Prachid cru font article utaradit proceeding upd 9 12 2013 epub

Page 1

การออกแบบพัฒนาแบบตัวพิภพ์และโปรแกรภคอภพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู The design and development of typeface and font computer program :


การออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู The design and development of typeface and font computer program : CRU font family ประชิด ทิณบุตร1 Prachid Tinnabutr1 บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยูในครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบพัฒนาแบบชุดตัวอักษรและตัวพิมพ์ภายใต้ระบบอัตลักษณ์แบบตัวอักษรทางการ พิมพ์ชุดตระกูลซีอาร์ยู ให้มีแม่แบบ น้​้าหนัก และรูป แบบที่หลากหลาย ให้เหมาะสมตามระบบมาตรฐานการพิมพ์ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) เพื่อจัดท้าไฟล์รูปแบบและน้​้าหนักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู เป็น ไฟล์มาตรฐานสากล ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถใช้ติดตั้งร่วมใช้งานในโปรแกรมระบบ ปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ แบบเชิงพาณิชย์ และโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบโอเพนซอร์สได้ ซึ่งกระบวนการ ศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยพัฒ นาทดลอง โดยมีการด้าเนินงานเป็น 2 ระยะคือ ก.การออกแบบและพัฒนา ต้นแบบตัวอักษร ตามหลักการด้าเนินงานออกแบบ 3ส:3R คือ 1) การสืบค้น (Research) 2) การสร้างสรรค์ตาม สมมติฐาน (Resume) และ3) การสรุปผลงาน (Results) ข.ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมระบบงานคอมพิวเตอร์ โดย มีขั้นตอนคือ 1) ก้าหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน 2) วิเคราะห์ระบบงานหรือปัญหารวมถึง รายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้ 3) ออกแบบโปรแกรม 4) เขียนชุดค้า สั่ง 5) การทดสอบโปรแกรมและหาข้อผิดพลาด และ6) น้าโปรแกรมและระบบงานไปใช้งานจริง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ2) แบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 อันดับ โดยมีกลุ่มประชากรที่ใช้คือกลุ่มผู้ที่มีความรู้ด้านการออกแบบ ตัวอักษรและตัวพิมพ์ ผู้ที่สามารถใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ได้โดยตรง โดยการสุ่มแบบเจาะจงเลือก และ การสุ่มเลือกแบบบังเอิญ รวมจ้านวน 105 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัยพบว่า ผลงานที่ออกแบบพัฒนาตัวพิมพ์ทุกชุดมีรูปแบบคุณลักษณะอยู่ในเกณฑ์ระดับดี และได้ ผ ลงานชุ ด การออกแบบพั ฒ นาแบบตั ว พิ ม พ์ และโปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ ฟ้ อ นต์ ต ระกู ล ซี อ าร์ ยู ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ประกอบด้วยไฟล์คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ โดยใช้ชื่อว่าชุดแบบตัวพิมพ์ตระกูลซีอาร์ยู พร้อมสัญญาอนุญาตสิทธิ์ผู้ใช้ จ้านวน 4 ชุด คือฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทร์จรัส 56 ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรา 56 ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรเกษม 56 และฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ลานจันทร์ 56 รวม 24 ฟ้อนต์ 24 รูปแบบ น้​้าหนัก โดยบันทึกเป็นฟ้อนต์ไฟล์ชนิด ทรูไทป์ (TrueType) โอเพ่นไทป์ (OpenType) และเว็ปฟ้อนต์ (Webfont) รวมทั้งสิ้น 72ไฟล์ โดยทั้งหมดได้จัดเก็บรวบรวมไว้เป็นเอกสารคู่มือแสดงลักษณะการใช้งาน พร้อมสัญญาอนุญาต สิทธิ์ผู้ใช้ จ้านวน 4 เล่ม พร้อมแผ่นดีวีดีบันทึกไฟล์ต้นแบบ โดยได้น้าเสนอและเผยแพร่องค์ ความรู้และผลงานวิจัย ไว้ที่ URL:http://cru-font.blogspot.com และที่ www.chandrakasem.info คาสาคัญ : การออกแบบตัวพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ชุดแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ตระกูล ซีอาร์ยู 1

สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


Title

The design and development of typeface and font computer program : CRU font family

Researcher Year

Prachid Tinnabutr 2012 Abstract

The research objective is 1) to design and develop font and typeface design of CRU-fonts family that has the proper template , styles and weights in standard type in English and Thai typing system. 2) To make the styles and weights of CRU- Fonts family to be the standard file and copyrights. By installation, it can be used in commercial operating systems and open source operating systems. This research methodology includes a descriptive research which operates in two stages. The first step is the design and development of the font family based on 3R principles: Research, Resume and Results. The second step is the development of a computer program from 6 steps: Requirements, Analysis, Design, Coding, Testing, Debugging and Gaining consent from creatives and designers. The third step is an examination of the hypothesis which was designed and developed by the associated considerations of participants from design focus groups. Research tools are interviewed and questionnaire. The population was a group of corporate identity design experts from external and a group of stakeholders of Chandrakasem Rajabhat University. A specific selection of 105 data entries was collected by direct interview, questionnaire, and online questionnaires. For data analysis, the statistics included percentage, mean and standard deviation. The completion of the research phase resulted in the development of the CRU font family which has good typographic features and consists of a set of unique typefaces for Chandrakasem Rajabhat University. It consists of four typefaces : CRU-ChandJarus 56, CRU-Chandra 56, CRU-Chandrakasem 56, and CRU-LanChand 56 with CRU-Fonts Family End User License Agreement (CRU-EULA). These four CRU-font family types have 24 font types and 24 styles and weights. The font family is available in three types: TrueType, OpenType and WebFont for 72 files in total. All of the types presented as a standard corporate graphic identity manual for Chandrakasem Rajabhat University along with CRU Fonts Family End User License Agreement (CRU-EULA) in four copies, attached to a DVD recorded all the original files that can be used and installed in the computer font system which is informed the CRU Fonts Family End User License Agreement (CRU- EULA) in personal , non-profit organization and the commercial usage. This research also can be found at URL: http://cru-font.blogspot.com and http://www.chandrakasem.info Keywords : Typeface design, Font computer program, CRU-Font Family


