ภูเก็ตเจอร์นอล วารสารข่าวดีดี ฉบับที่ 2

Page 1

ฉบับที่ 2, ปีที่ 1, 1 กันยายน 2554 - 15 ตุลาคม 2554

ขาวดีดี ปรับความคิด ดวยเนื้อหาเชิงสรางสรรค

รับพลัง หนา 26

สบายสบาย หนา 28

รับความสุข หนา 25

รักการให้ หนา 16

ข่าวดีทั่วไป

รักสังคม หนา 18

รักชุมชน หนา 20

แจ่มใส หนา 22

ข่าวดีเด่น หนา 2

ราคา 89 บาท

ข่าวดีทั่วไป หนา 4

เก็บเล็กผสมน้อย

หนา 8

หนา 5

ก�ำลังใจ หนา 29

เปิดมุมมอง หนา 23

เก็บมาเล่า หนา 10


2

เศรษฐกิจ

www.phuketjournal.com

ขาวดีเดน

ต่างชาติพาเหรดขอลงทุนรถไฟฟ้าภูเก็ต

นักลงทุนต่างชาติ ทั้งจากจีน และเกาหลี เสนอตัวเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟฟ้า รางเบาที่ภูเก็ตแล้ว 12 บริษัท ผู้ว่าฯ เผย อีกประมาณ 2 เดือน ออกประกาศจังหวัด ภู เ ก็ ต เชิ ญ ชวนมาลงทุ น ได้ แ ล้ ว เส้ น ทางละกว่า 10,000 ล้านบาท

บริษัท ไกดวิชั่น จ�ำกัด 9/98 ม.3 ถ.รัษฎานุสรณ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทร. 0 7624 0749 แฟกซ. 0 7624 0750

ปรับความคิดเชิงบวก กับเว็บไซตขาวสารดีๆ ดวยเนื้อหาเชิงสรางสรรค

www.phuketjournal.com

สวนบรรณาธิการ บรรณาธิการอ�ำนวยการ : จอมนภา อุทัชกุล บรรณาธิการบริหาร : สิริพงษ มุกดา ผูชวยบรรณาธิการ : ผกากรอง แทนพลหวล หัวหนาศิลปกรรม : ภราดร พรมเกิด ศิลปกรรม : อัสมะ อับดุลมาแน, ไซนุรดิน เจ๊ะอาลี ภาพประกอบ : สิริสวรรค เหมทานนท, จุรีรัตน กาวี ประชาสัมพันธ : ศศิธรรัตน พรมวิชัย ฝายขาย / ลูกคาสัมพันธ : หนึ่งหทัย ชลชวลิต


เศรษฐกิจ นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยถึงการเสนอตัว เข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างชาติ ในโครงการรถไฟฟ้ารางเบา จังหวัดภูเก็ต ภายหลัง นายคัง ชิน ยัง (Keang Shin-Yong) ตัวแทน จาก บริษทั เกียงน�ำ จ�ำกัด พร้อมคณะเข้าพบ เพือ่ ขอข้อมูลการลงทุน โครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต ที่ห้องท�ำงาน วันนี้ (24 ส.ค.) ว่า ขณะนี้มีนักลงทุนชาวต่างชาติเสนอตัวเข้ามาลงทุนในโครงการ รถไฟฟ้ารางเบาที่จังหวัดภูเก็ตแล้วทั้งสิ้น 12 ราย หลังจากที่จังหวัด ได้เปิดโอกาสให้นกั ลงทุนเสนอตัวเขา้ มา ซึง่ ทัง้ หมดเป็นนักลงทุนจาก ประเทศจีน และเกาหลี ลา่ สุด ทีเ่ ขา้ พบเป็นตัวแทนจากบริษทั เกียงน�ำ ซึง่ เป็นบริษทั ทีม่ ฐี านะ ทางการเงินติด 1 ใน 10 ของเกาหลี และเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ การท�ำรถไฟฟ้าในหลายประเทศ ทั้ง เซาท์แอฟริกา ตะวันออกกลาง และยุโรป ก็ไดม้ าเสนอตัวขอเขา้ มาลงทุนในโครงการดังกลา่ วอีกด้วย

www.phuketjournal.com

3

อย่างไรก็ตาม บริษัทที่เสนอตัวเข้ามาทั้งหมด 12 ราย จากการ พิจารณาข้อมูลในเบื้องต้นมีเพียง 4 รายเท่านั้น ที่คิดว่าสนใจเข้า มาลงทุนจริง ๆ เป็นบริษัทจากเกาหลี 3 ราย และเป็นบริษัทจากจีน 1 ราย โดยเส้นทางที่นักลงทุนสนใจจะเป็นเส้นทางจากสนามบิน มายังตัวเมืองภูเก็ต ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท

“หลังจากหารือในเบื้องต้นแล้ว บริษัท เกียงน�ำ จะน�ำประธานบริษัท มาพบกับหน่วยงานต่าง ๆ ของจังหวัดภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง ในเร็ว ๆ นี้ พร้อมกับทีมวิศวกร ซึ่งได้รับการยืนยันจากตัวแทนว่า บริษัทสนใจ เขา้ มาลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบาของภูเก็ตจริง ๆ โดยได้รบั ทราบ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จึงได้ติดต่อผ่านมาทางกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ในการมาพบกับผู้ว่าฯ และขอข้อมูลในเบื้องต้น” อย่างไรก็ตาม นายประเจียด ยังกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาทางจังหวัด ภู เ ก็ ต ได ้ เ คยมี ก ารว ่ า จ ้ า งบริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษาท� ำ การศึ ก ษาออกแบบ นายตรี กล่าวอีกว่า จากนี้ประมาณ 2 เดือน จังหวัดจะสามารถ เบื้องต้นโครงการรถไฟฟ้ารางเบารอบเกาะภูเก็ต ได้ข้อสรุปว่า ให้มี ประกาศเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนในโครงการรถไฟฟ้ารางเบา การก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาใน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย ได้ เพราะขณะนี้รายละเอียดของประกาศเชิญชวนให้บริษัทต่างๆ เสนอเข้ามาลงทุน อยู่ในขั้นตอนที่ส�ำนักงานอัยการสูงสุดก�ำลัง • เส้นทางสนามบิน-ห้าแยกฉลอง พิจารณาใหถ้ กู ตอ้ งตามกฎหมาย เมือ่ มีการเสนอตัวเขา้ มาลงทุนแล้ว • เส้นทางจากสามแยกบางคู-ตัวเมืองภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง จะมีคณะกรรมการในระดับจังหวัดภูเก็ต ที่มีทั้งภาครัฐ เอกชน และ • ตัวเมืองภูเก็ต-กะทู้-ป่าตอง รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร สื่อมวลชน จะพิจารณาคัดเลือกให้เหลือบริษัทที่มีศักยภาพสูงสุดใน การเข้ามาลงทุนโดยจะดูจากฐานะทางการเงิน ประสบการณ์การ โดยขณะนี้ได้ตั้งคณะท�ำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ลงทุนโครงการรถไฟฟ้า เงื่อนไขการเสนอตัวเข้ามาลงทุน รวมไป ซึ่งคิดว่าในอนาคตจะมีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะมีการ ถึงประเด็นอื่น ๆ ให้เหลือประมาณ 3 บริษัท เพื่อเสนอไปยังรัฐบาล ประชุมร่วมกันมากขึ้น พิ จ ารณาเลื อ กบริ ษัท ที่มีศัก ยภาพสูงสุด เป็นผู้ล งทุนในโครงการ ดังกล่าว

ขาวดีเดน

ด้าน นายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การ พัฒนาจังหวัด ส�ำนักงานจังหวัดภูเก็ต ชี้แจงเกี่ยวกับความคืบหน้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบา รอบเกาะภูเก็ต ว่าสืบเนื่องจาก การประชุมรับฟังความเห็นชอบให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบา แต่ ยังไม่มีงบประมาณเห็นควรเสนอของบประมาณโดยผ่านกระทรวง คมนาคม ซึ่งต่อมากระทรวงคมนาคมแจ้งว่าไม่มีงบประมาณ เช่น กัน ต้องให้เอกชนเข้าด�ำเนินการ และในการประชุมคณะกรรมการ ร่ ว มภาครั ฐ และเอกชนเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาทางเศรษฐกิ จ จั ง หวั ด (กรอ.จังหวัดภูเก็ต) มีมติให ้จังหวัดจัดหาผู ้มาท�ำการศึกษาและ ออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าฯ โดยมีเงื่อนไขว่า ทางราชการไม่จ�ำเป็นต้องจ่ายเงินของทางราชการในค่าศึกษาและ ออกแบบและทางจังหวัด ได้ทำ� หนังสือเชิญบริษทั เอกชนหลายบริษทั ท�ำการศึกษาโครงการ


www.phuketjournal.com

4

เศรษฐกิจ

ภูเก็ตเปิดมหกรรมนวดไทย

บันทึกสถิติโลก 584 คู่ ที่หาดกะตะ

ที่ ขาวดีทั่วไป

บริ เ วณชายหาดกะตะ ต.กะรน อ.เมื อ ง จ.ภู เ ก็ ต นพ.สมชั ย ภิ ญ โญพรพาณิ ช ย ์ อ ธิ บ ดี ก ร ม ส นั บ ส นุ น บ ริ ก า ร สุ ข ภ า พ กระทรวงสาธารณสุ ข เป็ น ประธานเปิ ด งาน “584 ดวงใจ นวดไทย เทิ ด ไท้ อ งค์ ร าชั น ย์ ” ตาม โครงการ World Record For Thai Massage ซึ่ ง ท า ง ส� ำ นั ก ง า น ส า ธ า ร ณ สุ ข จั ง ห วั ด ภู เ ก็ ต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับผู้ประกอบการสปาใน จ.ภูเก็ต และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น โดยมีผู้นวดและผู้ถูกนวดซึ่งมีทั้งนักทอ่ งเทีย่ วชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วม จ�ำนวน 584 คู่ โดยจัดใหม้ กี ารนวดบา่ คอและไหล่ เป็นเวลาประมาณ 30 นาที ตลอดแนวชายหาดกะตะ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนประชาสัมพันธ์โครงการมหกรรม WORLD RECORD FOR THAI MASSAGE หรือมหกรรมนวดไทยบันทึกสถิติโลก 840 คู่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข จะจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ โครงการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชียหรือเมดิคัลฮับ รวมทั้งเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของการนวดและสปาไทย นพ.สมชัย กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มี ภ ารกิ จ หลั ก ในการส่ ง เสริ ม ธุ ร กิ จ การนวดไทยและธุ ร กิ จ สปาไทยให ้ เ ป็ น ที่ รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยร่วมมือกับกระทรวง ทบวง กรมและหน่วย งานต่ า งๆ เพื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น โดยยกระดั บ มาตรฐาน ของธุ ร กิ จ บริ ก ารสุ ข ภาพไทยให ้ ส ามารถแข ่ ง ขั น ได ้ ใ นเวที โ ลก จึ ง ได้ จั ด กิจกรรมดังกล่าวขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวส�ำคัญ เพื่อสร้างกระแสการนวดไทย ส�ำหรับการจัดที่จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน “มหกรรม 584 ดวงใจนวดไทยเทิด ไท้องค์ราชันย์” เพื่อเป็นการประกาศให้ทั่วโลกรับรู้ว่าศักยภาพของหมอนวดไทย ในจังหวัดภูเก็ต ไม่ด้อยกว่าชาติใดในโลก ซึ่งได้มีการนวดแบบผสมผสานระหว่าง ธรรมชาติที่สวยงามและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของภาคใต้อย่างลงตัว ซึ่งในการ จัดนวดไทยบันทึกสถิตโิ ลกได้จดั มาแล้ว 2 ครัง้ ครัง้ แรกที่ จ.เชียงใหม่ จ�ำนวน 199 คู่ ครั้งที่ 2 จ.อุบลราชธานี จ�ำนวน 2,784 คู่ ครั้งที่ 3 จ.ภูเก็ต ครั้งที่ 4 เกาะสมุย (จ.สุราษฏร์ธานี) และครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพมหานคร นพ.สมชัยกล่าว


เศรษฐกิจ

www.phuketjournal.com

5

“อุโมงค์ลอดเขาป่าตอง” ตั้งเป้ายกระดับคมนาคมเกาะภูเก็ต

าดปา่ ตอง อ�ำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ถือเป็นพืน้ ทีใ่ นโซนของ การท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับโลกส�ำหรับภูเก็ต สังเกต ได้จากการเป็นศูนย์กลางของการลงทุนในธุรกิจโรงแรม และรีสอร์ท ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่คือ ความแออัดในเส้นทางเข้าสู่ ปา่ ตอง ด้วยรัศมีครอบคลุมพืน้ ที่ 32 ตารางกิโลเมตร การเดินทางเขา้ สูป่ า่ ตองทีผ่ า่ นมา จะใช้ทางหลวงหมายเลข 4029 ซึง่ เป็นเส้นทางหลัก

