รายงานสรุปผลโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจำปี 2558

Page 1


คํานํา สํ า นัก จั ด การทรั พ ยากรป าไมที่ 13 (สงขลา) ได ดํ าเนิน การจั ด กิ จ กรรมฝ ก อบรม ราษฎร หลั ก สู ตร การบริ หารจัด การพื้น ที่ โ ดยการสนับ สนุน จากภาครัฐ ระหว างวั นที่ 15 – 17 มกราคม 2558 ณ บ า นบุ โ บย ตํ า บลแหลมสน อํ า เภอละงู จั ง หวั ด สตู ล โดยเป น กิ จ กรรม ตามแผนงานที่ 1 อนุรักษและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิต พื้นที่ปาไมไดรับการบริหารจัดการ กิจกรรมหลักสงเสริมการจัดการปาชุมชน กิจกรรมสงเสริมการจัดการปาชุมชน การดําเนินกิจกรรม ในครั้งนีส้ ําเร็จลุลวงลงดวยดีและไดรับผลตอบรับเปนที่นาพอใจ การสรา งความเขมแข็ งใหกั บ องคก รชุมชน ทั้ งการสรา งองคค วามรู ที่ หลากหลาย การแลกเปลี่ยนประสบการณดําเนินงานปาชุมชนของทุกชุมชนที่เขารวมการฝกอบรมครั้งนี้ คาดหวัง ไดวาจะเกิดประโยชนทั้งตอชุมชนเอง และตอการปฏิบัติงานสงเสริมการจัดการปาชุมชนของเจาหนาที่ ปาไม ใหเปนไปอย างมีประสิทธิ ภาพและประสิท ธิผลตอ ไปในอนาคต สํ านัก จัด การทรัพยากรป าไม ที่ 13 (สงขลา) ยิ นดีน อ มรับ ทุ ก ความคิด เห็นเพื่ อ จะนําไปแก ไ ข ปรับ ปรุ ง พั ฒนา และผลั ก ดั นการ ปฏิบัติงาน ทุกภารกิจที่เกี่ยวเนื่องกับปาชุมชนใหประสบผลสําเร็จ อํานวยประโยชน ตอบสนองตอความ ต อ งการของประชาชน โดยมุ ง มั่ น ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ อยู บ นพื้ น ฐานวิ สั ย ทั ศ น ข องกรมป า ไม ที่ มุ ง เน น เปนหนวยงานหลักในการจัดการทรัพยากรปาไม เพื่อประโยชนสูงสุดของประเทศ

สํานักจัดการทรัพยากรปาไมที่ 13 (สงขลา) กุมภาพันธ 2558


สารบัญ เรื่อง  สรุปผลการฝกอบรม โครงการฝกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพืน้ ที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําป 2558

หนา 1-2

 ภาคการบรรยาย - หลักการเศรษฐกิจพอเพียง - แนวคิดและหลักการในการดําเนินงานสงเสริมการจัดการปาชุมชนระดับหมูบาน - การบริหารจัดการปาไมโดยชุมชนมีสว นรวม

3-7 8-10 11-17

 ภาคการระดมความคิด

18-24

 ตารางสรุปภาพรวมประเมินความรู ความเขาใจของผูเขารับการฝกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการพืน้ ที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําป 2558

25-26

 แผนภูมิสรุปภาพรวมประเมินความรู ความเขาใจของผูเขารับการฝกอบรม หลักสูตร การบริหารจัดการพืน้ ที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําป 2558

27-30

 ภาพถายกิจกรรมการฝกอบรม

31-36

 ภาคผนวก - คํากลาวรายงาน คํากลาวในพิธีเปดและปดโครงการฝกอบรม - โครงการฝกอบรม - กําหนดการฝกอบรม - คําสั่งแตงตัง้ คณะทํางานดําเนินการจัดฝกอบรม

37-40 41-44 45 47-48


1

สรุปผลการฝึกอบรม โครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร “การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ” ประจําปี 2558 1. ชื่อกิจกรรม

โครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ

2. หน่วยงาน

ส่วนจัดการป่าชุมชน สํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา)

3. ผู้รบั ผิดชอบหลักของกิจกรรม

ส่วนจัดการป่าชุมชน สํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา)

4. หลักการและเหตุผล กรมป่าไม้ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการดูแลบํารุงรักษาทรัพยากรป่าไม้ของชาติเล็งเห็นว่าการมี ส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ให้ชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ เกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ ทรัพยากรป่าไม้ และมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการจัดการป่า ตลอดจนใช้เป็นแหล่งอาหารและไม้ ใช้สอยตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องและสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแนวทางหนึ่ง ที่ ส ามารถเสริ ม สร้ า งให้ ส มาชิ ก ชุ ม ชนเหล่ า นั้ น มี ค วามผู ก พั น และสามารถพั ฒ นาภู มิ ปั ญ ญาและ ศักยภาพของชุมชนในการจัดการป่า ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างให้สมาชิกชุมชนมีการพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของชุมชน ในการจัดการป่า ให้ตอบสนองทั้งในด้ านการอนุ รักษ์และเอื้ อต่อความเป็ น อยู่ที่ดีข้ึน การฝึกอบรม ให้ความรู้แก่ชุมชน ด้านวิชาการการบริหารจัดการป่า และการพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ จึงนับเป็นปัจจัย สําคัญของความสําเร็จดังกล่าว 5. กิจกรรม 5.1 วิธีดําเนินการ ดําเนินการฝึกอบรมตัวแทนราษฎรจากหมู่บ้านเป้าหมายกิจกรรมส่งเสริมการจัดการ ป่าชุมชน ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 จํานวน 2 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10 คน รวม 20 คน ประกอบด้วยภาคบรรยาย ภาคศึกษาดูงาน และภาคการระดม ความคิด ดังนี้


2

ภาคบรรยาย จัด หลั ก สู ต รการบรรยายโดยเน้ น ให้ ผู้ เ ข้า รั บ การฝึ ก อบรมมี ค วามรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการป่าและแนะนําแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ จํานวน 2 วิชา ดังนี้ 1. แนวคิดและหลักการในการดําเนินงานส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน 2. การจัดทําแผนบริหารจัดการป่าชุมชน

ภาคการศึกษาดูงาน จั ด การศึ ก ษาดู ง านในพื้ น ที่ ที่ มี ก ารบริ ห ารจั ด การป่ า ชุ ม ชน ที่ประสบความสําเร็จโดยเป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้วิธีการและ เทคนิคในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชนจากประสบการณ์ของชุมชนซึ่งประสบความสําเร็จในการ ดําเนินการ

ภาคการระดมความคิด

ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมระดมความคิดในการวางแผน ด้านการบริหารจัดการป่าในพื้นที่หมู่บ้านของตนเอง โดยสรุปปัญหา สาเหตุ ความมุ่งหวัง มาตรการ หรือแนวทางในการบรรลุความมุ่งหวัง 5.2 พื้นที่ดําเนินการ ภาคบรรยาย ณ รีสอร์ทชุมชนบ้านบุโบย ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตูล 5.3 ระยะเวลาดําเนินการ 15 – 17 มกราคม 2558 5.4 ผลการดําเนินงาน ผู้ เ ข้ า รั บ การฝึ ก อบรม จํ า นวน 20 คน เป็ น ตั ว แทนจากหมู่ บ้ า นเป้ า หมายกิ จ กรรม ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน ประจําปี 2558 ในพื้นที่จังหวัดสตูล ดังนี้ 1. บ้านบ่อเจ็ดลูก หมู่ที่ 5 ตําบลทุ่งหว้า อําเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 2. บ้านท่าขาม หมู่ที่ 1 ตําบลปากน้ํา อําเภอละงู จังหวัดสตูล



3

หลักการเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดํารงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้ ง แต่ ร ะดั บ ครอบครั ว ระดั บ ชุ ม ชนจนถึ ง ระดั บ รั ฐ ทั้ ง ในการพั ฒ นา และบริ ห ารประเทศให้ ดํ า เนิ น ไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้ จะต้อง อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการ วางแผน และการดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และ ความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

การนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ปรัช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งนี้ เ ป็น กรอบแนวความคิด และทิ ศ ทางการพัฒ นาระบบเศรษฐกิ จ มหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 25502554) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุข อย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 นี้ จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบ ทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถา ถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเองสู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่ องค์การสหประชาชาติ ได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศ ยึดเป็นแนวทางสู่การ พัฒนาประเทศแบบยั่งยืน