4

บทนา ตัวอักษร (Letters) คือสิ่งที่มนุษย์เราใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ทางการมองเห็น เพื่อให้เกิดการรับรู้และ การแปลความหมายให้เกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างเป็นระบบ (Visual communication sign and symbol system) ดังที่ ประชิด ทิณบุตร (2531 : 29) ได้กล่าวถึงความหมายของตัวอักษร ไว้ในหนังสือชื่อ การ ออกแบบกราฟิก เอาไว้ว่า “ตัวอักษร ตัวหนังสือหรือตั วพิมพ์ คือเครื่องหมายที่ใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดและ ความรู้ของมนุษย์ สามารถช่วยเผยแพร่ความรู้สึกนึกคิดและความรู้ดังกล่าวไปยังผู้อื่นได้ไกลๆ อีกทั้งยังคง รักษาความคิดและความรู้นั้นๆ ให้อยู่ได้นานถึงคนรุ่นหลัง ”ตัวอักษร อักขระทางภาษา ข้อความข่าวสารและ สัญลักษณ์ต่างๆ จึงได้ถูกคิดค้นออกแบบและจัดกระท้าขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อท้าหน้าที่โดยพื้นฐานคือการ ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่ถูกก้าหนดขึ้นให้สื่อสารร่วมกัน อีกทั้งยังมีผลก่อให้เกิดคุณค่าความงาม ทางศิลปะและสุนทรียภาพทางจิตใจให้แก่มวลมนุษย์อีกด้วย ดังนั้นตัวอักษรจึงถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเป็น รูปลักษณ์อักขระต่างๆอย่างหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสื่อ ตามบริบทของการสื่อสาร ตามวิวัฒนาการทาง นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองการสังคมของมนุษย์ ดังมีหลักฐานปรากฏนับตั้งแต่ยุคดึกด้าบรรพ์เป็น ต้นมา โดยตัวอักษรได้ถูกน้ามาใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร ปรากฏเป็นองค์ประกอบร่วมในสื่อการ บันทึกทุกชนิด (Element and medium of records) ทั้งที่เป็นสื่อแสดงแทนองค์ประกอบด้านวัจนสัญลักษณ์ และอวัจนสัญลักษณ์ (Verbal and non verbal language) กระทั่งท้าให้เกิดวิวัฒนาการร่วมกันระหว่าง ศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และศาสตร์ทางด้านศิลปกรรม (Art and science) เฉพาะทางขึ้นมาโดยตรงนั่นก็ คือ ศาสตร์แห่งการพิมพ์ (Typhography) นั่นเอง ตัวอักษรจึงถูกน้ามาใช้เป็นส่วนประกอบหลักส้าคัญของงาน ออกแบบกราฟิก และมักใช้เป็นหลักใหญ่ในการสื่อความหมาย ทั้งแบบโดยตรงคือเพื่อการใช้อ่านเขียนประกอบ ตามหลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และใช้โดยอ้อมก็คือใช้เป็นค้าย่อ ใช้แทนภาพ ใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์แทน ความหมายเฉพาะอย่าง หรือแทนความคิดแบบนามธรรม ที่อาจจะมีความหมายหลากหลายเป็นปรนัยด้วยใน ตัว ปัจจุบันการใช้งานตัวอักษรนั้น มีความสัมพันธ์กับระบบสื่อสารและระบบสารสนเทศมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังจะเห็นว่ามีการออกแบบและผลิตแบบตัวอักษรเข้ามาใช้ร่วมเป็นภาษาหลักในระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ทราบกันดีทั่วไปว่าคือ ตัวอักขระภายในระบบคอมพิวเตอร์ (Computer system font) เป็นส่วนควบที่ จ้าเป็นต้องมี ทั้งนี้เพราะ เครื่องคอมพิวเตอร์คือเครื่องมือผลิตข่าวสารด้วยการพิมพ์อักขระเข้าสั่งการหรือการ ประมวลผลร่วมกับหน่วยประมวลผล ให้สามารถจัดเก็บ แสดงผลและค้นคืนได้นั่นเอง ตัวอักษรที่ติดตั้งในระบบ คอมพิวเตอร์ จึงได้รับความส้าคัญด้วยการที่ต้องมีการออกแบบไว้ใช้งานและเพื่อสนองความต้ องการด้านการ น้ า ไปใช้ ง านสื่ อ ความหมายที่ ห ลากหลายรู ป แบบมากขึ้น ดั ง จะเห็ น ได้ ว่ า มี ผ ลงานออกแบบชุ ด ตั ว อั ก ษร คอมพิวเตอร์ตระกูลต่างๆของนักออกแบบอิสระ และผู้ผลิตแบบตัวอักษรในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นมาพร้อมกับมี การก้าหนดลิ ขสิทธิ์ของการสร้างสรรค์ขึ้นมาแทนตัว หล่อ ตัวเรีย งพิมพ์ด้ วยมือหรือเรียงพิม พ์ด้วยแสงตาม แบบเดิมตามมามากมาย ให้ได้ใช้ตามสมรรถนะของหน่วยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ และประสิทธิภาพ ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ก้าลังพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน แบบตัวอักษรต่างๆจึ ง ได้ รั บ ความส้ า คั ญ แบบคู่ ข นาน ซึ่ ง ต้ อ งจั ด ท้ า ให้ เ ป็ น โปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ หรื อ เป็ น ส่ ว นควบของ ระบบปฏิบัติการหลัก (Operation system or OS program) ที่รู้จักกันดีเป็นสากลในนามของฟ้อนต์ (Fonts) ของทุกระบบ ที่ปรากฏเห็นและจัดเก็บแสดงอยู่ในไดเร็กทอรี่ของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยนั่นเอง (WhatIs.com,2013)


