แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ

Page 1


แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย รูปเล่ม/ศิลปกรรม โรงพิมพ์

ธันวาคม 2554 1,500 เล่ม อุดม วงษ์สิงห์ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด โทร.0-2903-8257-9 ผู้เขียนขอมอบลิขสิทธิ์เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง จำหน่ายเพื่อเป็นรายได้หรือใช้ในกิจการของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น


คำนำ หนังสือเล่มนี้เกิดจากการสนับสนุนของ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ เยาวชน (สสค.) ในการพัฒนาประชากรวัยแรงงานที่ต้องการเรียนต่อและเพิ่มทักษะในการประกอบ อาชีพ ปี 2554 ที่ผู้เขียนมีส่วนให้แนวคิดแก่ อบต. ประมาณ 100 แห่ง ระหว่างเดือนกรกฎาคมสิงหาคม 2554 ผู้เขียนมีความเห็นว่าเพื่อความยั่งยืนของการพัฒนาพื้นที่ เราต้องใช้แนวคิด “การพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ” คือเอาการเรียนรู้นำหน้าให้ได้ก่อน จากนั้นความคิดที่

ถูกต้องบนหลักการที่ถูกต้องจะเกิดในพื้นที่ได้เอง เมื่อเรียนรู้จนคิดได้ถูกต้องแล้ว ความสามารถการประกอบอาชีพจะตามมาเอง การเรี ย นรู ้ จ นเกิ ด ความคิ ด ที ่ เ ป็ น สั ม มานั ้ น เป็ น ผลของ “กระบวนการวิ จ ั ย ” ที ่ ผู ้ เ ขี ย นมี ประสบการณ์ร่วมกับ คุณณรงค์ คงมาก เมื่อครั้งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนา เชิงพืน้ ที่ (Area-Based Collaborative Research for Development) ในเขตพืน้ ทีภ่ าคใต้ ทีช่ ว่ ย

ให้พื้นที่เรียนรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลใกล้ตัว คือ บัญชีครัวเรือน เพื่อเข้าใจตัวเองและนำไปสู่การ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จนกระทั่งเป็นแนวทางการทำแผนชุมชนและแผน อบต. ทำให้ ชุมชนและ อบต. ทำงานร่วมกันในวิถีประชาธิปไตย ที่ใช้เหตุผลและความรู้จากข้อมูลมากกว่า กระแสความรู้สึก เมื่อมีโอกาสร่วมงานกับ สสค. จึงเสนอแนวคิดนี้เพราะเห็นว่าจะนอกจากจะได้ ผลเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว ยังทำให้ภารกิจ สสค. บรรลุเป้าหมาย คือ สร้างสังคมเรียนรู้ ผู้เขียนพยายามเขียนให้อ่านง่ายสำหรับประชาชนทั่วไป จึงวางเรื่องเป็นประเด็นๆ ที่ทำความ เข้าใจเป็นขั้นเป็นตอน อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านพึงเข้าใจว่า ข้อเขียนนี้ไม่ใช่สิ่งที่เอาไปใช้ได้ทันที เพราะ ความถูกต้องเป็นสิ่งมีบริบทกำกับ ดังนั้น ควรอ่านเอาในส่วนที่เป็นหลักการ เพื่อนำไปประยุกต์

ให้เหมาะกับบริบทของตนเอง ขอขอบคุณสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ที่เห็นความ สำคัญของแนวคิดที่ผู้เขียนเสนอ และจัดพิมพ์หนังสือนี้ สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ 22 กันยายน 2554



สารบัญ

หลักการเบื้องต้น เงินกับอาชีพ อาชีพมีลักษณะอย่างไรบ้าง? การอยู่คู่กันของอาชีพ 2 ลักษณะ ทรัพยากร “แรงงาน-เวลา” การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิต ค่าจำเพาะ หน่วยเปอร์เซ็นต์ การทำความเข้าใจข้อมูลเพื่อสัมมาชีพ ข้อมูลพื้นที่ที่จำเป็น เอาข้อมูลจากไหน เข้าใจมันได้อย่างไร? สายโซ่การผลิต การบริโภค การแข่งขัน และการต่อรอง เศรษฐกิจแทรกกลาง โอกาสจากศักยภาพภายใน สายโซ่ที่ต่อข้างนอก เศรษฐกิจจากทรัพยากรนามธรรม การสร้างสังคมเรียนรู้ สรุป ภาคผนวก การเรียนรู้เศรษฐศาสตร์การทำมาหากินสำหรับชาวบ้าน

7 7 8 9 11 12 12 15 19 19 20 20 22 24 24 25 26 28 31 31


6 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


หลักการเบื้องต้น

เงินกับอาชีพ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสมัยนี้เมื่อพูดเรื่องการทำอาชีพ เราต้องพูดเรื่องรายได้ที่เป็นเงิน จึงต้อง ทำความเข้าใจกันก่อนว่าจริงๆ นั้น “เงินมาจากไหน” คนทั่วไปคิดว่าเงินมาจากคนอื่นที่เราเอาของ(หรือแรงงาน)ไปแลกมา หากถามไล่เรียงต่อไปว่า คนที่จ่ายเงินให้เรานั้น เขาได้เงินมาจากไหน เขาก็จะตอบอย่างเดียวกันว่าได้มาจากคนอื่น สุดท้ายแล้ว อาจมีบางคนพบต้นตอของเงินว่ามาจากโรงพิมพ์ธนบัตรของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลพิมพ์ธนบัตรได้เอง ทำไมไม่แก้ปัญหาความยากจนโดยพิมพ์ธนบัตรออกมาแจก

แก้จน? หลายคนเคยสงสัยเช่นนี้ใช่ไหม !! ลองคิดดู หากพิมพ์แจกไม่อั้น เงินจะเป็นของหาง่าย คนทั้งหลายไม่จำเป็นต้องดิ้นรนทำงาน หาเงินจากคนอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินที่ทุกคนมีจะลดค่าลง(เพราะความต้องการน้อยลง) หากถึงจุดที่ ไม่มีใครต้องการ มันจะเป็นกระดาษเปื้อนหมึกที่ไร้ค่าทันที เมื่อใช้ซื้ออะไรไม่ได้ การขาดแคลน

และความยากจนก็ยังคงอยู่ การที่เงินลดค่าลงเช่นนี้เราเรียกว่า “เงินเฟ้อ” ของเดิมราคา 100 บาทกลายเป็น 1 ล้านบาท

ซื้อรถจักรยานต้องใช้รถกระบะขนเงินไปจ่าย อย่างนี้ สู้อยู่อย่างเดิมทำงานหาเงิน 100 บาทแทนการ

รับแจกไม่อั้นดีกว่า เงินมีค่าเพราะมีคนต้องการ และคนที่ถือเงินเขาก็ต้องมั่นใจว่าเขาถือของมีค่า ดังนั้น จึงพิมพ์แจก ไม่ได้ เราได้เงินมาจากการแปรรูปทรัพยากรให้ผู้อื่นซื้อ ชาวนาแปรทรัพยากรที่ดิน น้ำ ปุ๋ย แรงงาน

ให้เป็นข้าวเพื่อได้เงินมาจากโรงสี ไล่ไปเรื่อยๆ เราจะพบว่า เงินที่โรงสีจ่ายชาวนานั้นมาจาก

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 7


คนกินข้าว คนกินข้าวต้องหาเงินมาจากทรัพยากรอื่น เช่น ปลูกทุเรียน (หากเป็นชาวสวน) หรือ

ขายทอง (หากเป็นร้านทอง) ฯลฯ เงินมาจากการทำงาน (อาชีพ) เพื่อเปลี่ยนทรัพยากรให้ตรงความต้องการของผู้อื่น การทำอาชีพ แบบนี้เราเรียกว่าทำบนฐานทรัพยากร 1 ยิ่งได้เงินมากก็ยิ่งสูญทรัพยากรไปมาก ข้าวที่ผลิตได้มาก ต้องแลกกับแสงแดด น้ำ ปุ๋ย ที่มากตาม ทรัพยากรบางอย่างเราได้มาฟรีๆ เช่น แสงแดด น้ำฝน

แต่น้ำคลองต้องเสียเงินค่าสูบน้ำ ปุ๋ยต้องใช้เงินซื้อ เพราะมันไม่ได้ตกมาจากฟ้าเหมือนฝน (ปุ๋ยผลิต จากแร่โปแตสและก๊าซธรรมชาติ) สรุปว่า เงินมาจากทรัพยากร คนที่อยากได้เงินจึงต้องแปรทรัพยากรให้เป็นของที่คนอื่นต้องการ

เราเรียกการทำเช่นนี้ว่า “ทำอาชีพ”

อาชีพมีลักษณะอย่างไรบ้าง? อาชีพมี 2 ลักษณะ อย่างแรกคือ “ทำเพื่อให้มีปัจจัยเพื่อการดำรงชีพของตนเอง” เรียกสั้นๆ ว่า “ทำกินเองใช้เอง” อย่างที่ 2 คือ “ทำเพื่อเอาเงินจากคนอื่น” เรียกว่า “ทำขายคนอื่น” ตัวอย่างการทำอาชีพแบบ “ทำกินเองใช้เอง” คือ เลี้ยงไก่ไว้กินไข่เอง ปลูกผักกินเอง ปลูกฝ้าย ทอผ้าเอง ฯลฯ สังคมสมัยก่อนมักจะเป็นเช่นนี้ จนกระทั่งมีระบบที่ใช้เงิน (ก่อนหน้าเงิน คือ “เบี้ย”) เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยน จึงเกิดอาชีพอย่างที่ 2 ที่คนทำงานเพื่อเอาเงินมาจากคนอื่น อาชีพอย่างนี้ ต้องผลิตสิ่งที่คนอื่นต้องการ และมันมีกฎตายตัวว่า หากผลิตได้น้อยกว่าต้องการ มันจะมีราคาสูง หากผลิตมากเกินไป มันจะมีราคาต่ำ การทำอาชีพผลิตเพื่อขายคนอื่นจึงมีโอกาสล้มเหลว เพราะ รายได้ขึ้นกับราคา การทำอาชีพแบบ “ทำขายคนอื่น” เป็นวังวนการหมุนเวียนเงิน ที่ทำให้มีอาชีพและเศรษฐกิจ เติบโต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ GDP ปัจจุบันนี้ เมื่อพูดเรื่องอาชีพ เรามักจะหมายถึงอาชีพที่ทำให้ GDP โต คนทั้งหลายจึงทำอาชีพ เพื่อหมุนเวียนเงิน คือ รับ(เงิน)จากคนอื่นและส่ง(เงิน)ให้คนอื่น ความคิดเช่นนี้เกิดจากความเชื่อพื้นฐานว่า “สิ่งที่ตนเองต้องการนั้นอยู่ที่ผู้อื่น และสิ่งที่ตนเอง ผลิตนั้นเป็นที่ต้องการของผู้อื่น” ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่ผิด แต่ไม่ถูกทั้งหมด

