Prachid - Creative Research Proposal

Page 1

1

Creative Research Proposal การออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู The design and development of typeface and font computer program : CRU fonts family

by Assistant Professor Prachid Tinnabutr ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร

2012 -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


2

แบบ สค-1 แบบเสนอโครงการวิจยั (Research Project) ประกอบการเสนอของบประมาณรายได้ประจําปีงบประมาณประจําปี 2555 ชื่อโครงการวิจัย (ชื่อภาษาไทย) การออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู (ชื่อภาษาอังกฤษ) The design and development of typeface and font computer program : CRU fonts family. ส่วน ก : ลักษณะโครงการวิจัย  โครงการวิจัยใหม่ I ระบุความสอดคล้องของแผนยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 ยุทธศาสตร์ ที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดู รายละเอียดในผนวก) - ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3. การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน - กลยุทธ์การวิจัยที่ 3.8 การวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ทั้งด้านเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและนําไปสู่การจดสิทธิบัตร สถานภาพผู้วิจัย  อาจารย์  เจ้าหน้าที่ นักศึกษา จุดมุ่งหมาย สร้างองค์ความรู้ เพื่อนําไปแก้ปัญหา การกําหนดนโยบาย  เพื่อการพัฒนาประดิษฐ์และจดสิทธิบัตร ส่วน ข : องค์ประกอบในการจัดทําโครงการวิจัย 1. คณะผู้วิจัย 1.1 ที่ปรึกษา 1. รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มจษ. 2. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มจษ. 3. รองผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มจษ. 4. อาจารย์ปริญญา โรจน์อารยานนท์ บจก.ดีบีดีไซน์ 5. คุณประทีป กาสลัก สํานักพิมพ์บ้านแปลน 6. คุณสมฤทธิ์ พรพินิจสุวรรณ บจก.ซิงเกิลมายใจเดียว 1.2 หัวหน้าโครงการวิจัย 1. นายประชิด ทิณบุตร 1.3 ผู้ร่วมโครงการวิจัย 1.4 เจ้าหน้าที่ประจําโครงการวิจัย 2. ประเภทการวิจัย วิจัยในชั้นเรียน วิจัยสถาบัน -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


3

 วิจัยประดิษฐ์ วิจัยเชิงพื้นที่ วิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ใหม่ วิจัยนักศึกษา 3. คําสําคัญของเรื่องที่ทําการวิจัย การออกแบบตัวพิมพ์(Typeface design) ,โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์(Font Computer Program),แบบตัวอักษรตระกูลซีอาร์ยู (CRU Fonts family) 4. ความสําคัญและที่มาของปัญหาที่ทําการวิจัย ตัวอักษร(Letters)คือสิ่งที่มนุษย์เราใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ทางการมองเห็น เพื่อให้เกิดการรับรู้และ การแปลความหมายให้เกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างเป็นระบบ(Visual communication Sign and symbol system) ดังที่ ประชิด ทิณบุตร (2530 : 29) ได้กล่าวถึงความหมายของตัวอักษร ไว้ในหนังสือชื่อ การ ออกแบบกราฟฟิค เอาไว้ว่า “ตัวอักษร ตัวหนังสือหรือตัวพิมพ์ คือเครื่องหมายที่ใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดและ ความรู้ของมนุษย์ สามารถช่วยเผยแพร่ความรู้สึกนึกคิดและความรู้ดังกล่าวไปยังผู้อื่นได้ไกลๆ อีกทั้งยังคง รักษาความคิดและความรู้นั้นๆ ให้อยู่ได้นานถึงคนรุ่นหลัง”ตัวอักษร อักขระทางภาษา ข้อความข่าวสารและ สัญลักษณ์ต่างๆ จึงได้ถูกคิดค้นออกแบบและจัดกระทําขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อทําหน้าที่โดยพื้นฐานคือ การให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่ถูกกําหนดขึ้นให้สื่อสารร่วมกัน อีกทั้งยังมีผลก่อให้เกิดคุณค่า ความงามทางศิลปะและสุนทรียภาพทางจิตใจให้แก่มวลมนุษย์อีกด้วย ดังนั้นตัวอักษรจึงถูกคิดค้นและ พัฒนาขึ้นมาเป็น รูปลักษณ์อักขระต่างๆอย่างหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสื่อ ตามบริบทของการสื่อสาร ตามวิวัฒนาการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองการสังคมของมนุษย์ ดังมีหลักฐานปรากฏ นับตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์เป็นต้นมา โดยตัวอักษรได้ถูกนํามาใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร ปรากฏ เป็นองค์ประกอบร่วมในสื่อการบันทึกทุกชนิด(Eliement and medium of records) ทั้งที่เป็นสื่อแสดงแทน องค์ประกอบด้านวัจนสัญลักษณ์และอวัจนสัญลักษณ์ (Verbal and non verbal language) กระทั่งทําให้เกิด วิวัฒนาการร่วมกันระหว่างศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และศาสตร์ทางด้านศิลปกรรม(Art and Science) เฉพาะทางขึ้นมาโดยตรงนั่นก็คือ ศาสตร์แห่งการพิมพ์(Typhography)นั่นเอง ตัวอักษรจึงถูกนํามาใช้เป็น ส่วนประกอบหลักสําคัญของงานออกแบบกราฟิก และมักใช้เป็นหลักใหญ่ในการสื่อความหมาย ทั้งแบบ โดยตรงคือเพื่อการใช้อ่านเขียนประกอบตามหลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และใช้โดยอ้อมก็คือใช้เป็นคําย่อ ใช้แทนภาพ ใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์แทนความหมายเฉพาะหรืออย่างหรือแทนความคิดแบบนามธรรมที่อาจจะ มีความหมายหลากหลายเป็นปรนัยด้วยในตัว ปัจจุบันการใช้งานตัวอักษรนั้น มีความสัมพันธ์กับระบบสื่อสาร และระบบสารสนเทศมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังจะเห็นว่ามีการออกแบบและผลิตแบบตัวอักษรเข้ามาใช้ร่วม เป็นภาษาหลักในระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทราบกันดีทั่วไปว่าคือ ตัวอักขระภายในระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System Font) เป็นส่วนควบที่จําเป็นต้องมี ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์คือเครื่องมือผลิต ข่าวสารด้วยการพิมพ์อักขระเข้าสั่งการหรือการประมวลผลร่วมกับหน่วยประมวลผล ให้สามารถจัดเก็บ แสดงผลและค้นคืนได้นั่นเอง ตัวอักษรที่ติดตั้งในระบบคอมพิวเตอร์จึงได้รับความสําคัญด้วยการที่ต้องมีการ ออกแบบไว้ใช้งานและเพื่อสนองความต้องการด้านการนําไปใช้งานสื่อความหมายที่หลากหลายรูปแบบมาก ขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีผลงานออกแบบชุดตัวอักษรคอมพิวเตอร์ตระกูลต่างๆของนักออกแบบอิสระ และผู้ผลิต แบบตัวอักษรในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นมาพร้อมกับมีการกําหนดลิขสิทธิ์ของการสร้างสรรค์ขึ้นมาแทนตัวหล่อ ตัว เรียงพิมพ์ด้วยมือหรือเรียงพิมพ์ด้วยแสงตามแบบเดิมตามมามากมาย ให้ ใช้ตามสมรรถนะของหน่วย ประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์และประสิทธิภาพของโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่กําลังพัฒนา อยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน แบบตัวอักษรต่างๆจึงได้รับความสําคัญแบบคู่ขนานจนกลายเป็นโปรแกรม คอมพิวเตอร์ หรือเป็นส่วนควบของระบบปฏิบัติการหลัก(Operation System or OS program)ที่รู้จักกันดี -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