5

จากความส้าคัญของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์และลิขสิทธิ์แห่งการสร้างสรรค์ดังกล่าว มีผลท้าให้ เกิดข้อขัดแย้งทางสังคมในประเทศไทยและระดับสากล นั่นคือความไม่ชัดเจนทางด้านกฏหมายการถือครอง ลิขสิทธิ์ของฟ้อนต์ที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และด้านมาตรฐานการออกแบบตัวพิมพ์ ของไทย หรือที่เรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์เพื่อการติดตั้งใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการต่างๆขึ้น ทาง กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้ร่วมกับส้านักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ได้จัด โครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟ้อนต์ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและ สร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟ้อนต์เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างงาน สร้างทักษะ และสร้างตลาด ทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้บริโภคที่สามารถเลือกใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 คณะรัฐมนตรีจึง ได้มีมติเห็นชอบโครงการฟ้อนต์มาตรฐานราชการไทย โดยก้าหนดให้ฟ้อนต์ของส้านักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา จ้านวน 13 ฟ้อนต์ โดยมติดังกล่าวได้เป็น ผลในทางปฏิบัติในการน้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ชื่อ TH Sarabun ไปใช้กับงานพิมพ์เอกสารมาตรฐาน ของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงาน โดยในการน้าไปใช้นั้นได้มีการก้าหนดเงื่อนไขไว้เป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้ (Font computer license agreement) แบบฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ส้านักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์แห่งชาติ, 2556) โดยที่ปัจจุบันนี้ แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชุดดังกล่าว ก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและ ขยายใหม่เพิ่มเติมตามวาระของการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเวอร์ชั่นใหม่โดยใช้ชื่อ TH SarabunNew โดยการน้าเสนอและเผยแพร่ไว้ให้ดาวน์โหลดได้ทางระบบอินเตอร์เน็ต ที่สามารถเข้าใช้เข้าถึงได้ตลอดเวลา สามารถตอบโจทย์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จนกระทั่งได้รับการขนานนามว่าเป็น ฟ้อนต์แห่งชาติ ตราบทุกวันนี้ สืบเนื่องจากการวิจัยเรื่อง การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐานส้าหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม ที่ส้าเร็จและน้าเสนอผลวิจัยเสร็จสิ้นไป ในปี พ.ศ. 2554 แล้วนั้น ท้าให้เกิดมีผลงานอันเกิดจากการ วิจัยสร้างสรรค์ผลงาน เป็นแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ชุด ซีอาร์ยู เริ่มต้นจ้านวน 3 แบบ อันได้แก่แบบตัวอักษร และตัวพิมพ์ชื่อ CRU-Chandrakasem, CRU-Rajabhat และ CRU-LanChand โดยที่แบบตัวอักษรชื่อ CRUChandrakasem (ประชิด ทิณบุตร, 2554 : ข) ได้มีการน้าไปใช้ประโยชน์โดยตรง โดยถูกใช้เป็นองค์ประกอบ ทางกราฟิกหลัก (Main graphical element) ในแบบตราสัญลักษณ์ประจ้ามหาวิทยาลัย (University seal) ที่ ท้าหน้าที่สื่อสารทางภาษาเพื่อการอ่านและการออกเสียงเป็นชื่อเฉพาะของมหาวิทยาลัย ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ (Verbal language) อีกทั้งยังสื่อแสดงให้เห็นถึงความมีบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ร่วมกับ แบบกราฟิกตราพระราชลัญจกร ของรัชกาลที่ 9 อันเป็นต้นแบบกราฟิกตราสัญลักษณ์มาตรฐานใหม่เฉพาะของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อันเป็นผลงานวิจัยเฉพาะสถาบัน และยังจะมี ผลสืบเนื่องต่อการน้าเสนอให้ใช้ เป็นต้นแบบกราฟิกตรามาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 39 แห่งทั่วประเทศ ต่อที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏในล้าดับต่อไป ซึ่งผลงานออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ตระกูลซีอาร์ยู (CRU) นี้ จึงนับว่า เป็นรุ่นแรก ของการทดลองใช้งานผลงานออกแบบตัวอักษร CRU-Chandrakasem, CRU-Rajabhat CRULanChand จัดเป็นแบบตัวอักษรรูปแบบประเภทตัวตกแต่ง (Display typeface) โดยแต่ละแบบนั้นยังมีเพียง น้​้าหนักเดียว ผู้วิจัยเห็น ว่าสมควรที่จะต้องมีการปรับปรุงแบบอักษร ต่อยอดท้าการวิจัยออกแบบสร้างสรรค์ เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ต้นแบบผลงานการออกแบบตัวอักษรหลากหลายให้ครบชุดน้​้าหนัก และด้าเนินการออกแบบ