ดังนั้น เพื่อลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนเส้นทาง 4029 ซึ่งเป็น เส้ น ทางหลั ก เพี ย งเส ้ น ทางเดี ย วในการเดิ น ทางเข ้ า -ออก ป่ า ตอง ทางเทศบาลเมื อ งป่ า ตอง ในฐานะหน่ ว ยงานที่ ดู แ ลและ จัดการพื้นที่ จึงได้มีการว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท เอพซิลอน จ�ำกัด ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บางเขน คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ และบริ ษั ท แพลนโปร จ�ำกัด จัดท�ำโครงการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สั ง คม วิ ศ วกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล ้อ ม โครงการก่ อสร้ า ง ทางหลวงแนวใหม่ เชือ่ มตอ่ กะทู-้ ปา่ ตอง โดยเริม่ ด�ำเนินการมาตัง้ แต่ ปี 2552 ส� ำ หรั บ แนวทางที่ เ หมาะสมตามที่ มี ก ารศึ ก ษาไว ้ แบ ่ ง ออกเป็ น 4 เส้ น ทาง แต่ มีก ารสรุปถึงความเหมาะสม โดยได ้มีก ารเลื อก แนวทางเลือกที่ 2 ซึ่งเริ่มจากทางหลวงหมายเลข 4029 เริ่มต้น ที่ กม. 0+850 ม. มาทางด้านซ้าย (ทิศใต้) เป็นถนนขนาด 4-6 ช่องจราจร ทางแยกบริเวณนี้เป็นทางแยกระดับดิน ควบคุมการ จราจรด้วยระบบสัญญาณไฟ อนาคตเมื่อปริมาณการจราจรเพิ่ม มากขึ้ น อาจก่ อ สร้ า งสะพานลอยข้ า มแยกตามแนวทาง หลวง หมายเลข 4029 แนวเส้ น ทางเบี่ ย งตั ว ลงทางทิ ศ ตะวั น ตกเฉี ย ง ใต้ และลอดใต้ป่าเขานาคเกิด จัดให้มีจุดกลับรถก่อนเข้าอุโมงค์ โดยรู ป แบบของอุ โ มงค ์ แ ยกออกเป็ น 2 อุ โ มงค ์ แยกห่ า ง

ขาวดีทั่วไป

แ ต ่ เ นื่ อ ง จ า ก ส ภ า พ เ ป ็ น ภู เ ข า มี ค ว า ม ล า ด ชั น แ ล ะ ค ด เคี้ ย ว แม ้ จ ะมี ร ะยะทางจากตี น เขาฝั ่ ง ต.กะทู ้ จนถึ ง ตี น เขาฝั ่ ง ต.ปา่ ตอง เพียง 2 กิโลเมตรเทา่ นัน้ แตก่ ลับพบวา่ ในแตล่ ะปี จะมีสถิติ การเกิดอุบัติเหตุเป็นจ�ำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน และในช่วงที่มีฝนตกหนักก็มักจะ เกิดอุบตั เิ หตุขนึ้ บ่อยครัง้ สง่ ผลใหม้ ผี บู้ าดเจ็บและเสียชีวติ เป็นจ�ำนวน มาก สง่ ผลเสียตอ่ ภาพลักษณ์ของการเป็นเมืองท่องเทีย่ ว และโอกาส ทางด้านการแข่งขัน เมื่อเทียบกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ในประเด็นของ ความปลอดภัย

กั น 25 เมตร ลอดใต้ เ ขานาคเกิ ด เริ่ ม ต้ น ที่ กม. 0+625 ม. สิ้ น สุ ด ที่ ป ระมาณ กม. 2+175 ม. ที่ ร ะดั บ ความสู ง ประมาณ +45.000 ม. รทก. ถึง +50.000 ม. รทก.รวมความยาวของอุโมงค์ 1,550 ม. ส�ำหรับอุโมงค์ฝั่งทิศใต้ และ 1,530 ม. ส�ำหรับอุโมงค์ฝั่งทิศ เหนือ จากนัน้ จะเป็นโครงสรา้ งสะพานขา้ มถนนพิศษิ ฐก์ รณียย์ าว 504 เมตร ความยาวช่วงสะพาน 30-36 เมตร โดยมีจุดสิ้นสุดอยู่ที่ กม.2 + 686 และเชื่อมกับถนนตามผังเมืองรวมสาย ก ที่บริเวณใกล้อาคาร APK Resort ฝั่งเหนือ รวมความยาวประมาณ 3.07 กิโลเมตร รูป แบบทางแยกจุดบรรจบถนนตามแนวผังเมืองรวมสาย ก มีลักษณะ เป็นทางแยกระดับดิน และหากมีปริมาณจราจรสูง อาจก่อสร้างเป็น สะพานข้ามทางแยกตามแนวถนนผังเมืองรวมสาย ก ได้ในอนาคต


6

www.phuketjournal.com

ขาวดีทั่วไป

“ผลการศึกษาได้ด�ำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และอยู่ระหว่างรอการส่ง มอบรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์จากบริษัทที่ปรึกษา และ เมื่อได้รับมาแล้ว ทางเทศบาลป่าตองก็จะส่งไม้ต่อให้กับทางจังหวัด ภูเก็ตด�ำเนินการประสานกับหนว่ ยงานทีร่ บั ผิดชอบ เชน่ แขวงการทาง ทางหลวงชนบท ต่อไป ส่วนข้อคัดค้านของประชาชนบางส่วนที่มีอยู่ นัน้ ไมไ่ ดเ้ ป็นปัญหาแตอ่ ย่างใด เพราะสามารถทีจ่ ะแสดงความคิดเห็น ได้ตามครรลองของกฎหมาย และจากรูปแบบที่มีการน�ำเสนอมานั้น เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบก่อสร้างประมาณ 5,000 ล้านบาท” เปี่ยน กี่ สิ้น นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง อ�ำเภอกระทู้ จ.ภูเก็ต ให้ความเห็น

เศรษฐกิจ หาแนวทางอื่นแทน เช่นเดียวกับ สมเกียรติ คุรุรัฐนันท์ หนึ่งในแกน น�ำผู้คัดค้านไม่เอาอุโมงค์ ให้ข้อมูลว่า จากการพูดคุยกับประชาชน ในพื้นที่ป่าตอง ต่างไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะจะเกิดผลกระ ทบกับวิถีชิตของชุมชน โดยเฉพาะชุมชนบ้านมอญ และยังเห็นว่ามี ทางเลือกอืน่ ๆ ทีใ่ ชเ้ งินลงทุนไมม่ าก ทัง้ การปรับปรุงเสน้ ทางเดิมหรือ เส้นทางอื่น ๆ ที่มีอยู่ สถานการณ์ในขณะนี้แม้โครงการอุโมงค์ป่าตอง จะมีการศึกษา ความเหมาะสมเสร็ จ เรี ย บร ้ อ ยแล ้ ว แต ่ ด ้ ว ยภาพของการเป็ น โครงการขนาดใหญ ่ ที่ จ ะต ้ อ งใช ้ ง บประมาณเป็ น หลั ก พั น ล ้ า น บาท เมื่อผนวกเข้ากับแรงต่อต้าน จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ว ่ า ที่ สุ ด แล ้ ว โครงการนี้ จ ะก ้ า วเดิ น ไปได ้ ต ามเป้ า หมายที่ ว างไว ้ หรือไม่ แม้ว่าเบื้องต้นจะมีการตอบรับในแง่ของผู้ลงทุนที่แลกรับ ผลประโยชน์จากโครงการนี้ผ่านการได้รับสัมปทาน

โดยขณะนี้มีนักลงทุนจากประเทศเกาหลีให้ความสนใจที่จะเข้ามา ลงทุน แต่ก็ต้องมาดูเงื่อนไขว่าจะออกมาในรูปแบบใด เพราะเป็น โครงการขนาดใหญ่อ�ำนาจการตัดสินใจจะอยู่ที่รัฐบาลกลาง การน�ำ เสนอของท้องถิ่นจึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ที่เราเห็นว่านี่คือ โครงการลงทุนที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ ทั้งการลดปัญหา การแออัดของเส้นทางคมนาคมที่จะเข้าสู่กะทู้ เพราะหากลดปัญหา ความเคลื่ อ นไหวดั ง กล ่ า ว เนื่ อ งจากเกรงว ่ า หากปากทางเข้ า ข้างต้นนี้ได้ ก็เท่ากับว่าสร้างความคล่องตัวในแง่ของการเดินทางให้ ออกอุ โ มงค ์ ฝ ั ่ ง ป ่ า ตองอยู ่ บ ริ เ วณชุ ม ชนดั ง กล ่ า ว ก็ จ ะท� ำ ให้ ผู ้ ที่ เกิดขึ้นได้ อาศั ย อยู ่ ใ นชุ ม ชนได ้ รั บ ความเดื อ นร ้ อ นทั้ ง จากการเวนคื น ที่ ดิ น ผลกระทบจากการก่อสร้าง หรือเสียงรถที่เข้า-ออกอุโมงค์เมื่อมีการ การศึกษาความเหมาะสมดังกล่าว ของโครงการอุโมงค์ป่าตอง เปิดใช้ รวมทั้งยังจะไปท�ำลายวิถีชีวิตของชุมชนด้วย และเรียกร้องให้ จึ ง กล ่ า วได ้ ว ่ า เดิ น มาถึ ง ระดั บ หนึ่ งแล ้ ว แม ้ ว ่ าจะมี เสีย งสะท้ อ น ผูบ้ ริหารเทศบาลเมืองปา่ ตองในฐานะหนว่ ยงานตน้ สังกัด ยกเลิกและ จากประชาชนกลุ ่ ม หนึ่ ง ที่ อ าศั ย และประกอบอาชี พ อาชี พ อยู ่ หาแนวทางอืน่ แทน เชน่ เดียวกับ สมเกียรติ คุรรุ ฐั นันท์ หนึง่ ในแกนน�ำ บริเวณชุมชนบ้านมอญ ที่จะเป็นทางเข้า-ออกอุโมงค์ฝั่งป่าตอง ผู้คัดค้านไม่เอาอุโมงค์ ให้ข้อมูลว่า จากการพูดคุยกับประชาชนใน อั น เกิ ด ขึ้ น ผ่ า นท่ า ที ข อง วิ ช าญ สวั ส ดิ รั ก ษ์ อดี ต ก� ำ นั น ต� ำ บล พื้นที่ป่าตอง ต่างไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะจะเกิดผลกระทบ ป ่ า ตอง ซึ่ ง เป็ น ตั ว แทนของประชาชนชุ ม ชนบ้ า นมอญ ต� ำ บล กับวิถีชิตของชุมชน โดยเฉพาะชุมชนบ้านมอญ และยังเห็นว่ามีทาง ป ่ า ตอง โดยได้ มี ก ารยื่ น หนั ง สื อ คั ด ค ้ า นการก ่ อ สร ้ า งอุ โ มงค ์ เลือกอืน่ ๆ ทีใ่ ช้เงินลงทุนไม่มาก ทัง้ การปรับปรุงเส้นทางเดิมหรือเส้น ดังกล่าว ผ่านทางจังหวัด และได้ยื่นหนังสือคัดค้านกับทางบริษัทที่ ทางอื่น ๆ ที่มีอยู่ ปรึกษาด้วย สถานการณ์ในขณะนี้แม้โครงการอุโมงค์ป่าตอง จะมีการศึกษา ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าหากปากทางเข้า-ออก ความเหมาะสมเสร็ จ เรี ย บร ้ อ ยแล ้ ว แต ่ ด ้ ว ยภาพของการเป็ น อุโมงค์ฝั่งป่าตองอยู่บริเวณชุมชนดังกล่าว ก็จะท�ำให้ผู้ที่อาศัย โครงการขนาดใหญ ่ ที่ จ ะต ้ อ งใช ้ ง บประมาณเป็ น หลั ก พั น ล ้ า น อยู ่ ใ นชุ ม ชนได ้ รั บ ความเดื อ นร ้ อ นทั้ ง จากการเวนคื น ที่ ดิ น ผล บาท เมื่อผนวกเข้ากับแรงต่อต้าน จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง กระทบจากการก่อสร้าง หรือเสียงรถที่เข้า-ออกอุโมงค์เมื่อมีการเปิด ว ่ า ที่ สุ ด แล ้ ว โครงการนี้ จ ะก ้ า วเดิ น ไปได ้ ต ามเป้ า หมายที่ ว างไว ้ ใช้ รวมทั้งยังจะไปท�ำลายวิถีชีวิตของชุมชนด้วย และเรียกร้องให้ผู้ หรือไม่ แม้ว่าเบื้องต้นจะมีการตอบรับในแง่ของผู้ลงทุนที่แลกรับ บริหารเทศบาลเมืองป่าตองในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด ยกเลิกและ ผลประโยชน์จากโครงการนี้ผ่านการได้รับสัมปทาน


เศรษฐกิจ

www.phuketjournal.com

7

ตามติดภารกิจผู้น�ำ เรื่อง: กองบรรณาธิการ นายไพบูลย อุปติศฤงค นายกองคการบริหารสวนจังหวัดภูเก็ต

นายจุฑา ดุมลักษณ์ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลกมลา

นายสุรทิน เลี่ยนอุดม นายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบลรัษฎา

นายกรีฑา แซ่ตัน นายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบลวิชิต

นายสุ ร ทิ น เลี่ ย นอุ ด ม นายกเทศมนตรี นายกรี ฑ า แซ ่ ตั น นายกเทศมนตรี เทศบาลต�ำบลรัษฎา ทุ่มงบประมาณกว่า ต� ำ บลวิ ชิ ต ร่ ว มกั บ ส� ำ นั ก งานประมง 40 ล้ า นบาท ปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ จุ ด ชมลิ ง จังหวัดภูเก็ต และศูนย์วิจัยและพัฒนา เกาะสิเหร่ เพิ่มต้นไม้ แสงสว่าง และทางเข้า ประมงชายฝั่งภูเก็ต จัดกิจกรรมปล่อย ให้สวยงามและเป็นระเบียบมากขึ้น รวมถึง พั น ธุ ์ สั ต ว ์ น�้ ำ 2 ล ้ า นตั ว ที่ บ ริ เ วณท่ า ท�ำการปรับปรุงภูมทิ ศั นต์ งั้ แตบ่ ริเวณจุดชมลิง เทียบเรือคลองมุดง เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู ไปจนถึงบริเวณหอนาฬิกา รวมทัง้ ได้วางแผน ทรัพยากรสัตว์น�้ำที่ทุกวันจะลดลงด้วย ที่จะพัฒนาจุดชมลิงต่อ โดยการวางแผนที่จะท�ำทางเดินเข้าไปใน การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แหล่งที่ ป่าชายเลนเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเดินชมระบบนิเวศน์ในป่าชาย อยูอ่ าศัยของสัตวน์ ำ�้ รวมทัง้ ประชาชนในพืน้ ทีม่ จี ติ ส�ำนึกรว่ มกันทีจ่ ะ เลนบริเวณนั้นได้ อนุรักษ์รักษาทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง

เก็บตก

นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลกมลา ได้ บริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ได้น�ำผู้ประกอบ จัดโครงการพัฒนา “เขาเก็ตหนี” ที่ตั้ง การโรงแรมไปท�ำโรดโชว์ที่เมืองปักกิ่งและ อยู ่ บ นยอดเขาสู ง กว่ า ระดั บ น�้ ำ ทะเลถึ ง เซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 380 เมตร เมื่อขึ้นไปแล้วจะพบกับอากาศ เพื่อให้นักท่องเที่ยวกลุ่มคนรุ่นใหม่ของ ที่ ห นาว และมองเห็ น วิ ว 360 องศา ประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีก�ำลังซื้อ นอกจากนัน้ ยังมีนำ�้ ตกทีส่ วยงาม และอา่ ง สูง จะใช้วิธีการจองห้องพักโดยผ่านสื่อ เก็บน�้ำขนาดใหญ่ ให้เป็นเมืองไม้ดอกไม้ อินเตอร์เน็ต ทัง้ นีไ้ ด้พฒ ั นาการส่งเสริมการท่องเทีย่ วจังหวัดภูเก็ต โดย ประดับ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เพื่อให้ จัดโปรแกรมบุคกิง้ ออนไลน์ ส�ำหรับโรงแรมทีน่ ำ� ส่งค่าธรรมเนียมผูเ้ ข้า กมลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และได้รับความสนใจจากนัก พักให้กับ อบจ.ภูเก็ต ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2554 นี้ ท่องเที่ยวทัง้ คนไทยและชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น


เก็บเล็กผสมนอย

8

www.phuketjournal.com

ไลฟสไตล

ฝึกการหายใจ... ในแบบโยคะ เรื่อง: ผกากรอง แท่นพลหวล

“เรือ่ งของการหายใจ ท�ำไมจะต้องมานัง่ ฝึก? ” เชือ่ ว่าใครทีไ่ ด้อา่ น หัวข้อเรื่องนี้ จะต้องมีค�ำถามท�ำนองนี้ผุดขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอน เพราะการหายใจ ไม่น่าจะมีอะไรยุ่งยากไปมากกว่าการสูดอากาศ เข้าทางจมูกแล้วพ่นกลับออกมาเป็นจังหวะ ๆ เท่านั้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ เราท�ำมันได้ตั้งแต่อุแว้แรกของชีวิต แต่แน่ใจหรือไม่ว่า การหายใจที่ เราทา่ นท�ำอยูน่ นั้ คือการหายใจทีถ่ กู ตอ้ งและปลอดภัยอยา่ งแทจ้ ริง... การหายใจโดยทั่ ว ไปของคนเรานั้ น จะหายใจตื้ น และเร็ ว ในแต ่ ละครั้ง ท�ำให้จ�ำนวนครั้งในการหายใจเพิ่มมากขึ้น จนอาจกลาย เป็นการหายใจมากเกินความจ�ำเป็น ปอดจะได้รับออกซิเจนเพียง 500 มิลลิลิตร จากความจุเต็มที่ 3,000 มิลลิลิตร ซึ่งการหายใจ แบบนีน้ อกจากจะสง่ ผลให้ปอดได้รบั ออกซิเจนไม่เพียงพอแลว้ ยังสง่ ผลใหอ้ อกซิเจนไปเลีย้ งสมองได้นอ้ ยลงอีกด้วย และจะท�ำให้รสู้ กึ แน่น หนา้ อก ใจสัน่ มือเท้าชา มึนศีรษะและอาจถึงขัน้ เกิดอาการตัวเกร็งได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากเลยทีเดียว รู้หรือไม่... การหายใจเป็นศิลปะ

“การฝึกหายใจแบบโยคะ” เป็นการฝึกหายใจโดยใช้หลักของการ โยคะเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องมีการควบคุมลมหายใจและกล้ามเนื้อ

ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในระบบการหายใจ เพื่ อ ท� ำ ให้ ป อดสามารถดู ด ซั บ ออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ เพิ่มความจุของปอด ส่งผลให้ปอดท�ำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุ ณ ศิ ริ ลั ก ษณ ์ จั น ทร ์ แ ก ้ ว หรื อ พี่ อุ ๊ เจ ้ า ของ Bake@holic ร ้ า น เบเกอร ์ รี่ โ ฮมเมด ซึ่ ง เป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น ในภู เ ก็ ต หนึ่ ง ในผู ้ ที่ ห ลงใหล ในศาสตร์แห่งโยคะบอกกับทีมงาน Phuket journalว่า “พี่ฝึกโยคะ มาราว 3 ปีแล้ว แต่ไม่ได้เล่นอย่างต่อเนื่อง เพิ่งจะมาเล่นต่อเนื่อง ก็เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วนี้เอง สิ่งที่ได้จากการเล่นโยคะแน่นอน ที่สุดคือ เรื่องร่างกายที่มันจะเฟิร์มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สุขภาพก็ จะดีขึ้น คือ ตั้งแต่พี่เกิดมาจนถึงตอนนี้ รู้สึกว่าช่วงอายุตอนนี้คือช่วง ทีเ่ ราแข็งแรงทีส่ ดุ แลว้ คะ่ อีกอยา่ งสิง่ ทีไ่ ดแ้ ถมมาดว้ ยคือ สภาพจิตใจ เพราะการฝึกโยคะเนีย่ มันต้องมีการควบคุมสติให้อยูก่ บั ตัวเราตลอด เพราะฉะนั้นมันจะท�ำให้เราเป็นคนใจเย็น พี่ใจเย็นลงกว่าแต่ก่อน เยอะนะคะ คิดไตร่ตรองได้ดีมากขึ้น เชื่อเลยว่าการฝึกโยคะมัน เปลี่ยนแปลงเราได้จริง ๆ และสิ่งที่ได้จากการฝึกโยคะเหล่านี้ พี่ก็ สามารถน�ำไปบวกเพิ่มในการใช้ชีวิตประจ�ำวัน เกี่ยวกับการท�ำงาน ของพี่ เพราะพี่ต้องการความแข็งแรงมากเลย เพราะพี่ท�ำขนมขาย ด้วยและท�ำงานประจ�ำด้วยอีก 8 ชม.” แล้วพี่ก็มาเล่นโยคะ


ไลฟสไตล

www.phuketjournal.com

9

อาจารย์ทาริค แวน เพรห์น ผู้เชี่ยวชาญ “แอชแทงกะ โยคะ” แหง่ สุโข สปา ไดบ้ อกถึงวิธกี ารฝึกหายใจแบบโยคะ อย่างง่ายที่ใคร ๆ ก็สามารถท�ำได้ ไม่เลือกสถานที่และ เวลา ใหล้ องฝึกกัน “การฝึกหายใจนัน้ สามารถท�ำได้หลาย แบบ ไม่วา่ จะเป็นท่านัง่ น่ายืน หรือท่านอน และวิธกี ารฝึก หายใจแบบโยคะที่ถูกต้อง มีทั้งสิ้น 3 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละ ขั้นตอนมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเตรียมตัว พร้อมแล้ว เรามาเริ่ม ‘การหายใจแบบโยคะขั้นสมบูรณ์’ ที่มีชื่อเรียกว่า “นาฑีโศธนา” การท�ำความสะอาดปอด กันเลยอย่ารอช้า...

โดยประโยชน์จากการฝึกหายใจนี้เป็นการท�ำความสะอาดปอด ซึ่งช่วยให้การท�ำงานของปอดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความจุปอดและ การขยายของถุงลม เพื่อรับออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงาน ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย”

คุณศิริลักษณ์ จันทร์แก้ว

เก็บเล็กผสมนอย

เริม่ ตน้ จากนัง่ ในทา่ ทีส่ บายและผอ่ นคลาย ก�ำนิว้ ชีแ้ ละนิว้ กลางของมือข้างขวาไว้ ใช้เพียงนิว้ โป้งและนิว้ นาง หายใจ อาจารย์ทาริค แวน เพรห์น เข้าโดยใช้นิ้วนางปิดรูจมูกซ้าย และหายใจเข้าทางรูจมูก ขวาช้า ๆ แหงนหน้าขึ้น และใช้นิ้วโป้งปิดรูจมูกขวา หายใจออกทางรูจมูกซ้ายช้า ๆ ก้มตัวลงไล่อากาศออกจากปอดให้หมด ท�ำสลับกัน ข้าง ละ 3 ครั้ง แล้วพักหายใจเข้า-ออกลึก ๆ


10

ไลฟสไตล

www.phuketjournal.com

ขยะภูเก็ต... ปัญหานี้มีทางออก ท่ามกลางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ส่งผลให้เกิดการอุปโภคบริโภคจากประชาชนและ นักท่องเที่ยวมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ และแน่นอนว่าปริมาณของ “ขยะ” ก็ต้องพุ่งสูงเป็นเงาตามตัว แต่ปัญหาไซส์หลายร้อยตัน ที่เกาะภูเก็ตได้แบกรับอยู่ทุก ๆ วันนี้ ก�ำลังได้รับการบริหารจัดการและแก้ไขจากหน่วยงานทางภาครัฐ เพื่อหวังควบคุมให้ขยะ ไม่ล้นเมืองภูเก็ตอย่างที่ใครหลายคนหวั่นเกรง

เก็บบมาเล มาเลาา เก็

เราลองมาติดตามกันว่าพวกเขาได้วางระบบการบริหารจัดการขยะไว้ อย่างไรกันบ้าง!!!

โรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน จ.ภูเก็ต

รงเตาเผาขยะมู ล ฝอยชุ ม ชน จ.ภู เ ก็ ต อยู ่ ใ นความดู แ ล รับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ต นอกจากจะท�ำหน้าที่ใน การก�ำจัดขยะมูลฝอยต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถน�ำพลังงาน ความร้อนที่ได้จากการเผาขยะก่อเกิดเป็นไอน�้ำที่สามารถ ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงานและส่วนที่เหลือส่งจ�ำหน่ายให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ด้วย ท�ำให้ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิด ขึ้นจากการเผาขยะที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากในระบบของการ เผาขยะนั้นไม่ได้มีเฉพาะตัวเตาเผาเท่านั้น แต่จะต้องมีระบบบ�ำบัด อากาศเสียที่มีประสิทธิภาพสูง และส่วนอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากการเผา ขยะมูลฝอยทีม่ สี ว่ นประกอบหลากหลายและมีสดั ส่วนไม่คงทีอ่ าจก่อ ให้เกิดมลพิษขึ้นได้