4

เป็นสากลในนามของฟ้อนต์(Fonts)ที่ปรากฏเห็นและจัดเก็บแสดงอยู่ในไดเร็กทอรี่ของระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ด้วยนั่นเอง จากความสําคัญของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์และลิขสิทธิ์แห่งการสร้างสรรค์ดังกล่าว กระทั่ง ทําให้เกิดข้อขัดแย้งทางสังคมในประเทศและระดับสากล นั่นคือความไม่ชัดเจนทางด้านกฏหมายการถือครอง ลิขสิทธิ์ของฟ้อนต์ที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และด้านมาตรฐานการออกแบบ ตัวพิมพ์ของไทย หรือที่เรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์เพื่อการติดตั้งใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการ ต่างๆขึ้น ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้ร่วมกับสํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดโครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ขึ้น เพื่อเป็นการ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างงาน สร้างทักษะ และสร้างตลาดทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและ ผู้บริโภคที่สามารถเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟอนต์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบโครงการฟอนต์มาตรฐานราชการไทย โดยกําหนดให้ฟอนต์ ของสํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา จํานวน 13 ฟอนต์ โดยมติดังกล่าวได้เป็นผลในทางปฏิบัติในการนําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ชื่อ TH Sarabun ไปใช้กับงานพิมพ์เอกสารมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย และให้ดําเนินการใช้งานก่อน วันที่ 5 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป โดยในการนําไปใช้นั้นได้มีการกําหนดเงื่อนไขไว้เป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้ (Font computer license agreement)แบบฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย(กรมทรัพย์สินทางปัญญา,2553:ออนไลน์) โดยที่ปัจจุบันนี้(2554)แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชุดดังกล่าว ก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและขยายใหม่เพิ่มเติม ตามวาระของการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเวอร์ชั่นใหม่โดยใช้ชื่อ TH SarabunNew โดยการนําเสนอ และเผยแพร่ไว้ให้ดาวน์โหลดได้ทางระบบอินเตอร์เน็ต ที่สามารถเข้าใช้เข้าถึงได้ตลอดเวลา สามารถตอบ โจทย์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการจนกระทั่งได้รับการขนานนามว่าเป็น ฟ้อนต์แห่งชาติ ตราบทุก วันนี้ สืบเนื่องจากการวิจัยเรื่อง การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐานสําหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร เกษม ที่ผู้วิจัยได้รับการสนับสนุนการทําวิจัยจากงบประมาณรายได้ ประจําปี 2552 สําเร็จและนําเสนอผลวิจัย เสร็จสิ้นไปแล้วนั้น ทําให้เกิดมีผลงานอันเกิดจากการวิจัยสร้างสรรค์ผลงาน เป็นแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชุด ซีอาร์ยู เริ่มต้นจํานวน 3 แบบ อันได้แก่แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชื่อ CRU-Chandrakasem,CRU-Rajabhat และ CRU-LanChand โดยที่แบบตัวอักษรชื่อ CRU-Chandrakasem ได้มีการนําไปใช้ประโยชน์โดยตรง โดย ถูกใช้เป็นองค์ประกอบทางกราฟิกหลัก(Main Graphical Element)ในแบบตราสัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัย (University Seal) ที่ทําหน้าที่สื่อสารทางภาษาเพื่อการอ่านและการออกเสียงเป็นชื่อเฉพาะของมหาวิทยาลัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Verbal Language) อีกทั้งยังสื่อแสดงให้เห็นถึงความมีบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะ ร่วมกับแบบกราฟิกตราพระราชลัญจกร ของรัชกาลที่ 9 อันเป็นต้นแบบกราฟิกตราสัญลักษณ์ มาตรฐานใหม่เฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อันเป็นผลงานวิจัยเฉพาะสถาบัน และยังจะมีผล สืบเนื่องต่อการนําเสนอให้ใช้เป็นต้นแบบกราฟิกตรามาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 39 แห่งทั่ว ประเทศ ต่อที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏในลําดับต่อไป ซึ่งผลงานออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ตระกูลซีอาร์ยู(CRU)นี้ จึงนับว่าเป็นรุ่นแรก ของการทดลองใช้งานผลงานออกแบบตัวอักษร CRUChandrakasem,CRU-Rajabhat CRU-LanChand จัดเป็นแบบตัวอักษรรูปแบบประเภทตัวตกแต่ง(Display Typeface) โดยแต่ละแบบนั้นยังมีเพียงนํ้าหนักเดียว ผู้วิจัยเห็นว่าสมควรที่จะต้องมีการปรับปรุงแบบอักษร ต่อยอดทําการวิจัยออกแบบสร้างสรรค์เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ต้นแบบผลงานการออกแบบตัวอักษรหลากหลายให้ ครบชุดนํ้าหนัก และดําเนินการออกแบบมาตรฐานให้ครบถ้วนกระบวนการ ให้ถูกต้องตามหลักการแห่ง ศาสตร์ทางศิลปกรรมและความเกี่ยวข้องในภาระงานอันเป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ร่วม สมัย สามารถรองรับสนับสนุนให้มีการยอมรับอย่างเป็นมาตรฐาน เพื่อการนําไปจดลิขสิทธิ์ประเภทงาน -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


5

วรรณกรรม อันจะเกิดประโยชน์แก่การนําไปใช้เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ เอกลักษณ์และการสร้างภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ตลอดทั้งมีการนําไปใช้ประโยชน์ในทางการพิมพ์ ด้านการสื่อสารและสนับสนุนการ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้แก่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืนในลําดับต่อไป 5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5.1 เพื่อออกแบบพัฒนาแบบชุดตัวอักษรและตัวพิมพ์(Typefaces Design) ภายใต้ระบบอัต ลักษณ์แบบตัวอักษรทางการพิมพ์ชุดตระกูลซีอาร์ยู(CRU-Fonts family) ให้มีแม่แบบ(Template)นํ้าหนักและ รูปแบบหลากหลาย(Styles and weights) ให้เหมาะสมตามระบบมาตรฐานการพิมพ์ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ สามารถรองรับการปรับแก้และการสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดได้สืบเนื่อง 5.2 เพื่อจัดทําไฟล์รูปแบบและนํ้าหนัก(Styles and weights)โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู ที่เป็นไฟล์มาตรฐานกลางที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถใช้ติดตั้ง(Install)ร่วมใช้งาน ในโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบพาณิชย์(Commercial operating systems)และโปรแกรม ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบ open source operating systems 6. ขอบเขตของโครงการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนา สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบ ตัวอักษร (Letters) ตามหลักการและกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์และการพัฒนาทางศิลปกรรม(Art and design creation and development process )และตามกระบวนการพัฒนาโปรแกรมระบบ(Systems Development Life Cycle) ตามขอบเขตดังนี้คือ 6.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่กลุ่มผู้ที่มีความรู้ด้านการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์และ สามารถใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ได้โดยตรง อันได้แก่ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นัก ออกแบบ นักศึกษาที่เรียนทางด้านการออกแบบทางการพิมพ์ 6.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นกลุ่มผู้ที่มีความรู้และสามารถใช้งานโปรแกรม คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ได้โดยตรง อันได้แก่ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักออกแบบ นักศึกษาที่เรียน ทางด้านการออกแบบทางการพิมพ์ สุ่มแบบเจาะจงเลือก รวมจํานวน 12 คน 6.3 ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ตัวแปรต้น รูปแบบ(Style)บุคลิกลักษณะ(Character)ของชุดอักษรตระกูลซีอาร์ยู ตัวแปรตาม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ของชุดอักษรตระกูลซีอาร์ยู มีความหลากหลาย ทางรูปแบบ(Style)และบุคลิกลักษณะ(Character)สามารถติดตั้งและใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการและ โปรแกรมประยุกต์เพื่อการผลิตสื่อหรือเอกสารได้ตามระบบการพิมพ์มาตรฐานสากล 7. นิยามศัพท์เฉพาะ การออกแบบตัวพิมพ์(Typeface design) หมายถึงการออกแบบรูปลักษณ์และบุคคลิกเฉพาะของ แบบตัวอักษรแต่ละตัว แต่ละชุด อันประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆที่จําเป็นใช้ในระบบการพิมพ์ ให้มีนํ้าหนักและรูปแบบ(Weights and Styples)อย่างน้อย 4 รูปแบบต่อหนึ่งชุด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์(Font Computer Program) หมายถึงชุดแบบอักษรที่ใช้ใน คอมพิวเตอร์เพื่อการแสดงผล และสามารถพิมพ์ออกมาได้ทางเครื่องพิมพ์ มีการกําหนดรายละเอียดของ ความห่างระหว่างตัวอักษร ความห่างของช่องไฟเมื่อจัดเป็นคําหรือรูปประโยค และความห่างระหว่างบรรทัด (Kerning, Leading Spacing Ligatures) แบบตัวอักษรตระกูลซีอาร์ยู (CRU Fonts family)หมายถึงชื่อชุดแบบตัวอักษรใดๆที่เป็นผลงาน ออกแบบให้ใช้ร่วมเป็นสื่อแสดงเอกลักษณ์มาตรฐานโดยมีลิขสิทธิ์ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร เกษมและนักออกแบบ โดยใช้อักษรย่อภาษาอังกฤษจากชื่อของมหาวิทยาลัย CRU เป็นอักษรกํากับนําหน้า ชื่อแบบตัวอักษรที่สร้างสรรค์เป็นข้อตกลงร่วมกันและเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตให้ใช้งานที่กําหนดขึ้น -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


