Prachid : Silapa nataya keeta : CRU

Page 1


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

1


2

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

3


สัปดาห์อนุรักษ์วัฒนธรรม และส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศิลปะวัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันมา แต่สมัยโบราณที่ยาวนาน ในโอกาสที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงได้ จัดกิจกรรมสัปดาห์อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย เพื่อ เป็นการสืบทอดและส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ตระหนักและมองเห็นความสำ�คัญของวัฒนธรรมประเพณีของไทยมิให้สูญหาย ไปตามกาลเวลา นอกจากนี้การจัดกิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ และการบูรณาการกับการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ให้ความสำ�คัญกับงานทำ�นุบำ�รุง ศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงานของระบบการประกัน คุณภาพของมหาวิทยาลัย และมีระบบและกลไกในการปฏิบัติงานด้านทำ�นุบำ�รุง ศิลปวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการผสมผสานการทำ�งานของสาขาวิชา ต่างๆ ในการทำ�งานร่วมกันทำ�ให้เกิดผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ทันสมัย และคงไว้ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมของไทย คณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ จึ ง จั ด กิ จ กรรมสั ป ดาห์ อ นุ รั ก ษ์ วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

4

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


วัตถุประสงค์

1. เพื่ออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของไทย ให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบไป 2. เพื่อส่งเสริมภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ในด้านการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม 3. เพื่อใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อแห่งการสร้างความ สมานฉันท์ปรองดองให้เกิดความรักความสามัคคี ต่อกันในชาติ 4. เพื่อสร้างเครือข่ายในการดำ�เนินงานด้าน ศิลปวัฒนธรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ระยะเวลาในการดำ�เนินงาน

ระหว่างวันที่ 10 - 14 กุมภาพันธ์ 2557

สถานที่ดำ�เนินงาน

ณ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เยาวชนบุคลากรและบุคคลภายนอก ได้รับความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมของไทย 2. เยาวชนบุคลากรและบุคคลภายนอก ได้นำ�ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมอย่างแท้จริง 3. ทำ�ให้เกิดความรัก และการสืบทอดศิลปะ และวัฒนธรรมต่อไป 4. สามารถสร้างเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอกองค์กร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

5


6

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


สารอธิการบดี ในทัศนะและประสบการณ์ของดิฉัน มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ของ เรานี้ มีจุดแข็งที่โดดเด่นอยู่อย่างน้อยสองประการ คือหนึ่ง เป็นสถานบันการผลิต ครูที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงระดับชาติ และสอง เป็นสถาบันที่มีความเข้มแข็งด้านการ ทำ�นุบำ�รุงศิลปะและวัฒนธรรม เรามีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ผลิต บัณฑิตและบริหารวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ใน 4 สาขาวิชาคือ ศิลปกรรม นาฎศิลป์และการแสดง ดนตรีไทย ดนตรีสากล สังคมไทยของเรามีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ทั้งในด้าน ความสุนทรียะ ความปราณีต ความมีนำ�้ใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรักและการให้ ความสำ�คัญกับธรรมชาติ บรรพบุรุษ ผู้อาวุโส ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ประกอบกันเป็น พื้นฐานและเป็นพลังที่จรรโลงให้สังคมไทยมีความเป็นปึกแผ่น และพัฒนาก้าวหน้า มาตลอดช่วงประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็ น เรื่ อ งที่ น่ า ยิ น ดี ม ากที่ ค วามรู้ ค วามสามารถประสบการณ์ แ ละทั ก ษะ ของคณาจารย์และนักศึกษาทั้ง 4 สาขานี้ ได้มาหลอมรวมและบูรณาการในโครง การสัปดาห์อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย ที่ปรากฏเป็น ชื่องานว่า “ศิลปนาฎยคีตา” ในครั้งนี้ ปี 2557 จะเป็นปีปฐมฤกษ์แห่งกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของงานศิลปะ และวัฒนธรรม ทั้งในส่วนที่เป็นของชนชาติไทยและที่เป็นของสากล ขอขอบคุณคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณาจารย์และนักศึกษาทั้ง 4 สาขา ที่ได้อุทิศแรงกาย แรงใจ และปัญญาในการสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานในครั้งนี้ ขออวยพรให้กิจกรรมในวันนี้สำ�เร็จลุล่วงด้วยดี ขอให้เป็นการเริ่มต้นที่งดงาม ของการนำ�คุณค่าแห่งศิลปะและวัฒนธรรมมาสูค่ วามรับรูแ้ ละจิตใจของชาวจันทรเกษม ทุกคน เพื่อที่เราจะได้ซึมซับกับคุณค่าเหล่านี้ในงาน “ศิลปนาฎยคีตา” ครั้งต่อๆ ไป รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ไชยศุภรากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

7


สารจากคณบดี “ศิลปนาฏยคีตา” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก โดยมี วัตถุประสงค์เพือ่ อนุรกั ษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นการแสดง ผลงานของนักศึกษา 4 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาดนตรีไทย, ดนตรี สากล, นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง และศิลปกรรม ซึ่งเดิมแต่ละ สาขาก็จะมีการจัดกิจกรรมการแสดงของตนอยู่แล้ว แต่จะไม่ได้จัด ในเวลาเดียวกัน ในปีนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงมี นโยบายให้ทั้ง 4 สาขาร่วมมือกัน จัดพร้อมๆกัน คิดว่าน่าจะมีความ น่าสนใจมากกว่า หากได้รับผลการตอบรับที่ดี ก็จะดำ�เนินการต่อใน ปีต่อๆไป โดยจะให้สาขาต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขอบคุณคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมกันจัดกิจกรรมครั้ง นี้ และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ หวังว่ากิจกรรมนี้ จะมี ส่วนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ไทย รวมทั้งได้รับความบันเทิงจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้.

อาจารย์ราเชนทร์ เหมือนชอบ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

8

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

9


10

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

11


มองไทย ผ่านงาน คณาจารย์ศิลปกรรมจันทรเกษม ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรม (The Process of Fine and Applied Arts Creation) กล่าวได้ว่ามีลู่ทาง มีวิธีการและกรรมวิธีการสร้างสรรค์ผลงานที่หลาก หลายลักษณะ อาทิเช่น การวาดเส้น (Drawing) การระบายสี (Painting) การปั้น (Sculpture) การภาพถ่าย( Photography) คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic) สื่อผสม(Mixed Media) ฯลฯ ซึ่งวิธีการต่างๆเหล่านี้ ผู้สร้างล้วนแล้วแต่มีเจตนาเดียวกัน คือการแสดงออก เพื่อการนำ�เสนอ (Express to Presentation) เป็นผลงานที่ศิลปินหรือผู้สร้างงานศิลปะได้ไช้ เป็นสื่อกลาง (Medium) แห่งการแสดงออกทางความคิดที่ตนเองต้องการ โดยที่มีแรงบันดาล ใจ(Inspiration)หรือจุดมุ่งหมายอะไรบางอย่าง ที่ผลักดันให้ผู้สร้างผลงานนั้นๆ เกิดพฤติกรรม แห่งการจัดทำ�หรือที่เรียกว่า “การสร้างสรรค์ผลงาน” ออกมาให้ผู้อื่นสามารถร่วมรับรู้ได้ด้วย นั่นเอง ผู้สร้างสรรค์งานแต่ละคนก็ย่อมมีวิธีการ ที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัวมาก (Individuality Procedure) ทั้งนี้ก็เพราะผู้สร้างสรรค์ต้องการสร้างงานในสิ่งที่ตนเองต้องการ ดังนั้นการ สร้างสรรค์จึงเป็นกระบวนการทำ�งานที่ต้องมีการสั่งสมประสบการณ์ ทักษะ วิธีการคิดวิเคราะห์ มีการดัดแปลงแก้ไขบัญหากันมาอย่างต่อเนื่อง ตราบที่เมื่อใดผู้สร้างงานเกิดความพึงพอใจ หรือ รู้สึกได้ว่าเป็นการเพียงพอแล้ว เมื่อนั้นการทำ�งานจึงจะสิ้นสุด และผลลัพท์ก็คือได้ผลงานที่สำ�เร็จ ออกมา การทำ�งานด้านศิลปกรรมจึงจัดได้ว่าเป็นกระบวนการทำ�งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัย หรือองค์ประกอบต่างๆมากมายหลายด้าน ที่ผู้สร้างงานจะต้องมีการบูรณาการปัจจัย ทฤษฎี หลักการและเนื้อหาต่างๆเหล่านั้น มาร่วมกลั่นกรอง มีการตัดสินใจนำ�มาใช้อย่างชาญฉลาดและ เหมาะสม (The Appropriate Solution and Decision Making) แต่ไม่ว่าผู้สร้างงานจะต้อง เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายๆอย่างที่อาจจะแตกต่างกันออกไปตามสถานภาพของประสบการณ์ การเรียนรู้ อิทธิพล ความเชื่อ เหตุการณ์ทางสังคม หรือได้รับข้อมูลสรุปจากสิ่งอื่นใดก็ตาม (Brief or Derive Concept) สิ่งหนึ่งที่ผู้สร้างงานศิลปะได้เกี่ยวข้องโดยตรงทั่วๆกัน ก็คือ สภาวการณ์ของอารมณ์ (Emotional Situations) ที่เกิดมีขึ้นในจิตใจผู้สร้างสรรค์งานแต่ละคน