ูเก็ต

โรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน จ.ภ

เตาเผาขยะหัวที่ 2 จ.ภูเก็ต


ไลฟสไตล

นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา

www.phuketjournal.com

การก่อสร้างโรงเผาขยะชุมชนนั้นจะใช้งบประมาณค่อนข้างสูง โดยเฉพาะงบประมาณในการบริหารจัดการ ดังนั้นเมื่อสามารถผลิตกระแส ไฟฟ้าใช้ได้จึงท�ำให้ลดค่าใช้จ่ายลงไปได้ค่อนข้างมาก ประกอบกับรายรับจากการจัดการขยะก็ไม่มากนัก ดังนั้นการส่งกระแสไฟฟ้าส่วน ที่เหลือจากการใช้ในโรงงานจ�ำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นการหารายได้มาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการอีกทางหนึ่ง ซึ่ง โรงเผาขยะชุมชนขนาดใหญ่แห่งเดียวของประเทศไทย นางสาวสมใจ กล่าวเสริมว่า กระแสไฟฟ้าจากการเผาขยะนั้นถือเป็น ผลพลอยได้ทเี่ กิดขึน้ จากกระบวนการเผาไหม้ขยะท�ำให้เกิดไอน�ำ้ จน ก่อเกิดเป็นกระแสไฟฟ้า ถือเป็นการมองการณ์ไกลของผู้บริหารใน อดีตที่เลือกใช้เทคโนโลยีการก�ำจัดขยะซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ด้วย เพราะถือเป็นพลังงานทดแทนรูปแบบหนึ่ง และยังได้รับ การสนับสนุนค่าแอดเดอร์หรืออัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจาก พลังงานทดแทน เพราะในการก�ำจัดขยะนัน้ ไม่มกี ำ� ไร ซึง่ ในส่วนนีช้ ว่ ย ให้ต้นทุนการผลิตลดต�่ำลง อย่างไรก็ตามเนือ่ งจากโรงงานเตาเผาขยะปัจจุบนั มีขดี ความสามารถ ในการก�ำจัดขยะได้เพียงวันละ 250 ตัน แต่ปริมาณขยะทีเ่ ข้าสูโ่ รงงาน เตาเผาแต่ละมีมากกว่า 570 ตัน โดยส่วนทีเ่ หลือจะต้องน�ำไปฝังกลบ แต่ด้วยพื้นที่จ�ำกัดจึงต้องใช้วิธีการก�ำจัดทั้ง 2 รูปแบบควบคู่กันไป แต่ด้วยการเจริญเติบโตของเมืองที่มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยเป็นจ�ำนวน มากปริมาณขยะก็มากตามไปด้วย จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีการสร้างโรง เตาเผาเพิ่มเพื่อช่วยเสริมเตาเผาที่มีอยู่เดิมในบริเวณเดียวกัน ซึ่ง ขณะนี้ได้ผู้รับเหมาแล้ว คาดว่าจะสามารถลงมือก่อสร้างแล้วเสร็จ ภายในปี 2555 ซึ่งโรงเตาเผาใหม่นี้จะมีความสามารถในการก�ำจัด ขยะมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่า 300 ตัน/วัน และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่ ต�่ำกว่า 5 เมกะวัตต์

เตาเผาขยะหัวที่ 2 จ.ภูเก็ต

เตาเผาขยะหัวที่ 2 จ.ภูเก็ต

เก็บมาเลา

นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร ภูเก็ต เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นและที่มาที่ไปว่า โรงเตาเผาขยะ ภูเก็ตได้จัดสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว เนื่องจาก ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกรมโยธาธิการและ ผังเมือง ในการก่อสร้างสร้างครั้งนั้นนอกจะสามารถก�ำจัดขยะ ได้แล้ว นอกจากสามารถก�ำจัดขยะได้แล้ว ยังมีกระแสไฟฟ้า เป็นผลพลอยได้เพื่อน�ำมาใช้ในโรงงานประมาณ 60 % และ ส่วนที่เหลืออีก 40 % ส่งขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จากขีดความสามารถของการก�ำจัดขยะวันละ 250 ตัน โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2.5 เมกกะวัตต์ แต่ปัจจุบัน สามารถผลิตได้เพียง 1.6 เมกกะวัตต์ เนื่องจากยังปัญหา ค่าความชื้นค่อนข้างสูงจึงยังท�ำให้ไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ ซึ่ง อยู่ระหว่างการแก้ไข

11


12

www.phuketjournal.com

ไลฟสไตล

ผนงานการจัดท�ำพลังงานเชือ้ เพลิงในอนาคต จะมีการน�ำปริมาณขยะทีอ่ ยูใ่ นหลุมฝังกลบจ�ำนวนมากกว่า 1 ล้านตัน น�ำ มาแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาค้นคว้าหาวิธีการที่เหมาะสมว่า จะน�ำมาผลิตพลังงานได้ อย่างไรบ้าง จากการศึกษาระบบเทคโนโลยีเบื้องต้นหลักๆ พบว่าสามารถที่จะน�ำขยะดังกล่าวมาเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง ส�ำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า กับการใช้วธิ กี ารหมักขยะให้เป็นแก๊ส จากนัน้ ก็น�ำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าแล้วเอาขยะส่วนที่ เหลือมาท�ำการเผาในเตาสะอาดก็สามารถที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกส่วนหนึ่ง ส�ำหรับเตาเผาขยะเดิมก็ยังคงต้องมีไว้ เพราะเป็น ระบบเทคโนโลยีที่สามารถจะก�ำจัดขยะได้ทุกประเภท ซึ่งยังคงมีความจ�ำเป็น

เก็บมาเลา

โครงการก่อสร้างเตาเผาขยะหัวที่ 2 จ.ภูเก็ต Phuket New Incinerator Plant

เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากการอุปโภค และบริโภคของประชาชนอย่างรวดเร็วตามจ�ำนวนประชากรและ นักท่องเที่ยว โดยข้อมูลของเทศบาลนครภูเก็ตในปี 2550 พบว่า ขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้จากหน่วยงานท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ตกว่า 19 แห่ง มีปริมาณเฉลี่ย 513 ตัน/วัน ซึ่งเกินกว่าขีดความสามารถ ในการรองรับของระบบการก�ำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ตที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน นอกจากนี้จากการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอยของจังหวัด ภูเก็ต ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 ต่อปี หากไม่มีการ ด�ำเนินกิจกรรมลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งก�ำเนิด ภายใน ระยะเวลา 10 ปีข้างหน้าจังหวัดภูเก็ตจะมีปริมาณมูลฝอยประมาณ 900-1,000 ตัน/วัน และมากถึง 2,000 ตัน/วัน ภายในระยะเวลา 20 ปี

ซึ่ ง ได้ ด� ำ เนิ น การฝั ง กลบจนเต็ ม แล้ ว และระบบเตาเผา ขนาด 250 ตัน/วัน ซึ่งเปิดด�ำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2542 ไม่เพียงพอที่จะ รองรับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งจังหวัดในปัจจุบันและในอนาคตได้ ดังนั้น การจัดหาระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพจึงเป็น เรื่องเร่งด่วนของเทศบาลนครภูเก็ตที่ต้องด�ำเนินการ เพื่อป้องกัน ปั ญ หาวิ ก ฤตขยะที่ ก� ำ ลั ง เกิ ด ขึ้ น และจะส่ ง ผลกระทบต่ อ ความ สะอาดเรียบร้อยของเมือง สุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้ง การท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของจังหวัด ดังนั้น ในปี พ.ศ.2551 ทางเทศบาลนครภูเก็ตได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้ด�ำเนินการศึกษาความเหมาะ สมระบบการจัดการมูลฝอยชุมชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งผลการศึกษา ระบุว่า เทศบาลภูเก็ตจ�ำเป็นต้องมีระบบก�ำจัดมูลฝอยที่เหมาะสม ส� ำ หรั บ ระบบก� ำ จั ด ขยะมู ล ฝอยที่ มี อ ยู ่ ใ นปั จ จุ บั น ของเทศบาล มารองรับ โดยเสนอแนะให้มีการด�ำเนินงาน 2 ส่วน ประกอบด้วย นครภูเก็ต ซึ่งประกอบด้วย ระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

• การปรับปรุงเตาเผามูลฝอยชุดเดิม ซึ่งมีขนาด 250 ตัน/วัน ให้มีความสามารถในการก�ำจัดมูลฝอยสูงขึ้น สามารถผลิตพลังงาน ได้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับระบบ รวมทั้ง ปรับปรุงระบบควบคุมมลพิษด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปตามค่ามาตรฐาน • การก่อสร้างระบบเตาเผามูลฝอย เพิ่มเติม 1 ชุด โดยมีความสามารถในการก�ำจัดมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่า 300 ตัน/วัน และผลิตกระแส ไฟฟ้าได้ไม่ต�่ำกว่า 5 เมกะวัตต์


ไลฟสไตล

ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการขยะทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกำ�จัดขยะมูลฝอยในช่วงที่ต้อง ทำ�การปรับปรุงเตาเผามูลฝอยเดิม (1) ทางเทศบาลนครภูเก็ตจึง ได้คัดเลือกเอกชนผู้ร่วมลงทุนก่อสร้างและบริหารระบบเตาเผาชุด ใหม่ (2) ในพื้นที่บริเวณเตาเผาเดิม โดยมีข้อกำ�หนดการคัดเลือก ตามทีท่ างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเสนอ แนะ คือ ขนาดไม่นอ้ ยกว่า 300 ตัน/วัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่ต�่ำ กว่า 5 เมกะวัตต์ เป็นระบบที่ทันสมัยเทียบเท่านานาอารยประเทศ ทั้ง ในด้านสมรรถนะและประสิทธิภาพในการกำ�จัด การผลิตพลังงาน และการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อม

www.phuketjournal.com

13

ในการนี้ บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จำ�กัด ได้รับคัดเลือกจากทาง เทศบาลนครภูเก็ต ให้เป็นผู้ทำ�สัญญาลงทุนในโครงการก่อสร้างและ บริหารโรงเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชนแห่งใหม่ข้างต้น ซึ่งระยะเวลา ของสัญญาคือ 15 ปีและสามารถต่อสัญญาได้อีก 15 ปี บริษัทฯ ได้ เล็ ง เห็ นถึ ง ความจำ � เป็ นของโครงการในการแก้ ไ ขปั ญ หามูล ฝอย ซึง่ เป็นปัญหาเร่งด่วนของจังหวัดภูเก็ต โดยได้เสนอระบบเตาเผา ขนาด 600 ตัน/วัน ผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 14 เมกะวัตต์ และจำ�หน่ายประมาณ 10 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันได้ทั้งหมด รวมทั้ง ในช่วงเวลาที่เตาเผาชุดเดิมหยุดปรับปรุง นอกจากนี้ ขนาดของโครงการทีเ่ สนอดังกล่าวได้คำ�นึงถึงความเหมาะ สมในการลงทุนและโอกาสทางธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ

• ลดปริมาณขยะที่จะนำ�ไปฝังกลบได้ถึง 90% ซึ่งสามารถลดปัญหาขยะมูลฝอยของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก ของประเทศ • ความร้อนที่ได้จากการเผาขยะสามารถนำ�ไปผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานทดแทนซึ่งสามารถนำ�มาใช้ในโรงงานและจำ�หน่าย ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค • ลดผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยทำ�ให้คุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้น • ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นไปตามข้อกำ�หนดในพิธีสารเกียวโต

เก็บมาเลา

ประโยชน์ที่ได้รับ...


14

ไลฟสไตล

www.phuketjournal.com

การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ชุมชน

เก็บมาเลา

จังหวัดภูเก็ตก�ำหนดนโยบายบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้ อปท. ทุกแห่งและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฎิบัติ เพื่อการ จัดการขยะในพื้นที่ชุมชน ด้วยความร่วมมือ อปท.และส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องทุกแห่งเพื่อด�ำเนินการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ชุมชน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบายจังหวัดที่ได้ก�ำหนดไว้ เพื่อ ให้จังหวัดภูเก็ตมีความสะอาด และประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีใน สิ่งแวดล้อมที่ดี

เข้าใจกับประชาชน เกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากบ้านเรือน และให้ อปท. จัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะชุมชน ซึ่งมี อปท. ออกข้อบัญญัติหรือ เทศบัญญัติ หรือข้อบังคับท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอย โดยใช้ มาตรการจูงใจด้านการเงินเพื่อให้ประชาชนเห็นความส�ำคัญของ ขยะมูลฝอยภายในบ้านเรือน และให้แต่ละ อปท. จัดพืน้ ทีจ่ ดั เก็บขยะ จัดรถเก็บขนขยะแยกประเภท ก�ำหนดวันเวลาการจัดเก็บขยะให้ ชัดเจนและแจ้งให้ประชาชนทราบ และส่งเสริมการน�ำขยะมาท�ำปุ๋ย และน�้ำหมักชีวภาพ

นโยบายบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดย องค์การปกครองส่วนท้อง ถิ่น (อปท.) จังหวัดภูเก็ต ทุกแห่ง สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัด นอกจากนั้นให้ อบจ. ภูเก็ต ด�ำเนินงานด้านการขนส่งขยะอันตราย ตั้งเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อน�ำไปก�ำจัดยังศูนย์ก�ำจัดกากอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้มี หมู่บ้าน (ทสม.) เพื่อเป็นแกนน�ำในการให้ความรู้และท�ำความ ธุรกิจรับซื้อขยะรีไซเคิลที่คัดแยกจากแต่ละบ้านเรือน โดยให้ศูนย์ ก�ำจัดขยะก�ำหนดค่าจ�ำกัดขยะใหม่ให้สอดคล้องกับชนิดรถเก็บขยะ ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ รถเก็บขยะอินทรีย์ รถเก็บขยะทั่วไป และ รถเก็บขยะรวม ขยะรี ไ ซเคิ ล อี ก หนึ่ ง ตั ว ช่ ว ยขจั ด ปั ญ หาขยะ ล้นเมือง