1

ยังมีอาชีพที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยมาก ส่วนมากเป็นอาชีพที่ใช้ความรู้พิเศษ เช่น เป็นที่ปรึกษา พัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 8 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


คนที่มีแนวคิดอนุรักษ์มากๆ จะบอกว่าชุมชนต้อง “ทำกินเองใช้เอง” ต้องลดรายจ่าย ต้องพึ่ง ตนเอง อย่างนี้ก็ไม่ใช่ความคิดที่ผิด แต่ก็ไม่ถูกทั้งหมดเช่นกัน

การอยู่คู่กันของอาชีพ 2 ลักษณะ การ “ทำกินเองใช้เอง” เราจะไม่มีรายจ่าย และจะทำให้คนอื่นไม่มีรายได้(จากเรา) หมายความว่า คนอื่นจะขาดโอกาสการทำอาชีพประเภท “ทำขายคนอื่น” (ขายเรา) ลองนึกดูว่า ถ้าทุกคนทำอาชีพ ประเภทกินเองใช้เองกันหมดทุกคน อาชีพทำขายคนอื่นจะไม่มีในโลกนี้ เพราะไม่มีผู้ซื้อ โลกนี้ไม่ ต้องมีเงินตรา!! เช่นเดียวกับเงินไม่มีค่า เพราะพิมพ์แจกไม่อั้น ยิ่งกว่านั้น มันเหมือนย้อนโลกไป สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ในความเป็นจริงเราไม่สามารถผลิตทุกอย่างได้เอง เช่น เราทำนาฬิกาข้อมือเองไม่ได้ เราไม่มี

โรงไฟฟ้าหลังบ้านเราเอง (ถึงแม้มีแผงพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าเอง เราก็ต้องซื้อแผงโซลาร์ เซลล์) ครอบครัวเราจะตั้งโรงงานผลิตรถยนต์มาใช้เองเพียง 3-4 คันก็ใช่ที่ มันจึงต้องมีใครสักคน หนึ่งผลิตรถยนต์และเราซื้อมาใช้จะ “ดีกว่า” คำว่า “ดีกว่า” นี่เองที่ตัดสินใจว่าเราควรทำอาชีพประเภทไหน คนเรามีทรัพยากรจำกัดและไม่เท่ากัน คือ มีทุน มีความรู้ มีทักษะ มีวัตถุดิบ มีเทคโนโลยี

มีเวลาฯลฯ ไม่เท่ากัน เราจึงต้องทำอาชีพที่เราทำแล้ว “ดีกว่า” สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 9


ตัวอย่างเช่น หากจะทำอาชีพเพื่อกินเองใช้เอง ต้องหมายความว่าทำแล้วดีกว่าซื้อเขา แต่เรา

จะทราบได้อย่างไรว่า “ดีกว่าซื้อเขา”? คำว่า “ดีกว่า” แสดงถึงการเปรียบเทียบ ซึ่งมีหลายเรื่องให้เทียบ เช่น ปลูกผักกินเองดีกว่าซื้อเขา เพราะถูกกว่า (เปรียบเทียบทางการเงิน) หรือเพราะปลอดภัยกว่าก็ได้ (เปรียบเทียบสุขภาพ) สมมุติว่าเราเอาเงินมาเปรียบเทียบ เราต้องคิดว่า ภายใต้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ เราจะเลือกซื้อ ผักกิน ก็ต่อเมื่อเราเอาทรัพยากรไปทำอย่างอื่นแล้วได้เงินมากกว่าค่าผัก เช่น เราอยากกินผัก 1 กก. ราคา 50 บาท เราปลูกเองก็ได้ ซื้อก็ได้ (สมมุติไม่สนใจเวลาที่รอ ผักโต) สมมุติว่าการผลิตเองต้องใช้ทรัพยากรเป็นเงิน 30 บาท (เช่น ค่าน้ำ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และรวม ที่ดิน เวลากับค่าแรงของเราด้วย) การเลือกทำกินเองใช้เองอย่างนี้หมายความว่าเราประหยัดได้

20 บาท แต่หากเราทำอาชีพประเภท “ขายคนอื่น” เช่น เอา(ทรัพยากร)เวลาของเราไปรับจ้าง (ขาย แรงงาน) ได้เงินมา 100 บาท เราสามารถใช้เงิน 100 บาทซื้อผักกินได้ตามต้องการ แถมมีเงินเหลือ อีก 50 บาทด้วย 10 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


เมื่อทรัพยากรเวลาของเราหมดไปกับการทำงานรับจ้างแล้ว เราไม่มีเวลาเหลือมาใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรที่ดิน เราก็อาจให้คนอื่นเช่าที่ดินปลูกผักก็ได้ เป็นการใช้ทรัพยากร(เวลาและที่ดิน)ที ่ “ดีกว่า” การทำกินเองใช้เอง จะเห็นว่าการเลือกทำอาชีพ 2 ประเภทที่กล่าวมานี้ ทำให้เรามีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน

ทางเลือกแรกเรามีเงินเหลือ 20 บาท(จากที่ประหยัดได้) ทางเลือกที่ 2 ทำให้เรามีเงินเพิ่ม 50 บาท (และอาจได้ค่าเช่าที่ดินด้วย) โดยทั้ง 2 ทางเลือกทำให้เรามีผักกิน 1 กก. เหมือนกัน คิดกันที่ จำนวนเงินแล้วจะเห็นว่า เราควรเลือกอาชีพประเภทที่ 2 แต่หากตัวเลขไม่เป็นเช่นนี้ เช่น ออกไปรับจ้างได้ค่าแรงเพียง 50 บาท เราก็ควรเลือกปลูกผัก กินเองดีกว่า การเลือกว่าจะทำ(อาชีพ)อะไรนั้น ต้องคิดเชิงเปรียบเทียบเช่นนี้ คนที่ประสบความสำเร็จ

ไม่เป็นหนี้เป็นสินเพราะเลือกทำในสิ่งที่พิจารณาแล้วว่าจะ “ได้มากที่สุด” เรียกว่ามีประสิทธิภาพดี ที่สุดในการใช้ทรัพยากร

ทรัพยากร “แรงงาน-เวลา” หน่วยของทรัพยากรที่สำคัญอีกหน่วยหนึ่ง คือ “แรงงาน-เวลา” แรงงานเกิดจากมี “คน” เวลาเกิดจากมี “เวลา” ดังนั้น เราจะเห็นหน่วยนี้ในชื่อ “คน-เวลา” หากเราจ้างคนมาทำงาน 1 คน โดยจ้างเป็นเวลา 1 วัน เราจะบอกว่าเรามีทรัพยากร “แรงงานเวลา” เท่ากับ “1 คน-วัน” ดังนั้น เราจะมีหน่วย “คน-นาที” (เวลาไปหาหมอในต่างประเทศ เขาจะ คิดค่าหมอจากการนับเวลาเป็นนาที) “คน-สัปดาห์” จากการจ้างเป็นสัปดาห์ (งานที่เป็นโครงการ ชั่วคราวเขาจะจ้างผู้รับงานอิสระ (freelance) เป็นสัปดาห์) “คน-เดือน” จากการจ้างรายเดือน

“คน-ปี” จากการจ้างสัญญารายปี งานที่ต้องการทรัพยากร 10 คน-วัน หมายความว่าเป็นงานที่หากทำ 1 คนต้องใช้เวลา 10 วัน หากมาช่วยกัน 5 คนจะใช้เวลา 2 วัน หากต้องการให้เสร็จเร็วในวันเดียวก็ต้องระดมมา 10 คน แบบเดียวกับการเกี่ยวข้าว หากต้องการเสร็จเร็วก็ระดมคนมา “ลงแขก” ทรัพยากร “คน-เวลา” แสดงความผูกพันกันอยู่ของคนและเวลา เพราะถ้ามีคนแต่ไม่มีเวลา หรือมีเวลาแต่ไม่มีคน มันจะไม่เกิดการทำงานและทรัพยากรนี้มีค่าเป็นศูนย์ คนเป็นทรัพยากรทำงานที่ค่อนข้างจำกัด เพราะมีเงื่อนไขประกอบมาก บางงานต้องเลือกเพศ บางงานต้องจำกัดอายุ หรือต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นบางประการ (งานบัญชีต้องใช้คนรู้บัญชี เป็นต้น) เวลาก็เป็นทรัพยากรที่จำกัด เพราะเราหยุดโลกไม่ให้หมุนไม่ได้ สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 11


ดังนั้น ข้อมูลทรัพยากรแรงงานและเวลาจึงสำคัญมากสำหรับอาชีพการผลิตบนฐานทรัพยากร เมื่อมีจำกัดจึงต้องรู้จักแบ่งมาใช้อย่างฉลาด

การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิต เมื่อเรามีทรัพยากร “แรงงาน-เวลา” แล้ว เราต้องฉลาดในการตัดสินใจใช้ทรัพยากรนี้ทำงาน

ในสิ่งที่ “ดีกว่า” หรือ “ได้มากที่สุด” เรื่องนี้จริงๆ แล้วเกี่ยวกับตัวเลขเปรียบเทียบ 2 ค่า คือ “รับ” และ “จ่าย” ดังนั้น เรื่องนี้ตัดสินใจได้ไม่ยากหากทำบัญชี และคิดได้ว่าตัวเลขในบัญชีแปลว่าอะไร การทำบัญชีเป็นเพียงการจดตัวเลขที่เกี่ยวกับที่ “รับมา” และ “จ่ายไป” เรื่องแค่นี้ทำไม่ยากถ้ามีวินัย แต่การแปลความเพื่อตัดสินใจอาจไม่ง่ายสำหรับบางคน เมื่อแปลความไม่ได้ ก็ใช้ประโยชน์จากตัวเลข ไม่ได้ งานจดบัญชีจึงกลายเป็นภาระ ดังนั้น หัวใจของงานบัญชี คือ การแปลความเพื่อตัดสินใจ ตัวอย่างการแปลความที่เข้าใจผิดกันไม่น้อย คือ เข้าใจว่า “รายรับ” เป็นค่าเดียวกับ “รายได้” เราปลูกผักขายได้ กก. ละ 50 บาท แต่ก่อนได้เงินจากขายผักนั้น เราต้องเสียค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย

ค่าเช่าที่ดิน ฯลฯ (สมมุติ)คิดเป็นค่าใช้จ่าย 30 บาท ตัวเลขชุดนี้แปลว่ารายรับคือ 50 บาท รายจ่าย คือ 30 บาท และรายได้จากการปลูกผัก คือ 20 บาท รายได้น้อยกว่ารายรับเสมอ ยกเว้นการทำอาชีพทุจริต และเป็นนักการเมือง(บางคน) หากเราทำบัญชีแยกให้ชัดในทุกกิจการ แล้วเอามาเปรียบเทียบกันเราจะตัดสินใจได้ว่าเราควร เลือกทำอะไร เช่น เราอาจจะเปลี่ยนจากปลูกผักมาเลี้ยงไก่ก็ได้ บัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือนเป็นบัญชีรวมของครอบครัว มันบอกเพียงภาพรวมว่ารับและ