6

มาตรฐานให้ครบถ้วนกระบวนการ ให้ถูกต้องตามหลักการแห่งศาสตร์ทางศิลปกรรมและความเกี่ยวข้องในภาระ งานอันเป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ร่วมสมัย สามารถรองรับสนับสนุนให้มีการยอมรับอย่าง เป็ น มาตรฐาน เพื่ อการน้ า ไปจดลิ ข สิ ท ธิ์ ป ระเภทงานวรรณกรรม อั น จะเกิ ดประโยชน์ แก่การน้ าไปใช้ เพื่ อ เสริมสร้างอัตลักษณ์ เอกลักษณ์และการสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ตลอดทั้งมีการน้าไปใช้ ประโยชน์ในทางการพิมพ์ ด้านการสื่อสารและสนับสนุนการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้แก่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืนใน ล้าดับต่อไป กรอบแนวคิดของการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบสร้างสรรค์และการพัฒนาผลงานแบบตัวอักษร เพื่อการพิมพ์ ตามหลักกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์และการพัฒนาทางศิลปกรรม (Art and design creation and development process ) และตามหลักกระบวนการพัฒนาโปรแกรมระบบ (Systems development life cycle) ตามกรอบแนวคิดการด้าเนินการดังต่อไปนี้คือ ก.กระบวนการออกแบบและพัฒนาต้นแบบตัวอักษร ตามหลักการด้าเนินงานออกแบบ 3ส:3R คือ 1) การสืบค้น (Research) 2) การสร้างสรรค์ตามสมมติฐาน (Resume) และ3) การสรุปผลงาน(Results) ข.ขั้น ตอนการพั ฒ นาโปรแกรมระบบงานคอมพิ ว เตอร์ ตามหลั กวิ ช าว่ า ด้ ว ยการวิ เคราะห์และ ออกแบบระบบงาน ( System analysis and design ) ตามรูปแบบ The waterfall model (Systems development life cycle) ที่มีการจัดขั้นตอนการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ดังนี้ 1.ก้าหนดรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบงาน ( Requirements ) 2. วิเคราะห์ระบบงานหรือปัญหา (Analysis ) รวมถึงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้ 3. ออกแบบโปรแกรม (Design ) 4. เขียนชุดค้าสั่ง ( Coding ) 5. ทดสอบโปรแกรม ( Testing ) และหาข้อผิดพลาด ( Debugging ) 6. น้าโปรแกรมและระบบงานไปใช้งานจริง (Acceptance) และมีการบ้ารุงรักษา ติดตามผล แก้ไขปรับปรุง ( Software maintenance and improvement ) เพื่อให้ทันสมัยใช้ได้ตลอดไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อออกแบบพัฒนาแบบชุดตัวอักษรและตัวพิมพ์ (Typefaces design) ภายใต้ระบบอัตลักษณ์ แบบตัวอักษรทางการพิมพ์ชุดตระกูลซีอาร์ยู (CRU font family) ให้มีแม่แบบ(Template) น้​้าหนักและ รูปแบบหลากหลาย (Styles and weights) ให้เหมาะสมตามระบบมาตรฐานการพิมพ์ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ สามารถรองรับการปรับแก้และการสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดได้สืบเนื่อง 2. เพื่อจัดท้าไฟล์รูปแบบและน้​้าหนัก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู เป็นไฟล์มาตรฐาน ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถใช้ติดตั้งร่วมใช้งานในโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบ พาณิชย์ และโปรแกรมระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบโอเพ่นซอร์สได้


7

แผนภูมิที่ 1. แสดงกรอบแนวคิดการออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์ตระกูลซีอาร์ยู วิธีดาเนินการวิจัย 1. ระเบียบวิธีวิจัย ในการวิจัยสร้างสรรค์ในครังนี้มีวิธีด้าเนินการ 2 วิธีคือ 1.1 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณา(Descriptive) โดยการศึกษา วิเคราะห์ การเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคเอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ข้อมูลจากสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการที่เกิดจากการน้าผลงานออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ไปใช้งานจริงในระบบการพิมพ์ตลอด ทั้งในระบบการสื่อสาร จากหลักฐานข้อมูลที่ปรากฏ เพื่อน้ามาตั้งเป็นโจทย์สมมติฐาน โดยมีการด้าเนินการ สร้างสรรค์ผลงานตามกระบวนการออกแบบ 3ส:3R โดยมีกิจกรรมดังนี้คือ - ส.1 การสืบค้น การศึกษาข้อมูลความรู้เอกสาร/ภาคสนาม/การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ - การศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะและความต้องการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์