นายนิธิ รักแต่ตระกูล ผู้จัดการวงพาณิชย์ (สาขาภูเก็ต) แฟรนไชส์ ธุรกิจขยะรีไซเคิลระดับประเทศ เล่าว่า วันหนึง่ ๆ ทีน่ จี่ ะต้องรับปริมาณ ขยะหลายสิบตันที่ถูกน�ำมายังโรงงานคัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล ปริมาณขยะต่อวัน นั้นเป็นขยะรีไซเคิล ในปริมาณสูงถึง 30-50 % ซึ่งมาจากภาคธุรกิจต่างๆ สถานที่ราชการ สถานศึกษา และภาค ครัวเรือน ส�ำหรับขยะรีไซเคิลที่เข้ามาในส่วนของวงษ์พาณิชย์นั้น ประมาณวันละ 30 ตัน ซึ่งนับเป็น 10% ของขยะรีไซเคิลทั้งจังหวัด

กูล

นายนิธิ รักแต่ตระ


ไลฟสไตล

www.phuketjournal.com

15

ถ้าจะให้แบ่งประเภทขยะรีไซเคิลแบบง่ายๆ ที่เข้าใจกัน ได้ทุกครัวเรือน ก็แบ่งได้เป็น 6 ประเภท คือ

เก็บมาเลา

• กระดาษ เช่น ลังบรรจุสิ่งของ, กระดาษสิ่งพิมพ์ต่างๆ กระดาษ ขาวดำ�ที่ใช้ในสำ�นักงาน • พลาสติก เช่น ขวด PET (ขวดน้ำ�), Mixed Plastic (เนื้อลอยน้ำ�), พลาสติกกรอบ (เนื้อประเภทจมน้ำ�), ถุงพลาสติก • เหล็ก เช่น เหล็กทุกประเภทที่ใช้แม่เหล็กดูดติด และมีสนิมขึ้น เช่น สังกะสี • โลหะ เช่น ทองแดง ทองเหลือง อลูมิเนียม แสตนเลส โดยโลหะนั้น หากใช้แม่เหล็กดูดจะไม่ติด และไม่มีสนิมขึ้น • แก้ว เช่น เศษแก้ว (Re-Used) แก้วน้ำ� ขวดเบียร์ ขวดน้ำ�อัดลม • ขยะอื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่ สายยาง เชือกรัดสินค้า ฯลฯ ซึ่งหากเราสามารถนำ�ขยะเหล่านี้มารีไซเคิลได้ ก็จะสามารถช่วย ลดปริ ม าณขยะในแต่ ล ะวั น รวมไปถึ ง ลดปริ ม าณการผลิ ต ยกตัวอย่างเช่น หากคุณนำ�เศษกระดาษ A4 ทีไ่ ม่ใช้แล้ว นำ�มารีไซเคิล เป็นกระดาษทิชชู่ คุณก็ไม่ต้องไปตัดต้นไม้ทั้งต้นเพื่อนำ� มาผลิต เพียงกระดาษทิชชู่ เพราะหลักเข้าใจง่ายๆ ของขยะรีไซเคิลก็คือ “การเอากลับไปทำ�ตัวมันเอง” เช่นเศษเหล็กที่ไม่ใช้แล้วสามารถ มาหลอมรวมเป็ น เหล็ ก ชิ้ น ใหม่ ไ ด้ ซึ่ ง นั บ เป็ น การลดการทำ � ลาย ทรัพยากร และลดการใช้พลังงานลงได้ คุณนิธิ ฝากทิ้งท้ายถึงชาวภูเก็ตว่า การแก้ไขปัญหาปริมาณขยะ ควรจะเริ่มที่ต้นทาง โดยเฉพาะภาคครัวเรือน ทั้งด้านพฤติกรรมและ จิตสำ�นึก คือควรเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

ควรจะเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ส่วนการจัดการด้าน ขยะในบ้าน ก็คือทำ�อย่างไรก็ได้ให้ลดปริมาณขยะที่จะออกจากบ้าน ให้มากที่สุด หากขยะประเภทใดที่สามารถนำ�มาแปรรูปได้ก็ควรทำ� และในการทิ้งขยะก็จะต้องแยกประเภทขยะออกจากกัน เพราะว่า การนำ�ขยะรีไซเคิลบางประเภทมาทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ เช่นขยะเปียก ก็จะทำ�ให้ขยะนัน้ ไม่สามารถนำ�มารีไซเคิลได้อกี แม้วา่ จะเป็นเพียงจุด เล็กๆ แต่หาก 1 คน สามารถลดปริมาณขยะได้วันละ 1 กิโลกรัม รวม กันเป็นแสนเป็นล้านคนก็จะช่วยกันลดปริมาณขยะได้ถงึ หลายตันเลย ทีเดียว ทุกคนสามารถช่วยลดภาระด้านสิ่งแวดล้อมในภูเก็ตได้ โดย อาศัยการจัดการทั้งระบบเดินคู่ไปด้วยกัน เพื่อทำ�ให้ภูเก็ตสะอาดขึ้น


16

www.phuketjournal.com

สังคมและสิ่งแวดลอม

ลุงพิทักษ์... บ้านแห่งความหวังของเด็กด้อยโอกาส เรื่อง: สิริพงษ์ มุกดา ภาพ: สิริสวรรค์ เหมทานนท์ …หากเราเอ่ยถึงเด็ก ความน่ารักสดใส รอยยิ้มหวานแหวว และท่าทางใสซื่อน่าเอ็นดู จะต้องเป็นภาพจ�ำที่เรามักคุ้นเคยกันเป็น อย่างดี แต่ส�ำหรับเด็กบางส่วนที่ต้องเกิดมาพร้อมความด้อยโอกาส การได้รักษาเยียวยาร่างกายและจิตใจ พร้อมมอบความ เข้มแข็งในการใช้ชีวิตและการศึกษา คงเป็นทางออกที่ดีที่สุดส�ำหรับพวกเขา...

รักการให

“บ้านลุงพิทักษ์” สถานที่แสนอบอุ่นของเด็กด้อย โอกาส

บ้านลุงพิทักษ์ คือโครงการหนึ่งของสมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต ตั้ง อยู่ติดกับเรือนจ�ำกลางจังหวัดภูเก็ต เปิดด�ำเนินการตั้งแต่ปี 2540 เป็นบ้านพักพิงส�ำหรับเด็กที่ถูกทารุณกรรมล่วงละเมิด ไร้ที่พักอาศัย ที่ ต ้ อ งการความช่ ว ยเหลื อ บ� ำ บั ด ฟื ้ น ฟู โครงการบ้ า นลุ ง พิ ทั ก ษ์ เป็นสถานดูแลบุตรของผู้ต้องขังในเรือนจ�ำจังหวัดภูเก็ต และยัง เปิดรับเด็กด้อยโอกาสจากที่อื่น ๆ เข้ามาดูแลด้วย ทั้งยังได้ติดตาม คดีในกรณีที่มีเด็กถูกท�ำร้ายหรือล่วงละเมิดทางเพศ ทางสมาคม จะให้การช่วยเหลือในการด�ำเนินคดีเอาผิดผูก้ ระท�ำตลอดทุกขัน้ ตอน กระบวนการยุติธรรม และยังมีโครงการครูสัญจร เปิดโอกาสด้านการศึกษาให้แก่เด็กด้อย โอกาส เช่นเด็กเร่ร่อนที่มีฐานะยากจน เด็กนอกระบบการศึกษา โดยครูของสมาคมจะออกไปท�ำความคุ้นเคยให้ความรู้สอนศิลปะ ภาษาอังกฤษ จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพือ่ สร้างโอกาสทีด่ ี ได้ใช้เวลาเหมือน เด็กทัว่ ไป นอกเหนือจากเวลาทีต่ อ้ งท�ำมาหากินเลีย้ งตัวเอง โครงการ มอบทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน ที่มีความตั้งใจและมีผลการเรียนดี โดยส�ำรวจจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วจังหวัดภูเก็ต และพยายามจัดการ ศึกษาให้ได้อย่างน้อยจนจบระดับประถมศึกษา บอกเล่าความเป็นมาของ “บ้านลุงพิทักษ์”

ทางที ม งานได้ เ ดิ น ทางไปถึ ง บ้ า นลุ ง พิ ทั ก ษ์ ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ ณ ตรอก เล็ก ๆ ข้างเรือนจ�ำกลางภูเก็ต ภาพศิลปะบนก�ำแพงเป็นสัญลักษณ์ บ่งบอกว่าเราได้มาถึงแล้ว และเมื่อเข้าไปในห้องเรียนเล็ก ๆ จะพบ เด็กอายุระหว่าง 2-6 ขวบ จ�ำนวนหลายสิบคนก�ำลังตั้งใจสะกด ค�ำภาษาอังกฤษจากคุณครูฝรัง่ ใจดี พร้อมกันกับเสียงของ คุณขวัญตา ยาหลง หรือ ครูจี๊ด ผู้จัดการโครงการบ้านลุงพิทักษ์ ที่เปรียบ เหมือนกับครูใหญ่ของบ้าน คอยตักเตือนเด็กที่ไม่เป็นระเบียบ และ กล่าวชมเชยเด็กซึ่งตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี ถึงแม้ท่าทางของเธออาจ จะดุไปบ้าง แต่นั่นก็เพื่อให้เจ้าตัวแสบได้ยอมศิโรราบและกลายเป็น เด็กดี ว่านอนสอนง่าย ขอยอมรับว่าแค่ฟังประโยคสนทนาน่ารัก ของครูจี๊ดก็พาเพลินแล้ว


สังคมและสิ่งแวดลอม

www.phuketjournal.com

“ส� ำ หรั บ การดู แ ลเด็ ก ของที่ บ ้ า น จะมี ก ารดู แ ลด้ า นโภชนาการที่ ถูกหลักอนามัยของเด็ก รวมทั้งการบ�ำบัดทางจิตใจแก่เด็กที่ขาด ความรักความอบอุ่นจากครอบครัว ที่ส�ำคัญมีการเรียนการสอน ขั้นพื้นฐาน ฝึกฝนความคิด และพัฒนาทักษะทั้งด้านภาษา ศิลปะ และความรู้ด้านวิชาการ เพื่อเตรียมความพร้อมส�ำหรับการศึกษา

ต่อในโรงเรียน เพราะเด็กทุกคนที่นี่ล้วนเป็นเด็กที่ตกอยู่ในสภาวะ ยากล�ำบาก จากหลากหลายกรณี หากปล่อยปละละเลยให้อยู่ใน สังคม เด็กเหล่านี้ก็อาจจะต้องเติบโตมาเป็นคนที่ท�ำสิ่งไม่ดี เช่น ติดยาเสพติด, ค้าประเวณี, ก่ออาชญากรรม สร้างปัญหาเดือดร้อน ให้กบั ตนเองและผูอ้ นื่ มีเด็กหลายคนทีเ่ คยได้รบั การดูแลจากพวกเรา และเติบโตไปมีการศึกษาและคุณภาพชีวติ ทีด่ ี และนัน่ ก็คอื เป้าหมาย ในการท�ำงานของพวกเรา อีกทั้งในปัจจุบันแม้ว่าทางบ้านลุงพิทักษ์ จะได้งบประมาณ และการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ก็ยังประสบ ปั ญ หาขาดแคลนทุ น การศึ ก ษา เพราะเมื่ อ เด็ ก ที่ เ ราดู แ ล อายุ ถึ ง เกณฑ์ ต ้ อ งศึ ก ษาต่ อ ก็ จ ะต้ อ งใช้ เ งิ น ทุ น ประมาณ รายละ 3,000-8,000 บาท ซึ่ ง ท� ำ ให้ ท างเราต้ อ งอาศั ย การ ระดมทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะมิฉะนั้นเด็ก ๆ ก็อาจจะไม่ได้ ศึกษาต่อรวมถึงเรื่องเร่งด่วน ที่ทางบ้านยังขาดแคลนเครื่อง อุปโภค-บริโภค เช่น นมผง, นมกล่อง, ผ้านวม, ข้าวสาร, ไข่ไก่, อาหารแห้ง, เครื่องปรุงอาหาร ฯลฯ”

บ้านลุงพิทักษ์ ตั้งอยู่ที่ ข้างเรือนจ�ำกลางจังหวัดภูเก็ต ถนนด�ำรง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000 โทร 08-6941-5944 ร่วมหยิบยื่นโอกาสแก่ “บ้านลุงพิทักษ์ ” ส�ำหรับผู้ที่มีความประสงค์ร่วมสบทบทุนแบ่งปันโอกาสที่ดี แก่เด็กด้อยโอกาส โดยวิธี • เช็ค สั่งจ่ายในนาม “สมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต” • ธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “สมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต” • โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย ออมทรัพย์ สาขาภูเก็ต เลขที่ 102-2-55548-7 ในนาม “สมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต” (เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาส่งส�ำเนาการโอนไปยังสมาคมฯ หรือแจ้งทางโทรศัพท์/โทรสาร 0-7627-6396 เพื่อขอรับใบเสร็จ)