12

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


ในขณะเวลาที่ทำ�งานอยู่นั่นเอง อารมณ์จึงมักเป็นส่วนประกอบอันหนึ่งในกระบวนการทำ�งาน ทางศิลปะที่นับว่าสำ�คัญและเป็นของคู่กันกับศิลปะเสมอมา ดังเช่นคำ�กล่าวที่ว่า “ศิลปะคือการ แสดงออกซึ่งอารมณ์ ( Art As The Emotional Expression)” ซึ่งในที่นี้อาจจะมีความ หมายเป็น 2 นัยก็ได้ คือเป็นการใช้ผลงานทางศิลปะเป็นสื่อแสดงความหมายแทนความรู้สึก ความประทับใจบางอย่างของตัวผู้สร้างงานหรือศิลปิน ให้ปรากฎออกมาเป็นรูปร่าง รูปทรงใน ลักษณะถ่ายโยง (Release) ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นนามธรรมในจิตใจให้ออกมาเป็นรูปร่าง รูป ทรง ทางรูปธรรมที่สามารถรับรู้ แปลความหมายสื่อ ให้เข้าใจและหรือให้มองเห็นได้ ในการถ่าย โยงส่วนนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้สร้างงานที่ต้องการแสดงออกมา (Self Expression) เพื่อให้ เห็นเป็นรูปธรรม ส่วนอีกนัยหนึ่งนั้น เป็นผลจากการที่มีผลงานสำ�เร็จออกมา แล้วผลงานอันนี้ ก็ยังปลุกเร้า (Evoke) หรือแสดงออก (Express) สู่ผู้ดู (Observer) ได้อีก ซึ่งผู้ดูผู้เสพย์ศิลป์ นั้นอาจจะได้รับสุนทรียรสร่วมหรือปรากฎเห็นความงามได้เฉกเช่นเดียวกับผู้สร้าง และหรือแม้ กระทั่งเห็นแตกต่างเป็นปรนัยไปต่ออีกก็เป็นได้ ผลงานศิลปกรรมในนิทรรศการชุด มองไทย ในสายตาของเหล่าคณาจารย์สาขาวิชา ศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในปี 2557 ครั้งนี้ จัดว่าเป็นการสื่อแสดงอารมณ์ และความรู้สึกของแต่ละท่าน ภายใต้กรอบสาระที่ได้ “มองไทย” ในสังคมช่วงยุคที่ร่วมสมัย ปัจจุบันนี้ออกมา โดยใช้วิธีการจัดการตามเทคนิควิธี สื่อแสดงผลงานออกมาตามแนวความ คิด การวิเคราะห์ความต้องการ ตามวิถีทางแห่งกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้าน ทัศนศิลป์และนิเทศศิลป์ ซึ่งแต่ละท่านก็ได้สร้างสรรค์ขึ้นตามความถนัด ตามทักษะและอารมณ์ ที่ต้องการ ด้วยการคิดต่าง เห็นต่าง สร้างความหลากหลายสาระ ทัศนะ มุมมอง ให้ออก มาสื่อแสดงร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์ โดยมีความคาดหวังว่าผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้นั้น จะสามารถสื่อสาร สามารถถ่ายทอดสาระเนื้อหาออกสู่สังคมให้อุดมสติและปัญญา ได้บันทึก ได้สะท้อนสภาพปัจจุบันปัญหา แง่คิด ”มุมมองไทย” ผ่านสายตาของคณาจารย์ศิลปกรรม จันทรเกษม ดังที่ประจักษ์แจ้งเป็นผลงานศิลปะแล้วนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร 2 กุมภาพันธ์ 2557

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

13


คุณค่า เหนือกาลเวลา

เทคนิค วาดเส้น 40 X 40 ซ.ม.

ความฝันอันสูงสุด

เทคนิค สีอะครีลิค 60 X 60 ซ.ม.

อาจารย์ธีระชัย สุขสวัสดิ์

14

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


สีสัน..ขับ...เคลื่อน....ไทย

เทคนิค คอมพิวเตอร์กราฟิก 40 X 60 ซ.ม.

หน้า...ต่าง...อย่างไทย

เทคนิค คอมพิวเตอร์กราฟิก 40 X 60 ซ.ม.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

15


ลวดลายสถาปัตย์วัดอรุณ

เทคนิค สีอะครีลิค 40 X 50 ซ.ม.

กุหลาบลายไทย

เทคนิค สีอะครีลิค 40 X 50 ซ.ม.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรัตน์ พ่วงพงษ์

16

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง 1

เทคนิค สีอะครีลิค 60 X 70 ซ.ม.

วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง 2 เทคนิค สีอะครีลิค 60 X 70 ซ.ม.

อาจารย์ ไชยพันธ์ุ ธนากรวัจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

17


สุโขทัย ๑

สุโขทัย ๒

เทคนิค ภาพถ่าย 30 X 40 ซ.ม.

เทคนิค ภาพถ่าย 30 X 40 ซ.ม.

อาจารย์วารดา พุ่มผกา

18

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


รอรบ : Sence of Thainess 1 เทคนิค รีทัชชิ่ง 30 X 40 ซ.ม.

รอรัก : Sence of Thainess 2 เทคนิค รีทัชชิ่ง 30 X 40 ซ.ม.

อาจารย์จารุณี เนตรบุตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

19


ทำ�นองถิ่นอีสาน (Local music in E SAN) เทคนิค สีอะครีลิค 80 X 100 ซ.ม.

ผ้าไหมจากสาวน้อย (Silk of a girl) เทคนิค สีอะครีลิค 80 X 100 ซ.ม.

20

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

อาจารย์เกวรินทร์ พันทวี ศิลปนาฏยคีตา


ในหลวงในดวงใจ

เทคนิค คอมพิวเตอร์กราฟิก บนผ้าใบ 100 X 120 ซ.ม.

อาจารย์ฐปนนท์ อ่อนศรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

21


ผ้าขาวม้า 1

เทคนิค จับจีบผ้า 30 X 38 ซ.ม.

ผ้าขาวม้า 2

เทคนิค จับจีบผ้า 30 X 38 ซ.ม.

อาจารย์นรรชนภ ทาสุวรรณ

22

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


พระแม่ธรณี

เทคนิควาดเส้น 28 X 65 ซ.ม.

อาจารย์อดิสรณ์ สมนึกแท่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

23


โคมไฟประการัง (Fan coral lamp)

โคมไฟประการัง (Fan coral lamp)

เทคนิค เชื่อมสแตนเลส 30 X 50 ซ.ม.

เทคนิค เชื่อมสแตนเลส 30 X 50 ซ.ม.

อาจารย์อภิวัฒน์ ชิตะปัญญา

24

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


พ่อกับลูก (Farther and Child)

เทคนิค ประติมากรรมสัมฤทธิ์ ขนาด 70/50/40 ซ.ม.

ห้วงแห่งความคิดถึง 2

เทคนิค ประติมากรรมเรซิ่น 15 X 30 ซ.ม.

อาจารย์ทรงศักดิ์ นามโพธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

25


ลวดลายในงานทัศนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรัตน์ พ่วงพงษ์

นับย้อนแต่อดีต ตั้งแต่มนุษย์เรียนรู้ที่จะวาดภาพ ลงบนฝาผนังถำ�้ รวมทั้งภาชนะต่าง ๆ มนุษย์ได้เรียนรู้ ที่ จ ะใส่ ล วดลายลงบนงานจิ ต รกรรมและหั ต ถกรรม ต่อมาภายหลังเมื่อมนุษย์เริ่มที่จะสร้างสรรค์งานด้าน ศิลปะแขนงอื่น ๆ มนุษย์ก็ยังใส่ลวดลายลงบนงานศิลปะ นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตย กรรม ไม่ว่าในยุคสมัยใด เราอาจจะพบลวดลายได้ใน งานศิลปะแทบทุกรูปแบบ และทุกยุคทุกสมัย ตราบจน มนุษย์เริ่มพัฒนาการพิมพ์หนังสือขึ้นมา ลวดลายได้มี อิทธิพลสำ�คัญต่อการตกแต่งงานพิมพ์ในลักษณะต่าง ๆ แม้ในปัจจุบันเราอาจจะพบการประดับตกแต่งลวดลาย ในงานแทบทุกแขนงที่พบในชีวิตประจำ�วัน

ลวดลายในงานทัศนศิลป์

1. ลวดลายในงานจิตรกรรม พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ – ไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2541 หน้า 178 อธิบายว่า จิตรกรรม หมายถึง ภาพที่จิตรกรสร้างขึ้น ด้วยประสบการณ์ทางสุนทรียภาพและความชำ�นาญใน การแสดงออก การสร้างจิตรกรรมจะสร้างบนพื้นราบ เป็นส่วนใหญ่ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นไม้ ฯลฯ จิตรกรอาจเลือกเขียนภาพบุคคล พืช สัตว์ ทิวทัศน์ เหตุการณ์บ้านเมือง เป็นต้น จิตรกรรมบางแบบมีลักษณะภาพที่โดดเด่นอยู่แล้ว

26

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา

ไม่ ต้ อ งอาศั ย ลวดลายมาประดั บ แต่ ใ นงานจิ ต รกรรม บางชิ้น หรือบางชนชาติ ผู้สร้างได้อาศัยลวดลายมา ประดับในบางจุด เพื่อก่อให้เกิดความงดงามมากยิ่งขึ้น เช่น ลวดลายในจิตรกรรมไทย สมชาติ มณีโชติ (2529 หน้า 18 – 19) อธิบายว่า ชาติไทย เป็น ชาติที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ จากหลักฐานทางโบราณ คดีและประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณได้ทิ้งร่องรอยไว้ ทำ�ให้ทราบได้ว่ายุคแรก ๆ ของชุมชนก่อนที่จะเป็นชาติ ไทยนั้น ยังไม่มีตัวอักษรใช้ในการบันทึกหรือสื่อความ หมาย ในครั้งนั้น มนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยต่าง ๆ ไว้ให้เรา ได้ศึกษากันในภายหลัง เช่น โครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน และที่สำ�คัญอีก ประการหนึ่งคือ ผลงานศิลปะโดยสัญชาติญาณและคติ ความเชื่อบางประการ ทำ�ให้มนุษย์รู้จักวาดภาพตั้งแต่ยุค หินเป็นต้นมา คือ การวาดภาพไว้ตามผนังถ้ำ� และบน ภาชนะดินเผา จิตรกรรมทีว่ าดขึน้ ในยุคแรก ๆ นัน้ เป็นจิตรกรรม