8

- ส.2 การสร้างสรรค์ตามสมมติฐาน (Resume) การน้าเสนอแบบร่างทางความคิด - การก้าหนดกรอบโครงสร้างมาตรฐานแม่แบบชุดอักขระ (Fontface glyphs template mastering) - การออกแบบเขียนแบบรูปอักขระ (Glyphs and fontface making) - ส.3 การสรุปผล (Results) การรายงาน การเผยแพร่ลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาตการใช้ การ ดูแลรักษาและการรับ-ส่งข้อมูลป้อนกลับระบบ 1.2 เป็นการวิจัยพัฒนาทดลอง (Research and development) ตามกระบวนการขั้นตอนการ พัฒนาระบบงานคอมพิว เตอร์ตามหลักวิ ชาว่าด้ วยการวิ เคราะห์และออกแบบระบบงานตามรูปแบบ The Waterfall model (Systems development life cycle) ด้วยการท้ากิจกรรมการศึกษาทดลอง ดังเช่นการ เขียนโปรแกรมค้าสั่งก้ากับการพิมพ์ (Font kerning , Features and ligatures coding) และการทดสอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ร่วมกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการโปรแกรมประยุกต์ทางการพิมพ์ (Office & Desktop publishing ) ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและการทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เว็บฟ้อนต์ (Webfont computer program) ทางระบบเว็บไซต์ออนไลน์สากล (World wide web publishing) เพื่อ ทราบสภาพปัญหาและเพื่อการพัฒนา บันทึก จัดเก็บไฟล์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ที่สมบูรณ์ เป็นต้น 2. กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็ น กลุ่ ม ผู้ ที่ มี ค วามรู้ ด้ า นการออกแบบ ตั ว อั ก ษรและตั ว พิ ม พ์ ที่ ส ามารถใช้ ง านโปรแกรม คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ได้โดยตรง อันได้แก่ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักออกแบบ นักศึกษาที่เรียน ทางด้านการออกแบบทางการพิมพ์ ชุมชนชาวจันทรเกษม และผู้ใช้งานฟ้อนต์คอมพิวเตอร์ทั่วไป 3. เครื่องมือวิจัย 3.1 ต้นแบบตัวอักษรชุด CRU font family 3.2 แบบส้ารวจความคิดเห็น 3.3 แบบบันทึก-สัมภาษณ์ 4. ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ตัวแปรต้น คือแม่แบบ (Master template) รูปแบบ (Style) บุคลิกลักษณะ (Character) ของ ชุดอักษรตระกูลซีอาร์ยู ตัวแปรตาม คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ชุดอักษรตระกูลซีอาร์ยู มีคุณลักษณะของความ หลาก หลายทางรู ป แบบ (Style) และบุ คลิ กลั ก ษณะ (Character) สามารถติ ด ตั้ ง และใช้ ง านร่ ว มกั บ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์เพื่อการผลิตสื่อหรือเอกสารได้ตามระบบการพิมพ์มาตรฐานสากล การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีด้าเนินการดังนี้คือ 1. การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ บันทึกรวบรวม จัดเก็บเป็น ไฟล์ในระบบดิจิตัล 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) 3. การบันทึกผลการพัฒนาทดลองตามกรอบการด้าเนินการออกแบบพัฒนาแบบตัวอักษรและ ตัวพิมพ์แล้วตรวจสอบความคิดเห็นจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจ้านวน 105 คน ด้วยการน้าเสนอผลงานและให้ มี ส่ ว นร่ ว ม ในการเสนอแนะข้ อ คิ ด เห็ น ทั้ ง แบบโดยตรงเป็ น กลุ่ ม ย่ อ ยและผ่ า นทางระบบออนไลน์ ด้ ว ย


9

แบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ แล้วจึงปรับปรุงแก้ไขแบบขึ้นเป็นไฟล์ชุดรูปแบบและน้​้าหนัก (Styles and weights) ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู และสรุปแจ้งเงื่อนไขสัญญาอนุญาตที่ก้าหนดใช้ ให้ประโยชน์ ผลการวิจัย ผลจากการวิจัยตามกระบวนการสร้างสรรค์ และวิธีด้าเนินการวิจัยเชิงส้ารวจตรวจสอบความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่างประชากรแล้ว เห็นว่างานชุดการออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟ้อนต์ตระกูล ซีอาร์ยู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ตามกรอบแนวคิด จันทร์ และมีผลงานฟ้อนต์ ออกมาทั้งหมดนั้น มีคุณลักษณะทางด้านสัดส่วนโครงสร้าง ด้านการก้าหนดตั้งชื่อ ด้านการออกแบบเขียนแบบ รูปอักขระ การโปรแกรมฟ้อนต์ และด้านการน้าไปใช้งาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากในทุกด้าน อัน เป็นไปตามแนวคิดที่เป็นสมมติฐานที่ตั้งไว้ จึงได้สรุปผลการแบบตัวอักษรที่ประกอบด้วย ชุดไฟล์คอมพิวเตอร์ ฟ้อนต์ โดยใช้ชื่อว่า ชุดแบบตัวพิมพ์ตระกูลซีอาร์ยู พร้อมสัญญาอนุญาตสิทธิ์ผู้ใช้ (CRU fonts family end user license agreement (CRU-EULA) มีจ้านวน 4 ชุด รวม 24 ฟ้อนต์ 24 รูปแบบน้​้าหนัก บันทึกเป็น ฟ้อนต์ไฟล์ชนิด ทรูไทป์ (TrueType) โอเพ่นไทป์ (OpenType) และ เว็ปฟ้อนต์ (Webfont) รวมทั้งสิ้น 72 ไฟล์ ดังรายชื่อต่อไปนี้คือ 1.CRU ChandJarus 56 2.CRU ChandJarus 56 Italic 3.CRU ChandJarus 56 Expd 4.CRU ChandJarus 56 Expd Italic 5.CRU ChandJarus 56 Expd 3D 6.CRU ChandJarus 56 Expd 3D Italic ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรา 56 7.CRU Chandra 56 8.CRU Chandra 56 Italic 9.CRU Chandra 56 Expd 10.CRU Chandra 56 Expd Italic 11.CRU Chandra 56 Expd 3D 12.CRU Chandra 56 Expd 3D Italic ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู จันทรเกษม 56 13.CRU Chandrakasem 56 14.CRU Chandrakasem 56 Italic 15.CRU Chandrakasem 56 Expd 16.CRU Chandrakasem 56 Expd Italic 17.CRU Chandrakasem 56 Expd 3D 18.CRU Chandrakasem 56 Expd 3D Italic ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ลานจันทร์ 56 19.CRU LanChand 56 20.CRU LanChand 56 Italic 21.CRU LanChand 56 Bold 22.CRU LanChand 56 Bold Italic 23.CRU LanChand 56 Expd 24.CRU LanChand 56 Expd Italic โดยทั้งหมดได้จัดเก็บและรวบรวมแสดงไว้เป็นเอกสารคู่มือแสดงลักษณะการใช้งานแบบตัวพิมพ์ตระกูลซีอาร์ยู พร้อมสัญญาอนุญาตสิทธิ์ผู้ใช้ จ้านวน 4 เล่ม พร้อมแผ่นดีวีดีที่บันทึกไฟล์ต้นแบบและโดยจัดเก็บเป็นชนิดไฟล์ ตามมาตรฐานสากล ที่ ส ามารถน้ า ไปใช้ ใ นการเผยแพร่ และติ ด ตั้ ง ร่ว มใช้ เ ป็ น ฟ้ อ นต์ ในระบบปฏิ บั ติ การ คอมพิวเตอร์ระบบพีซี ลินุกซ์และแมคอินทอช ซึ่งมีการแจ้งเงื่อนไขสัญญาอนุญาต ให้มีการน้าไปใช้ประโยชน์ ได้ทั้งกรณีส่วนบุคคลหรือองค์กรที่ไม่หวังผลก้าไร และการแจ้งเงื่อนไขสัญญาอนุญาตการใช้งานไว้ในเชิ ง พาณิชย์ โดยได้น้าเสนอและเผยแพร่องค์ค วามรู้และผลงานวิจัยไว้ที่ URL : http://cru-font.blogspot.com และที่เว็บไซต์ http://www. chandrakasem.info อภิปรายผลการวิจัย การอภิปรายผลวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้คือ 1 จากสรุ ป ผลการวิ จั ย ที่ พ บว่ า ได้ ผ ลงานชุ ด การออกแบบพั ฒ นาแบบตั ว พิ ม พ์ แ ละโปรแกรม คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู มีการออกแบบจ้านวน 4 ชุด อันได้แก่แบบตัวพิมพ์ชุดซีอาร์ยู ลานจันทร์ 56