รักการให

เมือ่ เสียงเจีย้ วจ้าวของเหล่าเด็กน้อยค่อย ๆ ถูกหรีเ่ บาลง เป็นการเปิด โอกาสให้เราได้พูดคุยกับครูจี๊ดเสียที และเธอก็เล่าถึงสถานการณ์ ปัจจุบันของบ้านลุงพิทักษ์ว่า “ทางบ้านของพวกเราคือที่บ่มเพาะ เด็กในวัยก่อนเรียน ซึ่งมีทั้งกลุ่มเด็กที่เป็นบุตรของผู้ที่ต้องโทษ และ กลุม่ เด็กทีค่ รอบครัวยากล�ำบาก ซึง่ เด็กจะถูกคัดเลือกจากทางสมาคม พิทักษ์เด็กภูเก็ตเพื่อเข้ามาอยู่ที่นี่ ต่อหนึ่งปีการศึกษาเราสามารถรับ เด็กเข้ามาได้ประมาณ 50-80 คน และเป็นเด็กอายุระหว่าง 2-6 ขวบ หลังจากนั้นเมื่อเด็กถึงเกณฑ์ต้องเข้าไปศึกษาในระดับประถมศึกษา ก็จะส่งต่อไปยังสถานศึกษาและคอยติดตามดูแลประเมินผล” ครูจี๊ด กล่าวและว่า

17


รักสังคม

18

www.phuketjournal.com

สังคมและสิ่งแวดลอม

มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต

ความสุขที่ค้นพบได้ด้วยความดี... เรื่อง : ผกากรอง แท่นพลหวล ภาพ : สิริพงษ์ มุกดา

‘ความสุข’ นามธรรมที่ทุกคนต่างเฝ้าแสวงหา หากแต่วิธีการที่ให้ได้มาซึ่งความสุขใจของแต่ละคนนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งจะ ออกมาในรูปแบบของการสร้างความสุขใจเพื่อตนเอง แต่ส�ำหรับ คุณเบญจวรรณ ตัมพานุวัตร ประธานมูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต ความสุขใจ ที่เธอค้นพบ ไม่ใช่การท�ำเพื่อตัวเอง แต่กลับเป็น ‘ความสุขที่ได้ท�ำความดีเพื่อคนอื่น’ ประธานหญิงแกร่ง... แห่งกุศลธรรม

จากเด็กหญิงผู้ชื่นชอบท�ำบุญให้ทานแทบทุกครั้งที่มีโอกาส เติบโตขึ้นกลายเป็น นักธุรกิจหญิงเจ้าของกิจการประมง และธุรกิจรถบรรทุกสิบล้อ ที่ยังคงท�ำบุญและให้ ทานอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยความใจบุญนี้ คุณเบญจวรรณ ตัมพานุวัตร จึงกลายมา เป็นผู้ที่คร�่ำหวอดอยู่ในแวดวงการกุศลในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา และล่าสุด หน้าทีแ่ ห่งงานบุญของเธอ คือการเป็นประธานหญิงคนแรกแห่งมูลนิธกิ ศุ ลธรรมภูเก็ต “ฉันท�ำงานในหน่วยงานการกุศลมาแล้วหลายที่ เคยเป็นกรรมการกาชาดจังหวัดภูเก็ต กรรมการหอการค้า ก็วนเวียนท�ำเรื่อยไป และการที่ฉันได้มาเป็นประธานมูลนิธิกุศล ธรรมภูเก็ตนี้ เกิดขึ้นจากการเลือกขององค์เทพ ซึ่งวาระของการเป็นประธานมูลนิธิ ของแต่ละท่านนั้นมีระยะเวลาจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจขององค์เทพอีกที” นางเบญจวรรณ ตัมพานุวัตร

ซึ่งคุณเบญจวรรณนั้นถือได้ว่าเป็นประธานมูลนิธิกุศลธรรมหญิงที่ได้เป็นประธาน ในประเพณีล้างป่าช้าหญิงคนแรกแห่งประเทศไทยอีกด้วย

“พิธีล้างป่าช้าต้องมีการตระเตรียมทุกอย่างไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลกินเจเป็นเวลา 49 วัน ก่อนวันงาน และหลังจากวันงานเรา ก็ต้องท�ำพิธีไหว้และพิธีส่งวิญญาณอย่างดีและถูกต้อง เพราะพิธีล้างป่าช้าไม่ได้เป็นเพียงการท�ำความสะอาดป่าช้าเท่านั้น แต่มันเป็นการ ช่วยเหลือให้วิญญาณไร้ญาติเหล่านั้นเขาได้ไปผุดไปเกิด ให้พวกเขาได้มีโอกาสที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ที่พวกเขาพบเจอ”


สังคมและสิ่งแวดลอม

www.phuketjournal.com

19

เมื่อกระท�ำดี... ย่อมมีผู้มองเห็น

ตัวเองจะท�ำงานทุกอย่างที่ก�ำลังความสามารถจะท�ำได้ และคิดว่า หลังจากที่เทพเจ้าจีน ‘องค์ฮ้อเอี้ยฮุนฮุดโจ้ว’ ท�ำการ คัดเลือกผู้ที่ เราไม่ได้มากินบุญ แต่เรามาท�ำบุญ ที่ส�ำคัญเราต้องมีการจัดการ จะมานั่งเก้าอี้ประธานมูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต ในปี 2553 ซึ่งได้ท�ำการ องค์กรที่ดี คิดหน้าคิดหลัง เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชา คนอื่น ๆ รวมทั้ง เลือกคุณเบญจวรรณให้ดำ� รงต�ำแหน่งประธานมูลนิธกิ ศุ ลธรรมอีกครัง้ ตัวเราเกิดความสบายใจ หลังจากการเป็นประธานครั้งแรกในปี 2543-2545 ตั้งแต่ท�ำงานต�ำแหน่งนี้ ฉันรู้สึกว่า ตอนนี้เรามีความสุขกับชีวิต ไม่ว่า “การที่ อ งค์ ฮ ้ อ เอี้ ย ฮุ น ฮุ ด โจ้ ว เลื อ กฉั น เข้ า มาเป็ น ประธาน จะท�ำการใด ๆ ก็รสู้ กึ ว่ามันราบรืน่ ไปเสียหมด ไม่วา่ จะเรือ่ งครอบครัว เหตุ ผ ลน่ า จะมาจากการท� ำ ดี ซึ่ ง ฉั น โชคดี ที่ คุ ณ สมบั ติ ต รงนี้ หรือธุรกิจ เคยคิดเหมือนกันว่าฉันมีวันนี้ได้อย่างไรนะ และค�ำตอบที่ พ่อแม่เป็นคนปลูกฝังฉันตั้งแต่เด็ก เราต้องท�ำงานตั้งอยู่ในความ ฉันได้คือ ผลตรงนี้มันมาจากการกระท�ำที่ตั้งใจของเราทั้งหมด ซื่อสัตย์ โปร่งใส โดยไม่ได้ทะนงตนว่าเราเป็นคนเก่ง คิดเพียงแค่ว่า นั่นเอง”

รักสังคม

งานหลวงไม่ยอมขาด... งานราษฏร์ไม่ว่างเว้น

“ในหนึ่งอาทิตย์ ต้องท�ำงานทุกวัน ทั้งงานส่วนตัวและงานที่มูลนิธิฯ เพราะทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้เลย ถึงตอนนี้จะป่วยก็ต้องบอก ตัวเองว่าป่วยไม่ได้ แต่เต็มใจที่ได้ท�ำ เพราะท�ำแล้วเรามีความสุขกับ ทั้งสองอย่าง ไม่ได้คิดว่า ท�ำไปแล้วมันจะให้อะไรกลับมาหาเราบ้าง ท�ำไปเรื่อย ๆ โดยท�ำแบบเต็มที่ และมีความสุขก็พอแล้ว” คุณเบญจวรรณบอกเล่าถึงการท�ำงานหนักที่ต้องดูแลทั้งงานราษฏร์ และงานหลวง เพื่อไม่ให้เสียทั้งสองงาน ถือเป็นสิ่งที่ต้องมีความรับ ผิดชอบสูงมากเลยทีเดียว และถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่ในการดูแลมูล นิธิฯ แล้ว แต่หน้าที่ของนักธุรกิจหญิงมือฉมังของคุณเบญจวรรณ ก็ยงั ส�ำคัญมากเช่นกัน เพราะเม็ดเงินจากธุรกิจส่วนหนึง่ เธอยังน�ำมา สมทบทุนให้กับมูลนิธินี้ด้วย

“ฉันท�ำงานตรงนี้ไม่ได้คิดหวังผลประโยชน์จากมูลนิธิฯ เป็นคนใช้ จ่ายด้วยเงินส่วนตัว ไปไหนก็เอาเงินส่วนตัวไปใช้ บางครั้งเงินส่วน ตัวของเราก็ยงั มีโอกาสได้เอามาช่วยเหลือมูลนิธฯิ ในด้านเงินกองทุน การบูรณะศาลเจ้า ฉันคิดว่าการทีเ่ ราเอาเงินส่วนตัวมาช่วยบ�ำรุงตรง นี้ มันถือเป็นการท�ำบุญ ที่โดยส่วนตัวก็ชอบท�ำอยู่แล้วด้วย” “ส่งคนเจ็บ-เก็บคนตาย” ค�ำจ�ำกัดความที่ดูจะเหมาะสมกับชื่อมูลนิธิ กุศลธรรม หน่วยงานที่ท�ำงานเกี่ยวกับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวม ทั้งพร้อมให้ความช่วยเหลือหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ลักษณะการ ท�ำงานที่ดีเยี่ยม เกิดจากการปกครองที่เปี่ยมด้วยความสามารถของ ประธานหญิงคนนี้ที่ชื่อ เบญจวรรณ ตัมพานุวัตร


20

สังคมและสิ่งแวดลอม

www.phuketjournal.com

รักชุมชน

ปลูกป่าชายเลน...

ปลุกความหวังระบบนิเวศ

ด้วยรูปโฉมของป่าชายเลน ที่เปรอะเปื้อนโคลนตม และมีกิ่งก้านที่ไม่ได้ชวนมองเท่าพืชตระกูลอื่น แต่คุณประโยชน์ของ ต้นไม้ชนิดนี้กลับสวนทางกลับลักษณะของมัน เพราะว่าป่าชายเลนให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ ใช้สอย รวมถึงเป็นห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศเพื่อหล่อเลี้ยงสัตว์น�้ำนานาชนิด นอกจากนี้ป่าชายเลนยังเป็นเกราะก�ำบังสีเขียว ช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะลดความรุนแรงของคลื่นลมชายฝั่ง ต้นแบบแห่งการอนุรักษ์ป่าชายเลนภูเก็ต

ป่ า ชายเลนคลองบางลา ตั้ ง อยู ่ ใ น อ.ถลาง จ.ภู เ ก็ ต คื อ ส่ ว นหนึ่ ง ของป่ า สงวนแห่ ง ชาติ ป ่ า เลนคลองท่ า เรื อ ในอดี ต เคย มี พื้ น ที่ ร ่ ว มสามพั น กว่ า ไร่ แต่ ไ ด้ ถู ก บุ ก รุ ก มาโดยตลอด จาก ความต้องการที่ดินราคาแพงมหาศาลในเกาะภูเก็ต กฎหมายไม่ สามารถปกป้องผืนป่าแห่งนี้ได้ ป่าถูกเปลี่ยนเป็นนากุ้งมากขึ้น เรือ่ ย ๆ สุดท้ายชาวบ้านบางลาทนไม่ได้ ลุกขึน้ มาปกป้องผืนป่าแห่งนี้ ด้วยตัวเอง เพราะหวังพึง่ ราชการไม่ไหว และประกาศให้เป็นป่าชุมชน เมื่ อ ยี่ สิ บ กว่ า ปี ก ่ อ น จน สามารถรักษาป่าชายเลน ไว้ได้ 1,200 ไร่ มาจนถึง ปัจจุบัน หากไม่ประกาศ เป็ น ป่ า ชุ ม ชน ป่ า นนี้ ป่าชายเลนคลองบางลา คงเปลี่ยนเป็นนากุ้งเหลือ แต่ชื่อเป็นอนุสรณ์

นายอรุณ บำ�รุงนา

น า ย อ รุ ณ บ� ำ รุ ง น า ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่า ชายเลนบ้านบางลา เปิด เผยกับเราว่า “ป่าชายเลน

ผืนนี้เปรียบเสมือนครัวของหมู่บ้านบางลาและหมู่บ้านใกล้เคียง ใน เวลาว่างชาวบ้านก็ลงไปทอดแหหากุ้งหาปลา ไม่ต้องไปซื้ออาหาร จากตลาด จึงต้องการปกป้องป่าผืนนีเ้ อาไว้เพราะเป็นฐานทรัพยากร อาหารของชุมชนหลายชนิดๆ ทั้งหอยปากหนา หอยกัน ปูด�ำ ปูม้า ซึ่งป่าผืนนี้เปรียบเสมือนหม้อข้าวใบใหญ่ที่สามารถใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรป่าชายเลนมาหล่อเลี้ยงครอบครัว การต่อสู้ที่ผ่านมาท�ำให้ เขารู้ทราบดีว่า ป่าอยู่ได้ คนก็อยู่ได้จริง ๆ ป่าแห่งนี้มีต� ำนานของ คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่ต่อสู้มาอย่างยาวนาน” ร่ ว มคื น ชี วิ ต ให้ ป ่ า ชายเลนด้ ว ยสอง มือของคุณ