สถาปัตยกรรม วัดอรุณ จากhttpwww.travel.in.th


ประเภทลายเส้น ใช้สีเดียว มีลายเรขาคณิต หรือลาย ก้นหอย ลายดอกไม้ ใบไม้ รูปแบบของจิตรกรรมไทยได้มีวิวัฒนาการควบคู่ มากับความเจริญในสาขาอื่น ๆ ด้วย คือ จากบนผนังถ้ำ� ก็มาปรากฏมีภาพเขียนบนแผ่นอิฐ แผ่นหิน จนกระทั่ง บนฝาผนังของสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น ผนังโบสถ์ วิหาร สถูปต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะของจิตรกรรมไทย เป็นศิลปะแบบอุดมคติ มีลักษณะเช่นเดียวกับจิตรกรรมในประเทศแถบตะวัน ออกหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ลังกา จีนและ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมที่ระบายสีแบนเรียบด้วย สีสดใส มีลักษณะเป็น 2 มิติ มีลักษณะพิเศษในการ จัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้า ต่าง โดยรอบพระอุโบสถและวิหาร ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของไทย อุดมไปด้วยลีลาแห่งลวดลาย ซึ่งเราสามารถ แยกแยะลายไทย การออกลายได้จากภาพจิตรกรรมฝา ผนังมากมายหลายแบบทีเดียว (สมชาติ มณีโชติ 2529) 2. ลวดลายในงานประติมากรรม พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ – ไทย ฉบับราช บัณฑิตยสถาน (2541 หน้า 204) อธิบายว่า ประติ มากรรม หมายถึง งานศิลปกรรมที่สร้างเป็นรูปทรง 3 มิติ โดยวิธีการแกะสลัก การปั้น หรือผสมผเส การแกะสลัก ประติมากรจะต้องขจัดวัสดุส่วนที่ ไม่ต้องการออกไปจนเหลือแต่รูปทรงที่ต้องการเท่านั้น วัสดุที่ใช้ในการแกะสลัก ได้แก่ วัสดุเนื้อแข็ง เช่น ไม้ หิน ฯลฯ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จากhttpwww.oknation.net

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดคงคาราม จากhttpwww.dooasia.com คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

27


การปั้น ประติมากรจะสร้างรูปทรง โดยการพอก ด้วยวัสดุที่ค่อนข้างนิ่ม วัสดุที่นำ�มาใช้ เช่น ดินเหนียว ขีผ้ ง้ึ ฯลฯ เมือ่ ปัน้ เสร็จแล้วมักนำ�ไปหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ เพื่อความคงทน ส่วนการผสมผเส คือ การนำ�วัสดุหลายอย่างมา ประกอบเป็นรูปทรงที่ต้องการด้วยวิธีการต่าง ๆ ประเภทงานประติมากรรม แบ่งออกได้ดังนี้ มัย ตะติยะ (2548 หน้า 32 – 34) อธิบายถึง ประเภทของงานประติมากรรมดังนี้ 1. ประเภทร่องลึก (Incised relief) หรือรูป แกะลาย นับว่าเป็นการสร้างงานประติมากรรม ที่ต้อง การให้สัมผัส รับรู้ เพียงด้านเดียวคือ ด้านหน้า โดยการ มองเห็นลวดลายต่าง ๆ ที่เกิดจากภาพ แกะ เซาะให้ เป็นร่องลึก รูปหรือลวดลายที่เห็นจะเกิดบนพื้นผิวหน้า ของวัสดุนั้น ๆ ที่นำ�มาสร้าง เพราะพื้นผิวที่แกะออก ไปจะสร้างความแตกต่างของผิวแนวระนาบให้เป็นร่อง ช่วยเสริมให้ส่วนที่ไม่แกะเซาะ เกิดเป็นลวดลายได้ เช่น การแกะเซาะร่องบนพื้นผิวโฟม ดินน้ำ�มัน เทียนไข ผสม ขี้ผึ้ง ดินเหนียว ปูนปลาสเตอร์ ฯลฯ 2. ประเภทนูนต่ำ� (Bass relief) การสร้างงาน ประติมากรรมประเภทนี้จะมีความนูนยื่นออกมาจาก ฐานหรือระดับพื้นหลัง ประมาณ ¼ ส่วนเท่านั้น ประติมากรรมประเภทนี้สามารถมองด้านหน้าเพียงด้านเดียว 3. ประเภทนูนสูง (Hign relief) เป็นผลงาน ประติมากรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้นูนกว่าแบบนูนต่ำ� ในการปั้นจะกะคะเนความนูนสูงที่ยื่นออกมาจากพื้น ฐานสองส่วนหรือมากกว่า ประติมากรรมประเภทนี้

28

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา

สามารถมองเห็นด้านหน้าและด้านข้าง 4. ประเภทลอยตัว (Round relief) เป็นผล งานประติมากรรมที่ต้องการให้สัมผัสรับรู้ทุกมุมทุกด้าน คล้ายความเป็นจริงมากทีส่ ดุ สามารถมองเห็นได้รอบด้าน 3. ลวดลายในงานสถาปัตยกรรม พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ - ไทย ฉบับราช บัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2541 หน้า 24 - 25 อธิบาย ว่า สถาปัตยกรรม หมายถึง ศิลปะและวิทยาการแห่ง การก่อสร้าง เป็นการจัดที่ว่างสามมิติ เพื่อสนองความ ต้ อ งการของมนุ ษ ย์ ทั้ ง ทางด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจ สถาปัตยกรรมมีหลักเกณฑ์เพื่อให้บังเกิดผลในอันที่จะ สนองความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ ไม่ว่ายุคใด สมัยใด หลักเกณฑ์นั้นย่อมผันแปร แตกต่างกันไปตามกาลเวลา อันเนื่องจากอิทธิพลด้านต่าง ๆ คือ ดิน ฟ้า อากาศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา และจารีตประเพณี ตลอดจนวัสดุและวิธีการ อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ย่อมมีเป้าหมาย เดียวกัน คือ ความสะดวกและเหมาะสมในการใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรง และความชื่นชมสถาปัตยกรรม เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ เป็นเสมือนกระจกเงาที่ สะท้อนให้เห็นความเจริญของอารยธรรมในสมัยนั้น ๆ บรรณานุกรม

พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ-ไทย. (2541).กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน. มัย ตะติยะ. (2549).ประติมากรรมพื้นฐาน.กรุงเทพฯ:สิปประภา. วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532).พจนานุกรมหัตถกรรมและ อุตสาหกรรมพื้นบ้าน.กรุงเทพฯ:อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ. สมชาติ มณีโชติ. (2529).จิตรกรรมไทย.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.


มหากาพย์แห่งความวิบัติ... วัฒนธรรมทางศิลปะที ่เปลี่ยนไป อาจารย์ไชยพันธุ์ ธนากรวัจน์ แต่ก่อน...เราคือประเทศเกษตรกรรม ส่งผลผลิต ทางเกษตรออกขายต่างประเทศและเหลือบริโภคภายใน อย่างเหลือเฟือ ประชาชนอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารการ กิน อากาศสดใส ใบหน้าผู้คน เบิกบาน ยิ้มแย้มระรื่น ผู้คน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน เห็นแล้วช่างสุขใจจริง ๆ หลาย ประเทศมองดูด้วยความอิจฉา ตาเป็นมันเรามีความสุข แบบไทยๆ ปัจจุบัน...เราเห็นผู้คนเดินสวนกันขวักไขว่ไปมา แน่นท้องถนน โดยเฉพาะท่านเคยสังเกตคนยืนคอย รถเมล์ไหม แต่ละป้ายที่รถไปจอดก็ประมาณป้ายละร่วม ร้อยคน ท่านเคยมองใบหน้าคนเหล่านั้นไหมว่า เขายิ้ม หัวเราะร่า หรือสดชื่น ท่านคงเห็นเขามีแต่ความวิตก กังวล ซึมเซา ด้วยกลัวไปทำ�งาน ไม่ทัน ด้วยมีปัญหา ทางบ้าน ด้วยเมื่อรถมาแล้วจะได้ขึ้นหรือเปล่า หรือเมื่อ ขึ้นได้แล้วต้องเริ่มเบียดเสียดยัดเหยียด เซไปมาเพราะ แรงรถจนกว่าจะถึงที่หมาย ซ้ำ�ซากจำ�เจ จนเบื่อหน่าย กับการเดินทางอย่างนี้ทุกวัน ขณะกำ�ลังเดินบนถนน บังเอิญเจอเพื่อนซี้สมัย เรียนศิลปะด้วยกันไม่เจอกันเกือบ 20 ปีเห็นจะได้ พอ เจอกั น ก็ แ สดงความดี ใ จโผเข้ า กอดกั น แผล๊ บ เดี ย วยั ง ไม่ทันหายคิดถึง ต่างก็ขอตัวจากกันเพื่อไปธุระ โดย ไม่ทันให้ที่อยู่หรือนัดแนะพบกันอีกเลย คิดถึงจริงน้ำ�ตา ซึม เป็นเพราะความห่างเหิน หรือความจำ�เป็นรัดตัว ผู้คนในสังคมเปลี่ยนไป น้ำ�ใจหมดไป ความเลวร้ายตาม

มา สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากขึ้น เราจะพบเห็นผู้คนเอา ผ้าปิดจมูก กินอะไรก็เร่งด่วน ขนาดต้องนำ�มากินต่อใน รถ ป้อนข้าวในรถ ผูกเนคไทในรถ แต่งหน้าทาปากใน รถ สิ่งเหล่านี้คือ ผลกระทบต่อความคิดมนุษย์ ศิลปิน หรือผู้สร้างงานศิลปะก็เช่นกัน เพราะเรื่องราวที่ปรากฏ บนผลงานศิลปะโดยทั่วไปคือ 1. เกี่ยวกับมนุษย์และธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เกี่ยวกับความรัก, ความกลัว, ความทระนง, หยิ่งผยอง, ความเปล่าเปลี่ยว, ความโศกเศร้า, ความทะเยอทะยาน 2. เกี่ยวกับมนุษย์และบุคคลอื่น เช่น เกี่ยวกับ ครอบครัว, ความสนุกสนาน, การกีฬา, ความต้องการ ทำ�งาน, ความก้าวร้าว, รุกราน, สงคราม, ความยากจน, การค้าขาย, ความหลอกลวง, ความเจริญ, ความเสื่อม 3. เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง และไม่ได้ สร้าง เช่น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สมัยใหม่, เครื่องจักรกล, เกี่ยวกับธรรมชาติแวดล้อม, ความหนาแน่นของป่าคอนกรีต, นวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ปรมาณู, ยานอวกาศ, จรวด, คอมพิวเตอร์ 4. เกี่ยวกับความเชื่อของมนุษย์ เช่น เกี่ยวกับ ศาสนา, จริยธรรม, ศีลธรรม, ฟุ้งเฟ้อ, เพ้อฝัน, ความ กลมกลืน, จิตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์ เรื่องราวดังกล่าวเป็นเรื่องราวตายตัวที่มีในโลก แต่เมื่อศิลปินจะสร้างงานศิลปินจะสร้างเพื่อใคร?...เพื่อ นักปกครอง...เพื่อศาสนา…หรือเพื่อประชาชน... คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