จ่ายอะไร เท่าไร ตัวเลขยังไม่แยกกันชัดในทุกกิจการ การทำอาชีพต้องใช้บัญชีบอกให้ได้ว่า

1) ทำแล้วขาดทุนหรือกำไร 2) ทำอะไรดีที่สุด การรู้ว่าทำอาชีพแล้วกำไรหรือขาดทุนต้องเป็นบัญชีรับ-จ่ายเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบ

อาชีพนั้นๆ ดังนั้น บัญชีนี้ต้องแยกออกจากบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน การรู้ว่าทำอะไรดีที่สุด คือ การรู้เชิงเปรียบเทียบในสิ่งที่ต่างกัน เช่น เปรียบเทียบระหว่างปลูกผัก กับทำนา เราจึงต้องมีหน่วยที่ทำให้ของต่างกันนั้นเอามาเปรียบเทียบกันได้ หน่วยนี้เราเรียก “ค่าจำเพาะ”

ค่าจำเพาะ ประสิทธิภาพของการทำอาชีพต้องเปรียบเทียบด้วยค่าจำเพาะ ชาวนา 2 คนทำนามี “รายได้” ต่างกัน ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีรายได้มากกว่าจะทำนาเก่งกว่า เพราะรายได้ที่มากกว่าอาจเป็น เพราะเขามีที่นามากกว่า 12 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 13


ชาวนาคนที่ 1 ทำนา 100 ไร่ มีรายได้ (รายรับ-รายจ่าย) 200,000 บาท คนที่ 2 ทำนา 50 ไร่

มีรายได้ 120,000 บาท แม้ว่าคนที่ 2 มีรายได้น้อยกว่า แต่เขาสามารถใช้ที่ดิน 1 ไร่สร้างรายได้

ถึง 2,400 บาท ในขณะที่คนแรกทำได้พียง 2,000 บาทต่อไร่ ค่าตัวเลขที่มีคำว่า “บาทต่อไร่” เป็นหน่วยต่อท้ายนี้ เราเรียกว่า “ค่าจำเพาะ” ซึ่งแสดงผลการทำ นาในพื้นที่ 1 ไร่เท่ากัน เพื่อให้เปรียบเทียบกันได้ว่าในขนาดทรัพยากร(ที่ดิน) เท่ากัน ใครทำนาเก่ง กว่ากัน ค่าจำเพาะจึงใช้บอกความสามารถในการแข่งกันทำอาชีพได้ถูกต้อง ค่าจำเพาะมีได้หลายหน่วย เช่น (ได้ผลผลิต)ตันต่อไร่ (ใช้ปุ๋ย)กก.ต่อไร่ (คนเกี่ยวข้าวได้)

ไร่ต่อวัน หากใช้พื้นที่ 1 ไร่ปลูกข้าวโพดและถั่ว ใน 1 รอบของการปลูกข้าวโพดมีรายรับ 8,000 บาท

รายจ่าย 3,000 บาท แต่ปลูกถั่วมีรายรับ 10,000 บาท ในขณะที่รายจ่าย 6,000 บาท ถ้าเอารายรับมาคิดค่าจำเพาะ เป็นรายรับหน่วย “บาทต่อไร่” เราจะตัดสินใจปลูกถั่วเพราะมี รายรับรอบละ 10,000 บาทต่อไร่ มากกว่าข้าวโพดที่ได้เพียง 8,000 บาทต่อไร่ เกษตรกรเป็นหนี้กัน มากเพราะนอกจากไม่ทำบัญชีอาชีพแล้ว ยังไม่แยกรายรับกับรายได้ออกจากกัน ถ้าเอารายได้(รายรับ-รายจ่าย)มาพิจารณา การปลูกข้าวโพดมีรายได้รอบละ 5,000 บาทต่อไร่ ปลูกถั่วมีรายได้รอบละ 4,000 บาทต่อไร่ การตัดสินใจคือ ควรปลูกข้าวโพด เวลาก็เป็นทรัพยากร หากเอามาคิดรวมเป็นค่าจำเพาะด้วย หน่วยจะเป็น “บาทต่อไร่ต่อปี” ดังนั้น หากข้าวโพดปลูกได้ปีละ 2 รุ่น แต่ถั่วปลูกได้ 3 รุ่น เราต้องเปลี่ยนใจมาปลูกถั่ว เพราะมันสร้างรายได้ 12,000 บาทต่อไร่ต่อปี ในขณะที่ข้าวโพดให้รายได้เพียง 10,000 บาทต่อไร่ต่อปี หากนับให้แรงงานในครอบครัวเป็นทรัพยากรด้วย (ที่เราต้องเอารายได้มาแบ่งกัน) หน่วย จำเพาะของรายได้จะกลายเป็น “บาทต่อไร่ต่อปีต่อคน” ดังนั้น หากที่ดิน 1 ไร่ การปลูกถั่ว

ใช้แรงงาน 3 คน แต่ข้าวโพดใช้แรงงาน 2 คน ค่าจำเพาะในหน่วยใหม่นี้จะทำให้ตัดสินใจ

เปลี่ยนไปปลูกข้าวโพดทันที (เพราะปลูกข้าวโพดแล้วมีรายได้ 5,000 บาทต่อไร่ต่อปีต่อคน ในขณะ ที่ปลูกถั่วได้เพียง 4,000 บาทต่อไร่ต่อปีต่อคน) จะเห็นว่าค่าจำเพาะมีได้หลายค่า แต่ละค่าให้ความหมายเพื่อตัดสินใจต่างกัน ดังสรุปในตาราง ต่อไปนี้

14 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


ฐานคิด

หน่วย

รายรับ

บาท/ไร่/รุ่น

ค่าจำเพาะ ถั่ว ข้าวโพด 10,000 8,000

การตัดสินใจ

รายได้

บาท/ไร่/รุ่น

4,000

5,000

ปลูกข้าวโพด

บาท/ไร่/ปี

12,000

10,000

ปลูกถั่ว

บาท/ไร่/ปี/คน

4,000

5,000

ปลูกข้าวโพด

ปลูกถั่ว

ค่าจำเพาะมีได้หลายหน่วย ที่สำคัญคือ ต้องเทียบกับทรัพยากร 3 ประการ คือ ทรัพยากร ธรรมชาติที่เรามี เช่น ที่ดิน (ต่อไร่) ทรัพยากรเวลา (ต่อวัน ต่อเดือน ต่อปี) และทรัพยากร แรงงาน(ต่อคน) การเลือกทำอาชีพ ไม่ว่าจะแบบทำกินเองใช้เองหรือทำขายคนอื่น จึงต้องรู้เรื่องบัญชีและ ค่าจำเพาะ เพราะค่าจำเพาะสะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ที่สำคัญคือต้องเข้าใจความ หมายของค่าจำเพาะที่มีหน่วยต่างกัน เพื่อตัดสินใจ “ทางเลือกที่ดีที่สุด” ได้ถูกต้อง

หน่วยเปอร์เซ็นต์ ผมเคยตกใจอย่างมากเมื่อทราบว่าชาวบ้านรู้จักเปอร์เซ็นต์ในความหมายของดอกเบี้ยเท่านั้น สองเปอร์เซ็นต์ต่อเดือนหมายความว่า จ่ายให้เจ้าหนี้เดือนละ 2 บาทสำหรับหนี้ทุกๆ 100 บาท เป็นหนี้ 100,000 บาทก็ต้องจ่ายเดือนละ 2,000 บาท ค่าที่มีหน่วยเปอร์เซ็นต์ก็เป็นค่าจำเพาะประเภทหนึ่ง เช่น รายจ่ายเป็น 80% ของรายรับ ซึ่ง หมายความว่า ทุกๆ รายรับ 100 บาทจะต้องมีการจ่าย 80 บาท หากรับ 8,000 บาท รายจ่ายจะเป็น 6,400 บาท แปลความอีกชั้นหนึ่งคือ เราได้สุทธิเพียง 20% (ส่วนนี้เรียกว่ามูลค่าเพิ่มจากการทำงานของเรา ก็ได้) เพราะ 80% จ่ายให้คนอื่น(ก่อนจะรับ 100) ที่เกษตรกรทำอาชีพแล้วเป็นหนี้ก็เพราะรายจ่าย การผลิตสูงมาก จนเหลือรายได้ไม่พอยังชีพ ชาวบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการสนับสนุนให้เลี้ยงเป็ดเพื่อเพิ่มรายได้ แต่เมื่อ วิเคราะห์บัญชีเลี้ยงเป็ดแล้วพบว่าต้นทุน(รายจ่าย)การเลี้ยงในส่วนอาหารและลูกเป็ดสูงถึง 79% ของรายรับที่ได้จากการขายเป็ด แสดงว่าทุก 100 บาทที่รับจากการขายเป็ดนั้น ชาวบ้านต้องจ่ายให้

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 15


ผู้ผลิตลูกเป็ดและอาหารเป็ด 79 บาท เป็นการจ่ายล่วงหน้า ที่คนอื่นไม่ต้องมาร่วมรับผิดชอบหาก เป็ดป่วยตาย อาชีพเช่นนี้เป็นการทำงานเพื่อคนอื่น โดยเรารับความเสี่ยงเอง 2 ชาวบ้าน ต.บ้านโสก อ.คอนสวรรค์ (ชัยภูมิ) ก็ตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกัน เมื่อพบว่าการออก ไปทำงานข้างนอกหมู่บ้านนั้น พวกเขาเอาเงินกลับบ้านเพียง 16 บาท จากทุกรายรับ 100 บาท 3 การทำอาชีพจึงต้องรู้ตัวว่าเรากำลังทำอาชีพเพื่อตัวเราหรือเพื่อคนอื่นกันแน่ ดังนั้น การทำบัญชีจึงสำคัญมาก และที่สำคัญยิ่งกว่าคือการเรียนรู้ความหมายจากตัวเลขบัญชี เพื่อให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง การทำอาชีพและบัญชี คือ การศึกษาของชาวบ้าน เป็นการศึกษานอกระบบในเรื่องใกล้ตัวที่ใช้ ประโยชน์ ไ ด้ ท ั น ที หากได้ ท ำร่ ว มกั น ชุ ม ชนนั ้ น จะกลายเป็ น ชุ ม ชนเรี ย นรู ้ จะเป็ น สั ง คมที ่ รู้ทัน(ฉลาด) เท่าเทียมโลกข้างนอก และหลุดพ้นจากการถูกเอาเปรียบ (จากความฉลาดกว่าของ