นายสุ ร ฉั ต ร ชลารั ต น์ หั ว ห น ้ า ส ถ า นี พั ฒ น า ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 23 (ภูเก็ต) กล่าวว่า จากการ ส�ำรวจพื้นที่ป่าชายเลนใน จังหวัดภูเก็ต จากภาพถ่าย ดาวเทียมเมื่อปี 2547 พบ ว่าพื้นที่จ�ำนวน 10,504 ไร่ จากจ�ำนวน 7 ป่า ได้แก่ นายสุรฉัตร ชลารัตน์


สังคมและสิ่งแวดลอม

www.phuketjournal.com

21

ป่ า เลนคลองบางชี เ หล้ า -คลองท่ า จี น , ป่ า เลนคลองเกาะผี , ป่ า เลนคลองพารา, ป่ า เลนคลองท่ า เรื อ , ป่ า เลนคลองอู ่ ต ะเภา และ ป่าเลนคลองบางโรง ซึง่ ลดลงกว่าครึง่ หนึง่ จากเมือ่ 40 ปีทแี่ ล้ว ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องหันมาอนุรกั ษ์อย่างจริงจังและท�ำการปลูกทดแทน ซึง่ มีหลายวัตถุประสงค์ดว้ ยกัน อาทิเช่น เพือ่ เป็นป่า ชุมชนส�ำหรับใช้สอย, ฟอกอากาศ และลดโลกร้อน, ป้องกันลมพายุและคลืน่ สึนามิ, ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง, เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ, สร้างความสามัคคีในชุมชนและสังคม ฯลฯ” และนายสุรฉัตร ได้ให้ข้อแนะน�ำในการปลูก ป่าชายเลน ดังต่อไปนี้ การปลูกพันธุไ ์ ม้ปา ่ ชายเลนมี 3 วิธี ได้แก่

• ปลูกโดยกล้าไม้ที่ถอนมาจากป่าชายเลนธรรมชาติ เป็นวิธีที่ ใช้กบั การปลูกพันธุไ์ ม้ปา่ ชายเลนชนิดทีเ่ พาะช�ำกล้าไม้ได้ยาก หรือ ชนิดทีเ่ ก็บหาฝักหรือเมล็ดได้ยาก กล้าไม้มโี อกาสรอดต�ำ่ กว่าวิธอี นื่ ปัจจัยส�ำคัญในการปลูกป่าชายเลนให้ประสบผล ส�ำเร็จ

1. ลักษณะของพื้นที่ที่จะปลูก • ลักษณะของดิน เช่น ดินเลนอ่อน ดินเลนแข็ง ดินเลนปนทราย เป็นต้น • ต�ำแหน่งของพื้นที่ เช่น ริมฝั่งทะเล ริมคลองหรือแม่น�้ำ ด้านในของ ป่าชายเลน เป็นต้น • ลักษณะการท่วมถึงของน�้ำทะเล เช่น ท่วมสม�่ำเสมอและนาน ท่วมสม�่ำเสมอแต่ไม่นาน เป็นต้น 2. การเลือกชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่จะปลูก พันธุ์ไม้ป่าชาย เลนแต่ละชนิดมีความสามารถในการปรับตัวให้ทนทานต่อความเค็ม การท่วมของน�้ำทะเล สภาพดินเลน สภาพความเป็นกรดของดิน

ส�ำหรับผู้ที่สนใจ อ รั บ “แ บ บ ส าม าร ถ ติ ด ต ่ อ ข ่าชายเลน” ค�ำขอรับกล้าไม้ป รั พ ย ก รป ่ า ได ้ ที่ ส ถ านี พั ฒ น าท ก็ต (ตรงข้าม ชายเลนที่ 23 ภูเ 8/1 ิ ฯ ภเู ก็ต) เลขที่ 47 ิ จ สถานพน . เ มื อ ง ภู เ ก็ ต ต.ตลาดใหญ่อ โทร. 0 7639 1128

รักชุมชน

1. ปลูกโดยใชฝ้ กั ปักหรือฝังเมล็ดลงในพืน้ ที่ ปลูกโดยตรง เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัด วิธีการ ปลูกท�ำได้โดยง่ายเพียงน�ำฝักด้านปลายปักลง ในดินเลนให้ลึกประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความ ยาวฝักกดดินให้ยึดติดกับพื้นดินให้แน่น 2. ปลูกโดยใชก้ ลา้ ไมไ้ ดท้ ไี่ ดจ้ ากการเพาะช�ำในถุง วิธนี ใี้ ช้เวลานานและใช้งบประมาณมากแต่ทำ� ให้มกี ล้าไม้ปา่ ชายเลนจ�ำนวนมากและ มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง


22

มุมเด็ก

www.phuketjournal.com

โตขึ้น... น้อง ๆ อยากเป็นอะไร? ด.ช. วชิราวุธ วุฒิธานุสร (น้องทิว) หนุ่มน้อยหน้าตาใจดี อายุ 11 ปี “อยากเป็ น ต� ำ รวจครั บ ผมชอบเล่ น ต� ำ รวจจั บ โจรกั บ เพื่ อ น ผมชอบเล่ น เป็ น ต� ำ รวจครั บ ” ที ม งานคะยั้ น คะยอให้ ท� ำ ท่ า ตะเบ๊ะโชว์หน่อย รู้สึกน้องทิวจะเขินอายอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนท�ำท่า วันทยาหัตถ์อย่างองอาจ

แจมใส

นองทิว

ด.ช. พงศ์ฐวัจน์ จงจิตร น้องปัถย์ หนุ่มน้อยนักกีฬาหน้ายียวน อายุ 8 ปี “ผมอยากเป็นนักกีฬาเคนโดที่เก่งที่สุดในโลกครับ เก่งมาก ๆ เก่งสุดใน จักรวาลเลยก็ได้ครับ” พูดพลางกวัดไกวดาบไม้ในมืออย่างห้าวหาญ

นองปัถย์

ด.ญ. สุธดิ า คงทองจีน นอ้ งไอซ์ สาวนอ้ ยนัยย์ตาชวนฝัน อายุ 5 ขวบ “โตขึ้น น้องไอซ์อยากเป็นผู้ใหญ่ค่ะ!” พูดจบก็เดินหนีไปด้วย ท่าทางน่าเอ็นดู ปล่อยทีมงาน Phuket journal ยืนมองหน้ากัน ตาปริบ ๆ ก่อนจะพูดออกมาพร้อมกันว่า “น้องเขาก็พดู มีเหตุผล” นองไอซ์


การศึกษา

www.phuketjournal.com

23

อันยองฮาเซโย!!!

เปิดประตูบานใหม่สู่เกาหลีศึกษา

อย่าเพิง่ คิดกันว่าเราจะน�ำกระแส “Korean Wave” หรือคลืน่ วัฒนธรรมเกาหลี ทีก่ ำ� ลังไหลบ่าเข้ามายังบ้านเรา จนเข้าขัน้ ฟีเวอร์ทงั้ สือ่ บันเทิง, อาหาร, แฟชั่น และไอที น�ำมาขยายความเพิ่มคะแนนนิยมให้กับแผ่นดินโสมขาวมากขึ้นไปอีก เพราะเรื่องราวต่อจากนี้ คือ การเปิดตัว หลักสูตรการศึกษาใหม่เอี่ยมจาก ม.สงขลานครินทร์ ภูเก็ต กับ สาขาวิเทศธุรกิจ: เกาหลี และเกาหลีศึกษา เรามาชมกันว่าคลื่นระลอก นี้จะพัดพาสิ่งใดมาสู่แวดวงการศึกษา วิเทศศึกษา คืออะไร?

ท�ำไมต้องเป็น เกาหลี ?

อ.ศุ ภ ชั ย แสงปั ญ ญา คณบดี คณะวิ เ ทศศึ ก ษา ม.อ.ภู เ ก็ ต ได้ แ จกแจงถึ ง ประเด็นนี้ว่า “คีย์เวิร์ดของการเปิดคณะวิเทศศึกษาขึ้นมา ก็คือ การเตรียมพร้อมให้คน รุ่นใหม่เข้าสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาค ซึ่งตามสภาวะการณ์ในปัจจุบันประเทศ ที่มีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม ในระดับทวีปเอเชียรวม ทั้งระดับโลก ก็คือกลุ่มประเทศ ASEAN+3 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ท�ำให้เรา เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะผลักดันหลักสูตรการศึกษาของเราให้สอดรับกับกระแสดังกล่าว ซึง่ ทีผ่ า่ นมาการเปิด สาขาวิเทศธุรกิจ: จีน, จีนศึกษา นับว่าประสบความส�ำเร็จอย่างสูง จากนัน้ ม.อ.ภูเก็ต ได้รว่ มมือกันแลกเปลีย่ นองค์ความรูก้ บั มหาวิทยาลัยชัน้ น�ำในเกาหลีใต้ เป็นเวลาหลายปี ท�ำให้เรามีความพร้อมที่จะเปิด สาขาวิเทศธุรกิจ: เกาหลี และ เกาหลีศึกษา เป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2554 ส�ำหรับความเกีย่ วพันของเกาหลีกบั ภูเก็ตในปัจจุบนั เช่น การเปิดสถานกงสุลสาธารณรัฐ เกาหลีประจ�ำจังหวัดภูเก็ต, การมีสมาคมชาวเกาหลีในจังหวัดภูเก็ต ด้วยสมาชิก กว่าหลายพั นคน, ตั วเลขนั กท่ องเที่ ยวจากเกาหลี ม าเยื อนภู เ ก็ ตปี ละกว่า แสนคน, อาจารย์ศุภชัย แสงปัญญา กลุม่ คูร่ กั จากเกาหลีเลือกภูเก็ตเป็น Paradise Destinations เพือ่ มาแต่งงานและฮันนีมนู , เทีย่ วบินตรงจากเกาหลีสภู่ เู ก็ตเพิม่ จ�ำนวนมากขึน้ , บริษทั จากเกาหลีเพิม่ การลงทุนในภูเก็ต ฯลฯ ด้วยเหตุปจั จัยเหล่านีเ้ องทีท่ ำ� ให้เราต้องเร่ง มือสร้างบุคลากรทีม่ ศี กั ยภาพเพียงพอทีจ่ ะท�ำงานกับคนเกาหลีได้ กล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ต้องพูดกับเขาให้รเู้ รือ่ ง ต้องเข้าใจและท�ำงาน ใน วัฒนธรรมแบบเดียวกับเขาได้ นี่คือหลักการและเหตุผลที่ ม.อ.ภูเก็ต เปิดสาขาเกาหลีขึ้นมา”

เปดมุมมอง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต คื อ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ บุ ก เบิ ก การเรี ย น การสอน คณะวิเทศศึกษา เป็นแห่งแรกของ ประเทศไทย โดยได้เปิด สาขาวิเทศธุรกิจ: จีน, จีนศึกษา, ไทยศึกษา เป็นเวลากว่า หลายปี เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ และการ วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมพร้อมความ รู้ใหม่ทั้งในเรื่องของไทยและต่างประเทศ เพื่อ การพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ อีกทั้งเป็น ศูนย์แห่งความร่วมมือทางวิชาการในด้าน วิเทศคดีระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการเป็นมนุษยชาติที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มีเกียรติภูมิเสมอกัน และอยู่ร่วมกันในประชาคมโลกอย่างสันติสุข เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจ�ำประเทศไทย มร.ชอง แฮ มูน


24

www.phuketjournal.com

การศึกษา

การเรียนการสอนสาขาเกาหลีเป็นอย่างไร?