4

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาทีต่ ้งั อยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และ ความไม่ประมาท โดยคํานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมคิ ้มุ กันที่ดีในตัว ตลอดจน ใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทํา ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 1. กรอบแนวคิ ด เป็ น ปรั ช ญาที่ ช้ี แ นะแนวทางการดํ า รงอยู่ และปฏิ บั ติ ต นในทาง ที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบตั ิตนได้ ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบตั ิบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 3. คํานิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่า จะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้น ๆ อย่างรอบคอบ 3. การมีภูมคิ ุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่างๆ ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ทีเ่ กี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนัก ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดําเนินชีวิต


5

3. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนําปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาทีส่ มดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลีย่ นแปลงในทุกด้าน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง และแนวทางปฏิ บัติ ข องทฤษฎี ใ หม่ เป็น แนวทางในการพั ฒ นาที่นํ าไปสู่ ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปร ของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิด ที่ช้ีบอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดําริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือ เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ํา ต้องพึ่งน้ําฝน และประสบ ความเสี่ยงจากการที่น้ําไม่พอเพียง แม้กระทั่งสําหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภคและมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ํา จะทํา ให้ เ กษตรกรสามารถมี ข้ า วเพื่ อ การบริ โ ภค ยั ง ชี พ ในระดั บ หนึ่ ง และใช้ ที่ ดิ น ส่ ว นอื่ น ๆ สนอง ความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้น ในระดับครอบครัว อย่างไร ก็ตาม แม้กระทั่งในทฤษฎีใหม่ข้ันที่ 1 ก็จําเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน ราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือ การที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือ องค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ ให้ แ ก่ ก ลุ่ ม และส่ ว นรวมบนพื้ น ฐานของการไม่ เ บี ย ดเบี ย นกั น การแบ่ ง ปั น ช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น ตามกําลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทําให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ


6

เกิ ด ความพอเพี ย งในวิ ถี ป ฏิ บั ติ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ความพอเพี ย งในระดับ ประเทศเป็ น เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง แบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น การสร้ า งเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ในลั ก ษณะเช่ น นี้ จะเป็ น ประโยชน์ ใ นการสื บ ทอด ภู มิ ปั ญ ญา แลกเปลี่ ย นความรู้ เทคโนโลยี และบทเรี ย นจากการพั ฒ นา หรื อ ร่ ว มมื อ กั น พั ฒ นา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทําให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจ ต่าง ๆ ที่ดําเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกัน และกันได้ในที่สุด

การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภค ตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตร ต้องมีน้ํา การจัดให้มีและดูแหล่งน้ํา จะก่อให้เกิดประโยชน์ท้งั การผลิต และประโยชน์ใช้สอยอืน่ ๆ 3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอํานวยให้ก ารผลิตดําเนินไปด้วยดี และเกิ ดประโยชน์ เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งเกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดําเนิน กิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กับ ระบบ การผลิตนั้นต้องยึดมัน่ ใน เรื่องของ คุณค่า ให้มากกว่า มูลค่า ดังพระราชดํารัส ซึ่งได้นําเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทําความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเรา ก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกินไป หรือ เราไม่ระวัง เรากินเข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด…ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่ หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคต บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทําบ้าง ที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรา กําลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”


7

การจั ด สรรทรั พ ยากรมาใช้ เ พื่ อ การผลิ ต ที่ คํ า นึ ง ถึ ง คุ ณ ค่ า มากกว่ า มู ล ค่ า จะก่ อ ให้ เ กิ ด ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทําลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตํารา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองการณ์ไกลและ มีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

ประการที่สําคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กนิ เองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมี ไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทําให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของทีเ่ ป็น ธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ําถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ํายาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จกั พอ รู้จกั ประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อืน่ เพราะเรา จะหลงติดกับวัตถุปัญญาจะไม่เกิด "การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สําคัญ สําคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจ การ เป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"


8

แนวคิดและหลักการส่งเสริมการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการป่าชุมชน แนวคิดเกี่ยวกับป่าชุมชน แนวคิดเกี่ยวกับ “ป่าชุมชน” จัดเป็นแนวคิดทีไ่ ด้รบั การยอมรับอย่างแพร่หลาย ปัจจุบนั มีการดําเนินงานทางด้านนี้อย่างกว้างขวาง กรมป่าไม้ (2537) ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับ “ป่าชุมชน” คือ แนวความคิดในการ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ทั้งนี้เพื่อให้ป่าชุมชนเป็นเครื่องมือสําคัญ ในการลดความขัดแย้งระหว่างคนกับป่าไม้ และคนกับคนด้วยกันเองในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่าง สมดุล และยั่งยืน ด้วยการวางรากฐานการใช้ประโยชน์ทีด่ ินเพือ่ การป่าไม้และการเกษตร การอยู่อาศัย อย่างเหมาะสมกลมกลืน รวมทั้งการผสมผสานการผลิตด้านการเกษตร และการป่าไม้ในพื้นที่เดียวกัน ในรูปแบบของระบบวนเกษตร ที่ผสมผสานวิธีคิดของชนบทที่สงบสุขอย่างแท้จริง กรมป่าไม้ (2554) ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับป่าชุมชนคือ รูปแบบการบริหารจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ ที่ได้ให้ความสําคัญต่อผู้รับประโยชน์ที่ใกล้ชิดป่าที่สุด ซึ่งพึ่งพิงและอาศัยอยู่กับแหล่ง ป่าไม้ ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาป่าที่ใกล้ ๆ หมู่บ้าน เพื่อผลประโยชน์ของตน แนวความคิด ดังกล่าวนี้ ได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการป่าในพื้นที่ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า “ป่าชุมชน”

การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม นโยบายป่าไม้ของภาครัฐ ได้ให้ความสําคัญในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยส่งเสริม และสนั บ สนุ น ให้ ป ระชาชนเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว ม และเป็ น ไปตามรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พุทธศักราช 2540 ที่ได้กําหนดบทบาทหน้าที่ของภาครัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการสงวน บํารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างสมดุล (มาตรา 79) ในส่วนของกรมป่าไม้ ได้กําหนดทิศทางการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า โดยให้ ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสําคัญในการจัดการป่าร่วมกับรัฐในรูปแบบของ “ป่าชุมชน” มีการปรับบทบาท ของภาครัฐ และใช้ช่องทางของกฎหมายเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ป่าไม้ได้อย่างถูกกฎหมาย โดยจัดทําโครงการป่าชุมชนเพื่อขอนุมัติจากกรมป่าไม้ และภาครัฐเป็นผู้ให้ การสนับสนุนสร้างความเข้าใจในคุณค่าของป่าไม้ต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างคุณค่าขององค์กรชุมชน ที่สามารถดูแลป่าได้ประสบผลสําเร็จ “การมีส่วนร่วม” ในการดําเนินงานป่าชุมชน เป็นการร่วมกันระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของกรมป่าไม้อันประกอบด้วย กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการป่าไม้ เจ้าพนักงานป่าไม้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ฯลฯ ที่สังกัดกรมป่าไม้ เป็นต้น กับกลุ่มราษฎร


9

ในชุมชนที่ร่วมดําเนินการตามที่กฎหมายให้อํานาจและรับรองสิทธิ์ไว้ในพื้นที่ที่กําหนด คือในการควบคุม ดูแล รักษา หรือบํารุงป่า ในพื้นที่ป่าไม้ (กรมป่าไม้, 2553)