29


ศิลปินสมัยก่อนทำ�งานเพื่อผู้นำ� เพื่อเสริมให้ผู้นำ� มีอำ�นาจบารมี หรือตอบสนองความต้องการทางศาสนา ดั ง งานศิ ล ปกรรมที่ ป รากฏแก่ ช าวโลกทุ ก วั น นี้ ตั้ ง แต่ พระราชวัง วิหารใหญ่โต เพื่อความยิ่งใหญ่ของผู้นำ� เพื่อ ความเชื่อถือศรัทธาทางศาสนา ส่วนด้านเพื่อประชาชน เพิ่งมามีเอาช่วงหลัง ๆ คือในช่วงที่มีการปกครองแบบ ประชาธิปไตย ศิลปินหลายคนอาศัยความเป็นสิทธิใน ระบอบประชาธิปไตย คิดถึงความอิสระเสรี ไม่กลัว ความผิดใด ไม่เกรงกลัวผู้มีอำ�นาจอีกต่อไป ในช่วงแรก ประชาชนไม่ยอมรับ ต่อเมื่อศิลปินได้ประชุมพูดคุยกันใน กลุ่มศิลปินจึงรู้ว่าเรื่องราวที่นำ�มาเสนอนั้นต้องเป็นเรื่อง ใกล้ตัวประชาชน จะเห็นได้ว่าประชาชนดูรู้เรื่อง เข้าใจ เช่น ความอดอยากปากท้อง การกดขี่ของชนชั้นต่อพวก เขา การทำ�สงคราม ก็ต้องชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า สงครามเป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ส กปรกโสมมที่ สุ ด ของมนุ ษ ย เรื่ อ งราวของความมัวเมาในอำ�นาจป่าเถื่อ นของผู้ นำ� บางคน บางกลุ่ม แล้วชักจูงให้ผู้อื่นหรือคนส่วนใหญ่ ปฏิบัติตาม โดยไม่ยอมรับนับถือในความเป็นมนุษย์ด้วย กันมนุษย์จึงต้องสังเวยชีวิตของตนต่ออำ�นาจป่าเถื่อน เป็นการกระทำ�ที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ผู้นำ�ของชาติหลายคนออกมาแถลงว่าให้กันช่วย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโดยอย่า ทำ�ลายรากเหง้าเหล่านั้น แต่... ในที่สุดผู้นำ�เหล่านั้นก็ ทำ�ลายมันเสียเอง จากวาระกรรมนั้นการปลุกระดมของ ศิลปินเพื่อสร้างงานศิลปะที่เข้าถึงประชาชน เมื่อนำ�ผล งานออกแสดงก็ได้รับการตอบรับทุกครั้ง ประชาชนไม่ เคยผิดหวังและรู้สึกว่าศิลปินคือตัวแทนของเขา ศิลปิน

30

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา

จึงเป็นเหมือนพ่อมดหมอผี ทำ�เพื่อประชาชน ทำ�หน้าที่ เพื่อความดีงามของสังคม เมื่อเราจะก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21 ที่แท้จริงความ กะทัดรัดก็จะเกิดขึ้นมา แต่ก่อนจะประชุมก็ต้องเกณฑ์ คนทั้งหมดเข้าห้องประชุม เดี๋ยวนี้แยกประชุมย่อยตาม ความสนใจ และตามเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบเป็นกลุ่มๆ เดี๋ยวนี้มีการบริหารงานเป็นลายลักษณ์อักษร การแยก เป็นกลุ่มย่อยมีมากขึ้นเรื่อย ๆ การตกลงกันก็สะดวก ห้องประชุมสัมมนาย่อยๆ แต่ละสถาบันจะมีหลายห้อง นั ก ศึ ก ษาศิ ล ปะก็ เ ริ่ ม หั น เข้ า จั บ กลุ่ ม กั น สร้ า งงานตาม กลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มภาพเหมือน, กลุ่มบาติก, กลุ่ม ปั้นสากล, ปั้นไทย, ศิลปะภาพพิมพ์ ฯลฯ นี่ก็คือปฐมบท แห่งความกะทัดรัด พิพิธภัณ ฑ์ศิลปะต่อไปจะใช้ไม่ต้อ งเดินไปดูที่ตึก ใหญ่ๆ งานศิลปะก็กระจายและส่งให้ท่านชมถึงบ้านอยู่ ทุกวันนี้ก็โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์กราฟิก ที่นำ�มาใช้กับงานโฆษณาสิ้นค้าต่างๆ ในนั้นมีสีสัน มี องค์ประกอบ มีเรื่องราว มีวาทกรรม ที่บางสิ่งบางอย่าง มีจริงบ้างและไม่มีจริงบ้าง บิดเบือนบ้างไม่บิดเบือนบ้าง ในความเป็ น จริ ง แล้ ว ท่ า นผู้ เ สพและสนใจไขว้ ค ว้ า ที่ ซึมซับตลอดเวลาจนคืบคลานสู่ความกลมกลืนเหมือน เป็นห่วงโซ่ในกาลเวลาที่กลืนกินในชีวิตประจำ�วัน การทำ � งานศิ ล ปะประดิ ษ ฐ์ ก็ เ ช่ น กั น ใช้ ร ะบบ สายพานเหมือนโรงงานประกอบวิทยุ-โทรทัศน์ คือคน หนึ่งปั้นก้าน คนหนึ่งปั้นใบ คนหนึ่งปั้นดอก เสร็จแล้ว ปล่อยไปตามสายพาน เมื่อไปถึงคนถัดไปก็นำ�มาประกอบ เป็นใบเป็นดอก ส่งเข้าแผนกหีบห่อ โดยมีนายทุนเป็น


เจ้าของ ฉะนั้นคนคนเดียวจะปั้นดอกไม้ 1 ช่อไม่เป็น เหมือนกับพนักงานทำ�ส่วนประกอบทรานซิสเตอร์ ที่ไม่ สามารถจะประกอบเป็นวิทยุให้ฟังได้ เพราะทำ�กันคน ละส่วน พวกนี้พอลาออกจากโรงงานก็เหมือนนกที่เขา เลี้ยงไว้แต่เล็กๆ พอปล่อยไป บินไม่เป็น หากินไม่ได้ แต่ก็ต้องทำ�ใจ ศิลปะในอนาคตก็คงต้องเป็นธุรกิจศิลป์ คนซื้อ งานศิลปะไว้เก็งกำ�ไรมิได้ไว้ชื่นชม คนสร้างงานศิลปะ ก็เพื่ออยู่รอด ธนาคารจัดงานประกวดศิลปกรรม เพื่อ มอบรางวัลให้กับผู้ชนะ คนที่เป็นกรรมการก็จัดหามา ในฐานะเจ้าภาพ ผลที่ออกมาจึงเข้าข้างนายทุน เช่น ภาพป่าคอนกรีต ภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาพที่ หรูหรา โอ่อ่า ภาพที่มีรูปคนขอทานจะไม่ได้รับรางวัล เพราะเป็นภาพพจน์ที่ไม่ดีกับธนาคาร แต่ก่อนภาพมาร ตอนที่ยั่วพระพุทธเจ้าเป็นภาพหญิงสาวนุ่งน้อยห่มน้อย มายั่วเย้าอยู่ข้างองค์พุทธเจ้า ปัจจุบันภาพมารที่ศิลปิน เขียนขึ้นเป็นภาพตัวร้าย ตัวเอกจากภาพยนตร์ ละคร โทรทัศน์ จากนวนิยาย หรืออื่นๆ เช่น แรมโบ้, คน เหล็ก, ฟรีเซอร์ จากดรากอนบอลล์ มือถืออาวุธปืนผา หน้าไม้ที่ทันสมัยมารายล้อมองค์พระพุทธเจ้าแทน ศิลปะยุคศตวรรษที่ 21 น่าจะเป็นเรื่องหลาย ๆ อย่างที่ดูแล้วขัดแย้งกันระหว่างอดีต หรือบางครั้งศิลปิน อาจจะถ่ า ยทอดสิ่ ง ที่ ข าดหายไปเพื่ อ จะหาสิ่ งใหม่ ม า ทดแทนด้วยภาพ ฉะนั้น ศิลปะจึงเป็นบันทึกสภาพทาง สังคม สะท้อนสังคมและจินตนาการ ขณะเดียวกัน...ท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลง ที่ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบเชียบใต้ผืนดินและเหนือบรรยา-

กาศปกคลุมโลก สรรพสารกำ�ลังทำ�หน้าที่ตามธรรมชาติ ของมั น อย่ า งซื่ อ สั ต ย์ เ ช่ น ที่ เ คยเป็ น มาเมื่ อ หลายพั น หลายหมื่นปีก่อน หากตัวแปรบางอย่างที่ก่อเกิดและ เปลี่ยนผันจากการเดินทางผ่านช่วงเวลายาวนานเริ่มเข้า สู่ระบบระเบียบในวัฒนธรรมและส่งผลลัพธ์ออกมาเป็น มหากาพย์แห่งความวิบัติเหนือความคาดหมายของใคร คนใดในโลกนี้ คำ�ถามถึงที่มาของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ ทุกคนเบือนหน้าหนีอย่างละอายใจ ด้วยว่าสิ่งที่ปฏิเสธ ไม่ได้คือเหตุผลส่วนใหญ่ในวิกฤติการณ์นี้มาจากน้ำ�มือ น้ำ�คำ� และน้ำ�ใจของพวกเราเอง แนวความคิดหลักที่นำ�พาโลกมาสู่ยุคมหากาพย์ แห่งความวิบัติอันเกินการควบคุมนี้ คือแนวคิดแห่งการ ครอบครองและบริ โ ภคอย่ า งกระเหี้ ย นกระหื อ รื อไม่ บันยะบันยัง ไม่หวนคิดถึงผู้ที่ด้อยกว่าด้วยประการทั้ง ปวง ซึ่งหากจะทบทวนถึงที่มาของแนวความคิดนี้ ก็ มีทางเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นจากแรงขับของ “ผู้ถูก กระทำ�” ที่เคยตกอยู่ในอาณัติแห่งการเอารัดเอาเปรียบ ในทุกวิถีทางตราบถึงวันลิ้มรสอิสรภาพอันหอมหวาน จึงกลับกลายตนเองมาเป็น “ผู้กระทำ�” เพื่อเรียกร้องทุก สิ่งทุกอย่างที่เคยถูกพรากจากไปอย่างไม่พะวักพะวนต่อ สิ่งใดๆ เสียเอง รสชาติของการกอบโกยแห่งมหาอำ�นาจ คือขนมหวานจานใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากการเรียกร้อง ก้ อ งตะโกนและดึ ง รั้ ง ทุ ก อย่ า งให้ โ คจรรอบตนเองแต่ เพียงผู้เดียว เมื่อกระแสธารแห่งกาลเวลาพัดพาตะกอนกาก ของการกระทำ �ให้ ทั บ ถมบนดิ น ดอนสามเหลี่ ย มปาก ทวารแห่งอนาคต ผลลัพธ์ที่รออยู่เบื้องหน้าจึงไม่ยากที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

