาน จัดจำหนายในราคามิตรภาพ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อไดที่ สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย ดวยการโอนเงินเขาบัญชีของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย ธนาคารกสิกรไทย สาขาโลตัสพระราม 3 เลขที่ 860-2-14222-2 แลวกรุณาแฟกซสำเนาใบโอนไปที่ โทรสาร 02-678-8589 หรือสงทาง email: tchathaicycling@gmail.com

02

05

01 03

04

06 09

08

10

07 01 หมวกคลุมหนา 02 แถบเสื้อ 03 เสื้อจักรยาน 04 เสื้อจักรยาน 05 กางเกงขาสั้น SDL (สีฟาและสีเขียว) สะทอนแสง TCHA แขนสั้น TCHA แขนยาว รุนมาตรฐาน ใบละ 120 บาท ตัวละ 150 บาท ตัวละ 750 บาท ตัวละ 950 บาท ตัวละ 950 บาท 06 กางเกงขายาว 07 ถุงแขน 08 กางเกง 09 กางเกง 10 พวงกุญแจ SDL รุนมาตรฐาน สีดำ ขาสั้น รุนใหม ขายาว รุนใหม โปรดระวังจักรยาน 44 │ตัสารสองล้ อ 271 (มกราคม วละ 1,100 บาท 2557)คูละ 120 บาท ตัวละ 450 บาท ตัวละ 690 บาท ชิ้นละ 30 บาท


áÃç¤ËÅѧ¤Ò áÃ礨ѡÃÂÒ¹

สวนธนไบค์พลัส

Tel : 02 589 2614 , 02 591 5220-2

Suanthon Bike Plus

ปั่นสองน่องท่องริมโขง

ด�ำเนินการโดยเฮียจุ้ย โทร 024628404, 081 899 6223

ทริปในฝันปั่นเลาะริมโขง เลย - เชียงคาน - ปากชม

519/694-695 ประชาอุทิศ ทุ่งครุ กทม.(ตรงข้ามส�ำนักงานเขตทุ่งครุ) จัดจ�ำหน่ายจักรยานและอุปกรณ์ชั้นน�ำจากทั่วโลก Trek, Specialized, Merida, FuJi, Bianchi, Lapierre, Shimano, Scram Email:- Suanthonbikeplus@hotmail.com

ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม 2557 ชวนปั่นไปเที่ยวตลาดริมน�้ำ วัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี

สนใจโทร. 02-678-5470

๒๕ - ๒๖ มกราคม ๒๕๕๗

จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานจังหวัดเลย และสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย

สอบถามโทร. 02-678-5470

พิเศษ! บัตรสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ใช้สทิ ธิสว่ นลดได้ที่ PRO BIKE ส่วนลด 15% โทร. 02-254-1077 WORLD BIKE ส่วนลด 20% โทร. 02-944-4848 THONGLOR BIKE ส่วนลด 10% ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โทร. 02-712-5425 ZIP COFFEE (หมู่บ้านสัมมากร) ส่วนลดกาแฟ 10 บาท ส�ำหรับผู้ถือ บัตรฯ และลด 20 บาท ส�ำหรับผู้สวมเสื้อจักรยาน TCHA ลายธงชาติ

จองด่วน!

โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!

เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ ส�ำหรับร้านค้าย่อยที่จ�ำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบ�ำรุง จ�ำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสื้อผ้า ร้านอาหารสินค้ามือสอง ของส่วนตัว บริการท่องเที่ยว หรืออื่นๆ เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด 3 คูณ 6 เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง 1,000 บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน โทร. 02-678-5470 หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD

6 ซม. 3 ซม. โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย! สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557) │ 45


จักรยานล้านไอเดีย เรื่อง zangzaew

Concept 1865 เป็นการน�ำพาย้อนเวลาไปหาอดีตภายใต้แนวคิด.. “Concept 1865” ของ Badische Anilin และ Soda Fabrik ผู้ก่อตั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ของเยอรมันชื่อว่า BASF ปัจจุบนั ถือเป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านนวตกรรมการผลิตระดับ โลก และมีเงินทุนในการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากมาย ค.ศ. 1865 คือช่วงเวลาที่ BASF ได้รจู้ กั กับจักรยาน ซึง่ ได้ความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคนัน้ ภายใต้ชอื่ ทีร่ จู้ กั กันว่า จักรยาน เพนนี-่ ฟาร์ทงิ (Penny-Farthing) เป็นการ เรียกตามขนาดของเหรียญเงินอังกฤษทีม่ ขี นาดแตกต่างกัน

46 │ สารสองล้อ 271 (มกราคม 2557)

แน่นอนว่าจักรยานเพนนี-่ ฟาร์ทงิ นัน้ เป็นการพัฒนา ของยานพาหนะสองล้อ จากการจุดประกายของจักรยาน แบบใช้เท้าผลักไปข้างหน้าชื่อว่า Dandy Horse อันเป็น ผลงานการออกแบบของ Karl Drais นักประดิษฐ์ชาว เยอรมัน แรงบันดาลใจดังกล่าว ผนวกกับความสามารถใน การพัฒนาวัตถุดิบที่ก้าวหน้าของ BASF ท�ำให้แนวคิด Concept 1865 น�ำพาไปสู่การประดิษฐ์จักรยานแห่ง อนาคตด้วยการน�ำแนวคิดย้อนยุคของจักรยานเพนนี่-


ฟาร์ทิง มาผสมผสานกับวัตถุดิบที่ทันสมัยกว่า 24 ชนิด ของ BASF จนกลายเป็นจักรยานไฟฟ้าล�้ำสมัยนามกว่า “e-velocipede” ส่วนประกอบทั้งหมดเป็นวัสดุโพลเมอร์ชนิดใหม่ที่ พัฒนาขึ้นโดย BASF จะมีเพียงส่วนประกอบของระบบ ดิสก์เบรก เพลา และมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้นที่เป็นโลหะ ตัวบันไดปั่นจะอยู่ติดกับดุมที่ล้อหน้า และเบาะนั่งจะเป็น ส่วนของแบตเตอรีส่ ามารถถอดออกเพือ่ น�ำไฟชาร์ตไฟฟ้า ใหม่ได้อย่างสะดวก

เป็นการออกแบบอันเกิดจากการวิจัยของบริษัท BASF ร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบชื่อ DING3000 ท�ำการ ออกแบบในเชิงศิลปะผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ โดย อาศัยต้นแบบจากจักรยานในยุคแรกเร่มิ เป็นแนวทาง ด้วย ขนาดล้อหน้า 39 นิว้ และล้อหลัง 24 นิว้ ด้วยแนวคิดแบบ ย้อนยุค โดยไร้ส่วนประกอบของเฟือง โซ่และระบบก้าม เบรก พร้อมกับระบบไฟฟ้ามาใช้งานในการช่วยขับเคลือ่ น ชมรายละเอียดและวิดีโอเกี่ยวกับจักรยานภายใน Concept 1865 นีไ้ ด้ที่ www.concept1865.basf.com



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.