ข้างนอก)

2

ข้อมูลจากโครงการ ศอ.บต. ในปี 2553 ที่รัฐบาลให้ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้(รัฐหมายถึงรายรับ)แก่ พื้นที่ยากจนเพราะผลกระทบจากความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 3 ข้อมูลจากบัญชีครัวเรือนในโครงการของ สกว. ในปี 2550 16 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ




การทำความเข้าใจ ข้อมูลเพื่อสัมมาชีพ

ข้อมูลพื้นที่ที่จำเป็น การตัดสินใจต้องใช้ข้อมูลและความเข้าใจความหมายข้อมูล ก่อนอื่นเราต้องมีข้อมูล ข้อมูล

ของพื้นที่ที่ควรมี คือ ข้อมูลสังคม (โครงสร้างสังคม สภาพสังคม องค์กรชุมชน เครือข่ายใน

ท้องถิ่น ฯลฯ) ข้อมูลเศรษฐกิจทั้งระดับครัวเรือนและระดับชุมชน (รายรับ รายจ่าย หนี้สิน เงินออม อาชีพ ฯลฯ) ข้อมูลทรัพยากร (ธรรมชาติ ภูมิปัญญา ทุน แรงงาน ทักษะ ฯลฯ) และข้อมูลภายนอก ที่มีผลต่อท้องถิ่น (นโยบายรัฐ การพัฒนาในพื้นที่ใกล้เคียง เครือข่ายการแข่งขัน/ความร่วมมือใน พื้นที่อื่น ฯลฯ) ข้อมูลสังคมทำให้เราเห็นศักยภาพ(และปัญหา)สังคมที่ดำรงอยู่ เช่น การรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย แสดงถึงอำนาจต่อรอง สังคมที่มีแต่ผู้สูงอายุแสดงถึงการละถิ่นของวัยทำงาน ข้อมูลเศรษฐกิจทำให้เราเห็น “โอกาส” ทางเศรษฐกิจและอาชีพ เช่น รายจ่ายรวมของชุมชน

ส่วนมากเป็นค่าน้ำมันรถ ทำให้เราเห็นโอกาสตั้งปั๊มน้ำมันชุมชน รายจ่ายค่าปุ๋ยทำให้เราเห็นโอกาส ฟื้นกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ข้อมูลทรัพยากรทำให้เห็น “ศักยภาพ” ทางเศรษฐกิจของอาชีพ เช่น ทรัพยากรทำปุ๋ย (เศษพืช จากไร่นา มูลสัตว์ ขยะเทศบาล) เงินกองทุนหมู่บ้าน คือ ศักยภาพทุนสำหรับอาชีพผลิตปุ๋ย เพื่อให้ ตอบสนอง “โอกาส” ข้อมูลภายนอกทำให้เราคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เหนือการควบคุมของเราได้ เช่น นโยบาย เพิ่มค่าแรงของรัฐบาลทำให้รายรับของชุมชนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะรายรับจากการจ้างงานเพิ่ม สัดส่วนสูงขึ้น เป็นการรับที่พึ่งพาผู้อื่น

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 19


เอาข้อมูลจากไหน เข้าใจมันได้อย่างไร? เพราะข้อมูลมีมากมาย เราจึงต้องมีเป้าหมายการใช้ข้อมูลก่อน จึงจะรู้ว่าควรหยิบฉวยข้อมูล อะไรบ้าง เช่น หากมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนสู่สัมมาชีพของ อบต. เราก็ คาดได้ว่าข้อมูล 4 ประการข้างต้นต้องมีอะไรบ้าง และมีกระบวนการอย่างไรเพื่อ การเรียนรู้

ของชุมชน ในส่วนสัมมาชีพนั้นเราต้องมีข้อมูลอะไรเพื่อพัฒนาให้คนมีอาชีพ เมื่อทราบว่าต้องใช้ข้อมูลอะไร ต่อไปคือเราจะหามันได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังของ ชุมชน หากมีกระบวนการให้ร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ข้อมูลที่มีเป้าหมายเพื่อสัมมาชีพต้องมาจาก 2 ทาง คือ ทางของ “โอกาสทางเศรษฐกิจ” และ ทางของ “ศักยภาพของพื้นที่” โอกาสทางเศรษฐกิจดูได้จากบัญชีรับจ่ายรวมของทั้งพื้นที่ (บัญชีเศรษฐกิจชุมชน) ความหมาย

ของมันคือ “รายรับแสดงถึงความได้เปรียบของพื้นที่ในการผลิตเพื่อขายคนอื่น ส่วนรายจ่ายแสดง ถึงความต้องการในพื้นที่ที่ต้องพึ่งคนอื่น” รายรับแสดงว่าพื้นที่เรามีศักยภาพผลิตสิ่งนั้น การทำอาชีพผลิตในส่วนรายรับ(ทำขายคนอื่น)

มีข้อดีคือ ได้เงินเข้ามาในพื้นที่ แต่ก็มีข้อเสียคือต้องพึ่งการบริโภคของคนอื่นและต้องแข่งกับ

ผู้ผลิตรายอื่น การทำอาชีพผลิตในส่วนรายจ่าย(ทำกินเองใช้เอง)มีข้อดีคือ มีตลาดภายในชัดเจน การผลิตใน พื้นที่มีโอกาสลดต้นทุนขนส่ง แต่ก็มีข้อด้อยคือ เราอาจไม่มีศักยภาพการผลิตสิ่งนั้น (ที่ผ่านมาจึง เป็นเหตุให้ต้องซื้อจากนอกพื้นที่) สรุปได้ว่า การทำอาชีพการผลิต 2 ส่วนนี้ต้องการทักษะต่างกัน หากจะทำอาชีพผลิตในรายการ ที่เป็นรายรับ(ทำขายคนอื่น) เราต้องการทักษะผลิตที่เพิ่มคุณภาพและลดต้นทุน (เพื่อให้แข่งกับ

ผู้ผลิตจากพื้นที่อื่นได้) ส่วนการทำอาชีพผลิตในส่วนที่เป็นรายจ่าย(ทำกินเองใช้เอง) เราต้องพัฒนา ศักยภาพของทรัพยากรภายในให้ผลิตได้ กระบวนการหาข้อมูลมาหาความหมายเช่นนี้ คือ “การทำวิจัย” ที่ใกล้ตัวประชาชนที่สุด ใกล้ทั้ง ข้อมูลและใกล้ทั้งเรื่องราว

สายโซ่การผลิต การบริโภค การแข่งขันและการต่อรอง ดังกล่าวตั้งแต่ต้นว่าอาชีพมี 2 ประเภท คือ “ทำกินเองใช้เอง” กับ “ทำขายคนอื่น” และ เศรษฐกิจเติบโตจาก “ทำขายคนอื่น”

20 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


การทำขายคนอื่นจึงอยู่ในระบบการผลิตและบริโภคแบบสายโซ่ ขณะที่เราล้วงกระเป๋าข้างขวา เอาเงินจ่ายคนอื่น เราก็เอาเงินจากคนอื่นมาใส่กระเป๋าซ้าย ทุกคนในสายโซ่ทำเช่นนี้กันทั้งนั้น

คนทางซ้ายและขวามีจำนวนมากที่เอาเงินยื่นแลกของกันและกัน ขณะที ่ ทุ ก คนควั ก กระเป๋ า เอาเงิ น แลกของกั น นั ้ น ทุ ก คนก็ อ ยู ่ ใ นเกมการแข่ ง ขั น เอาชนะ กันด้วย คนที่ชนะจึงมีโอกาสได้เงินเข้ากระเป๋ามากที่สุดและจ่ายให้คนอื่นน้อยที่สุด คนที่ชนะ (เพราะอาจจะเอาเปรียบหรือโกง)จึงกลายเป็นคนรวย คนแพ้กลายเป็นคนจน (ที่แย่กว่านั้นคือ ลำดับต่อมาคนรวยเป็นนักการเมือง คนจนเป็นคนออกเสียงเลือกตั้ง) เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว เราต้องเห็นสายโซ่ทั้งสายว่าเป็นโอกาส คือ เราจะไปแทรกรับเงินที ่

จุดไหนก็ได้ ถ้าเราได้เปรียบในเกมการแข่งขัน (แต่อย่าลืมความเป็นสัมมาชีพที่ไม่เบียดเบียนด้วย) การชนะยังเกิดจาก “อำนาจการต่อรอง” เช่นการรวมกลุ่ม การชนะในอาชีพยังขึ้นกับการเป็นเครือข่ายการผลิตและการบริโภคกันเอง การทำอาชีพในพื้นที่ให้อยู่รอดจึงต้องรู้มากกว่าทักษะการผลิต เช่น ต้องรู้การจัดการกลุ่ม

การจัดสรรทรัพยากร การบริหารการผลิต การเจรจาต่อรอง ฯลฯ สมมุติมี 2 ตำบลอยู่ใกล้กัน การเป็นเครือข่ายการผลิตและบริโภคเกิดได้หากทั้ง 2 ตำบล

มีการผลิตและบริโภคที่ต่างกัน ตำบลหนึ่งมีในสิ่งที่อีกตำบลหนึ่งขาดแคลน ตำบลทุ่งเศรษฐีมีศักยภาพการแปรรูปอยู่ร่วมกับตำบลเกษตรสมบูรณ์ที่ถนัดในการผลิต

ขั้นพื้นฐาน ดังตารางความสัมพันธ์กันต่อไปนี้ ตำบลทุ่งเศรษฐี มี/ผลิต ขาด/ซื้อ

ตำบลเกษตรสมบูรณ์ มี/ผลิต ขาด/ซื้อ

ร้านค้าชุมชน

อาหาร

นา/ข้าวเปลือก/ฟาง

ปุ๋ย

โรงปุ๋ยอินทรีย์

เงินทุน

เล้าไก่/ไก่/ไข่/ขี้ไก่

อาหาร

สวน/ผลไม้

ปุ๋ย

สวนผัก/ผัก

ช่องทางตลาด

โรงสี/ข้าว/แกลบ

วัตถุดิบทำปุ๋ยและ โรงสี

กองทุนออมทรัพย์

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 21


การเป็นพันธมิตรกันทำให้ ต.ทุ่งเศรษฐี ไม่ต้องกู้ ธกส. มาลงทุนในร้านค้าชุมชน โรงสี และ

โรงปุ๋ยอินทรีย์ เพราะใช้บริการกองทุนออมทรัพย์ของ ต.เกษตรสมบูรณ์ได้ ดอกเบี้ยจากการกู้กลับ คืนมาที่เกษตรสมบูรณ์ เมื่อทุ่งเศรษฐีมีทุนดำเนินการ ชาวนาเกษตรสมบูรณ์ก็มีช่องทางระบายข้าวเปลือกไปที่โรงสี ส่วนคนเลี้ยงไก่ได้แกลบกลับมารองพื้นคอก แกลบผสมมูลไก่และฟางข้าวจากเกษตรสมบูรณ์ กลายเป็นปุ๋ยผ่านทางโรงปุ๋ยที่ทุ่งเศรษฐี ทำให้ทั้ง 2 ตำบลมีปุ๋ยใช้ เงินค่าปุ๋ยที่เคยต้องจ่ายออก