เครือข่ายการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชน 1. บทบาทของชุมชนในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการป่าชุมชน โดยพื้นฐานของสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม วิถีชีวิตของคนในชนบทต้องอาศัย พึ่งพิงป่าอย่างแยกไม่ออก ป่าเป็นแหล่งต้นน้ําลําธาร (ชุมชนใช้น้ําทั้งในชีวิตประจําวัน และการเกษตร) แหล่ ง ไม้ ใ ช้ ส อย แหล่ ง อาหารที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ ซึ่ ง มี ห มุ น เวี ย นให้ เ ลื อ กเก็ บ กิ น ทุ ก ฤดู ก าล อาทิ ผักสารพัดชนิด ผลไม้ป่า เห็ด เผือก มัน หน่อไม้ แมลงต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในดิน บนต้นไม้ ในลําห้วย ในป่า มีสมุนไพรนานาชนิด ป่าเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และบางแห่งยังเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเจ้าป่าเจ้าเขา เทวดาอารักษ์ที่ปกป้องคุ้มครองชุมชนให้ร่มเย็นเป็นสุข วิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพิงป่า ทําให้ผ้คู นในชุมชนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนบนภูเขา คนพื้นราบ หรือคนที่อยู่ติดทะเล จําเป็นต้องดูแลรักษาป่า สั่งสมและถ่ายทอดภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากป่า ไม่ให้ก้าวล้ําไปสู่การทําลาย เพราะถือว่าป่าเป็นสมบัติของทุกคนที่ต้องรักษาไว้ชั่วลูกชั่วหลาน รูปแบบและวิธีการจัดการป่าของชุมชนในอดีต จึงมักจะแฝงอยู่ในความเชื่อ จารีต ประเพณี เช่น ป่าขุ นน้ํา (ป่ าต้ นน้ํ า) มี ผี ขุน น้ํารัก ษาอยู่ ห้ามเข้าไปรุ ก ล้ํ า มี ก ารแบ่ง เป็น ป่ า หวงห้ า ม ซึ่งอนุรัก ษ์ ไ ว้ เ พื่ อ ประกอบพิ ธี ก รรมตามความเชื่อ ป่ า ต้ น น้ําเพื่ อเก็บ รัก ษาไว้ เ ป็ น ต้ น น้ํ าลําธาร และ ป่าใช้สอยซึ่งอยู่บริเวณชุมชนเพื่อชุมชนได้ใช้ประโยชน์ เช่น เลี้ยงสัตว์ เก็บผลผลิตจากป่า เป็นต้น ในการบริหารจัดการป่าโดยทั่วไป ชุมชนจะกันพื้นที่ทํากินออกจากป่าให้ชัดเจนไม่ให้ ขยายที่ทํากินเพิ่มอีก แบ่งพื้นที่ป่าเป็นเขตอนุรักษ์ และเขตป่าใช้สอยอย่างชัดเจน ร่วมกันวางแผนงาน เพื่อฟื้นฟู ดูแลรักษา และกําหนดกฎเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์จากป่า เช่น ทําแนวกันไฟ จัดกิจกรรม ปลู ก ป่ า ทุ ก ปี จั ด กิ จ กรรมรณรงค์ ใ ห้ ค วามรู้ เพื่ อ สร้ า งจิ ต สํ านึ ก รั ก ป่ า โดยมี ก ารตั้ ง คณะกรรมการ ป่าชุมชนประจําหมู่บ้านขึ้นมากํากับดูแล การจัดการป่ามิใช่ภารกิจของรัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตามลําพัง หรือมิใช่ของ บุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่ง แต่กลุ่มบุคคลที่สําคัญที่สุดคือ สมาชิกของชุมชนท้องถิ่นซึ่งต้องเข้ามามี ส่วนร่วม ดังนั้น แนวคิดในการจัดการป่าโดยชุมชนมีส่วนร่วมคือ ชุมชนท้องถิ่นมีจิตสํานึกถึงหน้าที่ ในการดูแลรักษาป่าและมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากป่าไปพร้อมๆกัน ดังนั้น ภาคชุมชนจึงถือได้ว่ามีบทบาทสําคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการป่า ทั้งด้านการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน การร่วมกําหนดกฎ กติกา หลักเกณฑ์ การจัดทําฐานข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชุมชน ตลอดจนการถ่ายทอด


10

และยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าร่วมกับความรู้สมัยใหม่ โดยความสําเร็จของการบริหาร จัดการป่าชุมชน คือ ต้องเป็นความคิดริเริ่มของชุมชน และเป็นความร่วมมือของประชาชนในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมทุกระดับ ตั้งแต่การร่วมรับรู้ การร่วมให้ข้อมูล การร่วมคิด/วางแผนการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการ ดําเนินงาน และการมีส่วนร่วมตรวจสอบประเมินผล สรุปบทเรียนของการทํางานเพื่อปรับปรุงแก้ไข และขยายผลสู่ชุมชนอื่น ๆ โดยสร้างภาคีการมีส่วนร่วม เพือ่ รับการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน ในด้าน ความรู้ใ นการบริ ห ารองค์ก ร ความรู้ท างวิ ช าการ และเทคโนโลยี ท างการป่ า ไม้ การสนับ สนุน วัสดุ อุปกรณ์ที่จําเป็นและการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาป่าชุมชนของหมู่บ้าน เป็นต้น 2. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการป่าชุมชน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หรือ อปท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน มากที่สุด มีโอกาสรับรู้ถึงศักยภาพและข้อจํากัดของการพัฒนาในระดับพื้นที่ สามารถทําความเข้าใจ ได้ลึกซึ้งถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่นที่ตนเองปกครองดูแล จากอํานาจหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายภายใต้พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 อปท .จึงมีบทบาทสําคัญในการผลักดันกระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชน ในท้องถิ่นที่ตนเองรับผิดชอบ มีหน้าที่ต้องทําในการคุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3. บทบาทของภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการป่าชุมชน เนื่องจากปัจจุบันกระแสความตื่นตัวต่อแนวคิดการทําธุรกิจที่ต้องคํานึงถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR กําลังมีมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่ทําให้องค์กร จํานวนมากต่างหันมาให้ความสนใจในเรื่องการทํา CSR นั้น มากจากการดําเนินงานของอุตสาหกรรม และธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือสร้างปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจต่อประชาชน ซึ่งนับวัน ยิ่ ง ทวี ค วามรุ น แรงขึ้ น ประกอบกั บ สภาพสั ง คมและการเมื อ งสมั ย ใหม่ ที่ ป ระชาชน และผู้ บ ริ โ ภค มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาสิทธิ และความคุ้มครองมากขึ้น องค์กรธุรกิจเหล่านี้จึงจําเป็นต้องหัน มาใส่ใจรับผิดชอบต่อสังคม และทํากิจกรรม CSR เพื่อแก้ปัญหาในเชิงรุก


11

การบริหารจัดการป่าไม้โดยชุมชนมีส่วนร่วม นายเจ๊ะย่าหยา สาเบด ผู้ใหญ่บ้านบ้านบุโบย และประธานคณะกรรมการ ป่าชุมชนบ้านบุโบย

1. ชื่อป่าชุมชน ป่าชุมชนบ้านบุโบย ที่ตั้ง บ้านบุโบย หมูท่ ี่ 3 ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตูล 2. ข้อมูลด้านทรัพยากรป่าไม้ 2.1 อาณาเขตพื้นที่ป่าชุมชน ด้านทิศเหนือ จด ลําคลองบ้านบุโบย วัดระยะได้ 432 เมตร ด้านทิศตะวันออก จด ลําคลองทางเข้าบ้านกาแบง วัดระยะได้ 1,235 เมตร ด้านทิศใต้ จด บ้านกาแบง หมูท่ ี่ 2 วัดระยะได้ 346 เมตร ด้านทิศตะวันตก จด บ้านบุโบย หมูท่ ี่ 3 วัดระยะได้ 1,734 เมตร 2.2 สภาพนิเวศวิทยาป่าไม้ ป่าชุมชนบ้านบุโบย เป็นป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนจังหวัดสตูล ตอนที่ 1 มีลักษณะเป็นพื้นที่ดินเลนมีน้ําท่วมถึง มีน้ําท่วมถึงพื้นที่ตามเวลาการขึ้นลงของน้ําทะเล ชนิดไม้ที่สําคัญ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูน ถั่วขาว แสม เป็นต้น 2.3 จุดเด่นของป่าชุมชน จุดเด่นของป่าชุมชนบ้านบุโบย มีลักษณะทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างจากป่าชุมชนในพื้นที่ อื่นๆ ของประเทศไทย เพราะเป็นป่าชายเลนบริเวณปากคลองที่เชื่อมต่อออกสู่ทะเลด้านฝั่งตะวันตก (ฝั่ งทะเลอั นดามั น ) จึ ง มี ท รั พ ยากรธรรมชาติ ที่ มี ลัก ษณะเด่ น เฉพาะตัวทุก ด้ า น ทั้ง พื ช สัต ว์ ดิ น น้ํ า สภาพแวดล้อม และทัศนียภาพที่สวยงาม ควบคู่ไปกับความเรียบง่ายของวิถีชีวิต และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ของชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 3. ข้อมูลด้านการจัดการป่าชุมชน 3.1 การจัดการป่าชุมชนที่เป็นรูปแบบ 3.1.1) ป่าชุมชนบ้านบุโบย มีเนื้อที่ประมาณ 276 ไร่ 0 งาน 64 ตารางวา ได้รับการ อนุ มั ติ โ ครงการจากกรมป่ า ไม้ เมื่ อ วั น ที่ 6 กุ ม ภาพั น ธ์ 2552 ตามหนั ง สื อ กรมป่ า ไม้ ที่ ที่ ทส 1605.33/2277 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนจังหวัดสตูล


12

ตอนที่ 1 หมู่ที่ 3 บ้านบุโบย ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตูล มีการจัดการป่าชุมชนโดยตั้ง คณะกรรมการป่าชุมชน ทําหน้าที่ในการประสานการดําเนินงานทั้งกับคนในชุมชนเอง และหน่วยงาน ภายนอกอื่นๆ 3.1.2) คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านบุโบย 2.1) คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านบุโบย 1) นายเจ๊ะย่าหยา สาเบด ประธาน 2) นายอนันต์ เกนุ้ย รองประธาน 3) นายหมุด จิมาร รองประธาน 4) นายรอสะนี งะสมัน กรรมการ 5) นายธนิสร จิมาร เหรัญญิก 6) นายสนั่น และหมูด กรรมการ 7) นายสนาน สันนก กรรมการ 8) นายดาลัน จิมาร กรรมการ 9) นายอําเหร็น ขาวเชาะ กรรมการ 10) นางหมะชัย จิมาร กรรมการ 11) นางฆอดีย๊ะ พูลขาว กรรมการ 12) นางหนิว สันนก กรรมการ 13) นางไมมุน๊ะ สาเบด เลขานุการ


13

แนวความคิดและประวัติความเป็นมาในการจัดการป่าชุมชนบ้านบุโบย นางไหมมุน๊ะ สาเบด ประธานกลุ่มสตรีบ้านบุโบย

ในอดีต รัฐบาลมีน โยบายในการให้สัมปทานทําไม้และการเผาถ่านในพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติป่าชายเลนในหลายจังหวัด รวมถึงในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนจังหวัดสตูล ตอนที่ 1 ในพื้นที่ บ้านบุโบย หมู่ที่ 3 ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตู ลด้วย ภายหลังจากการสิ้นสุดสัมปทาน ดังกล่าวเมื่อปี 2547 สภาพป่าชายเลนที่เคยเป็นป่าทึบสมบูรณ์กลับมีสภาพโปร่งโล่งและเสื่อมโทรม ลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในชุมชน ซึ่งมีอาชีพหลักคือการทํา ประมง เมื่ อความอุดมสมบูร ณ์ของป่ าชายเลนลดลง ปริม าณและความหลากหลายของทรัพยากร ทางทะเลจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย “สีนามิ” เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 บริเวณตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ซึ่งสร้างความเสียหาย ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ทํากินและอยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวอย่างมาก การรับรู้ข้อมูล ข่าวสารของประชาชนที่เกี่ยวกับภัยธรรมชาติ และบทบาทของ ป่าไม้ (ป่าชายเลน) ในแง่ของการบรรเทา ความเสียหาย ที่เกิดจากเหตุการณ์สึนามิผ่านประสบการณ์จริง และผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ และโทรทัศน์ เป็นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งมีส่วนสําคัญในการจุดประกายและกระตุ้นจิตสํานึกความเอาใจใส่ของคนในชุมชน ให้หันกลับมาเห็นถึงความสําคัญของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้เริ่มเปิด เวทีในชุมชนเพื่อพูดคุยถึงปัญหาดังกล่าว จนเป็นที่มาของการเริ่มดําเนินการกิจกรรมเพาะชํากล้าไม้ ป่าชายเลน เพื่อนําไปปลูกฟื้นฟูในพื้นที่ป่าของหมู่บ้าน (ขณะนั้นยังไม่จัดตั้งเป็นป่าชุมชน) โดยเงินทุน เริ่มแรกได้มาจากการระดมทุนบริจาคจากราษฎรในชุมชนด้วยความสมัครใจ เพราะต่างมีความคิดเห็น ตรงกันว่าทุกคนล้วนมีส่วนได้ ส่วนเสีย ต้องพึ่งพิงและใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนแทบทุกครัวเรือน เมื่อเริ่มกิจกรรมเพาะชําครั้งแรก ต้องเจอกับอุปสรรค คือ มีแพะมากินกล้าไม้ในแปลงจนได้รับความ เสียหายทั้งหมด แม้จะทําให้เกิดความรู้สึกท้อแท้บ้าง แต่ได้พยายามหาวิธีในการป้องกันโดยนําอวน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบอาชีพและ หาได้ง่ายในพื้นที่มาล้อมเป็นรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงดังกล่าว จนกล้าไม้เจริญเติบโตดี และได้นําไปปลูกฟื้นฟูป่าในช่วงฤดูมรสุม ซึ่งเป็นช่วงที่ราษฎรว่างเว้นจากการ ประกอบอาชีพประมง โดยดําเนินการกันเองเรื่อยมาไม่มีแนวความคิดที่จะขอรับการช่วยเหลือหรือ งบประมาณจากหน่วยงานใด จนต่อมาสภากาชาดไทย เข้ามาดําเนินการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการรับมือ ภัยพิบัติ และเห็นการดําเนินงานกิจกรรมเพาะชํากล้าไม้ดังกล่าวข้างต้น จึงได้ให้การสนับสนุนดิน และ


14

ตาข่ า ยพรางแสง (Slant) คลุ ม เรื อ นเพาะชํ า เป็ น หน่ ว ยงานแรก ต่ อ มาคื อ สถานี พั ฒ นาทรั พ ยากร ป่าชายเลนที่ 38 ให้การสนับสนุนถุงเพาะชํากล้าไม้ และด้ ว ยความมี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว ในของการจั ด การและการใช้ ป ระโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงมีหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงานและเก็บข้อมูลเป็นผลงานวิจัยจํานวนมาก นายเจ๊ะย่าหยา สาเบด ผู้ใหญ่บ้านบุโบย จึงมีดําริที่จะจัดตั้งรีสอร์ทชุมชนขึ้น เพื่อเป็นที่พักสําหรับรองรับคณะนักวิจัยต่างๆ และ ได้นําเรื่องไปปรึกษากับผู้ประสานงานของสํานักงานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อหาช่องทางดําเนินการ แต่ได้รับคําแนะนําว่าควรทําเรื่องเกี่ยวกับป่า เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น เสียก่อน แล้วค่อยส่งเสริม ด้านอื่นๆ จึงเกิดเป็นโครงการ “ศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากร ในชุมชนบ้านบุโบยอย่างยั่งยืน” โดยเน้นกระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ วิจัยถึงสภาพปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน ของการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ซึ่งถือเป็นส่วนสําคัญ ในการสร้างความมั่นคง เข้มแข็งด้านการจัดการทรัพยากรในชุมชนบ้านบุโบยเป็นอย่างมาก ต่อมา ในปี 2551 สํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) ได้เข้ามาประชาสัมพันธ์การดําเนินงาน ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน และจัดตั้งป่าบริเวณดังกล่าว เป็นป่าชุมชนบ้านบุโบย ตามแนวทางการ จัดทํ าโครงการป่ าชุมชนของกรมป่าไม้ โดยได้รับอนุมัติ ดําเนินการจากอธิบดีกรมป่าไม้เมื่อวัน ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 โดยมีคณะกรรมการป่าชุมชนเป็นแกนนําในกิจกรรมต่างๆ อย่างชัดเจน มีผลการ ดําเนินงานโดดเด่นจนได้รับคัดเลือกให้เป็นป่าชุมชนดีเด่นระดับจังหวัดสตูล ตามโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ขณะนี้ (ปี 2557) สิ้นสุดระยะเวลาดําเนินโครงการแล้ว และอยู่ระหว่างการดําเนินการ ยื่นแบบคําขออนุมัติต่ออายุโครงการ


15

3.2 กิจกรรมที่ดําเนินการในป่าชุมชน 3.2.1 กิจกรรมการป้องกันดูแลรักษาป่า กิจกรรมการป้องกันดูแลรักษาป่า บริเวณป่าชายเลนบ้านบุโบย เป็นการดําเนินการ เพื่อป้องกัน และกําหนดปริมาณการเข้ามาใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ป่า ของบุคคลภายนอกและ คนในชุมชน รวมถึงกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ของสภาพป่าและทรัพยากรอื่นๆ ด้วย เช่น การกําหนดปริมาณการทํากระชังในพื้นที่ป่าชายเลน ส่วนปัญหาการตัดไม้แทบไม่พบในพื้นที่ เนื่องจาก ได้มีการสอดส่องดูแลป้องกันบุคคลภายนอกดังกล่าวแล้ว ส่วนการใช้ประโยชน์ของคนในชุมชน ได้มีการ กําหนดระเบียบและบทลงโทษสําหรับผู้ที่ฝ่าฝืนในการเข้าใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ ทุกๆ ด้าน ดังนี้ 3.2.1.1 กฎระเบียบป่าชายเลน 3.2.1.2 กฎระเบียบชายทะเล/ลําคลอง 3.2.1.3 กฎระเบียบชายหาด/สิ่งแวดล้อม 3.2.2 กิจกรรมปลูกต้นไม้และบํารุงรักษา กิ จ กรรมปลู ก ฟื้ น ฟู แ ละปลู ก เสริ ม ป่ า ในพื้ น ที่ ป่ าชุ ม ชน ได้ มี ก ารดํา เนิ น การหลาย รูปแบบหลายวาระ ดังนี้ 3.2.2.1 จัดกิจกรรมกันเองภายในชุมชน รวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียง 3.2.2.2 ในระหว่างออกไปทําการประมงในพื้นที่ ชาวบ้านจะนํากล้าไม้ใส่เรือหา ปลาไปปลูก หรือถอนฝักที่หล่นอยู่ใต้ต้นแม่พันธุ์ไปปลูกในบริเวณอื่นเพื่อให้มีต้นไม้ข้ึนกระจายอย่าง สม่ําเสมอ ในพื้นที่ 3.2.2.3 ให้การสนับสนุนกล้าไม้และเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมปลูกป่าของหมู่บ้าน ใกล้เคียง 3.2.2.4 เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมปลูกป่าของหน่วยงานต่างๆ ส่วนการบํารุงรักษาต้นไม้ เนื่องจากสภาพป่าชุมชนเป็นป่าชายเลนเป็นประเภทป่า ที่ไม่ต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษ เพราะมีอัตราการรอดตายสูง อาศัยเพียงให้มีน้ําขึ้นน้ําลงตามเวลา ชนิดพันธุ์ไม้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และไม่พบปัญหาโรคแมลง 3.2.3 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 1) มี ก า ร จั ด ทํ า ป้ า ย คํ า ข วั ญ เ ชิ ญ ช ว น ป ลุ ก จิ ต สํ า นึ ก ด้ า น ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ติดป้ายประชาสัมพันธ์ในบริเวณหมู่บ้าน บริเวณป่าชุมชน โดยจัดทําป้ายคําขวัญ ป้ายคติเตือนใจ ป้ายแนวเขตป่าชุมชน ป้ายกฎ กติกา ระเบียบ ข้อปฏิบัติ