6

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและหน่วยงานที่นําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 8.1ได้ผลงานสร้างสรรค์แบบตัวอักษร(Letters)และตัวพิมพ์(Typeface design) ภายใต้ระบบอัต ลักษณ์แบบตัวอักษรทางการพิมพ์ชุดตระกูลซีอาร์ยู(CRU-Fonts family) โดยมีแม่แบบ(Template)นํ้าหนัก และรูปแบบหลากหลาย(Styles and weights) ที่เหมาะสมตามระบบมาตรฐานการออกแบบตัวพิมพ์ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถปรับแก้และการสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดได้สืบเนื่องเป็นวาระ อันจะเป็น ประโยชน์โดยตรงต่อการใช้งานสร้างสรรค์ สร้างงาน สร้างทักษะ และสร้างโอกาสทางการตลาด ด้านผลิตสื่อ และเอกสารจากระบบงานคอมพิวเตอร์ ได้ทั้งส่วนบุคลคล องค์กรทางการศึกษาและวงการวิชาชีพด้านการ ออกแบบสื่อสารสืบไป 8.2 ได้ไฟล์ชุดรูปแบบและนํ้าหนัก(Styles and weights)ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู ที่เป็นไฟล์มาตรฐานสากล สามารถถือครองลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือเงื่อนไข สัญญาอนุญาตที่กําหนดใช้ให้ประโยชน์ ได้เป็นแบบสาธารณะหรือเชิงพาณิชย์ เช่นให้สามารถใช้ติดตั้ง (Install)ร่วมใช้งานในโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบพาณิชย์(Commercial operating systems) โปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบ open source operating systems โปรแกรมประยุกต์ด้านกราฟิก โปรแกรมสํานักงานในระบบ ตลอดทั้งยังครอบคลุมถึงการนําไปผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าใดๆโดยตรง และ ปรากฏใช้ร่วมในระบบสื่อสารทุกประเภท อันสอดคล้องตามแนวนโยบายแห่งรัฐว่าด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)ได้ทั้งโดยตรงและโดยทางอ้อม 8.3ได้ แ หล่ ง เรี ย นรู ้ แหล่ ง ทดสอบ เผยแพร่ แ ละประชาสั ม พั น ธ์ ก ารออกแบบโปรแกรม คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ที่สามารถสื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและภารกิจขององค์กรและ ผู้ร่วมงานในฐานะผู้ผลิต ผู้ร่วมพัฒนา ผู้เผยแพร่และให้บริการนวัตกรรมด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์แก่ สังคมได้ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ อันเป็นการส่งเสริมภารกิจของสถานศึกษาด้านการบริการ วิชาการแก่สังคมและการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน 9. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ความหมายภาษาไทยของคําว่า Typography นั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์คําไทย โดย ราชบัณฑิตยสถานเอาไว้โดยตรง (2554) ส่วนใหญ่มักแปลและใช้คําว่า การพิมพ์ ดังเช่นเป็นคําที่แปลไว้ใน พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-อังกฤษ Lexitron ของ Nectec เป็นต้น Jenifer Kyrnin ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ Typograpy เอาไว้ว่า หมายถึงการออกแบบและการใช้ งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมานับแต่ที่กูเตนเบิร์กได้เริ่มใช้ในงานการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์ เพรสมาก่อน แต่งานไทโพกราฟี่นั้น มีรากฐานการพัฒนามาจากงานเขียนตัวอักษรแบบคัดลายมือเป็นรูป อักขระ ดังนั้นขอบข่ายของงานและความหมายจึงมีความครอบคลุมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่าง นับแต่การเขียนรูป อักขระด้วยมือหรือการออกแบบตัวอักษร ไปจนถึงงานการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัลในหน้าเว็บไซต์อีกด้วย อีก ทั้งยังครอบคลุมไปถึงภาระงานของนักออกแบบที่เป็นผู้ออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษร การจัดตัวอักษรทุก รูปแบบทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในงานที่ออกแบบด้วยนั่นเอง Typography จึงเป็นการจัดวางแบบตัวพิมพ์ (Typefaces)ให้เหมาะสมกับพื้นที่และองค์ประกอบทางการพิมพ์ที่ใช้ในงานออกแบบทั้งหมดนั่นเอง(ประชิด ทิณบุตร,2011:ออนไลน์) ดังนั้น Typography ในความหมายที่สรุปไดในที่นี้ก็คือศาสตรแหงการออกแบบและการจัดตัวอักษรเพื่อ การสื่อสารทางการพิมพ์ อันหมายถึงการออกแบบตัวอักษร(Typefaces)และการจัดวางชุดแบบตัวพิมพ์ (Fonts)ให้เหมาะสมสวยงามกับพื้นที่ว่างและองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบสื่อสารตามระบบการ พิมพ์และการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ทุกชนิดตัวอักษร ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์จึงจัดว่าเป็นส่วนประกอบมูลฐาน สําคัญอันดับแรกของการนําไปใช้ในการจัดออกแบบสื่อสารทางการพิมพ์ ด้วยการนํามาใช้ในการจัดวางเป็น -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


7

องค์ประกอบร่วม(Layout Design)หรือเพื่อการตกแต่งข่าวสาร อันเป็นภาระงานหน้าที่ของนักออกแบบด้าน การผลิตสื่อและสิ่งพิมพ์ เพือ่ ให้เกิดการรับรู้ด้วยการอ่านและการตีความตามประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการที่นักออกแบบจะประสบผลสําเร็จได้ดใี นการออกแบบจัดรูปแบบเอกสารใดๆนั้น ก็จําเป็นต้องมีการ เรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษร เช่น ขนาดตัวอักษร (Type Size) บุคลิกลักษณะ(Character) ส่วนประกอบร่วมทาง เทคนิค ตลอดจนกรรมวิธีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดและการผลิตตัวอักษร ซึ่งโดยทั่วๆไปในการผลิตสื่อ ทางการพิมพ์นนั้ มีการนําตัวอักษรมาใช้เพื่อการออกแบบหลักหรือร่วมประกอบในเอกสาร โดยสามารถสรุป ตามสภาพการใช้งานเป็นภาพรวมแห่งความเข้าใจพื้นฐานไว้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้คือ 1. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดสายตา มีลักษณะตัวอักษรแบบ Displayface เพื่อการตกแต่งหรือการ เน้นข้อความข่าวสาร ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาด รูปร่างและรูปแบบ ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่มีความเด่นเป็นพิเศษ เช่น การพาดหัวเรื่อง(Heading) คําประกาศ คําเตือน เป็นต้น 2. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา คือการใช้ตัวอักษรเป็น Bookface หรือเป็น ตัวพิมพ์เนื้อหา ที่มีขนาดเล็กในลักษณะของการเรียงพิมพ์ข้อความ(Typesetting) เพื่อการบรรยายอธิบายส่วน ประกอบปลีกย่อยของข่าวสารและเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเผยแพร่ ดังนั้นการที่จะนําตัวอักษรหรือตัวพิมพ์มาใช้ในการออกแบบเพื่อการสื่อสารรูปแบบใดๆได้ดีนั้น ผู้ออกแบบ ควรที่จะต้องมีการศึกษาเรียนรู้ถึงส่วนประกอบของตัวอักษรในภาษาต่างๆตามระบบมาตรฐาน ร่วมกันที่ถูกกําหนดไว้เป็นหลักสากล ในประเด็นที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ คือ 1. รูปแบบตัวอักษร ( Type Style ) 2. บุคคลิกลักษณะของตัวอักษร ( Type Character ) 3. ขนาดของตัวอักษร ( Type Size ) 1. ตัวอักษรภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมัน ตัวอักษรภาษาอังกฤษหรือโรมันเป็นสื่อแทนภาษาพูดที่จัดว่าเป็นภาษาสากล(International Language) ซึ่งมีลักษณะการเรียงตัวอักษรเป็นคําในแนวระดับเดียวกันตลอด จากซ้ายไปขวา การอ่านก็อ่าน เรียงคําจากซ้ายไปขวาเช่นกัน ไม่มีสระหรือวรรณยุกต์ประกอบข้างบน-ล่างเหมือนภาษาไทย ในชุดตัวอักษร หนึ่งๆต้องประกอบด้วย ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letter or Uppercase) และตัวพิมพ์เล็ก (Lowercase) เพื่อใช้ผสมเป็นคํารูปประโยค ตามหลักไวยากรณ์ของภาษา วิวัฒนาการของการออกแบบตัวอักษร ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในงานระบบการพิมพ์นั้น เริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เมื่อ Gutenberg ช่างพิมพ์ชาว เยอรมันได้ประดิษฐ์ตัวอักษรโกธิค (Gothic Lettering Style) ขึ้นกับงานพิมพ์หนังสือเป็นครั้งแรก และเป็นผล ต่อเนื่องให้เกิดการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ขึ้นอีกมากมาย ทั้งในลักษณะของการออกแบบขึ้นมาใหม่ หรือทั้งลักษณะของการปรับปรุงแบบเดิม ดังพอที่จะประมวลสรุปเป็นรูปแบบตัวอักษรในภาษาอังกฤษได้ดังนี้ (Solomon,Matin (1994:64-77) 1.1 แบบตัวอักษรในภาษาอังกฤษ (English or Roman Type Style) 1.1.1 แบบ Traditional Old Style เป็นตัวพิมพ์ที่ได้มาจากการเขียน การคัดลายมือ (Handwriting) ด้วยปากกาขนนกหรือปากกาแบนซึ่งจะได้ลายเส้นของตัวอักษรที่มีความหนาบางไม่แตกต่าง กันนัก และมักมีเส้นยื่นของฐานขา ปลายหัว ปลายหางตัวอักษร ที่เรียกว่า “Serif” ค่อนข้างมน เช่น ตัวอักษรแบบ Garamont,Caslon ที่ออกแบบขึ้นในราวต้นศตวรรษที่ 18 เป็นต้น 1.1.2 แบบ Transitional หรือแบบดัดแปลงที่พัฒนามาจาก Old Style ในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 18 โดยให้มีส่วนความหนา-บางของตัวอักษรแตกต่างกัน เส้นเล็กและคมขึ้นทั้งส่วนโค้งและ Serif การออกแบบตัวอักษรมิได้อาศัยการเลียนแบบจากการเขียนแต่อย่างเดียว แต่ได้อาศัยเครื่องมือทางการเขียน แบบ เช่น วงเวียนเข้าช่วย รูปแบบตัวอักษรนี้ได้แก่ แบบ Baskerville 1.1.3 แบบ Modern เป็นตัวอักษรสมัยใหม่ที่เริ่มขึ้นในราวศตวรรษที่ 18 โดยยึดถือแบบ Modern แบบแรกได้แก่ Bodoni ที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ คือเริ่มมีการลดขนาดของ Serif ลง -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