10

แบบตัวพิมพ์ชุดซีอาร์ยู จันทรเกษม 56 แบบตัวพิมพ์ชุดซีอาร์ยู จันทรา 56 และ แบบตัวพิมพ์ชุดซีอาร์ยู จันทร์ จรัส 56 รวมจ้ านวน 24 ฟ้ อนต์ 24 รูปแบบน้​้ าหนั ก และบั นทึ กเป็ นฟ้อนต์ไ ฟล์ ชนิด ทรูไทป์ ( TrueType) โอเพ่นไทป์ (OpenType) และ เว็ปฟ้อนต์ (Webfont) รวมทั้งสิ้น 72 ไฟล์ ได้ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ก็เนื่องจากการสร้างไฟล์ต้นแบบจากโปรแกรมที่มีเครื่องมือสร้างที่มีประสิทธิ ภาพระดับมืออาชีพแบบสากล (Professional font editor) แม่แบบอันเป็นต้นแบบไฟล์ที่ สามารถออกแบบสร้างรูปลักษณ์อักขระ เครื่องหมายได้คล้ายกับโปรแกรมเวคเตอร์กราฟิกทั่วไปที่ผู้มีพื้นฐานด้านการออกแบบมาแล้วสามารถเรียนรู้ได้ เร็ว และประยุกต์ใช้งานค้าสั่งให้สร้างผลพิเศษของแบบตัวอักษรได้มากมายหลากหลายรูปแบบ สามารถเขียน ค้าสั่ง ( Features encoding) เพิ่มเติมได้และสามารถแก้ไขไฟล์เพื่อเห็นผลทดสอบผลพิมพ์ได้อย่างสอด ประสานเวลา อีกทั้งยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกับหนดและเลือกค่าค้าสั่งอัตโนมัติที่เป็ นมาตรฐานเดียวกันของ การเข้ า รหั ส การถอดอ่ า นและรองรั บ กั บ การพั ฒ นามาตรฐานการเข้ า รหั ส สากลของทาง Unicode (Fontlab.com,2013) ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวคิดที่ จิระ จริงจิตร (2548:2) ที่กล่าวไว้ว่าฟ้อนต์เป็นตัวพิมพ์ดิ จิตัลที่ประณีตมากกว่าตัวเรียงพิมพ์จากตัวตะกั่ว ทั้งรูปอักษร (Glyph) และช่องไฟระหว่างตัวอักษร (Letter spacing) ที่เกิดจากการที่คนสร้างขึ้นมาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงสามารถเรียกได้ว่าฟ้อนต์หรือตัวพิมพ์ อิเลคทรอนิกส์ก็คือตัวอักษรพร้อมช่ องไฟส้าเร็จรูปที่มีคนออกแบบไว้ให้เราใช้นั่นเอง ซึ่งจากการที่ต้องมีการ ออกแบบให้มาความหลากหลายน้​้าหนักและรูปแบบนั้น ก็เพราะว่าการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์นั้น เป็น ศาสตร์ที่มี ความส้า คัญด้ านการสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบศิลปะประยุกต์ โดยเฉพาะงาน ออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial arts) งานเรขนศิลป์ (Graphic design) และงานด้านการออกแบบนิเทศ ศิลป์ (Visual Communication design) ที่มีความจ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์ประกอบของตัวอักษรเข้าไป ร่วมมีบทบาทอยู่ด้วยเสมอ (วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์,2545:26) ทั้งนี้ก็เพื่อให้การสื่อสารและการถ่ายทอดข้อมูล สารสนเทศนั้นๆมีประสิทธิภาพทางการอ่าน การแปลความหมายและยังได้คุณค่าทางทางสุนทรียรสเติมเต็มไป ด้วยนั่นเอง 2 จากผลการวิจัยและการออกแบบสร้างสรรค์ชุดแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์เอกลักษณ์มาตรฐานของ มหาวิท ยาลัย ราชภัฏจั นทรเกษม ท้า ให้ได้ ชุ ด แบบตั วอักษรที่ มี สั ดส่ ว นโครงสร้า งตามมาตรฐานของ รูป ตั ว อักษรไทย ทั้งแบบหลักและแบบเลือก (ราชบัณฑิตยสถาน,2540:33) โดยได้ก้าหนดใช้ชื่อตระกูลแบบตัวพิมพ์ (Font family) เฉพาะว่า ซีอาร์ยู (CRU) เวอร์ชั่นที่ 2.000 ซึ่งได้ติดตั้งและทดสอบร่วมกับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์และระบบแมคอินทอช มีการทดสอบซ้​้าและได้ร่วมทดลองใช้งานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ส้านักงาน (Office applications) และโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก (Vector & raster graphics applications) โดยได้รับความร่วมมือในการน้าไปใช้ทดสอบและได้ผลตอบรับกลับเป็นอย่างดีจากผู้บริหารของหน่วยงาน อาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่าพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัย ตลอดทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบ จาก ภาคเอกชน โดยมีเริ่มมีการน้าแบบตัวอักษรไปทดลองใช้งานจริงตามวัตถุประสงค์เชิงประจักษ์จริงในการ น้าไปใช้งานคือ เป็นทั้งแบบตัวเรียงพิมพ์เนื้อหา (Text font) และได้แบบตัวอักษรประเภทตัวตกแต่ง (Display typeface) ที่น้าไปใช้เพื่อการตกแต่งข่าวสาร เช่นการน้า ไปใช้เป็นตัวเน้นข้อความส่วนพาดหัวข่าว ใช้เป็นชื่อ หรือหัวข้อส้าคัญ (Heading or headline) และการรักษาบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของความเป็นตัวอักษร บุคคลิกเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการรับรู้ของสังคมได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่มีแบบตัวอักษรชื่อซีอาร์ยู ลานจันทร์ 56 ให้ใช้ร่วมเป็นตัวจัดเรียงเนื้อหา (Main copy text typeface) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ


11

มหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม ดังที่ผู้วิจัยได้น้ามาใช้เป็นแบบตัวเรียงพิมพ์แสดงเนื้อหาทั้งหมดในรายงาน ผลการวิจัยเล่มสมบูรณ์ และดังที่มีการน้าแบบอักษรชุดดังกล่าวนี้ไปใช้งานเพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ขององค์กรแล้ว ดังเช่นในงานประเภทกราฟิกสื่อ-สิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิเช่น วารสารจันทรเกษมสาร,จดหมายข่าวจันทร์กระจ่างฟ้า จดหมายข่าวประจ้าคณะ แผ่นพับจากหน่วยงาน สาขาวิชา คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา และเว็บไซต์ต่างๆ เกี่ยวข้องกับภาระกิจในวัตถุประสงค์ พันธกิจและวัฒนธรรมขององค์กรสืบไป ดังที่ จิระ จริงจิตร (2548:4) ได้ กล่าวไว้ให้เห็นถึงความส้าคัญของการออกแบบพัฒนาตัวอักษรเอาไว้ว่า ตัวอักษรก็คือสิ่งหนึ่งที่สะท้อนถึง วัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ ตัวอักษรแต่ละตัวหมายถึง การสะสมของวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยนับหลาย ร้อยปี ถ้าถือว่าเป็นงานศิลปะ ก็ถือว่าเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ มีคุณค่า สืบต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ที่พิเศษกว่า นั้นก็คือ มีการประยุกต์และเปลี่ยนแปลงได้ตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบ ซึ่งในขณะเดียวกันก็คง ลักษณะส้าคัญของการเป็นตัวอักษรไทยเอาไว้ ท้าให้เป็นงานศิลปะที่ผสานความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม กับการออกแบบในแต่ละยุคเอาไว้ เป็นจุดรวมของงานเก่าและงานใหม่ได้อย่างน่าอัศจรรย์ 3. การประกาศแจ้งสัญญาอนุญาตสิทธิ์ผู้ใช้ ไว้เพื่อประกาศและเป็นข้อมูลเพื่อน้าแจ้งจดลิขสิทธิ์ ให้ ครอบคลุมการน้าไปใช้งาน ทั้งภารกิจที่เป็นทั้งเชิงการศึกษาเรียนรู้ส่วนตัว องค์กร เชิงสาธารณะ หรือในเชิง พาณิชย์ มอบเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย ได้ใช้เผยแพร่ภาพลักษณ์ผ่านทางอัตลักษณ์ทางฟ้อนต์นี้ได้อย่าง กว้างไกล ซึ่งชุดผลงานก็สอดคล้องกับผลงานการออกแบบชุดตัวอักษรอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร ที่ ทินวงษ์ รักอิสสระกุล (2554) ได้วิจัยสร้างสรรค์ไว้ให้แก่สถาบัน อันจะเป็นประโยชน์ ก่อให้เกิดมูลค่าเชิงทรัพย์สินทางปัญญา โดยการน้าไปแจ้งจดเป็นลิขสิทธิ์ด้านคอมพิวเตอร์และนับเป็นสิ่งที่ต้อง มีแจ้งไว้เช่นเดียวกัน กับที่ฟ้อนต์แห่งชาติ หรือเช่นเดียวกับผู้ผลิตฟ้อนต์ของภาคเอกชนที่ต้องจดแจ้งไว้ เช่นกัน ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะอันเป็นผลจากการวิจัยและหรือสาระสืบเนื่องในครั้งนี้ มีดังนี้คือ 1.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ควรมี นโยบายการน้าฟ้อนต์อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยชุดนี้ ไปใช้ ประโยชน์อย่างจริงจังในทุกหน่วยงานและโดยตรง ซึ่งบุคลากรทุกระดับ ควรต้อง คอยสอดส่องดูแลเอาใจใส่ให้ความส้าคัญกับงานวิจัย สร้างสรรค์ งานประดิษฐ์อันเป็นภูมิปัญญาของบุคคลากร และคนในองค์กรก็ควรร่วมมือร่วมใช้กันอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมทางกฏหมาย ไม่ไปละเมิ ด ลิขสิทธิ์ฟ้อนต์ของผู้ผลิตอื่น อีกทั้งยังสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฟ้อนต์ เพื่อติดตั้งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั้งมหาวิทยาลัย และยังถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาด้าน ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม ของมหาวิทยาลัย ที่มีมูลค่า สามารถถือสิทธิ์สืบทอดได้ยาวนาน และพัฒนาให้มีรูป อักขระอื่นๆเพิ่มเติม เพิ่มภาษาอื่นเข้าร่วมใช้ได้อีก 2.ข้อเสนอแนะเชิง ปฏิบั ติ มหาวิ ท ยาลั ย ควรส่ ง เสริม ให้มี การออกแบบสร้างสรรค์ พั ฒ นาฟ้ อนต์ คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตฟ้อนต์คอมพิวเตอร์ในภาคหน่วยงานของรัฐที่ถือครองลิขสิทธิ์ โดยชอบธรรม โดยเฉพาะมีศักยภาพ มีความพร้อมทั้งทางด้านเงินทุนสนับสนุน มีบุคคลากรทั้งคณาจารย์ ประจ้าการและนักศึกษาที่มีการเรียนรู้ในหลักสูตรวิชา มีปัญญาประดิษฐ์ สามารถน้าเอาไฟล์ต้นแบบหรือแบบ อักษรอัตลักษณ์นี้ ไปออกแบบพัฒนาต่อยอด ขยายแบบ เผยแพร่สู่การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ หรือน้าไป ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ให้เกิดสกุลฟ้อนต์ CRU ได้อีกมากมายและสร้างสรรค์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อสามารถ