16

2) คณะกรรมการหมู่ บ้ านมี ก ารจั ดประชุม หมู่ บ้ า นอย่ า งสม่ํ า เสมอ เพื่ อ เป็น เวที ในการสื่ อ สารกิ จ กรรมต่ า งๆ รั บ ฟั ง ปั ญ หา ความคิ ด เห็ น ของทุ ก คนในการดํ า เนิ น การกิ จ กรรม ของส่วนรวม และคณะกรรมการป่าชุมชนได้พูดสอดแทรกเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันในทุกโอกาสของการประชุม 3) มีการถ่ายทําสารคดีเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ วิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านบุโบย 4) จัดทําแผ่นพับประชาสัมพันธ์ ป่าชุมชนบ้านบุโบย 5) จัดทําเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ชีวภาพจากราปน และมีการเผยแพร่ในระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วย 3.2.4 กิจกรรมสร้างเครือข่าย 1) นายเจ๊ ะ ย่ า หยา สาเบด ผู้ ใ หญ่ บ้ า นบุ โ บย ในฐานะประธานคณะกรรมการ ป่าชุมชนบ้านบุโบย ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดสตูล ให้ดํารงตําแหน่ง รองประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดสตูล และได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกับสมาชิก เครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศ ในการสัมมนาผู้นําเครือข่ายป่าชุมชนกล้ายิ้ม ซึ่งจัดโดยบริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรี โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) ร่วมกับกรมป่าไม้ 2) นายเจ๊ะย่าหยา สาเบด ผู้ใหญ่บ้านบุโบย เป็นแกนนําในการรวบรวมสมาชิก ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในบ้านบุโบย บ้านสนกลาง และบ้านบ่อเจ็ดลูก จัดตั้งเป็นเครือข่าย ประมงพื้นบ้านตําบลแหลมสน เน้นสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนารูปแบบการทํา ประมงพื้นบ้านร่วมกับชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการประกอบอาชีพ และไม่ให้กระทบต่อ ความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ 3) ชุมชนให้การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน โดยการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรีย นเข้าไป ในหลักสูตรการเรียนของสถานศึกษาในชุมชน และการสนับสนุนเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชน กล้ายิ้ม ซึ่งจัดโดยบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) ร่วมกับกรมป่าไม้ 3.2.5 กิจกรรมศูนย์การเรียนรู้เรื่องป่าชุมชน บ้านบุโบย มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่เป็นศูนย์ข้อมูลกลางรวบรวมความรู้และกิจกรรม ของกลุ่ ม ต่ า งๆ ที่ ดํ า เนิ น การในหมู่ บ้ า น ทั้ ง กฎระเบี ย บ รู ป แบบ และวิ ธี ก ารดํ า เนิ น งาน เช่ น การดําเนินงานของกลุ่มหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากราปน กลุ่มท่องเที่ยว เชิงนิเวศด้วยเรือใบ และกฎระเบียบการใช้พื้นที่ เป็นต้น สําหรับศูนย์การเรียนรู้เรื่องป่าชุมชนโดยเฉพาะ คณะกรรมการป่าชุมชนมีแนวคิดที่จะ จั ด ตั้ ง “โรงเรี ย นป่ า ชุ ม ชน” โดยทํ า เส้ น ทางศึ ก ษาธรรมชาติ ป่ า ชายเลน รวมถึ ง แหล่ ง โบราณคดี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การตั้ ง ชุ ม ชน ซึ่ ง อยู่ ใ นบริ เ วณป่ า ชุ ม ชนด้ ว ย แต่ ยั ง อยู่ ใ นขั้ น ตอนการปรึ ก ษาหารื อ หารูปแบบที่เหมาะสม


17

3.2.6 การดําเนินกิจกรรมบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านบุโบย กับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านบุโบย ปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรมชาติ ของคนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเพดั้งเดิมที่มีถิ่นกําเนิดและใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่ใช่คนที่อพยพมาจากถิ่นอื่น จึงมีความผูกพัน และเห็นความสําคัญของป่า ว่าเป็นแหล่งพึ่งพิงทั้งด้าน วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งปรากฏออกมาในรูปแบบของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องอยู่ในวิถีชีวิต ทั้งการทําประมง การทําการเกษตรแบบวิถีธรรมชาติ การบริหารจัดการและใช้ ประโยชน์ทรัพยากรในป่าชุมชน และมีการสืบทอดต่อกันมา จึงส่งผลให้การดําเนินงานกิจกรรมต่างๆ เป็นไปโดยยึดเอาความคงอยู่ของธรรมชาติอย่างยั่งยืนเป็นหลักสําคัญ ผู้มาเยือนจึงสัมผัสได้ถึงความ เรียบง่ายของวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชุมชนแห่งนี้ จนคณะที่เคยมาถ่ายทําสารคดีส้ันที่เกี่ยวกับความ เป็นอยู่ของคนในชุมชนบ้านบุโบย ตั้งชื่อตอนของสารคดีว่า “ชีวิตเรียบง่าย: บ้านบุโบย” ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ทีเ่ หมาะสม และสภาพป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ บ้านบุโบยจึงเป็นแหล่งรวมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่มี ความหลากหลาย และสถานการณ์ ปัจจุบันอาหารทะเลเป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง จึงส่งผลให้เกิดการทําประมงที่เกินขีดจํากัด ของกําลังการผลิตตามธรรมชาติ ชุมชนบ้านบุโบย จึงได้จัดทําโครงการธนาคารปู เพื่อเพาะพันธุ์ปูม้า ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ รวมถึงกําหนดมาตรการควบคุมการทําประมงปูม้าในฤดูวางไข่ เพื่อรักษา สมดุลในธรรมชาติ ล่องเรือใบ : การท่องเที่ยวที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม แนวความคิ ด ในการใช้ เ รื อ ใบทํ า การประมง เริ่ม จากราคาน้ํา มั น เชื้ อเพลิ ง ที่ป รับ ตัว สู ง ขึ้ น ส่ ง ผลให้ ต้ น ทุ น การทํ า ประมงสูง ตามไปด้ ว ย ต่ อมามี นั ก ท่ อ งเที่ ย วสนใจล่ อ งเรื อ ใบ ชมทัศนียภาพธรรมชาติ การล่องเรือใบจึงกลายเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกด้านหนึ่ง ที่ได้รับความนิยม 3.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการป่าชุมชน - เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ํา และรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน - เป็นห้องเรียน แหล่งศึกษาธรรมชาติของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป - เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และสัตว์ทะเล - เป็นแหล่งอาหารและแหล่งไม้ใช้สอยในครัวเรือน - เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในชุมชน และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของ ชุมชนและเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน - เป็นแหล่งสมุนไพร



18


19


20


21


22

สรุปผลการระดมความคิด โครงการฝึกอบรมราษฎรหลักสูตร “การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ” ในภาคการระดมความคิด หัวข้อ การจัดทําแผนบริหารจัดการป่าชุมชน ได้กําหนดแนวทางในการ วิเคราะห์องค์ประกอบในการจัดทําแผน ดังนี้ 1. สภาพปัญหาทั้งหมดของชุมชนที่เกี่ยวกับการจัดการป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ 2. สาเหตุของปัญหา 3. ความมุ่งหวังที่ชุมชนต้องการ 4. มาตรการที่นําไปสู่ความมุ่งหวัง โดยสรุปผลการระดมความคิดได้ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บ้านท่าขาม หมู่ที่ 5 ตําบลนาทอน อําเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล สภาพปัญหาและสาเหตุ 1. การบุกรุกป่า เนื่องจากต้องการพื้นที่เพื่อ การเกษตร และการทํานากุ้ง