8

เป็นเส้นตรงบางๆ ความหนาบางก็แตกต่างอย่างเด่นชัดและการออกแบบตัวอักษรก็มีการใช้เครื่องมือเครื่อง เขียนเข้ามาช่วยอย่างเต็มที่ เช่นการเขียนส่วนโค้ง เป็นต้น 1.1.4 แบบ San Serif หรือแบบ Contemporary ในศตวรรษที่ 20 ลักษณะของการ ออกแบบตัวอักษรก็ได้ตัด Serif ออกไปโดยสิ้นเชิงและความหนาบางเส้นตัวอักษร มีขนาดเกือบเท่ากันตลอด Ball pen ปากกาลูกลื่นหรือ อันเป็นผลจากอิทธิพลของการเขียนหนังสือด้วยปากกาโลหะพวก ปากกาหมึกซึม รูปแบบของตัวอักษรไม่มีส่วนยื่นของเส้นแบบ San Serif นี้ได้แก่ Futura, Helvetica และ Univers เป็นต้น 1.1.5 แบบ Display Type ตัวพิมพ์หรือตัวอักษรแบบตกแต่งนี้ เป็นการออกแบบที่มี ลักษณะพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อดึงดูดสายตาผู้ดูโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะแปลกๆ ทั้งประเภท สวยงามและตลกขบขัน สามารถนําไปใช้เป็นสื่อแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึกที่สอดคล้องกับข่าวสาร เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้ดูผู้อ่านได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแบบตัวอักษรแบบนี้จึงมักจะนําไปใช้เป็นหัวเรื่อง ใช้พิมพ์ การ์ด พิมพ์นามบัตร หรือใบประกาศนียบัตร เป็นต้น Display Type จึงมีอยู่มากมายหลายแบบ ดังเช่น Commercial Script Viafacedon Avantgarde ฯลฯ 1.2 บุคคลิกลักษณะของตัวอักษรภาษาอังกฤษ(English Type Character) อักษรภาษาอังกฤษ มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับภาษาอื่น ซึ่งพอจะจําแนกลักษณะรูปร่าง ออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ 1.2.1 ประเภทตัวธรรมดา ได้แก่ A B C D E F G H K N O P Q R S U V X Y Z 1.2.2 ประเภทตัวแคบ ได้แก่ L.T. 1.2.3 ประเภทตัวกว้าง ได้แก่ M. 1.2.4 ประเภทตัวบาง ได้แก่ I. J ทั้ง 4 ประเภทนี้เป็นรูปร่างและลักษณะทั่วๆไปของตัวอักษรในแต่ละชุดซึ่งมีความกว้าง(Width)ที่ แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้แตกแขนงออกไปได้อีกหลายแบบตามลักษณะความ หนา-บางและทิศทางของเส้น เช่น - ตัวเอน ( Italic ) - ตัวบางพิเศษ ( Extra Light ) - ตัวแคบ ( Condensed ) - ตัวบาง ( Light ) - ตัวหนา ( Bold ) - ตัวเส้นขอบ ( Outline ) - ตัวหนาพิเศษ ( Extra Bold ) - ตัวดํา ( Black ) จะเห็นได้ว่าแบบตัวพิมพ์แบบหนึ่งนั้นอาจแตกแขนงออกไปได้หลายชั้น ในแต่ละวิธีอาจแตกแขนง ซ้อนกันออกไป เช่น อาจสร้างเป็นตัวหนา-แคบ, ตัวหนา-กว้าง หรือทั้งหนาทั้งกว้างหรือเอนด้วยก็ได้และตัว แต่ละอย่างนี้อาจแตกแขนงออกไปเป็นหลายขนาดได้อีก ซึ่งก็แล้วแต่แบบของตัวอักษรและการออกแบบที่จะ สามารถดัดแปลงไปได้ การเรียนรู้ถึงขนาดและลักษณะรูปร่างของตัวอักษรดังกล่าว ก็เป็นไปเพื่อการนํามาใช้ ให้ ถ ู ก ต้ อ งเหมาะสมที ่ จ ะก่ อ ให้ เ กิ ด ผลงานออกแบบกราฟิ ก ที ่ ผ สมกลมกลื น กั น ในการจั ด การวางและ องค์ประกอบต่างๆที่นํามาใช้ 1.3 ขนาดตัวอักษรภาษาอังกฤษ (English Type Size) ในที่นี้หมายถึง ขนาด และสัดส่วนของตัวอักษรตามโครงสร้างของตัวพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ดังมี ส่วนประกอบและขนาดดังนี้ สัดส่วนต่างๆดังกล่าวนี้ เป็นสัดส่วนที่นําไปสู่การกําหนดขนาดและรูปร่างของ -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


9

ตัวอักษรโดยถือเอาความสูงของตัวอักษร x (พิมพ์เล็ก) เรียกว่า x- Height เป็นหลักในการจัดขนาดตัวอักษร ต่างๆ เพื่อกําหนดขนาดความสูงของตัวพิมพ์ขึ้นมา ซึ่งในอังกฤษและอเมริกาใช้ระบบการวัดเป็น 12 พอยท์ = 1 ไพก้า 6 ไพก้า = 1 นิ้ว (2.5 ซม.) และ 72 พอยท์ = 1 นิ้ว หน่วยการวัดดังกล่าวนี้ เป็นตัวกําหนดความสูงของตัวอักษรในการสร้างตัวพิมพ์มาเพื่อเรียง ข้อความหรือการเรียงพิมพ์ (Typesetting) ในระบบการพิมพ์แบบต่างๆ ดังนั้นการเรียนรู้ถึงขนาดตัวอักษร จึง เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับนักออกแบบตัวพิมพ์(Type Designer) ทั้งนี้ก็เพราะในกระบวนการทํางานออกแบบและ การเตรียมการการพิมพ์นั้น จําเป็นต้องใช้คําสั่งหรือการติดต่อสื่อสารที่เข้าใจได้ตรงกันกับบุคคลในวงการที่ เกี่ยวข้องกับสายการผลิตทั้งในและนอกองค์กรได้ด้วย 2. ตัวอักษรภาษาไทย อักษรไทยมีวิวัฒนาการมาจากอักษรอินเดียตอนใต้ ซึ่งแตกแขนงไปเป็นอักษรขอม อักษรมอญ พ่อขุนรามคําแหงมหาราชได้คิดดัดแแปลงอักษรขอมและอักษรมอญโบราณให้เป็นอักษรไทย แต่เดิมมีสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงให้สระอยู่ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบนหรือด้านล่างและวรรณยุกต์อยู่ด้านบน การใช้ตัวอักษรภาษาไทยเข้ามาใช้ในการออกแบบบกราฟิกการพิมพ์ครั้งแรกนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่มี การหล่อตัวพิมพ์ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2371 โดยร้อยเอก เจมส์โลว์ (James Low) ที่ได้เรียน ภาษาไทยจนสามารถเรียบเรียงตําราไวยากรณ์ไทย ได้เขียนและพิมพ์ตําราขึ้นเล่มหนึ่ง ชื่อ A Grammar of the Thai ซึ่งพิมพ์ที่ The Baptist Mission Press เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย ในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ได้ ทําแม่แบบในการหล่อตัวพิมพ์ขึ้น นับเป็นการหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก ตัวพิมพ์ที่เจมส์โลว์หล่อขึ้น เป็นครั้งแรกนี้ได้เลียนแบบการเขียนหนังสือบรรจงในสมัยนั้น ลักษณะตัวพิมพ์จึงคล้ายตัวหนังสือที่เขียนด้วย ปากกาจิ้มหมึก เขียนบนกระดาษที่ไม่เรียบนัก ตัวพิมพ์ที่หล่อขึ้นติดกันเป็นแผ่น ไม่ได้แยกออกมาเป็นตัว ๆ ดังในปัจจุบันนี้ ในปี พ.ศ. 2378 หมอสอนศาสนาชื่อ บรัดเลย์ (D.B. Bradley) ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาใน ประเทศไทย หมอบรัดเลย์ ได้ตั้งแท่นพิมพ์และดําเนินการพิมพ์สิ่งพิมพ์ภาษาไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2379 สมัย รัชกาลที่ 3 และได้ย้ายสถานที่ตั้งโรงพิมพ์หลายครั้ง หลายแห่ง แต่กิจการการพิมพ์ก็ดําเนินมาด้วยดี จนถึง พ.ศ. 2381 หมอบรัดเลย์ ได้หล่อตัวพิมพ์ขึ้นเองเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ตัวพิมพ์ที่หล่อขึ้นก็เลียนแบบมาจากแบบตัวอักษรของเจมส์โลว์ แต่ได้แก้ไขรูปแบบของตัวอักษรให้สวยงาม ขึ้นกว่าเดิม แต่ช่องไฟและลายเส้นของตัวอักษรก็ยังไม่ได้ฉากกันดีนัก ในระหว่าง พ.ศ. 2385-2400 ได้มีการปรับปรุงตัวพิมพ์ใหม่ มีลักษณะเป็นตัววาดหัวกลมเส้นบาง เท่ากัน เส้นตั้งฉากและแนวนอนของตัวอักษรเป็นระเบียบขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของตัวอักษร “ตัวเหลี่ยม” ใน ปัจจุบัน ในตอนแรก ๆ ตัวพิมพ์จะมีลักษณะเช่นนี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตาม ในปี พ.ศ. 2477 มี หนังสือบางเล่มพิมพ์ด้วยตัวหนา สันนิษฐานว่า ตัวพิมพ์แบบหนา หรือตัวโป้งจะเริ่มมีขึ้นในระยะนี้ ในปี พ.ศ. 2477 มีตัวอักษรที่เรียกว่าตัวฝรั่งเศสเกิดขึ้น เป็นการเลียนแบบมาจากตัวอักษรโรมัน คือเส้นของตัวอักษรมีความหนาบางต่างกัน หลังจากนั้นไม่นานก็มีการหล่อตัวพิมพ์ขนาดจิ๋วขึ้นใช้ด้วย ใน ราว พ.ศ. 2468 ได้มีการหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นใช้หลายแบบหลายขนาด คือมีทั้งตัวเหลี่ยม ตัวฝรั่งเศส ตัวเอน ตัวจิ๋ว และได้มีการปรับปรุงรูปแบบตัวพิมพ์เรื่อยมา 2.1 รูปแบบของตัวอักษรภาษาไทย รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยนั้นมีรูปแบบ (Style) ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งพอจะจําแนก ลักษณะการ เขียนได้ดังนี้คือ -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