ข้างนอกกลับกลายมาเป็นเงินหมุนเวียนภายใน เงินที่หมุนนี้ทำให้ชาวนาและคนเลี้ยงไก่มีรายได้

เพิ่มจากการขายวัตถุดิบให้โรงปุ๋ย เงินทุนที่ทำให้เศรษฐกิจหมุนภายในแท้ที่จริงแล้วก็คือเงินของ

ทั้งชาวนาและคนเลี้ยงไก่ ที่เป็นสมาชิกกองทุนออมทรัพย์นั่นเอง โรงสีซื้อข้าวเปลือก ขายข้าวสารและแกลบ โรงปุ๋ยซื้อฟางและแกลบปนมูลไก่ ขายปุ๋ย ชาวนาขายได้ทั้งข้าวเปลือกและฟางข้าว แล้วซื้อปุ๋ย (ที่มีวัตถุดิบมาจากฟางของตนและมูลไก่ ของเพื่อนบ้าน) คนเลี้ยงไก่ ขายไก่และไข่ให้ร้านค้า ซื้อแกลบจากโรงสีมารองเล้าไก่ แล้วขายกลับให้โรงปุ๋ย หากพิจารณาให้ครบวงจรจะเห็นว่า ทั้งหมดนี้คือการจัดการให้เกิดเศรษฐกิจเครือข่ายที่พึ่ง กันเอง ตัวอย่างเช่น ชาวนาพึ่งตนเองและพึ่งคนเลี้ยงไก่ในเรื่องปุ๋ยโดยใช้เงินตัวเอง(ในกองทุนออม ทรัพย์)ให้โรงปุ๋ยในอีกตำบลหนึ่งผลิตปุ๋ยให้ ทำให้เงินของตนงอกเงยจากการทำธุรกิจปุ๋ย ทำให้คนใน ทุ่งเศรษฐีมีงานทำ ทำให้ได้ปุ๋ยราคาถูก(ลดค่าขนส่ง) ทำให้ตนเองมีรายได้เพิ่มจากการขายฟาง ทำให้กองทุนออมทรัพย์มีเงินปันผลมากขึ้น ทำให้คนปลูกผักและสวนผลไม้ได้อานิสงค์จากปุ๋ย ทุกคนล้วนต่างมีส่วนค้ำจุนอาชีพกันเอง เราเรียกว่าเกิดภูมิคุ้มกันภายในตามแนวเศรษฐกิจ

พอเพียง

เศรษฐกิจแทรกกลาง เมื่อเราเห็นอาชีพเป็นสายโซ่การผลิตและบริโภค เราต้องเห็น “เศรษฐกิจแทรกกลาง” ซึ่งหมาย ถึงเศรษฐกิจที่แทรกเข้าไปในข้อโซ่ที่มั่นคงแล้ว สมัยที่นากุ้งเฟื่องฟู เศรษฐกิจแทรกกลางคือกิจการ เพาะพันธุ์กุ้งและอาหารกุ้ง คนเลี้ยงกุ้งอย่างไรเสียย่อมต้องหาซื้อลูกกุ้งมาเลี้ยง เมื่อเริ่มเลี้ยงแล้วก็ต้องหาอาหารมาให้

กุ้งกิน ธุรกิจผลิตลูกกุ้งและอาหารกุ้งเป็นเศรษฐกิจแทรกกลาง ที่แทรกเข้าไปในโครงสร้างการผลิต ที่มีสายโซ่ต่ออย่างมั่นคงแล้ว (เพราะมีทั้งคนเลี้ยงและโรงงานแปรรูปรอรับซื้อกุ้ง) 22 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


ความล้มเหลวในการทำอาชีพมักเกิดเพราะคิดแต่ด้านการผลิต (supply) ไม่มองให้เห็นตลาด (demand) ความสามารถมองเห็นโอกาสของเศรษฐกิจแทรกกลางทำให้เรามีอาชีพที่มั่นคง เพราะ ตลาดมั่นคง การส่งเสริมอาชีพในพื้นที่จึงต้องเห็นสายโซ่การผลิตทั้งสาย จากนั้น ถอยออกมาตั้ง คำถามว่า ตลอดสายโซ่นั้นมูลค่าแต่ละข้อโซ่เพิ่มขึ้นเท่าใด? มูลค่าที่เพิ่มนั้นกระจายไปอยู่ที่ใด? แล้วเราจะเห็นโอกาสของเศรษฐกิจแทรกกลาง จึงจะไม่ตกเป็นเหยื่อเศรษฐกิจแทรกกลางของ

คนอื่น อย่างเช่นกรณีการเลี้ยงเป็ดที่ได้กล่าวมาแล้ว ค่าอาหารเป็ดและลูกเป็ดคิดเป็น 79% ของราคาขายเป็ด แปลความว่าเราประกอบอาชีพ

เลี้ยงเป็ดเพื่อให้คนอื่นได้ประโยชน์ก้อนใหญ่จากเศรษฐกิจแทรกกลาง อบต.แห่งหนึ่งคว้าโอกาสเศรษฐกิจแทรกกลางโดยให้กลุ่มแม่บ้านผลิตแยมโรลเป็นอาหารว่าง เสิร์ฟในที่ประชุมต่างๆ เมื่อตั้งโจทย์ให้ไล่ข้อโซ่มูลค่า (value chain) ของการผลิตแยมโรล ทำให้

รู้ว่าผิดท่าเสียแล้ว เพราะแป้งสาลี เนย น้ำตาลทราย เตาอบ แก๊ส ภาชนะพลาสติกที่ใส่ ล้วนซื้อ

จากนอกพื้นที่ทั้งสิ้น หากทำขนมกล้วยเสิร์ฟ เราใช้วัตถุดิบในพื้นที่เกือบทั้งหมด (มีเพียงรังถึงที่ใช้ นึ่งเท่านั้นที่มาจากข้างนอก) เงินงบประมาณที่ได้จากส่วนกลางจะกระจายไปยังคนในพื้นที่ที่มีกล้วย ข้าวเจ้า(แป้ง) ใบตอง มะพร้าว ไม้ฟืน ไม้กลัด ฯลฯ การทำแยมโรลไม่ต่างอะไรกับทำตัวเป็น

นายหน้าส่งเงินจากส่วนกลางผ่านไปให้คนอื่น แต่การทำขนมกล้วย สร้างงานในพื้นที่ รักษาเงินไว้ ในพื้นที่ ทำให้เศรษฐกิจพื้นที่เติบโต สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 23


พื้นที่ต้องฉวยโอกาสของเศรษฐกิจแทรกกลางไว้ นอกจากเพื่อรักษาเม็ดเงินให้คงอยู่ในพื้นที่แล้ว มันยังเป็นสายโซ่การสร้างอาชีพให้กับคนภายในอีกด้วย แต่ต้องวิเคราะห์สายโซ่มูลค่าให้ลึกซึ้ง

โอกาสจากศักยภาพภายใน เมื่อเห็นโอกาสจากเศรษฐกิจแทรกกลางและต้องการรักษาเศรษฐกิจส่วนนี้ไว้ เราต้องมองหา ศักยภาพภายในของเรา หากต้องการรักษางบประมาณค่าอาหารว่างให้อยู่ในพื้นที่ เราต้องหาว่า วัตถุดิบในพื้นที่ทำขนมอะไรได้บ้าง หากต้องการรักษาค่าอาหารเป็ดไว้ เราต้องมองหาวัตถุดิบ ภายในเช่น จากโรงสี (รำหยาบและปลายข้าว) จากกลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มแปรรูปปลา (เศษปลา) จาก กลุ่มปลูกกล้วย (หยวกกล้วยสับ) เป็นต้น เงินค่าอาหารเป็ดจะกระจายไปยัง 3-4 กลุ่มข้างต้น เพราะมีคนประกอบอาชีพผลิตอาหารเป็ดจากวัตถุดิบที่พื้นที่มีอยู่ ส่วนมูลเป็ดคือเศรษฐกิจแทรกกลางของคนปลูกผักในรูปของปุ๋ย ทำให้เกิดอาชีพผลิตปุ๋ยในพื้นที่ ไข่เป็ดที่กลายเป็นไข่เค็มก็คือเศรษฐกิจแทรกกลางของการท่องเที่ยว จะเห็นว่าอาชีพมัคคุเทศก์ เลี้ยงเป็ด ทำไข่เค็ม เลี้ยงปลา แปรรูปปลา ทำนา โรงสี ปลูกกล้วย ทำกล้วยฉาบ ทำอาหารเป็ด ทำปุ๋ย ปลูกผัก ฯลฯ ต่างสัมพันธ์แบบพึ่งพากันเองทั้งหมด มากบ้างน้อยบาง ทางตรงบ้างทางอ้อมบ้าง เช่นนี้ เราจึงเรียกว่าเกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่

สายโซ่ที่ต่อข้างนอก โดยธรรมชาติสายโซ่การผลิตยิ่งก้าวหน้ามากเท่าใดการจ้างงานยิ่งมากและมูลค่ายิ่งเพิ่ม (value added) การกรีดยางเป็นโซ่ข้อแรกที่ต่อกับโรงงานน้ำยางข้นจนถึงการผลิตถุงมือยาง (เศรษฐกิจ แทรกกลางในพื้นที่ คือ การรับจ้างตัดหญ้าในร่องสวนยาง การรับจ้างตัดไม้ส่งโรงเลื่อย) ในขณะที่น้ำ ยางสดราคา ก.ก.ละ 100 บาท ถุงมือมีมูลค่าเพิ่มเป็น ก.ก.ละหลายพันบาท หากสายโซ่การผลิตนี้ อยู่ภายใน(โดยคนในพื้นที่) มันจะสร้างความเข้มแข็งของอาชีพและเศรษฐกิจภายใน แต่พื้นที่ไม่ สามารถใช้ถุงมือได้ทั้งหมด การผลิตจึงต้องส่งขายข้างนอก การขายถุงมือออกนอกพื้นที่เป็นการโยงสายโซ่ต่อกับข้างนอกเพื่อดึงเงินเข้ามาเพิ่มทุนภายใน กิจกรรมเศรษฐกิจต้องมีสายโซ่ต่อกับข้างนอกเสมอ สวนยางต้องการต้นพันธุ์ ปุ๋ย มีดกรีด ถังใส่ น้ำยาง น้ำกรด จักรรีดยาง รองเท้าบูท ฯลฯ จากข้างนอก ยิ่งยกระดับการผลิตสูงขึ้นยิ่งต้องพึ่ง