ความคาดหวัง 1. ให้ป่ามีสภาพสมบูรณ์เหมือนเดิม 2. ให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการกําหนดกฎระเบียบ ที่จะนํามาบังคับใช้

2. ไม่มีป้ายบอกแนวเขตที่แน่นอน และมี การชํารุดเสียหาย

มีป้ายแนวเขตที่ถูกต้องและชัดเจน

3. ประชาชนขาดความรู้ในการจัดการ ทั้งการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่า

ประชาชนมีความเข้าใจถึงสิทธิและ กฎระเบียบในการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 4. ประชาชนไม่มีแรงจูงใจในการช่วยกันดูแล การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้ รักษาทรัพยากรในพื้นที่ เนื่องจากประชาชน ประโยชน์ทรัพยากรในท้องถิ่นของ ตนเองอย่างเหมาะสม ไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ เพราะติดข้อระเบียบและกฎหมายที่ไม่ชัดเจน

มาตรการ 1. ปลูกป่าทดแทน 2. การรณรงค์ให้ความรู้ด้านการ อนุรักษ์แก่ประชาชนและเยาวชน 3. การจัดทําแนวเขตพื้นที่ป่าให้ ชัดเจน 1. จัดทําป้ายแนวเขตใหม่และ ซ่อมแซมป้ายที่ชํารุด 2. ให้ประชาชน คณะกรรมการ ป่าชุมชนรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ร่วมติดป้ายด้วยกัน 1. สร้างความรู้และจิตสํานึก ส่วนรวมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่คน ในท้องถิ่นโดยการจัดฝึกอบรม 1. ทําความเข้าใจร่วมกันระหว่าง ภาครัฐและประชาชน 2. ออกแบบการบริหารจัดการ หรือการผลักดันกฎหมายที่เอื้อ ประโยชน์ทั้งการอนุรักษ์และใช้ ประโยชน์ เป็นที่ยอมรับทั้งภาครัฐ และประชาชน


23

แผนการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านท่าขาม กิจกรรม ปริมาณงาน 1. ปลูกป่าทดแทนในพื้นทีถ่ ูกบุกรุก 2,000 ต้น 2. จัดทําป้ายแนวเขต - ป้ายโครงการขนาด ใหญ่ 60x 20 cm - ป้ายแนวเขตป่าชุมชน ขนาดเล็ก 10 x 12 cm 3. การอบรมให้ความรู้กบั คนในชุมชน - 30 คน/1 รุ่น (ค่าอาหาร,อาหารว่าง วิทยากร)

งบประมาณ 20,000 3,500

ระยะเวลา ม.ค. – ธ.ค. ม.ค. – ธ.ค.

3,000

32,600

มี.ค.

กลุ่มที่ 2 บ้านบ่อเจ็ดลูก หมู่ที่ 1 ตําบลปากน้ํา อําเภอละงู จังหวัดสตูล สภาพปัญหาและสาเหตุ 1. ราษฎรกลัวการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ป่า ทั้งที่ชีวิตต้องพึ่งพิงและใช้ประโยชน์จาก ป่าอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากขาดความเข้าใจ กฎหมายป่าไม้ และไม่มีหน่วยงานให้ความรู้

ความคาดหวัง 1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการป่าอย่างยั่งยืน 2. ชุมชนมีความเข้าใจบทบาท และ สิทธิของตนเองในการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

มาตรการ 1. การสร้างกฎระเบียบทั้ง ทางบวกและทางลบร่วมกัน ระหว่างภาครัฐกับชุมชน ให้มีผล ในการดูแลรักษาป่าชุมชนได้อย่าง ยั่งยืน 2. จัดเวทีพูดคุยให้ความรู้ 2. ราษฎรในชุมชนมีปัญหาขัดแย้งกับ มีการทํางาน และประสานงานร่วมกัน สร้างการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ร่วมกับชุมชนอื่น ๆ และส่งเสริม เจ้าหน้าที่ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับชุมชน การมีส่วนร่วมของเยาวชนในทุก อย่างต่อเนื่อง กิจกรรม 3. ราษฎรในชุมชนให้ความเชื่อถือข้อมูลหรือ ป่าชุมชนสามารถเป็นได้ทั้งแหล่งอาหาร 1. ตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ ในการบริหารจัดการป่าชุมชน การปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐมากกว่าคน และแหล่งเรียนรู้ ทุกฝ่าย ในชุมชนด้วยกันเอง ชุมชนมีโอกาสในการกําหนดกิจกรรม 4. กิจกรรมที่ภาครัฐกําหนดมาให้ชุมชน ต่าง ๆ ของตนเองโดยภาครัฐให้การ ไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น สนับสนุน การจ่ายกล้าไม้ หรือปลูกป่าในฤดูแล้ง การจัดฝึกอบรมในฤดูกาลเพาะปลูก


24

แผนการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก กิจกรรม ปริมาณงาน 1. ปลูกป่าทดแทนในพื้นทีถ่ ูกบุกรุก 2,000 ต้น 2. จัดทําป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ - ป้ายรณรงค์ ขนาด 60x 20 cm

3. การอบรมให้ความรู้กบั คนในชุมชน

- 30 คน/1 รุ่น (ค่าอาหาร,อาหารว่าง วิทยากร)

งบประมาณ 20,000 5,000

ระยะเวลา ม.ค. – ธ.ค. ม.ค. – ธ.ค.

32,600

มี.ค.



25

สรุปผลความพึงพอใจการถ่ายทอดความรู้ในการจัดการป่าชุมชน กิจกรรมส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) ความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกอบรม หัวข้อฝึกอบรม ก่อนการฝึกอบรม 1. แนวคิดและหลักการในการดําเนินงานส่งเสริม การจัดการป่าชุมชน 2. การจัดทําแผนบริหารจัดการป่าชุมชน 3. ศึกษาดูงาน ณ บ้านบุโบย ต.แหลมสน อ.ละงู จ.สตูล หลังการฝึกอบรม 1. แนวคิดและหลักการในการดําเนินงานส่งเสริม การจัดการป่าชุมชน 2. การจัดทําแผนบริหารจัดการป่าชุมชน 3. ศึกษาดูงาน ณ บ้านบุโบย ต.แหลมสน อ.ละงู จ.สตูล

มากที่สุด

ระดับความรูค้ วามเข้าใจ มาก ปาน น้อย กลาง

น้อย ที่สุด

6 (30%)

7 (35%)

6 (30%)

1 (5%)

0

5 (25%) 5 (25%)

7 (35%)

7 (35%)

1 (5%)

0

9 (45%)

6 (30%)

0

0

6 (30%) 11 (55%) 3 (15%)

0

0

7 (35%)

11 (55%)

1 (5%)

1 (5%)

0

5 (25%)

12 (60%)

3 (15%)

0

0

ความพึงพอใจในการถ่ายทอดความรู้ในการจัดการป่าชุมชน ระดับความรูค้ วามเข้าใจ หัวข้อ มากที่สุด มาก ปาน น้อย กลาง ด้านพิธีการ 5 (25%) 14 (70%) 1 (5%) 0 พิธีการในการเปิด–ปิดการฝึกอบรม ด้านสถานที่/เวลา/กําหนดการ 5 (25%) 9 (45%) 5 (25%) 1 (5%) 1. ความเหมาะสมของสถานทีใ่ นการจัดฝึกอบรม 6 (30%) 8 (40%) 6 (30%) 0 2. ความเหมาะสมของห้องจัดอบรม เวที แสง และเสียง

น้อย ที่สุด 0 0 0


26

หัวข้อ

มากที่สุด

ระดับความรูค้ วามเข้าใจ มาก ปาน น้อย กลาง

น้อย ที่สุด

3. ความสะดวกสบายในการเดินทาง

4 (20%)

12 (60%)

4 (20%)

0

0

4. ความเหมาะสมของสถานที่ศึกษาดูงาน

5 (25%)

12 (60%)

3 (15%)

0

0

5. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดฝึกอบรม

5 (25%)

9 (45%)

6 (30%)

0

0

6. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกีย่ วกับ

6 (30%)

6 (30%)

8 (40%)

0

0

2 (10%)

13 (65%)

4 (20%)

1 (5%)

0

5 (25%)

11 (55%)

3 (15%)

1 (5%)

0

4 (20%)

8 (40%)

6 (30%)