31


จะทำ�นาย เพราะเหตุปัจจัยในปัจจุบันที่พ่วงผลมาจาก อดีตย่อมเป็นตัวแปรพื้นฐานสำ�หรับสมการในอนาคต หาก...แท้จริงแล้ว เราจะหลงหล่อหลอมตนเองอยู่ในโลก ที่อาบอิ่มด้วยสภาวการณ์อันเกินควบคุมนี้เพื่ออะไร ใน ขณะที่มองไปรอบกาย เราก็ต้องเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่ง ในส่วนใหญ่ของดาวเคราะห์สีเงินใบนี้ แค่เพียงละออง ธุลีกระจ้อยร่อยที่มีช่วงเวลาใช้ลมหายใจไม่กี่สิบปี แล้ว เราจะเลือกเรียกร้องเร่งเร้าเงาแห่งตัวตนบนความฝัน แห่งมายาจากโลกใบนี้? หรือ...เลือกที่จะเป็นฝ่ายมอบให้ อย่างไร้เงื่อนไขที่ดี? การสร้างงานศิลปะหลายๆแขนงของศิลปินตั้งแต่ อดีตจนมาถึงศิลปินร่วมสมัยในปัจจุบัน เป็นเสมือนการ จดบันทึกที่สะท้อนวัฒนธรรมการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ เรื่อยมาคุณค่าของงานนอกจากจะมีบทบาทให้ความสุ นทรีย์แล้วนั้น บทบาทอื่นด้านของการรับใช้ศาสนาและ สังคมนั้นถือได้ว่าเป็นการ สืบทอดและเป็นการรับผิด ชอบต่อสังคม เพราะการจดบันทึกเรื่องราวตามความ เชื่อ ความศรัทธาของผู้สร้างสรรค์งานนั้น ทำ�ให้คนรุ่น หลังได้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด มุมมอง หลายๆ แนวความคิด และหลายๆ จินตนาการ ซึ่งในอดีตเคย มีผู้สร้างที่เป็นจุดเริ่มต้นมาแล้ว ต่อไป... เราและท่านคง ต้องช่วยกันสานต่อเพื่อสร้างวิวัฒนาการงานศิลปะให้ อยู่ควบคู่กับวิทยาศาสตร์ในอนาคตต่อไป ขณะเดียวกัน มนุษย์มิได้มีเพียงอดีต... ปัจจุบันก็ เป็นสิ่งที่มีค่าควรจะสร้างให้มี “ชีวิต” และไม่จมปลักอยู่ กับอดีต การบันทึกช่วยให้มนุษย์ระลึกถึงอดีตได้ง่ายดาย อย่างเมื่อใดก็ตามที่รู้สึกต้องการมัน ก็ดึงมันออกมาเปิด

32

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา

มาดูและมาฟังเพื่อยืนยันตัวตนของสิ่งที่ผ่านมาและเป็น อยู่ในขณะนั้น แต่การบันทึกก็กลับทำ�ลายปัจจุบัน และ ความหมายของชีวิตในฐานะของการมีอยู่ การเกิด และ การสร้างสรรค์อันสัมพันธ์กับเวลาและอารมณ์ในทุก ขณะทุกวินาทีที่แสนจะมีค่าและสมควรที่จะอยู่ในห้วง แห่งความจำ�ของแต่ละคน ที่มีประสบการณ์ร่วมกันใน บรรยากาศของเวลาและอารมณ์หนึ่ง ๆ ที่ไม่สามารถ มีเครื่องช่วยจำ�อะไรจะบันทึกความสวยงามและความ ไพเราะ ลึกซึ้งร่วมวาระกรรม มิติ...เวลา...องศา ของ สภาวะอารมณ์หนึ่ง ๆ เช่นนั้นได้อีกเลย และด้วย เหตุผลนี้เอง ที่คนโบราณจึงมีอารมณ์และความสุนทรีย์ อันละเมียดละไมกว่าคนสมัยใหม่ ที่เครื่องจักรและ วิทยาการบันทึกได้เปลี่ยนให้เรากลายเป็นคนหยาบ ไม่ ยี่หระกับปัจจุบันอันมีค่า และผัดผ่อนความมีค่านั้นไป อย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะทึกทักว่า เขาสามารถควบคุม และเก็บฉวย รูป. รส. กลิ่น. เสียง. สัมผัส. อันรวมเป็น ความทรงจำ�แห่งความรู้สึก...ที่มา...แล้วจากไป...ไว้ใน กำ�มือของเขา แต่ขณะเดียวกัน คนสมัยใหม่อีกส่วนหนึ่งใน ปัจจุบันก็ยังกลับโหยหาอดีต อดีตที่จริงๆ แล้วไม่มีวัน จะหวนกลับคืนได้ อดีตที่จบลงไปอย่างสิ้นเชิงเพียง เพราะวาระกรรมเฉกเช่น “มหากาพย์แห่งความวิบัติ... วัฒนธรรมทางศิลปะที่เปลี่ยนไป” เพียงเพราะอดีตของ ทุกวันนี้ได้ถูกทำ�ให้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของอมตะแห่ง ปัจจุบันอันสมบูรณ์


มองไทย-อารมณ์ไทย :

ศิลปกรรมร่วมสมัยสู่ศิลปกรรมอุษาคเนย์ จารุณี เนตรบุตร

ดูเหมือนว่าโลกวันนี้ได้หลอมรวมพื้นที่ให้กลายเป็นหนึ่งเดียว พร้อมกับแนวคิด คู่ขนานในเรื่องของความเป็นอัตลักษณ์ ด้วยเหตุนี้ความเป็นนานาชาติผนวกกับ ความเป็นสากลจึงกลายเป็นจุดกระเทาะเปลือกเดิมของสังคม จากความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม สภาพภูมิศาสตร์ และเอกลักษณ์ของชนชาติ ซึ่งจะว่าไปแล้ว ทั้งหมดนี้คือเปลือกที่ห่อหุ้มไว้อย่างหลวมๆ แต่สิ่งที่ฝังลึกยากหยั่งถึงในความเป็น มนุษย์ โดยมีสภาพเป็นนามธรรมนั้นคือตัวการสำ�คัญที่คอยกระซิบสั่งมนุษย์ทุกคน ให้เกิดความรัก...โกรธ...โลภ...หลง นำ�พาไปสู่ความเชื่อนานานัป ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ซ่อน เร้นอยู่ในตัวตนมนุษย์มาทุกยุคสมัย โดยอารมณ์และอากัปกิริยาดังกล่าว ล้วนเป็น เบื้องหลังของการสั่งสมวัฒนธรรมและความเป็นเชื้อชาติให้เกิดขึ้น พื้นที่ทางศิลปกรรมก็เช่นกัน การผสมผสานแนวคิดในช่วงรอยต่อของอดีต จากนิยามแห่งศิลปกรรมร่วมสมัย ได้ถูกบงการให้ตกอยู่ภายใต้คราบลัทธิต่างๆ ตาม การเปลี่ยนผ่านของกาลเวลา ทว่านับวันศิลปกรรมกลับสอดประสานพื้นที่การ แสดงออกของศิลปิน ผ่านรูปแบบทัศนศิลป์สู่ความกำ�กวมจนยากต่อการเจาะจง แยกประเภท คำ�ถามที่ตามมาคือ วันนี้ “ความร่วมสมัย” คือสิ่งใด? ภาษาของ ศิลปกรรมถูกนำ�มาคลุกเคล้า ปรุงแต่ง ชนิดที่เรียกได้ว่าไม่สามารถกำ�กับให้เป็น สูตรสำ�เร็จตายตัวได้ดังเดิม ทุกอย่างได้เคลื่อนคล้อย หลั่งไหล ถาโถมตามกระแส แห่งยุคสมัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ นั่นเป็นเพราะว่าศิลปะแฝงร่วมอยู่ในชีวิต มวลมนุษย์มาโดยตลอด ทางออกสุดท้ายของศิลปินจึงจำ�เป็นต้องมีความชัดเจนใน ตัวตน ก่อนโบยบินออกไปหยิบจับธรรมชาติ สังคม และสรรพสิ่งแวดล้อม โดย นำ�สิ่งเหล่านี้มาร้อยเรียงเพื่อสื่อสารกับโลกและมวลมนุษย์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