ข้างนอกมากขึ้น โรงงานถุงมือยางใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ส่วนมากนำเข้าจากนอกพื้นที่ ผิดกับพื้นที ่ ที่เจริญแล้ว ที่ต้องพึ่งการผลิตขั้นพื้นฐานจากข้างนอก พื้นที่ในเมืองต้องนำเข้าผักสดจากชนบท เป็นต้น 24 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


นั่นหมายความว่าพื้นที่อยู่อย่างพึ่งพากัน เหมือนแฝดร่างติดกัน ถ้าคนหนึ่งตาย อีกคนก็ไม่รอด

ดังนั้น ความคิดที่พยายามทำทุกอย่างเองจึงไม่ใช่เรื่องถูกต้อง เพราะเรามีหลักว่า การจะทำอะไรนั้น พื้นที่ต้องวิเคราะห์แบบบูรณาการทั้งบัญชีการเงินและบัญชีสังคม แล้ว “เลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุด” สำหรับพื้นที่ (ไม่ใช่ดีที่สุดสำหรับคนใดคนหนึ่ง) การทำถุงมือยางในพื้นที่อาจจะดีในแง่รายได้จากมูลค่าเพิ่ม แต่อาจจะไม่ดีในแง่สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะชุมชนก็ได้ มันอาจมีผลต่อเนื่องไปยังนาข้าว กลุ่มเลี้ยงปลา และท่องเที่ยว จนถึงกับ ทำลายห่วงโซ่สัมมาชีพภายใน คือ กลุ่มเลี้ยงเป็ด ทำโรงสี ทำไข่เค็ม ปลูกผัก เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะสรรพสิ่งในพื้นที่อยู่อย่างสัมพันธ์และบูรณาการกัน ดังนั้น การเรียนรู้จากการนำ ข้อมูลเข้าสู่กระบวนการเวทีโดยมีความรู้จากข้างนอกมาร่วมวิเคราะห์ จะเป็นการสร้างชุมชนเรียนรู้ที่มี พลังมาก เราเรียกกิจกรรมนี้ว่า “วิจัย” ได้เต็มปากเต็มคำ

เศรษฐกิจจากทรัพยากรนามธรรม เมื่อพูดเรื่องอาชีพและการเรียนรู้ที่ผ่านมา เรามักจะเห็นแต่การผลิตในวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ใช้ฐาน ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรูปธรรม เช่น การผลิตจากเกษตรกรรม ที่ใช้ที่ดิน น้ำ ปุ๋ย ทักษะ แรงงาน แต่พื้นที่ยังมีทรัพยากรนามธรรม เช่น วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม เรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม รวมทั้งทรัพยากรรูปธรรมอื่นที่ไม่ใช้ในการผลิต เช่น หาดทราย น้ำตก ป่าเขา แก่ง น้ำเชี่ยว ทรัพยากรเหล่านี้เกิดผลแก่เศรษฐกิจในพื้นที่ผ่านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเป็นข้อต่อสายโซ่จากข้างนอก เพราะมีคนอื่นเข้ามาจ่ายให้ถึงในพื้นที่ การท่อง เที่ยวในพื้นที่ยังสร้างงานและเป็นที่รองรับผลผลิตในพื้นที่ได้มากมาย เราเรียกเศรษฐกิจจากทรัพยากรนามธรรมเหล่านี้ว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจเส้นทางนี้

ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยมาก แต่มีโอกาสสูงมากในการทำลายสังคมและทุนทางสังคมของพื้นที่ หากขาดการจัดการที่ดี ผลด้านลบส่วนมากเกิดจากความโลภเกินกว่าที่ทรัพยากรการท่องเที่ยวจะ รองรับได้ เราจึงเห็นความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่กลายเป็นมะเร็งร้ายฆ่า ตัวเอง เมื่อพื้นที่สูญเสียความดีงามของทรัพยากรนามธรรมไป ความสูญเสียส่วนมากเกิดจาก ความอ่อนแอภายในที่ไม่รู้เท่าทัน จึงปล่อยให้ “คนนอก” เข้ามาจัดการกับทรัพยากรของเรา การจัดการให้ทรัพยากรนามธรรมเหล่านี้สร้างอาชีพและเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่พื้นที่

ยังต้องการความรู้และการเรียนรู้ของคนในพื้นที่อีกมาก

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 25


เราต้องเรียนรู้การจัดการการท่องเที่ยวและการรักษาทรัพยากรให้ยั่งยืน การเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ ต่างจากการเรียนรู้ผ่านบัญชีการผลิต หรือการสร้างเครือข่ายการผลิตและบริโภคที่กล่าวมาแล้ว

แต่ก็มีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ พื้นที่ต้องมีข้อมูล ต้องเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจ ต้องเข้าใจผลที่เกิด ตามมาอย่างองค์รวม ต้องการความรู้ชุดใหม่จากข้างนอกเข้ามาเปิดแนวคิดใหม่ ซึ่งหากทำได้

ก็จะเป็นสังคมเรียนรู้ที่กว้างกว่าการทำมาหากินแบบเดิม

การสร้างสังคมเรียนรู้ เมื่อกล่าวถึงทุนสังคม เราจะเข้าใจถึงบรรดาความดีงามทางสังคม เช่น ความสามัคคี การมี น้ำใจเอาใจใส่ดูแลกัน การมีทัศนคติที่ดี การคิดเชิงบวก ฯลฯ ทุนทางสังคมที่มีพลังมากขึ้นเพราะ เกิดการเรียนรูแ้ ละเป็นสังคมเรียนรู้ (learning society) ดังนัน้ การใช้ขอ้ มูลมาเป็นเครือ่ งมือเรียนรู้ จึ ง สำคั ญ มาก กล่ า วอี ก นั ย หนึ ่ ง คื อ ต้ อ งเป็ น สั ง คมที ่ ม ี จ ิ ต ใจที ่ แ กร่ ง ด้ ว ยวิ จ ั ย (researchstrengthened mind) และรู้จักการมอง/คิดบูรณาการเป็นองค์รวม (holistic) ซึ่งเกิดได้จากความ สามารถที่คิดเป็นระบบ (system thinking) สิ่งดีงามเหล่านี้เกิดได้จากกระบวนการวิจัยที่ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเท่านั้น โดยมีกระบวนการ เวทีร่วมเรียนรู้ที่นำคนภายนอกมาให้มุมมองใหม่ที่แตกต่างออกไป ตั ว อย่ า งการคิ ด อย่ า งองค์ ร วมและเป็ น ระบบคื อ การวางแผนสำหรั บ การประกอบอาชี พ จาก

รูปข้างล่างนี้ บัญชีรับ-จ่ายชุมชน โอกาสเศรษฐกิจแทรกกลาง 1

ข้อมูลสายโซ่เศรษฐกิจ

โอกาสเศรษฐกิจแทรกกลาง 4

ศักยภาพที่ต้องพัฒนา 1

โอกาสเศรษฐกิจแทรกกลาง 3

ศักยภาพที่ต้องพัฒนา 2

ศักยภาพที่ต้องพัฒนา 4

โอกาสเศรษฐกิจแทรกกลาง 2

ศักยภาพที่ต้องพัฒนา 3

ศักยภาพที่ต้องพัฒนา 5

26 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


บัญชีรับ-จ่ายชุมชนทำให้เราเห็นสายโซ่การผลิตและบริโภคในพื้นที่ หากเราตามเก็บข้อมูล

ในส่วนที่เป็นมูลค่าเศรษฐกิจตามข้อโซ่จุดต่างๆ (value chain) เราจะเห็นโอกาสเศรษฐกิจ ไม่ว่า

จะเป็นเศรษฐกิจที่อยู่ในสายโซ่หรือเศรษฐกิจแทรกกลาง เราต้องวิเคราะห์ให้ทราบ “ศักยภาพ” ที่ต้องการสำหรับ “โอกาส” ที่เปิดให้ แล้วเอาศักยภาพที่ ต้องการตั้งไว้ก่อน จากนั้นหันมาดูบัญชีทรัพยากรในพื้นที่ของเราว่ามีอะไรบ้าง ที่สอดคล้องกับ ศักยภาพที่ต้องการ ในที่สุดเราจะเห็นศักยภาพที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้น แนวคิดเอาความต้องการเป็นตัวตั้งแล้วเทียบกับสิ่งที่มีนี้ก็คือ แนวคิดการทำเลขแบบบวก-ลบ นั่นเอง เหมือนกับต้องการเงิน 10 บาท สำรวจตนเองพบว่าขณะนี้มีแล้ว 8 บาท ลบกันได้ 2 คือ จำนวนที่ต้องหาเพิ่ม บัญชีรับจ่ายชุมชนของคนเลี้ยงเป็ดบอกว่าโอกาสคืออาหารเป็ดมูลค่า 500,000 บาทต่อปีที่เรา ต้องการให้เกิดอาชีพในพื้นที่ สิ่งที่มีคือวัตถุดิบจากโรงสีและจากกลุ่มเลี้ยงและแปรรูปปลา ศักยภาพทีข่ าด (และต้องการพัฒนา) คือ ความรูเ้ รือ่ งทำอาหารเป็ด การจัดการเรือ่ งกระจายอาหารเป็ด การจัดการวัตถุดิบคงคลัง (ปลาสดเก็บไม่ได้ รำเกิดสารพิษจากรา ฯลฯ) การทำบัญชี การวิเคราะห์ ความเสี่ยง การบริหารการผลิต ฯลฯ บรรดาความต้องการเหล่านี้ คือ ความรู้ที่สอดประสาน

มุ่งที่เป้าเดียวกัน วิธีคิดข้างต้นเขียนออกมาเป็นผังความสัมพันธ์โยงจากบัญชีรับ-จ่ายชุมชนให้เห็นสายโซ่ เศรษฐกิจ เห็นโอกาสเศรษฐกิจ (ทั้งในสายโซ่และแทรกกลาง) และศักยภาพที่ต้องพัฒนาเพิ่ม สมมุติมีโอกาสเศรษฐกิจแทรกกลาง 4 ชนิด ขนาดเศรษฐกิจบอกได้จากขนาดของลูกศร โดยขนาด เรียงตามเศรษฐกิจที่ 4, 1, 3 และ 2 ตามลำดับ จากโอกาสเศรษฐกิจทั้ง 4 เราวิเคราะห์ว่าต้อง พัฒนาศักยภาพ 5 อย่างรองรับ ศักยภาพที่ 2 น่าสนใจที่สุด เพราะเป็นศักยภาพที่เศรษฐกิจทั้ง 4 ต้องการ รองลงมาคือ 1 เพราะตอบสนองเศรษฐกิจใหญ่ 3 ลำดับแรก (4, 1 และ 3) จากนั้นไล่ ลำดับ 4, 3 และ 5 การวิเคราะห์ได้เช่นนี้ ทำให้เราวางแผนพัฒนาอาชีพในพื้นที่ได้ แผนพัฒนาจะมี ทั้งการเพิ่มความรู้และทักษะให้คน และพัฒนา “ศักยภาพ” ของพื้นที่ ที่ผ่านมานั้น การส่งเสริมอาชีพของประชาชนดำเนินการโดยหน่วยงานที่เราเรียกว่า “เป็นแท่ง” ของรัฐ เช่น กรมปศุสัตว์มาสอนเรื่องเลี้ยงเป็ด กรมแรงงานสอนเรื่องเย็บพรมเช็ดเท้า กรมส่งเสริม สหกรณ์ฯ สอนเรื่องทำกล้วยฉาบ เรื่องที่ต่างกันนี้มีผู้เรียนอยู่กลุ่มเดียว คือแม่บ้านที่มีหน้าที่