10

2.1.1 แบบมีหัวกลม เป็นตัวอักษรที่แสดงลักษณะเอกลักษณ์เฉพาะของภาษาไทยคือเป็น ตัวอักษรที่มี “หัว” เป็นรูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่ายมีระเบียบ ดังนั้นตัวอักษรประเภทนี้จึงนิยมใช้ในการสื่อสาร ที่เป็นทางการหรือเป็นตัวเรียงพิมพ์ในเนื้อหาทางเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ 2.1.2 แบบหัวตัดและไม่มีหัว เป็นรูปแบบที่ได้หรือดัดแปลง มาจากการเขียนด้วยปากกาปาก ตัดหรือปากกาปากแบน ลักษณะของ “หัว” จึงคล้ายกับการตั้งมุมองศาของปลายปากกาที่จับเขียน 2.1.3 แบบคัดลายมือ หรือที่เรียกว่า”ตัวอาลักษณ์”เป็นรูปแแบบตัวอักษรที่เกิดจากการคัด ลายมือที่เขียนด้วยปากกาปากแหลม เช่น เหล็กจาร ปากกาหมึกซึม ปากกาขนนก เป็นต้น เป็นแบบที่นิยม เขียนเป็นตัวหนังสือตกแต่งทางราชการ เช่น เขียนบัตรเชิญ ใบปริญญาบัตร และอื่นๆที่ให้ความรู้สึกว่า เป็น เกียรติยศ และการยกย่อง และความเป็นเอกลักษณ์ไทย 2.1.4 แบบบหวัด(Freehand Writing) เป็นรูปแบบที่เกิดจากการเขียนอย่างอิสระไม่มีแบบ แผน และเขียนขึ้นมาอย่างง่ายๆ 2.1.5 แบบประดิษฐ์ เป็นตัวอักษรที่เขียนขึ้นมาเพื่อตกแต่งหรือให้แสดงความกลมกลืนกับ ข้อความ ความหมายหรือภาพประกอบต่างๆ เพื่อดึงดูดสายตาให้น่าสนใจ ซึ่งส่วน ใหญ่มักใช้เป็นหัวเรื่อง, ข่าวสาร ที่ต้องการบอกกล่าวหรือสื่อสารให้ทราบเป็นอันดับแรก(ประชิด ทิณบุตร, 2530:37-38) ในปีพ.ศ.2540ราชบัณฑิตยสถานได้จัดทําหลักเกณฑ์มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทยขึ้นเพื่อเป็น การจําแนกประเภทรูปแบบของตัวอักษรและตัวพิมพ์ของไทยเอาไว้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆคือ ตัวแบบหลัก , ตัวแบบเลือก และตัวแบบแปร(ราชบัณฑิตยสถาน.2540: 1-3) 2.2 บุคลิกลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย บุคลิกลักษณะของอักษรไทยนั้น ถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบางตัวมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จะ แตกต่างกันก็เพราะการหันเหของ “หัว” และแตกต่างกันตรง “หาง”บุคลิกลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย แบ่งตามโครงสร้างที่อาศัยหัวตัวอักษรเป็นหลัก มีลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ 2.2.1 ตัวที่ไม่มีหัวเป็นวงกลม ก ธ 2.2.2 มีหัวเป็นวงกลมสองชั้นเริ่มจากเส้นนอนอันบนและหันหน้าออก ข ช 2.2.3 พวกมีหัวสองหยัก ข ฆ ซ ฑ 2.2.4 พวกมีหัวกลมเริ่มจากเส้นนอนอันบนและหันหัวออก บ ป พ ฟ ท ห ฑ ง ษ ม 2.2.5 พวกมีหัวกลมเริ่มจากเส้นนอนอันบนและหันหัวเข้า ผ ฝ ย 2.2.6 พวกมีหัวเริ่มต้นจากกึ่งกลางบรรทัดหันหัวกลับไปด้านขวามือของผู้เขียน ค ศ ค 2.2.7 มีหัวจากกึ่งกลางบรรทัดแต่หันหัวไปด้านซ้ายมือ จ ด ต ฐ ฒ ฉ 2.2.8 มีหัวเริ่มจากด้านล่างบรรทัดหันหัวเข้า ณ ญ ถ ฌ ล ส ฤ ฤๅ 2.2.9 หัวเริ่มจากด้านล่างบรรทัดหันหัวออก ร ภ ฎ ฏ 2.2.10 มีรูปสระอยู่ระดับบนบรรทัดอันดับยอด อ่ อ้ อ๋ อ๊ อ็ อ์ 2.2.11 รูปสระอยู่บนบรรทัดอันดับกลาง อิ อี อึ อื อั 2.2.12 รูปสระอยู่เสมอบรรทัด ะ า แ โ ใ ไ ํา 2.2.13 รูปสระอยู่ตํ่าว่าบรรทัด อุ อู โดยสรุปแล้วตัวหนังสือไทยยํ้าอยู่ตรงหัวกลมของหนังสือ ซึ่งอาจเป็นจุดที่ทําให้ผู้อ่านสังเกตจําได้ ง่ายอ่านได้ง่าย ซึ่งพอจะแบ่งกลุ่มบุคลิกลักษณะของตัวอักษรภาษาไทยออกได้เป็น 4 กลุ่ม ประเภทดังนี้ 1. อักษรประเภทตัวธรรมดา ได้แก่ ก ค ฆ ฉ ฎ ฏ ฑ ด ต ถ ท น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ย ล ศ ษ ส ห ฬ อฮฤ 2. อักษรประเภทตัวแคบ ได้แก่ ข ง จ ช ซ ฐ ธ ร ว า แ อู ํา ๆ 3. อักษรประเภทตัวกว้าง ได้แก่ ฌ ญ ฒ ณ ฤๅ ฯลฯ 4. อักษรประเภทตัวบาง ได้แก่ เ ไ ใ ะ -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


11

2.3 ขนาดตัวอักษรภาษาไทย การทํางานออกแบบกราฟิกประเภทต่างๆ มักต้องใช้ตัวอักษรขนาดต่างๆเข้าร่วมเสมอ ถ้าพิจารณาตาม ลักษณะการใช้งานทั่วไปนั้นสามารถแบ่งออกเป็นได้ 2 ลักษณะ คือ 2.3.1 การใช้ขนาดตัวอักษรตามระบบและแบบแผนสําเร็จรูป หมายถึงการใช้ตัวอักษรต่าง ๆ ตามที่มีการประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วเป็นวัสดุสําเร็จรูป ที่พร้อมจะนํามาใช้ได้ทันทีและมีเป็นจํานวนมากเช่น ตัวอักษรลอก (Dry Transfer Lettering or Letter Press) ตัวพิมพ์ (Type) ตัวอักษรคอมพิวเตอร์ ตัวอักษร พิมพ์ดีด เป็นต้น ตัวอักษรต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวอักษรที่ผลิตขึ้นมาเป็นขนาดต่างๆที่แน่นอนตายตัวตามระบบ การจัดที่เป็นสากล คือ มีขนาดสัดส่วน และหน่วยวัดเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ การนํามาใช้จึงเป็นการหยิบ ยกเอาขนาดที่สําเร็จรูปแล้ว ออกมาใช้ให้เหมาะสมดังเช่น การใช้ตัวอักษรขนาดต่าง ๆ มาใช้กับงานออกแบบ สิ่งพิมพ์ เป็นต้น 2.3.2 การใช้ขนาดตัวอักษรตามความเหมาะสม ในที่นี้หมายถึงการใช้ขนาดตัวอักษรผ่าน ทักษะการวาด-การเขียน ซึ่งไม่มีการกําหนดระบบที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับ ผู้ออกแบบจะเห็นความ เหมาะสม ว่าควรที่จะใช้ขนาดตัวอักษรให้มีสัดส่วนเท่าใด จึงจะเหมาะสม กับชิ้นงาน หรือปัจจัยอื่นๆที่ เกี่ยวข้องกับการมองเห็น เช่นการเขียนตัวอักษรสําหรับป้ายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ ที่ขนาดของ ตัวอักษรที่สําเร็จรูปไม่มีหรือไม่เอื้ออํานวยต่อการนํามาใช้ได้ ตัวอักษรและตัวพิมพ์จึงนับว่าเป็นส่วนประกอบหลักสําคัญของงานออกแบบกราฟิกและระบบการ พิมพ์ และมักใช้เป็นหลักใหญ่เพื่อการสื่อความหมาย ทั้งแบบโดยตรงคือเพื่อการใช้อ่านเขียนประกอบตาม หลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และใช้โดยอ้อมก็คือใช้เป็นคําย่อ ใช้แทนภาพ ใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์แทน ความหมายเฉพาะหรืออย่างหรือแทนความคิดแบบนามธรรมที่อาจจะมีความหมายหลากหลายเป็นปรนัย ด้วยในตัว ปัจจุบันการใช้งานตัวอักษรนั้น มีความสัมพันธ์กับระบบสื่อสารและระบบสารสนเทศมากขึ้นเป็น เงาตามตัว ดังจะเห็นว่ามีการออกแบบและผลิตแบบตัวอักษรเข้ามาใช้ร่วมเป็นภาษาหลักในระบบของเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ทราบกันดีทั่วไปว่าคือ ตัวอักขระภายในระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System Font) เป็น ส่วนควบที่จําเป็นต้องมี ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์คือเครื่องมือผลิตข่าวสารด้วยการพิมพ์อักขระเข้าสั่ง การหรือการประมวลผลร่วมกับหน่วยประมวลผล ให้สามารถจัดเก็บ แสดงผลและค้นคืนได้นั่นเอง ตัวอักษรที่ ติดตั้งในระบบคอมพิวเตอร์จึงได้รับความสําคัญด้วยการที่ต้องมีการออกแบบไว้ใช้งานและเพื่อสนองความ ต้องการด้านการนําไปใช้งานสื่อความหมายที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีผลงานออกแบบ ชุดตัวอักษรคอมพิวเตอร์ตระกูลต่างๆของผู้ออกแบบ ผู้ผลิตในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นมาแทนตัวหล่อ ตัวเรียงพิมพ์ ด้วยมือหรือเรียงพิมพ์ด้วยแสงตามแบบเดิม ขึ้นมามากมาย ตามสมรรถนะของหน่วยประมวลผลในเครื่อง คอมพิวเตอร์และประสิทธิภาพของโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การนําแบบตัวอักษรคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นประจํา และมีใช้เป็นส่วนควบไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องแบบ บังคับใช้โดยปริยาย โดยถูกนําไปใช้กับทุกเรื่องของงานพิมพ์และในการสื่อสารในเอกสารรูปแบบต่างๆนี้เอง จึงทําให้แบบตัวอักษรจําเป็นต้องมีการพัฒนา ต้องมีการออกแบบให้มีรูปแบบ ขนาด สัดส่วน และโครงสร้าง ที่ถูกต้องและสอดคล้องกับตําแหน่งของแป้นพิมพ์ อันเป็นมาตรฐานของไทยที่จําเป็นต้องออกแบบสร้างสรรค์ และจัดกระทําโปรแกรมสามารถให้เข้ารหัสใช้กันได้กับภาษาสากล 10. ทฤษฎี สมมุติฐาน หรือกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย ในกระบวนการดํ า เนิ น งานศึ ก ษาวิ จ ั ย เพื ่ อ การออกแบบพั ฒ นาแบบตั ว พิ ม พ์ แ ละโปรแกรม คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยูนั้น ผู้วิจัยได้วางกรอบแนวคิดเพื่อการดําเนินการวิจัยตามกระบวนวิธีการ ออกแบบสร้างสรรค์ผลงานออกแบบและกระบวนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ไว้เป็น 2 ลําดับขั้นตอน กรอบแนวคิดและการดําเนินการวิจัยไว้ดังนี้คือ ก.กระบวนการออกแบบและพัฒนาต้นแบบตัวอักษร ตามหลักการดําเนินงานออกแบบ 3ส:3R 1.การสืบค้น(Research) -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