33


สิ่งที่เป็นตัวแทนของการแสดงออกดังกล่าว ย่อมมีจังหวะในการดำ�เนิน เรื่อง พร้อมๆ ไปกับการทิ้งร่องรอยให้ผู้คนได้ค้นหาความหมาย การเดินทางออก จากผืนผ้าใบของศิลปินเพื่อกระโจนสู่สื่อนานาประเภทได้เริ่มต้นขึ้น โดยมิต้อง หมกมุ่น เคร่งครัดกับแบบที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า แต่ก็มิได้หมายความว่าศิลปิน จะหยิบจับ “อะไรก็ได้” มาบดขยี้ ปรุงแต่ง สาระสำ�คัญของการสร้างงาน จะยังดำ�รงอยู่เช่นเดิม เพียงแต่การแสดงออกนั้นมิได้ถูกจำ�กัดบทบาทอยู่แค่ เพียงตัวศิลปินฝ่ายเดียว ดังนั้นกิจกรรมบางประเภทที่เกิดขึ้นในสังคมจึงกลาย เป็นผลงานศิลปกรรมที่มวลมนุษย์ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เช่น กิจกรรม การออกแบบพื้นที่ชุมชนของสถาปนิกที่ได้นำ�ผู้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การใช้พื้นที่ โดยพฤติกรรมการใช้พื้นที่ดังกล่าวนี้ สถาปนิกจะนำ�มาถอดรหัส ให้กลายเป็นผลงาน คล้ายดังเช่นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ อาร์ต (ศิลปะแสดงสด หรือศิลปะสื่อแสดง) โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปินและผู้ชมจะโต้ตอบ สอดรับ สร้างเรื่องราวให้บังเกิดเป็นผลงานขึ้นมาเช่นกัน วันนี้ความเป็นร่วมสมัยของศิลปะจึงมิได้จำ�กัดอยู่เพียงแค่ตัวศิลปินและ ผลงาน การสร้างสรรค์เพื่อสร้างเรื่องนอกจากภาษาภาพแล้ว ภาษากายภายใต้ การกำ�กับจากใจมนุษย์ได้เข้ามามีบทบาทในการรังสรรค์ผลงานร่วมกัน ดังนั้น ready-made Cultural ที่นิยามด้วยภาษาสากลจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยใน การแปลความเพื่อค้นหาเรื่องราวพื้นที่ทางศิลปกรรมไทยให้ดำ�รงอยู่ได้อย่างไม่ สั่นไหวต่อแรง ถาโถมจากนานาชาติ โดยมิต้องกังวลกับการถวิลหา ไขว่คว้า รูปแบบที่นิยมเรียกกันว่าคือความเป็นสากลที่มีกลาดเกลื่อนอยู่ในขณะนี้ ...เข้าใจฉัน...เข้าใจเธอ...เข้าใจเราและเข้าใจโลก...เพื่อน้อมรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับการเปลี่ยนผ่านจากศิลปกรรมร่วมสมัยสู่ ”ศิลปกรรมอุษาคเนย์” จะ ดำ�เนินต่อไปเช่นเดียวกับจังหวะสูง ต่ำ� สั้น ยาวของหัวใจมนุษย์ที่สอดประสาน มั่นคงเป็นหนึ่งเดียวตราบนานเท่านาน

34

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


มองไทยผ่านถุงกาแฟ :

ไทยแลนด์ โอลี่ !

โดย อาจารย์วารดา พุ่มผกา

วัฒนธรรมการดื่มกาแฟ กลายเป็นแฟชั่นฮิต ของคนทั่วไป ในปัจจุบัน ร้านกาแฟผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ไล่เรียงตั้งแต่กาแฟ ระดับคุณภาพ ราคาแพงในห้างสุดหรู ไปจนถึงกาแฟราคา ย่อมเยาตามรถเข็นทั่วไป คนไทยรู้จักและพบเห็นร้านกาแฟตาม ย่านการค้าและท้องตลาดมาเนิ่นนาน ร้านกาแฟจึงเป็นที่พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยน เป็นสภากาแฟ ระดับชาวบ้าน เมนูกาแฟที่ รู้จักดี เช่น เช่น โอเลี้ยง โอยัวะ ยกล้อ คนขายจะชงกาแฟใส่ ถ้วยแก้วให้นั่งดื่มกันไปคุยไป แม้ปัจจุบันร้านกาแฟแบบดั้งเดิม จะมีน้อยลง แต่ก็ไม่ได้จางหายไปจากสังคมไทย ผู้คนที่รักและ นิยมร้านกาแฟแบบเก่าจึงนำ�เอาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของ “กาแฟโบราณ” มาเป็นจุดขายและตอบสนองต่อการโหยหา อดีตของ คอกาแฟทั้งหลาย นับจากภาพลักษณ์การตกแต่งร้าน ให้ดูคลาสิคแบบร้านกาแฟโบราณแล้ว สิ่งที่โดดเด่นของยุคทอง ของกาแฟที่พบเห็นในช่วงปีที่ผ่านมา คือ กาแฟ แบบถุงกระดาษ ที่ระบาดไปทุกหัวระแหง เดินไปไหนมาไหนก็จะพบคนหนุ่มสาว คนสูงอายุ ถือถุงกระดาษที่ข้างในบรรจุถุงกาแฟเย็นใบเขื่อง สนนราคาไม่แพงมาก ประมาณ 20-25 บาท เมื่อถามไถ่ จึง

ภาพประกอบจาก: http://www.manager.co.th/iBizchannel/ viewNews.aspx?NewsID=9560000133252

ทราบว่ามีคนไทยหัวใสคิดค้นถุงกระดาษที่บรรจุ ถุงกาแฟเย็นได้ และเก็บความเย็นได้เป็นเวลา นาน 5-6 ชั่วโมง ร้านกาแฟถุงกระดาษเป็น ธุรกิจแบบเฟรนไชล์ ที่สามารถจะพิมพ์ชื่อร้าน ได้ตามต้องการของเจ้าของร้านกาแฟ มีการ ออกแบบที่หลากหลายกันไป พิมพ์เมนูกาแฟ แบบไทยโบราณ ผสมกับเมนูกาแฟเทศ เช่น มอคค่า ลาเต้ เอกเพรสโซ ปรากฏอยู่ข้างถุง กระดาษ และมีโปรโมชันแบบคืนถุงกระดาษได้ คือกินครบ 10 ถุง เอาถุงมาคืนร้าน ได้กินฟรี 1 ถุง อีกด้วย งานออกแบบกาแฟถุ ง กระดาษนั บ เป็ น เทรนด์การออกแบบๆ ไทยแลนด์โอลี่ ที่น่าชื่นชม ในความคิดสร้างสรรค์ที่คนไทยมีอยู่ในสายเลือด และกระแสนี้คงจะอยู่ไปจนกว่าจะมี กระแส นิยมแบบใหม่เกิดขึ้นมาทดแทน และเราคงได้มี งานออกแบบไทยๆ มาให้ศึกษากันต่อไป...... คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

35


36

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

37


โขนผู้หญิง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน

นาคบาศ

อาจารย์ธรรมรัตน์ โถวสกุล

วันจันทร์ที่ ๑o กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ และ วันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

อาจารย์ขรรค์ชัย หอมจันทร์

38

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา

การแสดงเบิกโรง ชุด รำ�อศิรวาทถวายพระพร การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นาคบาศ ฉากที่ ๑ ท้องพระโรงกรุงลงกา ฉากที่ ๒ พลับพลาพระราม การแสดงสลับนฉาก ชุด ระบำ�สวัสดินักรบ ฉากที่ ๓ สนามรบกลางป่า Finale นักแสดงและทีมงานการละคร


ทศกัณฐ์เมื่อรู้ว่ากุมภกรรณตาย เสียใจและโกรธแค้นมาก สั่งให้อินทรชิตไปแก้แค้นแทนอา พระรามให้พระลักษณ์ไปรบ ไม่แพ้ไม่ชนะ อินทรชิตบอกว่าให้พระลักษณ์มารบกันใหม่ในวัน รุ่งขึ้น ฝ่ายอินทรชิตเมื่อกลับเข้าลงกาแล้ว คิดว่าศัตรูมีกำ�ลังกล้า แข็งมาก ทูลทศกัณฐ์ว่า จะไปทำ�พิธีชุบศรนาคบาศที่เขาอากาศ โดยให้ฝูงนาคมาคายพิษลงบนศรเป็นเวลา ๗ วันจึงจะเสร็จพิธี พระรามเมื่อรู้ว่าอินทรชิตไม่ยกทัพมาเพราะไปตั้งพิธีชุบ ศรนาคบาศในโพรงไม้โรทันที่เขาอากาศ ก็ให้ชามพูวราชแปลง เป็นหมีไปกัดไม้ที่อาศัยทำ�พิธีให้หักโค่นลง การเรียกพิษนาคจึง ไม่ต่อเนื่องอำ�นาจจึงเสื่อม ต่อมาพระรามได้ให้พระลักษณ์ออก ไปรบอีก แต่ถูกศรนาคบาศของอินทรชิต พิเภทกลับมาบอก พระรามว่า พระลักษณ์ต้องศรนาคบาศแต่ยั ไม่ตาย ให้พระรามแผลงศรพลายวาตไปเรียกพระยาครุฑ เหล่า พญานาคก็จะหนีไป พระลักษณ์และไพร่พลลิงก็จะฟื้น

ฉากที่ ๑ ท้องพระโรงกรุงลงกา

ทศกั ณ ฐ์ เ มื่ อ ทราบข่ า วว่ า กุ ม ภกรรณตาย เสียใจและโกรธแค้นมาก ทศกัณฐ์จึงใช้ มโหทร ไปบอกอินทรชิต ให้นำ�กองทัพออกไปรบ

ฉากที่ ๒ พลับพลาพระราม

พระรามได้ยินเสียงโห่ร้องจึงถามพิเภกว่า เสียงโห่นี้เป็นทัพของผู้ใด พิเภกจึงตอบว่า เป็น เสียงของกองทัพของอินทรชิต พระรามจึงสั่งให้ พระลักษณ์เป็นนายทัพไปรบกับอินทรชิต แล้ว สั่งสุครีพจัดทัพเตรียมพลให้พร้อมทันเวลา

ฉากที่ ๓ สนามรบกลางป่า

อิ น ทรชิ ต นำ � กองทั พ เข้ า สู้ ร บกั บ กองทั พ พระลักษณ์ไม่แพ้ไม่ชนะ พระลักษณ์ตีอินทรชิต ซวนเซ อินทรชิตโกรธจึงแผลงศรนาคบาศเหล่า พญานาคก็รัดมัดพระลักษณ์กับพลลิง พิเภก จึงหนีไปบอกพระรามว่า พระลักษณ์ต้องศร นาคบาศแต่ยังไม่ตาย ให้พระรามแผลงศรพลาย วาตไปเรียกพระยาครุฑเหล่าพญานาคก็จะหนีไป พระลักษณ์กับพลลิงก็จะฟื้น

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

39


ระบำ�สวัสดินักรบ

“ระบำ�สวัสดิรักษานักรบ” หรือ “ระบำ�สวัสดิสงคราม” เป็นการแสดง ที่กำ�หนดภูษาทรงในการออกศึกของคนไทยในสมัยโบราณ เพื่อให้เกิดสิริ มงคล และข่มขวัญศัตรู ส่วนเนื้อร้องจะเป็นคำ�กลอนสุภาษิต ซึ่งสันนิษฐาน ว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

รำ�อศิรวาทถวายพระพร ปี่พาทย์ทำ�เพลง เหาะ ร้องเพลงครอบจักรวาล ข้าพระพุทธเจ้าราชภัฏจันทรเกษม กมลเปรมสำ�นึกพระคุณอุ่นเกศี มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มั่นภักดี สามัคคีถวายองค์พระทรงชัย

อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว จะยืนยาวชันษาสถาผล อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด กับเหลืองแปดปนประดับสลับสี วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม วันเสาร์ทรงดำ�จึงล้�ำ เลิศ แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม หนึ่งพาชีขี่ประดับงาม ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย

ร้องเพลงตระนิมิต ขอเดชะพระสยามเทวาธิราช คุ้มครองชาติศาสตร์กษัตริย์นิรัติศัย ดลพิทักษ์จักรีวงศ์ธำ�รงไทย นิรันดร์สมัยขอพรองค์ทรงพระเจริญ ปี่พาทย์ท�ำ เพลงรัวดึกดำ�บรรพ

40

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

41


รายชื่อนักแสดง

ฝ่าย ทัพพระราม นางสาวจิตตวัฒนา วิเชียรสกุล พระราม นางสาวทิพวรรณ ศรีหรั่งไพโรจน์ พระลักษณ์ นางสาวนิมิตรหมาย หรั่งยี่โถ หนุมาน นางสาวพชรพร แก้วสี สุครีพ นางสาวปัณฑ์ชนิด จันทร์ประเสริฐ องคต นางสาวจีราภรณ์ กระจินดา พิเภก นางสาวภิรมณย์ญา พรหมมีฤทธิ์ นิลนนท์ นางสาวทิวาภรณ์ บุญทรัพย์ เสนาลิง นางสาวมนทิพา บัวอุ เสนาลิง นางสาวญาดา ตัณฑลีละชาติ เสนาลิง นางสาวสิริภัทรา อัครจันทร์ เสนาลิง นางสาวชลดา ศรีลาพันธ์ เสนาลิง นางสาวอรอนงค์ มุ่งจูงกลาง เสนาลิง นางสาววารุณี เจาะจง เสนาลิง นางสาวพรรณพัชร เกิดจาด คนธงลิง

พญานาค นางสาว นางสาว นางสาว นางสาว นางสาว

42

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ชฏาภรณ์ ไชยสอน น้ำ�ทิพย์ ดีภู่ สิรีทร ปิ่นทำ�นัก ทัศนีย์ ปุตุรงค์ กุลธิดา วงศ์เสริฐ

ศิลปนาฏยคีตา

ฝ่าย ทัพยักษ์ นางสาววาราดา โกเศยะโยธิน นางสาวอรุณรัตน์ ก้งซ่า นางสาวเบญจวรรณ ทูลแก้ว นางสาวปฏิณญา ไชยยา นางสาวผกาวดี ผกากรอง นางสาวกาญจนา ทิวาวงศ์ นางสาวธนานันท์ คำ�หอมรื่น นางสาวมนชญา กรินทรากุล นางสาวปัฐมาพร สุวรรณไสว นางสาวสุวิภา กล้าหาญ นางสาวอารีรัตน์ เกิดขันหมาก นางสาวพรพรรณ มั่นคงกิจเจริญ

พระยาครุฑ นางสาว นางสาว นางสาว นางสาว นางสาว

ทศกัณฑ์ อินทรชิต อินทรชิต มโหธร เปาวนาสูร เสนายักษ์ เสนายักษ์ เสนายักษ์ เสนายักษ์ เสนายักษ์ เสนายักษ์ คนธงยักษ์

กำ�ไรมาศ ขันแก้ว สุนิศา จันทสะโร วิมลวรรณ ดวงจันทร์ กนกนวล ทองด้วง ขนิษฐา แท่นกลาง


รายชื่อนักแสดงสลับฉาก การแสดงเบิกโรง ชุด รำ�อศิรวาทถวายพระพร นางสาว กชกาญน์ เจริญพันธุ์ นางสาว จุฑามาศ ชิ้นฟัก นางสาว สุจิรา โทนเดี่ยว นางสาว ปาลิดา สัตพันธ์ นางสาว อังคนางค์ ศรีกลุล นางสาว รตา บุญอยู่ การแสดงสลับฉาก ชุด ระบำ�สวัสดินักรบ นาย พีรภพ แก้วประดับ นาย ศักดิ์ชัย มีเพียร นาย ณัฐพงค์ อัยราคม นาย เอกรินทร์ ทองมา นาย พชระ เตียวสหธนกุล นาย ธัญวิสิฏฐ์ สังข์แก้ว นาย สุเมธ ทรัพย์เจริญ

คณะผู้จัดทำ� ผู้กำ�กับการแสดง

นางสาว ศรัณย์พร จินดาคำ� ผู้ช่วยผู้กำ�กับการแสดง นางสาว พิไลพร พึ่งอ่ำ� นาย ศักดิ์ชัย มีเพียร

ผู้กำ�กับวงดนตรี

นางสาว สุพัตรา ประไพ ผู้ช่วยผู้กำ�กับวงดนตรี นาย ธัญวิสิฏฐ์ สังข์แก้ว

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

43


ผู้กำ�กับเวที

นางสาว สุพัชฌา แจ่มพัฒนากิจ ผู้ช่วยผู้กำ�กับเวที นางสาว ดวงดาว การเจน นางสาว เกศราพร สุขะอาคม นางสาว สุพิณญา ธรรมพันธ์ ทีมงานblack stage นางสาว สุลัดดา ปักเคระกะ นางสาว ชนิษฐา อดิการกุล

ฝ่ายศิลป์

นาย บุญญฤทธิ์ น้ำ�มิตร นางสาว วารุณี เจาะจง

ฝ่ายการแสดงฉลับฉาก นางสาว นิตยา ช่วยอุดม

ฝ่ายเครื่องแต่งกาย นาย วุฒิกรณ์ สุมา นาย สุเมธ มะโนคำ�

44

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


ฝ่ายการเงิน

นางสาว พรรณพัชร เกิดจาด นางสาว สุจิรา โทนเดี่ยว

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

นางสาว ปฏิณญา ไชยยา นางสาว ธนานันท์ คำ�หอมรื่น นางสาว อรุณรัตน์ ก้งซ่า นางสาว ปาลิดา สัตพันธ์ นาย สุวรรณ หอมทอง นางสาว วาราดา โกเศยะโยธิน นางสาว จิตติกาญจน์ แปลกสูงเนิน นางสาว ขวัญชนก ลิ่มเศวตกุล

ฝ่ายสวัสดิการ

นางสาว หทัยรัตน์ ท่าด่าน นางสาว อรอนงค์ มุ่งจูงกลาง นางสาว กนกนวล ทองด้วง นาย พจน์ พันธุ์เมฆา นางสาว กานดา จันวิเศษ นางสาว นันทริดา โชคเหมาะ นางสาว โสภิดา พงษ์โต นางสาว สุนิศา จันทสะโร นางสาว จุฑามาศ ชิ้นฟัก นางสาว ขนิษฐา แท่นกลาง นางสาว ปิยะนันท์ คำ�สอน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

45


46

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

47


ที่มาของเพลงสิบสองภาษา เพลงไทยที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชื่อเพลงเหล่านี้มักใช้ชื่อตาม ภาษาเดิม เช่นเพลงเนรปาตี ปะตง มัดตรำ� บ้าระบุ่น จนเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีการนำ�เพลงเหล่านี้ มาปรับปรุงทำ�นองและ ตั้งชื่อเพลงที่ปรับปรุงใหม่ด้วย การนำ�ชื่อชนชาติที่เป็นเจ้าของสำ�เนียงนั้น มานำ�หน้า เช่น ลาวเจริญศรี เขมรพระประทุม จีนหลวง เป็นต้น เมื่อเพลงสำ�เนียงภาษาต่างๆมีมากขึ้น นักดนตรีไทยจึง นำ � เพลงออกภาษาเหล่ า นั้ น มาบรรเลงติ ด ต่ อ กั น เป็ น ชุด โดยเริ่มจากเพลงสำ�เนียงไทยแล้วตามด้วยสำ�เนียง ลาว เขมร มอญ พม่า ไปเรื่อยๆจนถึงฝรั่งเป็นชาติ สุดท้าย ใช้เวลาราว ๑ ชั่วโมง นิยมเล่นในงานต่างๆ เพื่อให้มีความสนุกสนานเร้าใจ บางครั้งจะมีจำ�อวดหรือ ตลกออกมาแสดงท่าทางตามชนชาติต่างๆด้วย การเล่น นี้เรียกว่าสิบสองภาษาแต่ไม่จำ�เป็นต้องออกภาษา ๑๒ สำ�เนียง จะบรรเลงมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ เพราะ เลข ๑๒ เป็นจำ�นวนศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคน โบราณ เช่นใช้ว่าพระเจ้าแผ่นดินมี ๑๒ ท้องพระคลัง พ่อค้าวานิชจาก ๑๒ ชาติภาษา โดยไม่ได้สื่อถึงการใช้ เป็นจำ�นวนนับ ตัวอย่างเพลง ๑๒ ภาษา เช่น เพลง จีนขิมเล็ก เพลงเขมรพายเรือ เพลงมอญรำ�ดาบ เพลง มอญรำ�ดาบ เพลงพม่ารำ�ขวาน เพลงแขกยิงนก เพลง ฝั่งรำ�เท้า เป็นต้น

48

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา

ตัวอย่างเพลงสิบสองภาษา

เพลงสิบสองภาษามักเริ่มด้วยเพลงภิรมย์สุรางค์ สามชั้นก่อน แล้วจึงออกเพลงภาษา 1. ภาษาไทย : เพลงกราวนอก กราวกลาง กราวแขกเงาะ 2. ภาษาจีน : เพลงจีนขิมเล็ก จีนฮ่อแห่ จีนไจ้ยอ 3. ภาษาเขมร : เขมรพระประทุม เขมรเหลือง เขมรเร็ว ตะลุงบ้องตัน 4. ภาษาลาว : ลาวเดินดง ลาวเฉียง 5. ภาษาแขก : แขกยิงนก สร้อยลพบุรี 6. ภาษาชวา : บูเซ็นด๊อก กะหรัดรายา 7. ภาษามอญ : พญาลำ�พอง มอญท่าอิฐ 8. ภาษาพม่า : พม่าบ้าบ่น พม่ารำ�ขวาน พม่าทุงเล 9. ภาษาญวน : ญวนหวังเด่ ญวนทอดแห 10. ภาษาฝรั่ง : ฝรั่งเดินทัพ (มาร์ชชิ่งทรูจอร์เจีย) ฝรั่งยีเฮ็ม ปิดท้ายด้วยเพลงแขกบรเทศสองชั้น