ถูกเกณฑ์มาลงชื่ออบรม ส่วนมากมารับการอบรมเรื่องการผลิตมากกว่าการขาย หน่วยงานมาอบรม ให้หมดงบประมาณประจำปีแล้วก็จากไป การทำอาชีพของชาวบ้านจึงมีแต่ความหวัง (ที่หวังไม่ได้)

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 27


จากการลงทุน บางครั้งเริ่มด้วยการก่อสร้างอาคารโรงเรือนก่อนด้วยซ้ำ เราจึงเห็นโครงสร้างพื้นฐาน

ทิ้งร้างผลาญภาษีจำนวนมาก ข้อมูลในแผนผังคือตัวอย่างเครื่องมือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง แนวคิดการทำ บั ญ ชี ใ นภาคผนวกก็ เ ป็ น อี ก รู ป แบบหนึ ่ ง ทุ ก ชุ ม ชนสามารถคิ ด รู ป แบบข้ อ มู ล ของตนเองได้

หลากหลาย ที่สามารถเอาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้

สรุป การมี “สัมมาชีพเต็มพื้นที่” เป็นความใฝ่ฝันของทุกสังคม “สัมมาชีพ” คือ การทำอาชีพที่ไม่เบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม “เต็มพื้นที่” หมายความว่า ทุกคนมีอาชีพ ดังนั้น หากเกิดสัมมาชีพได้เต็มพื้นที่ ก็จะเกิดความสงบสุขพร้อมการเติบโต

ทางเศรษฐกิจ สังคมไม่สงบสุขเพราะมีปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาเศรษฐกิจเกิดจากโอกาสการเข้าถึง ทรัพยากรการผลิตและความสามารถในการใช้ทรัพยากรเพื่อผลิต ปัญหาสังคมซับซ้อนกว่านั้น เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาจากการศึกษา และหลายส่วน เกิดจากการไม่มีสติปัญญารู้เท่าทันการโจมตีจากภายนอก(ขาดภูมิคุ้มกัน) หากสามารถทำให้เกิด สัมมาชีพแก่ทุกคน(เต็มพื้นที่) ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมก็จะลดลงมาก พื้นที่ต้องพัฒนาไปสู่สภาวะใหม่ คือ การเป็น “ชุมชนเรียนรู้ (learning community)” โดยมี กิจกรรมทางปัญญาร่วมกัน วิธีการคือ หาปัญหาใกล้ตัวมาเรียนรู้เหตุแห่งปัญหา แล้วร่วมกัน หาทางออก และปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา ปัญหาใกล้ตัว คือ “ทุกข์” การรู้เหตุแห่งปัญหาคือ“สมุทัย” การหาทางออกและปฏิบัติการ แก้ปัญหาคือ “มรรค” เพื่อให้เป็นสภาวะไม่มีทุกข์จากปัญหา หรือ “นิโรธ” ทั้ง 4 กระบวนการนี้คือ การวิจัยที่มีโจทย์จริง มีผู้ได้รับผลกระทบ(ทุกข์)จริง และมีการเอา ผลวิจัยไปใช้จริง ซึ่งจะสำเร็จได้เมื่อชุมชนเป็นผู้ทำวิจัยเอง สิ่งที่ชุมชนได้ คือ เครื่องมือและกระบวนการทางปัญญาในการแก้ปัญหา หากทำร่วมกัน

เต็มพื้นที่ ชุมชนนั้นก็จะเป็น “ชุมชนเรียนรู้” ได้ไม่ยาก จากนั้นการจัดการเศรษฐกิจและสังคมอย่าง

ชาญฉลาดก็จะเกิดได้เองในพื้นที่

28 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ




ภาคผนวก

การเรียนรู้เศรษฐศาสตร์การทำมาหากินสำหรับชาวบ้าน เกษตรกรเป็นผู้มีทักษะการผลิต แต่ในขณะเดียวกันเป็นผู้มีความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจาก เป็นต้นธารการผลิตที่เกษตรกรต้องจ่ายล่วงหน้า (หรือเป็นหนี้สินเชื่อ) ในการจัดหาปัจจัยการผลิต เองโดยไม่มีอำนาจต่อรอง ในขณะที่ผลผลิตสร้างกำไรตลอดข้อโซ่การบริโภค (ที่ทุกข้อโซ่จ้องจะเอา กำไร) ด้วยอำนาจต่อรองที่น้อยกว่า เกษตรกรจึงเป็นฝ่ายรับภาระต้นทุนเพื่อให้คนอื่นกำไร ระบบ การผลิตเช่นนี้เป็นเหตุให้เกษตรกรเป็นหนี้ และนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรทำกิน (ที่ดิน) และ ความยากจน เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เศรษฐศาสตร์การทำอาชีพเพื่อให้เข้าใจการทำอาชีพเกษตรกรรม ของตนเอง (ควบคู่ไปกับความรู้ที่จะมีทางเลือกอื่น ที่มีอำนาจต่อรองมากกว่า) ที่ผ่านมาชาวชนบทไทยได้รับการสนับสนุนให้ทำ “บัญชีครัวเรือน” แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะ บัญชีครัวเรือนให้เพียงข้อมูลรายรับ-รายจ่ายใน “ภาพรวม” ของทุกรายการ (ที่มีส่วนการประกอบ อาชีพปนอยู่ด้วย) ในขณะที่เกษตรกรรมเป็นอาชีพหนึ่งที่ทำให้เกิดรายได้หรือหนี้สิน ดังนั้น

จึงจำเป็นที่ต้องแยกบัญชีการทำอาชีพออกจากระบบบัญชีครัวเรือน เพื่อใช้ตัดสินใจในการประกอบ อาชีพ แบบเดียวกับครอบครัวที่ทำอาชีพร้านค้า ที่ย่อมต้องแยกบัญชีร้านค้าออกจากบัญชีรับจ่าย ครัวเรือน จึงจะรู้ว่าการทำการค้านั้นเหมาะสมแล้วหรือไม่ ภาคผนวกนี้มีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรรู้จักการใช้บัญชีเพื่อเข้าใจเศรษฐศาสตร์การทำอาชีพ

ของตน โดยยกการปลูกพืชอายุสั้นมาเป็นบทเรียน (เพราะเข้าใจง่ายในช่วงของเวลาที่ไม่ยาวเกินไป) เพื่อเรียนรู้ให้เข้าใจการหมุนเวียนของกระแสเงินเฉพาะพืชนั้นๆ ที่นำไปสู่ “การรู้ตัวเอง” ว่าได้

(หรือเสีย) อะไรจากการผลิต สำหรับผู้ทำอาชีพอื่น เช่น เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย สามารถใช้หลักการนี้ ประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 31


บัญชีการผลิตพืชเดี่ยวอายุสั้น การใช้ตารางบัญชี ตารางที่ 1 เป็นบัญชีรับ-จ่ายรายเดือนของการผลิตพืชเดี่ยวอายุสั้น เกษตรกรต้องจดรายการ รับและรายการจ่ายของพืชเป็นรายวันก่อน (โดยยังไม่ต้องจำแนกประเภทรายการรับ-จ่าย) เมื่อ

สิ้นเดือนควรมีพี่เลี้ยงแนะนำการจำแนกประเภทรายการรับ-จ่ายเพื่อลงบัญชีรายเดือน ในการเริ่มต้น อาจจำเป็นต้องทำเพียงพืชเดียวก่อนจึงจะเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย แต่หากเกษตรกรมีความรู้พื้นฐาน หรือเคยจดบัญชีมาแล้วก็อาจทำหลายพืช (แยกบัญชี) ได้ ต่อจากตาราง 1 จะเสนอตัวอย่างข้าวโพดหวานปลูกหลังนา (ใช้ตัวเลขสมมุติที่ไม่ตรงความจริง)

32 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ




การแปลผลบัญชี จากตารางจะเห็นว่าใน 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) กระแสเงินสดขาดมือรวมทั้งสิ้น

3,230 บาท (1,950+280+1,000) ใน 2 เดือนสุดท้าย (เมษายน-พฤษภาคม) มีกระแสเงินสด

เกินอยู่ 7,710 บาท (7,050+660) และการปลูกข้าวโพดทำให้มีรายได้สุทธิ 4,480 บาท ในรอบเวลา 5 เดือน หากเกษตรกรไม่มีเงินออมอยู่เลย กระแสเงินสดที่ขาดมือในช่วงแรกจะกลายเป็นสินเชื่อ

เช่น ซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และสารเคมีเกษตรด้วยเงินเชื่อ (รวม 2,900 บาท) ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น (ค่า

น้ำมัน ค่าเดินทาง ขนส่ง) ในช่วง 3 เดือนแรก (ที่ยังไม่มีรายได้) อีก 330 บาทนั้น จำเป็นต้อง

เป็นเงินสด นั่นหมายความว่าการปลูกข้าวโพดนี้ต้องมีทุนเงินสดสำรองเป็นของตนเอง 330 บาท

ใน 3 เดือนแรก สินเชื่อปัจจัยการผลิต 2,900 บาท เมื่อชำระในเดือนเมษายนนั้นต้องรวมดอกเบี้ย (สมมุติ 3% ต่อเดือน) อีก 261 บาท จะทำให้เหลือสุทธิ 4,219 บาท (4,480-261) จะเห็นว่ารายรับ 8,250 บาทและเหลือสุทธิ 4,219 บาท นั้น หมายความว่าการปลูกข้าวโพด เป็นการทำงานเพื่อผู้อื่น 4,031 บาท (8,250-4,219) หรือประมาณเกือบครึ่งของรายรับ (49%)

โดยในจำนวนนี้ 2,600 บาทเป็นค่าปุ๋ย (ประมาณ 1 ใน 3 ของรายรับที่ขายข้าวโพดได้) บัญชีนี้แปลความสั้นๆ ว่า “การปลูกข้าวโพดสร้างรายได้ให้เกษตรกร (ไม่ขาดทุน) แต่เป็น การทำงานเพื่อส่งเงินให้ผู้อื่นเสียครึ่งหนึ่ง”