เปดมุมมอง

คณบดี คณะวิเทศศึกษา มอ.ภูเก็ต กล่าวอธิบายว่า “เราได้คัดเลือกนักเรียนที่เข้า มาศึกษา วิชาเอกธุรกิจ: เกาหลี 60 คน และเกาหลีศกึ ษา 60 คน โดยเรียนในหลักสูตร ร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยชัน้ น�ำในกรุงโซล หลักสูตร 4 ปี จะเริ่มต้นด้วยการปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ-เกาหลี โดยบุคลากรในการสอนที่เป็น เจ้าของภาษา และมากด้วยประสบการณ์ หลังจากนัน้ เราจะมีการส่งนักศึกษาทัง้ หมด ไปยังประเทศเกาหลี เพื่อไปเรียนและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นทุกปีการศึกษา เพราะเราค�ำนึง ว่าการที่จะศึกษาเกาหลี ก็จ�ำเป็นจะต้องไปเรียนรู้ของจริง เพื่อให้ผู้เรียนซึมซับวิถีชิวิต วิธคี ดิ อุปนิสยั ใจคอ และการท�ำงานของคนเกาหลีอย่างถ่องแท้ คุณสมบัตขิ องผูท้ เี่ รียน ในสาขาวิชานี้ ก็คือ สามารถสื่อสารภาษาเกาหลีและอังกฤษได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้ง เข้าใจเรื่องของเกาหลีอย่างรอบด้าน”

เมือ่ หลายปีทผี่ า่ นมาใครจะเชือ่ ว่า ประเทศจีน จะพุง่ ทยานสูม่ หาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจ อันดับต้น ๆ ของโลกเช่นทุกวันนี้ แต่ ม.อ.ภูเก็ต เชื่อและได้เปิดสอนสาขาจีนขึ้นมา เกิดเป็นบุคลากรคุณภาพในตลาดงานซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางภาษา และธุรกิจ ป้อนตลาดงานเป็นจ�ำนวนมาก ตอนนี้สามารถพูดได้เต็มปากว่า การเปิดสาขา เกาหลีขึ้นมา ไม่ได้เป็นการโหนกระแสความนิยมกิมจิอย่างแน่นอน แต่นี่คือการผลิต อุปทาน (Supply) เพื่อป้อนสู่ตลาดที่มีอุปสงค์ (Demand) ที่จัดว่าร้อนแรงอย่าง เกาหลี ตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็เป็นได้ และเราขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะจับตามองและ เป็นก�ำลังใจให้กบั สถาบันทีม่ วี สิ ยั ทัศน์แหลมคมอย่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต


ศิลปะและศาสนา

www.phuketjournal.com

25

“ผีเสื้อ”

ผลงานศิลปิน แดง - กรรณิการ์

รับความสุข

หากสังเกตภาพนี้จะเห็นผีเสื้อแต่ละตัว ล้วนมี สีสนั ทีส่ วยงามในแบบฉบับของมันเอง นอกจาก นั้นยังสื่อความหมายถึงชีวิตใหม่ ตัวตนใหม่ ที่ งดงามสดใส เฉกเช่นผีเสื้อที่โผล่ออกมาจาก ดักแด้แล้วสยายปีกโบยบินอย่างสง่า เปรียบได้ กับคนเราทีส่ ามารถก้าวผ่านขีดจ�ำกัดของตนเอง สู่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

ขอบคุณ อาร์ต อินเทรนด์ แกลเลอรี่ ภูเก็ต เลขที่ 25 ถ.ปฏิพัทธ์ ต.ตลาดเหนือ อ.เมืองภูเก็ต โทร. 0 7625 6096, 08 9908 6769


รับพลัง

26

www.phuketjournal.com

ศิลปะและศาสนา


ศิลปะและศาสนา

www.phuketjournal.com

27

รับพลัง

วัดสุวรรณคีรีวงศ์ (วัดป่าตอง) เป็นมนุษย์ เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูง มีดีที่แววขน เข้าใจต�่ำ เป็นได้แต่เพียงคน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)


28

เทคโนโลยี

www.phuketjournal.com

รถไฮบริด...

ยนตกรรมแห่งอนาคตเพื่อโลกสีเขียว

สบายสบาย

จากราคาน�ำ้ มันทีท่ ำ� สถิตสิ งู ขึน้ เป็นประวัตกิ ารณ์ หลายฝ่ายก�ำลังมอง หาพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นแก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล หรือแม้แต่ ก๊าซเอ็นจีวี หรือแอลพีจี พลังงานเหล่านี้บางอย่างอาจจะ ไม่ใช่เรือ่ งใหม่ แต่ตอ้ งยอมรับว่ายังไม่ได้รบั ความนิยมเท่าทีค่ วร ด้วย เหตุผลนานาประการ จึงเกิดความหวังใหม่ที่หลายคนเฝ้ารอ และ ถูกกล่าวถึงมากขึ้นทุกวันนั่นคือ “รถยนต์ไฮบริด” โดยจะเข้ามา เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการประหยัดเงินในกระเป๋า แต่มีหลายคน ยังสับสน และไม่ค่อยเข้าใจว่า ไฮบริด คืออะไร?

จากแบตเตอรี่ เพื่อช่วยให้ออกตัวได้รวดเร็ว และเร่งขณะความเร็วต�่ำ ได้ตามที่ต้องการ การขับขี่ทั่วไป เครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้า จะท�ำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เชื้อเพลิงให้คุ้มค่าที่สุด แต่เมื่อเร่งความเร็วแบบกะทันหัน มอเตอร์ไฟฟ้าจะดึงพลังงานเพิ่ม จากแบตเตอรี่มาเสริมก�ำลัง ช่วยให้เครื่องยนต์มีก�ำลังสูงสุดและ สามารถเร่งความเร็วได้ตามความต้องการ

ระบบรถไฮบริ ด การเบรก และการลดความเร็ ว เมื่ อ ผู ้ ขั บ ขี่ แตะเบรก มอเตอร์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปท�ำหน้าที่เป็นเครื่องก�ำเนิด รถยนต์ไฮบริดนั้น เป็นเทคโนโลยียานยนต์ระดับสูง ที่ให้ทั้ง พลังงาน (ไดนาโม) และแปลงพลังงานจลน์ที่เกิดจากการเบรกเป็น ความยอดเยีย่ มในด้านสมรรถนะการขับขี่ ลดการใช้น�้ำมันและ กระแสไฟฟ้า เพื่อชาร์จไฟฟ้ากลับเข้าไปในแบตเตอรี่ เมื่อรถจอด มีมลพิษในไอเสียต�่ำกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป อยู่กับที่ เครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าจะหยุดท�ำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อลดการใช้น�้ำมัน และการปล่อยควันพิษ โดยไม่ต้องสิ้นเปลือง การท� ำ งานของไฮบริ ด เริ่ ม จากการออกตั ว ขณะจอด และ พลังงานกับรอบเดินเบาขณะจอด การเร่งความเร็วขณะความเร็วต�่ ำ มอเตอร์ไฟฟ้าจะดึงพลังงาน และนี่คือรายชื่อ “รถยนต์ไฮบริด” ที่มีวางจ�ำหน่ายในประเทศไทย

เล็กซัส CT200h (LEXUS CT200h)

โตโยต้า พรีอุส (PRIUS) โตโยต้า คัมรี ไฮบริด (CAMRY HYBRID)


กีฬา

www.phuketjournal.com

29

ทีมลูกยางเมืองกะทู้ภูเก็ต

ตบกระจายคว้าแชมป์ไทยแลนด์ลีก

เรื่องและภาพ: สิริพงษ มุกดา

“สโมสรวอลเลย์บอลเมืองกะทู้” คว้าแชมป์ทีมหญิงวอลเลย์บอลอาชีพไทยแลนด์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย เชือ่ ว่ามีชาวภูเก็ตจ�ำนวนมากทีไ่ ม่ทราบข้อมูลดังกล่าว แต่ไม่ใช่ปญ ั หาเพราะหลังจากนีค้ ณ ุ จะได้รจู้ กั กับเรือ่ งราว ของสโมสแห่งนี้ เราขอเพียงให้คุณช่วยบอกต่อ และร่วมปลุกกระแสวงการวอลเลย์บอลหญิงในภูเก็ตให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง

ด้านผู้เล่นก�ำลังหลักของทีมประกอบไปด้วย อรอุมา สิทธิรักษ์ ตั ว ตบที ม ชาติ ไ ทย ที่ ไ ด้ คั ด เลื อ กให้ เ ป็ น สตาร ์ ว อลเลย์ บ อลโลก นุศรา ต้อมค�ำ ตัวเซ็ททีมชาติไทย และเบอร์หนึ่งของทวีปเอเชีย (ผู้เล่นทั้งสองคนไม่ได้ลงเล่นทุกนัดเนื่องจากต้องไปเล่นทีมชาติและ ลีกอาชีพในต่างประเทศ) รวมถึงหัวหน้าทีมอย่าง อลิสา เส้งเสน อดีตทีมชาติไทย ซึ่งได้รับรางวัล MVP หรือนักกีฬาทรงคุณค่า จาก การแข่งขันฤดูกาลที่ผ่านมาด้วย นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นผู้เล่น จากต่างจังหวัดและผู้เล่นท้องถิ่นภูเก็ตที่รวมทีมกันมาเป็นเวลานาน ภายใต้การฝึกสอนของ อาจารย์บันเทิง ขาวผ่อง ซึ่งเป็นคนจังหวัด ภูเก็ต มีประสบการณ์มากมายในการดูแลฝึกสอนนักกีฬาทีมชาติ และทีมสโมสรชั้นน�ำ

อาจารย์บันเทิง ขาวผ่อง, อรอุมา สิทธิรักษ์ , นุศรา ต้อมค�ำ

กำ�ลังใจ

KPVC (Kathu Phuket Volleyball Club) คืออักษรย่อของทีม ตบหญิงจากเมืองกะทู้ ซึ่งบริหารงานโดยเทศบาลเมืองกะทู้และ สมาคมกีฬาจังหวัดภูเก็ต ร่วมจัดส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการ วอลเลย์บอลอาชีพไทยแลนด์ลกี ครัง้ ที่ 6 ประจ�ำปี 2554 ระหว่างวันที่ 4 ธ.ค. 53 - 30 เม.ย. 54 โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม จากทั่วประเทศไทย แข่งขันแบบเหย้าและเยือน โดยในฤดูกาลล่าสุด ได้สร้างผลงานกระฉ่อนไปทั้งวงการด้วยการคว้าแชมป์ จากผลงาน แข่ง 14 นัด ชนะ 11 นัด แพ้เพียง 3 นัด มี 34 คะแนน ได้แต้มรวม 1,209 คะแนน จากชัยชนะ 37 เซท ตลอดทัวร์นาเมนต์


30

www.phuketjournal.com

กีฬา

นายเชษฐวิ ท ย์ ตั น ติ พั น ธ์ ว ดี นายกสมาคมกี ฬ าจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต และผู ้ ค วบคุ ม ทีมวอลเลย์บอลเมืองกะทู้ภูเก็ต ให้สัมภาษณ์กับเราว่า ตนเองคร�่ำหวอดในแวดวงกีฬา วอลเลย์บอลในภูเก็ตมานาน มีความต้องการจะยกระดับทีมหญิงของภูเก็ตให้กลับมา มีชื่อเสียงอีกครั้ง จึงได้ไปพูดคุยกับทาง คุณชัยอนันต์ สุทธิกุล นายก ทบ.เมืองกะทู้ เพื่อร่วมมือกันสร้างสโมสรที่สามารถก้าวขึ้นไปแข่งขันระดับลีกอาชีพได้อย่างเต็มตัว เนื่องจากเรามีทั้งโค้ชและผู้เล่นที่มีฝีมือ จนเกิดเป็นสโมสร KPVC ขึ้นมา และได้ร่วมลง แข่งขันในทัวร์นาเมนต์ในและนอกประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

กำ�ลังใจ

นายเชษฐวิทย์ ตันติพันธ์วดี

จนกระทั่งฤดูกาลล่าสุด เราสามารถคว้าแชมป์ประเทศไทยมาครองได้ นับเป็นผลงาน ชิ้นส�ำคัญของวงกีฬาในจังหวัดภูเก็ต ส�ำหรับปัจจัยที่ท�ำให้ทีมประสบความส�ำเร็จ ก็คือ ความจริงจังในการบริหารงานและการท�ำทีมของทุก ๆ ฝ่ายมีความทุ่มเทและต้องการ เห็นความส�ำเร็จอย่างแท้จริง หวังว่าในอนาคตนักตบสาวทีมนี้จะสามารถสร้างกระแส ความนิยมให้กับชาวภูเก็ตไม่แพ้กีฬาชนิดอื่น ๆ และต่อยอดไปยังเยาวชนรุ่นใหม่ให้ พัฒนาฝีมือตนเองสู่กีฬาอาชีพเพิ่มขึ้น

นายชัยอนันต์ สุทธิกุล นายกเทศบาลเมืองกะทู้ และประธานสโมสรวอลเลย์บอลเมืองกะทู้ ภูเก็ต ได้กล่าวระหว่างงานเฉลิมฉลองแชมป์วา่ ส�ำหรับทีมเมืองกะทูภ้ เู ก็ต จัดทีมเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อส่งเสริมนักกีฬาในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกีฬาของจังหวัดภูเก็ต มีความสนใจเล่น วอลเลย์บอลเป็นอย่างมาก แต่เพียงไม่มีโอกาส ซึ่งการที่เทศบาลเมืองกะทู้ ส่งทีมเข้าร่วม แข่งขันระดับลีก เพื่อจะเพิ่มโอกาสให้กับเยาวชนและเป็นตัวอย่างที่ดีในการส่งเสริมกีฬาให้กับ องคก์ รอืน่ ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามทางเทศบาลจะหารือกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ เสริมสร้างให้ทมี เข้มแข็งมากขึน้ โดยจะท�ำเป็นระบบแบบมืออาชีพให้ได้ เพือ่ รองรับเด็ก และเยาวชน ของ จ.ภูเก็ต ก้าวสู่การเล่นระดับอาชีพต่อไป หวังว่าฤดูกาลหน้าเราจะได้เจอกับคุณที่โรงยิมฯ สะพานหิน สนามเหย้าของทีม KPVC ระหว่างก�ำลังนั่งส่งเสียงโห่ร้องเชียร์ทีมวอลเลย์บอลเมืองกะทู้ภูเก็ต ให้ตบกระจาย พิชติ ทีมคูแ่ ข่งแบบราบคาบ! หยิบถ้วยแชมป์ประเทศไทยมาให้ชาวภูเก็ตชืน่ ชมอีกสมัย นายชัยอนันต์ สุทธิกุล


นิตยสารคุณภาพ ในเครือไกดวิชั่น

The island’s No. 1 English language

leisure, lifestyle and living publication

http://phuketindex.com



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.