ปัจจุบันมีครูดนตรีไทย ๓ คน 1. ครูนุชรีย์พร วิชาเดช 2. ครูสันติ วิชาเดช 3. ครูสทิ ธิกานต์ นาคเงิน

รายชื่อครูและนักเรียน

ประวัติวงรำ�เพยภิรมย์ศิลป์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่เกล้า เป็นโรงเรียนในเครือโรงเรียนเทพศิรินทร์ ใช้ชื่อว่า โรงเรียน เทพศิรินทร์อนุสรณ์ เปิดทำ�การสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดบำ�รุงรื่น เป็นที่เรียน ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๔ สร้างโรงเรียนเสร็จ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียน เทพศิรินทร์ร่มเกล้า โดยถือเอาวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๒ เป็น วันสถาปนาโรงเรียน วงดนตรีไทยรำ�เพยภิรมย์ศิลป์ ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยเป็นวงเครื่องสาย จากนั้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงเริ่มมีวงปีพาทย์ วงเครื่องสาย และประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้บริหารโรงเรียนเล็งเห็นความสำ�คัญของดนตรีไทย จึงเริ่มสร้างเครื่องดนตรี และวงดนตรี จนปัจจุบันมีเครื่องดนตรี และวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ไม้แข็งและวงปี่พาทย์มอญ และ รับแสดงงานต่าง ๆ ของทางราชการและเอกชน

วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า 1. นายณัฐดนัย วิชาเดช นักดนตรีไทย 2. นางสาวสุรีย์รัตน์ ใกล้พุดชา นักดนตรีไทย 3. เด็กหญิงนภาพร กิโดย นักดนตรีไทย 4. นางสาวเบญญา ชูศรี นักดนตรีไทย 5. นางสาวกมลชนก ทองสวาสดิ์ นักดนตรีไทย 6. นางสาวปิยธิดา สารพัด นักดนตรีไทย 7. นางสาวฐิตาภรณ์ กลิ่นหอม นักดนตรีไทย 8. เด็กหญิงมณฑกานต์ สมการ นักดนตรีไทย 9. เด็กหญิงณัฐริกา สร้อยทอง นักดนตรีไทย 10. เด็กชายคณาธิป ฤทธิ์งาม นักดนตรีไทย 11. นายสหรัฐ รโหฐาน นักดนตรีไทย 12. เด็กหญิงมณฑิราพร วิชาเฟื่อง นักดนตรีไทย 13. เด็กหญิงเพ็ญพิชญา วิชาเดช นักดนตรีไทย 14. นางสาวอรพรรณ แสงอินทร์ นักดนตรีไทย 15. นายสิทธิกานต์ นาคเงิน ครูผู้ควบคุม 16. นายสันติ วิชาเดช ครูผู้ควบคุม 17. นางนุชรีย์พร วิชาเดช ครูผู้ควบคุม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

49


รายนามนักดนตรีไทย

ประวัติโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของจังหวัดนนทบุรี ก่อตั้ง โดย “เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์)” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ วงดนตรีไทยโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ริเริ่มก่อตั้งโดย “ครูประสาน กังวล” โดยเป็น วงอังกะลุงและจ้างครูมาสอนพิเศษอีกหลายท่าน แต่ไม่เป็นวง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้จ้าง “ครูนิยม สุขสกิจ” มาเป็นครูอัตราจ้าง ได้นำ�เครื่องดนตรี จากที่บ้านมาฝึกหัดให้กับนักเรียนจนเป็นวง ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนมาซื้อ เครื่องดนตรีไทย พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รายนามผู้ควบคุมฝึกซ้อม 1. ครูนิยม สุขสกิจ 2. ครูทิพวรรณ สุขสกิจ

50

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา

1. นายวิฑูรย์ คงพึ่ง 2. นายณัฐวัตร สุขฤษกิจ 3. นายธนะชัย ศรีจันทร์ 4. นายผดุงพงษ์ แย้มนาค 5. นายพุทธิชัย สุทธิไวยกิจ 6. นายศุภกิจ เกิดเรือง 7. นายธนพงษ์ จารุพงศ์สุนทร 8. นายณัฐวุฒิ กิมกง 9. นายวัชรพล มีสินลา 10. ด.ช.ยุทธภูมิ ยังน้อย 11. ด.ช.วรรษวรรษ บัวพุ่มอนันต์ 12. ด.ช.ชัชวาล ทดแทน 13. ด.ญ.เบญจพร ทับทิม 14. ด.ญ.ธารารัตน์ บวบจิตร์


ประวัติวงดนตรีไทย โรงเรียน เบญจมราชานุสรณ์ ชื่อวง “วงช่อเฟื่องฟ้า” เริ่มก่อตั้งวงตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๓๖ โดย ท่านผู้อำ�นวยการธานี สมบูรณ์บูรณะ ให้การสนับสนุนอย่างเต็ม ที่ ซึ่งรูปแบบของวง จะยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร และต่อมาได้ พัฒนาวงมาเรื่องๆ จนถึงสมัยท่านผู้อำ�นวยการสุวรรณ เค้าฝายใน ปีพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่อีกท่านหนึ่ง จึงได้รูปแบบ ของวงที่เป็นมาตรฐาน และได้เริ่มส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ในการ ประกวดดนตรีไทยต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในรูปแบบของวง เครื่องสาย วงมโหรี และวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ตามโอกาสที่เหมาะสม รางวัลที่เคยได้รับในระดับภาคและในระดับประเทศ 1. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทประชาชน ทั่วไป ในระดับประเทศ ปีพ.ศ. ๒๕๔๗ จัดโดยมหาวิทยาลัย รามคำ�แหง 2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในระดับภาคกลาง ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ 3. วงปี่พาทย์ไม้นวมผสมเครื่องสาย ชิงถ้วยพระราชทาน ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดันที่ ๒ ในระดับประเทศ จัดโดยมหาวิทยาลัย รังสิต ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ 4. วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว เป็นตัวแทนภาคกลาง และภาค ตะวันออก ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในระดับประเทศ ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ณ เมืองทองธานี 5. วงปีพ่ าทย์ไม้นวมผสมเครือ่ งสายเครือ่ งเดีย่ ว เป็นตัวแทนภาค กลางและภาคตะวันออก ได้รับรางวัลเหรียญทองในระดับประเทศ ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ งานศิลปะหัตถกรรมนักเรียน ณ เมืองทองธานี

รายชื่อนักดนตรีไทย

โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ จังหวัดนนทบุรี “วงปี่พาทย์ไม้แข็ง” บรรเลงเพลงภาษา งานมนุษย์วิชาการ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 1. นายชัยวัฒน์ ทองสะอาด 2. นายอธิวัฒน์ มีอ่อน 3. นายณัฐดนัย จันทร์ใบเล็ก 4. นายกรเอก จิตร์กระบุญ 5. นางสาวนจินันท์ พิมพิ์ทอง 6. นางสาวอิ่มอัมพร ปัจฉิมนันท์ 7. นางสาวนภาพร กลัดนาคะ 8. นางสาวภัทริน บุญรอด 9. นางสาวนภาสิริ สินพูลผล 10. เด็กชายสุพัฒน์ มุกดาหาร 11. เด็กชายเสษฐวุฒิ หลิ่มสาโรช 12. เด็กหญิงพรชิตา เหล่านุกูล 13. เด็กชายภาสกร ปัจฉิมนันท์ ครูผู้ควบคุมวง 1. นายสุเมธ ฤกษ์สมโภชน์ 2. นายศุภวิชญ์ คราประยูร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

51


52

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

53


54

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


รายละเอียดงานต่างๆ ของ

ดนตรีสากล

จันทร์ที่ 10 ก.พ. เวลา 18.00น. พบกับการแสดง ดนตรี-แสง-สี-เสียง ในคอนเสิร์ตเสนอผลงานของนักศึกษาร่วมกับศิลปิน “คิดบวกสิปป์” จากเวที ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ 2012 Thailand’s Got Talent ณ ลานกรีฑาของสนามฟุตบอลฝั่งทิศใต้

พฤหัสบดี ที่ 13 ก.พ. ชมการแสดงร่วมในระหว่าง สาขา ศิลปกรรม - นาฎศิลป์ - ดนตรีไทย และดนตรีสากล

พุธที่ 12 ก.พ. เวลา 18.30 น. ชมคอนเสิร์ต

“ดวงดาวในดวงจันทร์” เป็นการรวมตัวกันของ นักร้องที่สร้างชื่อเสียงให้กับจันทรเกษมจากเวที ประกวดระดับประเทศ 4 คนคือ นก KPN - จอย AF8 - คิง The Voice และแตงโม The Voice ณ สนามกีฬาในร่ม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

55


“นก KPN” แชมป์ “เคพีเอ็น อวอร์ด 2009”

นก KPN หรือ นางสาวพริมาภา กรโรจนชวิน ตำ�แหน่ง “นักร้องชนะเลิศแห่ง ประเทศไทย ประจำ�ปี 2552” ครองถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากเวที “KPN Award Thailand Singing Contest 2009”

56

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


“จอย AF”

จีราพัชร จงกลสงเคราะห์ (ชื่อเล่น จอย) เป็นนักร้องชาวไทย จากรายการเรียลลิตี้โชว์ ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ฤดูกาลที่ 8 ซึ่งจัดโดย ทรูวิชั่นส์ มีรหัสประจำ�ตัวคือ V24 มาจากตัวแทนสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีผลงานเพลง คนรักปากร้าย (Single จากอัลบั้ม AF8 ร้ายกาจ ดิอัลบั้ม)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

57


“คิง The Voice”

พิเชษฐ์ บัวขำ� (คิง) ผู้เข้าแข่งขันและตัวแทนทีมแสตมป์ เข้าแข่งขันในรอบสุดท้าย ของรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1 (พ.ศ. 2555) ปัจจุบันเซ็นสัญญาเป็นนักร้องในสังกัด ยูนิเวอร์แซลมิวสิกไทยแลนด์ ตั้งแต่ปี 2555

58

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


“แตงโม The Voice”

แตงโม วัลย์ลิกา เกศวพิทักษ์ สาวมั่นจากเวที The Voice Thailand Season 2

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

59


60

อนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมศิลปะและวั​ัฒนธรรมไทย

ศิลปนาฏยคีตา


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.