บัญชีผสมพืชหลายชนิด ปกติเกษตรกรปลูกพืชหลายชนิด (รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ด้วย) ที่เวลาอาจซ้อนกัน กระแสเงินสด ทั้งรับและจ่ายจึงอาจเกิดในเดือนเดียวกัน (จากพืชต่างกัน) เพื่อให้เข้าใจการหมุนเวียนกระแสเงิน

ที่ซับซ้อนขึ้น เราต้องผสานบัญชีการผลิตพืชเดี่ยวชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน การผสานบัญชีช่วยให้เห็น ภาพรวมทั้งหมดของการประกอบอาชีพทุกรูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้จัดการการเงินได้ง่ายขึ้น เพราะ สามารถวางแผนเพื่อให้รายรับ-รายจ่ายเกิดข้ามพืชชนิดต่างๆ ได้ อันจะช่วยให้เราจัดการการเงิน

ได้คล่องขึ้น เช่น เงินทุนที่จำเป็นต้องใช้ในการปลูกข้าวโพด (3,230 บาท จากตารางข้างต้น) อาจได้ จากเงินออมที่มาจากการปลูกผักกาดเขียวปลีก่อนหน้านั้นก็ได้ และเพื่อให้เข้าใจกระแสเงินเหลื่อมปี เราต้องใช้ปฏิทินวงแหวนดังต่อไปนี้

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 35


สมมุติคิดวงจร 12 เดือน ตั้งแต่การปลูกข้าว 10 ไร่ ในเดือนสิงหาคม 2553 ถึงสิ้นการปลูก

ถั่วลิสงในเดือนกรกฎาคม 2554 ตัวเลขที่ปรากฏในช่องเดือนต่างๆ คือ ค่าสุทธิรายเดือน (บรรทัด สุดท้ายของตารางที่ 1) นาข้าว 10 ไร่ ต้องลงทุนในเดือนสิงหาคม 2553 เป็นเงิน 20,000 บาท และอีก 3 เดือนถัดมา

มีแต่ค่าใช้จ่าย 10,000 บาท 5,000 บาท และ 1,000 บาท ตามลำดับ ข้าวเกี่ยวเดือนธันวาคม 2553 ทำให้เดือนเกี่ยวมีรายได้สุทธิ 80,000 บาท ในภาพรวมของการทำนา 10 ไร่ ทำให้เกิดรายได้ 44,000 บาท (รายได้ = รายรับ-รายจ่าย = 80,000-20,000-10,000-5,000-1,000 = 44,000) เริ่มปลูกผัก 3 ไร่หลังเกี่ยวข้าว อายุผักเพียง 2 เดือน ทำให้การลงทุน (รายจ่าย) 2,000 บาท

ในเดือนธันวาคม 2553 เกิดรายรับ 5,000 บาทในเดือนมกราคม 2554 การปลูกผักทำให้เกิดรายได้ สุทธิ 3,000 บาท ในเดื อ นมกราคม 2554 ได้ ป ลู ก ข้ า วโพด 4 ไร่ และเก็ บ เกี ่ ย วได้ ใ นเดื อ นเมษายนและ

พฤษภาคม 2554 โดยมีรายได้สุทธิ 1,300 บาท (800+10,000-6,000-2,000-1,500) ปลูกกระเจี๊ยบเขียว 2 ไร่ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2554 ไม่เกิด

รายได้สุทธิเลยเพราะรายจ่ายสุทธิใน 2 เดือนแรกเท่ากับที่รับสุทธิในเดือนที่ 3 36 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ


มีการปลูกถั่วลิสง 4 ไร่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2554 พบว่าขาดทุน 2,000 บาท (10,000-8,000-4,000) กระแสเงินสดของการทำเกษตรพืชหลายชนิดหาได้จากการเอาตัวเลขของเดือนเดียวกันมา รวมกัน ตัวอย่างเช่น เดือนพฤษภาคมมีรายได้จากการขายข้าวโพด 800 บาท (ขายต้นข้าวโพดเพื่อ ทำปุ๋ย) รายจ่ายจากเริ่มปลูกถั่วลิสง 8,000 บาท และรายรับจากกระเจี๊ยบเขียว 6,000 บาท ทำให้ เดือนพฤษภาคมมีกระแสเงินหมุนเวียนเป็นลบ (เงินในเดือนนั้นไม่พอ) อยู่ 1,200 บาท (8,0006,000-800) อย่างไรก็ตาม การทำงานทั้งปีจะเกิดกระแสการออมจากเงินที่เหลือสะสมรายเดือน การขาดเงิน 1,200 บาทในเดือนพฤษภาคมอาจจะไม่ใช่ปัญหา หากมีเงินออมสะสมอยู่ หากเราคิดเริ่มต้น

ที่เดือนสิงหาคม 2553 เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินรายเดือนและเงินออม (หรือหนี้) ดังตารางนี้

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 37


38 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ กย.

-20 -20 10 77

กระแสออมสะสม

ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ (ไร่)

ศักยภาพการใช้ที่ดิน (%)

77

10

-30

-10

77

10

-35

-5

ตค.

สค.

กระแสรายเดือน

เดือน

2553

ปี

77

10

-36

-1

พย.

100

13

+42

+78

ธค. -2

54

7 31

4

+41 +39

-1

มค. กพ.

เมย. -1.2

พค. -4

มิย.

+10

กค.

46

6 46

6

77

10

31

4

31

4

+32.5 +41.5 +40.3 +36.3 +46.3

-6.5 +9

มีค.

2554

หน่วย: พันบาท


แถวแรกเป็นดุลกระแสเงินรายเดือนที่นับจากสิงหาคม 2553 จะเห็นว่าเป็นกระแสขาดดุล

ทุกเดือนจนกระทั่งเก็บเกี่ยวข้าวได้ในเดือนธันวาคม ที่มีกระแสเกินดุล 78,000 บาท (ซึ่งเกิดจาก การขายข้าว 80,000 บาท และลงทุนปลูกผัก 2,000 บาท) จากตารางรายเดือน เราจะเห็นว่าใน

รอบ 1 ปี มีเดือนที่ขาดดุลถึง 9 เดือน และเกินดุล 3 เดือน (ธันวาคม เมษายน กรกฎาคม) แต่ครัวเรือนเกษตรไม่ควรคิดบัญชีรายเดือนเช่นนี้ เพราะการขาดดุลรายเดือนไม่ได้หมายความ ว่าต้องเป็นหนี้ ทั้งนี้เพราะเขามีเงินออมสะสมอยู่ ดังปรากฏในบรรทัดที่ 2 ซึ่งพบว่าเริ่มมีเงินออม

ในเดือนธันวาคม 42,000 บาท หลังจากนั้นกระแสเงินออมทำให้มีเงินสดในมือตลอดจนครบรอบปี ในเดือนกรกฎาคม 2554 ที่เหลือออม 46,300 บาท นั่นหมายความว่า หากคิดทุกพืชและทั้งปี ครอบครัวนี้มีรายได้สุทธิ 46,300 บาท/ปี ซึ่งหมายความว่าเมื่อหมุนรอบปีต่อไปสำหรับการ

ปลูกข้าวเดือนสิงหาคม–ธันวาคม 2554 นั้น เขามีทุนสำรองอยู่ 46,300 บาท ซึ่งเพียงพอสำหรับ

สิงหาคม-พฤศจิกายน ที่ต้องการทุนเพียง 36,000 บาท บัญชีเฉพาะพืชเดี่ยวในตอนแรกทำให้เข้าใจว่าเราควรหรือไม่ควรปลูกพืชชนิดใด เพราะมันบอก การได้กำไร-ขาดทุนเบ็ดเสร็จในตัวมันเอง ผังปฏิทินวงกลมช่วยให้เข้าใจว่าการทำเกษตรกรรม

ผสมผสานทำให้มี “ภูมิคุ้มกัน” ทางการเงินอย่างไร เวลาใดและพืชใด ที่ทำให้เรามีทุนสะสม ไม่ต้อง พึ่งสินเชื่อการเกษตร กระแสเงินออมยังช่วยให้เราวางแผนการเงินเพื่อกิจกรรมอื่นได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่นเดือน พฤษภาคมที่เป็นฤดูมีค่าใช้จ่ายการศึกษาลูกหลานนั้น เรามีกระแสออมสะสมอยู่ 40,300 บาท

ดังนั้น กันเงินออมมาใช้เพื่อการศึกษาได้ประมาณ 10,000 บาท เพื่อให้เมื่อถึงเดือนกรกฎาคม

เหลือออมสะสม 36,300 บาท ซึ่งเป็นทุนสำหรับการทำนารอบใหม่ (36,000 บาท) เมื ่ อ พิ จ ารณาว่ า ครอบครั ว นี ้ ม ี ท ี ่ ด ิ น 13 ไร่ เราสามารถวิ เ คราะห์ ศ ั ก ยภาพการใช้ ท ี ่ ด ิ น 4

รายเดือนเพื่อการผลิต (บรรทัดสุดท้ายของตาราง)ได้ด้วย เช่น พบว่าศักยภาพการใช้ที่ดินต่ำสุดใน เดือนกุมภาพันธ์ มิถุนายน และกรกฎาคม เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับศักยภาพอื่น (น้ำ แรงงาน) เราจะตอบตัวเองได้ว่าเรามีโอกาสทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ไหม (การประเมินที่ถูกต้องควรทำคู่กับ ปัจจัยอื่น เช่น น้ำ เพราะบางกรณีไม่สามารถใช้ที่ดินเต็มศักยภาพ เพราะขาดน้ำ หรือแรงงานที่เป็น ฤดูกาล เช่น ปิด-เปิดภาคการศึกษา)

4

ศักยภาพการใช้ที่ดิน (หน่วยเปอร์เซ็นต์) คิดจาก จำนวนที่ดินที่ถูกใช้จริงหารด้วยจำนวนที่ดินที่มีทั้งหมด คูณด้วย 100 สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ : 39


สรุป เกษตรกรต้องมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรการผลิต

ของตน โดยเริ่มต้นจากบัญชีพืชเดี่ยวก่อน จากนั้น ต้องรู้บัญชีพืชผสมหลายชนิด เพื่อให้เห็น

การเกื้อกูลกัน การรู้ถึงการเกื้อกูลกันของการทำเกษตรที่หลากหลายนี้ จะช่วยอธิบายการทำเกษตร ผสมผสานตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ชัดขึ้น การเรียนรู้ของเกษตรกรต้องการเครื่องมือบางอย่างมาทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องเข้าใจง่าย บัญชีพืชเดี่ยวและปฏิทินกระแสเงินที่เสนอในภาคผนวกนี้ น่าจะเป็นเครื่องมือที่เริ่มให้เกษตรกร เรียนรู้ เพื่อการตัดสินใจได้

40 : แนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสัมมาชีพ



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.