12

2.การสร้างสรรค์ตามสมมติฐาน(Resume) 3.การสรุปผลงาน(Results) .

การออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู The design and development of typeface and font computer program : CRU fonts family. การศึกษาข้อมูล-ความรู้ ภาคสนาม/การสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ Documentary & Field

ส.1 การสืบค้น (Research)

1

Study/ Indepth Interview

การนําเสนอแบบร่างทาง ความคิด (Concept Rendering and Alternative Idea)

การออกแบบเขียน โปรแกรมและทดสอบ คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์(Font Computer Program Design and Testing )

ส.2 การสร้างสรรค์ตาม สมมติฐาน(Resume)

2

การเขียนแบบรูปอักขระ (Lettering and Glyphs Style Production )

3

ส.3 การสรุปผล (Results)

การศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะ และความต้องการใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ Need Assessment & Implement Analysis การกําหนดกรอบ โครงสร้างมาตรฐาน แม่แบบชุดอักขระ ( Master Glyphs Template Specification) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู(Font Computer Program : CRU Fonts Family )

ข.ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมระบบงานคอมพิวเตอร์ ตามหลักวิชาว่าด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน ( System analysis and design ) ตาม รูปแบบ The Waterfal Model (Systems Development Life Cycle) ที่มีการจัดขั้นตอนการพัฒนาระบบงาน คอมพิวเตอร์ดังนี้(Horner, K. ,1993) 1. กําหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน ( Requirements ) 2. วิเคราะห์ระบบงานหรือปัญหา (Analysis ) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้ 3. ออกแบบโปรแกรม (Design ) 4. เขียนชุดคําสั่ง ( Coding ) 5. ทดสอบโปรแกรม ( Testing ) และหาข้อผิดพลาด ( Debuugging ) 6. นําโปรแกรมและระบบงานไปใช้งานจริง (Acceptance) และมีการบํารุงรักษา ติดตามผล แก้ไขปรับปรุง ( Software maintenance and improvement ) เพื่อให้ทันสมัยใช้ได้ตลอดไป -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


13

11. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย ประชิด ทิณบุตร. การออกแบบกราฟฟิค. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์.2531 ------------.เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เฉพาะวิชาชีพเตรียมการพิมพ์สําหรับช่างปฏิบัติการ เรียงพิมพ์ 3 หน่วยที่ 5 กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2540 ------------. เอกสารการสอนชุดวิชา การออกแบบทางการพิมพ์ หน่วยที่ 1 , หน่วย ที่ 13.2 , 13.3 กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2541 ------------.”ศัพท์ทางการออกแบบการพิมพ์”.เว็บไซต์การจัดการความรู้อย่างพอเพียง สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม รายวิชาARTI3312:การออกแบบ การพิมพ์. เข้าถึงเมื่อ 20เมษายน 2552. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/arti3312/word-of-the-week/knowledge ------------.รายงานการวิจัยเรื่องการออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐานสําหรับมหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม.กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2554 Bonneville, Douglas. the big book of font combinations. Rhode Island : BonFX Press,2010 Horner, K. (1993). Methodology as a Productivity Tool, in Software Productivity Handbook, J. Keyes (ed), New York, NY: Windcrest/McGraw-Hill, pp.97-117. Solomon,Martin.The Art of Typography.Newyork:Art Direction Book Company,1994 12. วิธีการดําเนินการวิจัย 12.1 ระเบียบวิธีวิจัย 12.1.1 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณา(Descriptive) โดยการศึกษา วิเคราะห์ การเก็บรวบรวม ข้อมูลภาคเอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ข้อมูลจากสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการที่เกิดจากการนําผลงานออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ไปใช้งานจริงในระบบการ -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


14

พิมพ์ตลอดทั้งในระบบการสื่อสาร จากหลักฐานข้อมูลที่ปรากฏ เพื่อนํามาตั้งเป็นโจทย์สมมติฐาน โดยมีการ ดําเนินการสร้างสรรค์ผลงานตามกระบวนการออกแบบ 3ส:3R โดยมีกิจกรรมดังนี้คือ - ส1. การสืบค้น การศึกษาข้อมูลความรู้เอกสาร/ภาคสนาม/การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ - การศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะและความต้องการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ - ส.2 การสร้างสรรค์ตามสมมติฐาน (Resume)การนําเสนอแบบร่างทางความคิด - การกําหนดกรอบโครงสร้างมาตรฐานแม่แบบชุดอักขระ(Fontface Glyphs Template Mastering) - การออกแบบเขียนแบบรูปอักขระ(Glyps and Fontface Making) 12.1.2 เป็นการวิจัยพัฒนาทดลอง (Research and Development)ตามกระบวนการขั้นตอน การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ตามหลักวิชาว่าด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน ( System analysis and design ) ตามรูปแบบ The Waterfal Model (Systems Development Life Cycle) ด้วยการทํา กิจกรรมการศึกษาทดลอง ดังเช่นการเขียนโปรแกรมคําสั่งกํา กับการพิมพ์ (Font Kerning , Hinting/Ligatures Coding) และการทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ร่วมกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ทางการพิมพ์ (Office & Desktop Publishing) ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและ การทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เว็บฟ้อนต์ (Webfonts Computer Program) ทางระบบเว็บไซต์ออนไลน์ สากล (World Wide Web Publishing) เพื่อทราบสภาพปัญหาและเพื่อการพัฒนา บันทึก จัดเก็บไฟล์ เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ที่สมบูรณ์ เป็นต้น 12.2 กลุ่มประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 12.2.1 กลุ่มผู้ที่มีความรู้ด้านการออกแบบ ตัวอักษรและตัวพิมพ์ ที่สามารถใช้งานโปรแกรม คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ได้โดยตรง อันได้แก่ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักออกแบบ นักศึกษาที่เรียน ทางด้านการออกแบบทางการพิมพ์ 12.3 เครื่องมือวิจัย 12.3.1 ต้นแบบตัวอักษรชุด CRU Fonts Family 12.3.2 แบบสํารวจความคิดเห็น 12.3.3 แบบบันทึก-สัมภาษณ์ 12.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีดําเนินการดังนี้คือ 12.4.1 การศึก ษาข้ อมูลปฐมภูม ิ ด้วยการออกแบบสร้ างสรรค์ผลงานต้นแบบ บันทึก รวบรวม จัดเก็บเป็นไฟล์ในระบบดิจิตัล 12.4.2 การสัมภาษณ์เชิงลึก(Indept Interview) 12.4.3 การบันทึกผลการพัฒนาทดลองตามกรอบการดําเนินการ 12.5 การวิเคราะห์และประมวลผล 12.5.1 โดยวิธีการบรรยาย พรรณา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผลตามขั้นตอนของ การศึกษาเอกสาร หลักฐานตามขั้นตอนและกระบวนวิธีของการออกแบบ(Design Process) 14.5.2 วิเคราะห์ สังเคราะห์และรวบรวมประเด็นความคิดเห็นและความต้องการของ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ 14.5.3 วิเคราะห์หาดัชนีความสอดคล้อง(IOC)ของความคิดเห็นของกลุ่มประชากรตัวอย่าง 13. ระยะเวลาทําการวิจัยและแผนการดําเนินงานตลอดโครงการวิจัย (วิจัยในชั้นเรียนและวิจัย สถาบันไม่เกิน 6 เดือน วิจัยอื่นๆ ไม่เกิน 12 เดือน) ทําการวิจัยเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีแผนการปฏิบัติการ ดังนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