1 (5%)

1 (5%)

7 (35%)

9 (45%)

4 (20%)

0

0

4 (20%)

11 (55%)

5 (25%)

0

0

9 (45%)

11 (55%)

0

0

0

3 (15%)

16 (80%)

1 (5%)

0

0

4 (20%)

13 (65%)

2 (10%)

1 (5%)

0

6 (30%)

11 (55%)

2 (10%)

1 (5%)

5 (25%)

13 (65%)

2 (10%)

0

0

4 (20%)

12 (60%)

3 (15%)

1 (5%)

0

5 (25%)

9 (45%)

6 (30%)

0

0

การจัดฝึกอบรม ด้านที่พัก/อาหารและเครือ่ งดื่ม 1. ความปลอดภัย/สะดวกสบายของห้องพัก 2. รายการและรสชาติอาหาร 3. ของว่าง (ขนมและเครื่องดื่ม) ด้านหัวข้อ/เนื้อหาบรรยาย 1. ความเหมาะสมของเนื้อหาบรรยาย 2. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการบรรยาย แต่ละหัวข้อ ด้านวิทยากร 1. ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่บรรยายของวิยากร 2. ความสามารถและทักษะในการสื่อสารและ ถ่ายทอดเนื้อหา 3. สื่อ – อุปกรณ์ ประกอบการบรรยาย 4. การบริหารจัดการเวลาในการบรรยาย ด้านประโยชน์ที่ได้รับและการนําไปใช้ 1. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมฝึกอบรม 2. ความเป็นไปได้ในการนําไปใช้ในการปฏิบตั ิงาน 3. ภาพรวมการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้


แนวคิดและหลักการในการดําเนินงานส่งเสริมการ จัดการป่าชุมชน (ก่อนฝึกอบรม)

การจัดทําแผนบริหารจัดการป่าชุมชน (ก่อน ฝึกอบรม)

ศึกษาดูงาน ณ บ้านบุโบย จ.สตูล (ก่อนฝึกอบรม)

อื่น ๆที่เหมาะสมตามสภาพท้องถิ่นและความ ต้องการเรียนรู้ของราษฎร (ก่อนฝึกอบรม)

แนวความคิดและหลักการในการดําเนินงานส่งเสริม การจัดการป่าชุมชน (หลังอบรม)

การจัดทําแผนบริหารจัดการป่าชุมชน (หลังอบรม)

ศึกษาดูงาน ณ บ้านบุโบย จ.สตูล (หลังอบรม)

0

0

0

0 0

0

0

0 0

0

0 0

5

5

5

5

5 5

10

15

15

15

20

25

25

25

25

30

30

30

30

30

30

35

35

35 35

35

40

45

45

50

55

55

55

60

60

65

65

70

75

80

85

90

95

ร้อยละของผูต้ อบแบบประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

แผนภูมิที่ 1 แผนภูมิสรุปภาพรวมประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปี 2558 สํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา)

100

27


พิธีการในการเปิด-ปิดอบรม

ความเหมาะสมของสถานที่ในการฝึกอบรม

ความเหมาะสมของห้องจัดอบรมฯ

ความสะดวกสบายในการเดินทาง

ความเหมาะสมของสถานที่ดูงาน

ความเหมาะสมของระยะเวลาฝึกอบรม

การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอบรม

0

0 0

0

0 0

0 0

0 0

0 0

0 0

5

5

5

10

15

15

20

20

20

25

25

25

25

25

25

30

30

30

30

30 30

35

40

40

40

45

45

45

50

55

60

60

60

65

70

70

75

80

85

90

95

ร้อยละของผู้ตอบแบบประเมิน

น้อยมาก น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด

100

28


ความปลอดภัย/สะดวกสบายของห้องพัก

รายการและรสชาติอาหาร

ของว่าง (ขนมและเครื่องดื่ม)

ความเหมาะสมของเนื้อหาบรรยาย

ความเหมาะสมของระยะเวลาในการบรรยาย

ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่บรรยาย

ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร

สื่อ-อุปกรณ์ ประกอบการบรรยาย

0

0

0

0 0

0 0

0 0 0

0 0

0

5

5

5

5 5

5

5

10

10

10

15

15

15

25

25

30

35 40

45

45

55

55

55

65

65

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยมาก

ร้อยละของผู้ตอบแบบประเมิน

80

20 25 30 35 40 45 50 55 60 65 70 75 80 85 90 95 100

20

20

20

20

20

29


การบริหารจัดการเวลาในการบรรยาย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วม ฝึกอบรม

ความเป็นไปได้ในการนําไปใช้ในการ ปฏิบัติงาน

ภาพรวมการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้

0

0

0 0

0

0 0

5

5

5

10

10

10

15

15

20

20

25

25

25

30

30

30

35

40

45

45

50

55

55 60

60

65

65

70

75

80

85

90

ร้อยละของผู้ตอบแบบประเมิน

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยมาก

95

100

30


ภาพถถ่ายกิจกรรมมโครงการฝึกอบรมราษ ษฎร หลักสูตตร การบ บริหารจัดกาารพื้นที่โดยกการสนับสนุนจากภาครัรัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558

31

ภาคบรรรยาย

ลงทะเบียนผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรรม

ผู้เข้ารับการรฝึกอบรม ระหว่าฟังการบรรยยายของวิทยากร


32

นางไหหมมุน๊ะ สาเเบด ประธานกกลุม่ สตรีบ้านบุ น โบย บรรรยาย เรื่อง กการบริหารจจัดการป่าไม้ม้ โดยชุมมชนมีส่วนร่รวม

นนายสนาน สันนก โต๊ะอิหม่ามประจํามั​ัสยิดบ้านบุโบย โ ว กอบ บรม กล่าวต้อนนรับผู้เข้าร่วมการฝึ

นายเจ๊ะย่าหยา สาเบด ผู้ใหญ่ ห บ้านบุโบย บรรรยายแนวคิคิดและหลักการในการ ก ดําเนิ นินงานส่งเสสริ​ิ มการจัดการป่ ก าชุมชนน ระดดับหมู่บ้าน


33

ภภาคระดมคความคิด การจัดทําาแผนบริหารรจัดการป่าชุมชน

ผู้เข้ารับการฝึกอบรรมเล่นเกมส์ส์กิจกรรมกรระบวนการ เพื่อเรี เ ยนรู้กระบ บวนการทํางงานและนําเขข้าสู่เนื้อหากการระดมคววามคิด

นางกกมลมาส รัตนมณี บ บรรยายหั วข้ขอ การจัดททําแผนจัดการป่าชุมชน น ระดับหมู่บบ้​้ าน


34

ผู้เข้ารับการฝึกอบรรมระดมควาามคิดฝึกปฏิ ฏิบัติการจัดททํา แผนนการจัดการรป่าชุมชนบ้บ้านบ่อเจ็ดลูก (ซ้าย) แลละบ้านท่าขาาม (ขวา)

ผู้แททนป่าชุมชนบ บ้านบ่อเจ็ดลูก นําเสนอ แผนการจัดการป่ ด าชุมชนและ ช ผผลการระดมมความคิด

ผู้แทนป่าชุมชนบ้บ้านท่าขาม ก าชุมชนนและ นําเสนอแผผนการจัดการป่ ผลลการระดมคความคิด


35

ภาคศึกษาาดูงาน ศึกษาดูดงานกิจกรรมมท่องเทีย่ วเชิชิงนิเวศน์ป่าชมชนบ้ ชุ านบุโโบย บ (กิจกรรมล่องเรื อ อใบท่องเที ง ย่ วเพื่อศึกกษาวิถีชีวิตและเยีย่ มชมคความอุดมสมมบูรณ์ของป่าชุ า มชน)


36

นนายเจ๊ะย่าหยยา สาเบด ประธานคณ ณะกรรมกาารป่าชุมชนบ้บ้านบุโบย มอบของรางววัลการแข่งขัขนเกมส์กระะบวนการ

นางไหมมุน๊นะ๊ สาเบด ประธานกลลุ่มสตรีบ้านบุ น โบย มอบของทีระลึ ่ กให้แก่ชชุมชนที่เข้าร่วมการฝึกอบรม