12

สร้างเอกลักษณ์ทางภาพลักษณ์รวม ให้บังเกิดแก่กลุ่มองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ให้มีโอกาสได้ ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยสร้างสรรค์หรือเกิดการพัฒนาร่วมกัน 3.ข้อเสนอแนะส้าหรับการวิจัยครั้งต่อไป 3.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องและบูรณาการกับศาสตร์สาขาอื่นๆ เช่นทางสาย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ เพื่อให้ได้ค้าตอบที่ชัดเจนด้านความส้าคัญของแบบตัวอักษรและตัวพิม พ์ คอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ที่มีผลกระทบต่อเอกลักษณ์และวัฒนธรรม ทางการสื่อสารทางภาษา ทางการพิมพ์ หรือ เพื่อการพาณิชย์ เช่นเรื่อง ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ฟ้อนต์ 3.2 ควรมีการออกแบบสร้างสรรค์ โปรแกรมฟ้อนต์ตระกูลและรูปแบบอื่นอย่างต่อเนื่อง เช่น ฟ้อนต์ที่มีรูปแบบคุณลักษณะอักขระตามแบบหลักที่เป็นเอกลักษณ์ตามวิธีเขียนเฉพาะไทยเดิมตามอย่างต้านาน หรือตามที่ก้าหนดแนวทางไว้โดยราชบัณฑิตสถานในเชิงอนุรักษ์ และสามารถน้ารูปแบบไปต่อยอด ขยาย คลี่คลายเป็นรูปแบบที่ร่วมสมัยให้มากขึ้น และควรเพิ่มเติมแบบตัวอักษรหรือตั วพิมพ์ในภาษาอาเซียนเข้าร่วม ใช้ในแม่แบบไฟล์ตัวพิมพ์ เช่นให้มีภาษาละติน ไทย ลาว รวมเป็น 3 ภาษา หรือมีภาษาร่วมใช้ 2 ภาษาเช่น ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา เพื่อสามารถสนองประโยชน์ด้านการพิมพ์ และการใช้งานประกอบร่วมในแบบงานสร้าง สื่อ หรือสร้างแม่แบบไฟล์ให้รองรับกับการแบบดิจิตัลฟ้อนต์ได้อย่างสากล

ภาพที่ 1.ภาพผลงานวิจัยสร้างสรรค์ ออกพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ตระกูลซีอาร์ยู ชือ่ CRU LanChand 56 ,CRU Chandra56 ,CRU Chandrakasem 56 และ CRU ChandJarus 56 ที่มา : ประชิด ทิณบุตร, 2556


เอกสารอ้างอิง จิระ จริงจิตร.(2548). OpenType. นนทบุรี:ส้านักพิมพ์ Core function. ทินวงษ์ รักอิสสระกุล.(2554). รายงานการวิจัยเรื่องการออกแบบชุดตัวอักษรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร.สาขาวิช าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ประชิด ทิณบุตร.(2531). การออกแบบกราฟฟิค. กรุงเทพ:โอเดียนสโตร์. ------------.(2554). รายงานการวิจัยเรื่องการออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์มาตรฐานสาหรับมหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม.กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พ.ศ. 2554. ราชบัณฑิตยสถาน.(2540). มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย.กรุงเทพฯ:อรุณอัมรินทร์. วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์.(2545). อักษรประดิษฐ์.กรุงเทพฯ:ส้านักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร. ส้านักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ.(2556). “13 ฟอนท์แห่งชาติ”. ” (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่ : http://www.sipa.or.th/ewt_news.php?nid=481. [5 ธันวาคม 2555] Font.com.(2013).” Fontlab Products”. (Online). Available : http://www.fontlab.com/fontlabproducts/ [2013,October 8] Whatis.com.(2013). “Definition/font” (Online). Available : http://whatis.techtarget.com/definition /font. [2013,October 10]


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.