15

กิจกรรม/เดือน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 1.ส1. การสื บ ค้ น การศึ ก ษาข้ อ มู ล ความรู ้ เ อกสาร/ ภาคสนาม/การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2.การศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะและความต้องการใช้ งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ 3.ส.2 การสร้ า งสรรค์ ต ามสมมติ ฐ าน (Resume)การ นําเสนอแบบร่างทางความคิด 4.การกํ า หนดกรอบโครงสร้ า งมาตรฐานแม่ แ บบชุ ด อักขระ(Fontface Glyphs Template Mastering) 5.การออกแบบเขียนแบบรูปอักขระ(Glyps and Fontface Making) 6.การเขียนโปรแกรมคําสั่งกํากับการพิมพ์ (Font Kerning , Hinting/Ligatures Coding) และการทดสอบ โปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ ฟ ้ อ นต์ ร ่ ว มกั บ โปรแกรม ระบบปฏิบัติการโปรแกรมประยุกต์ทางการพิมพ์(Office & Desktop Publishing)ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคลและการทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เว็บฟ้อนต์ (Webfonts Computer Program)ทางระบบเว็บไซต์ ออนไลน์สากล(World Wide Web Publishing) 7. ส3. การสรุปผล (Results)การรายงาน การเผยแพร่ ลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาตการใช้ การดูแลรักษาและการ รับ-ส่งข้อมูลป้อนกลับระบบ 14. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย 14.1 ผู้วิจัยมีช่องทางการนําเสนอผลการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานการศึกษาและการมีส่วนร่วมใน การพัฒนากับกลุ่มประชากรตัวอย่าง ตลอดทั้งข่าวสารความรู้ ความก้าวหน้าของการออกแบบสร้างสรรค์ การพัฒนาทดลอง และการมีส่วนร่วมในการทดสอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เว็บฟ้อนต์(Webfont Testing and Implementation Process)ทางออนไลน์ระหว่างการทดสอบและการเผยแพร่ การติดตามผล สามารถเข้าถึงเข้าใช้ได้ตลอดเวลา โดยสามารถนําเสนอผ่านทางเว็ปไซต์เพื่อการทดสอบและการเผยแพร่ผล การศึกษาวิจัย ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครื่องแม่ข่ายของศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กราฟิก และมั ล ติ ม ี เ ดี ย สาขาวิ ช าศิ ล ปกรรม ภายในมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ จั น ทรเกษม ดั ง เช่ น ที่ at URL : http://artnet.chandra.ac.th, ทางฟรี เ ว็ บ บล็ อ กบริ ก ารของGoogleBlogger http://typefacesdesign.blogspot.com , และทางเว็บไซต์โครงการวิจัย www.chandrakasem.info เป็นต้น 15. งบประมาณของโครงการวิจัย No ก.รายการวัสดุ และค่าใช้สอย หน่วย หน่วยละ รวมเงิน 1 โปรแกรมลิขสิทธิ์ FontLab Studio for Windows V.5 1 19,900 19,900 2 แท็บเล็ตปากกาแสง Wacom 1 12,000 12,000 3 ดีวีดีแผ่นเปล่า(DVD+R Premium) ชนิดเขียน 50 แผ่น/ 5 450 2,100 กล่อง ความจุ 4.7 GB -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


16

4 5

ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา ขนาด 3.5 นิ้วความจุ 1024 GB 1 ค่ า จ้ า งเหมาทดสอบผลงานทางการพิ ม พ์ การออกแบบ 1 ตัวอักษรและตัวพิมพ์ที่ระบบ4สีและขาวดํา การถ่ายสําเนาเข้าเล่มเอกสารต่างๆที่จําเป็นใช้ในการดําเนินการศึกษาวิจัย และการสรุปผลการวิจัย รวมเงิน

6,500 10,000

6,000 10,000

50,000

รวมขอรับเป็นงบเงินอุดหนุน เป็นเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) (ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ) 16. บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่จะนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่จะนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 16.1 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์เป็นลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในสาขางาน ทางด้านวรรณกรรม ( หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คําปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ) ที่ถือครอง ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมและผู้ออกแบบสร้างสรรค์ 16.2 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์(Computer Users)ทุกคน ที่ได้รับสิทธิ สัญญาอนุญาตใช้งาน(License Agreement) 16.3 หน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ได้รับสิทธิสัญญา อนุญาตใช้งาน(License Agreement) เพื่อกิจการศึกษา กิจการสาธารณะและหรือในเชิงการพาณิชย์ .........................ผู้วิจยั ลงชื่อ.................... (ผศ.ประชิด ทิณบุตร) 7 สิงหาคม 2555 ส่วน ค : ประวัติผู้วิจัย 1.ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย)นาย ประชิด ทิณบุตร ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Mr.Prachid Tinnabutr 2. เลขหมายบัตรประจําตัวประชาชน : 3 1002 00879 16 6 เลขทะเบียนนักวิจัยแห่งชาติ : 36698 3. ตําแหน่งปัจจุบัน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 4. หน่ ว ยงานที ่ อ ยู ่ ท ี ่ ส ามารถติ ด ต่ อ ได้ : สาขาวิ ช าศิ ล ปกรรม ภาควิ ช ามนุ ษ ยศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2942-6900-99 ต่อ : 3011 บ้านพักอาศัยปัจจุบัน เลขที่ 144/157 หมู่ที่1. หมู่บ้านพญาไทวิเลจ ถนนสุขาประชาสรรค์2 ซอย 22 (ซอยวัดกู้) ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120. โทรศัพท์ 0-2962-9504-5 โทรสาร. 0-2962-9505 ติ ด ต่อ ทางอี เ มลปั จ จุ บ ั น prachid@prachid.com หรื อ prachid007@gmail.com โฮมเพจส่ ว นตั ว : http://www.prachid.com โฮมเพจแฟ้มสะสมงาน : http://sites.google.com/site/prachidportfolio โทรศัพท์ มือถือส่วนตัว 0896670091

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


17

5.ประวัติการศึกษา (ปริญญาตรี โท) วุฒิการศึกษา ปีที่สําเร็จการศึกษา สถานศึกษา ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต 2524 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คบ.ศิลปศึกษา) เกียรตินิยมอันดับ 2 ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต 2531 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คม.ศิลปศึกษา) 6. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยระบุ สถานภาพในการทําการวิจัยว่าเป็นผู้อํานวยการแผนงานวิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย หรือผู้ร่วมวิจัยในแต่ละ ผลงานวิจัย ผลงานวิจัย ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย 6.1 ชื่อแผนงานการวิจัยในฐานะผู้อํานวยการแผนงานวิจัย: ไม่มี 6.2 ชื่อโครงการวิจัยในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย : 6.2.1 ชื่อโครงการวิจัย การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการนําเสนอผลงานการ สร้างสรรค์ผลงานในรายวิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม(ออกแบบประยุกต์ศิลป์) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจําภาคเรียนที่ 2/2551 6.2.2 ชื่อโครงการวิจัย การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐาน สําหรับมหาวิทยาลัยราช ภัฏจันทรเกษม 6.2.3 ชื่อโครงการวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าโอท๊อป ระดับ 5 ดาว ของกลุ่ม แม่บ้านเกษตรกร ต.บ่อกรุ จังหวัดสุพรรณบุรี ในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นําชุมชนและบุคลากรในภาค เกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี 6.2.4 ชื่อโครงการวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เครื่องหนัง บริษัท ทีมเฟอร์น จํากัด : โครงการบริการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ การตลาด และการบริการ (CF)แก่ SMEs ในอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ด้านการผลิต การจัดการและการเชื่อมโยงธุรกิจ(Matching) เพื่อ เพิ่มศักยภาพทาง 6.2.5 ชื่อโครงการวิจัย การออกแบบและพัฒนาต้นแบบแบรนด์ตราสัญลักษณ์กลุ่มและการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบนวัตกรรมในการผลิตสินค้าใหม่ ในโครงการยกระดับขีดความสามารถการ รวมกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานจังหวัดกาญจนบุรี 6.3 ชื่องานวิจัยที่ทําเสร็จแล้ว 6.3.1 ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการนําเสนอผลงานการสร้างสรรค์ ผลงานในรายวิ ช าออกแบบบรรจุ ภ ั ณ ฑ์ ของนั ก ศึ ก ษาสาขาวิ ช าศิ ล ปกรรม(ออกแบบประยุ ก ต์ ศ ิ ล ป์ ) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจําภาคเรียนที่ 2/2551(2551) แหล่งที่เผยแพร่ วารสารจันทรเกษมสาร ปี ที่ 15 ฉบับที่ 29 กรกฎาคม ธันวาคม 2552 แหล่งทุน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร เกษม 6.3.2 การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐาน สําหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (The Standards Corporate Graphic Identity Design for Chandrakasem Rajabhat University) (2552) แล้ว เสร็จในปี2554 WebSite URL:http://sites.google.com/site/corporateidentitydesign, http://www.chandrakasem.info , http://www.chandraonline.info แหล่งทุน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 6.3.3 ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าโอท๊อป ระดับ 5 ดาว ของกลุ่มแม่บา้ น เกษตรกร ต.บ่อกรุ จังหวัดสุพรรณบุรี ในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นาํ ชุมชนและบุคลากรในภาคเกษตรและ เกษตรอุตสาหกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี (2553) แหล่งที่เผยแพร่ บริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จํากัด สํานักงาน -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