ผู้เข้าร่วมการฝึฝึกอบรม ถ่ายภภาพร่วมกันเป็ เ นที่ระลึก



37

คํากล่าวรายงานต่อประธาน ในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 ณ บ้านบุโบย ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตูล ----------------------เรียน ประธานที่เคารพ ในนามของคณะทํางานดําเนินการจัดฝึกอบรม และผู้เข้ารับการฝึกอบรม ขอขอบพระคุณท่าน ที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการ สนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ที่จัดขึ้นในวันนี้ ผมขอถื อ โอกาสนี้ เรี ย นถึ ง ความเป็ น มาและวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการฝึ ก อบรมโดยสรุ ป ดั ง นี้ โครงการฝึกอบรมราษฎรหลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ เป็นกิจกรรม ตามแผนงานกิจกรรมส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ซึ่งกรมป่าไม้ ได้ ม อบหมายให้ สํ า นั ก จั ด การทรั พ ยากรป่ า ไม้ ที่ ที่ มี ห มู่ บ้ า นเป้ า หมายกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม การจั ด การ ป่ าชุ ม ชนตั้ง อยู่ โดยส่ ว นจัด การป่ า ชุ ม ชนเป็น ผู้ รับ ผิ ด ชอบและดํ าเนิ น การ การฝึ ก อบรมหลัก สูต รนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างให้กลุ่มป่าชุมชนมีการพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของชุมชน ร่วมกับ องค์ความรู้ต่าง ๆ ในการบริหารจัดการป่า ให้ตอบสนองทั้งในด้านการอนุรักษ์และเอื้อต่อความเป็นอยู่ ที่ดีข้ึน โดยอยู่บนหลักการเศรษฐกิจพอเพียง การฝึกอบรม ได้กําหนดหลักสูตรทั้งภาคบรรยาย ภาคการศึกษาดูงาน และภาคการระดม ความคิด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถ จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมวนศาสตร์ชุมชน โดยมีระยะเวลาตลอดหลักสูตร จํานวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 15 – 17 มกราคม 2558 ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นตัวแทนราษฎรจากหมู่บ้านเป้าหมายกิจกรรมส่งเสริม การจั ด การป่ า ชุ ม ชน ประจํ า ปี 2558 จํ า นวน 2 หมู่ บ้ า น ๆ ละ 10 คน รวม 20 คน ได้ แ ก่ บ้านท่าขาม หมู่ที่ 1 ตําบลปากน้ํา อําเภอละงู จังหวัดสตูล และบ้านบ่อเจ็ดลูก หมู่ที่ 5 ตําบลทุ่งหว้า อําเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอเรียนเชิญท่านประธาน ได้กล่าวเปิดการฝึกอบรม เพื่อ เป็นขวัญกําลังใจ และให้ข้อคิดอันจะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกอบรมต่อไป


38

คํากล่าวของประธาน ในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2558 ณ บ้านบุโบย ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตูล

-------------------เรียน ประธานกรรมการป่าชุมชน สมาชิกกลุ่มป่าชุมชน แขกผู้มีเกียรติ วิทยากร และเจ้าหน้าที่ ผู้ดําเนินการฝึกอบรมทุกท่าน ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ในวันนี้ ก่อนอื่นผมขอขอบคุณผู้ที่มาเข้ารับการอบรม อันเป็นตัวแทนจากชุมชุมของท่านในครั้งนี้ เพราะ ถือว่าท่านเป็นผู้เสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ และเวลาที่มีค่าของท่าน มาใช้เวลาร่วมกับพวกเราถึง 3 วัน และนับเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่เราได้มีโอกาสมาพบปะกัน เพราะทุกท่านเป็นภาคีสําคัญที่จะส่งเสริมและ สนับสนุนความสําเร็จของการส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนของกรมป่าไม้ต่อไปในอนาคต การดําเนินงานด้านการอนุรักษ์และกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอื่นใดก็ตาม จะเกิด มีขึ้นและเข้มแข็งต่อไปได้ ทุกฝ่ายต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดหลัก กระบวนการ และ วิธีการในการที่จะร่วมกันส่งเสริมการดําเนินงานด้านการอนุรักษ์ การฝึกอบรมจึงเป็นกระบวนการ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยน ภูมิ ปัญ ญา ตลอดจนความรู้ ด้า นการบริ ห ารจั ดการป่ าที่ทุ ก ท่ า นและทุ ก ชุม ชนมี อ ยู่เ ป็ น ทุน เดิ ม แล้ ว เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีการพัฒนาศักยภาพในการจัดการป่าให้ตอบสนอง ทั้งในด้านการอนุรักษ์และ เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีข้ึน นับเป็นความภาคภูมิใจของกรมป่าไม้ที่ได้รับเกียรติและความร่วมมือจาก ทุกท่านด้วยดี และขอให้ท่านนําประสบการณ์ ความรู้จากหลากหลายชุมชนที่นํามาแลกเปลี่ยนในการ ฝึกอบรมครั้งนี้ ให้ประสบผลสําเร็จต่อไป ผมชื่นชมชุมชนของท่านที่เห็นความสําคัญของการจัดการป่าชุมชน และให้ความร่วมมือส่งท่าน มาเข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และถือโอกาสนี้ขอบคุณวิทยากร และหน่วยงานที่ให้ การสนับสนุนการอบรมในครั้งนี้ บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 และ ขอให้การฝึกอบรมดําเนินไปด้วยดีและบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ทุกประการ


39

คํากล่าวรายงานต่อประธานในพีปิดโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2558 ณ บ้านบุโบย ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตูล -------------------เรียน ท่านประธานที่เคารพ กระผมในนามของคณะทํางานดําเนินการจัดฝึกอบรม ขอขอบพระคุณท่านประธานเป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีปดิ โครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่ โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ของสํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) ในวันนี้ การฝึ ก อบรมราษฎรหลั ก สู ต ร การบริ ห ารจั ด การพื้ น ที่ โ ดยการสนั บ สนุ น จากภาครั ฐ ได้ดําเนินการมาจนเสร็จสิ้นในวันนี้ ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้ง 20 ท่าน ได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก วิ ท ยากร และได้ นํ า ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นกระบวนการวิ เ คราะห์ แ ละจั ด ทํ า แผนการบริ ห ารจั ด การพื้ น ที่ ป่าชุมชนของตนเอง การฝึกอบรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือ การสนับสนุน ตลอดจนการอํานวยความ สะดวกจากหลายฝ่ายเป็นอย่างดี นับแต่การเตรียมการจัดฝึกอบรม การสนับสนุนวิทยากรบรรยาย การให้ความอนุเคราะห์สถานที่ศึกษาดูงาน อันได้แก่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิจัยป่าไม้สงขลา ภาคใต้ ตลอดระยะเวลาของการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนทัศนะ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ท้งั ต่อการดําเนินงานของกรมป่าไม้ การดําเนินงานป่าชุมชนของตนเอง และของชุมชนอื่นที่เข้าร่วมการฝึกอบรม ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่าน ผมขอเรี ย นเชิ ญ ท่ า นประธานได้ ใ ห้ เ กี ย รติ ม อบประกาศนี ย บั ต รแก่ ผู้ ผ่ า นการฝึ ก อบรมหลั ก สู ต ร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 จํานวน 20 คน ดังนี้ ............................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................... และในโอกาสนี้ ขอเรียนเชิญท่านประธานได้ให้โอวาทแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม และกล่าวปิดการฝึกอบรม ต่อไป


40

คํากล่าวของประธาน ในพิธีปิดโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2558 ณ บ้านบุโบย ตําบลแหลมสน อําเภอละงู จังหวัดสตูล -------------------เรียน แขกผู้มีเกียรติ ประธานกรรมการป่าชุมชน สมาชิกกลุ่มป่าชุมชน และเจ้าหน้าที่ผ้ดู ําเนินการฝึกอบรมทุกท่าน ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีปิดโครงการฝึกอบรมราษฎรหลักสูตร การบริหารจัดการพื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ในวันนี้ ผมยินดีที่ได้รับทราบว่าการฝึกอบรมโครงการนี้ ตลอดระยะเวลา 2 วัน ที่ผ่านมา ดําเนินไปด้วย ความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการฝึกอบรม โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จากผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน ผมขอแสดงความชื่นชม ที่โครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ประสบผลสําเร็จเป็นที่น่าพอใจ แต่ความ มุ่งหวังที่แท้จริงคือทุกท่านได้นําความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมครั้งนี้ไปถ่ายทอดสู่ ผู้อื่น และร่วมกันปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ และดําเนินการก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายป่าชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป ในอนาคต ผมขอขอบคุ ณ แขกผู้มี เ กี ย รติ ผู้เข้ าร่วมการฝึกอบรม วิ ท ยากร ผู้มีส่ว นร่ ว ม และเจ้ าหน้ าที่ ทุกท่าน ที่ได้ทุ่มเทกําลังกาย กําลังใจ และกําลังสติปัญญา ร่วมกันให้การฝึกอบรมครั้งนี้สําเร็จลุล่วง ไปด้วยดี บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอปิดโครงการฝึกอบรมราษฎร หลักสูตร การบริหารจัดการ พื้นที่โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ณ บัดนี้ และขอให้ทุกท่านเดินทาง กลับยังภูมิลําเนาโดยสวัสดิภาพ


41


42


43


44


45


46


47


48



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.