18

อุตสาหกรรมจังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงอุตสาหกรรม และที่ WebSite URL : http://sites.google.com/site/kasetbokhru แหล่งทุน บริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จํากัด และสํานักงาน อุตสาหกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงอุตสาหกรรม 6.3.4 ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เครื่องหนัง บริษัท ทีมเฟอร์น จํากัด : โครงการบริการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ การตลาด และการบริการ(CF) แก่ SMEs ในอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ด้านการผลิต การจัดการและการเชื่อมโยงธุรกิจ(Matching) เพื่อเพิ่ม ศักยภาพทางธุรกิจ (2554) แหล่งที่เผยแพร่ บริษัทที่ปรึกษา เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จํากัด กรมส่งเสริมการ ส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรม และ WebSite URL: http://sites.google.com/site/teamfurn แหล่งทุน บริษัทที่ปรึกษา เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จํากัด และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรม 6.3.5 ชื่อผลงานวิจัย การออกแบบและพัฒนาต้นแบบตราสัญลักษณ์กลุม่ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ เป็นต้นแบบนวัตกรรมในการผลิตสินค้าใหม่ ในโครงการยกระดับขีดความสามารถการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม ข้าวโพดหวานจังหวัดกาญจนบุรี (2554) แหล่งที่เผยแพร่ บริษัทที่ปรึกษา เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จํากัด สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงอุตสาหกรรม และที่ WebSite URL : http://kanchanaburisweetcorn.blogspot.com แหล่งทุน สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี และ บริษัทที่ปรึกษา เอ ซี ที อินเทลลิเจนท์ จํากัด 6.4 ชื่องานวิจัยที่กําลังทําปัจจุบัน : ไม่มี

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


19

ภาคผนวก ผลงานออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ชุดแรก ของ มหาวิทยาลัยราช ภัฏจันทรเกษม ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย งบประมาณรายได้บุคลากร ปีงบประมาณ 2552

1.แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชุด CRU-chandrakasem ออกแบบเขียนแบบและโปรแกรมโดย ประชิด ทิณบุตร,2552

2.แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชุด CRU-Lanchand ออกแบบเขียนแบบและโปรแกรมโดย ประชิด ทิณบุตร,2552

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


20

3.แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชุด CRU-Lanchand ออกแบบเขียนแบบและโปรแกรมโดย ประชิด ทิณบุตร,2552

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


21

แผนยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) ภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาคือการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการ ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตทั้งระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยประเภทที่เน้นการผลิตบัณฑิต 4 ปี ที่มุ่ง จัดการเรียนการสอนและบริการชุมชน ในทุกปีมหาวิทยาลัยจะต้องได้รับการตรวจประกันคุณภาพจาก หน่วยงานภายในและภายนอก ผลการตรวจประกันคุณภาพด้านการวิจัยผ่านอยู่ในระดับพอใช้ เนื่องจากมี ข้อจํากัดหลายประการ จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน พบว่า อาจารย์มีภาระงานสอนมาก การทําวิจัยมี การนําไปใช้ประโยชน์น้อย เพราะการเลือกปัญหาการวิจัยกระจัดกระจายไม่สามารถบูรณาการเพื่อให้เกิด ประโยชน์ได้ดังนั้นเพื่อให้การทําวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ ของผู้ใช้งานวิจัย มหาวิทยาลัยฯจึงได้กําหนดประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การวิจัยไว้ดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและเป็นผู้มีคุณธรรม เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษะที่พึง ประสงค์ทั้งความรู้ความสามารถในทุกทาง ความมีคุณธรรม มีจิตสาธารณะ จึงกําหนดประเด็นกลยุทธ์การ วิจัยไว้ดังต่อไปนี้ 1.1 การวิจัยเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคม ความต้องการของผู้เรียน และสถานประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิต 1.2 การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการสอน การใช้สื่ออย่างหลากหลาย และกิจกรรมที่เหมาะสมกับ คุณลักษณะของผู้เรียน เพื่อสร้างความพึงพอใจและให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง 1.3 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ รวมถึงการพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่นักศึกษาเพื่อให้สําเร็จการศึกษา เป็นบัณฑิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ 1.4 การวิจัยเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดสิ่งเสพติด และอบายมุขของนักศึกษา โดยให้ นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 1.5 การวิจัยเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเห็นคุณค่าความเป็นไทย โดยให้มีความรู้ซาบซึ้งสืบทอด รวมทั้ง อนุรักษ์และสืบทอดประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย 1.6 การวิจัยเพื่อส่งเสริมงานวิจัยสถาบันของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารและการ ตัดสินใจพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านบริการทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัยเพื่อการเรียนการสอน เพื่อการบริการ ชุมชน และเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภารกิจหลักของอาจารย์คือการสอน ความรู้ที่นํามาใช้ในการสอนควรเป็นความรู้ที่ถูกต้อง และ ทันสมัย การศึกษาวิจัยในเนื้อหาที่สอนอย่างลึกซึ้งจะทําให้ผู้สอนมีความแตกฉานนอกจากนําความรู้ที่ได้มา ใช้ในการเรียนการสอนแล้วความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนําไปเผยแพร่สู่สาธารณชน เป็นการบริการทาง วิชาการแก่สังคมด้วย จึงกําหนดประเด็นกลยุทธ์การวิจัยไว้ดังต่อไปนี้ 2.1 การวิจัยเพื่อตรวจสอบ ยืนยัน ยกเลิกทฤษฎีต่าง ๆ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ 2.2 การวิจัยเพื่อต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิม 2.3 การวิจัยเพื่อประยุกต์โดยนําองค์ความรู้เดิมไปสู่การประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่า 2.4 การวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรม -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


22

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ประเทศชาติกําลังประสบปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และภัยจากความขัดแย้งในสังคม และ ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจที่มีผลกระทบทางด้านสังคม มหาวิทยาลัย จึงกําหนดประเด็นกลยุทธ์การวิจัย ไว้ดังต่อไปนี้ 3.1 การวิจัยเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และการใช้พลังงานทดแทน 3.2 การวิจัยเพื่อส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพตาม แนวทางพระราชดําริ 3.3 การวิจัยเพื่อเพิ่มรายได้ของชุมชนจากการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.4 การวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน 3.5 การวิจัยเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้แก่วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (OTOP) 3.6 การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตคนพิการ และผู้สูงอายุ 3.7 การวิจัยและพัฒนาเพิ่มมูลค่าเพื่อการผลิตและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 3.8 การวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและ นําไปสู่การจดสิทธิบัตร 3.9 การวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้สารเคมีและส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การวิจัยเชิงพื้นที่ในการพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ จั น ทรเกษม ตั ้ ง อยู ่ ใ นเขตจตุ จ ั ก ร มี เ ขตบริ ก ารชุ ม ชนที ่ ต ้ อ งรั บ ผิ ด ชอบ ประกอบด้วย เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตวังทองหลาง เขตพระโขนง เขต สะพานสูง เขตสวนหลวง เขตห้วยขวาง เขตสายไหม เขตบางเขน เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง รวมทั้งเขต ปริมณฑล เพื่อเป็นการวิจัยนําไปสู่การพัฒนาชุมชนในพื้นที่ มหาวิทยาลัยฯ รับผิดชอบ จึงได้กําหนดประเด็น กลยุทธ์การวิจัยไว้ดังต่อไปนี้ 4.1 การวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพของเยาวชน และประชาชนในชุมชน 4.2 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ปลอดจากสิ่งเสพติดและอบายมุขรวมทั้งเกม ที่ไม่พึงประสงค์ 4.3 การวิจัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตประชาชนในชุมชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน 4.4 การวิจัยเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อการพึ่งตนเองของคนในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้เปิดศูนย์การศึกษาที่จังหวัดชัยนาท จึงควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนา ท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท มหาวิทยาลัยจึงได้กําหนดประเด็นกลยุทธ์การวิจัยเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา จังหวัดชัยนาทไว้ดังต่อไปนี้ 5.1 การวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น 5.2 การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูของโรงเรียนในพื้นที่ซึ่งมีปัญหา 5.3 การวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการสอน การผลิตสื่อการสอนและการเพิ่มวิทยฐานะให้แก่ครู 5.4 การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เด็กพิเศษ และผู้สูงอายุ -----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


23

5.5 การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในนาข้าวและการลดมลพิษในแหล่งนํ้าในเขตพื้นที่ 5.6 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนและสินค้าเกษตร 5.7 การวิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 5.8 การวิจัยเพื่ออนุรักษ์ เผยแพร่วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 6 การวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบัน เพื่อให้การตัดสิน การพัฒนาและการแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ควรมีการวิจัยรองรับในปริมาณที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยฯจึงได้กําหนดประเด็นกลยุทธ์การวิจัย ไว้ดังต่อไปนี้ 6.1 การวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้มีความทันสมัย 6.2 การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและการเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์ของโลกและประเทศ 6.3 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและชุมชนในมหาวิทยาลัย 6.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกในการเรียนการสอน 6.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทํางานของบุคลากรสายสนับสนุน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

Type Design and Development : CRU Fonts Family. Research Project by Asst.Prof Prachid Tinnabutr : 7/8/2012


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.